หน้าเว็บ

บทที่ 10 การแข่งขันในตลาดโลกและการปรับตัวเพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน


น.ส.วรรณภา ปั้นนาค รหัส 5210125401038 เอกการจัดการทั่วไป ภาคปกติ

การสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน  6 มิติ
                ในยุคที่การแข่งขันมีความรุนแรง  การมุ่งเน้นกลยุทธ์การสร้างความได้เปรียบเพียงกลยุทธ์เดียวอาจส่งผลให้องค์กรไม่สามารถปรับตัวให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปได้ทันท่วงที องค์กรที่ประสบความสำเร็จหลายแห่งได้ใช้กลยุทธ์ที่หลากหลายในการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันให้เกิดขึ้น มิใช่มุ่งเน้นกลยุทธ์เฉพาะเพียงด้านใดด้านหนึ่งเท่านั้น  แต่องค์กรเหล่านี้อาจเริ่มต้นจากการใช้กลยุทธ์เพียงกลยุทธ์เดียวในการแข่งขัน เช่นDell Computer ที่ดำเนินธุรกิจจำหน่ายคอมพิวเตอร์ ได้เริ่มต้นธุรกิจด้วยการมุ่งเน้นการลดต้นทุน ขั้นตอนในการทำธุรกิจจะเริ่มจากเมื่อได้รับคำสั่งซื้อจากลูกค้า แล้วบริษัทจะติดต่อไปยังผู้ผลิตอุปกรณ์ชิ้นส่วนประกอบคอมพิวเตอร์ทันที  เพื่อให้นำชิ้นส่วนมาส่งและประกอบเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์  เสร็จแล้วก็จะดำเนินการจัดส่งให้ลูกค้าทันที  เราจะเห็นได้ว่า Dell  ไม่มีการเก็บสินค้าไว้ที่คลังสินค้าเลย  การบริหารสินค้าเช่นนี้จัดได้ว่าเป็นการมุ่งเน้นทางการลดต้นทุน  โดยเฉพาะต้นทุนของสินค้าคงคลัง  ต่อมาเมื่อการแข่งขันในธุรกิจจำหน่ายคอมพิวเตอร์มีความรุ่นแรงมากขึ้น  Dell  จึงได้นำเอากลยุทธ์ด้านอื่น ๆมาใช้ เช่น การบริการส่งสินค้าอย่างรวดเร็ว  การเน้นคุณภาพของสินค้าและการรับประกัน เป็นต้น
การสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันให้เกิดขึ้นนั้นมาจากการใช้กลยุทธ์ 6 ประการด้วยกัน ซึ่งองค์กรสามารถเริ่มต้นจากกลยุทธ์ใดกลยุทธ์หนึ่งก่อนก็ได้  แต่องค์กรจะต้องมีการพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพของกลยุทธ์ทุกกลยุทธ์ให้มีความเข้มแข็งด้วยกัน  ดังต่อไปนี้ 
                1.  ความได้เปรียบจากการเป็นผู้เข้าสู่ตลาดรายแรก (customer market advantage) ประเด็นแรกที่องค์กรจะต้องให้ความสำคัญคือการสร้างตลาดใหม่หรือเป็นผู้คิดริเริ่มใหม่ ๆ ให้กับลูกค้าซึ่งการริเริ่มในสิ่งที่คู่แข่งยังไม่สามารถทำได้นั้น
                จะทำให้องค์กรปราศจากการแข่งขันซึ่งนับได้ว่าเป็นความได้เปรียบอย่างดีเยี่ยมและเป็นจุดเริ่มต้นแห่งความสำเร็จในอนาคต เช่น Xerox  ได้ริเริ่มทำธุรกิจการถ่ายเอกสารเป็นเจ้าแรก  ลักษณะการทำธุรกิจของ  Xerox จึงมีความโดดเด่นเป็นพิเศษภายใต้การจดทะเบียนขอสิทธิบัตร  ด้วยเหตุนี้เองการตลาดของ  Xerox จึงมีความแตกต่างในด้านการนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่มีความโดดเด่นและเหนือกว่าและไม่มีองค์กรใดสามารถทำธุรกิจได้เหมือนกับ Xerox อาจกล่าวได้ว่าเป็นการสร้างความได้เปรียบในการแข่งในเรื่องการเข้าสู่การตลาดเป็นรายแรก
                2.  ความได้เปรียบในการนำเสนอผลิตภัณฑ์หรือบริการที่โดดเด่นกว่าคู่แข่ง (product and service advantage) องค์กรใดก็ตามที่สามารถตอบสนองต่อความพึงพอใจของผู้บริโภคที่มีความโดดเด่น  องค์กรนั้นถือได้ว่าเป็นองค์กรที่ใช้กลยุทธ์การสร้างความแตกต่าง  ซึ่งการสร้างความแตกต่างนี้หากจะมองย้อนกลับไปในอดีตแล้ว  เราจะพบว่าองค์กรหลายแห่งได้ใช้กลยุทธ์นี้มานานแล้ว  และมีการพัฒนาไปสู่ความได้เปรียบในการแข่งขันในระยะยาว  เช่น  Samsung  เป็นบริษัทที่จะหน่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่หรือมือถือที่เน้นรูปแบบ  สีสัน  และความทันสมัยของรูปลักษณ์ภายนอก  โดยเฉพาะอย่างยิ่งหน้าจอสีที่มีความคมชัดกว่ายี่ห้ออื่น ส่งผลให้มือถือของ Samsung มีความโดดเด่นและไม่เหมือนคู่แข่งขันรายอื่น  อย่างไรก็ตาม  ข้อด้อยของกลยุทธ์นี้ก็คือคู่แข่งขันสามารถลอกเลียนแบบได้ง่าย  ด้วยเหตุนี้  องค์กรที่ใช้กลยุทธ์ดังกล่าวจะต้องมีการปรับปรุงและพัฒนาผลิตภัณฑ์ของตนเองอยู่เสมอเพื่อให้ก้าวล้ำกว่าของคู่แข่ง
                3.  ความได้เปรียบในการสร้างห่วงโซ่คุณค่าหรือระบบธุรกิจ (Business system/value chain advantage) การบริหารกิจกรรมทางธุรกิจเพื่อให้บรรลุเป้าหมายองค์กร เรียกว่าการบริหารห่วงโซ่คุณค่าหรือระบบธุรกิจ   กิจกรรมทางธุรกิจจะเริ่มต้นจากการวิจัยและการพัฒนาผลิตภัณฑ์ การผลิตการขาย  การตลาด  การจัดจำหน่าย  และการบริการหลังการขาย  หากองค์กรธุรกิจมีความโดดเด่นในกิจกรรมทางธุรกิจ   กิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่งก็จะส่งผลให้องค์กรนั้นมีความได้เปรียบทางการแข่งขันในเรื่องนั้น ๆ หลายองค์กรพยายามสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันโดยมุ่งเฉพาะกิจกรรมทางธุรกิจที่องค์กรถนัดและมุ่งการการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง  ส่งผลให้องค์กรนั้นมีกลยุทธ์ที่เหนือกว่าคู่แข่งขัน  และกลายเป็นจุดแข็งหรือเอกลักษณ์ขององค์กรในที่สุด เช่น  บริษัท พรอกเตอร์แอนด์แกมบิล (P&G) จำกัด   มีความเชี่ยวชาญทางการตลาด  บริษัท โซนี่ จำกัด  บริษัทที่เน้นนวัตกรรมในการออกแบบผลิตภัณฑ์ได้ตรงตามความต้องของลูกค้า  บริษัท  โตโยต้า  จำกัด  เน้นประสิทธิภาพในการผลิต  และ American Express บริษัทที่ให้การบริการลูกค้าได้อย่างประทับใจ  เป็นต้น
                แนวทางที่จะเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารห่วงโซ่คุณค่า  ก็คือการติดต่อประสานงานระหว่างหน่วยงานในองค์กรเพื่อให้กิจกรรมต่าง ๆ ดำเนินไปได้ด้วยดีในบางครั้งองค์กรจำเป็นจะต้องมีการออกแบบโครงสร้างกรใหม่  เพื่อปรับรูปแบบ  และระบบการดำเนินธุรกิจให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น  ตัวอย่างขององค์กรธุรกิจที่ประสบความสำเร็จในการปรับเปลี่ยนระบบการดำเนินธุรกิจ  ก็คือสายการบิน  Southwest สายการบิน Southwest มีกำไรเพิ่มขึ้นจาการปรับระบบธุรกิจให้สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้า ไม่ว่าจะเป็นเรื่องขั้นตอนการเลือกที่นั่งของลูกค้าหรือการให้บริการลูกค้าสรุปแล้วจะเห็นได้ว่าห่วงโซ่คุณค่านั้นมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อองค์กรธุรกิจที่
                จำหน่ายผลิตภัณฑ์และธุรกิจขายบริหารจำไว้ว่าการจะทำให้ห่วงโซ่คุณค่าขององค์กรมีความโดดเด่นและเหนือกว่าคู่แข่งขันนั้น  องค์กรจำเป็นจะต้องกำหนดวัตถุประสงค์ของกิจกรรมทุก ๆ กิจกรรมไว้อย่างชัดเจน  และให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน
                4.  ความได้เปรียบของแหล่งทรัพยากร (System assets / resources advantages) ทรัพยากรขององค์กรประกอบไปด้วยสินทรัพย์ที่ตัวตน เช่น ผลิตภัณฑ์และอาคาร และสินทรัพย์ที่ไม่มีตัวตน เช่น ลิขสิทธิ์ ตราสินค้า และชื่อเสียงขององค์กร องค์กรส่วนใหญ่จะใช้ประโยชนจากทรัพยากรที่มีอยู่ในการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันให้เกิดขึ้น ซึ่งการใช้ทรัพยากรเพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันให้เกิดขึ้นนี้ เรียกว่าAsset Based Competitive Advantages เช่น Coca – Cola เป็นบริษัทที่มีชื่อเสียงทางด้านเครื่องดื่มน้ำอัดลมจนเป็นที่รู้จักกันทั่วโลกมีมูลค่าของตราสินค้า  (brand equity) สูงมาก ประกอบกับ Coca – Cola  มีระบบการจัดจำหน่ายสินค้าที่มีประสิทธิภาพ  มีทรัพยากรในการขนส่งสินค้าอย่างครบครัน  ปัจจุบัน Coca – Cola  มีความได้เปรียบทางการแข่งขันในด้านทรัพยากรที่มีอยู่  นั่นคือระบบการจัดจำหน่ายที่มีประสิทธิภาพและตราสินค้าที่มีชื่อเสียง
                5.  ความได้เปรียบในเรื่องพันธมิตร (Partner advantage) การมีพันธมิตรที่ดีจะช่วยสนับสนุนให้องค์กรสามารถพัฒนาธุรกิจอย่างรวดเร็ว หลายองค์กรพยายามค้นหาคู่ค้าเพื่อสร้างเป็นพันธมิตรในการทำธุรกิจระยะยาว เช่น Rover ได้ประสบปัญหาด้านธุรกิจจำหน่ายรถยนต์กับสภาวะการขาดทุนและไม่สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้อีกจนกระทั่ง Honda ได้เข้ามาร่วมลงทุนขอเป็นพันธมิตรด้วยและได้ช่วยทำให้ Rover สามารถขายกิจการของตนเองได้กับ BMW ได้  การสร้างพันธมิตรทางธุรกิจไม่ใช่เรื่องง่ายที่องค์กรใดก็สามารถทำได้  องค์กรจะต้องมีการคัดเลือกพันธมิตรให้เหมาะสมกับองค์กรของตน  เปรียบเสมือนการรวมจุดแข็งขององค์กรสองฝ่ายเข้าด้วยกันเพื่อสร้างผลประโยชน์สูงสุดให้เกิดขึ้นและนำไปสู่ความได้เปรียบทางการแข่งขันต่อไป
                6.  ความได้เปรียบในการประหยัดต้นทุนในการผลิต  (Scale and scope advantage) องค์กรสามารถสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันให้เกิดขึ้นได้ด้วยการมุ่งเน้นการสร้าง Economies of Scope นั่นคือ ความสามารถในการลดต้นทุนโดยใช้ทรัพยากรร่วมกันของหน่วยธุรกิจต่าง ๆ เราจะสังเกตเห็นได้ว่าโรงงานขนาดใหญ่มักจะมีต้นทุนการผลิตต่อหน่วยต่ำเนื่องจากผลิตสินค้าหลายประเภทเป็นจำนวนมาก   จึงสามารถให้ทรัพยากรในการผลิตร่วมได้ก่อให้เกิดการประหยัดต้นทุนในการผลิต ส่วนหลักการของ Economies of Scale จะเน้นไปในเรื่องของการผลิตในปริมาณที่มากเพื่อให้ต้นทุนต่อหน่วยต่ำลง

กลยุทธ์การสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันจะประสบความสำเร็จได้นั้นองค์กรจะต้องมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่องและใช้กลยุทธ์ทั้ง 6 มิตินี้ก็คือ  Singapore Airline ซึ่งเป็นสายการบินที่เริ่มต้นจากการใช้กลยุทธ์การสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน แล้วมีการพัฒนากลยุทธ์ในด้านอื่น ๆในระยะเวลาต่อมา โดยสรุปแล้ว Singapore Airline มีการใช้ยุทธ์ดังนี้

               กลยุทธ์การสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันในเรื่องของการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด (Resource advantage) Singapore Airline มีรัฐบาลสิงคโปร์เป็นเจ้าของสายาการบินและเป็นเจ้าของท่าอากาศยาน  ส่งผลให้ต้นทุนในการบริการต่ำกว่าคู่แข่งขันมาก  นอกจากนี้ Singapore Airline ยังมีระบบการบริหารกิจกรรมทางธุรกิจได้เป็นอย่างดงาม
                เช่น มีการจัดระบบการจองตั๋วเครื่องบินที่รวดเร็วถูกต้อง และทันสมัยอยู่ตลอดเวลา Singapore Airline จึงมีความได้เปรียบในการแข่งขันตามหลักการของ Asset-Based Competitive Advantage การมีพันธมิตรที่ดีเป็นหนทางสู่ความสำเร็จได้ในอนาคต (Partner advantage)
                  Singapore Airlines  มีเครือข่ายพันธมิตรมากทั้งในแถบยุโรปและอเมริกาซึ่งการมีพันธมิตรจำนวนมากนี้เอง  ส่งผลให้ลูกค้าที่อยู่ทางยุโรปและ
                  อเมริกาสามารถเลือกการเดินทางมายังแถบเอเชียได้โดยใช้บริหารของ Singapore Airline เพราะการเดินทางมีความสะดวกและรวดเร็ว
                  Singapore Airline เป็นสายการบินขนาดเล็ก ดังนั้น Singapore Airline จึงไม่สามารถใช้กลยุทธ์ทางด้าน Economies of Scaleได้ อย่างไรก็ตาม Singapore Airline จำเป็นที่จะต้องปรับกลยุทธ์ของตนให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมของตลาด เนื่องจากสภาวะการแข่งขันค่อนข้างสูงหากสายการบินคู่แข่งมีการปรับตัวและพัฒนาการให้บริการที่เหนือกว่าแล้ว Singapore Airline ก็จำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนตาม

ในปี  2547 ได้มีการจัดอันดับขีดความสามารถทางการแข่งขันของประเทศต่าง ๆ จากการจัดอันดับของ World Economic Forum (WEF) โดยดูปัจจัยหลัก ๆ เช่น โครงสร้างพื้นฐาน ประสิทธิภาพของภาคธุรกิจ ประสิทธิภาพของรัฐบาล และศักยภาพทางเศรษฐกิจ เป็นต้น  ดังตารางที่ 1    

อันดับ
ประเทศ (ลำดับปีที่แล้ว)
1.
ฟินแลนด์ (1)
4.
ไต้หวัน (5)
7.
สิงคโปร์ (6)
9.
ญี่ปุ่น (11)
29.
เกาหลี (18)
31.
มาเลเซีย (29)
34.
ไทย (32)
                                       ตารางที่ 1 – ขีดความสามารถทางการแข่งขัน 2004
Source : World Economic Forum (2004) The Global Competitiveness Report 2004-2005

            ประเทศไทยมีการจัดอันดับอยู่ที่ 34 เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่น ๆ เมื่อสำรวจรายชื่อแต่ละประเทศแล้วจะเห็นว่าประเทศเหล่านี้จะเน้นสินค้าเทคโนโลยีชั้นสูง (High Technology)  เช่น คอมพิวเตอร์ของไต้หวัน เครื่องใช้ไฟฟ้าของประเทศเกาหลีใต้ รถยนต์ที่มีคุณภาพจากญี่ปุ่น เป็นต้น 

มหาวิทยาลัยราชมงคลพระนคร


น.ส.ชนรตา เหล็กกล้า กศ.พบ.รุ่น19



บทที่ 6

การเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน

ปัจจุบัน ประชาชนโดยทั่วไปของประเทศสมาชิกอาเซียน ซึ่งรวมถึงคนไทยยังไม่ได้มีความรู้สึกถึงความเป็น "พลเมืองอาเซียน" จากรายงานผลการสำรวจข้อคิดเห็นเกี่ยวกับทัศนคติเกี่ยวกับการรับรู้เรื่องอาเซียน พบว่าประชาชนส่วนใหญ่มีความรู้สึกว่าตนเองเป็น "พลเมืองอาเซียน" ไม่ถึงร้อยละ 65

ในฐานะที่ประเทศไทยเป็นหนึ่งในสมาชิกก่อตั้งอาเซียน รัฐบาลไทยได้ให้ความสำคัญในการเตรียมความพร้อมของประเทศเพื่อร่วมผลักดันให้เกิดการสร้างประชาคมอาเซียนภายในปี 2558 ที่เน้นการปฏิบัติและเชื่อมโยงยิ่งขึ้น เพื่อผลประโยชน์ของประชาชนในภูมิภาค ตามที่ปรากฏในปฏิญญาชะอำ หัวหิน ว่าด้วยแผนงานสำหรับประชาคมอาเซียน พ.ศ. 2552-2558 ซึ่งประเทศไทยมีข้อผูกพันร่วมกับสมาชิกอาเซียนที่จะส่งเสริมให้ประชาชนอาเซียนมีส่วนร่วมและได้รับประโยชน์จากการรวมตัวของอาเซียน และกระบวนการเป็นประชาคมอาเซียน นอกจากนี้ ในวาระที่ไทยดำรงตำแหน่งประธานอาเซียนเมื่อปี 2522 รัฐบาลไทยได้ผลักดันให้เกิดการบรรลุเป้าหมายกฎบัตรอาเซียน (Realizing the ASEAN Chater) การเสริมสร้างประชาคมอาเซียนที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง (Revitalizing a people-centred ASEAN Community) และการเน้นย้ำความมั่นคงของประชาชนในภูมิภาค (Reinforcing human security for all) เป็นต้น อันจะทำให้ประชาชนสามารถก้าวสู่การเป็นประชาคมอาเซียน ได้อย่างบรรลุผลได้ภายในปี 2558

รัฐบาลได้ให้ความสำคัญกับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อนำประเทศไทยไปสู่การเป็นประชาคมอาเซียนที่สมบรูณ์ โดยสร้างความพร้อมและความเข้มแข็งทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม และการเมืองและความมั่นคง โดยที่ประชาคมอาเซียนทั้งสามเสาหลักมีความสำคัญเท่าเทียมกัน ควรมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่องไปพร้อมๆ กัน การกำหนดการก้าวไปสู่ประชาคมเป็นวาระแห่งชาติ จึงควรครอบคลุมทั้งสามเสา เพื่อประกอบกันเป็นประชาคมอาเซียนที่ครบถ้วนสมบรูณ์ โดยมีคณะกรรมการอาเซียนแห่งชาติเป็นกลไกระดับประเทศในการประสานการดำเนินงาน และติดตามความคืบหน้าในภาพรวมทุกเสา และมีหน้าที่สำคัญในการผลักดันและสนับสนุนหน่วยงานราชการต่างๆ ในการดำเนินการเพื่อก้าวไปสู่ประชาคมอาเซียน และได้มีการจัดทำแผนงานแห่งชาติสำหรับการก้าวไปสู่การเป็นประชาคมอาเซียนด้วย



บทที่7

องค์ประกอบขององค์การแห่งการเรียนรู้

องค์การแห่งการเรียนรู้ คือ การพัฒนาศักยภาพและขีดความสามารถของคนทำงานบนพื้นฐานของการเรียนรู้ โดยมีกระบวนการดังนี้

กำหนดกลยุทธ์ที่เหมาะสมในเชิงปฏิบัติการ คือ

กลยุทธ์ชี้นำ โดยคณะผู้บริหารระดับสูงร่วมรับผิดชอบและสนับสนุน

กลยุทธ์ปลูกผัง โดยให้คณะทำงานในสายงานด้านทรัพยากรบุคคลเป็นผู้รับผิดชอบ

กลยุทธ์ปฏิรูป โดยคณะทำงานพิเศษจากทุกๆหน่วยงานในองค์การมาร่วมกันรับผิดชอบดำเนินการ

กำหนดแผนงานให้ชัดเจน

เปิดอาโอกาสให้ทุกคนรับรู้กลไกของการพัฒนาและผลกระทบทุกๆด้านที่จะเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลง

พัฒนาพื้นฐานสำคัญขององค์การเรียนรู้

พัฒนาพนักงานในระดับผู้นำองค์การ ไม่ว่าจะเป็นหัวหน้าโครงการ หรือหัวหน้าทีมงาน ให้มีความเข้าใจบทบาทของผู้นำในองค์การเรียนรู้จะได้มีการปฏิบัติให้มีคุณลักษณะเป็นผู้มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ เป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ และเป็นผู้ให้การสนับสนุนผู้อื่นในการปฏิบัติงานให้ราบรื่น

มอบหมายพันธกิจ และกระบวนงานต่างๆแก่ทีมงานเพื่อให้สามารถบริหารและรับผิดชอบด้วยตัวเองได้ เพื่อเป็นการให้อำนาจแก่พนักงาน จะได้เกิดความคล่องตัว

สร้างวัฒนธรรมองค์การด้านการพัฒนา และปรับปรุงงานให้ดีขึ้นตลอดเวลา

ทำการประเมินผล เพื่อปรับปรุงผลงานอยู่เสมอ



บทที่ 8

ทฤษฎีเกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรมนุษย์

การบริหารทรัพยากรมนุษย์มีจุดเริ่มต้นจากการที่ผู้บริหารให้ความสำคัญกับคนว่าเป็นปัจจัยสำคัญในการผลิต นับตั้งแต่มีการปฏิวัติอุตสาหกรรมเป็นต้นมา โรงงานอุตสาหกรรมส่วนใหญ่นำเครื่องจักรและเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาใช้เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการผลิต ทำให้ต้องใช้แรงงานคนที่มีทักษะฝีมือเข้ามาทำงานเป็นผู้ควบคุมเครื่องจักเหล่านั้น ส่งผลให้มีการศึกษาค้นคว้าวิจัยเกี่ยวกับการบริหารคนอย่างไรให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงานมากที่สุด แนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการบริหารทรัพย์มนุษย์อีกหนึ่งแนวคิดคือ แนวคิดการบริหารแบบวิทยาศาสตร์ (scientific management) ผู้ที่ทำการศึกษาแนวคิดนี้คือ เฟรเดอริค ดับเบิลยู เทเลอร์ ในปี 1856 – 1915 เทเลอร์เป็นผู้ที่ได้รับการยอมรับให้เป็นบิดาการบริหารแบบวิทยาศาสตร์ จากการที่เขาทำงานอยู่บริษัท Midvale Steel เขาพบว่าคนทำงานได้ไม่เต็มกำลังความสามารถ เทเลอร์จึงศึกษาหาวิธีการทำงานที่ดีที่สุด โดยศึกษาหาวิธีการทำงานที่ดีที่สุดสำหรับงานแต่ละงาน มีการคัดเลือกคนเข้าทำงาน โดยใช้กระบวนการคัดเลือกที่เป็นวิธีทางวิทยาศาสตร์เพื่อให้ได้คนที่มีความรู้ความสามารถเหมาะสมที่สุดเข้ามาทำงาน นอกจากนั้นเทเลอร์ยังใช้วิธีการจูงใจคนงานให้เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานด้วยการจ่ายค่าจ้างแบบรายชิ้น จูงใจให้คนงานทำงานให้เกินกว่ามาตรฐานที่กำหนด จากแนวคิดที่เทเลอร์ได้ทำการศึกษาไว้ สามารถนำมาเป็นแนวทางในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ได้ ไม่ว่าจะเป็นการออกแบบงาน การคัดเลือก รวมถึงการกำหนดรูปแบบการจ่ายค่าตอบแทนให้แก่บุคคล

อ้างอิงจาก หนังสือ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ ของ อ.ชลลดา พึงรำพรรณ

นางสาว วณิดา สามทอง สขา การจัดการทั่วไป รหัส 5210125401065



นวัตกรรม : “กลยุทธ์สู่การแข่งขันระดับโลก”

องค์กรต่าง ๆ ในประเทศไทยจำนวนมากได้ให้ความสำคัญกับนวัตกรรมเป็นอย่างมาก เช่น บริษัท ปูนซีเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) ได้จัดให้ปี 2548 เป็นปีแห่งนวัตกรรม (Year of Innovation) มีกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมของแต่ละบริษัทในเครือ และมีการประกวดแนวคิดด้านนวัตกรรมที่สามารถประยุกต์ใช้งานได้จริง ผู้ชนะเลิศจะได้เงินสดเป็นรางวัลถึง 1 ล้านบาท

เมื่อองค์กรสามารถสร้างนวัตกรรม พร้อมทั้งมีการจัดการที่ดีในด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการตลาด การเงิน การผลิต และด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องได้แล้ว ก็จะทำให้องค์สามารถที่จะสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน (Competitive Advantage) ได้ และตามทฤษฎี Michael E.Porter ซึ่งกูรูท่านหนึ่งทางด้านการจัดการ ได้กล่าวถึงการสร้างกลยุทธ์ที่สำคัญของการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน ประกอบด้วย

1. กลยุทธ์ต้นทุน (Cost Strategy) กิจการต่าง ๆ พยายามลดต้นทุนจนทำให้สร้างความได้เปรียบกว่าคู่แข่งขันเช่น Wal-Mart ได้รับการยอมรับว่ามีประสิทธิภาพในการนำนวัตกรรมด้านการจัดการเกี่ยวกับ การบริหารห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain Management : SCM) เพื่อลดต้นทุน ด้วยมีการนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ เข้ามาประยุกต์ใช้ในการติดต่อระหว่าง Supplier และศูนย์กระจายสินค้า (Distribution Center : DC)จนทำให้ สามารถตั้งราคาได้ต่ำของสินค้าแต่ละชิ้น (Stock Keeping Unit : SKU) กว่าคู่แข่งขันได้

2. กลยุทธ์ความแตกต่าง (Differentiate Strategy) – ในอดีตสินค้ามักจะมีการผลิตที่เป็นจำนวนมาก (Mass Production) ตามความต้องการของผู้ขาย แต่ปัจจุบันจะทำเช่นนั้น ไม่ได้อีกแล้ว เพราะกลุ่มลูกค้ามีความต้องการหลากหลาย ทำให้ต้องมีการสร้างความแตกต่างมากกว่ารายอื่น เช่น PDA ของ บริษัท Palm Inc. มีการพัฒนาเทคโนโลยีและสามารถสร้างความแตกต่างได้มากกว่าคอมพิวเตอร์รูปแบบเดิมที่มีขนาดใหญ่กว่าและไม่สะดวกในการพกพาได้

3. กลยุทธ์มุ่งเฉพาะกลุ่ม (Niche or Focus Strategy) – ปัจจุบันโทรศัพท์มือถือ มีประสิทธิภาพทั้งสามารถส่งข้อมูลเสียงจนมาถึงส่ง (Short Message Service: SMS) และ Multi Message Service : MMS) ได้ มีธุรกิจหนึ่งที่กำลังน่าสนใจมากคือ Digital Content เป็นธุรกิจที่จะหาเนื้อหาหรือข้อมูลใหม่ ๆ เช่น ข้อมูลตลาดหุ้น รายงานผลการแข่งขันกีฬา เป็นต้น เพื่อบริการกลุ่มลูกค้ากลุ่มหนึ่งที่มีพฤติกรรมชอบใช้เทคโนโลยี ใหม่ ๆ ควบคู่ไปกับการดำเนินชีวิตประจำวัน ถึงแม้คนกลุ่มนี้จะยังมีไม่มากก็ตาม



อ้างอิง: http://tulip.bu.ac.th/~jarin.a/content/Innovation/compet_advantage.htm



นางสาววณิดา สามทอง สาขาการจัดการทั่วไป รหัส 5210125401065



การจัดการการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรม

ผู้บริหารส่วนใหญ่วิตกมากเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลง แต่ผู้บริหารน้อยคนที่จะซึ้งว่าการเปลี่ยนแปลงมีผลต่อวัฒนธรรมด้านใด ผลก็คือ บ่อยครั้งที่การเปลี่ยนแปลงไม่สำเร็จ สิ่งที่ตามมาคือ ความโกรธ บุคลากรอารมณ์เสีย ตู้เอกสารเต็มไปด้วยแผนงานต่างๆ การเปลี่ยนแปลงไม่ว่าเรื่องใดเป็นการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมด้วยเช่นกัน

มีคำแนะนำ 5 ประการสำหรับผู้บริหารที่รับคำท้าและการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรม

1.ตระหนักว่า ความเห็นพ้องของกลุ่มเพื่อนมีอิทธิพลสำคัญต่อการยอมรับหรือความเต็มใจที่จะเปลี่ยนแปลง

2.สื่อสารและเน้นความไว้วางใจสองทางในทุกๆเรื่องที่เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลง

3.ให้คิดว่าการเปลี่ยนแปลงเป็นการสร้างทักษะและเน้นการอบรมให้เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเปลี่ยนแปลง

4.ให้เวลาเพียงพอสำหรับการเปลี่ยนแปลง

5.กระตุ้นให้คนประยุกต์ความคิดพื้นฐานของการเปลี่ยนแปลงให้เหมาะกับโลกโดยรอบตัว

ข้อเสนอแนะ

ที่จะทำให้การเปลี่ยนแปลงสำเร็จมีหลายร้อยประการ แต่ข้อเสนอแนะ 5 ประการข้างต้น ความเห็นพ้องต้องกัน ความไว้วางใจต่อกัน การสร้างทักษะ ความอดทน และความยืดหยุ่น น่าจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการแก้ปัญหาที่ยุ่งยาก



ชื่อหนังสือ: สร้างวัฒนธรรมให้แก่องค์การ สร้างวิถีทางสู่ความเป็นเลิศ

ผู้แต่ง: Terrence E. Deal and Allan A. Kennedy

ปีที่พิมพ์: 2535


นางสาววณิดา สามทอง สาขาการจัดการทั่วไป รหัส 5210125401065



เทคนิคในการบริหารทรัพยากรมนุษย์



ความร่วมมือของสายงานหลักและงานที่ปรึกษาในด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ (Cooperative line and staff human resource management) อาจกล่าวได้ว่า เราไม่สามารถแยกกิจกรรมการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของผู้บริหารตามสายงานหลัก และผู้บริหารายงานที่ปรึกษาออกจากกันได้อย่างแน่นอน

มีการกล่าวการแสดงถึงความรับผิดชอบเกี่ยวกับทรัพยากรมนุษย์ของผู้บริหารตามสายงานหลัก และผู้บริหารตามสายงานที่ปรึกษาใน 5 ด้าน ดังนี้

1.การสรรหาและการคัดเลือก (Recruitment and selection)

2.การฝึกอบรมและการพัฒนา (Training and development)

3.การจ่ายค่าตอบแทน (Compensation)

4.แรงงานสัมพันธ์ (Labor relations)

5.ความมั่นคงและความปลอดภัยของพนักงาน (Employee security and safety)

ตัวอย่าง ในการสรรหาและการจ้างงาน เป็นหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้บริหารตามสายงานหลักที่จะต้องกำหนดคุณลักษณะเฉพาะของพนักงานที่ต้องการเพื่อบรรจุในตำแหน่ง เมื่อมีการรับพนักงานผู้บริหารตามสายงาน แผนกทรัพยากรมนุษย์จะคัดเลือกผู้สมัครตามที่สายงานหลักต้องการ และทำการกลั่นกรองขั้นต้นด้วยการสัมภาษณ์ จัดการทดสอบที่เหมาะสม แล้วทำบันทึกอ้างอิงตัวผู้สมัครที่เหมาะสมที่สุดเพื่อส่งไปยังหัวหน้างาน (ผู้บริหารตามสายงานหลัก)



ชื่อหนังสือ: การบริหารทรัพยากรมนุษย์ ฉบับสมบรูณ์

ผู้แต่ง: ผู้ช่วยศาสตราจารย์สมชาย หิรัญกิตติ

ปีที่พิมพ์: 2542