น.ส.วรรณภา ปั้นนาค รหัส 5210125401038
เอกการจัดการทั่วไป ภาคปกติ
องค์การแต่ละแห่งคงจะหลีกเลี่ยงการเปลี่ยนแปลงไม่ได้
ถือได้ว่าการเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งที่แน่นอนที่สุด ซึ่งเกิดขึ้นได้เสมอ
เราในฐานะในฝ่ายบริหารจะทำอย่างไรจึงจะตั้งรับกับสถานการณ์นั่นๆได้
1.ดึงให้เขามีส่วนร่วม
สิ่งแรกที่ควรจะต้องทำคือ
ควรปล่อยหรือเปิดโอกาสให้พนักงานของเรามีส่วนร่วมในการวางแผนการที่เกี่ยวข้อง
เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงไว้บ้าง แต่อย่างไรก็ตาม
ไม่ใช่ว่าจะให้เขาวางแผนจนเราไม่มีทางเลือก
เราให้เขาช่วยกันวางแผนและกำหนดทางเลือกขึ้น
แต่ผู้บริหารยังมีสิทธิตัดสินใจเช่นเดิม
2.บอกให้ชัดว่าจะเปลี่ยนอะไร
สิ่งต่อมาที่จะทำได้คือ
ควรชี้แจ้งให้ผู้ใต้บังคับบัญชาเห็นว่า จะมีไรเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมบ้าง เช่น
การจัดโครงสร้างการบังคับบัญชาใหม่ การโยกย้ายพนักงาน การจัดระบบการผลิตใหม่ ฯลฯ
พยายามให้ผู้ใต้บังคับบัญชาเห็นภาพของการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นอย่างชัดเจนว่า
จะมีสภาพการณ์อย่างไร ทั้งนี้เพื่อ ป้องกันการเข้าใจผิด
และเสริมสร้างความเข้าใจอย่างถูกต้อง
ซึ่งจะช่วยลดปฏิกิริยาต่อต้านที่อาจจะเกิดขึ้นได้
ข่าวสารรายละเอียดเหล่านี้ต้องชี้แจงให้ทุกคนในองค์การเข้าใจตรงกัน
3.เปลี่ยนแปลงอย่างค่อยเป็นค่อยไป
อย่างไรก็ตาม
การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ผู้บริการจะต้องตระหนักว่าควรจะเปลี่ยนแปลงในลักษณะที่จะทำให้ผู้ใต้บังคับบัญชามีความสะดวกที่จะ
"บริหารงาน" มากขึ้น และไม่ควรเปลี่ยนแปลงแบบหน้ามือเป็นหลังมือ
เพราะนอกจากผู้ใต้บังคับบัญชาจะไม่ชินแล้ว ผู้บริการเองก็จะแย่เพราะไม่สามารถจัดการได้
เนื่องจากไม่คุ้นเคยมาก่อน โดยหลักควรจะเป็นการเปลี่ยนแปลงแบบค่อยเป็นค่อยไป
ทั้งผู้บริหารและผู้ใต้บังคับบัญชาทำงานได้อย่างสะดวกและมีประสิทธิภาพ
4.บอกก่อนเปลี่ยน
หากจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงสิ่งใดในองค์การอย่างสิ้นเชิง
เราควรที่จะพยายามลดความประหลาดใจหรือความตื่นตระหนกของคนรอบด้านให้น้อยที่สุด
วิธีการที่ดีที่สุดคือ ควรมีการบอกล่วงหน้าเกี่ยวกับสิ่งที่ต้องเปลี่ยนแปลงในอนาคต
5.ไม่ผลีผลามและไม่โลเล
ในส่วนของผู้บริหารอย่างเพิ่งรีบด่วนตัดสินใจในเรื่องที่จะเกิดขึ้น
ต้องพยายามคิดให้รอบคอบทุกด้านแล้วจึงตัดสินใจ
แต่เมื่อตัดสินใจเปลี่ยนแปลงอะไรไปแล้ว
ต้องยึดมั่นไม่โลเลกับสิ่งที่ตัดสินใจลงไปเพราะมิฉะนั่นจะเกิดอาการ "ไม่มั่นใจ" กันทั้งองค์การและจะยุ่ง
อย่างน้อยต้องให้ลูกน้องเห็นว่า "ผู้บังคับบัญชาเราเอาจริงไม่โลเล"
6.แจ้งการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นกิจจะลักษณะ
ส่วนใดของการเปลี่ยนแปลงที่สามารถทำเป็นลายลักษณ์อักษรเป็นกฎเกณฑ์
เช่น กฎเกณฑ์ใหม่ในการทำงาน เป็นต้น วิธีการในรูปแบบใหม่ที่จะกระทำขึ้นควรกำหนดให้เป็นกิจจะลักษณะและจะต้องชี้แจงให้ผู้ใต้บังคับบัญชาว่าอะไรที่ฝ้ายบริหารกำลังคาดหวังให้เกิดขึ้นในการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้
ควรจะชี้แจงออกไปให้ชัดเจน และทางที่ดีควรทำให้ทุกคนเห็นว่า สิ่งที่เกิดขึ้นนี้ทุกคนสามารถกระทำได้
ไม่ใช่สิ่งยากเย็นอะไร ผู้บริหารต้องมีทัศนคติในทางบวก จิตใจของผู้ใต้บังคับบัญชาจึงจะมีความรู้สึกที่ดีเกิดขึ้น
หากผู้บริหารไม่แสดงจุดยืนในความเชื่อมั่นว่าผู้ใต้บังคับบัญชาของตนจะทำได้
7.ให้รางวัลหลังการเปลี่ยนแปลง
เมื่อผู้ใต้บังคับบัญชาทำได้
สิ่งต่อมาที่ผู้บริหารต้องคิดหาทาง หรือวิธีการที่จะให้รางวัลแก่ผู้ใต้บังคับบัญชาบ้าง
อย่างน้อยก็เป็นการแสดงให้ผู้ใต้บังคับบัญชาได้เห็นว่า
ผู้บริหารเห็นใจพวกเขาที่จะต้องรับกับสภาพการเปลี่ยนแปลง ซึ่งสภาพเหล่านี้อาจทำให้ผู้ใต้บังคับบัญชาต้องเหน็ดเหนื่อยมากขึ้นและเสียเวลาไปไม่น้อยทีเดียว
8.แม้พลิกผันต้องยึดมั่น
หากการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นไม่ได้ผลดีดังที่คาดไว้เมื่อถึงเวลาหนึ่ง
ผู้บริหารต้องพยายามอดทน ไม่ควรท้อแท้หรืออดอะไรตายอยาก
หรือคิดว่าตนเองตัดสินใจผิดเกี่ยวกับสิ่งที่เปลี่ยนแปลงนั้นๆ
แต่ใช้วิธีบอกถึงความล้มเหลวอย่างตรงไปตรงมากับผู้ใต้บังคับบัญชาว่าเกิดจากอะไร
แต่อย่าลืมว่า ไม่มีการยอมรับการพ่ายแพ้อย่างเด็ดขาด เพราะจะทำให้ขวัญและกำลังใจเสียไปทั้งองค์การ
9.สร้างความกระตือรือร้นใหม่ๆ
เมื่อรู้ว่าสิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปไม่ได้ผล
เราอาจแสดงความเสียใจในเหตุการณ์ที่ผ่านมาบ้าง แต่ไม่ควรยืดเยื้อจนเกินไป
หลังจากนั้น ควรเริ่มต้น "สร้างความกระตือรือร้น"
ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตใหม่ โดยพยายามให้ทุกคนหันมาร่วมมือ
เพื่อสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตกันดีกว่า
อย่าไปมัวเสียอกเสียใจกับความล้มเหลวในอดีต
จากจุดนี้ถือว่า
เป็นจุดสำคัญมากในการตั้งรับความเปลี่ยนแปลง เพราะเป็นเช่นที่ได้กล่าวแล้วว่า
การเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งที่จีรัง
ดังนั้นผู้บริหารเองก็ต้องพิจารณาสิ่งต่างๆไว้บ้างเมื่อเกิดความเปลี่ยนแปลงขึ้น
จะได้กลับตัวได้ทัน
อ้างอิงจาก : จุฑา
เทียนไทย. (2547). การจัดการ : มุมมองนักบริหาร.
กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ท้อป. (หน้า 231-235)