บทที่ 8
เทคนิคในการบริหารทรัพยากรมนุษย์และการจัดการที่เหมาะสมกับวัฒนธรรมไทย
ความสามารถในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Development)
ในขณะที่การปรับตัวขององค์การทำในลักษณะของ Outside In นั้น การพัฒนา “คน” จะพัฒนาในลักษณะตรงกันข้ามคือ จะต้องพัฒนาจากภายในตั้งแต่ระดับบุคคล ระหว่างบุคคล จนไปถึงระดับองค์การ หรือที่เรียกว่าเป็นกระบวนพัฒนาจากข้างในสู่ข้างนอก และผลลัพธ์ที่เกิดจากการพัฒนาคนคือ การพัฒนาวัฒนธรรมองค์การ ซึ่งสิ่งนี้จะเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดในการนำไปสู่ความสำเร็จตามวิสัยทัศน์ที่กำหนดไว้
การพัฒนา “คน” จะต้องคำนึงถึงเป้าหมายสำคัญ 2 ประการคือ
1. เป้าหมายขององค์การ (Organizational Goal)
การพัฒนาคนจะต้องสามารถตอบสนองต่อเป้าหมายขององค์การในทุกระดับ ตั้งแต่เป้าหมายของงาน
ในระดับบุคคล เป้าหมายของกลุ่มหรือหน่วยงาน จะกระทั่งบรรลุความสำเร็จตามกลยุทธ์ ภารกิจ และวิสัยทัศน์ ในระดับองค์การ
2. เป้าหมายชีวิติของพนักงาน (Self-Esteem Needs)
ความสำเร็จของการพัฒนาองค์การจะไปสู่ความเป็นเลิศไม่ได้ ถ้าเป้าหมายขององค์การประสบความสำเร็จแต่เปาหมายของชีวิต “คน” ล้มเหลว ซึ่งความสำเร็จของชีวิตการทำงานที่ทุกคนต้องการคือ การมีคุณภาพชีวิตที่ดี ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องคำนึงถึงเป็นอย่างมากในการพัฒนาองค์การในทุกระดับ
เมื่อใดก็ตามที่ผู้บริหารระดับสูงมีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล และมักจะนำเอาระบบใหม่ๆ เข้ามาใช้ในองค์การอยู่เสมอแล้ว ภารกิจสำคัญก็จะตกอยู่กับผู้บริหารฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ ที่จะต้องมาใช้ในองค์การอยู่เสมอแล้ว ภารกิจสำคัญก็จะตกอยู่กับผู้บริหารฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ ที่จะต้องพัฒนาคนให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาเช่นกัน ดังนั้นจะเห็นได้ว่า การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์นั้น มีความสำคัญต่อองค์การไม่ยิ่งหย่อนไปกว่างานของผู้บริหารระดับสูงเลย ผู้บริหารงานทรัพยากรมนุษย์ซึ่งทำหน้าที่ในการบริหาร “คน” ก็จะต้องมองภาพรวมในการบริหารองค์การให้ไปสู่ความสำเร็จที่กว้างขึ้น และคิดเสมอว่า ภาระหน้าที่ของการบริหารคนมิได้เป็นเพียงส่วนใดส่วนหนึ่ง แต่เป็นส่วนสำคัญที่สุดในการที่จะนำไปสู่องค์การแห่งความเป็นเลิศ
อ้างอิง : การบริหารงานทรัพยากรมนุษย์สมัยใหม่. ณรงค์วิทย์ แสนทอง.ปี 2544. หน้า 13-14
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น