คุณลักษณะของผู้นำองค์กรที่ดี
ผู้นำที่ดีควรมีคุณสมบัติอย่างไร
1. ความรู้ ( Knowledge)
การเป็นผู้นำนั้น ความรู้เป็นสิ่งจำเป็นที่สุด
ความรู้ในที่นี้มิได้หมายถึงเฉพาะความรู้ เกี่ยวกับงานในหน้าที่เท่านั้น
หากแต่รวมถึงการใฝ่หาความรู้เพิ่มเติม ในด้านอื่นๆ ด้วย การจะเป็นผู้นำที่ดี
หัวหน้างานจึงต้องเป็นผู้รอบรู้ ยิ่งรอบรู้มากเพียงใด
ฐานะแห่งความเป็นผุ้นำก็จะยิ่งมั่นคงมากขึ้นเพียงนั้น
2. ความริเริ่ม ( Initiative)
ความริเริ่ม คือ
ความสามารถที่จะปฏิบัติสิ่งหนึ่งสิ่งใดในขอบเขตอำนาจหน้าที่ได้ด้วยตนเอง
โดยไม่ต้องคอยคำสั่ง หรือความสามารถแสดงความคิดเห็น
ที่จะแก้ไขสิ่งหนึ่งสิ่งใดให้ดีขึ้น หรือเจริญขึ้นได้ด้วยตนเอง
ความริเริ่มจะเจริญงอกงามได้ หัวหน้างานจะต้องมีความกระตือรือร้น
คือมีใจจดจ่องานดี มีความเอาใจใส่ต่อหน้าที่
มีพลังใจที่ต้องการความสำเร็จอยู่เบื้องหน้า
3. มีความกล้าหาญและความเด็ดขาด ( Courage
and firmness)
ผู้นำที่ดีจะต้องไม่กลัวต่ออันตราย
ความยากลำบาก หรือความเจ็บปวดใดๆ ทั้งทางกายวาจา และใจ ผู้นำที่มีความกล้าหาญ
จะช่วยให้สามารถผจญ ต่องานต่างๆ ให้สำเร็จลุล่วงไปได้ นอกจากความกล้าหาญแล้ว
ความเด็ดขาดก็เป็นลักษณะอันหนึ่งที่จะต้องทำให้เกิดมีขึ้น
ในตัวของผู้นำเองต้องอยู่ในลักษณะของการ" กล้าได้กล้าเสียด้วย
4. การมีมนุษยสัมพันธ์ ( Human relations)
ผู้นำที่ดีจะต้องรู้จักประสานความคิด
ประสานประโยชน์สามารถทำงานร่วมกับคนทุกเพศทุกวัย ทุกระดับการศึกษาได้
ผู้นำที่มีมนุษยสัมพันธ์ดีจะช่วย ให้ปัญหาใหญ่เป็นปัญหาเล็กได้
5. มีความยุติธรรมและซื่อสัตย์สุจริต
( Fairness and Honesty)
ผู้นำที่ดีจะต้องอาศัยหลักของความถูกต้อง
หลักแห่งเหตุผลและความซื่อสัตย์สุจริตต่อตนเองและผู้อื่น
เป็นเครื่องมือในการวินิจฉัยสั่งการ หรือปฏิบัติงานด้วยจิตที่ปราศจากอคติ
ปราศจากความลำเอียง ไม่เล่นพรรคเล่นพวก
6. มีความอดทน ( Patience)
ความอดทน จะเป็นพลังอันหนึ่งที่จะผลักดันงานให้ไปสู่จุดหมายปลายทางได้
อย่างแท้จริง
7. มีความตื่นตัวแต่ไม่ตื่นตูม( Alertness )
ความตื่นตัว หมายถึง ความระมัดระวัง
ความสุขุมรอบคอบ ความไม่ประมาท ไม่ยืดยาขาดความกระฉับกระเฉง
มีความฉับไวในการปฏิบัติงานทัน ต่อเหตุการณ์ความตื่นตัวเป็นลักษณะที่แสดงออกทางกาย
แต่การไม่ตื่นตูม เป็นพลังทางจิตที่จะหยุดคิดไตร่ตรอง ต่อเหตุการณ์ต่างๆ
ที่เกิดขึ้น รู้จักใช้ดุลยพินิจที่จะพิจารณาสิ่งต่างๆ
หรือเหตุต่างๆได้อย่างถูกต้อง พูดง่ายๆ ผู้นำที่ดีจะต้องรู้จักควบคุมตัวเองนั่นเอง
(Self
control)
8. มีความภักดี (Loyalty)
การเป็นผู้นำหรือหัวหน้าที่ดีนั้น
จำเป็นต้องมีความจงรักภักดีต่อหมู่คณะ ต่อส่วนรวมและต่อองค์การ ความภักดีนี้
จะช่วยให้หัวหน้าได้รับความไว้วางใจ และปกป้องภัยอันตรายในทุกทิศได้เป็นอย่างดี
9. มีความสงบเสงี่ยมไม่ถือตัว (Modesty)
ผู้นำที่ดีจะต้องๆไม่หยิ่งยโส ไม่จองหอง
ไม่วางอำนาจ และไม่ภูมิใจในสิ่งที่ไร้เหตุผล ความสงบเสงี่ยมนี้
ถ้ามีอยู่ในหัวหน้างานคนใดแล้ว ก็จะทำให้ลูกน้องมีความนับถือ
และให้ความร่วมมือเสมอ
ธงชาติอาเซี่ยน
"One Vision,
One Identity, One Community"
"
หนึ่งวิสัยทัศน์ หนึ่งเอกลักษณ์ หนึ่งประชาคม "
สัญลักษณ์อาเซียน คือ ต้นข้าวสีเหลือง 10
ต้นมัดรวมกันไว้
หมายถึงประเทศสมาชิกรวมกันเพื่อมิตรภาพและความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน
·
สีน้ำเงิน หมายถึง สันติภาพและความมั่นคง
·
สีแดง หมายถึง
ความกล้าหาญและความก้าวหน้า
·
สีขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์
·
สีเหลือง หมายถึง ความเจริญรุ่งเรือง
ธงชาติลาว
ธงนี้มีชื่อเรียกในภาษาลาวว่า ธงดวงเดือน ได้รับการออกแบบขึ้นในช่วงสงครามโลกครั้งที่
2 โดย มหาสิลา วีระวงส์ นักปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่ของชาวลาว
สีแดง
หมายถึง เลือดแห่งการต่อสู้เพื่ออิสรภาพของชาวลาว
สีน้ำเงิน
หมายถึง ความมั่งคั่งอุดมสมบูรณ์ของชาติ
พระจันทร์สีขาว
เป็นสัญลักษณ์ของดวงจันทร์ลอยเด่นเหนือลำน้ำโขง
และหมายถึงเอกภาพของชาติภายใต้การปกครองของรัฐบาลพรรคประชาชนปฏิวัติลาว
(พรรคคอมมิวนิสต์ลาว) หรือหมายถึงการกลับมารวมกันอีกครั้งของชาวลาวสองฝั่งโขง
ธงชาติบรูไน
"บรูไนดารุสซาลาม" (แปลว่า นครแห่งสันติสุข)
ลักษณะของธงชาตินั้นเป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้าพื้นสีเหลือง
ภายในมีแถบสีขาวและสีดำวางพาดตามแนวทแยงมุม
จากมุมบนด้านคันธงไปยังมุมล่างด้านปลายธง โดยสีขาวอยู่บน สีดำอยู่ล่าง
กลางธงนั้นมีภาพตราแผ่นดินของบรูไน
พื้นธงสีเหลือง
หมายถึงกษัตริย์ (ธงประจำพระองค์ของสุลต่านแห่งบรูไน ใช้ธงพื้นสีเหลือง)
สีขาวและสีดำ
หมายถึงมุขมนตรีของประเทศบรูไน
ธงชาติเมียรม่าร์
มีลักษณะเป็นธงสามสีรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ภายในแบ่งตามแนวนอน
ความกว้างเท่ากัน พื้นสีเหลือง สีเขียว และสีแดง เรียงตามลำดับจากบนลงล่าง
กลางธงมีรูปดาวห้าแฉกสีขาวขนาดใหญ่ ความหมายของสัญลักษณ์ในธงชาติประกอบด้วย
สีเขียวหมายถึงสันติภาพ
ความสงบ และความอุดมสมบูรณ์ของพม่า
สีเหลืองหมายถึงความสามัคคี
สีแดงหมายถึงความกล้าหาญ ความเข้มแข็ง เด็ดขาด
ดาวสีขาวหมายถึงสหภาพอันมั่นคงเป็นเอกภาพ
ธงชาติกัมพูชา
มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 2 ส่วน ยาว 3
ส่วน ผืนธงแบ่งตามแนวยาวเป็น 3 ริ้ว โดยริ้วกลางนั้นเป็นพื้นสีแดง กว้าง 2 ส่วน
มีรูปปราสาทหินนครวัดสามยอดสีขาวอยู่ตรงกลาง
ริ้วที่อยู่ด้านนอกทั้งสองด้านนั้นกว้างริ้วละ 1 ส่วน
พื้นสีน้ำเงิน ความหมายของสัญลักษณ์ในธงนั้นสะท้อนถึง 3
สถาบันหลักของประเทศ ดังปรากฏในคำขวัญประจำชาติว่า "ชาติ ศาสนา
พระมหากษัตริย์" (เขมร: )
พื้นสีแดงมีความหมายถึงชาติ
ปราสาทนครวัดสีขาวหมายถึงสันติภาพและศาสนา
ซึ่งเดิมมีรากเหง้าจากศาสนาพราหมณ์-ฮินดู
และได้เปลี่ยนแปลงมาเป็นพระพุทธศาสนาในปัจจุบัน
สีน้ำเงินนั้นหมายถึงสถาบันพระมหากษัตริย์
ธงชาติเวียตนาม
ลักษณะของธงชาติเวียดนามนั้นเป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้าพื้นสีแดง
กว้าง 2 ส่วน ยาว 3 ส่วน ตรงกลางมีรูปดาวห้าแฉกสีเหลืองทอง
สีแดงนั้นหมายถึงการต่อสู้เพื่อกู้เอกราชของชาวเวียดนาม สีเหลืองคือสีของชาวเวียดนาม
ส่วนดาวห้าแฉกนั้น เป็นที่เข้าใจกันทั่วไปว่าหมายถึงชนชั้นต่างๆ ในสังคมเวียดนาม
คือ นักปราชญ์ ชาวนา ช่างฝีมือ พ่อค้า และทหาร อย่างไรก็ตาม
ภายหลังการรวมชาติเวียดนามในปี พ.ศ. 2519
ความหมายในธงได้มีการอธิบายใหม่ในทางการเมืองว่า สีแดงหมายถึงการปฏิวัติโดยชนชั้นกรรมาชีพ
และดาวสีทองหมายถึงการชี้นำของพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม
ธงชาติสิงคโปร์
เป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 2 ส่วน ยาว 3 ส่วน
ประกอบด้วยแถบสองสีแบ่งครึ่งกลางธง แถบสีแดงอยู่ด้านบน แถบสีขาวอยู่ด้านล่าง
ที่มุมธงบนด้านคันธงมีรูปพระจันทร์เสี้ยว ถัดจากรูปดังกล่าวมีรูปดาวห้าแฉก 5 ดวง
เรียงเป็นรูปห้าเหลี่ยมด้านเท่า รูปเหล่านี้เป็นสีขาว
ความหมายสำคัญขององค์ประกอบต่างๆ ในธง อันได้แก่
สีแดง
หมายถึงภราดรภาพและความเสมอภาคของมนุษย์โดยทั่วหน้า
สีขาว
หมายถึงความบริสุทธิ์และความดีงามที่แพร่หลายและคงอยู่ตลอดกาล
รูปพระจันทร์เสี้ยว
ซึ่งเป็นจันทร์เสี้ยวข้างขึ้น หมายถึงความเป็นชาติใหม่ที่ถือกำเนิดขึ้น ดาว 5 ดวง
หมายถึงอุดมคติ 5 ประการของชาติ ได้แก่ ประชาธิปไตย สันติภาพ ความก้าวหน้า
ความยุติธรรม และความเสมอภาค
ธงชาติมาเลเซีย
เรียกชื่ออีกอย่างหนึ่งว่า "ยาลูร์ เกมิลัง"
("Jalur
Gemilang" มีความหมายว่า ธงริ้วแห่งเกียรติศักดิ์)
มีลักษณะเป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้ากว้าง 1 ส่วน ยาว 2 ส่วน พื้นสีแดงสลับสีขาวรวม 14
แถบ แต่ละแถบมีความกว้างเท่ากัน
ที่มุมธงด้านคันธงมีรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าสีน้ำเงินกว้าง 8 ใน 14
ส่วนของผืนธงด้านกว้าง และยาวกึ่งหนึ่งของผืนธงด้านยาว
ภายในบรรจุเครื่องหมายพระจันทร์เสี้ยวและดาว 14 แฉก ที่มีชื่อว่า "บินตัง
เปอร์เซกูตัน" ("Bintang Persekutuan") หรือ
"ดาราสหพันธ์"
แถบริ้วสีแดงและสีขาวทั้ง
14 ริ้วซึ่งมีความกว้างเท่ากัน หมายถึงสถานะอันเสมอภาคของรัฐสมาชิกทั้ง 13 รัฐ
และรัฐบาลกลางที่กรุงกัวลาลัมเปอร์
ดาว 14
แฉกหมายถึงความเป็นเอกภาพในหมู่รัฐดังกล่าวทั้งหมด
พระจันทร์เสี้ยวหมายถึงศาสนาอิสลามอันเป็นศาสนาประจำชาติ
สีเหลืองในพระจันทร์เสี้ยวและดาราสหพันธ์คือสีแห่งยังดี
เปอร์ตวน อากง ผู้เป็นประมุขแห่งสหพันธรัฐ
สีน้ำเงินนั้นหมายถึงความสามัคคีของชาวมาเลเซีย
ธงชาติฟิลิปปินส์
มีลักษณะเป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 1 ส่วน ยาว 2 ส่วน
ตอนต้นธงเป็นรูปสามเหลี่ยมสีขาว ภายในมีรูปดวงอาทิตย์รัศมี 8 แฉก ล้อมด้วยดาวห้าแฉก
3 ดวง ตามมุมของรูปสามเหลี่ยม รูปเหล่านี้เป็นสีทอง
ส่วนทีเหลือของธงนั้นเป็นแถบแบ่งครึ่งตามด้านยาวของธง ครึ่งบนพื้นสีน้ำเงิน
ครึ่งล่างพื้นสีแดง หากแถบทั้งสองสีนี้สลับตำแหน่งกัน คือ แถบสีแดงอยู่บน
แถบสีน้ำเงินอยู่ตอนล่าง แสดงว่าประเทศฟิลิปปินส์อยู่ในภาวะสงคราม
สามเหลี่ยมสีขาวเป็นเครื่องหมายแทนความเสมอภาคและภราดรภาพ
พื้นสีน้ำเงินหมายถึงสันติภาพ
สัจจะ และความยุติธรรม
พื้นสีแดงหมายถึงความรักชาติและความมีคุณค่า
รูปดวงอาทิตย์มีรัศมีแปดแฉกหมายถึงแปดจังหวัดแรกของประเทศ
อันได้แก่ จังหวัดบาตังกาส, จังหวัดบูลาคัน, จังหวัดคาวิเต,
จังหวัดลากูนา, จังหวัดมะนิลา, จังหวัดนูเอวา เอคิยา, จังหวัดปัมปังกา
และจังหวัดตาร์ลัค
ซึ่งพยายามเรียกร้องเอกราชจากสเปนและฝ่ายสเปนได้บังคับใช้กฎอัยการศึกในพื้นที่เหล่านั้นเมื่อเริ่มเหตุการณ์การปฏิวัติฟิลิปปินส์ในปี
พ.ศ. 2439
ดาวสามดวงหมายถึงหมายถึงการแบ่งพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ของประเทศออกเป็น
3 ส่วนใหญ่ๆ ได้แก่ เกาะลูซอน เกาะมินดาเนา และหมู่เกาะวิสายัน
ธงชาติอินโดนีเซีย
ชื่อ "ซังเมราห์ปูติห์" ("Sang Merah
Putih", สีแดง-ขาว)
เป็นธงที่มีต้นแบบมาจากธงประจำอาณาจักรมัชปาหิตในคริสต์ศตวรรษที่ 13
ลักษณะเป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 2 ส่วน ยาว 3 ส่วน
พื้นธงแบ่งเป็นสองส่วนตามแนวนอน
สีแดง
หมายถึงความกล้าหาญและอิสรภาพ
สีขาว
หมายถึงความบริสุทธิ์ยุติธรรม
ธงชาติไทย
เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ธงไตรรงค์
มีลักษณะเป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้า ใช้สีหลักในธง 3 สี คือ สีแดง ขาว และน้ำเงิน
ภายในแบ่งเป็นแถบ 5 แถบ แถบในสุดสีน้ำเงิน ถัดมาด้านนอกทั้งด้านบนและล่างเป็นสีขาวและสีแดงตามลำดับ
แถบสีน้ำเงินมีขนาดใหญ่กว่าแถบสีอื่นเป็น 2 เท่า
ความหมายสำคัญของธงไตรรงค์นั้นหมายถึงสถาบันหลักทั้งสามของประเทศไทย คือ
ชาติ (สีแดง)
ศาสนา
(สีขาว)
พระมหากษัตริย์
(สีน้ำเงิน)
สีทั้งสามนี้เองคือที่มาของการเรียกชื่อธงนี้ว่าธงไตรรงค์
(ไตร = สาม, รงค์ = สี) ในพระราชนิพนธ์
"เครื่องหมายแห่งไตรรงค์"
ซึ่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์เมื่อ พ.ศ. 2464
ได้นิยามความหมายของธงไตรรงค์ไว้ว่า สีแดง หมายถึง เลือดอันยอมพลีให้แก่ชาติ สีขาว
หมายถึง ความบริสุทธิ์แห่งพระพุทธศาสนาและธรรมะ สีน้ำเงิน หมายถึง
สีส่วนพระองค์ขององค์พระมหากษัตริย์
แม้นิยามดังกล่าวจะไม่ใช่คำอธิบายที่ทรงประกาศให้ใช้อย่างเป็นทางการ
แต่ทั้งสามสิ่งนี้คืออุดมการณ์รัฐที่พระองค์ทรงปลูกฝัง
เพื่อให้คนไทยเกิดสำนึกความเป็นชาตินิยมมาตลอดรัชสมัยของพระองค์