หน้าเว็บ

นางสาวฑิตฐิตา มีชูแสง การจัดการทั่วไป ปี4 รหัส 05

ทฤษฎีองค์การก่อนสมัยวิทยาการการจัดการ
โสเครตีส (Socrates) เป็นนักปรัชญาการเมืองซึ่งไม่ปรากฏผลงานเขียนด้วยตนเอง แต่ความคิดเห็นของโสเครติสได้ปรากฏอยู่ในงานเขียนของเพลโต (Plato) เช่นเรื่อง The Republic ซึ่งกล่าวถึงหลังการขององค์การสังคมว่า จะต้องมีการแบ่งงานกันทำ และมีการทำงานตามความสามารถของแต่ละบุคคลในองค์การทางสังคมนั้นๆ ทั้งนี้เนื่องจากปัจเจกชนมีความต้องการหลายประการและไม่สามารถจะสนองความต้องการทุกๆอย่างของตนเองได้ จึงต้องให้ผู้อื่นที่ทำดีกว่าตนช่วยทำให้ ซึ่งตนก็จะสามารถมีสิ่งที่ตนต้องการได้อย่างครบถ้วน เช่น อาหาร เสื้อผ้า รองเท้า เป็นต้น
ในช่วงเวลาต่อมาเพลโตก็ได้ยืนยันแนวความคิดของโสเครตีสในเรื่องการแบ่งงานกันทำตามความรู้ความชำนาญของบุคคลแต่ละประเภท โดยเน้นให้เห็นว่าองค์การเป็นระบบของการให้บริการ ซึ่งสมาชิกในองค์การทุกคนจะต้องมีทั้งการให้และการรับ โดยแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน ภายใต้หลักเกณฑ์พื้นฐานที่สำคัญคือ มีการแบ่งงานกันทำ และการทำงานตามความชำนาญ ซึ่งจะช่วยให้งานง่ายขึ้นแล้ว ยังได้คุณภาพดีด้วย นอกจากนี้เพลโตยังได้เสนอแนวความคิดในการแบ่งคนออกเป็น 3 กลุ่ม คือ ทาสทำงานด้านเกษตรกรรม ชนชั้นอิสระซึ่งไม่ใช่พลเมืองทำงานด้านการค้าและอุตสาหกรรม และบุคคลที่เป็นพลเมือง ให้เป็นผู้รับผิดชอบทำงานเกี่ยวกับการเมืองทั้งหมดของสังคม
และการจัดระเบียบขององค์กรในยุคนั้นคือจะช่วยให้มนุษย์เป็นคนดีได้จำเป็นจะต้องมีหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
- มีการแบ่งงานกันทำ (Division of Labour)
- มีการแบ่งงานกันทำตามความรู้ความชำนาญ (Specialization)
- ใช้หลักการแห่งอำนาจ (Authority) ในการกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในองค์กร
- ใช้หลักประสานความร่วมมือกัน (Co-operation) ของคนในองค์กร
- มีการอำนวยการ (Direction) โดยผู้ออกกฎข้อบังคับ
- หลักการเอกภาพในการบังคับบัญชา (Unity of Command) คือการมีผู้บังคับบัญชาเพียงคนเดียว
- มีสภาวะของผู้นำ (Leadership)
- มีสายการบังคับบัญชาของอำนาจ (Hierarchical Authority)
โดย รศ.ดร.สมิหรา จิตตลดากร พิมพ์ครั้งที่ 3 จัดพิมพ์โดย สำนักพิมพ์คงวุฒิคุณากร พิมพ์ที่ แสงเทียนการพิมพ์
หน้า 53-5

ไม่มีความคิดเห็น: