หน้าเว็บ

นางสาวนงลักษณ์ พลจันทร์ การจัดการทั่วไป ปี4 5210125401056



คุณสมบัติของหัวหน้างาน

คุณสมบัติพื้นฐาน อย่างน้อง 2 ประการ

1. รู้งานที่ตนเองรับผิดชอบ หัวหน้างานจำเป็นต้องรู้และเข้าใจในขอบเขตความรับผิดชอบของตนเอง ต้องรู้เป้าหมายและนโยบายของบริษัท หรือองค์การที่ตนสังกัดอยู่เพื่อจะได้ยึดถือเป็นหลักในการบริหาร

2. รู้วิธีบริหารงานและการปกครองบังคับบัญชา หัวหน้างานต้องมีความสามารถในการบริหารงาน เพื่อสร้างความร่วมมือร่วมใจของผู้ใต้บังคับบัญชามาร่วมปฏิบัติงานให้สำเร็จลุล่วงไปได้ หัวหน้างานจึงต้องมีความสามารถในการกำหนดแนวดำเนินงานและวิธีปฏิบัติงานที่ถูกต้อง มีความสามารถในการวินิจฉัยสั่งการ เพื่อแก้ไขปัญหาและอุปสรรคต่างๆ ให้หมดไป มีความสามารถในการปกครองให้ผู้ใต้บังคับบัญชาอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุขไม่ทะเลาะแว้งกัน

นอกจากคุณสมบัติพื้นฐานทั้ง 2 ประการแล้ว หัวหน้างานควรมีลักษณะที่ดีต่อไปนี้ด้วย

1. มีความเฉียดฉลาด ทันคน อย่าให้ลูกน้องหลอกลวงได้

2. มีความเชื่อมั่นในตนเอง ไม่โลเล

3. เด็ดเดี่ยวในการบริการงาน

4. มีกำลังใจสูง

5. เรียนรู้ได้เร็ว

6. มีความรอบรู้ในหลายๆ ด้าน

7. มีความกระตือรือร้น

8. สุภาพเป็นมิตร เมตตากรุณาและเห็นอกเห็นใจ

9. มีศีลสัตย์ มั่นคง และเที่ยงธรรม

10. สอนคนอื่นและแนะนำผู้อื่นได้

11. มีศรัทธาต่องานและผู้ร่วมงาน

อ้างอิงจาก วิชัย โถสุวรรณจินดา. หัวหน้างานยุคใหม่. กรุงเทพ. สำนักพิมพ์ธรรมนิติ. 2539

นางสาว นัฐภรณ์ อยู่ดี รหัส 5210125401068 การจัดการทั่วไป ปี 4

บทที่ 4
คุณลักษณะของผู้บริหารที่มีภาวะผู้นำ
ผู้บริหารที่มีภาวะผู้นำจะต้องเป็นผู้ที่มีวิสัยทัศน์ มีความสามารถในการปฏิบัติงานที่สูงกว่าเกณฑ์เฉลี่ยปกติ เป็นผู้กระตุ้นให้ผู้อื่นเกิดความกระตือรือร้นที่จะปฏิบัติงานเพื่อมุ่งสู่เป้าประสงค์อันเป็นภาพหมายแห่งอนาคตที่หมายไว้ เป็นผู้ที่มีอิทธิพลทำให้ผู้อื่นสมัครใจร่วมทำงานในสถานการณ์ต่างๆให้บรรลุความสำเร็จ
คุณสมบัติภาวะผู้นำดังกล่าวข้างต้น เป็นเพียงเกณฑ์พิจารณาพื้นฐานที่องค์กรใช้ประกอบในการตัดสินใจคัดเลือกผู้บริหาร เท่ากับเป็นการสร้างความมั่นใจว่าถ้าให้ผู้บริหารที่ผ่านการสรรหาน่าจะรับผิดชอบการบริหารจัดการได้ดี
ลักษณะของผู้บริหารที่มีภาวะผู้นำ โดยทั่วไปจะบริหารจัดการงานและองค์กร ในลักษณะดังต่อไปนี้
1. ผู้บริหารที่อาสาบริหารจัดการ องค์กรที่ได้จัดตั้งมาแล้ว ผู้บริหารเขาจะสร้างวิสัยทัศน์และใช้กรอบมาตรการวัดผลการดำเนินงานการบริหารดุลยภาพ BSC กำหนดวัตถุประสงค์และกลยุทธ์ที่จะนำไปสูวิสัยทัศน์นั้น
2. กรณีที่ยังไม่มีองค์กร หรือยังไม่ได้จดทะเบียนจัดตั้งบริษัท ผู้บริหารที่มีภาวะผู้นำจะสร้างวิสัยทัศน์ใหม่ และสร้างองค์กรที่มีลักษณะการบริหารจัดการที่เป็นเชิงยุทธศาสตร์ เพื่อให้จัดตั้งองค์กรขึ้นมาให้ได้ (ผู้ริเริ่ม ผู้บุกเบิก)
3. กล้าที่จะกระจายอำนาจและความรับผิดชอบให้พนักงานในระดับที่ต่ำกว่า เพื่อให้สามารถตัดสินใจในการจัดการทรัพยากร และเพื่อกระตุ้นให้พนักงานกล้าที่จะคิดริเริ่มในสิ่งใหม่
4. ผู้บริหารที่มีภาวะผู้นำจะใช้งบประมาน ข้อมูลข่าวสาร และระบบการรายงานเพื่อสร้างวัฒนธรรมการทำงาน การบังคับบัญชาและกระบวนการปฏิบัติงานใหม่
5. ผู้บริหารที่มีภาวะผู้นำ จะบูรณาการทุกกิจกรรมงานและทรัพยากรเพื่อให้มีการบริหารจัดการเชิงยุทธศาสตร์อย่างต่อเนื่อง
ผู้บริหารที่สามารถบริหารจัดการงานและองค์กรให้มีลักษณะใดลักษณะหนึ่งหรือหลายลักษณะดังกล่าวข้างต้น ทำให้เกิดความมั่นใจได้ว่าองค์กรจะเติบโตอย่างมั่นคง การบริหารจัดการแบบมียุทธศาสตร์จึงเหมาะสำหรับองค์กรที่ต้องการเปลี่ยนแปลงในสิ่งที่ดีกว่าที่เป็นมาและเป็นอยู่ และยังใช้ได้ดีในการบริหารจัดการกับปัญหาที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน
อ้างอิง : นิรมิต เทียมทัน. ศาสตร์และศิลป์สำหรับผู้สร้างอนาคตใหม่. กรุงเทพฯ. โรงพิมพ์ ส.เอเชียเพรส. 2548

นางสาวณัชนิตา ผาผาย เอกการจัดการทั่วไป รหัส048 ปี4 หมู่1

เอก ณกรณ์ กรณ์หิรัญ เจ้าของวุฒิ-ศักดิ์ คลีนิก นักธุรกิจหนุ่มไฟแรง ที่เขาบอกว่าตัวเองเริ่มต้นมาจากติดลบ
ณกรณ์ กรณ์หิรัญ ได้บอกเล่าว่าฐานะพอมีกินมีใช้ จึงได้ส่งตนเองเข้ามาศึกษาในกรุงเทพฯ โดยส่วนตัวเป็นคนมีหัวธุรกิจ ชอบทำโน่นทำนี่ไปเรื่อย ๆ เพื่อเพิ่มพูนรายได้ให้กับตัวเอง ถึงขั้นเป็นเศรษฐีเงินกู้เลยทีเดียว เนื่องจากไปหยิบยืมเงินของที่บ้านมาปล่อยกู้ 2 ล้านบาท จนรายได้งอกเงยไปถึง 4-5 ล้านบาท แต่แล้ววันหนึ่ง ณกรณ์ กรณ์หิรัญ ก็มาถึงคราวพลั้งพลาด เมื่อเศรษฐกิจไม่ค่อยดีเท่าไร ตนก็ไม่ทันระวัง ปล่อยกู้ให้ลูกหนี้รายหนึ่งไป แล้วโดนโกงจนหมดตัว ถึงขั้นรถที่เพิ่งซื้อมาไม่เท่าไรก็โดนยึดไปด้วย เพราะไม่มีเงินไปชำระค่าผ่อน
หลังจากนั้นไม่นาน มีเพื่อนคนหนึ่งของ ณกรณ์ กรณ์หิรัญ สนใจอยากจะเปิดคลินิกความงาม จึงมาชักชวนเขามาร่วมทุนเพื่อเปิดร้าน วุฒิ-ศักดิ์ คลินิก ย่านงามวงศ์วาน โดยตั้งชื่อคลินิกตามชื่อแพทย์ที่มาร่วมหุ้นอีกคน และเป็นคนดูแลระบบการรักษาความงามทั้งหมดของคลินิก

และเมื่อ วุฒิ-ศักดิ์ คลินิก ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก ขยายสาขาไปหลายสาขาทั่วกรุงเทพฯ ณกรณ์ กรณ์หิรัญ จึงได้ชื่อว่าเป็นนักธุรกิจหนุ่มหน้าใหม่ไฟแรงที่ประสบความสำเร็จตั้งแต่อายุยังน้อย แต่เจ้าตัวก็ถ่อมตัวพร้อมแจกแจงว่า อายุ 30 กว่าแล้ว ถือว่ามาครึ่งทางของชีวิตแล้ว นี่เป็นเพียงก้าวขึ้นบันไดได้สำเร็จอีกขั้นหนึ่ง ชีวิตไม่มีคำว่าประสบความสำเร็จสุด ๆ เราต้องเดินหน้าไปเรื่อย ๆ เพื่อบรรลุเป้าหมายหนึ่ง แล้วก้าวต่อไปเพื่อบรรลุอีกเป้าหมายหนึ่งเท่านั้นเอง

นางสาวทุเรียน ยศเหลา รหัส 5130125401220





การบริหารงานสมัยใหม่กับหลักการบริหารงานเชิงพุทธศาสตร์

การบริหารจัดการสมัยใหม่ยังขาดอะไรบ้างที่เป็นนามธรรมที่เกี่ยวกับมนุษย์ที่ต้องอยู่ร่วมกันรวมทั้งสิ่งแวดล้อมต่อสังคมและองค์กรหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาที่กล่าวถึงการบริหารจัดการมีอยู่มากมาย

เป็นคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ในสัปปุริสสูตร(พระไตรปิฎกเล่มที่23)คือ

1.ธัมมัญญตา ความเป็นผู้รู้จักเหตุ คือ รู้ความจริง รู้หลักการ รู้กฎเกณฑ์ ผู้บริหารจำเป็นต้องพิจารณาข้อเท็จจริงอย่างถูกต้อง

2.อัตตัญญตา ความเป็นผู้รู้จักตน คือ รู้จักราว่าเรานั้นโดยฐานะภาวะความรู้ ความสามารถและคุณธรรม ในที่นี้หมายถึงรู้จักองค์กรที่เราบริหารเป็นอย่างดี

3.อัตถัญญตา ความเป็นผู้รู้จักผลคือรู้ความหมาย การบริหารงานองค์กรให้บรรลุถึงวัตถุประสงค์

4.มัตตัญญตา ความรู้จักประมาณคือ ความพอดีในการจ่ายโภคทรัพย์ การบริหารทรัพย์ให้รู้จักประมาณในความพอเพียง ขององค์กร

5.กาลัญญตา ความเป็นผู้รู้จักกาล คือ รู้กาลเวลาอันเหมาะสมและระยะเวลาในการประกอบกิจ หมายถึงการบริหารองค์กรให้เหมาะสม

6.ปริสัญญตา ความเป็นผู้รู้จักชุมชน คือรู้กริยาที่จะประพฤติต่อชุมชนนั้นๆว่าควรจะดำเนินความสัมพันธ์กับองค์กรต่างๆ ที่เป็นพันธมิตรและคู่แข่ง

7.ปุคคลัญญตา ความเป็นผู้รู้จักบุคคล คือรู้จักความแตกต่างของบุคคล ว่าโดยความรู้ความสามารถของบุคคลและภักดีต่อองค์การมีความสามัคคีสร้างความเป็นธรรม และเสมอภาคให้แก่บุคลากรในองค์กร

นุชนภางค์ สงคราม รหัส 219 การจัดการทั่วไป



แบสส์ (Bass) พบว่าแนวคิดพฤติกรรมของผู้นำในการนำกลุ่มให้ปฎิบัติงานอย่างใดอย่างหนึ่งให้ได้ผลดียิ่งขึ้นหรือให้ได้ผลเกินความคาเกวัง ผู้นำจะต้องแสดงความเป็นผู้นำทั้ง 2 ลักษณะร่วมัน คือ ความเป็นผู้นำเชิงเป้าหมาย และความเป็นผู้นำเชิงปฎิรูป โดยทิศทางการแสดงพฤติกรรมความเป็นผู้นำจะออกมาในสัดส่วนของความเป็นผู้นำเชิงปฎิรูปหรือเชิงเป้าหมายมากน้อยเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับ

1. สิ่งแวดล้อมภายนอกองค์กร ได้แก่ เศรษฐกิจ การเปลี่ยนแปลงในสังคม วัฒนธรรมและประเพณีของแต่ละท้องถิ่น

2. สิ่งแวดล้อมภายในองค์กร ได้แก่ งาน เพื่อนร่วมงาน ผู้บังคับบัญชา ผู้ใต้บังคับบัญชา และวัฒนธรรมองค์กร

3. คุณลักษณะส่วนตัวของผู้นำเอง ได้แก่ บุคลิภาพ ความสามารถเฉพาะบุคคล และความสนใจของแต่ละบุคคล

ความเป็นผู้นำเชิงปฎิรูป (Transformationl Leadeship) ตามแนวคิดของแบสส์ หมายถึง การที่ผู้นำให้ความช่วยเหลือเกื้อกูลแก่ผู้ตามเพื่อให้เกิดขวัญและแรงใจในระดับที่สูงขึ้น ผู้นำสามารถทำให้ผู้ตามเกิดแรงดลใจในการทำงาน และพยายาม ที่จะทำงานให้ได้มากที่คาดหวังไว้ ซึ่งความเป็นผู้นำเชิงปฎิรูป ประกอบด้วย

1. บุคลิกภาพที่น่านับถือ

2. การยอมรับความแตกต่างของบุคคล

3. การกระตุ้นให้ใช้สติปัญญา

ความเป็นผู้นำเชิงเป้าหมาย ( Transactional Leadership) หมายถึง การที่เป็นผู้นำชี้แนะหรือจูงใจให้ผู้ตามปฎิบัติตามเป้าหมายที่กำหนดโดยระบุความชัดเจนด้านบทบาท โครงสร้างงานและสิ่งท่ต้องการจากงานซึ่งจะแลกเปลี่ยนกันด้วยสิ่งตอบแทนที่ผู้ตามต้องการ เพื่อนเป็นแรงผลักดันให้งานบรรลุมุ่งหมายตามที่คาดหวังไว้ แบสส์ได้เสนอแนวทาง 2 ประการ ในการแสดงความเป็นผู้นำเชิงเป้าหมาย

1. การให้รางวัลตามสถานการณ์

2. การจัดการโดยยึดกฎระเบียบ

นางสาวนพมาศ พิณทมร รหัส 5210125401067 เอกการจัดการทั่วไป ปี 4

ผู้นำตัวอย่าง นาย โชค บุลกุล ( กรรมการผู้จัดการ กลุ่มบริษัทฟาร์มโชคชัย )
Positioning หลัก
1. เป็นทายาทคนโตของโชคชัย บูลกุล ผู้บุกเบิกฟาร์มโชคชัย ต้นตำนานคาวบอยเมืองไทย
2. พลิกธุรกิจจากที่เคยติดลบให้ทำกำไร และเป็นที่รู้จักด้วยการเปลี่ยนฟาร์มโคนมให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยว
3. เป็นผู้บริหารฟาร์มโคนมที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (เนื้อที่ 20,000ไร่ วัว 5,000 ตัว)
4. บุกเบิกการส่งออกแม่พันธุ์โคนม จากเดิมที่ประเทศแถบเอเชียต้องสั่งวัวเข้ามาจากออสเตรเลีย
วิสัยทัศน์และวิธีคิดของโชค บุลกุล
10 กลยุทธ์สร้างคน
1. เป็นผู้นำที่ใช้คุณสมบัติพิเศษเฉพาะคนสร้างการเปลี่ยนแปลง
2. เป็นผู้นำที่พร้อมยอมรับการตัดสินใจของคนหมู่มาก
3. เป็นผู้นำที่ลูกน้องรัก เคารพ และเชื่อ
4. เชื่อมั่นในความผูกพันระหว่างผู้นำและทีม
5. พร้อมที่จะทำให้ดูเป็นตัวอย่าง
6. ภูมิใจในความสำเร็จ
7. ภูมิใจในความเป็นเจ้าของ
8. รู้จักมองต่างมุม
9. มีการเรียนรู้และประเมินผลอย่างต่อเนื่อง
10. มีจิตสำนึกของความเป็นครู

อ้างอิง: http://www.farmchokchai.com จากฟาร์มโชคชัย

นางสาวสายพิณ สิงห์ใจ รหัส 5130125401248



( Koontz and Donnell ) อธิบายว่าการเป็นผู้นำ หมายถึงการมีอิทธิพลต่อบุคคลอื่นให้ปฏิบัติตามในอันที่จะบรรลุถึงจุดประสงค์ขององค์กรการร่วมกัน การเป็นผู้นำเป็นวิธีการของการตัดสินใจสิ่งการเพื่อให้กลุ่มได้บรรลุจุดประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ขณะเดียวกันผู้นำก็ไม่เสียเอกลักษณ์เฉพาะตัวของตัวเองและให้ได้แนวคิดที่นิยามการจะเป็นผู้นำไว้ 5 วิธีคือ

1) ทำให้สมาชิกของกลุ่มมุ่งความสนใจไปที่คนบางคน และเอาบุคคลนั้นเป็นศูนย์กลางของกิจกรรม

2) บุคคลที่มีความสามารถชี้แนะสมาชิกของกลุ่มให้ไปจุดมุ่งหมายปลายทางได้

3) บุคคลที่ได้รับการคัดเลือกจากสมาชิกของกลุ่มให้เป็นหัวหน้าเป็นผู้แทนกลุ่ม

4) บุคคลที่สามารถนำกลุ่มไปในทางที่กลุ่มและและองค์การต้องการ

5) บุคคลที่มีคุณสมบัติเฉพาะอย่างของความเป็นผู้นำ

อ้างอิงจาก : หนังสือภาวะผู้นำเป็นทีม อ.ยงยุทธ เกศสาคร หน้าที่ 37

นางสาวสุชาดา สุขวงษ์ รหัส 5210125401002 เอก การจัดการทั่วไป



ผู้นำที่ดีควรมีคุณลักษณะอย่างไร

1 คุณลักษณะทางกาย ได้แก่อายุ ลักษณะ ส่วนสูง และน้ำหนัก

2 ภูมิหลังทางสังคม

ผู้นำต่างๆมีแนวโน้มที่ได้รับการศึกษาดีขึ้นในปัจจุบันมากกว่าในอดีตที่ผ่านมา

3 สติปัญญา ความรู้ ความสามารถ

ผู้นำต้องมีสติปัญญา ความรู้ ความสามารถ กับสภาพการเป็นผู้นำแสดงหรือชี้ให้เห็นว่าผู้นำมักจะมีลักษณะต่อไปนี้คือ พูดเก่ง ตัดสินใจดี ความรู้ดี

4 บุคลิกภาพ

ผู้นำต้องมีความเชื่อมั่นในตนเอง มีความระมัดระวัง

5 ลักษณะที่เกี่ยวกับงาน

ผู้นำตามคุณลีกษณะแบบนี้จะมีความต้องการความสำเร็จ ความรับผิดชอบสูง และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์

6 ลักษณะต่างๆ ทางสังคม

ผู้นำตามลักษณะแบบนี้เป็นผู้ที่ต้องการมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ อย่างกระตือรือร้นเป็นผู้ที่ชอบการติดต่อพบปะสังสรรค์กับบุคคลอื่น และให้ความร่วมมือกับบุคคลต่างๆ ดีซึ่งผู้นำคนใดก้อตามที่มีคุรลักษณะดังกล่าวมักจะมีส่วนที่ทำให้ความเป็นปึกแผ่นของกลุ่มเหนียวแน่น

อ้างอิง หนังสือ องค์การสมัยใหม่

นางสุชาดา 5130125401217



คุณสมบัติหลัก 5 ประการของผู้นำแห่งอนาคต

1.ต้องคิดถึงภาพรวมโลก (Thinking Globally) – การทำธุรกิจในอดีตต่างจากปัจจุบันและอนาคต ทุกสิ่งในโลกเชื่อมถึงกันหมด จากการพัฒนาการสื่อสาร ถ้าจำกันได้ ภาวะการเงินต้มยำกุ้งในบ้านเรา ส่งผลกระทบไปทั่วภูมิภาค และทั่วโลกอย่างรวดเร็ว และในอนาคต การเปลี่ยนแปลงของตลาดทั่วโลกจะมีความสำคัญต่อการทำธุรกิจในประเทศ ดังนั้น ผู้นำแห่งอนาคตต้องคิดถึงภาพรวมโลก ต้องศึกษาทำความเข้าใจเศรษฐศาสตร์มหภาค ต้องรู้ทันกฎหมายและการเมืองประเทศอื่นๆด้วย

มีสองปัจจัยที่ผู้นำยุคหน้าต้องคิดถึง คือ การเพิ่มขึ้นของการค้าระหว่างประเทศ และการบูรณาการด้านเทคโนโลยี ตัวอย่างที่เห็นชัดคือ สินค้าสมัยนี้ ไม่ได้ผลิตจากประเทศเดียวอีกต่อไป วัตถุดิบและชิ้นส่วนถูกส่งมาจากประเทศต่างๆ เพื่อประกอบเป็นสินค้าชิ้นเดียว แต่ก็ยังคงมีราคาต้นทุนที่ถูกกว่า (จากความได้เปรียบทางการแข่งขัน Competitive Advantage ของแต่ละประเทศนั่นเอง) เพราะฉะนั้นสิ่งเดียวที่ผู้ผลิตต้องเรียนรู้ ก็คือเรื่องการบริหารจัดการการผลิตระดับโลก การบริหารการตลาด และการบริหารทีมขาย

นอกจากนี้ผู้นำแห่งอนาคตยังต้องคิดถึงการบูรณาการการใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ ทั้งภายในสำนักงานไปจนถึงการส่งออก อย่าลืมว่า สินค้าบางอย่าง อาจผลิตในประเทศไทยแต่ส่งไปขายต่างประเทศ (เช่น กล้องถ่ายรูป รถยนต์) ทั้งนี้ เพราะเทคโนโลยีนั้น สามารถจะทะลาย กำแพงไปสู่การทำธุรกิจ ระดับโลกได้ ดังนั้น ผู้นำที่ยังคิดแต่จะค้าขายในประเทศเท่านั้น อาจถูกกดดันจากตลาดระดับโลกได้ (เช่น ปัญหาเรื่องการขาดแคลนข้าวของตลาดโลก ส่งผลกระทบต่อชาวนาไทยโดยตรง รวมทั้งรัฐบาลก็ยังถูกกดดันจากตลาดต่างประเทศอีกด้วย ทั้งๆ ที่ไทยก็ผลิตข้าวเท่าเดิม)

2.ต้องเข้าใจความหลายหลายทางวัฒนธรรม (Appreciating Cultural Diversity) – จากการเปิดตลาดเสรี วัตถุดิบมาจากหลายแห่ง ธุรกิจอาจตั้งฐานการผลิตในต่างประเทศ หรือส่งสินค้าไปขายยังตลาดนอกบ้าน ดังนั้น ผู้นำแห่งอนาคตจึงต้องเข้าใจความหลากหลายทาง วัฒนธรรม ของทีมงานและประเทศที่เข้าไปดำเนินธุรกิจ ต้องเข้าใจทั้งระบบเศรษฐกิจ กฎหมาย สังคม วัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณีด้วย และต้องเคารพความแตกต่างด้านนี้ของปัจเจกชน เพราะในมุมมองหนึ่ง คือการเปิดโอกาสทางการค้า

3.ต้องสามารถบริหารจัดการเทคโนโลยี(DemonstratingTechnology Savvy) – ผู้นำยุคหน้าต้องสามารถ บริหารจัดการ เข้าใจบทบาทของเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับองค์กรโดยอาศัยกลยุทธ์เพียง 4 อย่างเท่านั้น คือ

1) ต้องรู้ว่าการใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ อย่างชาญฉลาดนั้น สามารถช่วยองค์กรได้อย่างไรบ้าง

2) ต้องรู้จักคัดเลือก พัฒนา และจูงใจทีมงานที่เก่งเรื่องเทคโนโลยีให้อยู่กับองค์กรไปนานๆ

3) ต้องรู้วิธีการบริหารและการลงทุนในเทคโนโลยีใหม่ๆ

4) ต้องเป็นผู้นำตัวอย่างในแง่การกล้าใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ

4.ต้องสร้างหุ้นส่วนธุรกิจ(Building Partnerships) – เพื่อให้สามารถแข่งขันกับตลาดโลกได้และได้เปรียบคู่แข่งธุรกิจ ผู้นำแห่งอนาคตต้อง ทำใจให้ได้ว่าการปรับขนาดองค์กร ผ่าโครงสร้าง ลดจำนวนพนักงาน และจ้างธุรกิจอื่นทำงานที่ตนไม่ถนัด (outsourcing) นั้น ต่อไปจะถือเป็น เรื่องธรรมดามากๆ ผู้นำยุคหน้าต้องรู้จักสร้างหุ้นส่วนธุรกิจยิ่งมากยิ่งดี ในอนาคตคำว่าศัตรูคู่แข่งหรือคู่หู จะไม่ชัดเจนเท่าไหร่นัก ยิ่งในธุรกิจสำคัญๆ เช่น พลังงาน การสื่อสาร และยา องค์กรเดียวกันอาจเป็นทั้งลูกค้า เป็นผู้จัดส่ง เป็นหุ้นส่วน หรือคู่แข่งในเวลาเดียวกันก็ได้ (เพราะองค์กรเดียวอาจ ทำธุรกิจหลายอย่าง เช่น CP มีหุ้นในบริษัท ทรูคอร์ปปอเรชั่น บริษัท 7-11 ) ดังนั้น ผู้นำยุคหน้าจึงควรสร้างแนวคิดบวก สร้างความสัมพันธ์ระยะยาวและ แบบ "ชนะ-ชนะ" (win-win) กับองค์กรอื่นๆ ไว้จึงน่าจะเหมาะสมกว่า

5. ต้องแบ่งปันประสบการณ์ผู้นำ (Sharing Leadership) – ผู้นำในยุคหน้าไม่ได้เป็นแบบที่อยู่บนจุดยอดสุด ของ แผนผังโครงสร้าง องค์กรที่ยึดติดขยับอะไรไม่ได้อีกต่อไปแล้ว ในอนาคตหุ้นส่วนธุรกิจ จะหันมาร่วมมือกันทำงานมากขึ้น พนักงานและทีมงานจะเปลี่ยนแปลงไป ในลักษณะที่มีความรู้มากขึ้น (knowledge workers) เพราะเดี๋ยวนี้สามารถหาข้อมูลในเรื่องต่างๆ ได้ทั้งง่ายและเร็ว การบริหารทีมงานที่มี ความรู้ความสามารถ จะเป็นเรื่องที่ยากขึ้น เพราะคนเก่งเหล่านี้จะอยู่กับองค์กรไม่นาน นอกจากว่าจะมีผู้นำที่เก่งกว่า ท้าทายกว่า และเปิดโอกาสให้มากกว่า ฉะนั้น การที่ผู้นำแห่งอนาคตเข้าใจศิลปะการบริหารทีมงานที่เก่งเลิศ (Talent Management) ให้มีประสิทธิผลสูงสุดต่อตัวผู้นำเอง และองค์กร การแบ่งปันถ่ายทอดความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ความสำเร็จของผู้นำเองต่อทีมงานเก่งๆ เหล่านั้น จะช่วยเพิ่มคุณค่าและมูลค่าให้ผู้นำแห่งอนาคตโดดเด่นกว่าผู้นำอื่นๆ อย่างชัดเจน


อ้างอิงจาก : http://www.novabizz.com/NovaAce/Relationship/Leadership_11.htm#ixzz20qpsWQzf

นางสาวกอบทอง 5130125401224



เทอร์รี่ (Terry, 1997, p. 419) ได้สรุปทฤษฎีภาวะผู้นำไว้ 4 ทฤษฎี ดังนี้

1. ทฤษฎีสนับสนุน ทฤษฎีนี้มีลักษณะเป็นการบริหารแบบมีส่วนร่วม โดยที่ผู้นำจะเป็นผู้ให้ความสนับสนุนและเปิดโอกาสให้ผู้ปฏิบัติงานได้ร่วมวางแผนและตัดสินใจในพันธกิจขององค์การ ทฤษฎีนี้เกิดจากปรัชญาและความเชื่อในคุณค่าของคน หากผู้นำให้ความสำคัญในความเท่าเทียมกันของคนในสังคม ยอมรับในความรู้ความสามารถ ความคิดและยอมรับความช่วยเหลือกัน จะนำไปสู่ความสำเร็จภายใต้ความพึงพอใจของผู้ปฏิบัติงาน

2. ทฤษฎีทางสังคมวิทยา ทฤษฎีนี้ผู้นะจะต้องแสดงบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบในการอำนวยความสะดวกต่อการปฏิบัติงานของบุคลากรด้วยการจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์เครื่องมือให้พร้อม รวมทั้งการช่วยลดปัญหาความขัดแย้งของบุคคลในองค์การด้วย

3. ทฤษฎีทางจิตวิทยา ทฤษฎีผู้นำจะต้องมีการพัฒนาระบบแรงจูงใจอย่างดีเยี่ยม มีจิตวิทยา รู้จักใช้เทคนิควิธีกระตุ้นให้บุคคลปฏิบัติงานด้วยจิตสำนึกรับผิดชอบเพื่อบรรลุเป้าหมายขององค์การ ขณะเดียวกันผู้นำจะต้องสร้างความพึงพอใจในเป้าหมายของบุคคลด้วยความจริงใจ มีความเชื่อในปรัชญาการสร้างความพึงพอใจให้ผู้ปฏิบัติงาน จะส่งผลให้องค์การได้บรรลุเป้าหมายสูงสุด

4. ทฤษฎียึดถืออำนาจ ทฤษฎีนี้ผู้นำจะยึดถือการใช้อำนาจของตนเองบริการสั่งการ ในลักษณะบีบบังคับให้ทำงานโดยไม่อธิบายเหตุผลยึดถือระบบให้คุณให้โทษเป็นสำคัญ โดยไม่ให้ความสนใจต่อบรรยากาศความอบอุ่นและสภาพแวดล้อมในการทำงาน



อ้างอิงจาก : หนังสือภาวะผู้นำและการทำงานเป็นทีม ของ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ยงยุทธ เกษสาคร

พิมพ์ครั้งที่ 10

สอาด ไหวพริบ (ปุ้ย) รหัส 5130125401218



การศึกษาภาวะผู้นำตามทฤษฎี 3 มิติของเรดดิน (Reddin 's the 3-D theory of Leadership)

ทฤษฎี 3 มิติของเรดดิน William J. Reddin เป็นทฤษฎีที่ศึกษาเกี่ยวกับภาวะผู้นำ และแบบของผู้นำทางการบริหาร ทฤษฎีนี้เชื่อว่า มนุษย์ทุกคนล้วนแต่มีลักษณะความเป็นผู้นำและแบบของผู้นำอยู่ด้วยกันทั้งนั้นจะต่างกันก็เพียงแต่ว่าแบบของผู้นำแต่ละคนไม่เหมือนกันและลักษณะความเป็นผู้นำมีมากน้อยต่างกัน บางคนอาจยึดมั่นแบบผู้นำแบบใดแบบหนึ่งตลอดไป แต่บางคนอาจจะเปลี่ยนแบบผู้นำไปตามเวลา สถานการณ์ สิ่งแวดล้อมและตำแหน่งหน้าที่การงานที่รับผิดชอบ

วิลเลียม เจ.เรดดิน ( William J. Reddin ) พัฒนารูปแบบตามทฤษฎี 3 มิติ จากการวิจัยที่มหาวิทยาลัยโอไฮโอ ( Ohio University ) โดยมีสมมติฐานคล้ายกับแบบพฤติกรรมผู้นำสถานการณ์ของ Fiedler บนพื้นฐานแนวคิดการศึกษาภาวะผู้นำของเรดดิน แบ่งออกเป็น 3 มิติ คือ



1. มิติมุ่งงานหรือกิจสัมพันธ์ (Task Orientation) เป็นพฤติกรรมมุ่งให้ผู้ร่วมงานหรือผู้ตามปฏิบัติงานอย่างได้ผล โดยผู้นำริเริ่มจัดการและอำนวยการ

2. มิติมุ่งสัมพันธ์ภาพ หรือ มิตรสัมพันธ์ (Relation Orientation) เป็นพฤติกรรมของผู้นำที่แสดงให้เห็นความเห็นอกเห็นใจ ไว้วางใจ และให้กำลังใจในการปฏิบัติงาน

3. มิติมุ่งประสิทธิผล (Effectiveness Orientation )

ทฤษฎีนี้ได้รับการค้นคว้าโดยนักจิตวิทยา เพื่อหาหนทางบริหารงานให้ได้ผลมากที่สุดและได้พบว่าหลักสําคัญในการบริหารมีอยู่ 2 ประการ คือ

1. มุ่งแต่งาน (Task to be done) ผู้นำแบบนี้จะมุ่งแต่ผลงานเป็นประการสำคัญ โดยไม่คำนึงถึงความรู้สึกในด้านจิตใจ

2. การบริหารงานโดยให้ความสำคัญในเรื่องมนุษยสัมพันธ์ด้วย (Relationship withother people) ความแตกต่างของผู้นำในการบริหาร ในการให้ความสำคัญต่องานกับการให้ความสำคัญในเรื่องมนุษย์สัมพันธ์จึงมีมากน้อยต่างกัน บางคนอาจให้ความสำคัญต่องานอย่างเดียว โดยไม่คำนึงถึงมนุษ์ยสัมพันธ์ บางคนอาจจะให้ความสำคัญในเรื่องมนุษย์สัมพันธ์มากจนเกินไปจนทำให้ไม่ค่อยได้ผลงาน สิ่งเหล่านี้ขึ้นอยู่กับตัวบุคคล และตามทฤษฎีของ เรดดินได้แบ่งลักษณะภาวะผู้นำทางการบริหารงานออกเป็น 4 ลักษณะ

1. แบบผู้ผสมผสาน (Integrated) สูงทั้งงานและคนได้อย่างผสมผสาน เป็นผู้ที่สามารถที่จะอิงอำนาจหน้าที่ของตนไว้กับวัตถุประสงค์ นโยบาย ตลอดจนความมุ่งหมายหรืออุดมคติที่มีอยู่ เป็นผู้ที่พยายามจะรวบรวมผู้ปฏิบัติงานกับองค์การให้เข้ากัน ต้องการให้ลูกน้องเข้ามาส่วนร่วม ไม่แสดงความแตกต่างในเรื่องอำนาจหน้าที่มากนัก เป็นผู้ที่ชอบการมีวัตถุประสงค์ร่วมกัน หรือมีการรับผิดชอบร่วมกัน สนใจในเทคนิคการจูงใจลูกน้อง

2. แบบมิตรสัมพันธ์ (Related) เป็นแบบที่เน้นให้ความสำคัญมากในด้านที่เกี่ยวกับคนแต่เน้นให้ความสำคัญน้อยในด้านที่เกี่ยวกับงาน เชื่อว่าคนเป็นเรื่องที่มีความสำคัญที่สุด จะต้องมา

ก่อนเรื่องงาน จะเน้นในเรื่องการพัฒนาบุคคลเป็นสำคัญ เป็นคนแบบกันเอง เงียบๆ ไม่เป็นที่สังเกต

ของใคร ชอบสนทนาวิสาสะ เห็นอกเห็นใจคน ยอมรับเห็นด้วยกับผู้ร่วมงาน มีอัธยาศัยเป็นมิตร

ชอบสร้างบรรยากาศของความอบอุ่น ปลอดภัย มั่นคงในหน่วยงาน

3. แบบผู้แยกตัว (Separated) ผู้นำแบบนี้ไม่เอาทั้งคนและงาน เป็นแบบผู้ที่มีนิสัยระมัดระวัง เป็นผู้ชอบเก็บตัว ไม่ชอบเป็นผู้กว้างขวาง จะให้ความสำคัญในด้านตัวคน และตัวงานในระดับต่ำ นักบริหารที่มีลักษณะเช่นนี้จะได้ผลงานน้อย น้อยครั้งที่จะให้ข้อคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ ไม่คิดอ่านแบบสร้างสรรค์ ชอบขัดขวางผู้อื่น ชอบขัดแย้งกับผู้อื่นหรือทำให้งานยากขึ้นโดยไม่เข้าเรื่อง มักจะต่อต้านการเปลี่ยนแปลง ไม่ค่อยร่วมมือกับใคร

4. แบบผู้เสียสละ (Dedicated) เน้นด้านงานสูงมาก ส่วนคนให้ความสํ าคัญต่ำ จะมีลักษณะของการมุ่งที่จะเอาอะไรก็จะเอาให้ได้ เป็นคนที่ออกจะกล้าทำ บางครั้งก็ถึงขั้นก้าวร้าวไปบ้าง มีความมั่นใจในตัวเองอยู่มาก ปกติเป็นชอบริเริ่มงาน มักจะกำหนดงานการให้ลูกน้อง งานจะต้องมาก่อนเรื่องอื่นเสมอ

สำหรับลักษณะผู้นำตามแบบของเรดดินนั้น เสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์ (2536: 82-83) ได้กล่าวว่า เราไม่สามารถบอกได้ว่าผู้นำแบบใดดีที่สุด ซึ่งงานวิจัยระยะแรก ๆ พบว่า ผู้นำแบบผสมผสานเป็นผู้นำที่ดีที่สุด แต่งานวิจัยระยะหลัง ๆ แสดงว่า แบบของการเป็นผู้นำที่ดีนั้นขึ้นอยู่กับสภาพการณ์ของการเป็นผู้นำ จากแบบผู้นำพื้นฐานทั้งสี่แบบนี้ ถ้าใช้ในสถานการณ์ที่ไม่เหมาะสมก็จะเกิดแบบผู้นำที่มีประสิทธิผลน้อย 4 แบบ คือ แบบผู้ทนทำ ผู้เอาใจ ผู้คุมงาน และผู้ยอมความ หากใช้ในสถานการณ์ที่เหมาะสมก็จะเกิดเป็นแบบผู้นำที่มีประสิทธิภาพมาก 4 แบบ คือ แบบผู้คุมกฎ ผู้สอนแนะ ผู้บุกงาน และผู้นําทีม ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

1. ลักษณะของผู้นำที่มีประสิทธิผลน้อย เป็นประเภทที่ได้ผลงานต่ำ ความก้าวหน้าของงานไม่มี แบ่งได้เป็น 4 แบบ คือ

1.1 ผู้ทนทำหรือผู้นำแบบทิ้งงาน (deserter) เป็นลักษณะผู้นำที่ไม่มีความสนใจ

ในงาน ไม่มีความรับผิดชอบในการปฏิบัติงาน ขัดขวางผู้อื่น ไม่ยอมรับความผิดพลาด ไม่มีมนุษย์สัมพันธ์กับผู้ร่วมงานและบุคคลหรือหน่วยงานภายนอก ผู้ร่วมงานจะอยู่อย่างโดดเดี่ยว ขาดขวัญกำลังใจ และผลสำเร็จของานไม่บรรลุผลตามที่ตั้งไว้

1.2 ผู้เอาใจหรือผู้นำแบบนักบุญ (Missionary) เป็นลักษณะผู้นำที่มุ่งแต่เพียง

สัมพันธภาพอันดีเหนือสิ่งอื่นใด มีความเกรงใจต่อทุกคน ไม่กล้าว่ากล่าวตักเตือนผู้ใด ไม่โต้แย้งหรือคัดค้านการกระทำใด ๆแม้จะไม่เห็นด้วย พร้อมที่จะเปลี่ยนใจเสมอ เพื่อจะรักษาความสงบเรียบร้อยไว้ให้ได้ ผลของงานมักจะหย่อนประสิทธิภาพ

1.3 ผู้คุมงานหรือผู้นำแบบเผด็จการ (Autocrat) ผู้นำแบบนี้ใช้อำนาจในการ

บริหารงาน เป็นลักษณะผู้นำที่มุ่งงานอย่างเดียว มิได้ คำนึงถึงอย่างอื่น ไม่ไว้วางใจผู้อื่น เชื่อมั่นในตนเองสูง ขาดสัมพันธ์ภาพกับผู้ร่วมงาน มักใช้วิธีการสั่งสอน ผู้ร่วมงานจะตกอยู่ภายใต้ความกลัวตลอดเวลา ไม่กล้าริเริ่มหรือโต้แย้งกับหัวหน้า

1.4 ผู้ยอมความหรือผู้นำแบบประนีประนอม (Compromiser) เป็นลักษณะผู้นำที่

ยอมรับว่า ความสำเร็จของงานและสัมพันธ์ภาพกับผู้ร่วมงานเป็นสิ่งสำคัญ พยายามที่จะให้ได้ทั้งสองอย่าง แต่ขาดความสามารถไม่กล้าตัดสินใจ ไม่มีความเชื่อมั่นในตนเอง เวลาเกิดปัญหาผู้นำแบบนี้ใช้วิธีการประนีประนอมอยู่ตลอดเวลา

2. ลักษณะของผู้นำที่มีประสิทธิผลมาก เป็นประเภทที่ทำงานมีผลงานอยู่ในระดับสูงกิจการงานมีความก้าวหน้า แบ่งได้เป็น 4 แบบ คือ

2.1 ผู้คุมกฎเกณฑ์ (Bureaucrat) เป็นลักษณะผู้นำที่สนใจทั้งคนและงาน ยึดถือ

กฎระเบียบแบบแผนอย่างเคร่งครัด มีความเข้มงวด ลูกน้องมีความพึงพอใจซึ่งเป้าหมายร่วมกัน คือ ความสำเร็จ ผู้นำเช่นนี้พบได้เสมอในระบบราชการทั่วไป

2.2 ผู้สอนแนะหรือผู้นำแบบพัฒนา (Developer) เป็นลักษณะผู้นำที่ทํ างานร่วมกับผู้อื่นได้ดี มีความสามารถในการจูงใจผู้อื่น สนใจการพัฒนาตัวบุคคล รู้จักมอบหมายหน้าที่การงานให้ผู้ร่วมงานอย่างเหมาะสม ไม่ใช่วิธีการรุนแรง มีความสุภาพนิ่มนวล ผู้ร่วมงานมักจะเลื่อมใส วางใจ

2.3 ผู้บุกงานหรือผู้นำแบบเผด็จการอย่างมีศิลปะ (Benevolent Autocrat) เป็นลักษณะผู้นำที่มีความเชื่อมั่นในตนเอง มีจิตใจใฝ่สัมฤทธิ์สูงมุ่งผลงานเป็นหลัก มีศิลปะในการปฏิบัติงาน มีทักษะและประสบการณ์ดี งานมีผลผลิตสูง เป็นแบบที่เหมาะสมกับวงการอุตสาหกรรม

2.4 ผู้นํ าทีม (Executive) เป็นลักษณะผู้นำที่มีความกระตือรือร้น รู้จักใช้ความสามารถของผู้ร่วมงานให้เกิดประโยชน์สูงสุด วางมาตรฐานในการทำงาน มีประสิทธิภาพในการทำงาน เอาใจใส่และรับผิดชอบ มีความคิดริเริ่ม เปิดเผย ยอมรับความคิดเห็นของผู้ร่วมงานด้วยใจที่เป็นธรรม ให้กำลังใจผู้ร่วมงาน สนใจในวิชาความรู้ใหม่ ๆ ปรับปรุงตนเองอยู่ตลอดเวลา มีผลงานดี กิจการมีความก้าวหน้า เกิดความพึงพอใจทั้งผู้ร่วมงานและผู้นำ



ที่มา: เสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์, “ภาวะผู้นํ า”ในประมวลสาระชุดวิชาทฤษฎีและแนวปฏิบัติในการบริหารการศึกษา หน่วยที่ 5 นนทบุรี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช2536

นางสาวนฤมล คำแหงพล รหัส 5130125401247



David A. Kirkpatrick และ Edwin A. Locke ได้ชี้ให้เห็นว่า ผู้นำที่จะประสบผลสำเร็จในการทำงานสูงกว่าผู้ที่ไม่ใช่ผู้นำ กล่าวคือ ผู้นำจะต้องมีคุณสมบัติที่สำคัญ 6 ประการ ดังนี้

1. แรงจูงใจสูง (Drive) เป็นลักษณะที่ผู้นำแสดงออกให้เห็นถึงความเป็นผู้นำที่มีความพยายาม ในการทำงานสูง ที่จะทำงานให้บรรลุผลสำเร็จ โดยแสดงออกมาในรูปแบบของการเป็นผู้มีความทะเยอทะยาน มีพลังในการทำงาน เป็นผู้ไม่เคยแสดงความอ่อนล้าในการทำงาน และแสดงออกให้เห็นถึงความคิดริเริ่มสร้างสรรค์อยู่เสมอ

2. ความปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะนำผู้อื่น (Desire to Lead) เป็นคุณลักษณะที่ผู้นำมีความต้องการอย่างแรงกล้า ที่จะมีอิทธิพลและนำผู้อื่น เป็นการแสดงให้เห็นถึงความเต็มใจที่พร้อมจะเข้าไปรับผิดชอบ

3. ความซื่อสัตย์และมีศักดิ์ศรี (Honesty and Integrity) ผู้นำจะสร้างความไว้วางใจให้กับผู้อื่นเกิดความเชื่อถือ ไม่มีเล่ห์เหลี่ยมกับผู้ใต้บังคับบัญชา และแสดงออกถึงความเสมอต้นเสมอปลายในการทำงานร่วมกับคนอื่น และแสดงให้เห็นว่าคำพูดและการปฏิบัติของผู้นำสอดคล้องกันตลอดเวลา

4. ความเชื่อมั่นในตนเอง (Self - Confidence) ผู้ใต้บังคับบัญชายึดมั่นต่อผู้นำโดยปราศจากข้อสงสัยในพฤติกรรม ผู้นำจะแสดงออกถึงความเชื่อมั่นในตนเอง เพื่อจะทำให้ผู้ใต้บังคับบัญชาเกิดการยอมรับว่า การกำหนดเป้าหมายและการตัดสินใจของผู้นำเป็นสิ่งที่ถูกต้อง

5. ความเฉลียวฉลาด (Intelligence) ผู้นำจะต้องมีความฉลาดเพียงพอที่จะรวบรวมสังเคราะห์และตีความสารสนเทศที่มีอยู่จำนวนมาก หรือมีอยู่จำนวนจำกัด เพื่อนำไปสู่การกำหนดวิสัยทัศน์ (vision) การแก้ปัญหา และการตัดสินใจที่ถูกต้อง

6. มีความรู้เกี่ยวกับงานในหน้าที่ (Job – relevant Knowledge) ผู้นำที่มีศักยภาพสูงต้องมีความรู้และความรอบรู้ในงานขององค์การ ตลอดจนเทคนิคในการทำงาน การที่มีความรู้ลึกซึ้งในการทำงาน จะทำให้ผู้นำสามารถตัดสินใจและเข้าใจถึงแนวทางของการนำผลการตัดสินใจไปประยุกต์ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

มาลินี นิยมไทย การจัดการทั่วไป 5210125401057

เรื่อง แนวคิดเกี่ยวกับภาวะผู้นำ และการบริหารจัดการสมัยใหม่
รังสรรค์ ประเสริฐศรี กล่าวว่า ผู้นำที่มีความสามารพิเศษ ควรมีลักษณะดังนี้ คือ เป็นผู้ที่มีวิสัยทัศน์ มีความสามารถด้านทักษะการสื่อสาร ความสามารถที่ทำให้ผู้อื่นไว้วางใจ ความสามารถทำให้ผู้อื่นเห็นว่าตนเองมีความสามารถ มีพลังและมุ่งการปฏิบัติให้บรรลุผล แสดงอารมณ์ได้อย่างเหมาะสมและเอื้ออาทรแก่ผู้อื่น ชอบที่เสียง สร้างกลยุทธ์ใหม่ ๆ เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย มีการโฆษณาตัวเอง และทำให้การขัดแย้งภายในเกิดขึ้นน้อยที่สุ

นรินทร์ สรณานุภาพ 5130125401240

www.siamsport.co.th

เป็นเว็บไซด์ที่ให้บริการ เรื่องข่าวสารกีฬา ทุกประเภท

รายงานผลกีฬาทุกประเภท ข่าวสารความเคลื่อนไหวกีฬาฟุตบอล และชนิดอื่นๆ และยังมีข่าวสารเกี่ยวกับกิจกรรมเพื่อสังคม แฟชั่น ข่าวยานยนต์ คลิปกีฬาต่างๆ และกิจกรรมอื่นๆ

น.ส. สุดา หวังสะมาแอล [ นิว] 5231935401207



ทฤษฎีภาวะผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลง

(Transformational Leadership Theory)

จากสภาพแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา มีการแข่งขันเพื่อชิงความเป็นเลิศ ดังนั้น วิธีที่จะทำให้ผู้บริหารประสบความสำเร็จสูงสุด คือ ผู้บริหารต้องเปลี่ยนแปลงตนเอง เบิร์นส์ (Burns) เสนอความเห็นว่า การแสดงความเป็นผู้นำยังเป็นปัญหาอยู่จนทุกวันนี้ เพราะบุคคลไม่มีความรู้เพียงพอในเรื่องกระบวนการของความเป็นผู้นำ เบิร์นส์ อธิบายความเข้าใจในธรรมชาติของความเป็นผู้นำว่าตั้งอยู่บนพื้นฐานของความแตก ต่างระหว่างความเป็นผู้นำกับอำนาจที่มีส่วนสัมพันธ์กับผู้นำและผู้ตาม อำนาจจะเกิดขึ้นเมื่อผู้นำจัดการบริหารทรัพยากร โดยเข้าไปมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของผู้ตามเพื่อบรรลุเป้าหมายที่ตนหวังไว้ ความเป็นผู้นำจะเกิดขึ้นเมื่อการบริหารจัดการทำให้เกิดแรงจูงใจ และนำมาซึ่งความพึงพอใจต่อผู้ตาม ความเป็นผู้นำถือว่าเป็นรูปแบบพิเศษของการใช้อำนาจ (Special form of power)

เบิร์นส์ สรุปลักษณะผู้นำเป็น 3 แบบ ได้แก่

1. ผู้นำการแลกเปลี่ยน (Transactional Leadership) ผู้นำ ที่ติดต่อกับผู้ตามโดยการแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน และสิ่งแลกเปลี่ยนนั้นต่อมากลายเป็นประโยชน์ร่วมกัน ลักษณะนี้พบได้ในองค์กรทั่วไป เช่น ทำงานดีก็ได้เลื่อนขั้นทำงานก็จะได้ค่าจ้างแรงงาน และในการเลือกตั้งผู้แทนราษฎรมีข้อแลกเปลี่ยนกับชุมชน เช่น ถ้าตนได้รับการเลือกตั้งจะสร้างถนนให้ เป็นต้น

2. ผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Transformational Leadership) ผู้ นำที่ตระหนักถึงความต้องการของผู้ตาม พยายามให้ผู้ตามได้รับการตอบสนองสูงกว่าความต้องการของผู้ตาม เน้นการพัฒนาผู้ตาม กระตุ้นและยกย่องซึ่งกันและกันจนเปลี่ยนผู้ตามเป็นผู้นำ และมีการเปลี่ยนต่อๆกันไป เรียกว่า Domino effect ต่อไปผู้นำการเปลี่ยนแปลงก็จะเปลี่ยนเป็นผู้นำจริยธรรม ตัวอย่างผู้นำลักษณะนี้ ได้แก่ ผู้นำชุมชน

3. ผู้นำจริยธรรม (Moral Leadership)ผู้นำที่สามารถทำให้ เกิดการเปลี่ยนแปลงที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้ตาม ซึ่งผู้นำจะมีความสัมพันธ์กับผู้ตามในด้านความต้องการ (Needs) ความปรารถนา (Aspirations) ค่านิยม (Values) และควรยึดจริยธรรมสูงสุด คือ ความเป็นธรรมและความยุติธรรมในสังคม ผู้นำลักษณะนี้มุ่งไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ตอบสนองความต้องการ และความจำเป็นอย่างแท้จริงของผู้ตาม ตัวอย่างผู้นำจริยธรรมที่สำคัญ คือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ท่านทรงเป็นนักวางแผนและมองการณ์ไกล นำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลง เช่น โครงการอีสานเขียว โครงการน้ำพระทัยจากในหลวง โครงการแก้มลิง เป็นต้น

เพราะฉะนั้นการที่จะเป็นผู้นำทางการศึกษาก็ต้องเป็นผู้ที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เพื่อที่จะเป็นนักบริหารที่มีประสิทธิภาพตามคุณสมบัติที่ดีของความเป็นผู้นำ ดังนั้น ทฤษฎีข้างต้นที่ได้กล่าวมาจะอธิบายความเข้าใจในธรรมชาติของความเป็นผู้นำว่าตั้งอยู่บนพื้นฐานของความแตก ซึ่งผู้บริหารในยุคโลกาภิวัตน์ ต้องใช้ภาวะผู้นำให้เหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ โดยสามารถปรับตัวให้เหมาะสมกับทุกสภาพการณ์ได้ และใช้ความรู้ความสามารถของตนให้เกิดประโยชน์ต่อการบริหารงานอย่างมี ประสิทธิผล



คุณสมบัติผู้นำ 11 ประการ

อาจารย์ซีอีโอ ก่อศักดิ์ ไชยรัศมีศักดิ์

1. มีความจริงใจ
มีจิตใจดี ไม่หลอกใช้ผู้อื่น ส่งเสริมผลงานและผลักดันให้ลูกน้องประสบความสำเร็จ

2. ไม่ศักดินา
เคารพในคุณค่าของผู้อื่น ทั้งในความคิดและการกระทำ ไม่แบ่งชั้นวรรณะ ไม่แบ่งแยกสถาบัน ไม่เจ้ายศเจ้าอย่าง ไม่ดูถูกเหยียดหยามผู้ที่ด้อยกว่า ไม่ยกตนข่มท่าน ไม่ยึดปมเด่นของตนเพื่อข่มผู้อื่น

3. ใช้ปิยวาจา
เป็นผู้ฟังที่ดี ใช้วาจาสุภาพในการแสดงความคิดเห็น ในการสอนงานและตักเตือนลูกน้องควรพูดด้วยความระวังไม่ให้กระทบผู้อื่น รู้จักใช้คำพูดในเชิงสร้างสรรค์ ชมเชยให้กำลังใจผู้ใต้บังคับบัญชา หากจะตำหนิข้อผิดพลาดก็ด้วยเหตุผลเฉพาะเรื่องไม่ใช้อารมณ์ด่วนสรุปและตีตราประณาม ไม่ใช้จาจาเสียดสีประชดประชัน

4. อย่าหลงอำนาจ
ไม่ยึดติดกับอำนาจ ตำแหน่งหน้าที่ ไม่หลงตนว่าเป็นใหญ่และถูกต้องแต่เพียงผู้เดียว ไม่กดขีข่มเหงผู้น้อย ไม่สั่งงานโดยใช้น้ำเสียงแข็งกระด้าง ไม่บังคับให้ทำในสิ่งที่ไม่ถูกต้อง ให้ลูกน้องเคารพนับถือด้วยพลังแห่งคุณความดี มิใช่โดยความเกรงกลัวต่ออำนาจ

5. เป็นแบบอย่างที่ดี
เป็นแบบอย่างที่ดีทั้งในการประพฤติปฏิบัติตนและการทำงานอย่างเป็นทีม โดยมุ่งความสำเร็จขององค์กรในภาพรวม ไม่ใช่เฉพาะหน่วยงานที่รับผิดชอบ มีความขยันซื่อสัตย์ ตั้งใจทำงาน มีทัศนคติที่ดีต่อการทำงาน มีวินัยในตัวเอง ประพฤติตนตามหลักทำนองคลองธรรม ให้ลูกน้องนับถือได้อย่างสนิทใจ เมื่อสั่งสอนสิ่งใดก็ทำได้เช่นเดียวกัน

6. มีความยุติธรรม
ตระหนักถึงความยุติธรรมอยู่เสมอ ไม่ลำเอียงเข้าข้างเฉพาะลูกน้องของตนหรือคนใกล้ชิด ไม่หลงเชื่อคนง่าย ไม่ฟังความฝ่ายเดียว เมื่อประเมินผลต้องให้คุณให้โทษตามเนื้องานที่เป็นจริง มีเหตุผลสนับสนุนที่สามารถอธิบายให้ผู้เกี่ยวข้องเข้าใจหรือยอมรับได้

7. ให้ความเมตตา
ดูแลลูกน้องด้วยความรัก ความเอาใจใส่ ให้ความช่วยเหลือลูกน้องด้วยความเต็มใจ และปรารถนาที่จะช่วยให้ลูกน้องทำงานอย่างมีความสุข แนะนำสั่งสอนลูกน้องด้วยความปรารถนาดี

8. กล้าตัดสินใจ
ตัดสินใจบนพื้นฐานของหลักการ ข้อเท็จจริงและประสบการณ์ที่สั่งสมมา รวมทั้งสร้างความเข้าใจให้ลูกน้องยอมรับเหตุผลของการตัดสินใจ ไม่รีรอลังเลเพราะกลัวการรับผิดขอบจนงานชะงักเสียหาย ต้องกล้าคิด กล้านำ กล้าทำ กล้ารับผิดชอบ

9. อาทรสังคม
มองส่วนรวม สนับสนุนและส่งเสริมสังคมด้วยความรับผิดชอบ โดยการไม่ดำเนินธุรกิจและกิจกรรมที่เป็นภัยต่อสังคม ในขณะเดียวกันก็ควรช่วยสร้างสังคมให้เข้มแข็งและมีความสุข

10. บ่มเพาะคนดี
รู้จักเลือกสรรและสร้างคนดีมีความสามารถให้กับองค์กร ช่วยลูกน้องด้วยการเป็นพี่เลี้ยง ถ่ายทอดความรู้ความสามารถและประสบการณ์ รวมทั้งสอนงานให้ข้อมูล ข้อเสนอแนะต่าง ๆ ที่จำเป็นต่อการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาลูกน้องให้เป็นกำลังสำคัญขององค์กรทั้งในปัจจุบันและในอนาคต

11. มีใจเปิดกว้าง
ยอมรับฟังความคิดเห็นที่แตกต่างของลูกน้องและผู้ร่วมงานในทุกระดับ พร้อมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นความรู้ซึ่งกันและกัน ยินดีที่จะมอบอำนาจแก่ผู้ใต้บังคับบัญชาให้สัมพันธ์กับความรับผิดชอบอย่างเหมาะสม พร้อมทั้งยอมรับความสามารถที่เหนือกว่าของผู้ใต้บังคับบัญชา ไม่ละอายที่จะขอโทษเมื่อทำผิด และแก้ไขโดยไม่กลัวเสียหน้า สามารถรองรับปัญหาและอารมณ์ของลูกน้อง และเปิดใจรับแนวคิดใหม่ ๆ ของโลก

อ้างอิงจาก : www.yimtamphan.com

นางสาวกาญจนา แปลงทุน 5130125401222 การจัดการทั่วไป รุ่น 19



แนะนำเว็ไซต์ www.thanachartbluebook.com เว็บตรวจสอบราคากลางรถมือสองออนไลน์ของธนชาติ

เป็นเว็บตรวจสอบราคารถที่ใช้แล้วและสภาพของรถยนต์ที่ใช้งานแล้วเป็นแหล่งของมูลที่สำคัญในการตัดสินใจซื้อรถมือสองหรือจะขายรถยนต์ที่ใช้แล้วอีกทางหนึ่ง ที่สำคัญเว็บนี้ยังมีรถยนต์หลายรุ่นหลายยี่ห้อ พ้อมกับความน่าเชื่อถือที่การันตีของโดยธนาคารธนชาติ ได้รับรองมาตรฐาน ISO 9001:2008 ภายใต้ Scope “Used Car Price Determination” สะท้อนให้เห็นถึงกระบวนการทำงานที่มีประสิทธิภาพ มีการบริหารงานอย่างเป็นระบบ และมีการปรับปรุงการทำงานอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ธนาคารธนชาต ถือเป็นสถาบันการเงินแห่งเดียวและแห่งแรกที่มีการจัดทำราคากลางรถยนต์ใช้ แล้ว และให้ผู้สนใจทั่วไปสามารถใช้งานได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ซึ่งเป็นสิ่งที่แตกต่างจากเวบไซด์อื่นๆที่ให้บริการทางด้านนี้” สำหรับข้อมูลราคากลางรถยนต์ใช้แล้วในเวบไซด์ www.thanachartbluebook.com นั้นมีการคำนวนและกำหนดมาจากราคาที่รวบรวมได้จากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ อาทิ เช่น วารสารรถยนต์ ผู้ประกอบกิจการซื้อขายรถยนต์ใช้แล้ว (เต้นท์รถ) และราคาจบประมูลของกลุ่มธนชาต เป็นต้น บวกเข้ากับประสบการณ์ในตลาดรถของธนาคารธนชาต ซึ่งปรับเปลี่ยนไปตามสภาวะตลาดรถยนต์ใช้แล้วในขณะนั้น โดยมีการปรับปรุงราคาทุกเดือน ทำให้การจัดทำราคากลางมีความน่าเชื่อถือและเป็นปัจจุบัน มีมาตรฐาน และมีความใกล้เคียงกับราคาตลาดของรถยนต์ใช้แล้ว นอกจากนี้เวบไซด์ดังกล่าวยังมีข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับรถยนต์ทั้งรถใหม่และรถ ใช้แล้วที่เป็นประโยชน์กับผู้สนใจ รวมทั้งสามารถเข้าถึงข้อมูลอื่น ๆ เช่น การประมูลรถยนต์ใช้แล้วของกลุ่มธนชาต โปรแกรมการคำนวนอัตราเช่าซื้อรถยนต์ใช้แล้ว เป็นต้น



            อ้างอิงจากธนาคารธนชาติ

นายนัตพล ใบเรือ รหัส5130125401233

สำหรับบริษัทประกันภัย
วิสัยทัศน์และพันธกิจ

ข่าวประชาสัมพันธ์

ประกาศ

ปฎิทินกิจกรรม

แบบสอบถาม
แบนเนอร์-

บริการออนไลน์ (e-Service)-

ร้องเรียนประกันภัย/อนุญาโตตุลาการ-

การกำกับเงินกองทุนตามระดับ
ความเสี่ยง (RBC)
-

สายด่วนประกันภัย 1186
สำหรับคนกลางประกันภัย
ตัวแทน/นายหน้า ประกันภัย

ผู้ประเมิน

นักคณิตศาสตร์ประกันภัย

ผู้สอบบัญชี

แบบฟอร์ม


ข้อมูลสถิติประกันภัย

สถิติประกันชีวิต
สถิติประกันวินาศภัย
สถิติตัวแทนนายหน้า

เกี่ยวกับบริษัทประกันภัย
ประกันชีวิต
สาระน่ารู้
การประกันวินาศภัย
การประกันชีวิต
การประกันรถยนต์
- ภาคสมัครใจ(อัตราเบี้ย)
- ภาคบังคับ
e-Learning
โครงการยุวชนประกันภัย
กองทุนทดแทนผู้ประสบภัย

สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย(คปภ) www.oic.or.th

เมธาวี จันทร์อำรุง 054 การจัดการทั่วไป ปี

http://www.be2hand.com/
เป็นเว็บไซต์ที่สามารถประกาศหรือโฆษณาขายสินค้นได้ไม่ว่าสินค้ามือ1หรือมือ2 และยังสามารถเปิดประกาศบริการต่างๆและสามารถค้นหาสินค้าหรือบริหารที่ต้องการได้

นายนภดล ถนอมนวล รหัส 225



http://www.taklong.com/

ให้ข้อมูลเกี่ยวกับ รุ่นของกล้องแต่ละยี่ห้อ มีห้องไว้สำหรับซื้อ ขาย และข้อมูลเกี่ยวกับราคาของแต่ละรุ่น มีการสอนเทคนิคการถ่ายภาพ และขายหนังสือเกี่ยวกับเทคนิคการถ่ายภาพ อีกทั้งยังมีการจัดกิจกรรมการอบรมการถ่ายภาพต่างๆด้วย

นาย เมธัส ศรีสบาย รหัส 251



http://www.xn--12cm4bbvf2oqeucm.net/

ให้บริการข้อมูลเกี่ยวกับการตกแต่งบ้าน สวน ห้องน้ำ ห้องนอน ห้องครัว ห้องทำงาน ห้องนั่งเล่น ห้องรับแขก ตกแต่งคอนโด งานไม้ และวัสดุตกแต่ง เฟอร์นิเจอร์ตกแต่งบ้าน แบบบ้านแบบต่างๆ อีกทั้ง ฮวงจุ้ยกับการตกแต่งบ้าน ข่าวสารต่างๆ เกี่ยวกับการดูแลรักษาบ้าน

นายชัยวัฒน์ โฉมสุข รหัส 5130125401244



http://phonebook.tot.co.th



เว็ปนี้ใช้สำหรับหาข้อมูลเบอร์โทรศัพท์พื้นฐานของ 1133 ที่มีไว้บริการให้กับประชาชนที่สนใจหาข้อมูลโทรศัพท์พื้นฐานเองโดยที่ไม่ต้องโทรเข้า 1133 เพื่อความสะดวก เว็ปนี้จะมีข้อมูลเบอร์โทรศัพท์ครบทุกอย่าง เช่น ชื่อ นามสกุล เลขที่ตั้ง หรืออาจจะเป็นข้อมูลหน่วยงานราชการต่างๆ ก็มีไว้ เช่น สำนักงานเขต การไฟฟ้า การประปา ฯลฯ

ข้อมูลประเภทธุรกิจก็มีไว้บริการเช่นเดียวกัน บริษัทต่าง ร้านอาหาร โรงแรมที่พัก

ข้อมูลเร่งด่วน เช่น กู้ภัยหน่ายต่างๆ รถพยาบาล รถฉุกเฉิน จับงู สอบถามเส้นทางการจราจรในกรุงเทพ สอบถามเวลาทั้งในและต่างประเทศ

นาย ภานุมาศ คงประเสริฐ รหัส 203



http://www.standardchartered.co.th/th/

บริการเงินฝาก ประกอบด้วย

1. บัญชีเงินฝากกระแสรายวัน

2. บัญชีเงินฝากออมทรัพย์

· บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ JustOne Savings

· บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ eSaver

· บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ Savings for Fans

· บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ Power Saver

· บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ Power Saver Plus

3. บัญชีเงินฝากประจำ

· บัญชีเงินฝากประจำ 1 – 60 เดือน

· บัญชีเงินฝาก My Dream Account – MaxSaver Junior –ประเภท 12 เดือน

· บัญชีเงินฝาก MaxSaver – ประเภท 24 / 36 / 48 / 60 เดือน

4. บัตรเอทีเอ็ม/เดบิต

5. บัตรเดบิต วีซ่า อิเลคตรอน

6. บัตรเอทีเอ็ม/เดบิต ลิเวอร์พูล

7. บริการสมาร์ทแบงกิ้งแพ็ค (Smart Banking Pack)

8. บริการสมาร์ทซาลารีแพ็ค (Smart Salary Pack)



บริการบัตรเครดิต

1. บัตรเครดิตสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด วีซ่า แพลตตินั่ม อีลิท

2. บัตรเครดิตสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด แพลตตินั่ม

3. บัตรเครดิตสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด ไทเทเนียม

4. บัตรเครดิตสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด มอร์เกจลิงก์

5. บริการต่างๆของบัตรเครดิต

บริการสินเชื่อ

1. วงเงินเบิกเกินบัญชีกระแสรายวัน

2. สินเชื่อบุคคล

3. วงเงินสแตนด์บายแคช

4. สินเชื่อสมาร์ทแคช

สินเชื่อบ้าน

1. สินเชื่อบ้าน - ซื้อบ้านใหม่/มือสอง

2. สินเชื่อบ้าน - Refinance

3. สินเชื่อบ้าน - Term Loan

4. สินเชื่อบ้าน O/D


นาย กระวี หิรัญวงศ์ รหัส 253



http://www.fishroom.org/main/index.php

เกี่ยวกับตลาดซื้อขายปลา ทั้งตลาดภายในประเทศและต่างประเทศ การการดูแลปลาแต่ละชนิด การเพาะพันธ์ปลา และมีห้องไว้สำหรับฝากรูปปลาต่างๆ

นางสาว นัฐภรณ์ อยู่ดี รหัส 5210125401068 การจัดการทั่วไป ปี 4



บทที่ 4

คุณลักษณะของผู้บริหารที่มีภาวะผู้นำ

ผู้บริหารที่มีภาวะผู้นำจะต้องเป็นผู้ที่มีวิสัยทัศน์ มีความสามารถในการปฏิบัติงานที่สูงกว่าเกณฑ์เฉลี่ยปกติ เป็นผู้กระตุ้นให้ผู้อื่นเกิดความกระตือรือร้นที่จะปฏิบัติงานเพื่อมุ่งสู่เป้าประสงค์อันเป็นภาพหมายแห่งอนาคตที่หมายไว้ เป็นผู้ที่มีอิทธิพลทำให้ผู้อื่นสมัครใจร่วมทำงานในสถานการณ์ต่างๆให้บรรลุความสำเร็จ

คุณสมบัติภาวะผู้นำดังกล่าวข้างต้น เป็นเพียงเกณฑ์พิจารณาพื้นฐานที่องค์กรใช้ประกอบในการตัดสินใจคัดเลือกผู้บริหาร เท่ากับเป็นการสร้างความมั่นใจว่าถ้าให้ผู้บริหารที่ผ่านการสรรหาน่าจะรับผิดชอบการบริหารจัดการได้ดี

ลักษณะของผู้บริหารที่มีภาวะผู้นำ โดยทั่วไปจะบริหารจัดการงานและองค์กร ในลักษณะดังต่อไปนี้

1. ผู้บริหารที่อาสาบริหารจัดการ องค์กรที่ได้จัดตั้งมาแล้ว ผู้บริหารเขาจะสร้างวิสัยทัศน์และใช้กรอบมาตรการวัดผลการดำเนินงานการบริหารดุลยภาพ BSC กำหนดวัตถุประสงค์และกลยุทธ์ที่จะนำไปสูวิสัยทัศน์นั้น

2. กรณีที่ยังไม่มีองค์กร หรือยังไม่ได้จดทะเบียนจัดตั้งบริษัท ผู้บริหารที่มีภาวะผู้นำจะสร้างวิสัยทัศน์ใหม่ และสร้างองค์กรที่มีลักษณะการบริหารจัดการที่เป็นเชิงยุทธศาสตร์ เพื่อให้จัดตั้งองค์กรขึ้นมาให้ได้ (ผู้ริเริ่ม ผู้บุกเบิก)

3. กล้าที่จะกระจายอำนาจและความรับผิดชอบให้พนักงานในระดับที่ต่ำกว่า เพื่อให้สามารถตัดสินใจในการจัดการทรัพยากร และเพื่อกระตุ้นให้พนักงานกล้าที่จะคิดริเริ่มในสิ่งใหม่

4. ผู้บริหารที่มีภาวะผู้นำจะใช้งบประมาน ข้อมูลข่าวสาร และระบบการรายงานเพื่อสร้างวัฒนธรรมการทำงาน การบังคับบัญชาและกระบวนการปฏิบัติงานใหม่

5. ผู้บริหารที่มีภาวะผู้นำ จะบูรณาการทุกกิจกรรมงานและทรัพยากรเพื่อให้มีการบริหารจัดการเชิงยุทธศาสตร์อย่างต่อเนื่อง

ผู้บริหารที่สามารถบริหารจัดการงานและองค์กรให้มีลักษณะใดลักษณะหนึ่งหรือหลายลักษณะดังกล่าวข้างต้น ทำให้เกิดความมั่นใจได้ว่าองค์กรจะเติบโตอย่างมั่นคง การบริหารจัดการแบบมียุทธศาสตร์จึงเหมาะสำหรับองค์กรที่ต้องการเปลี่ยนแปลงในสิ่งที่ดีกว่าที่เป็นมาและเป็นอยู่ และยังใช้ได้ดีในการบริหารจัดการกับปัญหาที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน

อ้างอิง : นิรมิต เทียมทัน. ศาสตร์และศิลป์สำหรับผู้สร้างอนาคตใหม่. กรุงเทพฯ. โรงพิมพ์ ส.เอเชียเพรส. 2548

น.ส.ปาริฉัตร หยุ่นเฮง รหัส 216





http://www.thaihealth.or.th/

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ หรือ สสส.

ให้บริการเกี่ยวกับสาระสุขภาพ เช่น ข่าวสุขภาพ เคล็ดลับคนดังสุขภาพดี โพลสุขภาพ ก้าวทันกระแส สร้างสุขกับ สสส. บทความเกี่ยวกับการดูแลสุภาพร่างกายและจิตใจ เกร็ดความรู้ดูแลผมสวยด้วยความลับจากธรรมชาติ เว็บบอร์ดสร้างสุขเพื่อตั้งกระทู้หรือออกความคิดเห็นในเว็บบอร์ด





แหล่งที่มา http://www.thaihealth.or.th/

นายอัตถ์ชัย ภู่วนิช เลขที่ 213 รุ่น 19



www.thaisecondhand.com

เว็ปนี้เป็นตัวกลางในการซื้อ – ขาย ของมือสอง

มีรายการสินค้าดังต่อไปนี้

- ธุรกิจอุตสาหกรรม

- อุปกรณ์สื่อสาร

- คอมพิวเตอร์

- เสื้อผ้า แฟชั่น

- รถยนต์

- ของมือสองทุกชนิด

ในกรณีที่จะทำการประกาศขายของลงในเว็ปนี้จะต้องสมัครสมาชิกก่อน แจะต้องมีรหัสในการเข้าลงโฆษณา

ไม่เสียค่าใช้จ่ายใดทั้งสิ้นเป็นสื่อกลางในการโฆษณา

น.ส สมใจ มูลพงษ์ 5130125401226 กศ.พบ. รุ่น 19 การจัดการทั่วไป



Blackberry App World

Apps Games Themes Ringtones



รายละเอียด Webs tore หลักๆ ของ BlackBerry App Word จะมีทั้งหมด 4 รายการ

1. Top Free หมายถึง แอปพลิเคชั่นที่นิยมดาวโหลดและสามารถโหลดได้โดยไม่มีค่าบริการหรือไม่เสีย ค่าใช้จ่าย

2. Top Paid หมายถึง แอปพลิเคชั่นที่นิยมแต่ต้องเสียค่าบริการในการดาวโหลดแอปพลิเคชั่นเพื่อใช้ บริการ

3. Newest Items หมายถึง แอปพลิเคชั่นใหม่ ที่ลูกค้าสามารถเข้าไปดูรายละเอียดและทำการดาว โหลดเพื่อมาใช้บริการได้ซึ่งมีทั้งที่ดาวโหลดฟรี และเสียค่าบริการ

4. Top Rated หมายถึง แอปพลิเคชั่นที่ได้รับความนิยมสูงสุด ทั้งที่ดาวโหลดฟรี และที่เสียค่าใช้จ่ายใน การดาวโหลด

แอปพลิเคชั่นที่เกี่ยวกับข้อมูลต่างๆที่มีอยู่ใน App World

Books Business Education & Reference

Finance Health & Fitness Lifestyle

Navigation & Travel News & Magazines Photo & Video

Social Sports Utilities



อ้างอิงจาก : http://appworld.blackberry.com/webstore/

นางสาวนฤมล รหัส 5130125401247



http://www.nlem.in.th NLEM : Nation List of Essential Medicines

เป็นเว็บไซต์เกี่ยวกับข้อมูลบัญชียาหลักแห่งชาติ ราคากลางของยา รายชื่อยาที่อยู่ในบัญชียาหลักแห่งชาติ

- บัญชียาและหลักฐานเชิงประจักษ์

- บัญชียา

- บัญชียาสำหรับโรงพยาบาลและสถานบริการสาธารณสุข (บัญชียาหลักแห่งชาติแผนปัจจุบัน)

- บัญชียาจากสมุนไพร

- หลักฐานเชิงประจักษ์

- บัญชียาหลักแผนปัจจุบัน

- บัญชียาจากสมุนไพร

- ราคากลางยา

- ข่าวประชาสัมพันธ์ เกี่ยวกับด้านอาหารและยา

- คลังเอกสาร เอกสารเกี่ยวข้องกับบัญชียาหลักแห่งชาติ

- คู่มือการใช้ยาอย่าสมเหตุผล ตามบัญชียาหลักแห่งชาติ

- ลิงก์ที่เกี่ยวข้อง

- ฐานข้อมูล

เว็บไซต์รายงานการสาธารณสุขไทย

ราชกิจจานุเบกษา

ศูนย์ข้อมูลข่าวสารด้านเวชภัณฑ์ กระทรวงสาธารณสุข

หมอชาวบ้าน

British Nation Formulary

Clinical Evidence

International language for drug utilization research

MedscapeToday

National Center for Biotechnology Information

PBL RDU EBM Web Based Instruction in Pharmacology

- หน่วยงาน

กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง

กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข

เครือข่ายคณะกรรมการเภสัชกรรมและการบำบัด

โครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ

แผนงานสร้างกลไกเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา

สำนักงานกองทุนสนับสนุนสร้างเสริมสุขภาพ

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา

สำนักงานโครงการพัฒนาร้านยา

สำนักงานประกันสังคม

สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ

สำนักยา สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา

สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

ศูนย์บริการข้อมูลข่าวสารของราชการ อย.

ศูนย์เฝ้าระวังความปลอดภัยด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ

องค์การอนามัยโลก

Antibiotics Smart Use



สถานที่ติดต่อ: งานนโยบายแห่งชาติด้านยา กลุ่มงานพัฒนาระบบ สำนักยา

ตึกสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข ถ.ติวานนท์ ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000


ขออนุญาตส่งข้อมูลเพิ่มเติมของเว็บไซต์ http://www.nlem.in.th ( NLEM : Nation List of Essential Medicines)

เว็บไซต์เกี่ยวกับข้อมูลยาในบัญชียาหฃักแห่งชาติ

นางสาว สายชน นาคปานเสือ 055 การจัดการทั่วไ


1. มียุทธวิธีและเทคนิค กลยุทธ์เป็นปัจจัยสำคัญหนึ่งที่จะนำไปสู่ความสำเร็จของงานส่วนเทคนิคจะช่วยประหยัดเวลา และทรัพยากรอื่น ๆ มิให้สิ้นเปลือง เทคนิคที่ดีไม่ควรมีความสลับซับซ้อนมากเกินไป สามารถเข้าใจและง่ายต่อการปฏิบัติให้เกิดผลสำเร็จได้
2. รู้จักประนีประนอมและยืดหยุ่น จะช่วยลดความขัดแย้งและขจัดปัญหาอุปสรรคในการทำงานได้มาก
3. รู้จักการเจรจาต่อรอง ไม่เอาแต่ได้ฝ่ายเดียว ไม่มีใครได้ทั้งหมด และต้องไม่ใครเสียทั้งหมดต้องได้ทั้งสองฝ่าย (Win – Win) บางครั้งต้องรู้จัก แพ้เพื่อชนะ
4. ประสานงานเป็นและประสานประโยชน์ได้ การสร้างพันธภาพอย่างไม่เป็นทางการ มีความสำเร็จขององค์กรอย่างสูง ทำให้เรื่องยากเป็นเรื่องง่าย ย่นระยะเวลา ลดพิธีกรรมรูปแบบต่าง ๆ
5. รู้จักใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า นับตั้งแต่ทรัพยากรมนุษย์ วัสดุอุปกรณ์ ทรัพย์สินอื่น ๆ รวมทั้งเวลาเหล่านี้ล้วนเป็นต้นทุนในการทำงาน
6. เป็นนักประชาธิปไตย นักบริหารต้องใจกว้างพอจะยอมรับความแตกต่างทางความคิด และต้องอยู่ท่ามกลางความแตกต่างให้ได้ พร้อมทั้งต้องพยายามประสานความค่างนั้นให้เกิดประโยชน์เชิงสร้างสรรค์

7. กระจายอำนาจเป็น โดยดูจากการกระจายอำนาจหน้าที่ และความรู้ผิดชอบไปสู่มือทำงานเพื่องานจะได้สำเร็จลุล่วง เรียบร้อย รวดเร็ว มอบหมายงานที่มีความสำคัญให้ผู้ใต้บังคับบัญชาเพื่อพัฒนาให้เขารู้จักผิดชอบสูงขึ้น เปิดโอกาสให้เขาเป็นเจ้าของงานและตัดสินใจในงานชิ้นสำคัญ ๆ ให้ความรู้สึกในด้านจิตวิทยา ให้โอกาสและสนับสนุนให้ผู้ใต้บังคับบัญชา มีความริเริ่มสร้างสร้างในสิ่งใหม่ ๆ และเป็นประโยชน์
8. รู้จักทำงานในเชิงรุก มุ่งผลงานในเนื้องานเป็นหลักมากว่ารูปแบบหรือพิธีการ เป็นฝ่ายเริ่มต้นกระทำก่อนในสิ่งที่ถูกต้อง และจำเป็นเพื่อให้งานสำเร็จ
9. พิจารณาคนเป็น นักบริหารต้องเชื่อในความสามารถของคนอื่นด้วย มนุษย์ทุกคนล้วนมีศักยภาพและความสามารถในทางใดทางหนึ่งเสมอ นักบริหารที่มีความสามารถจึงต้องมองคนให้เป็นใช้คนให้ถูก ใช้ให้ถูกคนและถูกงาน ต้องแยกเรื่องส่วนตัวออกจากเรื่องของส่วนรวมโดยเด็ดขาดสังคมไทยมักจะแยกไม่ค่อยออก
10. โปร่งใสและตรวจสอบได้ เป็นหนึ่งในการบริหารการจัดการที่ดี (good governance) แสดงถึงความสุจริตใจในการทำงาน ต้องเปิดเผย ชัดเจน ตรงไปตรงมา ตอบคำถามของสังคมได้
11. รู้จักควรไม่ควร รู้จักความพอดี เป็นเรื่องยากที่จะบอกอย่างไรจึงพอดี ขึ้นอยู่กับสติปัญญาวิจารณญาณและประสบการณ์ของแต่ละคน ที่จะเรียนรู้ความพอเหมาะพอดี ต้องรู้จักงาน รู้จักดี รู้จักชั่ว แยกแยะออกได้อย่างชัดเจน
บรรณานุกรม/อ้างอิง
ชื่อหนังสือ : วิถีไม่ตัน ฉบับตัน ภาสกรนที
ชื่อผู้แต่ง : ตัน ภาสกรนที, ดุลยปวีณ กรณฑ์แสง
สำนักพิมพ์ : กรุงเทพธุรกิจพิมพ์ปี 2554

Rumpaipan Chiangnun rchiangnun@gmail.com



www.fda.moph.go.th สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)

เป็นเว็ปที่ให้ฐานข้อมูลกฎหมายเกี่ยวกับ อย. ดังนี้

1.ยา

2.เครื่องสำอาง

3.วัตถุเสพติด

4.อาหาร

5.เครื่องมือแพทย์

6.วัตถุอันตราย

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาเป็นส่วนราชการมีฐานะการปกป้องและคุ้มครองสุขภาพประชาชนจากการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพโดยผลิตภัณฑ์สุขภาพเหล่านั้นต้องมีคุณภาพมาตรฐานและปลอดภัย มีการส่งเสริมพฤติกรรมการบริโภคที่ถูกต้องด้วยข้อมูลวิชาการที่มีหลักฐานเชื่อถือได้และมีความเหมาะสม เพื่อให้ประชาชนได้บริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ปลอดภัยและสมประโยชน์ โดยมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
1. ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยอาหาร กฎหมายว่าด้วยยา กฎหมายว่าด้วยเครื่องสำอาง กฎหมายว่าด้วยวัตถุอันตราย กฎหมายว่าด้วยวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท กฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ กฎหมายว่าด้วยเครื่องมือแพทย์ กฎหมายว่าด้วยการป้องกันการใช้สารระเหย และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
2. พัฒนาระบบและกลไก เพื่อให้มีการดำเนินการบังคับใช้กฎหมายที่อยู่ในความรับผิดชอบ
3. เฝ้าระวังกำกับและตรวจสอบคุณภาพมาตรฐานของผลิตภัณฑ์สถานประกอบการ และการโฆษณา รวมทั้งผลอันไม่พึงประสงค์ของผลิตภัณฑ์ตลอดจนมีการติดตามหรือเฝ้าระวังข้อมูลข่าวสารด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพจากภายในประเทศและภายนอกประเทศ
4. ศึกษา วิเคราะห์ วิจัยและพัฒนาองค์ความรู้ เทคโนโลยี และระบบงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
5. ส่งเสริมและพัฒนาผู้บริโภคให้มีศักยภาพในการเลือกบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ถูกต้อง เหมาะสม ปลอดภัย และคุ้มค่า รวมทั้งเพื่อให้ผู้บริโภคนั้นมีการร้องเรียน เพื่อปกป้องสิทธิของตนได้
6. พัฒนาและส่งเสริมการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ โดยการมีส่วนร่วมของภาครัฐ ภาคเอกชน ประชาชน และเครือข่ายประชาคมสุขภาพ
7. ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาหรือตามที่กระทรวงหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย

น.ส.ภาณีนุช ปิยภานีกุล รหัส 5210125401014 เอกการจัดการทั่วไป ปี4 หมู่1

ทฤษฎีความยุติธรรม (Equity theory) เป็นทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการใช้วิจารณญาณของบุคคลกับความยุติธรรมของรางวัล โดยเปรียบเทียบกับปัจจัยนำเข้า (ประกอบด้วยหลายปัจจัย เช่น ความพยายาม ประสบการณ์ การศึกษา และรางวัล) J. Stacy Adams เป็นผู้กำหนดทฤษฎีความยุติธรรม ลักษณะสำคัญของทฤษฎียุติธรรม ดังสมการ

ผลลัพธ์ของบุคคลหนึ่ง ผลลัพธ์ของอีกบุคคลหนึ่ง
___________________ = ________________________
ปัจจัยนำเข้าของบุคคลหนึ่ง ปัจจัยนำเข้าของอีกบุคคลหนึ่ง

จะต้องมีความสมดุลของความสัมพันธ์ระหว่างผลลัพธ์ต่อปัจจัยนำเข้าของบุคคลหนึ่ง โดยเปรียบเทียบกับอีกบุคคลหนึ่ง ดังนี้
1.ถ้าบุคคลรู้สึกว่าเขาได้รับรางวัลที่ไม่เท่าเทียมกัน เขาจะไม่พอใจ จะลดปริมาณหรือคุณภาพของผลผลิต
2.ถ้าบุคคลได้รับรางวัลเท่าเทียมกัน เขาจะทำงานเพื่อให้ได้ผลผลิตในระดับเดิมต่อไป
3.ถ้าบุคคลคิดว่ารางวัลสูงกว่าสิ่งที่เป็นความยุติธรรม เขาจะทำงานมากขึ้น

ดังนั้นเป็นทางเลือกที่ว่าบางคนอาจจะลดรางวัล สถานการจาก 3ประการ ได้แก่ ความสมดุลและความไม่สมดุลของรางวัล
1.รางวัลที่ไม่ยุติธรรม (ความไม่พึงพอใจผลผลิตลดลง)
2.รางวัลที่ยุติธรรม (ความต่อเนื่องกันในระดับผลผลิตเดียวกัน)
3.เหนือกว่ารางวัลที่ยุติธรรม (งานหนักขึ้นรางวัลลดลง)

ปัญหาที่เกิดขึ้นก็คือ บุคคลจะคาดคะเนผลประโยชน์ของตนเกินจริง และคาดหวังรายได้รางวัลที่ได้รับเกินจริง ความไม่เท่าเทียมกันอาจจะมีเป็นบางครั้งสำหรับพนักงาน ความรู้สึกของความไม่เท่าเทียมกันจะมีผลต่อปฎิกิริยาบางประการ ตัวอย่าง พนักงานอาจจะโกรธหรือตัดสินใจทิ้งงานเพราะเกิดความรู้สึกว่า รางวัลที่ได้ไม่ยุติธรรมเมื่อเปรียบเทียบกับรางวัลของบุคคลอื่น

อ้างอิง : ศิริวรรณ เสรีรัตน์. องค์การและการจัดการ. กรุงเทพฯ, 2542.

นางสาวฑิตฐิตา มีชูแสง การจัดการทั่วไป ปี4 รหัส 05

ทฤษฎีองค์การก่อนสมัยวิทยาการการจัดการ
โสเครตีส (Socrates) เป็นนักปรัชญาการเมืองซึ่งไม่ปรากฏผลงานเขียนด้วยตนเอง แต่ความคิดเห็นของโสเครติสได้ปรากฏอยู่ในงานเขียนของเพลโต (Plato) เช่นเรื่อง The Republic ซึ่งกล่าวถึงหลังการขององค์การสังคมว่า จะต้องมีการแบ่งงานกันทำ และมีการทำงานตามความสามารถของแต่ละบุคคลในองค์การทางสังคมนั้นๆ ทั้งนี้เนื่องจากปัจเจกชนมีความต้องการหลายประการและไม่สามารถจะสนองความต้องการทุกๆอย่างของตนเองได้ จึงต้องให้ผู้อื่นที่ทำดีกว่าตนช่วยทำให้ ซึ่งตนก็จะสามารถมีสิ่งที่ตนต้องการได้อย่างครบถ้วน เช่น อาหาร เสื้อผ้า รองเท้า เป็นต้น
ในช่วงเวลาต่อมาเพลโตก็ได้ยืนยันแนวความคิดของโสเครตีสในเรื่องการแบ่งงานกันทำตามความรู้ความชำนาญของบุคคลแต่ละประเภท โดยเน้นให้เห็นว่าองค์การเป็นระบบของการให้บริการ ซึ่งสมาชิกในองค์การทุกคนจะต้องมีทั้งการให้และการรับ โดยแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน ภายใต้หลักเกณฑ์พื้นฐานที่สำคัญคือ มีการแบ่งงานกันทำ และการทำงานตามความชำนาญ ซึ่งจะช่วยให้งานง่ายขึ้นแล้ว ยังได้คุณภาพดีด้วย นอกจากนี้เพลโตยังได้เสนอแนวความคิดในการแบ่งคนออกเป็น 3 กลุ่ม คือ ทาสทำงานด้านเกษตรกรรม ชนชั้นอิสระซึ่งไม่ใช่พลเมืองทำงานด้านการค้าและอุตสาหกรรม และบุคคลที่เป็นพลเมือง ให้เป็นผู้รับผิดชอบทำงานเกี่ยวกับการเมืองทั้งหมดของสังคม
และการจัดระเบียบขององค์กรในยุคนั้นคือจะช่วยให้มนุษย์เป็นคนดีได้จำเป็นจะต้องมีหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
- มีการแบ่งงานกันทำ (Division of Labour)
- มีการแบ่งงานกันทำตามความรู้ความชำนาญ (Specialization)
- ใช้หลักการแห่งอำนาจ (Authority) ในการกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในองค์กร
- ใช้หลักประสานความร่วมมือกัน (Co-operation) ของคนในองค์กร
- มีการอำนวยการ (Direction) โดยผู้ออกกฎข้อบังคับ
- หลักการเอกภาพในการบังคับบัญชา (Unity of Command) คือการมีผู้บังคับบัญชาเพียงคนเดียว
- มีสภาวะของผู้นำ (Leadership)
- มีสายการบังคับบัญชาของอำนาจ (Hierarchical Authority)
โดย รศ.ดร.สมิหรา จิตตลดากร พิมพ์ครั้งที่ 3 จัดพิมพ์โดย สำนักพิมพ์คงวุฒิคุณากร พิมพ์ที่ แสงเทียนการพิมพ์
หน้า 53-5

นาย ไกรฤกษ์ ไชยมงคล (แชมป์) 5210125401005 เอก การจัดการทั่วไป

www.thaiairways.co.th
บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) (อังกฤษ: Thai Airways International Public Company Limited; ชื่อย่อ: ไทย, THAI) เป็นสายการบินแห่งชาติของประเทศไทยในปัจจุบัน ทำการบินทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ จดทะเบียนในรูปบริษัทจำกัด เมื่อวันอังคารที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2503 เริ่มบินระหว่างประเทศเที่ยวแรกไปยังฮ่องกง เมื่อวันอาทิตย์ที่ 1 พฤษภาคม ปีเดียวกัน และเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2534 นับเป็นสายการบินที่มีอายุยาวนานเป็นอันดับที่ 39 ของโลก
การบินไทยเป็นสายการบินลำดับต้นในเอเชีย ที่ทำการบินในเส้นทางกรุงเทพฯ-ลอนดอน (ท่าอากาศยานฮีทโธรว์) รวมทั้งเปิดเส้นทางการบินตรงจากกรุงเทพฯ-ลอสแอนเจลิส อันเป็นเส้นทางบินที่มีระยะไกลเป็นอันดับที่ 7 ของโลก ด้วยเครื่องบินแอร์บัส เอ 340-500 โดยไม่มีการแวะพัก และใช้เครื่องบินโบอิง 777-200 บินตรงไกลที่สุด ในเส้นทางกรุงเทพฯ-บริสเบน ส่วนเส้นทางกรุงเทพฯ-เอเธนส์เป็นเส้นทางบินตรงไกลที่สุด สำหรับเครื่องบินชนิดโบอิง 777-300 นอกจากนี้ การบินไทยได้รับรางวัลยอดเยี่ยมจากองค์การอนามัยโลกว่าด้วยสุขอนามัยบนเครื่องบิน
ประวัติ
เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2502 รัฐบาลไทยดำเนินการให้ บริษัท เดินอากาศไทย จำกัด (อังกฤษ: Thai Airways Company Limited; ชื่อย่อ: บดท.; TAC) กับ สายการบินสแกนดิเนเวียน (อังกฤษ: Scandinavian Airlines System; ชื่อย่อ: SAS) ทำสัญญาร่วมทุนระหว่างกัน เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2502 จากนั้นในวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2503 บริษัท การบินไทย จำกัด จดทะเบียนจัดตั้งขึ้นด้วยทุนประเดิม 2 ล้านบาท เพื่อดำเนินธุรกิจสายการบินระหว่างประเทศ โดยมีเที่ยวบินปฐมฤกษ์ไปยังฮ่องกง เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม ปีเดียวกัน
ต่อมาในวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2520 เอสเอเอสคืนหุ้นให้เดินอากาศไทย หลังจากครบระยะเวลาตามสัญญาร่วมทุน แล้วโอนให้แก่กระทรวงการคลังเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ ตามมติคณะรัฐมนตรี และในที่สุดเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2531 เดินอากาศไทยซึ่งดำเนินธุรกิจสายการบินภายในประเทศ ก็รวมกิจการเข้ากับการบินไทย เพื่อให้สายการบินแห่งชาติเป็นหนึ่งเดียว ตามมติคณะรัฐมนตรีเศรษฐกิจ จากนั้นในวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2534 การบินไทยเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ตามมติคณะรัฐมนตรี และจดทะเบียนแปลงสภาพเป็นบริษัทมหาชน เมื่อปี พ.ศ. 2537
คำขวัญ
คำขวัญภาษาไทยของการบินไทยคือรักคุณเท่าฟ้า ปรากฏเป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2521 เป็นชื่อใหม่ของวารสารภายใน ซึ่งเปลี่ยนจากเดิมคือ ข่าวการบินไทย (เริ่มเมื่อ พ.ศ. 2519) โดยวลีดังกล่าวมีที่มาจาก วิถีชีวิตของชาวไทย ดังที่พ่อแม่มักตั้งคำถามกับลูกว่า รักพ่อแม่แค่ไหน แล้วลูกก็มักตอบว่า "รักพ่อแม่เท่าฟ้า" ซึ่งสื่อความหมายถึงความรักที่กว้างใหญ่ไพศาลไปสุดขอบฟ้า จึงนำมาใช้เชิงเปรียบเทียบกับบริการของการบินไทย ทั้งนี้ คำขวัญของการบินไทยดังกล่าว เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายในประเทศไทย จากผลงานเพลงชื่อเดียวกัน ของวงดนตรีเพื่อชีวิต คาราบาว ซึ่งเผยแพร่เป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2528 ส่วนคำขวัญภาษาอังกฤษใช้ว่าSmooth as Silk ซึ่งแปลเป็นภาษาไทยได้ว่า นุ่มละมุนดุจแพรไหม มีชื่อเสียงมาจากเพลงชื่อเดียวกัน ที่กระจายเสียงภายในเครื่องก่อนเริ่มเที่ยวบิน และที่นำมาใช้ประกอบรายการ การบินไทยไขจักรวาล

อ้างอิง
บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) .(ออนไลน์). แหล่งที่มา : http://www.thaiairways.co.th/ ๑๐ กรกฎาคม ๒๕๕

บทที่ 4 สรุปประจำวันพุธ 11 กค 55

001 กวาง  คุณสมบัติของผู้นำ
ความรู้ ต้องมีความรอบรู้
ความริเริ่ม
ความกล้าหาญและเด็ดเดี่ยว
ความมีมนุษยสัมพันธ์
มีความยุติธรรม ซื่อสัตย์ สุจริต
ความอดทน
ความตื่นตัวแต่ไม่ตื่นตูม
ความจงรักภักดี
ความสงบเสงี่ยม
002 ตั๊ก  ผู้นำที่ดีควรมีลักษณะ
คุณลักษณะทางกาย อายุ ลักษณะท่าทาง ส่วนสูงและน้ำหนัก
ภูมิหลังทางสังคม เช่น สถานภาพทางเศรษฐกิจสังคม และการศึกษา
สติปัญญาความรู้ความสามารถ เช่น พูดเก่ง ตัดสินใจดี
บุคลิกภาพ เช่น มีความเชื่อมั่นในตนเอง มีความระมัดระวัง
ลักษณะที่เกี่ยวกับงาน จะมีความต้องการความสำเร็จ
ลักษณะต่างๆทางสังคม ต้องมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ อย่างกระตือรือร้น ให้ความร่วมมือกับบุคคลต่างๆ ดี
003 ริน คุณสมบัติหลักแห่งการเป็นผู้นำ
ผู้นำต้องเป็นคนมีวิสัยทัศน์ มองอนาคต
ผู้นำต้องใฝ่รู้ ต้องไม่ล้าหลัง
ผู้นำต้องเป็นผู้รับใช้ที่ดี
ผู้นำต้องมีวินัยในตนเอง
ผู้นำต้องเป็นผู้มั่นคงในหลักการ
ผู้นำต้องเป็นคนกล้ารับผิดชอบ
ผู้นำต้องเป็นผู้มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี
ผู้นำต้องรู้จักแก้ปัญหาทั้งระยะสั้นและระยะยาว
ผู้นำต้องเป็นผู้มีทัศนคติที่ดี
ผู้นำต้องเป็นผู้ที่มีใจรักในงาน
ผู้นำต้องมีคุณธรรมเชื่อมั่นในหลักคุณธรรม
ผู้นำต้องมีเสน่ห์
ผู้นำต้องทุ่มเท
ผู้นำต้องรู้จักการสื่อสารที่ดี
ผู้นำต้องเป็นคนมีประสิทธิภาพ
ผู้นำต้องกล้าหาญ
ผู้นำต้องมีวิจารณญาณที่ดี
ผู้นำต้องมีความแจ่มชัดในทุกด้าน
ผู้นำต้องเป็นคนมีน้ำใจ
ผู้น้ำต้องเป็นคนมีความคิดริเริ่ม
ผู้นำต้องเป็นผู้ฟังที่ดี เพื่อเข้าใจจิตใจคนอื่น
006 ก้อย ลักษณะความเป็นผู้นำที่ประสบความสำเร็จ
มีแรงขับดัน
มีความเชื่อมั่น
มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
มีความสามารถในการรับรู้
มีความรู้ทางด้านธุรกิจ
มีแรงจูงใจ
มีความยืดหยุ่น
ความซื่อสัตย์และคุณธรรม
014 นุช ท.คุณลักษณะผู้นำ เกี่ยวกับลักษณะเฉพาะตัวของผู้นำ
บุคลิกภาพ ทักษะและลักษณะทางกายภาพ
ฉลาด กระตือรือร้น มีทักษะในการติดต่อสื่อสาร มีความคิดริเริ่ม
รู้จักปรับตัว ตื่นตัว ทะเยอทะยาน สร้างสรรค์ประโยชน์ ประนีประนอม ลูกน้องพึ่งได้ ทรงอำนาจ มีความสามารถในการทำงาน มั่นใจตนเอง เผชิญหน้ากับเหตุการณ์ ต่างๆ
016 นุช ผู้นำแบบมุ่งงาน และ แบบมุ่งความสัมพันธ์
มุ่งงาน ต้องการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ มีทัศนคติไม่ดีต่อผู้ใต้บังคับบัญชา จำกัดเฉพาะเรื่องงาน จะเป็นผู้ให้รางวัลและลงโทษ สนใจเมื่อสมาชิกขยันทำงาน
มุ่งความสัมพันธ์ เน้นความสัมพันธ์ ระหว่างสมาชิกในกลุ่ม เกี่ยวข้องกับสมาชิกในเรื่องต่างๆ เน้นความกลมเกลียวกัน
026 เดียร์ คุณลักษณะเฉพาะตัวของผู้นำ
มีวิสัยทัศน์
ยอมรับความเสี่ยง
ไวต่อความเปลี่ยนแปลง
ไวต่อความต้องการของลูกน้อง
ไม่ยึดติดกับเรื่องเดิมๆ
031 โบ  คุณลักษณะส่วนตัวของผู้นำในการจัดการ
ต้องมีปัญญา
ประสบการณ์กว้างขวาง
อารมณ์เย็น
ผู้นำต้องระลึกว่า งานทั้งหลายสำเร็จได้โดยผู้ปฏิบัติงาน
036 ตู่ ท. เกี่ยวกับลักษณะและคุณสมบัติ ของภาวการณ์เป็นผู้นำ David
มีความเฉลียวฉลาด วิเคราะห์ปัญหา สัมพันธภาพ ระหว่างบุคคล
การบรรลุภาวะทางสังคม ต้องมีความมั่นคงทางอารมณ์
มีการจูงใจภายในและมีแรงขับทางด้านความสำเร็จ
มีทัศนคติด้านมนุษยสัมพันธ์
038 อ้อม ท.วิถีทางสู่เป้าประสงค์ของ House
แบบของภาวการณ์เป็นผู้นำ
แบบชี้นำ อำนาจนิยม ผู้นำกำหนดเป้าหมายและแนวทางในการทำงาน ไม่เปิดให้ลูกน้องมีส่วนร่วม
แบบสนับสนุน เป็นกันเอง เข้าหาได้ง่าย
แบบมีส่วนร่วม เปิดโอกาสให้ลูกน้องมีส่วนร่วม แสดงความคิดเห็น แต่ก็ยังทำหน้าที่สั่งการและตัดสินใจ
แบบมุ่งความสำเร็จ จะตั้งเป้าหมายที่ท้าทายไว้ ให้ลูกน้องได้แสดงความสามารถอย่างเต็มที่
ผู้นำ สามารถนำแต่ละแบบมาใช้ได้ ในแต่ละสถานการณ์ ที่แตกต่างกัน
039 พลอย ผู้นำที่มีประสิทธิภาพ เป็นอย่างไร
มองปัญหาที่จะเกิดขึ้น ในวันพรุ่งนี้
พร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ
กำหนดมาตรฐานการทำงานของลูกน้องให้สูง
พยายามสร้างและปลูกฝังค่านิยมที่ถูกต้องให้ลูกน้อง
ต้องกล้าตัดสินใจ
สุขุมใจเย็น รอเวลาที่เหมาะสมได้
สร้างบรรยากาศในการทำงานให้กระตือรือร้น
ให้ความสนใจต่อความต้องการและความคาดหวัง
ให้การศึกษาและอบรม
กำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบให้ชัดเจนแน่นอน
ยอมรับว่าแต่ละคนมีแรงจูงใจแตกต่างกัน
กำหนดขอบเขตอำนาจหน้าที่การทำงานให้ชัดเจน
043 ผึ้ง คุณลักษณะของผู้นำองค์กร
มีโลกทัศน์ อันกว้างไกล มีความรู้หลายด้าน
การยอมรับฟังความคิดเห็นอันหลากหลาย
การสร้างทีมงาน
การรู้จักการกระจายงาน รู้จักใช้คน
จิตวิทยาของผู้นำ เพื่อให้มีแรงจูงใจ
การรู้จักความรับผิดชอบ ยอมรับข้อผิดพลาด
051 พัด คุณลักษณะที่จำเป็นของผู้นำยุคใหม่
ความรู้ในงาน วิธีการปฏิบัติงาน
ความรู้ในหน้าที่และความรับผิดชอบ
ความรู้ในการปรับปรุงงาน
ความรู้ในการป้องกันอุบัติเหตุ
ความรู้ในการสื่อ และแนะนำงาน
052 รี คุณลักษณะของภาวะผู้นำ
การมีสติปัญญาเหนือผู้อื่น
การมีความมั่นคงทางอารมณ์
การรู้จักใช้แรงจูงใจ
การมีทักษะในการแก้ปัญหา
การมีทักษะด้านการบริหาร
ทักษะด้านเทคนิค
ทักษะด้านมนุษยสัมพันธ์
ทักษะด้านความคิดรวบยอด
053 กฤต คุณลักษณะของผู้นำตัวอย่าง
มีภาวะผู้นำ มีศิลปะในการครองใจคน เป็นนักประสานความเข้าใจ
มีเมตตาธรรม ไม่มีอคติ ไม่มีความลำเอียง
ต้องอยู่บนพื้นฐานของเหตุผล ความถูกต้อง
เป็นนักคิด นักวิเคราะห์
มีการสร้างวิสัยทัศน์
กระจายอำนาจหน้าที่ ความรับผิดชอบ เพื่อให้งานสำเร็จรวดเร็ว
รู้จักทำงานในเชิงรุก มุ่งเนื้อหาเป็นหลัก มากกว่ารูปแบบหรือวิธีการ
พิจารณาคนเป็น เชื่อในความสามารถของคนอื่น
โปร่งใส และตรวจสอบได้
รู้จักความพอดี ควรไม่ควร
054 เติ้ล ลักษณะการเป็นผู้นำ
มีเป้าหมาย ชีวิต การทำงาน การเปลี่ยนแปลงองค์การ จะทำให้ผู้นำมีทิศทางในการเดินทาง
ความรู้ ปัจจุบันเป็นยุคที่ต้องใช้ความรู้ในการแข่งขันกัน
กล้าเปลี่ยนแปลง กล้าทดลองสิ่งใหม่ๆ
การกระตือรือร้น กระฉับกระเฉง
ความอดทน ผู้นำจะต้องมีความรับผิดชอบมากกว่า ผู้ตาม
การบังคับตนเอง การควบคุมตนเอง
การใช้ดุลพินิจ และกล้าตัดสินใจ ต้องเป็นนักวิเคราะห์ นักคิดที่ดี มีความเด็ดขาด
มีมนุษยสัมพันธ์ ต้องทำงานกับผู้อื่น ต้องครองใจคนทำงานได้
055 ชน คุณสมบัติของผู้นำที่ดี
ต้องมีทักษะหลายด้าน
ในการตัดสินใจ วางแผน จัดองค์กร แก้ปัญหา สร้างทีมงาน
ต้องรอบรู้ และมีข้อมูลทันสมัย
ต้องรู้และเข้าใจบทบาทหน้าที่ เพื่อที่จะแสดงบทบาทตามหน้าที่และความรับผิดชอบอย่างถูกต้องเหมาะสม
กล้าตัดสินใจ
มียุทธวิธีและเทคนิค กลยุทธ์ที่จะนำไปสู่ความสำเร็จของงาน
รู้จักประนีประนอมและยืดหยุ่น
รู้จักเจรจาต่อรอง ต้องได้ทั้งสองฝ่าย
ประสานงานเป็น และประสานประโยชน์ได้
รู้จักใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า เช่น คน เวลา วัสดุอุปกรณ์
เป็นนักประชาธิปไตย ใจกว้าง ยอมรับความแตกต่าง
056 กลอย คุณสมบัติของหัวหน้างาน
รู้งานที่ตนเองรับผิดชอบ รู้นโยบาย เป้าหมายของบริษัท
รู้วิธีการบริหารงาน และการปกครองบังคับบัญชา
มีความฉลาดทันคน
มีความเชื่อมั่นในตนเอง
มีความเด็ดเดี่ยว
มีกำลังใจสูง
เรียนรู้ได้เร็ว
รอบรู้ในหลายๆ ด้าน
มีความกระตือรือร้น
สุภาพ เป็นมิตร เมตตากรุณา
มีศีลสัตย์ มั่นคงและเที่ยงธรรม
สอนผู้อื่นได้
มีศรัทธาต่องานและเพื่อนร่วมงาน
057 มิว แนวคิดของภาวะผู้นำสมัยใหม่
มีวิสัยทัศน์
มีทักษะทางด้านการสื่อสาร
ทำให้ผู้อื่นไว้วางใจ
ทำให้ผู้อื่นเห็นว่าตนเองมีความสามารถ
มีพลังและมุ่งการปฏิบัติให้บรรลุผล
แสดงอารมณ์ได้อย่างเหมาะสมและเอื้ออาทรต่อผู้อื่น
ชอบที่จะเสี่ยง
สร้างกลยุทธ์ใหม่ๆ เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย
มีการโฆษณาตนเอง
ทำให้การขัดแย้งภายในเกิดขึ้นน้อยที่สุด
058 อัญ ความหมาย และการแบ่งลักษณะผู้นำ
Good ผู้นำ คือ ผู้ที่ได้รับการยกย่อง มีความสามารถ นำหมู่คณะไปสู่ความสำเร็จ
ลิปปิตต์ แบ่งผู้นำ ตามลักษณะการบริหารงานเป็น 3 ประเภท
แบบอัตตาธิปไตย เป็นแบบเผด็จการ ใช้อำนาจในการบังคับ บัญชายึดตัวเองเป็นสำคัญ
แบบเสรี ปราศจากความรับผิดชอบ
ไม่มีการกำหนดวัตถุประสงค์ที่แน่นอน
ทำงานโดยให้ลูกน้องปฏิบัติไปตามเรื่อง
ไม่มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
ไม่มีการประเมินงาน
แบบประชาธิปไตย เปิดโอกาสให้ลูกน้องร่วมแสดงความคิดเห็น จัดสรร มอบหมายงานตามหน้าที่ ให้คำแนะนำ
ตัวอย่างของ ผู้นำที่ดีคือ คุณปัญญา นิรันดร์กุล
059 ลูกน้ำ ต้นแบบของผู้นำที่ดี
เดวิด ไซมอน เป็นผู้นำแห่งการสร้างความเปลี่ยนแปลง
ผู้นำ คือคนที่สามารถดึงประโยชน์จากผู้ใต้บังคับบัญชาได้ดีที่สุด
ไซมอน มีชื่อเสียงในเรื่องความเป็นมิตร พูดคุยกับพนักงานไม่เลือกระดับชั้นให้ความสำคัญกับวัฒนธรรม มีความเฉลียวฉลาดทางด้านอารมณ์ สติปัญญาปราดเปรื่อง
ตระหนักถึงอารมณ์ของตน และเข้าใจอารมณ์ เหล่านั้น ระบายออกอย่างเหมาะสม
ผู้นำลักษณะนี้ จะมีประสิทธิภาพมากกว่า รู้วิธีการระบายอารมณ์
064 ฝ้าย ทักษะของผู้นำ
ทักษะด้านการจัดการ ผู้นำทุกคนจะต้องบริหารงานในองค์กร
ทักษะด้านมนุษยสัมพันธ์ ผู้นำจะต้องติดต่อกับคนอื่น
ทักษะด้านการจูงใจ ผู้นำทำหน้าที่กระตุ้นให้ลูกน้องทำงานอย่างทุ่มเท
ทักษะด้านการติดต่อสื่อสาร เป็นความสามารถพื้นฐาน
ทักษะด้านการตัดสินใจ ความสามารถในการวิเคราะห์ปัญหา
ทักษะด้านเทคโนโลยี ความสามารถในการนำเทคโนโลยีมาใช้ให้เหมาะสม
ทักษะในการเจรจาต่อรอง ไกล่เกลี่ย จัดผลประโยชน์
ตัวอย่างผู้นำ คุณธนินท์ เจียรวนนท์
ท. สองสูง คือ รายได้สูง รายจ่ายสูง
065 บี การเป็นผู้นำ
Power หมายถึง ความสามารถในการใช้อำนาจอย่างมีประสิทธิภาพ และต้องอยู่ภายใต้ขอบเขตของความรับผิดชอบและจริยธรรม
Understanding of people หมายถึง ความสามารถในการเข้าใจเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคลแต่ละคน ต้องใช้วิธีการจูงใจที่แตกต่างกัน
Inspiration หมายถึงความสามารถในการสั่งการ ให้ผู้ใต้บังคังบัญชาทำงานที่ได้รับมอบหมายอย่างเต็มความสามารถ เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การ
Style หมายถึงความสามารถในการสร้างบรรยากาศในองค์กร เพื่อสร้างแรงจูงใจในการทำงาน
แบ่งตามลักษณะ ตามแบบการศึกษา จากลักษณะทางกายภาพ บุคลิกภาพทางสมอง และจิตใจของผู้นำ ได้แก่
การมีความสามารถ ในการวิเคราะห์งานที่สลับซับซ้อน การรวบรวมข้อมูลที่แตกต่างกันเข้าด้วยกัน
มีความอดทน
มีความเฉลียวฉลาด
มีวิจารณญาณ
มีความสามารถในการกระทำ
มีความสามารถในการแก้ปัญหา
มุ่งเน้นเรื่องความสำเร็จ
มีความไวต่อความรู้สึกของคนอื่น
มีส่วนร่วมในฐานะสมาชิกขององค์กร
มีความสามารถในการสื่อสาร
มีพลังด้านจิตวิทยาสูง
มีความสามารถในการปรับตัวและบริหารความเครียด
มีอารมณ์ขัน
เข้าใจเป้าหมายของบุคคลและสามารถนำมาประยุกต์ใช้ เข้ากับเป้าหมายขององค์กร
มีความสามารถในการบริหารเวลา
มีความมานะพากเพียร
มีความซื่อสัตย์
มีความรับผิดชอบต่อสังคม
066 พร คุณลักษณะที่จำเป็น
ต้องกล้าที่จะท้าทายกระบวนการทำงาน เพื่อหาโอกาสเปลี่ยนแปลง
ต้องเหนี่ยวนำชักจูงให้เกิดวิสัยทัศน์ร่วม
ต้องช่วยทำให้คนอื่นสามารถปฏิบัติงานได้
ต้องทำให้เป็นตัวอย่าง
ต้องเสริมสร้างกำลังใจ
068 นัฐ ลักษณะของผู้บริหารที่มีภาวะผู้นำ
ผู้บริหารจะมีวิสัยทัศน์
ผู้บริหารจะสร้างวิสัยทัศน์ใหม่ เพื่อให้จัดตั้งองค์กรขึ้นมาได้
กล้าที่จะกระจายอำนาจและความรับผิดชอบให้กับพนักงาน กระตุ้นให้พนักงานคิดริเริ่ม
ใช้งบประมาณและข้อมูลข่าวสาร เพื่อสร้างวัฒนธรรมการบังคับบัญชาและกระบวนการปฏิบัติงานใหม่
จะบูรณาการทุกกิจกรรม เพื่อให้มีการจัดการเชิงยุทธศาสตร์ อย่างต่อเนื่อง
070 กุ๊กไก่
ต้องหมั่นศึกษาหาความรู้
ต้องมีระบบการติดต่อกับลูกน้อง ที่มีประสิทธิภาพ
รู้จักใช้คน
ต้องติดตามงานอยู่เสมอ ถ้ามีข้อบกพร่องต้องรีบแก้ไข
พิจารณาลำดับความสำคัญของงาน
มีพรหมวิหาร 4 เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา
กระตุ้นให้ลูกน้องแสดงความคิดเห็น
อย่าหูเบา
ยกย่องชมเชย คนทำดี
ดุ เล่นงานลูกน้องอย่างเงียบๆ อย่าให้ใครได้ยิน
สามารถใช้อำนาจ หน้าที่อย่างมีเหตุผล มีประสิทธิภาพ
เข้าใจความต้องการของคน
มีความสามารถสร้างแรงจูงใจ ให้ลูกน้อง
มีความสามารถจัดสภาพแวดล้อมที่กระตุ้นการทำงาน
074 วาว คุณสมบัติของผู้นำที่ดี
มีภูมิหลัง และประสบการณ์
สติปัญญา และสุขภาพจิต ไม่ว่าทางด้านภาษา และการใช้เหตุผล
การมีเหตุผล แยกผิด แยกถูกได้
มีความสามารถในการวินิจฉัย รู้จักคิดอย่างลึกซึ้ง และตัดสินใจได้ถูกต้อง
สามารถจดจำได้ โดยเฉพาะชื่อของลูกน้อง หรือจำเรื่องราวต่างๆ ที่เคยสัญญากันไว้ได้
มีความรอบรู้ เป็นการใฝ่หาความรู้อย่างกว้างขวาง แยกแยะปัญหา เป็นการศึกษาความรู้
มีความยืดหยุ่น เป็นการยืดหยุ่นต่อเหตุการณ์ ไม่ถือตัวเองเป็นหลัก
มีมนุษยสัมพันธ์ เข้ากับผู้อื่นได้ดี
มีแรงจูงใจ ที่ค่อนข้างสูง และเป็นประโยชน์
มีความเชื่อมั่นในตนเองไม่โลเล กล้าตัดสินใจ
มีไหวพริบ สามารถแก้ไขปัญหาตามโอกาสต่างๆ ได้ผล
มีความซื่อสัตย์ ไม่โกง
มีความยุติธรรม ไม่ลำเอียงให้ความเป็นธรรมกับลูกน้องทุกคน
สอนงานคนอื่นๆได้ ถ่ายทอดความชำนาญของตนให้แก่ลูกน้อง
เป็นผู้ฟังที่ดี เพื่อรับข้อมูลจากผู้อื่น และทำให้ผู้พูดเกิดกำลังใจที่จะรับฟัง
มีความคิดสร้างสรรค์ พยายามหาสิ่งที่ทำให้ดียิ่งๆ ขึ้นไป
ความน่าเชื่อถือ เลื่อมใส ศรัทธาตนเองและให้คนอื่นๆ ศรัทธาเราด้วย
ความมีวินัย เคารพกฎเกณฑ์ และปฏิบัติตาม
มีความทะเยอทะยาน เป็นแรงบันดาลใจให้เกิดความคิดริเริ่ม
075 ทราย
ต้องมีสภาพจิตใจที่มั่นคง
มีเมตตากรุณา เสียสละ
มีทัศนคติมุ่งไปข้างหน้า สร้าง แก้ ทางธรรม มองในเชิงบวก
มีความสามารถในการพูด การแสดงออก
มีผลงานจริงจัง
ก่อให้เกิดความน่าเชื่อถือ
การสร้างความสามารถในการบริหาร ประเมินองค์การ
078 ติ๊ก
มีความรู้เกี่ยวกับงานที่ตนเองรับผิดชอบ
มีความเชื่อมั่นในตนเอง
มีความอดทน
มีการตัดสินใจที่ดี
สนใจผู้ใต้บังคับบัญชา
มีมนุษยสัมพันธ์ดี
มีบุคลิกภาพที่ดี
มีความยุติธรรม เห็นใจผู้อื่น
มีสุขภาพ ร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์
มีความคิดริเริ่ม
071 เพชร (เรียนร่วม)
อธิบายที่มาของข้อมูลที่ตนเองมีอยู่ได้
เพื่อให้ผู้ร่วมงานเกิดความเชื่อมั่น
มีความมุ่งมั่นที่จะทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้สำเร็จ
ต้องทำงานมากกว่าลูกน้อง
ต้องมีความเชื่อมั่น ในตนเอง
096 ติ (เรียนร่วม) ผู้นำที่ต้องเข้ามาแก้ไขภาวะวิกฤต
ผู้นำต้องเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับคนในองค์การ เช่น ความซื่อสัตย์ ความมีศักดิ์ศรี
ผู้นำต้องให้คนในองค์การรู้ร่วมกัน เพื่อสร้างวิสัยทัศน์ เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย
ผู้นำนักปฏิบัติที่สามารถจัดการข้ามขอบเขตขององค์การได้
ผู้นำผู้สร้างวัฒนธรรมใหม่ในการทำงาน กล้าที่จะทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลง
034 เม้ง
ความมุ่งมั่นต่อความสำเร็จ
การตั้งและคาดหวังในมาตรฐานที่สูงเช่น ความเป็นเลิศในด้านต่างๆ
การเข้มงวดและยุติธรรม
การให้ความสำคัญกับโอกาส
049 โบ ประเภท ของผู้นำ 7 ประเภท
David Rook & William Torbert
ผู้นำนักฉวยโอกาส ยึดถือความคิดตัวเองเป็นใหญ่
ผู้นำประเภทนักการทูต ชอบสร้างภาพ ให้เป็นที่รักตลอดเวลา
ผู้นำประเภทชำนาญการ จะใช้ความรู้ที่ลุ่มลึกในงานที่ตนรับผิดชอบ
ผู้นำประเภทจัดการ ทำงานทุกอย่างได้ดี ร่วมมือกับผู้อื่น
ผู้นำประเภทข้าแน่คนเดียวคล้ายกับผู้ชำนาญการ แต่จะรู้จักการมองโลกสองด้าน
ผู้นำประเภทนักยุทธศาสตร์ มองเห็นภาพรวมทั้งหมด รู้ว่าสิ่งไหนทำได้หรือไม่ได้
ผู้นำประเภทนักสร้างสรรค์พัฒนา พร้อมที่จะพัฒนาตนเองตลอดเวลา
050 เปิ้ล
การเป็นผู้ที่รู้จักตนเอง
การเป็นผู้ที่รู้จักการวิเคราะห์หาเหตุผล
การเป็นผู้เรียนรู้ตลอดกาล
ความเข้าใจในจิตวิทยาการบริหารงาน
การเป็นคนดี
067 ใหม่
มาร์แชล โกลด์สมิท เป็นผู้รู้ทางด้านผู้นำเชิงกลยุทธ์
ต้องคิดถึงภาพรวมโลก มี สองปัจจัย
การเพิ่มขึ้น ของการค้าระหว่างประเทศ และ
การบูรณาการทางด้านเทคโนโลยี
ต้องเข้าใจความหลากหลายทางวัฒนธรรม ของทีมงานและประเทศที่เข้าไปทำธุรกิจ
ต้องสามารถบริหารจัดการเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องได้
ต้องสร้างหุ้นส่วนทางธุรกิจเพื่อให้สามารถแข่งขันกับตลาดโลกได้
ต้องแบ่งปันประสบการณ์การเป็นผู้นำ
073 ส้ม
ภาวะผู้นำแบบสถาบันมิติ และบุคลามิติ
Getzels Guba มองว่ากระบวนการบริหารเป็นระบบหนึ่ง มีสองมิติ
คือด้านสถาบัน และ ด้านบุคคล
ด้านสถาบันประกอบด้วย บทบาท และความคาดหวัง
ด้านบุคคล ประกอบด้วย บุคคล บุคลิกภาพ และความต้องการ
มิติทั้งสองมีความสัมพันธ์กัน
มี สามแบบ ตามพฤติกรรม ที่กำหนด
ผู้นำแบบเน้นสถาบัน มุ่งหวังให้งานสำเร็จเป็นสำคัญ
ผู้นำแบบยึดบุคคล เน้นความสำคัญของบุคคลในสถาบัน พยายามเข้าใจลูกน้อง สร้างความสัมพันธ์อันดี
ผู้นำแบบผสมผสาน เน้นความสำคัญทั้งสองด้าน ทั้งสถาบันและบุคคลถือว่า เป็นผู้นำที่สมบูรณ์
081 เอิร์ท
ความแตกต่างระหว่างผู้บริหาร กับ ผู้นำ
ภาวะผู้นำที่เป็นทางการ และ ไม่เป็นทางการ
สรุป คุณสมบัติของผู้นำ
ความรู้ ความสามารถ ความฉลาด