หน้าเว็บ

นายชัยวัฒน์ โฉมสุข


เส้นทางสู่ความเป็นผู้นำที่ยิ่งใหญ่
ภาวะผู้นำที่ดีต้องฝึกฝน มิใช่เป็นมาแต่เกิด ถ้าท่านมีความปรารถนาหรือมีกำลังใจ      ท่านสามารถที่จะเป็นผู้นำที่มีประสิทธิผลได้ การพัฒนาความเป็นผู้นำเป็นกระบวนการที่ไม่มีที่สิ้นสุด เป็นเรื่องของการศึกษาด้วยตนเอง เข้ารับการศึกษาหรือหาประสบการณ์ก็ได้ ข้อแนะนำต่อไปนี้เป็นกระบวนการที่ช่วยท่านได้
              เพื่อดลใจให้บุคลากรของท่านทำงานเป็นทีมได้ดีขึ้น แน่นอนมีหลายสิ่งที่ท่านต้อง เป็น ต้องรู้ และทำได้ สิ่งเหล่านี้มิใช่เป็นธรรมชาติแต่ต้องศึกษาและทำงาน ผู้นำที่ดีที่สุดต้องศึกษาและทำงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อการปรับปรุงทักษะของผู้นำ
              ก่อนเริ่มต้นศึกษา ขอนิยามคำว่า “ภาวะผู้นำ” ก่อน ภาวะผู้นำเป็นกระบวนการที่ค่อนข้างซับ
ซ้อน เป็นสิ่งที่คนใช้อิทธิพลต่อคนอื่น เพื่อทำให้ภารกิจ งาน    และวัตถุประสงค์ต่าง ๆ ขององค์การบรรลุผล    เป็นวิธีทำให้เกิดการเชื่อมโยงและประสานสามัคคี     การที่บุคคลดำเนินการให้กระบวนการดำเนินการได้เป็นเรื่องของคุณลักษณะของผู้นำ(ความเชื่อ ค่านิยม จริยธรรม คุณลักษณะความรู้และทักษะต่าง ๆ) ถึงแม้ตำแหน่งของท่านจะเป็นผู้จัดการ หัวหน้างาน ผู้นำ ฯลฯ ใช้อำนาจหน้าที่ (authority)  ท่านทำงานให้สำเร็จบรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การ อำนาจเหล่านี้    ก็มิได้ทำให้ท่านเป็นผู้นำท่านเป็นเพียงเจ้านาย ภาวะผู้นำทำให้บุคลากรมีความปรารถนาอยากทำงานให้เสร็จตามเป้าหมาย     และวัตถุประสงค์ ในทางกลับกันเจ้านายจะสั่งการให้คนทำงานให้เสร็จ
              บาส  Bass 1 มีทฤษฎีภาวะผู้นำที่สามารถอธิบายได้ 3 วิธีการ     ว่าบุคคลจะกลายเป็นผู้นำได้อย่างไร
              1. บุคลิกภาพของบุคคลบางคน ทำให้เขามีบทบาทของผู้นำตามธรรมชาติ       นี่คือ ทฤษฎีคุณลักษณะ (Trait  Theory)
              2. ภาวะวิกฤต หรือเหตุการณ์สำคัญ  ทำให้บุคคลมีโอกาสดึงคุณลักษณะภาวะผู้นำจากบุคคลธรรมดา นั่นคือ ทฤษฎีเหตุการณ์สำคัญ (The Great  Events  Theory)
              3. บุคคลสามารถเลือกเป็นผู้นำ  บุคคลสามารถเรียนรู้ทักษะ ภาวะผู้นำนี่คือ ทฤษฎีภาวะผู้นำการเปลี่ยนโฉม  (The  Transformation  Theory)  ทฤษฎีนี้เป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางในปัจจุบัน
              เมื่อบุคลากรตัดสินใจที่จะยอมรับท่าน เป็นผู้นำ เขามิได้คำนึงถึงคุณลักษณะของท่าน   เขาจะเฝ้าสังเกตว่าท่านทำอะไร เพื่อเขาจะสามารถรู้ว่า ท่านเป็นใครอย่างแท้จริง เขาใช้วิธีการสังเกตเพื่อให้รู้ว่าท่านน่าเคารพนับถือ หรือน่าไว้เนื้อเชื่อใจหรือไม่ หรือเป็นบุคคลที่ทำเพื่อตัวเอง    หรือใช้อำนาจหน้าที่ในทางที่ผิดเพื่อให้ดูดี หรือเพื่อความก้าวหน้าผู้นำที่ทำเพื่อตนเอง มิใช่ผู้นำที่มีประสิทธิผลบุคลากรเพียงเชื่อฟังท่านแต่ไม่ปฏิบัติตามท่าน เขาประสบความสำเร็จในหลายด้าน      เพราะเขาสร้างภาพลักษณ์ที่ดี เพื่อให้เจ้านาย หน่วยเหนือเห็นจากการใช้บุคลากรของเขา

              พื้นฐานของภาวะผู้นำที่ดี ก็คือ มีความน่าเชื่อถือและไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนในสายตาของบุคลากร    ภาวะผู้นำของท่าน คือ ทุกสิ่งทุกอย่างที่ท่านทำที่มีผลดีต่อองค์การ ผู้นำที่น่านับถือมุ่งเน้นไปที่สิ่งที่ท่านเป็นอยู่        (ความเชื่อและคุณลักษณะ) สิ่งที่ท่านรู้ (งาน กลุ่มงาน ธรรมชาติของมนุษย์) และสิ่งที่ท่านทำ (การดำเนินการ แรงจูงใจ การกำหนดทิศทางขององค์การ)     อะไรที่ทำให้บุคลากรต้องการปฏิบัติตามท่าน บุคลากรต้องการบุคคลที่เขาเคารพนับถือ      ชี้นำทิศทางที่ชัดเจนให้เขา การที่จะบรรลุถึงทิศทางก็ต้องอาศัยวิสัยทัศน์ที่ดี

สิ่งสำคัญของภาวะผู้นำ 2 ประการ
                จากการศึกษา  Hay’s  องค์ประกอบที่ทำให้บุคลากรเกิดความพึงพอใจมากกว่า 75   องค์ประกอบ เขาพบว่า ความไว้เนื้อเชื่อใจ และความมั่นใจ ของผู้นำระดับสูงเป็นตัวพยากรณ์ที่น่าเชื่อถือมากที่สุด ที่สร้างความพึงพอใจให้กับบุคลากรในองค์การ      การสื่อสารที่มีประสิทธิผลของผู้นำ ซึ่งสร้างความไว้เนื้อเชื่อในและเกิดความมั่นใจใน 3 ด    ้านที่ทำให้องค์การชนะคู่แข่ง คือ
-      ช่วยให้บุคลากรเข้าใจกลยุทธ์ขององค์กรโดยภาพรวม
-      ช่วยให้บุคลากรเข้าใจวิธีการ   ที่เขาจะมีส่วนร่วมในการกำหนดวัตถุประสงค์เพื่อความ   สำเร็จขององค์การ
-      ร่วมปันข้อมูลกับบุคลากร ถึงวิธีการที่บริษัทกำลังดำเนินการ    หรือวิธีที่บุคลากรกำลัง   ดำเนินการในแผนกของตนเองโดยพื้นฐาน    ท่านต้องสร้าง
ความไว้เนื้อเชื่อใจ และสามารถสื่อสารวิสัยทัศน์ว่าท่านกำลังจะไปไหน ข้อที่น่าสังเกตหลักการของภาวะผู้นำในช่วงต่อไปซึ่งเป็นส่วนที่เกี่ยวข้องกับส่วนนี้
                หลักการของผู้นำ
                เพื่อช่วยให้ท่านรู้ว่าท่านเป็นใคร ท่านรู้อะไร ท่านสามารถทำอะไรได้ 2      ต่อไปนี้เป็นหลักการ     11 ข้อ ของภาวะผู้นำ คือ  (ตอนต่อไปจะขยายความให้ชัดเจน   ถึงหลักการและจัดเตรียมเครื่องมือใน      การปฏิบัติ)
                1. รู้จักตนเองและปรับปรุงพัฒนาตนเอง  เพื่อให้รู้จักตนเองท่านต้องเข้าใจว่าท่านเป็นใคร ท่านรู้อะไร     และสามารถทำอะไรได้ มีคุณลักษณะอะไร การปรับปรุงพัฒนาตนเอง หมายถึง การพัฒนาคุณลักษณะที่เป็นจุดแข็งของท่านจะบรรลุผลได้ ก็โดยการอ่าน การศึกษาด้วยตนเองหรือศึกษาต่อ
                2. มีเทคนิคด้านวิชาชีพ  ในฐานะผู้นำ ท่านต้องรู้งาน เข้าใจและคุ้นเคยงานของลูกน้องเป็นอย่างดี
                3. รับผิดชอบและแสวงหาความรับผิดชอบในการปฏิบัติงาน  ค้นหาวิธีการ คือ  จะชี้นำองค์การให้เจริญก้าวหน้า ด้วยวิธีการใหม่ ๆ และเมื่อมีสิ่งผิดพลาดเกิดขึ้น ก็อย่าโทษคนอื่นวิเคราะห์สถานการณ์   หาแนวทางแก้ไข และมุ่งไปสู่สิ่งท้าทายต่อไป
                4. ตัดสินใจอย่างดีและให้ทันกาล  ใช้วิธีการแก้ปัญหาที่ดี   ตัดสินใจและมีเครื่องมือในการวางแผน
                5. ทำตนเป็นแบบอย่างที่ดี  แสดงบทบาทเป็นแบบอย่างที่ดีต่อบุคลากรเขาทั้งหลาย   ไม่ต้องการเพียงได้ยินว่าเขาทุกคนคาดหวังอะไรแต่เขาต้องการเห็นของจริง
                6. รู้จักบุคลากรและเอาใจใส่ดูแล  รู้ธรรมชาติของมนุษย์ สิ่งสำคัญก็คือ       ดูแลเอาใจใส่บุคลากร
                7. ให้ข้อมูลบุคลากร  รู้วิธีการที่จะสื่อสารกับบุคลากร หัวหน้าหน่วยเหนือ    และบุคลากรหลักในองค์การ
                8. พัฒนาจิตสำนึกความรับผิดชอบ พัฒนาคุณลักษณะที่ดีของบุคลากรช่วยให้เขามีความรับ        ผิดชอบในวิชาชีพของเขา
                9. ทำให้แน่ใจว่าทุกคนเข้าใจงาน มีการนิเทศ และทำงานให้สำเร็จ   การสื่อสารเป็นกิจกรรมหลัก   ที่ต้องรับผิดชอบ
                10. ฝึกบุคลากรให้ทำงานเป็นทีม  ถึงแม้ว่าเราจะเรียกว่าผู้นำขององค์การ ฝ่าย   ส่วน ว่าเป็นทีม   แต่ก็มิใช่เป็นทีมที่แท้จริง เขาเหล่านั้นเป็นแต่คนที่ทำงานร่วมกัน
                11. ใช้ศักยภาพให้เต็มที่ในองค์การท่าน  ถ้าพัฒนาจิตวิญญาณของทีม          ท่านจะใช้ศักยภาพได้เต็มที่ในฝ่าย  ในส่วนหรือทั้งองค์การ
                มนุษยสัมพันธ์
1.     หกคำที่มีความสำคัญมากที่สุด  “ผมยอมรับ ผมผิดเอง”
2.     ห้าคำที่สร้างแรงจูงใจ  “คุณทำงานดีมาก”
3.     สี่คำที่บอกความรู้สึกลึกซึ้ง  “คุณคิดอย่างไร”
4.     สามคำที่ควรจำ เพื่อขอความช่วยเหลือ  “โปรดกรุณา”
5.     สองคำที่ต้องติดปากเสมอ  “ขอบคุณ”
6.     หนึ่งคำที่ต้องพูดให้บ่อย ๆ  “เรา”
7.     หนึ่งคำที่ควรพูดให้น้อย  “ฉัน”

                องค์ประกอบของภาวะผู้นำ
                ปัจจัยสำคัญ 4 ประการ ของภาวะผู้นำ
                1.       ผู้ตาม  บุคลากรแต่ละคนต้องการสไตล์ภาวะผู้นำต่างกันตัวอย่าง เช่น บุคลากรใหม่ต้องการนิเทศมากกว่าบุคคลที่มีประสบการณ์มาก  บุคลากรที่มีเจตคติไม่ดีต้องการวิธีการที่แตกต่างกว่าบุคลากรที่มีแรงจูงใจสูง  ผู้นำต้องรู้จักบุคลากรของท่าน  จุดเริ่มต้นพื้นฐาน  คือ    ท่านต้องทำความเข้าใจให้ดีถึงธรรมชาติของมนุษย์  รู้ความต้องการ  อารมณ์และแรงจูงใจ  ท่านต้องรู้จักบุคลากรของท่านว่า
เขาเป็นใคร  เขารู้อะไร  เขาทำอะไรได้บ้าง  เขามีคุณลักษณะอย่างไร
               2.       ผู้นำ  ท่านต้องมีความเข้าใจอย่างแท้จริงว่า  ท่านเป็นใคร  ท่านรู้อะไร  ท่านสามารถทำอะไรได้ ผู้ที่ตัดสินความเป็นผู้นำที่ประสบความสำเร็จอยู่ที่ผู้ตามมิใช่ผู้นำ   ถ้าผู้ตามไม่ไว้เนื้อเชื่อใจหรือไม่มั่นใจในตัวผู้นำ  เขาก็จะไม่มีแรงบันดาลใจ        ถ้าท่านต้องการเป็นผู้นำที่ดีประสบความสำเร็จ ท่านต้องมั่นใจ    ในตัวผู้ตาม มิใช่ในตัวท่านหรือหัวหน้าของท่าน เป็นสิ่งสำคัญที่ท่านต้องปฏิบัติ
            3. การสื่อสาร  ท่านต้องสื่อสาร 2 ทาง ใช้ภาษาท่าทางให้มากขึ้นตัวอย่าง เช่น     ท่านต้องทำเป็น   ตัวอย่าง     ที่จะสื่อไปถึงบุคลากรของท่าน ซึ่งท่านอาจจะไม่ได้ขอร้องให้เขาปฏิบัติสิ่งหนึ่งสิ่งใด ซึ่งท่านอาจจะไม่ค่อยเต็มใจ ท่านจะสื่ออะไร  หรืออย่างไรที่จะไม่ทำลายสัมพันธภาพหรือสร้างสัมพันธภาพระหว่างท่านกับคนของท่าน
           4. สถานการณ์  ทุกสถานการณ์แตกต่างกัน สิ่งที่ท่านทำในสถานการณ์หนึ่ง  อาจจะไม่สามารถดำเนินการได้ในอีกสถานการณ์หนึ่ง ท่านต้องใช้ดุลยพินิจของท่าน ในการตัดสินใจปฏิบัติอย่างดีที่สุด  และสไตล์ของผู้นำต้องสอดคล้องกับเหตุการณ์ ตัวอย่างเช่น ท่านอาจจำเป็นต้องเผชิญหน้ากับบุคลากรในพฤติกรรมไม่เหมาะสม แต่ถ้าการเผชิญหน้าช้าหรือเร็วเกินไป รุนแรง หรืออ่อนแอเกินไป อาจทำให้ไม่เกิดประสิทธิผลก็ได้
             อำนาจต่าง ๆ จะมีผลต่อปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้ ตัวอย่างต่าง ๆ ของอำนาจเป็นเรื่องของความสัมพันธ์ของท่านกับหัวหน้าของท่าน ทักษะของคนของท่าน ผู้นำที่ไม่เป็นทางการในองค์การของท่าน และวิธีจัดระบบในองค์การของท่าน
             คุณลักษณะ  (Attributes)
             ถ้าท่านเป็นผู้นำที่สร้างความไว้เนื้อเชื่อใจบุคลากรที่อยู่รอบๆ       ท่านก็จะนับถือท่านเพื่อการเป็น   ผู้นำที่ดี มีสิ่งต่าง ๆ ที่ท่านต้องเป็น ต้องรู้ และต้องการทำสิ่งต่าง ๆ อยู่ภายใต้กรอบของภาวะผู้นำ
              1.  เป็นมืออาชีพ ตัวอย่างมีความจงรักภักดีต่อองค์การ              ปฏิบัติงานโดยไม่หวังผลประโยชน์     ส่วนตน มีความรับผิดชอบ
              2. บุคลิกภาพดีเหมาะสมกับวิชาชีพ ตัวอย่างเช่น มีความจริงใจ มีสมรรถนะ มีความเปิดเผย        มีความมุ่งมั่น มีความซื่อสัตย์ กล้าหาญ ตรงไปตรงมา มีจินตนาการ
              3.    รู้ปัจจัยต่าง ๆ ของภาวะผู้นำ ผู้ตาม ผู้นำ การสื่อสาร สถานการณ์
              4.    รู้จักตนเอง เช่น รู้จุดแข็งและจุดอ่อนของตน ความรู้และทักษะต่าง ๆ
              5.    รู้ธรรมชาติของมนุษย์ เช่น      มนุษย์มีความต้องการ มีอารมณ์และการตอบสนองความเครียด
              6.    รู้งาน รู้งานอย่างมืออาชีพ และฝึกฝนงานให้คนอื่นได้
              7.   รู้จักองค์การ เช่น จะขอความช่วยเหลือได้ที่ไหน บรรยากาศ องค์การ     และวัฒนธรรมเป็นอย่างไร ใครเป็นผู้นำแบบไม่เป็นทางการในองค์การ
     8.     กำหนดทิศทาง เช่น กำหนดเป้าหมาย การแก้ปัญหา การตัดสินใจ การวางแผน
     9.     การดำเนินการ เช่น การสื่อสาร การประสานงาน การนิเทศ การประเมินผล
     10.   แรงจูงใจ เช่น สร้างขวัญกำลังใจ และพัฒนาสติปัญญาในองค์การ ฝึกอบรมการสอน
งาน   การให้คำปรึกษา
    สิ่งแวดล้อม  (Environment)
   ทุกองค์การมีสิ่งแวดล้อมในการทำงานตามปรกติ ซึ่งเป็นเหมือนคำสั่งที่ทรงอำนาจ เพื่อ
เป็นข้อที่  ต้องคำนึงถึงวิธีการ ที่ผู้นำจะตอบสนองต่อปัญหา หรือโอกาส สิ่งแวดล้อมนำไปเกี่ยวข้องกับสิ่งที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของผู้นำในอดีตและผู้นำในปัจจุบัน ผู้นำใช้อิทธิพลกับสิ่งแวดล้อมได้ 3 แบบ คือ
-      เป้าหมายและมาตรฐานการปฏิบัติงานที่ผู้นำกำหนด
-      ค่านิยมต่าง ๆ ที่ผู้นำกำหนดสำหรับองค์การ
-      แนวคิดเรื่องบุคคลและธุรกิจที่เขากำหนด
  องค์การที่ประสบความสำเร็จต้องมีผู้นำที่ดี ที่กำหนดมาตรฐานที่สูงและมีเป้าหมายต่างๆที่ รวมความคิดต่าง ๆ เช่น กลยุทธ์   ผู้นำทางด้านการตลาด แผนงาน การนำเสนอ การควบคุมคุณภาพ และ   มีความน่าเชื่อถือ
 ค่านิยมสะท้อนถึงความใส่ใจในองค์การที่มีไว้สำหรับบุคลากร ลูกค้า นักลงทุน คนขายสินค้า และชุมชนรอบด้าน ค่านิยมเหล่านี้กำหนดวิธีการทำงาน วิธีดำเนินการทางธุรกิจและธุรกิจอะไรที่จะดำเนินการ
            แนวคิดกำหนดว่า  ผลผลิตหรือบริการอะไรที่องค์การจะนำเสนอวิธีการต่าง ๆ และกระบวนการต่าง ๆ เพื่อการดำเนินกิจกรรม เป้าหมาย ค่านิยมและแนวคิดเหล่านี้ทำให้เกิด “บุคลิกภาพของ  องค์การ” ลักษณะเฉพาะขององค์การที่สามารถสังเกตเห็นได้ทั้งภายในและภายนอก บุคลิกกำหนด          บทบาท ความสัมพันธ์ รางวัล และพิธีกรรมที่เกิดขึ้น
            บทบาทกำหนดขึ้นจากความคาดหวังเชิงพฤติกรรมของตนที่ดำรงตำแหน่งอยู่แต่ละบทบาทจะมีชุดของงาน และความรับผิดชอบที่อาจจะหรืออาจจะไม่ได้ระบุไว้     บทบาทมีพลังอำนาจต่อพฤติกรรม เพราะเงินเดือนที่จ่าย           จ่ายตามการปฏิบัติงานในบทบาท มีเกียรติและศักดิ์ศรีรวมอยู่ในบทบาทนี้ด้วย         มีความหมายความสำเร็จ และสิ่งท้าทายรวมอยู่ในบทบาทด้วย
            ความสัมพันธ์เกิดจากงานในแต่ละบทบาท บางคนทำคนเดียว แต่งานส่วนมากสัมพันธ์กับคนอื่น การวินิจฉัยงานเกิดจากผู้อยู่ในบทบาทนั้นว่าต้องสัมพันธ์กับใคร บ่อยแค่ไหน ดำเนินไปสู่จุดหมายอย่างไร ความสัมพันธ์ทำให้เกิดเครือข่าย สิ่งนี้เองที่นำไปสู่สัมพันธภาพบ่อยขึ้น   พฤติกรรมมนุษย์ยากนักที่ใครจะไม่ติดต่อกับคนอื่น มนุษย์แสวงหาความสัมพันธ์อยู่แล้วเขาชอบอยู่แล้วมนุษย์มีเจตจำนงเพื่อทำในสิ่งที่เขาจะได้รางวัลเสมอ มิตรภาพเป็นรางวัลที่ทรงคุณค่า
             งานหลายอย่างและพฤติกรรมต่าง ๆ     สัมพันธ์กับบทบาทที่ทำให้เกิดความสัมพันธ์ผู้ดำรงตำแหน่ง   มีความคาดหวังในงานและพฤติกรรมใหม่   เพราะว่าความสัมพันธ์ที่ดีเป็นเรื่องที่พัฒนาขึ้นมาจากอดีต ทั้ง ผู้ที่อยู่ในตำแหน่งและผู้ที่ดำรงตำแหน่งอยู่ก่อนแล้ว
             มีอำนาจ 2 อย่างที่เด่นชัด ที่มีพลังต่อวิธีการปฏิบัติภายในองค์การ คือ วัฒนธรรมและบรรยากาศองค์การ
             แต่ละองค์การมีวัฒนธรรมเฉพาะของตนเอง เป็นเรื่องที่หลอมรวมผู้คนพบ ผู้นำในอดีต ผู้นำในปัจจุบัน ภาวะวิกฤต เหตุการณ์สำคัญต่าง ๆ ประวัติองค์การและขนาดขององค์การ ผลอันนี้อยู่ในพิธีกรรม งานประจำต่าง ๆ พิธีการและวิธีการในการทำสิ่งต่าง ๆ พิธีกรรมเหล่านี้มีผลกระทบพฤติกรรมของปัจเจกบุคคลที่ทำให้เกิดบรรทัดฐานการปฏิบัติและส่งผลต่อพฤติกรรมเหมาะสมในแต่ละสถานการณ์
             บรรยากาศเป็นความรู้สึกขององค์การ ปัจเจกบุคคลและการร่วมปันการรับรู้ ตลอดจนเป็นเจตคติของสมาชิกต่าง ๆ ในองค์การ ในขณะที่วัฒนธรรมเป็นธรรมชาติที่ลงรากลึกอยู่ในองค์การ เป็นผลจากระบบต่าง ๆ ที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการระยะยาว กฎเกณฑ์ ธรรมเนียมและประเพณ   ี บรรยากาศเป็นปรากฏการณ์ระยะสั้น           เกิดจากภาวะผู้นำในปัจจุบันบรรยากาศเป็นสิ่งที่เป็นตัวแทนความเชื่อ เกี่ยวข้องกับ “ความรู้สึกขององค์การ” จากสมาชิกต่าง ๆ      ในองค์การ เป็นการรับรู้ของปัจเจกบุคคล “ความรู้สึกขององค์การ” มาจากความเชื่อของคนซึ่งเกี่ยวกับกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในองค์การ กิจกรรมต่าง ๆ เหล่านี้มี    อิทธิพลทั้งปัจเจกบุคคล  และแรงจูงใจของทีมและความพึงพอใจด้วย รวมทั้งกิจกรรมต่าง ๆ เหล่านี้
-     ผู้นำกำหนดเป้าหมายและอันดับความสำคัญอย่างไรในองค์การความคาดหวังของเราคือ  อะไร
-     ระบบที่ได้รับการยอมรับ รางวัลและการลงโทษในองค์การทำอะไรกันบ้าง
-     สมรรถภาพของผู้นำเป็นอย่างไร
-     ผู้นำมีอิสระในการตัดสินใจหรือไม่
-     อะไรจะเกิดขึ้นถ้าทำผิดพลาด
บรรยากาศองค์การมีผลโดยตรงจากภาวะผู้นำ            และสไตล์การบริหารของผู้นำบนพื้นฐานของผู้นำ คุณลักษณะ ทักษะต่าง ๆ และการปฏิบัติและรวมไปถึงสิทธิพิเศษของผู้นำ บรรยากาศทางจริยธรรม นั่น   ก็คือ “ความรู้สึกขององค์การ” เกี่ยวกับกิจกรรมต่าง ๆ    ที่มีเนื้อหาทางด้านจริยธรรม หรือความคาดหวังในสิ่งแวดล้อมของงาน ซึ่งทำให้เกิดผลทางจริยธรรม    บรรยากาศทางจริยธรรมเป็นความรู้สึกที่เกี่ยวกับว่า เราทำสิ่งต่าง ๆ ให้ถูกต้องหรือความรู้สึกที่ว่าเรามีพฤติกรรมไปตามวิถีทางที่ควรปฏิบัติอย่างนั้น พฤติกรรม         (คุณลักษณะ)    ของผู้นำเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดที่มีผลกระทบต่อบรรยากาศอีกด้านหนึ่ง วัฒนธรรมเป็นปรากฏการณ์ที่ซับซ้อน และยาวนาน วัฒนธรรมเป็นตัวแทน    การร่วมปันความคาดหวัง  และภาพลักษณ์ขององค์การ ค่านิยมที่สมบูรณ์แบบทำให้เกิด “ธรรมเนียมประเพณี” และเป็น “วิถีขององค์การ” วิสัยทัศน์ร่วมหรือวิถีประชา  ซึ่งกำหนดในสถาบันเป็นสิ่งสะท้อนวัฒนธรรมผู้นำแต่ละคนไม่อาจทำให้เกิดขึ้นหรือเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมอย่างง่ายดาย   เพราะวัฒนธรรมเป็นส่วนหนึ่งขององค์การวัฒนธรรมมีอิทธิพลต่อคุณลักษณะต่าง ๆ ของบรรยากาศ ซึ่งมีผลจากการปฏิบัติและกระบวนการ    การคิดของผู้นำ แต่ทุกสิ่งที่ทำในฐานะผู้นำจะมีผลต่อบรรยากาศขององค์การ
                โมเดลของภาวะผู้นำ  (Leadership  Model)
             โมเดลของภาวะผู้นำช่วยให้เราเข้าใจ ผู้นำควรทำอะไร     วิธีการที่เขาทำในสถานการณ์ที่แน่นอน  ความคิดนี้มิได้สกัดกั้นท่านในรูปแบบพฤติกรรมที่อภิปรายในโมเดลนี้  แต่เพื่อให้เข้าใจความจริงว่าทุกสถานการณ์ต้องใช้วิธีการหรือพฤติกรรมที่แสดงออกต่างกัน ทั้ง 2 โมเดล จะอธิบายใน 4     โครงร่างและ    ตารางการบริหาร

                ใน 4 โครงร่าง โบลแมนและดีล Bolman  and  Deal 3  แนะนำว่าผู้นำแสดงพฤติกรรม ผู้นำใน 4 แบบ คือ โครงสร้าง ทรัพยากรมนุษย์ การเมือง และสัญลักษณ์
                สไตล์การนำอาจมีประสิทธิผลหรือไม่มีประสิทธิผลขึ้นอยู่กับการเลือกพฤติกรรมในสถานการณ์ที่ชัดเจน
                โครงสร้าง  (Structural  Framework)     ในสถานการณ์ภาวะผู้นำที่มีประสิทธิผล ผู้นำคือ สถาปนิกทางสังคม สไตล์ผู้นำมีการวิเคราะห์และการออกแบบในสถานการณ์ผู้นำที่ไม่มีประสิทธิผล   ผู้นำแบบเผด็จการเล็กน้อย ใจแคบ    สไตล์ผู้นำเน้นรายละเอียด ผู้นำแบบโครงสร้างมุ่งเน้นโครงสร้างกลยุทธ์ สิ่งแวดล้อม การดำเนินการ การทดลองและการปรับตัว
                ทรัพยากรมนุษย์  (Human  Resource  Frnmework)         ในสถานการณ์ภาวะผู้นำที่มีประสิทธิผล       ผู้นำเป็นผู้กระตุ้นให้เกิดผลและรับใช้สไตล์ผู้นำเป็นลักษณะสนับสนุน ส่งเสริมและให้สิทธิอำนาจ ในสถานการณ์ภาวะผู้นำที่ไม่มีประสิทธิผล ผู้นำเป็นลักษณะเน้นเรื่องงาน   สไตล์ภาวะผู้นำแบบละทิ้งและฉ้อฉล ผู้นำแบบทรัพยากรมนุษย์ เชื่อในตัวบุคคล และสื่อความเชื่อของเขา เขาพบเห็นและเข้าพบได้ง่าย เขาให้สิทธิอำนาจ เพิ่มการมีส่วนร่วม สนับสนุน แลกเปลี่ยนข้อมูล ให้หน่วยล่างตัดสินใจ
                การเมือง  (Political  Framework)       ในสถานการณ์ภาวะผู้นำที่มีประสิทธิผล ผู้นำเป็นลักษณะส่งเสริมสไตล์ภาวะผู้นำ เป็นลักษณะสร้างความร่วมจิตร่วมใจและการผนึกกำลั     ในสถานการณ์ภาวะผู้นำที่ไม่มีประสิทธิผลจำทำอย่างไร้ยางอาย สไตล์ผู้นำแบบบงการ ผู้นำแบบการเมืองจะบอกว่าต้องการอะไรและต้องการเอาให้ได้ เขาประเมิน        แบ่งสรรอำนาจแบ่งปันผลประโยชน์ สร้างเครือข่ายเพื่อผู้มีส่วนได้เสียคนอื่น ๆ ใช้วิธีชักจูงโน้มน้าวก่อน  แล้วจึงใช้การเจรจาต่อรองและหรือใช้วิธีบังคับถ้าจำเป็น
                สัญลักษณ์  (Symbolic  Framework)  ในสถานการณ์ภาวะผู้นำที่มีประสิทธิผล ผู้นำรู้เหตการณ์   สไตล์ผู้นำแบบการสร้างแรงบันดาลใจในสถานการณ์ภาวะผู้นำที่ไม่มีประสิทธิผล ผู้นำแบบกระตือรือร้นอย่างคลั่งไคล้ หรือเบาปัญญา สไตล์      ผู้นำไม่ชัดเจนไม่มีความหมาย องค์การที่มีแนวคิดที่มีผู้นำแบบสัญลักษณ์ เหมือนกับเวทีละครหรือโรงละคร      แสดงบทบาทให้เกิดความประทับใจ ผู้นำเหล่านี้ใช้สัญลักษณ์เพื่อดึงความสนใจ เขาพยายามกำหนดกรอบประสบการณ์ เพื่อจัดให้ประสบการณ์ให้ตีความดูท่าทีมีเหตุผลเป็นไปได้ เขาค้นหาและสื่อวิสัยทัศน์
                โมเดลนี้เสนอแนะว่า ผู้นำควรใช้สไตล์หนึ่งในสี่ลักษณะและมีหลายครั้ง เมื่อวิธีการหนึ่งเหมาะสม และหลายครั้งที่อาจไม่เหมาะสมถ้าใช้วิธีการเดียวในวิธีการต่าง ๆ เหล่านี้อาจไม่เพียงพอ   เราควรรู้ทั้งสี่วิธี มิใช่วิธีเดียว   ตัวอย่างในช่วงที่องค์การมีการเปลี่ยนแปลงสไตล์ผู้นำแบมีโครงสร้างอาจมีประสิทธิผลกว่าสไตล์ผู้นำแบบวิสัยทัศน์   ในช่วงเวลาที่องค์การกำลังเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว   สไตล์ผู้นำแบบมีวิสัยทัศน์น่าจะเหมาะสมกว่า      เราต้องเข้าใจด้วยตัวของเราเองในแต่ละสถานการณ์แทนที่จะใช้วิธีการที่เราเคยชอบ เราต้องรู้ตลอดเวลาและตระหนักถึงข้อจำกัดในวิธีการที่เราชอบใช้

               ตารางการบริหารของ เบลคและมูตัน   The  Blake  and  Mouton  Manageral  Grid  4 ใช้ 2 แกน “แกนนอนให้ความสนใจกับงาน” ทั้งสองแกนใช้อัตราส่วน 1 ถึง 9 ความคิดนี้มี 2 มิติ    อธิบายเป็นพฤติกรรมการบริหารที่น่าสนใจ และเข้าใจง่ายทั้ง 2 มิติอธิบายเป็นกราฟหรือตาราง      คนส่วนใหญ่อาจตกอยู่ส่วนที่อยู่ใกล้ตรงกลางของทั้ง 2 แกน แต่ก็มีพวกสุดโต่ง นั่นคือ คนที่มีคะแนนที่อยู่ปลายสุดของสเกล เรามาดูรูปแบบต่าง ๆ ของผู้นำกัน
             ผู้นำที่มีอำนาจเบ็ดเสร็จ  (งาน 9, คน 1) ผู้นำทีม  (งาน 9, คน 9) ผู้นำแบบลูกทุ่ง  (งาน1,คน 9)     และผู้นำแบบย่ำแย่  (งาน 1,คน 1)            
            ผู้นำแบบมีอำนาจเบ็ดเสร็จ  (Authoritarian  Leader)  มุ่งงานสูง, สัมพันธ์ต่ำ 9, 1  : บุคคลที่มีอัตราส่วนคะแนนแบบนี้มุ่งงานมาก และให้คนทำงานอย่างหนัก (อัตตาธิปไตย) ความร่วมมือและความร่วมจิตร่วมใจมีน้อย คนที่มีลักษณะนี้มุ่งงานอย่างหนัก แสดงความเข้มงวดกวดขัน   กำหนดตารางการทำงาน เขาคาดหวังให้บุคลากรทำงาน   สั่งการบุคลากรโดยมไม่ให้ตั้งคำถามหรือโต้แย้งเมื่อเกิดสิ่งผิดพลาด มีแนวโน้มที่จะมุ่งไปโทษบุคคลมากกว่าที่จะค้าหาว่าสิ่งใดผิดและหาวิธีป้องกัน ไม่อดทนต่อที่เขาเห็นว่าไม่ตรงกับของตนเอง ซึ่งอาจจะเป็นความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ของบางคน   ยากที่จะทำให้ผู้ใต้บังคับบัญชา มีส่วนร่วมและพัฒนาตนเอง
             ผู้นำทีม  (Team  Leader)  มุ่งงานสูง, ความสัมพันธ์สูง 9, 9 : ผู้นำแบบนี้ นำโดยทำเป็นตัว
อย่างที่ดี   พยายามสร้างสิ่งแวดล้อมเป็นทีมงาน ซึ่งสมาชิกทีมทุกคนสามารถทำงานได้เต็มศักยภาพ  ทั้งสมาชิกทีมและปัจเจกบุคคล       เขาส่งเสริมทีมทำงานให้บรรลุเป้าหมายอย่างมีประสิทธิผลเท่าที่เป็นไปได้ ทำงานอย่างไม่เห็นแก่ความเหน็ดเหนื่อยในบรรดาสมาชิกต่าง ๆ   เขาสร้างทีมและเพิ่มผลผลิตของทีมได้มากที่สุด
             ผู้นำแบบลูกทุ่ง  (Country  Club)  งานต่ำ, สัมพันธ์สูง 1, 9  :   ผู้นำแบบนี้ใช้อำนาจและการให้รางวัลครอบงำไว้ก่อน เพื่อการรักษาวินัยและส่งเสริมให้ทีมทำงานให้บรรลุเป้าหมาย     ในทางกลับกันเกือบจะไม่สามารถใช้อำนาจการบังคับหรือการลงโทษ  หรืออำนาจทางกฎหมายเลยผลลัพธ์จากการไม่มีความสามารถของผู้นำที่กลัวการใช้อำนาจ     ที่จะทำลายความสัมพันธ์สมาชิกทีม
             ผู้นำแบบย่ำแย่  (Impoverished  Leader)  งานต่ำ, สัมพันธ์ต่ำ 1, 1 :บุคคลผู้นี้ใช้สไตล์การบริหารแบบมอบอำนาจแล้วหายตัว เพราะเขาไม่มุ่งงานหรือไม่สนใจความสัมพันธ์ ปล่อยให้ทีมทำสิ่งที่เคยทำตามปรารถนาและความชอบแยกตัวเองออก
จากกระบวนการของทีม โดยปล่อยให้ทีมตกระกำลำบากและปล่อยให้ต่อสู้เอง
             จุดที่ปรารถนาสำหรับผู้นำ ก็คือ ผู้นำแบบทีม อย่างไรก็ตามไม่ปล่อยทิ้งไปใน 3 แบบ ใน      สถานการณ์ที่แน่นอน อาจใช้แบบใดแบบหนึ่งในสามแบบในบางครั้ง  ตัวอย่างเช่น เล่นบทผู้นำมุ่งงานต่ำ มุ่งสัมพันธ์ต่ำ  ยอมให้ทีมของท่านเพิ่มความเชื่อมั่นในตนเอง   เล่นแบบผู้นำแบบอำนาจเบ็ดเสร็จ เพื่อ    ค่อย ๆ สอนความมีวินัยในบุคลากรที่ขาดแรงจูงใจ  ต้องพยายามศึกษาสถานการณ์อย่างรอบคอบและนึกถึงแรงกดดันที่จะเกิดขึ้น  ท่านจะรู้ว่าจุดไหนของแกนที่จำเป็นเพื่อให้บรรลุผลลัพธ์ตามที่ปรารถนา

                กระบวนการของผู้นำที่ยิ่งใหญ่
                เส้นทางสู่ความเป็นผู้นำที่ยิ่งใหญ่  5  ผู้นำที่ประสบความสำเร็จทั่ว ๆ ไป
-      กระบวยการที่ท้าทาย ประการที่ 1 ค้นหากระบวนการที่ท่านเชื่อว่าเป็นสิ่งจำเป็นที่จะ    ทำให้ดีขึ้นมากที่สุด
-      สร้างวิสัยทัศน์ร่วมกันให้เกิดแรงบันดาลใจ   ลำดับต่อไปสร้างวิสัยทัศน์ร่วมด้วยคำที่ทำ   ให้เกิดความเข้าใจกันของผู้ตาม
-     ให้บุคลากรคนอื่นได้แสดงความสามารถใช้เครื่องมือและวิธีการต่างๆในการแก้ปัญหากับ   เขา
-     ทำตนเป็นแบบอย่าง เมื่อกระบวนการเกิดความยุ่งยากก็ยอมให้มือเปื้อนบ้าง   เจ้านาย  สั่งการให้คนอื่นทำงาน ผู้นำจะแสดงให้ลูกน้องเห็นว่าเขาก็สามารถทำได้
-     ให้กำลังใจ ให้การยกย่อง สรรเสริญลูกน้องของท่านจากใจและเก็บความเจ็บปวดไว้ในใจ
ความเป็นผู้นำขึ้นอยู่กับการฝึกฝน มิได้เป็นมาแต่เกิด ทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกัน   แต่ก่อนอื่นใดท่านต้องรู้จักตนเองว่าท่านเป็นใคร ท่านรู้อะไร   ท่านสามารถทำอะไรได้ดี    แล้วพัฒนาส่วนที่เป็นจุดแข็งของท่าน คิดดี มีความรู้สึกที่ดี การกระทำก็จะดีตาม ท่านคิดอย่างไรก็จะเป็นเช่นนั้น

       การเปลี่ยนแปลงการบริหาร management change คือ วิวัฒนาการของแนวคิดทางการบริหารตามภาวการณ์ต่าง ๆ อาทิ การบริหารแนววิทยาศาสตร์ มนุษยสัมพันธ์ เชิงระบบและตามถานการณ์ ภาวการณ์ซึ่งเปลี่ยนแปลงไปตามบริบท (context) ของสังคม ทั้งด้านเศรษฐกิจ การเมือง สังคม สิ่งแวดล้อม และเทคโนโลยี ฯลฯ เป็นการเปลี่ยนแปลงซึ่งต้องบริหารแบบรู้เท่าทัน ทันการณ์ มีวิสัยทัศน์ โดยใช้พื้นฐานความรู้เดิมเป็นตัวตั้ง แล้วนำมาวิเคราะห์เรียบเรียง เพื่อศึกษาและทำความเข้าใจ แล้วจัดการกำจัดจุดอ่อน และเพิ่มจุดแข็ง ให้เกิดประโยชน์สูงสุดด้วย "การบริหารการเปลี่ยนแปลง (change management)"

รูปแบบการบริหารการเปลี่ยนแปลง ในการบริหารการเปลี่ยนแปลง ต้องมีการพัฒนาองค์กร ซึ่งมีรูปแบบวิธีการที่ดีอย่างน้อย 3 รูปแบบ ดังนี้
          1. รูปแบบ 3 ขั้นตอน ตามแนวคิดของ Kurt Lewin ประกอบด้วย การคลายตัว (unfreezing) เนื่องจากเกิดปัญหาจึงต้องเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลง (changing) คือ การเปลี่ยนจากพฤติกรรมเก่า ไปสู่พฤติกรรมใหม่ และการกลับคงตัวอย่างเดิม (refreezing) เพื่อหล่อหลอมพฤติกรรมใหม่ให้มั่นคงถาวร
          2. รูปแบบ 2 ปัจจัย ตามแนวคิดของ Larry Greiner ที่เห็นว่าการเปลี่ยนแปลงเกิดจากแรงบีบภายนอก กับการกระตุ้นผลักดันภายใน เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงมีอยู่ตลอดเวลา ปัจจัยทั้งสองเกิดขึ้นตลอดเวลา จึงต้องดำเนินการเปลี่ยนแปลงโดย ศึกษาการเปลี่ยนแปลง ค้นหาวิธีการที่ดีกว่า ทดลองวิธีใหม่ หล่อหลอมข้อดีเข้าด้วยกัน เพื่อบริหารการเปลี่ยนแปลงอย่างมีประสิทธิภาพ
          3. รูปแบบผลกระทบของปัจจัย ตามแนวคิดของ Harold J. Leavitt ที่เชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงเกิดจากผลกระทบที่เกิดขึ้นตลอดเวลาของ งาน โครงสร้าง เทคนิควิทยาการ และคน ทั้ง 4 ประการนี้เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงก็จะส่งผลกระทบเกี่ยวพันกัน และการเปลี่ยนแปลงบางเรื่องอยู่เหนือการควบคุม ดังนั้นผู้บริหารจึงต้องสนใจสิ่งที่เปลี่ยนแปลง สิ่งที่จะเปลี่ยนแปลง และผลกระทบที่เกิด หรือจะเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของแต่ละปัจจัย

แนวโน้มของกระแสการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับองค์การ
          1. ด้านโครงสร้าง (structure)
          2. องค์ประกอบของประชากร (demographic)
          3. เกิดจริยธรรมใหม่ของการทำงาน (new work ethic)
          4. การเรียนรู้และองค์ความรู้ (learning and knowledge)
          5. เทคโนโลยีและการเข้าถึงสารสนเทศ (technology and access to information)
          6. เน้นเรื่องความยืดหยุ่น (emphasis on flexibility)
          7. ต้องพร้อมเผชิญต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว (fast-paced change)

สิ่งที่ต้องพิจารณาเปลี่ยนแปลงในองค์การ
          1. เป้าหมายและกลยุทธ์
          2. เทคโนโลยี (technology)
          3. การออกแบบงานใหม่ (job redesign)
          4. โครงสร้าง (structure)
          5. กระบวนการ (process)
          6. คน (people)

ผู้บริหารที่เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงสู่คุณภาพการศึกษา
          1. เป็นผู้นำวิสัยทัศน์ (visionary Leadership) และสามารถกระจายวิสัยทัศน์ไปยังบุคคล ต่าง ๆ ได้
          2. ใช้หลักการกระจายอำนาจ (empowerment) และการมีส่วนร่วม (participation)
          3. เป็นผู้มีความสัมพันธ์กับบุคลากร ทั้งภายในและนอกองค์กร
          4. มีความมุ่งมั่นในการทำงาน
          5. ผู้นำคุณภาพจะต้องมีความรู้ความสามารถในการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีและใช้ข้อมูลสถิติ ในการวิเคราะห์และตัดสินใจ
          6. ให้การสนับสนุนและช่วยเหลือลูกน้อง
          7. ความสามารถในการสื่อสาร
          8. ความสามารถในการใช้แรงจูงใจ
          9. เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง (chang leadership)

ความท้าทายการเปลี่ยนแปลง (challenges of change)
          องค์การที่มีโครงสร้างองค์การชนิดที่มีสายการบริหารหลายขั้นตอนหรือสั่งการหลายชั้นภูมิจะอยู่รอดได้ยาก ในอนาคตองค์การต่าง ๆ ต้องประสานความร่วมมือกันโยงใยเป็นเครือข่าย ในขณะเดียวกันโครงสร้างภายในองค์การก็จะต้องกระจายความสามารถในการตัดสินใจให้กับกลุ่มงานต่าง ๆ ให้มากที่สุด และมีลำดับชั้นการบริหารน้อยที่สุด และต้องเปลี่ยนแปลงองค์การเพื่อรองรับและก้าวให้ทันความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยี สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ ล้วนเป็นสิ่งท้าทายและมีอิทธิพลต่อความอยู่รอดขององค์การในศตวรรษที่ 21 เป็นอย่างมาก (ธวัช บุณยมณี, 2550)

แรงกดดันที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง (force for change) Robbins (1996, อ้างถึงใน ธวัช บุณยมณี, 2550: 142-144) ได้สรุปให้เห็นถึงปัจจัยกระตุ้น หรืแรงกดดันที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ดังนี้
          1. ลักษณะของแรกกดดันจากงาน (nature of the work force) เช่น ความหลากหลายทางวัฒนธรรม ความเชี่ยวชาญในวิชาชีพ
          2. เทคโนโลยี (technology) เช่น ความเจริญก้าวหน้าของคอมพิวเตอร์ แนวคิดเรื่องการจัดการคุณภาพ การปฏิรูปองค์การ
          3. ความชะงักงันทางเศรษฐกิจ (economic shocks) เช่น การตกต่ำของตลาดหลักทรัพย์ การแกว่งตัวของอัตราดอกเบี้ย
          4. การแข่งขัน (competition) เช่น การแข่งขันแบบโลกาภิวัตน์ การรวมตัวกันของกลุ่มต่างๆ
          5. แนวโน้มของสังคม (social trends)? เช่น? การเข้าสู่สถาบันระดับอุดมศึกษามากขึ้น? การชะลอการต่างงาน
          6. การเมืองของโลก (world politics) เช่น การเปิดประเทศ ความขัดแย้งหรือการรุกรานกันของประเทศต่าง ๆ

          แบบจำลองภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง รูปแบบการเปลี่ยนแปลงสามารถจำแนกออกเป็น 3 ลักษณะ คือ? การเปลี่ยนแปลงจากบนลงล่าง จากล่างขึ้นสู่เบื้องบน และแบบบูรณาการ (Schermerhorn, 2002:480 อ้างถึงใน ธวัช บุณยมณี, 2550)
          1.การเปลี่ยนแปลงจากบนลงล่าง (top-down change) เป็นการริเริ่มการเปลี่ยนแปลงที่มาจากผู้บริหารระดับสูง ความสำเร็จของการเปลี่ยนแปลงขึ้นอยู่กับ ความสมัครใจหรือความเต็มใจของพนักงานระดับกลางและระดับล่าง ทางธุรกิจเรียกว่า ทฤษฎีการเปลี่ยนแปลงแบบอี (Theory E Change)
          2.การเปลี่ยนแปลงจากล่างขึ้นบน (bottom-up change) เป็นการริเริ่มการเปลี่ยนแปลงที่มาจากทุกระดับในองค์การและได้รับการสนับสนุนจากผู้บริหารระดับต้นและระดับกลางในฐานะที่เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง ทางธุรกิจเรียกว่า ทฤษฎีการเปลี่ยนแปลงแบบโอ (Theory O Change)
          3.การบูรณาการภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง (integrated change leadership) เป็นการนำประโยชน์ของการเปลี่ยนแปลงจากบนลงล่างและจากล่างขึ้นบนมาใช้ การริเริ่มจากระดับบนมีความจำเป็นในการยกเลิกหรือเปลี่ยนแปลงแบบแผนดั้งเดิม การริเริ่มจากระดับล่างเป็นสิ่งจำเป็นในการสร้างความสามารถของสถาบันเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ยั้งยืน


นายชัยวัฒน์ โฉมสุข การจัดการทั่วไป รุ่น 19


Green Print คือ การพิมพ์ที่ให้ความสำคัญกับการผลิต ทำให้สิ่งพิมพ์เสียหายจากการพิมพ์น้อยที่สุดเป็นเทคโนโลยีใหม่ในธุรกิจสิ่งพิมพ์สีเขียวที่ต่อยอดธุรกิจแบบเศรษฐกิจสร้างสรรค์
Print City ธุรกิจสีเขียว รักษ์โลก รักษ์สิ่งแวดล้อม: ธุรกิจสิ่งพิมพ์เป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่มีทั้งกลิ่นและสารเคมีจากหมึกพิมพ์ที่เป็นภัยต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงของเสียจากการพิมพ์ อาทิ หมึกพิมพ์ที่เปื้อนหน้าหนังสือ กระดาษจากงานพิมพ์เสียที่กองทับถมกัน สิ่งเหล่านี้ก่อให้เกิดการปล่อยก๊าชเรือนกระจกเข้าทำลายชั้นโอโซนในบรรยากาศ
“บริษัท พริ้นท์ซิตี้ จำกัด” เป็นธุรกิจสิ่งพิมพ์รายแรกของไทยที่เติบโตมาจากธุรกิจ SMEs เล็กๆ ผลิตงานพิมพ์และงานจัดจำหน่ายหนังสือในนามบริษัท โอเชี่ยน บุ๊คมาร์ท จำกัด เติบโตอย่างยั่งยืนในอุตสาหกรรมจัดจำหน่ายหนังสือ จนแตกไลน์กลายมาเป็น บริษัท โอเชี่ยน เปเปอร์ จำกัด ผู้จำหน่ายกระดาษรายใหญ่ของดับเบิ้ลเอ นอกจากนี้ยังเป็นบริษัทที่ได้ให้ความสำคัญต่อการผลิตและการใช้เทคโนโลยีสะอาดมาช่วยในการลดปริมาณของของเสียและขยะที่เกิดจากการพิมพ์ รวมถึงการให้ความสำคัญกับการปล่อยก๊าชคาร์บอนไดออกไซด์ที่มีผลต่อการทำลายชั้นบรรยากาศของโลกซึ่งบริษัทดังกล่าวได้ร่วมมือกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยพัฒนาโปรแกรม ที่เรียกว่า “Green Print Solution” เพื่อใช้ในการคำนวณค่าคาร์บอนฟุตพริ้นท์ให้กับอุตสาหกรรม
ในปี 2553บริษัท พริ้นท์ซิตี้ จำกัด ถือเป็นบริษัทสิ่งพิมพ์รายแรกในไทยที่ได้รับเครื่องหมาย “คาร์บอน ฟุตพริ้นท์”จากองค์การบริหารจัดการก๊าชเรือนกระจก ซึ่งในส่วนของสื่อสิ่งพิมพ์ เรียกว่า “กรีนพริ้นต์” เป็นเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่สามารถลดการใช้วัสดุสิ้นเปลืองในระบบการพิมพ์ทั้งกระบวนการ โดยสิ่งพิมพ์ที่ผลิตจากพริ้นท์ซิตี้จะผ่านกระบวนการพิมพ์โดยใช้เทคโนโลยีสะอาดที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและลดปริมาณการปล่อยคาร์บอนในช่วงการผลิต ผ่านการประเมินวัฏจักรชีวิตของสิ่งพิมพ์ตลอดช่วงอายุและสามารถแสดงค่าตัวเลขของ CO2 ที่วัดค่าได้อย่างเหมาะสม
          ขั้นตอนการผลิตของ Green Print เพื่อให้เกิดขยะหรือสิ่งพิมพ์ที่เสียหายจากการพิมพ์น้อยที่สุด
                   1. เริ่มจากกระดาษที่นำมาพิมพ์ที่มาจากฟาร์มกระดาษที่ให้ความสำคัญต่อสิ่งแวดล้อม
                   2. มีการตรวจปรู๊พแบบ Digital
                   3. การทำ Plate จากคอมพิวเตอร์โดยตรงเพื่อลดต้นทุนจาก Aluminum Plate ที่กลายเป็นวัสดุเหลือใช้จากงานพิมพ์ที่เป็นขยะ
                   4. หมึกพิมพ์ ใช้หมึกที่ทำมาจากถั่วเหลือง
                   5. เครื่องพิมพ์ใช้ระบบจ่ายหมึกอัตโนมัติ และเป็นระบบ Digital Printing
จากกระบวนการดังกล่าวจะทำให้บริหารจัดการเพื่อลดปริมาณก๊าชคาร์บอนไดออกไซด์ที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสภาวะโลกร้อน กากของเสียหรือสิ่งพิมพ์ที่เป็นขยะลงได้ นี่คือนโยบายการดำเนินของ บริษัท พริ้นท์ซิตี้ จำกัด
นอกจากนี้ยังเป็นบริษัทที่ได้กำหนดเป้าหมายในการดำเนินธุรกิจสีเขียวต่อยอดธุรกิจแบบเศรษฐกิจสร้างสรรค์และเป็นการรวม Supply Chain แบบ Up Stream ที่ทำให้ทุกกระบวนการผลิตจัดซื้อสั้นลงและมีประสิทธิภาพ และพริ้นท์ซิตี้อยู่ในช่วงที่จะได้ฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นท์เป็นรายแรกของเอเชียและได้รับการต้อนรับอย่างดีในงานAsian Symposium NEXT-GENERATION PRINTING SCIENCE AND TECHNOLOGY 2010 ที่เมืองโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น จนเป็นการปลุกกระแสการปรับตัวในอุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์ครั้งใหญ่ของเอเชีย
แหล่งข้อมูล: Idustry Focus ปีที่ 1 ฉบับ 006 ประจำเดือน ก.พ. 55