หน้าเว็บ

บทที่ 11 การบริหารจัดการธุรกิจสีเขียวและการวิเคราะห์ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และคุณภาพชีวิต

น.ส.วรรณภา ปั้นนาค รหัส 5210125401038 เอกการจัดการทั่วไป ภาคปกติ


การออกแบบเพื่อสิ่งแวดล้อม เพื่อชีวิตที่ยั่งยืน (Eco Design)
                นักวิชาการด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ต่างมีความเห็นพ้องกันว่า การลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุดต้องเริ่มตั้งแต่กระบวนการออกแบบผลิตภัณฑ์ เพราะแม้ว่าต้นทุนของการออกแบบผลิตภัณฑ์ทางตรงจะมีเพียง 5-13% ของต้นทุนผลิตภัณฑ์รวม แต่ผลสืบเนื่องจากการออกแบบผลิตภัณฑ์จะเป็นตัวกำหนดโครงสร้างต้นทุนถึง 60-80%การออกแบบเชิงนิเวศเศรษฐกิจ (Eco Design) จึงเข้ามามีบทบาทสำคัญต่อกระบวนการผลิตสินค้า โดยเป็นกระบวนการที่ผนวกแนวคิดด้านเศรษฐกิจและด้านสิ่งแวดล้อมเข้าไปในขั้นตอนการออกแบบ เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งรวมถึงการวิเคราะห์สมรรถนะทางด้านสิ่งแวดล้อมของผลิตภัณฑ์ การจัดการซากที่หมดอายุ การลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในทุกช่วงของวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์ โดยควบคู่กับการวิเคราะห์ปัจจัยด้านอื่นๆ เช่น ต้นทุน กระบวนการผลิต การควบคุมคุณภาพ และการตลาด เป็นต้น
                หลักการพื้นฐานของการทำ Eco Design คือ การนำหลัก 4R ได้แก่ การลด (Reduce) การใช้ซ้ำ (Reuse) การนำกลับมาใช้ใหม่ (Recycle) และการซ่อมบำรุง (Repair) มาประยุกต์ใช้ในทุกช่วงของวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ คือตั้งแต่การวางแผนผลิตภัณฑ์ การออกแบบ การผลิต การนำไปใช้ และการทำลายหลังการใช้เสร็จ 
                ความสำคัญของ Eco Design มิใช่เป็นเพียงแค่แนวทางในการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเท่านั้น หากยังมีความสำคัญต่อการค้าและการส่งออกอีกด้วย เนื่องจากในปัจจุบันประเทศในกลุ่มพัฒนาแล้ว ไม่ว่าจะเป็น สหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา หรือญี่ปุ่น ต่างให้ความสนใจด้านสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ดังจะเห็นได้ว่ามีการออกข้อกำหนดและกฎระเบียบทางการค้าที่สัมพันธ์กับการรักษาสิ่งแวดล้อม เช่น ระเบียบว่าด้วยการจัดการเศษเหลือทิ้งจากผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (Waste Electrical and Electronic Equipment; WEEE) ระเบียบว่าด้วยการจำกัดการใช้สารอันตรายบางชนิดในผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (The Restriction of the use of certain Hazardous Substance in electrical and electronic equipment; RoHS) ของกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป หรือระเบียบเกี่ยวกับการจัดการซากของยานยนต์ (End of Life Vehicles; ELV) ซึ่งมาตรการเหล่านี้ส่งผลให้ผู้ประกอบการต้องเข้ามาเป็นผู้รับผิดชอบโดยตรงต่อเศษซากวัสดุจากผลิตภัณฑ์ของตน ผู้ประกอบการจึงต้องปรับปรุงและพัฒนาสินค้าของตนเพื่อที่จะสามารถส่งออกสินค้าได้
                Eco Design เป็นแนวทางหนึ่งในการแสดงความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม นอกเหนือจากแนวทางอื่นๆ ที่เป็นที่รู้จักกันดี ไม่ว่าจะเป็น เทคโนโลยีสะอาด (Cleaner Technology; CT) หรือวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ (Life Cycle Assessment; LCA) ซึ่งในประเทศไทยพบว่า ปัจจุบันมีหน่วยงานของรัฐ องค์กรอิสระ และสถาบันการศึกษาหลายแห่งที่มีโครงการศึกษาและการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ด้าน EcoDesign มากขึ้น ตลอดจนการเผยแพร่ความรู้และสนับสนุนให้ภาคอุตสาหกรรมสามารถนำ EcoDesign มาผลิตผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม


ตัวอย่าง
กลยุทธ์ธุรกิจสีเขียว (Green Business Strategies) 8 ม.ค. 2555
ชื่อโครงการ โครงการจัดการสัมมนา กลยุทธ์ธุรกิจสีเขียว (Green Business Strategies) : อัจฉริยภาพทางวิศวกรรม สู่ประสิทธิภาพด้านพลังงานและการรับมือภัยภิบัติ ในการผลิตและระบบขนส่ง
ผู้รับผิดชอบโครงการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ร่วมกับสถาบันวิทยาการโซ่อุปทาน มหาวิทยาลัยศรีปทุม
หลักการและเหตุผล
                สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ได้ทำการจัดงานบีโอไอแฟร์ 2011” จัดแสดงนิทรรศการและศักยภาพของอุตสาหกรรมไทยเพื่อฟื้นฟูภาพลักษณ์และสร้างความเชื่อมั่นของไทยให้กับนักลงทุน ซึ่งกำหนดจัดขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี และในปี 2011 นี้ ได้มีกำหนดจัดงานในวันที่ 5-20 มกราคม 2555 ณ อิมแพ็ค เมืองทองธานี ในการนี้ทางสำนักฯ ได้เล็งเห็นถึงศักยภาพของมหาวิทยาลัยศรีปทุมที่จะเป็นประโยชน์ต่อภาคอุตสาหกรรมจึงเรียนเชิญเป็นผู้สนับสนุนทางด้านการจัดสัมนาเชิงวิชาการในงาน บีโอไอแฟร์ 2011” ครั้งนี้ ตามจดหมายที่แนบมา (แนบจดหมายเชิญจาก BOI ถึงท่านอธิการ)
คณะวิศวกรรมศาสตร์เล็งเห็นว่า งานบีโอไอแฟร์ เป็นงานใหญ่ที่สุดประจำปีงานหนึ่งของประเทศ และได้รับการยอมรับจากนักลงทุนจากภาคอุตสาหกรรมทั้งในและต่างประเทศ จึงได้ขอเสนอตัวเป็นตัวแทนของมหาวิทยาลัย ร่วมกับสถาบันวิทยาการโซ่อุปทาน ในการจัดการประชุม เสวนา และ นำเสนอหัวข้อทางวิชาการด้านวิศวกรรม ในหัวข้อ กลยุทธ์ธุรกิจสีเขียว (Green Business Strategies): อัจฉริยภาพทางวิศวกรรม สู่ประสิทธิภาพด้านพลังงานและการรับมือภัยภิบัติ ในการผลิตและระบบขนส่งให้กับผู้ประกอบการและนักลงทุนที่เข้าร่วมในงานดังกล่าว เพื่อการพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน

นางสาวสุกัญญา ปราณีดุดสี รหัส 5210125401006



การบริหารการเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาอย่างยั่งยืน
ผู้บริหาร เป็นผู้ที่มีความสนใจดำเนินการเปลี่ยนแปลงบางอย่างภายในกลุ่มหรือองค์การ แต่สำหรับผู้บริหารแล้วควรจะมีความเชี่ยวชาญ และการฝึกฝน อย่างน้อย 2 เรื่อง ต่อไปนี้
1. การทำนายเหตุการณ์ สิ่งแรกและบางทีอาจเป็นสิ่งสำคัญที่สุดของขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงใดๆ ในกระบวนการทำนายมีขั้นตอนอย่างน้อยที่สุด 3 ขั้น คือ
ขั้นที่ 1 จุดมอง : ควรมองสถานการณ์จากจุดต่างๆ ที่คนทั้งหลาย ซึ่งได้รับผลจากการเปลี่ยนแปลงนี้ยืนอยู่ให้หลายๆจุดเท่าที่จะมากได้
ขั้นที่ 2 การจำแนกปัญหา : การพยายามเปลี่ยนแปลงใดๆ ก็ควรเริ่มต้นที่การจำแนกปัญหาให้ได้เสียก่อน
ขั้นที่ 3 การวิเคราะห์ปัญหา : การหาว่าทำไมปัญหานั้นยังคงมีอยู่ ขีดขั้นระหว่างการจำแนกปัญหากับการวิเคราะห์ปัญหา นั้น แต่อย่างไรก็ตามการจำแนกปัญหานั้นมักเป็นส่วนหนึ่งของการวิเคราะห์ปัญหา
2. การดำเนินการเปลี่ยนแปลง กระบวนการในขั้นดำเนินการนั้นจะเกี่ยวข้องกับสิ่งเหล่านี้ คือ
ขั้นที่ 1 : การจำแนกทางเลือกในการแก้ไขปัญหา และหากลวิธีในการดำเนินการที่เหมาะสม มาใช้เพื่อลดความขัดแย้งระหว่างสิ่งที่เกิดขึ้นอยู่จริงกับสิ่งที่คูณอยากจะให้เกิดขึ้น
ขั้นที่ 2 : ดูผลที่เกดขึ้นว่าเป็นอย่างไร ถ้าใช้กลวิธีที่เลือกไว้
ขั้นที่ 3 : เลือกกลวิธีบางอย่างแล้วนำไปดำเนินการ
เมื่อทำการวิเคราะห์เสร็จสิ้นแล้ว ก็นำทางเลือกที่จะแก้ไขปัญหา มาพิจารณาที่ละข้อ เพื่อดูว่ากลวิธีที่เลือกเหมาะสมหรือไม่

อ้างอิง ชื่อหนังสือ : เทคนิคการจูงใจให้ทำงาน
ชื่อผู้แต่ง: ยอดชาย ทองไทยนันท์
ปีที่พิมพ์ : 2545
นางสาวสุกัญญา ปราณีดุดสี รหัส 5210125401006 การจัดการทั่วไป รุ่น 52 ปี4

นางสาวสุกัญญา ปราณีดุดสี รหัส 5210125401006


เทคนิคในการบริหารทรัพยากรมนุษย์
บทบาทของผู้บริหารฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ มีดังนี้
1. การวางแผน (Planning) การวางแผนเป็นงานที่สำคัญของฝ่ายบริหาร ผู้บริหารฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ จะกำหนดบุคลากรที่องค์การต้องการด้วยการวางแผนกำลังคน โดยการทำงานร่วมกับผู้บริหารในฝ่ายต่างๆ เพื่อกำหนดว่าองค์การควรมีคนจำนวนเท่าไรพร้อมทั้งระบุคุณสมบัติ และประสบการณ์ที่ต้องการ ทั้งนี้เพื่อให้องค์การไม่ต้องประสบปัญหาเรื่องการขาดแคลนคน
2. การจัดองค์การ (Organizing)  การจัดองค์การนี้เป็นวิถีทางที่นำไปสู่จุดมุ่งหมายปลายทาง ด้วยการกำหนดรูปแบบโครงสร้างของความสัมพันธ์ระหว่าง งาน บุคคล และวัสดุอุปกรณ์เครื่องมือต่างๆ ผู้บริหารฝ่ายทรัพยากรมนุษย์จะต้องมีความรอบรู้ในหน่วยงานต่างๆ ในองค์การเป็นอย่างดี เพราะการเพิ่มตำแหน่งพิเศษต่างๆในหน่วยงานนั้น ฝ่ายบริหารระดับสูงมักสอบถามความคิดเห็นมายังฝ่ายบุคคล นอกจากนี้ผู้บริหารฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ จะต้องสามารถจำแนกหน้าที่ของหน่วยงานหลักและหน่วยงานที่ปรึกษาให้ชัดเจน เพื่อไม่เกิดปัญหาในภายหลัง
3. การอำนวยการและการสั่งการ (Directing or Leading) เป็นภารกิจหนึ่งที่ผู้บริหารฝ่ายทรัพยากรมนุษย์จะต้องดำเนินการประสานต่อจากการมีแผนงาน การจัดองค์การด้วยการกระตุ้นให้สมาชิกในองค์การตั้งใจทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
4. การควบคุม(Controlling) เป็นมาตรการหนึ่งที่ผู้บริหารฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ใช้สอดส่องดูแลว่าฝ่ายต่างๆได้ดำเนินการและปฏิบัติการเป็นนโยบายการบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่วางไว้หรือไม่

อ้างอิง ชื่อหนังสือ : การบริหารทรัพยากรมนุษย์
ชื่อผู้แต่ง : รศ.ดร. พะยอม วงศ์สารศรี
ปีที่พิมพ์ : 2550

น.ส. มาลินี นิยมไทย รหัส 5210125401057


บทที่ 1 การวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นในการจัดการการประเมินสภาพแวดล้อมภายนอกและภายใน
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม
การวิเคราะห์สวอต (SWOT Analysis)
การนำเทคนิคที่เรียกว่า TOWS Matrix มาใช้ในการวิเคราะห์เพื่อกำหนดยุทธศาสตร์และ
กลยุทธ์ จะมีขั้นตอนการดำเนินการที่สำคัญ 2 ขั้นตอน ดังนี้
1. หลังจากที่มีการประเมินสภาพแวดล้อมโดยการวิเคราะห์ให้เห็นถึงจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส
และอุปสรรค ก็จะนำข้อมูลทั้งหมดมาวิเคราะห์ในรูปแบบความสัมพันธ์แบบแมตริกซ์โดยใช้
ตารางที่เรียกว่า TOWS Matrix
2. การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างจุดแข็ง จุดอ่อน   โอกาส และ อุปสรรค ซึ่งผลของการ
วิเคราะห์ความสัมพันธ์ให้เกิดยุทธ์ศาสตร์หรือกลยุทธ์สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ประเภท คือ
1) SO ได้มาจากการนำข้อมูลการประเมินสภาพแวดล้อมที่เป็นจุดแข็งและโอกาส
มาพิจารณาร่วมกัน เพื่อที่จะนำมากำหนดเป็นยุทธ์ศาสตร์หรือกลยุทธ์เชิงรุก
2) ST  ได้มาจากการนำข้อมูลการประเมินสภาพแวดล้อมที่เป็นจุดแข็งและอุปสรรค
มาพิจารณาร่วมกัน เพื่อที่จะนำมากำหนดเป็นยุทธ์ศาสตร์หรือกลยุทธ์เชิงป้องกัน
3) WO  ได้มาจากการนำข้อมูลการประเมินสภาพแวดล้อมที่เป็นจุดอ่อนและโอกาส
มาพิจารณาร่วมกัน เพื่อที่จะนำมากำหนดเป็นยุทธ์ศาสตร์หรือกลยุทธ์เชิงแก้ไข
4) WT ได้มาจากการนำข้อมูลการประเมินสภาพแวดล้อมที่เป็นจุดอ่อนและอุปสรรค
มาพิจารณาร่วมกัน เพื่อที่จะนำมากำหนดเป็นยุทธ์ศาสตร์หรือกลยุทธ์เชิงรับ

บทที่ 2 แนวคิด ทฤษฏีทางการบริหารจัดการที่สำคัญตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบัน
ทฤษฎีองค์การสมัยปัจจุบันได้รับการพัฒนาโดยนำแนวความติดของสมัยดั้งเดิมและสมัยใหม่มาปรับปรุง ใช้ศาสตร์ เศรษฐศาสตร์  ทฤษฏีสมัยปัจจุบันได้รับการพัฒนาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1950 เป็นต้นมา
นักทฤษฏีองค์การสมัยปัจจุบันที่มีชื่อเสียบ ได้แก่ เชลเตอร์ บาร์นาร์ค นอเบิร์ต วีเนอร์ และลุคริก ฟอน เบอร์ทัลแลนฟ์ไฟ
ลักษณะของทฤษฎีองค์การสมัยปรับปรุง
1.องค์การเป็นระบบหนึ่งที่ประกอบด้วยปัจจัยที่เป็นพื้นฐาน 5 ส่วนคือ ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ ผลผลิต ข้อมูลย้อนกลับ และสภาพแวดล้อม สำหรับองค์การธุรกิจนั้นจัดเป็นองค์การระบบเปิด
2.องค์การเปลี่ยนแปลงได้ โครงสร้างขององค์การหรือกระบวนการ ความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นภายในองค์การสามารถเปลี่ยนแปลได้เพื่อนประสิทธิภาพขององค์การ
3.องค์การมีหลายระดับและหลายด้าน นั่นคือ พิจารณาองค์การทุก ๆ ระดับ ธุรกิจหนึ่ง ๆ อาจถูกพิจารณาทั้งในด้านจุลภาคและมหภาค ในด้านมหภาคองค์การเป็นส่วนเล็ก ๆ ส่วนหนึ่งในระบบอุตสาหกรรมของประเทศ ส่วนในแง่จุลภาคจะพิจารณาส่วนย่อย ๆ ในองค์การนั้น ๆ
4.องค์การต้องใช้แรงจูงใจหลาย ๆ ด้านเพื่อให้คนงานทำงานให้บรรลุเป้าหมาย ทฤษฏีสมัยปัจจุบันเชื่อว่าสมาชิกรขององค์การคาดหมายที่จะตอบสนองวัตถุประสงค์บางอย่างโดยใช้องค์การเป็นทางผ่าน
5.การบริหารองค์การไม่มีความแน่นอนว่าจะต้องสำเร็จเสมอไป เพราะมีปัจจัยต่าง ๆ จำนวนมากและสภานการณ์สิ่งแวดล้อมที่เป็นตัวแปรสำคัญ
6.ทฤษฎีองค์การสมัยปัจจุบันเป็นืฤษฎีผสมคือนำแนวความคิดของทฤษฎีในสาขาวิชาต่าง ๆ หลายสาขามาผสมผสานกัน ได้แก่ จิตวิทยา สังคมวิทยา เศรษฐศาสตร์ พฤติกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์
7.ทฤษฏีองค์การสมัยปัจจุบันมีลักษณะเป็นการพรรณนาคือเป็นการอธิบายคุณลักษณะขององค์การและการบริหาร ไม่ได้กำหนดสิ่งต่าง ๆ ไว้แน่นอน แต่จะเปิดโอกาศให้เลือกวัตถุประสงค์และวิธีการต่าง ๆ ตามความเหมาะสม
8.เหตุการณ์หนึ่ง ๆ ที่เกิดขึ้นในองค์การจะมีสาเหตุมาจากปัจจัยต่าง ๆ หลายปัจจัย ปัจจัยเหล่านี้โดยตัวของมันเองจะมีความสัมพันธ์กัน และเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนั้นอาจจะย้อนกลับไปกระทบปัจจัยที่เป็นสาเหตุ และอาจทำให้เปลี่ยนแปลงปัจจัยที่เป็นสาเหตุนั้นได้ด้วย
9.องค์การเป็นระบบที่ปรับตัวได้ ลักษณะข้อนี้นับว่าสำคัญที่สุด หากองค์การต้องการจะคงอยู่ตลอดไปในสภาพแวดล้อมใด ๆ องค์การจะต้องปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ
ทฤษฎีองค์การสมัยปัจจุบันมุ่งถึงระบบและผลผลิตที่มีคุณค่าขององค์การเป็นสำคัญ เพราะระบบและผลผลิตจะเป็นสิ่งที่ทำให้องค์การคงอยู่ตลอดไป ส่วนทฤษฎีองค์การสมัยดั้งเดิมนั้นมักเน้นที่ฝโครงสร้างเป็นสำคัญ สิ่งหนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงแนวความคิดที่ต่างออกไปจากสมัยเดิมคือ ทฤษฎีองค์การสมัยปัจจุบันจะเน้นถึงการบริหารตามวัตถุประสงค์ ใน ขณะที่การบริหารสมัยเก่าเน้นถึงการบริหารในรายละเอียดของงาน
อ้างอิง รองศาสตราจารย์ สมคิด บางโม หนังสือ องค์การและการจัดการ พิมพ์ครั้งแรก 2538 ปรับปรุง 2541






บทที่ 3 การค้นหาข้อมูลโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
www.data-sheet.net
เว็บไซต์นี้มีหน้าตาเรียบๆ ไม่ต่างไปจาก "Google" แต่จะแสดงผลการค้นหาเป็นไฟล์เอกสารนามสกุล PDF เท่านั้น คุณสามารถพิมพ์คำค้นหาทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษได้ เมื่อเจอผลการค้นหาใดที่ต้องการดาวน์โหลด ให้คลิกขวา และเลือก Save Link As ได้ทันที ก็จะได้ไฟล์เอกสารมาเก็บไว้ในฮาร์ดดิสก์ทันทีเท่านั้นยังไม่พอเว็บไซต์นี้ยังมีผลการค้นหาในรูปแบบของภาพแถมเพิ่มมาที่ด้านล่างสุดของหน้าเพจแต่ละหน้าด้วยนอกจากนี้แล้วก็ยังมีเว็บไซต์ที่เปิดให้ใครก็ได้เข้าไปอัปโหลดไฟล์ เอกสารของตนเองที่ต้องการเผยแพร่สู่สาธารณะชนได้นำไปใช้ประโยชน์ นั่นคือ Scribd

บทที่ 4 แนวคิดเกี่ยวกับภาวะผู้นำ และการบริหารจัดการสมัยใหม่
องค์ประกอบสำคัญของทฤษฎีองค์การสมัยใหม่
บุคคล
ทฤษฏีสมัยดั้งเดิมมีความเชื่อว่าคนงานจะถูกจูงใจด้วยปัจจัยทางเศรษฐกิจแต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้นแต่ผลวิจัยพบว่าคนงานมีความแตกต่างกันออกไป ดังนั้นการจูงในย่อมต้องพิจารณาความแตกต่างระหว่าบุคคลเป็นสำคัญ
กลุ่มงาน
ในองค์การที่เป็นทางการจะต้องมีองค์การนอกแบบหรือกลุ่มคนงานแอบแฝงอยู่เสมอ สถานภาพทางด้านสังคมของคนในกลุ่มคนงานจะมีความสำคัญลำดับแรกและถืองานเป็นสิ่งปกติธรรมดา คนงานไม่ต้องการจะอยู่ตามลำพังแต่ต้องการจะมีความสัมพันธ์หรือรวมกลุ่มกับเพื่อน ๆ เสมอ
การบริหารโดยการให้เข้ามามีส่วนร่วม
เป็นการเปิดโอกาสให้คนงานเข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจหรือการบริหารด้วยการแสดงความคิดเห็นต่าง ๆ ทฤษฎีนี้เชื่อว่าจะเป็นสิ่งจูงใจให้ทุกคนปรับปรุงงานของตนให้ดีขึ้น ซึ่งเป็นการให้ความสำคัญต่อบุคคลและกลุ่มคนงาน การบริหารแบบมีส่วนร่วมจึงเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปของผู้บริหารในปัจจุบัน
ขวัญกำลังใจ
จากการวิจัยที่โรงงานฮอว์ทอร์นชี้ให้เห็นว่าคนงานมีความพอใจมากเท่าใดก็จะยิ่งเพิ่มผลผลิตมากขึ้นเท่านั้น ดังนั้นกลยุทธ์ในการปรับปรุงประสิทธิภาพในการทำงานจึงอยู่ที่การสร้างขวัญหรือกำลังใจให้เกิดขึ้นแก่คนงานทุกๆ คน ขวัญจึงเป็นสิ่งหนึ่งที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จขององค์การ


บทที่ 5 ทฤษฎีผู้นำที่เหมาะสมกับสถานการณ์และสิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน
ทฤษฎีภาวะผู้นำตามสถานการณ์ (situation leadership theory)
Hersey & Blanchard เป็นผู้พัฒนาทฤษฎีนี้ขึ้น ในระยะแรกเรียกว่า ทฤษฎีวงจรชีวิตของภาวะผู้นำ (life-cycle theory of leadership) โดยได้แบ่งพฤติกรรมออกเป็นสองมิติ เช่นเดียวกับผลการศึกษาวิจัยที่รัฐโอไฮโอ คือ พฤติกรรมมุ่งงาน (task behavior) ซึ่งผู้นำจะให้บุคคลหรือกลุ่ม ทำหน้าที่และมีความรับผิดชอบในงานว่า จะทำอะไร ทำอย่างไร ทำเมื่อไร และทำที่ไหน เป็นต้น และ พฤติกรรมมุ่งสัมพันธ์ (relationship behavior) ซึ่งผู้นำจะใช้การติดต่อสื่อสารแบบสองทางหรือมากกว่า พฤติกรรมใดจะเหมาะสมกับสถานการณ์ใดพิจารณาจากความพร้อม (readiness) ของผู้ใต้บังคับบัญชา (Hersey & Blanchard 1988 อ้างใน Bartol & others 1998) ใน 2 ด้านคือ ด้านความสามารถ (ability) ดูจากความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ที่จำเป็นสำหรับงาน และ ด้านความเต็มใจ (willingness) ที่จะทำให้งานสำเร็จ ดูจากความเชื่อมั่น ความมีพันธะผูกพัน และแรงจูงใจที่จะทำงานนั้น ความพร้อมเหล่านี้จะแบ่งได้ 4ระดับที่ต่อเนื่องกัน คือ
ระดับต่ำ (R1)
ระดับต่ำถึงปานกลาง (R2)
ระดับปานกลางถึงสูง (R3) และ
ระดับสูง (R4)
ในแต่ละระดับมีเส้นโค้งตัดผ่านซึ่งจะชี้ให้เห็นว่า พฤติกรรมใดจะเหมาะสมกับความพร้อมระดับใด เป็นภาวะผู้นำ 4 รูปแบบดังนี้ แบบกำกับ(telling) ต้องกำหนดสิ่งที่จะทำและวิธีการดำเนินงานให้ กำกับและควบคุมอย่างใกล้ชิด ใช้ในสถานการณ์ที่ผู้ใต้บังคับบัญชามีความพร้อมต่ำ ไม่มีความสามารถและไม่เต็มใจ หรือจะมีความเสี่ยงเกินไปถ้าให้รับผิดชอบงานนั้น แบบขายความคิด (selling) อธิบายถึงสิ่งที่จะทำและให้โอกาสในการทำความเข้าใจในงานที่จะทำนั้น ใช้ในสถานการณ์ที่ผู้ใต้บังคับบัญชาไม่มีความสามารถแต่มีความเต็มใจหรือมีความมั่นใจที่จะทำงานนั้น แบบมีส่วนร่วม (participating) เน้นการติดต่อสื่อสารสองทางและความร่วมมือ ใช้ในสถานการณ์ที่ผู้ใต้บังคับบัญชามีความสามารถที่จะรับผิดชอบงานแต่ไม่มีความเต็มใจหรือมีความเสี่ยงเกินไปที่จะให้ทำงานนั้น แบบมอบอำนาจ (delegating) ให้ความเป็นอิสระในการทำงานมาก ใช้กับสถานการณ์ที่ผู้ใต้บังคับบัญชามีความสามารถ และมีความเต็มใจหรือความมั่นใจที่จะทำงานนั้น
การบริหารตามสถานการณ์เป็นทฤษฎีการบริหารที่ผู้บริหารนำมาใช้จัดการกับสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในองค์การ การที่จะนำทฤษฎีต่าง ๆ มาใช้นั้น เราควรพิจารณาถึงข้อดีและข้อเสียของทฤษฎีนั้น ๆ เสียก่อนจะทำให้การบริหารจัดการของเราประสบกับความสำเร็จได้
ข้อดีของทฤษฎีการบริหารเชิงสถานการณ์
Sergiovanni (1980 อ้างในณัฐนิภา คุปรัตน์และประกอบ คุปรัตน์, 2525, หน้า 64)ได้สรุปข้อดีของการบริหารเชิงสถานการณ์ไว้ดังนี้
1. ให้แง่คิดในรูปธรรมที่ว่า “ไม่มีวิธีการแบบใดดีที่สุด” นั่นคือ แนวคิดที่ว่าการบริหารงานนั้นเหมือนตำรากับข้าว สามารถให้แนวคิดแนวปฏิบัติแบบหนึ่งต้องทำอะไรบ้าง สอง…และสาม…ดังนี้ คำตอบทางการศึกษาที่ได้ตามมาก็คือคงไม่มีวิธีใดที่จะดำเนินการได้ดีที่สุดเกี่ยวกับการบริหารหลักสูตรหรือการต่อรองค่าจ้างเงินเดือน
2. ให้แนวคิดเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลง เพราะว่าการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ไปเล็กน้อยเกี่ยวกับองค์ประกอบหนึ่งย่อมมีผลกระทบต่อระบบโดยทั่วไป เช่นในชุมชนที่เปลี่ยนจากเกษตรกรรมเป็นอุตสาหกรรม เป้าหมายการให้บริการของโรงเรียนก็ต้องเปลี่ยนตามความรู้ทักษะ แม้แต่ลักษณะผู้สอนผู้ให้บริการก็ต้องเปลี่ยนตาม ผู้บริหารตามแนวทางนี้จะต้องตื่นตัวต่อสภาพความเปลี่ยนแปลงในสังคมอยู่เสมอ
3. ให้การสะท้อนภาพที่แท้จริงต่อผู้บริหารว่า งานของการบริหารนั้นมันซับซ้อน การจะหาคำตอบใด ๆ แบบให้ง่าย ๆ คงจะเป็นไปไม่ได้ ผู้บริหารจึงต้องเป็นผู้รู้รอบใฝ่รู้มีข้อมูลอยู่เสมอ และให้คำตอบในคำถามที่ว่าทำไมงานผู้บริหารจึงไม่มีวันสิ้นสุด ทำไมศาสตร์การบริหารจึงต้องศึกษาอยู่เสมอ

ข้อเสียของทฤษฎีการบริหารเชิงสถานการณ์
Sergiovanni (1980 อ้างในณัฐนิภา คุปรัตน์และประกอบ คุปรัตน์, 2525, หน้า 64) ได้สรุปข้อเสียของการบริหารเชิงสถานการณ์ ไว้ดังนี้
1. การให้ผู้บริหารตื่นตัวต่อสถานการณ์ต่าง ๆ อยู่เสมอ และตัดสินในปัญหาต่างๆ ตามสถานการณ์อาจทำให้มีคนคิดว่า การที่จะตัดสินใจในปัญหาต่าง ๆ เล็ก ๆ น้อย ๆ เป็นอย่างดีแล้วจะทำให้การบริหารงานทั้งหมดดีไปเอง ข้อเสนอแนะก็คือ ในกรณีที่การตัดสินใจปัญหาปลีกย่อยจำนวนมาก ๆ ให้ถูกต้องนั้นก็สำคัญอยู่ แต่การที่จะต้องตัดสินใจในปัญหาใหญ่ ๆ หลัก ๆ ก็มีความสำคัญเช่นเดียวกัน ผู้บริหารจำเป็นต้องมีภาพรวมของบทบาทตนเอง องค์การและสภาพแวดล้อม ภาพรวมเหล่านี้จำเป็นและเป็นแนวทางในการตัดสินในปัญหาปลีกย่อยรอง ๆ ลงมาทั้งหลาย

2. ทฤษฎีสถานการณ์ทำให้มองดูเหมือนว่า เป็นเรื่องไม่มีคุณค่ามาเกี่ยวข้อง องค์ประกอบอันเกี่ยวกับสภาพแวดล้อม องค์การและตัวอื่น ๆ นับเป็นเหมือนสิ่งที่เราต้องตระหนักและแสดงปฏิกิริยาตอบ ถ้าเป็นเช่นนั้นผู้บริหารก็จะไม่ต่างอะไรไปจากบาโรมิเตอร์วัดความเปลี่ยนแปลงของบรรยากาศ ผู้บริหารอาจกลายเป็นเพียงผู้บริหารเพื่อการบริหาร คอยยืนอยู่บนยอดของคลื่นความเปลี่ยนแปลงและสถานการณ์อยู่ตลอดเวลา
อ้างอิง บล็อกของ นายยาเบ็น เรืองจรูญศรี

บทที่ 6 การเตรียมความพร้อมเข้าสู้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และวิเคราะห์ถึงผลกระทบต่อการบริหารจัดการ

เป็นสถานที่ท่องเที่ยวประจำนชาติอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ

พระมหาธาตุเจดีย์ชเวดากอง
เจดีย์ชเวดากองพระมหาธาตุเจดีย์ชเวดากอง ตั้งอยู่บริเวณเนินเขาเชียงกุตระ เมืองย่างกุ้ง ประเทศพม่า เชื่อกันว่าเป็นมหาเจดีย์ที่บรรจุพระเกศาธาตุของพระพุทธเจ้าจำนวน 8 เส้น

มะละกาเป็นศูนย์กลางการค้าขายและแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่างโลกตะวันออกและตะวันตกมานานกว่า 500 ปี ทำให้ดินแดนแถบนี้เป็นมรดกตกทอดที่สะท้อนวัฒนธรรมที่หลากหลาย อันจะเห็นได้จากสถาปัตยกรรมแบบผสมผสานของสถานที่ราชการ โบสถ์ และป้อมปราการต่าง ๆ ในเมือง ซึ่งทางองค์กรการศึกษาวิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) ประกาศให้เมืองมะละกา และเมืองจอร์จทาวน์บนเกาะปีนัง เป็นเมืองมรดกโลก เมื่อปี 2008

นาขั้นบันไดแห่งเทือกเขาฟิลิปปินส์ของชาวอิฟูเกา( Ifugao) ตั้งอยู่ที่เกาะลูซอนตอนเหนือของฟิลิปปินส์ ชาวพิ้นเมืองได้รังสรรค์นาขั้นบันไดแห่งนี้มากว่า 2,000 แล้ว ด้วยเครื่งมือที่เรียบง่ายและแรงงานคน นาขั้นบันไดเหล่านี้ตั้งอยู่วูง 1,500 เหนือระดับน้ำทะเล และครอบคลุมพื้นที่กว่า 10,000 ตารางกิโลเมตร

มหาสถูปบุโรพุทโธ หรือ บรมพุทโธ (ภาษาอินโดนีเซีย: Chandi Borobudur) เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงของประเทศอินโดนีเซีย ตั้งอยู่ในภาคกลางของเกาะชวา โดยบุโรพุทโธเป็นศาสนสถานของศาสนาพุทธนิกายมหายาน ถ้าไม่นับนครวัดของกัมพูชาซึ่งเป็นทั้งศาสนสถานของศาสนาพราหมณ์-ฮินดูและศาสนาพุทธ บุโรพุทโธจะเป็นศาสนสถานของศาสนาพุทธที่ใหญ่ที่สุดในโลก

อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ปางสีดา ทับลาน ตาพระยา และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดงรัก ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกภายใต้ชื่อ "ผืนป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่"จากการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญ ครั้งที่ ๒๙ เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๔๘ ที่เมืองเดอร์บัน ประเทศแอฟริกาใต้ โดยมีคุณสมบัติการเป็นมรดกโลกตรงตามหลักเกณฑ์ ข้อที่ ๑๐

พื้นที่บริเวณ Marina Bay, ปากแม่น้ำสิงคโปร์ ซึ่งเป็นที่ตั้งของเมอร์ไลออน (Merlion) , อาคารโรงละคร Esplanade ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมสมัยใหม่, สถานที่ท่องเที่ยวยามค่ำ บริเวณพื้นที่ริมน้ำ ได้แก่ Clarke Quay, Boat Quay, ย่านไชน่าทาวน์ (China Town) , ย่าน Little India, ย่านชอปปิ้ง บนถนน Orchard

หลวงพระบางได้รับการขึ้นทะเบียนให้เป็นมรดกโลกด้วยเหตุผล คือ มีวัดวาอารามเก่าแก่มากมาย มีบ้านเรือนอันเป็นเอกลักษณ์โคโลเนียลสไตล์ ตัวเมืองตั้งอยู่ริมน้ำโขงและน้ำคาน ซึ่งไหลบรรจบกันท่ามกลางธรรมชาติอันงดงาม และชาวหลวงพระบางมีบุคลิกที่ยิ้มแย้มแจ่มใส เป็นมิตร และมีขนบธรรมเนียมประเพณีที่งดงาม

พิพิธภัณฑ์ที่น่าชมที่สุดในอาเซียน “โรยัลเรกกาเลีย” (พิพิธภัณฑ์ทองคำ) ของขวัญล้ำค่าจากผู้นำทั่วโลก – บรูไนมิวเซียม “คัมภีร์อัลกุรอ่านขนาดเล็กที่สุดในโลก”- Islamic Arts Gallery

เมืองพระนครได้รับลงทะเบียนเป็นมรดกโลกเมื่อปี พ.ศ. 2535 ซึ่งตั้งแต่ปีที่ลงทะเบียนเรื่อยมาจนถึงปี พ.ศ. 2547 เมืองพระนครได้ถูกจัดให้เป็นแหล่งมรดกโลกที่ตกอยู่ในภาวะอันตราย

อ่าวฮาลอง หรือ ฮาลอง ถือเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญที่ไม่ควรพลาด เมื่อมีโอกาสไปเยือนเวียดนาม เพราะนอกจากจะได้รับการประกาศให้เป็นมรดกโลกทางธรรมชาติ จากองค์กรยูเนสโกแล้ว ที่นี่ยังมีความมหัศจรรย์อันงดงามของธรรมชาติอยู่อีกมากมาย
บทที่ 7 การพัฒนาองค์การไปสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้และการพัฒนาอย่างยังยืน
แนวคิดเกี่ยวกับความรู้ และองค์กรแห่งการเรียนรู้
            แนวคิดเกี่ยวกับความรู้ในโลกปัจจุบัน คุณค่าของความรู้ถูกวัดจากประโยชน์ใช้สอย เนื่องจากความรู้ได้กลายเป็นทรัพยากรสำคัญ หากมีทรัพยากรอื่น ๆ ก็อาจจะไม่สามารถสร้างทรัพยากรที่สำคัญนี้ แต่ถ้ามีความรู้ก็สามารถดำรงสรรพกำลังทรัพยากรอื่น ๆ มาได้ และด้วยเหตุที่ความรู้กลายมาเป็นทรัพยากรนี้เอง ได้เปลี่ยนโครงสร้างทางสังคม พลวัตทางเศรษฐกิจสังคมและรูปแบบการเมืองใหม่ขึ้นมา (อสมา มังกรชัย, 2547)
            ชัชวาลย์ วงษ์ประเสริฐ (2548, หน้า 17) กล่าวว่า สังคมแห่งความรู้ ความรู้ถือเป็นทรัพยากรหลัก ซึ่งแตกต่างจากปัจจัยการผลิตอื่น ๆ เพราะความรู้ไม่ได้ยึดติดกับประเทศใดประเทศหนึ่ง หรือที่ใดที่หนึ่ง สามารถสร้างขึ้นใหม่ได้ ความรู้เป็นสิ่งที่ต้องเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ
            Wikstrom and Normann (1994, pp. 13-15) ได้อธิบายกระบวนการความรู้ที่สามารถเชื่อมโยงนำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อองค์กร ดังนี้
            1. กระบวนการในการสร้างความรู้ใหม่ (generative process) หมายถึง การสร้างความรู้ใหม่ด้วยกิจกรรมที่มีความมุ่งหมายต่อการแก้ปัญหาต่าง ๆ ขององค์กร
            2. กระบวนการในการทำให้เกิดผลผลิต (productive process) หมายถึง เมื่อความรู้ใหม่ถูกนำไปใช้ในกระบวนการทำให้เกิดผลผลิตที่ก่อให้เกิดพื้นฐานในการทุ่มเท และการมีพันธะผูกพันที่บริษัทนำไปปฏิบัติต่อลูกค้า ซึ่งกระบวนการในขั้นนี้ ช่วยสร้างความรู้ในลักษณะที่มีความชัดเจน มีการนำไปใช้ เช่น สว่าน คือ ความรู้ที่ชัดเจนอันเกิดจากกระบวนการทางความรู้ของบริษัทผู้ผลิต ซึ่งส่วนใหญ่ลักษณะกระบวนการเช่นนี้ จะเป็นการผลิตซ้ำกล่าวคือ บริษัทผลิตสว่านก็จะผลิตสว่านเป็นจำนวนมาก เป็นต้น
            3. กระบวนการที่เกี่ยวกับการเป็นตัวแทน (representative process) เป็นการส่งมอบความรู้ที่ชัดเจนแล้วไปยังลูกค้า ซึ่งเป็นผลมาจากกระบวนการทางความรู้ทั้งสองข้างต้นความรู้ในขั้นนี้ จะเกิดจากการที่ลูกค้าเป็นเจ้าของกระบวนการในการสร้างคุณค่าให้กับสินค้า
            ด้านของแนวคิดเกี่ยวกับความรู้ ทั้งในสิ่งที่เป็นส่วนของธรรมชาติทั่วไป หรือความรู้ที่เกิดขึ้นในองค์กรใดก็ตาม จะเป็นที่มาในการกล่าวถึงของนักคิด นักปรัชญา หรือนักวิชาการทางด้านองค์ความรู้หลายท่าน ที่ได้ทำการศึกษา และทำความเข้าใจเกี่ยวกับธรรมชาติของความรู้ หรือความหมายของความรู้ ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน และแตกต่างกันออกไปแล้วแต่ตามบริบทต่าง ๆ แต่ทั้งนี้ ไม่ว่าความรู้จะถูกตีความไปในรูปแบบใด หรือแง่มุมใดก็ตาม ล้วนแล้วแต่มีนัยยะสำคัญที่มองว่าความรู้ถือเป็นสิ่งที่สำคัญ โดยมุมมองขององค์กรจะถือเป็นทรัพย์สินที่มีคุณค่าสูงสุด ที่จะช่วยนำพาองค์กรไปสู่การมีระบบที่สามารถพัฒนาได้มากยิ่งขึ้น และจะสามารถทำให้องค์กรบรรลุวัตถุประสงค์ตามที่ได้ตั้งเป้าหมายเอาไว้
บรรณานุกรม
ณภัทร วรเจริญศรี. (2553). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการจัดการความรู้ของบุคลากรในบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน). ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์), มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

บทที่ 8 เทคนิคในการบริหารทรัพยากรมนุษย์และการจัดการทีเหมาะสมกับวัฒนธรรมไทย
     ความคิดเกี่ยวกับการบริหารงานที่เข้าใจยากที่สุด เห็นจะหนีไม่พ้น" การบริหารทรัพยากรมนุษย์"ซึ่งความสัมพันธ์ที่เกี่ยวเนื่องกันนั้นไม่ค่อยจะมีความยืดหยุ่น และในบางครั้งอาจจะเข้าใจไม่ตรงกันระหว่างแนวความคิดและการนำไปปฏิบัติ การศึกษาเรื่อง ทรัพยากรมนุษย์ ที่ผ่านมาจะเป็นการแสดงบทบาทที่ตัวบุคคล โดยเฉพาะการบริหารที่แตกต่างกันออกไป จนผู้ปฏิบัติเกิดความชำนาญในด้านนั้นๆ อีกทั้งความรู้มากกว่าลักษณะงานปกติที่ไม่ได้เกี่ยวกัน
ทั้งนี้ ทั้งนั้นก็เพื่อตอบสนองให้การทำงานลุล่วงไปได้ด้วยดี
          การบริหารทรัพยากรมนุษย์ คือ ภารกิจหน้าที่สำคัญประการหนึ่งของผู้บริหาร ที่ใช้ทั้งศาสตร์และศิลปะ ในการจัดการวางแผนกำลังคน การสรรหา คัดเลือก และการบรรจุ บุคลากร ที่มีความรู้ ความสามารถเหมาะสมกับตำแหน่งงาน พร้อมทั้งสามารถใช้ประโยชน์ให้เกิดผลสูงสุด ธำรงรักษา และพัฒนาบุคลากรเหล่านั้น เพื่อผลสำเร็จขององค์กร หลายท่านคงทราบข่าวการสูญเสียบุคลากรขององค์กรต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นของเอกชน หรือของรัฐ ตลอดจนการ โยกย้าย เปลี่ยนงานของพนักงาน ทั้งระดับปฏิบัติการ และระดับบริหาร การโยกย้ายเปลี่ยนงาน ถ้าอยู่ในอัตราที่สูง จะส่งผลกระทบต่อการเติบโตขององค์กรเป็นการสูญเสียค่าใช้จ่ายมิใช่น้อย ทั้งนี้เพราะพนักงานที่ลาออกจากองค์กรนั้นๆส่วนใหญ่อายุงานจะอยู่ระหว่าง 1-3 ปี ในทางการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ถือว่าพนักงานที่มีอายุงานระหว่าง 1-3 ปียังไม่ได้ปฏิบัติงานเต็มกำลังความสามารถ อยู่ระหว่างช่วงแห่งการเรียนรู้งาน การเรียนรู้องค์กร และการปรับตัวเข้ากับเพื่อนร่วมงาน แต่เมื่อเรียนรู้หลัก และวิธีการทำงานได้พอสมควรแล้ว ก็จะใช้ประสบการณ์นี้เป็นพื้นฐาน เพื่อหางานใหม่ไปอยู่กับองค์กรอื่นที่ให้ค่าตอบแทนทั้งในรูปตัวเงิน และสวัสดิการที่ดีกว่า
          ในองค์กรต่างประเทศให้ความสำคัญกับอัตราการเข้า-ออก (Turn Over Rate) มากเพราะถือว่าเป็นตัวทำลายประสิทธิภาพการบริหาร องค์กรต้องเสียค่าใช้จ่ายต่อคน เมื่อคำนวณต่อปีแล้ว เป็นเงินจำนวนมาก นอกจากนี้แล้ว ยังเกิดความเสียหายที่ยากแก่การประเมินเป็นตัวเงิน ซึ่งมีคุณค่าต่อองค์กรมาก กล่าวคือ พนักงานที่ลาออกไปส่วนใหญ่เป็นผู้ที่มีความสามารถสูง เป็นผู้ที่มีศักยภาพในการทำงานสูง เป็นที่ต้องการของบริษัทคู่แข่งที่อยากได้บุคคลเหล่านี้ไปทำงาน
นอกจากนี้ยังเป็นการทำลายขวัญ และกำลังใจพนักงานที่ยังอยู่กับหน่วยงานเดิม เพราะเขาจะมีความรู้สึกว่าตัวเขาเองเป็นผู้ที่ไม่มีความสามารถ และยิ่งทำให้เสียขวัญ และกำลังใจมากขึ้นอีก เมื่อหน่วยงานนั้นนำบุคคลภายนอกมาเป็นผู้บังคับบัญชาโดยไม่ยอมจะให้โอกาสคนภายใน ก่อนคนภายนอก เมื่อมีพนักงานออกก็ต้องมีการสรรหา และคัดเลือกพนักงานใหม่มาทดแทน ทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่าย และต้นทุนค่าเสียโอกาส เช่น เสียค่าโฆษณาให้กับสื่อสิ่งพิมพ์เป็นเงินมิใช่น้อยและก็มิได้ประกันว่าจะได้คนดีมีความสามารถเข้ามาร่วมงาน ซึ่งบางครั้งก็ต้องเสียค่าใช้จ่ายลงโฆษณาซ้ำ นอกจากนี้
ผู้บริหารยังเสียเวลาในการสัมภาษณ์ เมื่อรับเข้ามาทำงานผู้บังคับบัญชา หัวหน้างาน ยังต้องเสียเวลาในการชี้แนะ กำกับดูแลอย่างน้อยก็ตลอดระยะเวลาทดลองงาน รวมทั้งต้องเสียค่าใช้จ่ายส่งพนักงานเข้ารับการฝึกอบรม ไม่ว่าจะเป็นการปฐมนิเทศ หรือการอบรมสัมนา เพื่อเพิ่มความรู้ในงาน
          ที่สำคัญ ถ้าพิจารณาภาพรวมจะเห็นว่า เพราะบริษัทฯ ที่มีอัตราเข้า-ออก สูงจะทำให้การปฏิบัติงานของบริษัทช่วงนั้นชงักงัน งานขาดความต่อเนื่อง ทำให้สูญเสียโอกาสที่จะแข่งขันธุรกิจ ได้เช่นกัน
          สรุป การบริหารทรัพยากรมนุษย์เป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งต่อองค์กร การดำเนินกิจกรรมต่างๆให้บรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายขององค์กรได้นั้น ต้องอาศัยปัจจัยทางด้านกำลังคนเป็นสำคัญ ดังนั้นการบริหารเพื่อให้ได้บุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถเหมาะสมเข้ามาปฏิบัติงานในองค์กรก็จะส่งผลต่อความเจริญเติบโตขององค์กร สร้างความพึงพอใจให้กับผู้ปฏิบัติงานในองค์กร และก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อส่วนรวม การที่องค์กรใดจะบริหารทรัพยากรมนุษย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้น จะต้องปฏิบัติภารกิจ หน้าที่ของการบริหารงานให้ครอบคลุมทุกขั้นตอน ตั้งแต่ก่อนการจัดคนเข้าทำงาน ขณะปฏิบัติงาน พัฒนาบุคลากร และที่สำคัญองค์กรต้องบำรุงรักษาบุคลากร ซึ่งจะต้องกระทำเป็นกระบวนการต่อเนื่องสัมพันธ์กัน

บทที่ 9 การบริหารการเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาอย่างยั่งยืน
การเปลี่ยนแปลงการบริหาร
          การเปลี่ยนแปลงการบริหาร management change คือ วิวัฒนาการของแนวคิดทางการบริหารตามภาวการณ์ต่าง ๆ อาทิ การบริหารแนววิทยาศาสตร์ มนุษยสัมพันธ์ เชิงระบบและตามถานการณ์ ภาวการณ์ซึ่งเปลี่ยนแปลงไปตามบริบท (context) ของสังคม ทั้งด้านเศรษฐกิจ การเมือง สังคม สิ่งแวดล้อม และเทคโนโลยี ฯลฯ เป็นการเปลี่ยนแปลงซึ่งต้องบริหารแบบรู้เท่าทัน ทันการณ์ มีวิสัยทัศน์ โดยใช้พื้นฐานความรู้เดิมเป็นตัวตั้ง แล้วนำมาวิเคราะห์เรียบเรียง เพื่อศึกษาและทำความเข้าใจ แล้วจัดการกำจัดจุดอ่อน และเพิ่มจุดแข็ง ให้เกิดประโยชน์สูงสุดด้วย "การบริหารการเปลี่ยนแปลง (change management)"
รูปแบบการบริหารการเปลี่ยนแปลง ในการบริหารการเปลี่ยนแปลง ต้องมีการพัฒนาองค์กร ซึ่งมีรูปแบบวิธีการที่ดีอย่างน้อย 3 รูปแบบ ดังนี้
          1. รูปแบบ 3 ขั้นตอน ตามแนวคิดของ Kurt Lewin ประกอบด้วย การคลายตัว (unfreezing) เนื่องจากเกิดปัญหาจึงต้องเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลง (changing) คือ การเปลี่ยนจากพฤติกรรมเก่า ไปสู่พฤติกรรมใหม่ และการกลับคงตัวอย่างเดิม (refreezing) เพื่อหล่อหลอมพฤติกรรมใหม่ให้มั่นคงถาวร
          2. รูปแบบ 2 ปัจจัย ตามแนวคิดของ Larry Greiner ที่เห็นว่าการเปลี่ยนแปลงเกิดจากแรงบีบภายนอก กับการกระตุ้นผลักดันภายใน เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงมีอยู่ตลอดเวลา ปัจจัยทั้งสองเกิดขึ้นตลอดเวลา จึงต้องดำเนินการเปลี่ยนแปลงโดย ศึกษาการเปลี่ยนแปลง ค้นหาวิธีการที่ดีกว่า ทดลองวิธีใหม่ หล่อหลอมข้อดีเข้าด้วยกัน เพื่อบริหารการเปลี่ยนแปลงอย่างมีประสิทธิภาพ
          3. รูปแบบผลกระทบของปัจจัย ตามแนวคิดของ Harold J. Leavitt ที่เชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงเกิดจากผลกระทบที่เกิดขึ้นตลอดเวลาของ งาน โครงสร้าง เทคนิควิทยาการ และคน ทั้ง 4 ประการนี้เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงก็จะส่งผลกระทบเกี่ยวพันกัน และการเปลี่ยนแปลงบางเรื่องอยู่เหนือการควบคุม ดังนั้นผู้บริหารจึงต้องสนใจสิ่งที่เปลี่ยนแปลง สิ่งที่จะเปลี่ยนแปลง และผลกระทบที่เกิด หรือจะเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของแต่ละปัจจัย

บทที่ 10 การแข่งขันในตลาดโลกและการปรับตัวเพื่อสร้างความได้เปลียนในการแข่งขัน
ความได้เปรียบในการสร้างห่วงโซ่คุณค่าหรือระบบธุรกิจ (Business system/value chain advantage) การบริหารกิจกรรมทางธุรกิจเพื่อให้บรรลุเป้าหมายองค์กร เรียกว่าการบริหารห่วงโซ่คุณค่าหรือระบบธุรกิจ   กิจกรรมทางธุรกิจจะเริ่มต้นจากการวิจัยและการพัฒนาผลิตภัณฑ์ การผลิตการขาย  การตลาด  การจัดจำหน่าย  และการบริการหลังการขาย  หากองค์กรธุรกิจมีความโดดเด่นในกิจกรรมทางธุรกิจ   กิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่งก็จะส่งผลให้องค์กรนั้นมีความได้เปรียบทางการแข่งขันในเรื่องนั้น ๆ หลายองค์กรพยายามสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันโดยมุ่งเฉพาะกิจกรรมทางธุรกิจที่องค์กรถนัดและมุ่งการการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง  ส่งผลให้องค์กรนั้นมีกลยุทธ์ที่เหนือกว่าคู่แข่งขัน  และกลายเป็นจุดแข็งหรือเอกลักษณ์ขององค์กรในที่สุด เช่น  บริษัท พรอกเตอร์แอนด์แกมบิล (P&G) จำกัด   มีความเชี่ยวชาญทางการตลาด  บริษัท โซนี่ จำกัด  บริษัทที่เน้นนวัตกรรมในการออกแบบผลิตภัณฑ์ได้ตรงตามความต้องของลูกค้า  บริษัท  โตโยต้า  จำกัด  เน้นประสิทธิภาพในการผลิต  และ American Express บริษัทที่ให้การบริการลูกค้าได้อย่างประทับใจ  เป็นต้น
แนวทางที่จะเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารห่วงโซ่คุณค่า  ก็คือการติดต่อประสานงานระหว่างหน่วยงานในองค์กรเพื่อให้กิจกรรมต่าง ๆ ดำเนินไปได้ด้วยดีในบางครั้งองค์กรจำเป็นจะต้องมีการออกแบบโครงสร้างกรใหม่  เพื่อปรับรูปแบบ  และระบบการดำเนินธุรกิจให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น  ตัวอย่างขององค์กรธุรกิจที่ประสบความสำเร็จในการปรับเปลี่ยนระบบการดำเนินธุรกิจ  ก็คือสายการบิน  Southwest สายการบิน Southwest มีกำไรเพิ่มขึ้นจาการปรับระบบธุรกิจให้สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้า ไม่ว่าจะเป็นเรื่องขั้นตอนการเลือกที่นั่งของลูกค้าหรือการให้บริการลูกค้าสรุปแล้วจะเห็นได้ว่าห่วงโซ่คุณค่านั้นมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อองค์กรธุรกิจที่
จำหน่ายผลิตภัณฑ์และธุรกิจขายบริหารจำไว้ว่าการจะทำให้ห่วงโซ่คุณค่าขององค์กรมีความโดดเด่นและเหนือกว่าคู่แข่งขันนั้น  องค์กรจำเป็นจะต้องกำหนดวัตถุประสงค์ของกิจกรรมทุก ๆ กิจกรรมไว้อย่างชัดเจน  และให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน

บทที่ 11 การบริหารจัดการธุรกิจสีเขียวและการวิเคราะห์ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และคุณภาพชีวิต
"อุตสาหกรรมนิเวศ" (Industrial Ecology) เป็นแนวคิดของการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมที่ทางการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) นำเสนอและผลักดัน โดยกำหนดให้มีการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมสู่เมืองอุตสาหกรรมนิเวศปีละ 3 แห่ง
และภายในปี 2562 ได้ตั้งเป้าหมายว่าทุกนิคมอุตสาหกรรมจะพัฒนาสู่ความเป็นเมืองอุตสาหกรรมนิเวศ  หลักของการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมนิเวศ จะเน้นการใช้พื้นที่เป็นศูนย์กลางการรวมกิจกรรมของทุกภาคส่วน โดยมีหลักการพัฒนาในแต่ละพื้นที่ 3 ประการสำคัญ คือ
(หนึ่ง) การมุ่งสู่สังคมคาร์บอนต่ำ เป็นการปรับกระบวนการผลิตทั้งภาคอุตสาหกรรม เกษตรกรรม และบริการ เพื่อลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
(สอง) การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน โดยภาครัฐจะต้องเปิดโอกาสให้ประชาชนและผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนรับรู้ ร่วมคิด ร่วมตัดสินใจ สร้างความโปร่งใสและเป็นที่ยอมรับร่วมกันของทุกฝ่าย
(สาม) การใช้หลักการพัฒนาคลัสเตอร์อุตสาหกรรมนิเวศ เป็นการปรับแนวคิดในการจัดการภาคธุรกิจการผลิต จากการบำบัดมาเป็นการป้องกันมลพิษ โดยการเชื่อมโยงกิจกรรมในภาคการผลิตและบริการย่อย สู่การผลิตนิเวศและบริการนิเวศด้วยระบบจัดการวัสดุ วัตถุดิบ และพลังงานเพื่อการผลิตแบบ 3Rs ทำให้กากของเสียมีมูลค่าและสร้างรายได้ให้กับธุรกิจ
  แนวคิดอุตสาหกรรมนิเวศเป็นส่วนหนึ่งบนเส้นทางการพัฒนาสู่ "สังคมสีเขียว" ซึ่งเป็น 1 ใน 3 ของสังคมที่เป็นจุดมุ่งหมายของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11  (อีกสองด้าน คือ สังคมมั่นคง และสังคมวัฒนธรรม) สังคมสีเขียวที่กำหนดไว้ในแผนฯ 11 เน้นการปรับโครงสร้างการผลิตสู่สังคมคาร์บอนต่ำ มีการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ และสิ่งแวดล้อมได้รับการฟื้นฟู อนุรักษ์และจัดการอย่างยั่งยืน ควบคู่กับการสร้างความเป็นธรรมและการเกื้อกูลในสังคมไทย


ผกามาศ มุขศรี


บทที่ 9 การบริหารการเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาอย่างยั่งยืน
องค์กร กับการพัฒนาอย่างยั่งยืน
     องค์กรที่ดีควรมีความเจริญก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง และความต่อเนื่อง อละการพัฒนาที่ขาดการต่อเนื่องย่อมไม่ดีแน่ ดังนั้นจึงขอแนะนำ การพัฒนาองค์การอย่างเป็นระบบ อย่าง่าย ควรมีการสร้างแผนแม่แบบในการเปลี่ยนแปลง จะต้องมีการประเมินสถานการณ์ขององค์การ เพื่อให้เห็นช่องว่างของความแตกต่างระหว่างองค์การในปัจจุบันกับองค์การที่ควรจะเป็นในอนาคต หลังจากนั้นจะต้องมีการวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรคขององค์การ เพื่อที่จะนำจุดแข็งขององค์การมาผลักดันการพัฒนาองค์การ โดยมีกลไกการควบคุมทิศทางที่แน่นอน การพัฒนาองค์การจะต้องพิจารณาว่าองค์การที่จะพัฒนาเป็นแบบเปิดหรือแบบปิด ถ้าเป็นองค์การแบบเปิด ทุกคนจะต้องมีส่วนร่วมแก้ปัญหาร่วมรับผิดชอบ โดยเน้นที่เป้าหมายขององค์การเป็นหลัก ลักษณะโครงสร้างขององค์การจะเป็นแบบกว้าง  อาศัยการให้คำแนะนำมากกว่าสั่งการ  การบริหารงานลักษณะนี้ พนักงานจะมีความซื่อสัตย์และมีจิตสำนึกในความสำเร็จของงานมากกว่าตัวบุคคล แต่ถ้าหากองค์การเป็นแบบปิดหรือแบบระบบราชการ การพัฒนาองค์การจะทำได้ยากลำบาก ทั้งนี้เนื่องมาจากมีการแบ่งงานตามหน้าที่ ลักษณะงาน ซ้ำๆ กัน  มีความรับผิดชอบตามหน้าที่ของหน่วยงานที่สังกัดอยู่ มีสายการบังคับบัญชาในลักษณะแนวดิ่ง ยึดถือตัวบุคคลเป็นหลักไม่เน้นทีมงานและความสำคัญของงาน ลักษณะเช่นนี้พัฒนาได้ยาก เนื่องจากมีแรงต้านมากเห็นแก่ญาติพวกพ้องครอบครัว  ผู้บริหารสูญเสียอำนาจมีความเกรงอก เกรงใจ ไม่สามารถบริหารงานให้บรรลุเป้าหมายได้ สาเหตุที่องค์การจะต้องมีการพัฒนาเพื่อช่วยให้หน่วยงานมีกฎระเบียบน้อยลง  และให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาขจัดอุปสรรคในการติดต่อสื่อสาร มุ่งเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์การและสร้างความรู้สึกเป็นเจ้าของ สนับสนุนให้ทำงานร่วมกันระหว่างแผนกเพื่อเป้าหมายขององค์การที่สูงขึ้น นอกจากนั้นยังเกิดจากแรงผลักดันภายในและแรงผลักดันภายนอกที่ทำให้องค์การต้องพัฒนา แรงผลักภายในหมายความถึงการเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์ การเปลี่ยนโครงสร้างใหม่ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมองค์การ ค่านิยม วัฒนธรรม ความอึดอัดในการทำงาน ความขัดแย้งในกฎระเบียบ อัตราการเข้าออกของพนักงานสูง  ส่วนแรงผลักดันภายนอก ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงในวงการธุรกิจ เช่น การเปลี่ยนแปลงของตลาด การเปลี่ยนแปลงกำลังคน การขาดแคลนแรงงาน การหันมาใช้เครื่องจักร การไม่สามารถบริการลูกค้าได้ การเปลี่ยนผู้บริหาร และการนำเทคโนโลยีใหม่เข้ามาใช้ การพัฒนาองค์การจะต้องเปลี่ยนแปลงระบบทั้งหมดขององค์การ เช่น แรงงานคน  โครงสร้างและระบบงาน  งานและปัญหา เทคโนโลยี โดยมีสิ่งแวดล้อมเป็นตัวประกอบ เช่น สังคม การเมือง และเศรษฐกิจ โดยมีแรงผลักดันภายนอกและภายในเป็นตัวกระตุ้นให้มีการปรับโครงสร้างเดิมให้เป็นโครงสร้างใหม่

อ้างอิง: http://www.classifiedthai.com/content.php?article=16029
บทที่ 10 การแข่งขันในตลาดโลกและการปรับตัวเพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน
การแข่งขันในตลาดโลก 
         บริษัท ฮอนด้า มอเตอร์ จำกัด ประเทศญี่ปุ่น ประกาศว่าฮอนด้าจะเดินหน้านำเสนอคุณค่าใหม่ๆ สู่สังคมโลก และให้ความสำคัญกับความพึงพอใจของลูกค้าเป็นหลัก โดยจะมุ่งพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อสิ่งแวดล้อม ส่งมอบผลิตภัณฑ์ที่ดี มี Co2 ต่ำ ในราคาย่อมเยาให้กับลูกค้าอย่างรวดเร็ว ฮอนด้าได้กำหนดเป็นกลยุทธ์การดำเนินงานของบริษัทไว้ 3 ประการด้วยกันคือ มุ่งพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อสิ่งแวดล้อม ยกระดับความเข้มแข็งด้านการผลิต และเสริมสร้างการเติบโตทางธุรกิจในตลาดใหม่ๆ โดยภูมิภาคเอเชียยังคงมีบทบาทในการเป็นฐานการผลิตและส่งออกที่สำคัญของฮอนด้า
          นายทาคาโนบุ อิโต้ ประธานกรรมการบริหารและซีอีโอ บริษัท ฮอนด้า มอเตอร์ จำกัด ได้กล่าวในงานแถลงข่าวกลางปีที่สำนักงานวาโกะ ประเทศญี่ปุ่นว่า ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาตลาดรถนั่งขนาดเล็กทั่วโลกมีอัตราการขยายตัวเพิ่มมากขึ้น เนื่องมาจากความตระหนักด้านสิ่งแวดล้อมและวิกฤตการณ์การเงินโลก ตลอดจนโครงสร้างของเศรษฐกิจโลกที่เปลี่ยนแปลงไป ฮอนด้าต้องตอบสนองอย่างรวดเร็วต่อการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว เพื่อให้องค์กรสามารถเติบโตและแข่งขันได้
          “ในสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่มีความเข้มงวดมากขึ้น ฮอนด้าจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องย้อนกลับไปที่หลักการดำเนินงานพื้นฐานของบริษัท ที่ให้ความสำคัญกับมุมมองของลูกค้า เราได้กำหนดทิศทางการดำเนินงานในอีก 10 ปีข้างหน้าไว้ว่า เราจะส่งมอบผลิตภัณฑ์ที่ดี มี Co2 ต่ำในราคาที่ย่อมเยาให้กับลูกค้าอย่างรวดเร็ว ผลิตภัณฑ์ที่ดีนั้นหมายถึงผลิตภัณฑ์ซึ่งมีความดึงดูดใจที่ลูกค้าต้องการ และสร้างสรรค์ขึ้นจากเทคโนโลยีที่ฮอนด้าพัฒนาขึ้นเอง ผลิตภัณฑ์ที่ดีนั้นจะต้องส่งมอบได้เร็ว และต้องมีราคาที่ย่อมเยาซึ่งจะทำให้ลูกค้ามีความสุขที่ได้ซื้อผลิตภัณฑ์นั้น
            คำว่า ‘มี CO2 ต่ำ’ ได้สะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของฮอนด้า ที่ต้องการจัดการกับปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจัง ”
            แล้วกล่าวเสริมอีกว่า ฮอนด้าได้ให้ความสำคัญในการลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมมาโดยตลอด เห็นได้จากการแนะนำผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมออกสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง เช่น รถไฮบริดรุ่นอินไซท์ และซีอาร์-ซี จากนี้ต่อไป
            ฮอนด้าจะมุ่งพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้นอีก โดยจะเพิ่มจำนวนรุ่นรถที่ใช้ระบบไฮบริดให้มากขึ้น เริ่มจากฟิต ไฮบริด ซึ่งจะจำหน่ายในประเทศญี่ปุ่นช่วงฤดูใบไม้ร่วงปีนี้ และจะพัฒนาระบบไฮบริดในรถขนาดกลางและขนาดใหญ่ รวมถึงรถที่ใช้ระบบไฮบริดแบบปลั๊ก-อินด้วย ทั้งนี้เพื่อให้สามารถตอบสนองความต้องการที่หลากหลายของลูกค้าให้ได้มากที่สุด นอกจากนี้ฮอนด้าจะเดินหน้าพัฒนารถไฟฟ้าที่ใช้แบตเตอรี่ โดยมีเป้าหมายที่จะนำมาใช้จริงให้เร็วที่สุด โดยจะเริ่มจำหน่ายในประเทศญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกาในปี 2012 อย่างไรก็ตาม ฮอนด้ายังให้ความสำคัญกับการพัฒนารถที่ใช้เชื้อเพลิงเบนซินโดยในปี 2012 ฮอนด้าจะพัฒนาเครื่องยนต์และระบบเกียร์เพื่อให้มีอัตราการประหยัดน้ำมันที่เพิ่มมากขึ้น
           นอกจากนี้ฮอนด้ามีแผนจะเปิดให้เช่าใช้ จักรยานยนต์ไฟฟ้ารุ่น อีวี นีโอ แก่องค์กรธุรกิจในประเทศญี่ปุ่นในเดือนธันวาคมปีนี้ และจะแนะนำจักรยานยนต์ไฟฟ้ารุ่นใหม่ในประเทศจีนในปีหน้า ฮอนด้าจะทำตลาดจักรยานยนต์ไฟฟ้าทั้งในประเทศที่พัฒนาแล้ว และประเทศที่กำลังเติบโตทางเศรษฐกิจ โดยจะพัฒนาสมรรถนะของตัวรถให้ดียิ่งขึ้น และทำราคาให้สามารถแข่งขันได้เพื่อที่จะก้าวสู่การเป็นผู้นำในตลาดจักรยานยนต์ไฟฟ้า เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายการสร้างความพึงพอใจสูงสุดแก่ลูกค้า ด้วยการแนะนำผลิตภัณฑ์ที่มี CO2 ต่ำออกสู่ตลาดอย่างรวดเร็ว
             ฮอนด้าจะยกระดับความเข้มแข็งด้านการผลิต โดยสร้างองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีการผลิต โรงงานต้นแบบในประเทศญี่ปุ่นจะมุ่งเน้นเทคโนโลยีในการผลิตรถยนต์ขนาดเล็กและรถยนต์เพื่อสิ่งแวดล้อม โดยจะขยายองค์ความรู้และเทคโนโลยีดังกล่าวออกไปสู่โรงงานฮอนด้าในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ภายใต้นโยบาย “ผลิตในที่ที่มีความต้องการ” ฮอนด้าจะเสริมสร้างเครือข่ายการผลิตระหว่างโรงงาน และระหว่างประเทศเพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นด้านการผลิต ด้วยวิธีนี้ ฮอนด้าจะสามารถ สร้างระบบการผลิตที่แข็งแกร่ง และทำให้ฮอนด้ามีศักยภาพในการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงที่รุนแรงในตลาดได้ดียิ่งขึ้น
             ด้านการเสริมสร้างการเติบโตทางธุรกิจในตลาดใหม่ๆ นั้น ในประเทศที่กำลังเติบโตทางเศรษฐกิจ จักรยานยนต์นับเป็นส่วนหนึ่งในการดำเนินชีวิตประจำวันของผู้คน ประชากรจำนวนมากและตลาดขนาดใหญ่ที่มีศักยภาพในประเทศเหล่านั้น กำลังจะกลายมาเป็นกลุ่มลูกค้าหลักของฮอนด้า โดยมีคู่แข่งสำคัญได้แก่ ผู้ผลิตจากจีน และอินเดีย หากฮอนด้าต้องการที่จะรักษาความเป็นผู้นำตลาด ฮอนด้าต้องไม่เพียงแค่รักษาคุณภาพที่ดีของผลิตภัณฑ์ไว้เท่านั้น แต่ต้องทำราคาให้สามารถแข่งขันได้ในตลาดนั้นด้วย และเพื่อสร้างความดึงดูดใจในตัวผลิตภัณฑ์ ฮอนด้าจะเพิ่มความสามารถในการแข่งขันด้านราคา โดยจะพยายามใช้ชิ้นส่วนและวัตถุดิบภายในประเทศที่ผลิตให้มากที่สุด ตามที่เคยทำในประเทศไทยมากว่า 40 ปี ปัจจุบันโรงงานผลิตรถจักรยานยนต์ในประเทศไทยได้เติบโตขึ้นเป็นฐานการผลิตรถจักรยานยนต์ที่จำหน่ายออกไป
               ทั่วโลก (Global Model) เช่น สกู๊ตเตอร์รุ่น PCX ที่ผลิตและเปิดตัวครั้งแรกในประเทศไทยเมื่อปีที่ผ่านมา และส่งออกไปยังประเทศต่างๆทั่วโลก โดยในปลายปีนี้ฮอนด้ามีแผนจะเปิดตัวจักรยานยนต์สปอร์ตรุ่นใหม่ในประเทศไทย และจะส่งออกไปจำหน่ายทั่วโลกเช่นกัน
               ภูมิภาคเอเชียยังเป็นฐานการผลิตที่สำคัญของฮอนด้า โดยในปีหน้าฮอนด้าจะเปิดโรงงานแห่งใหม่ในประเทศอินโดนีเซีย เพื่อขยายกำลังการผลิตจักรยานยนต์ ซึ่งภายหลังจากการเริ่มเดินสายพานการผลิตในช่วงปลายปีหน้า กำลังการผลิตจักรยานยนต์ฮอนด้าในภูมิภาคเอเชีย(ไม่รวมญี่ปุ่น) จะเพิ่มขึ้นจากปัจุบัน 16 ล้านคันต่อปีเป็น 18 ล้านคันต่อปี จากจำนวนการผลิตที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้ฮอนด้าสามารถรวมทุกขั้นตอนมาไว้ในภูมิภาคเดียวกัน ตั้งแต่การวิจัยและพัฒนา การจัดซื้อชิ้นส่วน และการผลิต ซึ่งจะทำให้ฮอนด้ามีศักยภาพในการแข่งขันที่สูงขึ้น และสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น
               สำหรับธุรกิจรถยนต์ ฮอนด้าจะพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันในประเทศที่กำลังเติบโตทางเศรษฐกิจ ซึ่งตลาดรถนั่งขนาดเล็กกำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยจะเร่งให้เกิดการพัฒนาฐานการผลิตรถในภูมิภาคโดยใช้แม่พิมพ์ วัตถุดิบ ตลอดจนชิ้นส่วนที่ผลิตขึ้นเองภายในภูมิภาค ในปีหน้านี้ฮอนด้าจะเปิดตัวอีโคคาร์ในประเทศไทย ซึ่งเป็นรถที่มีอัตราการประหยัดน้ำมันเป็นเลิศ โดยจะผลิตและส่งออกไปจำหน่ายยังกลุ่มประเทศอาเซียน นอกจากนั้นยังมีแผนที่จะเปิดตัวรถขนาดเล็กในประเทศอินเดีย ซึ่งจะใช้โครงสร้างตัวถังเดียวกันกับอีโคคาร์อีกด้วย


วรางคณา ศิลรักษ์


บทที่ 10  การแข่งขันในตลาดโลกและการปรับตัวเพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน
องค์การจะจะรักษาความสามารถในการแข่งขันได้อย่างต่อเนื่องได้อย่างไร"  โดยเฉพาะสำหรับผู้นำในตลาดที่ต้องการรักษาความเป็นที่หนึ่งอย่างต่อเนื่อง Clemson และ Weber (1991) แนะนำแนวทางในการธำรงรักษาความได้เปรียบในการแข่งขัน 4 วิธี ดังต่อไปนี้
1. ดำเนินการก่อน (First Mover) ธุรกิจสามารถสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันจากการผลิตสินค้า หรือให้บริการใหม่ แก่ลูกค้าก่อนคู่แข่ง ตามแนวคิดที่ว่า "การเป็นหนึ่งในตลาดย่อมดีกว่าเป็นที่สอง ที่ดีกว่า" ถึงธุรกิจคู่แข่งจะ สามารถเข้ามา ในตลาดหรือ สร้างผลิตภัณฑ์และบริการที่คล้ายคลึงกับเราได้ แต่ธุรกิจสามารถ สร้างอิทธิพลในการกำหนดโครงสร้างของตลาดและการแข่งขัน สามารถทำกำไรที่สูง และถ้าธุรกิจสามารถสร้าง ความซื่อสัตย์และบริการขององค์การ ขึ้นในกลุ่ม ลูกค้าก็จะทำให้การ ดำเนินงานของ ธุรกิจมีความมั่นคง
2. ผู้นำด้านเทคโนโลยี (Technological Leadership) ปัจจุบันเทคโนโลยีสมัย ใหม่โดยเฉพาะ เทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นปัจจัยสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจ เราจะพบว่าเทคโนโลยีสารสนเทศเริ่มมีบทบาท ในการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันธุรกิจ จนได้รับการยอมรับว่าเป็นทรัพยากรที่สำคัญฯเชิงกลยุทธ์ขององค์การ ถ้าธุรกิจสามารถเป็นผู้นำในการ นำเทคโนโลยีที่ทัน สมัยมา ประยุกต์ในการทำงานแล้ว นอกจากการพัฒนาผลิตภาพแล้วธุรกิจยังสามารถสร้างภาพลักษณ์ที่ดีในความรู้สึกของผู้บริโภค เช่น ธนาคารไทยพาณิชย์ที่พยายามเป็นผู้นำในการนำเทคโนโลยีมาใช้บริการลูกค้า เป็นต้น
3. เสริมสร้างนวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง (Continuous Innovation) การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วในปัจจุบัน ส่งผลให้ธุรกิจมี นวัตกรรมของ ผลิตภัณฑ์และ บริการที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้าอย่าง ต่อเนื่อง ซึ่งจะทำให้ลูกค้าเกิดความพอใจ นอกจากนี้พัฒนาการที่ต่อเนื่องยังทำให้คู่แข่งไม่สามารถลอกเลียนแบบได้ทัน แต่การพัฒนาที่รวดเร็วจะมีค่าใช้จ่ายด้านการ วิจัยและพัฒนา (Research and Development) หรือ R&D สูง ซึ่งผู้บริหารต้องพิจารณาอย่าง รอบคอบ กับผลได้ ผลเสียของการเป็นผู้นำด้านนวัตกรรมก่อนตัดสินใจกำหนดตำแหน่งขององค์การ
4. สร้างต้นทุนที่สูงในการเปลี่ยนแปลง (Create High Switching Cost) บางครั้งธุรกิจอาจพยายามสร้างความ ไม่สะดวก สบายหรือค่าใช้จ่าย ที่สูงแก่ลูกค่า ทั้งโดยทาง ตรงหรือทางอ้อม ถ้าเขา ต้องการจะเปลี่ยนไปใช้ผลิตภัณฑ์หรือบริการของคู่แข่ง ซึ่งจะทำให้ลูกค้าต้องคิดอย่างรอบคอบ ก่อนตัดสินใจใช้ผลิตภัณฑ์ หรือบริการ ของคู่แข่ง
อ้างอิงจาก www.pirun.kps.ku.ac.th

บทที่ 11 การบริหารจัดการธุรกิจสีเขียวและการวิเคราะห์ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิต
เครือธนาคารกสิกรไทยมีปณิธานในการเป็นองค์กรที่มีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม จึงได้มีนโยบายสนับสนุนและพัฒนาผลิตภัณฑ์และเทคโนโลยีของธนาคารเพื่อให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมกระตุ้นให้เกิดจิตสำ นึกในการรักษ์โลกและร่วมดูแลโลกให้เกิดขึ้นในทุกกลุ่มเป้าหมาย อาทิ
K-ATM ร่วมลดภาวะโลกร้อน
โครงการ “K-ATM ร่วมลดภาวะโลกร้อน” เป็นโครงการต่อเนื่องของเครือธนาคารกสิกรไทย ในการรณรงค์ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการรักษาสิ่งแวดล้อมของโลก ผ่านนวัตกรรมการให้บริการที่สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าควบคู่ไปกับปณิธานสีเขียวเพื่อโลกสวยสะอาดสดใสอย่างยั่งยืน โดยธนาคารดำเนินการปรับปรุงเครื่องเอทีเอ็มของธนาคาร ด้วยการใช้กระแสไฟฟ้า และลดขนาดแบบพิมพ์ใบบันทึกรายการ เพื่อลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและช่วยลดภาวะโลกร้อน โดยได้ผลเป็นรูปธรรม
ได้แก่
• ลดการใช้กระแสไฟฟ้าของเครื่องเอทีเอ็มบางส่วนโดยปรับเวลาเปิด-ปิดระบบไฟฟ้าแสงสว่างของ K-Lobbyจำนวน 872 แห่ง และเครื่องเอทีเอ็มแบบป้อมจำนวน 299 แห่ง จากเดิมที่เปิด 12 ชั่วโมงต่อวันเหลือ 4 ชั่วโมงต่อวัน
• ลดการเปิด-ปิดระบบปรับอากาศของเครื่องเอทีเอ็มจาก 18 ชั่วโมงต่อวัน เหลือ 10 ชั่วโมงต่อวัน ทำให้สามารถลดการใช้กระแสไฟฟ้าและเครื่องปรับอากาศลง ร้อยละ 61ซึ่งสามารถลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากกระบวนการผลิตไฟฟ้า ที่เป็นสาเหตุหลักของการเกิดก๊าซเรือนกระจกลงได้ถึงจำ นวน 6,669 ตันต่อปี
• ลดขนาดกระดาษแบบพิมพ์ใบบันทึกรายการเครื่องเอทีเอ็มลงจากเดิมขนาด 8.0 x 11.2 เซนติเมตร เป็นขนาดใหม่เหลือเพียง 8.0 x 8.5 เซนติเมตร เพื่อให้เหมาะสมกับการใช้งานและย่อยสลายได้ง่ายไม่เป็นภาระให้กับโลกโดยยังคงข้อมูลหลักฐานการทำ ธุรกรรมทางการเงินสำหรับลูกค้าไว้อย่างครบถ้วน ทำ ให้ลดการใช้กระดาษลงได้ประมาณร้อยละ 30 นอกจากนี้ ลูกค้ายังสามารถเลือกรับหรือไม่รับใบบันทึกรายการจากเครื่องเอทีเอ็มของธนาคารทำให้ช่วยลดการใช้กระดาษลงได้อีกทางหนึ่ง
อ้างอิงจาก www.kasikornbank.com


นางสาวทุเรียน ยศเหลา รหัส 5130125401220 การจัดการทั่วไป รุ่น 19


บทที่ 10
 กลยุทธ์การแข่งขันของพอร์ตเตอร์ (Porter   Competitive Strategies) มี 3 องค์ประกอบ ได้แก่
1.การลดต้นทุนทางการจัดการ (Low – Cost Leadership) พิจารณาสภาพแวดล้อมภายนอก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คู่แข่งขันทางธุรกิจมาเป็นแนวทางในการลดต้นทุนทางการจัดการขององค์กร เช่น ผลิตสินค้าที่ได้มาตรฐานและมีคุณภาพขณะที่ต้นทุนถูกกว่าคู่แข่งขัน การลดเวลาของกระบวนการทำงานให้สั้นลง แต่ค่าใช้จ่ายในการตอบแทนพนักงานเท่าเดิม เป็นต้น
2.การสร้างความแตกต่าง (Differentiation) การสร้างความแตกต่างจากคู่แข่งขันทางธุรกิจ จะทำให้เป็นเอกลักษณ์ขององค์กรที่เกิดจากกระทำการ  ซึ่งเป็นการได้เปรียบทางการแข่งขันทางธุรกิจ    อาจจะเป็นความแตกต่างในกระบวนการทำงานขององค์กร หรือสินค้าและบริการ แต่ทั้งนี้ความแตกต่างดังกล่าวจะต้องแสดงให้เห็นถึงประสิทธิผลและประสิทธิภาพที่เหนือกว่าคู่แข่งขัน
3.การมุ่งเน้นเฉพาะ (Focus) การได้เปรียบทางการแข่งขัน ผู้นำหรือผู้บริหารจะต้องพิจารณาเน้นเฉพาะกลุ่มที่มีส่วนเกี่ยวข้องทางธุรกิจ ทั้งนี้เพื่อตอบสนองต่อความต้องการและความพึงพอใจได้อย่างเต็มที่
การสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน
ในยุคที่การแข่งขันมีความรุนแรง  การมุ่งเน้นกลยุทธ์การสร้างความได้เปรียบเพียงกลยุทธ์เดียวอาจส่งผลให้องค์กรไม่สามารถปรับตัวให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปได้ทันท่วงที องค์กรที่ประสบความสำเร็จหลายแห่งได้ใช้กลยุทธ์ที่หลากหลายในการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันให้เกิดขึ้น มิใช่มุ่งเน้นกลยุทธ์เฉพาะเพียงด้านใดด้านหนึ่งเท่านั้น  แต่องค์กรเหล่านี้อาจเริ่มต้นจากการใช้กลยุทธ์เพียงกลยุทธ์เดียวในการแข่งขัน เช่นDell Computer ที่ดำเนินธุรกิจจำหน่ายคอมพิวเตอร์ ได้เริ่มต้นธุรกิจด้วยการมุ่งเน้นการลดต้นทุน ขั้นตอนในการทำธุรกิจจะเริ่มจากเมื่อได้รับคำสั่งซื้อจากลูกค้า แล้วบริษัทจะติดต่อไปยังผู้ผลิตอุปกรณ์ชิ้นส่วนประกอบคอมพิวเตอร์ทันที  เพื่อให้นำชิ้นส่วนมาส่งและประกอบเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์  เสร็จแล้วก็จะดำเนินการจัดส่งให้ลูกค้าทันที  เราจะเห็นได้ว่า Dell  ไม่มีการเก็บสินค้าไว้ที่คลังสินค้าเลย  การบริหารสินค้าเช่นนี้จัดได้ว่าเป็นการมุ่งเน้นทางการลดต้นทุน  โดยเฉพาะต้นทุนของสินค้าคงคลัง  ต่อมาเมื่อการแข่งขันในธุรกิจจำหน่ายคอมพิวเตอร์มีความรุ่นแรงมากขึ้น  Dell  จึงได้นำเอากลยุทธ์ด้านอื่น ๆมาใช้ เช่น การบริการส่งสินค้าอย่างรวดเร็ว  การเน้นคุณภาพของสินค้าและการรับประกัน เป็นต้น


ส.อ.หญิง ณัฐธยาน์ ธนโชติวราพงศ์ การจัดการทั่วไป รุ่น 19


บทที่ 9
 การบริหารการเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาอย่างยั่งยืน
องค์การต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลง (Change) จากสภาพแวดล้อมที่เป็นผลมาจากกระแสโลกาภิวัฒน์ Globalization) ซึ่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจ สังคม การเมือง เทคโนโลยี การค้าระหว่างประเทศ และสภาพแวดล้อมในการแข่งขัน ดังนั้นในปัจจุบันองค์การต้องเปลี่ยนแปลงให้ทันกับการพลวัต (Dynamic) ของสภาพแวดล้อม มิเช่นนั้นองค์การจะไม่สามารถดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพ และมีการพัฒนาอย่างยั่งยืนได้ ซึ่งหากนักบริหารสามารถปรับองค์การให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป โดยอาศัยความรู้ความสามารถและความชำนาญก็จะสามารถสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน (Competitive Advantage) ในการสร้างประสิทธิภาพ และการพัฒนาที่ยั่งยืนได้ อย่างไรก็ตามในปัจจุบันได้เกิดกระแสแนวคิดในด้านการบริหารจัดการสมัยใหม่ เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการในองค์การยุคใหม่ทั้งในส่วนขององค์การภาครัฐ และภาคเอกชนอย่างหลากหลาย อาทิ Learning Organization,Benchmarking,Balanced Scorecard,Total Quality Management ฯลฯ ซึ่งแนวคิดดังกล่าวถือเป็นนวัตกรรมการบริหารจัดการขององค์การยุคใหม่ยังไม่สามารถเป็นเครื่องมือให้กับนักบริหารในการส่งเสริมศักยภาพของตนและองค์การได้เท่าที่ควร สืบเนื่องมาจากไม่ได้มีการจัดระบบข้อมูล และการเผยแพร่องค์ความรู้การบริหารจัดการสมัยใหม่ในการนำไปประยุกต์ใช้อย่างเป็นระบบและเหมาะสมดังนั้นยุทธศาสตร์ในการพัฒนาความเข้มแข็งทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นการปฏิบัติการเชิงรุก รวดเร็ว ฉับไว สนองต่อการพัฒนาด้านต่าง ๆ เช่น ด้านภาครัฐ (e-Government) การศึกษา (e-Education) สังคม (e-Society) อุตสาหกรรม (e-Industry) และด้านพาณิชย์ (e-Commerce) สภาพปัญหาและความจำเป็นของแนวทางการบริหารการจัดการของหน่วยงานโดยพิจารณาจากวิกฤตที่เกิดขึ้น สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงปัจจุบันและแนวโน้มกระแสโลกในอนาคต จึงกำหนดยุทธศาสตร์ที่จะนำไปสู่การพัฒนาที่สมดุล มีคุณภาพและยั่งยืน ระดับคุณภาพชีวิตของคนส่วนใหญ่ให้อยู่ดี มีสุข ควบคู่กับการพัฒนามุ่งสู่คุณภาพในทุกด้าน พัฒนาระบบบริหารจัดการที่ดีในทุกระดับ โดยอาศัยพลังการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในสังคมไทย บังเกิดผลเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน ผลสัมฤทธิ์ (Results Based Management - RBM) มีจุดเน้นที่สำคัญคือ การกำหนดตัวชี้วัดผลการปฏิบัติงานเป็นหลัก สามารถนำหลักการและทฤษฎีมาใช้ในหน่วยงานทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และหน่วงงานทางการศึกษา ในองค์การที่มีโครงสร้างซับซ้อน มีการโยงใยบทบาทหรือตำแหน่งแต่ละตำแหน่งของบุคลากร หรือเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานนั้น ๆ บุคลากรเหล่านั้นต้องแสดงบทบาทให้สอดคล้องกับคำอธิบายของตำแหน่ง เมื่อพ้นตำแหน่งไปแล้ว คนที่มาครองตำแหน่งใหม่ ก็จะแสดงบทบาทนั้นเหมือนเดิม สอดคล้องกับทฤษฎีองค์การแบบดั้งเดิม กลุ่มการจัดการแบบการบริหาร Administrative Management Theory) จะมุ่งเน้นให้ความสำคัญในระดับมหภาคทั้งองค์การ สร้างหลักเกณฑ์และการปรับปรุงวิธีการทำงานของฝ่ายบริหาร ส่วนมากนิยมที่จะนำแนวคิดของกูลิค (Gulick) ที่ได้ขยายแนวคิดเกี่ยวกับกระบวนการบริหารของฟาโยล(Henri Fayol) คือ OSCAR จาก 4 ประการ แบ่งออกเป็น 7 ประการ ที่นิยมเรียกว่า "POSDCORB" ได้แก่ การวางแผน การจัดองค์การ การบริหารงาน บุคลากร การสั่งการ การประสานงาน การรายงาน และการจัดสรรงบประมาณ โดยเน้นความสำคัญของระบบโครงสร้างองค์การตั้งแต่ระดับเบื้องบนสู่เบื้องล่าง ใช้หลักการทำงานประสานกันเป็นระบบ สอดคล้องกับเป้าหมายและวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ เป็นหลักในการกำหนดกรอบทฤษฎี
บทที่ 10
การแข่งขันในตลาดโลกและการปรับตัวเพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน
ความได้เปรียบทางการแข่งขัน เป็นสุดยอดปรารถนาของทุกกิจการที่ต้องดำเนินงานท่ามกลางความผันแปรที่ เปลี่ยนแปลง ซึ่งทุกธุรกิจย่อมจะทำทุกวิถีทางที่จะเฟ้นหากลยุทธ์ที่เฉียบคมที่สุด เพื่อนำมาสู่การสร้างความได้เปรียบดังกล่าวเหนือคู่แข่ง แต่อย่างไรก็ตาม การได้มาซึ่งความได้เปรียบที่เหนือชั้นนั้น ยังไม่ยากลำบากเท่ากับรักษามันเอาไว้ บ่อยครั้งที่หลายท่านคงเห็นบริษัทที่ครั้งหนึ่งเคยเกรียงไกรอย่างมาก แต่ก็ต้องประสบกับปัญหาและสภาวะถดถอยลงไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งบางแห่งถึงกับล้มไปโดยที่ไม่สามารถฟื้นตัวกลับมายืนอยู่จุดเดิมได้อีกเลย จึงเริ่มมีการพยายามวิเคราะห์หาแนวคิดกลยุทธ์ต่าง ๆ ที่นอกจากจะนำไปสู่ความได้เปรียบแล้ว ยังต้องสามารถทำนุบำรุงให้คงอยู่ในระยะยาวอย่างต่อเนื่องได้อีกด้วย เนื่องจากไม่มีคู่แข่งรายใดที่จะยอมอยู่เฉย มองดูธุรกิจของเราเติบโตต่อไปได้อย่างราบรื่น หากกิจการของเราประสบความสำเร็จในระดับหนึ่ง ก็ต้องมีผู้ที่พยายามจะเข้ามาร่วมต่อสู้แย่งชิงผลประโยชน์จากความสำเร็จนั้น ด้วย ไม่ช้าก็เร็ว ดังนั้น จึงมีเทคนิคบางประการมานำเสนอ เพื่อนำสู่ความได้เปรียบในการดำเนินงานที่คงทนถาวรมากขึ้น 
         ประการแรก คือ กล้าเสี่ยงกับการสร้างสรรค์ โดยกิจการควรสนับสนุนการสร้างแนวคิดใหม่ ๆ และทดลองที่จะนำแนวคิดที่แตกต่างลงสู่การปฏิบัติ แม้ว่าบ่อยครั้งความคิดนั้น ๆ จะดูแปลกแหวกแนว จนอาจจะถูกคนอื่นๆหัวเราะเยาะและเย้ยหยันว่าเป็นไปไม่ได้ก็ตาม
         เจฟ เบซอส ผู้ก่อตั้ง อเมซอนดอทคอม อันลือลั่น ก็กล่าวยืนยันว่า "การที่จะคิดค้นสิ่งใหม่ๆนั้น มักจะทำให้เราถูกมองว่าเป็นตัวประหลาดในสายตาของคนรอบข้างเสมอ" แต่หากกิจการไม่เสี่ยงที่จะทดลองเลยนั้น ก็ไม่สามารถจะลิ้มรสของความเป็นผู้นำที่แตกต่างได้เลย โดยเครื่องไม้เครื่องมือหลายอย่างที่อเมซอนคิดค้นขึ้น เพื่อนำมาสู่การให้บริการค้าปลีกออนไลน์ต่อลูกค้าอย่างล้ำสมัย ไม่ว่าจะเป็นระบบแนะนำสินค้าแบบตัวต่อตัว ระบบเว็ปเพจส่วนบุคคล ฯลฯ ล้วนแล้วแต่เคยถูกมองว่าเป็นไปไม่ได้ทั้งสิ้น หรือแม้แต่ คีออสเพลงดิจิตอลของสตาร์บัค หรือ ระบบค้นหาข้อมูลระดับโลกของกูเกิล ก็ผ่านการวิพากษ์วิจารณ์กันมาอย่างหนาหูทั้งสิ้น แต่สิ่งต่าง ๆ ก็ได้นำมาความสำเร็จที่แตกต่างมาสู่กิจการอย่างต่อเนื่องเช่นกัน    ซึ่งการที่กล้าเสี่ยงกับการสร้างสรรค์นี้ ไม่ควรแต่จะมุ่งเน้นในการพิจารณาเฉพาะการเคลื่อนไหวของคู่แข่งโดยตรงใน ปัจจุบันเท่านั้นนะครับ เพราะจะทำให้เป็นการสร้าง "กรอบ" ในแนวความคิดของกิจการเอง อาจส่งผลให้ไม่สามารถคิดออกไปนอกกรอบหรือแนวทางที่ต่างไปจากที่อุตสาหกรรม และการแข่งขันปัจจุบันเป็นอยู่ก็ได้ จึงยากที่จะแตกต่างอย่างแท้จริง ดังนั้นจึงไม่ควรเพียงแต่ "look around" เท่านั้น แต่ควรจะ "look ahead" มองออกไปข้างหน้าโดยไม่ยึดติดกับสิ่งที่เคยเห็นหรือเคยดำเนินการอยู่
         เทคนิคประการที่สอง คือ อย่าลุ่มหลงกับการเพิ่มขนาดเท่านั้น ควรเน้นที่การสร้างความเป็นเอกลักษณ์มากกว่า หลายธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ มักจะคิดว่าการเติบโตหรือขนาดที่ใหญ่ขึ้นอย่างต่อเนื่องนั้น ถือเป็นปัจจัยแห่งความสำเร็จ จึงมีความพยายามที่จะเพิ่มขนาดอย่างต่อเนื่อง   แต่ในความเป็นจริงแล้ว ความได้เปรียบทางการแข่งขัน มิได้ขึ้นอยู่กับขนาดแต่เพียงอย่างเดียว ยิ่งขนาดใหญ่ขึ้น แต่หากทุกอย่างกลับขาดความโดดเด่น จะยิ่งทำให้เป็นภาระทางการดำเนินงานเสียเปล่า ดังนั้น การมุ่งเน้นที่เอกลักษณ์เพื่อตอบสนองความต้องการเฉพาะด้านที่พิเศษแตกต่าง จริง ๆ จึงเป็นสิ่งที่จะทำให้เกิดความมั่นคงในการแข่งขันมากกว่า  วอลล์-มาร์ท ห้างค้าปลีกที่ใหญ่สุดในโลก ก็เริ่มที่จะทำนุบำรุงความได้เปรียบทางการแข่งขันของตน โดยมิได้พึ่งพาเรื่องของขนาดเท่านั้น แต่มุ่งเน้นให้วอลล์-มาร์ทกลายเป็นธุรกิจบริการที่ใส่ใจและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงจะเป็นตัวกลางในการนำเสนอแต่ผลิตภัณฑ์ที่ส่งเสริมสุขภาพ และไม่ทำลายสภาพแวดล้อม เพื่อให้เหมาะสมกับแนวโน้มความต้องการของสังคม โดยสินค้าที่นำมาจำหน่ายในร้านจะต้องสามารถติดตามกลับไปยังต้นแหล่งได้เสมอ เพื่อยืนยันถึงความปลอดภัยและเป็นมิตรต่อโลกอย่างจริงจัง ซึ่งถือเป็นจุดเด่นที่เป็นเอกลักษณ์จากค้าปลีกรายอื่น ๆ
         เทคนิคประการที่สาม คือ อย่าดึงดันกับการแข่งขันแต่เพียงอย่างเดียว ควรหาตลาดใหม่เพื่อฉกฉวยโอกาสในการเติบโตด้วย โดยแนวคิดนี้เน้นว่าควรใส่ใจในการสร้างสรรค์โอกาสทางการตลาดใหม่ๆอยู่ตลอด เวลา แทนที่จะดำเนินงานอยู่ในตลาดที่มีการแข่งขันรุนแรงแต่เพียงอย่างเดียว เพราะอาจจะเพลี่ยงพล้ำได้ง่าย และผลตอบแทนก็ไม่คุ้มค่า
         เทคนิคที่สี่ คือ โฟกัสที่ลูกค้า มิใช่คู่แข่งขัน ซึ่งอาจจะทำให้เห็นการพัฒนาโอกาสทางธุรกิจที่อยู่ในความต้องการของตลาดได้ อย่างมาก เช่น บริษัท Caterpillar ที่มีผลิตภัณฑ์ด้านเครื่องจักรหนักอันลือชื่อ โดยเน้นการตอบสนองความต้องการของลูกค้าอย่างถึงที่สุด จนเกิดความเป็นเลิศด้านบริการ ซึ่งบริษัทสัญญาว่า ไม่ว่าลูกค้าจะอยู่ที่ใดในโลกนี้ ก็สามารถที่จะส่งชิ้นส่วนไปให้บริการได้ภายใน 24 ชั่วโมง   ซึ่งถือเป็นจุดขายที่เป็นเอกลักษณ์ จนกระทั่งหลายคนมองว่า Caterpillar ขายบริการด้วยซ้ำ และท้ายที่สุด จากการที่กิจการมีการพัฒนาเครือข่ายการขนส่งทั่วโลก ทำให้มีทักษะและเทคโนโลยีสูงมากพอที่จะเข้าแข่งขันในธุรกิจให้บริการทางด้านลอจิสติกส์เพิ่มเติม ซึ่งปัจจุบันกลายเป็นธุรกิจหลักที่เติบโตสูงสุดของบริษัท และทำรายได้มหาศาลกลับคืนมาทีเดียว  นอกจากนี้ กิจการยังควรมีการสร้างเครือข่ายสนับสนุนการแลกเปลี่ยนไอเดียและข้อมูล ระหว่างบริษัท เพื่อเป็นการจุดประกายการสร้างสรรค์ รวมถึงควรต้องกระตุ้นให้บุคลากรของเรากระหายในความสำเร็จและพัฒนาอย่างต่อ เนื่องตลอดเวลา จึงจะสามารถวิ่งหนีและกระโดดข้ามคู่แข่งได้ต่อไปในอนาคต

http://www.ezyjob.com/บทความ/การตลาด
บทที่ 11
การบริหารจัดการธุรกิจสีเขียวและการวิเคราะห์ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และคุณภาพชีวิต

ในการพัฒนาระบบเศรษฐกิจสีเขียว สิ่งที่จำเป็นคือการลงทุนใหม่ๆ การสร้างทักษะใหม่ๆ และการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ ในการนี้ สมาชิกผู้เข้าร่วมจึงยินยอมที่จะมอบแหล่งเงินทุนให้แก่ประเทศกำลังพัฒนาและให้ความช่วยเหลือในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการสนับสนุนเครื่องมือทางการเงิน ลดเงินช่วยเหลือที่สร้างผลเสียต่อสภาพแวดล้อมและไม่สอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืน สนับสนุนการวิจัยร่วมกันระหว่างประเทศเกี่ยวกับเทคโนโลยีสีเขียวที่เกี่ยวข้องกับประเทศกำลังพัฒนา เพื่อให้สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีได้ในราคาที่เหมาะสม และสนับสนุนองค์กรทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ของประเทศกำลังพัฒนา เพื่อให้นักวิทยาศาสตร์และวิศวกรท้องถิ่นได้พัฒนาเทคโนโลยีสีเขียวแบบท้องถิ่น
1. ความมั่นคงทางอาหาร
เรียกร้องให้ทุกประเทศหันมาให้ความสำคัญกับปริมาณการผลิตอาหารที่ยั่งยืนโดยเพิ่มการลงทุนให้กับผลิตภัณฑ์อาหารท้องถิ่น ขยายตลาดอาหารที่ได้จากการเกษตร และลดของเสียในห่วงโซ่อุปทาน โดยให้ความสนใจเป็นพิเศษกับผู้หญิง เกษตรกรรายย่อย เยาวชน เกษตรกรพื้นเมือง สร้างความมั่นใจในโภชนาการที่เหมาะสม ผ่านกระบวนการค้าขายที่โปร่งใสและเปิดกว้างมากขึ้น พร้อมแนวทางที่จะนำไปสู่ความมีเสถียรภาพมากขึ้นของราคาอาหารและตลาดในประเทศ นอกจากนี้ยังสนับสนุนการริเริ่มในทุกๆระดับที่เกี่ยวกับการพัฒนาการเข้าถึงข้อมูล เพิ่มปฏิสัมพันธ์ระหว่างเกษตรกรและผู้เชี่ยวชาญผ่านบริการการศึกษาและการใช้เทคโนโลยี
2. น้ำ
เน้นความสำคัญของการมีน้ำดื่มที่สะอาดและปลอดภัยเพื่อสุขอนามัยในฐานะหนึ่งในสิทธิมนุษยชนที่จำเป็นสำหรับการมีชีวิตที่ดี จำเป็นต้องวางเป้าหมายให้กับการจัดการน้ำเสีย รวมไปถึงการลดปริมาณน้ำเสียจากครัวเรือน โรงงานอุตสาหกรรมและแหล่งกสิกรรม และสนับสนุนให้มีการบำบัดน้ำเสียโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตชานเมือง


3. พลังงาน
จะริเริ่มสร้างแหล่งพลังงานที่ยั่งยืนสำหรับทุกคน โดยมีเป้าหมายในการนำเสนอการเข้าถึงบริการพลังงานพื้นฐานในระดับขั้นต่ำสำหรับทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภคในปี ค.ศ.2030 ดังนั้นจึงต้องขอให้มีการจัดหาทรัพยากรทางการเงินที่เพียงพอและมีคุณภาพสำหรับประเทศกำลังพัฒนา เพื่อทำให้การใช้แหล่งพลังงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและกว้างขวางขึ้น และแต่ละประเทศควรหันมาพัฒนานวัตกรรมคาร์บอนต่ำมากขึ้น


4. เมือง
ส่งเสริมแนวทางบูรณาการและแบบองค์รวมเพื่อการวางแผนและการสร้างเมืองอย่างยั่งยืนด้วยการให้การสนับสนุนแก่ฝ่ายปกครองท้องถิ่น เครือข่ายการสื่อสารและคมนาคมที่มีประสิทธิภาพ ระบบการส่งมอบบริการที่ดีขึ้น อากาศและคุณภาพน้ำที่ดีขึ้น ลดปริมาณของเสีย ขยายการเฝ้าระวังภัยธรรมชาติและตอบสนองความเปลี่ยนแปลงในสภาพอากาศที่แปรปรวน
5. งานสีเขียวและการใหทุกคนในสังคมมีสวนรวม
การพัฒนาขีดความสามารถของมนุษย์เป็นสิ่งจำเป็นในการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่มีฐานกว้าง อันจะช่วยสร้างชุมชนที่แข็งแกร่งและยั่งยืนและพัฒนาสภาพแวดล้อม คนงานจึงต้องมีทักษะและได้รับการคุ้มครองที่จำเป็นเพื่อที่พวกเขาจะได้มีส่วนร่วมและได้ประโยชน์จากระบบเศรษฐกิจสีเขียวซึ่งมีศักยภาพในการสร้างตำแหน่งงานดีๆ อีกมาก โดยเฉพาะกับเยาวชนดังนั้นภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมจึงควรสนับสนุนการสร้างงานสีเขียวเช่นการลงทุนในงานสาธารณะเพื่อการฟื้นฟูและขยายทุนธรรมชาติมีปฏิบัติการจัดการน้ำและที่ดิน การเพาะปลูกในครัวเรือน การเพาะปลูกตามระบบนิเวศ การจัดการผืนป่า การใช้ความหลากหลายทางชีวภาพด้วยเหตุผลทางเศรษฐกิจ ฯลฯ จำเป็นต้องขยายการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานเพื่อสนับสนุนการพัฒนาที่ยั่งยืนและให้ความรู้เกี่ยวกับงานสีเขียวรวมทั้งเพิ่มความคุ้มครองทางสังคมแก่สมาชิกทุกคนในสังคมรวมถึงแรงงานนอกระบบด้วย
6. มหาสมุทรและทะเล
ให้ความสำคัญกับการรักษาและจัดการแหล่งมหาสมุทรและทะเลอันเป็นส่วนสำคัญในการรักษาระบบนิเวศของโลก และร่วมดูแลแนวปะการังไปจนถึงหมู่เกาะและรัฐชายฝังทะเล สนับสนุนการร่วมมือกันตามแนวทางของCoral Triangle initiative (CTi) และ the international Coral Reefinitiative(iCRi) สำหรับประเทศกำลังพัฒนาที่เป็นเกาะขนาดเล็ก (SiDS)ยังคงจัดเป็นกรณีที่ต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษเนื่องจากได้รับผลกระทบสูงมาก ไม่ว่าจะเป็นผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภัยธรรมชาติ 

7. ภัยธรรมชาติ
แนวทางการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติทางธรรมชาติจะยังคงความสำคัญในบริบทของการพัฒนาที่ยั่งยืนและถูกรวมอยู่ในวาระการพัฒนาหลังปีค.ศ.2015 แต่ประเทศสมาชิกต้องเร่งประสานงานระดับชาติ ภูมิภาคและระดับสากล เพื่อพัฒนาการพยากรณ์อากาศและระบบการเตือนภัยล่วงหน้าให้ดีขึ้น
8. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
ประเทศที่พัฒนาแล้วยังคงมีช่องโหว่เรื่องการจัดการกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและกำลังเผชิญผลเชิงลบมากขึ้นเรื่อยๆ อันจะเป็นการบ่อนทำลายความมั่นคงทางอาหารและความพยายามในการขจัดความยากจน อีกทั้งคุกคามการดำรงอยู่ของประเทศหมู่เกาะเล็กๆ ที่ประชุม Rio+20 จะส่งเสริมให้ประเทศต่างๆ ร่วมมือกันจัดการกับปัญหาที่เชื่อมโยงกันระหว่างน้ำ พลังงาน อาหาร และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ


9. ปาและความหลากหลายทางชีวภาพ
สนับสนุนการชะลอและยับยั้งการทำลายผืนป่า และส่งเสริมให้มีการจัดการผืนป่าในแง่ของการรักษาและฟื้นฟู ปฏิบัติการเร่งด่วนนี้เรียกว่า “NonLegally Binding instrument on all Types of Forests  (NLBi)” ผ่านพิธีสารนาโงยา ซึ่งจะถูกนำมาใช้ในการประชุมภาคีอนุสัญญาว่าด้วยจับกระแส Rio+20ความหลากหลายทางชีวภาพครั้งที่ 10 ทั้งยังต้องกระตุ้นให้เกิดการลงทุนในทุนธรรมชาติ ผ่านเครื่องมือกระตุ้นและนโยบายที่เหมาะสม
10. ความเสื่อมโทรมของดิน และการกลายเปนทะเลทราย
เนื่องจากผืนดินเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างความเจริญเติบโต ความมั่นคงทางอาหาร และการขจัดความยากจน การที่พื้นที่เพาะปลูกในแอฟริกากลายเป็นทะเลทรายนั้นเป็นปัญหาร้ายแรงสำหรับการพัฒนาที่ยั่งยืนในพื้นที่แถบนั้นดังนั้นประชาคมโลกจึงต้องมีส่วนร่วมมากขึ้นในการดำเนินงานตามอนุสัญญาสหประชาชาติเพื่อรับมือกับการกลายเป็นทะเลทราย (United NationsConvention to Combat Desertification: UNCCD) และสนับสนุนการร่วมมือกันและการริเริ่มโครงการพิทักษ์รักษาทรัพยากรดิน เช่น โครงการแนวร่วมดินโลก (Global Soil Partnership: GSP) ตลอดจนส่งเสริมให้เกิดการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ที่พุ่งเป้าไปที่การทำให้คนตระหนักถึงประโยชน์ทางเศรษฐกิจจากนโยบายจัดการที่ดินอย่างยั่งยืน
11. ภูเขา
ภูเขามีความเสี่ยงสูงที่จะประสบปัญหาจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ อีกทั้งยังเป็นที่พำนักพักพิงของชนเผ่าท้องถิ่นจำนวนมากที่ใช้ทรัพยากรอย่างพอเพียง แต่ถูกมองข้าม และยังมีปัญหาความยากจนและเสี่ยงต่อภัยธรรมชาติและภาวะขาดแคลนอาหาร ดังนั้นเราจึงต้องทำการสำรวจกลไกระดับโลก ระดับภูมิภาค ระดับชาติ และระดับท้องถิ่นให้มากขึ้นเพื่อเป็นการชดเชยและตอบแทนชุมชนที่อาศัยในภูเขา สำหรับสิ่งที่พวกเขาทำมาตลอดเพื่อปกป้องระบบนิเวศ
12. สารเคมีและของเสีย
โครงการกลยุทธ์การจัดการสารเคมีระดับประเทศ (SAiCM) ต้องริเริ่มหาวิธีการจัดการกับสารเคมีและของเสียตลอดวงจรชีวิตของมันให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นในระดับสากล การให้ทุนสำรองที่ยั่งยืนและเพียงพอนั้นสำคัญต่อการช่วยพัฒนาประเทศที่มีการจัดการสารเคมีและของเสียที่ปลอดภัย ดังนั้นการปฏิบัติงานภายใต้อนุสัญญาที่เกี่ยวข้อง ได้แก่  Basel Convention, Rotterdam Convention และ Stockholm Convention จึงควรประสานงานกันมากขึ้นเพื่อจัดการกับมลพิษอินทรีย์และมีการร่วมมือกันระหว่างทั้งภาครัฐและภาคเอกชนโดยมุ่งเป้าไปที่การเพิ่มศักยภาพและเทคโนโลยีของการจัดการของเสียในสิ่งแวดล้อม รวมทั้งปัญหาของเสียอิเล็กทรอนิกส์และพลาสติกในแหล่งน้ำ
13. การผลิตและการบริโภคที่ยังยืน
จัดทำแผนงานระยะ 10 ปีว่าด้วยการบริโภคและการผลิตที่ยั่งยืน ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของข้อตกลงระดับโลกเกี่ยวกับการพัฒนาที่ยั่งยืน




14. การศึกษา
ทุกคนต้องสามารถเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพ ซึ่งจะทำได้โดยการเพิ่มการเตรียมความพร้อมของครูและให้มหาวิทยาลัยต่าง ๆ เป็นแบบอย่างในการปฏิบัติ รวมถึงการสนับสนุนกิจกรรมการแลกเปลี่ยนด้านการศึกษาระดับสากล อาทิ ให้ทุนการศึกษาในระดับนานาชาติเพื่อเผยแพร่แนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืนให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น โดยให้นักเรียนรู้จักคุณค่า หลักการสำคัญ และแนวทางที่หลากหลายอันจำเป็นต่อวิถีการพัฒนานี้
15. ความเทาเทียมทางเพศ
ความไม่เสมอภาคในสังคมและเศรษฐกิจที่มีอยู่มายาวนานนั้นส่งผลต่อผู้หญิงและเด็กซึ่งเป็นคนกลุ่มหลักในบรรดาคนจนทั้งหมดในโลก ดังนั้นเราต้องทำให้ผู้หญิงมีส่วนร่วมอย่างเต็มที่กับเศรษฐกิจ เสริมศักยภาพของผู้หญิงในฐานะผู้ขับเคลื่อนการพัฒนาที่ยั่งยืน เราต้องให้ความสำคัญกับความเท่าเทียมทางเพศในทุกมิติของสังคม อันรวมไปถึงการศึกษา การจ้างงาน การเป็นเจ้าของทรัพยากร การเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม การเมือง การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจระดับองค์กร ฯลฯ
16. การเรงและการวัดความคืบหนา
เป้าประสงค์ กลุ่มเป้าหมาย และหลักการประเมินมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการวัดและการเร่งความคืบหน้าในกระบวนการนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนดังนั้นจึงต้องมีการออกกฎหรือแนวทางในการประเมินผล ที่สะท้อนให้เห็นการจัดการกับประเด็นเสาหลักทั้งสาม (เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม) ได้อย่างสมดุลและสอดคล้องกับหลักการของ  Agenda 21 ทั้งยังมีความเป็นสากลและสามารถนำไปประยุกต์ได้กับทุกประเทศ แต่ยังเปิดกว้างสำหรับความแตกต่างในแนวทางแก้ปัญหาในแต่ละประเทศ โดยคาดการณ์ว่าเป้าประสงค์เหล่านี้จะบรรลุผลได้ภายในปี ค.ศ.2030 นอกจากนี้ยังต้องพัฒนาการจัดทำตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจที่รวมมิติทางเศรษฐกิจสังคมและสิ่งแวดล้อมในลักษณะที่สมดุล และขอให้เลขาธิการเป็นผู้ริเริ่มขั้นตอนทั้งหมดจากการปรึกษาหารือกับสมาชิกสหประชาชาติและองค์กรอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

แหล่งที่มา   หนังสือ แนวคิดและความเคลื่อนไหวเรื่องเศรษฐกิจสีเขียว  ของ สฤณี อาชวานันทกุล

น.ส. ปาริฉัตร หยุ่นเฮง รหัส 216 การจัดการทั่วไปรุ่นที่ 19 ภาค กศ.พบ.


บทที่ 6 การเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
การเตรียมความพร้อมของภาคการเกษตร
ความมั่นคงด้านอาหาร
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
          ภารกิจหลักของ สศก. ที่เกี่ยวข้องกับอาเซียน ได้แก่ เรื่องการค้า การเจราจา FTA ต่าง ๆ (เน้นมาตรการทางภาษี) โดยมีความตกลงลดภาษีสินค้าส่วนใหญ่เป็นศูนย์ตั้งแต่ปี 2553 และขณะนี้มีมาตรการบริหารการนำเข้าสำหรับสินค้าบางชนิด มาตรการบริหารการลงทุน ซึ่งอยู่ในระหว่างหาข้อมูลและรวบรวมความเห็นเกี่ยวกับท่าที่การลงทุนและการเตรียมการของประเทศไทยต่อการเปิดเสรีการลงทุน และการเป็นประชาคมอาเซียน เป็นต้น
         ในด้านความมั่นคงอาหาร (Food Security) มีการดำเนินการตามแผนนโยบายบูรณาการความมั่นคงด้านอาหารของอาเซียน (ASEAN Integrated Food Security (AIFS) Framework) ซึ่งประกอบด้วย 4 ส่วนได้แก่
1) ความมั่นคงทางด้านอาหาร ผ่านองค์การสำรองข้าวฉุกเฉินอาเซียนบวกสาม (APTERR) ซึ่งอยู่ระหว่างรอให้ประเทศสมาชิกอาเซียน 6 ใน 10 ประเทศ และประเทศคู่เจรจา 1 ใน 3 ประเทศ ให้สัตยาบันเพื่อให้ความตกลงมีผลบังคับใช้ โดยล่าสุดประเทศไทยและประเทศมาเลเซีย ยื่นสัตยาบันสารแล้ว
2) การพัฒนาการค้าอย่างยั่งยืนส่งเสริมตลาดการค้า ซึ่งมีกระทรวงพาณิชย์เป็นหน่วยงานหลัก
3) ระบบข้อมูลด้านความมั่นคงอาหาร สศก. ดำเนินการอยู่ภายใต้โครงการ AFSIS 4) นวัตกรรม หรือ innovation เป็นส่วนที่หน่วยงาน Sectoral Working Group ต่าง ๆ อาทิ Livestock, Fisheries, Crops รับผิดชอบ และมีเรื่องความมั่นคงทางพลังงานซึ่งเป็นเรื่องที่สอดคล้องกับความมั่นคงทางอาหาร และเป็นผลจากการประชุมสุดยอดผู้นำ โดย FAO อยู่ระหว่างหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
          Global Warming ดำเนินการตาม ASEAN Multi – Sectoral Framework on Climate Change (AFCC): Agriculture and Forestry towards Food Security ซึ่งมีอินโดนีเซียเป็น Lead Country
          นอกจากนี้ มีการศึกษาวิจัย อาทิ การศึกษาผลกระทบการเปิดเสรีอาเซียนต่อสินค้าหลักด้านการเกษตรการจัดสัมมนาเตรียมความพร้อมภายในประเทศ เป็นต้น

การดูแลรักษาอาหาร
สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.)
          ภารกิจหลัก ๆ ที่เกี่ยวข้องกับอาเซียนของ มอกช. ได้แก่ ภารกิจด้านมาตรฐาน การรับรอง และการจัดทำ ASEAN Single Window ร่วมกับศุลกากร ทั้งหมดนี้ สอดคล้องกับ Blueprint และการอำนวยความสะดวก ทางด้านการค้า ด้านมาตรฐาน ได้มีการเข้าร่วม ASEAN Working Group on Crops ได้ปรับมาตรฐานพืชผักผลไม้ให้สอดคล้องกับมาตรฐานอาเซียน 24 ราบการ และในอนาคตจะทำเพิ่มอีก 5 รายการ การจัดทำ ASEAN GAP, ASEAN Shrimp และเข้าร่วมคณะกรรมการที่ปรึกษาด้านมาตรฐานและคุณภาพของอาเซียน (ACCSQ) ซึ่งอยู่ระหว่างรอการอนุมัติกรอบการเจรจา เพื่อจัดทำ ASEAN MAR on Prepared Foodstuff ต่อไป
          การปรับค่า MRLs ได้ดำเนินการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยดำเนินการแล้ว 826 ค่า pesticide 73 ค่าและมีแผนการร่วมกันกำหนดค่า MRLs อาเซียน เพิ่มอีก 7 ตัวได้แก่ มะเขือยาว ถั่วฝักยาว ถั่วเหลือง ส้ม โหระพา กะเพา และมะม่วง
          เรื่องระบบการรับรอง มกอช. เข้าร่วมคณะทำงาน Accreditation and Conformity Assessment ซึ่ง สมอ. เป็นเจ้าภาพหลัก
          การจัดทำ ASEAN Single Window เชื่อมระบบกฎระเบียบเพื่อการตรวจสอบกักกันสินค้าร่วมกับกรมศุลกากร
          นอกจากนี้ มกอช. มีแผนที่จะแต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน (ระดับกรม) เพื่อติดตาม เร่งรัด การดำเนินงานให้เป็นไปตาม Blueprint ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และการเสริมสร้างศักยภาพบุคคลากรโดยการฝึกอบรมต่าง ๆ

กรมปศุสัตว์
          กรมปศุสัตว์ได้ดำเนินการภายใต้กรอบ ASEAN Sectoral Working Group on Livestock (ASWGL) และการดำเนินการ่วมกับสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ ได้แก่ การจัดทำวัคซียนโรคสัตว์ การตรวจรับรองสถานที่ผลิตวัคซีนสำหรับปศุสัตว์ในอาเซียน ซึ่งขณะนี้มีประเทศไทยและประเทศอินโดนีเซียที่ได้รับการรับรอง การจัดทำมาตรฐาน กฏระเบียบต่าง ๆ เกี่ยวกับสินค้าปศุสัตว์ อาทิ มาตรฐานฟาร์มเลี้ยง มาตรฐานโรงฆ่า มาตรฐานโรงงานแปรรูป ความร่วมมือในการควบคุมโรคระบาดสัตว์และโรคติดต่อระหว่างสัตว์และคนในอาเซียน โดยการจัดตั้งกองทุนสุขภาพสัตว์อาเซียน ซึ่งมีงบประมาณประมาณ 1 ล้านเหรียญสหรัฐ ระบบข้อมูลโรคระบาดสัตว์ในอาเซียน การจัดตั้งห้องปฏิบัติการอ้างอิงของอาเซียนสำหรับโรคระบาดท่ำคัญ เช่น โรค FMD โรคไข้หวัดนก เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีความร่วมมือในภูมิภาคที่จะกำจัดโรคพิษสุนัขบ้า ซึ่งเป็นโรคระบาดสัตว์สู่คนที่สำคัญ ให้หมดไปในปี 2020 ร่วมมือกับกรมควบคุมโรค (กระทรวงสาธารณสุข) กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช (กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม) ในการกำจัดควบคุมโรคติดต่อจากสัตว์สู่คน และการฝึกอบรมภาษาอังกฤษให้แก่บุคลากรกรมปศุสัตว์เพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ฯลฯ

ความปลอดภัยด้านอาหาร
          สำนักงานมาตราฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ

แหล่งที่มา http://moac2aec.moac.go.th/ewt_news.php?nid=63


























บทที่ 7 การพัฒนาองค์การไปสู่องค์การแห่งการเรียนรู้และการพัฒนาอย่างยั่งยืน
          Peter Senge เชื่อว่าหัวใจของการสร้าง Learning Organization อยู่ที่การสร้างวินัย 5 ประการในรูปของการนำไปปฏิบัติของบุคคล ทีม และองค์การอย่างต่อเนื่อง วินัย 5 ประการที่เป็นแนวทางสนการปฏิบัติเพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้ทั้งองค์การมีดังนี้
          1. Personnal Mastery : มุ่งสู่ความเป็นเลิศ และรอบรู้ โดยมุ่งมั่นที่จะพัฒนาตนเองให้ไปถึงเป้าหมายด้วย การสร้างวิสัยทัศน์ส่วนตน (Personal Vission) เมื่อลงมือกรทำและต้องมุ่งมั่นสร้างสรรค์จึงจำเป็นต้องมี แรงมุ่งมั่นใฝ่ดี (Creative Tention) มีการใช้ข้อมูลข้อเท็จจริงเพื่อคิดวิเคราะห์และตัดสินใจ (Commitment to the Truth) ที่ทำให้มีระบบการคิดตัดสินใจที่ดี รวมทั้งใช้การฝึกจิตใต้สำนึกในการทำงาน (Using Subconciousness) ทำงานด้วยการดำเนินไปอย่างอัตโนมัติ
          2. MentalModel มีรูปแบบวิธีการคิดและมุมมองที่เปิดกว้าง ผลลัพธ์ที่จะเกิดจากรูปแบบแนวคิดนี้จะออกมาในรูปของผลลัพธ์ 3 ลักษณะคือ เจตคติ หมายถึง ท่าที หรือความรู้สึกของบุคคลต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เหตุการณ์ หรือเรื่องราวใด ๆ ทัศนคติแนวความคิดเห็นและกระบวนทัศน์ กรอบความคิด แนวปฏิบัติที่เราปฏิบัติตาม ๆ กันไป จนกระทั่งกลายเป็นวัฒนธรรมขององค์การ
          3. Shared Vission การสร้างและสานวิสัยทัศน์ วิสัยทัศน์องค์การ เป็นความมุ่งหวังขององค์การที่ทุกคนต้องร่วมกันบูรณาการให้เกิดเป็นรูปธรรมในอนาคต ลักษณะวิสัยทัศน์องค์การที่ดี คือ กลุ่มผู้นำต้องเป็นฝ่ายเริ่มต้นเข้าสู่กระบวนการพัฒนาวิสัยทัศน์อย่างจริงจัง วิสัยทัศน์นั้นจะต้องมีรายละเอียดชัดเจน เพียงพอที่จะนำไปเป็นแนวทางปฏิบัติได้ วิสัยทัศน์องค์การต้องเป็นภพบวกต่อองค์การ
          4. Team Learn การเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม องค์การความมุ่งเน้นให้ทุกคนในทีมมีสำนึกร่วมกันว่า เรากำลังทำอะไรและจะทำอะไรต่อไป ทำอย่างไร จะช่วยเพิ่มคุณค่าแก่ลูกค้า การเรียนรู้ร่วมกันเป็นทึมขึ้นกับ 2 ปัจจัย คือ IQ และ EQ ประสานกับการเรียนรู้ร่วมกันเป็นทึม และการสร้างภาวะผู้นำแก่ผู้นำองค์การทุกระดับ
          5. System thinking มีความคิดความเข้าใจเชิงระบบ ทุกคนควรมีความสามารถในการเข้าใจถึงความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งต่าง ๆ ที่เป็นองค์ประกอบสำคัญของระบบนอกจากมองภาพรวมแล้ว ต้องมองรายละเอียดของส่วนประกอบย่อยในภาพนั้นให้ออกด้วย วินัยข้อนี้สามารถแก้ไขปัญหาที่สลับซับซ้อนต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี
ที่มา http://km.ru.ac.th/oasc/index.php?option=com_content&view=article&id=4&Itemid=5



บทที่ 8 เทคนิคการบริหารทรัพยากรมนุษย์และการจัดการที่เหมาะสมกับวัฒนธรรมไทย
ความสำคัญของการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในองค์กรสามารถจำแนกได้ดังนี้
1. ช่วยให้กระบวนการกำหนดภารกิจหน้าที่ภายในองค์กรมีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์หลักขององค์การ หน้าที่สำคัญของนักบริหารทรัพยากรมนุษย์ คือ การวิเคราะห์งาน เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะการปฏิบัติงาน กระบวนการและขั้นตอนในการปฏิบัติงาน รวมถึงอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้และสภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงาน เมื่อกำหนดภาระงานของแต่ละฝ่ายได้ก็จะสามารถกำหนดคำบรรยายลักษณะงาน(job description) แต่ละตำแหน่ง เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานในตำแหน่งนั้นๆทราบหน้าที่ความรับผิดชอบของตนเอง นอกจากนั้นยังเป็นการเก็บข้อมูลเพื่อนำมากำหนดคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง(job specification) เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการกำหนดคุณสมบัติของบุคคลที่จะรับเข้ามาทำงานได้ตรงตามคุณสมบัติที่องค์กรต้องการ
2. ช่วยให้องค์การสามารถดำเนินกิจการต่างทางด้านทรัพยากรมนุษย์ได้อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ  การบริหารทรัพยากรมนุษย์นั้นเกี่ยวข้องกับบุคลากรตั้งแต่เริ่มเข้ามาทำงานกับองค์การ  จนกระทั่งออกจากองค์กรไป ดังนั้นงานการบริหารทรัพยากรมนุษย์จึงมีความสัมพันธ์กับชีวิตการทำงานของบุคลากรตั้งแต่การเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบการรับสมัครงงงาน เมื่อบุคคลผ่านกระบวนการคัดเลือก ฝ่ายทรัพยากรมนุษย์จะทำการบรรจุแต่งตั้งลงในตำแหน่งที่เหมาะสมกับความรู้ความสามารถของบุคคลนั้น  เมื่อทำงานไปได้สักระยะหนึ่งบุคคลจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาทักษะในการทำงานเพิ่มเติม  ซึ่งฝ่ายทรัพยากรมนุษย์จะเป็นหน่วยงานรับผิดชอบโดยตรงในการจัดทำหลักสูตรการฝึกอบรมหรือจัดรูปแบบการพัฒนาอื่นๆให้กับบุคลากร อีกทั้งจะต้องจัดทำมาตรฐานในการทำงานเพื่อใช้ในการประเมินผลการปฏิบัติงานกับบุคลากรทุกคน  ประโยชน์จากการประเมินผลประจำปีนี้นำไปใช้ในการพิจารณาความดีความชอบและมีการเลื่อนขั้น เลื่อนตำแหน่งของบุคคล  ซึ่งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวมีผลต่อการกำหนดค่าตอบแทนของบุคคลอีกด้วย

แหล่งที่มา การบริหารทรัพยากรมนุษย์  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ชลลดา พึงรำพรรณ  หน้า 4-5








บทที่ 9 การบริหารการเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาอย่างยั่งยืน
แนวคิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนรุดหน้า ไปอย่างรวดเร็วตั้งแต่ทศวรรษ 1980 ในปี 1992 ผู้นำนานาชาติที่มาพบกันในการประชุมสุดยอดแห่งโลก (Earth Summit) ในกรุงริโอ เดอ จาเนโรในบราซิล นำเค้าโครงของรายงานบรุนด์ท์แลนด์ไปสร้างสนธิสัญญาและแถลงการณ์เกี่ยวกับประเด็นหลักๆ ด้านสิ่งแวดล้อม เช่น การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ การตัดไม้ทำลายป่า และความหลากหลายทางชีวภาพ นอกจากนี้ผู้เข้าประชุมยังได้ร่วมกันร่างแผนกลยุทธ์กว้างๆ เรียกว่า "Agenda 21" เพื่อใช้เป็นแผนที่สำหรับงานด้าน สิ่งแวดล้อมและการพัฒนาในอนาคต หลังจากการประชุมสุดยอดครั้งประวัติศาสตร์ดังกล่าว ก็มีกลุ่มต่างๆ ตั้งแต่ธุรกิจ รัฐบาลท้องถิ่น ไปจนถึงองค์กรโลกบาลอย่างธนาคารโลก ที่นำแนวคิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนไปตีความ ต่อยอด และปรับใช้ในบริบทของตัวเอง จวบจนปัจจุบัน และยังดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง
ถึงแม้ว่าการพัฒนาอย่างยั่งยืนจะเป็นแนวคิดลื่นไหลที่วิวัฒนาการไปเรื่อยๆ ก็มีลักษณะสำคัญบางประการที่อยู่ภายใต้ เส้นความคิดหลายกระแส ได้แก่
1) ความเท่าเทียมกัน (equity) และความยุติธรรม (fairness) เป็นประเด็นสำคัญ การพัฒนาอย่างยั่งยืน อยากตอบสนองความต้องการของคนจนและประชากรผู้ด้อยโอกาส ไอเดียเรื่องความเท่าเทียมกัน และความยุติธรรมเป็นส่วนประกอบสำคัญในนิยามของ "การพัฒนาอย่างยั่งยืน" เพราะตั้งอยู่บนข้อเท็จจริงที่ว่า ถ้าเราละเลยผลกระทบจากการกระทำ ของเราต่อคนอื่นในโลกที่เกี่ยวโยงซึ่งกันและกัน เราก็ต้องยอมรับความเสี่ยงที่จะเกิดอันตรายขึ้นกับตัวเองในอนาคตด้วย
เนื่องจากระบบเศรษฐกิจและนโยบายสาธารณะของเราส่งผลให้เกิดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงทรัพยากร เราจึงต้องเปลี่ยนแปลงระบบเหล่านี้ ความยุติธรรมหมายความว่า ประเทศแต่ละประเทศ ควรมีโอกาสในการพัฒนาตัวเองบนพื้นฐานของคุณค่าทางวัฒนธรรมและสังคมของตัวเอง โดยไม่ปฏิเสธว่าประเทศอื่นๆ ก็ล้วนมีสิทธิดังกล่าวเช่นเดียวกัน หนึ่งในความท้าทาย ที่ใหญ่ที่สุดในปัจจุบันคือ เราจะปกป้องสิทธิของคนที่ไม่มีสิทธิออกเสียงได้อย่างไร คนรุ่นหลังที่ยังไม่เกิดไม่สามารถออกความเห็น หรือปกป้องผลประโยชน์ของพวกเขา ในกระบวนการตัดสินใจต่างๆ ของคนรุ่นปัจจุบัน ถ้าการพัฒนาจะยั่งยืนได้จริง เราจะต้องคำนึงถึงผลประโยชน์ของพวกเขาด้วย
2) มีมุมมองระยะยาว (long-term view) ภายใต้หลักความรอบคอบ (precautionary principle) "ระยะยาว" ยาวแค่ไหน ? ในสังคมตะวันตกยุคหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 การวางแผนของภาครัฐมองระยะเวลาเพียง 3-5 ปีเท่านั้น ปัจจุบัน "ระยะยาว" ในความหมายของ นักค้าหุ้นและนักค้าเงินคือระยะเวลาเพียงไม่กี่สัปดาห์ ในขณะที่ชาวอินเดียนแดงในอเมริกาวางแผนสำหรับ "คนรุ่นที่ 7 นับจากนี้" พวกเขาวางแผนเป้าหมายและกิจกรรมต่างๆ โดยคำนึงถึงผลกระทบต่อคนรุ่นหลังอีกเจ็ดชั่วคน เท่ากับว่าวางแผนล่วงหน้าถึง 150 ปีทีเดียว สำหรับแนวคิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน ผู้เชี่ยวชาญบางคนเสนอว่า ตราบใดที่คนรุ่นหนึ่งคิดถึงคนรุ่นต่อไป (ประมาณ 50 ปี) ก็แปลว่าคนทุกรุ่นจะได้รับการดูแล แน่นอนถ้าเรามองเห็นว่าเรื่องใดก็ตาม จะส่งผลกระทบที่เกิดขึ้นในอนาคตที่ไกลกว่านั้น เราก็ควรจะวางแผนให้ยาวขึ้น ไม่มีคนรุ่นไหนสามารถการันตีผลลัพธ์ในอนาคตที่พยากรณ์ไม่ได้ แต่ในขณะเดียวกันก็ไม่มีคนรุ่นไหน ที่ควรทำเป็นมองไม่เห็นผลลัพธ์ที่พยากรณ์ได้
ในโลกที่เรารู้แล้วว่าทุกมิติมีความเกี่ยวโยงและส่งผลกระทบซึ่งกันและกันเพียงใด ปฏิสัมพันธ์ที่สลับซับซ้อนกำลังเร่งอัตราการเปลี่ยนแปลงและการก่อเกิดนวัตกรรมใหม่ๆ ในสถานการณ์เช่นนี้ หลักความรอบคอบช่วยแนะแนวให้เราได้ หลักการ ชุดนี้บอกว่า เมื่อกิจกรรมใดๆ ก็ตามเพิ่มขีดอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม หรือสุขภาพมนุษย์ เราควรต้องใช้มาตรการป้องกันและบรรเทาผลกระทบ ถึงแม้ว่านักวิทยาศาสตร์อาจจะยังไม่สามารถพิสูจน์ความสัมพันธ์ที่เป็นเหตุและผลได้ทั้งหมด
3) การคิดแบบเป็นระบบ (systems thinking) ซึ่งต้องอาศัยความเข้าใจในความเชื่อมโยงระหว่างสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคม เป็นเวลานานกว่า 2 ศตวรรษแล้วที่เรารู้ว่า โลกนี้เป็นระบบปิดที่มีทรัพยากรจำกัด เมื่อนักสำรวจทำงานสำรวจผิวดิน และพื้นน้ำสำเร็จลง คนก็ค่อยๆ เข้าใจว่าโลกนี้ไม่มีทรัพยากร "ใหม่" เรามีโลกเพียงใบเดียว กิจกรรมทั้งหมดของเราเป็นเพียงส่วนเสี้ยวเดียวของระบบธรรมชาติที่ใหญ่ยิ่งกว่า เราต้องมองเห็นว่าระบบที่เดินด้วยน้ำมือมนุษย์ทั้งหมดนั้นอยู่ภายในระบบนิเวศที่ใหญ่กว่า ก่อนที่จะสามารถสร้างความสัมพันธ์ที่ยั่งยืน กับสิ่งแวดล้อม และทำให้เรามั่นใจได้ว่าเผ่าพันธุ์มนุษย์ จะอยู่รอดต่อไปในอนาคต
ทรัพยากรธรรมชาติทั้งหมดที่มนุษย์ใช้ ไม่ว่าจะเป็นอาหาร น้ำ ไม้ เหล็ก ฟอสฟอรัส น้ำมัน และทรัพยากรอื่นๆ อีกหลายร้อยชนิด ล้วนมีขีดจำกัดทั้งในแง่ของแหล่งที่มาและแหล่งที่ไป (sink) แนวคิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนบอกเราว่า เราไม่ควรนำทรัพยากรธรรมชาติออกมาใช้ในอัตราที่เร็วกว่าความสามารถของเราในการผลิตทรัพยากรทดแทน และเราก็ไม่ควรทิ้งทรัพยากรธรรมชาติในอัตราที่เร็วกว่าอัตราที่ธรรมชาติจะสามารถดูดซับมันกลับเข้าไปในระบบ ถึงแม้ว่าปัญหาทรัพยากรร่อยหรอจะเป็นประเด็นกังวลหลักของนักสิ่งแวด ล้อมในอดีต วันนี้นักสิ่งแวดล้อมส่วนใหญ่ เป็นกังวลเรื่องที่เราจะไม่เหลือแหล่งทิ้งทรัพยากรแล้วมากกว่า ปัญหาโลกร้อน รูในชั้นโอโซน และความขัดแย้งเรื่องการ ส่งออกขยะอันตราย ล้วนเป็นปัญหาที่เกิดจากการที่เราพยายามทิ้งทรัพยากร เร็วกว่าอัตราที่ธรรมชาติจะสามารถรองรับได้
การคิดแบบเป็นระบบผลักดันให้เราเข้าใจว่า ถึงแม้โลกจะมีเพียงใบเดียว มันก็เป็นโลกที่ประกอบด้วยระบบย่อย (sub systems) มากมายที่มีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกัน และกัน ปัจจุบันการพัฒนาโมเดลต่างๆ เพื่ออธิบายระบบย่อยเหล่านี้ได้รุดหน้าไปอย่างไม่หยุดยั้ง โมเดลเหล่านี้เป็นกรอบคิดที่เป็นประโยชน์สำหรับการเลือกดัชนีชี้วัดความคืบหน้าของการพัฒนาอย่างยั่งยืน
ระบบย่อยต่างๆ ในโลกล้วนเชื่อมโยงกันผ่านกระบวนการที่ภาษาวิทยาศาสตร์เรียกว่า "ห่วงโซ่ตอบกลับ" (feedback loop) อันสลับซับซ้อน วิทยาศาสตร์แขนงใหม่ที่ศึกษาความซับซ้อนของระบบต่างๆ บอกเราว่า ในระบบบางระบบ เหตุการณ์เล็กมากๆ อาจก่อให้เกิดผลลัพธ์ขนาดใหญ่ที่รุนแรงและพยากรณ์ไม่ได้ล่วงหน้า ด้วยการ จุดชนวนซีรีส์เหตุการณ์ที่ใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ ยกตัวอย่างเช่น ตอนนี้เรารู้แล้วว่าการปล่อยมลพิษในซีกโลกเหนือส่งผลให้ชั้นโอโซนเหนือทวีปแอนตาร์กติกาบางลง และเร่งอัตราการเกิดมะเร็งผิวหนังในซีกโลกใต้ วิกฤตการเงินในเอเชียส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจทั่วโลก และสงครามระหว่างชาติพันธุ์ในทวีปแอฟริกากลางก่อให้เกิดการอพยพขนานใหญ่ของประชากรไปยังบริเวณใกล้เคียง สร้างแรงตึงเครียดต่อระบบในประเทศเหล่านั้นจนถึงจุดแตกหัก เป็นชนวนให้เกิดวิกฤตและการอพยพต่อไปเป็นทอดๆ
ตั้งแต่ผู้นำโลกที่ร่วมประชุม Earth Summit ประจำปี 1992 ตกลงกันว่าจะร่วมมือกันผลักดันการพัฒนาอย่างยั่งยืน ให้เกิดเป็นรูปธรรม ท่านผู้อ่านอาจสงสัยว่าในระยะเวลา 15 ปีที่ผ่านมา แนวคิดนี้คืบหน้าไปมากน้อยเพียงใด มีกรณีใดบ้างเป็นความสำเร็จที่เป็นรูปธรรมชัดเจน และมีกรณีใดบ้างที่ต้องนับว่าเป็นความล้มเหลว

แหล่งที่มา  http://www.nidambe11.net/ekonomiz/2008q1/2008march27p4.htm















นายนรินทร์ สรณานุภาพ รหัส 5130125401240 การจัดการทั่วไป รุ่น 19


การบริหารการเปลี่ยนแปลง (Change Management)
ภายใต้บริบทของการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของกระแสโลกาภิวัตน์ การปรับตัวให้องค์การ  และบุคลากรมีความพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งสำคัญ หน่วยงานทั้งภาคราชการและภาคเอกชนจึงได้พยายามปรับเปลี่ยนให้องค์การของตนเป็นองค์การสมัยใหม่ที่มุ่งเน้นให้ความสำคัญกับและถูกขับ   เคลื่อนโดยยุทธศาสตร์ (strategy-focused organization)อันจะนำมาซึ่งการเพิ่มมูลค่า (value-added) และสร้างคุณค่า (value creation) ตามเป้าประสงค์หรือวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ ถึงแม้ว่าการวางยุทธศาสตร์ที่ดีจะเป็นเรื่องไม่ง่ายนักและต้องมีการวิเคราะห์อย่างเป็น ระบบแต่การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์สู่การปฏิบัติให้บังเกิดผลนั้นเป็นเรื่องที่มีความยากลำบากมากกว่าและจำเป็นต้องอาศัย “การบริหารการเปลี่ยนแปลง” อย่างเป็นระบบ
ในการนี้ยังได้มีความพยายามในการสร้างเครือข่ายของการเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นในองค์การ เพื่อช่วยทำให้บุคคลที่ได้รับผลกระทบเข้ามามีส่วนร่วม ได้รับทราบถึงบทบาทหน้าที่ของตนและปรับตัวได้อย่างถูกต้อง เกิดความมุ่งมั่นต่อความสำเร็จของการเปลี่ยนแปลงและสนับสนุนให้การดำเนินการเป็นไปอย่างราบรื่นอนึ่ง เครือข่ายดังกล่าวประกอบขึ้นด้วยบุคคลหลายฝ่าย เช่น ผู้อุปถัมภ์/ผู้ส่งเสริมการ เปลี่ยนแปลง (Change Sponsor) ผู้ผลักดันการเปลี่ยนแปลง (Change Advocate) ผู้เป็นตัวแทนให้เกิดการเปลี่ยนแปลง (Change Agent) และผู้เป็นกลุ่มเป้าหมายของการเปลี่ยนแปลง (Change Target)
ในการบริหารการเปลี่ยนแปลงให้บรรลุผลสำเร็จนั้น แต่ละหน่วยงานจะต้องดำเนินกิจกรรมที่มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกันอย่างเป็นระบบ ทั้งในระดับองค์การและระดับตัวบุคคล ซึ่งมีองค์ประกอบสำคัญ ๆ ดังนี้
• การนำทาง (Navigation) ซึ่งเป็นเรื่องของ การวางแผนกำกับทิศทาง การบริหารจัดการ และการวัดผลแผนที่กำหนดไว้นี้จะช่วยทำให้มองเห็นภาพรวมทั้งหมดของแนวทางการเปลี่ยนแปลง ผลลัพธ์ที่สามารถวัดผลได้เป็นระยะๆ และแสดงให้เห็นว่ากำลังจะก้าวไปในทิศทางที่ถูกต้อง
• ภาวะผู้นำ (Leadership) คือ การสร้างผู้นำ ในการเปลี่ยนแปลงให้มีภาวะผู้นำที่มีประสิทธิภาพสามารถกำหนดทิศทางการเปลี่ยนแปลงได้อย่างชัดเจน
•.การปรับแต่งหรือเสริมสร้างพลัง (Enablement) คือ การสร้างความพร้อมทั้งในด้านศักยภาพและองค์ประกอบที่จำเป็นแก่บุคลากรและองค์การ เพื่อสนับสนุนให้การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นได้ ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนพฤติกรรมในการทำงาน การสร้างทักษะ/ความรู้ การสนับสนุนเครื่องมือใหม่ๆ ปรับปรุง กระบวนการต่างๆ เพื่อตอบสนองกับสภาพแวดล้อมการทำงานใหม่ๆ การใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการทำงาน การปรับเปลี่ยนขอบเขตหน้าที่ของงานต่างๆ ภายในโครงสร้างเพื่อให้เหมาะสมกับแนวทางใหม่ ๆ
• ความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนแปลง (Ownership) เป็นการสื่อสารทำความเข้าใจละสร้างความรู้สึกร่วมในการเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นในทุกระดับขององค์การ

ที่มา : http://www.opdc.go.th
Young และคณะ (1989) ได้สรุปวิธีการในการเข้าสู่ตลาดต่างประเทศไว้ ดังนี้
การส่งออก (Exporting) Oman C. (1984) อธิบายว่าเป็นวิธีการพื้นฐานที่สุดในการดำเนินงานของธุรกิจระหว่างประเทศและเป็นวิธีการที่มีความเสี่ยงน้อย เพราะเพียงแต่จัดส่งสินค้าไปจำหน่ายในต่างประเทศแบ่งได้ 2 วิธี ได้แก่ การส่งออกทางอ้อม (Indirect Exporting) คือการที่กิจการจะมอบหมายให้ผู้อื่นทำ หน้าที่ในส่วนที่เป็นการส่งสินค้าออกแทนตนเอง และการส่งออกทางตรง (Direct Exporting) หมายถึงการที่กิจการทeหน้าที่ในการส่งสินค้าของตนไปสู่ลูกค้าในต่างประเทศโดยตรงไม่ผ่านคนกลางใดๆ
การทำสัญญาการผลิต (Contract Manufacturing) หมายถึง การที่กิจการหนึ่งว่าจ้างผู้ผลิตในต่างประเทศให้ทำการผลิตสินค้าให้ตนตามคุณภาพและมาตรฐานที่กำหนด และบริษัทจะเป็นผู้ทำการจำหน่ายสินค้าดังกล่าวเอง รวมทั้งเป็นผู้รับผิดชอบกระบวนการทางการตลาดไม่ว่าจะเป็นการโฆษณา และการส่งเสริมการจัดจำหน่ายด้วย
การให้ลิขสิทธิ์ (Licensing) หมายถึงการที่บริษัทเจ้าของเครื่องหมายการค้า (Licensor) ได้รับอนุญาตให้บริษัทอื่นในต่างประเทศทำการผลิตสินค้าหรือบริการ (Licensee) ภายใต้ เครื่องหมายการค้าและการควบคุมคุณภาพจากเจ้าของ โดยบริษัทในต่างประเทศผู้ได้รับอนุญาตให้ทำการผลิตจะต้องเสียค่าธรรมเนียมในการได้รับอนุญาต (Royalty) ให้บริษัทเจ้าของเครื่องหมายการค้า โดยทั่วไปแล้วมักคิดเป็นร้อยละจากยอดขาย
การให้สัมปทาน (Franchising) จัดเป็นวิธีการหนึ่งของการได้รับอนุมัติ (License) จากเจ้าของเครื่องหมายการค้า (Franchiser)โดยผู้ได้รับ (Franchisee) อาจเป็นธุรกิจหรือบุคคลที่จะใช้ระบบการทำงาน เครื่องหมายการค้าและสิทธิพิเศษอย่างอื่นเพื่อดำเนินธุรกิจตามข้อกำหนดที่ได้ตกลงกันไว้ และเจ้าของสัมปทานก็จะได้รับค่าธรรมเนียมเป็นการแลกเปลี่ยน (Franchise Fee)
การลงทุนโดยตรงในต่างประเทศ (Foreign Direct Investment) Hill (1999) ได้อธิบายการลงทุนโดยตรงในต่างประเทศมีหลายรูปแบบดังนี้
- การลงทุนโดยบริษัทแม่ทั้งหมด (Wholly Own) หมายถึงการที่กิจการลงทุนโดยตรงในต่างประเทศด้วยเงินทุนของตนเอง
- การร่วมลงทุนระหว่างประเทศ (International Joint Venture) หมายถึง การร่วมลงทุนกับกิจการจากประเทศอื่นๆ ในการทำธุรกิจในประเทศใดประเทศหนึ่ง
อินเทอร์เน็ต (Internet) หมายถึงการขายสินค้าบนเว็บไซต์(Website) เริ่มแรกตลาดอินเทอร์เน็ต (Internet) จะเน้นการขายในประเทศอย่างไรก็ตามบริษัทจำนวนมากเริ่มรับการสั่งซื้อจากต่างประเทศ ทำให้เกิด Concept การตลาดอินเทอร์เน็ตนานาชาติInternational Internet Marketing (IIM) อิทธิพลของอินเทอร์เน็ตต่อการตลาดนานาชาติได้ขยายตัวไปอย่างรวดเร็ว
การควบรวมกิจการ (Merger and Acquisition) การควบรวมกิจการ (Merger) สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งในลักษณะที่หน่วยธุรกิจหนึ่งผนวกกิจการเข้ากับธุรกิจที่อยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกันหรือเกี่ยวพันกัน โดยคาดหวังว่าหลังจากมีการควบรวมกิจการจะทำให้สามารถเพิ่มส่วนแบ่งตลาด ผนวกทักษะเทคโนโลยี และความสามารถในการดำเนินงานเข้าด้วยกันจะทำให้ต้นทุนในการดำเนินงานลดลง ลดแรงกดดันทางการแข่งขัน รวมถึงได้ผลผลิตจากความสามารถของทั้งสองกิจการ ช่วยเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กิจการและเพิ่มอำนาจการต่อรองของกิจการได้เป็นอย่างดี
การเข้าซื้อกิจการ (Acquisition) นั้นเกิดขึ้นเพื่อให้ได้เป็นเจ้าของเหนือกิจการเดิมและนำกิจการนั้นเข้าเป็นกิจการในเครือของผู้ซื้อ ควบคุมการบริหารและกลยุทธ์การแข่งขันต่างๆ รวมถึงจะสามารถใช้ประโยชน์จากความสามารถหลักของกิจการทั้งในด้านทรัพย์สิน ทักษะ เทคโนโลยี การตลาด ความสัมพันธ์ทางธุรกิจสินค้าและบริการที่กิจการดังกล่าวครอบครองอยู่ ซึ่งผู้ที่เข้าซื้อกิจการยังสามารถนำความรู้และความสามารถของบริษัทตนเองมาใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานของบริษัทใหม่ได้ด้วย
กลยุทธ์พันธมิตรนานาชาติ (Strategic International Alliance) เป็นความสัมพันธ์ทางธุรกิจที่เกิดขึ้นโดย 2 บริษัทหรือมากกว่ามาร่วมกันในการตอบสนองความต้องการเดียวกัน และร่วมรับความเสี่ยงในการไปถึงเป้าหมายเดียวกัน กลยุทธ์พันธมิตรนานาชาติ (Strategic International Alliance) เป็นกลยุทธ์การแข่งขันในการบริหารการตลาดระดับโลกเป็นวิธีการที่จะลบจุดอ่อนและเพิ่มจุดแข็งทางการแข่งขันโอกาสในการเจริญเติบโตรวดเร็วในตลาดใหม่ๆ เข้าถึงเทคโนโลยีใหม่ๆ เพิ่มประสิทธิผลต้นทุนทางการผลิต และเป็นแหล่งทุนในการขับเคลื่อนการแข่งขันในกลยุทธ์พันธมิตรนานาชาติ
การพัฒนาโปรแกรมการตลาด (Marketing Program Development) ซึ่งประกอบด้วยการออกแบบกลยุทธ์ผลิตภัณฑ์หรือบริการ (Product / Service) การจัดจำหน่าย (Distribution)การกำหนดราคา (Price) และการส่งเสริมการตลาด (Promotion)และการนำไปปฏิบัติเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้ซื้อที่เป็นเป้าหมาย

นายนรินทร์ สรณานุภาพ
รหัส 5130125401240
การตัดการทั่วไป รุ่น 19
หลักการของการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม
การวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมหรือที่มักเรียกกันว่า EIA ย่อมาจากคาว่า Environmental Impact Assessment ซึ่งหมายถึง การใช้หลักวิชาการในการทำนายหรือคาดการณ์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมทั้งทางบวกและทางลบของการดาเนินโครงการพัฒนาที่จะมีต่อสิ่งแวดล้อมในทุกๆ ด้านทั้งทางทรัพยากรธรรมชาติ และทางเศรษฐกิจและสังคมเพื่อจะได้หาทางป้องกันผลกระทบในทางลบที่อาจเกิดขึ้นให้เกิดน้อยที่สุด ในขณะเดียวกันก็มีการใช้ทรัพยากรธรรมชาติซึ่งส่วนใหญ่ไม่สามารถฟื้นคืนกลับมาได้อย่างมีประโยชน์ มีประสิทธิภาพสูงสุด และคุ้มค่าที่สุด นอกจากนี้ รายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมยังใช้เป็นแนวทางในการตัดสินใจของนักบริหารว่าสมควรดาเนินการหรือไม่ การวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมจะเป็นประโยชน์อย่างมากหากได้รับการนามาในการวางแผนป้องกันปัญหาสิ่งแวดล้อม ตั้งแต่ขั้นตอนการศึกษาความเหมาะสมของโครงการจะช่วยลดค่าใช้จ่ายในการแก้ไขปัญหาที่อาจเกิดขึ้นภายหลังดาเนินโครงการไปแล้วได้มากและเป็นวิสัยทัศน์ของนักบริหารโครงการในยุคโลกาภิวัตน์ที่มุ่งเน้นการป้องกันมากกว่าการแก้ไข (สนธิ วรรณแสง และคณะ, 2541)

ขั้นตอนการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม
ขั้นตอนของการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ประกอบด้วย
1) การกลั่นกรองโครงการที่ต้องจัดทารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม
2) การจัดทารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม
3) การพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม
4) การติดตามตรวจสอบ





นางสาวสอาด ไหวพริบ / รหัส 5130125401218 / การจัดการทั่วไป


บทที่ 10 การแข่งขันในตลาดโลกและการปรับตัวเพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน
ความได้เปรียบทางการแข่งขัน เป็นสุดยอดปรารถนาของทุกกิจการที่ต้องดำเนินงานท่ามกลางความผันแปรที่เปลี่ยนแปลง ซึ่งทุกธุรกิจย่อมจะทำทุกวิถีทางที่จะเฟ้นหากลยุทธ์ที่เฉียบคมที่สุด เพื่อนำมาสู่การสร้างความได้เปรียบดังกล่าวเหนือคู่แข่ง แต่อย่างไรก็ตาม การได้มาซึ่งความได้เปรียบที่เหนือชั้นนั้น ยังไม่ยากลำบากเท่ากับรักษามันเอาไว้ บ่อยครั้งที่หลายท่านคงเห็นบริษัทที่ครั้งหนึ่งเคยเกรียงไกรอย่างมาก แต่ก็ต้องประสบกับปัญหาและสภาวะถดถอยลงไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งบางแห่งถึงกับล้ม ไปโดยที่ไม่สามารถฟื้นตัวกลับมายืนอยู่จุดเดิมได้อีกเลย
จึงเริ่มมีการพยายามวิเคราะห์หาแนวคิดกลยุทธ์ต่าง ๆ ที่นอกจากจะนำไปสู่ความได้เปรียบแล้ว ยังต้องสามารถทำนุบำรุงให้คงอยู่ในระยะยาว อย่างต่อเนื่องได้อีกด้วย เนื่องจากไม่มีคู่แข่งรายใดที่จะยอมอยู่เฉย มองดูธุรกิจของเราเติบโตต่อไปได้อย่างราบรื่น หากกิจการของเราประสบความสำเร็จในระดับหนึ่ง ก็ต้องมีผู้ที่พยายามจะเข้ามาร่วม ต่อสู้แย่งชิงผลประโยชน์จากความสำเร็จนั้นด้วย ไม่ช้าก็เร็ว
ดังนั้น จึงมีเทคนิคบางประการมานำเสนอ เพื่อนำสู่ความได้เปรียบในการดำเนินงานที่คงทนถาวรมากขึ้น
เทคนิคประการแรก คือ กล้าเสี่ยงกับการสร้างสรรค์ โดยกิจการควรสนับสนุนการสร้างแนวคิดใหม่ ๆ และทดลองที่จะนำแนวคิดที่แตกต่างลงสู่การปฏิบัติ แม้ว่าบ่อยครั้งความคิดนั้น ๆ จะดูแปลกแหวกแนว จนอาจจะถูกคนอื่นๆหัวเราะเยาะและเย้ยหยันว่าเป็นไปไม่ได้ก็ตามเจฟ เบซอส ผู้ก่อตั้ง อเมซอนดอทคอม อันลือลั่น ก็กล่าวยืนยันว่า "การที่จะคิดค้นสิ่งใหม่ ๆ นั้น มักจะทำให้เราถูกมองว่าเป็นตัวประหลาดในสายตาของคนรอบข้างเสมอ" แต่หากกิจการไม่เสี่ยงที่จะทดลองเลยนั้น ก็ไม่สามารถจะลิ้มรสของความเป็นผู้นำที่แตกต่างได้เลย โดยเครื่องไม้เครื่องมือหลายอย่าง ที่อเมซอนคิดค้นขึ้น เพื่อนำมาสู่การให้บริการค้าปลีกออนไลน์ต่อลูกค้าอย่างล้ำสมัย ไม่ว่าจะเป็นระบบแนะนำสินค้าแบบตัวต่อตัว ระบบเว็ปเพจส่วนบุคคล ฯลฯ ล้วนแล้วแต่เคยถูกมองว่าเป็นไปไม่ได้ทั้งสิ้น หรือแม้แต่ คีออสเพลงดิจิตอลของสตาร์บัค หรือ ระบบค้นหาข้อมูลระดับโลกของกูเกิล ก็ผ่านการวิพากษ์วิจารณ์กันมาอย่างหนาหูทั้งสิ้น แต่สิ่งต่าง ๆ ก็ได้นำมาความสำเร็จที่แตกต่างมาสู่กิจการอย่างต่อเนื่องเช่นกัน
เทคนิคประการที่สอง คือ อย่าลุ่มหลงกับการเพิ่มขนาดเท่านั้น ควรเน้นที่การสร้างความเป็นเอกลักษณ์มากกว่า หลายธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ มักจะคิดว่าการเติบโตหรือขนาดที่ใหญ่ขึ้นอย่างต่อเนื่องนั้น ถือเป็นปัจจัยแห่งความสำเร็จ จึงมีความพยายามที่จะเพิ่มขนาดอย่างต่อเนื่อง แต่ในความเป็นจริงแล้ว ความได้เปรียบทางการแข่งขัน มิได้ขึ้นอยู่กับขนาดแต่เพียงอย่างเดียว ยิ่งขนาดใหญ่ขึ้น แต่หากทุกอย่างกลับขาดความโดดเด่น จะยิ่งทำให้เป็นภาระทางการดำเนินงานเสียเปล่า ดังนั้น การมุ่งเน้นที่เอกลักษณ์เพื่อตอบสนองความต้องการ เฉพาะด้านที่พิเศษแตกต่างจริง ๆ จึงเป็นสิ่งที่จะทำให้เกิดความมั่นคงในการแข่งขันมากกว่า
เทคนิคประการที่สาม คือ อย่าดึงดันกับการแข่งขันแต่เพียงอย่างเดียว ควรหาตลาดใหม่เพื่อฉกฉวยโอกาสในการเติบโตด้วย โดยแนวคิดนี้เน้นว่าควรใส่ใจในการสร้างสรรค์โอกาสทางการตลาดใหม่ๆอยู่ตลอดเวลา แทนที่จะดำเนินงานอยู่ในตลาดที่มีการแข่งขันรุนแรงแต่เพียงอย่างเดียว เพราะอาจจะเพลี่ยงพล้ำได้ง่าย และผลตอบแทนก็ไม่คุ้มค่า
เทคนิคประการที่สี่ คือ โฟกัสที่ลูกค้า มิใช่คู่แข่งขัน ซึ่งอาจจะทำให้เห็นการพัฒนาโอกาสทางธุรกิจที่อยู่ในความต้องการของตลาดได้อย่างมาก เช่น บริษัท Caterpillar ที่มีผลิตภัณฑ์ด้านเครื่องจักรหนักอันลือชื่อ โดยเน้นการตอบสนองความต้องการของลูกค้าอย่างถึงที่สุด จนเกิดความเป็นเลิศด้านบริการ ซึ่งบริษัทสัญญาว่า ไม่ว่าลูกค้าจะอยู่ที่ใดในโลกนี้ ก็สามารถที่จะส่งชิ้นส่วนไปให้บริการได้ภายใน 24 ชั่วโมง ซึ่งถือเป็นจุดขายที่เป็นเอกลักษณ์ จนกระทั่งหลายคนมองว่า Caterpillar ขายบริการด้วยซ้ำ และท้ายที่สุด จากการที่กิจการมีการพัฒนาเครือข่าย การขนส่งทั่วโลก ทำให้มีทักษะและเทคโนโลยีสูงมากพอที่จะเข้าแข่งขันในธุรกิจให้บริการทางด้านลอจิสติกส์เพิ่มเติม ซึ่งปัจจุบันกลายเป็นธุรกิจหลักที่เติบโตสูงสุดของบริษัท และทำรายได้มหาศาลกลับคืน มาทีเดียว
นอกจากนี้ กิจการยังควรมีการสร้างเครือข่ายสนับสนุนการแลกเปลี่ยนไอเดียและข้อมูลระหว่างบริษัท เพื่อเป็นการจุดประกายการสร้างสรรค์ รวมถึงควรต้องกระตุ้นให้บุคลากรของเรากระหายในความสำเร็จและพัฒนาอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา จึงจะสามารถวิ่งหนีและกระโดดข้ามคู่แข่งได้ต่อไปในอนาคต

แหล่งที่มา : http://th.jobsdb.com/th/EN/Resources/JobSeekerArticle/marketing_editor13.htm?ID=187



บทที่ 11 การบริหารจัดการธุรกิจสีเขียวและการวิเคราะห์ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
คำว่า "ธุรกิจสีเขียว" หมายถึงบริษัทหรือองค์กรภาคธุรกิจ ที่มีความตั้งใจที่จะดำเนินธุรกิจของตนโดยไม่ปรารถนาที่จะทำให้เกิดผลกระทบเชิงลบใด ๆ ต่อสภาพแวดล้อมของโลก และต่อสภาพแวดล้อมของท้องถิ่น ชุมชน และสังคมที่อยู่รอบข้าง และยังอาจมีความหมายรวมไปถึง การไม่ต้องการสร้างผลกระทบร้ายแรงต่อระบบเศรษฐกิจ
          ธุรกิจสีเขียว มักจะให้ความสำคัญต่อผลลัพธ์ทางธุรกิจใน 3 ด้านสำคัญ ที่เรียกว่า triple bottom line ซึ่งได้แก่ people ผลลัพธ์ที่จะเกิดต่อมนุษยโลกที่เกี่ยวข้อง, planet ผลกระทบที่จะเกิดต่อสิ่งแวดล้อม สภาวะอากาศ และการเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติของโลกมนุษย์และ profit ซึ่งเป็นผลตอบแทนทางเศรษฐกิจที่จะเกิดขึ้นจากการทำธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
การทำการตลาดสีเขียวนั้น น่าจะมีองค์ประกอบสำคัญ 3 ประการที่นักการตลาดควรให้ความสนใจ ได้แก่
          1. การนำเสนอให้ตลาดผู้บริโภคทั่วไปได้เห็นและเกิดความเข้าใจว่า สิ่งที่บริษัทหรือองค์กรกำลังทำอยู่นี้จะช่วยเหลือสภาพแวดล้อมของโลก ทั้งในเชิงกว้างและในระดับสังคม ชุมชนแวดล้อมได้อย่างไร
          2. นำเสนอสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและธรรมชาติ
          3. ใช้วิธีการที่เป็นสีเขียวเช่นกัน ในการนำเสนอองค์ประกอบข้อ 1 และ ข้อ 2 ที่ได้กล่าวมา
          วิธีการข้อที่ 3 เป็นข้อที่นักการตลาดทั่วไป อาจต้องปรับแนวความคิดเดิม ๆ หันมาสู่การคิดหาวิธีการที่จะทำให้วิธีการทางการตลาดเป็นสีเขียวให้ได้มากที่สุด
          เช่น การใช้วัสดุประกอบการตลาด อาทิ กระดาษที่ใช้ในการพิมพ์เอกสารการตลาดที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การเลือกใช้หมึกพิมพ์ที่ไม่สร้างมลภาวะ และมองไปถึงว่าวัสดุเหล่านั้น หลังจากทำหน้าที่ทางการตลาดสื่อความสำคัญไปยังผู้บริโภคแล้ว ผู้บริโภคจะมีวิธีในการกำจัดทิ้งอย่างไรจึงจะไม่ทำให้เกิดผลกระทบในเชิงลบ เป็นไปได้หรือไม่ที่จะทำให้เกิดการนำกลับมาใช้ใหม่ หรือนำมาใช้ซ้ำได้ด้วยวิธีใด ๆ ก็ตาม
          นักการตลาดซึ่งโดยธรรมชาติมักจะเป็นผู้ที่มีความสามารถในด้านการคิดสร้างสรรค์สูงอยู่แล้ว หากจะหันกลับมาคิดสร้างสรรค์ในเรื่องของเอกสารทางการตลาดที่เป็นสีเขียวได้ ก็จะเป็นประโยชน์ไม่น้อย แถมยังจะได้เป็นข้อพิสูจน์ให้ผู้บริโภคและคนทั่วไปได้เห็นว่า ความมุ่งมั่นขององค์กรที่ต้องการจะทำธุรกิจให้เป็นสีเขียวนั้น สามารถทำได้อย่างครบวงจรอย่างแท้จริงอีกด้วย
          นอกจากสื่อเอกสารทางการตลาดที่เป็นสีเขียวแล้ว วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ประกอบในกิจกรรมส่งเสริมการขาย หรือกิจกรรมทางการตลาดอื่น ๆ นักการตลาดก็สามารถเลือกใช้แต่สิ่งที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม หรือเป็นวัสดุที่ไม่ก่อให้เกิดมลพิษหรือทำลายธรรมชาติ หรือใช้พลังงานอย่างสิ้นเปลืองโดยไม่จำเป็น
          การหันกลับมาใช้กลยุทธ์ทางการตลาดที่จะไม่ทำให้เกิดการสร้างผลกระทบเชิงลบต่อสิ่งแวดล้อม เช่น กลยุทธ์การตลาดแบบปากต่อปาก ซึ่งถึงแม้ว่า อาจจะส่งผลตอบกลับที่ไม่รวดเร็วนัก แต่เป็นกลยุทธ์ที่ทรงอิทธิพลและสร้างความจงรักภักดีจากลูกค้าและผู้บริโภคได้ดีที่สุด อีกทั้งยังเป็นวิธีที่มีความเป็น "สีเขียว" อยู่ในตัวอย่างมาก เพราะอาจไม่ต้องพึ่งพิงการใช้วัสดุหรือพลังงานอื่น ๆ ให้สิ้นเปลืองมากนัก
           วิธีการต่าง ๆ เหล่านี้ แทบจะไม่ต้องพึ่งพาอาศัยวัสดุอุปกรณ์สิ้นเปลืองต่าง ๆ มากนัก แต่อาจจะต้องใช้พลังงานของคนมากขึ้นเท่านั้น ทำให้ความนิยมใช้อาจลดลง เพราะคนมีแนวโน้มที่จะไม่อยากทำงานเสียพลังงานของตนเองมากไป โดยหันไปใช้พลังงานที่สิ้นเปลืองทรัพยากรของโลกซึ่งทำให้เกิดความสะดวกสบายมากกว่า แต่เป็นการทำให้โลกต้องตกอยู่ในสภาพที่ทรัพยากรถูกใช้ไปอย่างสิ้นเปลืองและรวดเร็ว
          การใช้สื่อระบบอิเล็กทรอนิกส์หรือระบบอินเทอร์เน็ต ก็อาจจะลดความสิ้นเปลืองของการทำการตลาดแบบเดิม ๆ ไปได้มากเช่นกัน จึงเป็นอีกวิธีการหนึ่งที่นักการตลาด "สีเขียว" อาจเลือกนำมาใช้ได้
          ประเด็นสุดท้ายที่ต้องกล่าวถึงในเรื่องของการทำการตลาด "สีเขียว" ก็คือ เรื่องของเนื้อหาหรือการสื่อข้อมูลไปยังผู้บริโภคว่าสินค้าหรือบริการที่ทำตลาดอยู่เป็นสินค้าหรือบริการ "สีเขียว" โดยที่เป็นความจริงเพียงบางส่วนเท่านั้น เพื่อพยายามสร้างกระแส "สีเขียว" ให้กับสินค้าหรือบริการ เพื่อหวังผลประโยชน์ทางธุรกิจแต่เพียงอย่างเดียว
          โดยแอบอ้างความเป็นจริงที่รู้ว่า การพิสูจน์ว่าสินค้าหรือบริการ มีความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม กระบวนการที่ใช้ในการผลิตหรือบริการไม่ก่อให้เกิดการปล่อยคาร์บอนหรือก๊าซโลกร้อนออกสู่บรรยากาศ ฯลฯ นั้น เป็นเรื่องที่อาจจะไม่เห็นได้อย่างชัดเจนในช่วงเวลาสั้น ๆ การตลาดที่ชักนำให้ตลาดหรือผู้บริโภคเข้าใจผิดนั้น ถือได้ว่าเป็นการตลาดที่ไม่เป็น "สีเขียว" เช่นกัน  เรื่องของการตลาด "สีเขียว" คงเคยได้ยินคำว่า "greenwashing" ซึ่งฝรั่งให้ความหมายไปถึงธุรกิจหรือการตลาดที่พยายาม "ฟอกย้อม" ให้ผู้บริโภคเข้าใจว่า ธุรกิจหรือองค์กรธุรกิจนั้น ๆ เป็นธุรกิจ "สีเขียว" โดยที่ความจริงแล้วเป็นสีอะไรก็ไม่อาจรู้ได้
          ดังนั้น นักการตลาด "สีเขียว" จึงต้องไม่ตกหลุมของการทำ "greenwashing" เสียแต่ในเบื้องต้น
แหล่งที่มา      โดย : เรวัติ ตันตยานนท์