หน้าเว็บ

นางสาวนงลักษณ์ พลจันทร์ การจัดการทั่วไป ปี 4 รหัส5210125401056


บทที่ 10 การแข่งขันในตลาดโลกและการปรับตัวเพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน

การตลาดปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงจากเดิมซึ่งสืบเนื่องจากแรงผลักดันของสังคมแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงที่สังเกตได้ชัดเจนมี 2 ประเด็น คือ
1.ผู้บริโภคปัจจุบันมีความคาดหวังสูงมากขึ้นในคุณภาพ การบริการและต้องการสินค้าที่เฉพาะตัวมากขึ้น
2.สภาพการแข่งขันที่รุนแรง การตลาดในปัจจุบันจึงไม่สามารถจะใช้รูปแบบหรือเครื่องมือการตลาดแบบเดิมๆ อย่างเดียวได้อีกต่อไป แต่ต้องมีการปรับตัวเพื่อรับกระแสการเปลี่ยนแปลง ซึ่งการปรับตัวนี้เกิดขึ้นใน 2 ฝ่าย คือ
2.1 การปรับตัวขององค์การธุรกิจและการปรับตัวของนักการตลาด
- การปรับตัวขององค์กร องค์กรธุรกิจได้ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงด้วยกลยุทธ์และเครื่องมือดังต่อไปนี้
การรื้อปรับระบบ การปรับกระบวนการในการดำเนินงานให้กระชับมากขึ้น มีความรวดเร็วและต้นทุนการดำเนินงานโดยรวมลดลง
การจ้างผู้อื่นผลิต เนื่องจากประหยัดค่าใช้จ่ายในการผลิตและการบริหารงาน
การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ แนวโน้มการเติบโตของธุรกิจที่ซื้อขายผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ซึ่งทำให้ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงข้อมูลและสินค้า/บริการ โดยธุรกิจไม่จำเป็นต้องมีร้านค้า ตู้โชว์สินค้า ฯลฯ
การเปรียบเทียบกับคู่แข่งขัน วิธีการเปรียบเทียบการดำเนินงานของตนกับคู่แข่งขันภายนอก เพื่อปรับปรุงอย่างต่อเนื่องให้ตนเองอยู่ในระดับชั้นแนวหน้าหรือดีเลิศ
พันธมิตรธุรกิจ ความร่วมมือซึ่งกันและกันแม้แต่กับคู่แข่งขันในระดับเดียวกัน
มุ่งทั้งตลาดภายในและตลาดโลก ธุรกิจปัจจุบันมุ่งเน้นการเจาะตลาดทั้งตลาดภายในและตลาดโลกแทนที่จะมุ่งเน้นตลาดภายในอย่างเดียวเหมือนในอดีต
มุ่งเน้นตลาด โดยเน้นที่ตลาดและกลุ่มลูกค้าแทนการบริหารการตลาดแบบเดิมที่เน้นด้านการผลิตภัณฑ์อีกทั้งบุคลากรระดับรองลงมาให้มีอำนาจการตัดสินใจและความคิดสร้างสรรค์
-การปรับตัวของนักการตลาด นักการตลาดโดยสร้างสัมพันธภาพกับลูกค้าเป้าหมายเพื่อผลกำไรระยะยาว
คุณค่าตลอดชีพของลูกค้า ใช้กลยุทธ์ราคาต่ำหรือสร้างคุณค่าเพื่อดึงดูดลูกค้าแม้ว่ากำไรต่อหน่วยต่ำแต่เป็นกำไรในระยะยาว
การตลาดเพื่อกลุ่มเป้าหมาย โดยคำนึงถึงตลาดเป้าหมายให้ชัดเจนและตอบสนองในเกิดความพอใจในกลุ่มเป้าหมายแทนการขายสินค้าในวงกว้างเพื่อทุกๆ คน
ฐานข้อมูลลูกค้า รวบรวมข้อมูล รายละเอียด รสนิยม พฤติกรรมการซื้อและการใช้สินค้าของลูกค้าเพื่อพัฒนาเป็นคลังข้อมูลอันจะเกิดประโยชน์ในการนำเสนอสินค้าให้ตรงกับความต้องการของลูกค้าต่อไป


บทที่ 11 การบริหารจัดการธุรกิจสีเขียวและการวิเคราะห์ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิต
นางสาวนงลักษณ์ พลจันทร์ การจัดการทั่วไป ปี 4 รหัส5210125401056
Green Ocean ผลกำไร &โลกใบสีเขียว
ธุรกิจจากนี้มุ่งหน้าสู่น่านน้ำสีเขียว ดร.พิพัฒน์ ยอดพฤติการ ผู้อำนวยการ สถาบันไทยพัฒน์ กล่าวถึงแนวคิด Green Ocean Strategy ซึ่งเมื่อเร็วๆ นี้ สถาบันไทยพัฒน์ ร่วมมือ กับ บมจ. เนชั่น บรอดแคสติ้ง คอร์ปอเรชั่น (NBC) เปิดตัวกลยุทธ์นี้โดยมีเป้าหมายเพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันให้กับธุรกิจไทย
เขาบอกว่ากลยุทธ์นี้ไม่ได้หมายถึงเงินลงทุนก้อนโต และไม่ได้หมายถึงการเริ่มต้นนับหนึ่งใหม่
เพียงแค่ควรตรวจสอบประเมินองค์กร (Organizational Self-Assessment) ตรงจุดสตาร์ทเสียก่อนว่ามีกรีน หรือสีเขียวในคอนเซ็ปต์ของกลยุทธ์น่านน้ำสีเขียวมากน้อยเพียงไร จากนั้นค่อยมาปรับแต่งเติมจุดที่พร่องหรือเกลี่ยจุดที่มากเพื่อให้เกิดสมดุล
Green Ocean Strategy แบ่งได้เป็น 2 ส่วน ส่วนแรกคือ ระบบ และส่วนที่สองคือ คน
ในเรื่องของ "ระบบ" นั้น มีธรรมาภิบาลสีเขียว (Green Governance) คอยกำกับดูแล ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 3 หมวด ได้แก่ 1.ประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากร (Resource Efficiency) 2.ภาระรับผิดชอบในกระบวนการ (Process Accountability) และ 3.ประสิทธิผลในตัวผลิตภัณฑ์ (Product Effectiveness)

ส่วนเรื่องของ "คน" เป็นเรื่องของการปลูกสร้างอุปนิสัยสีเขียว 7 ประการ (Green Habits) นั่นก็คือ 1. Reduce 2.Reuse 3. Recycle ซึ่งสามข้อแรกนี้ในภาคอุตสาหกรรมและธุรกิจเป็นที่คุ้นเคยกันดีอยู่แล้วมาบวกเข้ากับ 4. Rethink 5. Recondition 6. Refuse และ 7.Return
"สถาบันของเราจะขับเคลื่อน Green Ocean คู่ไปกับ CSR ภายหลังที่เผยแพร่เรื่องนี้ออกไปหากองค์กรใดต้องการให้เราไปศึกษากรณีตัวอย่างเราก็จะไปเก็บเคสในเชิงวิชาการ ภายหลังกระบวนการดังกล่าวก็จะเกิดเป็นบทความทางวิชาการ เป็นหนังสือที่สามารถเผยแพร่ให้สังคมรับรู้ในวงกว้าง"
ก็เพราะไทยพัฒน์ฯ หวังจะเป็นหนึ่งในฟันเฟืองที่ช่วยหนุนธุรกิจไทยให้ก้าวไปแข่งขันได้ในเวทีโลก..ซึ่งในวินาทีนี้เต็มไปด้วยความคาดหวังให้องค์กรธุรกิจทำกำไรไปพร้อมๆ กับช่วยทำให้โลกใบนี้น่าอยู่มากขึ้น.. อย่างสมศักดิ์ศรี
อ้างอิง http://www.nationejobs.com/content/manage/concept/template.php?conno=1055 กลอย

ไม่มีความคิดเห็น: