หน้าเว็บ

thunyalak khampang thunyalak.k@gmail.com





สรุปการบรรยายโครงการประชุมชี้แจง เรื่อง



“ประชาคมอาเซียนและการเตรียมการเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียน”







๑. สรุปการบรรยาย เรื่อง “ประชาคมอาเซียน และ ๓ เสาหลักของประชาคมอาเซียน” โดยสุทธิลักษณ์ สง่ามั่งคั่ง เลขานุการกรมอาเซียนกระทรวงการต่างประเทศ



๑.๑ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of Southeast Asian Nations หรือ ASEAN) ก่อตั้งโดยปฏิญญากรุงเทพ(The Bangkok Declaration) เมื่อวันที่ ๘ สิงหาคม ๒๕๑๐ โดยมีสมาชิกผู้ก่อตั้ง ๕ ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย ในเวลาต่อมา ได้มีประเทศต่าง ๆ เข้าเป็นสมาชิกเพิ่มเติม ได้แก่บรูไนดารุสซาลาม เวียดนาม ลาว พม่า และกัมพูชา ตามลำดับ ทำให้อาเซียนมีสมาชิกครบ ๑๐ ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยผู้นำประเทศสมาชิกอาเซียนให้การรับรองเอกสารสำคัญ คือ Bali Concord II เมื่อปี ๒๕๔๘และมีแผนปฏิบัติการเวียงจันทน์ (Vientiane Action Programme) ซึ่งกำหนดเป้าหมายการสร้างประชาคมอาเซียนภายในปี ๒๕๖๓ และการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ ๑๒ ที่เซบู ฟิลิปปินส์ เมื่อปี ๒๕๕๐ ได้เร่งรัดเป้าหมายการจัดตั้งประชาคมอาเซียนให้เร็วขึ้น จากปี ๒๕๖๓ เป็นปี ๒๕๕๘ โดยมีการลงนามในกฎบัตรอาเซียน เมื่อวันที่ ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๐ เพื่อเป็นธรรมนูญของอาเซียนและมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๕๑



๑.๒ ประชาคมอาเซียน ประกอบด้วย ๓ เสาหลัก ดังนี้



๑.๒.๑ ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน มีวัตถุประสงค์เช่น การส่งเสริมสันติภาพและความมั่นคงของภูมิภาค การอยู่ร่วมกันโดยสันติสุขฯลฯ โดยมีกระทรวงการต่างประเทศ เป็นเจ้าภาพหลัก



๑.๒.๒ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน มีวัตถุประสงค์ เช่นการเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียว ความสามารถในการแข่งขัน ฯลฯ โดยมีกระทรวงพาณิชย์ เป็นเจ้าภาพหลัก



๑.๒.๓ ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน มีวัตถุประสงค์มุ่งหวังเป็นประชาคมที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง มีสังคมที่เอื้ออาทรและแบ่งปันให้ประชาชนมีการกินดีอยู่ดี ปราศจากโรคภัย มีสิ่งแวดล้อมที่ดี มีความ รู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน



๑.๓ ความเชื่อมโยงระหว่างกันในอาเซียน (Asian Connectivity)มาจากความริเริ่มของไทยในช่วงที่ไทยเป็นประธานอาเซียน เมื่อปี ๒๕๕๒ โดยมีแผนแม่บทความเชื่อมโยงระหว่างกันในอาเซียน ระบุการเชื่อมโยง ๓ ด้าน คือด้านโครงสร้างพื้นฐาน ด้านกฎระเบียบ และด้านประชาชน อันจะทำให้การผลักดัน ๓ เสาหลัก สำเร็จเป็นรูปธรรมอย่างรวดเร็ว



๑.๔ ประเด็นท้าทายของอาเซียน เช่น โครงสร้างความสัมพันธ์ในภูมิภาค การแข่งขันของมหาอำนาจ สหรัฐอเมริกา รัสเซีย จีน อินเดีย ญี่ปุ่นผลกระทบทางลบของการเชื่อมโยงในภูมิภาค สิ่งแวดล้อมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภัยพิบัติ และความตระหนักรู้และการมีส่วนร่วมของประชาชน



๑.๕ การเตรียมความพร้อมของไทยในการก้าวสู่การเป็นประชาคมอาเซียนผลกระทบจากการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียน มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๒๐ มิถุนายน ๒๕๕๔ ได้ระบุว่าจะต้องมีการเตรียมความพร้อมในการก้าวสู่การเป็นประชาคมอาเซียน ถือเป็นวาระแห่งชาติ โดยมีคณะกรรมการอาเซียนแห่งชาติเป็นผู้รับผิดชอบหลักในการติดตามงานในด้านต่าง ๆ โดยมีการดำเนินการ ดังนี้



๑)จะต้องมีการสร้างความตระหนักรับรู้ของประชาชนให้ความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับอาเซียนและผลประโยชน์ของไทย



๒) การพัฒนาสมรรถนะ เช่น ความรู้ด้านภาษาและเทคโนโลยี และการปรับโครงสร้างหน่วยงานราชการ เช่น การผลักดันให้มีการจัดตั้ง ASEAN Unit เป็นต้น



๓) การเตรียมความพร้อมแรงงานที่จะรองรับการรวมตัวของอาเซียน โดยเฉพาะการที่ประชาคมอาเซียนจะก่อให้เกิดการขยายการลงทุน และกิจกรรมทางเศรษฐกิจอื่น ๆ



๔) การเตรียมโครงสร้างพื้นฐานด้านกายภาพ และกฎระเบียบเพื่อเตรียมความพร้อมกับความเชื่อมโยงในอาเซียน







๒. สรุปการบรรยาย เรื่อง “การเตรียมความพร้อมของข้าราชการไทยในการก้าวเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียน” โดยนายชาญวิทย์ ไกรฤกษ์รองเลขาธิการ ก.พ. สำนักงาน ก.พ.



๒.๑ ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๒๐ มิถุนายน ๒๕๕๔ได้รับทราบข้อเสนอของคณะกรรมการอาเซียนแห่งชาติ (รมต.กต. เป็นประธาน) ที่เสนอให้หน่วยราชการต้องเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับการจัดตั้งประชาคม



อาเซียน โดยจะต้องมีหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรง ไม่จำเป็นต้องตั้งเป็นสำนักงานก็ได้ และกำหนดให้ทุกส่วนราชการต้องสร้างความตระหนักเรื่องอาเซียนในหน่วยงานโดยมีหลักสูตรเพื่อสร้างความเข้าใจในเรื่องประชาคมอาเซียน และให้ทุกส่วนราชการเตรียมความพร้อม โดยหากจำเป็นจะของบประมาณเพิ่มเติมเพื่อรองรับโครงการ



ต่าง ๆ ในการเตรียมความพร้อม ให้แจ้งคณะกรรมการอาเซียนแห่งชาติทราบเพื่อช่วยของบประมาณเพิ่มเติมให้ และที่ประชุมได้เห็นชอบในหลักการการปรับโครงสร้างส่วนราชการเพื่อรองรับการเป็นประชาคมอาเซียน เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานและการประสานงานเกี่ยวกับอาเซียนระหว่างหน่วยงานของไทยและเพื่อรักษาบทบาทนำในการขับเคลื่อนประชาคมอาเซียนของไทย และปกป้องรักษาผลประโยชน์ของไทยในเวทีอาเซียนและเวทีระหว่างประเทศ



๒.๒ ให้แต่ละหน่วยงานจัดทำแผนการดำเนินงานสู่การรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียนปี ๒๕๕๘ ในส่วนที่แต่ละหน่วยงานรับผิดชอบ โดยจัดทำแผนปี ๒๕๕๔ – ๒๕๕๘ แล้วส่ง กต. เพื่อประมวลเป็นแผนการดำเนินงาน



ระดับประเทศไทย



๒.๓ แนวทางการดำเนินการสำหรับส่วนราชการ มีดังนี้



๒.๓.๑ กำหนดนโยบายการเตรียมความพร้อมข้าราชการสู่ประชาคมอาเซียน และประกาศให้ข้าราชการในสังกัดทราบโดยทั่วกัน



๒.๓.๒ มอบหมายรองหัวหน้าส่วนราชการหนึ่งคน เป็นผู้รับผิดชอบการเตรียมความพร้อมข้าราชการสู่ประชาคมอาเซียน



๒.๓.๓ จัดให้มีหน่วยงานภายใน หรืออาจมอบหมายหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งภายในส่วนราชการ ทำหน้าที่รับผิดชอบในการเสนอแนะนโยบาย แผนงาน โครงการ งบประมาณ สนับสนุนการดำเนินการ และติดตาม



ประเมินผลการเตรียมความพร้อมข้าราชการสู่ประชาคมอาเซียน



๒.๓.๔ จัดทำแผนการสรรหาและพัฒนาบุคลากรระยะ๔ ปี (พ.ศ. ๒๕๕๕ - ๒๕๕๘) เพื่อให้ได้บุคลากรที่มีความรู้ความสามารถอย่างเหมาะสมสำหรับภารกิจที่เกี่ยวข้องโดยตรง และโดยอ้อมกับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน



๒.๓.๕ให้ทดสอบความรู้และทักษะพื้นฐานที่จำเป็นต่อการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในการคัดเลือกข้าราชการใหม่และในการเลื่อนตำแหน่งในระดับสูงขึ้นสำหรับตำแหน่งประเภททั่วไป ประเภทวิชาการ และประเภทอำนวยการ



๒.๓.๖ ให้สอดแทรกความรู้เกี่ยวกับอาเซียน และประชาคมอาเซียนไว้ในหลักสูตรฝึกอบรมต่าง ๆ ที่ส่วนราชการจัดและให้จัดอบรมภาษาอังกฤษพื้นฐานและภาษาอังกฤษเฉพาะด้านตามความจำเป็นแก่ข้าราชการในสังกัด



๒.๔ ความรู้ที่ข้าราชการที่ต้องมี คือ ความรู้เรื่องอาเซียน เช่นความเป็นมา/เป้าหมายของสมาคมอาเซียน กฎบัตรอาเซียน แผนงานการจัดตั้งประชาคมในแต่ละเสา ฯลฯ และความรู้เรื่องประเทศสมาชิกอาเซียน เช่นประวัติศาสตร์ของประเทศสมาชิก สภาพเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม การเมืองของประเทศสมาชิก จุดเด่นของแต่ละประเทศ ฯลฯ



๒.๕ ทักษะที่ข้าราชการต้องมี แบ่งเป็น ๒ ด้าน คือ ทักษะทั่วไปเช่น ภาษาอังกฤษ (การฟัง เขียน และพูด) การประชุมนานาชาติ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัย การเจรจาต่อรอง การบริหารความเสี่ยง การติดต่อ



ประสานงาน ฯลฯ และทักษะเฉพาะ เช่น ภาษาประเทศเพื่อนบ้าน การวิเคราะห์ตลาด/การวิเคราะห์คู่แข่ง การวางแผนเชิงกลยุทธ์ การยกร่าง MOU สัญญาระหว่างประเทศ การบริหารแรงงานต่างด้าว การวางแผนกำลังคนเชิงกลยุทธ์ ฯลฯ



๒.๖ สำนักงาน ก.พ. ได้จัดทำแนวทาง รูปแบบการพัฒนาความรู้ทักษะ และสมรรถนะ รวมทั้งหลักสูตรการฝึกอบรม เพื่อเตรียมความพร้อมบุคลากรภาครัฐสู่การเป็นประชาคมอาเซียน โดยร่วมกับกระทรวงการต่างประเทศและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ส่วนราชการต่าง ๆ สามารถนำไปปฏิบัติได้







๓. สรุปการบรรยาย เรื่อง “ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และการเตรียมการของประเทศไทยในการก้าวสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน” โดยนางสาวจิตวิมล กนิษฐนาคะ ผู้อำนวยการส่วนบริหารงาน ASEAN Plus กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์



๓.๑ ประชากรของประเทศอาเซียน มีจำนวนทั้งสิ้น ๕๙๑ ล้านคนมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ๑,๔๙๖ พันล้าน USD มูลค่าการค้ารวม (ส่งออกและนำเข้า) ๑,๕๓๖ พันล้าน USD มูลค่าการลงทุนจาก



ต่างประเทศ (FDI) ๓๘ พันล้าน USD จำนวนนักท่องเที่ยว ๗๓ ล้านคนเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ในอาเซียน ประเทศไทยมีศักยภาพในลำดับต้นๆ



๓.๒ ประเทศไทยมีมูลค่าการค้าระหว่างประเทศในอาเซียนค่อนข้างต่ำ แต่มีมูลค่าการค้ากับต่างประเทศนอกประเทศอาเซียนค่อนข้างสูงดังนั้น เมื่อเกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจในประเทศสหรัฐอเมริกา และกลุ่มสหภาพ



ยุโรป ประเทศไทยจึงได้รับผลกระทบอย่างมากจากวิกฤตการณ์ดังกล่าว ประเทศไทยจึงควรหันมาพึ่งพิงเศรษฐกิจภายในภูมิภาคที่มีความเข็มแข็งให้มีมากขึ้น



๓.๓ ประเทศที่เข้ามาลงทุนในอาเซียนมากที่สุด ได้แก่ สหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ โดยที่ประเทศไทยมีต่างชาติเข้ามาลงทุนในอันดับที่ ๓ รองจากประเทศสิงคโปร์ และประเทศเวียดนาม เนื่องจาก



สถานการณ์ทางการเมืองของทั้งสองประเทศนี้ค่อนข้างมีเสถียรภาพ และเปิดกว้างสำหรับการลงทุน ผิดกับประเทศไทยที่ประสบกับปัญหาทางด้านการเมืองอย่างต่อเนื่อง



๓.๔ แนวคิดของการตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEANEconomic Community : AEC) มีดังนี้



๓.๔.๑ การเป็นตลาดและฐานการผลิตร่วม สินค้า ธุรกิจบริการ แรงงานฝีมือ และเงินทุน เป็นไปอย่างเสรี ไม่กำแพงภาษี ฯลฯ ทั้งนี้สินค้าในรายการอ่อนไหวสูง (Highly Sensitive List) มี ๒ อย่าง คือข้าว และน้ำตาล ประเทศที่ขอไว้ คือ อินโดนีเซีย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์โดยสินค้าในกลุ่มนี้ประเทศสมาชิกอาเซียนสามารถกำหนดภาษีได้เป็นพิเศษแต่ต้องลดลงในระดับที่สมาชิกยอมรับได้ โดยที่สมาชิกจะทำความตกลงกันก่อนภาษีไม่ต้องเป็นร้อยละ ๐ แต่ไม่ต้องเกินร้อยละ ๕ โดยกลุ่มประเทศอาเซียน๖ ประเทศ ยกเว้น ในกลุ่มประเทศ CLMV (ราชอาณาจักรกัมพูชา สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เมียนมาร์ และสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม) จะต้องลดภาษีนำเข้าสินค้าจากอาเซียนเป็นศูนย์ ก่อนวันที่ ๑ มกราคม ๒๕๕๓ สำหรับCLMV จะต้องลดภาษีนำเข้าสินค้าจากอาเซียนเป็นศูนย์ ก่อนวันที่ ๑ มกราคม ๒๕๕๘



๓.๔.๒ สร้างขีดความสามารถแข่งขัน โดยการค้าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-ASEAN) สิทธิทรัพย์สินทางปัญญา การคุ้มครองผู้บริโภคฯลฯ การเป็นประชาคมอาเซียนจะเพิ่มขีดความสามารถของประเทศไทยในการแข่งขัน เนื่องจากประเทศไทยเป็นประตูหน้าด่านไปสู่ประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคอาเซียนที่มีประชากรมากกว่า ๕๙๑ ล้านคน และเป็นตลาดที่มีเสถียรภาพทางเศรษฐกิจสูง



๓.๔.๓ การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างเสมอภาค โดยการลดช่องว่างการพัฒนาระหว่างสมาชิกเก่า - ใหม่ ประเทศในกลุ่มอาเซียนจะต้องพัฒนาไปพร้อม ๆ กัน และสนับสนุนการพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและย่อม (SMEs)เนื่องจากกว่าร้อยละ ๘๐ ของธุรกิจในอาเซียน เป็นธุรกิจ SMEs



๓.๔.๔ การบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก โดยการปรับประสานนโยบายเศรษฐกิจ สร้างเครือข่ายการผลิต ฐานการผลิตร่วม ใน AECโดยที่ฐานการผลิตไม่จำเป็นต้องอยู่ในประเทศใดประเทศหนึ่งเพียงแห่งเดียว ทั้งนี้ขึ้นอยู่ว่าที่ใดจะมีความได้เปรียบสูงสุดในด้านต้นทุนของปัจจัยการผลิต หรือในด้านการตลาด และจัดทำเขตการค้าเสรี (FTA) กับประเทศนอกอาเซียน ปัจจุบันมีทั้งหมด ๖ ประเทศ คือ อินเดีย จีน ญี่ปุ่น เกาหลี ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์และในอนาคตจะเพิ่มอีก ๓ กลุ่มประเทศ คือ GCC (Gulf Cooperation Councils)MERCOSUR (Mercado Comun del Sur) ตลาดร่วมอเมริกาใต้ตอนล่าง)และรัสเซีย โดยการที่จะทำ FTA กับประเทศใดจะต้องพิจารณาว่าประโยชน์ที่จะได้รับมากน้อยเพียงใด ไม่ใช้จะทำ FTA กับทุกประเทศ



๓.๕ ภาคเอกชนไทยควรเตรียมความพร้อม ดังนี้



๓.๕.๑ ศึกษาและเสาะหาแหล่งวัตถุดิบที่มีความได้เปรียบด้านราคาและคุณภาพ



๓.๕.๒ ศึกษาความเป็นไปได้ในการย้ายฐานการผลิต



๓.๕.๓ สร้างมูลค่าเพิ่มและพัฒนา BRAND Thailandให้เป็นที่ยอมรับ



๓.๕.๔ สร้างพันธมิตรทางธุรกิจในประเทศอาเซียนเพื่อใช้ประโยชน์จากความได้เปรียบในการแข่งขันของหุ้นส่วนในพันธมิตร



๓.๕.๖ เรียนรู้คู่แข่ง (จุดแข็ง-จุดอ่อน) ทั้งในประเทศและอาเซียนอื่น



๓.๕.๗ ศึกษารสนิยมและแนวโน้มความต้องการของผู้บริโภคสินค้าและบริการ



๓.๕.๘ ปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตและการให้บริการ(ต้นทุนและคุณภาพ)



๓.๕.๙ ให้ความสำคัญกับการพัฒนาบุคลากรภายในองค์กรอาเซียนกำลังจะรวมกันเป็นหนึ่งเดียวแล้ว ซึ่งพวกเราชาว สปน. ในฐานะมนุษย์ตัวเล็ก ๆ ที่อาศัยอยู่ในประชาคมอาเซียนจึงควรเรียนรู้ที่จะปรับตัวให้เข้ากับยุคสมัยและการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ ไม่มีอะไรยากเกินความสามารถในการเรียนรู้ แล้วพบกันใหม่คราวหน้ากับเรื่องราวของอาเซียนในมิติต่าง ๆ







ที่มา : WWW.opm.go.th สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี

การประชุมเรื่อง ยุทธศาสตร์การพัฒนาในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๑๑



เมื่อวันศุกร์ที่ ๒๕ มีนาคม ๒๕๕๔ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)



ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์



ประธานคณะอนุกรรมการพัฒนาทุนมนุษย์







คณะอนุกรรมการพัฒนาทุนมนุษย์ได้จัดทำแผนสอดคล้องกับแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๑๑ ในส่วนยุทธศาสตร์การพัฒนาคนสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างยั่งยืน ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้


พัฒนาคุณภาพคนไทยให้มีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาประเทศในอนาคต



๑) การพัฒนาคุณภาพคนไทยทุกช่วงวัย



(๑) พัฒนาเด็กปฐมวัยอย่างเป็นองค์รวมทั้งด้านสติปัญญา อารมณ์ คุณธรรมและจริยธรรม โดย



(๑.๑) เตรียมความพร้อมของพ่อแม่และผู้ดูแลในการเลี้ยงดูเด็กที่เหมาะสมกับพัฒนาการทางสมอง สติปัญญา และร่างกาย ผลักดันให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีความสุขด้วยการกระตุ้นให้ได้คิดและลงมือทำด้วยตนเอง เชื่อมโยงสิ่งที่ได้เรียนรู้เข้ากับชีวิตจริง และปฏิบัติตนเป็นต้นแบบที่ดีด้านคุณธรรมและจริยธรรม



(๑.๒) ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพศูนย์เด็กเล็กทั้งในชุมชน สถานประกอบการ และหน่วยงานภาครัฐให้มีมาตรฐานสอดคล้องกับภูมิสังคม โดยให้ความสำคัญกับคุณภาพของผู้ดูแลเด็ก และการสนับสนุนให้ผู้สูงอายุที่มีศักยภาพมีส่วนร่วมในการเสริมสร้างพัฒนาการของเด็ก เพื่อสร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่างคนสามวัย



(๒) พัฒนาเด็กวัยเรียนให้มีความรู้ทางวิชาการ และสติปัญญาทางอารมณ์ที่เข้มแข็งสามารถศึกษาหาความรู้และต่อยอดองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง โดย



(๒.๑) การพัฒนาหลักสูตรและปรับกระบวนการเรียนการสอนที่เอื้อต่อการพัฒนาผู้เรียนอย่างรอบด้านที่เชื่อมโยงกับภูมิสังคม โดย



(๒.๑.๑) บูรณาการการเรียนรู้ให้หลากหลายวิชาทั้งด้านวิชาการ ทักษะชีวิต และสันทนาการที่ครอบคลุมทั้งศิลปะ ดนตรี กีฬา วัฒนธรรม ศาสนา ความเป็นไทย และเรื่องอาเซียนศึกษา



(๒.๑.๒) ปรับปรุงกระบวนการจัดการเรียนการสอนทั้งการเรียนรู้ในห้องเรียนและจัดกิจกรรมการเรียนรู้นอกห้องเรียน ที่เอื้อต่อการพัฒนาผู้เรียนอย่างรอบด้าน เรียนรู้เป็นกลุ่มและสร้างนิสัยใฝ่รู้ มีทักษะในการคิด วิเคราะห์ แก้ปัญหาเฉพาะหน้าและรับฟังความเห็นของผู้อื่น สนับสนุนการต่อยอดความคิดสร้างสรรค์ การจัดกิจกรรมอาสาสมัครเพื่อสาธารณะประโยชน์ โดยเฉพาะกิจกรรมลูกเสือ เนตรนารี และอาสาดูแลผู้สูงอายุในชุมชน เป็นต้น



(๒.๑.๓) ค้นหาเด็กที่มีอัจฉริยภาพและผู้มีความสามารถพิเศษด้านต่าง ๆ ให้ได้รับการส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาศักยภาพให้มีความเป็นเลิศ สามารถแสดงศักยภาพในเชิงสร้างสรรค์ได้อย่างเต็มที่และต่อเนื่อง



(๒.๒) ส่งเสริมการใช้และการอนุรักษ์ภาษาท้องถิ่น รวมทั้งการใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้องควบคู่กับการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สอง รวมทั้งการเรียนรู้ภาษาสากล และภาษาเพื่อนบ้านในกลุ่มอาเซียน



(๒.๓) เน้นครูผู้สอนให้มีวุฒิตรงตามวิชาที่สอน มีระบบ กระบวนการผลิตและพัฒนาครูที่มีคุณภาพ สามารถดึงดูดคนเก่งและดี มีจิตวิญญาณความเป็นครู โดยให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการสนับสนุนและยกย่อง ครูเพื่อศิษย์และหรือครูสอนดี เพื่อเป็นต้นแบบให้แก่ครู รวมทั้งมีระบบจูงใจให้ครูพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง ควบคู่กับการปรับวิธีประเมินสมรรถนะที่สะท้อนประสิทธิภาพในการจัดการเรียนการสอนและการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนเป็นสำคัญ



(๒.๔) เสริมสร้างทักษะชีวิตและพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมและถูกต้องให้แก่เด็ก โดยเฉพาะการสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่น สามารถจัดการ ควบคุม ดูแลอารมณ์ได้อย่างเหมาะสม มีความรู้ ความเข้าใจในหลักโภชนาการ คุณค่าของอาหาร การออกกำลังกาย และการใช้เวลาอย่างสร้างสรรค์และมีคุณภาพ



(๓) พัฒนากำลังแรงงานให้มีความรู้และสมรรถนะที่สอดคล้องกับโครงสร้างการผลิตและบริการบนฐานความรู้และเศรษฐกิจสร้างสรรค์



(๓.๑) พัฒนากำลังแรงงานในภาคเกษตร โดยจัดระบบการศึกษาเพื่อสร้างเกษตรกรรุ่นใหม่ที่มีความรู้ความสามารถด้านการเกษตรที่ใช้ความรู้และเทคโนโลยีสมัยใหม่อย่างครบวงจร สนับสนุนด้านวิชาการและปฏิรูปการฝึกอบรมอาชีพสู่การปฏิบัติจริง การสร้างจิตสำนึกและแรงจูงใจให้เยาวชนเข้าสู่อาชีพเกษตรกรรมอย่างมีศักดิ์ศรีควบคู่กับการเชิดชูคุณค่าของอาชีพเกษตรกร เพื่อให้ภาคการเกษตรเป็นฐานการผลิตที่มั่นคงของประเทศ



(๓.๒) ผลิตและพัฒนากำลังแรงงานระดับกลาง โดยเน้นการจัดการเรียน การสอนตามแนวทฤษฎีการเรียนรู้เพื่อสร้างสรรค์ด้วยปัญญา การยกระดับคุณภาพมาตรฐานอาชีวศึกษาให้ผู้เรียนมีสมรรถนะในการประกอบอาชีพที่เชื่อมโยงกับกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย และสอดคล้องกับความเชี่ยวชาญของสถานศึกษา รวมทั้งสร้างเครือข่ายการผลิตและพัฒนากำลังคนกับภาคส่วนต่างๆ โดยเฉพาะสถานประกอบการ ควบคู่กับการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้นานาชาติ



(๓.๓) พัฒนาคนให้มีการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตั้งแต่ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน การอาชีวศึกษาฐานวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และระดับอุดมศึกษา รวมทั้งสนับสนุนการผลิตและพัฒนานักวิจัย ผู้สร้างและพัฒนานวัตกรรมในสาขาต่างๆ ตลอดจนต่อยอดสู่การสร้างสรรค์นวัตกรรมระดับสูงที่เชื่อมโยงองค์ความรู้ใหม่กับภูมิปัญญาวัฒนธรรมไทย สู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์เพื่อเพิ่มมูลค่าและคุณค่าของสินค้าและบริการที่สามารถใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์หรือเชิงสังคม



(๓.๔) สนับสนุนให้มีการวางแผนและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในองค์กรภาครัฐอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง สร้างความชัดเจนในบทบาทและภาระงานของข้าราชการ พนักงาน และลูกจ้าง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพบุคลากรและการปฏิบัติงานของภาครัฐให้มีผลิตภาพสูงขึ้น



(๓.๕) จัดทำกรอบมาตรฐานคุณวุฒิแห่งชาติ เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาระบบคุณวุฒิวิชาชีพสนับสนุนการเตรียมความพร้อมรองรับการเปิดเสรีด้านแรงงานภายใต้กรอบความร่วมมือประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และเร่งเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจให้มีการนำคุณวุฒิวิชาชีพไปใช้อย่างเป็นรูปธรรม เพื่อให้แรงงานมีสมรรถนะและมีเส้นทางความก้าวหน้าในวิชาชีพที่ชัดเจน และนำไปประเมินค่าตอบแทนที่สอดคล้องกับความรู้ ทักษะอาชีพ และประสบการณ์ ตามกลไกตลาด



(๓.๖) เตรียมความพร้อมคนไทยในการรับประโยชน์และลดผลกระทบที่จะเข้ามาพร้อมกับการเข้าออกของแรงงานอย่างเสรี สร้างโอกาสและเพิ่มขีดความสามารถของคนไทยในการออกไปทำงานต่างประเทศ ยกระดับทักษะด้านอาชีพและทักษะด้านภาษาควบคู่กับการสร้างภูมิคุ้มกันทางสังคมจากผลกระทบของการเคลื่อนย้ายแรงงานเสรี



(๓.๗) เร่งบริหารจัดการแรงงานต่างด้าวให้เป็นระบบ เพื่อนำไปสู่การกำหนดมาตรฐานการจ้างงาน การคุ้มครองแรงงาน และการพัฒนาทักษะฝีมือที่เหมาะสม สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน



(๔) พัฒนาผู้สูงอายุให้มีความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม มีคุณภาพ มีคุณค่า สามารถปรับตัวเท่าทันการเปลี่ยนแปลง เป็นพลังในการพัฒนาสังคม



(๔.๑) ส่งเสริมการสร้างรายได้และการมีงานทำในผู้สูงอายุ โดยกำหนดลักษณะประเภทงานและอัตราค่าจ้างที่เหมาะสม ควบคู่กับการเพิ่มพูนความรู้ ทักษะทั้งด้านวิชาการและการใช้สื่อการเรียนรู้สมัยใหม่ให้แก่ผู้สูงอายุ เพื่อการประกอบอาชีพและการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง



(๔.๒) ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการนำความรู้และประสบการณ์ของผู้สูงอายุที่เป็นคลังสมองของชาติ ปราชญ์ชาวบ้าน/ผู้มีความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ประโยชน์ในการพัฒนาชุมชน ท้องถิ่น และประเทศ



(๔.๓) พัฒนาระบบการดูแลผู้สูงอายุในรูปแบบที่หลากหลายตามความเหมาะสมกับศักยภาพ ทรัพยากร และความต้องการของท้องถิ่น ทั้งในด้านการจัดบริการสุขภาพและสวัสดิการสังคมอย่างบูรณาการ โดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งพัฒนาชุมชนที่มีศักยภาพและความพร้อมให้เป็นต้นแบบของการดูแลผู้สูงอายุเพื่อขยายผลไปสู่ชุมชนอื่น



๒) สนับสนุนกระบวนการเรียนรู้สู่วัฒนธรรมการเกื้อกูล เสริมสร้างทักษะให้คนมีจิตสาธารณะ ด้วยการเรียนรู้ต่อเนื่องตลอดชีวิต และการต่อยอดสู่นวัตกรรมความรู้ การฝึกฝนจนเกิดความคิดสร้างสรรค์ การเปิดใจกว้างพร้อมรับทุกความคิดเห็น และการปลูกฝังจิตใจที่มีคุณธรรม ควบคู่กับการพัฒนาคนด้วยการเรียนรู้ในศาสตร์วิทยาการให้สามารถประกอบอาชีพได้อย่างหลากหลาย สอดคล้องกับแนวโน้มการจ้างงานในอนาคต รวมทั้งการพัฒนาต่อยอดตามศักยภาพและความถนัด



๓) การสร้างเสริมสุขภาวะคนไทยให้มีความสมบูรณ์แข็งแรงทั้งร่างกายและจิตใจ โดยการพัฒนาความรู้และทักษะในการดูแลสุขภาพของตนเอง ครอบครัว ชุมชน การเร่งดำเนินมาตรการส่งเสริมสุขภาพและลดปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อสุขภาพ การใช้เทคโนโลยีสื่อสารสมัยใหม่ในการพัฒนาคุณภาพบริการและขยายบริการสุขภาพเชิงรุก รวมทั้งมุ่งสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมในการพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาพ โดยเฉพาะการส่งเสริมให้ชุมชนท้องถิ่นมีความเข้มแข็งในการดำเนินกิจกรรมที่เอื้อต่อการสร้างเสริมสุขภาพ



๔) สร้างจิตสำนึกของประชาชนให้มีความรับผิดชอบต่อสังคม โดยสร้างความตระหนักถึงการเคารพกฎหมาย หลักสิทธิมนุษยชน การสร้างค่านิยมให้มีพฤติกรรมการผลิตและบริโภคที่รับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม การสร้างความรู้ความเข้าใจและจิตสำนึกในการอนุรักษ์พลังงาน เพื่อนำไปสู่การสร้างสังคมน่าอยู่


ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต สร้างโอกาสการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องให้คนทุกกลุ่มทุกวัยสามารถเข้าถึงแหล่งเรียนรู้และองค์ความรู้ที่หลากหลาย ทั้งที่เป็นวัฒนธรรม ภูมิปัญญาและองค์ความรู้ใหม่



๑) สร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ด้วยการสร้างกระแสสังคมให้การเรียนรู้เป็นหน้าที่ของคนไทยทุกคน สร้างนิสัยใฝ่รู้และรักการอ่านตั้งแต่วัยเด็ก ควบคู่กับการส่งเสริมให้องค์กรและสื่อทุกประเภทเป็นแหล่งเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ สื่อสารด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย เพื่อนำไปสู่การมีคุณภาพชีวิตและความสามารถในการดำรงชีวิตได้อย่างรู้เท่าทัน



๒) การสร้างปัจจัยสนับสนุนให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต



(๑) เสริมสร้างและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางปัญญาในระดับท้องถิ่น ชุมชน และประเทศ โดยพัฒนาโครงข่ายโทรคมนาคมเพื่อให้บริการสื่อสารข้อมูลความเร็วสูง หรือบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงให้ครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ พัฒนาแหล่งเรียนรู้ของชุมชนในรูปแบบที่หลากหลายสอดคล้องกับภูมิสังคม และพัฒนาและยกระดับศูนย์ความเป็นเลิศด้านต่างๆ สู่ภูมิภาคและชุมชน



(๒) พัฒนาและเปิดโอกาสให้ใช้ประโยชน์จากแหล่งเรียนรู้ทั่วไป อาทิ ห้องสมุด พิพิธภัณฑ์ ศูนย์การเรียนรู้ ศูนย์กีฬา รวมทั้งเปิดพื้นที่/เวทีสาธารณะให้เป็นศูนย์รวมการแลกเปลี่ยนให้กับนักคิดอย่างสร้างสรรค์ โดยกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ การแสดงออก และนำเสนอผลงานเชิงสร้างสรรค์ ตลอดจนให้มีการบริหารจัดการพื้นที่ที่เป็นแหล่งเรียนรู้ให้ประชาชนเข้าถึงอย่างสะดวกและใช้บริการได้เต็มศักยภาพ มีการผสมผสานภูมิปัญญาท้องถิ่นและความรู้สมัยใหม่ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ได้



(๓) พัฒนาองค์ความรู้ของท้องถิ่นทั้งจากผู้รู้ ปราชญ์ชาวบ้าน และจัดให้มีการจัดการองค์ความรู้ในชุมชนอย่างเป็นระบบ ควบคู่กับการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา พัฒนาทักษะด้านภาษาและเทคโนโลยีให้เอื้อต่อการเข้าถึงแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย ตลอดจนเนื้อหาสาระที่เอื้อต่อการพัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเอง



(๔) การปรับปรุงและผลักดันกฎ ระเบียบ และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ตลอดชีวิต มาตรการภาษีที่เกี่ยวข้อง ให้เอื้ออำนวยและส่งเสริมให้เกิดการจัดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง



๓) ส่งเสริมการศึกษาทางเลือกที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน



(๑) จัดการศึกษาและการเรียนรู้ที่มีคุณภาพ ยืดหยุ่น หลากหลาย เข้าถึงได้ง่าย ที่สัมพันธ์สอดคล้องกับวัฒนธรรม วิถีชีวิต และการประกอบอาชีพในแต่ละท้องถิ่น โดยเน้นการพัฒนาผู้เรียนเป็นสำคัญ ให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง เรียนรู้เป็นกลุ่มจนติดเป็นนิสัยใฝ่เรียนรู้



(๒) มีระบบเทียบโอนความรู้และประสบการณ์ ปรับระบบการวัดประเมินผลผู้เรียน และระบบการเข้ารับการศึกษาต่อให้เอื้อต่อการจัดการศึกษาทางเลือก และต่อประชากรทุกกลุ่มตามศักยภาพของผู้เรียน



(๓) ส่งเสริมให้มีการพัฒนาบทเรียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เนต และการใช้มาตรการทางภาษีในการสนับสนุนการผลิตสื่อเพื่อการเรียนรู้และเป็นช่องทางสำหรับคนทุกกลุ่มวัยแสดงออกอย่างสร้างสรรค์


เสริมสร้างค่านิยมและวัฒนธรรมที่ดีงามของไทยมาขับเคลื่อนกระบวนการการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ โดย



๑) พัฒนาบทบาทของสถาบันหลักทางสังคมในกระบวนการพัฒนาประเทศ



(๑) สนับสนุนสถาบันครอบครัว สถาบันการศึกษา สถาบันศาสนา ปลูกฝังกระบวนการคิดที่ยอมรับความแตกต่าง และจิตสำนึกประชาธิปไตยในทุกระดับ ตั้งแต่ปัจเจก ชุมชน ท้องถิ่น และระดับประเทศ ให้รู้และเข้าใจบทบาท หน้าที่ในความเป็นพลเมือง และการเคารพสิทธิของผู้อื่นตั้งแต่วัยเด็กจนตลอดชีวิต



(๒) นำคุณค่าอันดีงามของครอบครัวไทย อาทิ ความเอื้ออาทร และการเป็นเครือญาติ มาพัฒนาต่อยอด โดยใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสื่อสารสมัยใหม่ในการสร้างการเรียนรู้ระหว่างสมาชิกในครอบครัว และเชื่อมโยงสถาบันครอบครัวกับสถาบันศาสนาและสถาบันการศึกษาเพื่อปลูกฝังวัฒนธรรม ค่านิยมและจิตสำนึกที่ดีในการเฝ้าระวังทางวัฒนธรรมที่จะมีผลกระทบต่อการเบี่ยงเบนทางวัฒนธรรม



(๓) ส่งเสริมภาคประชาสังคมและองค์กรธุรกิจเอกชนให้มีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาชุมชนและสังคม โดยกำหนดมาตรการสนับสนุนการทำงานเป็นเครือข่ายที่เชื่อมโยงกับกลไกภาครัฐ การส่งเสริมภาคเอกชนที่ประกอบกิจการเพื่อสังคมที่สร้างสมดุลระหว่างผลประโยชน์ขององค์กรและผลประโยชน์ของชุมชนและสังคม การยกย่ององค์กรธุรกิจเอกชนที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมให้เป็นแบบอย่างที่ดีต่อสาธารณะ ตลอดจนสนับสนุนให้สถาบันทางสังคมยกย่องคนดีในสังคมที่เป็นต้นแบบและตัวอย่างที่ดีผ่านสื่อต่างๆ อย่างต่อเนื่อง



๒) นำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ภูมิปัญญาท้องถิ่น อัตลักษณ์ที่โดดเด่นของชุมชน คุณค่าของความสงบสุขและการแบ่งปันตามวิถีดั้งเดิม มาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาฟื้นฟูชุมชนท้องถิ่นให้สามารถพึ่งพาตนเองได้ โดยให้ความสำคัญกับการจัดการการเรียนรู้ในชุมชนที่เน้นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างชุมชนอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิตบนฐานชีวิตของคนในชุมชนและรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง



๓) นำความหลากหลายทางวัฒนธรรมมาต่อยอดในการพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์และการพัฒนาสังคมของประเทศ โดย



(๑) สนับสนุนสื่อ กลไกของรัฐ และภาคอุตสาหกรรมในการพัฒนาต่อยอดวัฒนธรรมไทยดั้งเดิมสู่วัฒนธรรมไทยร่วมสมัยที่เสริมสร้างคุณค่าและมูลค่าทางสังคม เศรษฐกิจ การเมือง และการปกครอง



(๒) สร้างค่านิยมให้คนไทยภาคภูมิใจในวัฒนธรรมไทย และการยอมรับความแตกต่างของความหลากหลายทางวัฒนธรรม เพื่อลดปัญหาความขัดแย้งทางความคิด และสร้างความเป็นเอกภาพในสังคม



๔) บูรณาการกลไกการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชน สิทธิในการเข้าถึงบริการของรัฐและสิทธิชุมชน ทั้งในระดับครอบครัว ระดับชุมชนท้องถิ่น ระดับชาติ และระดับสากลให้เชื่อมสัมพันธ์กันอย่างเกื้อกูล โดยใช้กลไกจังหวัดและสถาบันอุดมศึกษาในพื้นที่เป็นแกนหลักในการเชื่อมประสานภาคส่วนต่างๆ



๕) สร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวัฒนธรรมร่วมกับประชาคมโลก โดยเฉพาะประชาคมอาเซียน เพื่อให้เกิดการไหลเวียนทางวัฒนธรรมในรูปแบบการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่จะช่วยลดความเหลื่อมล้ำทางความคิดและค่านิยม และเพื่อประโยชน์ในการพัฒนาประชาคมอาเซียนร่วมกัน



ที่มา : http://www.gotoknow.org/blogs/posts/432773





การพัฒนาองค์การแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization Development)








 บทความโดย : อำนาจ วัดจินดา





องค์การที่มีลักษณะเปรียบเหมือนสถาบันการเรียนรู้ซึ่งบุคลากรมีการเรียนรู้กันอย่างขว้างขวาง อย่างมีส่วนร่วม และต่อเนื่องเพื่อยกระดับศักยภาพ อันได้แก่ความรู้ ความสามารถ ความชำนาญของตน ทีมงาน และองค์การ และนำไปใช้ในการเพิ่มพูนประสิทธิภาพในการทำงาน โดยมีการสนับสนุนจากองค์การด้วยการสนับสนุนเทคโนโลยี และเครื่องมือต่างๆเพื่อช่วยให้การเรียนรู้นั้นให้มีประสิทธิภาพสูงสุด ทั้งนี้ก็เพื่อสร้างให้องค์การประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์อย่างยั่งยืน



แรงผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
ในการเปลี่ยนแปลงจากองค์การที่มีการดำรงอยู่ในสภาพปัจจุบันให้เป็นองค์การแห่งการเรียนรู้นั้นมีปัจจัยที่เป็นแรงผลักดันหลายประการ แต่ที่สำคัญเป็นประเด็นหลักมี 4 ประการคือ



1. กระแสโลกาภิวัฒน์ (Globalization)
แรงผลักดันประการแรกนี้เป็นสิ่งที่เราสัมผัสใดในตลอดหลายปีที่ผ่านมาตั้งแต่มีระบบการสื่อสารและ การขนส่งที่รวดเร็วทำให้โลกแคบลงและรับรู้สิ่งต่างๆในซีกโลกอื่นๆได้ง่ายกว่าเดิมมากทำให้การรับรู้เกิดขึ้นอย่างกว้างขวางทั้งในระดับบุคคล? สังคม และองค์การ



2. เทคโนโลยีสมัยใหม่? (New technology)
เพื่อตอบสนองธรรมชาติของมนุษย์ในส่วนของความอยากรู้ในสิ่งใหม่ๆ จึงมีการพัฒนาเครื่องมืออัน
ทันสมัยอย่เสมอทั้งนี้เพื่อยกระดับประสิทธิภาพในการเรียนรู้โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือระบบ Internet ที่มีบทบาทอย่างยิ่งต่อการแสวงหาความรู้ใหม่ๆ



3. อิทธิพลของลูกค้า(Customer influence)
เป็นที่แน่นอนอย่างยิ่งว่าลูกค้าเป็นตัวกำหนดอนาคตขององค์การโดยเฉพาะองค์การธุรกิจ เพราะฉะนั้นทำอย่างไรองค์การจะตอบสนองความพึงพอใจของลูกค้าให้ได้มากที่สุดเพื่อที่องค์การจะได้รับการสนุบสนุนในการใช้สินค้าและบริการอย่างต่อเนื่อง



4. ความสำคัญของทรัพย์สินที่จับต้องไม่ได้ (Intangible assets)
ทรัพย์สินที่องค์การมีอาจแยกได้เป็นสองส่วนคือที่จับต้องได้(Tangible) เช่นเงินทุน
อาคารสถานที่ และเครื่องจักรอุปกรณ์ต่างๆ และที่จับต้องไม่ได้(Intangible) เช่น สิทธิบัตร ความสัมพันธ์กับลูกค้าและพันธมิตร ตราสินค้า (Brand) และที่สำคัญคือความรู้ความสามารถของบุคลากรไม่ว่าจะเป็นผู้บริหาร หรือผู้ปฎิบัติงานระดับต่างๆ ทั้งนี้ทรัพย์สินที่จับต้องไม่ได้ในเชิงรูปธรรมโดยเฉพาะความรู้ (Knowledge) นั้น เป็นสิ่งที่มีค่าและใช้ให้เกิดประโยชน์ได้อย่างไร้ขีดจำกัด




ตัวแบบระบบองค์การแห่งการเรียนรู้ ตามแนวคิดของ Michael J.Marquardt




1. องค์การ (Organization)
ระบบขององค์การต้องมีการวางรากฐานไว้เพื่อสร้างองค์การแห่งการเรียนรู้ซึ่งประกอบด้วยปัจจัยที่เป็นองค์ประกอบที่สำคัญ ได้แก่ วิสัยทัศน์(Vision) ?ซึ่งเป็นเสมือนเข็มทิศนำองค์การไปยังเป้าหมายที่พึงประสงค์ กลยุทธ์ (Strategy) เป็นวิธีการที่จะทำให้ไปถึงยังเป้าหมายตามวิสัยทัศน์ โครงสร้างองค์การ (Structure) เป็นปัจจัยสนับสนุนให้มีการทำหน้าที่ในทุกภาคส่วนอย่างเหมาะสม และที่สำคัญคือวัฒนธรรมองค์การ (Organization Culture) ซึ่งเป็นความเชื่อหรือค่านิยมของคนในองค์การที่ต้องเอื้อต่อการสร้างองค์การแห่งการเรียนรู้ เช่น ค่านิยมการทำงานเป็นทีม การบริหารจัดการตนเอง การมอบอำนาจ กระจายอำนาจเป็นต้น



2. ผู้ที่เกี่ยวข้องกับองค์การ(People)
องค์การหนึ่งๆต่างมีผู้เกี่ยวข้องหลายฝ่ายทั้งภายในองค์การเองเช่น ผู้บริหารต้องมีภาวะผู้นำและมี
ทักษะทางด้านการบริหาร เช่นการสอนงาน การเป็นพี่เลี้ยง และที่สำคัญต้องเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ผู้ใต้บังคับบัญชา? พนักงานระดับปฏิบัติต้องมีนิสัยไฝ่รู้ และพัฒนาศักยภาพของตนเองอยู่เสมอ ลูกค้าที่ใช้บริการก็ต้องมีการให้ข้อมูลย้อนกลับในด้านของความต้องการแก่องค์การเช่นเดียวกับพันธมิตรทางธุรกิจ ที่ต้องให้ความร่วมมือในการแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกันอย่างจริงใจ? และรวมทั้งชุมชนที่ต้องให้การสนับสนุนการพัฒนาองค์การที่ตั้งอยู่ในบริเวณชุมชน ?ทั้งนี้จะเห็นได้ว่าผู้เกี่ยวข้องฝ่ายต่างๆ ก็มีส่วนในการสร้างองค์การแห่งการเรียนรู้ทั้งสิ้น



3. เทคโนโลยี (Technology)
การมีเครื่องมือหรือเทคโนโลยีที่ทันสมัยถือเป็นสิ่งอำนวยความสะดวกที่ช่วยให้การสร้างองค์การแห่งการเรียนรู้มีความสะดวกมากยิ่งขึ้น โดยประเภทของเทคโนโลยีที่ช่วยในการสร้างองค์การแห่งการเรียนรู้มี 2 ประเภทคือ เทคโนโลยีสำหรับการบริหารจัดการความรู้(Manage knowledge) คือการใช้เพื่อการจัดเก็บและแลกเปลี่ยนความรู้แก่กัน ประเภทที่สองคือเทคโนโลยีที่ใช้ในการเพิ่มพูนความรู้ (Enhance learning) คือการใช้เครื่องมืออุปกรณ์ในการสร้างการเรียนรู้แก่ผู้เรียนได้อย่างสะดวกมากขึ้น เช่นComputer-based training ??E-Learning Web-based learning



4. ความรู้ (Knowledge)
ความรู้ที่มีในองค์การจำเป็นอย่างยิ่งต้องมีการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบทั้งนี้เพื่อนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อองค์การ โดยกระบวนการให้การจัดการความรู้(Knowledge management) มีกระบวนการเริ่มตั้งแต่การระบุความรู้ที่จำเป็นต่อองค์การ การเสาะแสวงหาหรือสร้างความรู้ขึ้นมาใหม่ การจัดเก็บความรู้ การแบ่งบันความรู้ และการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการทำงาน ซึ่งแนวคิดนี้เองคงเป็นการสร้างความกระจ่างถึงความสัมพันธ์ระหว่างองค์การแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization) กับการจัดการความรู้ (Knowledge management) เพราะว่าในแนวคิดของ Michael J.Marquardt ถือว่าการจัดการความรู้เป็นระบบย่อยระบบหนึ่งที่มีความสำคัญในการสร้างองค์การแห่งการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นนั่นเอง



5. การเรียนรู้(Learning)?
การเรียนรู้ถือเป็นระบบหลักที่เป็นแกนสำคัญของการสร้างองค์การแห่งการเรียนรู้ซึ่งสามารถจำแนกการเรียนรู้ได้ 3-ระดับคือ-ระดับบุคคล-ระดับกลุ่ม-และระดับองค์การ ซึ่งในแต่ละระดับของการเรียนรู้นั้นต้องเรี่มที่ทักษะของตัวบุคลากรแต่ละคนซึ่งต้องมี 5-ประการเพื่อสามารถเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ได้แก่
ความคิดเชิงระบบ(Systematic Thinking)?? การมีตัวแบบทางความคิด (Mental Model) ความเชี่ยวชาญรอบรู้ (Personal Mastery) การเรียนรู้ด้วยตนเอง (Self-directed learning) และการสนทนาสื่อสารกัน (Dialogue) โดยวิธีในการเรียนรู้ที่มีความสำคัญในการสร้างการเรียนรู้ในบริบทขององค์การแห่งการเรียนรู้มี 3 ประเภทคือการเรียนรู้เพื่อการปรับตัว (Adaptive learning) คือการเรียนรู้จากประสบการณ์ในอดีตเพื่อการปรับปรุงในอนาคต?? การเรียนรู้โดยการกระทำ (Action learning) คือการเรียนรู้ที่นำเอาสถานการณ์หรือสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นจริงมาเป็นฐานของการเรียนรู้?? และสุดท้ายคือระบบการเรียนรู้เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายขององค์การ(Anticipatory learning) ?คือการเรียนรู้ที่มุ่งสนองตอบความสำเร็จของเป้าหมายองค์การเช่น วิสัยทัศน์(Vision) เป็นต้น



ที่มา : http://www.hrcenter.co.th/column_detail.php?column_id=655&page=1

ไม่มีความคิดเห็น: