หน้าเว็บ

น.ส.ภาณีนุช ปิยภานีกุล 5210125401014 การจัดการทั่วไป ปี4


การจัดการด้านสิ่งแวดล้อม

ฮอนด้าตระหนักดีว่าวิธีดำเนินธุรกิจประจำวันจะสะท้อนให้เห็นอย่างเด่นชัดถึงพันธสัญญาที่บริษัทฯ มีต่อสิ่งแวดล้อมเราจึงพยายามหาวิธีลดผลกระทบของกิจกรรมบริษัทฯ ในทุกขั้นตอนการดำเนินงาน เราส่งเสริมให้ศูนย์บริการ ผู้จำหน่าย ผู้ผลิตชิ้นส่วนและเพื่อนร่วมงานนำระบบการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม ระบบจัดการขยะ และโครงการลดมลภาวะทางอากาศไปใช้ปฏิบัติและช่วยนำชิ้นส่วนรถยนต์หมดอายุใช้งานหมุนเวียนกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ ฮอนด้านำระบบฟอกน้ำยาแอร์ประสิทธิภาพสูงมาใช้โดยระหว่างให้บริการซ่อมระบบปรับอากาศ จำเป็นต้องถ่ายน้ำยาแอร์ ศูนย์บริการฮอนด้าจะถ่ายน้ำยาแอร์ที่ใช้แล้วเข้าสู่เครื่องฟอกดังกล่าว เพื่อรีไซเคิลหมุนเวียนนำกลับไปใช้ใหม่ในระบบปรับอากาศของรถยนต์ฮอนด้าอีกครั้ง
ฮอนด้าได้คิดค้นและหาแนวทางที่หลากหลายเพื่อการนำชิ้นส่วนที่หมดอายุการใช้งานมาใช้ให้เกิดเป็นประโยชน์ตามหลักการ LCA (Life Cycle Assessment ) ซึ่งฮอนด้าเป็นบริษัทผู้ผลิตรถยนต์รายแรกที่สามารถรีไซเคิลกันชนรถยนต์ที่หมดสภาพแล้ว เพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ โดยผ่านกระบวนการรีไซเคิล และนำมาผลิตเป็นก้านดึงปุ่มกดล็อกประตูรถยนต์ รวมทั้งยังมีแผนที่จะนำเม็ดพลาสติกที่ได้จากการรีไซเคิลกันชนรถยนต์มาผลิตเป็นบังโคลน และแผ่นรองใต้ตัวถังรถยนต์ในอนาคต
นอกจากนี้ ผลิตภัณฑ์ และชิ้นส่วนผลิตภัณฑ์ฮอนด้าที่หมดอายุแล้วอาทิ ยางรถยนต์และน้ำมันเครื่องใช้แล้ว จะถูกรวบรวมจากศูนย์บริการต่างๆของฮอนด้า เพื่อนำไปสังเคราะห์ใช้เป็นเชื้อเพลิงในการเผาซีเมนต์โดยวิธีดังกล่าว ถือว่าเป็นการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด ลดปัญหาขยะตกค้าง และลดการใช้น้ำมันดิบจากธรรมชาติ
โรงงานสีเขียว

แนวคิดเรื่อง โรงงานสีเขียว เป็นส่วนหนึ่งของนโยบายบริษัทฮอนด้าที่กำหนดให้โรงงานผลิตฮอนด้าทั่วโลกมีระบบการจัดการที่ดีด้านสิ่งแวดล้อม อีกทั้งมีระบบการบริหารจัดการพลังงานและทรัพยากรอื่นที่ทรงประสิทธิภาพ

บริษัท ฮอนด้า ออโตโมบิล (ประเทศไทย) จำกัดได้ดำเนินกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อรองรับแนวคิดดังกล่าว 6 แนวทางดังนี้

การลดปริมาณของเสียอันตรายที่ส่งออกสู่ภายนอกให้เป็นศูนย์
ควบคุมการใช้พลังงานและทรัพยากรธรรมชาติ
นำระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมเข้ามาปฏิบัติให้เกิดประโยชน์สูงสุด และปรับปรุงพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
ดำเนินกิจกรรมเพื่อการอยู่ร่วมกันกับชุมชนในท้องถิ่น
ปรับปรุงสภาพแวดล้อมในการทำงานให้เหมาะสม
สนับสนุนให้ผู้ผลิตชิ้นส่วนมีส่วนร่วมในการรักษาสิ่งแวดล้อม

จากวันนั้นถึงวันนี้ กิจกรรมโรงงานสีเขียวของฮอนด้าประสบความสำเร็จในการสร้างสรรค์สิ่งแวดล้อมที่ดีให้แก่สังคม ตลอดจนอนุรักษ์พลังงานและนำทรัพยากรธรรมชาติมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด กิจกรรมต่างๆเหล่านี้ส่งผลให้โรงงานผลิตรถยนต์ฮอนด้าได้รับการรับรอง มาตรฐาน ISO 14001 ซึ่งเป็นมาตรฐานการจัดการสิ่งแวดล้อม

น.ส.ปณิตา ขวัญยืน การจัดการทั่วไป ภาคปกติ รหัส 5210125401064


บทที่ 11 การบริหารจัดการธุรกิจสีเขียวและวิเคราะห์ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิต
ยกตัวอย่างบริษัทที่ช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม
บริษัท ไทยน้ำทิพย์ จำกัด กลุ่มธุรกิจโคคา-โคลาในประเทศไทย
โครงการธนาคารรีไซเคิลเพื่อสิ่งแวดล้อม   ก่อตั้งขึ้นภายใต้การบริหารและการดำเนินการโดยคณะกรรมการธนาคารรีไซเคิลเพื่อสิ่งแวดล้อมสีเขียว โดยคำนึงถึงการมีส่วนร่วมในการลดภาวะโลกร้อนและปลูกจิตสำนึกของพนักงานทุกคน

บรรจุภัณฑ์ ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม      เป็นน้ำดื่มที่ “คิดมาเพื่อโลก”
พัฒนาและสร้างสรรค์บรรจุภัณฑ์ของเราที่เป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าต่อไปสำหรับอนาคต เราจะพัฒนาและออกแบบที่มีน้ำหนักเบาขึ้น แต่ยังคงมีความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ โดยปี 2555 จะลดปริมาณการใช้พลาสติก PET ในประเทศไทยลง 15 % ซึ่งลดพลาสติกลง 8,700 ตัน และประหยัดเงินกว่า 350 ล้านบาท รวมทั้งยังออกแบบให้สามารถบิดขวดได้เมื่อดื่มหมด เพื่อช่วยลดพื้นที่และเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดเก็บขยะรีไซเคิล
ซึ่งเปิดโอกาสให้ผู้บริโภคได้รับความสดชื่นและรักสิ่งแวดล้อมไปพร้อมๆกันด้วย 3 ขั้นตอน ง่ายๆและสนุกสนาน คือ 1.เลือก   2.ดื่ม   3.บิด
ด้วยการออกแบบที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม น้ำดื่ม “น้ำทิพย์” โฉมใหม่จึงไม่เพียงช่วยลดการใช้ทรัพยากรในการผลิต แต่ยังมีส่วนช่วยลดการปล่อยก๊าชคาร์บอนไดออกไซด์ในระหว่างการขนส่ง ทั้งยังสามารถนำบรรจุภัณฑ์ทั้งหมดไปรีไซเคิลเพื่อเป็นทรัพยากรต่อไปอีกได้

อ้างอิง : www.brandage.com
                www.thainamthip.co.th

นางสาวสายฝน โป่งมะณี รหัส 5210125401003 เอกการจัดการทั่วไป ปี4



บทที่ 1 การวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นในการจัดการ การประเมินสภาพแวดล้อมภายในภายนอก
การวิเคราะห์ สภาพแวดล้อมภายในและภายนอกองค์กร (SWOT)
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในและภายนอกองค์กรทางการศึกษา เพื่อศึกษาแนวโน้มการพัฒนาการศึกษาให้มีความเหมาะสม สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนท้องถิ่น โดยแนวโน้มการพัฒนาการศึกษาขององค์กรทางการศึกษาต้องมีความเป็นไปได้ในการพัฒนาตามเงื่อนไขข้อจำกัดและองค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อการจัดการศึกษา  ซึ่งได้แก่ นโยบายในการจัดการศึกษาของหน่วยงานต้นสังกัด รูปแบบการบริหารงานขององค์กรทางการศึกษา และปัจจัยทีเกี่ยวข้องอื่นการศึกษาความต้องการของชุมชน เป็นการสำรวจความต้องการขององค์กรชุมชนที่องค์กรทางการศึกษาตั้งอยู่ความต้องการของผู้ปกครองนักเรียนและความต้องการของชาวบ้านในชุมชนสรุปมาเป็นแนวทางในการดำเนินงานเพื่อตอบสนองความต้องการของชุมชนการวิเคราะห์สภาพขององค์กรทางการศึกษาเพื่อกำหนดแนวทางในการพัฒนาการศึกษา จะต้องวิเคราะห์ผลกระทบที่เกิดจากปัจจัยต่าง ๆ ด้วย เรียกว่า SWOT Analysis ซึ่งได้แก่
1. Strengths - จุดแข็งหรือข้อได้เปรียบ
2. Weaknesses - จุดอ่อนหรือข้อเสียเปรียบ
3. Opportunities - โอกาสที่จะดำเนินการได้
4. Threats - อุปสรรค หรือปัจจัยที่คุกคามการดำเนินงานขององค์การ
        การวิเคราะห์ SWOT อาจเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เป็นการทำ Situation Analysis เป็นการวิเคราะห์สภาพองค์การ หรือหน่วยงานในปัจจุบัน เพื่อค้นหาจุดแข็ง จุดเด่น จุดด้อย หรือสิ่งที่อาจเป็นปัญหาสำคัญในการดำเนินงานสู่สภาพที่ต้องการในอนาคต การวิเคราะห์สภาพการณ์ (Situation Analysis) วิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน เพื่อให้รู้ตนเอง (รู้เรา) รู้จักสภาพแวดล้อม (รู้เขา) ชัดเจน และวิเคราะห์โอกาส-อุปสรรค เพื่อประโยชน์ในการกำหนดวิสัยทัศน์ หรือเลือกกลยุทธ์ระดับองค์กรที่เหมาะสมต่อไป ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับการทำ Strategic Decision การทำ Strategic Decision  เป็นการตัดสินใจเลือกกลยุทธ์หรือวิธีดำเนินงานที่สำคัญ ที่เป็นหลักในการปฏิบัติไปสู่สภาพที่ต้องการในอนาคตขององค์การ เพื่อการบรรลุ Vision หรือสภาพในอนาคตตามที่ได้กำหนดไว้ ซึ่งเป็นการเลือกโดยคำนึงถึงสภาพในอนาคต  โดยคำนึงถึงจุดที่ต้องการ โดยรู้สถานการณ์ เห็นถึงโอกาสและรู้จุดดี จุดเด่นตลอดจนจุดอ่อนในการดำเนินงานไปสู่จุดหมายที่ต้องการขององค์การในอนาคต เป็นการค้นหากลยุทธ์โดยหลักการ มองกว้าง เห็นไกล รอบคอบ ตามหลักการกำหนดกลยุทธ์ในแบบต่าง ๆ เช่น กลยุทธ์ที่มุ่งหา S สูง – O สูง, S สูง – T ต่ำ, W ต่ำ – O สูง และ W ต่ำ – T ต่ำกลยุทธ์เชิงรุก กลยุทธ์เพื่อความเจริญก้าวหน้า (Growth Strategy) กลยุทธ์แบบคงที่ (Stability Strategy) กลยุทธ์แบบตัดทอนป้องกัน (Retrenchment and Defense Strategy) กลยุทธ์การตั้งราคา-การขาย กลยุทธ์การแข่งขัน กลยุทธ์การเป็นผู้นำ กลยุทธ์ในการสร้างความแตกต่างของผลิตภัณฑ์และบริการ กลยุทธ์การจำกัดขอบเขตปฏิบัติการ เป็นต้น
อ้างอิง     mbaconduct.blogspot.com

บทที่ 2 แนวคิดทฤษฎีทางการบริหารจัดการที่สำคัญ ตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบัน
แนวความคิดการจัดการตามสถานการณ์
           แนวคิดนี้ได้ถูกพัฒนาขึ้นมาให้สอดคล้องกับสภาพการในยุคใหม่ที่ต้องเผชิญกันการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ขององค์การ เป็นแนวคิดทางการบริหารที่มุ่งสร้างความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรผันได้แก่ สภาพแวดล้อมกับการเปลี่ยนแปลงองค์การอย่างเหมาะสม โดยการออกแบบองค์การอย่างเหมาะสม และกระทำการบริหารจัดการให้สอดคล้องกับสถานการณ์เฉพาะอย่างเกิดขึ้น คือ
1.มุ่งให้ความสำคัญต่อสภาพแวดล้อมองค์การ
2.ยอมรับหลักการต่าง ๆ ที่เป็นสากลควบคู่กับการมององค์การแต่ละองค์การมีลักษณะพิเศษเฉพาะ
3.มุ่งแสวงหาความเข้าใจของความสัมพันธ์ที่ขึ้นอยู่ระหว่างกับระบบย่อยต่าง ๆ ภายในองค์การตลอดจนความสัมพันธ์ระหว่างองค์การกับสภาพแวดล้อมภายนอก   จะเห็นว่าแนวคิดนี้มีความเข้าใจว่า ไม่มีแนวทางของการบริหารหรือทฤษฎีการบริหารใดที่ดีทีสุดเพียงแนวทางเดียว ที่จะใช้ได้กับองค์การทุกรูปแบบ การบริหารจะมีประสิทธิภาพย่อมขึ้นอยู่กับความสามารถประยุกต์และเลือกใช้วิธีการอย่างเหมาะสมตามแต่สถานการณ์ที่เกิดขึ้นวิธีการศึกษารูปแบบหรือแนวความคิดทางการจัดการในการศึกษารูปแบบหรือทฤษฎีทางด้านการจัดการนั้น มีหลักเกณฑ์หรือทฤษฎีที่จะต้องศึกษาหลายรูปแบบด้วยกัน รูปแบบต่าง ๆ ของการจัดการเหล่านั้นจะต้องมีการนำเอาทฤษฎีทางด้านการจัดการรวมทั้งเหตุการณ์หรือสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นมาวิเคราะห์และมีการพัฒนาปรับปรุงทฤษฎีกันต่อ ๆ มาในการศึกษารูปแบบทางการจัดการสามารถวิเคราะห์เป็นกลุ่มได้หลายอย่างด้วยกัน คือ
1. วิธีการศึกษาในรูปของกรณีศึกษาหรือจากการสังเกต (The Empirical or Case Approach) การศึกษาทางการจัดการแบบนี้เป็นการวิเคราะห์หรือศึกษาการจัดการโดยอาศัยประสบการณ์แล้วมาวิเคราะห์ การศึกษาการจัดการโดยวิธีนี้เป็นที่เชื่อว่าเป็นการศึกษาจากความสำเร็จหรือความผิดพลาดของงานบริหารเฉพาะกรณีไป และผู้ศึกษาจะต้องพยายามศึกษาจากปัญหาที่ระบุเอาไว้อย่างเด่นชัดและสถานการณ์ต่าง ๆ เหล่านี้จะทำให้นักการจัดการสามารถศึกษาและวิเคราะห์แนวความคิดทางการจัดการได้
2. วิธีการศึกษาจากพฤติกรรมของมนุษย์ (The Interpersonal Behavior Approach) การศึกษาจากพฤติกรรมของมนุษย์เป็นวิธีการอย่างหนึ่ง เพราะในการศึกษาทางด้านการจัดการเป็นการศึกษาถึงความสัมพันธ์ของบุคคลในองค์การ สภาวะการณ์การเป็นผู้นำ
3. วิธีการศึกษาการตัดสินใน (Decisional Approach) เป็นวิธีการศึกษาทางการจัดการที่นำเอาข้อมูลหรือการวิเคราะห์เชิงปริมาณเข้ามาใช้ประกอบการตัดสินใจ
4. วิธีการศึกษาโดยวิธีการเชิงระบบ (System Approach) คำว่า ระบบ หมายถึงส่วนต่าง ๆ จำนวนหนึ่งที่มีผลกระทบต่อกันและมีส่วนเชื่อมโยงกันเพื่อที่จะทำให้งานขององค์การบรรลุเป้าหมายที่องค์การต้องการได้
5. วิธีการศึกษาแบบวิธีการปรับตัว (Adaptive of Ecological Approach) เป็นระบบเปิดจะต้องวิเคราะห์โดยการศึกษาสภาวะแวดล้อมภายในองค์การกับสภาวะแวดล้อมภายนอกองค์การควบคู่กันไปด้วย
อ้างอิง: ฟาร์อีสเทอร์น. ( 2547) วิวัฒนาการของแนวคิดทางการจัดการ.

บทที่ 3 การค้นหาข้อมูลโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
        เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสื่อสารและสืบค้นข้อมูลเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษาจากการเปลี่ยนแปลงของสภาวการณ์โลกที่ก้าวสู่โลกแห่งการเรียนรู้เทคโนโลยีนานาประเทศต่างพยายามปรับกลยุทธ์ เพื่อยกระดับศักยภาพของสังคมด้วยการนำเทคโนโลยีร่วมสมัยถึงผลกระทบในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในสังคม 4 ด้าน คือ ด้านความรู้เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยอำนวยความสะดวกในการขยายขอบเขตของความรู้ทั้งในแนวลึกและแนวกว้างให้แก่ผู้ศึกษา ค้นคว้า ผลกระทบประการที่สองคือทำให้เกิดอาชีพใหม่และทุกคนจำเป็นต้องมีความรู้และทักษะทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ผลกระทบประการต่อไปคือสังคม ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านความสัมพันธ์ของผู้คนในสังคม รวมทั้งความไม่เท่าเทียมกัน ในสังคม ผลกระทบประการ สุดท้ายคือการอำนวยความสะดวกทั้งในด้านการศึกษา การดำรงชีวิต ช่วยในการคิด การตัดสินใจ และประหยัดเวลาเมื่อนักการศึกษานำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช้ประโยชน์เพื่อการศึกษาให้สามารถแข่งขันในโลกสากล ก่อให้เกิดภูมิปัญญาและการเรียนรู้อันจะนำไปสู่คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นนั้นถือได้ว่าเป็นเรื่องสำคัญในระดับประเทศ สำหรับประเทศไทยได้กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช้ในวงการศึกษาเช่นเดียวกัน เช่น การใช้ดาวเทียมสื่อสาร ใยแก้วนำแสง ซีดีรอม มัลติมีเดีย อินเทอร์เน็ต คอมพิวเตอร์ช่วยสอน การเรียนการสอนผ่านเว็บ เป็นต้นบทบาทและคุณค่าของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษาการนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช้เพื่อการศึกษา มีหลายลักษณะคือ (ปทีป เมธาคุณวุฒิ, 2544 ; ถนอมพร เลาหจรัสแสง, 2542)
1) เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารลดความเหลื่อมล้ำของโอกาสทางการศึกษา สิ่งนี้เป็นเงื่อนไขสำคัญในการตอบสนองนโยบายการศึกษาที่เป็น "การศึกษาเพื่อประชาชนทุกคน" ที่จะเป็นการสร้างความเท่าเทียมทางสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งความเท่าเทียมทางด้านการศึกษา ตัวอย่างที่สำคัญคือ การเรียนการสอนทางไกลที่ทำให้ผู้เรียนในที่ห่างไกลในชนบทที่ด้อยโอกาสให้มีโอกาสเท่าเทียมกับผู้เรียนที่อยู่ในสถานที่ในเมือง รวมทั้งการที่ผู้เรียนมีโอกาสเข้าถึงแหล่งข้อมูลของโลก ผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ต หรือการที่เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้คนพิการสามารถมีโอกาสรับการศึกษาในสิ่งแวดล้อมของคนปกติ และยังเปิดโอกาสให้คนพิการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้และเพื่อการประกอบอาชีพอีกด้วย
2) เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเป็นเครื่องมือในการพัฒนาคุณภาพทางการศึกษา เทคโนโลยีสามารถทำได้ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การที่ผู้เรียนที่เรียนรู้โดยสามารถใช้เวลาเพิ่มเติมกับบทเรียนด้วยสื่อซีดีรอมเพื่อตามให้ทันเพื่อน ผู้เรียนที่รับข้อมูลได้ปกติสามารถเพิ่ม ศักยภาพในการเรียนรู้ด้วยตนเองได้มากขึ้น จากความหลากหลายของเนื้อหาในสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ นอกจากนี้ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ทั้งในระดับท้องถิ่นหรือระดับโลกอย่างระบบเวิลด์ไวด์เว็บในอินเทอร์เน็ต ยังเปิดโอกาสให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาคุณภาพของการเรียนรู้จากฐานข้อมูลที่หลากหลายและกว้างขวาง อย่างที่ระบบฐานข้อมูลหรือห้องสมุดเดิมไม่สามารถรองรับได้ วิวัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศยังทำให้สื่อทางเสียง สื่อข้อความ สื่อทางภาพ สามารถผนวกเข้าหากัน และนำเสนอได้อย่างน่าสนใจและไม่น่าเบื่อ ไม่ว่าจะดึงข้อมูลจากสื่อที่เก็บข้อมูลเช่น ฮาร์ดดิสก์ ซีดีรอม หรือจากเครือข่าย ซึ่งปัจจุบันมีเทคโนโลยีดิจิทัล และการบีบอัดสัญญาณที่ก้าวหน้าที่ได้อย่างรวดเร็วและสมบูรณ์ ในขณะเดียวกันข้อมูลที่มีประโยชน์ยังสามารถเก็บบันทึกและเรียกใช้ร่วมกันได้จากคลังดิจิทัล (Digital Archive) ในรูปแบบต่าง ๆ นอกจากนี้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ประเภทความจริงเสมือน (Virtual Reality) ยังสามารถประยุกต์ใช้เป็นประโยชน์ทางการศึกษาและการฝึกอบรม
3) การพัฒนาบุคลากรทางการศึกษาให้มีความรู้ทางด้านเทคโนโลยี ในประเด็นนี้ได้คำนึงถึงระดับการสร้างทักษะพื้นฐาน (Literacy) การสร้างผู้สอนที่มีความรู้ที่จะใช้เทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสารประกอบการเรียนการสอน การสร้างผู้มีความรู้ ความชำนาญ เฉพาะศาสตร์ทางคอมพิวเตอร์ในระดับต่าง ๆ เพื่อที่จะนำไปสู่การคิดค้นสร้างสรรค์เทคโนโลยี สารสนเทศ และที่จำเป็นมากสำหรับประชาชนทั่วไป คือการสร้างทักษะพื้นฐานทางคอมพิวเตอร์
4) บทบาทของอินเทอร์เน็ตกับการศึกษา อินเทอร์เน็ตเป็น "เครือข่ายแห่งเครือข่าย" (Network of Networks) ทำให้เกิดการเชื่อมโยงกันอย่างเสรี โดยไม่มีการปิดกั้น การเผยแพร่และสืบค้นข้อมูลผ่านระบบเวิลด์ไวด์เว็บ (World Wide Web) ทำให้บุคคลสามารถเผยแพร่ข้อมูลของตนเองต่อโลกได้ง่าย พอกับการสืบค้นข้อมูลโดยใช้ระบบทะเบียนที่อยู่ (Uniform Resource Locator-URL) และผ่านตัวสืบค้น (Search Engines) ต่าง ๆ นอกจากนั้นการสื่อสารผ่านระบบไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail หรือ E-mail) เป็นการปฏิวัติระบบการสื่อสารทั่วโลกด้วยสะดวก ความเร็ว และถูกต้องสมบูรณ์ รวมทั้งการแลกเปลี่ยนสาระความรู้ผ่านระบบแผนกระดานข่าว (Bulletin Board) และกลุ่มอภิปราย (Discussion Groups) ต่าง ๆ ทำให้เกิดการ แลกเปลี่ยนความรู้กันอย่างกว้างขวางและทั่วถึงกันมากขึ้น รูปแบบของการสืบค้นข้อมูลของภาษา HTML (Hyper Text Markup Language) นอกจากความสะดวกและง่ายต่อการใช้แล้วยังเป็นสภาพแวดล้อมที่อาจมีผลทางจิตวิทยาให้ผู้ใช้ค้นหาข้อมูลลึกลงไปโดยสรุปเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มีส่วนสัมพันธ์หรือเอื้อต่อการศึกษาทั้งในด้านการเรียนการสอน การวิจัย การบริหาร และการบริการสังคมที่มา : สุภาณี เส็งศรี "เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษา" (ออนไลน์)

ที่มา    http://www.edu.nu.ac.th

บทที่ 4 แนวคิดเกี่ยวกับภาวะผู้นำ
คุณสมบัติหลักการแห่งการเป็นผู้นำ โดย John.C.Maxwell
1. ผู้นำต้องเป็นคนมีวิสัยทัศน์ ต้องมองไปถึงอนาคต และเห็นจุดมุ่งหมายอย่างชัดเจน
2. ผู้นำต้องใฝ่รู้ ต้องไม่ล้าช้า ติดตามเรียนรุ้ให้ทันการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ
3. ผู้นำต้องเป็นผู้รับใช้ที่ดี เรียนรุ้การปฏิบัติจากผู้อื่น
4. ผู้นำต้องมีวินัยในตนเอง เพื่อเป็นตัวอย่างในการสร้างวินัยให้กับองค์กร
5. ผู้นำต้องเป็นผู้มั่นคงในหลักการ อุดมการณ์ไม่หวั่นไหวต่อสถานการณ์
6. ผู้นำต้องเป็นคนกล้ารับผิดชอบผลที่เกิดจากการตัดสินใจ
7. ผู้นำต้องเป็นผู้มีมนุษย์สัมพันธ์ดี ทำให้การทำงานเกิดความราบรื่น
8. ผู้นำต้องเป็นคนรู้จักแก้ปัญหาทั้งระยะสั้นระยะยาวถ้ารู้ว่ามีปัญหาต้องรับแก้ไม่ปล่อยให้ปัญหาคงค้าง
9. ผู้นำต้องเป็นผู้มีทัศนคติทีดีในการทำงานต้องเชื่อว่าทำได้
10. ผู้นำต้องมีใจรักในงาน รักผู้ร่วมงาน รักผู้เกี่ยวข้องในงาน รักผู้รับบริการ รักตนเองเข้าใจตนเอง
11. ผู้นำต้องมีคุณธรรม เชื่อมั่นในหลักคุณธรรม
12. ผู้นำต้องเสน่ห์ บุคลิกดี ความประทับใจแรกพบช่วยให้งานประสบความสำเร็จได้ง่าย
13. ผู้นำต้องทุ่มเท เชื่อมั่นในสิ่งที่ทำ หากไม่ทุ่มเทจะเป็นเพียงนักฝัน
14. ผู้นำต้องรู้จักการสื่อสารที่ดี มีความสามารถสื่อให้ผู้อื่นเข้าใจในสิ่งที่ตนเองคิด ทำเรื่องยากให้ง่าย
15. ผู้นำต้องเป็นคนมีประสิทธิภาพ ทำงานอย่างมีหลักวิชาการให้เกิดความสำเร็จ
16. ผู้นำต้องกล้าหาญ ทำในสิ่งที่ถูกต้องกล้าคัดค้านในสิ่งผิด
17.ผู้นำต้องมีวิจารณญาณที่ดี รู้จักวิเคราะห์ตัดสินใจถูกต้อง
18.ผู้นำต้องมีความแจ่มชัดในทุกด้าน
19.ผู้นำต้องเป็นคนมีน้ำใจ
20.ผู้นำต้องเป็นคนมีความคิดริเริ่มในสิ่งใหม่ๆ
21.ผู้นำต้องเป็นผู้ฟังที่ดี เพื่อเข้าถึงจิตใจคน
อ้างอิง : รองศาสตราจารย์สมคิด บางโม. องค์การและการจักการ. กรุงเทพฯ. พิมพ์ฉบับที่ 4. 2550

บทที่ 5  ทฤษฎีผู้นำที่เหมาะสมกับสถานการณ์และสิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน
ทฤษฎีผลกระทบระหว่างบุคคลและสถานการณ์ (Personal & Situation Theory)
ภายหลังปี ค.ศ. 1930 นักทฤษฎีได้เริ่มต้นศึกษาเกี่ยวกับความมีประสิทธิภาพของภาวะผู้นำในลักษณะที่มีความซับซ้อนมากขึ้น ทฤษฎีนี้มีแนวความคิดว่าคุณลักษณะของผู้นำจะต้องมีความสัมพันธ์กับสถานการณ์ จึงจะทำให้เกิดภาวะผู้นำที่มีประสิทธิภาพ ความเชื่อเบื้องหลังความคิดนี้คือลักษณะของสถานการณ์ใดๆก็ตามจะเป็นตัวกำหนดคุณลักษณะที่จำเป็นต่อความสำเร็จของภาวะผู้นำ ดังนั้นบุคคลที่มีลักษณะผู้นำตามทฤษฎีลักษณะผู้นำนั้น มิได้หมายความว่าจะเป็นผู้นำได้ทุกโอกาสหรือทุกสถานการณ์ ตัวอย่างเช่น ในสถานการณ์ที่กลุ่มต้องการความสนุกสนานรื่นเริงในโอกาสวันขึ้นปีใหม่ บุคคลที่มีรูปร่างสูงใหญ่ เฉลียวฉลาด สุขุมเยือกเย็น ความจำดี กล้าหาญ และอดทน ย่อมไม่เหมาะที่จะเป็นผู้นำเท่ากับบุคคลที่มีนิสัยร่าเริง ชอบสนุกสนาน ชอบดื่ม แม้รูปร่างไม่ใหญ่โตและสติปัญญาไม่สู้จะเฉลียวฉลาดนัก เพราะในสถานการณ์เช่นนี้ทุกคนในกลุ่มต้องการหาความสุขจากการสนุกสนานรื่นเริง
อ้างอิง : รองศาสตราจารย์สมคิด บางโม. องค์การและการจัดการ. กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์, 2541.316 หน้า.

บทที่ 6 การเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และวิเคราะห์ถึงผลกระทบต่อการบริหารจัดการ
ผลกระทบของประชาคมอาเซียนต่อธุรกิจไทย และกลยุทธ์ในการตั้งรับ (1/2)
     เมื่อประเทศไทยเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ประเทศไทยจะได้รับผลประโยชน์ในทางบวกหรือผลดีที่จะเกิดขึ้น โดยเฉพาะในเรื่องประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ซึ่งเป็นสิ่งที่คนไทยเน้นย้ำกันเป็นพิเศษ จะมีดังนี้ คือ
ประการแรก ก็คือ จะมีตลาดสินค้าและบริการที่ใหญ่ขึ้น นักธุรกิจไทยจะมีตลาดการค้าที่ใหญ่ขึ้น เพราะมีประชากรเพิ่มขึ้นเป็น 580 ล้านคน เพราะทั้ง 10 ประเทศนี้ต่างก็มีจำนวนมหาศาลพอสมควร โดยเฉพาะอินโดนีเซีย ซึ่งมีประชากรประมาณ 220 ล้านคน บวกกับ ฟิลิปปินส์ ประมาณ 87 ล้านคน เวียดนาม 84 ล้านคน ไทยอีกประมาณ 63 ล้านคน เหล่านี้เป็นต้น นับว่าจะการเพิ่มโอกาสทางการค้าเนื่องจากมีขนาดตลาดที่ใหญ่โตขึ้น และจะเอื้อให้การผลิตในลักษณะที่ผลิตมากขึ้นต้นทุนต่ำลงย่อมมีโอกาสมากขึ้นด้วย (Economies of Scale) แต่ทั้งนั้นทั้งนี้ แต่ละประเทศก็ต้องออกแรงขยันหาตลาดและมีกลยุทธ์ที่เหมาะสมในการหาลูกค้าเช่นกัน  
       กลยุทธ์ในด้านการตลาดการหาลูกค้าจะต้องทบทวนกันใหม่ เพราะลูกค้าใหม่ที่จะเข้ามาในประเทศย่อมนำกลยุทธ์ที่เขาเคยประสบความสำเร็จหรือเหนือกว่าเราออกมาใช้และจะมีการนำวัฒนธรรมในการบริโภคสินค้าเข้ามาให้นักการตลาดของเราได้เรียนรู้เพิ่มมากขึ้นจากเดิม เราต้องเรียนรู้พฤติกรรมการบริโภคสินค้าและบริการตลอดจนลูกเล่นทางการค้าของเขา รวมทั้งความเชื่อต่างๆ การปรับตัวของธุรกิจภายในประเทศจะต้องทันต่อเหตุการณ์และสภาพของตลาดอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ใครปรับตัวหรือมีการเตรียมการที่ดีย่อมได้ผลในทางบวกแต่ในทางตรงกันข้ามหากพ่อค้าของเราปรับตัวช้า จะสูญเสียโอกาสและอาจจะสูญเสียฐานของลูกค้าเดิมไปด้วยเช่นกัน
ประการที่สอง ประเทศไทยจะได้อานิสงส์ ในการที่จะกลายมาเป็นเป้าหมายในการดึงดูดการลงทุน เงินลงทุน จากต่างประเทศได้มากขึ้นเพราะต่อไปนี้การขยายการลงทุนจากต่างประเทศมาไทยจะกระทำได้ง่ายขึ้น หากเป็นไปตามข้อตกลงที่ได้ตกลงกันไว้ และประเทศไทยได้เปรียบประเทศอื่นๆ หลายประการโดยเฉพาะทัศนคติของคนไทยที่มีต่อนักลงทุนชาวต่างชาตินั้นดีมาก แม้ว่าบางครั้งการลงทุนของต่างชาติมาลงทุนในประเทศไทยไม่ได้ก่อให้เกิดราย ได้แก่ ชุมชน การจ้างงาน หรือการนำเทคโนโลยีมาช่วยประเทศไทยเลย แต่คนไทยก็ไม่เคยรังเกียจนักลงทุนเหล่านี้ เหมือนดังประเทศอื่น อีกทั้งระเบียบกฎเกณฑ์ด้านการลงทุน ประเทศไทยอาจกล่าวได้ว่าเปิดโอกาสมากกว่าหลายๆ ประเทศในภูมิภาคนี้ แม้กระทั่งหากเปรียบเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านอย่างลาวหรือพม่า เป็นต้น
        กลยุทธ์ในด้านการลงทุนและการเงิน ของประเทศไทยจำเป็นที่จะต้องพัฒนาให้ทันกาลการเข้ามาของต่างชาติ การเปิดเสรีมากเกินไปนอกจากจะทำให้ฐานะของประเทศไทยเกิดความเสี่ยงมากขึ้นแล้ว ไทยจะไม่สามารถหาประโยชน์ได้มากเหมือนแต่ก่อนที่ยังไม่เปิดเสรีในด้านนี้ กฎหมายหรือกฎเกณฑ์ต่างๆ ของภาครัฐด้านการลงทุนและการเงินจะต้องรื้อปรับระบบกันใหม่ (Reengineering) ในขณะนี้ ทั้งนี้ เพื่อให้ประเทศได้รับผลดีอย่างเต็มที่และต้องหามาตรการในการลดความเสี่ยงในด้านการลงทุนและการเงิน ทุกรูปแบบ แต่มิใช่เป็นการสกัดกั้นอย่างมีอคติต่อนักลงทุนชาวต่างชาติเช่นกัน ทั้งนี้ รวมทั้งกฎหมายที่ว่าด้วยการถือครองอสังหาริมทรัพย์เช่น ที่ดินเป็นต้น มิฉะนั้นแล้ววันข้างหน้าคนไทยจะไม่มีที่ดินเป็นของตนเอง ธุรกิจก็เป็นธุรกิจของต่างชาติที่เข้ามามีบทบาททำให้ธุรกิจท้องถิ่นที่มีมาแต่ช้านานสูญหายไปหมด โดยเฉพาะวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของไทย
ประการที่สาม การเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนสามารถทำให้ประเทศไทยมีอำนาจในการเจรจาต่อรองต่อเวทีโลกได้มากขึ้น เพราะต่อไปนี้จะมีฐานประชาคมอาเซียนสนับสนุนอยู่และไม่ใช่ไปแบบโดดเดี่ยวเหมือนเมื่อก่อน ซึ่งสามารถทำให้ประเทศคู่ค้าต้องรับฟังมากขึ้น เพราะดีไม่ดีอาจจะไปกระทบกับประชาคมอาเซียนไปด้วย เนื่องจากประเทศไทยเป็นสมาชิกของประชาคมประเทศหนึ่ง
        กลยุทธ์ที่จะช่วยได้อาจเป็นไปในรูปการสร้างและการขยายเครือข่ายโดยมีพันธมิตรคู่ค้าที่เป็นนักลงทุนต่างชาติในกลุ่มอาเซียนเพื่อจะเป็นฐานหรือตัวช่วยในการเจรจาต่อรองมากขึ้น ทั้งนี้ โดยอยู่บนพื้นฐานของความไว้วางใจซึ่งกันและกัน ผลประโยชน์ร่วมกันและภายใต้ความเป็นธรรมและเสมอภาค รวมทั้งการเรียนรู้เทคนิคในการเจรจาต่อรองในรูปแบบต่างๆ ที่สอดคล้องต่อประเพณีและวัฒนธรรมของแต่ละประเทศ
ประการที่สี่ การเข้าสู่ประชาคมอาเซียนจะทำให้นักธุรกิจไทย และผู้ที่เกี่ยวข้องด้านเศรษฐกิจและการค้ามีโอกาสในการพัฒนาศักยภาพของธุรกิจและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องให้ดีขึ้นจากเดิม เพื่อการรองรับการแข่งขัน และสามารถนำมาซึ่งเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่พร้อมจะออกไปเพื่อการแข่งขัน รวมทั้งประเทศไทยสามารถเรียนรู้เทคนิคด้านต่างๆ ของประเทศในกลุ่มนี้มาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของประเทศ ไม่ว่าจะเป็นด้าน การผลิต การตลาด การขนส่งและโลจิสติกส์ การจัดการ การเจรจาต่อรอง การเงิน การท่องเที่ยว การเดินอากาศ และอื่นๆ
        กลยุทธ์ที่เหมาะสมในประเด็นนี้ ก็คือ เราต้องหาเทคโนโลยีในการพัฒนาคุณภาพของสินค้าและบริการให้ดำรงความเหนือกว่าให้ได้ การลงทุนพัฒนาและการวิจัยในด้านเทคโนโลยีของธุรกิจและอุตสาหกรรมต่างๆ เป็นสิ่งจำเป็นและเป็นหนทางในการอยู่รอดและสร้างความได้เปรียบในด้านการแข่งขัน ภาครัฐต้องเห็นความสำคัญของการวิจัยและพัฒนาในด้านการผลิตและการบริการและต้องมาช่วยภาคเอกชนในทุกวิถีทาง เพราะหากปล่อยให้ภาคเอกชนกระทำการแต่เพียงฝ่ายเดียวจะไม่ประสบความสำเร็จในระยะยาว เนื่องจากขาดงบประมาณและความร่วมมือของหน่วยงานราชการ การสร้างนวัตกรรมของประเทศไทยจะเป็นตัวจักรสำคัญในการสร้างความแตกต่างและความยั่งยืนของอุตสาหกรรมไทยในวันข้างหน้าเมื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
ประการที่ห้า จะมีผลต่อการจ้างแรงงานเพราะสามารถเข้าโรงงานอุตสาหกรรมที่ให้ค่าจ้างแรงงานที่สูงกว่าเดิม รวมทั้งการออกไปหารายได้เพิ่มขึ้นจากค่าแรงงานในกลุ่มประเทศอาเซียน ส่วนสถานประกอบการสามารถที่จะสร้างรายได้ของสถานประกอบการให้มากขึ้นจากการขยายตลาดและการเพิ่มปริมาณลูกค้ามากขึ้น และในที่สุด ก็จะมีผลต่อรายได้ที่จะทำให้คุณภาพชีวิตของคนในสังคมไทยดีขึ้นรวมทั้งการได้รับสินค้าและการบริการที่ดีขึ้นหรือมีตัวเลือกและทางเลือกมากขึ้นจากเดิม
         กลยุทธ์ที่เหมาะสมในประเด็นนี้ ก็คือ การเพิ่มทักษะในด้านภาษาท้องถิ่นของแต่ละประเทศนอกเหนือจากภาษาอังกฤษ ภาษาจีน ภาษาญี่ปุ่น ที่เคยมีมาแต่ก่อน แต่จำเป็นที่จะต้องมีการเรียนการสอนด้านภาษามาเลย์ ภาษาเวียดนาม ภาษาเขมร ลาว และภาษาพม่าให้มากขึ้นกว่าแต่ก่อน ในประเด็นนี้ผู้เขียนได้ทราบว่าประเทศมาเลเซียได้มีการเรียนการสอนภาษาไทยกันอย่างแพร่หลายในปัจจุบันเพื่อการรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนโดยเฉพาะ ดังนั้น ภาครัฐไม่ว่าจะเป็นระดับประถม มัธยม สายวิชาชีพ หรือแม้กระทั่งระดับอุดมศึกษาก็น่าที่จะมีการปรับตัวเตรียมการกันได้แล้ว เพราะเรื่องของภาษาเป็นเรื่องของการใช้เวลาและการฝึกหัดที่ต้องกินเวลาพอสมควรเพื่อให้ได้ผลดี ในส่วนการศึกษาของภาคเอกชนโดยเฉพาะสถานศึกษาภาคเอกชนก็ควรปรับปรุงหลักสูตรการเรียนการสอนเพื่อเตรียมการผลิตนักเรียน นิสิต นักศึกษาที่มีความพร้อมในด้านนี้ออกไปเช่นกัน
ประการที่หก เมื่อประเทศไทยเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ก็เท่ากับว่าต่อไปนี้จะมีการปรับปรุงแรงงานฝีมือในสาขาวิชาชีพต่างๆ (7 วิชาชีพ) ให้เท่าเทียมนานาประเทศ สาขาวิชาชีพเหล่านี้ ได้แก่ วิศวกร แพทย์ พยาบาล นักบัญชี นักสำรวจ ทันตแพทย์ และผู้ประกอบวิชาชีพ สถาปนิก เพราะสาขาวิชาชีพเหล่านี้เป็นสาขาวิชาชีพหน้าด่านของไทยที่มีความพร้อมสูง มีสมาคมและการรวมตัวที่มีประสิทธิภาพเป็นที่ประจักษ์ และเป็นสมาคมที่ประชาคมอาเซียนได้ยกมาเป็นกลุ่มแรกของไทยที่จะมีการวางกฎเกณฑ์ข้อบังคับต่างๆ หากจะมีคนในประเทศสมาชิกเข้ามาทำงานในกลุ่มวิชาชีพทั้งเจ็ดนี้ในไทย แต่ในทางกลับกันหากคนไทยที่ทำงานในกลุ่มวิชาชีพเหล่านี้ยังไม่พร้อมในการปรับตัว ปัญหาก็จะตกมาสู่พวกเขาเช่นกัน ในประเด็นนี้ข้อสรุป ก็คือ การเปิดให้ผู้ประกอบอาชีพที่มีคุณสมบัติตามที่คณะกรรมการประสานงานวิชาชีพสาขาต่างๆ ทั้ง 7 สาขา (ASEAN Joint Coordinating Committee) และหน่วยงานที่กำกับดูแลวิชาชีพหรือองค์การระดับประเทศสมาชิกต่างๆ หรือสภาวิชาชีพ (Professional Regulatory Authority) หรือกระทรวง/องค์การที่เกี่ยวข้องของประเทศสมาชิก ขึ้นทะเบียนหรือออกใบอนุญาตให้ผู้ประกอบวิชาชีพชาวต่างชาติเข้ามาประกอบวิชาชีพในประเทศอาเซียนได้ โดยต้องปฏิบัติตามกฎและระเบียบภายในประเทศนั้นๆ ในทำนองกลับกันหากคนไทยที่ประกอบวิชาชีพเหล่านี้ ก็สามารถที่จะไปทำงานยังประเทศอื่นที่มีค่าจ้างแรงงานที่สูงกว่าได้เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นผู้ประกอบการไทย หรือแรงงานไทยก็จะมีโอกาสออกไปลงทุนหรือทำงานในต่างประเทศมากขึ้น และได้รับค่าตอบแทนที่สูงจากเดิม
         กลยุทธ์ที่ควรนำมาพิจารณาในประเด็นนี้ น่าจะเป็นเรื่องที่จะทำอย่างไรให้ความรู้ในด้านภาษาของคนในกลุ่มวิชาชีพเหล่านี้สามารถพัฒนาได้อย่างรวดเร็ว สามารถสื่อสารได้หลายภาษามากขึ้นจากแต่เดิม รวมทั้งเทคนิคและวิธีการใหม่ๆ ในการประกอบอาชีพในด้านนั้นๆ ที่จะต้องนำมาเสริมเพิ่มเติมความรู้ให้มากขึ้นจากเดิม รวมทั้งกลยุทธ์ในด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่หาหนทางจูงใจให้คนดีและคนเก่งอยู่ในองค์การของเราให้นานที่สุด ศาสตร์ในด้านการรักษาทรัพยากรมนุษย์ที่ทรงคุณค่าไว้ในองค์การหรือ Talent Management ควรจะถูกหยิบยกมาพิจารณาและให้ความสำคัญมากขึ้น มิฉะนั้น จะเกิดเหตุการณ์สมองไหลไปสู่องค์การของต่างชาติทั้งในและนอกประเทศไทยกันหมด
ประการที่เจ็ด ประเทศไทยสามารถอาศัยความร่วมมือช่วยเหลือกันในภาคเศรษฐกิจหรือ AEC นี้ เข้าไปเสริมสร้างความสัมพันธ์ในด้านการเมือง การปกครองการป้องกันประเทศให้ดีขึ้น เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติและลดข้อขัดแย้งต่างๆ กับประเทศเพื่อนบ้านของไทย ไม่ว่าจะเป็น พม่า กัมพูชา หรือประเทศอื่นๆ โดยผ่านความร่วมมือด้านการค้าการลงทุนเป็นหัวหอกเหมือนที่เคยเป็นมาในอดีตและจะช่วยให้ด้านอื่นๆ มีสัมพันธภาพอันดีตามมาในที่สุด
         กลยุทธ์ที่เหมาะสมคือการเรียนรู้และการปรับตัวโดยอาศัยการศึกษาและการเรียนรู้เกี่ยวกับการจัดการวัฒนธรรมข้ามชาติหรือที่เรียกว่า Cross Cultural Management มาเป็นหลักเพื่อให้เกิดการผนึกความร่วมมือร่วมใจ ปรองดองกันระหว่างคนไทยและประเทศเพื่อนบ้านให้อยู่ร่วมกันโดยปราศจากข้อขัดแย้งทางด้าน สังคม เศรษฐกิจและการเมือง
ที่มา :  http://www.thai-aec.com

บทที่ 7 การพัฒนาองค์การไปสู่องค์การแห่งการเรียนรู้และการพัฒนาอย่างยั่งยืน
หลักการพัฒนาองค์การ
การพัฒนาองค์การโดยทั่วไปนั้นจะแก้ปัญหาขององค์การด้วยการปรับปรุง 2 แบบ คือ การพัฒนาทางโครงสร้างและการพัฒนาทางด้านกระบวนการ
การพัฒนาทางด้านโครงการ จะเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างขององค์การ ดังนั้นบุคคลแต่ละคนในองค์การจะเกี่ยวพันกับบุคคลอื่นในลักษณะที่แตกต่างไปจากเดิม เช่น การตัดสินยุบแผนกจากเดิม 8 แผนก ลดลงเหลือ 5 แผนก เท่านั้น แล้วตั้งแผนกงานขึ้นมาใหม่ การเปลี่ยนแปลงเวลาทำงานจากวันละ 8 ชั่วโมง ทำงาน 5 วันต่อสัปดาห์ เพิ่มเป็นวันละ 10 ชั่วโมง แต่ทำงานเพียง 4 วันต่อสัปดาห์ ฯลฯ
การพัฒนาทางด้านกระบวนการ เป็นการปรับปรุงเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวการดำเนินงาน หรือทัศนคติของพนักงาน ได้แก่ การนำเครื่องจักรใหม่มาใช้ การเปลี่ยนพฤติกรรมของหัวหน้าคนงานที่ไม่คำนึงถึงความรู้สึกของผู้อื่น การให้คนงานรับผิดชอบงานเป็นกลุ่ม การปรับปรุงระบบการติดต่อสื่อสารภายในองค์การ การสร้างทีมงาน การเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้นำองค์การ
ในการพัฒนานี้อาจใช้วิธีพัฒนาโดยทั่วไปหรือพัฒนาระหว่างกลุ่มงานก็ได้ ทั้งนี้ ที่ปรึกษาด้านการพัฒนาองค์ การจะได้พิจารณาร่วมกับสมาชิกในองค์การ
อ้างอิง : รองศาสตราจารย์สมคิด บางโม. องค์การและการจัดการ. กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์, 2541.316 หน้า.

บทที่ 8 เทคนิคในการบริหารทรัพยากรมนุษย์และการจัดการที่เหมาะสมกับวัฒนธรรมไทย
ประเด็นทรัพยากรมนุษย์ที่สำคัญบางประการในการทำให้การพัฒนาองค์การบรรลุความสำเร็จ
ประสบการณ์แสดงให้เห็นว่า บริษัทที่ประสบความสำเร็จเดินตามการรวมกันของนโยบายความเจริญเติบโต เช่นสิ่งที่สัมพันธ์กับประสิทธิภาพ ผลิตภาพ และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ประเด็นทรัพยากรมนุษย์บางอย่างในการทำให้บริษัทประสบความสำเร็จคือ
- ทำให้กลยุทธ์ธุรกิจและกลยุทธ์ทรัพยากรมนุษย์เข้าด้วยกัน
- การบริหารความรู้และการสร้างองค์การเรียนรู้
- การพัฒนาความเป็นเลิศทางศิลธรรมผ่านการตรวจสอบจริยธรรมและการสร้างวัฒนธรรมที่ยึดคุณค่าเป็นหลัก
- การสร้างผังสมรรถนะ (competency mapping) และการพัฒนาทักษะผ่านศูนย์การประเมิน (assessment center)
- การจัดระเบียบงานใหม่การขยายเนื้องาน และการเพิ่มคุณค่างาน  (job enlargement and enrichment)
- การพัฒนาความไว้วางใจซึ่งกันและกันในหมู่ทีมงาน
- การบริหารการเปลี่ยนแปลงผ่านคน
- การจัดโครงสร้างใหม่และการป้องกันในองค์การเพื่อเพิ่มพูนมูลค่าแก่ธุรกิจ
- นำการจัดระบบแรงงานผ่านการถ่ายโอนภายในและอาศัยการลดพนักงาน
- ใช้การสำรวมความเห็นเพื่อให้ได้การรับรู้ของพนักงานและการนำการแก้ไขในระหว่างทาง (mid-course corrections) ออกใช้ถ้าจำเป็น
- เชื่อมพันธกิจและจุดประสงค์ขององค์การกับจุดประสงค์การปฏิบัติงานของปัจเจกบุคคล สิ่งดังกล่าวจะเอื้อต่อความเจริญงอกงามและวัฒนธรรมขององค์การ
- กระบวนการคัดสรรและคัดเลือกสามารถเอื้อเฟื้อต่อกลยุทธ์การแข่งขัน
อ้างอิง : ดร.ชาญชัย อาจินสมาจาร. การบริหารการเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาองค์การ. 2540

บทที่ 9 การบริหารการเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาอย่างยังยืน
ความหมายและความสำคัญของการเปลี่ยนแปลงในองค์การ
การเปลี่ยนแปลงหรือการปรับใดๆ ของสถานะเดิมที่เกิดขึ้นในสิ่งแวดล้อมการทำงานทั้งหมดขององค์การคือการเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงคือ การทำให้เกิดความแตกต่างในสิ่งต่างๆ การเปลี่ยนแปลงในองค์การหมายถึงการเปลี่ยนแปลงในความสัมพันธ์เชิงโครงสร้างและบทบาทของคนในองค์การ ทัศนะบางอย่างเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลง คือ
- สิ่งที่แน่นอนในโลกก็คือ จะมีการเปลี่ยนแปลง
- การเปลี่ยนแปลงคือกฎของชีวิต
- ของเก่าถูกทดแทนด้วยของใหม่
- สิ่งที่สม่ำเสมอและคงเส้นคงวา คือ การเปลี่ยนแปลง
- ปัจเจกบุคคลและองค์การต้อปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมและต้องเปลี่ยนแปลง
- การเปลี่ยนแปลงไม่ใช่ของใหม่ สิ่งที่ใหม่ คือ ระดับของการเปลี่ยนแปลง
- การเปลี่ยนแปลงคือ กระบวนการที่ต่อเนื่อง
- มีสัญลักษณ์ของการเปลี่ยนแปลงทุกหนทุกแห่ง-ในบางกรณีมีการเปลี่ยนแปลงมากเกินไป
- การปฏิวัติข่าวสารข้อมูลได้เร่งอัตราความเร็วของการเปลี่ยนแปลง
อินเทอร์เนต คือ การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่สอง ซึ่งจะมีผลต่อบริษัทเหมือนกับการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งแรกยกเว้นว่า มันจะจบสิ้นในสองหรือสามทศวรรษ การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในหนึ่งหรือสองทศวรรษจะเกิดขึ้นในหนึ่งหรือสองปี
อ้างอิง : ดร.ชาญชัย อาจินสมาจาร.  การบริหารการเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาองค์การ.  2540

บทที่ 10 การแข่งขันในตลาดโลกและการปรับตัวเพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน
การแข่งขันในโลกปัจจุบัน
การแข่งขันทางเทคโนโลยีของบริษัทจะเป็นตังนำของการได้เปรียบในการแข่งขันแต่จะไดเปรียบมากหรือน้อยย่อมขึ้นอยู่กับการจะทำให้ราคาผลผลิตต่ำลงหรือไม่ และจะป้องกันการลอกเลียนแบบสินค้าได้อย่างไร  การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีเป็นกิจกรรมที่มีคุณค่า เพราะเทคโนโลยีทำให้โครงสร้างของอุตสาหกรรมทั้งหมดดีขึ้น ในขณะเดียวกัน จอร์ด สทอค และโฮมาส เอ็ม เฮ้า เขียนหนังสือการแข่งขันกันด้วยเวลาในปี 1990 นั้น จะต้องมีพื้นฐาน 3 ประการคือ
1. ต้องสร้างคุณค่าให้การส่งเสริม ให้มีความยืดหยุ่น 2-3 เท่า แล้วสร้างความเร็วให้เร็วกว่าคู่แข่ง
2. ให้ความสนใจต่อการตอบสนองลูกค้าอย่างไร โดยให้ความสนใจต่อลูกค้าอย่างพิเศษ
3. มียุทธศาสตร์แปลกๆ ที่ทำให้ฝ่ายตรงกันข้ามแปลกใจเพื่อการได้เปรียบในการใช้เวลา
การใช้เวลาเป็นเพียงการใช้ผลผลิตและทำให้การส่งสินค้าได้เร็ว ค่าใช้จ่ายย่อมลดลงลดเวลาลงได้มากกว่าครึ่งหนึ่ง ลดคนงานลงได้ ลดค่าใช้จ่ายลงได้ ผลผลิตย่อมเพิ่มขึ้น 2 เท่า  เวลาเป็นเครื่องมือที่มีค่ามากกว่าราคา สิ่งที่เวลาได้เปรียบมากที่สุดคือได้มีเวลาวิเคราะห์จนสามารถนำสิ่งที่วิเคราะห์นั้นมาอยู่ในระดับกำหนดเป็นแผนรองรับ เช่น กำหนดแผนภูมิ, ชาร์ท และเป็นกระบวนการของเน็ทเวิร์ค ที่สามารถตามดูกิจกรรมของเวลาว่าช้า เร็ว ด่วนตรงไหน
อ้างอิง : ศ.ดร. บุญทัน ดอกไธสง. การแข่งขันสู่ความเป็นเลิศ. กรุงเทพฯ : เอกสารและตำรา คณะรัฐประศาสนศาสตร์, 2545

บทที่  11  การบริหารจัดการธุรกิจสีเขียวและการวิเคราะห์ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม          
   และคุณภาพชีวิต
การทำการตลาดสีเขียวนั้น น่าจะมีองค์ประกอบสำคัญ 3 ประการที่นักการตลาดควรให้ความสนใจ ได้แก่
1. การนำเสนอให้ตลาดผู้บริโภคทั่วไปเห็นและเกิดความเข้าใจว่า สิ่งที่บริษัทหรือองค์กรกำลังทำอยู่นี้จะช่วยเหลือสภาพแวดล้อมของโลก ทั้งในเชิงกว้างและในระดับสังคม ชุมชนแวดล้อมได้อย่างไร
2. นำเสนอสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและธรรมชาติ
3. ใช้วิธีการที่เป็นสีเขียวเช่นกัน ในการนำเสนอองค์ประกอบข้อ 1 และข้อ 2 ที่ได้กล่าวมา
       วิธีการข้อที่ 3 เป็นข้อที่นักการตลาดทั่วไป อาจต้องปรับแนวความคิดเดิมๆ หันมาสู่การคิดหาวิธีการที่ทำให้วิธีการทางการตลาดเป็นสีเขียวให้ได้มากที่สุด เช่น การใช้วัสดุประกอบการตลาด อาทิ กระดาษที่ใช้ในการพิมพ์เอกสารการตลาดที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การเลือกใช้หมึกพิมพ์ที่ไม่สร้างมลภาวะ และมองไม่ถึงว่าวัสดุเหล่านั้น หลังจากทำหน้าที่ทางการตลาดสื่อความสำคัญไปยังผู้บริโภคแล้ว ผู้บริโภคจะมีวิธีในการกำจัดทิ้งอย่างไรจึงจะไม่ทำให้เกิดผลกระทบในเชิงลบ เป็นไปได้หรืไม่ที่จะทำให้เกิดการนำกลับมาใช้ใหม่ หรือนำมาใช้ซ้ำได้ด้วยวิธีใดๆ ก็ตาม  นักการตลาดซึ่งโดยธรรมชาติมักจะเป็นผู้ที่มีความสามารถในด้านการคิดสร้างสรรค์สูงอยู่แล้ว หากจะหันกลับมาคิดสร้างสรรค์ในเรื่องของเอกสารทางการตลาดที่เป็นสีเขียวได้ ก็จะเป็นประโยชน์ไม่น้อย แถมยังจะได้เป็นข้อพิสูจน์ให้ผู้บริโภคและคนทั่วไปได้เห็นว่า ความมุ่งมั่นขององค์กรที่ต้องการจะทำธุรกิจให้เป็นสีเขียวนั้นสามารถทำได้อย่างครบวงจรอย่างแท้จริงอีกด้วย
       การหันกลับมาใช้กลยุทธ์ทางการตลาดที่จะไม่ทำให้เกิดการสร้างผลกระทบเชิงลบต่อสิ่งแวดล้อม เช่น กลยุทธ์การตลาดแบบปากต่อปาก ถึงแม้ว่า อาจจะผลตอบกลับที่ไม่รวดเร็วนัก แต่เป็นกลยุทธ์ที่ทรงอิทธิพลและสร้างความจงรักภักดีจากลูกค้าและผู้บริโภคได้ดีที่สุด อีกทั้งยังเป็นวิธีที่มีความเป็น “สีเขียว” อยู่ในตัวอย่างมาก เพราะอาจไม่ต้องพึ่งพิงการใช้วัสดุหรือพลังงานอื่น ๆ ให้สิ้นเปลืองมากนัก หากจะลืมไปแล้วว่าการตลาดแบบปากต่อปาก ทำกันอย่างไร ก็อาจจะรื้อฟื้นวิธีการที่เคยทำกันมาแต่เดิม เช่น การนำสินค้าออกตั้งโชว์ในสถานที่ต่าง ๆ การสาธิตวิธีการใช้สินค้า การสื่อสารแบบนำเสนอด้วยบุคคล ฯลฯ
อ้างอิงจากเว็บไซต์  http://www.ksmecare.com

นางสาวยุพาวรรณ ช่อมะลิ รหัส 5210125401078 การจัดการทั่วไป


การบริหารจัดการธุรกิจสีเขียวและการวิเคราะห์ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิต
            เอชเอสบีซีมีเครือข่ายสาขาประมาณ 7,200 แห่ง ใน 85 เริ่มจากทยอยปรับปรุงอาคารสำนักงานทั่วโลก ให้เป็น “อาคารสีเขียว” หัวใจของการเป็นองค์กรเพื่อสิ่งแวดล้อม เอชเอสบีซี เลือกที่จะดึงความร่วมมือจากพนักงาน มาร่วมนำเสนอไอเดียประหยัดพลังงานและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในองค์กร เช่นเดียวกับประเทศไทย ไอเดียดีๆ มีพนักงานอยู่เบื้องหลัง เช่น วิธี “ลดขยะ” โดยการกำจัด “ถังขยะ” วิธีคิดง่ายๆ แต่สามารถลดขยะในสำนักงานลงไปได้มากอย่างไม่น่าเชื่อ หรือการประหยัดน้ำด้วยการเปลี่ยนหัวก๊อกให้เป็นระบบเซ็นเซอร์ เหล่านี้ เป็นต้น
             “ในประเทศไทยเรามีโครงการที่จะจัดการแข่งขันในกับพนักงานของเรา ให้ช่วยกันเสนอไอเดียประหยัดพลังงาน ลดการใช้น้ำ กระดาษ และไฟฟ้าในอาคารของเราเอง เราพยายามที่จะทำให้เขามามีส่วนร่วม มีความภูมิใจที่จะเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมเพื่อสังคม เพื่อให้เกิดความรักองค์กรและมีความสุขกับการทำงานให้องค์กร” ซีอีโอธนาคารรักษ์โลก บอกกับเราถึงวิธีคิดในการดึงพนักงานมามีส่วนร่วม ซึ่งผลสุดท้ายไม่เพียงแต่โลกที่ได้รับ แม้องค์กรเองก็ได้ประโยชน์จากความร่วมมือนั้นด้วย
             ภาพสะท้อนของการให้ความสำคัญกับการขับเคลื่อนกิจกรรมโดยพนักงาน  คือการนำพนักงานกว่า 2,000 คน เข้าอบรมการเป็นผู้นำด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (climate champion) ร่วมกับนักวิทยาศาสตร์จากสถาบันเอิร์ทว็อช เพื่อให้เข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงของสภาวะแวดล้อมที่จะส่งผลต่อทรัพยากรธรรมชาติและการอยู่ร่วมกัน แน่นอนว่าภายหลังการอบรม พนักงานเหล่านี้ ก็จะกลับมาริเริ่มโครงการที่เป็นประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อมในสำนักงานของพวกเขาได้ การเป็นธนาคาร ที่มีธุรกิจอยู่ทั่วโลก ทำให้พวกเขา สามารถแบ่งปันประสบการณ์หรือความสำเร็จของประเทศต่างๆ มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน เช่น การประหยัดการใช้ไฟฟ้าของเอชเอสบีซี ในอเมริกาเหนือ การประหยัดน้ำของเอชเอสบีซี ดูไบ โครงการ Project Green Angel เพื่อลดผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมของธนาคารเอชเอสบีซีไต้หวัน ที่สามารถลดต้นทุนการดำเนินงาน ปลูกสำนึกด้านอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และส่งเสริมการใช้ E-statement ของพนักงานได้ แม้แต่โครงการห้องสมุดสีเขียวในประเทศไทย ก็กลายเป็นหนึ่งต้นแบบ ให้กับเอชเอสบีซี ทั่วโลก
             ผู้บริหารเอชเอสบีซีประเทศไทย บอกวิธีคิด พร้อมยกตัวอย่าง “ห้องสมุดสีเขียว” ที่เกิดขึ้นได้จากพลังของความร่วมมือ ไม่ว่าจะกรุงเทพมหานครเจ้าของสถานที่ กับเหล่าพันธมิตรที่นำความเชี่ยวชาญทั้งงานออกแบบเพื่อสิ่งแวดล้อม ความรู้ความเข้าใจในการออกแบบและก่อสร้างอาคารรักษ์โลกให้ได้มาตรฐานสากล กระทั่งบริจาคอุปกรณ์ที่ใช้ในห้องสมุดสีเขียว เพื่อที่พลังเล็กๆ จะขยายผลออกไปได้ใหญ่ขึ้น นำมาสู่โครงการที่สร้างประโยชน์ต่อสังคมได้มากขึ้น นี่คือสิ่งที่พวกเขาคิด แล้วลงมือทำ และหวังที่จะขยายโครงการน้ำดี ออกไปสู่สังคมอย่างต่อเนื่อง จากวิธีคิดเดียวกันนี้ เอชเอสบีซีเป็นธนาคารพาณิชย์ที่ให้บริการมาตั้งแต่ปี 2431 ปัจจุบันดูแลลูกค้าจำนวนกว่า 100 ล้านคนทั่วโลก มีสินทรัพย์รวม 2,556 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2554) หนึ่งในความสำเร็จที่เกิดขึ้น มาจากนโยบายการให้ความสำคัญกับความยั่งยืน ควบคู่การเป็นธุรกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

อ้างอิง: www.bangkokbiznews.com

นางสาวนงลักษณ์ พลจันทร์ การจัดการทั่วไป ปี 4 รหัส5210125401056


บทที่ 10 การแข่งขันในตลาดโลกและการปรับตัวเพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน

การตลาดปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงจากเดิมซึ่งสืบเนื่องจากแรงผลักดันของสังคมแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงที่สังเกตได้ชัดเจนมี 2 ประเด็น คือ
1.ผู้บริโภคปัจจุบันมีความคาดหวังสูงมากขึ้นในคุณภาพ การบริการและต้องการสินค้าที่เฉพาะตัวมากขึ้น
2.สภาพการแข่งขันที่รุนแรง การตลาดในปัจจุบันจึงไม่สามารถจะใช้รูปแบบหรือเครื่องมือการตลาดแบบเดิมๆ อย่างเดียวได้อีกต่อไป แต่ต้องมีการปรับตัวเพื่อรับกระแสการเปลี่ยนแปลง ซึ่งการปรับตัวนี้เกิดขึ้นใน 2 ฝ่าย คือ
2.1 การปรับตัวขององค์การธุรกิจและการปรับตัวของนักการตลาด
- การปรับตัวขององค์กร องค์กรธุรกิจได้ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงด้วยกลยุทธ์และเครื่องมือดังต่อไปนี้
การรื้อปรับระบบ การปรับกระบวนการในการดำเนินงานให้กระชับมากขึ้น มีความรวดเร็วและต้นทุนการดำเนินงานโดยรวมลดลง
การจ้างผู้อื่นผลิต เนื่องจากประหยัดค่าใช้จ่ายในการผลิตและการบริหารงาน
การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ แนวโน้มการเติบโตของธุรกิจที่ซื้อขายผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ซึ่งทำให้ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงข้อมูลและสินค้า/บริการ โดยธุรกิจไม่จำเป็นต้องมีร้านค้า ตู้โชว์สินค้า ฯลฯ
การเปรียบเทียบกับคู่แข่งขัน วิธีการเปรียบเทียบการดำเนินงานของตนกับคู่แข่งขันภายนอก เพื่อปรับปรุงอย่างต่อเนื่องให้ตนเองอยู่ในระดับชั้นแนวหน้าหรือดีเลิศ
พันธมิตรธุรกิจ ความร่วมมือซึ่งกันและกันแม้แต่กับคู่แข่งขันในระดับเดียวกัน
มุ่งทั้งตลาดภายในและตลาดโลก ธุรกิจปัจจุบันมุ่งเน้นการเจาะตลาดทั้งตลาดภายในและตลาดโลกแทนที่จะมุ่งเน้นตลาดภายในอย่างเดียวเหมือนในอดีต
มุ่งเน้นตลาด โดยเน้นที่ตลาดและกลุ่มลูกค้าแทนการบริหารการตลาดแบบเดิมที่เน้นด้านการผลิตภัณฑ์อีกทั้งบุคลากรระดับรองลงมาให้มีอำนาจการตัดสินใจและความคิดสร้างสรรค์
-การปรับตัวของนักการตลาด นักการตลาดโดยสร้างสัมพันธภาพกับลูกค้าเป้าหมายเพื่อผลกำไรระยะยาว
คุณค่าตลอดชีพของลูกค้า ใช้กลยุทธ์ราคาต่ำหรือสร้างคุณค่าเพื่อดึงดูดลูกค้าแม้ว่ากำไรต่อหน่วยต่ำแต่เป็นกำไรในระยะยาว
การตลาดเพื่อกลุ่มเป้าหมาย โดยคำนึงถึงตลาดเป้าหมายให้ชัดเจนและตอบสนองในเกิดความพอใจในกลุ่มเป้าหมายแทนการขายสินค้าในวงกว้างเพื่อทุกๆ คน
ฐานข้อมูลลูกค้า รวบรวมข้อมูล รายละเอียด รสนิยม พฤติกรรมการซื้อและการใช้สินค้าของลูกค้าเพื่อพัฒนาเป็นคลังข้อมูลอันจะเกิดประโยชน์ในการนำเสนอสินค้าให้ตรงกับความต้องการของลูกค้าต่อไป


บทที่ 11 การบริหารจัดการธุรกิจสีเขียวและการวิเคราะห์ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิต
นางสาวนงลักษณ์ พลจันทร์ การจัดการทั่วไป ปี 4 รหัส5210125401056
Green Ocean ผลกำไร &โลกใบสีเขียว
ธุรกิจจากนี้มุ่งหน้าสู่น่านน้ำสีเขียว ดร.พิพัฒน์ ยอดพฤติการ ผู้อำนวยการ สถาบันไทยพัฒน์ กล่าวถึงแนวคิด Green Ocean Strategy ซึ่งเมื่อเร็วๆ นี้ สถาบันไทยพัฒน์ ร่วมมือ กับ บมจ. เนชั่น บรอดแคสติ้ง คอร์ปอเรชั่น (NBC) เปิดตัวกลยุทธ์นี้โดยมีเป้าหมายเพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันให้กับธุรกิจไทย
เขาบอกว่ากลยุทธ์นี้ไม่ได้หมายถึงเงินลงทุนก้อนโต และไม่ได้หมายถึงการเริ่มต้นนับหนึ่งใหม่
เพียงแค่ควรตรวจสอบประเมินองค์กร (Organizational Self-Assessment) ตรงจุดสตาร์ทเสียก่อนว่ามีกรีน หรือสีเขียวในคอนเซ็ปต์ของกลยุทธ์น่านน้ำสีเขียวมากน้อยเพียงไร จากนั้นค่อยมาปรับแต่งเติมจุดที่พร่องหรือเกลี่ยจุดที่มากเพื่อให้เกิดสมดุล
Green Ocean Strategy แบ่งได้เป็น 2 ส่วน ส่วนแรกคือ ระบบ และส่วนที่สองคือ คน
ในเรื่องของ "ระบบ" นั้น มีธรรมาภิบาลสีเขียว (Green Governance) คอยกำกับดูแล ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 3 หมวด ได้แก่ 1.ประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากร (Resource Efficiency) 2.ภาระรับผิดชอบในกระบวนการ (Process Accountability) และ 3.ประสิทธิผลในตัวผลิตภัณฑ์ (Product Effectiveness)

ส่วนเรื่องของ "คน" เป็นเรื่องของการปลูกสร้างอุปนิสัยสีเขียว 7 ประการ (Green Habits) นั่นก็คือ 1. Reduce 2.Reuse 3. Recycle ซึ่งสามข้อแรกนี้ในภาคอุตสาหกรรมและธุรกิจเป็นที่คุ้นเคยกันดีอยู่แล้วมาบวกเข้ากับ 4. Rethink 5. Recondition 6. Refuse และ 7.Return
"สถาบันของเราจะขับเคลื่อน Green Ocean คู่ไปกับ CSR ภายหลังที่เผยแพร่เรื่องนี้ออกไปหากองค์กรใดต้องการให้เราไปศึกษากรณีตัวอย่างเราก็จะไปเก็บเคสในเชิงวิชาการ ภายหลังกระบวนการดังกล่าวก็จะเกิดเป็นบทความทางวิชาการ เป็นหนังสือที่สามารถเผยแพร่ให้สังคมรับรู้ในวงกว้าง"
ก็เพราะไทยพัฒน์ฯ หวังจะเป็นหนึ่งในฟันเฟืองที่ช่วยหนุนธุรกิจไทยให้ก้าวไปแข่งขันได้ในเวทีโลก..ซึ่งในวินาทีนี้เต็มไปด้วยความคาดหวังให้องค์กรธุรกิจทำกำไรไปพร้อมๆ กับช่วยทำให้โลกใบนี้น่าอยู่มากขึ้น.. อย่างสมศักดิ์ศรี
อ้างอิง http://www.nationejobs.com/content/manage/concept/template.php?conno=1055 กลอย

นางสาวสายฝน โป่งมะณี รหัส 5210125401003 เอกการจัดการทั่งไป ปี 4


บทที่ 10 การแข่งขันในตลาดโลกและการปรับตัวเพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน

การแข่งขันในโลกปัจจุบัน

            การแข่งขันทางเทคโนโลยีของบริษัทจะเป็นตังนำของการได้เปรียบในการแข่งขันแต่จะไดเปรียบมากหรือน้อยย่อมขึ้นอยู่กับการจะทำให้ราคาผลผลิตต่ำลงหรือไม่ และจะป้องกันการลอกเลียนแบบสินค้าได้อย่างไร  การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีเป็นกิจกรรมที่มีคุณค่า เพราะเทคโนโลยีทำให้โครงสร้างของอุตสาหกรรมทั้งหมดดีขึ้น ในขณะเดียวกัน จอร์ด สทอค และโฮมาส เอ็ม เฮ้า เขียนหนังสือการแข่งขันกันด้วยเวลาในปี 1990 นั้น จะต้องมีพื้นฐาน 3 ประการคือ

1. ต้องสร้างคุณค่าให้การส่งเสริม ให้มีความยืดหยุ่น 2-3 เท่า แล้วสร้างความเร็วให้เร็วกว่าคู่แข่ง

2. ให้ความสนใจต่อการตอบสนองลูกค้าอย่างไร โดยให้ความสนใจต่อลูกค้าอย่างพิเศษ

3. มียุทธศาสตร์แปลกๆ ที่ทำให้ฝ่ายตรงกันข้ามแปลกใจเพื่อการได้เปรียบในการใช้เวลา

            การใช้เวลาเป็นเพียงการใช้ผลผลิตและทำให้การส่งสินค้าได้เร็ว ค่าใช้จ่ายย่อมลดลงลดเวลาลงได้มากกว่าครึ่งหนึ่ง ลดคนงานลงได้ ลดค่าใช้จ่ายลงได้ ผลผลิตย่อมเพิ่มขึ้น 2 เท่า  เวลาเป็นเครื่องมือที่มีค่ามากกว่าราคา สิ่งที่เวลาได้เปรียบมากที่สุดคือได้มีเวลาวิเคราะห์จนสามารถนำสิ่งที่วิเคราะห์นั้นมาอยู่ในระดับกำหนดเป็นแผนรองรับ เช่น กำหนดแผนภูมิ, ชาร์ท และเป็นกระบวนการของเน็ทเวิร์ค ที่สามารถตามดูกิจกรรมของเวลาว่าช้า เร็ว ด่วนตรงไหน



อ้างอิง : ศ.ดร. บุญทัน ดอกไธสง. การแข่งขันสู่ความเป็นเลิศ. กรุงเทพฯ : เอกสารและตำรา คณะรัฐประศาสนศาสตร์, 2545


บทที่  11  การบริหารจัดการธุรกิจสีเขียวและการวิเคราะห์ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม          

   และคุณภาพชีวิต

การทำการตลาดสีเขียวนั้น น่าจะมีองค์ประกอบสำคัญ 3 ประการที่นักการตลาดควรให้ความสนใจ ได้แก่

1. การนำเสนอให้ตลาดผู้บริโภคทั่วไปเห็นและเกิดความเข้าใจว่า สิ่งที่บริษัทหรือองค์กรกำลังทำอยู่นี้จะช่วยเหลือสภาพแวดล้อมของโลก ทั้งในเชิงกว้างและในระดับสังคม ชุมชนแวดล้อมได้อย่างไร

2. นำเสนอสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและธรรมชาติ

3. ใช้วิธีการที่เป็นสีเขียวเช่นกัน ในการนำเสนอองค์ประกอบข้อ 1 และข้อ 2 ที่ได้กล่าวมา

       วิธีการข้อที่ 3 เป็นข้อที่นักการตลาดทั่วไป อาจต้องปรับแนวความคิดเดิมๆ หันมาสู่การคิดหาวิธีการที่ทำให้วิธีการทางการตลาดเป็นสีเขียวให้ได้มากที่สุด เช่น การใช้วัสดุประกอบการตลาด อาทิ กระดาษที่ใช้ในการพิมพ์เอกสารการตลาดที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การเลือกใช้หมึกพิมพ์ที่ไม่สร้างมลภาวะ และมองไม่ถึงว่าวัสดุเหล่านั้น หลังจากทำหน้าที่ทางการตลาดสื่อความสำคัญไปยังผู้บริโภคแล้ว ผู้บริโภคจะมีวิธีในการกำจัดทิ้งอย่างไรจึงจะไม่ทำให้เกิดผลกระทบในเชิงลบ เป็นไปได้หรืไม่ที่จะทำให้เกิดการนำกลับมาใช้ใหม่ หรือนำมาใช้ซ้ำได้ด้วยวิธีใดๆ ก็ตาม  นักการตลาดซึ่งโดยธรรมชาติมักจะเป็นผู้ที่มีความสามารถในด้านการคิดสร้างสรรค์สูงอยู่แล้ว หากจะหันกลับมาคิดสร้างสรรค์ในเรื่องของเอกสารทางการตลาดที่เป็นสีเขียวได้ ก็จะเป็นประโยชน์ไม่น้อย แถมยังจะได้เป็นข้อพิสูจน์ให้ผู้บริโภคและคนทั่วไปได้เห็นว่า ความมุ่งมั่นขององค์กรที่ต้องการจะทำธุรกิจให้เป็นสีเขียวนั้นสามารถทำได้อย่างครบวงจรอย่างแท้จริงอีกด้วย

       การหันกลับมาใช้กลยุทธ์ทางการตลาดที่จะไม่ทำให้เกิดการสร้างผลกระทบเชิงลบต่อสิ่งแวดล้อม เช่น กลยุทธ์การตลาดแบบปากต่อปาก ถึงแม้ว่า อาจจะผลตอบกลับที่ไม่รวดเร็วนัก แต่เป็นกลยุทธ์ที่ทรงอิทธิพลและสร้างความจงรักภักดีจากลูกค้าและผู้บริโภคได้ดีที่สุด อีกทั้งยังเป็นวิธีที่มีความเป็น “สีเขียว” อยู่ในตัวอย่างมาก เพราะอาจไม่ต้องพึ่งพิงการใช้วัสดุหรือพลังงานอื่น ๆ ให้สิ้นเปลืองมากนัก หากจะลืมไปแล้วว่าการตลาดแบบปากต่อปาก ทำกันอย่างไร ก็อาจจะรื้อฟื้นวิธีการที่เคยทำกันมาแต่เดิม เช่น การนำสินค้าออกตั้งโชว์ในสถานที่ต่าง ๆ การสาธิตวิธีการใช้สินค้า การสื่อสารแบบนำเสนอด้วยบุคคล ฯลฯ

อ้างอิงจากเว็บไซต์  http://www.ksmecare.com

สุวรรณา มั่นใจกล้า รหัส.5210125401073


ส่งงานบที่ 1-11
[บทที่ 1]=การวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นในการจัดการ การประเมินสภาพแวดล้อมภายนอกและภายใน.pdf
152K   View   Download
[บทที่ 2] = แนวคิด ทฤษฎีทางการบริหารจัดการที่สำคัญ ตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบัน.pdf
123K   View   Download
[บทที่ 3] = การค้นหาข้อมูลโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ.pdf
147K   View   Download
[บทที่ 4] = แนวคิดเกี่ยวกับภาวะผู้นำ และการบริหารจัดการสมัยใหม่.pdf
140K   View   Download
[บทที่ 5] = ทฤษฎีผู้นำที่เหมาะสมกับสถานการณ์และสิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน.pdf
127K   View   Download
[บทที่ 6] =การเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และวิเคราะห์ถึงผลกระทบต่อการบริหารจัดการ.pdf
99K   View   Download
[บทที่ 7] = การพัฒนาองค์การไปสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้และการพัฒนาอย่างยั่งยืน.pdf
998K   View   Download
[บทที่ 8] = เทคนิคในการบริหารทรัพยากรมนุษย์และการจัดการที่เหมาะสมกับวัฒนธรรมไทย.pdf
164K   View   Download
[บทที่ 9] = การบริหารการเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาอย่างยั่งยืน.pdf
130K   View   Download
[บทที่ 10]=การแข่งขันในตลาดโลกและการปรับตัวเพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน.pdf
100K   View   Download
[บทที่11]=การบริหารจัดการธุรกิจสีเขียวและการวิเคราะห์ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และคุณภาพชีวิต.pdf

น.ส.นุชนภา เตตะมะ รหัส 5210125401016


บทที่ 1 การวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นในการจัดการ การประเมินสภาพแวดล้อมภายนอกและภายใน
   1. การใช้มาตรการตามกฎหมายในการควบคุมและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (command and control) เช่น การกำหนดมาตรฐานอากาศเสียที่มนุษย์ไม่ควรปล่อยออกมาให้เกินมาตรฐาน มาตรการด้านน้ำเสียน้ำทิ้ง รูปแบบสิ่งก่อสร้างที่ถูกต้องตามมาตรฐานและข้อกำหนดอื่น ๆ เป็นต้น มาตรการทางกฎหมายนี้ควรมีประสิทธิภาพประสิทธิผล และเป็นธรรมสาหรับทุกคน แต่มาตรการทางกฎหมายกลับกลายเป็นแนวทางห้าม การกำหนดอาณัติหรือมาตรการควบคุมบังคับ โดยมาตรการเหล่านี้ไม่มีความยืดหยุ่น มีความเป็นทางการและยึดระเบียบข้อบังคับ ไม่สามารถต่อรองหรือลดหย่อน และไม่มีวิธีการประนีประนอมเพื่อให้เกิดแนวทางที่เหมาะสมที่สุดได้ ทำให้เกิดการเผชิญหน้าระหว่างหน่วยงานของรัฐกับเอกชนซึ่งกระทำผิดระเบียบกฎหมาย มาตรการทางกฎหมายแต่อย่างเดียวจึงไม่มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ไม่ประหยัด ไม่ส่งเสริมความคิดริเริ่มให้แก่เอกชนที่เกี่ยวข้อง และไม่มีหน่วยงานหรือบุคลากรเพียงพอในการปฏิบัติตามให้มาตรการเหล่านี้เกิดผล
2. การให้สิ่งจูงใจแก่ธุรกิจเอกชนในการอนุรักษ์และจัดการสิ่งแวดล้อมเพื่อประโยชน์ของส่วนรวม (market-based incentives) โดยตนเองไม่เสียประโยชน์ และบางครั้งอาจจะได้ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย (win-win solution) โดยหลักการแล้ว การนำมาตรการทางเศรษฐกิจมาใช้ก็เพื่อให้ค่าของความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมเป็นส่วนหนึ่งหรืออยู่ภายในราคาของสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ (internalization) เช่น การใช้หลักการ ผู้ก่อความเสียหายเป็นผู้จ่าย (polluter pays principle) ภาษีสิ่งแวดล้อม (eco-tax) เช่น user charges, emission charges, product charges เป็นต้น
   การให้สิ่งจูงใจบังเกิดผลดีต่อสิ่งแวดล้อม เพราะผู้ประกอบการได้ประโยชน์เช่นกัน ทำให้มาตรการทางเศรษฐกิจเป็นที่นิยมในประเทศที่พัฒนาแล้ว เพราะประหยัดมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ทั้งยังส่งเสริมความคิดริเริ่มในการหาแนวทางใหม่หรือเทคโนโลยีชนิดใหม่เพื่อลดค่าใช้จ่ายและหากาไรจากการลดผลเสียหายทางสิ่งแวดล้อมได้ด้วย ผู้ที่ทำลายสิ่งแวดล้อมต่อไปก็จะถูกลงโทษโดยปริยายเพราะต้องจ่ายค่าเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมด้วยการซื้อเครดิต (credits) จากผู้ที่สามารถลดปริมาณอากาศเสีย น้ำเสีย หรือของเสียของตนเองได้ อย่างไรก็ดี ปริมาณเครดิตหรือโควต้า (quotas) อาจจะไม่มีความแน่นอนและราคาก็ยังไม่คงที่เพราะตลาด กิจกรรมเหล่านี้ยังค่อนข้างใหม่อยู่ และในบางสังคม มาตรการทางเศรษฐกิจก็ยังไม่เป็นที่ยอมรับกัน เพราะเป็นการให้ประโยชน์แก่ผู้ที่ทำลายสิ่งแวดล้อมและผู้กระทำผิดจริยธรรมมากกว่า บางสังคมเห็นว่าเป็นการเอาเปรียบสังคมและคนจน ประเทศควรนำภาษีไปช่วยคนจนมากกว่าจะให้ประโยชน์ต่ออาชญากรทางสิ่งแวดล้อม (Carter, 2001, p. 296)
3. ความร่วมมือระหว่างรัฐและเอกชนซึ่งสมัครใจโดยไม่มีการบีบบังคับ (partnership หรือ voluntary actions) รัฐและสมาคมเอกชนตกลงเกี่ยวกับมาตรฐาน ของสิ่งแวดล้อม เช่น ปริมาณสารพิษ ฯลฯ ที่จะต้องลดลง องค์การเอกชน เช่น สมาคมอุตสาหกรรมจะตกลงกันเองในหมู่สมาชิกและกาหนดสัดส่วนที่สมาชิกจะต้องรับผิดชอบในการลดปริมาณสารพิษ ผู้ที่ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงก็จะต้องถูกลงโทษ วิธีการนี้ให้อิสระแก่ผู้ปฏิบัติพอสมควร และนำาไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางค่านิยมทางสิ่งแวดล้อมสำหรับภาคเอกชน อย่างไรก็ดี ความสมัครใจแต่เพียงอย่างเดียวดูจะไม่พอสำหรับการจัดการสิ่งแวดล้อม มาตรการทางกฎหมายและทางการบริหารก็ยังจาเป็น อยู่บ้าง ในเรื่องนี้ Winsemius and Guntram (2002, p. 222) ได้ให้ทัศนะว่า ผู้บริหารต้องใช้การจัดการเป็นเครื่องมือที่จะทำให้บุคลากรเกิดแรงกระตุ้นที่จะปฏิบัติภารกิจด้านจัดการสิ่งแวดล้อมที่วางเป้าหมายไว้ ภารกิจดังกล่าวคือการทาให้เกิดความพึงพอใจสูงสุดในบรรดาลูกค้า (customers) และผู้ร่วมสภาพเสี่ยง (stakeholders) ซึ่งหมายถึง ผู้ถือหุ้น (shareholders) บุคลากร (coworkers) และสมาชิกทั้งหมดในชุมชน (host communities) อันจะนำไปสู่ความได้เปรียบเหนือคู่แข่ง หากผู้บริหารมีการดำเนินการที่เหมาะสมก็จะทำให้สาธารณะชนเกิดความรู้สึกที่ดีต่อองค์การและอาจมีผลต่อพฤติกรรมผู้บริโภคได้ ยิ่งกว่านั้นก็อาจส่งผลดียิ่งขึ้นโดยทำให้เป้าหมายของผู้ร่วมสภาพเสี่ยงโดยรวมมีความสอดคล้องกันกับเป้าหมายขององค์การ และจะเกิดแรงกระตุ้นที่เป็น แรงบันดาลใจให้เกิดความร่วมมือร่วมใจเป็นพลังร่วม (inspired partnership) ของกลุ่มเล็กกลุ่มน้อยที่อาจมีความคิดเห็นแตกแยกกระจัดกระจายอยู่ เป็นหน้าที่ของผู้บริหารระดับสูงที่จะต้องเป็นผู้นำในการปลูกจิตสำนึกให้เกิดขึ้นในองค์การ
ที่มา อำนาจ ยอดนิล.(2553, หน้า 34-35). การจัดการมูลฝอยติดเชื้อในประเทศไทย, ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (รัฐประศาสนศาสตร์), มหาวิทยาลัยรามคำแหง.



บทที่ 2 แนวคิดทฤษฎีทางการบริหารจัดการที่สำคัญ ตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบัน
     การบริหาร เชิงระบบ System Approach การบริหารเป็นลักษณะระบบอย่างหนึ่ง มีผู้บริหารมาทำ งานในหน้าที่ต่าง ๆของระบบนี้ ส่วนต่าง ๆของระบบอยู่ในสถานะที่เคลื่อนไหวได้แต่ละส่วน ต่างมีคุณสมบัติและความสามารถเฉพาะเมื่อมารวมเป็นอัน หนึ่งอันเดียวกันจะช่วยเคลื่อนไหวไปสู่เป้าหมายเดียวกัน ส่วนต่าง ๆในองค์กรมีปฏิกิริยากระทบต่อกันเสมอการแสดง ออกหรือการเคลื่อนไหวของแต่ละส่วนย่อมมีผลต่อกัน และกัน ทั้งระบบ ในองค์กรหนึ่งหรือระบบหนึ่งจะประกอบด้วยระบบย่อยต่าง ๆ (Subsystems) การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ณ ส่วนใดส่วนหนึ่งของระบบ ย่อม ทำให้มีผลกระทบต่อเนื่องกันเป็นลูกโซ่ (Chain of effects) ผู้บริหารจะต้องมององค์การให้ทะลุปรุโปร่งทั้งระบบ และสามารถ กำกับดูแลและจัดการระบบต่าง ๆทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล
บทที่ 3 การค้นหาข้อมูลโดยการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
     ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับแล้วว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology หรือ IT) ได้เจริญก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว และมีบทบาทสำคัญในด้านต่างๆ อย่างกว้างขวาง ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม การบริการสังคม สาธารณสุข สิ่งแวดล้อม รวมทั้งด้านการศึกษา ซึ่งการมีบทบาทสำคัญนี้อาจกล่าวได้ว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือไอทีนั้นเปรียบเหมือนเครื่องจักรที่สามารถรองรับข้อมูลข่าวสารมาทำการประมวลผล และการแสดงผลตามที่ต้องการได้รวดเร็ว โดยอาศัยองค์ประกอบอื่นๆ ช่วยในการจัดการ ได้แก่ โปรแกรมปฏิบัติการ โปรแกรมชุดคำสั่งต่างๆ และที่สำคัญคือ ผู้ที่จะตัดสินใจหรือสั่งการให้ทำงานได้ถูกต้องตามเป้าหมาย ซึ่งได้แก่ บุคคลที่เกี่ยวข้อง เช่น ผู้ใช้ ผู้บริหาร และผู้ชำนาญการ หรือนักเทคโนโลยีสารสนเทศโดยตรง
รัฐบาลไทยในปัจจุบันได้ให้ความสำคัญ เล็งเห็นประโยชน์และคุณค่าของเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของประชาชนมากยิ่งขึ้น โดยใน พ.ศ. 2535 ได้แต่งตั้ง "คณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ" ขึ้น โดยระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและให้มีรองนายกรัฐมนตรี ที่รับผิดชอบด้านการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมเป็นประธาน มีคณะกรรมการประกอบด้วย ผู้บริหารระดับสูง และผู้ทรงคุณวุฒิทั้งภาครัฐบาลและเอกชน และได้มอบหมายให้ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ทำหน้าที่เป็นสำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการฯ มีหน้าที่เสนอแนะนโยบายและแผนพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศต่อคณะรัฐมนตรี ทั้งในเรื่องการพัฒนาบุคลากรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ การสร้างบรรยากาศ ให้มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้ในการดำเนินงานด้านต่างๆ

บทที่ 4 แนวคิดเกี่ยวกับภาวะผู้นำ และการบริหารจัดการสมัยใหม่
ในปัจจุบัน ยังมีการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงแนวคิดเกี่ยวกับภาวะผู้นำอยู่ตลอดเวลา จึงเกิดเป็นแนวคิดที่สำคัญๆ (มัลลิกา ต้นสอน, 2544: 54) ดังนี้ 1.ภาวะผู้นำแบบแลกเปลี่ยนและแบบเปลี่ยนแปลง (Transactional and Transformational Leadership) ผู้นำแบบแลกเปลี่ยน คือ ผู้นำแบบเดิมที่ใช้การแลกเปลี่ยนโดยรางวัลต่างๆ เป็นเครื่องมือในการชักจูงให้ผู้บังคับบัญชาปฏิบัติงานให้ได้ตามเป้าหมายที่ต้องการ ซึ่งต่างฝ่ายต่างก็ได้รับผลประโยชน์ที่แลกเปลี่ยนกัน ส่วนผู้นำแบบเปลี่ยนแปลงนั้น จะใช้ความสามารถเปลี่ยนความเชื่อ ทัศนคติของสมาชิก เพื่อให้สมาชิกทำงานได้บรรลุเหนือกว่าเป้าหมายที่ต้องการ โดยผู้นำจะถ่ายทอดความคิด ประสบการณ์ และกระตุ้นทางด้านความคิดต่างๆให้แก่สมาชิกอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ 2.ทฤษฎีความสามารถพิเศษของผู้นำ (Charismatic theory) เป็นการกล่าวถึงบุคลิกภาพของผู้นำที่มีลักษณะเฉพาะแตกต่างไปจากบุคคลอื่น รังสรรค์ ประเสริฐศรี (2544: 55) กล่าวว่า ผู้นำที่มีความสามารถพิเศษ ควรมีลักษณะดังนี้ คือ เป็นผู้ที่มีวิสัยทัศน์ มีความสามารถด้านทักษะการสื่อสาร ความสามารถที่ทำให้ผู้อื่นไว้วางใจ ความสามารถทำให้ผู้อื่นเห็นว่าตนเองมีความสามารถ มีพลังและมุ่งการปฏิบัติให้บรรลุผล แสดงอารมณ์ได้อย่างเหมาะสมและเอื้ออาทรแก่ผู้อื่น ชอบที่เสี่ยง สร้างกลยุทธ์ใหม่ๆเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย มีการโฆษณาตัวเอง และทำให้การขัดแย้งภายในเกิดขึ้นน้อยที่สุด กระแสในปัจจุบันได้มุ่งให้ความสนใจกับ ภาวะผู้นำแบบเปลี่ยนแปลง (Transformational Leadership) และภาวะผู้นำที่มีความสามารถพิเศษ (Charismatic leadership) ซึ่งแนวคิดเหล่านี้ได้พยายามอธิบายว่า ผู้นำประสบความสำเร็จในระดับสูงในการจูงใจสมาชิก ความผูกพันต่อองค์การ ความเคารพนับถือ ความไว้วางใจ ความชื่นชมในตัวผู้นำ การอุทิศตนในการทำงาน ความจงรักภักดี และการปฏิบัติงานของสมาชิกได้อย่างไร และยังพยายามอธิบายอีกว่า ผู้นำบางคนสามารถนำองค์การหรือหน่วยงานของตนประสบความสำเร็จอย่างยอดเยี่ยมได้อย่างไร (House, Delbecq and Taris, 1998 อ้างถึงใน Hartog and Koopman, 2001: 173) เนื่องจากการดำเนินธุรกิจขององค์การในยุคโลกาภิวัตน์ ที่มีการลงทุนหรือดำเนินธุรกิจข้ามประเทศ ทำให้หลายๆองค์การมุ่งสร้างผู้นำที่สามารถบริหารและจัดการคนในประเทศที่ไปลงทุนหรือดำเนินธุรกิจ ประกอบกับแนวคิดที่มีอยู่ยังอาจไม่เพียงพอต่อการสร้างรูปแบบภาวะผู้นำที่มีประสิทธิภาพสูงสุด จึงนำไปสู่การพัฒนาแนวคิดการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม (Cross-Cultural Perspectives) ขึ้น (Hartog and Koopman, 2001: 167)
บทที่ 5 ทฤษฎีผู้นำที่เหมาะสมกับสถานการณ์และสิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน
มุมมองของการบริหารเชิงสถานการณ์     จึงเป็นการศึกษาเชิงสถานการณ์ที่จะมุ่งการปรับปรุงพฤติกรรมทางการบริหารให้เข้ากับสถานการณ์ที่มีความแตกต่างกันออกไป    และในช่วงวิกฤตของประเทศไทยที่ผ่านมาเป็นที่ยอมรับกันว่า  ได้มีองค์การภาครัฐและเอกชนที่ได้รับอิทธิพลผลกระทบอันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงจากสภาพแวดล้อมภายในและสภาพแวดล้อมภายนอก  ที่เกิดขึ้นในสภาพแวดล้อมเป็นอันมาก   ผลกระทบต่าง ๆ ที่เกิดจากสภาพแวดล้อมทั้งทางเศรษฐกิจ สังคมและการเมืองเหล่านี้มีผลกระทบทำให้องค์การต่าง ๆ โดยเฉพาะ ต้องตกอยู่ในสภาวะที่ลำบากที่จำต้องมีการปรับตนเองให้กลับขึ้นมามีประสิทธิผลอีกครั้ง ทั้งนี้เพราะการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ที่เกิดขึ้นมาเท่ากับทำให้เงื่อนไขสภาพแวดล้อมของปัจจัยต่าง ๆ  ที่องค์การผูกพันทำงานและพึ่งพิงอยู่ต้องเปลี่ยนสภาพไปจากเดิม  ความมีประสิทธิผลขององค์การที่เคยมีมาก่อนก็พลอยต้องตกต่ำลงไป อันเป็นผลมาจากระบบงานและวิธีทำงานที่ใช้อยู่ไม่สอดคล้องกับเงื่อนไขใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้น
บทที่ 6 การเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนและวิเคราะห์ต่อผลกระทบต่อการบริหารจัดการ
1 การสร้างประชาคมอาเซียนด้วยการศึกษา ให้ประเทศไทยเป็น Education Hub มี การเตรียมความพร้อมในด้านกรอบความคิด คือ แผนการศึกษาแห่งชาติ ที่จะมุ่งสร้างความตระหนักรู้ของคนไทยในการจัดการศึกษาเพื่อสร้างคนไทยให้ เป็นคนของประชาคมอาเซียน พัฒนาสมรรถนะให้พร้อมจะอยู่ร่วมกันและส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศด้าน การศึกษา โดยให้มีการร่วมมือกันใน ๓ ด้านคือ ด้านพัฒนาคุณภาพการศึกษา การขยายโอกาสทางการศึกษา ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการบริการและจัดการศึกษา

2 ขับเคลื่อนประชาคมอาเซียนด้วยการศึกษาด้วยการสร้างความเข้าใจในเรื่องเกี่ยวกับเพื่อนบ้านในกลุ่มประเทศอาเซียน ความแตกต่างทางด้านชาติพันธุ์ หลักสิทธิมนุษยชน การส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาต่างประเทศเพื่อพัฒนาการติดต่อสื่อสารระหว่าง กันในประชาคมอาเซียน มีการเพิ่มครูที่จบการศึกษาด้านภาษาอังกฤษเข้าไปในทุกระดับชั้นการศึกษา เพื่อให้นักเรียนไทยสามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้อย่างสร้างสรรค์ นอกจากนี้ยังมีการร่วมมือกับภาคเอกชนในการรับอาสาสมัครเข้ามาสอนภาษาต่าง ประเทศ รวมถึงวัฒนธรรมของประเทศต่างๆเพื่อการอยู่ร่วมกันด้วยความเข้าใจกันของ ประเทศในประชาคม
   ส่วนด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษานั้น จะพัฒนาตามหลัก 3Nได้แก่ Ned Netโครงข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ NEISศูนย์กลางรวบรวม จัดเก็บ และเชื่อมโยงข้อมูลสารสนเทศด้านการศึกษา NLCศูนย์ เรียนรู้แห่งชาติ เพื่อให้ผู้เรียนได้มีการเรียนรู้ด้วยตนเองตลอดเวลา มีการพัฒนาผู้เรียนสู่การเป็นพลเมืองอาเซียน การอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข ความเอื้ออาทร โดยใช้การศึกษาเป็นกลไกในการสร้างวัฒนธรรมใหม่ นักศึกษาที่จบจากอาชีวศึกษาจะต้องเป็นแรงงานที่มีคุณภาพ มีทักษะการทำงานร่วมกันในประชาคมอาเซียน
    นอกจากนี้ ยังต้องส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางด้านอาเซียนศึกษา เป็นศูนย์การเรียนรู้ด้านศาสนาและวัฒนธรรม เพื่อพัฒนาไปสู่ประชาคมอาเซียนและสากลต่อไป
ที่มา  http://www.chinnaworn.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=539155790&Ntype=1

บทที่ 7 การพัฒนาองค์การไปสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้และการพัฒนาอย่างยั่งยืน
    การพัฒนาองค์การมิได้หมายถึงการพัฒนาแต่เฉพาะองค์การที่มีปัญหาเท่านั้น หากแต่องค์การที่มีความเจริญรุ่งเรืองอยู่แล้วก็ควรได้รับพัฒนาให้เจริญยิ่งขึ้น เพราะเมื่อใดที่คิดว่าองค์การของตนมีความเจริญและมีการพัฒนาที่ดีแล้วจึงหยุดนิ่ง ก็เท่ากับว่ากำลังเดินถอยหลังตลอดเวลา  ผู้บริหารจึงควรมีการพัฒนาองค์การอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ โดยอาศัยหลักการดังนี้

1.กำหนดเป้าหมาย (Goal Sating) ควรมีการประชุม อภิปราย เพื่อกำหนดนโยบายร่วมกันทั้งฝ่ายผู้บริหารและสมาชิกในองค์การอย่างชัดเจน และตรงไปตรงมา
2.ความเข้าใจในสถานการณ์ (Understand Relations) ต้องอาศัยความเข้าใจร่วมกัน  เพราะความต้องการของบุคคลจะเป็นตัวอิทธิพลอย่างยิ่งต่อพฤติกรรมการทำงาน
3.การปรับปรุงสัมพันธ์ภาพ (Improving Relations) การมีสัมพันธ์ภาพที่ดีต่อกันในองค์การถือเป็นผลพลอยได้ขององค์การ แต่ไม่ว่าคนในองค์การจะมีสัมพันธภาพที่ดีต่อกันหรือไม่ก็ตาม ควรได้รับการเปิดเผย เพื่อให้ต่างฝ่ายได้รู้ถึงปัญหา เมื่อรู้ถึงปัญหาทุกคนจะพยายามปรับตัวเข้าหากันและตั้งใจทำงานมากขึ้น
4.ให้ทุกคนเข้ามามีส่วนร่วม  ในการดำเนินการ การแก้ปัญหา การตัดสินใจ การให้ความสนับสนุนและความร่วมมือ ทั้งนี้ควรคำนึงถึงการเปลี่ยนแปลง การแก้ปัญหา ระบบการทำงานของมนุษย์ขึ้นอยู่กับดุลภาพของงาน (Balance of force) ภายในระบบของหน่วยงานนั้นๆ
5.การเชื่อมโยง (Linking) แนวยุทธศาสตร์การพัฒนาองค์การ คือ ความสามารถในการโน้มน้าวคนในหน่วยงานให้มีความเข้าใจที่ดีต่อกันมากที่สุด
บทที่ 8 เทคนิคในการบริหารทรัพยากรมนุษย์และการจัดการที่เหมาะสมกับวัฒนธรรมไทย
การบริหารการศึกษาไทยในยุคปฏิรูปการศึกษา
การกระจายอำนาจ
งานในองค์การทั่วไปจะประสบความสำเร็จได้ผู้บริหารไม่สามารถทำงานคนเดียวได้ การแบ่งงาน การมอบหมายงาน การกระจายงาน กระจายหน้าที่ ซึ่งถือว่ามีความสำคัญมาก ซึ่งการกระจายอำนาจเป็นการการมอบหมายงาน เป็นการกำหนด ความรับผิดชอบ และอำนาจหน้าที่ แก่ผู้ใต้บังคับบัญชา และเป็นการสร้างภาระหน้าที่ด้านการปฏิบัติงาน ซึ่งมีองค์ประกอบที่สำคัญ 3 ประการ
1.1 การกำหนดหน้าที่ หรือความรับผิดชอบแก่ผู้ใต้บังคับบัญชา
1.2 การให้อำนาจหน้าที่ ในการใช้ทัพยากร และดำเนินกิจกรรมตามความจำเป็น
1.3 การสร้าง สิ่งที่จะต้องทำ หรือภาระผูกพัน ให้แก่ผู้ใต้บังคับบัญชาที่จะต้องปฏิบัติตามที่ผู้บังคับบัญชามอบหมายให้สำเร็จ
ประโยชน์ของการกระจายอำนาจ
1. เป็นการลดงานของผู้บริหารให้ลดน้อยลง
2. การตัดสินใจเป็นไปอย่างรวดเร็ว ทำให้การปฏิบัติงานมีความสะดวกขึ้น
3. มีการกระจายงานกันทำ โดยมีฝ่ายบริหารเป็นผู้ควบคุม ประสานงาน
4. เป็นการพัฒนาบุคลากรทางการบริหาร ซึ่งเปิดโอกาสให้ผู้ใต้บังคับบัญชามีการพัฒนา
ความคิดริเริ่ม ความสามารถในตำแหน่งทางการบริหารให้มีคุณภาพ
5.ทำให้การควบคุมและการดูแลเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เพราะผู้บริหารระดับต้นมีอำนาจอย่างเต็มที่ ที่จะกำหนดงาน เปลี่ยนแปลงให้เกิดความเหมาะสม
6.เป็นการพัฒนาขวัญกำลังใจ และแรงจูงใจในการทำงาน เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้บริหารใหม่ได้ใช้ความคิดใหม่ๆ ในการบริหารงาน การกระจายอำนาจเป็นการแบ่งอำนาจที่มีอยู่ให้ผู้อื่นสามารถดำเนินการได้ด้วยตนเอง โดยการดำเนินงานที่แบ่งออกไปก็จะมีแนวปฏิบัติที่เหมือนจุดเสริม โดยทั่วไปจะมีการกระจายอำนาจ กระจายหน้าที่ กระจายความรับผิดชอบ กระจายคน กระจายงบประมาณไปยังแหล่งใหม่ ให้สามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพเหมือนแหล่งเดิม
บทที่ 9 การบริหารการเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาอย่างยั่งยืน
    องค์กรที่ดีควรมีความเจริญก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง และความต่อเนื่อง อละการพัฒนาที่ขาดการต่อเนื่องย่อมไม่ดีแน่ ดังนั้นจึงขอแนะนำ การพัฒนาองค์การอย่างเป็นระบบ อย่างง่าย ควรมีการสร้างแผนแม่แบบในการเปลี่ยนแปลง จะต้องมีการประเมินสถานการณ์ขององค์การ เพื่อให้เห็นช่องว่างของความแตกต่างระหว่างองค์การในปัจจุบันกับองค์การที่ควรจะเป็นในอนาคตหลังจากนั้นจะต้องมีการวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรคขององค์การ เพื่อที่จะนำจุดแข็งขององค์การมาผลักดันการพัฒนาองค์การ โดยมีกลไกการควบคุมทิศทางที่แน่นอน การพัฒนาองค์การจะต้องพิจารณาว่าองค์การที่จะพัฒนาเป็นแบบเปิดหรือแบบปิด ถ้าเป็นองค์การแบบเปิด ทุกคนจะต้องมีส่วนร่วมแก้ปัญหาร่วมรับผิดชอบ โดยเน้นที่เป้าหมายขององค์การเป็นหลัก ลักษณะโครงสร้างขององค์การจะเป็นแบบกว้าง  อาศัยการให้คำแนะนำมากกว่าสั่งการ  การบริหารงานลักษณะนี้ พนักงานจะมีความซื่อสัตย์และมีจิตสำนึกในความสำเร็จของงานมากกว่าตัวบุคคล แต่ถ้าหากองค์การเป็นแบบปิดหรือแบบระบบราชการ การพัฒนาองค์การจะทำได้ยากลำบาก
     ทั้งนี้เนื่องมาจากมีการแบ่งงานตามหน้าที่ ลักษณะงาน ซ้ำๆ กัน  มีความรับผิดชอบตามหน้าที่ของหน่วยงานที่สังกัดอยู่ มีสายการบังคับบัญชาในลักษณะแนวดิ่ง ยึดถือตัวบุคคลเป็นหลักไม่เน้นทีมงานและความสำคัญของงาน ลักษณะเช่นนี้พัฒนาได้ยาก เนื่องจากมีแรงต้านมากเห็นแก่ญาติพวกพ้องครอบครัว  ผู้บริหารสูญเสียอำนาจมีความเกรงอก เกรงใจ ไม่สามารถบริหารงานให้บรรลุเป้าหมายได้ สาเหตุที่องค์การจะต้องมีการพัฒนาเพื่อช่วยให้หน่วยงานมีกฎระเบียบน้อยลง  และให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาขจัดอุปสรรคในการติดต่อสื่อสาร มุ่งเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์การและสร้างความรู้สึกเป็นเจ้าของ สนับสนุนให้ทำงานร่วมกันระหว่างแผนกเพื่อเป้าหมายขององค์การที่สูงขึ้นนอกจากนั้นยังเกิดจากแรงผลักดันภายในและแรงผลักดันภายนอกที่ทำให้องค์การต้องพัฒนา แรงผลักภายในหมายความถึงการเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์ การเปลี่ยนโครงสร้างใหม่ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมองค์การ ค่านิยม วัฒนธรรม ความอึดอัดในการทำงาน ความขัดแย้งในกฎระเบียบ อัตราการเข้าออกของพนักงานสูง  ส่วนแรงผลักดันภายนอก ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงในวงการธุรกิจ เช่น การเปลี่ยนแปลงของตลาด การเปลี่ยนแปลงกำลังคนการขาดแคลนแรงงาน การหันมาใช้เครื่องจักร การไม่สามารถบริการลูกค้าได้ การเปลี่ยนผู้บริหาร และการนำเทคโนโลยีใหม่เข้ามาใช้ การพัฒนาองค์การจะต้องเปลี่ยนแปลงระบบทั้งหมดขององค์การ เช่น แรงงานคน  โครงสร้างและระบบงาน  งานและปัญหา เทคโนโลยี โดยมี  สิ่งแวดล้อมเป็นตัวประกอบ เช่น สังคม การเมือง และเศรษฐกิจ โดยมีแรงผลักดันภายนอกและภายในเป็นตัวกระตุ้นให้มีการปรับโครงสร้างเดิมให้เป็นโครงสร้างใหม่
ที่มา : kmitnbxmie8
บทที่ 10 การแข่งขันในตลาดโลกและการปรับตัวเพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน
       การสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน  6 มิติ
    1.  ความได้เปรียบจากการเป็นผู้เข้าสู่ตลาดรายแรก (customer market advantage) ประเด็นแรกที่องค์กรจะต้องให้ความสำคัญคือการสร้างตลาดใหม่หรือเป็นผู้คิดริเริ่มใหม่ ๆ ให้กับลูกค้าซึ่งการริเริ่มในสิ่งที่คู่แข่งยังไม่สามารถทำได้นั้นจะทำให้องค์กรปราศจากการแข่งขันซึ่งนับได้ว่าเป็นความได้เปรียบอย่างดีเยี่ยมและเป็นจุดเริ่มต้นแห่งความสำเร็จในอนาคต เช่น Xerox  ได้ริเริ่มทำธุรกิจการถ่ายเอกสารเป็นเจ้าแรก  ลักษณะการทำธุรกิจของ  Xerox จึงมีความโดดเด่นเป็นพิเศษภายใต้การจดทะเบียนขอสิทธิบัตร  ด้วยเหตุนี้เองการตลาดของ  Xerox จึงมีความแตกต่างในด้านการนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่มีความโดดเด่นและเหนือกว่าและไม่มีองค์กรใดสามารถทำธุรกิจได้เหมือนกับ Xerox อาจกล่าวได้ว่าเป็นการสร้างความได้เปรียบในการแข่งในเรื่องการเข้าสู่การตลาดเป็นรายแรก
    2.  ความได้เปรียบในการนำเสนอผลิตภัณฑ์หรือบริการที่โดดเด่นกว่าคู่แข่ง (product and service advantage) องค์กรใดก็ตามที่สามารถตอบสนองต่อความพึงพอใจของผู้บริโภคที่มีความโดดเด่น  องค์กรนั้นถือได้ว่าเป็นองค์กรที่ใช้กลยุทธ์การสร้างความแตกต่าง  ซึ่งการสร้างความแตกต่างนี้หากจะมองย้อนกลับไปในอดีตแล้ว  เราจะพบว่าองค์กรหลายแห่งได้ใช้กลยุทธ์นี้มานานแล้ว  และมีการพัฒนาไปสู่ความได้เปรียบในการแข่งขันในระยะยาว  เช่น  Samsung  เป็นบริษัทที่จะหน่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่หรือมือถือที่เน้นรูปแบบ  สีสัน  และความทันสมัยของรูปลักษณ์ภายนอก  โดยเฉพาะอย่างยิ่งหน้าจอสีที่มีความคมชัดกว่ายี่ห้ออื่น ส่งผลให้มือถือของ Samsung มีความโดดเด่นและไม่เหมือนคู่แข่งขันรายอื่น  อย่างไรก็ตาม  ข้อด้อยของกลยุทธ์นี้ก็คือคู่แข่งขันสามารถลอกเลียนแบบได้ง่าย  ด้วยเหตุนี้  องค์กรที่ใช้กลยุทธ์ดังกล่าวจะต้องมีการปรับปรุงและพัฒนาผลิตภัณฑ์ของตนเองอยู่เสมอเพื่อให้ก้าวล้ำกว่าของคู่แข่ง
     3.  ความได้เปรียบในการสร้างห่วงโซ่คุณค่าหรือระบบธุรกิจ (Business system/value chain advantage) การบริหารกิจกรรมทางธุรกิจเพื่อให้บรรลุเป้าหมายองค์กร เรียกว่าการบริหารห่วงโซ่คุณค่าหรือระบบธุรกิจ   กิจกรรมทางธุรกิจจะเริ่มต้นจากการวิจัยและการพัฒนาผลิตภัณฑ์ การผลิตการขาย  การตลาด  การจัดจำหน่าย  และการบริการหลังการขาย  หากองค์กรธุรกิจมีความโดดเด่นในกิจกรรมทางธุรกิจ   กิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่งก็จะส่งผลให้องค์กรนั้นมีความได้เปรียบทางการแข่งขันในเรื่องนั้น ๆ หลายองค์กรพยายามสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันโดยมุ่งเฉพาะกิจกรรมทางธุรกิจที่องค์กรถนัดและมุ่งการการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง  ส่งผลให้องค์กรนั้นมีกลยุทธ์ที่เหนือกว่าคู่แข่งขัน  และกลายเป็นจุดแข็งหรือเอกลักษณ์ขององค์กรในที่สุด เช่น  บริษัท พรอกเตอร์แอนด์แกมบิล (P&G) จำกัด   มีความเชี่ยวชาญทางการตลาด  บริษัท โซนี่ จำกัด  บริษัทที่เน้นนวัตกรรมในการออกแบบผลิตภัณฑ์ได้ตรงตามความต้องของลูกค้า  บริษัท  โตโยต้า  จำกัด  เน้นประสิทธิภาพในการผลิต  และ American Express บริษัทที่ให้การบริการลูกค้าได้อย่างประทับใจ  เป็นต้น
แนวทางที่จะเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารห่วงโซ่คุณค่า  ก็คือการติดต่อประสานงานระหว่างหน่วยงานในองค์กรเพื่อให้กิจกรรมต่าง ๆ ดำเนินไปได้ด้วยดีในบางครั้งองค์กรจำเป็นจะต้องมีการออกแบบโครงสร้างกรใหม่  เพื่อปรับรูปแบบ  และระบบการดำเนินธุรกิจให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น  ตัวอย่างขององค์กรธุรกิจที่ประสบความสำเร็จในการปรับเปลี่ยนระบบการดำเนินธุรกิจ  ก็คือสายการบิน  Southwest สายการบิน Southwest มีกำไรเพิ่มขึ้นจาการปรับระบบธุรกิจให้สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้า ไม่ว่าจะเป็นเรื่องขั้นตอนการเลือกที่นั่งของลูกค้าหรือการให้บริการลูกค้าสรุปแล้วจะเห็นได้ว่าห่วงโซ่คุณค่านั้นมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อองค์กรธุรกิจที่จำหน่ายผลิตภัณฑ์และธุรกิจขายบริหารจำไว้ว่าการจะทำให้ห่วงโซ่คุณค่าขององค์กรมีความโดดเด่นและเหนือกว่าคู่แข่งขันนั้น  องค์กรจำเป็นจะต้องกำหนดวัตถุประสงค์ของกิจกรรมทุก ๆ กิจกรรมไว้อย่างชัดเจน  และให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน
     4.  ความได้เปรียบของแหล่งทรัพยากร (System assets / resources advantages) ทรัพยากรขององค์กรประกอบไปด้วยสินทรัพย์ที่ตัวตน เช่น ผลิตภัณฑ์และอาคาร และสินทรัพย์ที่ไม่มีตัวตน เช่น ลิขสิทธิ์ ตราสินค้า และชื่อเสียงขององค์กร องค์กรส่วนใหญ่จะใช้ประโยชนจากทรัพยากรที่มีอยู่ในการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันให้เกิดขึ้น ซึ่งการใช้ทรัพยากรเพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันให้เกิดขึ้นนี้ เรียกว่าAsset Based Competitive Advantages เช่น Coca – Cola เป็นบริษัทที่มีชื่อเสียงทางด้านเครื่องดื่มน้ำอัดลมจนเป็นที่รู้จักกันทั่วโลกมีมูลค่าของตราสินค้า  (brand equity) สูงมาก ประกอบกับ Coca – Cola  มีระบบการจัดจำหน่ายสินค้าที่มีประสิทธิภาพ  มีทรัพยากรในการขนส่งสินค้าอย่างครบครัน  ปัจจุบัน Coca – Cola  มีความได้เปรียบทางการแข่งขันในด้านทรัพยากรที่มีอยู่  นั่นคือระบบการจัดจำหน่ายที่มีประสิทธิภาพและตราสินค้าที่มีชื่อเสียง
    5.  ความได้เปรียบในเรื่องพันธมิตร (Partner advantage) การมีพันธมิตรที่ดีจะช่วยสนับสนุนให้องค์กรสามารถพัฒนาธุรกิจอย่างรวดเร็ว หลายองค์กรพยายามค้นหาคู่ค้าเพื่อสร้างเป็นพันธมิตรในการทำธุรกิจระยะยาว เช่น Rover ได้ประสบปัญหาด้านธุรกิจจำหน่ายรถยนต์กับสภาวะการขาดทุนและไม่สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้อีกจนกระทั่ง Honda ได้เข้ามาร่วมลงทุนขอเป็นพันธมิตรด้วยและได้ช่วยทำให้ Rover สามารถขายกิจการของตนเองได้กับ BMW ได้  การสร้างพันธมิตรทางธุรกิจไม่ใช่เรื่องง่ายที่องค์กรใดก็สามารถทำได้  องค์กรจะต้องมีการคัดเลือกพันธมิตรให้เหมาะสมกับองค์กรของตน  เปรียบเสมือนการรวมจุดแข็งขององค์กรสองฝ่ายเข้าด้วยกันเพื่อสร้างผลประโยชน์สูงสุดให้เกิดขึ้นและนำไปสู่ความได้เปรียบทางการแข่งขันต่อไป
     6.  ความได้เปรียบในการประหยัดต้นทุนในการผลิต  (Scale and scope advantage) องค์กรสามารถสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันให้เกิดขึ้นได้ด้วยการมุ่งเน้นการสร้าง Economies of Scope นั่นคือ ความสามารถในการลดต้นทุนโดยใช้ทรัพยากรร่วมกันของหน่วยธุรกิจต่าง ๆ เราจะสังเกตเห็นได้ว่าโรงงานขนาดใหญ่มักจะมีต้นทุนการผลิตต่อหน่วยต่ำเนื่องจากผลิตสินค้าหลายประเภทเป็นจำนวนมาก   จึงสามารถให้ทรัพยากรในการผลิตร่วมได้ก่อให้เกิดการประหยัดต้นทุนในการผลิต ส่วนหลักการของ Economies of Scale จะเน้นไปในเรื่องของการผลิตในปริมาณที่มากเพื่อให้ต้นทุนต่อหน่วยต่ำลง

บทที่11 การบริหารจัดการธุรกิจสีเขียวและการวิเคราะห์ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และคุณภาพชีวิต
Green Marketing Strategy กลยุทธ์การตลาดสีเขียว
เป็นที่ยอมรับว่าเวลานี้กระแสเรื่อง สิ่งแวดล้อม การอนุรักษ์พลังงาน หรือรวม ๆ ที่เรียกว่า "กรีน" (green) ได้เข้าไปมีบทบาทในแทบทุกวงการ และจากกระแสที่แรงขึ้นมาอย่าง ต่อเนื่อง ทำให้หลาย ๆ ธุรกิจหันมาให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มากขึ้น ขณะเดียวกัน อีกมุมหนึ่งก็พยายาม พลิกกระแสกรีนมาเป็นจุดขายอย่างหนึ่งขององค์กรและสินค้า เริ่มจาก "เครื่องใช้ไฟฟ้า" ที่แทบทุกค่ายต่างชูคอนเซ็ปต์ "เครื่องใช้ไฟฟ้าสีเขียว" เพิ่มยอดขายจากมูลค่าสินค้าและสร้างความต่างจากคู่แข่ง ที่เริ่มมีให้เห็นมากขึ้น "โตชิบา" เป็นหนึ่งในผู้ประกอบการที่นำร่องในเมืองไทยอย่างเต็มรูปแบบ ด้วยนโยบาย 5 กรีนให้กระบวนการทำงานและสินค้าที่ต้องเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ได้แก่ องค์กร สินค้า เซอร์วิส การซื้อ-ขาย และสังคม ล่าสุดได้เพิ่ม "green dealer" สำหรับร้านค้าโดยเฉพาะการประหยัดพลังงานภายในร้าน เช่น เดียวกับ "พานาโซนิค" ที่วางยุทธศาสตร์ ecoideas เป็นหัวใจหลักขับเคลื่อนองค์กรด้วยแนวคิด
   1. การประหยัดพลังงาน
   2. วัตถุดิบในการผลิตต้องไม่มี สารพิษต้องห้าม และ
   3. ทุกโรงงานในกลุ่ม พานาโซนิคไทยแลนด์ จะต้องได้มาตรฐานสิ่งแวดล้อม

นายอัตถ์ชัย ภู่วนิช รุ่น 19 เลขที่ 213


บทที่ 10
 การแข่งขันในตลาดโลกและการปับตัวเพื่อสร้างความได้เปรียยบในการแข่งขัน
 การปรับตัวกลยุทธ์ รับAEC

เราต้องเดินหน้าสู่วงจรของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนอย่างไม่ต้องคิดว่าสามารถถอยหลังได้ เนื่องด้วย วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2558 เราต้องเดินเข้าสู่วงจรนี้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่”ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน” จะดำเนินการเต็มรูปแบบ!กล่าวคือ สมาชิกทั้ง 6 ประเทศ โดย มีไทย มาเลเซีย สิงคโปร์ บรูไน ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย ได้ดำเนินการด้านเศรษฐกิจกันไปแล้ว เพียงแต่ว่าการจัดเก็บอัตราภาษีนั้น ยังไม่เป็นศูนย์เปอร์เซ็นต์ มีแต่การจัดเก็บภาษีด้านการค้าขายระหว่างกันนั้น เริ่มที่ระดับร้อยละ 5-10 เท่านั้น ส่วนระบบโลจิสติกส์และระบบขนส่ง บวกกับภาคบริการ ศิลปวัฒนธรรม และความมั่นคงนั้น ว่ากันตามความเป็นจริงยังไม่ได้เริ่มกันซักเท่าไหร่เลย
แต่เริ่มจะเป็นจริงเป็นจังกันในปี 2558 ที่สมาชิก”น้องใหม่”อีก 4 ประเทศ กล่าวคือ”กลุ่ม CLMV” ที่ประกอบไปด้วย C = กัมพูชา(CAMBODIA) L = สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (LAOS) M =สหภาพพม่า (MYANMAR UNION) และ V = สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามจะเข้าร่วมเป็น”สมาชิกประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน”อย่างเต็มรูปแบบของ”สมาชิกอาเซียน 10 ประเทศ”
เมื่อนั้น”สภาพการแข่งขัน” จะเกิดขึ้นอย่างจริงจังในกรณีของวัตถุดิบทรัพยากรมนุษย์ ภาคการบริการ ทักษะกับแรงงานต่างด้าวที่จะพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “ค่าแรงขั้นต่ำ” ที่กลุ่มประเทศสมาชิกน้องใหม่ที่มีอัตราต่ำกว่าบ้านเราน่าจะประมาณ 85-90 บาทเท่านั้น ในกรณีนี้จะเกิดการแข่งที่สูงมากด้วย”ภาคการส่งออก”เป็นกรณีที่”น่าเสียดาย-เสียใจ” อย่างมากที่คนไทยจำนวนมากยังไม่ค่อยตระหนักถึง”ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน” หรือแม้กระทั่ง “ข้าราชการ” บวกกับ “คนรุ่นใหม่” ที่ยังไม่มีโอกาสมีความรู้และความเข้าใจความสำคัญของAECว่าในที่สุดแล้ว อีกเพียง “2 ปี 5 เดือน”เท่านั้นที่ทุกประเทศในสมาชิกประชาคมอาเซียนเริ่มเตรียมพร้อม แล้วโดยเฉพาะสิงคโปร์ เวียดนาม ที่สิงคโปร์น่าจะพร้อมที่สุด ทั้งนี้ บริษัทต่างชาติชาวอเมริกันและอังกฤษได้เข้าจดทะเบียนบริษัท โดยใช้ “ตัวแทน (Nominee)” ชาวสิงคโปร์เข้าเป็นหุ้นส่วนในภาคบริการประกันภัยเรียบร้อยแล้ว
“ภาษาอังกฤษ (ENGLISH)” เป็นภาษาหลักที่ทุกประเทศทั่วโลก ไม่เว้นแม้แต่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนจะยึดเป็นภาษาหลัก นอกนั้นยังมีความจำเป็นที่ต้องเรียนรู้”ภาษาจีน-ภาษาญี่ปุ่น”ไปด้วยเพื่อความคล่องตัวในการติดต่อสื่อสารนอกจากนั้น ภาษาท้องถิ่นของภาษาพม่า และภาษากัมพูชา บวกกับภาษาเวียดนามที่มีความสำคัญไม่ได้ยิ่งหย่อนไปกว่ากันเลย ที่ชาวเอเซียต้องเรียนรู้ ประเทศไทยเรานั้น มีความได้เปรียบทั้งในเชิง “ภูมิรัฐศาสตร์-ภูมิเศรษฐศาสตร์” อย่างมาก กล่าวคือ การที่ประเทศไทยอยู่ใจกลางการเชื่อมโยงของกลุ่มประเทศประชาคมอาเซียน ที่ประสานได้หมดทั้งภาคเหนือสู่ลาวและจีน ส่วนภาคใต้นั้นลงสู่มาเลเซียและสิงคโปร์ ด้านตะวันออกกับตะวันตก เชื่อมระหว่างสหภาพพม่าและลาวกับเวียดนามที่ “ระบบโลจิสติกส์กับการขนส่ง” ต้องผ่านกรุงเทพมหานครหมด เรียกว่าเป็น”ศูนย์กลาง (Hub)” ทั้งหมดการเตรียมความพร้อมของประเทศไทยนั้น ภาษาอังกฤษและภาษาท้องถิ่นมีความจำเป็นอย่างมาก ที่คนไทยต้องตื่นตัว เรียนรู้ให้ได้มากที่สุด นั่นประการที่หนึ่ง ประการที่สอง การเร่งดำเนินการระบบโลจิสติกส์และการขนส่งที่ประเทศจีน พร้อมสนับสนุนตลอดเวลาในการสร้าง “รถไฟความเร็วสูง” เพื่อขนส่งมวลชนและระบบรถไฟรางคู่เพื่อขนส่งสินค้า โดยเริ่มจากภาคเหนือลงสู่ภาคใต้และภาคตะวันออกสู่ภาคตะวันตก ซึ่งเป็นวาระสำคัญมากที่สหภาพพม่าเร่งสร้าง”เขตปกครองพิเศษทวาย” อย่างแน่นอนเพื่อลดต้นทุนด้านการขนส่งจากเมืองเว้นผ่านอีสานตอนใต้มุ่งสู่กรุงเทพฯ และทะลุสู่จังหวัดราชบุรีกับกาญจนบุรีเข้าสู่ทวายเพื่อเดินทางต่อทางทะเลไปมหาสมุทรอินเดีย

ประการที่สามคือ การพัฒนาด้านการเกษตรที่ประเทศไทยนั้น มีความเหมาะสมที่สุดในการผลิตข้าวและสินค้าการเกษตรอื่นๆ ที่ต้องต่อยอดสู่การพัฒนากึ่งอุตสาหกรรมการเกษตร และในที่สุดสู่ “อุตสาหกรรมภาคการเกษตร” ที่ว่าไปแล้ว บริษัทใน “เครือเจริญโภคภัณฑ์” น่าจะชำนาญที่สุดกับ “การผลิตสินค้าเกษตรอุตสาหกรรม”

เพียงสามประการที่เราต้องเตรียมความพร้อมในการเดินหน้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ที่น่าจะสร้างความพร้อมได้ภายใน 1 ปีครึ่งถึงสองปี ที่เราต้องเตรียมตัวกันได้แล้ว อย่างไรก็ตาม นับว่าเรายังโชคดีที่เริ่มมี “การปลุก”และ “การกระตุ้น” ให้สังคมไทยได้เริ่มขยับกันบ้างแล้ว โดยเฉพาะกรณี “การแข่งขัน” ที่ต้องกำหนดให้เป็น “ยุทธศาสตร์” กันไว้ล่วงหน้าได้แล้ว

ที่มา : สยามรัฐ โดย รศ.ดร.ไชยา ยิ้มวิไล

บทที่  11
                         การบริหารจัดการธุรกิจสีเขียวและการวิเคราะห์ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิต
หากปรารถนาที่จะไปสู่ระบบเศรษฐกิจสีเขียวอย่างมีความชัดเจนเพื่อคนส่วนใหญ่วิธีการทำเช่นนั้นยังคงต้องทำงานให้คืบหน้าในหลายด้านหัวข้อนี้เกี่ยวกับทฤษฎีจากการพัฒนาสีเขียวการปฏิบัติและเงื่อนไขการพัฒนาที่จำเป็นสำหรับการทำให้มีการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวอย่างไรก็ตามก่อนที่เริ่มดำเนินการวิเคราะห์ หัวข้อนี้กล่าวถึงมิติของความท้าทายโลกอยู่ไกลแค่ไหนจากเศรษฐกิจสีเขียว?เฉพาะไตรมาสสุดท้ายของศตวรรษที่เศรษฐกิจโลกขยายสี่เท่าตัว
เกิดประโยชน์ผู้คนหลายร้อยล้าน(IMF 2006)อย่างไรก็ตามร้อยละ 60 สินค้าและบริการของระบบนิเวศหลักของโลกซึ่งเป็นรากฐานการดำรงชีวิตได้รับการลดความสมบูรณ์และนำไปใช้อย่างไม่ยั่งยืน (การประเมินระบบนิเวศสหัสวรรษหรือ Millennium Ecosystem Assessment 2005)ทั้งนี้เป็นเพราะการพัฒนามนุษย์ แต่บ่อยครั้งที่มีค่าใช้จ่ายของจากฐานทรัพยากรธรรมชาติคุณภาพของสิ่งแวดล้อมของพวกเขา การปล่อยก๊าซเรือนกระจก (GHG) สูง ความท้าทายสำหรัประเทศเหล่านี้คือการลดค่ารอยเท้าทางนิเวศรอยโดยไม่ต้องลดคุณภาพชีวิตของพวกเขา ประเทศอื่น ๆยังคงรักษารอยเท้าทางนิเวศน์ต่อหัวค่อนข้างต่ำ แต่ยังต้องพัฒนาระดับที่ดีขึ้น ของการให้บริการและวัสดุพื้นฐานให้กับพลเมืองของตนความท้าทายของพวกเขาคือการทำเช่นนี้โดยไม่ต้องเพิ่มขึ้นค่ารอยเท้าทางนิเวศน์มากนักแผนภาพแสดงให้เห็นว่าหนึ่งในสองของความท้าทายที่ส่งผลกระทบในเกือบทุกประเทศและเศรษฐกิจทั่วโลกจะยังคงไกลมากจากการเป็นสีเขียว
เงื่อนไขการพัฒนาสำหรับเศรษฐกิจสีเขียวเพื่อให้การเปลี่ยนผ่านไปสู่เศรษฐกิจสีเขียวประสบความสำเร็จ
เงื่อนไขการพัฒนาที่จำเป็นจะต้องประกอบด้วย กฎระเบียบแห่งชาติ นโยบาย เงินอุดหนุนและสิ่งจูงใจ เช่นเดียวกับตลาดต่างประเทศและความช่วยเหลือด้านโครงสร้างพื้นฐานทางกฏหมาย การค้า และทางเทคนิคปัจจุบันสภาวะสนับสนุนให้น้ำหนักมากต่อการส่งเสริมเศรษฐกิจน้ำตาลซึ่งขึ้นอยู่โดยสิ้นเชิงกับเชื้อเพลิงฟอสซิล การใช้ทรัพยากรสิ้นเปลืองและความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อม
ตัวอย่างสำหรับเงินอุดหนุน
เช่น ราคาและการผลิตสำหรับเชื้อเพลิงฟอสซิลรวมกันเกิน 650 พันล้านเหรียญสหรัฐ ในปี2008 (IEAet al. 2010) ระดับสูงของการอุดหนุนนี้สามารถส่งผลกระทบทางลบต่อการยอมรับของพลังงานสะอาดในขณะที่สนับสนุนการปลดปล่อยก๊าชเรือนกระจกมากขึ้นในทางตรงกันข้ามการริเริ่มเงื่อนไขสำหรับเศรษฐกิจสีเขียว สามารถปูทางสำหรับความสำเร็จของการลงทุนภาครัฐและเอกชนในการพัฒนาเศรษฐกิจของโลกเป็นสีเขียว(IEA 2009) ในระดับชาติมีตัวอย่างของการริเริ่มดังกล่าวคือการปฏิรูปนโยบายการคลังและการลดลงของเงินอุดหนุนที่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมการใช้เครื่องมือใหม่ทางการตลาด การกำหนดเป้าหมายการลงทุนที่สำคัญของภาครัฐเป็นสีเขียวการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐสีเขียวการปรับปรุงกฎระเบียบด้านสิ่งแวดล้อมและเช่นเดียวกับการบังคับใช้ในระดับนานาชาตินอกจากนี้ยังมีโอกาสที่จะเพิ่มไปที่โครงสร้างพื้นฐานการตลาดการปรับปรุงกระแสการค้าและการช่วยเหลือ และการอุปถัมภ์มากขึ้นในความร่วมมือระหว่างประเทศ
(United Nations General Assembly 2010

ในระดับชาติกลยุทธ์เพื่อเศรษฐกิจสีเขียวๆ
ควรพิจารณาผลกระทบของนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมในบริบทที่กว้างขึ้นของนโยบายเพื่อพัฒนานวัตกรรมและประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจ(Porterand Vander Linde 1995) ในมุมมองนี้นโยบายของรัฐบาลมีบทบาทที่สำคัญภายในประเทศเพื่อส่งเสริมให้มีนวัตกรรมและการเจริญเติบโตและการแทรกแซงดังกล่าวเป็นสิ่งที่สำคัญเนื่องจากเป็นวิธีการสำหรับอุปถัมภ์นวัตกรรมและสำหรับการเลือกทิศทางของการเปลี่ยนแปลง(Stoneman ed. 1995; Forey ed.2009)  จุดนี้ได้รับการถกเถียงกันอย่างน้อยตั้งแต่เวลาของการเริ่มต้นสมมติฐานของ Porter ที่ถกเถียงกันอยู่แล้วว่ากฎระเบียสิ่งแวดล้อมอาจมีผลกระทบเชิงบวกต่อการเจริญเติบโตผ่านผลกระทบแบบไดนามิกที่พรั่งพรูออกภายในระบบเศรษฐกิจ บางครั้งนักเศรษฐศาสตร์เช่น Kenneth Arrow แสดงให้เห็นว่าการแข่งขันของบริษัทและการแข่งขันตลาดไม่จำเป็นต้องผลิตในปริมาณที่เหมาะสมของนวัตกรรมและการเติบโตภายในเศรษฐกิจ(Arrow 1962; Kamien and Schwartz 1982)
การแทรกแซงของสาธารณะภายในระบบเศรษฐกิจดังนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งสำหรับวัตถุประสงค์เหล่านี้ทั้งนี้เป็นเพราะการแข่งขันในอุตสาหกรรมตลาดมีแรงจูงใจน้อยที่จะลงทุนในด้านการเปลี่ยนเทคโนโลยี หรือแม้กระทั่งในวัตกรรในเชิงผลิตภัณฑ์ที่ผลตอบแทนใดๆจะได้รับการตอบโต้ทันทีสิ่งนี้เป็นหนึ่งในตัวอย่างที่ดีที่สุดที่รู้จักกันจากความล้มเหลวของตลาดในบริบทของตลาดแข่งขันสูงและให้เหตุผลในการแทรกแซงในรูปแบบต่างๆ (Blair and Cotter 2005)
ตัวอย่างของการเจริญเติบโตกระตุ้นและนวัตกรรม
ที่สามารถมองเห็นจากประวัติศาสตร์ของเศรษฐกิจที่เกิดเมื่อเร็ว ๆนี้หลายประเทศใน1950 และ 1960 รัฐบาลประเทศญี่ปุ่นและเกาหลีใต้เลือกที่จะกำหนดทิศทางเปลี่ยนผ่านของเทคโนโลยีโดยการนำเข้าเทคโนโลยีจากประเทศอื่นๆ(Adelman1999) การเปลี่ยนแปลงนี้ในศวรรษ 1970s เมื่อเศรษฐกิจของประเทศเหล่านี้เปลี่ยนไปใช้นโยบายเชิงรุกสำหรับการส่งเสริมนวัตกรรมประหยัดพลังงานในไม่ช้าหลังจากนั้นญี่ปุ่นก็เป็นหนึ่งในประเทศชั้นนำในโลกในแง่ของการวิจัยและพัฒนา
(R&D) เพื่อการลงทุน ในอุตสาหกรรมเหล่านี้ (Mowery 1995)รูปแบบของการใช้จ่ายโดยตรงและนโยบายสิ่งแวดล้อมนี้จะถูกลอกเลียนในทุกวันนี้สำหรับส่วนใหญ่ของเอเชียกรณีเฉพาะของประเทศเกาหลีใต้และจีนส่วนใหญ่ของเงินทุนกระตุ้นถูกใช้โดยตรงเพื่อการฟื้นฟู "สีเขียว"และขณะนี้ถูกตั้งเป็นแผนระยะยาวสำหรับเป็นเครื่องมือพัฒนาเศรษฐกิจบนพื้นฐานการเจริญเติบโตสีเขียว(Barbier 2010b)
ดังนั้นการมุ่งไปสู่เส้นทางการพัฒนาสีเขียวจะเป็นวิธีแน่นอนเพื่อการบรรลุการปรับปรุงสวัสดิการของสังคม
แต่ก็ยังหมายถึงการบรรลุการปรับปรุงการเจริญเติบโตในอนาคตด้วยบ่อยครั้งทั้งนี้เพราะการเปลี่ยนแปลงการพัฒนาไปจากการผลิตขั้นพื้นฐานของการสกัดและการบริโภคไปสู่การพัฒนาโหมดที่ซับซ้อนมากขึ้นสามารถเป็นกลยุทธ์ระยะยาวที่ดีสำหรับการเจริญเติบโตมีเหตุผลหลายประการที่การเปลี่ยนแปลงนี้อาจจะดีสำหรับการแข่งขันระยะยาวเช่นเดียวกับการปรับปรุงสวัสดิการสังคม
ประการแรกนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมที่ดี
สามารถลดความไร้ประสิทธิภาพออกจากระบบเศรษฐกิจโดยการกำจัดบริษัทและอุตสาหกรรมที่อยู่ได้เพราะโดยเงินอุดหนุนมิชอบในแหล่งทรัพยากรที่มีราคาต่ำกว่าการใช้แบบไม่มีค่าใช้จ่ายของอากาศ น้ำและระบบนิเวศที่ไม่ได้เป็นสินค้าไร้มูลค่าสำหรับผู้เล่นใด ๆ ในระบบเศรษฐกิจทำให้เป็นการอุดหนุนกิจกรรมที่มีมูลค่าสุทธิเป็นลบการใช้การควบคุมที่มีประสิทธิภาพและกลไกการตลาดเพื่อควบคุมมลพิษและจำกัดการสะสมความรับผิดชอบทางสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อเศรษฐกิจในทิศทางที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น

ประการที่สองการกำหนดราคาทรัพยากรเป็นสิ่งสำคัญ
ที่ไม่เพียงแต่สำหรับการกำหนดราคาจากทุนทางธรรมชาติและการให้บริการแต่ยังสำหรับการกำหนดราคาของปัจจัยการผลิตอื่น ๆทั้งหมดที่อยู่ภายในระบบเศรษฐกิจเศรษฐกิจจัดสรรความพยายามและค่าใช้จ่ายของตนตามราคาเปรียบเทียบ
และทรัพยากรที่มีราคาต่ำกว่าส่งผลให้เศรษฐกิจของประเทศไม่สมดุลผู้กำหนดนโยบายควรกำหนดเป้าหมายในอนาคตที่พวกเขาต้องการให้ระบบเศรษฐกิจของพวกเขาไปบรรลุและสิ่งนี้มักจะต้องมีราคาเปรียบเทียบที่สูงขึ้นในทรัพยากร
เศรษฐกิจที่มีความประสงค์ที่จะพัฒนารอบองค์ความรู้ การวิจัยพัฒนาทุนมนุษย์และนวัตกรรมไม่ควรให้ทรัพยากรธรรมชาติได้ฟรี
ประการที่สามการกำหนดราคาทรัพยากรขับเคลื่อนการลงทุนสำหรับการวิจัยพัฒนาและนวัตกรรม
เพราะการหลีกเลี่ยงแหล่งทรัพยากรค่าใช้จ่ายสูงสามารถทำได้โดยอาศัยการวิจัยและหาวิธีการผลิตใหม่สิ่งนี้จะรวมถึงการลงทุนในทุกปัจจัย (ทุนมนุษย์และความรู้) และทั้งหมดของกิจกรรม(วิจัยพัฒนาและนวัตกรรม) ที่กล่าวข้างต้นการมุ่งไปสู่การกำหนดราคาทรัพยากรที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นจะขับเคลื่อนเศรษฐกิจโดยเน้นการพัฒนาบนรากฐานที่แตกต่างกัน
ประการที่สี่การลงทุนเหล่านี้อาจส่งผลให้มีมูลค่าเพิ่มจากการสร้างนวัตกรรม
นโยบายที่สะท้อนให้เห็นถึงการขาดแคลนเป็นที่แพร่หลายในระบบเศรษฐกิจในท้องถิ่นสามารถสะท้อนให้เห็นถึงการขาดแคลนที่แพร่หลายอย่างกว้างขวางมากขึ้นด้วยเหตุนี้วิธีการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการขาดแคลนทรัพยากรที่ระบุในท้องถิ่น
(ผ่านการลงทุนวิจัยพัฒนา)อาจจะมีผลในทางปฏิบัติดีและมีผลให้ศักยภาพด้านการตลาดทั่วโลกดีขึ้นวิธีการแรกที่แก้ไขปัญหาได้อย่างกว้างขวางสามารถจดเป็นสิทธิบัตร ได้รับใบอนุญาตและทำการตลาดได้อย่างกว้างขวาง

ประการที่ห้าระเบียบด้านสิ่งแวดล้อมเชิงรุกอาจคาดได้ว่าทำให้เกิดการขาดแคลนอย่างกว้างขวางในอนาคตและมีเป็นแม่แบบสำหรับประเทศอื่น
 ที่จะปฏิบัติตาม นโยบายความเป็นผู้นำดังกล่าวสามารถเป็นขั้นตอนแรกในกระบวนการของนวัตกรรม การลงทุน ระเบียบ
และการกำหนดราคาทรัพยากรที่อธิบายข้างต้น (เครือข่ายของหน่วยงานหลักเพื่อคุ้มครองสิ่งแวดล้อมยุโรป2005)
โดยสรุป    ผลประโยชน์จากกรอบนโยบายที่แข็งแกร่งเพื่อแก้ไขความล้มเหลวของตลาดและการขาดแคลนระบบนิเวศ
จะกระจายลงสู่เส้นทางที่ปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมโดยอาศัยการเปลี่ยนทิศทางของเศรษฐกิจนโยบายและกลไกตลาดที่เพิ่มตามประสิทธิภาพการรับรู้ราคาทรัพยากรสร้างแรงจูงใจที่จะเปลี่ยนระบบเศรษฐกิจบนรากฐานที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง
โดยขึ้นอยู่อย่างมากขึ้นกับเงินลงทุนในนวัตกรรม และปัจจัยด้านทุนมนุษย์ ความรู้และการวิจัยพัฒนาวิธีการวัดควาคืบหน้าต่อเศรษฐกิจสีเขียวมันเป็นเรื่องยากหากเป็นไปได้ที่จะจัดการสิ่งที่วัดไม่ได้แม้จะมีความซับซ้อนของการรวมการเปลี่ยนแปลงไปสู่เศรษฐกิจสีเขียวแต่ตัวชี้วัดที่เหมาะสมทั้งระดับมหภาคและระดับภาคส่วนจะจำเป็นที่จะแจ้งผลและแนะแนวทางการเปลี่ยนแปลงตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจทั่วไปเช่น GDPให้ผลที่บิดเบี้ยวสำหรับประสิทธิภาพการทางเศรษฐกิจ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งเนื่องจากมาตรการดังกล่าวล้มเหลวในการสะท้อนให้เห็นถึงขอบเขตที่กิจกรรมการผลิตและการบริโภคอาจมีการลดลงของทุนทางธรรมชาติโดยทั้งพึ่งพาการทำให้ลดลงของทรัพยากรธรรมชาติหรือความสามารถในการเสื่อมสภาพของระบบนิเวศในการทำให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจในแง่ของการจัดเตรียม การควบคุม หรือการบริการทางวัฒนธรรมกิจกรรมทางเศรษฐกิจมักจะขึ้นอยู่กับการเสื่อมราคาของทุนธรรมชาติ


ที่มา :  สาธิต  เทอดเกียตรกุล

   


                   





เรวดี ศรีสุข รุ่น 19 เลขที่ 231


                         บบที่ 10
การแข่งขันในตลาดโลกและการปรับตัวเพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน
การแข่งขันในโลกปัจจุบัน
การแข่งขันทางเทคโนโลยีของบริษัทจะเป็นตังนำของการได้เปรียบในการแข่งขันแต่จะไดเปรียบมากหรือน้อยย่อมขึ้นอยู่กับการจะทำให้ราคาผลผลิตต่ำลงหรือไม่ และจะป้องกันการลอกเลียนแบบสินค้าได้อย่างไร  การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีเป็นกิจกรรมที่มีคุณค่า เพราะเทคโนโลยีทำให้โครงสร้างของอุตสาหกรรมทั้งหมดดีขึ้น ในขณะเดียวกัน จอร์ด สทอค และโฮมาส เอ็ม เฮ้า เขียนหนังสือการแข่งขันกันด้วยเวลาในปี 1990 นั้น จะต้องมีพื้นฐาน 3 ประการคือ
1. ต้องสร้างคุณค่าให้การส่งเสริม ให้มีความยืดหยุ่น 2-3 เท่า แล้วสร้างความเร็วให้เร็วกว่าคู่แข่ง
2. ให้ความสนใจต่อการตอบสนองลูกค้าอย่างไร โดยให้ความสนใจต่อลูกค้าอย่างพิเศษ
3. มียุทธศาสตร์แปลกๆ ที่ทำให้ฝ่ายตรงกันข้ามแปลกใจเพื่อการได้เปรียบในการใช้เวลา
การใช้เวลาเป็นเพียงการใช้ผลผลิตและทำให้การส่งสินค้าได้เร็ว ค่าใช้จ่ายย่อมลดลงลดเวลาลงได้มากกว่าครึ่งหนึ่ง ลดคนงานลงได้ ลดค่าใช้จ่ายลงได้ ผลผลิตย่อมเพิ่มขึ้น 2 เท่า  เวลาเป็นเครื่องมือที่มีค่ามากกว่าราคา สิ่งที่เวลาได้เปรียบมากที่สุดคือได้มีเวลาวิเคราะห์จนสามารถนำสิ่งที่วิเคราะห์นั้นมาอยู่ในระดับกำหนดเป็นแผนรองรับ เช่น กำหนดแผนภูมิ, ชาร์ท และเป็นกระบวนการของเน็ทเวิร์ค ที่สามารถตามดูกิจกรรมของเวลาว่าช้า เร็ว ด่วนตรงไหน

อ้างอิง : ศ.ดร. บุญทัน ดอกไธสง. การแข่งขันสู่ความเป็นเลิศ. กรุงเทพฯ : เอกสารและตำรา คณะรัฐประศาสนศาสตร์, 2545


บทที่ 11
การบริหารจัดการธุรกิจสีเขียวและการวิเคราะห์ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิต
โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ
นิยามเศรษฐกิจสีเขียวเป็นวิธีหนึ่งที่ให้ผล  "การปรับปรุงความเป็นอยู่ที่ดีและความเท่เทียมทางสังคมของมนุษย์ในขณะที่
ช่วยลดความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศ ขาดแคลน "(UNEP 2010)  ในนิยามที่ง่ายที่สุดเศรษฐกิจสีเขียวคือเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ มีการใช้ทรัพยากรที่มีประสิทธิภาพและรวมสังคมเข้ากับระบบ  ในระบบเศรษฐกิจสีเขียวการเจริญเติบโตในรายได้และการจ้างงานจะขับเคลื่อนโดยเงินลงทุนจากทั้งภาครัฐและเอกชนที่ลดการปล่อยคาร์บอนและมลพิษ เพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานและทรัพยากรและป้องกันไม่ให้สูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ และการบริการจากระบบนิเวศเงินลงทุนเหล่านี้จะต้องมีการตัวเร่งปฏิกิริยาและได้รับการสนับสนุน
โดยค่าใช้จ่ายของประชาชนที่มีเป้าหมาย การปฏิรูปนโยบายและการเปลี่ยนแปลงกฎระเบียบ
เส้นทางการพัฒนาควรรักษา เสริมสร้าง
และสร้างทุนทางธรรมชาติเป็นสินทรัพย์ทางเศรษฐกิจที่สำคัญยิ่ง
และเป็นแหล่งที่มาของผลประโยชน์ของประชาชน  ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญโดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับคนยากจนที่ดำรงชีวิต
และอยู่อย่างมั่นคงโดยอาศัยธรรมชาติจุดมุ่งหมายที่สำคัญสำหรับการเปลี่ยนแปลงไปสู่เศรษฐกิจสีเขียวคือการมีการเติบโตทางเศรษฐกิจและการลงทุนในขณะที่มีคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้นและรวมสังคมกับระบบเศรษฐกิจความสำคัญต่อการบรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าวคือการสร้างเงื่อนไขสำหรับการลงทุนภาครัฐและเอกชนเพื่อครอบคลุมที่กว้างขึ้นด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมนอกจากนี้ตัวชี้วัดหลักของเศรษฐกิจเช่นการเจริญเติบโตในผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) จะต้องมีการปรับปรุงการบัญชีที่นำมลพิษการหมดสิ้นทรัพยากร การลดลงการบริการของระบบนิเวศ และผลกระทบของการสูญเสียทุนทางธรรมชาติของคนยากจนเข้าร่วมพิจารณา
ความท้าทายที่สำคัญคือการตรวจสอบยอดการแข่งขันในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศทั้งรวยและจน  ในระบบเศรษฐกิจโลกที่กำลังเผชิญการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศความไม่มั่นคงด้านพลังงาน และความขาดแคลนทางนิเวศวิทยาเพิ่มมากขึ้นเศรษฐกิจสีเขียวสามารถตอบสนองความท้าทายนี้โดยนำเสนอเส้นทางการพัฒนาที่ลดการพึ่งพาคาร์บอนส่งเสริมประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรและพลังงาน และลดความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อมเป็นอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจและ เงินลงทุนน้อยลงที่ขึ้นอยู่กับการจำหน่ายทรัพยากรสิ่งแวดล้อมแต่จะอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมที่มีคุณภาพทั้งประเทศร่ำรวยและยากจนสามารถบรรลุการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนเพิ่มเติมขึ้น

แนวคิดของระบบเศรษฐกิจสีเขียวไม่ได้แทนที่การพัฒนาที่ยั่งยืน
แต่มีการพิจารณามากขึ้นว่าการบรรลุความยั่งยืนวางอยู่บนพื้นฐานของการพัฒนาทางเศรษฐกิจที่ถูกต้อง
หลายทศวรรษที่ผ่านมาการสร้างความมั่งคั่งทำผ่านระบบ"เศรษฐกิจสีน้ำตาล" ที่ขึ้นอยู่กับเชื้อเพลิงฟอสซิลโดยยังไม่ได้พิจารณามากถึงการเกิดของสังคมชายขอบ การเสื่อมสภาพของสิ่งแวดล้อมและการหมดสิ้นทรัพยากร  นอกจากนี้โลกยังคงอยู่ห่างไกลจากการส่งมอบเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษที่จะถึงในปี2015  เนื้อหาส่วนต่อไปจะพิจารณาถึงความเชื่อมโยงระหว่างแนวคิดของเศรษฐกิจสีเขียวและการพัฒนาที่ยั่งยืน
เศรษฐกิจสีเขียวและการพัฒนาที่ยั่งยืน
ในปี 2009 ที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติตัดสินใจที่จะจัดการประชุมสุดยอดในกรุงริโอเดจาเนโรขึ้นในปี2012 (Rio+ 20) เพื่อเฉลิมฉลองการครบรอบปีที่ 20ของการประชุมสุดยอดโลกในริโอครั้งก่อนใน 1992  สองวาระของกาประชุมสำหรับ Rio20 เป็น " เศรษฐกิจสีเขียวในบริบทของการพัฒนาที่ยั่งยืนและขจัดความยากจน "และ" กรอบนานาชาติเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน "เศรษฐกิจสีเขียวปัจจุบันผ่านการก่อตั้งขึ้นอย่างมั่นคงตามวาระการประชุมนโยบายนานาชาติจะเป็นประโยชน์ยิ่งในการทบทวนและชี้แจงความเชื่อมโยงระหว่างระบบเศรษฐกิจสีเขียวและการพัฒนาที่ยั่งยืนการตีความมากที่สุดของความยั่งยืนคือการถือเป็นจุดเริ่มต้นของโลกตามมติคณะกรรมการโลกด้านสิ่งแวดล้อมและการพัฒนา (WCED) ในปี 1987 ซึ่งกำหนดการพัฒนาที่ยั่งยืนไว้เป็น การพัฒนา"ที่ตรงกับความต้องการของคนรุ่นปัจจุบันเพื่อตอบสนองความต้องการของตนเองโดยไม่สูญเสียความสามารถในคนรุ่นอนาคต "(WCED 1987)นักเศรษฐศาสตร์โดยทั่วไปจะยอมรับกับการตีความของความยั่งยืนอย่างกว้างนี้เพราะแปลง่ายดายในแง่เศรษฐกิจการเพิ่มขึ้นในการเป็นอยู่ที่ดีในวันนี้ไม่ควรส่งผลในการลดลงความเป็นอยู่ที่ดีในอนาคตกล่าวคือคนรุ่นหลังควรจะได้รับสิทธิไม่น้อยกว่า ระดับเดียวกันของโอกาสทางเศรษฐกิจและได้รับสวัสดิการทางเศรษฐกิจตามที่มีให้คนรุ่นปัจจุบันเป็นผลให้วันนี้การพัฒนาทางเศรษฐกิจต้องให้แน่ใจว่าคนรุ่นอนาคตที่เหลือจะไม่มีผลกระทบเลวร้ายยิ่งกว่ารุ่นปัจจุบัน  หรือนักเศรษฐศาสตร์บางรายที่มีความเห็นชัดเจนว่าสวัสดิการต่อหัวไม่ควรลดลงในอนาคต (Pezzey 1989)ตามมุมมองนี้ก็คือ ผลรวมของทุนตามระบบเศรษฐกิจรวมทั้งทุนทางธรรมชาติซึ่งจะกำหนดเต็มช่วงของโอกาสทางเศรษฐกิจและทำให้เป็นอยู่ที่ดีที่สามารถใช้ได้ทั้งรุ่นปัจจุบันและอนาคต (Pearce et  al 1989)สังคมต้องตัดสินใจเลือกวิธีที่ดีที่สุดที่จะใช้ทุนทั้งหมดผลรวมในวันนี้เพื่อเพิ่มกิจกรรมทางเศรษฐกิจในปัจจุบันและสวัสดิการ  สังคมยังต้องตัดสินใจว่าจะต้องประหยัดหรือสะสมสำหรับวันพรุ่งนี้และในที่สุดสำหรับความเป็นอยู่ของคนรุ่นอนาคตแต่ก็ไม่ได้เป็นเพียงแค่การรวมผลของทุน ในระบบเศรษฐกิจที่สำคัญแต่ยังรวมถึงองค์ประกอบของมัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งไม่ว่าจะเป็นคนรุ่นปัจจุบันจะถูกใช้ในรูปแบบหนึ่งของเงินทุนที่จะตอบสนองความต้องการของวันนี้ตัวอย่างเช่น ส่วนหนึ่งที่สนใจในการพัฒนาอย่างยั่งยืนเนื่องจากความกังวลว่าการพัฒนาทางเศรษฐกิจอาจจะนำไปเพื่อการสะสมอย่างรวดเร็วของทุนทางกายภาพและทุนมนุษย์ที่ค่าใช้จ่ายมากเกินไปของการลดลงและการเสื่อมสภาพของทุนทางธรรมชาติความกังวลที่สำคัญคือการลดลงนำกลับมาคืนไม่ได้ของทุนธรรมชาติทำให้เส้นทางการพัฒนาขณะนี้เป็นอันตรายสำหรับความเป็นอยู่ดีของคนรุ่นอนาคตหนึ่งของการศึกษาทางเศรษฐกิจก่อนที่จะทำให้ วิธีการเชื่อมต่อระหว่างทุนไปสู่การพัฒนายั่งยืนนี้และเศรษฐกิจสีเขียวคือหนังสือชื่อ พิมพ์เขียวเพื่อเศรษฐกิจสีเขียว (Pearce et al. 1989) ซึ่งผู้เขียนถกเถียงกันว่าเพราะเศรษฐกิจของวันนี้ลำเอียงต่อการพึ่งพาทุนทางธรรมชาติเพื่อรักษาความมั่นคงในการเจริญเติบโตการพัฒนาอย่างยั่งยืนจึงเป็นสิ่งที่ไม่สามารถบรรลุได้  เศรษฐกิจสีเขียวที่ให้ค่าของสินทรัพย์สิ่งแวดล้อมและมีนโยบายการกำหนดราคาและการเปลี่ยนแปลงกฎระเบียบเพื่อการสื่อความหมายเป็นสิ่งจูงใจทางการตลาดและปรับตัวชี้วัดเศรษฐกิจของ GDPสำหรับความเสียหายด้านสิ่งแวดล้อมเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อสร้างความมั่นใจในความเป็นอยู่ที่ดีของคนรุ่นปัจจุบันและคนรุ่นอนาคตตามที่เสนอโดยผู้แต่ง พิมพ์เขียวเพื่อเศรษฐกิจสีเขียวประเด็นหลักในแนวทางทุนเพื่อ การพัฒนาที่ยั่งยืนคือว่าการแทนที่ระหว่างรูปแบบที่แตกต่างกันของทุน ได้แก่ ทุนมนุษย์ ทุนทางกายภาพและทุนทางธรรมชาติเป็นไปได้ มุมมองของนักอนุรักษ์ที่แข็งแกร่งอาจจะรักษาที่ส่วนประกอบตามธรรมชาติของสต็อกทุนรวมจะต้อง เก็บไว้เหมือนเดิมเมื่อวัดในแง่กายภาพอย่างไรก็ตามประเด็นนี้อาจจะถูกสอบถามในทางปฏิบัติโดยเฉพาะในบริบทของประเทศกำลังพัฒนาถ้าทุนทางธรรมชาติค่อนข้างอุดมสมบูรณ์ขณะที่ทุนทางกายภาพและทุนมนุษย์ต้องพัฒนาเพื่อตอบสนองความต้องการอื่นๆของมนุษย์ประเภทของการแทนที่นี้สะท้อนให้เห็นถึงความเป็นจริงที่โชคร้ายที่สร้างจากทุนทางกายภาพ
ตัวอย่างเช่น ถนนอาคาร และเครื่องจักร มักจะต้องแปลงจากทุนธรรมชาติ  ในขณะที่การทดแทนกันระหว่างธรรมชาติ เงินทุนและรูปแบบอื่น ๆของทุนมักจะหลีกเลี่ยงไม่ได้ จึงมักจะมีช่องว่างสำหรับการเพิ่มประสิทธิภาพนอกจากนี้ยังมีการยอมรับที่เพิ่มขึ้นของเกณฑ์สิ่งแวดล้อมที่วิกฤตซึ่งจะจำกัดการทดแทนเมื่อต่ำกว่าค่าที่จำเป็นสำหรับมนุษย์ยังมีว่าความกังวลเสมอว่าบางรูปแบบของทุนทางธรรมชาติมีความจำเป็นเพื่อสวัสดิภาพของมนุษย์โดยเฉพาะอย่างยิ่งสินค้าและการบริการที่สำคัญทางนิเวศวิทยา สภาพแวดล้อมที่ไม่ซ้ำใครและที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติเช่นเดียวกับระบบนิเวศน์บางอย่างที่ไม่สามารถถูกแทนที่ได้ ความไม่แน่นอนของมูลค่าที่แท้จริงสำหรับสินทรัพย์ที่สำคัญเหล่านี้สวัสดิการของมนุษย์โดยเฉพาะอย่างยิ่งค่าที่ในอนาคตพวกเขาอาจได้รับหากประสบกับการหาได้ยากมากขึ้นอาจจำกัดต่อความสามารถของเราในการตรวจสอบว่าเราสามารถชดเชยอย่างเพียงพอให้กับคนรุ่นอนาคตสำหรับการสูญเสียของวันนี้ที่ผันกลับไม่ได้ในทุนทางธรรมชาติที่จำเป็นความกังวลนี้ปรากฏในคำจำกัดความอื่น ๆ ของการพัฒนาที่ยั่งยืน  ตัวอย่าง เช่น ในปี 1991กองทุนธรรมชาติสำหรับทั่วโลก(WWF)  สหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ(IUCN) และโครงการพัฒนาสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP) ตีความแนวคิดของการพัฒนาที่ยั่งยืนว่าเป็น"การปรับปรุงคุณภาพของชีวิตมนุษย์ภายในขีดความสามารถของระบบนิเวศที่สนับสนุน"(WWF, IUCN and UNEP 1991)
คำนิยามนี้ชี้ให้เห็นว่า
ประเภทของทุนทางธรรมชาติที่มีความเสี่ยงอย่างยิ่งคือระบบนิเวศ   ตามที่อธิบายโดย Partha Dasgupta (2008) ว่า"ระบบนิเวศเป็นทุนทรัพย์ที่อาจลดลงหากพวกเขาใช้ในทางที่ผิดหรือใช้มากเกินจะแตกต่างจากสินทรัพย์หมุนเวียนอื่นในสามข้อ คือ
 (1)  การเสื่อมราคาของทุนธรรมชาติมักผันกลับไม่ได้(หรืออย่างดีที่สุดระบบจะใช้เวลานานในการผันกลับ)
 (2) มันเป็นไปไม่ได้ที่จะแทนที่ระบบนิเวศเสื่อมโทรมหรือหมดลงโดยระบบใหม่ยกเว้นในแง่ที่จำกัดมาก
 (3) ระบบนิเวศสามารถหมดลงโดยทันทีโดยไม่มีการเตือนล่วงหน้าก่อนมากนัก "การขาดแคลนระบบนิเวศที่เพิ่มขึ้นเป็นสิ่งบ่งชี้ว่าเราใช้ระบบนิเวศมากเกินไปอย่างรวดเร็วกว่าการสร้างขึ้นใหม่และผลก็คือทั้งปัจจุบันและอนาคตสวัสดิการทางเศรษฐกิจได้รับผลกระทบ  ตัวบ่งชี้ที่สำคัญของการขาดแคลนระบบนิเวศที่กำลังเติบโตทั่วโลกถูกประเมินโดยการประเมินระบบนิเวศสหัสวรรษ (MEA) ในปี 2005ซึ่งพบว่ามากกว่าร้อยละ 60 ของสินค้าและการบริการจากระบบนิเวศที่สำคัญของโลกที่ครอบคลุมในการประเมินมีการลดลงหรือการนำไปใช้อย่างไม่ยั่งยืนบางประโยชน์ที่สำคัญเพื่อมนุษยชาติจัดอยู่ในหมวดหมู่นี้ ได้แก่น้ำจืด การประมง การทำน้ำให้บริสุทธิ์และการกำจัดของเสีย อาหารป่าแหล่งทางพันธุกรรม  สารชีวเคมี เชื้อเพลิงไม้ การผสมเกสรจิตวิญญาณ คุณค่าทางศาสนาและความงาม กฎระเบียบของภูมิภาค
และสภาพภูมิอากาศในท้องถิ่น การกัดเซาะ ศัตรูพืชและภัยธรรมชาติมูลค่าทางเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องกับการบริการของระบบนิเวศเหล่านี้มีค่ามหาศาลถึงแม้จะทำการตลาดไม่ได้เป็นส่วนใหญ่ (ดูตารางที่ 1) ที่มา: Eliasch(2008); Gallai et al,  (2009);TEEB (2009)หนึ่งความยากลำบากที่สำคัญคือค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นที่เกี่ยวข้องกับความขาดแคลนทางนิเวศวิทยาที่เพิ่มขึ้นไม่ได้สะท้อนให้เห็นเป็นประจำในตลาดเกือบทุกสินค้าหรือบริการของระบบนิเวศที่เสื่อมโทรมซึ่งระบุโดยการประเมินระบบนิเวศสหัสวรรษ ไม่ได้ทำการตลาด  สินค้าบางอย่างเช่น การประมงน้ำจืด อาหารป่า และเชื้อเพลิงไม้ มักจะวางตลาดในเชิงพาณิชย์แต่เนื่องจากการจัดการที่ไม่ดีของแหล่งทรัพยากรชีวภาพและระบบนิเวศที่เป็นแหล่งที่มาของสินค้าเหล่านี้และข้อมูลที่ไม่สมบูรณ์ ทำให้ราคาตลาดไม่ได้สะท้อนการใช้งานที่ฟุ่มเฟือยและไม่ยั่งยืนควาหลากหลายทางชีวภาพ
ที่มา :  สาธิต  เทิดเกียตริกุล