หน้าเว็บ

นางสาวธัญญลักษณ์ คำแพง รหัส 383 (เรียนร่วม)



การวิเคราะห์สภาวะแวดล้อมภายนอกองค์การ ประกอบด้วย

1. การตรวจสอบสภาวะแวดล้อมภายนอก

2. การใช้เทคนิคการพยากรณ์

3. ขั้นตอนการวิเคราะห์สภาวะแวดล้อมภายนอก

4. การประมวลผลปัจจัยภายนอก หรือการสรุปวิเคราะห์ปัจจัยภายานอก

แนวคิดของ มิลเลอร์(Miller) สภาวะแวดล้อมภายนอกองค์การประกอบด้วย 2 องค์ประกอบ คือ สภาวะแวดล้อมโดยทั่วไปในการทำงาน กับ สภาวะแวดล้อมในการแข่งขัน โดยสภาวะแวดล้อมโดยทั่วไป ประกอบด้วย ประชากร สังคมวัฒนธรรม การเมืองและกฎหมาย เศรษฐศาสตร์มหภาค วิทยาการหรือเทคโนโลยี และการค้าระหว่างประเทศ เป็นต้น

ตามแนวคิดของ วีเล็นและฮังเกอร์(Wheelen and Hunger) สภาวะแวดล้อมภายนอกองค์การ มี 3 ด้านหลัก คือ สภาวะแวดล้อมทางสังคม สภาวะแวดล้อมในการทำงาน และสภาวะแวดล้อมด้านต่างประเทศ

ตามแนวคิดของ เพียส และโรบินสัน (Pearce and Robinson) แบ่งสภาวะแวดล้อมภายนอกเป็น 3 ประเภท คือ สภาวะแวดล้อมระยะไกล สภาวะแวดล้อมในการแข่งขัน และสภาวะแวดล้อมในการปฏิบัติงาน

ส่วนการวิเคราะห์สภาวะแวดล้อมภายในองค์การ นอกจากจะมีการวิเคราะห์เกี่ยวกับโครงสร้างขององค์การ และวัฒนธรรมขององค์การแล้ว การวิเคราะห์ทรัพยากรขององค์การ ก็มีความสำคัญเช่นกัน

ทรัพยากรขององค์การ ได้แก่ สินทรัพย์ กระบวนการ ความสามารถ ทักษะหรือความรู้ที่ควบคุมโดยองค์การ ทรัพยากรจะเป็นจุดแข็ง หากมีการเตรียมองค์การให้มีความได้แปรียบจากการแข่งขัน ทรัพยากรจะเป็นจุดอ่อน หากทรัพยากรในองค์กรไม่มีความสามารถในการทำงาน ในขณะที่คู่แข่งขันมีความสามารถในจุดนี้ องค์การจึงต้องมีการมีการพัฒนาทรัพยากรขององค์การให้มีทักษะความสามารถในด้านต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความได้เปรียบในการแข่งขัน และเป็นที่ยอมรับกันทั่วไป

แหล่งที่มา : สื่อการสอนของรายวิชา ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร


ไม่มีความคิดเห็น: