หน้าเว็บ

นางสาว อลิตา ธนาพีรัชต์ชัย รหัส 5210125401062 สาขา การจัดการทั่วไป

แนวความคิดในกลุ่มการจัดการภาครัฐแนวใหม่
แนวความคิดในกลุ่มการจัดการภาครัฐแนวใหม่ หรือ เรียกว่า NPM (New public Management)
เป็นกระแสความคิดในการบริหารองค์กรที่เกิดขึ้นในช่วง 10 -20 ปี ที่ผ่านมา โดยแนวคิดการจัดการภาครัฐ แนวใหม่นี้ มีสาระสำคัญ คือ
1. การนำเทคนิคและเครื่องมือทางการบริหารที่ใช้ได้ผลในภาคเอกชนมาใช้ในการบริหารงานของหน่วยงานภาคราชการ ซึ่งลักษณะนี้เป็นแนวความคิดที่เรียกว่า "การจัดการนิยม (Managerialism)เทคนิควิธีการบริหารที่นำมาใช้ได้แก่ การบริหารโดยมุ่งผลสัมฤทธิ์ ( managing by results)การควบคุมและจัดการในเรื่องมาตรฐานการทำงาน ( explicit standard and measures of performance)การคำนวณความคุ้มค่าในการลงทุน (Value for money) เป็นต้น
2. การให้มีหน่วยงานอื่นเข้ามาดำเนินการ ซึ่งจะทำให้เกิดการแข่งขัน ในการให้บริการประชาชน การให้หน่วยงานราชการเป็นกลไกประการเดียว จะทำให้การบริหารไม่เกิดประสิทธิภาพเท่าที่ควร การใช้กลไกตลาดเข้ามาช่วย จะทำให้การจัดการภายรัฐดีขึ้น
แนวความคิดในการบริหารสมัยใหม่จะเป็นการเสนอเทคนิดทางการบริหารที่นำมาแก้ปัญหาและพัฒนาการทำงานขององค์กร

อ้างอิง ... จาก หนังสือ การบริหารองค์กร
สำนักพิมพ์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปี 2552

นางสุชาดา มณีโชติ 217 การจัดการทั่วไป กศ.พบ รุ่น 19 หมู่1



แนวคิดและความหมายของการบริหารและการบริหารจัดการ



การบริหารนิยมใช้กับการบริหารราชการ หรือการจัดการเกี่ยวกับนโยบาย ซึ่งมีศัพท์บัญญัติ ว่า รัฐประศาสนศาสตร์ (public administration) และคำว่า การจัดการ (management) นิยมใช้กับการบริหารธุรกิจเอกชน หรือการดำเนินการตามนโยบายที่กำหนดไว้ สมพงศ์ เกษมสิน ยังให้ความหมายการบริหารไว้ว่า การบริหารมีลักษณะเด่นเป็นสากลอยู่หลายประการ ดังนี้
1) การบริหารย่อมมีวัตถุประสงค์
2) การบริหารอาศัยปัจจัยบุคคลเป็นองค์ประกอบ
3) การบริหารต้องใช้ทรัพยากรการบริหารเป็นองค์ประกอบพื้นฐาน
4) การบริหารมีลักษณะการดำเนินการเป็นกระบวนการ
5) การบริหารเป็นการดำเนินการร่วมกันของกลุ่มบุคคล
6) การบริหารอาศัยความร่วมมือร่วมใจของบุคคล กล่าวคือ ความร่วมใจ (collective mind) จะก่อให้เกิดความร่วมมือของกลุ่ม (group cooperation) อันจะนำไปสู่พลังของกลุ่ม (group effort) ที่จะทำให้บรรลุวัตถุประสงค์
7) การบริหารมีลักษณะการร่วมมือกันดำเนินการอย่างมีเหตุผล
8) การบริหารมีลักษณะเป็นการตรวจสอบผลการปฏิบัติงานกับวัตถุประสงค์
9) การบริหารไม่มีตัวตน (intangible) แต่มีอิทธิพลต่อความเป็นอยู่ของมนุษย์



อ้างอิงจาก : http://www.wiruch.com/articles%20for%20article/article%20concept%20and%20meaning%20of%20admin%20and%20mgt%20admin.htm

(สมพงศ์ เกษมสิน, การบริหาร (พิมพ์ครั้งที่ 7, กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพานิช, 2523), หน้า 5-6.)