ทฤษฎีความยุติธรรม (Equity theory) เป็นทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการใช้วิจารณญาณของบุคคลกับความยุติธรรมของรางวัล โดยเปรียบเทียบกับปัจจัยนำเข้า (ประกอบด้วยหลายปัจจัย เช่น ความพยายาม ประสบการณ์ การศึกษา และรางวัล) J. Stacy Adams เป็นผู้กำหนดทฤษฎีความยุติธรรม ลักษณะสำคัญของทฤษฎียุติธรรม ดังสมการ
ผลลัพธ์ของบุคคลหนึ่ง ผลลัพธ์ของอีกบุคคลหนึ่ง
___________________ = ________________________
ปัจจัยนำเข้าของบุคคลหนึ่ง ปัจจัยนำเข้าของอีกบุคคลหนึ่ง
จะต้องมีความสมดุลของความสัมพันธ์ระหว่างผลลัพธ์ต่อปัจจัยนำเข้าของบุคคลหนึ่ง โดยเปรียบเทียบกับอีกบุคคลหนึ่ง ดังนี้
1.ถ้าบุคคลรู้สึกว่าเขาได้รับรางวัลที่ไม่เท่าเทียมกัน เขาจะไม่พอใจ จะลดปริมาณหรือคุณภาพของผลผลิต
2.ถ้าบุคคลได้รับรางวัลเท่าเทียมกัน เขาจะทำงานเพื่อให้ได้ผลผลิตในระดับเดิมต่อไป
3.ถ้าบุคคลคิดว่ารางวัลสูงกว่าสิ่งที่เป็นความยุติธรรม เขาจะทำงานมากขึ้น
ดังนั้นเป็นทางเลือกที่ว่าบางคนอาจจะลดรางวัล สถานการจาก 3ประการ ได้แก่ ความสมดุลและความไม่สมดุลของรางวัล
1.รางวัลที่ไม่ยุติธรรม (ความไม่พึงพอใจผลผลิตลดลง)
2.รางวัลที่ยุติธรรม (ความต่อเนื่องกันในระดับผลผลิตเดียวกัน)
3.เหนือกว่ารางวัลที่ยุติธรรม (งานหนักขึ้นรางวัลลดลง)
ปัญหาที่เกิดขึ้นก็คือ บุคคลจะคาดคะเนผลประโยชน์ของตนเกินจริง และคาดหวังรายได้รางวัลที่ได้รับเกินจริง ความไม่เท่าเทียมกันอาจจะมีเป็นบางครั้งสำหรับพนักงาน ความรู้สึกของความไม่เท่าเทียมกันจะมีผลต่อปฎิกิริยาบางประการ ตัวอย่าง พนักงานอาจจะโกรธหรือตัดสินใจทิ้งงานเพราะเกิดความรู้สึกว่า รางวัลที่ได้ไม่ยุติธรรมเมื่อเปรียบเทียบกับรางวัลของบุคคลอื่น
อ้างอิง : ศิริวรรณ เสรีรัตน์. องค์การและการจัดการ. กรุงเทพฯ, 2542.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น