หน้าเว็บ

ภูริญ โสภณ 5010122113071 เรียนร่วม


คุณสมบัติของผู้นำ


                 ดร.พรรณทิพย์ ศิริวรรณบุศย์ ได้สรุปคุณสมบัติที่ดีของผู้นำตามแนวคิดของ May Smith และ Sir Walter Puckey และนักจิตวิทยาอีกหลายคน ไว้ดังนี้ (วุฒิเลิศ เทวกุล, ม.ร.ว.,2553:8-10)



1) มีความเฉลียวฉลาด และมีความสามารถในการนำเพื่อจะสามารถควบคุมการทำงานให้เกิดผลอย่างมีประสิทธิภาพและใช้ทรัพยากรได้อย่างอรรถประโยชน์



2) มีความเชื่อมั่นในตนเอง ผู้นำต้องมีความเชื่อมั่นในตนเองไม่โลเล ต้องใคร่ครวญในการตัดสินใจอย่างถี่ถ้วน



3) มีการตัดสินใจที่ดี มีความกล้าที่จะตัดสินปัญหาต่างๆ ได้อย่างเด็ดขาด กล้าผจญกับผลดีและผลร้ายที่เกิดขึ้น



4) มีกำลังใจที่เข้มแข็ง มีกำลังใจในการทำงานไม่ท้อถอย



5) มีปฏิภาณไหวพริบดี ผู้นำต้องแก้ปัญหาอย่างฉับไว โต้ตอบสถานการณ์ต่างๆ ได้ทันท่วงทีและถูกต้อง



6) มีความรอบรู้ มีหูตากว้างไกล สนใจสถานการณ์รอบด้านและมีวิจารณญาณใฝ่รู้อยู่เสมอ



7) มีความรับผิดชอบและตื่นตัวอยู่เสมอ ผู้นำต้องมีความรับผิดชอบสูงต่องานในหน้าที่พร้อมที่จะศึกษาสถานการณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานที่รับผิดชอบ



8) มีความสุภาพ เมตตา กรุณา และมีความเห็นใจต่อผู้ใต้บังคับบัญชา มีความสุภาพทั้งกาย วาจา รู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเรา ดูแลทุกข์สุขผู้ใต้บังคับบัญชา ตลอดจนครอบครัวของเขา



9) มีความซื่อสัตย์และยุติธรรม ให้ความเสมอภาคกับผู้ปฏิบัติงานไม่ลำเอียง ทำงานด้วยความซื่อสัตย์



10) มีความสามารถที่จะสอนผู้อื่นได้ ผู้นำจะต้องมีความรู้ ความสามารถที่จะสอน หรืออธิบายเรื่องงานให้ผู้ร่วมงานได้เข้าใจและปฏิบัติงานได้



11) มีความศรัทธาต่องานและผู้ร่วมงาน ผู้นำต้องให้ความไว้วางใจผู้ร่วมงานมีความศรัทธาต่องานที่ทำ



12) มีอารมณ์ขัน ผู้นำต้องไม่เคร่งเครียดเกินไปในการทำงาน ต้องมีอารมณ์ขันสอดแทรกให้เหมาะสมเพื่อสร้างมนุษย์สัมพันธ์



คุณสมบัติประกอบอื่นๆ ได้แก่



1) การเป็นผู้รู้จักตนเอง



2) การเป็นผู้รู้จักวิเคราะห์หาเหตุและผล (Analytieal mind)



3. การเป็นผู้เรียนรู้ตลอดเวลา (Life long Learning)



4) ความเข้าใจในจิตวิทยาการบริหาร



5) การเป็นคนดี (Good Parson) มีความอดกลั้น มีสติตั้งมั่นไม่หวั่นไหวต่อสิ่งยั่วยุ (Emotinal Quotiont-EQ) มีความอดทนมุ่งมั่นไม่ยอมแพ้ต่ออุปสรรค (Adversity Qvotent-AQ)



6) การเป็นผู้มีศีลธรรม คุณธรรมและจริยธรรม มีความสำนึกในเรื่อง “ความผิดชอบชั่วดี”



ลักษณะของผู้นำ







ความหมายของผู้นำ



เมื่อกล่าวถึง “ผู้นำ” และ “ภาวะผู้นำ” มักจะมีผู้เข้าใจสับสนว่า มีความหมายอย่างเดียวกัน ซึ่งแท้ที่จริงแล้วมีความหมายแตกต่างกัน ซึ่งได้มีผู้รู้ได้ให้ความหมายคำว่า “ผู้นำ” และ “ภาวะผู้นำ” ไว้ดังนี้



ฮอส กล่าวว่า ผู้นำ คือ ผู้ที่สามารถในการชักจูงให้คนอื่นทำงานให้สำเร็จตามความต้องการ (Hause, 1978) เช่นเดียวกัน ไซมอน สนิทเบิร์ก และทอมป์สัน กล่าวว่า ผู้นำ คือ ผู้ที่สามารถรวมคนให้เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน เพื่อกระทำการให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามเป้าหมาย (Simon & Snithburg and Thompson, 1971) ในขณะที่คองเกอร์ กล่าวว่า ผู้นำ คือ ผู้ที่พยายามใช้อิทธิพลเพื่อให้ผู้มีส่วนร่วมในการทำงานบรรลุเป้าหมายขององค์การ (Conger, 1989) ซึ่งสอดคล้องกับ กวี วงศ์พุฒ (2539) ซึ่งกล่าวว่า ผู้นำ หมายถึง ผู้ซึ่งเป็นศูนย์กลาง หรือจุดรวมของกิจกรรมภายในกลุ่ม มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของกลุ่มสูง เป็นบุคคลที่มีคุณสมบัติเฉพาะบางอย่าง คือ สามารถสอดแทรกอิทธิพลบางประการเพื่อก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของกลุ่มได้มากที่สุด



ดังนั้นจากความหมายของผู้นำที่ได้มีการทบทวนมาข้างต้น จึงสรุปได้ว่า ผู้นำ คือ บุคคลที่มีอิทธิพลต่อความรู้สึกนึกคิดและพฤติกรรมของคนอื่น เป็นผู้ที่สามารถชักจูงให้คนอื่นทำงานให้บรรลุ ถึงจุดมุ่งหมายของกลุ่ม หรือองค์การได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล







ความหมายของภาวะผู้นำ



ภาวะผู้นำ มีความหมายใกล้เคียงกับผู้นำ และเป็นปัจจัยที่จะนำไปสู่ความสำเร็จของผู้นำ หรือเป็นองค์ประกอบที่จะช่วยให้ผู้นำมีความสามารถในการนำ โดยมีนักวิชาการได้ศึกษาและให้ความหมายเกี่ยวกับภาวะผู้นำไว้มากมาย พอจะกล่าวได้ดังต่อไปนี้ (วุฒิเลิศ เทวกุล ม.ร.ว.2553 : 21-22)



The American Heritage Dictionary ให้ความหมายของภาวะผู้นำว่า หมายถึง ความสามารถในการนำ เช่นเดียวกัน กิติ ตยัคคานนท์ กล่าวว่า ผู้นำ คือบุคคลที่ได้รับการแต่งตั้ง หรือได้รบการยกย่องขึ้นเป็นหัวหน้าและเป็นผู้ตัดสินใจ เนื่องจากเป็นผู้มีความสามารถในการปกครองบงคับบัญชา และจะพาผู้ใต้บังคับบัญชาหรือหมู่ชนไปในทางดีหรือทางชั่วก็ได้ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า ผู้นำ คือผู้มีศิลปะที่สามารถมีอิทธิพลเหนือคนอื่นและนำบุคคลเหล่านั้นไปโดยได้รับความไว้วางใจและเชื่อใจอย่างเต็มที่ อีกทั้งยังได้รับความเคารพนับถือ ความร่วมมือ และความมั่นใจจากผู้ใต้บังคับบัญชาเหล่านั้นอย่างจริงใจ (กิติ ตยัคคานนท์, 2543)



สรุปแล้ว ภาวะผู้นำคือ ความสามารถของบุคคลที่มีอิทธิพลเหนือพฤติกรรมของผู้อื่นในการชี้แนะ สั่งการ อำนวยการและประสานงานกิจกรรมต่างๆ ให้บรรลุเป้าหมาย



บทบาทและหน้าที่ของผู้นำ



ผู้นำเป็นผู้ที่มีอิทธิพลสามารถโน้มน้าวและชักจูงให้บุคคลอื่นปฏิบัติงานให้เป็นผลสำเร็จได้ หน้าที่ที่สำคัญ ดังนี้ (วุฒิเลิศ เทวกุล,ม.ร.ว.,2553:15-18)



1) บทบาทในการทำงาน ผู้นำจะต้องทำงานให้เกิดประสิทธิภาพและบรรลุตามเป้าหมาย โดยผู้นำจะต้องมีบทบาทในฐานะเป็นผู้ริเริ่มและเป็นผู้วางแผน กำหนดนโยบาย ควบคุมงานประสานงาน ติดตามและประเมินผล วางกฎระเบียบ ข้อบังคับที่จำเป็น รวมทั้งสามารถให้ข้อคิดเห็นและข้อแนะนำแก่ผู้ร่วมงานเมื่อมีปัญหาเกิดขึ้น



2) บทบาทที่สัมพันธ์กับผู้ร่วมงาน ในการทำงานทุกอย่างเพื่อให้ประสบความสำเร็จนั้นนอกจากนั้นจะมีผู้นำที่ดีแล้ว จะต้องมีผู้ตาม ผู้นำจึงควรมีบทบาทในการสร้างความสัมพันธ์อันดีกับบุคคลเหล่านั้น ด้วยการให้คำแนะนำ ส่งเสริม สนับสนุนและให้กำลังใจในการทำงาน ให้ความช่วยเหลือ ให้รางวัลเมื่อทำความดีและลงโทษเมื่อกระทำความผิด นอกจากนี้จะต้องสามารถทำหน้าที่ประสานสัมพันธ์ และประนีประนอมข้อขัดแย้งที่เกิดขึ้นระหว่างบุคคลในองค์กร



3) บทบาทที่เกี่ยวข้องกับองค์กร ผู้นำต้องเป็นสัญลักษณ์ และตัวแทนขององค์กร เมื่อต้องไปติดต่อหรือสัมพันธ์กับองค์กรอื่นๆ ดังนั้นจะต้องเป็นผู้ที่มีบุคลิกภาพดี น่านับถือ ลูกน้องหรือผู้ร่วมงานสามารถที่จะเอาเป็นแบบอย่างได้ นอกจากนี้จะต้องมีบทบาทในฐานะเป็นผู้ประสานงานระหว่างหน่วยงานต่างๆ ภายในองค์กร รวมทั้งกับองค์กรภายนอก ซึ่งผู้นำจะต้องพยายามสร้างเครือข่ายให้เกิดขึ้น



4) บทบาทเกี่ยวกับข่าวสารข้อมูล สังคมปัจจุบันอยู่ในยุคโลกาภิวัฒน์ เป็นยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทั้งทางด้านสังคมเศรษฐกิจ การเมือง การปกครอง และวัฒนธรรมแล้ว ยังเป็นยุคของการติดต่อโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นการสื่อสารติดต่อกันได้อย่างรวดเร็วหรือการติดต่อที่ไร้พรมแดน ดังนั้น ใครที่ครอบครองข้อมูลข่าวไว้มากที่สุดทันสมัยที่สุด ก็จะเป็นผู้ที่ได้เปรียบ ผู้นำจะต้องมีบทบาทในฐานะผู้แสวงหาข้อมูล ซึ่งจะต้องค้นหาข้อมูลที่เกี่ยวข้องและจำเป็นสำหรับองค์กร เพื่อนำมาปรับปรุงแก้ไข รวมทั้งพัฒนาให้องค์กรมีความเจริญก้าวหน้าต่อไป นอกจากนี้จะต้องมีบทบาทในฐานะผู้ถ่ายทอดข้อมูลที่ได้มาให้กับผู้ร่วมงานได้รับทราบ เพื่อนำมาปรับปรุงแก้ไขปัญหาต่างๆ ภายในองค์กร บทบาทดังกล่าวนี้ จะรวมถึงบทบาทของผู้นำในฐานะเป็นผู้กระจายข้อมูลข่าวสารที่ได้มาให้บุคลากรในองค์กรได้ทราบด้วย



5) บทบาทในการตัดสินใจ ผู้นำที่ดีนั้น นอกจากจะเป็นผู้มีความรู้ความสามารถสูงแล้วจะต้องมีการตัดสินใจที่รวดเร็วและถูกต้องโดยอาศัยข้อมูลพื้นฐานที่ตนมีอยู่ ผู้นำต้องเข้าไปแก้ไขข้อขัดแย้งระหว่างบุคคล หรือระหว่างกลุ่มในองค์กร รวมทั้งแก้ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น ซึ่งจำเป็นจะต้องวิเคราะห์ และการตัดสินอย่างรวดเร็ว เพื่อให้ปัญหาต่างๆ ยุติ ซึ่งบางกรณีผู้นำอาจต้องทำหน้าที่เป็นผู้เจรจาไกล่เกลี่ย หรือผู้ประนีประนอม

6) บทบาทในการสร้างทีมงาน ผู้นำไม่สามารถจะทำงานคนเดียวได้ แต่จะต้องมีทีมงานหรือสร้างทีมงานที่มีความมุ่งมั่นที่จะทำงานให้สำเร็จผู้นำจะต้องวางตัวเป็นผู้นำทีมที่เหมาะสม เพื่อให้ลูกน้องเกิดความศรัทธาตลอดจนประสานความร่วมมือกับหน่วยงานอื่นๆ ในองค์กร มีความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้บังคับบัญชา และผู้ใต้บังคับบัญชา โดยให้มีการสนับสนุนแผนการทำงานเป็นที

ไม่มีความคิดเห็น: