หน้าเว็บ

นางสาว กันตินันท์ บุญลิลา รหัส 235 รุ่นที่ 19



บทที่ 8 เทคนิคในการบริหารทรัพยากรมนุษย์และการจัดการที่เหมาะสมกับวัฒนธรรมไทย
จุดประสงค์ของการบริหารทรัพยากรมนุษย์นั้นมีประเด็นที่น่าสนใจว่า  การที่จะเข้าใจในจุดประสงค์ของการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ได้  จะต้องเข้าใจถึงเป้าประสงค์ขององค์กรเสียก่อนหากกล่าวในเชิงปรัชญาก็อาจกล่าวได้ว่าการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ไม่ได้เป็นสิ่งที่ “สัมบูรณ์”( absolute )ในตัวมันเอง แต่ทว่าเป็นสิ่งที่จะต้อง “สัมพัทธ์”(relative) ไปกับปัจจัยควบคุมนั่นคือ นโยบายการบริหารจัดการองค์กรกล่าวง่ายๆ ก็คือ เป้าประสงค์ขององค์กรจะเป็นตัวกำหนดเป้าประสงค์ของการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์
ในทางธุรกิจองค์กรเอกชนแบบจารีตดั้งเดิมมักจะมีเป้าหมายใหญ่ๆสำคัญ 3 ประการ คือ
1.เป้าหมายของการที่จะต้องสร้างความมั่นใจว่าองค์กรจะอยู่รอดได้พร้อมไปกับความสามารถที่จะมีกำไรในการประกอบธุรกิจได้อย่างเพียงพอซึ่งจะเกี่ยวโยงไปถึฃนรรดาผู้ถือหุ้น หรือหุ้นส่วนทางธุรกิจที่จะรักษาความเป็นหุ้นส่วนไว้หรือไม่
2.องค์กรเอกชนอาจจะต้องแสวงหารูปแบบของการมีความได้เปรียบในการแข่งขันอย่างยั่งยืน เพื่อที่จะทำให้องค์กรอยู่รอดและมีกำไรที่ต่อเนื่อง อย่างไรก็ตามในโลกยุคสมัยใหม่ที่มนุษย์ และสังคมได้ผ่านวิวัฒนาการและการพัฒนาทางความคิดและวิถีการดำรงชีวิตมาถึงจุดหนึ่งทำให้ยังมีสิ่งที่องค์กรพึงต้องพิจารณาให้ความสำคัญเพิ่มเติม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเศรษฐกิจสังคมยุคปัจจุบัน ที่เกิดพลวัตผลักดันสังคมให้ก้าวสู่การเป็นระบบเศรษฐกิจสังคมบนฐานความรู้
3.การประกอบธุรกิจนั้นมิใช่จะมุ่งมองแต่เรื่องผลกำไร และความอยู่รอดทางธุรกิจ ตามแนวคิดแบบจารีตดั้งเดิมได้อีกต่อไป สำหรับกระแสนิยมในปัจจุบันมีแนวโน้มที่จะเรียกร้องให้เกิดแนวคิดที่ว่า การดำรงอยู่ขององค์กรก็จะต้องให้ความใส่ใจกับผลกระทบที่ตนเองจะก่อให้เกิดขึ้นกับสังคมโดยรวมด้วย  ดังนี้นองค์กรธุรกิจเอกชนจะต้องมีเป้าหมายเรื่องคามชอบธรรมทางสังคมขององค์กรด้วย



บทที่ 9 การบริหารการเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาที่ยั่งยืน
การพัฒนาที่ยั่งยืน หมายความถึง การพัฒนาที่ตอบสนองความต้องการของตนเองจาก World Commission On Environment and Development  การพัฒนาที่ยั่งยืน รวมความถึง การพัฒนา 3 ด้าน คือ เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ซึ่งเชื่อมโยง และสัมพันธ์กันทั้ง 3 มิติ โครงการพัฒนาใด ๆ ต้องคำนึงถึงองค์ประกอบทั้ง 3 ด้าน ในแง่ของศาสนา การพัฒนาหมายถึง การพัฒนา ตน ทั้งในด้านร่างกาย และจิตใจ โดยเน้นในด้านคุณภาพชีวิต และหลัก ของความถูกต้องพอดี ซึ่งให้ผลประโยชน์สูงสุด และความเกื้อกูลแก่สรรพชีวิต โดยไม่เบียดเบียน ทำลายธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม การพัฒนา ต้องเอาวัฒนธรรมเป็นแนวคิดที่ ศ.นพ. ประเวศ วะสี ได้แสดงปาฐกถา ในงานวันอนุมานราชธน ในหัวข้อ “ภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมกับการพัฒนา”ไว้อย่างน่าฟังว่า “ สรรพ สิ่งล้วนเชื่อมโยงสัมพันธ์กัน ถ้าเราพัฒนาอย่าง แยกส่วน ก็จะมีผลกระทบถึงส่วนอื่นอันนำไปสู่ภาวการณ์ขาดสมดุล และวิกฤตเสมอในประเทศไทย ทฤษฎีการพัฒนา เป็นการพัฒนาที่ต้องคำนึงถึง ความเป็นองค์รวมในทุกด้าน อย่างสมดุล บนพื้นฐานของการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ ภูมิปัญญา และวัฒนธรรม ไทย ด้วยการมีส่วนร่วมของประชาชน ทุกกลุ่มด้วยความเอื้ออาทร เคารพซึ่งกันและกัน และสามารถที่จะพึ่งตนเองได้ จนในที่สุด มีคุณภาพที่ดี ขึ้นอย่างเท่าเทียม

ดอยน้ำทรัพย์ ได้นำเอาองค์ความรู้แหล่านี้มาเชื่อมต่อและ ร้อยเรียง เพื่อให้เกิดความสัมพันธ์กันในการที่จะให้เกิดผลทางการปฏิบัติ โดยมีโครงการดอยน้ำทรัพย์ เป็นตัวแบบของการทำงาน ในการปลูก และแปรรูปสมุนไพร เพื่อนำมาพัฒนาเป็นสินค้าส่งออก

นอกจากนี้ ในการเผยแพร่ ภูมิปัญญาไทย เรามีโรงเรียนสอนการใช้ลูกประคบสมุนไพร ซึ่งเป็นหลักสูตรที่มีการขออนุมัติจากกระทรวงศึกษาธิการอย่างเป็นทางการ เป็นครั้งแรก และพัฒนาหลักสูตร ต่างๆ ที่ต้องใช้สมุนไพร เป็นหลักในการ สอน เพื่อให้เกิดการใช้สมุนไพร อย่างกว้างขวาง สิ่งที่จะขาดไม่ได้ ในการดำเนินการเผยแพร่ภูมิปัญญาไทยสู่สากล ซึ่งเราพยายามใส่เนื้อหาลงไปในหลักสูตรทุกเล่ม เพื่อเป็นการเผยแพร่ สิ่งที่ดีงามไปสู่สากล นั่นคือ หลักของพรหมวิหาร 4



นางสาวธัญญลักษณ์ คำแพง รหัส 1383 การจัดการทั่วไป(เรียนร่วม)



แนวคิดความได้เปรียบในการแข่งขัน (competitive advantage) และทฤษฎีไดมอนด์ (diamond model) ของ ไมเคิล อี. พอร์เตอร์ (Michael E. Porter)

             Porter (1985, p. 157) ได้เสนอความคิดเรื่องกลยุทธ์การแข่งขัน (competitive strategy) โดยเชื่อว่า การทำธุรกิจจะประสบกับปัญหา หรือมีการแข่งขันกันมากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับพลังต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ 5 ประการ (5 forces) ที่สร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน คือ
             ประการที่ 1 กลุ่มที่มีความสามารถเข้าสู่ตลาดใหม่ (potential new entrants) โดยการแข่งขันในภาคอุตสาหกรรมจะเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากเป็นเรื่องง่ายที่บริษัทต่าง ๆ จะเข้ามาสู่ภาคอุตสาหกรรม ซึ่งในบางสถานการณ์ผู้เข้าตลาดใหม่จะเปลี่ยนแปลงการตัดสินใจที่สำคัญของสิ่งแวดล้อมตลาด เช่น ความชัดเจนของตลาด ราคา และความภักดีของลูกค้า เป็นต้น ในขณะเดียวกันก็มีกลุ่มที่มีความสามารถกดดันให้มีการตอบสนอง และการปรับตัวเพื่อความอยู่รอดของบริษัทอื่น ๆ ในอุตสาหกรรมเดียวกัน การคุกคามของผู้ที่เข้าสู่ตลาดใหม่จะต้องอาศัยการประเมินค่าสิ่งที่เป็นอุปสรรคในการเข้าตลาด เช่น ความภักดีของกลุ่มลูกค้า (brand loyalty) ความสนิทสนมในด้านความสัมพันธ์กับลูกค้า ต้นทุนและค่าใช้จ่ายที่ต้องจ่ายจริง ความขาดแคลนของทรัพยากรที่สำคัญ การเข้าถึงแหล่งวัตถุดิบ  ที่ถูกควบคุมโดยบริษัทกลุ่มอุตสาหกรรมเดิม ช่องทางการจัดจำหน่ายที่ถูกควบคุมโดยบริษัทอุตสาหกรรมเดิม (access to distribution)  ความได้เปรียบด้านต้นทุนของการอยู่ได้ของบริษัทในกลุ่มอุตสาหกรรมเดิมจากประสบการณ์ที่ยาวนานมีผลต่อการหักค่าเสื่อมทรัพย์สิน และการขนส่งและการปฏิบัติของภาครัฐ
             ประการที่ 2 กลุ่มคู่แข่งขัน (rivalry) เป็นการอธิบายความรุนแรงของการแข่งขันระหว่างบริษัทต่าง ๆ ในภาคอุตสาหกรรม ภาวะกดดันในด้านการแข่งขันสูง มีผลต่อความกดดันด้านราคา กำไร และการแข่งขันระหว่างการอยู่ได้ของบริษัทต่าง ๆ จะเกิดขึ้นสูงมาก เมื่อมีบริษัทจำนวนมากในขนาดตลาดเดิม บริษัทต่าง ๆ มีกลยุทธ์คล้ายกัน อัตราการเติบโตของตลาดต่ำ อุปสรรคเพื่อความอยู่รอดสูง เช่น วัสดุเฉพาะคุณภาพสูงและราคาแพงและ มีความแตกต่างกันไม่มากระหว่างบริษัทต่าง ๆ กับสินค้า
             ประการที่ 3 กลุ่มสินค้าทดแทน (substitute) ภัยคุกคามจากสินค้าทดแทนจะมีอยู่ ถ้ามีทางเลือกในสินค้าราคาถูกของปัจจัยในด้านการปฏิบัติงานที่ดีกว่า ซึ่งสามารถดึงดูดด้วยอัตราส่วนของปริมาณตลาด การลดลงของปริมาณยอดขาย  ทั้งนี้ ภัยคุกคามของสินค้าทดแทนมีความสัมพันธ์กับองค์ประกอบของสินค้า ถูกตัดสินโดยความภักดีของกลุ่มลูกค้า ความสนิทสนมในด้านความสัมพันธ์ของลูกค้า การเปลี่ยนแปลงในด้านราคาของผู้บริโภค ความสัมพันธ์ด้านราคาเพื่อการปฏิบัติงานของกลุ่มตัวแทน แนวโน้มในปัจจุบัน
             ประการที่ 4 กลุ่มผู้ซื้อ (buyers) พลังการต่อรองของผู้ซื้อเป็นตัวกำหนดราคา ผู้ซื้อสามารถกดดันการกำหนดกำไร และปริมาณการซื้อ พลังการต่อรองของผู้บริโภคจะมีสูงเมื่อปริมาณการซื้อสูง
             ประการที่ 5 กลุ่มผู้จำหน่ายวัตถุดิบ (suppliers) กลุ่มผู้จำหน่ายวัตถุดิบประกอบด้วยแหล่งต่าง ๆ เพื่อนำไปใช้  ซึ่งมีความจำเป็นในการจัดสินค้าและบริการ พลังการต่อรองของกลุ่มผู้จำหน่ายวัตถุดิบจะมีสูง  เมื่อตลาดถูกครอบงำโดยผู้จำหน่ายขนาดใหญ่สองสามราย มีความเป็นไปได้ที่กลุ่มผู้จำหน่ายวัตถุดิบมีการรวมตัวกันล่วงหน้าเพื่อให้ได้มาซึ่งราคาและกำไรที่สูง
Porter (1985) ได้เสนอแนวคิดความได้เปรียบในการแข่งขัน โดยมีหลักการว่าหากต้องการให้ธุรกิจสามารถแข่งขันได้จะต้องให้ความสำคัญกับ 3 ประการต่อไปนี้ คือ
             ประการที่ 1 การสร้างความแตกต่าง (differentiation) คือ สินค้าหรือบริการที่ผลิตขึ้นมานั้น ต้องมีความแตกต่างที่ไม่สามารถหาได้จากสินค้าทั่วไป หรือมีการเพิ่มศักยภาพหรือประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ จนทำให้สามารถตั้งราคาขายที่แพงกว่าคู่แข่งได้
             ประการที่ 2 การมีต้นทุนการผลิตที่ต่ำ (cost leadership) หากธุรกิจมีต้นทุนต่ำก็ย่อมจะอยู่ในตลาดที่มีการแข่งขันได้ แม้ว่าจะมีสัดส่วนกำไร (profit margin) ต่ำก็ตาม ซึ่งลักษณะเช่นนี้จะทำให้คู่แข่งอื่นไม่อยากเข้ามาแข่งขัน  เพราะไม่คุ้มกับความเสี่ยงกับการทำการตลาดเพื่อให้อยู่รอด ทั้งนี้ ธุรกิจที่มีต้นทุนการผลิตต่ำ แต่อยู่มาก่อนและอยู่เพียงผู้เดียวในตลาดจะสามารถดำรงอยู่ได้ เนื่องจากมีลูกค้าจำนวนมาก ทำให้กำไรสุทธิมีจำนวนที่สูง
             ประการที่ 3 การเจาะจงในตลาด (focus) คือ การที่ธุรกิจมุ่งเน้นผลิตสินค้าหรือบริการให้กับตลาดเฉพาะส่วน (niche market) ด้วยสินค้าและบริการที่จำเพาะ ทำให้สามารถตั้งราคาขายได้สูง เนื่องจากลูกค้าจำเป็นต้องซื้อจากธุรกิจนั้น และไม่เสี่ยงที่จะซื้อจากผู้อื่น
             ต่อมาแนวคิดนี้ได้รับการพัฒนาเป็นทฤษฎีเครือข่ายวิสาหกิจ (cluster theory) ในฐานะที่เป็นเครื่องมือการพัฒนาในระดับจุลภาค โดยพอร์เตอร์ได้เสนอบทความวิชาการ เรื่อง The Competitive Advantage of Nations ในปี ค.ศ. 1990 ว่า แนวคิดที่มีความหมายต่อความสามารถในการแข่งขันของประเทศอย่างแท้จริง คือ การเพิ่มผลิตภาพ (productivity) คลัสเตอร์ หรือเครือข่ายวิสาหกิจ หมายถึง เครือข่ายที่ประกอบด้วยคุณลักษณะ 4 ประการ คือ
             คุณลักษณะที่ 1 การเชื่อมโยงซึ่งกันและกัน
             คุณลักษณะที่ 2 ความร่วมมือซึ่งจะนำไปสู่ความเชื่อถือไว้วางใจ ซึ่งเป็นต้นทุนทางสังคมที่มีความสำคัญประการหนึ่ง
             คุณลักษณะที่ 3 การแข่งขัน ข้อแตกต่างของเครือข่ายวิสาหกิจคือเป็นความร่วมมือบนพื้นฐานของการแข่งขัน
             คุณลักษณะที่ 4 การมุ่งกำหนดกลไกราคาหรือปริมาณ เพื่อผลประโยชน์ร่วมกันในบรรดาหมู่สมาชิก และประสิทธิภาพโดยรวม
             จากกรอบแนวคิดทฤษฎีเครือข่ายวิสาหกิจ (cluster theory) และแนวคิดความได้เปรียบในการแข่งขันของพอร์เตอร์  ผู้วิจัยได้นำมาใช้เป็นกรอบในการศึกษาการรวมกลุ่มของธุรกิจ อุตสาหกรรมท่องเที่ยว การรวมกลุ่มของกลุ่มต่าง ๆ ในชุมชน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวในการพัฒนาสินค้าและทรัพยากรท่องเที่ยวรวมถึงการรวมกลุ่มเพื่อต่อรอง หรือดำเนินการ เพื่อให้ได้รับประโยชน์จากอุตสาหกรรม การท่องเที่ยวสูงสุดร่วมกัน
             นอกจากนี้ พอร์เตอร์ กล่าวไว้ในหนังสือ The Competitive Advantage of Nations ว่าปัจจัยที่กำหนดความได้เปรียบในการแข่งขันของประเทศ มี 4 ปัจจัย ซึ่งมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน และประกอบเป็นระบบเดียวกันที่เรียกว่า Diamond Model กล่าวคือ (Porter, 1998, p. 167) ปัจจัยที่ 1 ปัจจัยการผลิต (factors conditions) ปัจจัยที่ 2 ปัจจัยด้านอุปสงค์ (demand conditions) ปัจจัยที่ 3 ปัจจัยที่เกี่ยวโยงและสนับสนุนกัน (related and supporting industries) และปัจจัยที่ 4 ปัจจัยด้านกลยุทธ์ทางธุรกิจและการแข่งขัน (firm strategy, structure and rivalry)
             ปัจจัยที่ 1 ปัจจัยการผลิต (factors conditions) เป็นปัจจัยการผลิตของอุตสาหกรรม ทั่วไป ประกอบด้วย แรงงาน วัตถุดิบ เงินทุน และที่ดิน แต่ในปัจจุบันปัจจัยการผลิตนี้ต้องหมายรวมถึง เทคโนโลยี ความรู้ และระบบสาธารณูปโภคต่าง ๆ  ซึ่งหากมีเพียงพอและครบถ้วนแล้ว จะทำให้ขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศสูงขึ้นได้ โดยพิจารณาจากตัวแปรทรัพยากรพื้นฐานด้านการท่องเที่ยว  แรงงานด้านการท่องเที่ยว สาธารณูปโภคในการเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยว การเข้าถึงแหล่งเงินทุน และความปลอดภัยในการท่องเที่ยว
             ปัจจัยที่ 2 ปัจจัยด้านอุปสงค์ (demand conditions) การที่ความต้องการสินค้าและบริการเป็นสิ่งสำคัญ เพราะหมายถึงรายได้ของประเทศ  ซึ่งหากผู้บริโภคมีความต้องการของสินค้าและบริการสูง ก็ย่อมทำให้ผลผลิตของอุตสาหกรรมสูงตามไปด้วย ซึ่งจะสะท้อนถึงความสามารถในการแข่งขันที่ดี  นอกจากนี้ อุปสงค์ในประเทศก็มีความสำคัญในการก่อให้เกิดความได้เปรียบ  ถ้าความต้องการนั้นเกิดก่อนและตรงกับความต้องการของ  ผู้บริโภคในประเทศอื่น เพราะจะกระตุ้นให้เกิดการพัฒนา ปรับปรุง สร้างนวัตกรรมที่สูงขึ้น ซึ่งปัจจัยด้านอุปสงค์พิจารณาจากขนาดของอุปสงค์ และคุณลักษณะของอุปสงค์
             ปัจจัยที่ 3 ปัจจัยที่เกี่ยวโยงและสนับสนุนกัน (related and supporting industries) จากการที่อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวประกอบด้วยธุรกิจที่หลากหลาย มีความเกี่ยวโยงและสนับสนุนกัน (supporting industry)  ซึ่งหากมีอุตสาหกรรมนั้นมีความเข้มแข็งและ  มีคุณภาพก็จะเอื้อต่อความสามารถในการแข่งขัน ซึ่งพิจารณาจากตัวแปรการศึกษาและฝึกอบรมด้านการท่องเที่ยว กิจกรรม (Meeting, Incentive, Convention and Exhibition-- MICE) กิจกรรมร้านอาหาร กิจกรรมการใช้จ่าย (shopping) และขายของที่ระลึก กิจกรรมสวนสนุกและสถานพักผ่อนหย่อนใจ เป็นต้น
             ปัจจัยที่ 4 ปัจจัยด้านกลยุทธ์ทางธุรกิจและการแข่งขัน (firm strategy, structure and rivalry) จากการที่ความสำเร็จของอุตสาหกรรมต่าง ๆ ขึ้นอยู่กับการสนับสนุนของภาครัฐบาล โดยให้เอกชนหรือภาคธุรกิจเป็นหลักในการดำเนินธุรกิจ โดยหากผู้ผลิต มีความเข้มแข็ง มีการแข่งขันรุนแรง ก็จะทำให้ความสามารถในการแข่งขันสูงขึ้น โดยพิจารณาจากตัวแปร กลยุทธ์การแข่งขัน การกำหนดมาตรฐานของสินค้าและบริการระดับความเข้มข้นของการแข่งขัน การบังคับใช้กฎหมาย บทบาทของภาครัฐต่อการแข่งขัน
ที่มา : ภูวนิดา  คุนผลิน. (2550). การบริหารการพัฒนายุทธศาสตร์การท่องเที่ยวของกรุงเทพมหานครแบบบูรณาการ. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.http://www.idis.ru.ac.th/report/index.php?topic=6163.0

วิชญาพร อ่องมี



บทที่ 4
แนวคิดเกี่ยวกับภาวะผู้นำ และการบริหารจัดการสมัยใหม่

ในปัจจุบัน ยังมีการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงแนวคิดเกี่ยวกับภาวะผู้นำอยู่ตลอดเวลา จึงเกิดเป็นแนวคิดที่สำคัญๆ (มัลลิกา ต้นสอน, 2544: 54) ดังนี้
1.ภาวะผู้นำแบบแลกเปลี่ยนและแบบเปลี่ยนแปลง (Transactional and Transformational Leadership) ผู้นำแบบแลกเปลี่ยน คือ ผู้นำแบบเดิมที่ใช้การแลกเปลี่ยนโดยรางวัลต่างๆ เป็นเครื่องมือในการชักจูงให้ผู้บังคับบัญชาปฏิบัติงานให้ได้ตามเป้าหมายที่ต้องการ ซึ่งต่างฝ่ายต่างก็ได้รับผลประโยชน์ที่แลกเปลี่ยนกัน ส่วนผู้นำแบบเปลี่ยนแปลงนั้น จะใช้ความสามารถเปลี่ยนความเชื่อ ทัศนคติของสมาชิก เพื่อให้สมาชิกทำงานได้บรรลุเหนือกว่าเป้าหมายที่ต้องการ โดยผู้นำจะถ่ายทอดความคิด ประสบการณ์ และกระตุ้นทางด้านความคิดต่างๆให้แก่สมาชิกอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ

2.ทฤษฎีความสามารถพิเศษของผู้นำ (Charismatic theory) เป็นการกล่าวถึงบุคลิกภาพของผู้นำที่มีลักษณะเฉพาะแตกต่างไปจากบุคคลอื่น รังสรรค์ ประเสริฐศรี (2544: 55) กล่าวว่า

 ผู้นำที่มีความสามารถพิเศษ ควรมีลักษณะดังนี้ คือ เป็นผู้ที่มีวิสัยทัศน์ มีความสามารถด้านทักษะการสื่อสาร ความสามารถที่ทำให้ผู้อื่นไว้วางใจ ความสามารถทำให้ผู้อื่นเห็นว่าตนเองมีความสามารถ มีพลังและมุ่งการปฏิบัติให้บรรลุผล แสดงอารมณ์ได้อย่างเหมาะสมและเอื้ออาทรแก่ผู้อื่น ชอบที่เสี่ยง สร้างกลยุทธ์ใหม่ๆเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย มีการโฆษณาตัวเอง และทำให้การขัดแย้งภายในเกิดขึ้นน้อยที่สุด กระแสในปัจจุบันได้มุ่งให้ความสนใจกับ ภาวะผู้นำแบบเปลี่ยนแปลง (Transformational Leadership) และภาวะผู้นำที่มีความสามารถพิเศษ (Charismatic leadership) ซึ่งแนวคิดเหล่านี้ได้พยายามอธิบายว่า ผู้นำประสบความสำเร็จในระดับสูงในการจูงใจสมาชิก ความผูกพันต่อองค์การ ความเคารพนับถือ ความไว้วางใจ ความชื่นชมในตัวผู้นำ การอุทิศตนในการทำงาน ความจงรักภักดี และการปฏิบัติงานของสมาชิกได้อย่างไร และยังพยายามอธิบายอีกว่า ผู้นำบางคนสามารถนำองค์การหรือหน่วยงานของตนประสบความสำเร็จอย่างยอดเยี่ยมได้อย่างไร (House, Delbecq and Taris, 1998 อ้างถึงใน Hartog and Koopman, 2001: 173) เนื่องจากการดำเนินธุรกิจขององค์การในยุคโลกาภิวัตน์ ที่มีการลงทุนหรือดำเนินธุรกิจข้ามประเทศ ทำให้หลายๆองค์การมุ่งสร้างผู้นำที่สามารถบริหารและจัดการคนในประเทศที่ไปลงทุนหรือดำเนินธุรกิจ ประกอบกับแนวคิดที่มีอยู่ยังอาจไม่เพียงพอต่อการสร้างรูปแบบภาวะผู้นำที่มีประสิทธิภาพสูงสุด จึงนำไปสู่การพัฒนาแนวคิดการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม (Cross-Cultural Perspectives) ขึ้น (Hartog and Koopman, 2001: 167)

บทที่ 5ทฤษฎีผู้นำที่เหมาะสมกับสถานการณ์และสิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน


   ทฤษฎีคุณลักษณะเด่นของผู้นำ (Trait Theory)
           นักทฤษฎีคุณลักษณะเด่นของผู้นำ (Trait Theor
           1. สต๊อกดิลล์ (Stogdill) ได้ทำการวิจัยคุณลักษณะเด่นของผู้นำ ระหว่างปี ค.ศ. 1904-1948 จำนวน 124 เรื่อง โดยเน้นการเปรียบเทียบคุณลักษณะของผู้นำ กับผู้ที่ไม่เป็นผู้นำ พบว่าคุณลักษณะที่สอดคล้องกับความเป็นผู้นำในฐานะผู้ใช้ความสามารถของตนให้ผู้อื่นปฏิบัติภารกิจได้บรรลุเป้าหมายนั้นตรงตามสมมติฐานได้แก่ ความเฉลียวฉลาด ความรู้สึกไว้ในการรับรู้ต่อความต้องการของผู้อื่น ความเข้าใจในงาน ความคิดริเริ่ม ความอดทนต่อการแก้ปัญหาต่างๆ มีความมั่นใจในตนเอง ต้องการแสวงหางานรับผิดชอบ และต้องการอยู่ในฐานะที่มีอำนาจและการควบคุม
          อย่างไรก็ตามความจำเป็นต้องใช้คุณลักษณะแต่ละชนิดมากน้อยเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับสถานการณ์ ผลวิจัยเหล่านี้ไม่สามารถระบุคุณลักษณะที่จำเป็นหรือให้ความแน่นอนว่าองค์ประกอบใดจะทำให้ผู้นำประสบความสำเร็จ
            ในปี ค.ศ. 1974 สต๊อกดิลล์ ได้ทำการสังเคราะห์ผลงานวิจัยคุณลักษณะผู้นำ ระหว่างปี 1949-1970 จำนวน 163 กรณี พบว่ามีคุณลักษณะที่เกี่ยวข้องกับความมีประสิทธิผลของผู้นำและมีทักษะใหม่ๆบางประการที่เพิ่มขึ้นดังต่อไปนี้


           คุณลักษณะและทักษะที่แยกผู้นำจากผู้ที่ไม่ใช่ผู้นำ
           คุณลักษณะ (Traits)        
           1.    ความสามารถปรับตัวเข้ากับสถานการณ์
           2.    รับรู้ไวต่อสภาพแวดล้อมทางสังคม
           3.    มีความทะเยอทะยานมุ่งความสำเร็จ
           4.    มีความเปิดเผยตรงไปตรงมา
           5.    ให้ความร่วมมือ
           6.    ตัดสินใจดี
           7.    สามารถพึ่งพาอาศัย
           8.    ต้องการมีอำนาจเหนือและมีแรงจูงใจด้านอำนาจ
           9.    มีพลังหรือมีระดับความกระตือรือร้นสูง
          10.    มีความมุมานะ พยายามอย่างต่อเนื่อง
          11.    มีความมั่นใจในตนเอง
          12.    สามารถทนต่อภาวะความเครียด
          13.    เต็มใจแสวงหางานรับผิดชอบ  
          ทักษะ(Skills)
         1.เฉลียวฉลาด, มีสติปัญญา
         2. มีทักษะด้านมโนทัศน์
         3. มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
         4. มีความนุ่มนวลและมีอัธยาศัยดี
         5. มีความคล่องแคล่วด้านการพูด
         6. มีความรอบรู้เกี่ยวกับงาน
         7. มีความสามารถจัดองค์การ หรือ ความสามารถด้านบริหาร
         8. มีความสามารถในการชักชวน
         9. มีทักษะทางสังคม



น.ส.วัขราภรณ์ เรืองสุกใส รหัส 066 การจัดการทั่วไป


SWOT
หลักการสำคัญของ SWOT ก็คือการวิเคราะห์โดยการสำรวจจากสภาพการณ์ 2 ด้าน คือ สภาพการณ์ภายในและสภาพการณ์ภายนอก ดังนั้นการวิเคราะห์ SWOT จึงเรียกได้ว่าเป็นการวิเคราะห์สภาพการณ์ (situation analysis) ซึ่งเป็นการวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน เพื่อให้รู้ตนเอง (รู้เรา) รู้จักสภาพแวดล้อม (รู้เขา) ชัดเจน และวิเคราะห์โอกาส-อุปสรรค การวิเคราะห์ปัจจัยต่าง ๆ ทั้งภายนอกและภายในองค์กร ซึ่งจะช่วยให้ผู้บริหารขององค์กรทราบถึงการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นภายนอกองค์กร ทั้งสิ่งที่ได้เกิดขึ้นแล้วและแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงในอนาคต รวมทั้งผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ที่มีต่อองค์กรธุรกิจ และจุดแข็ง จุดอ่อน และความสามารถด้านต่าง ๆ ที่องค์กรมีอยู่ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะเป็นประโยชน์อย่างมากต่อการกำหนดวิสัยทัศน์ การกำหนดกลยุทธ์และการดำเนินตามกลยุทธ์ขององค์กรระดับองค์กรที่เหมาะสมต่อไป

1. การประเมินสภาพแวดล้อมภายในองค์กร
          การประเมินสภาพแวดล้อมภายในองค์กร จะเกี่ยวกับการวิเคราะห์และพิจารณาทรัพยากรและความสามารถภายในองค์กร ทุก ๆ ด้าน เพื่อที่จะระบุจุดแข็งและจุดอ่อนขององค์กรแหล่งที่มาเบื้องต้นของข้อมูลเพื่อการประเมินสภาพแวดล้อมภายใน คือระบบข้อมูลเพื่อ การบริหารที่ครอบคลุมทุกด้าน ทั้งในด้านโครงสร้าง ระบบ ระเบียบ วิธีปฎิบัติงาน บรรยากาศในการทำงานและทรัพยากรในการบริหาร (คน เงิน วัสดุ การจัดการ) รวมถึงการพิจารณาผลการดำเนินงานที่ผ่านมาขององค์กรเพื่อที่จะเข้าใจสถานการณ์และผลกลยุทธ์ก่อนหน้านี้ด้วย
                   - จุดแข็งขององค์กร (S-Strengths) เป็นการวิเคราะห์ปัจจัยภายในจากมุมมองของผู้ที่อยู่ภายในองค์กรนั้นเองว่า
         
          ปัจจัยใดภายในองค์กรที่เป็นข้อได้เปรียบหรือจุดเด่นขององค์กรที่องค์กรควรนำมาใช้ในการพัฒนาองค์กรได้ และควรดำรงไว้เพื่อการ เสริมสร้างความเข็มแข็งขององค์กร
                   - จุดอ่อนขององค์กร (W-Weanesses) เป็นการวิเคราะห์ ปัจจัยภายในจากมุมมองของผู้ที่อยู่ภายในจากมุมมอง ของผู้ที่อยู่ภายในองค์กรนั้น ๆ เองว่าปัจจัยภายในองค์กรที่เป็นจุดด้อย ข้อเสียเปรียบขององค์กรที่ควรปรับปรุงให้ดีขึ้นหรือขจัดให้หมดไป อันจะเป็นประโยชน์ต่อองค์กร

          2. การประเมินสภาพแวดล้อมภายนอก
          ภายใต้การประเมินสภาพแวดล้อมภายนอกองค์กรนั้น สามารถค้นหาโอกาสและอุปสรรคทางการดำเนินงานขององค์กรที่ได้รับผลกระทบจากสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจทั้งในและระหว่างประเทศที่เกี่ยวกับการดำเนินงานขององค์กร เช่น อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ นโยบาย การเงิน การงบประมาณ สภาพแวดล้อมทางสังคม เช่น ระดับการศึกษาและอัตรารู้หนังสือของประชาชน การตั้งถิ่นฐานและการอพยพของประชาชน ลักษณะชุมชน ขนบธรรมเนียมประเพณี ค่านิยม ความเชื่อและวัฒนธรรม สภาพแวดล้อมทางการเมือง เช่น พระราชบัญญัติ พระราชกฤษฎีกา มติคณะรัฐมนตรี และสภาพแวดล้อมทางเทคโนโลยี หมายถึงกรรมวิธีใหม่ๆและพัฒนาการทางด้านเครื่องมือ อุปกรณ์ที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตและให้บริการ
                   - โอกาสทางสภาพแวดล้อม (O-Opportunities) เป็นการวิเคราะห์ว่าปัจจัยภายนอกองค์กร ปัจจัยใดที่สามารถส่งผลกระทบประโยชน์ ทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อการดำเนินการขององค์กรในระดับมหาภาค และองค์กรสามารถฉกฉวยข้อดีเหล่านี้มาเสริมสร้างให้ หน่วยงานเข็มแข็งขึ้นได้
                   - อุปสรรคทางสภาพแวดล้อม (T-Threats) เป็นการวิเคราะห์ว่าปัจจัยภายนอกองค์กรปัจจัยใดที่สามารถส่งผลกระทบในระดับมหภาคในทางที่จะก่อให้เกิดความเสียหายทั้งทางตรงและทางอ้อม ซึ่งองค์กรจำต้องหลีกเลี่ยง หรือปรับสภาพองค์กรให้มี ความแข็งแกร่งพร้อมที่จะเผชิญแรงกระทบดังกล่าวได้

          3. ระบุสถานการณ์จากการประเมินสภาพแวดล้อม
          เมื่อได้ข้อมูลเกี่ยวกับ จุดแข็ง-จุดอ่อน โอกาส-อุปสรรค จากการวิเคราะห์ปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกด้วยการประเมินสภาพ แวดล้อมภายในและสภาพแวดล้อมภายนอกแล้ว ให้นำจุดแข็ง-จุดอ่อนภายในมาเปรียบเทียบกับ โอกาส-อุปสรรค จากภายนอกเพื่อดูว่าองค์กร กำลังเผชิญสถานการณ์เช่นใดและภายใต้สถานการณ์ เช่นนั้น องค์กรควรจะทำอย่างไร โดยทั่วไป ในการวิเคราะห์ SWOT ดังกล่าวนี้ องค์กร จะอยู่ในสถานการณ์ 4 รูปแบบดังนี้
                   3.1 สถานการณ์ที่ 1 (จุดแข็ง-โอกาส) สถานการณ์นี้เป็นสถานการณ์ที่พึ่งปรารถนาที่สุด เนื่องจากองค์กรค่อนข้างจะมีหลายอย่าง ดังนั้น ผู้บริหารขององค์กรควรกำหนดกลยุทธ์ในเชิงรุก (aggressive - stratagy) เพื่อดึงเอาจุดแข็งที่มีอยู่มาเสริมสร้างและปรับใช้และฉกฉวยโอกาสต่าง ๆ ที่เปิดมาหาประโยชน์อย่างเต็มที่
                   3.2 สถานการณ์ที่ 2 (จุดอ่อน-ภัยอุปสรรค) สถานการณ์นี้เป็นสถานการณ์ที่เลวร้ายที่สุด เนื่องจากองค์กรกำลังเผชิญอยู่กับอุปสรรคจากภายนอกและมีปัญหาจุดอ่อนภายในหลายประการ ดังนั้น ทางเลือกที่ดีที่สุดคือกลยุทธ์ การตั้งรับหรือป้องกันตัว (defensive strategy) เพื่อพยายามลดหรือหลบหลีกภัยอุปสรรค ต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ตลอดจนหามาตรการที่จะทำให้องค์กรเกิดความสูญเสียที่น้อยที่สุด
                   3.3 สถานการณ์ที่ 3 (จุดอ่อน-โอกาส) สถานการณ์องค์กรมีโอกาสเป็นข้อได้เปรียบด้านการแข่งขันอยู่หลายประการ แต่ติดขัดอยู่ตรงที่มีปัญหาอุปสรรคที่เป็นจุดอ่อนอยู่ หลายอย่างเช่นกัน ดังนั้น ทางออกคือกลยุทธ์การพลิกตัว (turnaround-oriented strategy) เพื่อจัดหรือแก้ไขจุดอ่อนภายในต่าง ๆ ให้ พร้อมที่จะฉกฉวยโอกาสต่าง ๆ ที่เปิดให้
                   3.4 สถานการณ์ที่ 4 (จุดแข็ง-อุปสรรค) สถานการณ์นี้เกิดขึ้นจากการที่สภาพแวดล้อมไม่เอื้ออำนวยต่อการดำเนินงาน แต่ตัวองค์กรมีข้อได้เปรียบที่เป็นจุดแข็งหลายประการ ดังนั้น แทนที่จะรอจนกระทั่งสภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลงไป ก็สามารถที่จะเลือกกลยุทธ์การแตกตัว หรือขยายขอบข่ายกิจการ (diversification strategy) เพื่อใช้ประโยชน์จากจุดแข็งที่มีสร้างโอกาสในระยะยาวด้านอื่น ๆ แทน
บทที่ 2แนวคิด ทฤษฎีทางการบริหารจัดการที่สำคัญ ตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบัน
แนวความคิดการจัดการที่มีหลักเกณฑ์ (Scientific Management)
          เจ้าของทฤษฎีคือ Frederick W. Taylor (1880-1915) โดยมุ่งศึกษาและวิเคราะห์เกี่ยวกับเรื่อง เวลา และการเคลื่อนไหว หรือ "time and motion study" และได้ชื่อว่าเป็นบิดาของการจัดการแบบวิทยาศาสตร์ ในทัศนะของ Taylor เห็นว่าการปรับปรุงประสิทธิภาพของการทำงานให้ดีขึ้น ถ้าได้มีการกำหนดวิธีการทำงานให้ดีขึ้น ถ้าได้มีการกำหนดวิธีการทำงานที่ดีที่สุดวิธีเดียว และทั้งนายจ้างและลูกจ้างจะได้รับผลประโยชน์ร่วมกัน

โดยหลักการที่สำคัญของ Sciencetific Management ได้แก่
          1. การคิดค้น และกำหนด "วิธีที่ดีที่สุด" (the one best way) สำหรับงานที่ทำแต่ละอย่าง
          2. ต้องมีการคัดเลือกและพัฒนาคนงาน จัดงานให้เหมาะสมสอดคล้องกับคนงานและจะต้องมีการอบรมคนงานได้รู้จักวิธีทำงานที่ถูกต้อง
          3. ต้องมีวิธีการพิจารณาอย่างรอบคอบเกี่ยวกับวิธีการทำงานและคนงาน และเชื่อว่าคนงานจะไม่คัดค้านต่อต้านวิธีการทำงานใหม่ที่กำหนดขึ้น
          4. ต้องมีการประสานร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดระหว่างผู้บริหารและคนงาน            

          แนวคิดการจัดการแบบวิทยาศาสตร์ได้ถูกยอมรับอย่างแพร่หลายและมีอิทธิพลต่อการปฏิบัติการทางการบริหารแพร่ออกไปในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ของสหรัฐอเมริกาอย่างรวดเร็ว นอกเหนือจาก taylor ก็ยังมีนักการจัดการตามหลักวิทยาศาสตร์คนอื่น ๆ เช่น Henry Gantt, Frank และ Lillian Gilbreth เป็นต้น แต่อย่างไรก็ตาม แนวคิดนี้ก็ได้มีการถูกต้านจากผู้บริหารส่วนหนึ่ง เนื่องจากพวกเขาไม่เห็นด้วยกับการใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ทดแทนการใช้ดุลยพินิจ และคนงานก็ไม่พอใจกับการศึกษาเรื่องเวลาและการเคลื่อนไหว เพื่อนำมากำหนดเป็นมาตรฐานสำหรับทุก ๆ งาน ในทัศนะของคนงานพวกเขามีความรู้สึกว่าถูกปฏิบัติเหมือนกับเครื่องจักร Taylor ถูกมาองว่าเป็นเพียงนักปฏิบัติระดับโรงงาน ไม่ได้เป็นนักทฤษฎีองค์การ แต่อย่างไรก็ตาม แนวคิดการจัดการแบบวิทยาศาสตร์ถือได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นและมีส่วนในการช่วยพัฒนาให้เกิดแนวคิดทางการจัดการที่มีรูปแบบในลำดับต่อมา เช่น การแยกหน้าที่การวางแผนของผู้บริหารออกจากการปฏิบัติการ การแบ่งอำนาจหน้าที่ให้ชัดเจน การใช้มาตรฐานในการควบคุม ระบบการจ่ายค่าจ้างและผลตอบแทนจูงใน เป็นต้น

1.2 แนวความคิดการจัดการตามหลักการจัดการทั่วไป (The General Principle of Management) หรือ ทฤษฎีการบริหาร (Administrative Theory)
          การบริหารตามหลักวิทยาศาสตร์ได้มุ่งเน้นให้ความสำคัญในการจัดการในระดับปฏิบัติการ ซึ่งจะใช้ในวงจำกัดไม่อาจจะประยุกต์ใช้กับการจัดการในภาพรวมทั้งองค์การ ดังนั้นจึงเกิดการพัฒนาแนวความคิดทฤษฎีการบริหาร เพื่อใช้จัดการกับองค์การทุก ๆ ระดับ เรียกแนวความคิดดังกล่าวว่า ทฤษฎีการบริหาร หรือแนวคิดการจัดการตามหลักการจัดการทั่วไป โดยนักทฤษฎีการบริหารในระยะแรก คือ Henri Fayol นักอุตสาหกรรมชาวฝรั่งเศสเป็นบุคคลที่ได้ชื่อว่าเป็นบิดาของทฤษฎีการบริหาร แนวความคิดของเขาได้เขียนเป็นหนังสือ ชื่อว่า Administrative Industrille et General ถูกจัดพิมพ์ครั้งแรกในปี ค.ศ. 1916
บทที่ 3การค้นหาข้อมูลโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
เทคโนโลยี หมายถึง การประยุกต์เอาความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ ความจริงเกี่ยวกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มาทำให้เกิดประโยชน์ต่อมวลมนุษย์  เทคโนโลยี จึงเป็นวิธีการในการสร้างมูลค่าเพิ่มของสิ่งต่างๆ ให้เกิดประโยชน์มากยิ่งขึ้น เช่น ทรายหรือซิลิกอน (silikon) เป็นสารแร่ที่พบเห็นทั่วไปตามชายหาด หากนำมาสกัดด้วยเทคนิควิธีการ  สร้างเป็น ชิป (chip) จะทำให้สารแร่ซิลิกอนนั้นมีคุณค่า และมูลค่าเพิ่มขึ้นได้อีกมาก
          สารสนเทศ คือ ข้อมูลที่ได้ผ่านการประมวลผลหรือจัดระบบแล้ว เพื่อให้มีความหมายและคุณค่าสำหรับผู้ใช้
 สรุปคุณลักษณะสำคัญของ สารสนเทศ ได้ 3 ประการ คือ

1. เป็นข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลแล้ว

2. มีรูปแบบที่มีประโยชน์นำไปใช้งานได้

3. มีคุณค่าสำหรับใช้ในการดำเนินงาน หรือตัดสินใจ

          เทคโนโลยีสารสนเทศ (IT : Information Technology)
                  - การนำวิทยาการที่ก้าวหน้าทางด้านคอมพิวเตอร์และ การสื่อสารมาสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสารสนเทศ ทำให้สารสนเทศ มีประโยชน์และใช้งานได้กว้างขวางมากขึ้น
                  -  อุปกรณ์หรือเครื่องมือที่เกี่ยวข้องกับการรวบรวมประมวล เก็บรักษา และเผยแพร่ข้อมูลและสารสนเทศโดยรวมทั้งฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ ฐานข้อมูล และการสื่อสาร โทรคมนาคม

           ข้อมูล (data) คือ ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเหตุการณ์ หรือข้อมูลดิบที่ยังไม่ผ่านการประมวลผล ยังไม่มีความหมายในการนำไปใช้งาน ข้อมูลอาจเป็นตัวเลข ตัวอักษร สัญลักษณ์ รูปภาพ เสียง หรือภาพเคลื่อนไหว
บทที่ 4

แนวคิดเกี่ยวกับภาวะผู้นำ และการบริหารจัดการสมัยใหม่
 ปัจจุบันองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน  ต่างก็มีการปรับตัวกันอย่างขนานใหญ่  และแน่นอนว่าย่อมมีการเปลี่ยนแปลงภายในองค์กร  ไม่ว่าจะเป็นการปรับโครงสร้างของสายงาน  ปรับลดจำนวนพนักงาน  ปรับหน้าที่ความรับผิดชอบงาน  มีการตื่นตัวในเรื่องของการใช้เครื่องมือในการบริหารและวัดผลในหลาย ๆ แบบ  มีการกำหนดแผนงานและเป้าหมายของการทำงานแต่ละฝ่ายงานไปจนถึงแต่ละบุคคล  ไปจนถึงการใช้ระบบการจ่ายผลตอบแทนแบบ Pay for performance เป็นต้น   การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้มีผลกระทบต่อพนักงานในองค์กรทุกระดับ  โดยเฉพาะในแง่ของความรู้สึกถึงความมั่นคงในอาชีพงานที่ทำอยู่  จนบางครั้งเกิดความไม่แน่ใจ  เกิดความเครียด  มีการต่อต้านการเปลี่ยนแปลงทั้งต่อหน้าและลับหลัง  ขาดความร่วมมือฯลฯ   สิ่งที่เกิดขึ้นเหล่านี้ย่อมส่งผลเสียหายต่อองค์กรเป็นอย่างยิ่ง  ความจำเป็นของผู้บริหารหรือหัวหน้างานในทุกระดับ  จึงมีบทบาทที่สำคัญที่จะนำทีมงานของตนเองไปสู่ความสำเร็จ  ภายใต้ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น  และนี่คือความท้าทายในอนาคตของผู้นำที่จะต้องเผชิญ...

วัตถุประสงค์ของบทความนี้

          ผู้เขียนตั้งใจว่าจะให้ผู้อ่านได้เข้าใจถึงแนวคิดและบทบาทของหน้าที่ผู้นำ  ได้พัฒนาด้านทักษะการสื่อสารกับ “คน” ในเรื่องของ
- ทัศนคติเชิงบวก (Positive attitude)
- การบริหารการเปลี่ยนแปลง (Chang Management)
- การจูงใจ (Motivation)
- การบริหารทีม (Team Management)
- การจัดการความขัดแย้ง (Conflict Management)
- การสอนงาน (Coaching)
- การมอบหมายงาน (Delegation)
- การรับรู้ถึงผลย้อนกลับ (Feedback)
บทที่ 5ทฤษฎีผู้นำที่เหมาะสมกับสถานการณ์และสิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน
คุณสมบัติการเป็นผู้นำที่ดี

1. การเป็นผู้รู้จักตนเอง(Self realization)

รู้ถึงความต้องการแห่งตน

รู้ถึงวิธีการสร้างเป้าหมายแห่งตน ไม่ว่าในชีวิตส่วนตัว หรืองาน

รู้ถึงขีดความสามารถแห่งตน ที่จะกระทำการใดๆ ได้เพียงใด

รู้ถึงวิธีการควบคุมตนเอง การมีวินัยในการใช้ชีวิต และการทำงาน

รู้ถึงการเปลี่ยนแปลงที่มีผลต่อตน และการปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงนั้น

รู้ว่าตนจะต้องลงทุนอะไร เพื่อให้ได้มาซึ่งสิ่งต้องการ

รู้สึกได้ถึงความสุข ความทุกข์ ที่สัมผัสได้ด้วยตนเองโดยไม่ต้องมีผู้ไดมาชี้นำ

ยอมรับความจริงได้ทุกอย่าง ไม่หลอกตัวเอง

2.การเป็นผู้รู้จักการวิเคราะห์หาเหตุและผล (Analytical Mind)

มองทุกสิ่งที่ปรากฏต่อหน้า(Appearance)อย่างลึกซึ้ง คิดถึงที่ไป ที่มา ไม่ใช่แค่ที่เห็น

มองทุกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ลึกถึงเหตุปัจจัย (Cause) และสามารถคาดคะเนผลที่เกิดตามมา (Consequence) ในปัจจุบัน และในอนาคตได้

เป็นผู้ที่ตั้งคำถามตลอดเวลา "ใคร(Who)? ทำอะไร(What)? ที่ไหน(Where)? เมื่อไร(When)?

ทำไม(Why) อย่างไร(HOW)? " (5-W 1H)

เข้าใจถึง หลักการ "อริยสัจ" ของพระพุทธเจ้าเป็นอย่างดี

เป็นผู้ที่ช่างสังเกต ให้ความสนใจในรายละเอียดเพื่อเก็บมาเป็นข้อมูล

มองพฤติกรรมบุคคล (Person) เหตุการณ์ (Event) สามารถโยงถึง หลักการ (Principle) ได้ และ ใช้หลักการ (Principle) สร้างวิธีการปฏิบัติเพื่อแก้ปัญหา และป้องกันปัญหา เพื่อให้เกิดเหตุการณ์ (Event) ที่ต้องการ และ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของบุคคล (Person) ให้อยู่ภายไต้การควบคุมได้

3. การเป็นผู้เรียนรู้ตลอดกาล (Life Long Learning)

มีความรู้สึกว่าตนไม่รู้อะไรอีกมาก และตระหนักถึงความเป็นผู้ใฝ่รู้ตลอดเวลา

เข้าใจดีกับการเปลี่ยนแปลงของโลก ทำให้สิ่งที่เคยรู้เมื่อวันวานอาจไม่ใช่ในวันนี้อีกต่อไป

มองเห็น สิ่งของ ผู้คน เหตุการณ์ เป็นสื่อสอนตนได้ ไม่ว่าจะเป็นสิ่งดี หรือสิ่งเลว และสามารถเลือกเก็บมาจดจำ และหยิบออกมาใช้ได้อย่างเหมาะสม

ใฝ่ค้นหา ติดตาม ความรู้ทุกเรื่อง โดยเฉพาะเกี่ยวข้องกับวิชาชีพ และการดำรงชีวิต

มุ่งเรียนรู้อย่างลึกซึ้งและจริงจังให้เป็นผู้รู้และเข้าใจในแต่ละเรื่องอย่างแท้จริง

สามารถนำองค์ความรู้ที่มีอยู่มาใช้ประโยชน์ได้อย่างถูกต้อง ถูกเวลา และเหมาะสม

การเรียนรู้มี 2 อย่าง เรียนรู้ในสิ่งที่ยังไม่รู้และเรียนรู้สิ่งที่เรารู้ให้รู้มากขึ้น

นักปราชญ์บอกไว้ว่า ความรู้ที่แท้จริง คือการ "รู้ว่าเรารู้อะไร" และ "รู้ว่าเราไม่รู้อะไร" เพราะมันเป็นจุดเริ่มต้น ให้ค้นหาความรู้ใหม่ๆอยู่เสมอ

กระบวนการเรียนรู้ของบุคคล เริ่มจาก ความปรารถนาของตน (Personal Vision) ถูกตั้งไว้ และกำหนดเป็นเป้าหมายใน

ขั้นตอนของชีวิต เรียนรู้รูปแบบ ความคิดแห่งตนและผู้อื่น (Mental Model) อย่างเข้าใจ

ให้ความสำคัญกับ การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกัน (Shared vision) อย่างเปิดใจกว้าง และรับฟัง

ร่วมแรงร่วมใจทำงานเพื่อมุ่งสู่ความสำเร็จร่วมกัน (Team Llearning)

รู้จักการคิดเชิงระบบ (System thinking) มีทักษะการวิเคราะห์ มองเหตุผล และมองเห็น คาดการณ์ ผลลัพธ์ในอนาคตได้ และสามารถสังเคราะห์กระบวนการที่สามารถนำไป สู่ความสำเร็จที่ต้องการ ได้

ความรู้ดังกล่าวของบุคคลในกลุ่มที่อยู่ร่วมกัน สามารถ นำไปสู่ความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization) และสังคมแห่งการเรียนรู้ (Learning Society) ได้ในที่สุด อันเป็น สิ่งจำเป็นอย่างยิ่งในสังคมโลกยุคใหม่ (New Society) ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรง รวดเร็ว และไม่สิ้นสุด

4. ความเข้าใจในจิตวิทยาการบริหาร

ในการบริหารงาน คงจะไม่ผิดนักหากจะพูดว่าพูด "คือการบริหารคน" นั่นเอง เพราะ คน เป็นผู้กำหนด วิธีการหรือระบบ (System) การได้มาและการบริหารการใช้ไปของทรัพยากร(Resource Management) เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด และผลสำเร็จของงาน การที่จะบริหารคนซึ่งเป็นสิ่งมีชีวิตที่ มีอารมณ์ และการแสดงออกที่ซับซ้อน ไม่ตรงไปตรงมา และมักมี "เป้าหมายซ่อนเร้นแห่งตน (Hidden Agenda)" อยู่ภายในเสมอ ทำให้การบริหารยาก และไม่อาจ กำหนดผลลัพธ์ อย่างตรงไปตรงมา ได้ ผู้นำที่เข้าใจจิตใจ ของมนุษย์ หากสามารถวิเคราะห์ผลกระทบของเหตุการณ์ต่อจิตใจของคนได้ ก็จะสามารถคาดเดา พฤติกรรม แสดงออกของคนคนนั้นได้ไม่อยาก และสามารถที่จะสร้างสถานการณ์รองรับไว้ล่วงหน้าเพื่อป้องกัน ผลเสียหายจากปฏิกริยาตอบโต้ของคนได้

5. การเป็นคนดี "Good Person"

คนเก่ง และคนดีเป็นของคู่กัน แต่บางครั้งไม่ไปด้วยกัน "คนเก่ง" สร้างได้ตั้งแต่เด็กจนกระทั่งแก่เฒ่า โดยการเรียนรู้ทุ่มเท แต่ "คนดี" สร้างได้ยากกว่านักจนบางครั้งก็สร้างไม่ได้เลย คนเรามีการพัฒนา Super ego ซึ่งได้แก่ มโนธรรม และอุดมคติแห่งตนในช่วงวัยเด็ก 5-10 ขวบ จากนั้นสิ่งที่ได้รับ มาจะกลายเป็น โครงสร้างพฤติกรรม ของคนๆ นั้น(Frame of Reference)เขาจะใช้มัน ปรับให้เข้า

กับสิ่งแวดล้อม ที่สัมผัสโดยใช้ กระบวนการ ที่ซับซอ้นมากขึ้น การเป็นคนดีจะต้องมี การพัฒนาส่วนของ Super ego ของคนๆนั้น มาแล้ว เป็นอย่างดีโดย พ่อแม่ครูอาจารย์ ในช่วงปฐมวัย เมื่อเติบใหญ่ จะเป็นคนที่สามารถ ปรับสมดุล ในตนเองให้ได้ระหว่าง "กิเลส" จาก จิตเบื้องต่ำขับเคลื่อน ด้วย สัญชาติญาณแห่ง ความต้องการ ที่รุนแรงที่ไม่ต้องการเงื่อนไขและข้อจำกัดไดๆ กับ "มโนธรรม" ที่ขับเคลื่อนด้วย ความปารถนา ในอุดมคติแห่งตนที่เต็มไปด้วยเงื่อนไขและข้อจำกัดคนดี ควรมีคุณสมบัติดังนี้

มีความรู้ ไหวพริบ เฉลียวฉลาด (IQ= Intelligence Quatient) รู้แจ้งถึงความดีความชั่ว รู้ที่จะเอาตัวรอด จากเล่ห์อุบายของตัณหา คนชั่ว และนำพาตนเองและผู้คนให้เห็นแจ้งในทางที่ดีควร ประพฤติปฏิบัติได้

มีความอดกลั้น สติตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวต่อสิ่งยั่วยุ (EQ= Emotional Quatient) จนตกอยู่ในห้วง"กิเลส" คือ โลภะ โทษะ และโมหะ และเกิดปัญญาในการแก้ไข สร้างสรรค์ และเล็งเห็น ผลเลิศในระยะยาวได้

มีความอดทน มุ่งมั่น ไม่ย่อท้อต่ออุปสรรค (AQ= Adversity Quatient) พร้อมที่จะเสียสละแรงกาย เพื่อให้ได้มาซึ่งอุดมคติแห่งตน และความดีที่ยึดมั่น ไม่หวั่นไหว ต่อคงามลำบากและอุปสรรคไดๆ

ไม่เป็นผู้ยึดติดกับสิ่งไดสิ่งหนึ่งจนเกินพอดี(VQ= Void Quatient)รู้ที่จะ ปรับเปลี่ยน ตนเอง ตลอดเวลาให้สอดคล้องกับสภาวะการณ์ที่มี การเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาอย่างเหมาะสม

ป็นผู้มีศีลธรรม คุณธรรม และจริยธรรม (MQ= Moral Quatient) มีสำนึกของ "ความผิดชอบชั่วดี" มีความละอายใจต่อบาป ไม่ประพฤติชั่ว มุ่งทำแต่ความดี มีจิตใจที่ผ่องใส
บทที่ 6

การเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และวิเคราะห์ถึงผลกระทบต่อการบริหารจัดการ


การเกิดโลกภิวัฒน์ได้ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงต่อการจัดระเบียบโลกทั้งทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและเทคโนโลยีระลอกแล้วระลอกเล่าอย่างต่อเนื่องและเห็นเป็นรูปธรรม ไม่เว้นแม้แต่กลุ่มประเทศอาเซียนที่ต้องมีการปรับตัว มีการจัดระเบียบใหม่ และมีการสร้างความร่วมมือใหม่ๆในหลายรูปแบบ รวมทั้งการรวมตัวที่เรียกว่า การก้าวเข้าสู่การเป็น ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC) ในปี 2558 หรือในอีก 5 ปีข้างหน้า ซึ่งการเกิดขึ้นเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนนั้นจะส่งผลกระทบกับไทยในหลายๆด้าน รวมไปถึงด้านทรัพยากรมนุษย์ทั้งในภาพรวมของประเทศในระดับมหภาคและทั้งในระดับตัวบุคคลที่เป็นระดับจุลภาค บทความชิ้นนี้ผู้เขียนต้องการนำเสนอในเรื่องที่จะเกี่ยวข้องกับผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของบ้านเรา โดยจะนำเสนอภาพเบื้องต้นเกี่ยวกับประชาคมอาเซียน ความเป็นไปได้ของผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของประเทศไทย ข้อเสนอแนะต่อนักบริหารทรัพยากรมนุษย์เพื่อการรับมือ  และกรณีตัวอย่างขององค์กรที่มีการดำเนินการเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น โดยจะได้นำเสนอรายละเอียดต่อไป





แนวโน้นของผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นกับการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในประเทศไทย
 โดยการที่การพัฒนาไปสู่การเป็นเป็น "ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน" จะก่อให้เกิดผลสำคัญประการหนึ่งก็คือ การที่แรงงานฝีมือทั่วทั้งภูมิภาคของประชาคมอาเซียนมีเงินทุนไหลเวียนโดยเสรี โดยในปี 2553 ได้มีการลงนามตกลงร่วมกัน 4 ฉบับที่จะตกลงร่วมกันที่จะเคลื่อนย้ายบุคลากรทักษะด้านวิศวกรรม สถาปนิก พยาบาล และการสำรวจ ก่อนจะขยายกว้างไปถึงแพทย์ ทันตแพทย์ รวมถึงนักบัญชี นักกฎหมาย และอื่น ๆ ไปถึงปี 2558
เป็นที่คาดว่า เมื่อมีการเปิดเสรีแรงงานเต็มที่จะมีการเคลื่อนย้ายแรงงานทักษะ อาทิ สถาปนิกและวิศวกรในอาเซียน ไปที่สิงคโปร์และมาเลเซียมากขึ้น แต่เมื่อกรอบการขยายบวกเป็นอาเซียนบวก 3 อาเซียนบวก 6 บุคลากรในภาคต่าง ๆ เช่น ภาคการเงิน ธนาคาร และไอที คาดว่าจะมีการเคลื่อนย้ายเข้ามาเมืองไทยมากขึ้น และโอกาสที่คนไทยจะเสียเปรียบจากการถูกแย่งงานก็จะมีมากขึ้น ดังนั้น เมื่อมองจากภาพที่กำลังจะเกิดขึ้นในมิติดังที่ได้กล่าวมา ผู้เขียนมองแนวโน้มด้านทรัพยากรมนุษย์ในประเทศไทยมีโอกาสเกิดสถานการณ์ดังต่อไปนี้


1. การโยกย้ายแรงงานที่ใช้ทักษะสูงจากไทยไปยังประเทศอาเซียนอื่น เช่น สิงคโปร์ มาเลยเซีย ในทางกลับกันก็จะเกิดการย้ายแรงงานทักษะจากประเทศอื่นมายังประเทศไทย เช่น จากฟิลิปปินส์ กัมพูชา ลาว

2. การแข่งขันด้านแรงงานจะเข้มข้นมากขึ้น โอกาสที่การจ้างงานจะเป็นของนายจ้างมีมากขึ้นเพราะมีตัวเลือกในตลาดแรงงานที่มีจำนวนมากกว่าเดิม มีโอกาสที่จะจ้างงานด้วยค่าจ้างที่ถูกลงกว่าเดิม

3. ช่องว่างของความแตกต่างของศักยภาพของแรงงานทักษะจะมีช่องกว้างมากขึ้นกว่าเดิม อันเกิดจากการแข่งขันด้านการจ้างงานที่รุนแรง ทำให้แรงงานทักษะจะต้องพัฒนาตัวเองให้เกิดศักยภาพและความสามารถที่หลากหลายโดดเด่นกว่า “ผู้อื่น” ซึ่ง “ผู้อื่น” นับจากนี้ไปจึงไม่ใช่เป็นเพียงคนในตลาดแรงงานในประเทศของตนเองเท่านั้น
แต่หมายรวมไปถึงคนในตลาดแรงงานที่อยู่ในกลุ่มประเทศอาเซียนทั้งหมด 10 ประเทศด้วยกัน ดังนั้น ผู้ที่มีโอกาสในการพัฒนามากกว่าก็จะได้เปรียบมากยิ่งขึ้นไป
4. เกิดความต้องการทักษะความสามารถบางอย่างสูงกว่าที่เคยเป็นก่อนหน้านี้ โดยอย่างน้อยจะเป็นทักษะความสามารถเกี่ยวกับ
บทที่ 7




การพัฒนาองค์การไปสู่องค์การแห่งการเรียนรู้และการพัฒนาอย่างยั่งยืน



กระแสการเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งที่ต้องเผชิญไม่ว่าจะเป็นบุคคล หรือองค์กร การเปลี่ยน แปลงที่เกิดขึ้นมันรวดเร็วและรุนแรง ก็ด้วยปัจจัยที่เกิดจากการก้าวกระโดดของเทคโนโลยีสาร สนเทศ ที่พัฒนาอย่างต่อเนื่อง และความซับซ้อนของระบบเศรษฐกิจ ซึ่งส่งผลกระทบกับการดำเนิน งานทั้งภายในและภายนอกองค์การ ส่งผลให้เวทีการแข่งขันที่เคยจำกัดอยู่ในวงแคบ ๆ ขยายขอบ เขตออกไปครอบคลุมทั่วโลก และตามแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ ปี 2545-2549 ได้กำหนดให้การบริหารงานภาครัฐเข้าสู่ ระบบรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (e-Government) อีกทั้งแนวคิดในการบริหารจัดการสมัยใหม่ ทั้งการบริหารการเปลี่ยนแปลง (Change Management) การจัดการคุณภาพ (Quality Management) การจัดการห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain Management) และ การจัดการความรู้ (Knowledge Management) ทำให้องค์กรและหน่วยงานทั้งหลายต้องปรับท่าที เพื่อความอยู่รอด และมีภูมิคุ้มกันอย่างมั่นคง เพราะองค์กร เป็นสิ่งมีชีวิต (Organic) ไม่ใช่เครื่องจักร (Mechanic) โดยคนเป็นพลังขับเคลื่อนที่สำคัญ ซึ่งคนก็ไม่ใช่ต้นทุน แต่เป็นทุนมนุษย์ (Human Capital)เพราะในตัวคนมี ทักษะและประสบการณ์ที่ก่อให้ เกิดความชำนาญซึ่งเป็น “ทุนความรู้” (Knowledge Capital) จำเป็นต้องสร้างค่านิยมขององค์การ (Corporate Value) และวัฒนธรรมองค์กร (Corporate Culture) ที่ดี ความรู้ภายใต้บริบทเฉพาะมักแฝงอยู่ในภาษา วัฒนธรรม หรือประเพณี นักวิพากษ์ ลัทธิจักรวรรดินิยมทางวัฒนธรรม กล่าวว่าการเกิดขึ้นของวัฒนธรรมเดี่ยว ทำให้ความรู้ท้องถิ่นบางอย่างถูกทำลายลง ทำอย่างไรให้ความรู้ในทางปฏิบัติ ซึ่งมักเป็นที่ทราบกันในตัวคนหรือกลุ่มคน ถูกปรับเปลี่ยนและจัดการอย่างเป็นระบบ (Knowledge Management) เพื่อรักษาองค์กรไว้ ซึ่งจะต้องอาศัยกระบวนการเรียนรู้ ให้ความรู้ทั้งหลายนั้นกลายเป็นความรู้ที่เกิดประ โยชน์สำหรับคนทั้งองค์กร เพื่อการก้าวเข้าสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้


ต่าง ๆ เช่น การบรรยายข่าวสารที่ได้ยินมาโดยคำพูดของตนเอง หรือการแปลความหมายจากภาษาหนึ่งไปเป็นอีกภาษาหนึ่ง โดยคงความหมายเดิมเอาไว้ หรืออาจเป็นการแสดงความคิดเห็นหรือให้ข้อสรุปหรือการคาดคะเนก็ได้

Davenport & Prusak ได้ให้นิยามความรู้ว่า "ความรู้คือส่วนผสมที่เลื่อนไหลของประสบการณ์ที่ได้รับการวางโครงร่าง, เป็นคุณค่าต่างๆ, ข้อมูลในเชิงบริบท, และความเข้าใจอย่างถ่องแท้ที่ชำนาญการ ซึ่งได้นำเสนอกรอบหรือโครงร่างอันหนึ่งขึ้นมา เพื่อการประเมินและการรวบรวมประสบการณ์และข้อมูลใหม่ ๆ มันให้กำเนิดและถูกประยุกต์ใช้ในใจของบรรดาผู้รู้ทั้งหลาย ในองค์กรต่าง ๆ บ่อยครั้ง มันได้รับการฝังตรึงไม่เพียงอยู่ในเอกสารต่างๆ หรือในคลังความรู้เท่านั้น แต่ยังอยู่ในงานประจำ, กระบวนการ,การปฏิบัติและบรรทัดฐานขององค์กรด้วย"

ในหนังสือ “Working Knowledge: How Organization Manage What They Know” โดย ดาเวนพอร์ต ที เอ็ช และ แอล พรูสัก (Davenport, T. H., และ L. Prusak, Boston: Havard Business School Press) อ้างถึงใน องค์กรแห่งความรู้ จากแนวคิดสู่การปฏิบัติ หน้า 17 ของ รศ.ดร.ทิพวรรณ หล่อสุวรรณรัตน์ ว่า ความรู้ คือ “กรอบของการผสานระหว่างประสบการณ์ ค่านิยม ความรอบรู้ในบริบท และความรู้แจ้งอย่างช่ำชอง ซึ่งจะเป็นกรอบสำหรับประเมินค่า และการนำประสบการณ์สารสนเทศใหม่ ๆ มาผสมรวมด้วยกัน”

ยังมีผู้ให้ความหมายและคำจำกัดความอีกหลายท่านที่ไม่ได้กล่าวในที่นี้ จากสัดส่วนความรู้ในองค์กรจะพบว่า ความรู้ประเภท Tacit ซึ่งเป็นความรู้ที่ได้จากทักษะและประสบการณ์ที่อยู่ในตัวคนมีถึงร้อยละ 80 ส่วนความรู้ประเภท Explicit ซึ่งเป็นความรู้ที่เป็นเหตุและเป็นผลที่สามารถจะบรรยาย ถอดความ ออกมาในรูปของทฤษฎี การแก้ไขปัญหา คู่มือ หรือในรูปฐานข้อมูล ความรู้ประเภทนี้มีเพียงร้อยละ 20 (ในบางแนวคิดได้แบ่งความรู้ออกเป็น4 ประเภท

1. Tacit

2. Implicit

3. Explicit

4. Embedded



ความรู้ที่เกิดขึ้นเกิดจากการพัฒนาการเรียนรู้ที่มีการแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างผู้ปฏิบัติงานซึ่งมีผู้รู้ที่ศึกษาด้านนี้ และเปรียบเทียบในลักษณะของการหมุนเกลียวการเรียนรู้ (Knowledge Spiral) ซึ่งคิดค้นโดย IKUJIRO NONAGA และ TAKRUCHI ดังรูป 1 ที่แสดง ขออธิบายดังนี้ จากรูป Knowledge Spiral จะเห็นว่า

กระบวนการปรับเปลี่ยนและสร้างความรู้แบ่งออกได้เป็น 4 ลักษณะดังนี้
1. Socialization เป็นขั้นตอนแรกในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการสร้าง Tacit Knowledge จาก Tacit Knowledge ของผู้ร่วมงานโดยแลกเปลี่ยนประสบการณ์ตรงที่แต่ละคนมีอยู่



2. Externalization เป็นขั้นตอนที่สองในการสร้างและแบ่งปันความรู้จากสิ่งที่มีอยู่และเผยแพร่ออกมาเป็นลายลักษณ์อักษรเป็นการแปลงความรู้จาก Tacit Knowledge เป็น Explicit Knowledge


3. Combination เป็นขั้นตอนที่สามในการแปลงความรู้ขั้นต้น เพื่อการสร้าง Explicit Knowledge จาก Explicit Knowledge ที่ได้เรียนรู้ เพื่อการสร้างเป็นความรู้ประเภท Explicit Knowledge ใหม่ ๆ



4. Internalization เป็นขั้นตอนที่สี่และขั้นตอนสุดท้ายในการแปลงความรู้จาก Explicit Knowledge กลับสู่ Tacit Knowledge ซึ่งจะนำความรู้ที่เรียนมาใช้ในการปฏิบัติงานหรือใช้ในชีวิตประจำวัน

บทที่ 8เทคนิคการบริหารทรัพยากรมนุษย์และการจัดการที่เหมาะสมกับวัฒนธรรมไทย



การวางแผนทรัพยากรมนุษย์(Human Resource Planning)
การวางแผนทรัพยากรมนุษย์ คือ กระบวนการคาดการณ์ความต้องการของทรัพยากรมนุษย์ขององค์การเป็นการล่วงหน้า ว่าต้องการบุคคลประเภทใด ระดับใด จำนวนเท่าใด และต้องการเมื่อใด (the right people the right place, at the right time) และกำหนดวิธีการที่จะได้มาซึ่งทรัพยากรมนุษย์ที่ต้องการ ว่าจะได้มาจากไหน อย่างไร ตลอดจนการกำหนดนโยบายและระเบียบปฏิบัติต่างๆ เพื่อที่จะใช้ทรัพยากรบุคคลที่มีอยู่ให้ได้ประโยชน์สูงสุด
ความสำคัญของการวางแผนทรัพยากรมนุษย์
1. ทำให้องค์การสามารถดำเนินการอย่างมีประสิทธิผลและประสิทธิภาพในอนาคต
2. ทำให้องค์การสามารถดำเนินการอย่างมั่นคงท่ามกลางสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลง
3. ทำให้องค์การมีแผนดำเนินการอย่างละเอียด ที่จะปฏิบัติงานด้านบุคคลอย่างมีขั้นตอน เช่น การ สรรหาการคัดเลือก การโอนย้าย การเลื่อนตำแหน่ง
ประโยชน์ของการวางแผนทรัพยากรมนุษย์
1. ช่วยให้องค์การสามารถวางแผนพัฒนาการใช้ทรัพยากรมนุษย์ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ช่วยให้กิจกรรมด้านทรัพยากรมนุษย์และเป้าหมายขององค์การในอนาคตมีความสอดคล้องกัน
2. ช่วยในกิจกรรด้านทรัพยากรมนุษย์เป็นไปอย่างมีระบบและมีความสัมพันธ์ต่อเนื่องกัน
3. ช่วยให้การจ้างพนักงานใหม่เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
4. เป็นการเตรียมการให้ได้พนักงานใหม่เป็นไปตามความต้องการของแผนหรือฝ่ายต่างๆ
5. ส่งเสริมและพัฒนาโอกาลความเท่าเทียมกันของพนักงานในหน่วยงานต่างๆ ขององค์การ
6. เป็นแนวทางสำหรับองค์การที่มีหน้าที่ผลิตจะได้ผลิตกำลังคนให้สอดคล้องกับความต้องการของหน่วยงาน
กระบวนการในการวางแผนทรัพยากรมนุษย์
1. การพิจารณาเป้าหมาย และแผนขององค์การ(Goals and Plans of Organization) คือ การศึกษาและพิจารณาแผนกลยุทธ์ที่องค์การได้กำหนดไว้ศึกษานโยบายทางด้านต่างๆเพื่อที่จะนำผลของการศึกษาเหล่านี้มาจัดวางข้อมูลด้านบุคคลที่ควรจะเป็นในอนาคตได้อย่างเหมาะสม
2. การพิจารณาสภาพการณ์ของทรัพยากรมนุษย์ในปัจจุบัน(Current Human Resource Situation)
3. การคาดการณ์ทรัพยากรมนุษย์( Human Resource Forecast) จะได้ทราบจำนวนและประเภทของพนักงานที่มีอยู่จริงๆ ว่ามีจำนวนเท่าไร แล้วนำมาเปรียบเทียบกับจำนวนที่องค์การทั้งหมดก็จะสามารถรู้ว่าองค์การต้องจ้างพนักงานใหม่ในกลุ่มใดบ้าง และในระยะเวลาใด
4. การกำหนดแผนปฏิบัติการ(Implementtion Programes)
5. การตรวจสอบและการปรับปรุง(Audit and Adjustment)



 บทที่ 9

การบริหารการเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาอย่างยั่งยืน
การพัฒนาอย่างยั่งยืนของเชลล์

สำหรับเรา การมีส่วนช่วยให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน หมายถึงการช่วยตอบสนองความต้องการพลังงานที่เพิ่มสูงขึ้นของโลก ด้วยวิธีการที่ประหยัด รับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม

วิธีการของเราที่จะก้าวไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน (SD) มีผลต่อการเลือกการลงทุน ผลิตภัณฑ์ของเรา และวิธีการปฏิบัติงานของเรา
ผลิตภัณฑ์: เราจัดหาพลังงานที่ทุกคนต้องการ เราช่วยลดผลกระทบโดยการผลิตผลิตภัณฑ์ที่สะอาดมากขึ้น ก๊าซธรรมชาติที่เผาไหม้สะอาดมากขึ้น เชื้อเพลิงชีวภาพที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น และเชื้อเพลิงที่ช่วยให้ลูกค้าใช้เชื้อเพลิงได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นและลดการปล่อยมลพิษ
 การปฏิบัติงาน: เราทำงานเพื่อสร้างโครงการและดำเนินงานโรงงานของเราในลักษณะที่สร้างประโยชน์ต่อสังคมอย่างต่อเนื่อง เช่น การจ้างงานพนักงานในท้องถิ่น การใช้ผู้รับเหมาและผู้จัดหาสินค้าและบริการในท้องถิ่น และการกำหนดตัวอย่างที่ดีจากแนวปฏิบัติและจริยธรรมในการดำเนินธุรกิจ

เพื่อลดผลกระทบจากการปฏิบัติงานของเราที่มีต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม เราจึงต้องทำงานอย่างหนักเพื่อปกป้องสุขภาพและความปลอดภัยของพนักงานและชุมชนใกล้เคียง ลดการหยุดชะงักของการดำเนินงานในชุมชน ลดการปล่อยมลพิษ และลดผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพ ตลอดจนการลดการใช้พลังงาน น้ำ และทรัพยากรอื่นๆ

บุคลากร: ประสบการณ์ ความคิดสร้างสรรค์ และทักษะของบุคลากร ช่วยให้เราแข่งขันในตลาดได้อย่างประสบความสำเร็จ และตอบรับความท้าทายด้านพลังงาน เราสร้างสมดุลระหว่างผลประโยชน์ระยะสั้นและระยะยาว และผนวกรวมความห่วงใยและใส่ใจต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมเข้าไว้ในการตัดสินใจของเรา สิ่งเหล่านี้ถูกรวมไว้ในหลักการดำเนินธุรกิจของเรามาตั้งแต่ปี 1997
บทที่ 10

การแข่งขันในตลาดโลกและการปรับตัวเพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน


ความได้เปรียบทางการแข่งขัน เป็นสุดยอดปรารถนาของทุกกิจการที่ต้องดำเนินงานท่ามกลางความผันแปรที่เปลี่ยนแปลง ซึ่งทุกธุรกิจย่อมจะทำทุกวิถีทางที่จะเน้นหากลยุทธ์ที่เฉียบคมที่สุด เพื่อนำมาสู่การสร้างความได้เปรียบดังกล่าวเหนือคู่แข่ง แต่อย่างไรก็ตาม การได้มาซึ่งความได้เปรียบที่เหนือชั้นนั้น ยังไม่ยากลำบากเท่ากับรักษามันเอาไว้ บ่อยครั้งที่หลายท่านคงเห็นบริษัทที่ครั้งหนึ่งเคยเกรียงไกรอย่างมาก แต่ก็ต้องประสบกับปัญหาและสภาวะถดถอยลงไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งบางแห่งถึงกับล้ม ไปโดยที่ไม่สามารถฟื้นตัวกลับมายืนอยู่จุดเดิมได้อีกเลย

จึงเริ่มมีการพยายามวิเคราะห์หาแนวคิดกลยุทธ์ต่าง ๆ ที่นอกจากจะนำไปสู่ความได้เปรียบแล้ว ยังต้องสามารถทำนุบำรุงให้คงอยู่ในระยะยาว อย่างต่อเนื่องได้อีกด้วย เนื่องจากไม่มีคู่แข่งรายใดที่จะยอมอยู่เฉย มองดูธุรกิจของเราเติบโตต่อไปได้อย่างราบรื่น หากกิจการของเราประสบความสำเร็จในระดับหนึ่ง ก็ต้องมีผู้ที่พยายามจะเข้ามาร่วม ต่อสู้แย่งชิงผลประโยชน์จากความสำเร็จนั้นด้วย ไม่ช้าก็เร็ว

ดังนั้น จึงมีเทคนิคบางประการมานำเสนอ เพื่อนำสู่ความได้เปรียบในการดำเนินงานที่คงทนถาวรมากขึ้น
บทที่ 11

การบริหารจัดการธุรกิจสีเขียวและการวิเคราะห์ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และคุณภาพชีวิต
แนวโน้มของการพัฒนาแนวคิดกรีนหรือโลกสะอาดยังคงเป็นสิ่งที่หลายคนอยากเห็นว่าจะดำเนินไปอย่างไรในอนาคต จึงมีนักวิจัยหลายสำนักออกมาพยากรณ์เกี่ยวกับแนวโน้มของโกลบอล กรีนกันตั้งแต่ต้นปี 2012อย่างเช่นสถาบันที่มีชื่อว่าเดอะ สเปนเซอร์ อินสติ The Spencer Institute ได้เสนอข้อคิดเห็นเกี่ยวกับแนวโน้มของการดำเนินชีวิตแบบกรีนและการดำรงอยู่แบบเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในปี 2012 ไว้ว่าชีวิตในอนาคตยังคงเน้นความพยายามที่จะอยู่แบบกรีนมากขึ้นกว่าเดิม โดยคาดว่าจะเน้นในด้านอาหาร ไลฟ์สไตล์ และการพัฒนาเศรษฐกิจที่มีสัดส่วนของการเติบโตแบบกรีนมากขึ้น ทำให้สีของปี 2012 ยังคงเป็นสีเขียว และแนวคิดกรีนไม่ใช่เพียงแนวโน้มของโลกอีกต่อไป
กรีนไลฟ์สไตล์
     
กรีนไลฟ์สไตล์หมายถึงการดำรงชีวิตประจำวันแบบกรีน โดยเฉพาะความพยายามดูแลสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอ ไม่เจ็บไม่ไข้ เพื่อจะได้ไม่ต้องจ่ายเงินประกันสุขภาพที่แพงขึ้น และการเก็บภาษีด้านการรักษาพยาบาลมากขึ้น พร้อมกับเพิ่มความตั้งใจในการลดการเบียดเบียนโลกและสิ่งแวดล้อม
     
แนวคิดแบบนี้ จึงเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามจะประหยัด พร้อมทั้งเยียวยาสุขภาพร่างกายให้สมบูรณ์ แข็งแรงมากขึ้น พร้อมกับแรงบันดาลใจในการบริโภคให้น้อยลง รายจ่ายการบริโภคลดลง จะได้ลดการเบียดเบียนธรรมชาติลง และเอาเวลาที่เคยกินๆ นอนๆ ไปทำสิ่งที่เป็นสาระอย่างอื่นแทน
     
ความตั้งใจเหล่านี้มีโอกาสเกิดผลสำเร็จได้มากขึ้นในปี 2012 เพราะผู้คนได้มีการเรียนรู้ว่าการมีสุขภาพที่ดีต้องทำอย่างไร และการใช้ชีวิตแบบเลี่ยงความเสี่ยงจะต้องไม่ทำอะไรบ้างที่อาจนำไปสู่เหตุการณ์ความเสี่ยง
     
อาหารสีเขียว
ทางเลือกใหม่
     
เมื่อความตั้งใจจะมีไลฟ์สไตล์แบบกรีนเริ่มต้นขึ้น อาหารก็กลายเป็นปัจจัยสำคัญที่จะสนับสนุนการดำรงชีวิตในแบบที่ตั้งใจ อาหารออร์แกนิก ปราศจากการใช้สารเคมีหรือ GMOผ่านการดัดแปลงหรือปรุงแต่งน้อยลงให้มากที่สุด และสิ้นเปลืองหีบห่อน้อยที่สุดจะกลายเป็นทางเลือกที่ผู้คนต้องการมากขึ้นในปี 2012
     
เศรษฐกิจแบบกรีน
     
แนวโน้มที่เห็นได้ชัดเจนขึ้นคือทั้งบุคคลธรรมดาและกิจการห้างร้านจะหันไปเลือกการลงทุนและทุ่มแวลาและงบประมาณเพื่อกิจกรรมที่เป็นความรับผิดชอบต่อสังคมหรือ CSR มากขึ้น
     
ในส่วนของผู้ประกอบการ การพัฒนารูปแบบการดำเนินงานแบบกรีนมากขึ้น ถูกมองว่าจะช่วยในการสร้างความได้เปรียบด้านการแข่งขันที่ใช้กับคู่แข่งขันได้ ยกระดับคุณธรรมของบุคลากร ยกระดับสภาพแวดล้อมการทำงานให้บุคลากรมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สามารถลดค่าใช้จ่ายดำเนินงานด้านพนักงานและเพิ่มประสิทธิภาพ จนทำให้ผลการประกอบการดีขึ้น ทำให้สาธารณชนตระหนักว่ากิจการให้ความสำคัญกับการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมและใส่ใจในสินค้าและบริการที่วางจำหน่าย เพื่อตอบสนองผู้บริโภคที่ใส่ใจกับการเลือกสินค้ามากขึ้น
     
การศึกษาของบอสตัน คอนซัลติง กรุ๊ป จากผู้บริโภค 9,000 คนทั่วโลกพบว่า การเลือกซื้อกรีนโปรดักส์ยังคงมาอันดับแรก แม้ว่าภาวะเศรษฐกิจจะถดถอยลง และ 73% ของคนอเมริกันถือว่าประวัติของผู้ประกอบการในการรณรงค์เรื่องกรีนโปรดักส์เป็นตัวแปรในการตัดสินใจซื้อสินค้าและบริการ
     
นอกจากนั้น นักวิเคราะห์ยังเชื่อว่าธุรกิจด้านกรีนโปรดักส์จะกลายเป็นธุรกิจยักษ์ใหญ่ในอนาคต อย่างเช่นบริษัทซีร็อกซ์เชื่อว่ากลังจากใช้กรีนโมเดลแล้ว บริษัทจะประหยัดค่าออกแบบและต้นทุนการผลิตไปได้ไม่น้อยกว่า 2,000 ล้านดอลลาร์ หรือโตโยต้าที่ใช้สายการผลิตเดียวกับรถยนต์หลายรุ่น จนประหยัดพลังงานในโรงงานได้กว่า 30% แสดงว่าการใช้กรีนไม่ได้เป็นเพียงการทำความดี แต่ยังเป็นการเพิ่มพูนรายได้ของกิจการด้วย
     
นอกจากกิจการที่เป็นผู้ผลิตแล้ว กิจการค้าปลีกของโลกจะขยับใช้กรีนโมเดลกันมากขึ้นในปี 2012 ต่อเนื่องจากปีที่แล้ว อย่างเช่น ห้างวอลมาร์ทได้กำหนดให้กิจการคู่ค้าที่ผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคส่งให้ตนต้องตอบคำถามด้านกรีน 15 ข้อ เพื่อประเมินว่าได้มีส่วนร่วมในการพัฒนากรีนโปรดักส์อย่างเพียงพอหรือไม่
     
ตามความเห็นของแบทเทลล์ (Battelle) ได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับ 10 อันดับแนวโน้มของกรีนในอนาคต ดังนี้
     
แนวโน้มแรก การเพิ่มขึ้นของการใช้พลังงานยั่งยืนและหมุนเวียนใช้ใหม่สำหรับเครื่องปั่นไฟฟ้าใช้ อันเนื่องมาจากการเติบโตของประชากร รวมถึงการขยายตัวออกไปของตัวเมือง โดยเฉพาะในจีนและอินเดีย จะทำให้เกิดความต้องการใช้ไฟฟ้ามากขึ้น และไฟฟ้าควรจะเป็นพลังงานสะอาด หาไม่ได้มาจากการเผาเหมืองถ่านหิน หรือการสร้างมลภาวะ และแก๊สเรือนกระจก
     
พลังงานในปี 2012 จะเพิ่มความสนใจในพลังงานลม พลังงานโซลาร์ เซลล์เชื้อเพลิงเหลว เชื้อเพลงจากไบโอ เทคโนโลยีการเผาถ่านที่ทำให้โลกสะอาด
     
แนวโน้มที่สอง การบริหารทรัพยากรน้ำ ด้วยการใช้ซ้ำและรีไซเคิลน้ำมาใช้ใหม่ เป็นอีกหนึ่งของความพยายามจะประหยัดน้ำที่ใช้ในการอุปโภคบริโภคไว้ให้มากที่สุด ที่เริ่มมีความสำคัญมากขึ้นในวงการกรีนตามลำดับ
     
การดำเนินการเรื่องนี้มีความเป็นไปได้มากน้อยเพียงใดขึ้นกับความก้าวหน้าของเทคโนโลยี จนทำให้ได้เทคโนโลยีใหม่ๆ ในการบริหารจัดการน้ำได้มีประสิทธิผลมากขึ้น ควบคู่กับการปรับปรุงคุณภาพของน้ำดื่มน้ำใช้ ทำให้พี้นที่แห้งแล้งและอยู่อาศัยไม่ได้ในโลกลดลง และการตั้งโรงงานบำบัดเพื่อบริหารจัดการกับบรรดาน้ำทิ้งจากอาคารบ้านเรือน
     
แนวโน้มที่สาม การออกกฎหมายและนโยบายในการควบคุมการสร้างคาร์บอน เป็นการพยายามใช้เกณฑ์ภาคบังคับผสมกับความสมัครใจในการควบคุมระดับการสร้างคาร์บอนในระดับประเทศ โดยการลงนามร่วมกันของผู้บริหารประเทศและระหว่างรัฐบาลของประเทศต่าง ๆ
     
ในระยะต่อไป อาจมีการออกกฎหมายที่ควบคุมการระดับการสร้างคาร์บอนของรถยนต์แต่ละคันที่วิ่งอยู่บนท้องถนน หรือการเก็บภาษีรถที่สร้างคาร์บอน เพื่อให้การควบคุมคาร์บอนอยู่บนมาตรฐานเดียวกันทั่วทั้งโลก
     
การพัฒนาความเข้มงวดของกฎหมายน่าจะทำให้การผลิตสินค้าสะอาด และระบบพลังงานในรถยนต์เปลี่ยนแปลงไปอย่างถาวร
     
แนวโน้มที่สี่ คือ การเกิดธุรกิจที่ใช้โมเดลเกี่ยวข้องกับกรีนอย่างเต็มรูปแบบ ซึ่งที่ผ่านมาได้เกิดสภาวการณ์นี้แล้ว โดยเป็นกิจการที่คำนึงถึงสังคม ใช้โมเดลการดำเนินงานแบบกรีนครบวงจร และขายกรีนโปรดักส์ของตนให้กับสังคม โดยยังสามารถเลี้ยงชีพและดำรงกิจการอยู่ได้
     
การดำเนินงานของกิจการเหล่านี้ใช้เทคโนโลยีสะอาดในการดำเนินงานทั้งหมดและถ่ายนทอดลงไปสู่ผู้ประกอบการรายอื่น เช่น รับบริหารการสูญเปล่าด้านอุตสาหกรรม และการใช้พลังงานที่สิ้นเปลืองน้อยลง โดยผู้ประกอบการที่ลงทุนซื้อเทคโนโลยีกรีนเหล่านี้ก็จะได้ประโยชน์ด้วย
     
แนวโน้มที่ห้า การขนส่งและคมนาคมที่เป็นกรีน เนื่องจากไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของแก๊สเรือนกระจกมาจากรถยนต์ การสร้างรถยนต์มากขึ้นก็คือการสร้างคาร์บอนมากขึ้นด้วย
     
แนวโน้มส่วนนี้จึงเป็นการเน้นที่จะพัฒนาพลังงานหมุนเวียนและพลังงานยั่งยืนเพื่อให้กับรถยนต์ รวมทั้งอีเธอนอล และพลังงานไบโอทั้งหลาย ที่มีการสำรวจและวิจัยกันมากมาย และคาดว่าจะมีบทบาทมากขึ้นเรื่อยๆ ในอนาคต
     
ในอนาคตรถยนต์พลังงานผสมหรือไฮบริด รถยนต์ไฟฟ้า จึงเป็นสิ่งที่จะปรากฏโฉมในท้องถนนมากขึ้น
     
แนวโน้มที่หก การเพิ่มขึ้นของกรีนโปรดักส์ในท้องตลาดที่มีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นจากปัจจุบัน จากการเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้ประกอบการกรีนโปรดักส์ และการเติบโตอย่างต่อเนื่องของผู้บริโภคที่เป็นกรีน ชอปปิ้ง ซึ่งการกระจายตัวของตลาดจะทำให้ราคาต่อหน่วยของสินค้ากรีนโปรดักส์น่าจะลดลงตามลำดับ
     
แนวโน้มที่เจ็ด การพัฒนาแนวคิดเชิงระบบ (System Approach) ในการวิเคราะห์ผลกระทบของการผลิตต่อสภาพแวดล้อม เพื่อให้การวัดและประเมินผลกระทบได้อย่างแม่ยำมากขึ้น
     
แต่เดิมประเด็นนี้มีการพิจารณาแต่เพียงในระดับของท้องที่ ด้วยการประเมินตัวผลิตภัณฑ์ กระบวนการผลิต และโรงงานผลิตว่ากระทบต่อคุณภาพของสิ่งแวดล้อมอย่างไร แต่ในปี 2012 มุมมองจะเปิดกว้างมากขึ้น ตั้งแต่การผลิต การจัดจำหน่ายสินค้า และการบริโภคตลอดวิถีทางทางการตลาดและกำลังจะขยายต่อไปในระดับภาคอุตสาหกรรมและระดับมหภาค ซึ่งเป็นการพิจารณาทั้งระบบตลอดห่วงโซ่อุปทาน และพิจารณาผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมที่เป็นระดับชุมชน ระดับประเทศ และระดับโลก โดยการทำงานด้านการประเมินดังกล่าวจะใช้เทคโนโลยีและคอมพิวเตอร์มามีส่วนช่วยมากขึ้น เพื่อให้สามารถเชื่อมโยงผลกระทบได้ทั้งระบบ
     
แนวโน้มที่แปด โลกจะได้รับผลกระทบมากขึ้นจากการขยายตัวของเมืองและประชากรที่เข้าไปใช้ประโยชน์หรือทำลายทรัพยากรธรรมชาติมากขึ้น
     
การเพิ่มขึ้นของประชากรในทุกมุมโลก หมายถึงจำนวนผู้บริโภคจะมีเพิ่มมากขึ้น มลภาวะมากขึ้น ซึ่งทำให้แนวโน้มและความจำเป็นในการใช้กรีนคอนเซปต์ต้องทำอย่างจริจังมากขึ้น
     
ประชากรของโลกเพิ่มขึ้นจนผ่านระดับ 6,000 ล้านคนเมื่อปี 2000 และคาดว่าจะเพิ่มเป็น 7,800 ล้านคนในปี 2020
     
การเปลี่ยนแปลงที่อยู่ของประชากรออกไปตามการขยายตัวของครอบครัว ทำให้สิ่งอำนวยความสะดวก สาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานขยายตามออกไปด้วย
     
แนวโน้มที่เก้า ความก้าวหน้าและใช้ชีวิตอยู่บนเทคโนโลยี สารสนเทศ และการสื่อสาร ทำให้การติดต่อสื่อสารถึงกันทำได้ผ่านระบบรีโมต และทางไกล ไม่ต้องการการเดินทางไปพบกันแบบเผชิญหน้า ค่าใช้จ่ายในการเดินทางหรือการเคลื่อนที่ทางกายภาพจึงมีแนวโน้มที่จะลดลง รวมไปถึงการทำงานจากที่พักอาศัยแทนการออกไปตั้งต้นงานที่สำนักงานหรือในออฟฟิศที่ห่างไกล
     
การพัฒนาการแบบนี้ สนับสนุนแนวคิดของกรีนคอมเซปต์โดยไม่ตั้งใจ แต่เป็นไปอย่างมีประสิทธิผล
     
แนวโน้มที่สิบ อาคารบนแนวคิดกรีนจะเพิ่มขึ้น จากการที่สถาปัตย์และนักออกแบบอาคารได้คำนึงถึงรูปแบบการทำงานของอาคารที่จะช่วยลดภาวะโลกร้อนมากขึ้น
     
อาคารสมัยใหม่จึงพิจารณาการบริหารจัดการความอบอุ่นหรือความร้อนภายในอาคาร การลดการใช้ไฟฟ้าในการให้แสงสว่างแต่ให้อาคารมีแสงสว่างที่เพียงพอเอง และใช้ระบบการบริหารจัดการน้ำแบบใช้หมุนเวียนซ้ำ
     
การพัฒนาในเรื่องอาคารนี้ได้ขยายวงออกไปเป็นเรื่องของ กรีนซิตี้ หรือ อีโค ซิตี้ ไม่ใช่เพียงระดับของหมุ่บ้านหรือชุมชนเท่านั้น
     
เรื่องนี้มีอิทธิพลต่อการวางผังและการปรับปรุงผังเมืองใหม่ให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น เช่น การกำหนดพื้นที่สีเขียวเป็นภาคบังคับ การจัดพื้นที่ที่รองรับอากาศบริสุทธิ์ในชุมชน
     
เป็นที่คาดหมายกันว่า กฎเกณฑ์ที่เข้มงวดเกี่ยวกับอาคารแบบกรีนนี้จะเริ่มนำออกมาใช้ในอนาคตอันใกล้นี้ ทำให้อาคารสร้างใหม่ต้องพัฒนาระบบพลังงานทางเลือก โดยเฉพาะพลังงานโซลาร์ รวมทั้งพลังงานลม