หน้าเว็บ

ส.อ.หญิง ณัฐธยาน์ ธนโชติวราพงศ์ การจัดการทั่วไป รุ่น 19


บทที่ 9
 การบริหารการเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาอย่างยั่งยืน
องค์การต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลง (Change) จากสภาพแวดล้อมที่เป็นผลมาจากกระแสโลกาภิวัฒน์ Globalization) ซึ่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจ สังคม การเมือง เทคโนโลยี การค้าระหว่างประเทศ และสภาพแวดล้อมในการแข่งขัน ดังนั้นในปัจจุบันองค์การต้องเปลี่ยนแปลงให้ทันกับการพลวัต (Dynamic) ของสภาพแวดล้อม มิเช่นนั้นองค์การจะไม่สามารถดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพ และมีการพัฒนาอย่างยั่งยืนได้ ซึ่งหากนักบริหารสามารถปรับองค์การให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป โดยอาศัยความรู้ความสามารถและความชำนาญก็จะสามารถสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน (Competitive Advantage) ในการสร้างประสิทธิภาพ และการพัฒนาที่ยั่งยืนได้ อย่างไรก็ตามในปัจจุบันได้เกิดกระแสแนวคิดในด้านการบริหารจัดการสมัยใหม่ เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการในองค์การยุคใหม่ทั้งในส่วนขององค์การภาครัฐ และภาคเอกชนอย่างหลากหลาย อาทิ Learning Organization,Benchmarking,Balanced Scorecard,Total Quality Management ฯลฯ ซึ่งแนวคิดดังกล่าวถือเป็นนวัตกรรมการบริหารจัดการขององค์การยุคใหม่ยังไม่สามารถเป็นเครื่องมือให้กับนักบริหารในการส่งเสริมศักยภาพของตนและองค์การได้เท่าที่ควร สืบเนื่องมาจากไม่ได้มีการจัดระบบข้อมูล และการเผยแพร่องค์ความรู้การบริหารจัดการสมัยใหม่ในการนำไปประยุกต์ใช้อย่างเป็นระบบและเหมาะสมดังนั้นยุทธศาสตร์ในการพัฒนาความเข้มแข็งทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นการปฏิบัติการเชิงรุก รวดเร็ว ฉับไว สนองต่อการพัฒนาด้านต่าง ๆ เช่น ด้านภาครัฐ (e-Government) การศึกษา (e-Education) สังคม (e-Society) อุตสาหกรรม (e-Industry) และด้านพาณิชย์ (e-Commerce) สภาพปัญหาและความจำเป็นของแนวทางการบริหารการจัดการของหน่วยงานโดยพิจารณาจากวิกฤตที่เกิดขึ้น สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงปัจจุบันและแนวโน้มกระแสโลกในอนาคต จึงกำหนดยุทธศาสตร์ที่จะนำไปสู่การพัฒนาที่สมดุล มีคุณภาพและยั่งยืน ระดับคุณภาพชีวิตของคนส่วนใหญ่ให้อยู่ดี มีสุข ควบคู่กับการพัฒนามุ่งสู่คุณภาพในทุกด้าน พัฒนาระบบบริหารจัดการที่ดีในทุกระดับ โดยอาศัยพลังการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในสังคมไทย บังเกิดผลเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน ผลสัมฤทธิ์ (Results Based Management - RBM) มีจุดเน้นที่สำคัญคือ การกำหนดตัวชี้วัดผลการปฏิบัติงานเป็นหลัก สามารถนำหลักการและทฤษฎีมาใช้ในหน่วยงานทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และหน่วงงานทางการศึกษา ในองค์การที่มีโครงสร้างซับซ้อน มีการโยงใยบทบาทหรือตำแหน่งแต่ละตำแหน่งของบุคลากร หรือเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานนั้น ๆ บุคลากรเหล่านั้นต้องแสดงบทบาทให้สอดคล้องกับคำอธิบายของตำแหน่ง เมื่อพ้นตำแหน่งไปแล้ว คนที่มาครองตำแหน่งใหม่ ก็จะแสดงบทบาทนั้นเหมือนเดิม สอดคล้องกับทฤษฎีองค์การแบบดั้งเดิม กลุ่มการจัดการแบบการบริหาร Administrative Management Theory) จะมุ่งเน้นให้ความสำคัญในระดับมหภาคทั้งองค์การ สร้างหลักเกณฑ์และการปรับปรุงวิธีการทำงานของฝ่ายบริหาร ส่วนมากนิยมที่จะนำแนวคิดของกูลิค (Gulick) ที่ได้ขยายแนวคิดเกี่ยวกับกระบวนการบริหารของฟาโยล(Henri Fayol) คือ OSCAR จาก 4 ประการ แบ่งออกเป็น 7 ประการ ที่นิยมเรียกว่า "POSDCORB" ได้แก่ การวางแผน การจัดองค์การ การบริหารงาน บุคลากร การสั่งการ การประสานงาน การรายงาน และการจัดสรรงบประมาณ โดยเน้นความสำคัญของระบบโครงสร้างองค์การตั้งแต่ระดับเบื้องบนสู่เบื้องล่าง ใช้หลักการทำงานประสานกันเป็นระบบ สอดคล้องกับเป้าหมายและวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ เป็นหลักในการกำหนดกรอบทฤษฎี
บทที่ 10
การแข่งขันในตลาดโลกและการปรับตัวเพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน
ความได้เปรียบทางการแข่งขัน เป็นสุดยอดปรารถนาของทุกกิจการที่ต้องดำเนินงานท่ามกลางความผันแปรที่ เปลี่ยนแปลง ซึ่งทุกธุรกิจย่อมจะทำทุกวิถีทางที่จะเฟ้นหากลยุทธ์ที่เฉียบคมที่สุด เพื่อนำมาสู่การสร้างความได้เปรียบดังกล่าวเหนือคู่แข่ง แต่อย่างไรก็ตาม การได้มาซึ่งความได้เปรียบที่เหนือชั้นนั้น ยังไม่ยากลำบากเท่ากับรักษามันเอาไว้ บ่อยครั้งที่หลายท่านคงเห็นบริษัทที่ครั้งหนึ่งเคยเกรียงไกรอย่างมาก แต่ก็ต้องประสบกับปัญหาและสภาวะถดถอยลงไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งบางแห่งถึงกับล้มไปโดยที่ไม่สามารถฟื้นตัวกลับมายืนอยู่จุดเดิมได้อีกเลย จึงเริ่มมีการพยายามวิเคราะห์หาแนวคิดกลยุทธ์ต่าง ๆ ที่นอกจากจะนำไปสู่ความได้เปรียบแล้ว ยังต้องสามารถทำนุบำรุงให้คงอยู่ในระยะยาวอย่างต่อเนื่องได้อีกด้วย เนื่องจากไม่มีคู่แข่งรายใดที่จะยอมอยู่เฉย มองดูธุรกิจของเราเติบโตต่อไปได้อย่างราบรื่น หากกิจการของเราประสบความสำเร็จในระดับหนึ่ง ก็ต้องมีผู้ที่พยายามจะเข้ามาร่วมต่อสู้แย่งชิงผลประโยชน์จากความสำเร็จนั้น ด้วย ไม่ช้าก็เร็ว ดังนั้น จึงมีเทคนิคบางประการมานำเสนอ เพื่อนำสู่ความได้เปรียบในการดำเนินงานที่คงทนถาวรมากขึ้น 
         ประการแรก คือ กล้าเสี่ยงกับการสร้างสรรค์ โดยกิจการควรสนับสนุนการสร้างแนวคิดใหม่ ๆ และทดลองที่จะนำแนวคิดที่แตกต่างลงสู่การปฏิบัติ แม้ว่าบ่อยครั้งความคิดนั้น ๆ จะดูแปลกแหวกแนว จนอาจจะถูกคนอื่นๆหัวเราะเยาะและเย้ยหยันว่าเป็นไปไม่ได้ก็ตาม
         เจฟ เบซอส ผู้ก่อตั้ง อเมซอนดอทคอม อันลือลั่น ก็กล่าวยืนยันว่า "การที่จะคิดค้นสิ่งใหม่ๆนั้น มักจะทำให้เราถูกมองว่าเป็นตัวประหลาดในสายตาของคนรอบข้างเสมอ" แต่หากกิจการไม่เสี่ยงที่จะทดลองเลยนั้น ก็ไม่สามารถจะลิ้มรสของความเป็นผู้นำที่แตกต่างได้เลย โดยเครื่องไม้เครื่องมือหลายอย่างที่อเมซอนคิดค้นขึ้น เพื่อนำมาสู่การให้บริการค้าปลีกออนไลน์ต่อลูกค้าอย่างล้ำสมัย ไม่ว่าจะเป็นระบบแนะนำสินค้าแบบตัวต่อตัว ระบบเว็ปเพจส่วนบุคคล ฯลฯ ล้วนแล้วแต่เคยถูกมองว่าเป็นไปไม่ได้ทั้งสิ้น หรือแม้แต่ คีออสเพลงดิจิตอลของสตาร์บัค หรือ ระบบค้นหาข้อมูลระดับโลกของกูเกิล ก็ผ่านการวิพากษ์วิจารณ์กันมาอย่างหนาหูทั้งสิ้น แต่สิ่งต่าง ๆ ก็ได้นำมาความสำเร็จที่แตกต่างมาสู่กิจการอย่างต่อเนื่องเช่นกัน    ซึ่งการที่กล้าเสี่ยงกับการสร้างสรรค์นี้ ไม่ควรแต่จะมุ่งเน้นในการพิจารณาเฉพาะการเคลื่อนไหวของคู่แข่งโดยตรงใน ปัจจุบันเท่านั้นนะครับ เพราะจะทำให้เป็นการสร้าง "กรอบ" ในแนวความคิดของกิจการเอง อาจส่งผลให้ไม่สามารถคิดออกไปนอกกรอบหรือแนวทางที่ต่างไปจากที่อุตสาหกรรม และการแข่งขันปัจจุบันเป็นอยู่ก็ได้ จึงยากที่จะแตกต่างอย่างแท้จริง ดังนั้นจึงไม่ควรเพียงแต่ "look around" เท่านั้น แต่ควรจะ "look ahead" มองออกไปข้างหน้าโดยไม่ยึดติดกับสิ่งที่เคยเห็นหรือเคยดำเนินการอยู่
         เทคนิคประการที่สอง คือ อย่าลุ่มหลงกับการเพิ่มขนาดเท่านั้น ควรเน้นที่การสร้างความเป็นเอกลักษณ์มากกว่า หลายธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ มักจะคิดว่าการเติบโตหรือขนาดที่ใหญ่ขึ้นอย่างต่อเนื่องนั้น ถือเป็นปัจจัยแห่งความสำเร็จ จึงมีความพยายามที่จะเพิ่มขนาดอย่างต่อเนื่อง   แต่ในความเป็นจริงแล้ว ความได้เปรียบทางการแข่งขัน มิได้ขึ้นอยู่กับขนาดแต่เพียงอย่างเดียว ยิ่งขนาดใหญ่ขึ้น แต่หากทุกอย่างกลับขาดความโดดเด่น จะยิ่งทำให้เป็นภาระทางการดำเนินงานเสียเปล่า ดังนั้น การมุ่งเน้นที่เอกลักษณ์เพื่อตอบสนองความต้องการเฉพาะด้านที่พิเศษแตกต่าง จริง ๆ จึงเป็นสิ่งที่จะทำให้เกิดความมั่นคงในการแข่งขันมากกว่า  วอลล์-มาร์ท ห้างค้าปลีกที่ใหญ่สุดในโลก ก็เริ่มที่จะทำนุบำรุงความได้เปรียบทางการแข่งขันของตน โดยมิได้พึ่งพาเรื่องของขนาดเท่านั้น แต่มุ่งเน้นให้วอลล์-มาร์ทกลายเป็นธุรกิจบริการที่ใส่ใจและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงจะเป็นตัวกลางในการนำเสนอแต่ผลิตภัณฑ์ที่ส่งเสริมสุขภาพ และไม่ทำลายสภาพแวดล้อม เพื่อให้เหมาะสมกับแนวโน้มความต้องการของสังคม โดยสินค้าที่นำมาจำหน่ายในร้านจะต้องสามารถติดตามกลับไปยังต้นแหล่งได้เสมอ เพื่อยืนยันถึงความปลอดภัยและเป็นมิตรต่อโลกอย่างจริงจัง ซึ่งถือเป็นจุดเด่นที่เป็นเอกลักษณ์จากค้าปลีกรายอื่น ๆ
         เทคนิคประการที่สาม คือ อย่าดึงดันกับการแข่งขันแต่เพียงอย่างเดียว ควรหาตลาดใหม่เพื่อฉกฉวยโอกาสในการเติบโตด้วย โดยแนวคิดนี้เน้นว่าควรใส่ใจในการสร้างสรรค์โอกาสทางการตลาดใหม่ๆอยู่ตลอด เวลา แทนที่จะดำเนินงานอยู่ในตลาดที่มีการแข่งขันรุนแรงแต่เพียงอย่างเดียว เพราะอาจจะเพลี่ยงพล้ำได้ง่าย และผลตอบแทนก็ไม่คุ้มค่า
         เทคนิคที่สี่ คือ โฟกัสที่ลูกค้า มิใช่คู่แข่งขัน ซึ่งอาจจะทำให้เห็นการพัฒนาโอกาสทางธุรกิจที่อยู่ในความต้องการของตลาดได้ อย่างมาก เช่น บริษัท Caterpillar ที่มีผลิตภัณฑ์ด้านเครื่องจักรหนักอันลือชื่อ โดยเน้นการตอบสนองความต้องการของลูกค้าอย่างถึงที่สุด จนเกิดความเป็นเลิศด้านบริการ ซึ่งบริษัทสัญญาว่า ไม่ว่าลูกค้าจะอยู่ที่ใดในโลกนี้ ก็สามารถที่จะส่งชิ้นส่วนไปให้บริการได้ภายใน 24 ชั่วโมง   ซึ่งถือเป็นจุดขายที่เป็นเอกลักษณ์ จนกระทั่งหลายคนมองว่า Caterpillar ขายบริการด้วยซ้ำ และท้ายที่สุด จากการที่กิจการมีการพัฒนาเครือข่ายการขนส่งทั่วโลก ทำให้มีทักษะและเทคโนโลยีสูงมากพอที่จะเข้าแข่งขันในธุรกิจให้บริการทางด้านลอจิสติกส์เพิ่มเติม ซึ่งปัจจุบันกลายเป็นธุรกิจหลักที่เติบโตสูงสุดของบริษัท และทำรายได้มหาศาลกลับคืนมาทีเดียว  นอกจากนี้ กิจการยังควรมีการสร้างเครือข่ายสนับสนุนการแลกเปลี่ยนไอเดียและข้อมูล ระหว่างบริษัท เพื่อเป็นการจุดประกายการสร้างสรรค์ รวมถึงควรต้องกระตุ้นให้บุคลากรของเรากระหายในความสำเร็จและพัฒนาอย่างต่อ เนื่องตลอดเวลา จึงจะสามารถวิ่งหนีและกระโดดข้ามคู่แข่งได้ต่อไปในอนาคต

http://www.ezyjob.com/บทความ/การตลาด
บทที่ 11
การบริหารจัดการธุรกิจสีเขียวและการวิเคราะห์ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และคุณภาพชีวิต

ในการพัฒนาระบบเศรษฐกิจสีเขียว สิ่งที่จำเป็นคือการลงทุนใหม่ๆ การสร้างทักษะใหม่ๆ และการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ ในการนี้ สมาชิกผู้เข้าร่วมจึงยินยอมที่จะมอบแหล่งเงินทุนให้แก่ประเทศกำลังพัฒนาและให้ความช่วยเหลือในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการสนับสนุนเครื่องมือทางการเงิน ลดเงินช่วยเหลือที่สร้างผลเสียต่อสภาพแวดล้อมและไม่สอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืน สนับสนุนการวิจัยร่วมกันระหว่างประเทศเกี่ยวกับเทคโนโลยีสีเขียวที่เกี่ยวข้องกับประเทศกำลังพัฒนา เพื่อให้สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีได้ในราคาที่เหมาะสม และสนับสนุนองค์กรทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ของประเทศกำลังพัฒนา เพื่อให้นักวิทยาศาสตร์และวิศวกรท้องถิ่นได้พัฒนาเทคโนโลยีสีเขียวแบบท้องถิ่น
1. ความมั่นคงทางอาหาร
เรียกร้องให้ทุกประเทศหันมาให้ความสำคัญกับปริมาณการผลิตอาหารที่ยั่งยืนโดยเพิ่มการลงทุนให้กับผลิตภัณฑ์อาหารท้องถิ่น ขยายตลาดอาหารที่ได้จากการเกษตร และลดของเสียในห่วงโซ่อุปทาน โดยให้ความสนใจเป็นพิเศษกับผู้หญิง เกษตรกรรายย่อย เยาวชน เกษตรกรพื้นเมือง สร้างความมั่นใจในโภชนาการที่เหมาะสม ผ่านกระบวนการค้าขายที่โปร่งใสและเปิดกว้างมากขึ้น พร้อมแนวทางที่จะนำไปสู่ความมีเสถียรภาพมากขึ้นของราคาอาหารและตลาดในประเทศ นอกจากนี้ยังสนับสนุนการริเริ่มในทุกๆระดับที่เกี่ยวกับการพัฒนาการเข้าถึงข้อมูล เพิ่มปฏิสัมพันธ์ระหว่างเกษตรกรและผู้เชี่ยวชาญผ่านบริการการศึกษาและการใช้เทคโนโลยี
2. น้ำ
เน้นความสำคัญของการมีน้ำดื่มที่สะอาดและปลอดภัยเพื่อสุขอนามัยในฐานะหนึ่งในสิทธิมนุษยชนที่จำเป็นสำหรับการมีชีวิตที่ดี จำเป็นต้องวางเป้าหมายให้กับการจัดการน้ำเสีย รวมไปถึงการลดปริมาณน้ำเสียจากครัวเรือน โรงงานอุตสาหกรรมและแหล่งกสิกรรม และสนับสนุนให้มีการบำบัดน้ำเสียโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตชานเมือง


3. พลังงาน
จะริเริ่มสร้างแหล่งพลังงานที่ยั่งยืนสำหรับทุกคน โดยมีเป้าหมายในการนำเสนอการเข้าถึงบริการพลังงานพื้นฐานในระดับขั้นต่ำสำหรับทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภคในปี ค.ศ.2030 ดังนั้นจึงต้องขอให้มีการจัดหาทรัพยากรทางการเงินที่เพียงพอและมีคุณภาพสำหรับประเทศกำลังพัฒนา เพื่อทำให้การใช้แหล่งพลังงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและกว้างขวางขึ้น และแต่ละประเทศควรหันมาพัฒนานวัตกรรมคาร์บอนต่ำมากขึ้น


4. เมือง
ส่งเสริมแนวทางบูรณาการและแบบองค์รวมเพื่อการวางแผนและการสร้างเมืองอย่างยั่งยืนด้วยการให้การสนับสนุนแก่ฝ่ายปกครองท้องถิ่น เครือข่ายการสื่อสารและคมนาคมที่มีประสิทธิภาพ ระบบการส่งมอบบริการที่ดีขึ้น อากาศและคุณภาพน้ำที่ดีขึ้น ลดปริมาณของเสีย ขยายการเฝ้าระวังภัยธรรมชาติและตอบสนองความเปลี่ยนแปลงในสภาพอากาศที่แปรปรวน
5. งานสีเขียวและการใหทุกคนในสังคมมีสวนรวม
การพัฒนาขีดความสามารถของมนุษย์เป็นสิ่งจำเป็นในการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่มีฐานกว้าง อันจะช่วยสร้างชุมชนที่แข็งแกร่งและยั่งยืนและพัฒนาสภาพแวดล้อม คนงานจึงต้องมีทักษะและได้รับการคุ้มครองที่จำเป็นเพื่อที่พวกเขาจะได้มีส่วนร่วมและได้ประโยชน์จากระบบเศรษฐกิจสีเขียวซึ่งมีศักยภาพในการสร้างตำแหน่งงานดีๆ อีกมาก โดยเฉพาะกับเยาวชนดังนั้นภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมจึงควรสนับสนุนการสร้างงานสีเขียวเช่นการลงทุนในงานสาธารณะเพื่อการฟื้นฟูและขยายทุนธรรมชาติมีปฏิบัติการจัดการน้ำและที่ดิน การเพาะปลูกในครัวเรือน การเพาะปลูกตามระบบนิเวศ การจัดการผืนป่า การใช้ความหลากหลายทางชีวภาพด้วยเหตุผลทางเศรษฐกิจ ฯลฯ จำเป็นต้องขยายการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานเพื่อสนับสนุนการพัฒนาที่ยั่งยืนและให้ความรู้เกี่ยวกับงานสีเขียวรวมทั้งเพิ่มความคุ้มครองทางสังคมแก่สมาชิกทุกคนในสังคมรวมถึงแรงงานนอกระบบด้วย
6. มหาสมุทรและทะเล
ให้ความสำคัญกับการรักษาและจัดการแหล่งมหาสมุทรและทะเลอันเป็นส่วนสำคัญในการรักษาระบบนิเวศของโลก และร่วมดูแลแนวปะการังไปจนถึงหมู่เกาะและรัฐชายฝังทะเล สนับสนุนการร่วมมือกันตามแนวทางของCoral Triangle initiative (CTi) และ the international Coral Reefinitiative(iCRi) สำหรับประเทศกำลังพัฒนาที่เป็นเกาะขนาดเล็ก (SiDS)ยังคงจัดเป็นกรณีที่ต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษเนื่องจากได้รับผลกระทบสูงมาก ไม่ว่าจะเป็นผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภัยธรรมชาติ 

7. ภัยธรรมชาติ
แนวทางการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติทางธรรมชาติจะยังคงความสำคัญในบริบทของการพัฒนาที่ยั่งยืนและถูกรวมอยู่ในวาระการพัฒนาหลังปีค.ศ.2015 แต่ประเทศสมาชิกต้องเร่งประสานงานระดับชาติ ภูมิภาคและระดับสากล เพื่อพัฒนาการพยากรณ์อากาศและระบบการเตือนภัยล่วงหน้าให้ดีขึ้น
8. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
ประเทศที่พัฒนาแล้วยังคงมีช่องโหว่เรื่องการจัดการกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและกำลังเผชิญผลเชิงลบมากขึ้นเรื่อยๆ อันจะเป็นการบ่อนทำลายความมั่นคงทางอาหารและความพยายามในการขจัดความยากจน อีกทั้งคุกคามการดำรงอยู่ของประเทศหมู่เกาะเล็กๆ ที่ประชุม Rio+20 จะส่งเสริมให้ประเทศต่างๆ ร่วมมือกันจัดการกับปัญหาที่เชื่อมโยงกันระหว่างน้ำ พลังงาน อาหาร และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ


9. ปาและความหลากหลายทางชีวภาพ
สนับสนุนการชะลอและยับยั้งการทำลายผืนป่า และส่งเสริมให้มีการจัดการผืนป่าในแง่ของการรักษาและฟื้นฟู ปฏิบัติการเร่งด่วนนี้เรียกว่า “NonLegally Binding instrument on all Types of Forests  (NLBi)” ผ่านพิธีสารนาโงยา ซึ่งจะถูกนำมาใช้ในการประชุมภาคีอนุสัญญาว่าด้วยจับกระแส Rio+20ความหลากหลายทางชีวภาพครั้งที่ 10 ทั้งยังต้องกระตุ้นให้เกิดการลงทุนในทุนธรรมชาติ ผ่านเครื่องมือกระตุ้นและนโยบายที่เหมาะสม
10. ความเสื่อมโทรมของดิน และการกลายเปนทะเลทราย
เนื่องจากผืนดินเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างความเจริญเติบโต ความมั่นคงทางอาหาร และการขจัดความยากจน การที่พื้นที่เพาะปลูกในแอฟริกากลายเป็นทะเลทรายนั้นเป็นปัญหาร้ายแรงสำหรับการพัฒนาที่ยั่งยืนในพื้นที่แถบนั้นดังนั้นประชาคมโลกจึงต้องมีส่วนร่วมมากขึ้นในการดำเนินงานตามอนุสัญญาสหประชาชาติเพื่อรับมือกับการกลายเป็นทะเลทราย (United NationsConvention to Combat Desertification: UNCCD) และสนับสนุนการร่วมมือกันและการริเริ่มโครงการพิทักษ์รักษาทรัพยากรดิน เช่น โครงการแนวร่วมดินโลก (Global Soil Partnership: GSP) ตลอดจนส่งเสริมให้เกิดการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ที่พุ่งเป้าไปที่การทำให้คนตระหนักถึงประโยชน์ทางเศรษฐกิจจากนโยบายจัดการที่ดินอย่างยั่งยืน
11. ภูเขา
ภูเขามีความเสี่ยงสูงที่จะประสบปัญหาจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ อีกทั้งยังเป็นที่พำนักพักพิงของชนเผ่าท้องถิ่นจำนวนมากที่ใช้ทรัพยากรอย่างพอเพียง แต่ถูกมองข้าม และยังมีปัญหาความยากจนและเสี่ยงต่อภัยธรรมชาติและภาวะขาดแคลนอาหาร ดังนั้นเราจึงต้องทำการสำรวจกลไกระดับโลก ระดับภูมิภาค ระดับชาติ และระดับท้องถิ่นให้มากขึ้นเพื่อเป็นการชดเชยและตอบแทนชุมชนที่อาศัยในภูเขา สำหรับสิ่งที่พวกเขาทำมาตลอดเพื่อปกป้องระบบนิเวศ
12. สารเคมีและของเสีย
โครงการกลยุทธ์การจัดการสารเคมีระดับประเทศ (SAiCM) ต้องริเริ่มหาวิธีการจัดการกับสารเคมีและของเสียตลอดวงจรชีวิตของมันให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นในระดับสากล การให้ทุนสำรองที่ยั่งยืนและเพียงพอนั้นสำคัญต่อการช่วยพัฒนาประเทศที่มีการจัดการสารเคมีและของเสียที่ปลอดภัย ดังนั้นการปฏิบัติงานภายใต้อนุสัญญาที่เกี่ยวข้อง ได้แก่  Basel Convention, Rotterdam Convention และ Stockholm Convention จึงควรประสานงานกันมากขึ้นเพื่อจัดการกับมลพิษอินทรีย์และมีการร่วมมือกันระหว่างทั้งภาครัฐและภาคเอกชนโดยมุ่งเป้าไปที่การเพิ่มศักยภาพและเทคโนโลยีของการจัดการของเสียในสิ่งแวดล้อม รวมทั้งปัญหาของเสียอิเล็กทรอนิกส์และพลาสติกในแหล่งน้ำ
13. การผลิตและการบริโภคที่ยังยืน
จัดทำแผนงานระยะ 10 ปีว่าด้วยการบริโภคและการผลิตที่ยั่งยืน ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของข้อตกลงระดับโลกเกี่ยวกับการพัฒนาที่ยั่งยืน




14. การศึกษา
ทุกคนต้องสามารถเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพ ซึ่งจะทำได้โดยการเพิ่มการเตรียมความพร้อมของครูและให้มหาวิทยาลัยต่าง ๆ เป็นแบบอย่างในการปฏิบัติ รวมถึงการสนับสนุนกิจกรรมการแลกเปลี่ยนด้านการศึกษาระดับสากล อาทิ ให้ทุนการศึกษาในระดับนานาชาติเพื่อเผยแพร่แนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืนให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น โดยให้นักเรียนรู้จักคุณค่า หลักการสำคัญ และแนวทางที่หลากหลายอันจำเป็นต่อวิถีการพัฒนานี้
15. ความเทาเทียมทางเพศ
ความไม่เสมอภาคในสังคมและเศรษฐกิจที่มีอยู่มายาวนานนั้นส่งผลต่อผู้หญิงและเด็กซึ่งเป็นคนกลุ่มหลักในบรรดาคนจนทั้งหมดในโลก ดังนั้นเราต้องทำให้ผู้หญิงมีส่วนร่วมอย่างเต็มที่กับเศรษฐกิจ เสริมศักยภาพของผู้หญิงในฐานะผู้ขับเคลื่อนการพัฒนาที่ยั่งยืน เราต้องให้ความสำคัญกับความเท่าเทียมทางเพศในทุกมิติของสังคม อันรวมไปถึงการศึกษา การจ้างงาน การเป็นเจ้าของทรัพยากร การเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม การเมือง การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจระดับองค์กร ฯลฯ
16. การเรงและการวัดความคืบหนา
เป้าประสงค์ กลุ่มเป้าหมาย และหลักการประเมินมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการวัดและการเร่งความคืบหน้าในกระบวนการนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนดังนั้นจึงต้องมีการออกกฎหรือแนวทางในการประเมินผล ที่สะท้อนให้เห็นการจัดการกับประเด็นเสาหลักทั้งสาม (เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม) ได้อย่างสมดุลและสอดคล้องกับหลักการของ  Agenda 21 ทั้งยังมีความเป็นสากลและสามารถนำไปประยุกต์ได้กับทุกประเทศ แต่ยังเปิดกว้างสำหรับความแตกต่างในแนวทางแก้ปัญหาในแต่ละประเทศ โดยคาดการณ์ว่าเป้าประสงค์เหล่านี้จะบรรลุผลได้ภายในปี ค.ศ.2030 นอกจากนี้ยังต้องพัฒนาการจัดทำตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจที่รวมมิติทางเศรษฐกิจสังคมและสิ่งแวดล้อมในลักษณะที่สมดุล และขอให้เลขาธิการเป็นผู้ริเริ่มขั้นตอนทั้งหมดจากการปรึกษาหารือกับสมาชิกสหประชาชาติและองค์กรอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

แหล่งที่มา   หนังสือ แนวคิดและความเคลื่อนไหวเรื่องเศรษฐกิจสีเขียว  ของ สฤณี อาชวานันทกุล

ไม่มีความคิดเห็น: