หน้าเว็บ

น.ส. สายฝน โป่งมะณี รหัส 5210125401003 เอกการจัดการทั่วไป ปี 4‏

แนวคิดทฤษฎีทางการบริหารจัดการ
แนวความคิดการจัดการตามสถานการณ์
แนวคิดนี้ได้ถูกพัฒนาขึ้นมาให้สอดคล้องกับสถาพการในยุคใหม่ที่ต้องเผชิญกันการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ขององค์การ เป็นแนวคิดทางการบริหารที่มุ่งสร้างความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรผันได้แก่ สภาพแวดล้อมกับการเปลี่ยนแปลงองค์การอย่างเหมาะสม โดยการออกแบบองค์การอย่างเหมาะสม และกระทำการบริหารจัดการให้สอดคล้องกับสถานการณ์เฉพาะอย่างเกิดขึ้น คือ
1.มุ่งให้ความสำคัญต่อสภาพแวดล้อมองค์การ
2.ยอมรับหลักการต่าง ๆ ที่เป็นสากลควบคู่กับการมององค์การแต่ละองค์การมีลักษณะพิเศษเฉพาะ
3.มุ่งแสวงหาความเข้าใจของความสัมพันธ์ที่ขึ้นอยู่ระหว่างกับระบบย่อยต่าง ๆ ภายในองค์การตลอดจนความสัมพันธ์ระหว่างองค์การกับสภาพแวดล้อมภายนอก
4.ยอมรับว่าสภาพแวดล้อมภายนอกและระบบย่อยภายในต่าง ๆ ของแต่ละองค์การค่อนข้างมีลักษณะพิเศษอย่าง
จะเห็นว่าแนวคิดนี้มีความเข้าใจว่า ไม่มีแนวทางของการบริหารหรือทฤษฎีการบริหารใดที่ดีทีสุดเพียงแนวทางเดียว ที่จะใช้ได้กับองค์การทุกรูปแบบ การบริหารจะมีประสิทธิภาพย่อมขึ้นอยู่กับความสามารถประยุกต์และเลือกใช้วิธีการอย่างเหมาะสมตามแต่สถานการณ์ที่เกิดขึ้น



วิธีการศึกษารูปแบบหรือแนวความคิดทางการจัดการ
ในการศึกษารูปแบบหรือทฤษฎีทางด้านการจัดการนั้น มีหลักเกณฑ์หรือทฤษฎีที่จะต้องศึกษาหลายรูปแบบด้วยกัน รูปแบบต่าง ๆ ของการจัดการเหล่านั้นจะต้องมีการนำเอาทฤษฎีทางด้านการจัดการรวมทั้งเหตุการณ์หรือสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นมาวิเคราะห์และมีการพัฒนาปรับปรุงทฤษฎีกันต่อ ๆ มา
ในการศึกษารูปแบบทางการจัดการสามารถวิเคราะห์เป็นกลุ่มได้หลายอย่างด้วยกัน คือ
1. วิธีการศึกษาในรูปของกรณีศึกษาหรือจากการสังเกต (The Empirical or Case Approach) การศึกษาทางการจัดการแบบนี้เป็นการวิเคราะห์หรือศึกษาการจัดการโดยอาศัยประสบการณ์แล้วมาวิเคราะห์ การศึกษาการจัดการโดยวิธีนี้เป็นที่เชื่อว่าเป็นการศึกษาจากความสำเร็จหรือความผิดพลาดของงานบริหารเฉพาะกรณีไป และผู้ศึกษาจะต้องพยายามศึกษาจากปัญหาที่ระบุเอาไว้อย่างเด่นชัดและสถานการณ์ต่าง ๆ เหล่านี้จะทำให้นักการจัดการสามารถศึกษาและวิเคราะห์แนวความคิดทางการจัดการได้
2. วิธีการศึกษาจากพฤติกรรมของมนุษย์ (The Interpersonal Behavior Approach) การศึกษาจากพฤติกรรมของมนุษย์เป็นวิธีการอย่างหนึ่ง เพราะในการศึกษาทางด้านการจัดการเป็นการศึกษาถึงความสัมพันธ์ของบุคคลในองค์การ สภาวะการณ์การเป็นผู้นำ
3. วิธีการศึกษาการตัดสินใน (Decisional Approach) เป็นวิธีการศึกษาทางการจัดการที่นำเอาข้อมูลหรือการวิเคราะห์เชิงปริมาณเข้ามาใช้ประกอบการตัดสินใจ
4. วิธีการศึกษาโดยวิธีการเชิงระบบ (System Approach) คำว่า ระบบ หมายถึงส่วนต่าง ๆ จำนวนหนึ่งที่มีผลกระทบต่อกันและมีส่วนเชื่อมโยงกันเพื่อที่จะทำให้งานขององค์การบรรลุเป้าหมายที่องค์การต้องการได้
5. วิธีการศึกษาแบบวิธีการปรับตัว (Adaptive of Ecological Approch) เป็นระบบเปิดจะต้องวิเคราะห์โดยการศึกษาสภาวะแวดล้อมภายในองค์การกับสภาวะแวดล้อมภายนอกองค์การควบคู่กันไปด้วย

อ้างอิง : วิวัฒนาการของแนวคิดทางการจัดการ. 2547

ผู้เขียน ฟาร์อีสเทอร์น.

นางสาวนงลักษณ์ พลจันทร์ การจัดการทั่วไป ปี4 5210125401056

ทฤษฏีการพัฒนาองค์การและทฤษฏีการบริหารจัดการโดยวัตถุประสงค์
Kurt Lewin เป็นนักจิตวิทยาสังคม ผู้สนับสนุนแนวคิดเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของกลุ่ม ได้อธิบาย ขั้นตอนในกระบวนการพัฒนาองค์การ (Steps in the organization development process) คือ 1. การใช้ผู้นำการเปลี่ยนแปลง 2. การรวบรวมข้อมูลและการวินิจฉัยปัญหา 3. ข้อมูลป้อนกลับและการประเมินผลลัพธ์ที่ได้อย่างเป็นทางการ ซึ่งขั้นตอนในกระบวนการพัฒนาองค์การจะสามารถแยกพิจารณาได้เป็น 7 ขั้นตอนดังต่อไปนี้
1. การกำหนดปัญหา ต้องเริ่มที่ผู้บริหารระดับสูงและต้องคำนึงถึงว่าองค์การจะมีปัญหาและสามารถแก้ไขปัญหาต่างๆ ได้ ซึ่งทุกคนในองค์การมีความยินดีที่จะให้ผู้บริหารดำเนินการเป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลง และเริ่มกระบวนการในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว
2. การเข้ามาของผู้นำการเปลี่ยนแปลง ผู้นำการเปลี่ยนแปลงนี้อาจได้มาจากบุคคลภายในหรือภายนอกองค์การ ที่มีความสารถในการช่วยแก้ไขปัญหาต่างๆ ขององค์การได้
3. การรวบรวมข้อมูลและวินิจฉัยปัญหา เป็นการทำงานของสมาชิกภายในองค์การ ซึ่งทำงานร่วมกับผู้นำการเปลี่ยนแปลงในการตรวจสอบเอกสารขององค์การ การสัมภาษณ์ การตั้งคำถาม และการสังเกต เพื่อรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับองค์การและปัญหาที่เกิดขึ้น ต่อไปผู้นำการเปลี่ยนแปลงจะทำการเลือกผู้บริการขึ้นมาเพื่อพิจารณาหรือตรวจสอบข้อมูลและพัฒนาการวินิจฉัยปัญหาต่างๆ ซึ่งเป็นการวิเคราะห์ลักษณะของปัญหาและขอบเขตของปัญหา
4. การพัฒนาเพื่อการเปลี่ยนแปลง ผู้นำการเปลี่ยนแปลงนี้อาจทำงานร่วมกับผู้บริหารคนสำคัญขององค์การ เพื่อกำหนดเป้าหมายในการวางแผนเพื่อการเปลี่ยนแปลงขององค์การ
5. การปฏิบัติตามการเปลี่ยนแปลง เป็นการเลือกปฏิบัติงานซึ่งเป็นวิธีการที่จะทำให้การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น สามารถเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง บุคคล วัฒนธรรม หรือื่นๆ ซึ่งเทคนิคของการเปลี่ยนแปลงนี้สามารถทำได้หลายวิธีด้วยกัน
6. การสร้างเสถียรภาพและความเป็นสถาบัน เป็นการปฏิบัติอย่างต่อเนื่องและทำแบบจริงจังจนเกิดความเคยชิน โดยผู้บริหารระดับสูงจะต้องให้ความร่วมมือในการปฏิบัติงานอยู่สม่ำเสมอ และพิจารณาผลของการเปลี่ยนแปลงภายหลังที่ได้นำวิธีใหม่มาใช้ในการพัฒนาองค์การโดยพิจารณาจากกิจกรรมในแต่ละวัน
7. การป้อนกลับและการประเมินผล หลังจากได้มีกี่เปลี่ยนแปลงโครงสร้างองค์การแล้วผู้นำมีการเปลี่ยนแปลงจะรวบรวมข้อมูลเพื่อจัดเตรียมมาวิเคราะห์สิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้น และหลังจากนั้นจะทำการประเมินผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นว่าเกิดอะไรบ้าง โดยในขั้นตอนนี้สามารถเปลี่ยนแปลงขั้นตอนกระบวนการเปลี่ยนแปลงอื่นๆ ได้ แม้ว่าสภาพแวดล้อมบ้างองค์การจะไม่สามารถควบคุมได้แต่องค์การสามารถที่จะเอาชนะได้ ซึ่งขั้นตอนสุดท้ายผู้บริหารระดับสูงเชื่อว่า สุขภาพและประสิทธิผลขององค์การจะได้รับการปรับปรุง ซึ่งเป็นผลลัพธ์จาการเปลี่ยนแปลงพัฒนาองค์การ
อ้างอิง : ศิริวรรณ เสรีรัตน์. ทฤษฏีองค์การ. กรุงเทพฯ. บริษัท ธรรมสาร จำกัด. 2545

นางสาวนงลักษณ์ พลจันทร์ การจัดการทั่วไป ปี4 5210125401056

www.thai-aec.com เป็นเว็บไซต์ที่ให้ความรู้เกี่ยวกับ ประชาคมอาเซียนทั้งหมด ได้แก่ ความได้เปรียบเสียเปรียบของไทยใน AEC การปรับตัวกลยุทธ์เมื่อเป็นAEC บทความและบทวิเคราะห์AEC ผลกระทบอื่นที่เกี่ยวกับไทย ข้อมูลแต่ละประเทศในAEC เป็นต้น
AEC เป็นการพัฒนามาจากการเป็น สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (The Association of South East Asian Nations : ASEAN) ก่อตั้งขึ้นตามปฏิญญากรุงเทพฯ (Bangkok Declaration) เมื่อ 8 สิงหาคม 2510 โดยมีประเทศผู้ก่อตั้งแรกเริ่ม 5 ประเทศ คือ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย ต่อมาในปี 2527 บรูไน ก็ได้เข้าเป็นสมาชิก ตามด้วย 2538 เวียดนาม ก็เข้าร่วมเป็นสมาชิก ต่อมา 2540 ลาว เข้าร่วม และปี 2542 กัมพูชา ก็ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกลำดับที่ 10 ทำให้ปัจจุบันอาเซียนเป็นกลุ่มเศรษฐกิจภูมิภาคขนาดใหญ่ มีประชากร รวมกันเกือบ 500 ล้านคน
จากนั้นในการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 9 ที่อินโดนีเซีย เมื่อ 7 ต.ค. 2546 ผู้นาประเทศสมาชิกอาเซียนได้ตกลงกันที่จะจัดตั้งประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) ซึ่งประกอบด้วย3 เสาหลัก คือ
1.ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (Asean Economic Community:AEC)
2.ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (Socio-Cultural Pillar)
3.ประชาคมความมั่นคงอาเซียน (Political and Security Pillar)
เดิมกาหนดเป้าหมายที่จะตั้งขึ้นในปี 2563 แต่ต่อมาได้ตกลงกันเลื่อนกาหนดให้เร็วขึ้นเป็นปี 2558 และก้าวสาคัญต่อมาคือการจัดทาปฏิญญาอาเซียน (ASEAN Charter) ซึ่งมีผลใช้บังคับแล้วตั้งแต่เดือนธันวาคม ปี 2552 นับเป็นการยกระดับความร่วมมือของอาเซียนเข้าสู่มิติใหม่ในการสร้างประชาคม โดยมีพื้นฐานที่แข็งแกร่งทางกฎหมายและมีองค์กรรองรับการดาเนินการเข้าสู่เป้าหมายดังกล่าวภายในปี 2558
ปัจจุบันประเทศสมาชิกอาเซียน มี ไทย พม่า มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ เวียดนาม ลาว กัมพูชา บรูไน
สาหรับเสาหลักการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community หรือ AEC )ภายในปี 2558 เพื่อให้อาเซียนมีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน แรงงานฝีมือ อย่างเสรี และเงินทุนที่เสรีขึ้นต่อมาในปี 2550 อาเซียนได้จัดทาพิมพ์เขียวเพื่อจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC Blueprint) เป็นแผนบูรณาการงานด้านเศรษฐกิจให้เห็นภาพรวมในการมุ่งไปสู่ AEC ซึ่งประกอบด้วยแผนงานเศรษฐกิจในด้าน ต่าง ๆ พร้อมกรอบระยะเวลาที่ชัดเจนในการดาเนินมาตรการต่าง ๆ จนบรรลุเป้าหมายในปี 2558 รวมทั้งการให้ความยืดหยุ่นตามที่ประเทศสมาชิกได้ตกลงกันล่วงหน้า
ในอนาคต AEC จะเป็นอาเซียน+3 โดยจะเพิ่มประเทศ จีน เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น เข้ามาอยู่ด้วย และต่อไปก็จะมีการเจรจา อาเซียน+6 จะมีประเทศ จีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และ อินเดีย

นายชัยวัฒน์ โฉมสุข รหัส 244 การจัดการทั่วไป รุ่น 19



ปัจจัยด้านบุคคล (Personal Factors) Mintzberg

ปัจจัยด้านสถานการณ์ที่สำคัญในสถานการณ์ของการจัดการ คือ การเปลี่ยนอำนาจหน้าที่ของผู้บริหาร สไตล์ของการจัดการ ที่ดำเนินการของผู้บริหารรายหนึ่งอาจไม่เกิดประสิทธิภาพสำหรับผู้บริหารรายอื่น ตัวอย่าง ผู้บริหารบางคนมีความรู้สึกอ่อนไหวและมุ่งเน้นคน(People-oriented) มากกว่าผู้บริหารคนอื่นถ้าเขากระทำ การรุนแรงกับผู้ใต้บังคับบัญชาในการแก้ปัญหาด้านการทำงานก็เป็นไปได้ที่เขาจะไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่งานได้สำเร็จ เมื่อบริษัทเจริญเติบโตขึ้น ผู้บริหารอาจพบว่าสไตล์ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ของการปฏิบัติหน้าที่งานได้สำเร็จ เมื่อบริษัทเจริญเติบโตขึ้น ผู้บริหารอาจพบว่าสไตล์ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล (Interpersonal style) ของการปฏิบัติงานที่ดีในขณะที่บริษัทยังเล็ก อาจไม่เหมาะสม กับบริษัทเมื่อขยายเติบโตขึ้นสถานการณ์สำคัญ 2 อย่างที่อาจมีผลมาจากการตัดสินใจคือ ความขัดแย้งของผลประโยชน์ (Conflict of interest) และการเปลี่ยนอำนาจ (Power shifts) ตัวอย่าง ผู้บริหาร ระดับกลางมักอยู่ในตำแหน่งที่ก่อให้เกิดความขัดแย้งของบทบาท (Role-conflict) เสมอ เนื่องจากพยายามสร้างความพึงพอใจให้แก่ผู้บริหารระดับสูงและพยายามดำเนินการให้เป็นผลดีสำหรับการ รายงานของพนักงานที่ส่งมาถึงเขา นักวิเคราะห์ระบบต้องเผชิญความขัดแย้งของผลประโยชน์ของแผนก MIS ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ และผู้บริหารระดับสูงที่มีตำแหน่งในบทบาทของความขัดแย้ง ระบบ ข้อมูลข่าวสารทั้งหลายมีผลกระทบมาจากการเปลี่ยนอำนาจและการกระจายอำนาจใหม่ การนำการควบคุมที่จะสร้างหรือลดความขัดแย้งในผลประโยชน์ ตัวอย่าง ผู้บริหารการประมวลผลข้อมูล จำนวนมากพยายามทำลายไมโครคอมพิวเตอร์เมื่อไมโครคอมพิวเตอร์มุ่งเข้าสู่องค์กรเป็นครั้งแรก ซึ่งพิจารณาว่าไมโครคอมพิวเตอร์จะเป็นอุปสรรคกับฐานของคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ (Mainframe-based) แต่นักวิชาการเชื่อว่าแผนกสารสนเทศเพื่อการจัดการ (MIS) จะสามารถผลักดันภาษาของโปรแกรมที่ซับซ้อนต่าง ๆ ได้อย่างประสบผลสำเร็จตามมาตรฐานของบริษัทได้โดย การขัดขวางอุปสรรคต่าง ๆ ของฐานอำนาจจากคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ด้วยไมโครคอมพิวเตอร์ จากการคำนวณของผู้ใช้คนสุดท้ายค่านิยมของผู้ตัดสินใจเป็นตัวอย่างของปัจจัยด้านสถานการณ์ ที่สำคัญ เช่นบุคคลที่กำลังเดือดร้อนบางครั้งอาจเป็นรายสุดท้ายที่จะถูกไล่ออกเพราะผู้บริหารอาจมีความรู้สึกอ่อนไหวกับพนักงานเป็นอย่างมากหรือผู้บริหารบางคนอาจถือว่าคุณภาพของชีวิต เป็นสิ่งสำคัญ ดังนั้นผู้ตัดสินใจที่มีค่านิยมในการติดต่อสัมพันธ์กับบุคคลของธุรกิจขนาดเล็กอาจยกเลิกทางเลือกของการตัดสินใจทางอื่นการจะขยายของธุรกิจให้เพิ่มขึ้นเนื่องจากมีความเสี่ยง มากขึ้นบทบาทด้านการจัดการ Henry Mintzberg ได้กำหนดสิ่งที่ผู้บริหารจะต้องทำออกเป็นหน้าที่ย่อย 10 ข้อ จากหน้าที่หลัก 3 ประการคือ บทบาทด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล บทบาทด้าน ข้อมูลข่าวสาร และบทบาทด้านการตัดสินใจ

1.บทบาทด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล (Interpersonal roles) หมายถึง ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลทั้งภายในและภายนอกองค์การ จะทำหน้าที่ 1 หัวหน้าแต่ในนา ซึ่งไม่มีอำนาจ (Figurehead) เป็นบทบาทระหว่างบุคคลซึ่งเกี่ยวข้องกับการจัดงานและกิจกรรมต่าง ๆ 2 ผู้นำ (Leadership) เป็นบทบาทซึ่งกำหนดโดยผู้บริหารระดับสูงขึ้นไป ให้มีหน้าที่กำกับดูแลสั่ง การต่อผู้ใต้บังคับบัญชาได้ตามอำนาจหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย 3 ผู้ประสานงาน (Liaison) เป็นบทบาทที่มีหน้าที่ในการประสานงานกับบุคคลของหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกองค์การในอดีต เทคโนโลยีสารสนเทศยังมีน้อยที่จะเข้ามาช่วยบทบาทของความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลแต่ปัจจุบันการรวมตัวของคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีการสื่อสารทำให้ผู้บริโภคได้สัมผัสแนวทางใหม่ เช่น การใช้ Electronic mail, Voice mail และการสนทนาทางไกลที่เห็นภาพและเสียง (Video teleconferencing) สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในสถานการณ์ที่สำคัญเร่งด่วนได้ดี

2. บทบาทด้านข้อมูลข่าวสาร (Informational roles) คือบทบาทซึ่งประกอบด้วยกิจกรรมการตรวจสอบการแพร่และการถ่ายทอดข้อมูล บทบาทด้านข้อมูลข่าวสาร เกี่ยวกับผู้บริหารในฐานะเป็นผู้รับ (Receiver) หรือผู้ส่ง (Sender) ข้อมูลข่าวสาร ซึ่งประกอบด้วย

1 บทบาทผู้ตักเตือน (Monitor role) เป็นบทบาทในการกำหนดมาตรฐานเพื่อให้มั่นใจในความ ถูกต้องและความน่าเชื่อถือข้อมูลข่าวสารที่ถูกเผยแพร่ออกสู่ภายนอกโดยการส่งข้อมูลไปสู่บุคคลภายนอกอย่างระมัดระวังด้วยผลผลิต (Output) จากกระดาษคุณภาพสูงและเลเซอร์พริ้นเตอร์ ซึ่งนำเสนอในรูปของกราฟหรือแฟ้มข้อมูลที่น่าสนใจ เมื่อข้อมูลข่าวสารได้เผยแพร่ภายในหน่วยงานผู้บริหารก็ประสบความสำเร็จ

2 ผู้เผยแพร่ (Disseminator role) และเมื่อกระจายออกสู่ภายนอก หน่วยงานผู้บริหารจะเป็น 3.ผู้แถลงข่าวสาร (Spokesperson role)

เทคโนโลยีสารสนเทศจำนวนมากสามารถช่วยผู้บริหารให้ประสบความสำเร็จในบทบาทด้านข้อมูลข่าวสารระบบรายงานด้านการจัดการ และระบบข้อมูลข่าวสารด้าน การบริหาร สามารถนำมาใช้ในการให้ได้มาตลอดจนสรุปผลข้อมูลข่าวสารที่ผู้บริหารต้องการ เทคโนโลยีต่าง ๆ จึงสัมพันธ์กับระบบสนับสนุนการตัดสินใจและระบบนข้อมูลข่าวสารของสำนักงาน อาจใช้ประโยชน์ในการวิเคราะห์และจัดระบบข้อมูลเพื่อการเผยแพร่และการนำเสนอ การสนับสนุนระบบข้อมูลข่าวสารให้สำเร็จต้องอาศัยรูปแบบด้านบทบาท

3.บทบาทด้านการตัดสินใจ (Decisional role) คือ การตัดสินใจเลือกระหว่างสองทางเลือกขึ้นไป ซึ่งเป็นการเลือกระหว่างทางเลือกที่คาดหวังว่าจะนำไปสู่ผลลัพท์ที่ พึงพอใจจากปัญหาใดปัญหาหนึ่ง ทฤษฎีระบบข้อมูลข่าวสารและการจัดการครอบคลุมด้านการวางแผนและการควบคุมหน้าที่การวางแผนและการควบคุมทางการจัดการนำผลมาสู่บทบาทด้าน การตัดสินใจ ซึ่งประกอบด้วยการเป็นผู้ประกอบ (Entrepreneurism)ผู้ควบคุมสิ่งรบกวน (Disturbance handling) ผู้จัดสรรทรัพยากร (Resource allocation) และผู้เจรจาต่อรอง (Negotiation)

3.1 บทบาทผู้ประกอบการ (Entrepreneurial role)เกี่ยวข้องกับวิสัยทัศน์ ของผู้บริหารในสิ่งที่จำเป็นต้องทำเพื่อให้งานบรรลุผลสำเร็จ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของกิจกรรมของการวางแผนและการควบคุมทั้งหมด

3.2 บทบาทผู้ควบคุมสิ่งรบกวน (disturbance - handler role)ของผู้บริหารเกี่ยวข้องกับการควบคุมผู้บริหารทั้งหลายต้องออกแบบระบบ สำหรับจำแนกและควบคุมสิ่งรบกวนที่เกิดขึ้น เพื่อแก้ไขปัญหา

3.3 บทบาทผู้จัดสรรทรัพยากร (Resource allocation role) เกี่ยวข้องกับการวางแผนโดยการจัดการ เวลา บุคคล เงิน และกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อความสำเร็จของการปฏิบัติงาน

3.4 บทบาทผู้เจรจาต่อรอง (Negotiation role) จำเป็นที่ผู้บริหารต้องต่อสู้เพื่อวิสัยทัศน์ของเขาผู้บริหารการผลิตต้องการเพิ่มการผลิตขึ้น 30 เปอร์เซ็นต์ต้องเจรจาต่อรองกับผู้บังคับบัญชาที่เหนือกว่าเพื่อให้ได้เงินทุนในการซื้อโรงงานใหม่หรือสร้างระบบการผลิตใหม่ เป็นต้น



บทบาทระหว่างบุคคล (interpersonal roles) เป็นบทบาทด้านการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ประกอบด้วย บทบาทย่อย ได้แก่

1) บทบาทตามตําแหน่ง (figurehead): ทําหน้าที่ประจําวันต่างๆตามระเบียบที่เกี่ยวกับกฎหมาย หรือตามที่สังคมกําหนด เช่น การต้อนรับแขกขององค์กร ลงนามในเอกสารตามกฎหมาย เป็นต้น

2) บทบาทผู้นํา (leader): ต้องรับผิดชอบสร้างแรงจูงใจและกระตุนการทํางานของพนักงาน รับผิดชอบในการจัดหาคน ฝึกอบรม และงานที่เกี่ยวข้องอื่นๆ

3) บทบาทการสร้างสัมพันธภาพ (liaison): โดยสร้างเครือข่ายภายในและภายนอกเพื่อการ กระจายข้อมูลให้ทั่วถึง

บทบาทด้านข้อมูล (informational roles) เป็นบทบาทด้านการกระจายและส่งผ่านข้อมูล ประกอบด้วย บทบาทย่อย ดังนี้

4) เป็นผู้ติดตามประเมินผล (monitor): เป็นการติดตามเลือกรับข้อมูล (ซึ่งมักจะเป็นเหตุการณ์ปัจจุบัน) เพื่อเข้าใจความเคลื่อนไหวขององค์การและสิ่งแวดล้อม เป็นเสมือนศูนย์กลางของ ระบบ

5) เป็นผู้กระจายข้อมูล (disseminator): รับบทบาทส่งผ่านข้อมูลไปยังพนักงานในองค์การ บางข้อมูลก็เกี่ยวกับข้อเท็จจริง บางข้อมูลเกี่ยวกับการแปลผลและรวบรวมความแตกต่างกันที่เกิดขึ้นในองค์การ

6) เป็นโฆษก (spokesperson): ทําหน้าที่ประชาสัมพันธ์ ส่งต่อข้อมูลไปยังหน่วยงานภายนอก เกี่ยวกับ แผนงาน นโยบาย กิจกรรม และผลงานขององค์การ เช่น เป็นผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรม

บทบาทด้านการตัดสินใจ (decisional roles) ทําหน้าที่ตัดสินใจในการดําเนินงานขององค์การ ประกอบด้วยบทบาทย่อย ดังนี้

7) เป็นผู้ประกอบการ (entrepreneur): หาโอกาสและริเริ่มสิ่งใหม่ๆ เช่น การปรับปรุงโครงการ เพื่อนําไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น ให้คำแนะนําเกี่ยวกับการออกแบบโครงการ โดยการจัดให้มีการทบทวนและกําหนดกลยุทธ์เพื่อพัฒนาโปรแกรมใหม่ๆ

8) เป็นผู้จัดการความสงบเรียบร้อย (disturbance hander): รับผิดชอบแก้ไขการดําเนินงานเมื่อองค์การเผชิญกับความไม่สงบเรียบร้อย โดยการทบทวนและกําหนดกลยุทธ์ที่เกี่ยวข้องกับความไม่สงบและวิกฤติการณ์ในองค์การ

9) เป็นผู้จัดสรรทรัพยากร (resource allocator): เป็นผู้รับผิดชอบในการจัดสรรทรัพยากรต่างๆในองค์การ เช่น ทําการตัดสินใจและอนุมัติในประเด็นที่สําคัญต่างๆขององค์การ โดยจัดลําดับ และกระจายอํานาจ ดูแลกิจกรรมที่เกี่ยวกับเรื่องงบประมาณ และจัดการเกี่ยวกับการทํางานของพนักงาน

10) เป็นผู้ต่อรอง (negotiator): รับผิดชอบในการเป็นตัวแทนต่อรองในเรื่องสําคัญขององค์การ เช่น มีส่วนร่วมในการทําสัญญากับสหภาพแรงงานขององค์การ หรือการต่อรองกับผู้จัดหา (suppliers)

นางสาววรางคณา ศิลรักษ์ 5130125401211

แนวความคิดทางการจัดการเชิงพฤติกรรมศาสตร์
ผลงานของอับราฮาม เอช มาสโลว์ (Abraham H. Maslow)
ทฤษฎีความต้องการของมาสโลว์ (Maslow’s theory) หรือทฤษฎีลำดับความต้องการ(The Hierarchy of Needs Theory) เป็นทฤษฎีเกี่ยวกับแรงจูงใจที่เชื่อว่าการตอบสนองความต้องการจะสามารถจูงใจคนให้ตั้งใจทำงานหรืออาจกล่าวได้ว่า พฤติกรรมของบุคคลเป็นผลมาจากการได้รับการตอบสนองตามความต้องการ นั่นคือ ใช้ความต้องการของบุคลากรเป็นเครื่องแรงจูงใจให้ขยันทำงานสำหรับความต้องการของมนุษย์มี 5 ขั้น ดังนี้
1 ความต้องการทางด้านร่างกาย (Physiological needs) เป็นความต้องการด้านพื้นฐานของมนุษย์ที่มนุษย์มีความต้องการได้รับการตอบสนองก่อนความต้องการอื่นๆ ได้แก่ อาหาร ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม และยารักษาโรค
2 ความต้องการความมั่นคง (Safety needs) เป็นความต้องการเกี่ยวกับความมั่งคงและปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
3 ความต้องการความรักหรือการติดต่อสัมพันธ์ (Social needs) เป็นความต้องการจะมีเพื่อน ความต้องการเป็นที่ยอมรับของกลุ่ม เป็นต้น
4 ความต้องการการยกย่องนับถือ (Esteem needs) เป็นความต้องการที่เป็นความรู้สึกภายใน เช่น ความต้องการได้รับการเลื่อนตำแหน่งงาน เป็นต้น
5 ความต้องการสมหวังในชีวิต (Self-actualization needs) เป็นความต้องการบรรลุถึงสิ่งที่ตนเองสามารถจะเป็น คือ ความประสบความสำเร็จในชีวิตอย่างสมบูรณ์ ความต้องการในขั้นนี้จะเกิดขึ้นเมื่อความต้องการใน 4 ขั้นแรกได้รับการตอบสนองแล้วเท่านั้น
อ้างอิง สมคิด บางโม. (2547). องค์การและการจัดการ. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: จูน พับลิชชิ่ง.

ปณิตา การจัดการทั่วไป รุ่น52ภาคปกติ รหัส5210125401064

เว็บไซด์ www. Weloveshopping.com
Weloveshopping.com เป็นห้างสรรพสินค้าออนไลน์ที่ได้รับความนิยมสูงสุดในประเทศไทย และได้รวบรวมสินค้านับแสนรายการเพื่อช่วยในการ ทำตลาดของร้านค้าในเครือทั้งหมดผ่านWeloveshopping.com โดยไม่คิดค่าธรรมเนียมใดๆทั้งสิ้น
วันนี้คุณสามารถมีร้านค้าออนไลน์ที่สามารถจดโดเมนเนมของคุณเองได้ (www.yourdomain.com) ด้วยตัวเองเปิดขายสินค้าผ่าน Internet ได้ทันทีภายในไม่กี่ชั่วโมง ก็สามารถมีหน้าร้านขายของได้ทันทีWeloveshopping.com ได้รับความไว้วางใจจากผู้คนทั่วประเทศ และมี Package ร้านค้าสำเร็จรูปให้บริการในราคาเริ่มต้นเพียงวันละ 1 บาทเท่านั้นกับระบบสร้างร้านค้าออนไลน์สำเร็จรูปสมบูรณ์แบบ และครบวงจร ด้วยบริการที่หลากหลาย และตอบสนองธุรกิจออนไลน์ทุกประเภท
เริ่มต้นทำการค้าขายผ่านเว็บไซต์ ด้วยตัวคุณเองง่ายๆ กับการสร้างเว็บไซต์ E-Commerce ไม่จำเป็นต้องมีความรู้ด้านการเขียนโปรแกรมก็สามารถเป็นเจ้าของร้านค้าออนไลน์แบบมืออาชีพได้ง่ายๆ ทำให้ร้านค้าของคุณไปสู่สายตาของนักช็อปออนไลน์ได้มากกว่าล้านคนทั่วโลก พร้อมร้านค้าได้ขึ้นไปบนห้างสรรพสินค้าออนไลน์ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย โดย Weloveshopping.com ที่มียอดการเข้าชมสินค้าสูงที่สุดในประเทศไทย กว่า 60 ล้านหน้าต่อเดือน ด้วยระบบร้านค้าออนไลน์สมบูรณ์แบบ
การรวมกันทำให้เกิดบริการที่สร้างประโยชน์กับลูกค้าและร้านค้าในรูปแบบที่ไม่เคยมีมาก่อน
ที่สุด
- มาเป็นส่วนหนึ่งของเว็บไซต์ ที่มีการเข้าชมสินค้ามากที่สุดในประเทศไทย ด้วยจำนวนคนเข้าชมหน้าเว็บไซต์มากกว่า 60,000,000 หน้า ผู้เข้าชมร้านค้ากว่า 1 ล้านคนต่อเดือน
ที่ครบวงจร
- บริการ E-Commerce ครบวงจร ประกอบด้วย บริการหน้าร้านออนไลน์ บริการบริหารการชำระเงินหลากหลายช่องทางที่ไว้ใจได้ บริการ CRM บริหารฐานข้อมูลลูกค้าและทำโฆษณาผ่าน SMS และ email ไปยังฐานสมาชิกของท่าน
- ไม่พลาดโอกาสการขายด้วยบริการแจ้ง order และบริการแจ้งการชำระเงินผ่านมือถือ (สำหรับลูกค้าที่ใช้บริการ payment ของ True Money)
- เพิ่มความสะดวกทำให้ลูกค้าของท่านสามารถซื้อสินค้าผ่านทางมือถือได้ทันที
ที่เพิ่มโอกาสธุรกิจของคุณในรูปแบบที่ไม่เคยมีมาก่อน
- เพิ่มโอกาสการขายด้วยสิทธิในการเข้าร่วม Marketing campaign ต่างๆใน Online Lifestyle Shopping Mall ของ True เช่น โครงการ Webuy โครงการ Special Thanks Campaign, Lifestyle และ Seaonal Campaign เป็นต้น
ที่ง่ายสำหรับคุณ
- ง่ายต่อการเริ่มต้นใช้บริการ โดยสามารถสมัครใช้บริการผ่านทางเว็บไซต์, พนักงานขาย, บัตรเงินสดทรูมันนี่ และร้านค้าอีกมากมาย
กลยุทธ์ที่ทำให้ร้านค้าของท่านประสบความสำเร็จ
เนื่องด้วย Weloveshopping.com ได้ช่วยร้านค้าที่ลงทะเบียนทุกร้านในการทำการตลาดฟรี โดยแยกตามหมวดหมู่ตามประเภทสินค้า เพื่อง่ายต่อการค้นหาในห้างสรรพค้าออนไลน์ที่ใหญ่ที่สุด แต่เพื่อความรวดเร็วในการประสบความสำเร็จคุณเอง คุณอาจจะทำการตลาดวิธีอื่นควบคู่กันไปด้วยก็ได้ เช่น การลงโฆษณาตามเว็บไซต์ต่างๆ, การแลกลิงค์, อีเมลล์ประชาสัมพันธ์ ให้คนรู้จัก หรือแม้แต่การลงโฆษณาฟรีตามเว็บบอร์ดต่างๆ นอกจากนั้นการลงทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิคก็เป็นอีกวิธีหนึ่งเพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับร้านค้าของคุณเอง ท่านก็สามารถมีโอกาสประสบความสำเร็จได้ง่ายๆ ด้วยตัวคุณเอง

ขอบคุณข้อมูลจาก www.weloveshopping.com

รัตนาพรรณ คงกล่ำ รหัส 5130125401250

หากต้องการซื้อบ้าน/ฝากขาย/เช่า/ที่ดิน/ คำปรึกษาต่างๆ เกี่ยวกับอสังหริมทรัพย์ ทั้งกรุงเทพ และต่างจังหวัด
เข้าไปดูในเวปนี้ได้เลยค่ะ /มีสมัครงานด้วยค่ะ ประชาสัมพันธ์เลยค่ะเผื่อใครหางานทำ ใส่ชื่อผู้แนะนำด้วยนะคะ ผู้แนะนำจะได้ค่าคอม...อิอิ
www.sansiri.com
www.plus.co.th

สำหรับการท่องเที่ยวในประเทศไทย ก็ต้องนี่เลยค่ะง่ายสุด และยังมีประเพณีต่างๆ ที่ให้ศึกษาค้นคว้าด้วย รวมทั้ง สถานที่ช๊อปปิ้ง การแลกเปลี่ยนสกุลเงิน
www.thai.tourismthailand.org
หากเป็นเรื่องเกี่ยวกับสัตว์เลี้ยง/อุปกรณ์สัตว์เลี้ยง ลองดูเวปนี้ค่ะเพราะส่วน คิดว่าน่าเชื่อถือที่สุด แต่ราคาค่อนข้างแพง แต่ก็ยังมีหมวดอื่นที่น่าในใจนอกจากสัตว์เลี้ยงด้วย (อาจต้องขยายรูปภาพนะคะ)
www.pantipmarket.com/pet/dog/dogs/small/poodle
www.pantipmarket.com
www.yespetshop.com
เวปนี้ใช้บริการแล้วค่ะ OK ได้ของตามที่เราสั่งค่ะไม่ต้องกลัว

นางสาว นัฐภรณ์ อยู่ดี รหัส 5210125401068 การจัดการทั่วไป ปี4

บทที่ 3
www.rspg.or.th
เป็นเว็บไซต์ที่มีข้อมูลเกี่ยวกับพืชสมุนไพร สำหรับคนที่สนใจ ในเว็บไซต์นี้มีวิธีการปลูกและการบำรุงรักษาพืชสมุนไพร ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการใช้ยาสมุนไพร วิธีการเก็บส่วนที่ใช้เป็นยา โดยแบ่งกลุ่มอาการ/โรค/การแพ้ ว่าควรใช้สมุนไพรชนิดใดในการรักษา สามารถหาข้อมูลเหล่านี้ได้จาก เว็บไซต์นี้
สิ่งน่ารู้เกี่ยวกับการใช้ยาสมุนไพร
1.ควรเริ่มใช้สมุนไพรที่เป็นอาหารก่อน และควรรู้พิษยาก่อนใช้ รู้ข้อห้ามใช้ เพราะยาบางชนิดมีข้อห้ามใช้กับคนบางคน บางโรค เมื่อรู้สิ่งเหล่านี้ จะทำให้การใช้ยาปลอดภัยขึ้น
2.ถ้ายาใดไม่เคยกินมาก่อน ควรเริ่มกินในขนาดน้อยๆ ก่อน เช่น กินเพียงครึ่งหนึ่งของขนาดที่กำหนดไว้ ถ้าร่างกายไม่มีอะไรผิดปกติจึงค่อยกินต่อไป
3.อย่าใช้ยาเข้มข้นเกินไป เช่น ยาใช้ต้มกินต่างน้ำ ไม่ควรใช้ต้มเคี่ยวกินยาเข้มข้นเกินไป จนทำให้เกิดพิษได้
4.คนที่อ่อนเพลียมาก เด็กอ่อน คนชรา ห้ามใช้ยามาก เพราะคนเหล่านี้ มีกำลังต้านทานยาน้อย จะทำให้เกิดพิษได้ง่าย
5.โดยทั่วๆ ไป เมื่อกินยาสมุนไพรแล้ว 1 วัน อาการไม่ดีขึ้นต้องเปลี่ยนยา แต่ถ้าเป็นโรคเรื้อรัง เช่น โรคกระเพาะ หืด ฯลฯ เมื่อใช้ยาสมุนไพร 1 อาทิตย์แล้ว อาการไม่ดีขึ้นต้องเปลี่ยนยา
ประโยชน์ของการใช้ยาสมุนไพร
1.ราคาถูกกว่ายาแผนใหม่ (ยาแผนปัจจุบัน) มาก
2.มีพิษและผลข้างเคียงน้อยกว่ายาแผนใหม่
3.สมุนไพรบางชนิดเป็นทั้งอาหารและยาด้วย
4.ไม่ต้องซื้อหา สามารถปลูกได้เองในบ้าน
5.เหมาะกับคนส่วนใหญ่ เพราะสามารถนำมาใช้ได้เอง เมื่อรู้จักวิธีใช้
6.ช่วยลดดุลการค้า ในการสั่งยาจากต่างประเทศ
7.ทำให้คนเห็นคุณค่า และกลับมาดำเนินชีวิตใกล้ชิดธรรมชาติมากขึ้น
8.ทำให้เกิดความภูมิใจ ในวัฒนธรรม และคุณค่าของความเป็นไทย
9.เพื่อเป็นการอนุรักษ์มรดกไทยในการสนับสนุนให้ประชาชนช่วยตนเองในการใช้ยาสมุนไพรตามแบบแผนโบราณ
อ้างอิง : http://www.rspg.or.th/plants_data/herbs/herbs_200.htm
ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม : www.rspg.or.th

นางสาว นัฐภรณ์ อยู่ดี รหัส 5210125401068 การจัดการทั่วไป ปี 4

บทที่ 2
Frederick Herzberg กับทฤษฎีมูลเหตุจูงใจและสุขอนามัย
Frederick Herzberg เป็นนักพฤติกรรมศาสตร์ที่ได้ชื่อเสียงจากการทำคุณประโยชน์ต่อการพัฒนาทฤษฎีการจูงใจ เขาได้ศึกษาปัญหาการจูงใจของมนุษย์ในที่ทำงาน โดยมีวัตถุประสงค์ในการค้นหาความสัมพันธ์ระหว่างงานขององค์การกับความต้องการของมนุษย์
ทฤษฎีมูลเหตุจูงใจและสุขอนามัย
งานวิจัยของเขามีวัตถุประสงค์ที่จะหาคำอธิบายปัจจัยสองอย่างของการจูงใจ คือ
1. ปัจจัยของความพอใจในงาน ได้แก่ ผลสัมฤทธิ์ การยอมรับ ลักษณะของงาน ความรับผิดชอบ และความก้าวหน้า
2. ปัจจัยของความไม่พอใจในงาน เมื่อมีการวิเคราะห์เหตุผลของความไม่พอใจ ปรากฏว่ามีปัจจัยอยู่ 5 ประการคือ
2.1 นโยบายและการบริหารของบริษัท
2.2 การบังคับบัญชา
2.3 เงินเดือน
2.4 ความสัมพันธ์กับเพื่อน
2.5 สภาพการทำงาน
ปัจจัยกลุ่มแรก Herzberg เรียกว่า “มูลเหตุจูงใจ” ซึ่งเป็นมูลเหตุจูงใจที่แท้จริงเพราะมันมีความเป็นไปได้ในการก่อให้เกิดความรู้สึกของความพอใจ
ปัจจัยกลุ่มที่สอง Herzberg เรียกว่า ปัจจัยสุขอนามัยหรือการบำรุงรักษา การเกิดขึ้นของปัจจัยดังกล่าวไม่กระตุ้นคน แต่ความไม่พอใจจะเกิดขึ้นกับพนักงาน ถ้าทฤษฎีการจูงใจดังกล่าวมีความถูกต้อง หมายความว่าผู้บริหารต้องให้ความสนใจในการยกระดับเนื้อหาของงาน (Job content)
ดังนั้น Herzberg จึงได้ดำเนินการค้นหาต่อไปในปัจจัยที่สัมพันธ์กับความพอใจในงานและความไม่พอใจในงาน
ข้อเสนอในทฤษฎี
ข้อเสนอ 3 ข้อต่อแนวทางเชิงมูลเหตุจูงใจ – สุขอนามัย ได้แก่
1. ประการแรก มันเป็นพื้นฐานต่อแนวทางของ Herzberg ที่ว่า ความพอใจในงานและความไม่พอใจในงาน ไม่ใช่สิ่งที่ตรงกันข้ามกัน แต่ตรงกันข้าม มันจะเกี่ยวข้องกับความต้องการของมนุษย์ 2 ชุด ดังนั้น สิ่งที่ตรงข้ามกับความพอใจในงาน ไม่ใช่ ความไม่พอใจในงาน แต่เป็น “ไม่มีความพอใจในงาน” ดังนั้น สิ่งที่ตรงข้ามกับความไม่พอใจในงาน คือ การขาดความพอใจในงาน
2. ประการที่สอง ปัจจัยที่นำไปสู่ความพอใจในงานเป็นปัจจัยชนิดที่แตกต่างจากปัจจัยที่นำไปสูความไม่พอใจในงาน
3. มูลเหตุจูงใจเกี่ยวกับการรักษาความพอใจในงานให้ยั่งยืนมีผลระยะยาวมากกว่าปัจจัยสุขอนามัยที่เกี่ยวข้องกับการกำจัดความไม่พอใจ
การนำแนวทางมูลเหตุจูงใจและสุขอนามัยไปใช้
จะถูกนำไปใช้เพื่อเพิ่มความพอใจในงานให้กับพนักงานได้อย่างไร Herzberg กล่าวว่า สิ่งดังกล่าวไม่สามารถทำได้โดยผ่านปัจจัยสุขอนามัยตามลำพัง ถึงแม้ว่าสิ่งเหล่านี้จะลดความไม่พอใจในงานก็ตาม การเน้นควรจะเป็นเรื่องความเหมาะสมในนโยบายของบริษัทสภาพการทำงาน เงินเดือน และการบังคับบัญชาทางเทคนิค สิ่งดังกล่าวต้องการการให้รางวัลกับลักษณะของงาน ความรับผิดชอบ การยอมรับ และโอกาสสำหรับความก้าวหน้า เนื่องจากองค์ประกอบดังกล่าวขาดการทำที่มีประสิทธิผล Herzberg สนับสนุนแนวทางเชิงวิศวอุตสาหกรรมที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของการออกแบบงาน
แนวทางสู่ภาระงานในแนวดิ่ง เนื่องจากการเพิ่มงานต้องการภาระงานในแนวดิ่ง มันจึงจำเป็นในการมองหาแนวทางที่ละเอียด แนวทางของ Herzberg คือการมองหาแนวทางในการกำจัดการควบคุมบางอย่างขณะเพิ่มความรับผิดชอบของเอกบุคคลในงานของเขา แนวทางบางอย่างของ Herzberg ได้แก่
1. ทำให้เอกบุคคลรับผิดชอบงานของเขาเอง
2. กำหนดหน่วยของงานที่สมบูรณ์ให้กับบุคคล
3. ให้อิสระและอำนาจหน้าที่แก่พนักงานในการทำงานของเขา
4. ให้รายงานแก่เขาโดยตรงแทนที่จะให้กับผู้บังคับบัญชาของเขา
5. แนะนำงานใหม่ๆ และที่ยากขึ้น
Herzberg สังเกตเห็นว่าเมื่อมีการนำการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้มาใช้ ผลลัพธ์ทั้งในการปฏิบัติงานและความพอใจในงานมีค่อนข้างมาก ยกตัวอย่างเช่น ผลลัพธ์ที่เพิ่มขึ้นในการปฏิบัติงานของช่างเทคนิคในห้องทดลอง ซึ่งถูกขอให้เขียนโครงร่างส่วนตัวนอกเหนือจากส่วนที่เขาควบคุมดูแล
ทฤษฎีของ Herzberg จึงเน้นการบริหารงานโดยใช้มูลเหตุจูงใจเพื่อให้สุขอนามัยที่เพียงพอโดยผ่านนโยบายของบริษัท ความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อน และสภาพการทำงาน เพื่อก่อให้เกิดความพอใจในการทำงานของคน
อ้างอิงจาก ดร.ชาญชัย อาจินสมาจาร. (2549). ทฤษฎีการบริหาร. กรุงเทพฯ : หจก. ซี แอนด์ เอ็น.

นางสาว นัฐภรณ์ อยู่ดี รหัส5210125401068 การจัดการทั่วไป ปี4

บทที่ 1
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในองค์กรธุรกิจ
สภาพแวดล้อมภายในองค์กรธุรกิจ เป็นปัจจัยที่เกิดขึ้นหรือมีอยู่ภายในองค์กรเอง ซึ่งปัจจัยต่างๆเหล่านี้องค์กรสามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางหรือรูปแบบที่ต้องการได้ตามความประสงค์หรืออาจเรียกได้ว่า "เป็นปัจจัยที่สามารถควบคุมได้" ปัจจัยของสภาพแวดล้อมภายในองค์กรที่สำคัญ คือ
กระบวนการห่วงโซ่คุณค่า คือกระบวนการที่องค์กรธุรกิจใช้ในการผลิตหรือดำเนินงานเพื่อส่งมอบสินค้าหรือบริการที่มีคุณค่าให้แก่ลูกค้า โดยอาศัยกิจกรรมต่างๆในกระบวนการหลัก เป็นกลไกสำคัญในการผลิตหรือดำเนินงาน และอาศัยกิจกรรมต่างๆในกระบวนการสนับสนุนเป็นกลไกในการเกื้อหนุน
การวิเคราะห์ความสามารถหลักขององค์กรมีประเด็นที่ควรพิจารณา คือ
-มีคุณค่าเพียงพอต่อการนำมาพัฒนาเป็นสินค้าหรือบริการที่สำคัญขององค์กรหรือช่วยสนับสนุนการดำเนินงานขององค์กรให้มีศักยภาพที่สูงขึ้น
-เป็นความสามารถขององค์กรที่ผู้อื่นไม่มี หรือไม่เท่าเทียม
-เป็นความสามารถที่คู่แข่งมิอาจลอกเลียนแบบได้ง่าย
-เป็นความสามารถที่หาสิ่งอื่นใดทดแทนได้ยาก
การวิเคราะห์ปัจจัยสร้างความสำเร็จของธุรกิจมีประเด็นที่ควร พิจารณา คือ
-ระดับคุณสมบัติและคุณภาพของสินค้าหรือบริการ
-การศึกษาและสำรวจระดับความพึงพอใจและความต้องการของลูกค้า
-การพัฒนาสินค้าหรือบริการตามให้ตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้า
ประโยชน์ของการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในคือ จะทำให้องค์กรรับทราบถึงแนวทางต่างๆที่จะต้องทำการปรับปรุงแก้ไขหรือพัฒนาทรัพยากรภายในองค์กร ให้มีความสอดคล้องต่อสถานการณ์ภายนอกที่เป็นอยู่
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกองค์กรธุรกิจ
สภาพแวดล้อมภายนอกองค์กรธุรกิจ อาจหมายถึง ปัจจัยต่างๆที่เกิดขึ้นภายนอกองค์กร แล้วส่งผลกระทบต่อองค์กรทั้งในด้านที่เป็นคุณประโยชน์ และด้านที่เป็นโทษ ด้วยเหตุผลที่เป็นปัจจัยที่เกิดขึ้นภายนอกองค์กรจึงมีโอกาสที่ปัจจัยต่างๆเหล่านี้จะเกิดการเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลาหรือที่เรียกว่า "ปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้"
ผู้บริหารที่ประสบความสำเร็จมักจะกล่าวว่า "สภาพแวดล้อมภายนอกทางธุรกิจ เป็นปัจจัยสำคัญต่อการรักษาสภาพทางธุรกิจและมีความจำเป็นที่จะต้องทำความเข้าใจถึงสิ่งแวดล้อมนั้นๆเพื่อที่จะเอาชนะ ควบคุม กระทำอย่างใดอย่างหนึ่งหรือแสวงหาความเหมาะสมเพื่อความอยู่รอดทางธุรกิจอย่างยั่งยืน"
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกทั่วไป
สภาพแวดล้อมภายนอกทั่วไปจะไม่มีความสัมพันธ์กับองค์กรโดยตรงเป็นปัจจัยต่างๆที่ไม่มีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับการดำเนินงานขององค์กรแต่สามารถมีอิทธิพลหรือผลกระทบทางอ้อมต่อองค์กร เช่นสภาพเศรษฐกิจ สังคม การเมือง เทคโนโลยี
อ้างอิงจาก สุวัฒน์ ศิรินิรันดร์. (2551). คู่มือการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทางธุรกิจ. กรุงเทพฯ : หจก. ซี แอนด์ เอ็น.

นางสาวนงลักษณ์ พลจันทร์ การจัดการทั่วไป ปี4 5210125401056

ทฤษฏีการพัฒนาองค์การและทฤษฏีการบริหารจัดการโดยวัตถุประสงค์
Kurt Lewin เป็นนักจิตวิทยาสังคม ผู้สนับสนุนแนวคิดเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของกลุ่ม ได้อธิบาย ขั้นตอนในกระบวนการพัฒนาองค์การ (Steps in the organization development process) คือ 1. การใช้ผู้นำการเปลี่ยนแปลง 2. การรวบรวมข้อมูลและการวินิจฉัยปัญหา 3. ข้อมูลป้อนกลับและการประเมินผลลัพธ์ที่ได้อย่างเป็นทางการ ซึ่งขั้นตอนในกระบวนการพัฒนาองค์การจะสามารถแยกพิจารณาได้เป็น 7 ขั้นตอนดังต่อไปนี้
1. การกำหนดปัญหา ต้องเริ่มที่ผู้บริหารระดับสูงและต้องคำนึงถึงว่าองค์การจะมีปัญหาและสามารถแก้ไขปัญหาต่างๆ ได้ ซึ่งทุกคนในองค์การมีความยินดีที่จะให้ผู้บริหารดำเนินการเป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลง และเริ่มกระบวนการในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว
2. การเข้ามาของผู้นำการเปลี่ยนแปลง ผู้นำการเปลี่ยนแปลงนี้อาจได้มาจากบุคคลภายในหรือภายนอกองค์การ ที่มีความสารถในการช่วยแก้ไขปัญหาต่างๆ ขององค์การได้
3. การรวบรวมข้อมูลและวินิจฉัยปัญหา เป็นการทำงานของสมาชิกภายในองค์การ ซึ่งทำงานร่วมกับผู้นำการเปลี่ยนแปลงในการตรวจสอบเอกสารขององค์การ การสัมภาษณ์ การตั้งคำถาม และการสังเกต เพื่อรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับองค์การและปัญหาที่เกิดขึ้น ต่อไปผู้นำการเปลี่ยนแปลงจะทำการเลือกผู้บริการขึ้นมาเพื่อพิจารณาหรือตรวจสอบข้อมูลและพัฒนาการวินิจฉัยปัญหาต่างๆ ซึ่งเป็นการวิเคราะห์ลักษณะของปัญหาและขอบเขตของปัญหา
4. การพัฒนาเพื่อการเปลี่ยนแปลง ผู้นำการเปลี่ยนแปลงนี้อาจทำงานร่วมกับผู้บริหารคนสำคัญขององค์การ เพื่อกำหนดเป้าหมายในการวางแผนเพื่อการเปลี่ยนแปลงขององค์การ
5. การปฏิบัติตามการเปลี่ยนแปลง เป็นการเลือกปฏิบัติงานซึ่งเป็นวิธีการที่จะทำให้การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น สามารถเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง บุคคล วัฒนธรรม หรือื่นๆ ซึ่งเทคนิคของการเปลี่ยนแปลงนี้สามารถทำได้หลายวิธีด้วยกัน
6. การสร้างเสถียรภาพและความเป็นสถาบัน เป็นการปฏิบัติอย่างต่อเนื่องและทำแบบจริงจังจนเกิดความเคยชิน โดยผู้บริหารระดับสูงจะต้องให้ความร่วมมือในการปฏิบัติงานอยู่สม่ำเสมอ และพิจารณาผลของการเปลี่ยนแปลงภายหลังที่ได้นำวิธีใหม่มาใช้ในการพัฒนาองค์การโดยพิจารณาจากกิจกรรมในแต่ละวัน
7. การป้อนกลับและการประเมินผล หลังจากได้มีกี่เปลี่ยนแปลงโครงสร้างองค์การแล้วผู้นำมีการเปลี่ยนแปลงจะรวบรวมข้อมูลเพื่อจัดเตรียมมาวิเคราะห์สิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้น และหลังจากนั้นจะทำการประเมินผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นว่าเกิดอะไรบ้าง โดยในขั้นตอนนี้สามารถเปลี่ยนแปลงขั้นตอนกระบวนการเปลี่ยนแปลงอื่นๆ ได้ แม้ว่าสภาพแวดล้อมบ้างองค์การจะไม่สามารถควบคุมได้แต่องค์การสามารถที่จะเอาชนะได้ ซึ่งขั้นตอนสุดท้ายผู้บริหารระดับสูงเชื่อว่า สุขภาพและประสิทธิผลขององค์การจะได้รับการปรับปรุง ซึ่งเป็นผลลัพธ์จาการเปลี่ยนแปลงพัฒนาองค์การ
อ้างอิง : ศิริวรรณ เสรีรัตน์. ทฤษฏีองค์การ. กรุงเทพฯ. บริษัท ธรรมสาร จำกัด. 2545

นางสาววรางคณา ศิลรักษ์ 5130125401211

แนวความคิดทางการจัดการเชิงพฤติกรรมศาสตร์
ผลงานของอับราฮาม เอช มาสโลว์ (Abraham H. Maslow)
ทฤษฎีความต้องการของมาสโลว์ (Maslow’s theory) หรือทฤษฎีลำดับความต้องการ(The Hierarchy of Needs Theory) เป็นทฤษฎีเกี่ยวกับแรงจูงใจที่เชื่อว่าการตอบสนองความต้องการจะสามารถจูงใจคนให้ตั้งใจทำงานหรืออาจกล่าวได้ว่า พฤติกรรมของบุคคลเป็นผลมาจากการได้รับการตอบสนองตามความต้องการ นั่นคือ ใช้ความต้องการของบุคลากรเป็นเครื่องแรงจูงใจให้ขยันทำงานสำหรับความต้องการของมนุษย์มี 5 ขั้น ดังนี้
1 ความต้องการทางด้านร่างกาย (Physiological needs) เป็นความต้องการด้านพื้นฐานของมนุษย์ที่มนุษย์มีความต้องการได้รับการตอบสนองก่อนความต้องการอื่นๆ ได้แก่ อาหาร ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม และยารักษาโรค
2 ความต้องการความมั่นคง (Safety needs) เป็นความต้องการเกี่ยวกับความมั่งคงและปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
3 ความต้องการความรักหรือการติดต่อสัมพันธ์ (Social needs) เป็นความต้องการจะมีเพื่อน ความต้องการเป็นที่ยอมรับของกลุ่ม เป็นต้น
4 ความต้องการการยกย่องนับถือ (Esteem needs) เป็นความต้องการที่เป็นความรู้สึกภายใน เช่น ความต้องการได้รับการเลื่อนตำแหน่งงาน เป็นต้น
5 ความต้องการสมหวังในชีวิต (Self-actualization needs) เป็นความต้องการบรรลุถึงสิ่งที่ตนเองสามารถจะเป็น คือ ความประสบความสำเร็จในชีวิตอย่างสมบูรณ์ ความต้องการในขั้นนี้จะเกิดขึ้นเมื่อความต้องการใน 4 ขั้นแรกได้รับการตอบสนองแล้วเท่านั้น
อ้างอิง สมคิด บางโม. (2547). องค์การและการจัดการ. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: จูน พับลิชชิ่ง.