หน้าเว็บ

นางสาวสุชาดา สุขวงษ์ การจัดการทั่วไป รหัส5210125401002



ระดับ 'ความเขียว' ของธุรกิจ
องค์กรแต่ละองค์กรสามารถเลือกวางนโยบายได้ว่า ตนเองมีความต้องการและความพร้อมที่จะ "เขียว" ขนาดไหน ซึ่งปัจจัยที่นำมาพิจารณาในการเลือกระดับความเขียว (หรือระดับความรับผิดชอบต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม) มีดังนี้

ปัจจัยที่ 1 : ระดับศีลธรรม จริยธรรม ความรับผิดชอบของเจ้าของบริษัทหรือ CEO
คงปฏิเสธไม่ได้ว่า บุคคลที่มีอิทธิพลมากที่สุดในการกำหนดระดับความรับผิดชอบขององค์กรคือ ผู้นำระดับสูงสุดนั่นเอง ดังนั้น ค่านิยมและความเชื่อส่วนตัวของผู้นำจึงเป็นปัจจัยสำคัญที่สุด อันมีผลกระทบต่อความเชื่อ ทัศนคติและพฤติกรรมของพนักงานทั้งองค์กร
ปัจจัยที่ 2 : กฎหมายที่ควบคุมผู้ประกอบการ
ในแต่ละประเทศจะมีกฎข้อบังคับ ข้อกำหนดและแนวทางปฏิบัติต่าง ๆ สำหรับธุรกิจแต่ละประเภทอยู่แล้ว เช่น ต้องมีการบำบัดน้ำเสียอย่างไร ต้องมีการดูแลเรื่องควันพิษอย่างไร ฯลฯ ซึ่งการปฏิบัติตามกฎหมายกำหนดนั้น ถือว่าเป็นการปฏิบัติขั้นต่ำที่สุดแล้ว เพราะถ้าไม่ทำตามก็ถือว่าผิดกฎหมาย อย่างไรก็ตามมีผู้ประกอบการหลายคนไม่สนใจข้อกฎหมาย โดยใช้วิธีหลบเลี่ยงหรือติดสินบนเจ้าหน้าที่รัฐ เพื่อปิดปากไม่ให้เอาเรื่องก็มีถมไป มิฉะนั้นแม่น้ำแม่กลองของเราคงไม่เน่าจนปลาลอยตายเป็นแพให้เห็นอยู่บ่อย ๆ
ปัจจัยที่ 3 : ทัศนคติของผู้บริโภคและสาธารณชน
ปัจจุบันนี้ชาวบ้านอย่างเรา ๆ ท่าน ๆ เริ่มมีหูตากว้างขวางและมีสิทธิมีเสียงมากขึ้น อีกทั้งมีสื่อในรูปแบบต่าง ๆ ช่วยเป็นกระบอกเสียงให้เรา ดังนั้น เมื่อมีผู้เดือดร้อน เช่น เหม็นกลิ่นควัน น้ำเน่า คันตามตัวเพราะพิษจากสารเคมี ฯลฯ จึงสามารถร้องเรียนเรียกค่าเสียหายได้ หรือแม้กระทั่งธุรกิจนั้นยังไม่เปิดกิจการแต่สาธารณชนมีความกังวลห่วงใยว่า จะสร้างผลกระทบทางลบต่อสภาพแวดล้อมความเป็นอยู่ของพวกเขาสาธารณชนก็สามารถทักท้วงหรือประท้วงต่อต้านจนธุรกิจล้มก็ยังไหว
อ้างอิง
http://www.idis.ru.ac.th/report/index.php?topic=2024.0

นางสาวศิรินทรา เรืองรอง การจัดการทั่วไป 5210125401026


บทที่ 11 การบริหารจัดการธุรกิจสีเขียวและการวิเคราะห์ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิต

มหาวิทยาลัยมหาสารคาม  สู่การเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียว
               มหาวิทยาลัยมหาสารคาม  เป็นอีกสถาบันการศึกษาหนึ่งที่คำนึงถึงสภาพสิ่งแวดล้อมในการอยู่อาศัยของนิสิตและ บุคลากร  โดยการบริหารจัดการให้พื้นที่กว่า 1,300 ไร่ แห่งนี้มุ่งหน้าสู่ความเป็น “Green University” หรือ มหาวิทยาลัยสีเขียว” เพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของสถาบันแห่งนี้ให้อยู่กับธรรมชาติอย่างยั่งยืน
               ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศุภชัย  สมัปปิโต  อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาสารคาม  ในฐานะผู้วางนโยบายที่จะผลักดันให้มหาวิทยาลัยมหาสารคาม  สู่ความเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียว เปิดเผยว่า  “เป็นระยะเวลากว่า 3 ปีแล้ว  ที่มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้กำหนดนโยบาย  วางเป้าหมายการดำเนินการของมหาวิทยาลัยอย่างชัดเจน ในการมุ่งสู่ความเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียว (Green University) โดยเริ่มต้นในปี พ.ศ. 2552 เป็นต้นมาโดยมีหลักการ 5 ประการ คือ
การอนุรักษ์พลังงาน
การรักษาความปลอดภัย
การดำเนินการเกี่ยวกับการจราจรมหาวิทยาลัย
การจัดการของเสีย
การจัดการขยะมูลฝอยแบบบูรณาการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
               แผนทั้งหมดนี้ได้ถูกถ่ายทอดออกมาเป็นโครงการต่างๆ เช่น โครงการเพิ่มพื้นที่สีเขียว โดยการปลูกหญ้า  ปลูกต้นไม้  ระบบพาหนะเดินทางในมหาวิทยาลัยมหาสารคาม  ก็ได้นำรถรางประหยัดพลังงานมาบริการบุคลากรและนิสิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม

นอกจากนี้ยังมีโครงการที่สร้างสิ่งแวดล้อมสีเขียวและสร้างรายได้ให้กับนิสิต เจ้าหน้าที่ และประชาชนของรอบมหาวิทยาลัย  คือโครงการธนาคารขยะรีไซเคิล ที่ทางมหาวิทยาลัยรับนำซื้อขยะแห้ง อาทิ กระดาษ พลาสติก ขวดแก้ว เพื่อปลูกฝังการคัดแยกขยะก่อนทิ้ง โครงการผลิตปุ๋ยชีวภาพจกกิ่งไม้  นำปุ๋ยที่ได้ไปใช้บำรุงต้นไม้ในมหาวิทยาลัย โครงการแปลงผักปลอดสารพิษ  โดยการเปลี่ยนพื้นที่ว่างเป็นแปลงผักสวนครัว และนำผลผลิตมาขายในราคาย่อมเยา
การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเป็นงานที่ต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจ ไม่เฉพาะแต่นิสิต แต่รวมถึงบุคลากรทุกฝ่ายและประชาชนในชุมชนใกล้เคียงอีกด้วย ในระยะแรกอาจจะมีกระแสที่ไม่เห็นด้วยกับการทุ่มในด้านการใช้งบประมาณในการพัฒนาในส่วนของระบบกายภาพของมหาวิทยาลัย แต่เมื่อเริ่มเห็นความเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ ก็จะเริ่มรู้สึกว่าทุกคนได้มีส่วนร่วม ทำให้มหาวิทยาลัยเป็นมหาวิทยาลัยที่น่าอยู่ และสามารถรองรับแหล่งท่องเที่ยว พักผ่อนหย่อนใจ ต้อนรับญาติพี่น้องที่มาเยี่ยมเยียนบุตรหลาน ได้ในหลายๆมุมมองของมหาวิทยาลัยมหาสารคามอีกด้วย
นี่ไม่ได้เป็นเพียงต้นแบบแห่งการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเท่านั้น แต่มีเป้าหมายระยะยาวที่จะสร้างความเปลี่ยนแปลงในด้านอื่นๆ คือ จะสะท้อนให้เห็นความเชื่อมโยงระหว่างมหาวิทยาลัยกับสังคมรอบข้าง การสร้างจิตสำนึก  จิตสาธารณะ และสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างคนในมหาวิทยาลัยอีกด้วย
อ้างอิง http://www.web.msu.ac.th/

นางสาววัชรี ทองห่อ รหัส 5210125401052 เอกการจัดการทั่วไป ปี 4


บทที่ 7
การพัฒนาองค์การไปสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้และการพัฒนาอย่างยั่งยืน
การพัฒนาองค์การ
ความหมายของการพัฒนาองค์การ
การพัฒนาองค์การ เป็นการวางแผนระยะยาวที่จะเพิ่มประสิทธิภาพขององค์การ  โดยใช้ความรู้ทางพฤติกรรมศาสตร์เป็นแกนนำ
วัตถุประสงค์ของการพัฒนาองค์การ
อุทัย  หิรัญโต  (2526 : 220) ได้กล่าวถึงวัตถุประสงค์ของการพัฒนาองค์การไวดังนี้
การพัฒนาองค์การมีวัตถุประสงค์ที่สำคัญ 7  ประการ คือ
1.  เพื่อพัฒนาปรับปรุงเปลี่ยนแปลงองค์การให้ทันสมัย และให้มีระบบที่สามารถเปลี่ยนแปลงและปรับตัวได้อย่างคล่องแคล่วกับสภาพงานในทุกๆ ลักษณะอยู่เสมอ
2.  เพื่อเพิ่มประสิทธิภายในการบริหาร  โดยการคิดค้นหาเทคนิคใหม่ๆ มาใช้
3.  เพื่อส่งเสริมให้เกิดความรู้สึกร่วมมือและร่วมใจกันอย่างเต็มที่ในการแก้ปัญหาต่างๆ และให้ทุกคนในองค์การมองเป็นผลประโยชน์ร่วมกัน
4.  เพื่อเพิ่มพูนสัมพันธภาพอันดีระหว่างหน่วยงานต่างๆ  รวมถึงผู้บังคับบัญชาและผู้ใต้บังคับบัญชาทุกระดับชั้นขององค์การด้วย
5.  เพื่อส่งเสริมให้บุคคลในทุกระดับชั้นขององค์การได้วางแผนปฏิบัติงาน  โดยยึดถือเป้าหมายเป็นหลัก  หรือวัตถุประสงค์รวมขององค์การเป็นแนวทาง
6.  เพื่อเพิ่มความไว้เนื้อเชื่อใจ หรือความไว้ว่างใจกันในบรรดาสมาชิกขององค์การ  โดยการสร้างบรรยากาศที่เป็นกันเองและอบอุ่น
7.  เพื่อสร้างระบบการสื่อสารเปิด  โดยให้สมาชิกขององค์การมีการติดต่อและเข้าในกันทุกวิถีทาง
หลักการพัฒนาองค์การ
ในการพัฒนาองค์การมีหลักการดังนี้
1.  มุ่งกระทำต่อองค์การเป็นส่วนรวม
2.  เน้นการพัฒนาองค์การให้ใหม่อยู่เสมอ
3.  ลดความขัดแย้งภายในและภายนอกองค์การ
4.  ใช้ความรู้ทางพฤติกรรมศาสตร์ในการแก้ปัญหา
5.  ยึดถือวิธีการทำงานเป็นทีม
6.  สร้างความรู้สึกเป็นเจ้าของร่วมกันในมวลสมาชิก
7.  ให้โอกาสแก่สมาชิกในการช่วยกันแก้ปัญหา
8.  สร้างบรรยากาศที่ดีในการทำงาน
ขั้นตอนในการพัฒนาองค์การ
ขั้นที่ 1  การสร้างความเข้าใจ   เป็นการสร้างความเข้าใจให้แก่ผู้บังคับบัญชาหรือหัวหน้าหน่วยงานได้เป็นความสำคัญในการพัฒนาองค์การ  และเตรียมพร้อมในการวางแผน  เพื่อรับสถานการณ์ดังกล่าว
ขั้นที่ 2   การรวบรวมปัญหา   เป็นการรวบรวมปัญหาและวิเคราะห์ปัญหาขององค์การ  ตลอดจนจัดลำดับความสำคัญของปัญหาและจุดอ่อนจุดแข็งขององค์การด้วย
ขั้นที่ 3  การวางแผนเพื่อพัฒนาองค์การ  เป็นการวางแผนเพื่อกำหนดเป้าหมายและวิธีการ ในการแก้ปัญหาเพื่อพัฒนาองค์การ  โดยเน้นการทำงานร่วมกันเป็นทีม และการสร้างขวัญและกำลังในแก่สมาชิกในองค์การ
ขั้นที่ 4  การสร้างกลุ่มเพื่อพัฒนาองค์การ  เป็นการรวมกลุ่มทีมงานในองค์การ  แต่ละทีมจะประกอบไปด้วยหัวหน้าหน่วยงานหรือหัวหน้างานและสมาชิกที่เกี่ยวข้องในแต่ละระดับ  ร่วมกันคิดร่วมกันทำ  สร้างความรู้สึกที่ดีในการทำงานร่วมกัน  ขจัดปัญหาส่วนตัว ลดการมีทิฐิมานะ  การอิจฉาริษยาและการนินทาว่าร้ายกัน  ทุกทีมทำงานเพื่อพัฒนาองค์การ
ขั้นที่ 5  การสอดแทรกกิจกรรมเพื่อพัฒนาองค์การ  เป็นการวางแผนเพื่อเริ่มต้นกิจกรรมในการพัฒนาองค์การ  โดยเริ่มต้นจากการแต่งตั้งเจ้าหน้าที่หรือคณะที่ปรึกษา  ให้เป็นเจ้าหน้าที่หรือคณะที่ปรึกษาการพัฒนาองค์การโดยเฉพาะอาจจะเป็นวิทยากรจากภายนอกหรือบุคลากรที่มีความรู้ในด้านนี้ภายในองค์การก็ได้
ขั้นที่ 6  การติดตามและประเมินผลการพัฒนาองค์การ  เป็นการทบทวนผลจากการจัดกิจกรรมต่างๆ ในการพัฒนาองค์การ  เพื่อเป็นข้อมูลในการพัฒนาองค์การต่อไป
โดยสรุป  การพัฒนาองค์การเป็นหลักการที่ดี  ซึ่งโดยปกติองค์การย่อมได้รับการพัฒนาตามธรรมชาติอยู่แล้ว  แต่อาจจะไม่ทันการณ์จึงต้องใช้วิธีพัฒนาองค์การอย่างเป็นระบบ  เป็นการพัฒนาทั้งระบบ  โดยใช้หลักทฤษฎีพฤติกรรมศาสตร์ผสมผสานกับการวิจัยเชิงปฏิบัติการเป็นการเปิดโอกาสให้สมาชิกเป็นเจ้าขององค์การ  มีส่วนร่วมในการบริหารองค์การและปฏิบัติงานเพื่อองค์การ  ตามหลักการที่ว่า  องค์การเป็นของสมาชิก  โดยสมาชิกและเพื่อสมาชิก ซึ่งจะทำให้สมาชิกองค์การรู้สึกภาคภูมิใจและเป็นสุขในการปฏิบัติงาน
อ้างอิง :  องค์การและการจัดการ . ผศ. ศิริอร   ขันธหัตถ์ . พ.ศ. 2536


น.ส.พิศมัย โพธิ์เลิศ 050 การจัดการทั่วไป


การแข่งขันตลาดโลกและการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน

การสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน  6 มิติ


ในยุคที่การแข่งขันมีความรุนแรง  การมุ่งเน้นกลยุทธ์การสร้างความได้เปรียบเพียงกลยุทธ์เดียวอาจส่งผลให้องค์กรไม่สามารถปรับตัวให้

สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปได้ทันท่วงที องค์กรที่ประสบความสำเร็จหลายแห่งได้ใช้กลยุทธ์ที่หลากหลายในการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันให้เกิดขึ้น มิใช่มุ่งเน้นกลยุทธ์เฉพาะเพียงด้านใดด้านหนึ่งเท่านั้น  แต่องค์กรเหล่านี้อาจเริ่มต้นจากการใช้กลยุทธ์เพียงกลยุทธ์เดียวในการแข่งขัน เช่นDell Computer ที่ดำเนินธุรกิจจำหน่ายคอมพิวเตอร์ ได้เริ่มต้นธุรกิจด้วยการมุ่งเน้นการลดต้นทุน ขั้นตอนในการทำธุรกิจจะเริ่มจากเมื่อได้รับคำสั่งซื้อจากลูกค้า แล้วบริษัทจะติดต่อไปยังผู้ผลิตอุปกรณ์ชิ้นส่วนประกอบคอมพิวเตอร์ทันที  เพื่อให้นำชิ้นส่วนมาส่งและประกอบเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์  เสร็จแล้วก็จะดำเนินการจัดส่งให้ลูกค้าทันที  เราจะเห็นได้ว่า Dell  ไม่มีการเก็บสินค้าไว้ที่คลังสินค้าเลย  การบริหารสินค้าเช่นนี้จัดได้ว่าเป็นการมุ่งเน้นทางการลดต้นทุน  โดยเฉพาะต้นทุนของสินค้าคงคลัง  ต่อมาเมื่อการแข่งขันในธุรกิจจำหน่ายคอมพิวเตอร์มีความรุ่นแรงมากขึ้น  Dell  จึงได้นำเอากลยุทธ์ด้านอื่น ๆมาใช้ เช่น การบริการส่งสินค้าอย่างรวดเร็ว  การเน้นคุณภาพของสินค้าและการรับประกัน เป็นต้น
การสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันให้เกิดขึ้นนั้นมาจากการใช้กลยุทธ์ 6 ประการด้วยกัน ซึ่งองค์กรสามารถเริ่มต้นจากกลยุทธ์ใดกลยุทธ์หนึ่งก่อนก็ได้

แต่องค์กรจะต้องมีการพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพของกลยุทธ์ทุกกลยุทธ์ให้มีความเข้มแข็งด้วยกัน  ดังต่อไปนี้

1.  ความได้เปรียบจากการเป็นผู้เข้าสู่ตลาดรายแรก (customer market advantage) ประเด็นแรกที่องค์กรจะต้องให้ความสำคัญคือการสร้างตลาดใหม่หรือเป็นผู้คิดริเริ่มใหม่ ๆ ให้กับลูกค้าซึ่งการริเริ่มในสิ่งที่คู่แข่งยังไม่สามารถทำได้นั้น

จะทำให้องค์กรปราศจากการแข่งขันซึ่งนับได้ว่าเป็นความได้เปรียบอย่างดีเยี่ยมและเป็นจุดเริ่มต้นแห่งความสำเร็จในอนาคต เช่น Xerox  ได้ริเริ่มทำธุรกิจการถ่ายเอกสารเป็นเจ้าแรก  ลักษณะการทำธุรกิจของ  Xerox จึงมีความโดดเด่นเป็นพิเศษภายใต้การจดทะเบียนขอสิทธิบัตร  ด้วยเหตุนี้เองการตลาดของ  Xerox จึงมีความแตกต่างในด้านการนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่มีความโดดเด่นและเหนือกว่าและไม่มีองค์กรใดสามารถทำธุรกิจได้เหมือนกับ Xerox อาจกล่าวได้ว่าเป็นการสร้างความได้เปรียบในการแข่งในเรื่องการเข้าสู่การตลาดเป็นรายแรก


2.  ความได้เปรียบในการนำเสนอผลิตภัณฑ์หรือบริการที่โดดเด่นกว่าคู่แข่ง (product and service advantage) องค์กรใดก็ตามที่สามารถตอบสนองต่อความพึงพอใจของผู้บริโภคที่มีความโดดเด่น  องค์กรนั้นถือได้ว่าเป็นองค์กรที่ใช้กลยุทธ์การสร้างความแตกต่าง  ซึ่งการสร้างความแตกต่างนี้หากจะมองย้อนกลับไปในอดีตแล้ว  เราจะพบว่าองค์กรหลายแห่งได้ใช้กลยุทธ์นี้มานานแล้ว  และมีการพัฒนาไปสู่ความได้เปรียบในการแข่งขันในระยะยาว  เช่น  Samsung  เป็นบริษัทที่จะหน่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่หรือมือถือที่เน้นรูปแบบ  สีสัน  และความทันสมัยของรูปลักษณ์ภายนอก  โดยเฉพาะอย่างยิ่งหน้าจอสีที่มีความคมชัดกว่ายี่ห้ออื่น ส่งผลให้มือถือของ Samsung มีความโดดเด่นและไม่เหมือนคู่แข่งขันรายอื่น  อย่างไรก็ตาม  ข้อด้อยของกลยุทธ์นี้ก็คือคู่แข่งขันสามารถลอกเลียนแบบได้ง่าย  ด้วยเหตุนี้  องค์กรที่ใช้กลยุทธ์ดังกล่าวจะต้องมีการปรับปรุงและพัฒนาผลิตภัณฑ์ของตนเองอยู่เสมอเพื่อให้ก้าวล้ำกว่าของคู่แข่ง


3.  ความได้เปรียบในการสร้างห่วงโซ่คุณค่าหรือระบบธุรกิจ (Business system/value chain advantage) การบริหารกิจกรรมทางธุรกิจเพื่อให้บรรลุเป้าหมายองค์กร เรียกว่าการบริหารห่วงโซ่คุณค่าหรือระบบธุรกิจ   กิจกรรมทางธุรกิจจะเริ่มต้นจากการวิจัยและการพัฒนาผลิตภัณฑ์ การผลิตการขาย  การตลาด  การจัดจำหน่าย  และการบริการหลังการขาย  หากองค์กรธุรกิจมีความโดดเด่นในกิจกรรมทางธุรกิจ   กิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่งก็จะส่งผลให้องค์กรนั้นมีความได้เปรียบทางการแข่งขันในเรื่องนั้น ๆ หลายองค์กรพยายามสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันโดยมุ่งเฉพาะกิจกรรมทางธุรกิจที่องค์กรถนัดและมุ่งการการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง  ส่งผลให้องค์กรนั้นมีกลยุทธ์ที่เหนือกว่าคู่แข่งขัน  และกลายเป็นจุดแข็งหรือเอกลักษณ์ขององค์กรในที่สุด เช่น  บริษัท พรอกเตอร์แอนด์แกมบิล (P&G) จำกัด   มีความเชี่ยวชาญทางการตลาด  บริษัท โซนี่ จำกัด  บริษัทที่เน้นนวัตกรรมในการออกแบบผลิตภัณฑ์ได้ตรงตามความต้องของลูกค้า  บริษัท  โตโยต้า  จำกัด  เน้นประสิทธิภาพในการผลิต  และ American Express บริษัทที่ให้การบริการลูกค้าได้อย่างประทับใจ  เป็นต้น
แนวทางที่จะเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารห่วงโซ่คุณค่า  ก็คือการติดต่อประสานงานระหว่างหน่วยงานในองค์กรเพื่อให้กิจกรรมต่าง ๆ ดำเนินไปได้ด้วยดีในบางครั้งองค์กรจำเป็นจะต้องมีการออกแบบโครงสร้างกรใหม่  เพื่อปรับรูปแบบ  และระบบการดำเนินธุรกิจให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น  ตัวอย่างขององค์กรธุรกิจที่ประสบความสำเร็จในการปรับเปลี่ยนระบบการดำเนินธุรกิจ  ก็คือสายการบิน  Southwest สายการบิน Southwest มีกำไรเพิ่มขึ้นจาการปรับระบบธุรกิจให้สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้า ไม่ว่าจะเป็นเรื่องขั้นตอนการเลือกที่นั่งของลูกค้าหรือการให้บริการลูกค้าสรุปแล้วจะเห็นได้ว่าห่วงโซ่คุณค่านั้นมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อองค์กรธุรกิจที่

จำหน่ายผลิตภัณฑ์และธุรกิจขายบริหารจำไว้ว่าการจะทำให้ห่วงโซ่คุณค่าขององค์กรมีความโดดเด่นและเหนือกว่าคู่แข่งขันนั้น  องค์กรจำเป็นจะต้องกำหนดวัตถุประสงค์ของกิจกรรมทุก ๆ กิจกรรมไว้อย่างชัดเจน  และให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน


4.  ความได้เปรียบของแหล่งทรัพยากร (System assets / resources advantages) ทรัพยากรขององค์กรประกอบไปด้วยสินทรัพย์ที่ตัวตน เช่น ผลิตภัณฑ์และอาคาร และสินทรัพย์ที่ไม่มีตัวตน เช่น ลิขสิทธิ์ ตราสินค้า และชื่อเสียงขององค์กร องค์กรส่วนใหญ่จะใช้ประโยชนจากทรัพยากรที่มีอยู่ในการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันให้เกิดขึ้น ซึ่งการใช้ทรัพยากรเพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันให้เกิดขึ้นนี้ เรียกว่าAsset Based Competitive Advantages เช่น Coca – Cola เป็นบริษัทที่มีชื่อเสียงทางด้านเครื่องดื่มน้ำอัดลมจนเป็นที่รู้จักกันทั่วโลกมีมูลค่าของตราสินค้า  (brand equity) สูงมาก ประกอบกับ Coca – Cola  มีระบบการจัดจำหน่ายสินค้าที่มีประสิทธิภาพ  มีทรัพยากรในการขนส่งสินค้าอย่างครบครัน  ปัจจุบัน Coca – Cola  มีความได้เปรียบทางการแข่งขันในด้านทรัพยากรที่มีอยู่  นั่นคือระบบการจัดจำหน่ายที่มีประสิทธิภาพและตราสินค้าที่มีชื่อเสียง


5.  ความได้เปรียบในเรื่องพันธมิตร (Partner advantage) การมีพันธมิตรที่ดีจะช่วยสนับสนุนให้องค์กรสามารถพัฒนาธุรกิจอย่างรวดเร็ว หลายองค์กรพยายามค้นหาคู่ค้าเพื่อสร้างเป็นพันธมิตรในการทำธุรกิจระยะยาว เช่น Rover ได้ประสบปัญหาด้านธุรกิจจำหน่ายรถยนต์กับสภาวะการขาดทุนและไม่สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้อีกจนกระทั่ง Honda ได้เข้ามาร่วมลงทุนขอเป็นพันธมิตรด้วยและได้ช่วยทำให้ Rover สามารถขายกิจการของตนเองได้กับ BMW ได้  การสร้างพันธมิตรทางธุรกิจไม่ใช่เรื่องง่ายที่องค์กรใดก็สามารถทำได้  องค์กรจะต้องมีการคัดเลือกพันธมิตรให้เหมาะสมกับองค์กรของตน  เปรียบเสมือนการรวมจุดแข็งขององค์กรสองฝ่ายเข้าด้วยกันเพื่อสร้างผลประโยชน์สูงสุดให้เกิดขึ้นและนำไปสู่ความได้เปรียบทางการแข่งขันต่อไป


ระดับ 'ความเขียว' ของธุรกิจ
         
          การดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมไม่ใช่เรื่องที่ทำได้ง่าย ๆ หรือไร้ค่าใช้จ่าย ในทางตรงกันข้ามมันเป็นเรื่องที่มีความสลับซับซ้อนและมีค่าใช้จ่ายแฝงอยู่ด้วยพอสมควร (หรืออาจแพงมาก ขึ้นอยู่กับประเภทของธุรกิจ) จะอาศัยเพียงจิตสำนึกความรับผิดชอบเพียงปัจจัยเดียวไม่เพียงพอ แต่ในขณะเดียวกัน ถ้าไม่มีจิตสำนึกรับผิดชอบเอาเสียเลย โลกของเราคงถล่มทลายแน่จากปัญหา global warming (ภาวะโลกร้อน) คงกลายเป็น global boiling (ภาวะโลกเดือดพล่าน) เป็นแน่

          องค์กรแต่ละองค์กรสามารถเลือกวางนโยบายได้ว่า ตนเองมีความต้องการและความพร้อมที่จะ "เขียว" ขนาดไหน ซึ่งปัจจัยที่นำมาพิจารณาในการเลือกระดับความเขียว (หรือระดับความรับผิดชอบต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม) มีดังนี้

ปัจจัยที่ 1 : ระดับศีลธรรม จริยธรรม ความรับผิดชอบของเจ้าของบริษัทหรือ CEO
          คงปฏิเสธไม่ได้ว่า บุคคลที่มีอิทธิพลมากที่สุดในการกำหนดระดับความรับผิดชอบขององค์กรคือ ผู้นำระดับสูงสุดนั่นเอง ดังนั้น ค่านิยมและความเชื่อส่วนตัวของผู้นำจึงเป็นปัจจัยสำคัญที่สุด อันมีผลกระทบต่อความเชื่อ ทัศนคติและพฤติกรรมของพนักงานทั้งองค์กร

ปัจจัยที่ 2 : กฎหมายที่ควบคุมผู้ประกอบการ
          ในแต่ละประเทศจะมีกฎข้อบังคับ ข้อกำหนดและแนวทางปฏิบัติต่าง ๆ สำหรับธุรกิจแต่ละประเภทอยู่แล้ว เช่น ต้องมีการบำบัดน้ำเสียอย่างไร ต้องมีการดูแลเรื่องควันพิษอย่างไร ฯลฯ ซึ่งการปฏิบัติตามกฎหมายกำหนดนั้น ถือว่าเป็นการปฏิบัติขั้นต่ำที่สุดแล้ว เพราะถ้าไม่ทำตามก็ถือว่าผิดกฎหมาย อย่างไรก็ตามมีผู้ประกอบการหลายคนไม่สนใจข้อกฎหมาย โดยใช้วิธีหลบเลี่ยงหรือติดสินบนเจ้าหน้าที่รัฐ เพื่อปิดปากไม่ให้เอาเรื่องก็มีถมไป มิฉะนั้นแม่น้ำแม่กลองของเราคงไม่เน่าจนปลาลอยตายเป็นแพให้เห็นอยู่บ่อย ๆ

ปัจจัยที่ 3 : ทัศนคติของผู้บริโภคและสาธารณชน
          ปัจจุบันนี้ชาวบ้านอย่างเรา ๆ ท่าน ๆ เริ่มมีหูตากว้างขวางและมีสิทธิมีเสียงมากขึ้น อีกทั้งมีสื่อในรูปแบบต่าง ๆ ช่วยเป็นกระบอกเสียงให้เรา ดังนั้น เมื่อมีผู้เดือดร้อน เช่น เหม็นกลิ่นควัน น้ำเน่า คันตามตัวเพราะพิษจากสารเคมี ฯลฯ จึงสามารถร้องเรียนเรียกค่าเสียหายได้ หรือแม้กระทั่งธุรกิจนั้นยังไม่เปิดกิจการแต่สาธารณชนมีความกังวลห่วงใยว่า จะสร้างผลกระทบทางลบต่อสภาพแวดล้อมความเป็นอยู่ของพวกเขาสาธารณชนก็สามารถทักท้วงหรือประท้วงต่อต้านจนธุรกิจล้มก็ยังไหว

          ดังนั้น ผู้ประกอบธุรกิจจึงต้องใคร่ครวญปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้ให้ดีว่า บริษัทของตนเองควรจะมีความเขียวในระดับใดจึงจะเหมาะสมกับเงื่อนไขต่าง ๆ นี้
คำว่า "ธุรกิจสีเขียว" หมายถึงบริษัทหรือองค์กรภาคธุรกิจ ที่มีความตั้งใจที่จะดำเนินธุรกิจของตนโดยไม่ปรารถนาที่จะทำให้เกิดผลกระทบเชิงลบใด ๆ ต่อสภาพแวดล้อมของโลก และต่อสภาพแวดล้อมของท้องถิ่น ชุมชน และสังคมที่อยู่รอบข้าง และยังอาจมีความหมายรวมไปถึง การไม่ต้องการสร้างผลกระทบร้ายแรงต่อระบบเศรษฐกิจ

นางสาวผกามาศ มุขศรี 5210125401001


บทที่ 9 การบริหารการเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาอย่างยั่งยืน
องค์กร กับการพัฒนาอย่างยั่งยืน
     องค์กรที่ดีควรมีความเจริญก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง และความต่อเนื่อง อละการพัฒนาที่ขาดการต่อเนื่องย่อมไม่ดีแน่ ดังนั้นจึงขอแนะนำ การพัฒนาองค์การอย่างเป็นระบบ อย่าง่าย ควรมีการสร้างแผนแม่แบบในการเปลี่ยนแปลง จะต้องมีการประเมินสถานการณ์ขององค์การ เพื่อให้เห็นช่องว่างของความแตกต่างระหว่างองค์การในปัจจุบันกับองค์การที่ควรจะเป็นในอนาคต หลังจากนั้นจะต้องมีการวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรคขององค์การ เพื่อที่จะนำจุดแข็งขององค์การมาผลักดันการพัฒนาองค์การ โดยมีกลไกการควบคุมทิศทางที่แน่นอน การพัฒนาองค์การจะต้องพิจารณาว่าองค์การที่จะพัฒนาเป็นแบบเปิดหรือแบบปิด ถ้าเป็นองค์การแบบเปิด ทุกคนจะต้องมีส่วนร่วมแก้ปัญหาร่วมรับผิดชอบ โดยเน้นที่เป้าหมายขององค์การเป็นหลัก ลักษณะโครงสร้างขององค์การจะเป็นแบบกว้าง  อาศัยการให้คำแนะนำมากกว่าสั่งการ  การบริหารงานลักษณะนี้ พนักงานจะมีความซื่อสัตย์และมีจิตสำนึกในความสำเร็จของงานมากกว่าตัวบุคคล แต่ถ้าหากองค์การเป็นแบบปิดหรือแบบระบบราชการ การพัฒนาองค์การจะทำได้ยากลำบาก ทั้งนี้เนื่องมาจากมีการแบ่งงานตามหน้าที่ ลักษณะงาน ซ้ำๆ กัน  มีความรับผิดชอบตามหน้าที่ของหน่วยงานที่สังกัดอยู่ มีสายการบังคับบัญชาในลักษณะแนวดิ่ง ยึดถือตัวบุคคลเป็นหลักไม่เน้นทีมงานและความสำคัญของงาน ลักษณะเช่นนี้พัฒนาได้ยาก เนื่องจากมีแรงต้านมากเห็นแก่ญาติพวกพ้องครอบครัว  ผู้บริหารสูญเสียอำนาจมีความเกรงอก เกรงใจ ไม่สามารถบริหารงานให้บรรลุเป้าหมายได้ สาเหตุที่องค์การจะต้องมีการพัฒนาเพื่อช่วยให้หน่วยงานมีกฎระเบียบน้อยลง  และให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาขจัดอุปสรรคในการติดต่อสื่อสาร มุ่งเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์การและสร้างความรู้สึกเป็นเจ้าของ สนับสนุนให้ทำงานร่วมกันระหว่างแผนกเพื่อเป้าหมายขององค์การที่สูงขึ้น นอกจากนั้นยังเกิดจากแรงผลักดันภายในและแรงผลักดันภายนอกที่ทำให้องค์การต้องพัฒนา แรงผลักภายในหมายความถึงการเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์ การเปลี่ยนโครงสร้างใหม่ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมองค์การ ค่านิยม วัฒนธรรม ความอึดอัดในการทำงาน ความขัดแย้งในกฎระเบียบ อัตราการเข้าออกของพนักงานสูง  ส่วนแรงผลักดันภายนอก ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงในวงการธุรกิจ เช่น การเปลี่ยนแปลงของตลาด การเปลี่ยนแปลงกำลังคน การขาดแคลนแรงงาน การหันมาใช้เครื่องจักร การไม่สามารถบริการลูกค้าได้ การเปลี่ยนผู้บริหาร และการนำเทคโนโลยีใหม่เข้ามาใช้ การพัฒนาองค์การจะต้องเปลี่ยนแปลงระบบทั้งหมดขององค์การ เช่น แรงงานคน  โครงสร้างและระบบงาน  งานและปัญหา เทคโนโลยี โดยมีสิ่งแวดล้อมเป็นตัวประกอบ เช่น สังคม การเมือง และเศรษฐกิจ โดยมีแรงผลักดันภายนอกและภายในเป็นตัวกระตุ้นให้มีการปรับโครงสร้างเดิมให้เป็นโครงสร้างใหม่

อ้างอิง: http://www.classifiedthai.com/content.php?article=16029
บทที่ 10 การแข่งขันในตลาดโลกและการปรับตัวเพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน
การแข่งขันในตลาดโลก 
         บริษัท ฮอนด้า มอเตอร์ จำกัด ประเทศญี่ปุ่น ประกาศว่าฮอนด้าจะเดินหน้านำเสนอคุณค่าใหม่ๆ สู่สังคมโลก และให้ความสำคัญกับความพึงพอใจของลูกค้าเป็นหลัก โดยจะมุ่งพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อสิ่งแวดล้อม ส่งมอบผลิตภัณฑ์ที่ดี มี Co2 ต่ำ ในราคาย่อมเยาให้กับลูกค้าอย่างรวดเร็ว ฮอนด้าได้กำหนดเป็นกลยุทธ์การดำเนินงานของบริษัทไว้ 3 ประการด้วยกันคือ มุ่งพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อสิ่งแวดล้อม ยกระดับความเข้มแข็งด้านการผลิต และเสริมสร้างการเติบโตทางธุรกิจในตลาดใหม่ๆ โดยภูมิภาคเอเชียยังคงมีบทบาทในการเป็นฐานการผลิตและส่งออกที่สำคัญของฮอนด้า
          นายทาคาโนบุ อิโต้ ประธานกรรมการบริหารและซีอีโอ บริษัท ฮอนด้า มอเตอร์ จำกัด ได้กล่าวในงานแถลงข่าวกลางปีที่สำนักงานวาโกะ ประเทศญี่ปุ่นว่า ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาตลาดรถนั่งขนาดเล็กทั่วโลกมีอัตราการขยายตัวเพิ่มมากขึ้น เนื่องมาจากความตระหนักด้านสิ่งแวดล้อมและวิกฤตการณ์การเงินโลก ตลอดจนโครงสร้างของเศรษฐกิจโลกที่เปลี่ยนแปลงไป ฮอนด้าต้องตอบสนองอย่างรวดเร็วต่อการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว เพื่อให้องค์กรสามารถเติบโตและแข่งขันได้
          “ในสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่มีความเข้มงวดมากขึ้น ฮอนด้าจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องย้อนกลับไปที่หลักการดำเนินงานพื้นฐานของบริษัท ที่ให้ความสำคัญกับมุมมองของลูกค้า เราได้กำหนดทิศทางการดำเนินงานในอีก 10 ปีข้างหน้าไว้ว่า เราจะส่งมอบผลิตภัณฑ์ที่ดี มี Co2 ต่ำในราคาที่ย่อมเยาให้กับลูกค้าอย่างรวดเร็ว ผลิตภัณฑ์ที่ดีนั้นหมายถึงผลิตภัณฑ์ซึ่งมีความดึงดูดใจที่ลูกค้าต้องการ และสร้างสรรค์ขึ้นจากเทคโนโลยีที่ฮอนด้าพัฒนาขึ้นเอง ผลิตภัณฑ์ที่ดีนั้นจะต้องส่งมอบได้เร็ว และต้องมีราคาที่ย่อมเยาซึ่งจะทำให้ลูกค้ามีความสุขที่ได้ซื้อผลิตภัณฑ์นั้น
            คำว่า ‘มี CO2 ต่ำ’ ได้สะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของฮอนด้า ที่ต้องการจัดการกับปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจัง ”
            แล้วกล่าวเสริมอีกว่า ฮอนด้าได้ให้ความสำคัญในการลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมมาโดยตลอด เห็นได้จากการแนะนำผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมออกสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง เช่น รถไฮบริดรุ่นอินไซท์ และซีอาร์-ซี จากนี้ต่อไป
            ฮอนด้าจะมุ่งพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้นอีก โดยจะเพิ่มจำนวนรุ่นรถที่ใช้ระบบไฮบริดให้มากขึ้น เริ่มจากฟิต ไฮบริด ซึ่งจะจำหน่ายในประเทศญี่ปุ่นช่วงฤดูใบไม้ร่วงปีนี้ และจะพัฒนาระบบไฮบริดในรถขนาดกลางและขนาดใหญ่ รวมถึงรถที่ใช้ระบบไฮบริดแบบปลั๊ก-อินด้วย ทั้งนี้เพื่อให้สามารถตอบสนองความต้องการที่หลากหลายของลูกค้าให้ได้มากที่สุด นอกจากนี้ฮอนด้าจะเดินหน้าพัฒนารถไฟฟ้าที่ใช้แบตเตอรี่ โดยมีเป้าหมายที่จะนำมาใช้จริงให้เร็วที่สุด โดยจะเริ่มจำหน่ายในประเทศญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกาในปี 2012 อย่างไรก็ตาม ฮอนด้ายังให้ความสำคัญกับการพัฒนารถที่ใช้เชื้อเพลิงเบนซินโดยในปี 2012 ฮอนด้าจะพัฒนาเครื่องยนต์และระบบเกียร์เพื่อให้มีอัตราการประหยัดน้ำมันที่เพิ่มมากขึ้น
           นอกจากนี้ฮอนด้ามีแผนจะเปิดให้เช่าใช้ จักรยานยนต์ไฟฟ้ารุ่น อีวี นีโอ แก่องค์กรธุรกิจในประเทศญี่ปุ่นในเดือนธันวาคมปีนี้ และจะแนะนำจักรยานยนต์ไฟฟ้ารุ่นใหม่ในประเทศจีนในปีหน้า ฮอนด้าจะทำตลาดจักรยานยนต์ไฟฟ้าทั้งในประเทศที่พัฒนาแล้ว และประเทศที่กำลังเติบโตทางเศรษฐกิจ โดยจะพัฒนาสมรรถนะของตัวรถให้ดียิ่งขึ้น และทำราคาให้สามารถแข่งขันได้เพื่อที่จะก้าวสู่การเป็นผู้นำในตลาดจักรยานยนต์ไฟฟ้า เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายการสร้างความพึงพอใจสูงสุดแก่ลูกค้า ด้วยการแนะนำผลิตภัณฑ์ที่มี CO2 ต่ำออกสู่ตลาดอย่างรวดเร็ว
             ฮอนด้าจะยกระดับความเข้มแข็งด้านการผลิต โดยสร้างองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีการผลิต โรงงานต้นแบบในประเทศญี่ปุ่นจะมุ่งเน้นเทคโนโลยีในการผลิตรถยนต์ขนาดเล็กและรถยนต์เพื่อสิ่งแวดล้อม โดยจะขยายองค์ความรู้และเทคโนโลยีดังกล่าวออกไปสู่โรงงานฮอนด้าในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ภายใต้นโยบาย “ผลิตในที่ที่มีความต้องการ” ฮอนด้าจะเสริมสร้างเครือข่ายการผลิตระหว่างโรงงาน และระหว่างประเทศเพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นด้านการผลิต ด้วยวิธีนี้ ฮอนด้าจะสามารถ สร้างระบบการผลิตที่แข็งแกร่ง และทำให้ฮอนด้ามีศักยภาพในการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงที่รุนแรงในตลาดได้ดียิ่งขึ้น
             ด้านการเสริมสร้างการเติบโตทางธุรกิจในตลาดใหม่ๆ นั้น ในประเทศที่กำลังเติบโตทางเศรษฐกิจ จักรยานยนต์นับเป็นส่วนหนึ่งในการดำเนินชีวิตประจำวันของผู้คน ประชากรจำนวนมากและตลาดขนาดใหญ่ที่มีศักยภาพในประเทศเหล่านั้น กำลังจะกลายมาเป็นกลุ่มลูกค้าหลักของฮอนด้า โดยมีคู่แข่งสำคัญได้แก่ ผู้ผลิตจากจีน และอินเดีย หากฮอนด้าต้องการที่จะรักษาความเป็นผู้นำตลาด ฮอนด้าต้องไม่เพียงแค่รักษาคุณภาพที่ดีของผลิตภัณฑ์ไว้เท่านั้น แต่ต้องทำราคาให้สามารถแข่งขันได้ในตลาดนั้นด้วย และเพื่อสร้างความดึงดูดใจในตัวผลิตภัณฑ์ ฮอนด้าจะเพิ่มความสามารถในการแข่งขันด้านราคา โดยจะพยายามใช้ชิ้นส่วนและวัตถุดิบภายในประเทศที่ผลิตให้มากที่สุด ตามที่เคยทำในประเทศไทยมากว่า 40 ปี ปัจจุบันโรงงานผลิตรถจักรยานยนต์ในประเทศไทยได้เติบโตขึ้นเป็นฐานการผลิตรถจักรยานยนต์ที่จำหน่ายออกไป
               ทั่วโลก (Global Model) เช่น สกู๊ตเตอร์รุ่น PCX ที่ผลิตและเปิดตัวครั้งแรกในประเทศไทยเมื่อปีที่ผ่านมา และส่งออกไปยังประเทศต่างๆทั่วโลก โดยในปลายปีนี้ฮอนด้ามีแผนจะเปิดตัวจักรยานยนต์สปอร์ตรุ่นใหม่ในประเทศไทย และจะส่งออกไปจำหน่ายทั่วโลกเช่นกัน
               ภูมิภาคเอเชียยังเป็นฐานการผลิตที่สำคัญของฮอนด้า โดยในปีหน้าฮอนด้าจะเปิดโรงงานแห่งใหม่ในประเทศอินโดนีเซีย เพื่อขยายกำลังการผลิตจักรยานยนต์ ซึ่งภายหลังจากการเริ่มเดินสายพานการผลิตในช่วงปลายปีหน้า กำลังการผลิตจักรยานยนต์ฮอนด้าในภูมิภาคเอเชีย(ไม่รวมญี่ปุ่น) จะเพิ่มขึ้นจากปัจุบัน 16 ล้านคันต่อปีเป็น 18 ล้านคันต่อปี จากจำนวนการผลิตที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้ฮอนด้าสามารถรวมทุกขั้นตอนมาไว้ในภูมิภาคเดียวกัน ตั้งแต่การวิจัยและพัฒนา การจัดซื้อชิ้นส่วน และการผลิต ซึ่งจะทำให้ฮอนด้ามีศักยภาพในการแข่งขันที่สูงขึ้น และสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น
               สำหรับธุรกิจรถยนต์ ฮอนด้าจะพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันในประเทศที่กำลังเติบโตทางเศรษฐกิจ ซึ่งตลาดรถนั่งขนาดเล็กกำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยจะเร่งให้เกิดการพัฒนาฐานการผลิตรถในภูมิภาคโดยใช้แม่พิมพ์ วัตถุดิบ ตลอดจนชิ้นส่วนที่ผลิตขึ้นเองภายในภูมิภาค ในปีหน้านี้ฮอนด้าจะเปิดตัวอีโคคาร์ในประเทศไทย ซึ่งเป็นรถที่มีอัตราการประหยัดน้ำมันเป็นเลิศ โดยจะผลิตและส่งออกไปจำหน่ายยังกลุ่มประเทศอาเซียน นอกจากนั้นยังมีแผนที่จะเปิดตัวรถขนาดเล็กในประเทศอินเดีย ซึ่งจะใช้โครงสร้างตัวถังเดียวกันกับอีโคคาร์อีกด้วย

บทที่ 11 การบริหารจัดการธุรกิจสีเขียวและการวิเคราะห์ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และคุณภาพชีวิต

อุตสาหกรรมสีเขียว
กระทรวงอุตสาหกรรม จัดพิธีเปิดโครงการ “อุตสาหกรรมสีเขียว” อย่างยิ่งใหญ่ ภายหลังได้รับเสียงตอบรับสมัครเข้าร่วมโครงการฯถึง 984 สถานประกอบการพร้อมทั้งจัดเสวนาในการพัฒนาอุตสาหกรรมสีเขียว เพื่อเป็นแนวทางแก่สถานประกอบการที่เข้าร่วมโครงการฯ
     การดำเนินงานในโครงการ อุตสาหกรรมสีเขียว ซึ่งมีกระทรวงอุตสาหกรรม ในฐานะที่เป็นหน่วยงานหลักในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทย ได้กำหนดยุทธศาสตร์ในการพัฒนาอุตสาหกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อมและสังคมโดยดำเนินการในเชิงรุกมุ่งเน้นในการส่งเสริมและพัฒนาภาคอุตสาหกรรมให้เติบโตและพัฒนาอย่างยั่งยืนเพื่อให้เป็นรูปธรรม และเพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระชนมพรรษาครบ7 รอบในปีมหามงคล พ.ศ. 2554 นี้ กระทรวงอุตสาหกรรมได้ผนึกกำลังกับทุกหน่วยงานของกระทรวงอุตสาหกรรมรวมถึงสถาบันเครือข่ายสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดและนิคมอุตสาหกรรมทั่วประเทศส่งเสริมให้สถานประกอบการทั่วประเทศใส่ใจในการดำเนินธุรกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องสู่การเป็น “อุตสาหกรรมสีเขียว” ใน5 ระดับได้แก่
ระดับที่1 ความมุ่งมั่นสีเขียว(Green Commitment) คือความมุ่งมั่นที่จะลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและมีการสื่อสารภายในองค์กรให้ทราบโดยทั่วกัน
ระดับที่2 ปฏิบัติการสีเขียว(Green Activity) คือการดำเนินกิจกรรมเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้สำเร็จตามความมุ่งมั่นที่ตั้งไว้
ระดับที่3 ระบบสีเขียว(Green System) คือการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นระบบมีการติดตามประเมินผลและทบทวนเพื่อการพัฒนาอย่างต่อเนื่องรวมถึงการได้รับรางวัลด้านสิ่งแวดล้อมที่เป็นที่ยอมรับและการรับรองมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมต่างๆ
ระดับที่4 วัฒนธรรมสีเขียว(Green Culture) คือการที่ทุกคนในองค์กรให้ความร่วมมือร่วมใจดำเนินงานอย่างเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในทุกด้านของการประกอบกิจการจนกลายเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมองค์กร
ระดับที่5 เครือข่ายสีเขียว(Green Network) คือการแสดงถึงการขยายเครือข่ายตลอดห่วงโซ่อุปทานสีเขียวโดยสนับสนุนให้คู่ค้าและพันธมิตรเข้าสู่กระบวนการรับรองอุตสาหกรรมสีเขียวด้วย
อ้างอิง: กรมโรงงานอุตสาหกรรม 75/6 ถ.พระรามที่ 6 แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400 โทร. 66-(02)-202-4000, 4014 โทรสาร 66-(02)-354-3390 email: pr@diw.go.thCopyright © 2011 Diw.go.th. All rights reserved. 

นุชนภางค์ สงคราม 5130125401219 การจัดการทั่วไป



บทที่ 10 การแข่งขันในตลาดโลกและการปรับตัวเพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน
การสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน  6 มิติ

ในยุคที่การแข่งขันมีความรุนแรง  การมุ่งเน้นกลยุทธ์การสร้างความได้เปรียบเพียงกลยุทธ์เดียวอาจส่งผลให้องค์กรไม่สามารถปรับตัวให้
สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปได้ทันท่วงที องค์กรที่ประสบความสำเร็จหลายแห่งได้ใช้กลยุทธ์ที่หลากหลายในการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันให้เกิดขึ้น มิใช่มุ่งเน้นกลยุทธ์เฉพาะเพียงด้านใดด้านหนึ่งเท่านั้น  แต่องค์กรเหล่านี้อาจเริ่มต้นจากการใช้กลยุทธ์เพียงกลยุทธ์เดียวในการแข่งขัน เช่นDell Computer ที่ดำเนินธุรกิจจำหน่ายคอมพิวเตอร์ ได้เริ่มต้นธุรกิจด้วยการมุ่งเน้นการลดต้นทุน ขั้นตอนในการทำธุรกิจจะเริ่มจากเมื่อได้รับคำสั่งซื้อจากลูกค้า แล้วบริษัทจะติดต่อไปยังผู้ผลิตอุปกรณ์ชิ้นส่วนประกอบคอมพิวเตอร์ทันที  เพื่อให้นำชิ้นส่วนมาส่งและประกอบเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์  เสร็จแล้วก็จะดำเนินการจัดส่งให้ลูกค้าทันที  เราจะเห็นได้ว่า Dell  ไม่มีการเก็บสินค้าไว้ที่คลังสินค้าเลย  การบริหารสินค้าเช่นนี้จัดได้ว่าเป็นการมุ่งเน้นทางการลดต้นทุน  โดยเฉพาะต้นทุนของสินค้าคงคลัง  ต่อมาเมื่อการแข่งขันในธุรกิจจำหน่ายคอมพิวเตอร์มีความรุ่นแรงมากขึ้น  Dell  จึงได้นำเอากลยุทธ์ด้านอื่น ๆมาใช้ เช่น การบริการส่งสินค้าอย่างรวดเร็ว  การเน้นคุณภาพของสินค้าและการรับประกัน เป็นต้น
การสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันให้เกิดขึ้นนั้นมาจากการใช้กลยุทธ์ 6 ประการด้วยกัน ซึ่งองค์กรสามารถเริ่มต้นจากกลยุทธ์ใดกลยุทธ์หนึ่งก่อนก็ได้ แต่องค์กรจะต้องมีการพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพของกลยุทธ์ทุกกลยุทธ์ให้มีความเข้มแข็งด้วยกัน  ดังต่อไปนี้
1.  ความได้เปรียบจากการเป็นผู้เข้าสู่ตลาดรายแรก (customer market advantage) ประเด็นแรกที่องค์กรจะต้องให้ความสำคัญคือการสร้างตลาดใหม่หรือเป็นผู้คิดริเริ่มใหม่ ๆ ให้กับลูกค้าซึ่งการริเริ่มในสิ่งที่คู่แข่งยังไม่สามารถทำได้นั้น
จะทำให้องค์กรปราศจากการแข่งขันซึ่งนับได้ว่าเป็นความได้เปรียบอย่างดีเยี่ยมและเป็นจุดเริ่มต้นแห่งความสำเร็จในอนาคต เช่น Xerox  ได้ริเริ่มทำธุรกิจการถ่ายเอกสารเป็นเจ้าแรก  ลักษณะการทำธุรกิจของ  Xerox จึงมีความโดดเด่นเป็นพิเศษภายใต้การจดทะเบียนขอสิทธิบัตร  ด้วยเหตุนี้เองการตลาดของ  Xerox จึงมีความแตกต่างในด้านการนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่มีความโดดเด่นและเหนือกว่าและไม่มีองค์กรใดสามารถทำธุรกิจได้เหมือนกับ Xerox อาจกล่าวได้ว่าเป็นการสร้างความได้เปรียบในการแข่งในเรื่องการเข้าสู่การตลาดเป็นรายแรก

2.  ความได้เปรียบในการนำเสนอผลิตภัณฑ์หรือบริการที่โดดเด่นกว่าคู่แข่ง (product and service advantage) องค์กรใดก็ตามที่สามารถตอบสนองต่อความพึงพอใจของผู้บริโภคที่มีความโดดเด่น  องค์กรนั้นถือได้ว่าเป็นองค์กรที่ใช้กลยุทธ์การสร้างความแตกต่าง  ซึ่งการสร้างความแตกต่างนี้หากจะมองย้อนกลับไปในอดีตแล้ว  เราจะพบว่าองค์กรหลายแห่งได้ใช้กลยุทธ์นี้มานานแล้ว  และมีการพัฒนาไปสู่ความได้เปรียบในการแข่งขันในระยะยาว  เช่น  Samsung  เป็นบริษัทที่จะหน่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่หรือมือถือที่เน้นรูปแบบ  สีสัน  และความทันสมัยของรูปลักษณ์ภายนอก  โดยเฉพาะอย่างยิ่งหน้าจอสีที่มีความคมชัดกว่ายี่ห้ออื่น ส่งผลให้มือถือของ Samsung มีความโดดเด่นและไม่เหมือนคู่แข่งขันรายอื่น  อย่างไรก็ตาม  ข้อด้อยของกลยุทธ์นี้ก็คือคู่แข่งขันสามารถลอกเลียนแบบได้ง่าย  ด้วยเหตุนี้  องค์กรที่ใช้กลยุทธ์ดังกล่าวจะต้องมีการปรับปรุงและพัฒนาผลิตภัณฑ์ของตนเองอยู่เสมอเพื่อให้ก้าวล้ำกว่าของคู่แข่ง

3.  ความได้เปรียบในการสร้างห่วงโซ่คุณค่าหรือระบบธุรกิจ (Business system/value chain advantage) การบริหารกิจกรรมทางธุรกิจเพื่อให้บรรลุเป้าหมายองค์กร เรียกว่าการบริหารห่วงโซ่คุณค่าหรือระบบธุรกิจ   กิจกรรมทางธุรกิจจะเริ่มต้นจากการวิจัยและการพัฒนาผลิตภัณฑ์ การผลิตการขาย  การตลาด  การจัดจำหน่าย  และการบริการหลังการขาย  หากองค์กรธุรกิจมีความโดดเด่นในกิจกรรมทางธุรกิจ   กิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่งก็จะส่งผลให้องค์กรนั้นมีความได้เปรียบทางการแข่งขันในเรื่องนั้น ๆ หลายองค์กรพยายามสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันโดยมุ่งเฉพาะกิจกรรมทางธุรกิจที่องค์กรถนัดและมุ่งการการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง  ส่งผลให้องค์กรนั้นมีกลยุทธ์ที่เหนือกว่าคู่แข่งขัน  และกลายเป็นจุดแข็งหรือเอกลักษณ์ขององค์กรในที่สุด เช่น  บริษัท พรอกเตอร์แอนด์แกมบิล (P&G) จำกัด   มีความเชี่ยวชาญทางการตลาด  บริษัท โซนี่ จำกัด  บริษัทที่เน้นนวัตกรรมในการออกแบบผลิตภัณฑ์ได้ตรงตามความต้องของลูกค้า  บริษัท  โตโยต้า  จำกัด  เน้นประสิทธิภาพในการผลิต  และ American Express บริษัทที่ให้การบริการลูกค้าได้อย่างประทับใจ  เป็นต้น
แนวทางที่จะเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารห่วงโซ่คุณค่า  ก็คือการติดต่อประสานงานระหว่างหน่วยงานในองค์กรเพื่อให้กิจกรรมต่าง ๆ ดำเนินไปได้ด้วยดีในบางครั้งองค์กรจำเป็นจะต้องมีการออกแบบโครงสร้างกรใหม่  เพื่อปรับรูปแบบ  และระบบการดำเนินธุรกิจให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น  ตัวอย่างขององค์กรธุรกิจที่ประสบความสำเร็จในการปรับเปลี่ยนระบบการดำเนินธุรกิจ  ก็คือสายการบิน  Southwest สายการบิน Southwest มีกำไรเพิ่มขึ้นจาการปรับระบบธุรกิจให้สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้า ไม่ว่าจะเป็นเรื่องขั้นตอนการเลือกที่นั่งของลูกค้าหรือการให้บริการลูกค้าสรุปแล้วจะเห็นได้ว่าห่วงโซ่คุณค่านั้นมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อองค์กรธุรกิจที่จำหน่ายผลิตภัณฑ์และธุรกิจขายบริหารจำไว้ว่าการจะทำให้ห่วงโซ่คุณค่าขององค์กรมีความโดดเด่นและเหนือกว่าคู่แข่งขันนั้น  องค์กรจำเป็นจะต้องกำหนดวัตถุประสงค์ของกิจกรรมทุก ๆ กิจกรรมไว้อย่างชัดเจน  และให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน

4.  ความได้เปรียบของแหล่งทรัพยากร (System assets / resources advantages) ทรัพยากรขององค์กรประกอบไปด้วยสินทรัพย์ที่ตัวตน เช่น ผลิตภัณฑ์และอาคาร และสินทรัพย์ที่ไม่มีตัวตน เช่น ลิขสิทธิ์ ตราสินค้า และชื่อเสียงขององค์กร องค์กรส่วนใหญ่จะใช้ประโยชนจากทรัพยากรที่มีอยู่ในการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันให้เกิดขึ้น ซึ่งการใช้ทรัพยากรเพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันให้เกิดขึ้นนี้ เรียกว่าAsset Based Competitive Advantages เช่น Coca – Cola เป็นบริษัทที่มีชื่อเสียงทางด้านเครื่องดื่มน้ำอัดลมจนเป็นที่รู้จักกันทั่วโลกมีมูลค่าของตราสินค้า  (brand equity) สูงมาก ประกอบกับ Coca – Cola  มีระบบการจัดจำหน่ายสินค้าที่มีประสิทธิภาพ  มีทรัพยากรในการขนส่งสินค้าอย่างครบครัน  ปัจจุบัน Coca – Cola  มีความได้เปรียบทางการแข่งขันในด้านทรัพยากรที่มีอยู่  นั่นคือระบบการจัดจำหน่ายที่มีประสิทธิภาพและตราสินค้าที่มีชื่อเสียง

5.  ความได้เปรียบในเรื่องพันธมิตร (Partner advantage) การมีพันธมิตรที่ดีจะช่วยสนับสนุนให้องค์กรสามารถพัฒนาธุรกิจอย่างรวดเร็ว หลายองค์กรพยายามค้นหาคู่ค้าเพื่อสร้างเป็นพันธมิตรในการทำธุรกิจระยะยาว เช่น Rover ได้ประสบปัญหาด้านธุรกิจจำหน่ายรถยนต์กับสภาวะการขาดทุนและไม่สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้อีกจนกระทั่ง Honda ได้เข้ามาร่วมลงทุนขอเป็นพันธมิตรด้วยและได้ช่วยทำให้ Rover สามารถขายกิจการของตนเองได้กับ BMW ได้  การสร้างพันธมิตรทางธุรกิจไม่ใช่เรื่องง่ายที่องค์กรใดก็สามารถทำได้  องค์กรจะต้องมีการคัดเลือกพันธมิตรให้เหมาะสมกับองค์กรของตน  เปรียบเสมือนการรวมจุดแข็งขององค์กรสองฝ่ายเข้าด้วยกันเพื่อสร้างผลประโยชน์สูงสุดให้เกิดขึ้นและนำไปสู่ความได้เปรียบทางการแข่งขันต่อไป

6.  ความได้เปรียบในการประหยัดต้นทุนในการผลิต  (Scale and scope advantage) องค์กรสามารถสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันให้เกิดขึ้นได้ด้วยการมุ่งเน้นการสร้าง Economies of Scope นั่นคือ ความสามารถในการลดต้นทุนโดยใช้ทรัพยากรร่วมกันของหน่วยธุรกิจต่าง ๆ เราจะสังเกตเห็นได้ว่าโรงงานขนาดใหญ่มักจะมีต้นทุนการผลิตต่อหน่วยต่ำเนื่องจากผลิตสินค้าหลายประเภทเป็นจำนวนมาก   จึงสามารถให้ทรัพยากรในการผลิตร่วมได้ก่อให้เกิดการประหยัดต้นทุนในการผลิต ส่วนหลักการของ Economies of Scale จะเน้นไปในเรื่องของการผลิตในปริมาณที่มากเพื่อให้ต้นทุนต่อหน่วยต่ำลง



บทที่ 11  การบริหารจัดการธุรกิจสีเขียวและการวิเคราะห์ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
  ประเทศไทยมุ่งสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนตามที่ได้ให้สัตยาบันรับรองปฏิญญาโจฮันเนสเบิร์ก (Johannesburg Declaration
on Sustainable Development) เมื่อปี พ.ศ.2545 และปฏิญญา มะนิลาว่าด้วยอุตสาหกรรมสีเขียว (Manila Declarationon Green Industry in Asia) เมื่อปี พ.ศ.2552 กระทรวงอุตสาหกรรมซึ่งเป็นหน่วยงานหลักในการพัฒนาเศรษฐกิจของ
ประเทศไทยจึงได้กำหนดยุทธศาสตร์ในการพัฒนาอุตสาหกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อมและสังคม โดยดำเนินการในเชิงรุก มุ่งเน้นในการส่งเสริมและพัฒนาภาคอุตสาหกรรมให้เติบโตและพัฒนาอย่างยั่งยืน เพื่อให้เป็นรูปธรรมจึงได้เริ่มโครงการอุตสาหกรรมสีเขียว (Green Industry) ขึ้น เพื่อส่งเสริมภาคอุตสาหกรรมให้มีการประกอบการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและสังคมส่งผลให้ภาคอุตสาหกรรมมีภาพลักษณ์ที่ดี น่าเชื่อถือและประชาชนไว้วางใจ และเกิดการสร้างเศรษฐกิจสีเขียวซึ่งจะทำให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมสีเขียวของประเทศ (Green GDP) มีมูลค่าสูงขึ้นด้วย
      ดังนั้นเพื่อเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระชนมพรรษาครบ 7 รอบ ในปีมหามงคล พ.ศ.2554 นี้กระทรวง  อุตสาหกรรมได้ผนึกกำลังกับทุกหน่วยงานของกระทรวงอุตสาหกรรม รวมถึงสถาบันเครือข่าย สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดและนิคมอุตสาหกรรมทั่วประเทศส่งเสริมให้สถานประกอบการทั่วประเทศใส่ใจในการดำเนินธุรกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องสู่การเป็น “อุตสาหกรรมสีเขียว” ใน 5 ระดับ ได้แก่
ระดับที่ 1 ความมุ่งมั่นสีเขียว (Green Commitment) คือความมุ่งมั่นที่จะลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและมีการสื่อสารภายในองค์กรให้ทราบโดยทั่วกัน
ระดับที่ 2 ปฏิบัติการสีเขียว (Green Activity) คือการดำเนินกิจกรรมเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้สำเร็จตามความมุ่งมั่นที่ตั้งไว้
ระดับที่ 3 ระบบสีเขียว (Green System) คือการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นระบบ มีการติดตามประเมินผล และทบทวนเพื่อการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการได้รับรางวัลด้านสิ่งแวดล้อมที่เป็นที่ยอมรับ และการรับรองมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมต่างๆ
ระดับที่ 4 วัฒนธรรมสีเขียว (Green Culture) คือการที่ทุกคนในองค์กรให้ความร่วมมือร่วมใจดำเนินงานอย่างเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ในทุกด้านของการประกอบกิจการจนกลายเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมองค์กร
ระดับที่ 5 เครือข่ายสีเขียว (Green Network) คือการแสดงถึงการขยายเครือข่ายตลอดห่วงโซ่อุปทานสีเขียว โดยสนับสนุนให้คู่ค้าและพันธมิตรเข้าสู่กระบวนการรับรองอุตสาหกรรมสีเขียวด้วย