หน้าเว็บ

นางสาว นัฐภรณ์ อยู่ดี รหัส 5210125401068 การจัดการทั่วไป ปี 4

บทที่ 2
Frederick Herzberg กับทฤษฎีมูลเหตุจูงใจและสุขอนามัย
Frederick Herzberg เป็นนักพฤติกรรมศาสตร์ที่ได้ชื่อเสียงจากการทำคุณประโยชน์ต่อการพัฒนาทฤษฎีการจูงใจ เขาได้ศึกษาปัญหาการจูงใจของมนุษย์ในที่ทำงาน โดยมีวัตถุประสงค์ในการค้นหาความสัมพันธ์ระหว่างงานขององค์การกับความต้องการของมนุษย์
ทฤษฎีมูลเหตุจูงใจและสุขอนามัย
งานวิจัยของเขามีวัตถุประสงค์ที่จะหาคำอธิบายปัจจัยสองอย่างของการจูงใจ คือ
1. ปัจจัยของความพอใจในงาน ได้แก่ ผลสัมฤทธิ์ การยอมรับ ลักษณะของงาน ความรับผิดชอบ และความก้าวหน้า
2. ปัจจัยของความไม่พอใจในงาน เมื่อมีการวิเคราะห์เหตุผลของความไม่พอใจ ปรากฏว่ามีปัจจัยอยู่ 5 ประการคือ
2.1 นโยบายและการบริหารของบริษัท
2.2 การบังคับบัญชา
2.3 เงินเดือน
2.4 ความสัมพันธ์กับเพื่อน
2.5 สภาพการทำงาน
ปัจจัยกลุ่มแรก Herzberg เรียกว่า “มูลเหตุจูงใจ” ซึ่งเป็นมูลเหตุจูงใจที่แท้จริงเพราะมันมีความเป็นไปได้ในการก่อให้เกิดความรู้สึกของความพอใจ
ปัจจัยกลุ่มที่สอง Herzberg เรียกว่า ปัจจัยสุขอนามัยหรือการบำรุงรักษา การเกิดขึ้นของปัจจัยดังกล่าวไม่กระตุ้นคน แต่ความไม่พอใจจะเกิดขึ้นกับพนักงาน ถ้าทฤษฎีการจูงใจดังกล่าวมีความถูกต้อง หมายความว่าผู้บริหารต้องให้ความสนใจในการยกระดับเนื้อหาของงาน (Job content)
ดังนั้น Herzberg จึงได้ดำเนินการค้นหาต่อไปในปัจจัยที่สัมพันธ์กับความพอใจในงานและความไม่พอใจในงาน
ข้อเสนอในทฤษฎี
ข้อเสนอ 3 ข้อต่อแนวทางเชิงมูลเหตุจูงใจ – สุขอนามัย ได้แก่
1. ประการแรก มันเป็นพื้นฐานต่อแนวทางของ Herzberg ที่ว่า ความพอใจในงานและความไม่พอใจในงาน ไม่ใช่สิ่งที่ตรงกันข้ามกัน แต่ตรงกันข้าม มันจะเกี่ยวข้องกับความต้องการของมนุษย์ 2 ชุด ดังนั้น สิ่งที่ตรงข้ามกับความพอใจในงาน ไม่ใช่ ความไม่พอใจในงาน แต่เป็น “ไม่มีความพอใจในงาน” ดังนั้น สิ่งที่ตรงข้ามกับความไม่พอใจในงาน คือ การขาดความพอใจในงาน
2. ประการที่สอง ปัจจัยที่นำไปสู่ความพอใจในงานเป็นปัจจัยชนิดที่แตกต่างจากปัจจัยที่นำไปสูความไม่พอใจในงาน
3. มูลเหตุจูงใจเกี่ยวกับการรักษาความพอใจในงานให้ยั่งยืนมีผลระยะยาวมากกว่าปัจจัยสุขอนามัยที่เกี่ยวข้องกับการกำจัดความไม่พอใจ
การนำแนวทางมูลเหตุจูงใจและสุขอนามัยไปใช้
จะถูกนำไปใช้เพื่อเพิ่มความพอใจในงานให้กับพนักงานได้อย่างไร Herzberg กล่าวว่า สิ่งดังกล่าวไม่สามารถทำได้โดยผ่านปัจจัยสุขอนามัยตามลำพัง ถึงแม้ว่าสิ่งเหล่านี้จะลดความไม่พอใจในงานก็ตาม การเน้นควรจะเป็นเรื่องความเหมาะสมในนโยบายของบริษัทสภาพการทำงาน เงินเดือน และการบังคับบัญชาทางเทคนิค สิ่งดังกล่าวต้องการการให้รางวัลกับลักษณะของงาน ความรับผิดชอบ การยอมรับ และโอกาสสำหรับความก้าวหน้า เนื่องจากองค์ประกอบดังกล่าวขาดการทำที่มีประสิทธิผล Herzberg สนับสนุนแนวทางเชิงวิศวอุตสาหกรรมที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของการออกแบบงาน
แนวทางสู่ภาระงานในแนวดิ่ง เนื่องจากการเพิ่มงานต้องการภาระงานในแนวดิ่ง มันจึงจำเป็นในการมองหาแนวทางที่ละเอียด แนวทางของ Herzberg คือการมองหาแนวทางในการกำจัดการควบคุมบางอย่างขณะเพิ่มความรับผิดชอบของเอกบุคคลในงานของเขา แนวทางบางอย่างของ Herzberg ได้แก่
1. ทำให้เอกบุคคลรับผิดชอบงานของเขาเอง
2. กำหนดหน่วยของงานที่สมบูรณ์ให้กับบุคคล
3. ให้อิสระและอำนาจหน้าที่แก่พนักงานในการทำงานของเขา
4. ให้รายงานแก่เขาโดยตรงแทนที่จะให้กับผู้บังคับบัญชาของเขา
5. แนะนำงานใหม่ๆ และที่ยากขึ้น
Herzberg สังเกตเห็นว่าเมื่อมีการนำการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้มาใช้ ผลลัพธ์ทั้งในการปฏิบัติงานและความพอใจในงานมีค่อนข้างมาก ยกตัวอย่างเช่น ผลลัพธ์ที่เพิ่มขึ้นในการปฏิบัติงานของช่างเทคนิคในห้องทดลอง ซึ่งถูกขอให้เขียนโครงร่างส่วนตัวนอกเหนือจากส่วนที่เขาควบคุมดูแล
ทฤษฎีของ Herzberg จึงเน้นการบริหารงานโดยใช้มูลเหตุจูงใจเพื่อให้สุขอนามัยที่เพียงพอโดยผ่านนโยบายของบริษัท ความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อน และสภาพการทำงาน เพื่อก่อให้เกิดความพอใจในการทำงานของคน
อ้างอิงจาก ดร.ชาญชัย อาจินสมาจาร. (2549). ทฤษฎีการบริหาร. กรุงเทพฯ : หจก. ซี แอนด์ เอ็น.

ไม่มีความคิดเห็น: