หน้าเว็บ

สุนิสา ปิ่นชูทอง sunisa_anne33@hotmail.co.th



แนวความคิดระบบราชการของ Max Weber

เป็นบุคคลแรกที่สร้างองค์การโดยนำโครงสร้างของระบบทหารหรือระบบราชการมาใช้ ทำให้องค์การมีลักษณะที่มีกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ หรือมีระเบียบแบบแผน มีสายการบังคับบัญชา ไม่มีความยืดหยุ่น การบริหารองค์การมักเป็นขั้นตอนโดยเริ่มจากการวางแผน ลงมือปฏิบัติและควบคุม ภายหลังทฤษฎีของ Max ได้ถูกปฏิเสธโดย คาร์ล วิค แห่งมหาวิทยาลัยคอร์เนล โดยคาร์ล วิล เห็นว่า การนำเอาโครงสร้างแบบทหารมาใช้ทำให้การปรับปรุงพัฒนาองค์การไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร การอยู่ใต้กรอบการบังคับบัญชาจะทำให้ไม่อาจค้นพบการปฏิบัติงานในรูปแบบใหม่ ๆ ได้ และ เจมส์ มาร์ช แห่งมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ยังได้ปฏิเสธทฤษฎีของ Max โดยให้ความเห็นว่า องค์การเปรียบเสมือนกระป๋องขยะ ทุกคนในองค์การสามารถรับผิดชอบตัวเองได้ ต่างคนต่างทำงานก็สามารถทำให้องค์การประสบความสำเร็จได้โดยไม่ต้องมีแบบแผน กล่าวคือ ใช้หลักการลงมือทำก่อนคิด

Max Weber ชาวเยอรมัน ซึ่งได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาทางด้านวิชาการบริหารรัฐกิจได้เสนอหลักการบริหารที่สำคัญ คือ

1. การบริหารควรจัดเป็นระบบสำนักงานหรือระบบราชการ จะเพิ่มประสิทธิภาพได้ดีกว่าระบบอื่น

2. ควรจัดองค์การแบบราชการในอุดมคติ(Ideal Bureaucracy) โดยใช้อำนาจตามสายการบังคับบัญชาในแบบราชการหรือสำนักงาน จะพบว่าเจ้าหน้าที่จะเก็บเอกสารใส่แฟ้มและผูกเชือกสีแดงอันเป็นสัญลักษณ์ของความล่าช้า ที่เคยได้ยืนเสมอว่า “Red Tape”


แนวคิดของ Max Weber จะประกอบด้วยโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ 7 ประการดังนี้


1. หลักลำดับขั้น (heirachy)

หลักการนี้ มีเป้าหมายที่จะทำให้องค์การต้องอยู่ภายใต้การควบคุม โดยเชื่อว่า การบริหารที่มีลำดับขั้น จะทำให้ระบบการสั่งการและการควบคุมมีความรัดกุม ทำให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพการบริหารที่เน้นกฎเกณฑ์และขั้นตอนมีความเหมาะสมในช่วงศตวรรษที่ 19-20 แต่เมื่อสถานการณ์โลกเปลี่ยนไปการบริหาร

ตามลำดับขั้นจึงเริ่มมีปัญหา เพราะการทำงานในปัจจุบันต้องการความรวดเร็ว คนต้องการเสรีภาพมากขึ้นประชาชนต้องการบริการที่สะดวกรวดเร็ว แต่ในองค์การขนาดใหญ่ที่ใช้ระบบราชการ มีคนจำนวนมาก แต่มากกว่าครึ่งจะอยู่ในตำแหน่งระดับผู้บริหาร หัวหน้างาน กว่าจะตัดสินใจงานสำคัญๆต้องรอให้ผู้บริหาร 7-8 คนเซ็นอนุมัติตามขั้นตอน และยังมีกฎเกณฑ์มากมาก ส่วนพนักงาน (ข้าราชการ) ระดับล่างจำนวนมาก ทั้งหมดมีหน้าทีทำงานเอกสาร โดยการตรวจบันทึกของคนอื่นแล้วเขียนบันทึกส่งให้เจ้านาย คำบันทึกหรือรายงานเต็มไปด้วยศัพท์อันหรูหรา นอกจากนี้ยังมีฝ่ายวางแผน ฝ่ายวิชาการ เป็นผู้จัดทำแผนยุทธศาสตร์หนาปึกใหญ่ให้เจ้านาย

การที่ผู้นำคิดว่า วิธีการบริหารองค์การขนาดใหญ่คือ เผด็จการ ถือเป็นความเชื่อที่ผิดมาก เพราะผู้บริหารสูงสุดไม่ได้รู้คำตอบได้ทุกเรื่อง แต่ควรมองหาคำตอบที่ดี ถูกต้องจากผู้อื่นด้วย การลดขั้นตอน ลดลำดับขั้นของการสั่งการออกไป ในขณะที่รักษาความสามารถในการควบคุมที่จำเป็นไว้ โดยการตัดขั้นตอนของผู้บริหารที่ไม่เพิ่มมูลค่าให้กับงานออก เพื่อจัดองค์การที่เป็นแนวราบมากขึ้น และทำให้คนที่ทำงานในระดับรอง ๆ ลงมาสามารถควบคุมดูแลและรับผิดชอบต่อความสำเร็จและความล้มเหลวของตนเอง


2. ความสำนึกแห่งความรับผิดชอบ (responsibility)
เจ้าหน้าที่ทุกคนต้องมีความสำนึกแห่งความรับผิดชอบต่อ การกระทำของตนความรับผิดชอบ หมายถึง การ รับผิดและรับชอบต่อการกระทำใด ๆ ที่ (responsibility) ตนได้กระทำลงไปและความพร้อมที่ จะให้มีการตรวจสอบโดยผู้บังคับบัญชาอยู่ตลอดเวลาด้วย
อำนาจ (authority) หมายถึงความสามารถในการสั่งการ บังคับบัญชา หรือกระทำการใด ๆ เพื่อให้มีการดำเนินการ หรือปฏิบัติการต่าง ๆ ตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายมา
- อำนาจหน้าที่เป็นสิ่งที่ได้มาอย่างเป็นทางการตามตำแหน่ง
- อำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบจะต้องมีความสมดุลกันเสมอ
- การได้มาซึ่งอำนาจในทัศนะของ Max Weber คือ การได้อำนาจมาตามกฎหมาย (legal authority)
- ภาระหน้าที่ (duty) หมายถึงภารกิจหน้าที่การงานที่ถูกกำหนด หรือได้รับมอบหมายให้กระทำ


3. หลักแห่งความสมเหตุสมผล (rationality)
ความถูกต้องเหมาะสมของแนวปฏิบัติที่จะนำมาใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานให้บรรลุผลอย่างมีประสิทธิภาพ
ประสิทธิผล (effective) การทำงานหรือการดำเนินกิจการใด ๆ ที่สามารถประสบผลสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนดไว้
ประสิทธิภาพ (efficiency) ความสามารถในการที่จะใช้ทรัพยากรบริหารต่าง ๆ ที่มีอยู่ ซึ่งได้แก่ คน เงิน วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องใช้ เวลาไปในทางที่จะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการดำเนินงานนั้นได้มากที่สุด
ประหยัด (economic) ความสามารถในการที่จะประหยัดทรัพยากรบริหาร แต่สามารถที่จะให้บริการ หรือผลิตออกมาให้ได้ระดับเดิม
การประเมินผลการปฏิบัติงาน ที่มีความเกี่ยวพันกับเป้าหมาย ขององค์การอาจทำได้ 2 วิธีคือ


1. การวัดผลการปฏิบัติงานในลักษณะที่เรียกว่า ประสิทธิผล (effectiveness) จะเป็นการกำหนดขอบเขต หรือ ขนาดที่องค์การต้องการบรรลุผลสำเร็จไว้ แล้วมีการประเมินผลหลังจากที่มีการปฏิบัติแล้วว่าสามารถดำเนินการให้ได้ผลตามเป้าหมายที่กำหนดไว้หรือไม่ ถ้าสำเร็จก็คือว่าบรรลุเป้าหมาย หรือ มีประสิทธิผล (where)

2. การวัดประสิทธิภาพ (efficiency) หมายถึงระดับที่องค์การใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์ เป็นการวัดผลในทางเศรษฐศาสตร์ มีการวัดต้นทุน ค่าใช้จ่ายต่อหน่วยผลิตที่ได้ เป็นการวัดว่าองค์การบรรลุเป้าหมายได้อย่างไร (how)


แนวทางที่จะนำไปสู่ความสมเหตุสมผลหรือประสิทธิภาพ
1. มีการกำหนดระเบียบวิธีการปฏิบัติงาน ขึ้นมาไว้อย่างชัดเจนในรูปของกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับขององค์การ
Weber ให้ความสำคัญกับกระบวนการทำงาน (work process) ว่ามีความสำคัญต่อการที่จะทำให้งานบรรลุผลอย่างมีประสิทธิภาพ (work outcome) เพราะวิธีการทำงานแสดงให้เห็นว่า จะทำงาน อย่างไร (how to) โดยวิธีการใดจึงทำให้งานสำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพ
มาตรการพัฒนาและบริหารกำลังคนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพระบบราชการ (มาตรการที่3)
วัตถุประสงค์ คือ
1.1 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพระบบราชการให้สามารถทำงานได้อย่างเต็มที่ โดยมุ่งตอนสนองความต้องการของประชาชน
1.2 เพื่อพัฒนาข้าราชการที่มีประสิทธิภาพการทำงานต่ำ (5%) ได้รับการพัฒนาเพิ่มทักษะ ความรู้ ความสามารถให้สามารถทำงานได้อย่างเต็มที่
ประสิทธิภาพ (outcome)
1.1 สามารถคัดคนที่ทำงานไม่มีประสิทธิภาพ มีผลงานระดับต่ำสุดร้อยละ 5 ของหน่วยงานออกมาได้อย่างแท้จริง
1.2 สามารถแก้ไขและพัฒนาข้าราชการที่ถูกพิจารณาว่ามีผลงานต่ำ ทำงานไม่มีประสิทธิภาพ ให้กลายเป็นคนที่มีความสามารถทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ ลดละพฤติกรรมทำงานแบบเฉื่อยชา เอาเปรียบเพื่อนร่วมงาน เพื่อให้มาตรการที่ 3 สามารถถูกนำไปปฏิบัติได้ผลอย่างมีประสิทธิภาพ ต้องกำหนด ระเบียบวิธีปฏิบัติที่ ชัดเจน เหมาะสม และสามารถนำไป
2. มีการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานให้เกิดความรู้ความเข้าใจอย่างถูกต้อง ก่อนมอบหมายภาระหน้าที่ให้กระทำ
3. ต้องมีการแยกทรัพย์สินส่วนตัวออกจากทรัพย์สินขององค์การอย่างเด็ดขาด
- ตำแหน่งงานที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการรักษาความยุติธรรมในสังคม และต้องการความอิสระในการปฏิบัติงาน ต้องมีการแต่งตั้งด้วยความระมัดระวังการกระทำต่างๆในองค์การต้องทำอย่างเป็นทางการและมีหลักฐานเป็นลายลักษณ์อักษรเสมอ การบริหารที่เน้นกฎเกณฑ์ เอกสารหลักฐาน ทำให้เกิดความล่าช้า ยุ่งยากไม่สามารถตอบสนองความต้องการได้



ทำอย่างไรจึงสามารถลดขั้นตอนที่ไม่จำเป็นออกเพื่อทำให้การทำงานเรียบง่าย รวดเร็ว มั่นใจ
ความรวดเร็ว-การลดปริมาณกระดาษที่ใช้ ปริมาณงานที่ทำ หรือการทำให้คนตัดสินใจได้เร็วขึ้นเรียบง่าย – กระบวนการทำงานที่ไม่มีขั้นตอนที่ซับซ้อน แต่ออกแบบให้ง่าย มีกฎเกณฑ์ ขั้นตอนเท่าที่จำเป็น
มั่นใจ-การสร้างบรรยากาศที่ให้โอกาสข้าราชการ (พนักงาน) ทำงานด้วยความมั่นใจ กล้าคิดและทำในสิ่งที่ถูกต้อง เพื่อผลประโยชน์สูงสุดขององค์การ ทำงานเพื่องาน ไม่ใช่เพื่อให้มีผลงาน


4. หลักการมุ่งสู่ผลสำเร็จ (achievement orientation)
- การปฏิบัติงานใด ๆ จะต้องมุ่งสู่เป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ขององค์การเสมอ (ประสิทธิผล)
- ประสิทธิผล หรือผลสำเร็จจะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยปัจจัยอย่างน้อย 3 อย่างคือ
1. เจ้าหน้าที่ต้องมีหลักการและวิธีการในการตัดสินใจเลือกหนทางปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง โดยถือหลัก ประสิทธิภาพ หรือ หลักประหยัด
หลักประสิทธิภาพ (efficiency) - ในระหว่างทางเลือกหลาย ๆ ทางที่จะต้องใช้จ่ายเงินเท่ากัน ควรเลือกทางเลือกที่ก่อให้เกิดประสิทธิผลสูงสุด
หลักประหยัด (economy) - ถ้ามีทางเลือกที่ก่อให้เกิดประสิทธิผลได้เท่า ๆ กัน หลายทางเลือก ควรเลือกทางเลือกที่เสียค่าใช้จ่ายน้อยที่สุด
2. ความมีประสิทธิผลในการบริหารงานจะเกิดขึ้นต่อเมื่อมีการแบ่งงานกันทำตามความชำนาญเฉพาะด้าน
3. การบริหารจะได้รับประสิทธิผลสูงสุดต่อเมื่อมีการกำหนดวิธีการปฏิบัติงานที่ถูกต้อง เหมาะสม กับลักษณะงาน สถานที่ ช่วงเวลา สภาพแวดล้อม ในทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และเป้าหมายหรือผลสำเร็จที่ต้องการ


5. หลักการทำให้เกิดความแตกต่างหรือการมีความชำนาญเฉพาะด้าน (Specialization)
- ลักษณะทางโครงสร้างขององค์การแบบระบบราชการ ต้องมีการแบ่งงาน และจัดแผนกงาน หรือจัดส่วนงาน (departmentation) ขึ้นมา เพราะภารกิจการงานขององค์การขนาดใหญ่มีจำนวนมากจึงต้องมีการแบ่งงานที่ต้องทำออกเป็นส่วนๆ แล้วหน่วยงานมารองรับ

การจัดส่วนงานอาจยึดหลักการจัดองค์การได้หลายรูปแบบ คือ
1. การแบ่งส่วนงานตามพื้นที่ เป็นการแบ่งงานโดยการกำหนดพื้นที่ที่ต้องรับผิดชอบไว้อย่างชัดเจน และมีการกำหนดภาระกิจ บทบาท อำนาจหน้าที่ ที่องค์การต้องบริหารจัดการไว้ด้วย เช่น การแบ่งพื้นที่การบริหารราชการออกเป็น จังหวัด อำเภอ อ.บ.จ. อ.บ.ต. เทศบาล

2. การแบ่งงานตามหน้าที่ หรือภารกิจที่องค์การจะต้องปฏิบัติจัดทำ เช่นการจัดแบ่งงานของกระทรวงต่างๆ เช่น กระทรวงกลาโหม กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงการคลัง
3. การแบ่งงานตามลูกค้า หรือผู้รับบริการ เช่น การแบ่งโรงพยาบาล ออกเป็น โรงพยาบาลเด็ก โรงพยาบาลหญิง โรงพยาบาลสงฆ์
4. การแบ่งงานตามขั้นตอนหรือกระบวนการทำงาน โดยคำนึงว่างานที่จะทำสามารถแบ่งออกเป็นกี่ขั้นตอน อะไรบ้าง แล้วกำหนดหน่วยงานมารองรับ


6. หลักระเบียบวินัย (discipline)
ต้องมีการกำหนดระเบียบ วินัย และบทลงโทษ ขึ้นมาเพื่อเป็นกลไกการควบคุมความประพฤติของสมาชิกทุกคนในองค์การ


7. ความเป็นวิชาชีพ (Professionalization)
- ผู้ปฏิบัติงานในองค์การราชการ ถือเป็นอาชีพอย่างหนึ่ง และต้องปฏิบัติงานเต็มเวลา
- ความเป็นวิชาชีพ “รับราชการ” นั้น ผู้ปฏิบัติงานจะต้องมีความรู้เกี่ยวกับ กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ตลอดจนตัวบทกฎหมายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานในภาระหน้าที่ของตนด้วย

สรุปข้อดีและข้อเสียของการบริหารงานระบบราชการ

ข้อดี

1) สร้างความชัดเจนในการทำงานโดยเน้นการแบ่งงานกันทำเฉพาะด้าน

2) ระบบของโครงสร้างขององค์การมีความชัดเจน เนื่องจากอำนาจหน้าที่ได้ถูกจัดสรร และจัดระเบียบให้ลดหลั่นลงมาเป็นลำดับชั้นอย่างชัดเจนไม่เกิดความสับสนในบทบาทและหน้าที่

3) มีความมั่นคงและมีความชัดเจน เนื่องจากการดำเนินการให้ระบบของกฎและความมีเหตุผล และการจดบันทึกเป็นหลักฐาน การตัดสินใจต่าง ๆ อยู่บนพื้นฐานของหลักการที่ถูกต้องมากว่าความคิดส่วนตัวหรือดุลยพินิจ

4) สนับสนุนระบบประชาธิปไตยในองค์กร



ข้อเสีย

1) เน้นให้ความสำคัญที่กฎ โดยบุคคลจะต้องปรับพฤติกรรมและบุคลิกภาพไปตามความต้องการของระเบียบมาตรฐานที่กำหนดไว้ จึงทำให้ขาดความกระตือรือร้นในการทำงาน โดยมุ่งทำเพียงแค่มาตรฐานเท่านั้น

2) ขาดความคล่องตัวและยืดหยุ่น เนื่องจากกฎระเบียบมาตรฐานที่ตายตัว

3) เสียค่าใช้จ่ายสูงเนื่องจากการพยายามรักษากฎระเบียบซึ่งจะทำให้ระบบการทำงานซ้ำซ้อนและล่าช้า

4) ขาดการประสานงานในภาพรวมทั้งองค์การ เนื่องจากการแบ่งงานกันทำเฉพาะด้าน เฉพาะหน่วย



น.ส.สุนิสา ปิ่นชูทอง รหัส 5130125401212 การจัดการทั่วไป



ที่มา:

ศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2545). ทฤษฏีองค์การ. กรุงเทพฯ : ธรรมสาร.

ชาญชัย อาจินสมาจาร. (2551). ทฤษฏีการบริหารตามแนวคิดของปราชญ์ตะวันตก. กรุงเทพฯ :

ปัญญาชน

วิเชียร วิทยอุดม .(2554).ทฤษฎีองค์การ (ฉบับแนวใหม่).พิมพ์ครั้งที่ 2. ธนธัชการพิมพ์: กรุงเทพฯ.

ภาพร (ศิริอร) ขันธหัตถ์.(2549). องค์การและการจัดการ.(ฉบับปรับปรุง). พิมพ์ครั้งที่ 8.กรุงเทพฯ :

ทิพยวิสุทธิ์

http://www.idis.ru.ac.th/report/index.php?topic=1602.0

นางสาวกอบทอง 5130125401224



แนวความคิดทางการจัดการ แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท

แนวความคิดแบบเก่า (old concept)

ในสมัยก่อนการบังคับบัญชาถือเอาความคิดของหัวหน้างานเป็นหลัก การบริหารเป็นไปโดยปราศจากเหตุผล แต่ใช้หลักความรุนแรง เคร่งครัด ผู้ใต้บังคับบัญชาต้องปฏิบัติตามคำสั่งของหัวหน้างานอย่างเคร่งครัดโดยไม่คำนึงถึงความคิดเป็นส่วนตัวของแต่ละบุคคลจากการใช้หลักการของแนวความคิดแบบเก่านี้จะเป็นว่า ทุกอย่างขึ้นอยู่กับอำนาจ สายการบังคับบัญชาจะมาจากเบื้องบนเสมอ โดยนายจ้างเป็นผู้ออกคำสั่งแต่เพียงผู้เดียว ผู้ใต้บังคับบัญชาไม่มีสิทธิ์แสดงความคิดเป็นใด ๆ การตัดสินใจอยู่ที่ส่วนกลางไม่มีการกระจายอำนาจผู้บังคับบัญชาสมัยเก่ามักจะคิดว่าการจูงใจให้บุคคลทำงานนั้นขึ้นอยู่กับพื้นฐานทางเศรษฐกิจ คือ เงินเพียงอย่างเดียว จึงไม่ได้ให้ความสนใจในเรื่องสวัสดิการและความปลอดภัยในการดำเนินงานแต่อย่างใด
แนวความคิดแบบใหม่ (modern concept)

ทัศนะของนายจ้างต่อลูกจ้างเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม นายจ้างมองลูกจ้างในแง่ดีให้วามสำคัญต่อลูกจ้างและมีความไว้วางใจผู้ใต้บังคับบัญชานอกจากนี้ยังนำเอาทฤษฎีเกี่ยวกับการจูงใจมาใช้ประโยชน์ ในหลักการเกี่ยวกับแนวความคิดแบบใหม่ถือว่าบุคคลมีความรับผิดชอบ มีความคิดริเริ่ม มีความต้องการและเต็มใจจะทำงานร่วมกัน มีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย เปิดโอกาสให้คนทำงานอย่างมีประสิทธิภาพโดยใช้ระบบการควบคุมตนเองการจูงใจคนให้ทำงานไม่ได้ใช้เงินเป็นปัจจัยสำคัญแต่เพียงอย่างเดียว ต้องมีสิ่งจูงใจที่ไม่ใช่ตัวเงินเกี่ยวข้องด้วย

วิวัฒนาการทางการจัดการ

การจัดการ หรือ การบริหาร อาจจะกล่าวได้ว่าเป็นเรื่องที่แทบจะเกิดขึ้นพร้อมกับอารยธรรมมนุษย์ไม่ว่าเราจะสืบเรื่องราวที่เก่าแก่ในอดีตเพียงใด เราก็จะพบว่าเมื่อมีกลุ่มก็จะมีผู้นำ มีหัวหน้า หรือมีกษัตริย์ซึ่งจะต้องดำเนินบทบาทเป็นแกนนำของกลุ่ม เพื่อให้กลุ่มของตนดำรงค์อยู่ได้ด้วยความเป็นระเบียบ สามารถดำรงค์ฐานะความเป็นกลุ่มให้คงอยู่เอาไว้อย่างเหนียวแน่น แต่การศึกษาเป็นทฤษฎี และหลักเกณฑ์ทางการจัดการที่มีรูปแบบเพิ่งจะเริ่มขึ้นเมื่อไม่นานมานี้ คือราวศตวรรษที่ 18 ภายหลังจากการปฏิบัติอุตสาหกรรมการปฏิวัติอุตสาหกรรม (industrial revolution) หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วในการผลิตสินค้าอุตสาหกรรม โดยเปลี่ยนจากการผลิตในระบบช่างฝีมือมาเป็นการผลิตด้วยเครื่องจักรอันเป็นผลที่เกิดจากการที่มนุษย์สามารถคิดค้นพัฒนาเครื่องจักรต่าง ๆ ขึ้นใช้แทนแรงงานคนและแรงงานสัตว์ ทำให้สามรถเพิ่มประสิทธิภาพในการเพิ่มผลผลิตได้อย่างมหาศาล การปฏิวัติอุตสาหกรรมเกิดขึ้นในยุโรปตะวันตกประมาณ ค.ศ. 1760-1830 ได้มีการดัดแปลงเครื่องจักรมาใช้ในอุตสาหกรรมหลายประเภท เช่น อุตสาหกรรมทอผ้า โดยในปี ค.ศ. 1733 จอร์น เคย์ (John Kay) ได้ประดิษฐ์กระสวยบิน (flying shuttle) เป็นกระสวยที่ผูกติดใว้กับเชือกแล้วใช้วิธีกระตุกเชือกให้กระสวยพุ่งไปมาแทนการใช้คน ซึ่งทำให้การทอผ้ารวดเร็วขึ้นได้ผ้าหน้ากว้างขึ้น ผลของการปฏิวัติอุตสาหกรรมประการหนึ่งก็คือ ระบบอุตสาหกรรมครัวเรือน (domestic system) ได้สลายตัวไปและเกิดระบบโรงงาน (factory system) เข้าแทนที่ เนื่องจากการผลิตแบบใหม่โดยใช้เครื่องจักรที่มีการลงทุนมหาศาล การผลิตได้ทีละมาก ๆ (mass production) เพื่อให้สามารถรองรับกับปริมาณการบริโภคที่เพิ่มขึ้น เกิดความต้องการแรงงานมากขึ้น เพื่อรองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรม สมาชิกครัวเรือนต่างเคลื่อนเข้าสู่การจ้างงานในโรงงาน โดยได้รับค่าจ้างเป็นผลตอบแทนจากการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ธุรกิจจึงมีการทำงานที่ซับซ้อนยุ่งยากมากขึ้น และต้องเผชิญกับสภาวะการแข่งขันที่รุนแรงเพิ่มขึ้น ดังนั้นการบริหารจัดการองค์การอย่างมีรูปแบบ จึงมีความจำเป็นและได้ถูกพัฒนาขึ้นมาเป็นแนวความคิดการจัดการและได้มีการปรับปรุงเพื่อให้สามารถใช้ในการบริหารจัดการองค์การได้อย่างมีประสิทธิภาพเป็นลำดับWilliam G. Scott ได้แบ่งวิวัฒนาการทางการจัดการ ตั้งแต่เริ่มแรกหลังการปฏิวัติอุตสาหกรรมจนถึงปัจจุบันอาจจะแบ่งออกได้เป็น 3 ยุค คือ

ยุคที่ 1 ยุคการจัดการสมัยเดิม (classic) (ค.ศ. 1880 – 1930)

1.1 แนวความคิดการจัดการที่มีหลักเกณฑ์ (Scientific Management)เจ้าของทฤษฎีคือ Frederick W.Taylor (1880-1915) โดยมุ่งศึกษาและวิเคราะห์เกี่ยวกับเรื่อง เวลา และการเคลื่อนไหว หรือ "time and motion study" และได้ชื่อว่าเป็นบิดาของการจัดการแบบวิทยาศาสตร์ ในทัศนะของ Taylor เห็นว่าการปรับปรุงประสิทธิภาพของการทำงานให้ดีขึ้น ถ้าได้มีการกำหนดวิธีการทำงานให้ดีขึ้น ถ้าได้มีการกำหนดวิธีการทำงานที่ดีที่สุดวิธีเดียว และทั้งนายจ้างและลูกจ้างจะได้รับผลประโยชน์ร่วมกัน

ยุคที่ 2 ยุคการจัดการสมัยใหม่ (Neo-classic) (ค.ศ. 1930-1950)

แนวความคิดการจัดการตามแนวมนุษย์สัมพันธ์ (Human Relation)

เจ้าของแนวความคิดหรือทฤษฎี ได้แก่ Elton Mayo นักจิตวิทยาชาวสหรัฐอเมริกาเรียกว่าวิจัยที่เป็นผลงานเป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดีว่า "Hawthorne study" หรือ "Hawthorne experiment" ซึ่งจากการศึกษาของ Mayo สรุปได้โดยธรรมชาติของมนุษย์จะมีพฤติกรรม 2 แบบคือ

1. พฤติกรรมที่เป็นไปตามเหตุผล

2. พฤติกรรมที่เป็นไปตามอารมณ์ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่เกิดขึ้นอย่างไม่มีเหตุผล

ดังนั้น ในการที่ให้ปัจจัยผลตอบแทนหรือค่าจ้างสูง เพื่อให้คนงานเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานสูงซึ่งถือว่าเป็นพฤติกรรมที่เป็นไปตามเหตุผลอาจจะเป็นความเข้าในที่ไม่ถูกต้องทั้งหมดเนื่องมาจากมนุษย์ไม่ใช่เครื่องจักรมนุษย์มีจิตใจและความรู้สึก มีความแปรปรวนทางด้านอารมณ์ ดังนั้น ปัจจัยจูงใจที่เป็นตัวเงินเพียงอย่างเดียวนั้นไม่เพียงพอต่อการใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน หรือเพิ่มผลผลิต ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่เป็นปัจจัยที่ใช้ตอนสนองเรื่องราวทางด้านจิตใจ และความสัมพันธ์ทางสังคมระหว่างกันนอกจากนี้ Mayo ยังได้ศึกษาในลำดับต่อมาเกี่ยวกับเรื่อง ลักษณะของผู้นำ (leadership) การพัฒนาพนักงาน (employee development) และการติดต่อสื่อสาร (communication)

ยุคที่ 3 ยุคการจัดการสมัยปัจจุบัน (Modern) (ค.ศ. 1950-ปัจจุบัน

1. แนวความคิดการจัดการโดยใช้คณิตศาสตร์เพื่อช่วยในการตัดสินใจ เป็นแนวความคิดที่ใช้ตัวเลขเป็นเครื่องมือในการบริหารและการตัดสินใจ โดยมีการพยายามปรับข้อมูลต่าง ๆ ให้เป็นตัวเลข และนำตัวเลขเหล่านั้นผ่านกระบวนการคำนวณทางคณิตศาสตร์และตัวเลขที่เป็นผลลัพธ์จะนำไปสู่การวิเคราะห์ ตีความ และแปรความหมาย และจะนำไปใช้ประกอบในการตัดสินใจของผู้บริหาร อย่างไรก็ตามการใช้ตัวเลขหรือสูตรคำนวณต่าง ๆ ที่เป็นกระบวนการทางคณิตศาสตร์นั้น มีข้อจำกัดและมีข้อยกเว้นมากซึ่งข้อจำกันที่เป็นข้อยกเว้นเหล่านี้แท้จริงแล้วเป็นสิ่งที่เกี่ยวข้อง และมีอิทธิพลที่สำคัญในการที่จะต้องพิจารณาประกอบในการบริหารงานและการตัดสินใจ
แต่อย่างไรก็ตาม ตัวเลขที่ผ่านการประมวลทางคณิตศาสตร์ออกมาเป็นผลลัพธ์จะใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพเพียงใดนั้น ก็ขึ้นอยู่กับความสามารถของผู้วิเคราะห์ที่จะต้องคำนึงถึงปัจจัยแวดล้อมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องและจะต้องนำมาพิจารณาประกอบกับผลลัพธที่เป็นตัวเบบอย่างสมเหตุสมผล

2. แนวความคิดการจัดการเชิงระบบแนวความคิดการจัดการเชิงระบบ โดย Norbert Wiener (ค.ศ. 1958) เป็นการนำเอาแนวคิดเกี่ยวกับระบบ (system) มาประยุกต์ใช้ ซึ่งการที่จะเข้าใจแนวความคิดนี้ได้ดีนั้นจะต้องมีความเข้าใจเกี่ยวกับระบบในอันดับแรกก่อนระบบ (system) คือ ส่วนต่าง ๆ จำนวนหนึ่ง ซึ่งสัมพันธ์และขึ้นอยู่ต่อกันเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันเพื่อกระทำงานสิ่งบางอย่างให้สำเร็จผลตามต้องการ

อ้างอิง : มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น. 2547. วิวัฒนาการของแนวคิดทางการจัดการ.

[Online]./Available:URL:http://www.fareastern.ac.th/acad/mk/sirinapha/management/chapter3.htm

สุชาดา มณีโชติ suchada_lek19@hotmail.co.th


ขอบเขต และความหมายของการบริหารการจัดการ
บริบทที่สำคัญประการหนึ่งของนักบริหาร คือการจัดการ หรือการบริหารองค์การ ให้สามารถอยู่ได้อย่างมีเสถียรภาพ ภายใต้สภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง โดยรวบรวมเอากลุ่มกิจกรรมต่าง ๆ ขององค์การ นำไปสู่การปฏิบัติเพื่อความสำเร็จในเป้าหมาย โดยคำนึงถึงความมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และความประหยัด
ความหมายขององค์การ
Chester I. Barnard กล่าวว่า องค์การคือ ระบบที่บุคคลสองคนหรือมากกว่าร่วมแรงร่วมใจกันทำงานอย่างมีจิตสำนึก
Herbert G. Hicks กล่าวว่า องค์การคือ กระบวนการจัดโครงสร้างให้บุคคลเกิดปฏิสัมพันธ์ ในการทำงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การ องค์การคือ กลุ่มบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป รวมกันขึ้นเพื่อที่จะดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ โดยที่บุคคลคนเดียวไม่สามารถดำเนินการให้สำเร็จได้โดยลำพัง ซึ่งเราจะพบว่าองค์การจะเกิดขึ้นและมีอยู่ในสังคมมนุษย์ทุกหนทุกแห่ง และองค์การก็เป็นเครื่องมือสำหรับการดำเนินการให้เป็นไปตามเป้าหมายและความสำเร็จ
ดังนั้นการจัดการ (Management) หรือการบริหาร (Administration) 2 คำนี้จึงเป็นคำที่คนส่วนใหญ่คุ้นเคยและใช้กันอยู่เสมออย่างกว้างขวาง จึงมีความหมายคล้ายคลึงกันและใช้ทดแทนกันอยู่เสมอ เพราะฉะนั้นการจัดการ (Management) คือ การจัดการภาระกิจภายในองค์การให้บรรลุวัตถุประสงค์และเป็นไปตามนโยบายแผนงานที่ได้กำหนดไว้หรือการจัดการหมายถึง ภาระกิจของบุคคลหนึ่งบุคคลใด หรือหลายคนที่เข้ามาทำหน้าที่ประสานให้การทำงานของแต่ละบุคคลที่ต่างฝ่ายต่างทำไม่สามารถบรรลุผลสำเร็จได้ ส่วนการบริหาร (Administration) หมายถึง การบริหารที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการในระดับและแผนงาน ซึ่งส่วนใหญ่ใช้กับการบริหารในภาครัฐหรือองค์การขนาดใหญ่ จากความเห็นของนักวิชาการต่อคำทั้ง 2 จะเห็นได้ว่ามีความแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับเจตนารมณ์ของผู้ใช้ว่าจะมีความเหมาะสมไปในทางใด ซึ่งอาจใช้คำทั้ง 2 แทนกันได้

นายนพดล ถนอมนวล รหัส 225 การจัดการทั่วไป กศ.พบ รุ่น19



การวิเคราะห์สถานการณ์ในปัจจุบัน (SWOT ANALYSIS)

ในสถานการณ์ปัจจุบันผู้ประกอบการควรได้เริ่มวิเคราะห์สถานการณ์ด้วยการวิเคราะห์ปัจจัยสภาพแวดล้อมทาง
ธุรกิจ การวิเคราะห์สถานการณ์ที่เรียกกันว่า “SWOT ANALYSIS” แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ
1. การวิเคราะห์ปัจจัยภายใน เป็นการตรวจสอบความสามารถ ความพร้อมของกิจการในด้านต่าง ๆ โดยมุ่งเน้น
ในส่วนที่เป็นจุดแข็ง (Strengths) และจุดอ่อน (Weaknesses) ของกิจการ

2. การวิเคราะห์ปัจจัยภายนอก เป็นการประเมินสภาพแวดล้อมที่ ผู้ประกอบการไม่สามารถควบคุมหรือเปลี่ยน
แปลงได้ ในลักษณะที่เป็นโอกาส (Opportunities) หรืออุปสรรค(Threats)ปัจจัยภายนอกเนื่องจากเป็น ปัจจัยที่
ผู้ประกอบการไม่สามารถควบคุมได้โดยทั่วไปปัจจัยภายนอกที่มีความสำคัญที่ผู้ประกอบการควรจะต้องให้ความ
สนใจ มี 7 ประการ สามารถเรียกง่าย ๆ ว่า "MC-STEPS" โดยมีความหมายพอสรุปได้ ดังนี้

M = Market คือ กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย

C = Competition คือ สถานการณ์การแข่งขัน

S = Social คือ ค่านิยมทางวัฒนธรรมของสังคม เช่น การใช้สินค้าที่มียี่ห้อ

T = Technology คือ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี

E = Economic คือ สถานการณ์

P = Political & Legal คือ สถานการณ์ของการเปลี่ยนแปลงเรื่องกฎ ระเบียบต่าง ๆ

S = Suppliers คือ กลุ่มผู้จำหน่ายวัตถุดิบ / กลุ่มผู้ผลิตและเครือข่าย



แหล่งที่มา www.marketinfo.in.th/theory2.html

นางสุชาดา มณีโชติ รหัส 217 กศ.พบ รุ่น 19 หมู่ 1



การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในขององค์การ (Internal Analysis)

การวิเคราะห์ภายในขององค์การนั้น จะทำให้ทราบถึงจุดอ่อนและจุดแข็งขององค์การ ช่วยให้ประเมินอดีตและแนวโน้มในปัจจุบัน การวิเคราะห์ภายในสามารถทำได้โดยการวิเคราะห์ปัจจัยที่จะนำไปสู่ความสำเร็จ (Critical success factor) การวิเคราะห์ (Value chain) และวิเคราะห์กระบวนการหลัก (Core business process) ซึ่งจะทำให้องค์การมีความสามารถหลักที่โดดเด่น (Core competency)

• การวิเคราะห์ปัจจัยที่จะนำไปสู่ความสำเร็จ (Critical success factor) สามารถทำได้โดยการวิเคราะห์ลักษณะของกิจการ ตำแหน่งทางการแข่งขัน สภาพแวดล้อมทั่วไป และการพัฒนาองค์การ

• การวิเคราะห์ห่วงโซ่ค่านิยม (Value chain) เป็นการพยายามเชื่อมโยงกิจกรรมหลัก และกิจกรรมย่อยขององค์การ โดยการพยายามจัดกิจกรรมย่อยให้สนับสนุนกิจกรรมหลัก เพื่อจะสร้างคุณค่าที่สนองตอบกับค่านิยมของลูกค้า โดยสายงานหลักจะทำหน้าที่ในการผลิตกิจกรรมพื้นฐาน ประกอบไปด้วย การนำเข้าวัตถุดิบ การผลิตสินค้าและบริการ การตลาด และการให้บริการลูกค้า ส่วนสายงานสนับสนุนจะทำหน้าที่ในการจัดการทรัพยากรมนุษย์ การพัฒนาเทคโนโลยี การการจัดซื้อวัตถุดิบ เนื่องจากการวิเคราะห์ห่วงโซ่ค่านิยม จะทำให้องค์การได้รับรู้ถึงค่านิยมของลูกค้าได้อย่างชัดเจน ทำให้สามารถวิเคราะห์และเชื่อมโยงค่านิยมของลูกค้า เข้าสู่กิจกรรมทุกกิจกรรมขององค์การ

• การวิเคราะห์กระบวนการหลัก (Core business process) และระบบการดำเนินงาน เป็นกระบวนการสร้างคุณค่าที่เชื่อมโยงระหว่างผู้จัดหาวัตถุดิบ องค์การ และลูกค้าเข้าด้วยกัน โดยมีกระบวนการหลักขององค์การ เพื่อพัฒนาสินค้าและบริการ และเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า

โดยสรุปแล้วการวิเคราะห์ปัจจัยภายในหรือสภาพแวดล้อมภายในนี้จะทำให้ทราบถึงจุดแข็งหรือจุดอ่อนทางธุรกิจขององค์การ

จุดแข็ง : ลักษณะหรือองค์ประกอบขององค์การที่มีสมรรถนะเหนือกว่า
จุดอ่อน : ลักษณะหรือองค์ประกอบขององค์การที่มีสมรรถนะด้อยกว่าเมื่อเทียบกับคู่แข่ง

การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกองค์การ (External Analysis)

สภาพแวดล้อมภายนอกประกอบด้วย สภาพแวดล้อมทั่วไปและสภาพแวดล้อมในการดำเนินงาน

* สภาพแวดล้อมทั่วไป (General Environment) เป็นสภาพแวดล้อมที่มีความสำคัญ แต่อาจจะไม่ใช่สิ่งแวดล้อมที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับองค์การโดยตรงแต่เป็นสภาพแวดล้อมโดยทั่วไป มีตัวแบบในการพิจารณา คือ PEST Environment ได้แก่

สภาพแวดล้อมด้านการเมือง (Political Environment –P)
สภาพแวดล้อมด้านเศรษฐกิจ (Economic Environment –E)
สภาพแวดล้อมด้านสังคม (Sociological Environment –S)
สภาพแวดล้อมด้านเทคโนโลยี (Technology Environment –T)

สภาพแวดล้อมทั่วไปสามารถส่งผลกระทบต่อองค์การได้ ยกตัวอย่างเช่น หากรัฐออกกฎหมายที่เอื้อต่อการดำเนินธุรกิจ ก็จะส่งผลดีต่อโอกาสในการดำเนินงานขององค์การ หรือการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีที่รวดเร็วอาจส่งผลให้สินค้ามีความล้าสมัยอย่างรวดเร็ว เป็นต้น

• สภาพแวดล้อมในการดำเนินงาน (Task Environment) ไมเคิล อี พอร์ตเตอร์ (Michael E.Poter ) ได้เสนอตัวแบบการวิเคราะห์สภาพการแข่งขัน โดยใช้ตัวแบบที่ชื่อ The Five Compettive Force ซึ่งจะทำให้เราทราบถึงสมรรถภาพคู่แข่งที่เข้ามาใหม่ ทราบความต้องการของลูกค้า สามารถสร้างความร่วมมือกับผู้จัดส่งวัตถุดิบ การระมัดระวังไม่ให้ลูกค้าหันไปให้ความสนใจสินค้าทดแทน และโดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นตัวแบบที่ช่วยในการวิเคราะห์คู่แข่งได้เป็นอย่างดี

• การวิเคราะห์คู่แข่งที่เข้ามาใหม่ (New Entrance) ผู้ที่เข้ามาใหม่มีความมุ่งหวังที่จะเข้ามามีส่วนร่วม หรือมีส่วนแบ่งทางการตลาด ดังนั้นจึงเป็นภาวะที่คุกคาม ซึ่งจะมีมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับอุปสรรคที่เข้ามาและภาวะการตอบโต้ขององค์การ โดยสิ่งที่เป็นอุปสรรคต่อผู้ที่เข้ามาใหม่ ได้แก่

Ecomies of Scale ความประหยัดที่เกิดจากการผลิตจำนวนมาก (Economies of Scale) ทำให้คู่แข่งต้องมีการผลิตที่มีขนาดใหญ่พอ จึงจะสามารถต่อสู้กับกิจการเดิมได้

ความแตกต่างของสินค้า Differentiation หรือ ขนาดของทุน Capital Requirement เนื่องจากผู้ที่เข้ามาใหม่จะต้องแบกภาระต้นทุนที่สูงมากในด้านต่าง ๆ เป็นต้น เหล่านี้เป็นตัวอย่างของอุปสรรคสำหรับผู้ที่เข้ามาใหม่ ซึ่งนักบริหารจะต้องสร้างภาวะการตอบโต้ โดยอาศัยความได้เปรียบด้านอุปสรรคของผู้เข้ามาใหม่ในด้านต่าง ๆ

• การวิเคราะห์ผู้ซื้อ (Buyer) ผู้บริหารในองค์การภาครัฐ และภาคเอกชน จะต้องให้ความสำคัญกับลูกค้า เนื่องจากองค์การจะต้องเผชิญกับอำนาจการต่อรองของลูกค้า ในเรื่องของปริมาณ คุณภาพ และราคา

• การวิเคราะห์ผู้จัดส่งวัตถุดิบ (Supplier) ผู้จัดส่งวัตถุดิบจะมีความสำคัญเนื่องจากองค์การจะต้องเผชิญกับพลังการต่อรองของผู้จัดส่งวัตถุดิบเช่นเดียวกับลูกค้า ดังนั้นผู้บริหารทั้งองค์การภาครัฐและองค์การภาคเอกชน จะต้องปรับกลยุทธ์เพื่อรับกับพลังการต่อรองนั้น

• การวิเคราะห์สินค้าทดแทน (Substitute) การมีสินค้าหรือบริการทดแทนทำให้องค์การต่าง ๆ จะต้องให้ความสำคัญกับคุณภาพของสินค้า ราคา และบริการที่นำเสนอให้กับลูกค้า เนื่องจากการละเลยความสำคัญดังกล่าวจะทำให้องค์การเสียเปรียบต่อคู่แข่งได้

• การวิเคราะห์คู่แข่ง (Rival) คู่แข่งมีความสำคัญอย่างยิ่งที่นักบริหารจะต้องคำนึงถึง เนื่องจากนักบริหารจะต้องใช้กลยุทธ์เพื่อสร้างความได้เปรียบเหนือคู่แข่ง การละเลยหรือไม่ให้ความสำคัญกับคู่แข่งจะหมายถึงความพ่ายแพ้

โดยสรุปแล้วการวิเคราะห์ปัจจัยภายนอกหรือสภาพแวดล้อมภายนอกนี้จะทำให้ทราบถึงโอกาสหรืออุปสรรคทางธุรกิจขององค์การ

โอกาส : การผสมผสานระหว่างเหตุการณ์ เวลา สถานที่ ที่มีแนวโน้มว่าจะเป็นประโยชน์ต่อองค์การ มาทำให้องค์การมีสมรรถนะที่จะดำเนินการบางอย่างที่เหนือกว่าคู่แข่ง
อุปสรรค : เหตุการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ และถ้าเกิดขึ้นก็จะทำความเสียหายให้แก่องค์การ




อ้างอิงจาก :http://www.aircadetwing.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=5376485&Ntype=4

นางสาวกาญจนา แปลงทุน การจัดการทั่วไป 5130125401222



สรุปการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในองค์กร การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในเป็นการศึกษาเพื่อค้นหาและระบุว่าองค์การจะต้องบริหารงานและดำเนินงานที่จะนำปัจจัยขององค์การมาใช้เพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันจากจุดแข็งและโอกาส ตลอดจนเพื่อหลีกเลี่ยงจุดอ่อนและอุปสรรคที่จะเกิดขึ้น การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในขององค์การสามารถทำได้หลายวิธี ดังนี้ คือ การวิเคราะห์โดยใช้ทรัพยากรเป็นฐานเป็นการพิจารณาถึงคุณลักษณะพิเศษของทรัพยากรที่จะสร้างผลตอบแทนเข้าสู่องค์การ การวิเคราะห์ลูกโซ่แห่งคุณค่าเป็นการพิจารณากิจกรรมภายในขององค์การ ที่สร้างคุณค่าให้กับลูกค้า แบ่งเป็นกิจกรรมหลัก 5 กิจกรรม และกิจกรรมสนับสนุน 4 กิจกรรม เพื่อนำไปสู่การได้เปรียบเทียบทางการแข่งขัน โดยการปรับปรุงกิจกรรมในแต่ละกิจกรรมให้เป็นจุดแข็งที่จะก่อให้เกิดคุณค่าให้แก่ลูกค้า การวิเคราะห์ตามหน้าที่ธุรกิจเป็นการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในองค์การโดยแยกตามหน้าที่ธุรกิจ คือ การตลาด การเงิน การผลิตและดำเนินงาน การบริหารทรัพยากรมนุษย์ การวิจัยและพัฒนา การจัดการและระบบสารสนเทศ การวิเคราะห์โครงร่าง 7-S ของแมคคีนซีย์เป็นการศึกษาปัจจัยที่เป็นส่วนประกอบสำคัญที่มีผลต่อความสำเร็จในการดำเนินงานขององค์การ ประกอบด้วย โครงร่าง กลยุทธ์ ระบบ รูปแบบ การบริหาร พนักงาน ทักษะฝีมือและค่านิยมร่วมและการวิเคราะห์ความสามารถหลักขององค์การเป็นการวิเคราะห์ปัจจัยที่เป็นความสามารถหลักขององค์การที่จะนำไปสู่การแข่งขันให้ประสบความสำเร็จ โดยการสร้างคุณค่าให้แก่ลูกค้าที่สามารถรับรู้ได้ เช่น ความคงทน ความสะดวกสบาย หรือความน่าใช้ในตัวสินค้าหรือบริการ

นางสาว ชนรตา เหล็กกล้า รหัส 5130125401205 การจัดการทั่วไปรุ่น19



สภาพแวดล้อมขององค์การอาจแบ่งได้เป็น 2 ส่วน คือ

1 สภาพแวดล้อมภายในองค์การ (internal factors) จะเป็นปัจจัยต่าง ๆ ที่อยู่ภายใต้การควบคุมขององค์การ เช่น ทรัพยากรทางการเงิน เครื่องจักร อาคารสถานที่ บุคลากร และการดำเนินงานด้านต่าง ๆ ขององค์การสภาพแวดล้อมภายในองค์การ จะทำให้องค์การทราบว่าสามารถทำอะไรได้บ้าง

2 สภาพแวดล้อมภายนอก (external factors) จะเป็นปัจจัยที่อยู่นอกเหนือการควบคุมขององค์การ เช่น คู่แข่งขัน ลูกค้าซัพพลายเออร์ ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ การเมือง และสังคม เป็นต้น

แบ่งการวิเคราะห์ออกเป็น 3 ระดับ คือ (1) สภาพแวดล้อมในระดับมหภาค (macro หรือ general environments) ได้แก่ สภาพแวดล้อมทั่วไปในระดับกว้าง คือ ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ การเมือง สังคมเทคโนโลยี (2) สภาพแวดล้อมในระดับอุตสาหกรรม (industry environments) ได้แก่ ลูกค้า คู่แข่งขัน และผู้ขายปัจจัยการผลิต (ซัพพลายเออร์) เป็นต้น (3) สภาพแวดล้อมในระดับโลก (global environments) เป็นปัจจัยการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในสภาพแวดล้อมในต่างประเทศแต่มีผลกระทบต่อเนื่องมายังสภาพแวดล้อมในระดับมหภาคและสภาพ แวดล้อมในระดับอุตสาหกรรมด้วย

สรุปว่าสภาวะแวดล้อมประกอบด้วย 2 องค์ประกอบหลัก คือ สภาวะแวดล้อมภายนอก ได้แก่ สภาวะแวดล้อมทั่วไป สภาวะแวดล้อมของอุตสาหกรรม และสภาวะแวดล้อมด้านการแข่งขัน สภาวะแวดล้อมภายใน คือ ศักยภาพขององค์การ ได้แก่ ด้านการทำหน้าที่ของหน่วยงานตามหน้าที่ต่าง ๆ ภายใน เช่น หน่วยงานด้านการเงิน การตลาด การผลิต การวิจัยและพัฒนาและทรัพยากรมนุษย์ทั้ง 2 องค์ประกอบของสภาวะแวดล้อมดังกล่าวนี้จะต้องเกิดความสอดคล้องและเหมาะสมต่อกัน

การตรวจสอบวิเคราะห์สภาพแวดล้อม คือ การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมขององค์การประกอบด้วยสภาพแวดล้อมภายในองค์การ และสภาพแวดล้อมภายนอกองค์การ ซึ่งสภาพแวดล้อมภายในองค์การจะเป็นปัจจัยที่องค์การสามารถควบคุมได้ ส่วนสภาพแวดล้อมภายนอกเป็นปัจจัยที่อยู่นอกเหนือการควบคุมขององค์การ และยังมีความเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ดังนั้น องค์การจึงต้องมีความสามารถในการปรับตัวตามสภาพแวดล้อมภายนอกได้ดี จะทำให้การดำเนินงานบรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายขององค์การนั้น



อ้างอิงจาก http://mbaconduct.blogspot.com/2012/04/blog-post_10.html

น.ส.สุนิสา รหัส 5130125401212

การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน (S ,W)
สภาพแวดล้อมภายในประกอบด้วย ปัจจัยที่อยู่ภายในองค์กร ได้แก่ โครงสร้าง วัฒนธรรม และทรัพยากรขององค์กร
โครงสร้างขององค์กร (CORPORATE STRUCTURE) จะแสดงให้เห็นถึงการรวมกลุ่มงาน ความสัมพันธ์ทางอำนาจหน้าที่ การไหลเวียนของงาน การติดต่อสื่อสารภายใน
วัฒนธรรมองค์กร (CORPORATE CULTURE) จะหมายถึงความเชื่อ ความคาดหวัง และค่านิยมร่วมกัน โดยทั่วไปจะปรากฏขึ้นมาเป็นบรรทัดฐานที่ระบุถึงพฤติกรรมที่ยอมรับกันของบุคคลตั้งแต่ผู้บริหารลงมาจนถึงพนักงานระดับล่างสุด
ส่วนทรัพยากรขององค์การ (CORPORATE RESOURCES) จะหมายถึง ทรัพย์สินทุกอย่างภายในองค์การ ได้แก่ คน เงินทุน วัตถุดิบ เทคโนโลยี และทักษะ เป็นต้น
ซึ่งการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในประกอบด้วย
จุดแข็ง (STRENGTHS) หมายถึง การดำเนินงานภายในองค์การที่ต้องวิเคราะห์การดำเนินงานภายใน เช่น การบริหรการเงิน การตลาด การวิจัยและพัฒนาเพื่อการพิจารณาถึงจุดแข็งของการดำเนินงานภายในเหล่านี้เป็นระยะ และใช้ประโยชน์จากจุดแข็งของการดำเนินงานเหล่านี้อยู่เสมอ
จุดอ่อน (WEAKNESS) หมายถึง การดำเนินงานภายในองค์กรที่ไม่สามารถกระทำได้ดี เช่น การบริหาร การเงิน การตลาด การวิจัยและพัฒนา จะเป็นอุปสรรคต่อความสำเร็จ

ที่มา : http://nakhonsawan.labour.go.th/2010/index.php?option=com_content&view=article&id=61:-swot-&catid=35:academic&Itemid=57

นางสาวกอบทอง 5130125401224



สภาพแวดล้อมภายนอก

เนื่องจากสภาพแวดล้อมมีการเปลี่ยนแปลงได้ และ มีอิทธิพลต่อการดำเนินธุรกิจ หากผู้บริหารทราบถึงความเปลี่ยนแปลง และ ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับองค์การ ก็จะสามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงนั้นได้ดังนั้น องค์กรจึงควรมีการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมต่างๆที่มีผลกระทบต่อธุรกิจ เพื่อเป็นการประเมินหา จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และ อุปสรรค ขององค์การ ผลการวิเคราะห์มักถูกใช้เป็นรากฐานของการกำหนดกลยุทธ์ เพื่อที่จะทำให้บรรลุตาม วิสัยทัศน์ ภารกิจ เป้าหมาย หรือ นโยบายขององค์กร

การวิเคราะห์ SWOT (SWOT Analysis)

การประเมิน ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมภายนอกองค์กร เพื่อทำให้ทราบถึง โอกาส และ อุปสรรค และการประเมิน ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมภายในองค์กร เพื่อทำให้ทราบถึง จุดแข็ง และ จุดอ่อน ภายในองค์กรจะเรียกการวิเคราะห์นี้ว่า การวิเคราะห์ SWOT โดยที่

S = Strength คือ จุดแข็ง

W = Weakness คือ จุดอ่อน

O = Opportunity คือ โอกาส

T = Threats คือ อุปสรรค

S = Strength (จุดแข็ง) หมายถึง การดำเนินงานภายในองค์กรที่สามารถกระทำได้ดี องค์กรจะต้องวิเคราะห์ การดำเนินงานภายใน เช่น การบริหาร การเงิน การตลาด การผลิต และ การวิจัยพัฒนา เพื่อพิจาณาเป็นระยะ องค์กรที่บรรลุความสำเร็จจะกำหนดกลยุทธ์ขององค์กร โดยใช้ประโยชน์จาก จุดแข็ง ของการดำเนินงานภายในเสมอ

W= Weakness (จุดอ่อน) หมายถึง การดำเนินงานภายในองค์กรที่ทำได้ไม่ดี อาจเป็นเพราะการขาดแคลนทรัพยากรในองค์กรที่จะส่งเสริมให้การดำเนินงานลุล่วงด้วยดี ได้แก่ การบริหาร การเงิน การตลาด การผลิต การวิจัยพัฒนา ซึ่งเป็นข้อด้อยขององค์กร ที่ทำให้ไม่ประสบความสำเร็จ องค์กรจะต้องกำหนดกลยุทธ์ที่สามารถลบล้าง หรือ ปรับปรุง จุดอ่อน การดำเนินงานภายในเหล่านี้ให้ดีขึ้น

O = Opportunity (โอกาส) หมายถึง สภาพแวดล้อมภายนอก ที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินงานขององค์กร องค์กรต้องคาดคะเนการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม เช่น เศรษฐกิจ การเมือง สังคม เทคโนโลยี และ การแข่งขัน อยู่เป็นระยะ เพื่อการแสวงหาประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมภายนอก ซึ่งความเปลี่ยนแปลงอาจส่งผลถึงความต้องการของผู้บริโภค ทัศนคติของพนักงาน ทำให้ต้องมีการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ไปตามความเปลี่ยนแปลงด้วย

T = Threats (อุปสรรค) หมายถึง สภาพแวดล้อมภายนอกที่คุกคามต่อการดำเนินงานขององค์กร สภาพแวดล้อมภายนอกเหล่านี้ได้แก่ เศรษฐกิจ การเมือง สังคม เทคโนโลยี และ การแข่งขัน เป็นต้น ซึ่งส่งผลลบต่อการดำเนินงานขององค์กร เช่น ทำให้ความต้องการของผู้บริโภคลดลง ทัศนคติของพนักงานแย่ลง ทำให้ต้องมีการปรับกลยุทธ์เพื่อขจัด หลีกเลี่ยง สภาพแวดล้อมที่ส่งผลลบต่อองค์กรการเก็บรวบรวมข้อมูลสภาพแวดล้อม ในการวิเคราะห์ SWOT องค์กรควรได้ศึกษา เก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมทั้งภายใน และ ภายนอกกิจการ เพื่อทำให้ทราบถึงความเปลี่ยนแปลงของสภาวะแวดล้อม และ ผลกระทบที่เกิดขึ้น การเก็บรวบรวมข้อมูลอาจทำได้หลายวิธีร่วมกัน ดังนี้





1. จากข้อมูล จากหน่วยงานเก็บรวบรวมไว้แล้ว

2. ข้อมูลจากพนักงานในองค์การ

3. หนังสือพิมพ์ วารสารทางธุรกิจต่างๆ

4. หน่วยงานของรัฐ หรือ เอกชน

5. ฐานข้อมูลต่างๆ ทั้งภายใน ภายนอกองค์กร

6. ข้อมูลจากลูกค้า และ ผู้จัดส่งวัตถุดิบ

7. ข้อมูลจากการวิเคราะห์ของผู้เชี่ยวชาญการพยากรณ์การเปลี่ยนแปลงของสภาวะแวดล้อม
นอกจากข้อมูลที่รวบรวมจากแหล่งข้อมูลต่างๆแล้ว ธุรกิจอาจต้องพยากรณ์ คาดการณ์ ถึงสภาพแวดล้อมในอนาคต เช่น การพยากรณ์ เศรษฐกิจ สังคม การเมือง เทคโนโลยี เพื่อใช้ประกอบในการตัดสินใจ กำหนดกลยุทธ์ ที่เหมาะสม กับองค์กรต่อไป การพยากรณ์ ทำได้หลายวิธีด้วยกัน ทั้งใน เชิงคุณภาพ และ เชิงปริมาณ ดังนี้

1. การใช้ข้อมูลจากอดีตมาคาดการณ์อนาคต

2. ใช้ข้อวิจารณ์ หรือ ความคิดเห็นของบุคคลต่างๆ

3. ใช้ความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ

4. ระดมสมอง

5. การคาดการณ์สถานการณ์ในอนาคต

6. จากนักพยากรณ์อนาคต

7. ใช้สถิติในการวิเคราะห์ การถัวเฉลี่ย การวิเคราะห์อนุกรมเวลา การวิเคราะห์ปัจจัย (Factor Analysis)

สภาพแวดล้อมของธุรกิจ แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ สภาพแวดล้อมภายนอก และ สภาพแวดล้อมภายใน ซึ่งมีวิธีการวิเคราะห์ดังนี้การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก (External Analysis)สภาพแวดล้อมภายนอก เป็นปัจจัยที่อยู่เหนือการควบคุมขององค์กร มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เป็นไปไม่ได้ที่จะติดตามการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมได้ทุกอย่าง ผู้บริหารควรจะมุ่งเฉพาะปัจจัยทางสภาพแวดล้อมที่สำคัญเท่านั้น โดยทั่วไป สภาพแวดล้อมภายนอก จะมีอยู่ สองส่วน คือ

1. สภาพแวดล้อมการดำเนินงาน (Task Environment) เป็นปัจจัยที่มีผลกระทบโดยตรง ต่อการดำเนินงานของกิจการ ประกอบไปด้วย ผู้มีส่วนได้เสียกับองค์กร เช่น รัฐบาล ชุมชน คู่แข่งขัน ลูกค้า ผู้จำหน่ายวัตถุดิบ เจ้าหนี้ แรงงาน กลุ่มผลประโยชน์

2. สภาพแวดล้อมโดยทั่วไป (General Environment)เป็นปัจจัยที่ไม่กระทบต่อการดำเนินงานระยะสั้นขององค์กร แต่มีผลต่อการตัดสินใจในระยะยาว ได้แก่ เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม การเมือง กฎหมาย เทคโนโลยี ภูมิศาสตร์ และ ปัจจัยระหว่างประเทศสภาพแวดล้อมการดำเนินงาน (Task Environment)
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมการดำเนินงานขององค์กร อาจะเรียกว่า การวิเคราะห์อุตสาหกรรม (Industrial Analysis) คือ กลุ่มขององค์กรที่มีผลิตผลและบริการคล้ายคลึงกัน หรือ กลุ่มธุรกิจที่มีลักษณะเดียวกัน สภาพแวดล้อมการดำเนินงานจะประกอบไปด้วยปัจจัยที่เฉพาะเจาะจง และ กระทบต่อการบริหารงานขององค์กรในทันที เช่น คู่แข่งขัน ลูกค้า แรงงาน และ ผู้จัดจำหน่าย ซึ่งรูปแบบการวิเคราะห์อุตสาหกรรมที่นิยมใช้กัน คือ รูปแบบการประเมินสภาพวะการแข่งขันภายในอุตสาหกรรม (5-F Model) ของ Michael E. Porter หรือ Five Force Model ประกอบไปด้วย 5 ปัจจัย คือ

1. การคุกคามของผู้เข้ามาใหม่ (New Entrants)

2. คู่แข่งขันในอุตสาหกรรม (Industry Compettitors)

3. การคุกคามของผลิตภัณฑ์ทดแทน (Substitutes)

4. อำนาจการเจรจาต่อรองของผู้ซื้อ (Bargaining Power OF Buyers)

5. อำนาจการต่อรองของผู้จำหน่ายวัตถุดิบ (Bargaining Power of Suppliers)

แหล่งที่มา:

http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=entrepreneur&month=02-08-2010&group=21&gblog=2

นางสาววัชรี ทองห่อ รหัส5210125401052 เอกการจัดการทั่วไป ปี 4

สภาพแวดล้อมอุตสาหกรรม
การคุกคามจากคู่แข่งขันที่จะเข้ามาใหม่
ก่อนที่คู่แข่งขันรายใหม่จะเข้ามาในตลาด อย่างน้อยกิจการนั้นๆ ต้องมีความมุ่งมั่นที่จะช่วงชิงส่วนแบ่งตลาดและต้องมั่นในว่ากิจการของตนมีความแตกต่างจากกิจการที่มีอยู่เดิม ซึ่งความแตกต่างนี้อาจเกิดจากเทคโนดลยีที่เหนือกว่า ชื่อเสียงผลิตภัณฑ์ดีกว่า ราคาต่ำกว่า เงินทุนที่มากกว่าหรือแม้กระทั้งอาศัยช่องว่างของตลาดและอื่นๆ ดังนั้นคู่แข่งขันรายใหม่จึงถือเป็นภัยคุกคามที่น่ากลัว ซึ่งในอุตสาหกรรมที่มีช่องว่างให้คู่แข่งขันรายใหม่เข้ามามีมากเพียงใดสภาพแวดล้อมการแข่งขันจะยิ่งเข้มข้นมากขึ้นตามละดับและในที่สุดจะส่งผลต่อระดับกำไรของกิจการที่มีอยู่เดิม
การคุกคามจากคู่แข่งขันที่จะเข้ามาใหม่ในธุรกิจแต่ละประเภทจะมีความแตกต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยที่สำคัญ 2 ประการคือ
1. อุปสรรคที่สกัดกั้นผู้ที่จะเข้ามาใหม่ ซึ่งมีทั้งในด้านต้นทุน ภาพลักษณ์ ความภักดีและต้นทุนการเปลี่ยนแปลงผลิตภัณฑ์ของลูกค้า เงินทุน ช่องทางการจัดจำหน่าย นโยบาย กฎหมาย ระเบียบและกฎเกณฑ์ของรัฐ
2. การคาดคะเนปฏิกิริยาการตอบโต้ของกิจการที่มีอยู่เดิม นอกจากกิจการรายใหม่จะต้องประเมินอุปสรรคกีดกั้นในการเข้าตลาดของตนแล้ว ผู้ที่จะเข้ามาใหม่จะต้องประเมินปฏิกิริยาการตอบโต้ของกิจการที่มีอยู่เดิมว่าจะมีมากน้อยเพียงใด เพราะถ้าแรงตอบโต้สูงย่อมก่อให้เกิดสงครามการแข่งขันและอาจลุกลามไปถึง “สงครามราคา” ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อผู้เข้ามาใหม่และอุตสาหกรรมโดยส่วนรวม
อ้างอิง อำนาจ ธีระวนิช. (2549). ผู้ประกอบการ. กรุงเทพฯ

น.ส. ปาริฉัตร หยุ่นเฮง รหัส 216





แนวความคิดและทฤษฎีทางการบริหาร

พัฒนาการทางการบริหาร

ยุคคลาสสิค (The classical approaches)

· การบริหารงานเชิงวิทยาศาสตร์ (Scientific Management)

· หลักการบริหาร (Administrative Principles)

· องค์การแบบราชการ (Bureaucratic organization)

การบริหารเชิงมนุษยสัมพันธ์ (Human resource approaches)

การบริหารเชิงปริมาณ (The quantitative or management science approaches)

การบริหารสมัยใหม่ (The modern approaches)

ทฤษฎีการจัดการแบบดั้งเดิม (Classical Theory)

ทฤษฎีการจัดการแบบดั้งเดิม เป็นทฤษฎีที่มุ่งให้ความสนใจและให้ความสำคัญเกี่ยวกับความสำเร็จของงาน โดยไม่สนใจจิตใจของมนุษย์ มองมนุษย์เป็นเครื่องจักร การบริหารงานมีกฎเกณฑ์ที่ตายตัว พนักงานจึงทำงานอย่างไม่มีอิสระ ไม่สามารถแสดงความคิดเห็นได้จึงไม่มีความคิดเห็นที่หลากหลาย และการทำงานขององค์การจะบรรลุเป้าหมายและพนักงานจะปฏิบัติงานได้ดีขึ้นเมื่อมีการข่มขู่

1. การบริหารงานเชิงวิทยาศาสตร์ (Scientific Management) มุ่งงานเป็นหลัก

หลักการ 1.ให้ความสำคัญต่อ งาน มากกว่าคน

2. ใช้วิธีให้คนปรับตัวให้เข้ากับงานที่กำหนดวิธีทำเอาไว้แล้ว

2. ทฤษฎีทางการบริหาร

ได้แบ่งเป็น 5 ประการ หรือหลักการบริหารที่เรียกว่า POCCC ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

การวางแผน (Planning) คือ การกำหนดแนวทางในการปฏิบัติงานไว้ล่วงหน้า

การจัดองค์การ (Organizing) คือ เป็นการจัดโครงสร้างของสายการบังคับบัญชา

การสั่งการ (Commanding) คือ การคอยสอดส่องดูแลและ สั่งการให้พนักงานปฏิบัติงานตาม

การประสานงาน (Coordinating) คือ การร่วมมือร่วมใจกันทำงานของพนักงานภายในองค์การ

การควบคุม (Controlling) คือ การตรวจสอบและติดตามผลการปฏิบัติงาน

3. ทฤษฎีระบบราชการ (Bureauracy Theory)

· สายการบังคับบัญชา (Hierarchy)

· มีการแบ่งงานตามความถนัดเฉพาะด้าน (Division of work)

· กฎระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีการปฏิบัติงาน (Rules Regulation and Procedures)

· ไม่ยึดหลักความสัมพันธ์ส่วนตัว (Impersonalality)

· ประชาธิปไตย (Democracy)



แนวคิดการบริหารจัดการเชิงปริมาณ

กลุ่มทฤษฎีนี้เน้นแนวคิดของการบริหารที่สนใจทางด้านจำนวน การนำเอาข้อมูลสถิติมาใช้ในการตัดสินใจ

ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ

วิทยาการจัดการ (Management Science)

การจัดการปฏิบัติการ (Operation Management)

ระบบสารสนเทศการจัดการ (Management Information System: MIS)



แนวความคิดและวิธีการของการบริหารแบบมนุษย์สัมพันธ์(Human Relations) มุ่งถึงคนเป็นหลัก

หลักการ จะต้องให้ความสำคัญต่อ คนผู้ทำงาน มากกว่า งาน ที่จะทำให้คนทำ

ต้องหาวิธีให้คนมีความพอใจ มีอิสระที่คิดจะริเริ่ม เพื่อสร้างสรรค์ในทางต่าง ๆที่เขาควรจะมีสิทธิเลือกวิธีทำงานของตนเองบ้าง หรือนั่นก็คือฝ่ายจัดการควรจะพิจารณาปรับหรือจัดงานให้เหมาะสม และเป็นที่พอใจแก่คนที่จะทำงานนั้น

แนวความคิดเกี่ยวกับวิธีการบริหารสมัยใหม่

1.การบริหารแบบการตัดสินใจ (Decisional Approach) การบริหารคือการตัดสินใจ องค์การจะถูกถือเสมือนหนึ่งว่าเป็นหน่วย ของการตัดสินใจ

ผู้บริหารคือผู้ที่ต้องทำการตัดสินใจเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ

2.การบริหารเชิงระบบ (System Approach)

การบริหารเป็นลักษณะระบบอย่างหนึ่ง มีผู้บริหารมาทำงานในหน้าที่ต่าง ๆของระบบนี้

ส่วนต่าง ๆของระบบอยู่ในสถานะที่เคลื่อนไหวได้แต่ละส่วนต่างมีคุณสมบัติและความสามารถเฉพาะเมื่อมารวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันจะช่วยเคลื่อนไหวไปสู่เป้าหมายเดียวกัน

3. การบริหารเชิงกระบวนการ (Process Approach) หน้าที่ในการบริหารงานต่าง ๆมีความสัมพันธ์ต่อเนื่องกันใกล้ชิดเป็นกระบวนการ (Process) ผู้บริหารจะปฏิบัติหน้าที่ด้วยวิธีกระทำเป็นทีละขั้นตอน (Step by Step) ที่ต่อเนื่องหมุนเวียนกันไปอย่างเป็นระเบียบโดยไม่ขาดขั้นตอนกัน ส่วนต่างๆของงานบริหารที่เกี่ยวเนื่องต่อกันนั้นจะไม่ขาดตอนจากกัน หากแต่ จะมีความต่อเนื่อง และสอดคล้องกันอย่างมีระเบียบ การบริหารงานตามหน้าที่จะดำเนินไปเป็นวัฏจักรหมุนเวียนเป็นกระบวนการเรื่อยไป







4.การบริหารตามสถานการณ์ (Situational Approach) Fred E. Fiedler (1967)

เน้นให้ผู้บริหารพิจารณาความแตกต่างในหน่วยงาน เช่น ความแตกต่างระหว่างบุคคล ความแตกต่างระหว่างระเบียบกฎเกณฑ์ วิธีการ กระบวนการ และการควบคุมงาน ความแตกต่างระหว่างความสัมพันธ์ของบุคคลในองค์กร ความแตกต่างระหว่างเป้าหมายการดำเนินงานขององค์การ

การบริหารจะดีหรือไม่ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ ผู้บริหารจะต้องพยายามวิเคราะห์สถานการณ์ให้ดีที่สุด

เป็นการผสมผสานแนวคิดระหว่างระบบปิดและระบบเปิด และยอมรับหลักการของทฤษฎีระหว่างทุกส่วนของระบบจะต้องสัมพันธ์และมีผลกระทบซึ่งกันและกัน สถานการณ์จะเป็นตัวกำหนดการตัดสินใจและรูปแบบการบริหารที่เหมาะสม

คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมและความต้องการของบุคคลในหน่วยงานเป็นหลักมากกว่าที่จะแสวงหาวิธีการอันดีเลิศมาใช้ในการทำงาน โดยใช้ปัจจัยทางด้านจิตวิทยาในการพิจารณาด้วย

การบริหารยึด “ตัวสถานการณ์” หรือชุดเหตุการณ์ที่ซึ่งมีอิทธิพล ต่อองค์การมากที่สุด ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง มุ่งเน้นถึงความสำคัญของ “การคิดตามสถานการณ์” (Situational thinking) ซึ่งจะช่วยให้ผู้บริหารเกิดความเข้าใจ ได้ว่าภายใต้สถานการณ์เฉพาะนั้นๆ ผู้บริหารควรจะใช้ เทคนิคการบริหารอะไร จึงจะทำให้องค์การสามารถบรรลุผลสำเร็จมากที่สุดได้ การบริหารจะไม่ยึดติดกับ แนวคิด ทฤษฎีหรือหลักการใด หลักการหนึ่งโดยเฉพาะ แต่จะเลือกสรรวิธีการที่ดีที่สุด เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด ผู้บริหารอาจจะใช้วิธีการ หลาย ๆอย่างผสมผสานกันในการ บริหารไปพร้อม ๆกันทั้งนี้แล้วแต่ “ตัวสถานการณ์” และปัจจัยความพร้อมในด้านต่าง ๆ

http://www.slideshare.net/guest3d68ee/ss-presentation

นางสาวกอบทอง 5130125401224



แนวความคิดทางการจัดการ แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท

แนวความคิดแบบเก่า (old concept)

ในสมัยก่อนการบังคับบัญชาถือเอาความคิดของหัวหน้างานเป็นหลัก การบริหารเป็นไปโดยปราศจากเหตุผล แต่ใช้หลักความรุนแรง เคร่งครัด ผู้ใต้บังคับบัญชาต้องปฏิบัติตามคำสั่งของหัวหน้างานอย่างเคร่งครัดโดยไม่คำนึงถึงความคิดเป็นส่วนตัวของแต่ละบุคคลจากการใช้หลักการของแนวความคิดแบบเก่านี้จะเป็นว่า ทุกอย่างขึ้นอยู่กับอำนาจ สายการบังคับบัญชาจะมาจากเบื้องบนเสมอ โดยนายจ้างเป็นผู้ออกคำสั่งแต่เพียงผู้เดียว ผู้ใต้บังคับบัญชาไม่มีสิทธิ์แสดงความคิดเป็นใด ๆ การตัดสินใจอยู่ที่ส่วนกลางไม่มีการกระจายอำนาจผู้บังคับบัญชาสมัยเก่ามักจะคิดว่าการจูงใจให้บุคคลทำงานนั้นขึ้นอยู่กับพื้นฐานทางเศรษฐกิจ คือ เงินเพียงอย่างเดียว จึงไม่ได้ให้ความสนใจในเรื่องสวัสดิการและความปลอดภัยในการดำเนินงานแต่อย่างใด
แนวความคิดแบบใหม่ (modern concept)

ทัศนะของนายจ้างต่อลูกจ้างเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม นายจ้างมองลูกจ้างในแง่ดีให้วามสำคัญต่อลูกจ้างและมีความไว้วางใจผู้ใต้บังคับบัญชานอกจากนี้ยังนำเอาทฤษฎีเกี่ยวกับการจูงใจมาใช้ประโยชน์ ในหลักการเกี่ยวกับแนวความคิดแบบใหม่ถือว่าบุคคลมีความรับผิดชอบ มีความคิดริเริ่ม มีความต้องการและเต็มใจจะทำงานร่วมกัน มีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย เปิดโอกาสให้คนทำงานอย่างมีประสิทธิภาพโดยใช้ระบบการควบคุมตนเองการจูงใจคนให้ทำงานไม่ได้ใช้เงินเป็นปัจจัยสำคัญแต่เพียงอย่างเดียว ต้องมีสิ่งจูงใจที่ไม่ใช่ตัวเงินเกี่ยวข้องด้วย

วิวัฒนาการทางการจัดการ

การจัดการ หรือ การบริหาร อาจจะกล่าวได้ว่าเป็นเรื่องที่แทบจะเกิดขึ้นพร้อมกับอารยธรรมมนุษย์ไม่ว่าเราจะสืบเรื่องราวที่เก่าแก่ในอดีตเพียงใด เราก็จะพบว่าเมื่อมีกลุ่มก็จะมีผู้นำ มีหัวหน้า หรือมีกษัตริย์ซึ่งจะต้องดำเนินบทบาทเป็นแกนนำของกลุ่ม เพื่อให้กลุ่มของตนดำรงค์อยู่ได้ด้วยความเป็นระเบียบ สามารถดำรงค์ฐานะความเป็นกลุ่มให้คงอยู่เอาไว้อย่างเหนียวแน่น แต่การศึกษาเป็นทฤษฎี และหลักเกณฑ์ทางการจัดการที่มีรูปแบบเพิ่งจะเริ่มขึ้นเมื่อไม่นานมานี้ คือราวศตวรรษที่ 18 ภายหลังจากการปฏิบัติอุตสาหกรรมการปฏิวัติอุตสาหกรรม (industrial revolution) หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วในการผลิตสินค้าอุตสาหกรรม โดยเปลี่ยนจากการผลิตในระบบช่างฝีมือมาเป็นการผลิตด้วยเครื่องจักรอันเป็นผลที่เกิดจากการที่มนุษย์สามารถคิดค้นพัฒนาเครื่องจักรต่าง ๆ ขึ้นใช้แทนแรงงานคนและแรงงานสัตว์ ทำให้สามรถเพิ่มประสิทธิภาพในการเพิ่มผลผลิตได้อย่างมหาศาล การปฏิวัติอุตสาหกรรมเกิดขึ้นในยุโรปตะวันตกประมาณ ค.ศ. 1760-1830 ได้มีการดัดแปลงเครื่องจักรมาใช้ในอุตสาหกรรมหลายประเภท เช่น อุตสาหกรรมทอผ้า โดยในปี ค.ศ. 1733 จอร์น เคย์ (John Kay) ได้ประดิษฐ์กระสวยบิน (flying shuttle) เป็นกระสวยที่ผูกติดใว้กับเชือกแล้วใช้วิธีกระตุกเชือกให้กระสวยพุ่งไปมาแทนการใช้คน ซึ่งทำให้การทอผ้ารวดเร็วขึ้นได้ผ้าหน้ากว้างขึ้น ผลของการปฏิวัติอุตสาหกรรมประการหนึ่งก็คือ ระบบอุตสาหกรรมครัวเรือน (domestic system) ได้สลายตัวไปและเกิดระบบโรงงาน (factory system) เข้าแทนที่ เนื่องจากการผลิตแบบใหม่โดยใช้เครื่องจักรที่มีการลงทุนมหาศาล การผลิตได้ทีละมาก ๆ (mass production) เพื่อให้สามารถรองรับกับปริมาณการบริโภคที่เพิ่มขึ้น เกิดความต้องการแรงงานมากขึ้น เพื่อรองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรม สมาชิกครัวเรือนต่างเคลื่อนเข้าสู่การจ้างงานในโรงงาน โดยได้รับค่าจ้างเป็นผลตอบแทนจากการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ธุรกิจจึงมีการทำงานที่ซับซ้อนยุ่งยากมากขึ้น และต้องเผชิญกับสภาวะการแข่งขันที่รุนแรงเพิ่มขึ้น ดังนั้นการบริหารจัดการองค์การอย่างมีรูปแบบ จึงมีความจำเป็นและได้ถูกพัฒนาขึ้นมาเป็นแนวความคิดการจัดการและได้มีการปรับปรุงเพื่อให้สามารถใช้ในการบริหารจัดการองค์การได้อย่างมีประสิทธิภาพเป็นลำดับWilliam G. Scott ได้แบ่งวิวัฒนาการทางการจัดการ ตั้งแต่เริ่มแรกหลังการปฏิวัติอุตสาหกรรมจนถึงปัจจุบันอาจจะแบ่งออกได้เป็น 3 ยุค คือ

ยุคที่ 1 ยุคการจัดการสมัยเดิม (classic) (ค.ศ. 1880 – 1930)

1.1 แนวความคิดการจัดการที่มีหลักเกณฑ์ (Scientific Management)เจ้าของทฤษฎีคือ Frederick W.Taylor (1880-1915) โดยมุ่งศึกษาและวิเคราะห์เกี่ยวกับเรื่อง เวลา และการเคลื่อนไหว หรือ "time and motion study" และได้ชื่อว่าเป็นบิดาของการจัดการแบบวิทยาศาสตร์ ในทัศนะของ Taylor เห็นว่าการปรับปรุงประสิทธิภาพของการทำงานให้ดีขึ้น ถ้าได้มีการกำหนดวิธีการทำงานให้ดีขึ้น ถ้าได้มีการกำหนดวิธีการทำงานที่ดีที่สุดวิธีเดียว และทั้งนายจ้างและลูกจ้างจะได้รับผลประโยชน์ร่วมกัน

ยุคที่ 2 ยุคการจัดการสมัยใหม่ (Neo-classic) (ค.ศ. 1930-1950)

แนวความคิดการจัดการตามแนวมนุษย์สัมพันธ์ (Human Relation)

เจ้าของแนวความคิดหรือทฤษฎี ได้แก่ Elton Mayo นักจิตวิทยาชาวสหรัฐอเมริกาเรียกว่าวิจัยที่เป็นผลงานเป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดีว่า "Hawthorne study" หรือ "Hawthorne experiment" ซึ่งจากการศึกษาของ Mayo สรุปได้โดยธรรมชาติของมนุษย์จะมีพฤติกรรม 2 แบบคือ

1. พฤติกรรมที่เป็นไปตามเหตุผล

2. พฤติกรรมที่เป็นไปตามอารมณ์ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่เกิดขึ้นอย่างไม่มีเหตุผล

ดังนั้น ในการที่ให้ปัจจัยผลตอบแทนหรือค่าจ้างสูง เพื่อให้คนงานเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานสูงซึ่งถือว่าเป็นพฤติกรรมที่เป็นไปตามเหตุผลอาจจะเป็นความเข้าในที่ไม่ถูกต้องทั้งหมดเนื่องมาจากมนุษย์ไม่ใช่เครื่องจักรมนุษย์มีจิตใจและความรู้สึก มีความแปรปรวนทางด้านอารมณ์ ดังนั้น ปัจจัยจูงใจที่เป็นตัวเงินเพียงอย่างเดียวนั้นไม่เพียงพอต่อการใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน หรือเพิ่มผลผลิต ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่เป็นปัจจัยที่ใช้ตอนสนองเรื่องราวทางด้านจิตใจ และความสัมพันธ์ทางสังคมระหว่างกันนอกจากนี้ Mayo ยังได้ศึกษาในลำดับต่อมาเกี่ยวกับเรื่อง ลักษณะของผู้นำ (leadership) การพัฒนาพนักงาน (employee development) และการติดต่อสื่อสาร (communication)

ยุคที่ 3 ยุคการจัดการสมัยปัจจุบัน (Modern) (ค.ศ. 1950-ปัจจุบัน

1. แนวความคิดการจัดการโดยใช้คณิตศาสตร์เพื่อช่วยในการตัดสินใจ เป็นแนวความคิดที่ใช้ตัวเลขเป็นเครื่องมือในการบริหารและการตัดสินใจ โดยมีการพยายามปรับข้อมูลต่าง ๆ ให้เป็นตัวเลข และนำตัวเลขเหล่านั้นผ่านกระบวนการคำนวณทางคณิตศาสตร์และตัวเลขที่เป็นผลลัพธ์จะนำไปสู่การวิเคราะห์ ตีความ และแปรความหมาย และจะนำไปใช้ประกอบในการตัดสินใจของผู้บริหาร อย่างไรก็ตามการใช้ตัวเลขหรือสูตรคำนวณต่าง ๆ ที่เป็นกระบวนการทางคณิตศาสตร์นั้น มีข้อจำกัดและมีข้อยกเว้นมากซึ่งข้อจำกันที่เป็นข้อยกเว้นเหล่านี้แท้จริงแล้วเป็นสิ่งที่เกี่ยวข้อง และมีอิทธิพลที่สำคัญในการที่จะต้องพิจารณาประกอบในการบริหารงานและการตัดสินใจ
แต่อย่างไรก็ตาม ตัวเลขที่ผ่านการประมวลทางคณิตศาสตร์ออกมาเป็นผลลัพธ์จะใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพเพียงใดนั้น ก็ขึ้นอยู่กับความสามารถของผู้วิเคราะห์ที่จะต้องคำนึงถึงปัจจัยแวดล้อมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องและจะต้องนำมาพิจารณาประกอบกับผลลัพธที่เป็นตัวเบบอย่างสมเหตุสมผล

2. แนวความคิดการจัดการเชิงระบบแนวความคิดการจัดการเชิงระบบ โดย Norbert Wiener (ค.ศ. 1958) เป็นการนำเอาแนวคิดเกี่ยวกับระบบ (system) มาประยุกต์ใช้ ซึ่งการที่จะเข้าใจแนวความคิดนี้ได้ดีนั้นจะต้องมีความเข้าใจเกี่ยวกับระบบในอันดับแรกก่อนระบบ (system) คือ ส่วนต่าง ๆ จำนวนหนึ่ง ซึ่งสัมพันธ์และขึ้นอยู่ต่อกันเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันเพื่อกระทำงานสิ่งบางอย่างให้สำเร็จผลตามต้องการ

อ้างอิง : มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น. 2547. วิวัฒนาการของแนวคิดทางการจัดการ.

[Online]./Available:URL:http://www.fareastern.ac.th/acad/mk/sirinapha/management/chapter3.htm

ส.อ.หญิง ณัฐธยาน์ ธนโชติวราพงศ์ รหัส 204



ทฤษฎีการศึกษาการบริหารแบบคลาสสิค(Classical management approach) การศึกษาการบริหารโดยทฤษฎีกลุ่มนี้ เป็นทฤษฎีที่มุ่งเน้นองค์การโดยรวมและวิธีการปรับปรุงประสิทธิภาพและประสิทธิผลทฤษฎีการจัดการตามหลักวิทยาศาสตร์ (Scientific management)Frederick W. Taylor (1856-1915)เทย์เลอร์ ได้ชื่อว่าเป็นบิดาแห่งการจัดการตามหลักวิทยาศาสตร์ ปรัชญาการบริหารของเทย์เลอร์ ได้แก่

1. ทำการศึกษางานแต่ละส่วนด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์และพัฒนาวิธีการที่ดีที่สุดสำหรับการทำงานแต่ละอย่าง

2. ใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์ในการคัดเลือกและการฝึกอบรมพนักงานและมอบหมายความรับผิดชอบให้ทำงานที่เหมาะสมที่สุดสำหรับแต่ละคน

3. มีการประสานงานกันอย่างใกล้ชิดระหว่างผู้บริหารและพนักงาน

4. แบ่งงานและความรับผิดชอบในงานเป็นส่วนต่าง ๆเทย์เลอร์ได้พัฒนาวิธีการจ่ายค่าจ้างต่อหน่วยแบบสองระดับ(Different rate system) ขึ้นมา

Henry L. Gantt (1861-1919)Gantt ได้พัฒนาวิธีจ่ายค่าตอบแทนแบบใหม่ ไม่ได้ใช้วิธีจ่ายค่าจ้างแบบสองระดับเหมือนเทย์เลอร์แต่ใช้วิธีให้สิ่งจูงใจGantt เป็นที่รู้จักกันดีที่สุดในฐานะเป็นผู้พัฒนาวิธีการอธิบายแผนโดยกราฟ(Gantt Chart)ซึ่งได้นำมาใช้ในการอธิบายถึงการวางแผน การจัดการ และการควบคุมองค์การที่มีความซับซ้อน โดยพัฒนามาเป็นCritical Path Method(CPM) ของบริษัท Du Pont และ Program Evaluation and Review Technique(PERT)ซึ่งพัฒนาขึ้นโดยกองทัพเรือสหรัฐอเมริกา หรือได้พัฒนาประยุกต์มาจนเป็นเป็นโปรแกรม Lotus 1-2-3

น.ส ปวราพร หาญบุญศรี รหัส 227 เอกการจัดการทั่วไป รุ่น 19



แนวความคิดการจัดการตามแนวมนุษย์สัมพันธ์ (Human Relation)



เจ้าของแนวความคิดหรือทฤษฎี ได้แก่ Elton Mayo นักจิตวิทยาชาวสหรัฐอเมริกาเรียกว่าวิจัยที่เป็นผลงานเป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดีว่า "Hawthorne study" หรือ "Hawthorne experiment" ซึ่งจากการศึกษาของ Mayo สรุปได้โดยธรรมชาติของมนุษย์จะมีพฤติกรรม 2 แบบคือ


1. พฤติกรรมที่เป็นไปตามเหตุผล
2. พฤติกรรมที่เป็นไปตามอารมณ์ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่เกิดขึ้นอย่างไม่มีเหตุผล

ดังนั้น ในการที่ให้ปัจจัยผลตอบแทนหรือค่าจ้างสูง เพื่อให้คนงานเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานสูงซึ่งถือว่าเป็นพฤติกรรมที่เป็นไปตามเหตุผลอาจจะเป็นความเข้าในที่ไม่ถูกต้องทั้งหมดเนื่องมาจากมนุษย์ไม่ใช่เครื่องจักรมนุษย์มีจิตใจและความรู้สึก มีความแปรปรวนทางด้านอารมณ์ ดังนั้น ปัจจัยจูงใจที่เป็นตัวเงินเพียงอย่างเดียวนั้นไม่เพียงพอต่อการใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน หรือเพิ่มผลผลิต ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่เป็นปัจจัยที่ใช้ตอนสนองเรื่องราวทางด้านจิตใจ และความสัมพันธ์ทางสังคมระหว่างกัน

นอกจากนี้ Mayo ยังได้ศึกษาในลำดับต่อมาเกี่ยวกับเรื่อง ลักษณะของผู้นำ (leadership) การพัฒนาพนักงาน (employee development) และการติดต่อสื่อสาร (communication)

แนวความคิดการจัดการแบบพฤติกรรมศาสตร์ (Behavior Approach)

จากการค้นพบแนวความคิดเกี่ยวกับมนุษย์สัมพันธ์ จึงทำให้มีการตื่นตัว และมีการศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับมนุษย์เพิ่มมากขึ้น โดยได้มีนักวิชาการหลาย ๆ ท่านในยุคนี้ได้ทำการศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับมนุษย์เพิ่มมากขึ้น โดยได้มีนักวิชาการหลาย ๆ ท่านในยุคนี้ได้ทำการศึกษา และกำหนดเป็นทฤษฎีต่าง ๆ เช่น
- Abraham Maslow ได้ศึกษาทฤษฎีความต้องการ
- Frederick Herzberg ได้ศึกษารูปแบบการจูงใจ
- Ralph M. Stogdill ได้ศึกษาผู้นำในองค์การ
- Kurt Lewin และเพื่อน ได้ศึกษาเรื่องการเคลื่อนไหวของกลุ่ม
- Chester Barnard ได้ศึกษาทฤษฎีอำนาจหน้าที่ที่เกิดจากการยอมรับ

และยังมีนักวิชาการใหม่ ๆ อีกหลายท่าน ที่ได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับมนุษย์อย่างลึกซึ้งในแง่มุมต่าง ๆ เช่น Chris Argyris, Rensis Likert, David C. McClelland เป็นต้น

กล่าวโดยสรุป การจัดการตามทฤษฎี Human Relation ได้มุ่งเน้นถึงความสำคัญของคน และ มีความเข้าใจเกี่ยวกับธรรมชาติที่แท้จริงของมนุษย์ ซึงเป็นการที่จะเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานและเพิ่มผลผลิตให้สูงขึ้นนั้น ปัจจัยที่เป็นตัวเงินนั้นยังไม่เพียงพอ แนวความคิดในยุคนี้จะมุ่งเน้นโดยให้ความสำคัญไปที่คน มากว่างาน ถือว่าคน เป็นหัวใจของการบริการที่จะต้องคำนึกถึงเป็นอันดับแรก จะต้องพยายามปรับวิธีการทำงานที่ให้คนพึงพอใจมีอิสระที่จะคิดริเริ่มเพื่อสร้างสรรค์ในทางต่าง ๆ

เปรียบเทียบแนวคิดการจัดการแบบวิทยาศาสตร์ กับ การจัดการตามแนวมนุษย์สัมพันธ์

กล่าวโดยสรุป การจัดการที่มีหลักเกณฑ์ (scientific management) เป็นแนวความคิดที่เป็นจุดเริ่มต้นของการศึกษาอย่างจริงจังเกี่ยวกับวิชาการจัดการ โดยมีการใช้หลักของการคำนวณเข้ามาเกี่ยวข้องเพื่อหาวิธีการที่ดีที่สุด แต่แนวความคิด scientific management มีจุดอ่อนที่ไม่สามารถนำไปใช้ได้ในองค์การโดยทั่วไป ดังนั้น แนวความคิดการจัดการตามหลักการจัดการทั่วไป หรือ general priciple of management จึงมีการพัฒนาให้เกิดขึ้น เป็นหลักการจัดการที่เป็นสากลสามารถนำไปประยุกต์ และปรับใช้กับองค์การได้โดยทั่วไป ซึ่งแนวความคิดที่เกิดขึ้นในยุคแรกนี้เป็นแนวความคิดที่มุ่งเพิ่มผลผลิตและวิธีการที่ดีที่สุดที่จะเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานโดยให้ความสำคัญกับงาน และมองเห็นคน เป็นปัจจัยในการผลิตที่จะต้องปรับตัวให้เข้ากับงานโดยให้ความสำคัญกับงาน และมองเป็นคน เปํนปัจจัยในการผลิตที่จะต้องปรับตัวให้เข้ากับงานหรือวิธีการที่ได้กำหนดไว้ โดยใช้ปัจจัยจูงใจคือ เงิน เป็นสิ่งที่ใช้จูงใจคนให้เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน



อ้างอิง : มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น. 2547. วิวัฒนาการของแนวคิดทางการจัดการ. [Online]./Available: URL:http://www.fareastern.ac.th/acad/mk/sirinapha/management/chapter3.htm

นายเมธาวี จันทร์อำรุง รหัส 52101025401054

การจัดการทั่วไป
สุภัททา ปัณฑะแพทย์ (2542, หน้า 144) ได้กล่าวถึงแรงจูงใจในการศึกษาว่า ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ ดังนี้

1. แรงจูงใจเกิดจากความต้องการความสุขส่วนตัว มนุษย์มีความต้องการหา ความสุขให้กับตนเอง หลีกหนีความไม่พึงพอใจ ดังนั้นแรงจูงใจจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ให้ มนุษย์แสดงพฤติกรรมเพื่อแสวงหาความสมดุล ไม่ว่าจะเป็นในด้านความสุขหรือความเจ็บปวด ซึ่งขึ้นอยู่กับความพอใจแห่งตน
2. แรงจูงใจเกิดจากการตอบสนองสัญชาตญาณ โดยไม่ต้องมีการเรียนรู้ เช่น การตอบสนองต่ออาหารตอบสนองต่อสิ่งเร้าทางเพศและความเจ็บปวดต่างๆ
3. แรงจูงใจเกิดขึ้นตามเหตุและผล คนเรามีอิสระที่จะกระทำหรือตัดสินสิ่งต่าง ๆ โดยมีเหตุผลและรู้ว่าตนต้องการอะไร ทำให้การตัดสินใจเลือกเป็นแรงจูงใจตามหลักเหตุและผล
4. แรงจูงใจเกิดจากแรงขับ การกระทำที่มนุษย์เลือกกระทำขึ้นอยู่กับความมากน้อยของแรงขับที่จะตัดสินให้เกิดแรงกระทำนั้น ๆ
5. แรงจูงใจเกิดจากการกระตุ้นของอารมณ์ในบางครั้งบุคคลก็จะแสดงพฤติกรรมตามพลังของอารมณ์
สรุปได้ว่า แรงจูงใจในการเลือกศึกษาจะประกอบด้วยความต้องการและ เป้าประสงค์ที่มีลักษณะผสมผสานกันหลายประการ ทั้งด้านเหตุผลส่วนตัว ด้านสังคม ด้านเศรษฐกิจ ด้านบุคคลที่เกี่ยวข้อง และด้านสถาบัน

สุภัททา ปิณฑะแพทย์. (2542). พฤติกรรมมนุษย์และการพัฒนาตน. กรุงเทพมหานคร: สถาบันราชภัฎสวนสุนันทา, ภาควิชาจิตวิทยาและการแนะแนว.

นายเมธาวี จันทร์อำรุง รหัส 5210125401054

การจัดการทั่วไป
การวิเคราะห์ (Analysis)
จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส อุปสรรค
ปัจจัยภายใน :จุดแข็ง (Strength) + จุดอ่อน (Weakness)
ปัจจัยภายนอก :โอกาส (Opportunities) + ภัยคุกคาม (Threat)
การวิเคราะห์สถานการณ์
มีประเด็นที่ประกอบด้วย จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และภัยคุกคาม (SWOT = Strength, Weakness, Opportunity และ Threat) คือ การสำรวจตรวจสอบสภาพภายในองค์การและสภาพแวดล้อมภายนอก เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการวางแผน เพื่อให้แผนนั้นได้ใช้ประโยชน์จากสิ่งที่มีอยู่และแก้ปัญหาที่ไม่พึงประสงค์ โดยอาศัยทั้งปัจจัยจากภายในและภายนอกมาเป็นฐานคิดสำหรับกำหนดแผนงานโครงการ
ปัจจัยภายใน ประกอบด้วย จุดแข็ง (Strength) และจุดอ่อน (Weakness)
จุดแข็ง หมายถึง สิ่งที่มีอยู่เองแล้วโดยพิจารณาจากความสำเร็จในมิติต่าง ๆ เช่น ทำเลที่ตั้ง ฐานะทางการเงิน ความสามารถของบุคลากร ความเป็นทีม คุณภาพบริการ ประเพณีวัฒนธรรม แหล่งท่องเที่ยว เป็นต้น
จุดอ่อน หมายถึง สิ่งที่มีอยู่เองแล้วโดยพิจารณาจากปัญหาหรืออุปสรรคในมิติต่าง ๆ เช่น ระเบียบกฎเกณฑ์ ขั้นตอนที่ซับซ้อน การเริ่มต้นใหม่ ความหลากหลายของคน เป็นต้น
ปัจจัยภายนอก ประกอบด้วย โอกาส (Opportunity) และภัยคุกคาม (Threat)
โอกาส หมายถึง สิ่งที่อยู่ภายนอกโดยพิจารณาถึงความเป็นประโยชน์หรือสนับสนุนเป้าหมายของชุมชน เช่น การเมือง การรวมการปกครอง กฎหมาย ราคาน้ำมัน ค่าเงินบาท คู่แข่ง เป็นต้น
ภัยคุกคาม หมายถึง สิ่งที่อยู่ภายนอกโดยพิจารณาว่าเป็นอุปสรรคต่อเป้าหมายของชุมชน เช่น การเมือง การรวมการปกครอง กฎหมาย ราคาน้ำมัน ค่าเงินบาท คู่แข่ง เป็นต้น

เทคโนโลยี
การใช้อุปกรณ์ร่วมกัน (Sharing of peripheral devices) เครือข่ายคอมพิวเตอร์ทำให้ผู้ใช้ สามารถใช้อุปกรณ์ รอบข้างที่ต่อพ่วงกับระบบคอมพิวเตอร์ ร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่นเครื่องพิมพ์ ดิสก์ไดร์ฟ ซีดีรอม สแกนเนอร์ โมเด็ม เป็นต้น ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่าย ไม่ต้องซื้ออุปกรณ์ที่มีราคาแพง เชื่อมต่อพ่วงให้กับคอมพิวเตอร์ทุกเครื่อง

การใช้โปรแกรมและข้อมูลร่วมกัน (Sharing of program and data) เครือข่ายคอมพิวเตอร์ ทำให้ผู้ใช้สามารถใช้โปรแกรม และข้อมูลร่วมกันได้ โดยจัดเก็บโปรแกรมไว้แหล่งเก็บข้อมูล ที่เป็นศูนย์กลาง เช่น ที่ฮาร์ดดิสก์ของเครื่อง File Server ผู้ใช้สามารถใช้โปรแกรมร่วมกัน ได้จากแหล่งเดียวกัน ไม่ต้องเก็บโปรแกรมไว้ในแต่ละเครื่อง ให้ซ้ำซ้อนกัน นอกจากนั้นยังสามารถรวบรวม ข้อมูลต่าง ๆ จัดเก็บเป็นฐานข้อมูล ผู้ใช้สามารถใช้สารสนเทศ จากฐานข้อมูลกลาง ผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร ์ที่ใช้งานได้อย่างสะดวกสบาย โดยไม่ต้องเดินทางไปสำเนาข้อมูลด้วยตนเอง เพราะใช้การเรียกใช้ข้อมูล ผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์นั่นเอง

สามารถติดต่อสื่อสารระยะไกลได้ (Telecommunication) การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ เป็นเครือข่าย ทั้งประเภทเครือข่าย LAN , MAN และ WAN ทำให้คอมพิวเตอร์ สามารถสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูล ระยะไกลได ้โดยใช้ซอฟต์แวร์ประยุกต์ ทางด้านการติดต่อสื่อสาร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต มีการให้บริการต่าง ๆ มากมาย เช่น การโอนย้ายไฟล์ข้อมูล การใช้จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail) การสืบค้นข้อมูล (Serach Engine) เป็นต้น

สามารถประยุกต์ใช้ในงานด้านธุรกิจได้ (ฺBusiness Applicability) องค์กรธุรกิจ มีการเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เพื่อประโยชน์ทางธุรกิจ เช่น เครือข่ายของธุรกิจธนาคาร ธุรกิจการบิน ธุรกิจประกันภัย ธุรกิจการท่องเที่ยว ธุรกิจหลักทรัพย์ สามารถดำเนินธุรกิจ ได้อย่างรวดเร็ว ตอบสนองความพึงพอใจ ให้แก่ลูกค้าในปัจจุบัน เริ่มมีการใช้ประโยชน์จากเครือข่าย Internet เพื่อทำธุรกิจกันแล้ว เช่นการสั่งซื้อสินค้า การจ่ายเงินผ่านระบบธนาคาร เป็นต้น

อ้างอิง : ทฤษฎีองค์การ Organization Theory ฉบับมาตรฐาน
ผู้เขียน ศิริวรรณ เสรีรัตน์, รศ., สมศักดิ์ วานิชยาภรณ์, สมชาย หิรัญกิตติ, รศ.
สำนักพิมพ์ : Diamond In Business World
เดือนปีที่พิมพ์ : 2545

นางสาวธัญญลักษณ์ คำแพง รหัส 383 (เรียนร่วม)



การวิเคราะห์สภาวะแวดล้อมภายนอกองค์การ ประกอบด้วย

1. การตรวจสอบสภาวะแวดล้อมภายนอก

2. การใช้เทคนิคการพยากรณ์

3. ขั้นตอนการวิเคราะห์สภาวะแวดล้อมภายนอก

4. การประมวลผลปัจจัยภายนอก หรือการสรุปวิเคราะห์ปัจจัยภายานอก

แนวคิดของ มิลเลอร์(Miller) สภาวะแวดล้อมภายนอกองค์การประกอบด้วย 2 องค์ประกอบ คือ สภาวะแวดล้อมโดยทั่วไปในการทำงาน กับ สภาวะแวดล้อมในการแข่งขัน โดยสภาวะแวดล้อมโดยทั่วไป ประกอบด้วย ประชากร สังคมวัฒนธรรม การเมืองและกฎหมาย เศรษฐศาสตร์มหภาค วิทยาการหรือเทคโนโลยี และการค้าระหว่างประเทศ เป็นต้น

ตามแนวคิดของ วีเล็นและฮังเกอร์(Wheelen and Hunger) สภาวะแวดล้อมภายนอกองค์การ มี 3 ด้านหลัก คือ สภาวะแวดล้อมทางสังคม สภาวะแวดล้อมในการทำงาน และสภาวะแวดล้อมด้านต่างประเทศ

ตามแนวคิดของ เพียส และโรบินสัน (Pearce and Robinson) แบ่งสภาวะแวดล้อมภายนอกเป็น 3 ประเภท คือ สภาวะแวดล้อมระยะไกล สภาวะแวดล้อมในการแข่งขัน และสภาวะแวดล้อมในการปฏิบัติงาน

ส่วนการวิเคราะห์สภาวะแวดล้อมภายในองค์การ นอกจากจะมีการวิเคราะห์เกี่ยวกับโครงสร้างขององค์การ และวัฒนธรรมขององค์การแล้ว การวิเคราะห์ทรัพยากรขององค์การ ก็มีความสำคัญเช่นกัน

ทรัพยากรขององค์การ ได้แก่ สินทรัพย์ กระบวนการ ความสามารถ ทักษะหรือความรู้ที่ควบคุมโดยองค์การ ทรัพยากรจะเป็นจุดแข็ง หากมีการเตรียมองค์การให้มีความได้แปรียบจากการแข่งขัน ทรัพยากรจะเป็นจุดอ่อน หากทรัพยากรในองค์กรไม่มีความสามารถในการทำงาน ในขณะที่คู่แข่งขันมีความสามารถในจุดนี้ องค์การจึงต้องมีการมีการพัฒนาทรัพยากรขององค์การให้มีทักษะความสามารถในด้านต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความได้เปรียบในการแข่งขัน และเป็นที่ยอมรับกันทั่วไป

แหล่งที่มา : สื่อการสอนของรายวิชา ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร


นางสาว สอาด ไหวพริบ รหัส 5130125401218 เพิ่มเติม



แนวคิดและทฤษฎีทางการจัดการ

ในการจัดแบ่งกลุ่มแนวคิดและทฤษฎีทางการจัดการจากอดีตจนถึงปัจจุบันนั้น มีอยู่ด้วยกัน หลายแนวความคิดและทฤษฎี แต่สรุปได้ 3 ยุคหลักๆ ดังนี้

แนวความคิดทางการจัดการในสมัยเดิมหรือยุคคลาสสิก

จากแนวความคิดทางการจัดการในยุคของทฤษฎีสมัยเดิมหรือทฤษฎีองค์การยุคคลาสสิกในการแบ่งหน้าที่ในการทำงานจะให้ความสำคัญกับการแบ่งหน้าที่โดยใช้หลักคุณธรรมในการแบ่งงานเป็นสำคัญที่จะทำให้เกิดประสิทธิภาพในองค์การ นอกจากนี้ ยังมุ่งเน้นถึงหลักความชำนาญเฉพาะด้าน เช่น ถ้าผู้ใดได้รับหน้าที่และความรับผิดชอบงานใดแล้ว ก็ให้ไปพัฒนางานนั้นให้จนเกิดความเชี่ยวชาญ รวมทั้งมีการวัดความสามารถของคนด้วยการสอบแข่งขัน ซึ่งเป็นการใช้ระบบคุณธรรม เพราะคนต้องใช้ความสามารถจึงจะเข้าสู่ตำแหน่งได้ รวมทั้งมีการวัด ด้านความชำนาญและประสบการณ์ของบุคลากรในด้านภารกิจที่ถูกกำหนดไว้นอกจากนี้ทฤษฎีในสมัยเดิมยังได้มุ่งเน้นถึงหลักการควบคุมโดยการออกกฎระเบียบและการควบคุมบุคลากรอย่างใกล้ชิดเพื่อให้บุคลากรสามารถปฏิบัติงานได้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์นอกจากนี้เพื่อเป็นหลักประกันให้งานสำเร็จลุล่วงลงได้ด้วยความราบรื่นอย่างไรก็ตามยังก่อให้เกิดผลกระทบตามมา เช่นการที่บุคคลจะอิงกฎระเบียบในการปฏิบัติงานอย่างเคร่งครัดทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในองค์การลดลงและมาตรฐานนั้นถูกนำมาใช้เป็นเป้าหมายแทนที่จะใช้ กลไกช่วยในการบรรลุเป้าหมาย ถ้ากฎระเบียบกำหนดว่าพฤติกรรมลักษณะใดไม่เป็นที่ต้องการ ผู้ปฏิบัติก็จะพยายามหลีกเลี่ยงซึ่งการกระทำเช่นนี้จะให้ไม่บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การในทางตรงข้ามผู้ปฏิบัติควรจะต้องพยายามที่จะทำในสิ่งที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์มากไปกว่าหน้าที่ที่กำหนดไว้ในงานนั้นจึงจะสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การอย่างมีประสิทธิภาพ

นักทฤษฎีทางการจัดการในสมัยเดิมพยายามที่จะเสนอหลักการต่างๆ เกี่ยวกับการจัดการ อย่างเป็นสากลที่สามารถจะนำมาใช้ได้กับทุกประเภทในทุกสถานการณ์ ซึ่งหลักการต่างๆ ที่ได้มี การคิดค้นขึ้นมานี้จะมีพื้นฐานมาจากความเห็นพ้องกันของนักทฤษฎีในยุคนี้ว่า ในการปฏิบัติงานใด ให้เกิดประสิทธิภาพได้นั้น จำเป็นจะต้องให้ความสำคัญกับเรื่องของการประสานงานและการแบ่งงาน กันทำตามความชำนาญ สำหรับแนวความคิดทางการจัดการในสมัยเดิมโดยเฉพาะอย่างยิ่งแนวความคิด ทางการจัดการเชิงวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่จะเป็นแนวความคิดที่เกิดจากผลงานของเทย์เลอร์ ซึ่ง แนวความคิดดังกล่าวนี้มุ่งเน้นที่จะเพิ่มผลผลิตโดยการใช้ประโยชน์จากแรงงานที่มีอยู่เป็นสำคัญ







แนวความคิดทางการจัดการเชิงพฤติกรรมศาสตร์

จากแนวความคิดทางการจัดการสมัยดั่งเดิมได้มุ่งเน้นการศึกษาเกี่ยวกับโครงสร้างองค์การ และการออกแบบงานเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด คนงานถูกมองว่าไม่แตกต่างจากเครื่องจักร ผู้บริหารต้องการบรรลุวัตถุประสงค์สามารถได้โดยการให้สิ่งจูงใจด้วยการเงิน ทำให้นักทฤษฎีสมัย ดั่งเดิมไม่ได้ให้ความสำคัญกับสภาวะแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา นอกจากนี้พฤติกรรม ของมนุษย์เองก็มีความสลับซับซ้อนและยากที่จะควบคุมได้ ดังนั้นในยุคต่อมาจึงมีนักทฤษฎีได้ให้ ความสนใจและศึกษาเกี่ยวกับ พฤติกรรมศาสตร์ ในยุคนี้ได้มุ่งการศึกษาในปัญหาด้านการจูงใจ การทำให้คนงานยินยอมปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมายให้สำเร็จ การควบคุม เป็นต้น ส่วนปัจจัยด้าน โครงสร้างองค์การได้ถูกให้ความสำคัญรองลงมา นอกจากนี้ภาวะที่องค์การไม่สามารถใช้ประโยชน์ จากเครื่องจักรได้เต็มกำลังการผลิต เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทำให้องค์การต้องหันไปผลิตสินค้าชนิดอื่น เพิ่มขึ้น ซึ่งเมื่อประกอบกับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในสมัยนั้นทำให้ลักษณะของงานต่างจาก สมัยยุคเดิมมาก โดยลักษณะงานสมัยใหม่นี้ต้องการความคิดสร้างสรรค์ในส่วนของบุคลากรมากขึ้น ด้วยเหตุนี้ จึงมีนักทฤษฏีองค์การหันมาให้ความสนใจทำการศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมกันมาจนกลายเป็น แนวความคิดเชิงพฤติกรรมศาสตร์ในเวลาต่อมา

สำหรับแนวความคิดทางการจัดการเชิงพฤติกรรมศาสตร์ มีแนวความคิดหลัก ดังนี้

1. แนวความคิดทางการจัดการเชิงมนุษยสัมพันธ์

ในประเทศสหรัฐอเมริการะหว่าง ค.ศ. 1920-1930 ในช่วงเวลาดังกล่าวมีความเปลี่ยนแปลง เกิดขึ้นอย่างมาก เช่น การอพยพของคนจำนวนมากจากชนบทเข้าสู่ตัวเมือง มีการนำเครื่องจักรกล มาใช้ในโรงงานแทนแรงงานคนมากขึ้น มีการแบ่งงานกันทำทั้งในระดับคนงานและระดับบริหาร มีการกำหนดมาตรฐานของงาน เป็นต้น ซึ่งการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ทำให้เกิดความจำเป็นที่จะต้องมี การพึ่งพาอาศัยกันและการประสานงานกันอย่างใกล้ชิด ทำให้นักทฤษฎีในยุคนี้เกิดความคิดเห็นขัดแย้ง กับหลักการของนักทฤษฎีสมัยเดิมที่มุ่งเน้นการทำงานและการแสวงหาผลกำไรสูงสุด เพราะแนวคิด ดังกล่าวจะนำไปสู่สภาวะของการแข่งขันกันอย่างรุนแรงทำให้เกิดความขัดแย้งกัน และแนวคิดดังกล่าว ไม่ได้ตั้งอยู่บนพื้นฐานของการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและไม่สอดคล้องกับสภาวะแวดล้อมที่เปลี่ยนไป

2. แนวความคิดทางการจัดการเชิงสังคมศาสตร์

ผลงานของแมรี่ ปาร์คเกอร์ ฟอลเล็ต (Mary P. Follett) ผลงานฟอลเล็ตที่สำคัญ คือ การนำเสนอหลักการเกี่ยวกับการประสานงาน ได้แก่หลักการประสานงานโดยตรงระหว่างผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับความรับผิดชอบ หลักการประสานงานตั้งแต่ระยะเริ่มต้นของงาน หลักการประสานงานในลักษณะแลกเปลี่ยนข้อมูลกันและกัน และหลักการ



3. แนวความคิดทางการจัดการเชิงพฤติกรรมศาสตร์

ผลงานของอับราฮาม เอช มาสโลว์ (Abraham H. Maslow)

ทฤษฎีความต้องการของมาสโลว์ (Maslow’s theory) หรือทฤษฎีลำดับความต้องการ (The Hierarchy of Needs Theory) เป็นทฤษฎีเกี่ยวกับแรงจูงใจที่เชื่อว่าการตอบสนองความต้องการ จะสามารถจูงใจคนให้ตั้งใจทำงานหรืออาจกล่าวได้ว่า พฤติกรรมของบุคคลเป็นผลมาจากการได้รับ การตอบสนองตามความต้องการ นั่นคือ ใช้ความต้องการของบุคลากรเป็นเครื่องแรงจูงใจให้ขยันทำงาน สำหรับความต้องการของมนุษย์มี 5 ขั้น ดังนี้

1 ความต้องการทางด้านร่างกาย (Physiological needs) เป็นความต้องการ ด้านพื้นฐานของมนุษย์ที่มนุษย์มีความต้องการได้รับการตอบสนองก่อนความต้องการอื่นๆ ได้แก่ อาหาร ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม และยารักษาโรค

2 ความต้องการความมั่นคง (Safety needs) เป็นความต้องการเกี่ยวกับความ มั่งคงและปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

3 ความต้องการความรักหรือการติดต่อสัมพันธ์ (Social needs) เป็นความ ต้องการจะมีเพื่อน ความต้องการเป็นที่ยอมรับของกลุ่ม เป็นต้น

4 ความต้องการการยกย่องนับถือ (Esteem needs) เป็นความต้องการที่เป็น ความรู้สึกภายใน เช่น ความต้องการได้รับการเลื่อนตำแหน่งงาน เป็นต้น

5 ความต้องการสมหวังในชีวิต (Self-actualization needs) เป็นความต้องการ บรรลุถึงสิ่งที่ตนเองสามารถจะเป็น คือ ความประสบความสำเร็จในชีวิตอย่างสมบูรณ์ ความต้องการ ในขั้นนี้จะเกิดขึ้นเมื่อความต้องการใน 4 ขั้นแรกได้รับการตอบสนองแล้วเท่านั้น





แนวความคิดทางการจัดการสมัยใหม่

จากแนวความคิดของการจัดการแนวเดิมที่มีจุดเด่นที่ได้มุ่งเน้นโครงสร้างที่เป็นทางการที่มี การกำหนดกฎระเบียบวินัยที่เคร่งครัดในการใช้อำนาจหน้าที่ที่มีลักษณะของการรวมอำนาจ และ การดำเนินการตามหลักการของความมีเหตุผล โดยมีสมมติฐานว่ามนุษย์เป็นคนเกียจคร้านไม่ชอบ ทำงานและจำเป็นต้องใช้วิธีการควบคุมพฤติกรรมมนุษย์โดยใกล้ชิด เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและ ประสิทธิผลต่อองค์การ ส่วนแนวความคิดทางการจัดการแนวมนุษย์สัมพันธ์และพฤติกรรมศาสตร์ นั้นก็มีจุดเด่นที่ได้มุ่งเน้นในการให้ความสำคัญในตัวคน โครงสร้างองค์การแบบไม่เป็นทางการ เน้นความสัมพันธ์ระหว่างคนในองค์การและมีสมมติฐานว่ามนุษย์เป็นคนรักงาน มีความขยันและ ความรับผิดชอบ ไม่จำเป็นจะต้องทำกรควบคุมพฤติกรรมอย่างใกล้ชิด จากสมมติฐานนี้ทำให้การศึกษาเกี่ยวกับการหาสิ่งที่จูงใจคนให้การยอมรับและร่วมมือปฏิบัติงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การ เปลี่ยนไปเป็นการศึกษาในเชิงบวกมากขึ้น สำหรับแนวความคิดของนักทฤษฏีสมัยใหม่ได้วิจารณ์ว่าแนวความคิดทางการจัดการแนว พฤติกรรมศาสตร์ที่เสนอสิ่งที่ขัดแย้งกับความเป็นจริง เนื่องจากโครงสร้างองค์การที่เป็นทางการและ การใช้สิ่งจูงใจทางเศรษฐกิจเป็นสิ่งจำเป็น จากหลักการของนักทฤษฎีแนวเดิมเกี่ยวกับการแบ่งงานกันทำตามความชำนาญเฉพาะด้านและการเน้นการมีมาตรฐานของการปฏิบัติงาน ได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า สามารถทำให้สังคมก้าวหน้าและมนุษย์มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น จึงไม่เห็นด้วยที่จะมีการทิ้งแนวความคิด ยุคเดิม ดังนั้นจึงได้มีแนวความคิดใหม่ขึ้นมาคือแนวความคิดเชิงระบบและแนวความคิดเชิงสถานการณ์

แนวความคิดเชิงระบบมองว่าการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการจัดองค์การนั้นควรจะต้องทำการ วิเคราะห์ถึงปฏิสัมพันธ์ระหว่างส่วนต่างๆ เพื่อที่จะได้ภาพรวมขององค์การที่ถูกต้องไม่ใช่นำแต่ละ ส่วนแต่ละหน่วยงานในองค์การมาวิเคราะห์แยกจากกัน ซึ่งแนวความคิดเชิงสถานการณ์ที่ยึดถือ ปรัชญาของแนวความคิดเชิงระบบเป็นพื้นฐาน จึงได้เสนอความคิดเกี่ยวกับการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่าง สภาวะแวดล้อม เทคโนโลยี โครงสร้างและการจูงใจคนให้ทำงาน โดยเห็นว่าไม่มีวิธีการใดที่ดีที่สุด ที่จะนำมาใช้ได้กับองค์การในทุกสถานการณ์ องค์การที่จะประสบผลสำเร็จจะต้องปรับตัวให้สอดคล้อง และเข้ากันได้กับสภาวะแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปได้ นอกจากนี้แนวความคิดทางการจัดการสมัยใหม่ ยังได้พัฒนาแนวคิด โดยมุ่งเน้นการใช้ตัวแบบทางคณิตศาสตร์มาช่วยในการแก้ปัญหาของการจัดการ มากขึ้นเรียกว่าเป็นแนวความคิดของการจัดการเชิงปริมาณ ซึ่งได้รับความนิยมนำมาใช้ในการแก้ปัญหา ที่มีความสลับซับซ้อนของการดำเนินธุรกิจสมัยใหม่






ขอบคุณแหล่งที่มา : สุโขทัยธรรมาธิราช, มหาวิทยาลัย. (2548). องค์การและการจัดการ. (พิมพ์ครั้งที่ 6). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

น.ส ปวราพร หาญบุญศรี รหัส 227 เอกการจัดการทั่วไป กศพบ รุ่น 19

แนวความคิดการจัดการตามแนวมนุษย์สัมพันธ์ (Human Relation)

เจ้าของแนวความคิดหรือทฤษฎี ได้แก่ Elton Mayo นักจิตวิทยาชาวสหรัฐอเมริกาเรียกว่าวิจัยที่เป็นผลงานเป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดีว่า "Hawthorne study" หรือ "Hawthorne experiment" ซึ่งจากการศึกษาของ Mayo สรุปได้โดยธรรมชาติของมนุษย์จะมีพฤติกรรม 2 แบบคือ

1. พฤติกรรมที่เป็นไปตามเหตุผล
2. พฤติกรรมที่เป็นไปตามอารมณ์ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่เกิดขึ้นอย่างไม่มีเหตุผล

ดังนั้น ในการที่ให้ปัจจัยผลตอบแทนหรือค่าจ้างสูง เพื่อให้คนงานเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานสูงซึ่งถือว่าเป็นพฤติกรรมที่เป็นไปตามเหตุผลอาจจะเป็นความเข้าในที่ไม่ถูกต้องทั้งหมดเนื่องมาจากมนุษย์ไม่ใช่เครื่องจักรมนุษย์มีจิตใจและความรู้สึก มีความแปรปรวนทางด้านอารมณ์ ดังนั้น ปัจจัยจูงใจที่เป็นตัวเงินเพียงอย่างเดียวนั้นไม่เพียงพอต่อการใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน หรือเพิ่มผลผลิต ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่เป็นปัจจัยที่ใช้ตอนสนองเรื่องราวทางด้านจิตใจ และความสัมพันธ์ทางสังคมระหว่างกัน

นอกจากนี้ Mayo ยังได้ศึกษาในลำดับต่อมาเกี่ยวกับเรื่อง ลักษณะของผู้นำ (leadership) การพัฒนาพนักงาน (employee development) และการติดต่อสื่อสาร (communication)

แนวความคิดการจัดการแบบพฤติกรรมศาสตร์ (Behavior Approach)

จากการค้นพบแนวความคิดเกี่ยวกับมนุษย์สัมพันธ์ จึงทำให้มีการตื่นตัว และมีการศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับมนุษย์เพิ่มมากขึ้น โดยได้มีนักวิชาการหลาย ๆ ท่านในยุคนี้ได้ทำการศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับมนุษย์เพิ่มมากขึ้น โดยได้มีนักวิชาการหลาย ๆ ท่านในยุคนี้ได้ทำการศึกษา และกำหนดเป็นทฤษฎีต่าง ๆ เช่น
- Abraham Maslow ได้ศึกษาทฤษฎีความต้องการ
- Frederick Herzberg ได้ศึกษารูปแบบการจูงใจ
- Ralph M. Stogdill ได้ศึกษาผู้นำในองค์การ
- Kurt Lewin และเพื่อน ได้ศึกษาเรื่องการเคลื่อนไหวของกลุ่ม
- Chester Barnard ได้ศึกษาทฤษฎีอำนาจหน้าที่ที่เกิดจากการยอมรับ

และยังมีนักวิชาการใหม่ ๆ อีกหลายท่าน ที่ได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับมนุษย์อย่างลึกซึ้งในแง่มุมต่าง ๆ เช่น Chris Argyris, Rensis Likert, David C. McClelland เป็นต้น

กล่าวโดยสรุป การจัดการตามทฤษฎี Human Relation ได้มุ่งเน้นถึงความสำคัญของคน และ มีความเข้าใจเกี่ยวกับธรรมชาติที่แท้จริงของมนุษย์ ซึงเป็นการที่จะเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานและเพิ่มผลผลิตให้สูงขึ้นนั้น ปัจจัยที่เป็นตัวเงินนั้นยังไม่เพียงพอ แนวความคิดในยุคนี้จะมุ่งเน้นโดยให้ความสำคัญไปที่คน มากว่างาน ถือว่าคน เป็นหัวใจของการบริการที่จะต้องคำนึกถึงเป็นอันดับแรก จะต้องพยายามปรับวิธีการทำงานที่ให้คนพึงพอใจมีอิสระที่จะคิดริเริ่มเพื่อสร้างสรรค์ในทางต่าง ๆ

เปรียบเทียบแนวคิดการจัดการแบบวิทยาศาสตร์ กับ การจัดการตามแนวมนุษย์สัมพันธ์

กล่าวโดยสรุป การจัดการที่มีหลักเกณฑ์ (scientific management) เป็นแนวความคิดที่เป็นจุดเริ่มต้นของการศึกษาอย่างจริงจังเกี่ยวกับวิชาการจัดการ โดยมีการใช้หลักของการคำนวณเข้ามาเกี่ยวข้องเพื่อหาวิธีการที่ดีที่สุด แต่แนวความคิด scientific management มีจุดอ่อนที่ไม่สามารถนำไปใช้ได้ในองค์การโดยทั่วไป ดังนั้น แนวความคิดการจัดการตามหลักการจัดการทั่วไป หรือ general priciple of management จึงมีการพัฒนาให้เกิดขึ้น เป็นหลักการจัดการที่เป็นสากลสามารถนำไปประยุกต์ และปรับใช้กับองค์การได้โดยทั่วไป ซึ่งแนวความคิดที่เกิดขึ้นในยุคแรกนี้เป็นแนวความคิดที่มุ่งเพิ่มผลผลิตและวิธีการที่ดีที่สุดที่จะเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานโดยให้ความสำคัญกับงาน และมองเห็นคน เป็นปัจจัยในการผลิตที่จะต้องปรับตัวให้เข้ากับงานโดยให้ความสำคัญกับงาน และมองเป็นคน เปํนปัจจัยในการผลิตที่จะต้องปรับตัวให้เข้ากับงานหรือวิธีการที่ได้กำหนดไว้ โดยใช้ปัจจัยจูงใจคือ เงิน เป็นสิ่งที่ใช้จูงใจคนให้เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน

อ้างอิง : มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น. 2547. วิวัฒนาการของแนวคิดทางการจัดการ. [Online]./Available: URL:http://www.fareastern.ac.th/acad/mk/sirinapha/management/chapter3.htm

น.ส. ปาริฉัตร หยุ่นเฮง รหัส 216



แนวคิดการบริหารตามสถานการณ์ (Situational Approach) Fred E. Fiedler (1967)

การบริหารจะยึด “ตัวสถานการณ์” หรือชุดเหตุการณ์ที่ซึ่งมีอิทธิพล ต่อองค์การมากที่สุด ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง มุ่งเน้นถึงความสำคัญของ “การคิดตามสถานการณ์” (Situational thinking) ซึ่งจะช่วยให้ผู้บริหารเกิดความเข้าใจ ได้ว่าภายใต้สถานการณ์เฉพาะนั้นๆ ผู้บริหารควรจะใช้ เทคนิคการบริหารอะไร จึงจะทำให้องค์การสามารถบรรลุผลสำเร็จมากที่สุดได้ การบริหารจะไม่ยึดติดกับ แนวคิด ทฤษฎีหรือหลักการใด หลักการหนึ่งโดยเฉพาะ แต่จะเลือกสรรวิธีการที่ดีที่สุด เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด ผู้บริหารอาจจะใช้วิธีการ หลาย ๆอย่างผสมผสานกันในการ บริหารไปพร้อม ๆกันทั้งนี้แล้วแต่ “ตัวสถานการณ์” และปัจจัยความพร้อมในด้านต่าง ๆ

และเน้นให้ผู้บริหารพิจารณาความแตกต่างในหน่วยงาน เช่น ความแตกต่างระหว่างบุคคล ความแตกต่างระหว่างระเบียบกฎเกณฑ์ วิธีการ กระบวนการ และการควบคุมงาน ความแตกต่างระหว่างความสัมพันธ์ของบุคคลในองค์กร ความแตกต่างระหว่างเป้าหมายการดำเนินงานขององค์การ



แหล่งที่มา http://www.slideshare.net/guest3d68ee/ss-presentation

น.ส.วณิดา สามทอง รหัส 5210125401065 เอกการจัดการทั่วไป ปี 4

การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม : ภายใน
สภาพแวดล้อมแวดล้อมภายในประกอบไปด้วย ปัจจัย (จุดแข็งและจุดอ่อน) ที่อยู่ภายในบริษัทและไม่ได้อยู่ภายใต้การควบคุมระยะสั้นของผู้บริหารระดับสูง ปัจจัยเหล่านี้ได้แก่ โครงสร้าง วัฒนธรรม และทรัพยากรของบริษัท
- โครงสร้างของบริษัท (Corporate Structure) จะแสดงให้เห็นถึงการรวมกลุ่มงาน ความสัมพันธ์ทางอำนาจหน้าที่ การไหลเวียนของงาน และการติดต่อสื่อสารภายในบริษัท เรามักจะเรียกโครงสร้างบริษัทนี้ว่า “สายการบังคับบัญชา” โดยทั่วไปโครงสร้างบริษัทจะแสดงให้เห็นสภาพภายในแผนภูมิองค์การ
- วัฒนธรรมขององค์การ (Corporate Culture) จะหมายถึงความเชื่อ ความคาดหวัง และค่ายนิยมร่วมกันของบรรดาบุคคลภายในบริษัท โดยทั่วไปจะปรากฏขึ้นมาเป็นบรรทัดฐานที่ระบุพฤติกรรมที่ยอมรับกันของบุคคล ตั้งแต่ผู้บริหารระดับสูงลงมาจนถึงพนักงานระดับล่างสุด
- ทรัพยากรของบริษัท (Corporate Resources) จะหมายถึงทรัพย์สินทุกอย่างภายในการผลิตและการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของบริษัท ทรัพย์สินเหล่านี้ ได้แก่ คน เงินทุน วัตถุดิบ โรงงาน เทคโนโลยี และทักษะ เป็นต้น
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม : ภายนอก
สภาพแวดล้อมภายนอกประกอบด้วยปัจจัย (โอกาสและอุปสรรค) ที่อยู่ภายนอกบริษัทและไม่ได้อยู่ภายใต้กรควบคุมของผู้บริหารระดับสูง โดยทั่วไปสภาพแวดล้อมภายนอกจะมีอยู่สองส่วนคือ : สภาพแวดล้อมการดำเนินงานและสภาพแวดล้อมโดยทั่วไป
- สภาพแวดล้อมการดำเนินงาน (Task Environment) จะประกอบด้วยปัจจัยที่กระทบและถูกกระทบโดยตรงต่อการดำเนินงานของบริษัทปัจจัยเหล่านี้ ได้แก่ ผู้มีส่วนได้เสีย รัฐบาล ผู้จำหน่ายวัตถุดิบ ชุมชน คู่แข่งขัน ลูกค้า เจ้าหนี้ สหภาพแรงงาน สมาคมการค้า และกลุ่มผลประโยชน์ เรามักจะเรียกสภาพแวดล้อมการดำเนินงานของบริษัทว่าอุตสาหกรรม
- สภาพแวดล้อมโดยทั่วไป (General Environment) จะประกอบด้วยปัจจัยที่ไม่กระทบโดยตรงต่อการดำเนินงานระยะสั้นของบริษัท ปัจจัยเหล่านี้จะมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจในระยะยาวของบริษัท ปัจจัยเหล่านี้ ได้แก่ เศรษฐกิจ สังคมวัฒนธรรม เทคโนโลยี และการเมือง กฎหมาย

อ้างอิงจาก สมยศ นาวีการ. (2535). การบริหารเชิงกลยุทธ์และนโยบายทางธุรกิจ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์.บรรณกิจเทรดดิ้ง

นางสาวยุพาวรรณ ช่อมะลิ 5210125401078 การจัดการทั่วไป

สภาพแวดล้อมภายนอก (External Environment)
สภาพแวดล้อมภายนอกเป็นกิจการอยู่นอกขอบเขตขององค์การ ซึ่งผู้บริหารไม่สามารถควบคุมโดยตรงได้ แต่พลังสภาพแวดล้อมภายนอกนี้จะส่งผลกระทบถึงศักยภาพของการบริหารองค์การและความสามารถ ในการบรรลุเป้าหมายขององค์การได้ผู้บริหารจะต้องประเมินโอกาสและอุปสรรคจากสิ่งแวดล้อมภายนอก ทั้งปัจจุบันและอนาคตเพื่อวางแผนในการพัฒนาองค์การต่อไป
เมื่อพิจารณาผลกระทบต่อองค์การ สภาพแวดล้อมภายนอกจะประกอบด้วยสภาพแวดล้อมโดยทั่วไป(General Environment) และสภาพแวดล้อมในการดำเนินงาน โดยมีรายละเอียด ดังนี้
1. สภาพแวดล้อมโดยทั่วไป (General Environment) จะประกอบด้วยปัจจัยที่มีขอบเขตกว้างและองค์กรไม่สามารถควบคุมได้ ดังนั้นสภาพแวดล้อมโดยทั่วไปประกอบด้วยส่วนที่เกี่ยวข้องระหว่างกันซึ่งอาจแบ่งออกเป็น 6 ส่วน ดังนี้
1.1 สภาพแวดล้อมด้านประชากรศาสตร์ (Demographic Environment)
1.2 สภาพแวดล้อมด้านสังคมและวัฒนธรรม (Sociocultural Environment)
1.3 สภาพแวดล้อมด้านการเมืองและกฎหมาย ( Political / Legal Environment )
1.4 สภาพแวดล้อมทางเทคโนโลยี ( Technological Environment )
1.5 สภาพแวดล้อมด้านเศรษฐกิจมหภาค ( Macroeconomic Environment )
1.6 สภาพแวดล้อมระดับโลก ( Global Environment)
2. สภาพแวดล้อมในการดำเนินงาน (Operating Environment) เป็นสิ่งแวดล้อมภายนอกองค์การ ประกอบไปด้วยปัจจัยทั่วไปที่มีความสัมพันธ์อย่างเฉพาะเจาะจง มี 6 ประการ ดังนี้
1. ลูกค้า
2. คู่แข่งขัน
3. ผู้ขายวัตถุดิบ
4. แรงงาน
5. กฎระเบียบ
6. หุ้นส่วน
อ้างอิง: ชื่อหนังสือ การจัดการองค์การอุตสาหกรรมและการผลิต
ชื่อผู้แต่ง รองศาสตราจารย์ ดร. เปรื่อง กิจรัตน์ภร
สำนักพิมพ์ ศูนย์หนังสือราชภัฏพระนคร
ปีที่พิมพ์ 2544

วันอาทิตย์ 1 กค 55




250 รัตน์ Henri Fayal แนวคิด การแบ่งหน้าที่ในการทำงาน การจัดการแรงงานในองค์กร ที่ประเทศฝรั่งเศส ข้อเสีย เป็นการจัดองค์กรแบบรวมอำนาจ

235 หนิง Henri ในส่วนที่ล้าสมัย การชี้นำ เป็นแบบมีเป้าหมาย ถ้าเป็นสมัยใหม่ จะชี้นำโดยอาศัยวิสัยทัศน์ แบบเก่า จะมองในเรื่องของต้นทุน ของราคา แต่ถ้าเป็นสมัยใหม่จะมองในแง่คุณภาพด้วย

205 ผึ้ง ท. องค์การสมัยใหม่ Henri L. Tosi ให้ความสำคัญกับความรู้สึกของบุคคล ยอมรับอิทธิพลของสังคมที่มีผลกระทบต่อการทำงาน

251 อั๊ม ท. เกี่ยวกับนักบริหารส่วนใหญ่ แบ่งเป็น 4 ประเภท

การจัดการแบบเดิม เช่น การตัดสินใจ การวางแผน การควบคุม

การติดต่อสื่อสาร เช่น การแลกเปลี่ยนข้อมูลประจำวัน และการทำงานเอกสาร

การจัดการด้านทรัพยากรบุคคล เช่น การจูงใจ การสร้างวินัย การจัดการความขัดแย้ง

การสร้างเครือข่าย เช่น การเข้าสังคม การเล่นการเมืองในองค์การ

231 ซะ เพิ่ม เรื่องของการบริหารจัดการ

การบริหารจัดการ

การบริหารการพัฒนา

การบริหารการบริการ

แนวทางในการบริหารแบบภาครัฐ

ขบวนการและการบริหาร

จุดหมายปลายทาง การบริหารประเทศ และ คุณภาพชีวิต ความก้าวหน้าของประเทศ

ภาคเอกชน มุ่งหวังผลกำไร การแข่งขัน

ภาครัฐ มองในเรื่องการให้บริการประชาชน

213 ตาม ลักษณะของการบริหารจัดการ

ผู้นำ หรือ หัวหน้างาน ความหมาย ภาระหน้าที่ของบุคคลใดบุคคลหนึ่งที่ทำหน้าที่เป็นผู้นำในองค์การ

ภารกิจ หรือ สิ่งที่ต้องทำ ความหมาย การจัดระเบียบ การจัดทรัพยากรต่างๆ ในองค์กร

ความรับผิดชอบ ความหมาย การที่จะต้องทำงานให้เสร็จ ลุล่วงด้วยดี ด้วยการอาศัยบุคคลต่างๆ เข้าด้วยกัน

การบริหาร การจัดการ เป็นการใช้ศาสตร์ และศิลป ให้บรรลุวัตถุประสงค์ อย่างมีประสิทธิภาพ

219 จิ๊บ Frederick W. Taylor งานบริหารทุกอย่างต้องทำอย่างมีหลักเกณฑ์ เพื่อให้มีวิธีที่ดีที่สุด ในการทำงาน

204 เอ๋ ท. ของ Frederick W. Taylor มุ่งเน้นองค์กรโดยรวม ทำงานตามหลักวิทยาศาสตร์ โดยการคัดเลือก ฝึกอบรม มอบหมาย มีการประสาน ติดต่อกันระหว่างผู้บริหารกับพนักงาน มีการพัฒนาวิธีการจ่ายค่าตอบแทน แบบตามชิ้นงาน

215 เพลิน การจัดการในยุคโลกาภิวัฒน์ เน้น เรื่องการแข่งขัน ใช้ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ผู้บริหารจะให้ความสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น มุ่งเน้นให้ความสำคัญกับการดำเนินงาน และการได้เปรียบในเชิงแข่งขัน

การควบคุมคุณภาพ

การควบคุมคุณภาพโดยรวม

การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง

การรื้อปรับระบบ

383 เรียนร่วม บูน Frederick W. Taylor เป็นบิดาแห่งการจัดการทางวิทยาศาสตร์ (แนวคิด เริ่มหลังสงครามโลกครั้งที่ สอง เน้น เกี่ยวกับองค์กรโดยรวม นิยามการจัดการ ว่า องค์กรไม่ใช่แค่ธุรกิจ แต่ละองค์กรจะต่างกัน ที่วิธีการเท่านั้น ก่อนสงครามโลก จะเป็นการผลิต แบบการทำเกษตรกรรม แต่หลังจากนั้น จะเป็นการผลิตแบบอุตสาหกรรม เน้นการจัดการแบบที่มีหลักเกณฑ์ แนวความคิดทางการจัดการเป็น 3 แนวทาง

การจัดการที่มีหลักเกณฑ์

แนวคิดการแบบแนวมนุษยสัมพันธ์

การจัดการแนวใหม่ การจัดการตัดสินใจ การจัดการตามสถานการณ์ การจัดการเชิงระบบ และเชิงกระบวนการ การจัดการเชิงปริมาณ

211 ปอ เชิงพฤติกรรมศาสตร์ Abraham H. Maslow

ท. ความต้องการ 5 ขั้น เป็น ท. เกี่ยวกับแรงจูงใจ

222 ปุ๋ย แนวคิดทางพฤติกรรมศาสตร์ Gouglas Mcgregor

ท. x & Y

ท. เอ็กซ์ มนุษยมีความขี้เกียจ ไม่ชอบทำงาน ต้องบังคับ ต้องลงโทษ ต้องจูงใจด้วยเงิน แต่ว่า เขาไม่เห็นด้วย จึงเสนอแนวคิดท. วาย

มองว่ามนุษย์เป็นคนดี มีความรับผิดชอบ รักการทำงาน สิ่งที่จะจูงใจได้ดี ไม่ใช่เงินเพียงอย่างเดียว แต่ขึ้นอยู่กับการยอมรับของกลุ่ม

247 บี แนวความคิดการค้นหาความเป็นเลิศขององค์การ Peters and Waterman

ต้องมีการค้นหาลักษณะเด่น ขององค์การมี 8 ประการ

มุ่งเน้นที่การกระทำ



ให้อยู่ใกล้ชิดกับบุคคลากร เพื่อค้นหาปัญหา และสาเหตุ

ให้การส่งเสริมความเป็นอิสระ เน้นความคิดริเริ่มสร้างสรรค์

เพิ่มประสิทธิภาพ และอาศัยศักยภาพ ของบุคคลากร

เข้าไปสัมผัส และมุ่งเน้นให้เกิดค่านิยมในองค์กร

การดำเนินธุรกิจจะต้องมีผู้เชี่ยวชาญ

มีการสร้างโครงสร้าง ขององค์กร เพื่อจัดแบ่งระดับความรับผิดชอบ

ควรจะมีความเข้มงวดและผ่อนปรนในเวลาเดียวกัน

248 ตู่ แนวคิดท. การบริหารคนของ Fayol

การวางคนให้เหมาะสมกับโครงสร้างขององค์กร

ยอมรับผู้บริหารการเป็นผู้บริหารระดับสูง

ปฏิบัติตามผู้บังคับบัญชาเพียงคนเดียว

ใช้เจ้าหน้าที่และผู้ให้คำปรึกษาเฉพาะด้านและทั่วไป

การจัดแผนกงานตามความมุ่งหมาย กระบวนการ และ สถานที่

มอบหมายงานและใช้ประโยชน์จากหลักของข้อแตกต่างกัน

กำหนดขนาดและการควบคุมงานที่เหมาะสม

212 แอน แนวคิดการบริหารระบบราชการของ Max Weber

โครงสร้างขององค์กรจะถูกแบ่งเป็นส่วนๆ แบ่งงานกันทำเฉพาะด้าน ตามความถนัด และจัดระดับชั้นการทำงานอย่างชัดเจน และขจัดความไม่แน่นอน ในการทำงาน การเลื่อนขั้น พิจารณาตามหลักอาวุโส และความสำเร็จ

225 บอย James Mill

ท. เกี่ยวกับการศึกษาแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน การศึกษาเป็นปัจจัยสำคัญในการเปลี่ยนแปลงธรรมชาติของมนุษย์

220 ทุเรียน William G. Stott แบ่งวิวัฒนาการทางการจัดการ

การคิดค้นและกำหนดวิธีที่ดีที่สุดสำหรับงานที่ทำแต่ละอย่าง

ต้องมีการคัดเลือกและพัฒนาคนงาน จัดงานให้เหมาะสมกับบุคคล

ต้องมีวิธีการพิจารณาอย่างรอบคอบเกี่ยวกับวิธีการทำงานและคนงาน

ต้องมีการประสานความร่วมมืออย่างใกล้ชิดระหว่าง ผู้บริหารและคนงาน

216 เบีย การบริหารตามสถานการณ์ Fred E. Fiedler

การบริหารต้องยึดตามสถานการณ์ และคิดตามสถานการณ์นั้นๆ ภายใต้สถานการณ์นั้นๆ ผู้บริหารจะใช้เทคนิคอะไรได้บ้าง

เน้นความแตกต่างของแต่ละหน่วยงาน และ บุคคลในองค์การ

226 กุ๊ก แนวความคิดการจัดการเชิงระบบ

Norbert Wiener เป็นการนำเอาความคิดเกี่ยวกับระบบมาประยุกต์ใช้ ต้องมีความเข้าใจเกี่ยวกับระบบก่อน ระบบมีสองชนิด

ระบบปิด และ ระบบเปิด

องค์การ ถือว่าเป็นระบบเปิด ต้องขึ้นอยู่กับปัจจัยแวดล้อมต่างๆ เช่น กฎหมาย เศรษฐกิจ และความสำเร็จขององค์การ ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ เหล่านี้

233 โบ๊ต Gulick Luther & Eyneall F. urwick ท. เกี่ยวกับโครงสร้างการจัดองค์กร เน้นการแบ่งงานกันทำ การประสานงาน บุคลากร สถานที่ หน่วยช่วยการอำนวยการที่จะช่วยกับหน่วยงานหลัก

244 วัต บทบาทระหว่างบุคคล Mintzberg บทบาทด้านการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล

บทบาทตามตำแหน่ง

บทบาทของผู้นำ

บทบาทสร้างสัมพันธภาพ สร้างเครือข่าย

218 ปุ้ย แนวคิดแบ่งเป็น 3 ยุค

ยุค คลาสสิค แบ่งหน้าที่กันทำงาน มุ่งความชำนาญเฉพาะด้าน ระบบคุณธรรม ควบคุมโดยการออกกฎระเบียบ

ยุคการจัดการเชิงพฤติกรรมศาสตร์ เน้นศึกษาโครงสร้างขององค์การทำให้มองว่าคนไม่ต่างจากเครื่องจักร ดังนั้นในยุคนี้จะเน้นการจูงใจ

ยุคการจัดการสมัยใหม่ เน้นให้ความสำคัญเกี่ยวกับคน และมีโครงสร้างแบบไม่เป็นทางการ เน้นความสัมพันธ์ระหว่างคนในองค์กร

227 มีน แนวคิดการจัดการตามแนวมนุษยสัมพันธ์ นักจิตวิทยา Elton Mayo ธรรมชาติของมนุษย์ มีสองแบบ

พฤติกรรมเป็นไปตามเหตุผล

พฤติกรรมเป็นไปตามอารมณ์

240 บาส ท. สองปัจจัยของ Frederick Herzberg

ปัจจัยรักษา หรือ ปัจจัยสุขอนามัย ได้แก่ สภาพแวดล้อมในการทำงาน ถ้าไม่เหมาะสม จะทำให้บุคคลไม่พอใจในการทำงาน แต่ไม่ใช่ปัจจัยส่งเสริมให้คนทำงานอย่างมีผลผลิตเพิ่มขึ้น

ปัจจัยการจูงใจ มีอิทธิพลต่อการสร้างแรงจูงใจและทุ่มเทในการทำงานมากขึ้น ได้แก่ การได้รับการยกย่อง การได้รับความรับผิดชอบ ความก้าวหน้า