หน้าเว็บ

นางสาวศิรินทรา เรืองรอง การจัดการทั่วไป 5210125401026


บทที่ 11 การบริหารจัดการธุรกิจสีเขียวและการวิเคราะห์ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิต

มหาวิทยาลัยมหาสารคาม  สู่การเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียว
               มหาวิทยาลัยมหาสารคาม  เป็นอีกสถาบันการศึกษาหนึ่งที่คำนึงถึงสภาพสิ่งแวดล้อมในการอยู่อาศัยของนิสิตและ บุคลากร  โดยการบริหารจัดการให้พื้นที่กว่า 1,300 ไร่ แห่งนี้มุ่งหน้าสู่ความเป็น “Green University” หรือ มหาวิทยาลัยสีเขียว” เพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของสถาบันแห่งนี้ให้อยู่กับธรรมชาติอย่างยั่งยืน
               ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศุภชัย  สมัปปิโต  อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาสารคาม  ในฐานะผู้วางนโยบายที่จะผลักดันให้มหาวิทยาลัยมหาสารคาม  สู่ความเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียว เปิดเผยว่า  “เป็นระยะเวลากว่า 3 ปีแล้ว  ที่มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้กำหนดนโยบาย  วางเป้าหมายการดำเนินการของมหาวิทยาลัยอย่างชัดเจน ในการมุ่งสู่ความเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียว (Green University) โดยเริ่มต้นในปี พ.ศ. 2552 เป็นต้นมาโดยมีหลักการ 5 ประการ คือ
การอนุรักษ์พลังงาน
การรักษาความปลอดภัย
การดำเนินการเกี่ยวกับการจราจรมหาวิทยาลัย
การจัดการของเสีย
การจัดการขยะมูลฝอยแบบบูรณาการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
               แผนทั้งหมดนี้ได้ถูกถ่ายทอดออกมาเป็นโครงการต่างๆ เช่น โครงการเพิ่มพื้นที่สีเขียว โดยการปลูกหญ้า  ปลูกต้นไม้  ระบบพาหนะเดินทางในมหาวิทยาลัยมหาสารคาม  ก็ได้นำรถรางประหยัดพลังงานมาบริการบุคลากรและนิสิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม

นอกจากนี้ยังมีโครงการที่สร้างสิ่งแวดล้อมสีเขียวและสร้างรายได้ให้กับนิสิต เจ้าหน้าที่ และประชาชนของรอบมหาวิทยาลัย  คือโครงการธนาคารขยะรีไซเคิล ที่ทางมหาวิทยาลัยรับนำซื้อขยะแห้ง อาทิ กระดาษ พลาสติก ขวดแก้ว เพื่อปลูกฝังการคัดแยกขยะก่อนทิ้ง โครงการผลิตปุ๋ยชีวภาพจกกิ่งไม้  นำปุ๋ยที่ได้ไปใช้บำรุงต้นไม้ในมหาวิทยาลัย โครงการแปลงผักปลอดสารพิษ  โดยการเปลี่ยนพื้นที่ว่างเป็นแปลงผักสวนครัว และนำผลผลิตมาขายในราคาย่อมเยา
การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเป็นงานที่ต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจ ไม่เฉพาะแต่นิสิต แต่รวมถึงบุคลากรทุกฝ่ายและประชาชนในชุมชนใกล้เคียงอีกด้วย ในระยะแรกอาจจะมีกระแสที่ไม่เห็นด้วยกับการทุ่มในด้านการใช้งบประมาณในการพัฒนาในส่วนของระบบกายภาพของมหาวิทยาลัย แต่เมื่อเริ่มเห็นความเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ ก็จะเริ่มรู้สึกว่าทุกคนได้มีส่วนร่วม ทำให้มหาวิทยาลัยเป็นมหาวิทยาลัยที่น่าอยู่ และสามารถรองรับแหล่งท่องเที่ยว พักผ่อนหย่อนใจ ต้อนรับญาติพี่น้องที่มาเยี่ยมเยียนบุตรหลาน ได้ในหลายๆมุมมองของมหาวิทยาลัยมหาสารคามอีกด้วย
นี่ไม่ได้เป็นเพียงต้นแบบแห่งการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเท่านั้น แต่มีเป้าหมายระยะยาวที่จะสร้างความเปลี่ยนแปลงในด้านอื่นๆ คือ จะสะท้อนให้เห็นความเชื่อมโยงระหว่างมหาวิทยาลัยกับสังคมรอบข้าง การสร้างจิตสำนึก  จิตสาธารณะ และสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างคนในมหาวิทยาลัยอีกด้วย
อ้างอิง http://www.web.msu.ac.th/

ไม่มีความคิดเห็น: