หน้าเว็บ

คนที่รัก อาจารย์

ขอบคุณ อาจารย์ มากค่ะที่คอยประสิทธิ์ประสาทวิชา ความรู้ ทั้งในและนอกห้องเรียน ทำให้หนูได้มีโอกาสรู้โลกภายนอกมากมาย  ขอบคุณที่สละ เวลาทุกนาทีที่ มีความหมายของอาจารย์มาให้หนูมีความคิด ความรู้ มากมาย และทำให้วันสุดท้ายในการเรียนมีความสุข สนุกสนาน ขอบคุณค่ะ





ครูเองก็ต้องขอขอบคุณนักศึกษาทุกคนค่ะ ที่ช่วยกันทำให้วันเวลาของพวกเรามีคุณค่า
เวลา ถึงแม้ว่าจะ ผ่านมา แล้วก็ผ่านเลยไป แต่สิ่งที่เหลืออยู่ก็คือความทรงจำที่ดี ของพวกเราทุกคน
ที่อยู่ในใจของเราเสมอ

ทุกครั้งที่นึกถึงนักศึกษา ก็คือเวลาที่ดีของครูเช่นกันค่ะ มีรอยยิ้มเสมอค่ะ

น.ส. ปาริฉัตร หยุ่นเฮง รหัส 216 การจัดการทั่วไปรุ่นที่ 19


บทที่ 11 การบริหารจัดการธุรกิจสีเขียวและการวิเคราะห์ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และคุณภาพชีวิต
ความสำเร็จของธุรกิจขนาดใหญ่ ล้วนเริ่มต้นมาจากการคิดเผื่อ “ผู้คน” และ “โลก” เช่นเดียวกับตัวแทนภาคธุรกิจที่ร่วมแบ่งปันวิธีคิด ในเวทีสัมมนากรุงเทพธุรกิจ Green Forum : Green Economy ยุทธศาสตร์เศรษฐกิจไทยยั่งยืน หัวข้อ Panel Discussion “นวัตกรรม ‘ต้นแบบ’ บุกตลาดกรีน
วิธีคิดแบบเจเนอรัล อีเลคทริค หรือ “จีอี” ธุรกิจเทคโนโลยีชั้นนำของโลก เลือกสร้างความยั่งยืนให้กับการเติบใหญ่ของพวกเขา ด้วยแนวทางธุรกิจสีเขียว โดยไม่มองเพียงความสำเร็จทางธุรกิจ แต่คำนึงถึง “สังคม” ไปพร้อมกันด้วย
“พรเลิศ ลัธธนันท์” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เจเนอรัล อีเลคทริค ประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว บอกว่า จีอีทำธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับสภาวะแวดล้อมมาโดยตลอด สิ่งที่อยู่ในความคิดของพวกเขาคือ ทำอย่างไรที่จะพัฒนาเทคโนโลยีที่มีประโยชน์ ไม่เพียงตอบสนองความต้องการของลูกค้า หากยังรวมถึงสามารถลดมลภาวะ ลดการใช้ทรัพยากร และพลังงาน พร้อมกระตุ้นการเติบโตทางธุรกิจให้จีอีไปพร้อมกัน
ในปี 2003 จีอี เริ่มมาบุกเทคโนโลยีสีเขียวอย่างจริงๆ จัง โดยเชื่อว่านี่คือ “อนาคต” ของพวกเขา ขณะเดียวกันก็เป็นทางออกให้กับสังคม จึงเริ่มกำหนดเป็นกรอบกติกา ทั้งทำกับตัวเอง ทำกับคู่ค้า และทุกส่วนที่เกี่ยวข้องกับพวกเขา
“เราลงทุนเพิ่มในเรื่องของกรีนเทคโนโลยี จากตอนเริ่มต้นจีอีลงทุนปีละประมาณ 21,000 ล้านบาท ในเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับสภาวะแวดล้อม จากนั้นก็เพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว และในปี 2015 เราก็ตั้งเป้าที่จะใช้เงินถึงหมื่นล้านเหรียญ หรือประมาณสามแสนล้านบาท ไปกับเรื่องของกรีนเทคโนโลยี”
ที่มาของการพัฒนาผลิตภัณฑ์รักษ์โลกที่หลากหลาย เข้าไปแก้ปัญหาให้กับภาคส่วนต่างๆ อย่างบ้านประหยัดพลังงาน เครื่องยนต์ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม  ระบบหมุนเวียนน้ำนำกลับมาใช้ใหม่ พลังงานทางเลือก
ในเวลาเดียวกันก็ปรับเปลี่ยนการปฏิบัติงานของพวกเขา ให้ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก พัฒนาประสิทธิภาพการใช้พลังงานในธุรกิจ และลดการใช้น้ำ เสริมประสิทธิภาพการนำน้ำมาใช้ซ้ำ เหล่านี้ไปพร้อมกันด้วย
“ในแง่ของธุรกิจที่บอกว่าเราจะทำประโยชน์ให้กับสังคม แน่นอนว่าเราคงไม่ได้ทำหน้าที่เหมือนองค์กรของรัฐ หรือ เอ็นจีโอ แต่ จีอี เน้นชัดว่าเราเป็นองค์กรธุรกิจ เราทำธุรกิจ ทำผลิตภัณฑ์ และให้บริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม นี่คือสิ่งที่เราเชื่อมั่นและยึดถือมาโดยตลอด”
วิธีคิดของเจ้าคอนเซปต์ “Ecomagination” อย่าง จีอี ไม่ได้ห่างไกลจากมุมคิดดีๆ ของ ยักษ์ใหญ่คอนซูเมอร์โปรดักส์อย่าง “ยูนิลีเวอร์”
“พงษ์ทิพย์ เทศะภู” ผู้อำนวยการฝ่ายองค์กรสัมพันธ์และการสื่อสาร บริษัท ยูนิลีเวอร์ ไทย เทรดดิ้ง จำกัด ชี้ให้เห็นภาพของผลิตภัณฑ์ยูนิลิเวอร์จำนวนมหาศาล ที่คนไทยและคนอีกกว่า 2,000 ล้านคนทั่วโลกใช้อยู่ในทุกๆ วัน
สิ่งที่พวกเขาสร้างขึ้นไม่ได้ให้แค่ความสะดวกสบายแก่ผู้คน หากยังมีส่วนสร้างผลกระทบให้กับโลก ตั้งแต่กระบวนการผลิตไปจนถึงมือผู้บริโภค
กลายเป็นที่มาของการปฏิรูปแผนธุรกิจใหม่ ที่พวกเขาเรียกว่า “แผนการดำรงชีวิตอย่างยั่งยืนของยูนิลีเวอร์” ซึ่งประกาศใช้ไปทั่วโลก เมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา
“ในแผนนี้คือเราจะขยายธุรกิจให้โตเป็นสองเท่า ภายใน 5-6 ปี ข้างหน้า แต่โจทย์ที่มากกว่านั้น คือต้องลดผลกระทบที่มีต่อสิ่งแวดล้อมลงให้ได้ครึ่งหนึ่ง ขณะเดียวกันยังต้องยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คนทั่วโลกให้ดีขึ้นด้วย”
เพราะคนในสังคม คือผู้ใช้สินค้า คุณภาพที่ดีขึ้นของคนเหล่านี้ ก็คืออนาคตของธุรกิจ “ยูนิลีเวอร์” ตามวิธีคิด“สังคมอยู่ได้ ธุรกิจอยู่ได้”วิธีคิดใหม่ของ “ยูนิลีเวอร์” จึงให้ความสำคัญตั้งแต่ที่มาของแหล่งวัตถุดิบ โดยเลือกแหล่งลิตที่ยั่งยืน ไม่ใช้สารเคมีและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
นอกจากนี้เมื่อเข้าสู่โรงงานผลิต ก็จะควบคุมกระบวนการผลิตให้ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและลดการใช้พลังงาน มีการทำเรื่องพลังงานหมุนเวียน พัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เช่น น้ำยาปรับผ้านุ่มซึ่งลดการใช้น้ำลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ การออกแบบขวดผลิตภัณฑ์ให้สามารถใช้ได้จนหยดสุดท้ายไม่ใช่แค่คุ้ม แต่ยังต้องการให้เกิดกระบวนการใช้ซ้ำ หรือรีไซเคิล รณรงค์การใช้ผลิตภัณฑ์รีฟิล ออกแบบแพคเก็จจิ้งที่ลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม
“เรานำเรื่องพวกนี้มาคิดตลอดเวลา ทุกคนมีโจทย์ เราไม่ปล่อยให้เรื่องนี้เป็นหน้าที่ของโรงงานเท่านั้น แต่ทุกฝ่ายไม่ว่าจะเป็น ไอที การตลาด ฝ่ายผลิต ทุกๆ คนช่วยกันทำ แล้วสื่อสารไปยังสังคม”
ขณะที่ขยะมหาศาลจาก “ยูนิลิเวอร์” และทุกธุรกิจ คือ “ขุมทรัพย์” สำหรับ ดร.สมไทย วงษ์เจริญ ประธานกรรมการ โรงงานคัดแยกขยะเพื่อรีไซเคิล วงษ์พาณิชย์ คนที่เชื่อว่า “จริงๆ ไม่มีขยะบนโลกใบนี้ มันเป็นเพียงทรัพยากรที่วางไว้ผิดที่เท่านั้น"เพราะไม่ว่าจะเป็นกระดาษหนังสือพิมพ์ ขวด อุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์ ของชิ้นเล็กชิ้นใหญ่ ที่หลายคนขยะแขยง แต่นี่คือ เส้นเลือดที่หล่อเลี้ยงชีวิตพนักงานวงษ์พาณิชย์ กว่า 14,000 คน มาตลอด 37 ปีที่ผ่านมา และทำให้ธุรกิจสัญชาติไทยไปปักธงรบไกลถึงในอเมริกา“คนอเมริกันทิ้งขยะต้องเสียเงินเดือนละ 150 เหรียญสหรัฐ แต่พอเราไปเปิดบริการ เขารื้อตึก รื้อบ้าน ก็เอามาให้เราหมด สำหรับผมตลาดสีเขียว เป็นตลาดที่ใหญ่มากจริงๆ จนเรียกได้ว่าเป็น บลูโอเชียน”
วิธีคิดเติบใหญ่ในตลาดสีเขียว เจ้าพ่อรีไซเคิล บอกเราว่า เริ่มต้นจาก “ใจ” สำคัญที่สุด
“ต้องเริ่มต้นจากใจเราก่อน ใจของผู้บริหารต้องทำให้มันเป็นสีเขียวให้ได้ ต้องบริสุทธิ์ใจอย่างแท้จริง ทำด้วยความจริงใจ มุ่งมั่นที่จะรับผิดชอบในเรื่องนี้อย่างจริงๆ จังๆ จากนั้นก็บอกพนักงานของเรา กระจายออกไปถึงคนที่รู้จักเรา ตลอดจนสังคมไทย และสังคมโลก”
แนวคิดเรื่องกรีน เข้าไปมีส่วนร่วมในทุกธุรกิจ กระทั่งธุรกิจการจัดประชุมและนิทรรศการ ที่ “อรรคพล สรสุชาติ” ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการจัดการประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) บอกว่า การจัดงานประชุมและนิทรรศการจะต้องให้ความสำคัญในเรื่องกรีนมากขึ้น เพื่อลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม และลดความฟุ่มเฟือยลง อย่างดอกไม้ กระดาษ ของตกแต่งที่ไม่จำเป็น ก็ตัดออกไปบ้างเพื่อ “เซฟเงิน และเซฟโลก”
ขณะที่ จักรพันธ์ อริยะวงศ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซูพรีม รีนิวเอเบิล เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด ก็ยังคงเดินหน้า นำของเหลือใช้ทางการเกษตรมาผลิตพลังงานงานไฟฟ้า เพื่อสร้างความมั่นคงให้ประเทศ และสร้างรายได้ให้เกษตรกรในเวลาเดียวกัน

เท่านี้ก็พอยืนยันได้ ว่าถ้าเพียงมีใจมุ่งมั่น ไม่ว่าจะกิจการไหน ก็มุ่งสู่วิถี “Green” ได้

แหล่งที่มาhttp://www.bangkokbiznews.com/home/detail/business/bizweek/20110908/407110/%E0%B8%9B%E0%B8%8F%E0%B8%B4%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%B8%E0%B8%A3%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%88!!-%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%96%E0%B8%B5%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B9%88%E0%B8%87-Green.html

ส.อ.หญิง ณัฐธยาน์ ขอส่งงาน บทที่ 9 - 11


บทที่ 9
 การบริหารการเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาอย่างยั่งยืน
องค์การต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลง (Change) จากสภาพแวดล้อมที่เป็นผลมาจากกระแสโลกาภิวัฒน์ Globalization) ซึ่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจ สังคม การเมือง เทคโนโลยี การค้าระหว่างประเทศ และสภาพแวดล้อมในการแข่งขัน ดังนั้นในปัจจุบันองค์การต้องเปลี่ยนแปลงให้ทันกับการพลวัต (Dynamic) ของสภาพแวดล้อม มิเช่นนั้นองค์การจะไม่สามารถดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพ และมีการพัฒนาอย่างยั่งยืนได้ ซึ่งหากนักบริหารสามารถปรับองค์การให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป โดยอาศัยความรู้ความสามารถและความชำนาญก็จะสามารถสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน (Competitive Advantage) ในการสร้างประสิทธิภาพ และการพัฒนาที่ยั่งยืนได้ อย่างไรก็ตามในปัจจุบันได้เกิดกระแสแนวคิดในด้านการบริหารจัดการสมัยใหม่ เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการในองค์การยุคใหม่ทั้งในส่วนขององค์การภาครัฐ และภาคเอกชนอย่างหลากหลาย อาทิ Learning Organization,Benchmarking,Balanced Scorecard,Total Quality Management ฯลฯ ซึ่งแนวคิดดังกล่าวถือเป็นนวัตกรรมการบริหารจัดการขององค์การยุคใหม่ยังไม่สามารถเป็นเครื่องมือให้กับนักบริหารในการส่งเสริมศักยภาพของตนและองค์การได้เท่าที่ควร สืบเนื่องมาจากไม่ได้มีการจัดระบบข้อมูล และการเผยแพร่องค์ความรู้การบริหารจัดการสมัยใหม่ในการนำไปประยุกต์ใช้อย่างเป็นระบบและเหมาะสมดังนั้นยุทธศาสตร์ในการพัฒนาความเข้มแข็งทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นการปฏิบัติการเชิงรุก รวดเร็ว ฉับไว สนองต่อการพัฒนาด้านต่าง ๆ เช่น ด้านภาครัฐ (e-Government) การศึกษา (e-Education) สังคม (e-Society) อุตสาหกรรม (e-Industry) และด้านพาณิชย์ (e-Commerce) สภาพปัญหาและความจำเป็นของแนวทางการบริหารการจัดการของหน่วยงานโดยพิจารณาจากวิกฤตที่เกิดขึ้น สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงปัจจุบันและแนวโน้มกระแสโลกในอนาคต จึงกำหนดยุทธศาสตร์ที่จะนำไปสู่การพัฒนาที่สมดุล มีคุณภาพและยั่งยืน ระดับคุณภาพชีวิตของคนส่วนใหญ่ให้อยู่ดี มีสุข ควบคู่กับการพัฒนามุ่งสู่คุณภาพในทุกด้าน พัฒนาระบบบริหารจัดการที่ดีในทุกระดับ โดยอาศัยพลังการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในสังคมไทย บังเกิดผลเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน ผลสัมฤทธิ์ (Results Based Management - RBM) มีจุดเน้นที่สำคัญคือ การกำหนดตัวชี้วัดผลการปฏิบัติงานเป็นหลัก สามารถนำหลักการและทฤษฎีมาใช้ในหน่วยงานทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และหน่วงงานทางการศึกษา ในองค์การที่มีโครงสร้างซับซ้อน มีการโยงใยบทบาทหรือตำแหน่งแต่ละตำแหน่งของบุคลากร หรือเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานนั้น ๆ บุคลากรเหล่านั้นต้องแสดงบทบาทให้สอดคล้องกับคำอธิบายของตำแหน่ง เมื่อพ้นตำแหน่งไปแล้ว คนที่มาครองตำแหน่งใหม่ ก็จะแสดงบทบาทนั้นเหมือนเดิม สอดคล้องกับทฤษฎีองค์การแบบดั้งเดิม กลุ่มการจัดการแบบการบริหาร Administrative Management Theory) จะมุ่งเน้นให้ความสำคัญในระดับมหภาคทั้งองค์การ สร้างหลักเกณฑ์และการปรับปรุงวิธีการทำงานของฝ่ายบริหาร ส่วนมากนิยมที่จะนำแนวคิดของกูลิค (Gulick) ที่ได้ขยายแนวคิดเกี่ยวกับกระบวนการบริหารของฟาโยล(Henri Fayol) คือ OSCAR จาก 4 ประการ แบ่งออกเป็น 7 ประการ ที่นิยมเรียกว่า "POSDCORB" ได้แก่ การวางแผน การจัดองค์การ การบริหารงาน บุคลากร การสั่งการ การประสานงาน การรายงาน และการจัดสรรงบประมาณ โดยเน้นความสำคัญของระบบโครงสร้างองค์การตั้งแต่ระดับเบื้องบนสู่เบื้องล่าง ใช้หลักการทำงานประสานกันเป็นระบบ สอดคล้องกับเป้าหมายและวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ เป็นหลักในการกำหนดกรอบทฤษฎี
บทที่ 10
การแข่งขันในตลาดโลกและการปรับตัวเพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน
ความได้เปรียบทางการแข่งขัน เป็นสุดยอดปรารถนาของทุกกิจการที่ต้องดำเนินงานท่ามกลางความผันแปรที่ เปลี่ยนแปลง ซึ่งทุกธุรกิจย่อมจะทำทุกวิถีทางที่จะเฟ้นหากลยุทธ์ที่เฉียบคมที่สุด เพื่อนำมาสู่การสร้างความได้เปรียบดังกล่าวเหนือคู่แข่ง แต่อย่างไรก็ตาม การได้มาซึ่งความได้เปรียบที่เหนือชั้นนั้น ยังไม่ยากลำบากเท่ากับรักษามันเอาไว้ บ่อยครั้งที่หลายท่านคงเห็นบริษัทที่ครั้งหนึ่งเคยเกรียงไกรอย่างมาก แต่ก็ต้องประสบกับปัญหาและสภาวะถดถอยลงไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งบางแห่งถึงกับล้มไปโดยที่ไม่สามารถฟื้นตัวกลับมายืนอยู่จุดเดิมได้อีกเลย จึงเริ่มมีการพยายามวิเคราะห์หาแนวคิดกลยุทธ์ต่าง ๆ ที่นอกจากจะนำไปสู่ความได้เปรียบแล้ว ยังต้องสามารถทำนุบำรุงให้คงอยู่ในระยะยาวอย่างต่อเนื่องได้อีกด้วย เนื่องจากไม่มีคู่แข่งรายใดที่จะยอมอยู่เฉย มองดูธุรกิจของเราเติบโตต่อไปได้อย่างราบรื่น หากกิจการของเราประสบความสำเร็จในระดับหนึ่ง ก็ต้องมีผู้ที่พยายามจะเข้ามาร่วมต่อสู้แย่งชิงผลประโยชน์จากความสำเร็จนั้น ด้วย ไม่ช้าก็เร็ว ดังนั้น จึงมีเทคนิคบางประการมานำเสนอ เพื่อนำสู่ความได้เปรียบในการดำเนินงานที่คงทนถาวรมากขึ้น 
         ประการแรก คือ กล้าเสี่ยงกับการสร้างสรรค์ โดยกิจการควรสนับสนุนการสร้างแนวคิดใหม่ ๆ และทดลองที่จะนำแนวคิดที่แตกต่างลงสู่การปฏิบัติ แม้ว่าบ่อยครั้งความคิดนั้น ๆ จะดูแปลกแหวกแนว จนอาจจะถูกคนอื่นๆหัวเราะเยาะและเย้ยหยันว่าเป็นไปไม่ได้ก็ตาม
         เจฟ เบซอส ผู้ก่อตั้ง อเมซอนดอทคอม อันลือลั่น ก็กล่าวยืนยันว่า "การที่จะคิดค้นสิ่งใหม่ๆนั้น มักจะทำให้เราถูกมองว่าเป็นตัวประหลาดในสายตาของคนรอบข้างเสมอ" แต่หากกิจการไม่เสี่ยงที่จะทดลองเลยนั้น ก็ไม่สามารถจะลิ้มรสของความเป็นผู้นำที่แตกต่างได้เลย โดยเครื่องไม้เครื่องมือหลายอย่างที่อเมซอนคิดค้นขึ้น เพื่อนำมาสู่การให้บริการค้าปลีกออนไลน์ต่อลูกค้าอย่างล้ำสมัย ไม่ว่าจะเป็นระบบแนะนำสินค้าแบบตัวต่อตัว ระบบเว็ปเพจส่วนบุคคล ฯลฯ ล้วนแล้วแต่เคยถูกมองว่าเป็นไปไม่ได้ทั้งสิ้น หรือแม้แต่ คีออสเพลงดิจิตอลของสตาร์บัค หรือ ระบบค้นหาข้อมูลระดับโลกของกูเกิล ก็ผ่านการวิพากษ์วิจารณ์กันมาอย่างหนาหูทั้งสิ้น แต่สิ่งต่าง ๆ ก็ได้นำมาความสำเร็จที่แตกต่างมาสู่กิจการอย่างต่อเนื่องเช่นกัน    ซึ่งการที่กล้าเสี่ยงกับการสร้างสรรค์นี้ ไม่ควรแต่จะมุ่งเน้นในการพิจารณาเฉพาะการเคลื่อนไหวของคู่แข่งโดยตรงใน ปัจจุบันเท่านั้นนะครับ เพราะจะทำให้เป็นการสร้าง "กรอบ" ในแนวความคิดของกิจการเอง อาจส่งผลให้ไม่สามารถคิดออกไปนอกกรอบหรือแนวทางที่ต่างไปจากที่อุตสาหกรรม และการแข่งขันปัจจุบันเป็นอยู่ก็ได้ จึงยากที่จะแตกต่างอย่างแท้จริง ดังนั้นจึงไม่ควรเพียงแต่ "look around" เท่านั้น แต่ควรจะ "look ahead" มองออกไปข้างหน้าโดยไม่ยึดติดกับสิ่งที่เคยเห็นหรือเคยดำเนินการอยู่
         เทคนิคประการที่สอง คือ อย่าลุ่มหลงกับการเพิ่มขนาดเท่านั้น ควรเน้นที่การสร้างความเป็นเอกลักษณ์มากกว่า หลายธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ มักจะคิดว่าการเติบโตหรือขนาดที่ใหญ่ขึ้นอย่างต่อเนื่องนั้น ถือเป็นปัจจัยแห่งความสำเร็จ จึงมีความพยายามที่จะเพิ่มขนาดอย่างต่อเนื่อง   แต่ในความเป็นจริงแล้ว ความได้เปรียบทางการแข่งขัน มิได้ขึ้นอยู่กับขนาดแต่เพียงอย่างเดียว ยิ่งขนาดใหญ่ขึ้น แต่หากทุกอย่างกลับขาดความโดดเด่น จะยิ่งทำให้เป็นภาระทางการดำเนินงานเสียเปล่า ดังนั้น การมุ่งเน้นที่เอกลักษณ์เพื่อตอบสนองความต้องการเฉพาะด้านที่พิเศษแตกต่าง จริง ๆ จึงเป็นสิ่งที่จะทำให้เกิดความมั่นคงในการแข่งขันมากกว่า  วอลล์-มาร์ท ห้างค้าปลีกที่ใหญ่สุดในโลก ก็เริ่มที่จะทำนุบำรุงความได้เปรียบทางการแข่งขันของตน โดยมิได้พึ่งพาเรื่องของขนาดเท่านั้น แต่มุ่งเน้นให้วอลล์-มาร์ทกลายเป็นธุรกิจบริการที่ใส่ใจและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงจะเป็นตัวกลางในการนำเสนอแต่ผลิตภัณฑ์ที่ส่งเสริมสุขภาพ และไม่ทำลายสภาพแวดล้อม เพื่อให้เหมาะสมกับแนวโน้มความต้องการของสังคม โดยสินค้าที่นำมาจำหน่ายในร้านจะต้องสามารถติดตามกลับไปยังต้นแหล่งได้เสมอ เพื่อยืนยันถึงความปลอดภัยและเป็นมิตรต่อโลกอย่างจริงจัง ซึ่งถือเป็นจุดเด่นที่เป็นเอกลักษณ์จากค้าปลีกรายอื่น ๆ
         เทคนิคประการที่สาม คือ อย่าดึงดันกับการแข่งขันแต่เพียงอย่างเดียว ควรหาตลาดใหม่เพื่อฉกฉวยโอกาสในการเติบโตด้วย โดยแนวคิดนี้เน้นว่าควรใส่ใจในการสร้างสรรค์โอกาสทางการตลาดใหม่ๆอยู่ตลอด เวลา แทนที่จะดำเนินงานอยู่ในตลาดที่มีการแข่งขันรุนแรงแต่เพียงอย่างเดียว เพราะอาจจะเพลี่ยงพล้ำได้ง่าย และผลตอบแทนก็ไม่คุ้มค่า
         เทคนิคที่สี่ คือ โฟกัสที่ลูกค้า มิใช่คู่แข่งขัน ซึ่งอาจจะทำให้เห็นการพัฒนาโอกาสทางธุรกิจที่อยู่ในความต้องการของตลาดได้ อย่างมาก เช่น บริษัท Caterpillar ที่มีผลิตภัณฑ์ด้านเครื่องจักรหนักอันลือชื่อ โดยเน้นการตอบสนองความต้องการของลูกค้าอย่างถึงที่สุด จนเกิดความเป็นเลิศด้านบริการ ซึ่งบริษัทสัญญาว่า ไม่ว่าลูกค้าจะอยู่ที่ใดในโลกนี้ ก็สามารถที่จะส่งชิ้นส่วนไปให้บริการได้ภายใน 24 ชั่วโมง   ซึ่งถือเป็นจุดขายที่เป็นเอกลักษณ์ จนกระทั่งหลายคนมองว่า Caterpillar ขายบริการด้วยซ้ำ และท้ายที่สุด จากการที่กิจการมีการพัฒนาเครือข่ายการขนส่งทั่วโลก ทำให้มีทักษะและเทคโนโลยีสูงมากพอที่จะเข้าแข่งขันในธุรกิจให้บริการทางด้านลอจิสติกส์เพิ่มเติม ซึ่งปัจจุบันกลายเป็นธุรกิจหลักที่เติบโตสูงสุดของบริษัท และทำรายได้มหาศาลกลับคืนมาทีเดียว  นอกจากนี้ กิจการยังควรมีการสร้างเครือข่ายสนับสนุนการแลกเปลี่ยนไอเดียและข้อมูล ระหว่างบริษัท เพื่อเป็นการจุดประกายการสร้างสรรค์ รวมถึงควรต้องกระตุ้นให้บุคลากรของเรากระหายในความสำเร็จและพัฒนาอย่างต่อ เนื่องตลอดเวลา จึงจะสามารถวิ่งหนีและกระโดดข้ามคู่แข่งได้ต่อไปในอนาคต

http://www.ezyjob.com/บทความ/การตลาด
บทที่ 11
การบริหารจัดการธุรกิจสีเขียวและการวิเคราะห์ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และคุณภาพชีวิต

ในการพัฒนาระบบเศรษฐกิจสีเขียว สิ่งที่จำเป็นคือการลงทุนใหม่ๆ การสร้างทักษะใหม่ๆ และการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ ในการนี้ สมาชิกผู้เข้าร่วมจึงยินยอมที่จะมอบแหล่งเงินทุนให้แก่ประเทศกำลังพัฒนาและให้ความช่วยเหลือในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการสนับสนุนเครื่องมือทางการเงิน ลดเงินช่วยเหลือที่สร้างผลเสียต่อสภาพแวดล้อมและไม่สอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืน สนับสนุนการวิจัยร่วมกันระหว่างประเทศเกี่ยวกับเทคโนโลยีสีเขียวที่เกี่ยวข้องกับประเทศกำลังพัฒนา เพื่อให้สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีได้ในราคาที่เหมาะสม และสนับสนุนองค์กรทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ของประเทศกำลังพัฒนา เพื่อให้นักวิทยาศาสตร์และวิศวกรท้องถิ่นได้พัฒนาเทคโนโลยีสีเขียวแบบท้องถิ่น
1. ความมั่นคงทางอาหาร
เรียกร้องให้ทุกประเทศหันมาให้ความสำคัญกับปริมาณการผลิตอาหารที่ยั่งยืนโดยเพิ่มการลงทุนให้กับผลิตภัณฑ์อาหารท้องถิ่น ขยายตลาดอาหารที่ได้จากการเกษตร และลดของเสียในห่วงโซ่อุปทาน โดยให้ความสนใจเป็นพิเศษกับผู้หญิง เกษตรกรรายย่อย เยาวชน เกษตรกรพื้นเมือง สร้างความมั่นใจในโภชนาการที่เหมาะสม ผ่านกระบวนการค้าขายที่โปร่งใสและเปิดกว้างมากขึ้น พร้อมแนวทางที่จะนำไปสู่ความมีเสถียรภาพมากขึ้นของราคาอาหารและตลาดในประเทศ นอกจากนี้ยังสนับสนุนการริเริ่มในทุกๆระดับที่เกี่ยวกับการพัฒนาการเข้าถึงข้อมูล เพิ่มปฏิสัมพันธ์ระหว่างเกษตรกรและผู้เชี่ยวชาญผ่านบริการการศึกษาและการใช้เทคโนโลยี
2. น้ำ
เน้นความสำคัญของการมีน้ำดื่มที่สะอาดและปลอดภัยเพื่อสุขอนามัยในฐานะหนึ่งในสิทธิมนุษยชนที่จำเป็นสำหรับการมีชีวิตที่ดี จำเป็นต้องวางเป้าหมายให้กับการจัดการน้ำเสีย รวมไปถึงการลดปริมาณน้ำเสียจากครัวเรือน โรงงานอุตสาหกรรมและแหล่งกสิกรรม และสนับสนุนให้มีการบำบัดน้ำเสียโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตชานเมือง


3. พลังงาน
จะริเริ่มสร้างแหล่งพลังงานที่ยั่งยืนสำหรับทุกคน โดยมีเป้าหมายในการนำเสนอการเข้าถึงบริการพลังงานพื้นฐานในระดับขั้นต่ำสำหรับทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภคในปี ค.ศ.2030 ดังนั้นจึงต้องขอให้มีการจัดหาทรัพยากรทางการเงินที่เพียงพอและมีคุณภาพสำหรับประเทศกำลังพัฒนา เพื่อทำให้การใช้แหล่งพลังงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและกว้างขวางขึ้น และแต่ละประเทศควรหันมาพัฒนานวัตกรรมคาร์บอนต่ำมากขึ้น


4. เมือง
ส่งเสริมแนวทางบูรณาการและแบบองค์รวมเพื่อการวางแผนและการสร้างเมืองอย่างยั่งยืนด้วยการให้การสนับสนุนแก่ฝ่ายปกครองท้องถิ่น เครือข่ายการสื่อสารและคมนาคมที่มีประสิทธิภาพ ระบบการส่งมอบบริการที่ดีขึ้น อากาศและคุณภาพน้ำที่ดีขึ้น ลดปริมาณของเสีย ขยายการเฝ้าระวังภัยธรรมชาติและตอบสนองความเปลี่ยนแปลงในสภาพอากาศที่แปรปรวน
5. งานสีเขียวและการใหทุกคนในสังคมมีสวนรวม
การพัฒนาขีดความสามารถของมนุษย์เป็นสิ่งจำเป็นในการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่มีฐานกว้าง อันจะช่วยสร้างชุมชนที่แข็งแกร่งและยั่งยืนและพัฒนาสภาพแวดล้อม คนงานจึงต้องมีทักษะและได้รับการคุ้มครองที่จำเป็นเพื่อที่พวกเขาจะได้มีส่วนร่วมและได้ประโยชน์จากระบบเศรษฐกิจสีเขียวซึ่งมีศักยภาพในการสร้างตำแหน่งงานดีๆ อีกมาก โดยเฉพาะกับเยาวชนดังนั้นภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมจึงควรสนับสนุนการสร้างงานสีเขียวเช่นการลงทุนในงานสาธารณะเพื่อการฟื้นฟูและขยายทุนธรรมชาติมีปฏิบัติการจัดการน้ำและที่ดิน การเพาะปลูกในครัวเรือน การเพาะปลูกตามระบบนิเวศ การจัดการผืนป่า การใช้ความหลากหลายทางชีวภาพด้วยเหตุผลทางเศรษฐกิจ ฯลฯ จำเป็นต้องขยายการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานเพื่อสนับสนุนการพัฒนาที่ยั่งยืนและให้ความรู้เกี่ยวกับงานสีเขียวรวมทั้งเพิ่มความคุ้มครองทางสังคมแก่สมาชิกทุกคนในสังคมรวมถึงแรงงานนอกระบบด้วย
6. มหาสมุทรและทะเล
ให้ความสำคัญกับการรักษาและจัดการแหล่งมหาสมุทรและทะเลอันเป็นส่วนสำคัญในการรักษาระบบนิเวศของโลก และร่วมดูแลแนวปะการังไปจนถึงหมู่เกาะและรัฐชายฝังทะเล สนับสนุนการร่วมมือกันตามแนวทางของCoral Triangle initiative (CTi) และ the international Coral Reefinitiative(iCRi) สำหรับประเทศกำลังพัฒนาที่เป็นเกาะขนาดเล็ก (SiDS)ยังคงจัดเป็นกรณีที่ต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษเนื่องจากได้รับผลกระทบสูงมาก ไม่ว่าจะเป็นผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภัยธรรมชาติ 

7. ภัยธรรมชาติ
แนวทางการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติทางธรรมชาติจะยังคงความสำคัญในบริบทของการพัฒนาที่ยั่งยืนและถูกรวมอยู่ในวาระการพัฒนาหลังปีค.ศ.2015 แต่ประเทศสมาชิกต้องเร่งประสานงานระดับชาติ ภูมิภาคและระดับสากล เพื่อพัฒนาการพยากรณ์อากาศและระบบการเตือนภัยล่วงหน้าให้ดีขึ้น
8. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
ประเทศที่พัฒนาแล้วยังคงมีช่องโหว่เรื่องการจัดการกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและกำลังเผชิญผลเชิงลบมากขึ้นเรื่อยๆ อันจะเป็นการบ่อนทำลายความมั่นคงทางอาหารและความพยายามในการขจัดความยากจน อีกทั้งคุกคามการดำรงอยู่ของประเทศหมู่เกาะเล็กๆ ที่ประชุม Rio+20 จะส่งเสริมให้ประเทศต่างๆ ร่วมมือกันจัดการกับปัญหาที่เชื่อมโยงกันระหว่างน้ำ พลังงาน อาหาร และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ


9. ปาและความหลากหลายทางชีวภาพ
สนับสนุนการชะลอและยับยั้งการทำลายผืนป่า และส่งเสริมให้มีการจัดการผืนป่าในแง่ของการรักษาและฟื้นฟู ปฏิบัติการเร่งด่วนนี้เรียกว่า “NonLegally Binding instrument on all Types of Forests  (NLBi)” ผ่านพิธีสารนาโงยา ซึ่งจะถูกนำมาใช้ในการประชุมภาคีอนุสัญญาว่าด้วยจับกระแส Rio+20ความหลากหลายทางชีวภาพครั้งที่ 10 ทั้งยังต้องกระตุ้นให้เกิดการลงทุนในทุนธรรมชาติ ผ่านเครื่องมือกระตุ้นและนโยบายที่เหมาะสม
10. ความเสื่อมโทรมของดิน และการกลายเปนทะเลทราย
เนื่องจากผืนดินเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างความเจริญเติบโต ความมั่นคงทางอาหาร และการขจัดความยากจน การที่พื้นที่เพาะปลูกในแอฟริกากลายเป็นทะเลทรายนั้นเป็นปัญหาร้ายแรงสำหรับการพัฒนาที่ยั่งยืนในพื้นที่แถบนั้นดังนั้นประชาคมโลกจึงต้องมีส่วนร่วมมากขึ้นในการดำเนินงานตามอนุสัญญาสหประชาชาติเพื่อรับมือกับการกลายเป็นทะเลทราย (United NationsConvention to Combat Desertification: UNCCD) และสนับสนุนการร่วมมือกันและการริเริ่มโครงการพิทักษ์รักษาทรัพยากรดิน เช่น โครงการแนวร่วมดินโลก (Global Soil Partnership: GSP) ตลอดจนส่งเสริมให้เกิดการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ที่พุ่งเป้าไปที่การทำให้คนตระหนักถึงประโยชน์ทางเศรษฐกิจจากนโยบายจัดการที่ดินอย่างยั่งยืน
11. ภูเขา
ภูเขามีความเสี่ยงสูงที่จะประสบปัญหาจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ อีกทั้งยังเป็นที่พำนักพักพิงของชนเผ่าท้องถิ่นจำนวนมากที่ใช้ทรัพยากรอย่างพอเพียง แต่ถูกมองข้าม และยังมีปัญหาความยากจนและเสี่ยงต่อภัยธรรมชาติและภาวะขาดแคลนอาหาร ดังนั้นเราจึงต้องทำการสำรวจกลไกระดับโลก ระดับภูมิภาค ระดับชาติ และระดับท้องถิ่นให้มากขึ้นเพื่อเป็นการชดเชยและตอบแทนชุมชนที่อาศัยในภูเขา สำหรับสิ่งที่พวกเขาทำมาตลอดเพื่อปกป้องระบบนิเวศ
12. สารเคมีและของเสีย
โครงการกลยุทธ์การจัดการสารเคมีระดับประเทศ (SAiCM) ต้องริเริ่มหาวิธีการจัดการกับสารเคมีและของเสียตลอดวงจรชีวิตของมันให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นในระดับสากล การให้ทุนสำรองที่ยั่งยืนและเพียงพอนั้นสำคัญต่อการช่วยพัฒนาประเทศที่มีการจัดการสารเคมีและของเสียที่ปลอดภัย ดังนั้นการปฏิบัติงานภายใต้อนุสัญญาที่เกี่ยวข้อง ได้แก่  Basel Convention, Rotterdam Convention และ Stockholm Convention จึงควรประสานงานกันมากขึ้นเพื่อจัดการกับมลพิษอินทรีย์และมีการร่วมมือกันระหว่างทั้งภาครัฐและภาคเอกชนโดยมุ่งเป้าไปที่การเพิ่มศักยภาพและเทคโนโลยีของการจัดการของเสียในสิ่งแวดล้อม รวมทั้งปัญหาของเสียอิเล็กทรอนิกส์และพลาสติกในแหล่งน้ำ
13. การผลิตและการบริโภคที่ยังยืน
จัดทำแผนงานระยะ 10 ปีว่าด้วยการบริโภคและการผลิตที่ยั่งยืน ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของข้อตกลงระดับโลกเกี่ยวกับการพัฒนาที่ยั่งยืน




14. การศึกษา
ทุกคนต้องสามารถเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพ ซึ่งจะทำได้โดยการเพิ่มการเตรียมความพร้อมของครูและให้มหาวิทยาลัยต่าง ๆ เป็นแบบอย่างในการปฏิบัติ รวมถึงการสนับสนุนกิจกรรมการแลกเปลี่ยนด้านการศึกษาระดับสากล อาทิ ให้ทุนการศึกษาในระดับนานาชาติเพื่อเผยแพร่แนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืนให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น โดยให้นักเรียนรู้จักคุณค่า หลักการสำคัญ และแนวทางที่หลากหลายอันจำเป็นต่อวิถีการพัฒนานี้
15. ความเทาเทียมทางเพศ
ความไม่เสมอภาคในสังคมและเศรษฐกิจที่มีอยู่มายาวนานนั้นส่งผลต่อผู้หญิงและเด็กซึ่งเป็นคนกลุ่มหลักในบรรดาคนจนทั้งหมดในโลก ดังนั้นเราต้องทำให้ผู้หญิงมีส่วนร่วมอย่างเต็มที่กับเศรษฐกิจ เสริมศักยภาพของผู้หญิงในฐานะผู้ขับเคลื่อนการพัฒนาที่ยั่งยืน เราต้องให้ความสำคัญกับความเท่าเทียมทางเพศในทุกมิติของสังคม อันรวมไปถึงการศึกษา การจ้างงาน การเป็นเจ้าของทรัพยากร การเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม การเมือง การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจระดับองค์กร ฯลฯ
16. การเรงและการวัดความคืบหนา
เป้าประสงค์ กลุ่มเป้าหมาย และหลักการประเมินมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการวัดและการเร่งความคืบหน้าในกระบวนการนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนดังนั้นจึงต้องมีการออกกฎหรือแนวทางในการประเมินผล ที่สะท้อนให้เห็นการจัดการกับประเด็นเสาหลักทั้งสาม (เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม) ได้อย่างสมดุลและสอดคล้องกับหลักการของ  Agenda 21 ทั้งยังมีความเป็นสากลและสามารถนำไปประยุกต์ได้กับทุกประเทศ แต่ยังเปิดกว้างสำหรับความแตกต่างในแนวทางแก้ปัญหาในแต่ละประเทศ โดยคาดการณ์ว่าเป้าประสงค์เหล่านี้จะบรรลุผลได้ภายในปี ค.ศ.2030 นอกจากนี้ยังต้องพัฒนาการจัดทำตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจที่รวมมิติทางเศรษฐกิจสังคมและสิ่งแวดล้อมในลักษณะที่สมดุล และขอให้เลขาธิการเป็นผู้ริเริ่มขั้นตอนทั้งหมดจากการปรึกษาหารือกับสมาชิกสหประชาชาติและองค์กรอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

แหล่งที่มา   หนังสือ แนวคิดและความเคลื่อนไหวเรื่องเศรษฐกิจสีเขียว  ของ สฤณี อาชวานันทกุล

น.ส.กันตินันท์ บุญลิลา รหัส 235 รุ่น 19


 ( ขอเพิ่มเติมค่ะ)
บทที่ 11 การบริหารจัดการธุรกิจสีเขียวและการวิเคราะห์ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และคุณภาพชีวิต

2-3 ปีมานี้ เราได้เห็นและได้ยินคำว่า “องค์กรสีขาว” หรือ “โรงเรียนสีขาว” กันหนาตาหนาหู ซึ่งทุกท่านคงทราบถึงนัยสำคัญของคำว่า “สีขาว” ดี นั่นก็คือ ปราศจากยาเสพติดนั่นเอง สีขาวเป็นสีของความพิสุทธิ์จึงถูกใช้เป็นสัญลักษณ์ของความผุดผ่องไม่มัวหมองด้วยสารเสพติดทั้งหลายทั้งปวง


แต่คำว่า “องค์กรสีเขียว” “ธุรกิจสีเขียว” (Green Business) หรือ “โรงเรียนสีเขียว” นี้ คงไม่ค่อยได้ยินบ่อยสักเท่าไร แต่เราจะได้ยินคำว่า “พื้นที่สีเขียว” มากกว่า โดยหมายถึงพื้นที่ที่เขียวชอุ่มด้วยพันธุ์ไม้ แต่คำว่าองค์กรสีเขียวหรือธุรกิจสีเขียวนี้ มีความหมายอย่างอื่นค่ะ และแน่นอน! ไม่ได้หมายความว่าองค์กรนั้นๆ ทำธุรกิจขายสีซึ่งเป็นสีเขียว หรือทำธุรกิจขายต้นไม้พันธุ์ไม้
ความหมายของ ‘Green Business’
“ธุรกิจสีเขียว” หมายถึง องค์กรที่ประกอบธุรกรรมโดยมีปณิธานในการทำงานที่มุ่งอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เพื่อให้ทรัพยากรธรรมชาติทั้งหลายของโลกมนุษย์ อาทิ อากาศ ต้นน้ำ ลำธาร ป่าไม้ สัตว์ป่า พืชพันธุ์ธัญญาหาร แมลง ฯลฯ มีชีวิตอยู่ร่วมกันในระบบนิเวศวิทยาที่ดีที่สุดและอย่างยั่งยืนที่สุด
การดำเนินธุรกิจหรือแม้กระทั่งการดำเนินชีวิตประจำวันของมนุษย์เรา ล้วนมีผลกระทบทางลบต่อสิ่งแวดล้อมไม่มากก็น้อยอยู่ทุกนาที แค่อยู่กับบ้านทำอาหาร อาบน้ำแต่งตัว เข้านอน ฯลฯ ก็ล้วนสามารถสร้างมลพิษให้สิ่งแวดล้อมได้ตลอดเวลา
ลองคิดดูง่ายๆ ก็ได้นะคะ เช่น ทอดไข่เจียวรับประทานกับข้าว เวลาล้างกระทะที่มีน้ำมันติดอยู่ คราบน้ำมันก็จะไหลผ่านท่อน้ำในอ่างส่งตรงไปยังท่อระบายน้ำรวมทันที โดยไม่มีระบบกรองหรือกักคราบน้ำมันใดๆ ทั้งสิ้น นี่ยังไม่คิดถึงน้ำยาล้างจานที่เป็นสารเคมีอีกนะคะ เวลาอาบน้ำแต่งตัวล่ะ? คราบสบู่ แชมพูสระผม สเปรย์ผม ก็ล้วนสร้างมลพิษให้น้ำและอากาศทั้งสิ้น เวลานอนรึ? อากาศร้อนก็ต้องเปิดแอร์ ซึ่งทำให้บรรยากาศของโลกร้อนขึ้นทุกวันเช่นกัน ทำยังไงได้? ก็มันร้อนนี่นา
เมื่อใช้ก็ต้องทดแทน เมื่อรับเอาก็ต้องรู้จักให้คืน
เราคงต้องยอมรับความจริงว่าการใช้ชีวิตที่เกิดมาเป็นมนุษย์นี้ ต้องใช้ทรัพยากรและทำลายทรัพยากรมากพอสมควร ทั้งนี้ การประกอบธุรกิจบางอย่างก็มีผลในทางทำลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมโดยตรง เช่น ธุรกิจค้าไม้ ขุดเจาะน้ำมัน เป็นต้น ส่วนที่ทำลายสิ่งแวดล้อมทางอ้อมนั้น คงไม่จำเป็นต้องยกตัวอย่างแล้วนะคะ
อย่างไรก็ตาม การเป็นองค์กรสีเขียวไม่ได้หมายความว่ากระดุกกระดิกทำอะไรไม่ได้เลย ห้ามใช้ทรัพยากรธรรมชาติโดยเด็ดขาด อย่างนี้มันเป็นไปไม่ได้อยู่แล้ว แต่การเป็นหรือพยายามเป็นองค์กรสีเขียวหมายความว่า มีนโยบายและกระบวนการในการประกอบธุรกิจที่พยายามใช้ หรือทำลายสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด และหากเป็นไปได้ก็ต้องพยายามสร้างขึ้นทดแทน หรือพยายามบำบัดสภาพแวดล้อมที่ถูกทำลายไปให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ยกตัวอย่างเช่น เมื่อมีการตัดไม้มาใช้ ก็ต้องปลูกป่าทดแทน เป็นต้น หรือถ้าของบางอย่างมันสร้างทดแทนไม่ได้เช่น ถ้าขุดน้ำมันหรือถ่านหินมาใช้แล้ว ก็คงสร้างขึ้นมาคืนสู่ธรรมชาติไม่ได้ ก็ต้องหาวิธีขุดเจาะน้ำมันหรือถ่านหินที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้น้อยที่สุด รวมทั้งมีการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อที่จะใช้ประโยชน์จากน้ำมัน หรือถ่านหินให้ได้สูงสุด และมีกากของทรัพยากรเหลือทิ้งน้อยที่สุด
สรุปก็คือว่า การประกอบธุรกิจสีเขียวคือ การดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบต่อทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมของโลก เพราะโลกเรานี้ทุกคนมีส่วนร่วมเป็นเจ้าของ อย่าแก้ปัญหาอย่างมักง่าย แค่ให้พ้นๆ ตัว แต่มันไม่พ้นจากโลกนี้ แล้วก็จะกลับย้อนมาหาตัวต้นตอในที่สุด หนีไม่พ้นหรอกค่ะ ยกตัวอย่าง (อีกแล้ว) เช่น การที่ประเทศอุตสาหกรรมบางประเทศ มีกากขยะนิวเคลียร์อันเป็นสารพิษมีอันตรายร้ายแรง ความที่รัฐบาลของประเทศตนเองมีกฎหมายควบคุมการกำจัดสารพิษอย่างเคร่งครัด ดังนั้น จึงได้ลักลอบขนเอากากนิวเคลียร์ใส่เรือลอยในมหาสมุทร ซึ่งถือเป็นน่านน้ำสากลไม่มีประเทศใดเป็นเจ้าของคอยตรวจตราดูแล แล้วจู่ๆ วันหนึ่งเรือลำนั้นก็ลอยไปเกยหาดของประเทศใดประเทศหนึ่ง ที่กลายเป็นแพะโดยจำใจ และก็มีหลายกรณีเช่นกัน ที่บริษัทยักษ์ใหญ่บางบริษัททำการเจรจากับรัฐบาลที่เห็นแก่เงินของประเทศด้อยพัฒนาบางประเทศ เพื่อทิ้งกากขยะ กากสารพิษต่างๆ ซึ่งนับเป็นกรรมของประชาชนตาดำๆ ของประเทศนั้นไป
ระดับ ‘ความเขียว’ ของธุรกิจ
การดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมไม่ใช่เรื่องที่ทำได้ง่ายๆ หรือไร้ค่าใช้จ่าย ในทางตรงกันข้ามมันเป็นเรื่องที่มีความสลับซับซ้อนและมีค่าใช้จ่ายแฝงอยู่ด้วยพอสมควร (หรืออาจแพงมาก ขึ้นอยู่กับประเภทของธุรกิจ) จะอาศัยเพียงจิตสำนึกความรับผิดชอบเพียงปัจจัยเดียวไม่เพียงพอ แต่ในขณะเดียวกัน ถ้าไม่มีจิตสำนึกรับผิดชอบเอาเสียเลย โลกของเราคงถล่มทลายแน่จากปัญหา Global Warming (ภาวะโลกร้อน) คงกลายเป็น Global Boiling (ภาวะโลกเดือดพล่าน) เป็นแน่
องค์กรแต่ละองค์กรสามารถเลือกวางนโยบายได้ว่า ตนเองมีความต้องการและความพร้อมที่จะ “เขียว” ขนาดไหน ซึ่งปัจจัยที่นำมาพิจารณาในการเลือกระดับความเขียว (หรือระดับความรับผิดชอบต่อทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม) มีดังนี้
ปัจจัยที่ 1 ระดับศีลธรรม จริยธรรม ความรับผิดชอบของเจ้าของบริษัทหรือ CEO
คงปฏิเสธไม่ได้ว่า บุคคลที่มีอิทธิพลมากที่สุดในการกำหนดระดับความรับผิดชอบขององค์กรคือ ผู้นำระดับสูงสุดนั่นเอง ดังนั้น ค่านิยมและความเชื่อส่วนตัวของผู้นำจึงเป็นปัจจัยสำคัญที่สุด อันมีผลกระทบต่อความเชื่อ ทัศนคติและพฤติกรรมของพนักงานทั้งองค์กร
ปัจจัยที่ 2 กฎหมายที่ควบคุมผู้ประกอบการ
ในแต่ละประเทศจะมีกฎข้อบังคับ ข้อกำหนดและแนวทางปฏิบัติต่างๆสำหรับธุรกิจแต่ละประเภทอยู่แล้ว เช่น ต้องมีการบำบัดน้ำเสียอย่างไร ต้องมีการดูแลเรื่องควันพิษอย่างไร ฯลฯ ซึ่งการปฏิบัติตามกฎหมายกำหนดนั้น ถือว่าเป็นการปฏิบัติขั้นต่ำที่สุดแล้ว เพราะถ้าไม่ทำตามก็ถือว่าผิดกฎหมาย อย่างไรก็ตามมีผู้ประกอบการหลายคนไม่สนใจข้อกฎหมาย โดยใช้วิธีหลบเลี่ยงหรือติดสินบนเจ้าหน้าที่รัฐ เพื่อปิดปากไม่ให้เอาเรื่องก็มีถมไป มิฉะนั้นแม่น้ำแม่กลองของเราคงไม่เน่าจนปลาลอยตายเป็นแพให้เห็นอยู่บ่อยๆ หรอกนะคะ
ปัจจัยที่ 3 ทัศนคติของผู้บริโภคและสาธารณชน
ปัจจุบันนี้ชาวบ้านอย่างเราๆ ท่านๆ เริ่มมีหูตากว้างขวางและมีสิทธิมีเสียงมากขึ้น อีกทั้งมีสื่อในรูปแบบต่างๆ ช่วยเป็นกระบอกเสียงให้เรา ดังนั้น เมื่อมีผู้เดือดร้อน เช่น เหม็นกลิ่นควัน น้ำเน่า คันตามตัวเพราะพิษจากสารเคมี ฯลฯ จึงสามารถร้องเรียนเรียกค่าเสียหายได้ หรือแม้กระทั่งธุรกิจนั้นยังไม่เปิดกิจการ แต่สาธารณชนมีความกังวลห่วงใยว่า จะสร้างผลกระทบทางลบต่อสภาพแวดล้อมความเป็นอยู่ของพวกเขา สาธารณชนก็สามารถทักท้วงหรือประท้วงต่อต้านจนธุรกิจล้มก็ยังไหว
ดังนั้น ผู้ประกอบธุรกิจจึงต้องใคร่ครวญปัจจัยต่างๆ เหล่านี้ให้ดีว่า บริษัทของตนเองควรจะมีความเขียวในระดับใดจึงจะเหมาะสมกับเงื่อนไขต่างๆ นี้










น.ส ปวราพร หาญบุญศรี รหัส 5130125401227 การจัดการทั่วไปรุ่น 19




บทที่ 11 การบริหารจัดการธุรกิจสีเขียวและการวิเคราะห์ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และคุณภาพชีวิต
          ครบรอบ 54 ปี ไปหมาดๆ กับการดำเนินการของการไฟฟ้านครหลวง(กฟน.) ที่รับผิดชอบในการจ่ายไฟฟ้าในพื้นที่กรุงเทพมหานคร นนทบุรี และสมุทรปราการมีลูกค้าอยู่3.15ล้านรายตลอดระยะเวลาที่ผ่านมานอกเหนือจากภารกิจหลักในการจำหน่ายไฟฟ้าแล้ว กฟน.ยังได้ให้ความสำคัญในเรื่องสังคมและสิ่งแวดล้อมหรือซีเอสอาร์ควบคู่ไปด้วย ผ่านโครงการต่างๆไม่ว่าจะเป็นโครงการคืนโลกสดใสลดใช้พลังงานที่เน้นให้เยาวชนตระหนักในเรื่องการรักษาสิ่งแวดล้อมและประหยัดพลังงานการอนุรักษ์ป่าชายเลนซึ่งเป็นทรัพยากรที่มีความสำคัญต่อระบบนิเวศ โครงการ Young MEA ที่เน้นการสนับสนุนให้เยาวชนทำกิจกรรมต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมรวมถึงกิจกรรมประหยัดพลังงานโครงการเสริมสร้างความสัมพันธ์กับชุมชนและสังคมในการออกหน่วยให้บริการประชาชนตามชุมชนต่างๆโครงการบำรุงรักษาระบบสายดินตู้น้ำดื่มในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นต้น
          ล่าสุดกฟน.ได้จัดทำโครงการสาธิตเทคโนโลยีรถยนต์ไฟฟ้าและสถานีชาร์จไฟซึ่งได้เปิดตัวสถานีชาร์จไฟฟ้ารถยนต์แห่งแรกในประเทศไทยไปแล้ว เมื่อวันที่ 1สิงหาคมที่ผ่านมา โดยนายอาทร สินสวัสดิ์ ผู้ว่าการการไฟฟ้านครหลวง(กฟน.) ชี้ให้เห็นว่า การดำเนินงานไม่ใช่เพียงการแสวงหาผลกำไรจากการดำเนินงานเท่านั้นแต่จะต้องดูว่าจะตอบแทนสังคมและประเทศอย่างไรเพื่อให้ธุรกิจเกิดความยั่งยืนและควบคู่ไปกับการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมการดำเนินงานดังกล่าวเนื่องจากเห็นว่าประเทศไทยต้องพึ่งการนำเข้าพลังงานจากต่างประเทศเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะน้ำมันที่มีราคาแพงจะทำอย่างไรช่วยประเทศประหยัดการใช้น้ำมันลงได้
          ประกอบกับการเติบโตของตลาดรถยนต์ไฟฟ้ากำลังเป็นกระแสที่ทั่วโลกให้ความสนใจ เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทำให้แนวโน้มการใช้รถยนต์ประหยัดพลังงานมีมากขึ้น กฟน.จึงเห็นความสำคัญในส่วนนี้ที่จะต้องเตรียมพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสำหรับรถยนต์ไฟฟ้าไว้รองรับที่สำคัญหากกฟน.ไม่ริเริ่มดำเนินการมองว่ารถยนต์ไฟฟ้าจะเกิดขึ้นได้ยากเหมือนกับไข่กับไก่ใครเกิดก่อนกันทำให้กฟน.ตระหนักถึงจุดนี้ที่จะต้องพัฒนาสถานีชาร์จไฟฟ้าขึ้นมาก่อนเพื่อให้ประชาชนเห็นว่าหน่วยงานรัฐพยายามจะผลักดันให้มีการใช้รถยนต์ไฟฟ้าอย่างแพร่หลาย
          อย่างไรก็ตามก่อนที่จะมีการตั้งสถานีชาร์จไฟฟ้าไม่ใช่ว่ามีสถานที่แล้วดำเนินการได้เลยจะต้องมีการศึกษาให้รอบด้านซึ่งทางกฟน.ได้มีการจัดทำโครงการวิจัยและศึกษาแนวโน้มการใช้รถยนต์ไฟฟ้าในอนาคต มาตั้งแต่ปี2553 โดยศึกษาในด้านเทคโนโลยีของแบตเตอรี่ เทคโนโลยีรถยนต์ไฟฟ้าโครงสร้างพื้นฐานสำหรับรถยนต์ไฟฟ้า นโยบายด้านรถยนต์ไฟฟ้าในต่างประเทศและผลกระทบต่อกฟน. ซึ่งจากผลการศึกษาพบว่า แนวโน้มการใช้งานของเทคโนโลยีรถยนต์ไฟฟ้าที่เพิ่มมากขึ้นในหลายประเทศ การผลิตรถยนต์ไฟฟ้าของค่ายรถยนต์ต่างๆที่มีจำนวนมากขึ้น รวมถึงเทคโนโลยีของแบตเตอรี่ที่มีการพัฒนาให้สามารถเก็บประจุได้มากขึ้น ในราคาต้นทุนที่ต่ำลง
          ต่อมาในปี 2554 กฟน.ได้มีการลงนามบันทึกข้อตกลง "Feasibility Study of Electric Vehicle" ร่วมกับ บริษัทมิตซูบิชิ มอเตอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด และได้มอบรถยนต์Mitsubishi i-MiEVจำนวน 1คันเพื่อใช้ในการศึกษาและทดสอบรถยนต์ไฟฟ้าในการใช้งานในเขต กทม. เป็นระยะเวลา 9 เดือน โดยมีผลการศึกษาหลักประกอบด้วยการประเมินผลการขับขี่รถยนต์พลังงานไฟฟ้าi-MiEV ในสภาพการจราจรปกติของกรุงเทพมหานคร, การประเมินประสิทธิภาพและการใช้พลังงานของรถยนต์ iMiEV ในสถานการณ์ต่างๆกัน, การตรวจวัดผลกระทบของการชาร์จไฟของรถยนต์i-MiEV ต่อระบบไฟฟ้าของ กฟน.
          และได้มีการจัดทำโครงการสาธิตเทคโนโลยีรถยนต์ไฟฟ้าและสถานีชาร์จไฟร่วมกับศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งแล้วเสร็จช่วงปลายปี2555โดยผลจากการศึกษานี้ กฟน. จะนำไปใช้เพื่อเป็น Roadmap สำหรับโครงการต่อเนื่องของ กฟน. ต่อไป
          สำหรับสถานีชาร์จไฟฟ้าสำหรับรถยนต์แห่งแรกในประเทศไทยนี้ ตั้งอยู่ในพื้นที่สำนักงานใหญ่ กฟน. ถนนเพลินจิต ซึ่งได้เปิดให้บริการฟรีตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2555 ถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2556 เพื่อนำร่องให้เกิดการใช้จริงในอนาคตโดยปัจจุบัน กฟน.มีรถยนต์ไฟฟ้าทดลอง 1 คัน และในอนาคตเตรียมสั่งซื้อเพิ่มอีก20 คันภายในปี 2559 หรือปีละ 5 คัน ในราคาประมาณคันละกว่า 2  ล้านบาท เพื่อนำมาใช้ในกิจการของ กฟน.เอง รวมทั้งขยายสถานีบริการเพิ่มอีก10 แห่งในกรุงเทพฯภายในปี 2556 ใช้เงินลงทุนก่อสร้างสถานีละ 6 แสนบาทต่อแห่ง ซึ่งถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นของสังคมการใช้รถยนต์ไฟฟ้าที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยเวลานี้
          โดยสถานีชาร์จไฟฟ้าในรถยนต์แห่งนี้มีกำลังไฟฟ้า 350 โวลต์ สามารถชาร์จเร่งด่วนภายใน 20 นาที หรือประมาณ 80% ของความจุ และขึ้นอยู่กับขนาดความจุของแบตเตอรี่ สามารถวิ่งได้ 100-140 กิโลเมตรต่อชั่วโมง หากชาร์จตามบ้านเรือนกำลังไฟฟ้า220 โวลต์จะใช้เวลาชาร์จ8-10 ชั่วโมง ซึ่งปัจจุบันในประเทศไทยมีรถชาร์จไฟฟ้าอยู่เพียง 3 คัน
          จากจุดเริ่มต้นดังกล่าวนี้เอง แม้ว่ากฟน.จะต้องแบกรับภาระในการดำเนินงานดังกล่าวก็ตามแต่ด้วยการตระหนักถึงความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมแล้วถือเป็นบทบาทของกฟน.ที่ต้องดำเนินการและจะเป็นแหล่งข้อมูลการเรียนรู้เกี่ยวกับการใช้รถยนต์ไฟฟ้าในสภาพจริงให้กับทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานภาครัฐ เอกชนหรือแม้กระทั่งประชาชนทั่วไปซึ่งกฟน.ยินดีที่จะเผยแพร่ข้อมูลต่างๆ เพื่อให้ประเทศได้ก้าวไปสู่สังคมรถยนต์ไฟฟ้าเพื่อสภาพแวดล้อมที่ดีของคนไทยต่อไปในอนาคตที่สำคัญหากมีการใช้รถยนต์ไฟฟ้าแพร่หลายในอนาคตการตั้งสถานีชาร์จไฟฟ้าก็จะเป็นอีกโอกาสหนึ่งในการทำธุรกิจสีเขียวสร้างรายได้ให้กับกฟน.ทางหนึ่งด้วยตามวิสัยทัศน์กฟน.ที่มุ่งสู่องค์กรสมรรถนะสูง เป็นผู้นำด้านระบบจำหน่ายไฟฟ้าและบริษัทที่เป็นเลิศ สร้างความเข้มแข็งในธุรกิจเกี่ยวเนื่อง รับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
          "เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทำให้แนวโน้มการใช้รถยนต์ประหยัดพลังงานมีมากขึ้นกฟน.จึงเห็นความสำคัญในส่วนนี้ที่จะต้องเตรียมพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสำหรับรถยนต์ไฟฟ้าไว้รองรับ"

       

          ที่มา: หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับวันที่ 23 - 25 ส.ค. 2555--
http://www.its.in.th