หน้าเว็บ

นางสาววัชรี ทองห่อ รหัส 5210125401052 เอกการจัดการทั่วไป ปี 4


บทที่ 7
การพัฒนาองค์การไปสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้และการพัฒนาอย่างยั่งยืน
การพัฒนาองค์การ
ความหมายของการพัฒนาองค์การ
การพัฒนาองค์การ เป็นการวางแผนระยะยาวที่จะเพิ่มประสิทธิภาพขององค์การ  โดยใช้ความรู้ทางพฤติกรรมศาสตร์เป็นแกนนำ
วัตถุประสงค์ของการพัฒนาองค์การ
อุทัย  หิรัญโต  (2526 : 220) ได้กล่าวถึงวัตถุประสงค์ของการพัฒนาองค์การไวดังนี้
การพัฒนาองค์การมีวัตถุประสงค์ที่สำคัญ 7  ประการ คือ
1.  เพื่อพัฒนาปรับปรุงเปลี่ยนแปลงองค์การให้ทันสมัย และให้มีระบบที่สามารถเปลี่ยนแปลงและปรับตัวได้อย่างคล่องแคล่วกับสภาพงานในทุกๆ ลักษณะอยู่เสมอ
2.  เพื่อเพิ่มประสิทธิภายในการบริหาร  โดยการคิดค้นหาเทคนิคใหม่ๆ มาใช้
3.  เพื่อส่งเสริมให้เกิดความรู้สึกร่วมมือและร่วมใจกันอย่างเต็มที่ในการแก้ปัญหาต่างๆ และให้ทุกคนในองค์การมองเป็นผลประโยชน์ร่วมกัน
4.  เพื่อเพิ่มพูนสัมพันธภาพอันดีระหว่างหน่วยงานต่างๆ  รวมถึงผู้บังคับบัญชาและผู้ใต้บังคับบัญชาทุกระดับชั้นขององค์การด้วย
5.  เพื่อส่งเสริมให้บุคคลในทุกระดับชั้นขององค์การได้วางแผนปฏิบัติงาน  โดยยึดถือเป้าหมายเป็นหลัก  หรือวัตถุประสงค์รวมขององค์การเป็นแนวทาง
6.  เพื่อเพิ่มความไว้เนื้อเชื่อใจ หรือความไว้ว่างใจกันในบรรดาสมาชิกขององค์การ  โดยการสร้างบรรยากาศที่เป็นกันเองและอบอุ่น
7.  เพื่อสร้างระบบการสื่อสารเปิด  โดยให้สมาชิกขององค์การมีการติดต่อและเข้าในกันทุกวิถีทาง
หลักการพัฒนาองค์การ
ในการพัฒนาองค์การมีหลักการดังนี้
1.  มุ่งกระทำต่อองค์การเป็นส่วนรวม
2.  เน้นการพัฒนาองค์การให้ใหม่อยู่เสมอ
3.  ลดความขัดแย้งภายในและภายนอกองค์การ
4.  ใช้ความรู้ทางพฤติกรรมศาสตร์ในการแก้ปัญหา
5.  ยึดถือวิธีการทำงานเป็นทีม
6.  สร้างความรู้สึกเป็นเจ้าของร่วมกันในมวลสมาชิก
7.  ให้โอกาสแก่สมาชิกในการช่วยกันแก้ปัญหา
8.  สร้างบรรยากาศที่ดีในการทำงาน
ขั้นตอนในการพัฒนาองค์การ
ขั้นที่ 1  การสร้างความเข้าใจ   เป็นการสร้างความเข้าใจให้แก่ผู้บังคับบัญชาหรือหัวหน้าหน่วยงานได้เป็นความสำคัญในการพัฒนาองค์การ  และเตรียมพร้อมในการวางแผน  เพื่อรับสถานการณ์ดังกล่าว
ขั้นที่ 2   การรวบรวมปัญหา   เป็นการรวบรวมปัญหาและวิเคราะห์ปัญหาขององค์การ  ตลอดจนจัดลำดับความสำคัญของปัญหาและจุดอ่อนจุดแข็งขององค์การด้วย
ขั้นที่ 3  การวางแผนเพื่อพัฒนาองค์การ  เป็นการวางแผนเพื่อกำหนดเป้าหมายและวิธีการ ในการแก้ปัญหาเพื่อพัฒนาองค์การ  โดยเน้นการทำงานร่วมกันเป็นทีม และการสร้างขวัญและกำลังในแก่สมาชิกในองค์การ
ขั้นที่ 4  การสร้างกลุ่มเพื่อพัฒนาองค์การ  เป็นการรวมกลุ่มทีมงานในองค์การ  แต่ละทีมจะประกอบไปด้วยหัวหน้าหน่วยงานหรือหัวหน้างานและสมาชิกที่เกี่ยวข้องในแต่ละระดับ  ร่วมกันคิดร่วมกันทำ  สร้างความรู้สึกที่ดีในการทำงานร่วมกัน  ขจัดปัญหาส่วนตัว ลดการมีทิฐิมานะ  การอิจฉาริษยาและการนินทาว่าร้ายกัน  ทุกทีมทำงานเพื่อพัฒนาองค์การ
ขั้นที่ 5  การสอดแทรกกิจกรรมเพื่อพัฒนาองค์การ  เป็นการวางแผนเพื่อเริ่มต้นกิจกรรมในการพัฒนาองค์การ  โดยเริ่มต้นจากการแต่งตั้งเจ้าหน้าที่หรือคณะที่ปรึกษา  ให้เป็นเจ้าหน้าที่หรือคณะที่ปรึกษาการพัฒนาองค์การโดยเฉพาะอาจจะเป็นวิทยากรจากภายนอกหรือบุคลากรที่มีความรู้ในด้านนี้ภายในองค์การก็ได้
ขั้นที่ 6  การติดตามและประเมินผลการพัฒนาองค์การ  เป็นการทบทวนผลจากการจัดกิจกรรมต่างๆ ในการพัฒนาองค์การ  เพื่อเป็นข้อมูลในการพัฒนาองค์การต่อไป
โดยสรุป  การพัฒนาองค์การเป็นหลักการที่ดี  ซึ่งโดยปกติองค์การย่อมได้รับการพัฒนาตามธรรมชาติอยู่แล้ว  แต่อาจจะไม่ทันการณ์จึงต้องใช้วิธีพัฒนาองค์การอย่างเป็นระบบ  เป็นการพัฒนาทั้งระบบ  โดยใช้หลักทฤษฎีพฤติกรรมศาสตร์ผสมผสานกับการวิจัยเชิงปฏิบัติการเป็นการเปิดโอกาสให้สมาชิกเป็นเจ้าขององค์การ  มีส่วนร่วมในการบริหารองค์การและปฏิบัติงานเพื่อองค์การ  ตามหลักการที่ว่า  องค์การเป็นของสมาชิก  โดยสมาชิกและเพื่อสมาชิก ซึ่งจะทำให้สมาชิกองค์การรู้สึกภาคภูมิใจและเป็นสุขในการปฏิบัติงาน
อ้างอิง :  องค์การและการจัดการ . ผศ. ศิริอร   ขันธหัตถ์ . พ.ศ. 2536


ไม่มีความคิดเห็น: