หน้าเว็บ

นส.รำไพพรรณ เชียงหนุ้น รหัส5130125401215





ทฤษฎีภาวะผู้นำตามสถานการณ์ของเฮอร์เซย์และบลานชาร์ด



ทฤษฏีภาวะผู้นำตามสถานการณ์ของเฮอร์เซย์และบรานชาร์ด เป็นทฤษฏีหนึ่งที่ได้รับความ นิยมในวงการศึกษาภาวะผู้นำโดยเฉพาะเพื่อการอบรมพัฒนาผู้นำอย่างกว้างขวาง เป็นทฤษฏีที่ พัฒนาขึ้นโดยเฮอร์เซย์และแบลนชาร์ด จากแนวคิดของทฤษฏีสามมิติของเรดดิน และได้รับการ ปรับปรุงต่อมาอีกหลายครั้ง ทฤษฏีนี้เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “ทฤษฏีวงจรชีวิต” (Life-cycle theory)



ทฤษฏีนี้มีแนวคิดพื้นฐานที่สำคัญคือ สถานการณ์ที่แตกต่างกันย่อมต้องการแบบของผู้นำที่ แตกต่างกัน ด้วยมุมมองดังกล่าวจึงสรุปว่าการเป็นผู้นำที่มีประสิทธิภาพได้นั้นจำเป็นที่ผู้นำจะต้อง ปรับแบบภาวะผู้นำของตนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ต่าง ๆ เหล่านั้น (ซึ่งตรงกันข้ามกับแนวคิด ทฤษฏีสถานการณ์ของฟีดเลอร์ที่เชื่อว่าผู้นำจะมีประสิทธิผลได้ก็ต่อเมื่อต้องปรับสถานการณ์ที่ เป็นอยู่ให้สอดคล้องกับแบบภาวะผู้นำ)



การพัฒนาทฤษฎีภาวะผู้นำตามสถานการณ์ (Situational Leadership Theory) เพื่ออธิบาย ภาวะผู้นำที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งมีผลมาจากสถานการณ์ต่อพฤติกรรม 2 แบบของผู้นำ พฤติกรรมการ ปฏิบัติงาน 2 แบบ ได้แก่ (1) พฤติกรรมมุ่งงาน (Task Behavior) และ (2) พฤติกรรมมุ่ง ความสัมพันธ์ ดังนี้



1. พฤติกรรมมุ่งงาน (Task Behavior) คือ ผู้นำที่กำหนดรายละเอียดและขอบเขตของงาน แก่ผู้ใต้บังคับบัญชา ซึ่งจะบอกให้รู้ว่าผู้ใต้บังคับบัญชาต้องทำอะไร อย่างไร ที่ไหน และเสร็จเมื่อไร



2. พฤติกรรมมุ่งความสัมพันธ์ (Relationship Behavior) คือผู้นำที่พยายามและรักษา ความสัมพันธ์กับผู้ใต้บังคับบัญชา โดยให้โอกาสในการติดต่อได้สะดวก พยายามสร้างบรรยากาศที่ เป็นกันเอง และให้การสนับสนุนอำนวยความสะดวกกับผู้ตามในทุก ๆ ด้าน







นส.รำไพพรรณ เชียงหนุ้น รหัส5130125401215 การจัดการทั่วไป

ไม่มีความคิดเห็น: