หน้าเว็บ

นางสาวสายฝน โป่งมะณี รหัส 5210125401003 เอกการจัดการทั่งไป ปี 4


บทที่ 10 การแข่งขันในตลาดโลกและการปรับตัวเพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน

การแข่งขันในโลกปัจจุบัน

            การแข่งขันทางเทคโนโลยีของบริษัทจะเป็นตังนำของการได้เปรียบในการแข่งขันแต่จะไดเปรียบมากหรือน้อยย่อมขึ้นอยู่กับการจะทำให้ราคาผลผลิตต่ำลงหรือไม่ และจะป้องกันการลอกเลียนแบบสินค้าได้อย่างไร  การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีเป็นกิจกรรมที่มีคุณค่า เพราะเทคโนโลยีทำให้โครงสร้างของอุตสาหกรรมทั้งหมดดีขึ้น ในขณะเดียวกัน จอร์ด สทอค และโฮมาส เอ็ม เฮ้า เขียนหนังสือการแข่งขันกันด้วยเวลาในปี 1990 นั้น จะต้องมีพื้นฐาน 3 ประการคือ

1. ต้องสร้างคุณค่าให้การส่งเสริม ให้มีความยืดหยุ่น 2-3 เท่า แล้วสร้างความเร็วให้เร็วกว่าคู่แข่ง

2. ให้ความสนใจต่อการตอบสนองลูกค้าอย่างไร โดยให้ความสนใจต่อลูกค้าอย่างพิเศษ

3. มียุทธศาสตร์แปลกๆ ที่ทำให้ฝ่ายตรงกันข้ามแปลกใจเพื่อการได้เปรียบในการใช้เวลา

            การใช้เวลาเป็นเพียงการใช้ผลผลิตและทำให้การส่งสินค้าได้เร็ว ค่าใช้จ่ายย่อมลดลงลดเวลาลงได้มากกว่าครึ่งหนึ่ง ลดคนงานลงได้ ลดค่าใช้จ่ายลงได้ ผลผลิตย่อมเพิ่มขึ้น 2 เท่า  เวลาเป็นเครื่องมือที่มีค่ามากกว่าราคา สิ่งที่เวลาได้เปรียบมากที่สุดคือได้มีเวลาวิเคราะห์จนสามารถนำสิ่งที่วิเคราะห์นั้นมาอยู่ในระดับกำหนดเป็นแผนรองรับ เช่น กำหนดแผนภูมิ, ชาร์ท และเป็นกระบวนการของเน็ทเวิร์ค ที่สามารถตามดูกิจกรรมของเวลาว่าช้า เร็ว ด่วนตรงไหน



อ้างอิง : ศ.ดร. บุญทัน ดอกไธสง. การแข่งขันสู่ความเป็นเลิศ. กรุงเทพฯ : เอกสารและตำรา คณะรัฐประศาสนศาสตร์, 2545


บทที่  11  การบริหารจัดการธุรกิจสีเขียวและการวิเคราะห์ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม          

   และคุณภาพชีวิต

การทำการตลาดสีเขียวนั้น น่าจะมีองค์ประกอบสำคัญ 3 ประการที่นักการตลาดควรให้ความสนใจ ได้แก่

1. การนำเสนอให้ตลาดผู้บริโภคทั่วไปเห็นและเกิดความเข้าใจว่า สิ่งที่บริษัทหรือองค์กรกำลังทำอยู่นี้จะช่วยเหลือสภาพแวดล้อมของโลก ทั้งในเชิงกว้างและในระดับสังคม ชุมชนแวดล้อมได้อย่างไร

2. นำเสนอสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและธรรมชาติ

3. ใช้วิธีการที่เป็นสีเขียวเช่นกัน ในการนำเสนอองค์ประกอบข้อ 1 และข้อ 2 ที่ได้กล่าวมา

       วิธีการข้อที่ 3 เป็นข้อที่นักการตลาดทั่วไป อาจต้องปรับแนวความคิดเดิมๆ หันมาสู่การคิดหาวิธีการที่ทำให้วิธีการทางการตลาดเป็นสีเขียวให้ได้มากที่สุด เช่น การใช้วัสดุประกอบการตลาด อาทิ กระดาษที่ใช้ในการพิมพ์เอกสารการตลาดที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การเลือกใช้หมึกพิมพ์ที่ไม่สร้างมลภาวะ และมองไม่ถึงว่าวัสดุเหล่านั้น หลังจากทำหน้าที่ทางการตลาดสื่อความสำคัญไปยังผู้บริโภคแล้ว ผู้บริโภคจะมีวิธีในการกำจัดทิ้งอย่างไรจึงจะไม่ทำให้เกิดผลกระทบในเชิงลบ เป็นไปได้หรืไม่ที่จะทำให้เกิดการนำกลับมาใช้ใหม่ หรือนำมาใช้ซ้ำได้ด้วยวิธีใดๆ ก็ตาม  นักการตลาดซึ่งโดยธรรมชาติมักจะเป็นผู้ที่มีความสามารถในด้านการคิดสร้างสรรค์สูงอยู่แล้ว หากจะหันกลับมาคิดสร้างสรรค์ในเรื่องของเอกสารทางการตลาดที่เป็นสีเขียวได้ ก็จะเป็นประโยชน์ไม่น้อย แถมยังจะได้เป็นข้อพิสูจน์ให้ผู้บริโภคและคนทั่วไปได้เห็นว่า ความมุ่งมั่นขององค์กรที่ต้องการจะทำธุรกิจให้เป็นสีเขียวนั้นสามารถทำได้อย่างครบวงจรอย่างแท้จริงอีกด้วย

       การหันกลับมาใช้กลยุทธ์ทางการตลาดที่จะไม่ทำให้เกิดการสร้างผลกระทบเชิงลบต่อสิ่งแวดล้อม เช่น กลยุทธ์การตลาดแบบปากต่อปาก ถึงแม้ว่า อาจจะผลตอบกลับที่ไม่รวดเร็วนัก แต่เป็นกลยุทธ์ที่ทรงอิทธิพลและสร้างความจงรักภักดีจากลูกค้าและผู้บริโภคได้ดีที่สุด อีกทั้งยังเป็นวิธีที่มีความเป็น “สีเขียว” อยู่ในตัวอย่างมาก เพราะอาจไม่ต้องพึ่งพิงการใช้วัสดุหรือพลังงานอื่น ๆ ให้สิ้นเปลืองมากนัก หากจะลืมไปแล้วว่าการตลาดแบบปากต่อปาก ทำกันอย่างไร ก็อาจจะรื้อฟื้นวิธีการที่เคยทำกันมาแต่เดิม เช่น การนำสินค้าออกตั้งโชว์ในสถานที่ต่าง ๆ การสาธิตวิธีการใช้สินค้า การสื่อสารแบบนำเสนอด้วยบุคคล ฯลฯ

อ้างอิงจากเว็บไซต์  http://www.ksmecare.com

ไม่มีความคิดเห็น: