แนวความคิดและทฤษฎีทางการบริหาร
พัฒนาการทางการบริหาร
ยุคคลาสสิค (The classical approaches)
· การบริหารงานเชิงวิทยาศาสตร์ (Scientific Management)
· หลักการบริหาร (Administrative Principles)
· องค์การแบบราชการ (Bureaucratic organization)
การบริหารเชิงมนุษยสัมพันธ์ (Human resource approaches)
การบริหารเชิงปริมาณ (The quantitative or management science approaches)
การบริหารสมัยใหม่ (The modern approaches)
ทฤษฎีการจัดการแบบดั้งเดิม (Classical Theory)
ทฤษฎีการจัดการแบบดั้งเดิม เป็นทฤษฎีที่มุ่งให้ความสนใจและให้ความสำคัญเกี่ยวกับความสำเร็จของงาน โดยไม่สนใจจิตใจของมนุษย์ มองมนุษย์เป็นเครื่องจักร การบริหารงานมีกฎเกณฑ์ที่ตายตัว พนักงานจึงทำงานอย่างไม่มีอิสระ ไม่สามารถแสดงความคิดเห็นได้จึงไม่มีความคิดเห็นที่หลากหลาย และการทำงานขององค์การจะบรรลุเป้าหมายและพนักงานจะปฏิบัติงานได้ดีขึ้นเมื่อมีการข่มขู่
1. การบริหารงานเชิงวิทยาศาสตร์ (Scientific Management) มุ่งงานเป็นหลัก
หลักการ 1.ให้ความสำคัญต่อ งาน มากกว่าคน
2. ใช้วิธีให้คนปรับตัวให้เข้ากับงานที่กำหนดวิธีทำเอาไว้แล้ว
2. ทฤษฎีทางการบริหาร
ได้แบ่งเป็น 5 ประการ หรือหลักการบริหารที่เรียกว่า POCCC ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
การวางแผน (Planning) คือ การกำหนดแนวทางในการปฏิบัติงานไว้ล่วงหน้า
การจัดองค์การ (Organizing) คือ เป็นการจัดโครงสร้างของสายการบังคับบัญชา
การสั่งการ (Commanding) คือ การคอยสอดส่องดูแลและ สั่งการให้พนักงานปฏิบัติงานตาม
การประสานงาน (Coordinating) คือ การร่วมมือร่วมใจกันทำงานของพนักงานภายในองค์การ
การควบคุม (Controlling) คือ การตรวจสอบและติดตามผลการปฏิบัติงาน
3. ทฤษฎีระบบราชการ (Bureauracy Theory)
· สายการบังคับบัญชา (Hierarchy)
· มีการแบ่งงานตามความถนัดเฉพาะด้าน (Division of work)
· กฎระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีการปฏิบัติงาน (Rules Regulation and Procedures)
· ไม่ยึดหลักความสัมพันธ์ส่วนตัว (Impersonalality)
· ประชาธิปไตย (Democracy)
แนวคิดการบริหารจัดการเชิงปริมาณ
กลุ่มทฤษฎีนี้เน้นแนวคิดของการบริหารที่สนใจทางด้านจำนวน การนำเอาข้อมูลสถิติมาใช้ในการตัดสินใจ
ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ
วิทยาการจัดการ (Management Science)
การจัดการปฏิบัติการ (Operation Management)
ระบบสารสนเทศการจัดการ (Management Information System: MIS)
แนวความคิดและวิธีการของการบริหารแบบมนุษย์สัมพันธ์(Human Relations) มุ่งถึงคนเป็นหลัก
หลักการ จะต้องให้ความสำคัญต่อ คนผู้ทำงาน มากกว่า งาน ที่จะทำให้คนทำ
ต้องหาวิธีให้คนมีความพอใจ มีอิสระที่คิดจะริเริ่ม เพื่อสร้างสรรค์ในทางต่าง ๆที่เขาควรจะมีสิทธิเลือกวิธีทำงานของตนเองบ้าง หรือนั่นก็คือฝ่ายจัดการควรจะพิจารณาปรับหรือจัดงานให้เหมาะสม และเป็นที่พอใจแก่คนที่จะทำงานนั้น
แนวความคิดเกี่ยวกับวิธีการบริหารสมัยใหม่
1.การบริหารแบบการตัดสินใจ (Decisional Approach) การบริหารคือการตัดสินใจ องค์การจะถูกถือเสมือนหนึ่งว่าเป็นหน่วย ของการตัดสินใจ
ผู้บริหารคือผู้ที่ต้องทำการตัดสินใจเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ
2.การบริหารเชิงระบบ (System Approach)
การบริหารเป็นลักษณะระบบอย่างหนึ่ง มีผู้บริหารมาทำงานในหน้าที่ต่าง ๆของระบบนี้
ส่วนต่าง ๆของระบบอยู่ในสถานะที่เคลื่อนไหวได้แต่ละส่วนต่างมีคุณสมบัติและความสามารถเฉพาะเมื่อมารวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันจะช่วยเคลื่อนไหวไปสู่เป้าหมายเดียวกัน
3. การบริหารเชิงกระบวนการ (Process Approach) หน้าที่ในการบริหารงานต่าง ๆมีความสัมพันธ์ต่อเนื่องกันใกล้ชิดเป็นกระบวนการ (Process) ผู้บริหารจะปฏิบัติหน้าที่ด้วยวิธีกระทำเป็นทีละขั้นตอน (Step by Step) ที่ต่อเนื่องหมุนเวียนกันไปอย่างเป็นระเบียบโดยไม่ขาดขั้นตอนกัน ส่วนต่างๆของงานบริหารที่เกี่ยวเนื่องต่อกันนั้นจะไม่ขาดตอนจากกัน หากแต่ จะมีความต่อเนื่อง และสอดคล้องกันอย่างมีระเบียบ การบริหารงานตามหน้าที่จะดำเนินไปเป็นวัฏจักรหมุนเวียนเป็นกระบวนการเรื่อยไป
4.การบริหารตามสถานการณ์ (Situational Approach) Fred E. Fiedler (1967)
เน้นให้ผู้บริหารพิจารณาความแตกต่างในหน่วยงาน เช่น ความแตกต่างระหว่างบุคคล ความแตกต่างระหว่างระเบียบกฎเกณฑ์ วิธีการ กระบวนการ และการควบคุมงาน ความแตกต่างระหว่างความสัมพันธ์ของบุคคลในองค์กร ความแตกต่างระหว่างเป้าหมายการดำเนินงานขององค์การ
การบริหารจะดีหรือไม่ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ ผู้บริหารจะต้องพยายามวิเคราะห์สถานการณ์ให้ดีที่สุด
เป็นการผสมผสานแนวคิดระหว่างระบบปิดและระบบเปิด และยอมรับหลักการของทฤษฎีระหว่างทุกส่วนของระบบจะต้องสัมพันธ์และมีผลกระทบซึ่งกันและกัน สถานการณ์จะเป็นตัวกำหนดการตัดสินใจและรูปแบบการบริหารที่เหมาะสม
คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมและความต้องการของบุคคลในหน่วยงานเป็นหลักมากกว่าที่จะแสวงหาวิธีการอันดีเลิศมาใช้ในการทำงาน โดยใช้ปัจจัยทางด้านจิตวิทยาในการพิจารณาด้วย
การบริหารยึด “ตัวสถานการณ์” หรือชุดเหตุการณ์ที่ซึ่งมีอิทธิพล ต่อองค์การมากที่สุด ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง มุ่งเน้นถึงความสำคัญของ “การคิดตามสถานการณ์” (Situational thinking) ซึ่งจะช่วยให้ผู้บริหารเกิดความเข้าใจ ได้ว่าภายใต้สถานการณ์เฉพาะนั้นๆ ผู้บริหารควรจะใช้ เทคนิคการบริหารอะไร จึงจะทำให้องค์การสามารถบรรลุผลสำเร็จมากที่สุดได้ การบริหารจะไม่ยึดติดกับ แนวคิด ทฤษฎีหรือหลักการใด หลักการหนึ่งโดยเฉพาะ แต่จะเลือกสรรวิธีการที่ดีที่สุด เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด ผู้บริหารอาจจะใช้วิธีการ หลาย ๆอย่างผสมผสานกันในการ บริหารไปพร้อม ๆกันทั้งนี้แล้วแต่ “ตัวสถานการณ์” และปัจจัยความพร้อมในด้านต่าง ๆ
http://www.slideshare.net/guest3d68ee/ss-presentation
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น