นางสาวหทัยทิพย์ พรายแก้ว (กุ๊ก) 5210125401070 การจัดการทั่วไป ปี 4
ทฤษฎี ERG (ERG Theory) เป็นทฤษฎีที่กล่าวถึงกลุ่มความต้องการที่สำคัญของบุคคล ซึ่งประกอบด้วยการดำรงอยู่ (Existence) ความสัมพันธ์ (Relatedness) และความก้าวหน้า (Growth) โดยบุคคลจะมีอัตราส่วนของความต้องการทั้งสามแตกต่างกันไปตามสถานการณ์ และความต้องการทั้ง 3 กลุ่มนี้ จะมีอิทธิพลต่อการแสดงพฤติกรรมและการตอบสนองต่อสภาพแวดล้อมของเขา
ถึงแม้ทฤษฎี ERG จะมีพื้นฐานคล้ายคลึงกับทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการของ Maslow แต่ก็มีความแตกต่างที่สำคัญคือ Alderfer มีความเห็นว่า บุคคลจะมีความต้องการทั้งสามกลุ่มอยู่ในตนเอง และสามารถเกิดความต้องการได้มากกว่าหนึ่งกลุ่มในเวลาเดียวกัน และเขาได้อธิบายปฏิกิริยาของบุคคลเมื่อไม่สามารถบรรลุความต้องการ โดยอาศัยหลักการความพอใจความก้าวหน้า (Satisfaction-progression Principle) และหลักการความไม่พอใจที่ถดถอย (Frustration-regression Principle) ซึ่งสามารถอธิบายได้ว่า เมื่อบุคคลทำการแสดงพฤติกรรมเพื่อให้ได้มาซึ่งความต้องการ แล้วความต้องการนั้นของเขายังไม่ได้รับการตอบสนอง เขาก็จะให้ความสำคัญกับความต้องการอื่นแทน ตัวอย่างเช่น ถึงแม้บุคคลจะไม่ภาคภูมิใจกับงานที่ทำซ้ำซากและน่าเบื่อของเขา แต่เขาก็ยังคงปฏิบัติงานนั้นอยู่ เนื่องขากเขาไม่มีความรู้และทักษะขั้นสูงที่เหนือกว่างานนี้ ขณะเดียวกันงานนี้ก็ให้รายได้ที่ดีและให้ความมั่นคงแก่เขาและครอบครัว เป็นต้น ทำนักวิชาการหลายคนให้การยอมรับว่าทฤษฎี ERG มีความเป็นจริงในการอธิบายความต้องการของมนุษย์มากกว่าทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการของ Maslow อย่างไรก็ตามเนื่องจาก Maslow เป็นบุคคลที่ทำให้สังคมมนุษย์ตื่นตัวและสนใจเรื่องความต้องการและการจูงใจของบุคคล แนวความคิดของเขาจึงได้รับการกล่าวถึงและนำมาใช้มากกว่าทฤษฎีใหม่ๆที่มีความถูกต้องและสมบูรณ์กว่าในหลายๆทฤษฎี
และนอกจากทฤษฎี ERG แล้วก็ยังมีอีกหลายทฤษฎี ในที่นี้ยกมาเป็นตัวอย่างอีกหนึ่งทฤษฎีค่ะ
ทฤษฎีความเท่าเทียมกัน Jame S.Adams ได้ศึกษาถึงการใช้วิจารณญาณของบุคคลในการพิจารณาความเท่าเทียมกันของผลงานหรือรางวัลที่ได้รับจากปัจจัยนำเข้า เช่น ความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ และความพยายาม โดยเปรียบเทียบออกมาใน 3 ลักษณะคือ
1. ถ้าบุคคลรู้สึกว่าเขาได้รับความไม่เท่าเทียมกัน ทำให้อาจแสดงพฤติกรรมต่างๆออกมาได้แก่
1. ลดปัจจัยนำเข้าหรือการทำงานลดลง
2. พยายามเพิ่มผลลัพธ์
3. ยอมแพ้หรือขอโยกย้าย
4. ปรับเปลี่ยนการรับรู้ผลลัพธ์และปัจจัยนำเข้าของบุคคลอื่นที่เขาเปรียบเทียบอยู่
5. เปลี่ยนบุคคลที่เปรียบเทียบ
2. ถ้าบุคคลได้รับความเสมอภาค เขาก็จะไม่รู้สึกถึงความแตกต่าง โดยเขาจะแสดงออกในระดับเดิม
3. ถ้าบุคคลได้ผลตอบแทนสูงกว่าระดับความเสมอภาคในใจ เขาก็อาจจะไม่สนใจที่จะปรับปรุงให้เกิดความเสมอภาคขึ้น
ซึ่งเราจะพบว่ามีผลการศึกษาที่สนับสนุนและให้ความสำคัญกับทฤษฎีความเท่าเทียมกันนี้ โดยพบว่าพนักงานที่มีความรู้สึกว่าไม่ได้รับความเท่าเทียมกัน มักจะแสดงพฤติกรรมต่างๆเพื่อให้เขารู้สึกถึงความยุติธรรมในการทำงาน ซึ่งการกระทำเหล่านี้อาจก่อให้เกิดต้นทุนแก่องค์การ เนื่องจากพนักงานที่รู้สึกถึงความไม่เท่าเทียมกันส่วนมากมักจะลดแรงพยายามในการทำงานลง มีขวัญและกำลังใจต่ำ ไม่ค่อยให้ความร่วมมือ ขาดงาน หรือลาออกจากองค์การ ซึ่งล้วนแต่ก่อให้เกิดค่าใช้จ่ายและผลกระทบในทางลบแก่องค์การ ดังนั้นผู้บริหารจึงจำเป็นต้องบริหารงานโดยยึดหลักคุณธรรม (Merit) เพื่อสร้างความรู้สึกเท่าเทียมกันในหน่วยงาน นอกจากนี้บุคคลที่อยู่ต่างระดับกันยังมีแนวโน้มที่จะใช้หลักเกณฑ์ต่างการในการเปรียบเทียบผลงานของตนกับบุคคลอื่น โดยเฉพาะบุคคลที่อยู่ในระดับล่างที่ต้องเปรียบเทียบตนเองกับบุคลากรในระดับที่สูงกว่า
อ้างอิงจากหนังสือ การจัดการ โดย ผศ.ดร.ณัฏฐพันธ์ เขจรนันทน์ และฉัตยาพร เสมอใจ พ.ศ.2547
นางสาวสุชาดา สุขวงษ์ 5210125401002 การจัดการทั่วไป
นางสาวสุชาดา สุขวงษ์ 5210125401002 การจัดการทั่วไป
ไม้มงคล ต้นไม้มงคล ความเชื่อเรื่อง ไม้มงคล ต้นไม้มงคล ดอกไม้มงคล เสริมราศี เสริมดวงชะตามีเกือบทุกชนชาติ การปลูกต้นไม้มงคล ของไทยเราเองก็มีมาตั้งแต่โบราณ ต้นไม้มงคลที่ควรปลูกซึ่งความเชื่อมีมาตั้งแต่โบราณว่า ไม้มงคลบางชนิดมีเทวดาอารักษ์ ต้นไม้มงคลบางชนิดชื่อเป็นมงคลเสริมราศี วัตถุมงคลเสริมดวงชะตา ไม้มงคลประจำวันเกิด ต้นไม้มงคลเสริมดวงชะตา ต้นไม้มงคล เสริมดวงชะตา ประจำราศีเกิด
ไม้มงคล ต้นไม้มงคล เสริมราศี
ต้นแก้ว เป็นไม้มงคลอีกชนิดหนึ่ง ที่นิยม
ปลูกกันมาก เพราะดอกแก้วนั้นมักจะส่งกลิ่นหอมเย็น
อย่างน่าชื่นใจ มีคนรักดั่งแก้วตาดวงใจ
ต้นโกศล ต้นไม้มงคล ชื่อนั้นพ้องกับคำว่า กุศล จึงเชื่อว่า คือการสร้างบุญ คุณงามความดี
ช่วยคุ้มครองให้อยู่เย็นเป็นสุข เป็นไม้ยืนต้นที่ได้รับความนิยมมาก เนื่องจาก
สีสันสวยสดของใบ และคุณสมบัติที่ช่วยเสริม ความเป็นสิริมงคลให้กับบ้านอีกด้วย
ต้นกวนอิม เป็นไม้ยืนต้นที่มีชื่อใกล้เคียงกับเทพเจ้าที่ชาวจีน และชาวไทยให้ความเคารพบูชา
กันทั่วไป เชื่อกันว่าต้นกวนอิมเงิน กวนอิมทองนั้น เป็นต้นไม้ศักดิ์สิทธิ์ ต้นไม้มงคลเสริมดวงชะตา
เพราะคนโบราณมักจะใช้ต้นไม้ทั้งสองชนิดนี้ มาประกอบในพิธีบูชาเทพเจ้า
เชื่อกันว่าเมื่อปลูกกวนอิมในบ้านจะเกิดเป็นสิริมงคล นำผลให้มีฐานะดี เกิดความร่ำรวย
ต้นกระดังงา ต้นไม้มงคล ที่นิยมปลูกกันด้วยชื่อที่เป็นมงคล คนโบราณเชื่อกันว่าการปลูกต้นกระดังงา
ทำให้คนในบ้านมีชื่อเสียงโด่งดัง เป็นที่นับหน้าถือตา มีเงินทองลาภยศ
ควรปลูกต้นกระดังงา ทางทิศตะวันออกของตัวบ้าน
เพื่อเพิ่มความเป็นสิริมงคล แก่ตัวบ้านและครอบครัวที่อาศัย
ต้นมะยม เป็นต้นไม้มงคลอีกชนิดหนึ่งที่คนไทยนิยมปลูกกันมาก โดยเฉพาะการปลูกที่หน้าบ้านด้วยความเชื่อที่ว่า จะทำให้คนนิยมชมชอบ ไม่มีคนคิดร้ายหรือเป็นศัตรู
ดอกบานไม่รู้โรย ถือเป็นไม้ดอกที่ชื่อเป็รมงคลนามอยู่แล้วว่า บานไม่รู้โรย จะช่วยเสริม
ด้านความรักของผู้อยู่อาศัยและคู่รักให้ผูกพันมั่นคงต่อกัน
ดอกดาวเรือง เป็นดอกไม้มงคล ที่นิยมปลูกกันมากด้วยชื่อที่เป็นมงคลและสีเหลืองดั่งทอง
เสริมให้ชีวิตเจริญก้าวหน้า มีเงินมีทอง
ต้นวาสนา ด้วยความเชื่อว่า ทำให้ผู้ปลูกมีโชคและวาสนาที่ดี เกิดความสุข สมหวัง
ถือเป็นไม้เสี่ยงทาย ถ้าสามารถปลูกได้สวยงามและออกดอก เชื่อว่าจะทำให้มีโชคลาภ
ปรารถนาสิ่งใดก็จะได้ดังหวัง
ต้นกล้วยไม้ คนโบราณเชื่อว่า กล้วยไม้ จะทำให้เกิดความประทับใจแก่บุคคลทั่วไป
ทำให้คนในบ้านมีจริยธรรม เหมาะกับผู้ปลูกที่มีอุปนิสัยเยือกเย็นอ่อนโยน
ต้นพุด เชื่อกันว่าไม่ว่าจะเป็นต้นพุดชนิดใดจะส่งผลให้มีความเจริญ มั่นคง
แข็งแรงสมบูรณ์ ทั้งสิ้น แต่ก็ควรให้เป็นพุดชนิดที่ดอกสีขาว
ต้นพญายอ มีความเชื่อกันว่าจะทำให้ดำเนินชีวิตราบรื่นเป็นสุขสมบูรณ์
ต้นจำปา ถือเป็นต้นไม้มงคลที่จะนำโชค และเหมาะสมกับคนเกิดวันอาทิตย์อย่างยิ่ง
ต้นชบา ถือเป็นต้นไม้มงคลด้วยความเชื่ออว่าให้คุณด้านการงานเจริญก้าวหน้าไร้ปัญหาและอุปสรรค
ต้นราชพฤกษ์หรือคูน เป็นต้นไม้มงคลด้วยดอกที่เป็นพวงระย้าสวยงาม
และมีดอกสีเหลืองตัดกับสีของท้องฟ้าในฤดูร้อน จะทำให้บ้านดูสดใส
และยังมีความเป็นมงคลทางด้านช่วยให้มีเกียรติและมีศักดิ์ศรี
ต้นโป๊ยเซียน พรรณไม้มงคล จะเป็นพันธุ์ใดก็ได้แต่จะต้องมีดอกสีเหลือง
หรือสีส้ม และจะเป็นมงคลอย่างยิ่งหากเป็นสีส้มหรือสีเหลืองในดอกเดียวกัน
โป๊ยเซียนไม้แห่งโชคลาภจะนำโชคลาภมาให้กับผู้ปลูก
ต้นเข็ม เป็นต้นไม้มงคลควรปลูกต้นเข็มไว้ในบริเวณบ้านเชื่อว่าจะทำให้สมองปลอดโปร่ง
เกิดความคิดความอ่านที่ดี ความคิดเฉียบขาด ให้คุณโดยทั่วไปด้วย
ต้นมะลิ เชื่อกันว่าเป็นไม้มงคลที่สูงค่าจึงนิยมใช้บูชาพระ สีขาวอันบริสุทธิ์ และกลิ่นหอมเย็น
ไม่ว่าจะเป็นมะละซ้อนหรือมะลิลา ก็เป็นสิริมงคลทางด้านทำให้คนในบ้านมีความบริสุทธิ์
มีความรักและความคิดถึงแก่บุคคลทั่วไป
การปลูกต้นไม้มงคล ไม้มงคลเสริมดวงชะตาผู้อยู่อาศัย ต้นไม้ที่ควรปลูก ถือเป็นต้นไม้มงคลตามทิศต่างๆ
ทิศตะวันออก ควรปลูกไม้ไผ่กอ และต้นมะพร้าว ถือเป็นต้นไม้มงคลประจำทิศ
ทิศตะวันออกเฉียงใต้ ควรปลูกต้นยอและต้นสารภี ถือเป็นต้นไม้มงคลประจำทิศ
ทิศใต้ เชื่อว่าควรปลูก ต้นมะม่วง และต้นมะพลับ
ทิศตะวันตกเฉียงใต้ เชื่อกันว่าควรปลูก ต้นสะเดา ต้นขนุน และต้นพิกุล
ทิศตะวันตก เชื่อกันว่าควรปลูก ต้นมะขาม ต้นมะยม
ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ เชื่อกันมาว่าควรปลูก ต้นมะกรูด
ทิศเหนือ เชื่อกันว่าควรปลูกพุทรา และหัวว่านต่างๆ ถือเป็นต้นไม้ประจำทิศ
ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ เชื่อกันว่าควรปลูก ต้นทุเรียน ถือเป็นต้นไม้ประจำทิศ
การปลูกต้นไม้มงคล เสริมดวง ปลูกไม้มงคลที่เป็นมงคลประจำปีเกิด
เกิดปีชวด มิ่งขวัญเสริมดวงอยู่ที่ต้นกล้วยและต้นมะพร้าว ถือเป็นต้นไม้มงคลประจำปีเกิด
เกิดปีฉลู มิ่งขวัญอยู่ที่ต้นตาล ช่วยส่งเสริมให้ดีขึ้น ถือเป็นไม้มงคลประจำปีเกิด
เกิดปีขาล มิ่งขวัญอยู่ที่ต้นขนุนและต้นรัง ถือเป็นไม้มงคลประจำปีเกิด
เกิดปีเถาะ มิ่งขวัญอยู่ที่ต้นมะพร้าวและต้นงิ้ว ถือเป็นต้นไม้มงคลประจำปีเกิด
เกิดปีมะโรง มิ่งขวัญอยู่ที่ต้นไผ่ ต้นกัลปพฤกษ์ และต้นงิ้ว ถือเป็นไม้มงคลประจำปีเกิด
เกิดปีมะเส็ง มิ่งขวัญอยู่ที่ต้นไผ่และต้นรัง ถือเป็นไม้มงคลประจำปีเกิด
เกิดปีมะเมีย มิ่งขวัญอยู่ที่ต้นต้นกล้วยและต้นตะเคียน ถือเป็นไม้มงคลประจำปีเกิด
เกิดปีมะแม มิ่งขวัญอยู่ที่ต้นไผ่ ต้นปาริชาติ และต้นทองหลาง ถือเป็นไม้มงคลประจำปีเกิด
เกิดปีวอก มิ่งขวัญอยู่ที่ต้นไผ่ ต้นยาง และต้นฝ้าย ถือเป็นไม้มงคลประจำปีเกิด
เกิดปีระกา มิ่งขวัญอยู่ที่ต้นไผ่ ต้นยาง และต้นฝ้าย ถือเป็นไม้มงคลประจำปีเกิด
เกิดปีจอ มิ่งขวัญอยู่ที่ต้นบัวบก และต้นสำโรง ถือเป็นต้นไม้มงคลประจำปีเกิด
เกิดปีกุน มิ่งขวัญอยู่ที่กอบัวหลวง และต้นบัวบก ถือเป็นต้นไม้มงคลประจำปีเกิด
ต้นไม้มงคล เสริมดวงชะตา ประจำราศีเกิด การปลูกไม้มงคล 8 ทิศ ทิศมงคลกับการปลูกต้นไม้ เสริมฮวงจุ้ย
เพิ่มเติม รหัส 219
จิ๊บ 219 เฟรดเดอร์ริค ดับบลิว เทเลอร์ (Frederkck W. Taylor) ให้ความหมายการบริหารไว้ว่า งานบริหารทุกอย่างจำเป็นต้องการกระทำโดยมีหลักเกณฑ์ซึ่งกำหนดจากการวิเคราะห์ศึกษาโดยรอบคอบทั้งนี้ เพื่อให้มีวิธีที่ดีที่สุดในอันก่อให้เกิดประสิทธิภาพในการผลิตมากยิ่งขึ้น เพื่อประโยชน์สำหรับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
(Frederkck W. Taylor) อ้างถึงใน สมพงศ์ เกษสิน ,การบริหาร (พิมพ์ครั้งที่ 7 กรุงเทพมหานคร:ไทยวัฒนาพานิช ,2523),หน้า 27)
นางสาวผกามาศ มุขศรี 5210125401001 การจัดการทั่วไป
www.n3k.in.th เป็นเว็บไซต์เกี่ยวกับวิธีคลายเครียดง่ายๆด้วยตนเอง
วิธีคลายเครียดง่ายๆ ด้วยตัวเอง
บ้างครั้งที่คุณกำลังคิดว่าคุณกำลังเครียดอยู่มาลองวิธีคลายเครียดง่ายๆ ด้วยตัวเอง เป็นการผ่อนคลายด้วยการฝึกโยคะคลายเครียด ไม่ว่าคุณจะเครียดเรื่องใดก็ตามจากงาน การเรียน หรือเหน็ดเหนื่อยมาก ๆ จากสิ่งต่าง ๆ วิธีคลายเครียดง่ายๆ ด้วยตัวเองของเรานี้ เราเชื่อว่าสามารถที่ช่วยให้คุณได้ผ่อนคลายและหายเครียดได้อีกเยอะเลยค่ะ ถ้าคุณพร้อมแล้วเราลองมาทำความรู้จักกับ วิธีคลายเครียดง่ายๆ ด้วยตัวเอง กันเลยค่ะ
วิธีคลายเครียดง่ายๆ
โยคะเป็นกระบวนการบำบัดที่ล้ำลึกเป็นการทำงานร่วมกันระหว่างพลังงานในร่างกายและจิตใจ ทำให้ร่างกายจิตใจและอารมณ์กระฉับกระเฉง โยคะคล้ายกับการแพทย์แผนจีนซึ่งเป็นการทำงานของชี่ (พลังงาน) และเมอริเดียน (ทางเดินพลังงาน) ส่วนโยคะเป็นการทำงานของเส้นพลังงานหรือที่เรียกว่า นาดิส (nadis) และพลังงานที่ไหลผ่านเส้นพลังงานที่เรียกว่า ปราณ (prana) การฝึกโยคะช่วยเสริมความกระปรี้กระเปร่า ลดความเครียด ด้วยการเรียนรู้วิธีเข้าถึงแหล่งเก็บพลังงานที่กระจายอยู่ทั่วร่างกาย
- รู้จักความเครียด
ความเครียดมีบทบาทใหญ่หลวงต่อชีวิตประจำวัน เป็นที่ทราบกันดีว่าความเครียดเป็นสาเหตุของโรคร้ายแรงและมีส่วนเกี่ยว ข้องอย่างแยกไม่ออกกับโรคต่าง ๆ เช่น โรคซึมเศร้า อ่อนเพลีย และความดันโลหิตสูง เมื่อตกอยู่ภายใต้ความเครียดร่างกายจะมีการเปลี่ยนแปลงไล่ตั้งแต่อาการปวดตึงกล้ามเนื้อ อาหารไม่ย่อย มีผลให้อัตราการเต้นของหัวใจ ชีพจร และการหายใจเพิ่มขึ้น จึงจำเป็นที่เราต้องจัดการกับความเครียดก่อนที่จะถูกความเครียดครอบงำและเพื่อทราบถึงผลเสียที่เกิดจากความเครียด ได้แก่ ความอ่อนเพลีย อารมณ์ฉุนเฉียว ซึมเศร้า และขี้หลงขี้ลืม ทั้งหมดนี้บรรเทาได้ด้วยโยคะ ฉันคิดว่าการบริหารจิตใจและการหายใจของโยคะเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการต่อสู้กับความเครียดและความวิตกกังวล สเตลลา เวลเลอร์ นักเขียนและผู้เชี่ยวชาญด้านโยคะกล่าว
- โยคะเพื่อบรรเทา
การผ่อนคลายและเทคนิคการหายใจง่าย ๆ ช่วยลดความเครียดอย่างได้ผล การศึกษาพบว่า คนที่เล่นโยคะเป็นประจำจะมีวิตกกังวลน้อยลง ความดันโลหิตลดลง การทำงานของหัวใจมีประสิทธิภาพดีขึ้น การฝึกเป็นประจำช่วยให้คุณเข้าถึงต้นตอของความเครียดและระงับมันได้ กุญแจสำคัญของการบรรเทาความเครียดคือการหายใจและฮาธาโยคะ (hatha yoga) ซึ่งมุ่งเน้นที่การลดความเครียด
อ้างอิง www.n3k.in.th
วิธีคลายเครียดง่ายๆ ด้วยตัวเอง
บ้างครั้งที่คุณกำลังคิดว่าคุณกำลังเครียดอยู่มาลองวิธีคลายเครียดง่ายๆ ด้วยตัวเอง เป็นการผ่อนคลายด้วยการฝึกโยคะคลายเครียด ไม่ว่าคุณจะเครียดเรื่องใดก็ตามจากงาน การเรียน หรือเหน็ดเหนื่อยมาก ๆ จากสิ่งต่าง ๆ วิธีคลายเครียดง่ายๆ ด้วยตัวเองของเรานี้ เราเชื่อว่าสามารถที่ช่วยให้คุณได้ผ่อนคลายและหายเครียดได้อีกเยอะเลยค่ะ ถ้าคุณพร้อมแล้วเราลองมาทำความรู้จักกับ วิธีคลายเครียดง่ายๆ ด้วยตัวเอง กันเลยค่ะ
วิธีคลายเครียดง่ายๆ
โยคะเป็นกระบวนการบำบัดที่ล้ำลึกเป็นการทำงานร่วมกันระหว่างพลังงานในร่างกายและจิตใจ ทำให้ร่างกายจิตใจและอารมณ์กระฉับกระเฉง โยคะคล้ายกับการแพทย์แผนจีนซึ่งเป็นการทำงานของชี่ (พลังงาน) และเมอริเดียน (ทางเดินพลังงาน) ส่วนโยคะเป็นการทำงานของเส้นพลังงานหรือที่เรียกว่า นาดิส (nadis) และพลังงานที่ไหลผ่านเส้นพลังงานที่เรียกว่า ปราณ (prana) การฝึกโยคะช่วยเสริมความกระปรี้กระเปร่า ลดความเครียด ด้วยการเรียนรู้วิธีเข้าถึงแหล่งเก็บพลังงานที่กระจายอยู่ทั่วร่างกาย
- รู้จักความเครียด
ความเครียดมีบทบาทใหญ่หลวงต่อชีวิตประจำวัน เป็นที่ทราบกันดีว่าความเครียดเป็นสาเหตุของโรคร้ายแรงและมีส่วนเกี่ยว ข้องอย่างแยกไม่ออกกับโรคต่าง ๆ เช่น โรคซึมเศร้า อ่อนเพลีย และความดันโลหิตสูง เมื่อตกอยู่ภายใต้ความเครียดร่างกายจะมีการเปลี่ยนแปลงไล่ตั้งแต่อาการปวดตึงกล้ามเนื้อ อาหารไม่ย่อย มีผลให้อัตราการเต้นของหัวใจ ชีพจร และการหายใจเพิ่มขึ้น จึงจำเป็นที่เราต้องจัดการกับความเครียดก่อนที่จะถูกความเครียดครอบงำและเพื่อทราบถึงผลเสียที่เกิดจากความเครียด ได้แก่ ความอ่อนเพลีย อารมณ์ฉุนเฉียว ซึมเศร้า และขี้หลงขี้ลืม ทั้งหมดนี้บรรเทาได้ด้วยโยคะ ฉันคิดว่าการบริหารจิตใจและการหายใจของโยคะเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการต่อสู้กับความเครียดและความวิตกกังวล สเตลลา เวลเลอร์ นักเขียนและผู้เชี่ยวชาญด้านโยคะกล่าว
- โยคะเพื่อบรรเทา
การผ่อนคลายและเทคนิคการหายใจง่าย ๆ ช่วยลดความเครียดอย่างได้ผล การศึกษาพบว่า คนที่เล่นโยคะเป็นประจำจะมีวิตกกังวลน้อยลง ความดันโลหิตลดลง การทำงานของหัวใจมีประสิทธิภาพดีขึ้น การฝึกเป็นประจำช่วยให้คุณเข้าถึงต้นตอของความเครียดและระงับมันได้ กุญแจสำคัญของการบรรเทาความเครียดคือการหายใจและฮาธาโยคะ (hatha yoga) ซึ่งมุ่งเน้นที่การลดความเครียด
อ้างอิง www.n3k.in.th
นางสาวผกามาศ มุขศรี รหัส 5210125401001 การจัดการทั่วไป
ทฤษฎีการจัดการแบบวิทยาศาสตร์(The Scientific Management)
Taylor ได้ทำการศึกษาและพัฒนา วิธีการทำงานที่มีประสิทธิภาพจากการสังเกตการทำงานของคนงานและสรุปว่า คนงาน มีลักษณะของการหลบหลีกงานในขณะทำงาน (soldiering) กล่าวคือ เขาจะทำงานช้าลง หรือทำงานไม่เต็มศักยภาพของตนเอง ส่งผลให้งานหรือผลผลิตต่ำกว่าที่ควรจะเป็น Taylor ได้ออกแบบระบบการทำงานทั้งระบบให้มีประสิทธิภาพสูงสุด โดยการจูงใจให้ คนงานทำงานด้วยการเปลี่ยนระบบการจ่ายค่าจ้างจากระบบเดิมที่จ่ายค่าจ้างคนงานทุกคนเท่ากันเป็นระบบการจ่ายค่าจ้างแบบรายชิ้น (a piecework pay system) พร้อมประยุกต์ วิธีการบริหารค่าจ้างโดยเพิ่มค่าจ้างให้คนงานที่สามารถทำงานได้ตามมาตรฐาน และสูงกว่า มาตรฐานที่กำหนดไว้ อีกทั้งนำระบบการกำหนดเวลาพักระหว่างเวลาทำงานเป็นช่วงๆ (periods) เพื่อที่จะลดความเมื่อยล้าในการทำงานให้แก่พนักงาน ทำให้คุณภาพการทำงาน ของพนักงานสูงขึ้น ผลผลิตการทำงานได้มากขึ้น และขวัญกำลังใจของพนักงานสูงขึ้น
นอกจากนี้ Taylor ได้เสนอทฤษฎีความเชื่อที่ว่าปัจจัยที่สำคัญที่จะน่าไปสู่การจัดการที่มีประสิทธิภาพและการสร้าง สัมพันธภาพที่ดีกับพนักงานขึ้นอยู่กับปัจจัย ดังต่อไปนี้
1. ศึกษาวิธีการทำงานด้วยวิธีการวิทยาศาสตร์โดยพัฒนาวิธีทำงานให้เป็นระบบมีขั้นตอนที่มีประสิทธิภาพในการทำงานเพื่อตัดวิธีการทำให้เกิดความสูญเสียในการทำงาน
2. ค้นหาวิธีการทำงานใดๆเพื่อให้ได้วิธีการทำงานให้ง่ายที่สุดเพื่อฝึกฝนให้ ผู้ปฏิบัติงานได้ทำงานง่ายขึ้นและพัฒนาไปสู่ความเชี่ยวชาญในงานของตน
3. การจ่ายค่าจ้างแบบจูงใจ เป็นความพยายามที่เชื่อมโยงกับหลักการที่ผ่านมา คือ ถ้า งานที่ตนเองทำอยู่การะทำได้สะดวกและง่ายขึ้น จะนำไปสู่ความสามารถที่พนักงาน จะกระตือรือร้นในการทำงาน จนสามารถพิชิตรางวัลหรือค่าจ้างที่มากขึ้นได้
4. การบริหารและการจัดการให้เป็นวิทยาศาสตร์ เพื่อนำไปสู่การจ่ายค่าจ้างให้ มากขึ้นและทำให้พนักงานทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
5.การคำนึงถึงหลักความสามารถ กล่าวคือ การดำเนินงานของพนักงานในระดับปฏิบัติการให้ยึดถือความสามารถในการทำงาน ตลอดจนการเลื่อนตำแหน่งให้นำหลักเกณฑ์นี้ไปใช้เป็นสำคัญ
อ้างอิงจาก หนังสือการบริหารองค์กร ชื่อเรื่องทฤษฎีองค์การ:วิเคราะห์แนวความคิดทฤษฎีและการประยุกต์/ทองใบ สุดชารี
Taylor ได้ทำการศึกษาและพัฒนา วิธีการทำงานที่มีประสิทธิภาพจากการสังเกตการทำงานของคนงานและสรุปว่า คนงาน มีลักษณะของการหลบหลีกงานในขณะทำงาน (soldiering) กล่าวคือ เขาจะทำงานช้าลง หรือทำงานไม่เต็มศักยภาพของตนเอง ส่งผลให้งานหรือผลผลิตต่ำกว่าที่ควรจะเป็น Taylor ได้ออกแบบระบบการทำงานทั้งระบบให้มีประสิทธิภาพสูงสุด โดยการจูงใจให้ คนงานทำงานด้วยการเปลี่ยนระบบการจ่ายค่าจ้างจากระบบเดิมที่จ่ายค่าจ้างคนงานทุกคนเท่ากันเป็นระบบการจ่ายค่าจ้างแบบรายชิ้น (a piecework pay system) พร้อมประยุกต์ วิธีการบริหารค่าจ้างโดยเพิ่มค่าจ้างให้คนงานที่สามารถทำงานได้ตามมาตรฐาน และสูงกว่า มาตรฐานที่กำหนดไว้ อีกทั้งนำระบบการกำหนดเวลาพักระหว่างเวลาทำงานเป็นช่วงๆ (periods) เพื่อที่จะลดความเมื่อยล้าในการทำงานให้แก่พนักงาน ทำให้คุณภาพการทำงาน ของพนักงานสูงขึ้น ผลผลิตการทำงานได้มากขึ้น และขวัญกำลังใจของพนักงานสูงขึ้น
นอกจากนี้ Taylor ได้เสนอทฤษฎีความเชื่อที่ว่าปัจจัยที่สำคัญที่จะน่าไปสู่การจัดการที่มีประสิทธิภาพและการสร้าง สัมพันธภาพที่ดีกับพนักงานขึ้นอยู่กับปัจจัย ดังต่อไปนี้
1. ศึกษาวิธีการทำงานด้วยวิธีการวิทยาศาสตร์โดยพัฒนาวิธีทำงานให้เป็นระบบมีขั้นตอนที่มีประสิทธิภาพในการทำงานเพื่อตัดวิธีการทำให้เกิดความสูญเสียในการทำงาน
2. ค้นหาวิธีการทำงานใดๆเพื่อให้ได้วิธีการทำงานให้ง่ายที่สุดเพื่อฝึกฝนให้ ผู้ปฏิบัติงานได้ทำงานง่ายขึ้นและพัฒนาไปสู่ความเชี่ยวชาญในงานของตน
3. การจ่ายค่าจ้างแบบจูงใจ เป็นความพยายามที่เชื่อมโยงกับหลักการที่ผ่านมา คือ ถ้า งานที่ตนเองทำอยู่การะทำได้สะดวกและง่ายขึ้น จะนำไปสู่ความสามารถที่พนักงาน จะกระตือรือร้นในการทำงาน จนสามารถพิชิตรางวัลหรือค่าจ้างที่มากขึ้นได้
4. การบริหารและการจัดการให้เป็นวิทยาศาสตร์ เพื่อนำไปสู่การจ่ายค่าจ้างให้ มากขึ้นและทำให้พนักงานทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
5.การคำนึงถึงหลักความสามารถ กล่าวคือ การดำเนินงานของพนักงานในระดับปฏิบัติการให้ยึดถือความสามารถในการทำงาน ตลอดจนการเลื่อนตำแหน่งให้นำหลักเกณฑ์นี้ไปใช้เป็นสำคัญ
อ้างอิงจาก หนังสือการบริหารองค์กร ชื่อเรื่องทฤษฎีองค์การ:วิเคราะห์แนวความคิดทฤษฎีและการประยุกต์/ทองใบ สุดชารี
นางสาวนรินทร กนกศรีขริน รหัส 5210125401069 เอกการจัดการทั่วไป
การบริหารงานจะต้องมีปัจจัยพื้นฐาน 4 ประการ หรือเรียกว่า ทรัพยากร การบริหาร (Administration resources) คือ คน (man) เงิน (money) วัสดุอุปกรณ์ (material) และการจัดการ (management) หรือเรียกสั้นว่า 4 M ปัจจัยทั้ง 4 ประการ นับว่าเป็นปัจจัย พื้นฐาน ทั้งนี้เพราะว่าการบริหารทุกประเภทไม่ว่าจะเป็นของรัฐหรือเอกชนก็ตามจำเป็น ต้องอาศัย เงิน วัสดุ และการจัดการองค์การเป็นองค์ประกอบที่ขาดเสียมิได้
แต่ปัจจุบันได้มีพิจารณาขยายขอบเขตของปัจจัยการบริการกว้างขวางออกไปอีก เช่น Greenwood (อ้างถึงใน มัฆวาฬ สุวรรณเรือง,2536, หน้า 52) ได้เสนอความเห็นว่า ปัจจัยในการบริหารไม่ได้มีเพียง 4 อย่างเทานั้น แต่อย่างน้อยควรมี 7 อย่าง คือ คน เงิน พัสดุ อุปกรณ์ อำนาจหน้าที่ เวลา กำลังใจในการทำงานและความสะดวกต่าง ๆ
เป็นการแน่นอนว่า การบริหารงานจะต้องมีปัจจัยทั้ง 4 M เป็นส่วนประกอบ สำคัญ เพราะการที่จะดำเนินการให้สำเร็จตามนโยบายตามแผนหรือโครงการก็ต้องอาศัย กำลังคน เงิน วัสดุอุปกรณ์และวิธีการจัดการที่ดี โดยนำปัจจัยเหล่านี้มาผสมผสานกัน อย่างเหมาะสม เพราะจะเห็นได้ว่า แม้องค์การหรือบริษัทหรือส่วนราชการต่าง ๆ จะมีขนาดและปัจจัยต่าง ๆ เท่า ๆ กัน แต่ผลงานที่ได้ออกมาไม่เท่ากัน ปัญหาจึงมีว่า หัวใจ ของการบริหารมิได้อยู่ที่ปริมาณมากน้อยของปัจจัยการบริหารเพียงอย่างเดียว แต่ขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพของการจัดการ ภาวะความเป็นผู้นำ สภาพแวดล้อมอื่น ๆ ที่จะทำให้ เกิดผลงานที่ดีทั้งปริมาณและคุณภาพ
ดังนั้น การบริหารงานใด ๆ ก็ตาม การที่จะได้ผลงานออกมา (output) ก็จำเป็น จะต้องปัจจัย 3 อย่าง ที่ใส่เข้าไปในงานก่อน (input) คือ คน เงิน และวัสดุ และมี กระบวนการในการจัดการให้ input factors ต่าง ๆ ผสมกลมกลืนกันเป็นอย่างดี ผลงาน จะออกมาดีมีประสิทธิภาพ (อมร รักษาสัตย์ และขัตติยา กรรณสูต, 2515, หน้า 289)
อ้างอิง อมร รักษาสัตย์และขัตติยา กรรณสูต. (2515). ทฤษฎีและแนวความคิดในการพัฒนาประเทศ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
มัฆวาฬ สุวรรณเรือง. (2536). ประสิทธิผลของการนำนโยบายป้องปรามทุจริฅเลึอกตั้ง ของโครงการ ท.ม.ก. ไปปฏิบัติ: กรณีวิจัยปฏิบัติการเขตเลือกตั้ง ค. จังหวัด นครราชสีมา. วิทยานิพนธ์พัฒนบริหารศาสตรมหาบัณฑิต, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
แต่ปัจจุบันได้มีพิจารณาขยายขอบเขตของปัจจัยการบริการกว้างขวางออกไปอีก เช่น Greenwood (อ้างถึงใน มัฆวาฬ สุวรรณเรือง,2536, หน้า 52) ได้เสนอความเห็นว่า ปัจจัยในการบริหารไม่ได้มีเพียง 4 อย่างเทานั้น แต่อย่างน้อยควรมี 7 อย่าง คือ คน เงิน พัสดุ อุปกรณ์ อำนาจหน้าที่ เวลา กำลังใจในการทำงานและความสะดวกต่าง ๆ
เป็นการแน่นอนว่า การบริหารงานจะต้องมีปัจจัยทั้ง 4 M เป็นส่วนประกอบ สำคัญ เพราะการที่จะดำเนินการให้สำเร็จตามนโยบายตามแผนหรือโครงการก็ต้องอาศัย กำลังคน เงิน วัสดุอุปกรณ์และวิธีการจัดการที่ดี โดยนำปัจจัยเหล่านี้มาผสมผสานกัน อย่างเหมาะสม เพราะจะเห็นได้ว่า แม้องค์การหรือบริษัทหรือส่วนราชการต่าง ๆ จะมีขนาดและปัจจัยต่าง ๆ เท่า ๆ กัน แต่ผลงานที่ได้ออกมาไม่เท่ากัน ปัญหาจึงมีว่า หัวใจ ของการบริหารมิได้อยู่ที่ปริมาณมากน้อยของปัจจัยการบริหารเพียงอย่างเดียว แต่ขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพของการจัดการ ภาวะความเป็นผู้นำ สภาพแวดล้อมอื่น ๆ ที่จะทำให้ เกิดผลงานที่ดีทั้งปริมาณและคุณภาพ
ดังนั้น การบริหารงานใด ๆ ก็ตาม การที่จะได้ผลงานออกมา (output) ก็จำเป็น จะต้องปัจจัย 3 อย่าง ที่ใส่เข้าไปในงานก่อน (input) คือ คน เงิน และวัสดุ และมี กระบวนการในการจัดการให้ input factors ต่าง ๆ ผสมกลมกลืนกันเป็นอย่างดี ผลงาน จะออกมาดีมีประสิทธิภาพ (อมร รักษาสัตย์ และขัตติยา กรรณสูต, 2515, หน้า 289)
อ้างอิง อมร รักษาสัตย์และขัตติยา กรรณสูต. (2515). ทฤษฎีและแนวความคิดในการพัฒนาประเทศ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
มัฆวาฬ สุวรรณเรือง. (2536). ประสิทธิผลของการนำนโยบายป้องปรามทุจริฅเลึอกตั้ง ของโครงการ ท.ม.ก. ไปปฏิบัติ: กรณีวิจัยปฏิบัติการเขตเลือกตั้ง ค. จังหวัด นครราชสีมา. วิทยานิพนธ์พัฒนบริหารศาสตรมหาบัณฑิต, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
นางสาวสุชาดา สุขวงษ์ รหัส 5210125401002 การจัดการทั่วไป
ทฤษฎี Z ของ W.J. Reddin
ทฤษฎีนี้รวมเอาหลักการของทฤษฎี x , y เข้าด้วยกัน แนวความคิดก็คือ การที่จะจูงใจให้บุคคลก็คือ การที่จะจูงใจให้บุคคลทำงานจะต้องเข้าใจถึงคุณลักษณะเฉพาะตังของบุคคล และ หาวิธีการเพื่อให้เกิดความร่วมมือในการทำงาน เนื่องจากธรรมชาติของมนุษย์มีความแตกต่างกัน
ลักษณะของผู้บริหารที่มีความเชื่อตามทฤษฎี Z
-มนุษย์มีทั้งความดีและความเลว
-สภาพแวดล้อมและสถานการณ์จะเป็นมูลเหตุจูงใจให้มนุษย์กระทำ
-มนุษย์เป็นสัตว์สังคมต้องอยู่รวมกันและพี่งพาอาศัยกัน
-วัตถุประสงค์มีอิทธิพลต่อเจตคติของมนุษย์
องค์ประกอบที่สำคัญ 4 ประการ ของทฤษฎี Z คือ
-การทำให้ปรัชญาที่กำหนดไว้บรรลุ
-การพัฒนาผู้ใต้บังคับบัญชาให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
-การให้ความไว้ใจแก่ผู้ใต้บังคับบัญชา
-การให้ผู้ใต้บังคับบัญชามีส่วนร่วมในการตัดสินใจ
ทฤษฎี Z เป็นทฤษฎีทางการบริหารธุรกิจที่เกิดขึ้นจากการผสมผสานระหว่างการบริหารธุรกิจแบบสหรัฐอเมริกา หรือ Theory A กับการบริหารแบบญี่ปุ่น Theory J
ทฤษฎี Z เป็นทฤษฎีบริหารงานที่ได้รับการยอมรับในวงการบริหารในยุคปัจจุบัน โดยเน้นความร่วมมือในการทำงานของคนงานละเน้นหลักมนุษย์สัมพันธ์เป็นสำคัญ
อ้างอิง
ชื่อหนังสือ ทฤษฎี องค์การ
รศ.ดร. สมิหรา จิตตลดากร
พิมพ์ปี 2546
พิมพ์ที่ แสงเทียนการพิมพ์
ทฤษฎีนี้รวมเอาหลักการของทฤษฎี x , y เข้าด้วยกัน แนวความคิดก็คือ การที่จะจูงใจให้บุคคลก็คือ การที่จะจูงใจให้บุคคลทำงานจะต้องเข้าใจถึงคุณลักษณะเฉพาะตังของบุคคล และ หาวิธีการเพื่อให้เกิดความร่วมมือในการทำงาน เนื่องจากธรรมชาติของมนุษย์มีความแตกต่างกัน
ลักษณะของผู้บริหารที่มีความเชื่อตามทฤษฎี Z
-มนุษย์มีทั้งความดีและความเลว
-สภาพแวดล้อมและสถานการณ์จะเป็นมูลเหตุจูงใจให้มนุษย์กระทำ
-มนุษย์เป็นสัตว์สังคมต้องอยู่รวมกันและพี่งพาอาศัยกัน
-วัตถุประสงค์มีอิทธิพลต่อเจตคติของมนุษย์
องค์ประกอบที่สำคัญ 4 ประการ ของทฤษฎี Z คือ
-การทำให้ปรัชญาที่กำหนดไว้บรรลุ
-การพัฒนาผู้ใต้บังคับบัญชาให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
-การให้ความไว้ใจแก่ผู้ใต้บังคับบัญชา
-การให้ผู้ใต้บังคับบัญชามีส่วนร่วมในการตัดสินใจ
ทฤษฎี Z เป็นทฤษฎีทางการบริหารธุรกิจที่เกิดขึ้นจากการผสมผสานระหว่างการบริหารธุรกิจแบบสหรัฐอเมริกา หรือ Theory A กับการบริหารแบบญี่ปุ่น Theory J
ทฤษฎี Z เป็นทฤษฎีบริหารงานที่ได้รับการยอมรับในวงการบริหารในยุคปัจจุบัน โดยเน้นความร่วมมือในการทำงานของคนงานละเน้นหลักมนุษย์สัมพันธ์เป็นสำคัญ
อ้างอิง
ชื่อหนังสือ ทฤษฎี องค์การ
รศ.ดร. สมิหรา จิตตลดากร
พิมพ์ปี 2546
พิมพ์ที่ แสงเทียนการพิมพ์
ทุเรียน ยศเหลา turian19@hotmail.com
อังริ ฟาโยล (Henri Fayol) เป็นนักอุตสาหกรรม ชาวฝรั่งเศส มีประสบการณ์ด้านการบริหารองค์การของรัฐขนาดใหญ่ ได้นำเสนอหลักการทีเขาเรียกว่า หลักการจัดการ 14 ประการ (Fayol's Fourteen Principles of Management) ซึ่งมีดังต่อไปนี้ คือ
1. การจัดแบ่งงาน (division of work) หลักการก็คือการทำให้คนจำนวนมากที่ต้องมาทำงานร่วมกัน ได้มีการจัดแบ่งหน้าที่ตามความสามารถ หรือความเชี่ยวชาญพิเศษของแต่ละคน เพื่อให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
2. การมีอำนาจหน้าที่ (authority) ผู้จัดการต้องสามารถออกคำสั่งได้สอดคล้องกับอำนาจหน้าที่ที่ได้ รับมอบหมาย ทำให้คำสั่งที่ออกไปนั้นมีความถูกต้องและเกิดความรับผิดชอบควบคู่่กันไป เมื่อใดที่มีการใช้อำนาจหน้าที่ เมื่อนั้นความรับผิดชอบก็จะต้องติดตามไปด้วย
3. ความมีวินัย (discipline) ผู้ใต้บังคับบัญชา หรือพนักงานต้องเชื่อฟัง และเคารพกฏเกณฑ์ขององค์การ การที่คนจะมีวินัยที่ดีนั้นเกิดจากความเป็นผู้นำที่มีประสิทธิภาพ มีความเข้าใจที่ชัดเจนระหว่างฝ่ายจัดการและคนทำงาน ทั้งนี้ เมื่อมีการทำผิดกฏระเบียบขององค์การ ก็จะมีผลทำให้ได้รับโทษ
4. เอกภาพของสายบังคับบัญชา (unity of command) พนักงานหรือลูกจ้างทุกคนจะได้รับคำสั่งจากผู้บังคับบัญชาเพียงคนเดียว สายบังคับบัญชาจะมีลักษณะเป็นทอดๆไป แต่ละคนจะรู้ว่าใครคือเจ้านายของตน
5. เอกภาพในทิศทาง (unity of direction) แต่ละคนในกลุ่มกิจกรรมขององค์การจะมีจุดมุ่งหมายเดียวกัน รับแผนเดียว และจากหัวหน้าเดียว
6. ผลประโยชน์ของหมู่คณะจะต้องเหนือผลประโยชน์ส่วนตน (Subordination of Individual Interests to the General Interests) คนที่เข้ามาทำงานในองค์การนั้นจะต้องยอมรับว่าผลประโยชน์ขององค์การจะต้องมาเหนือผลประโยชน์ส่วนตน
7. มีระบบค่าตอบแทนที่ยุติธรรม (remuneration) คนทำงานแม้จะต้องเห็นผลประโยชน์ขององค์การเหนือผลประโยชน์ส่วนตน แต่องค์การก็จะต้องทำหน้าที่จัดระบบค่าตอบแทนให้เหมาะสมแก่ความ สามารถและเป็นไปอย่างยุติธรรม
8. ระบบการรวมศูนย์ (centralization) การรวมศูนย์ในที่นี้หมายถึงระดับของการที่ผู้ใต้บังคับบัญชาจะมีส่วนในการตัดสินใจอย่างไร การจะกระจายอำนาจ หรือรวมอำนาจเพียงใดนั้น ขึ้นอยู่กับความเหมาะสม ประเด็นจะอยู่ที่ ว่าทำอย่างไรจึงจะรวมศูนย์ได้ในแต่ละกรณี แนวคิดนี้มองเห็นความจำเป็นขององค์การที่ต้องมีศูนย์รวมอำนาจ
9. สายบังคับบัญชา (scalar chain) หมายถึงสายบังคับบัญชาจากระดับสูงลงมาสู่ระดับต่ำสุด สายการสื่อสารติดต่อก็จะเป็นไปตามนี้ คือจะเป็นไปตามระดับขั้น อย่างไรก็ตาม ถ้าสายการบังคับบัญชาก่อให้เกิดการเสียเวลาล่าช้า ก็ให้มีการข้ามขั้นตอนได้ และทั้งนี้ต้องเป็นข้อตกลงระหว่างส่วนงานที่เกี่ยวข้อง
10. ความเป็นระบบระเบียบ (order) หมายความถึง คนก็ดี หรือวัสดุอุปกรณ์ทั้งหลายก็ดี จะอยู่ในที่อันเหมาะสมในเวลาอันเหมาะสม ความเป็นระบบระเบียบนี้ในส่วนหนึ่งหมายความว่าถ้าเกิดการเปลี่ยนแปลง เช่นคนป่วยงาน ลางาน ก็สามารถมีคนทดแทนได้ เพราะมีความเป็นระบบทำให้รู้งานกัน
11. ความเท่าเทียมกัน (equity) ในที่นี้ ผู้เป็นหัวหน้าจะต้องมีการตอบสนองต่อผู้ใต้บังคับบัญชาอย่างมีเมตตา และยุติธรรม การใช้อำนาจของผู้บริหารจะเป็นไปด้วยหลักการ มิใช่จะทำอะไรได้ตามใจ
12. ความมั่นคง และสามัญฐานะของบุคลากร (stability of tenure of personnel) ทั้งนี้โดยมองว่า การที่มีคนเปลี่ยนงานบ่อยๆนั้นจะทำให้งานไม่มีประสิทธิภาพ ฝ่ายบริหารควรวางแผนงานให้สามารถมีการทดแทนกำลังคนกันได้ เมื่อมีตำแหน่งว่างลง
13. การริเริ่มสร้างสรรค์ (initiative) ผู้ใต้บังคับบัญชาจะสามารถมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ที่จะทำงานออกมาได้ในระดับที่สูง
14. วิญญาณแห่งหมู่คณะ (esprit de corps) การสร้างขวัญและกำลังใจในการทำงาน มีความราบรื่น และความเป็นปึกแผ่นใน
1. การจัดแบ่งงาน (division of work) หลักการก็คือการทำให้คนจำนวนมากที่ต้องมาทำงานร่วมกัน ได้มีการจัดแบ่งหน้าที่ตามความสามารถ หรือความเชี่ยวชาญพิเศษของแต่ละคน เพื่อให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
2. การมีอำนาจหน้าที่ (authority) ผู้จัดการต้องสามารถออกคำสั่งได้สอดคล้องกับอำนาจหน้าที่ที่ได้ รับมอบหมาย ทำให้คำสั่งที่ออกไปนั้นมีความถูกต้องและเกิดความรับผิดชอบควบคู่่กันไป เมื่อใดที่มีการใช้อำนาจหน้าที่ เมื่อนั้นความรับผิดชอบก็จะต้องติดตามไปด้วย
3. ความมีวินัย (discipline) ผู้ใต้บังคับบัญชา หรือพนักงานต้องเชื่อฟัง และเคารพกฏเกณฑ์ขององค์การ การที่คนจะมีวินัยที่ดีนั้นเกิดจากความเป็นผู้นำที่มีประสิทธิภาพ มีความเข้าใจที่ชัดเจนระหว่างฝ่ายจัดการและคนทำงาน ทั้งนี้ เมื่อมีการทำผิดกฏระเบียบขององค์การ ก็จะมีผลทำให้ได้รับโทษ
4. เอกภาพของสายบังคับบัญชา (unity of command) พนักงานหรือลูกจ้างทุกคนจะได้รับคำสั่งจากผู้บังคับบัญชาเพียงคนเดียว สายบังคับบัญชาจะมีลักษณะเป็นทอดๆไป แต่ละคนจะรู้ว่าใครคือเจ้านายของตน
5. เอกภาพในทิศทาง (unity of direction) แต่ละคนในกลุ่มกิจกรรมขององค์การจะมีจุดมุ่งหมายเดียวกัน รับแผนเดียว และจากหัวหน้าเดียว
6. ผลประโยชน์ของหมู่คณะจะต้องเหนือผลประโยชน์ส่วนตน (Subordination of Individual Interests to the General Interests) คนที่เข้ามาทำงานในองค์การนั้นจะต้องยอมรับว่าผลประโยชน์ขององค์การจะต้องมาเหนือผลประโยชน์ส่วนตน
7. มีระบบค่าตอบแทนที่ยุติธรรม (remuneration) คนทำงานแม้จะต้องเห็นผลประโยชน์ขององค์การเหนือผลประโยชน์ส่วนตน แต่องค์การก็จะต้องทำหน้าที่จัดระบบค่าตอบแทนให้เหมาะสมแก่ความ สามารถและเป็นไปอย่างยุติธรรม
8. ระบบการรวมศูนย์ (centralization) การรวมศูนย์ในที่นี้หมายถึงระดับของการที่ผู้ใต้บังคับบัญชาจะมีส่วนในการตัดสินใจอย่างไร การจะกระจายอำนาจ หรือรวมอำนาจเพียงใดนั้น ขึ้นอยู่กับความเหมาะสม ประเด็นจะอยู่ที่ ว่าทำอย่างไรจึงจะรวมศูนย์ได้ในแต่ละกรณี แนวคิดนี้มองเห็นความจำเป็นขององค์การที่ต้องมีศูนย์รวมอำนาจ
9. สายบังคับบัญชา (scalar chain) หมายถึงสายบังคับบัญชาจากระดับสูงลงมาสู่ระดับต่ำสุด สายการสื่อสารติดต่อก็จะเป็นไปตามนี้ คือจะเป็นไปตามระดับขั้น อย่างไรก็ตาม ถ้าสายการบังคับบัญชาก่อให้เกิดการเสียเวลาล่าช้า ก็ให้มีการข้ามขั้นตอนได้ และทั้งนี้ต้องเป็นข้อตกลงระหว่างส่วนงานที่เกี่ยวข้อง
10. ความเป็นระบบระเบียบ (order) หมายความถึง คนก็ดี หรือวัสดุอุปกรณ์ทั้งหลายก็ดี จะอยู่ในที่อันเหมาะสมในเวลาอันเหมาะสม ความเป็นระบบระเบียบนี้ในส่วนหนึ่งหมายความว่าถ้าเกิดการเปลี่ยนแปลง เช่นคนป่วยงาน ลางาน ก็สามารถมีคนทดแทนได้ เพราะมีความเป็นระบบทำให้รู้งานกัน
11. ความเท่าเทียมกัน (equity) ในที่นี้ ผู้เป็นหัวหน้าจะต้องมีการตอบสนองต่อผู้ใต้บังคับบัญชาอย่างมีเมตตา และยุติธรรม การใช้อำนาจของผู้บริหารจะเป็นไปด้วยหลักการ มิใช่จะทำอะไรได้ตามใจ
12. ความมั่นคง และสามัญฐานะของบุคลากร (stability of tenure of personnel) ทั้งนี้โดยมองว่า การที่มีคนเปลี่ยนงานบ่อยๆนั้นจะทำให้งานไม่มีประสิทธิภาพ ฝ่ายบริหารควรวางแผนงานให้สามารถมีการทดแทนกำลังคนกันได้ เมื่อมีตำแหน่งว่างลง
13. การริเริ่มสร้างสรรค์ (initiative) ผู้ใต้บังคับบัญชาจะสามารถมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ที่จะทำงานออกมาได้ในระดับที่สูง
14. วิญญาณแห่งหมู่คณะ (esprit de corps) การสร้างขวัญและกำลังใจในการทำงาน มีความราบรื่น และความเป็นปึกแผ่นใน
น.ส.วรรณภา ปั้นนาค รหัส 5210125401038 เอกการจัดการทั่วไป ปี 4 ภาคปกติ
ทฤษฎีระบบราชการ (Bureaucracy Theory)
แนวคิดของ Max Weber
แม็ค เว็บเบอร์ (Max Weber) นักสังคมสงเคราะห์และนักรัฐศาสตร์ชาวเยอรมันที่มีชื่อเสียง แนวคิดนี้เกิดที่เยอรมัน ในขณะที่มีปฏิวัติอุตสาหกรรม และปรากฏให้เห็นว่ามีการใช้ระบบการอุปถัมภ์ในการจัดการ ส่งผลให้เกิดความไม่มีประสิทธิภาพในองค์การ Weber เห็นความจำเป็นในการสร้างพื้นฐานของหลักเหตุและผลสำหรับการบริหารองค์การขนาดใหญ่ จึงได้นำเสนอแนวคิดรูปแบบองค์การที่เป็นอุดมคติเรียกว่า "องค์การระบบราชการ (Bureaucracy)" เป็นองค์การที่บริหารภารกิจ (Tasks) ต่างๆเพื่อพัฒนาให้บรรลุผลสำเร็จได้เร็วขึ้น มีประสิทธิภาพและความเป็นเหตุเป็นผล (Rational) มากขึ้น
Weber ได้แสดงให้เห็นหลัก 7 ประการในระบบราชการที่ทำการศึกษาและพัฒนาหลักการเหล่านี้ให้เป็นตัวกำหนดลักษณะการจ้างงาน การรกระจายอำนาจและการควบคุมอำนาจภายในองค์การ หลักการระบบราชการมีรายละเอียดดังนี้
1. หลักการแบ่งงานกันทำ (Division of Labor) เป็นหลักการแบ่งแยกหน้าที่ตามลักษณะงานและความชำนาญของบุคคล (Personal Expertise) เพื่อให้องค์การใช้ทรัพยากรที่มีได้อย่างมีประสิทธิภาพเกิดความสมดุลระหว่างหน้าที่และความรับผิดชอบ บุคคลที่มีความชำนาญเฉพาะจะได้รับการฝึกงานหรือการเรียนรู้งานโดยมีการปรับเปลี่ยนบุคคลเพื่อหางานที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคล การแบ่งงานกันทำถือว่าเป็นการสร้างความรับผิดชอบโดยตรงต่อบุคคลในองค์การ
2. หลักโครงสร้างตามสายการบังคับบัญชา (Hierarchical) ทั้งนี้ เมื่อได้รับตำแหน่งสูงขึ้นสามารถอำนวยการและควบคุมบุคคลที่อยู่ในตำแหน่งที่ต่ำกว่า Weber แสดงความเห็นไว้ว่า ผู้ใต้บังคับบัญชาควรถูกกำหนดจากองค์การให้ชัดเจนว่าจะถูกอำนวยการ สั่งการและควบคุมโดยใครและลำดับชั้นของสายบังคับบัญชา
3. การกำหนดกฎ วินัย และการควบคุม (Rule, Disciplines and Controlling) เป็นแนวทางของการปฏิบัติงานของบุคคลในองค์การอย่างเป็นทางการ กฎจะทำให้บุคคลมีระเบียบวินัย หากทุกคนในองค์การยึดมั่นในกฎจะทำให้องค์การมีความมั่นคงเมื่อบวกกับการที่องค์การมีระบบการควบคุมของผู้บังคับบัญชาที่ดีแล้วก็จะช่วยให้องค์การสามารถไปสู่จุดมุ่งหมายเดียวกันได้อย่างรวดเร็ว
4. การกำหนดงานตามหลักอำนาจหน้าที่ (Authority) เป็นการแสดงตำแหน่งงานตามลำดับชั้นโดยการแต่งตั้งบุคคลที่เหมาะสมให้ดำรงตำแหน่ง หลักอำนาจหน้าที่จะเพิ่มขึ้นเมื่อได้รับตำแหน่งใหม่ที่สูงกว่าเดิมและมีความรับผิดชอบมากขึ้น อาจกล่าวได้ว่าตำแหน่งที่มาของอำนาจหน้าที่มีดังนี้
4.1 อำนาจหน้าที่แบบดั่งเดิม (Traditional Authority) เป็นอำนาจหน้าที่ที่ได้รับสืบทอดมามาจากต้นตระกูลหรือผู้ที่ได้รับความเคารพนับถือในครอบครัวส่วนใหญ่ตั้งอยู่บนพื้นฐาน ของขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรม
4.2 อำนาจหน้าที่ที่มีมาแต่กำเนิด (Charismatic Authority) เป็นอำนาจหน้าที่ที่ได้รับและติดตัวมาเนื่องจากผู้ให้กำเนิดเป็นบุคคลที่มีอำนาจหรือมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปในเชิงธุรกิจ ผู้ให้กำเนิดมักเป็นนักธุรกิจ นักการเมืองหรือผู้ทรงอิทธิพล เมื่อมีทายาทอิทธิพลนั้นจึงถ่ายทอดไปยังทายาทโดยอัตโนมัติ
4.3 อำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย (Legal Authority) เป็นอำนาจหน้าที่ที่ได้รับมาตามสิทธิของกฎหมายที่ระบุไว้ในประเด็นต่างๆ
5. ข้อผูกมัดในระยะยาวในอาชีพ (Lifelong career Commitment) บุคคลที่ได้รับมอบหมายให้ทำงานในระบบราชการจะทำงานได้ตลอดชีวิตและมีโอกาสก้าวหน้าในหน้าที่การงานได้เป็นการประกันความมั่นคงในอาชีพ
6. อำนาจหน้าที่ตามโครงสร้างองค์การ (Authority Structure) เป็นอำนาจหน้าที่ที่ได้รับมาโดยตรงจากองค์การเพื่อให้สามารถทำหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายจากองค์การในครั้งแรกที่เข้าทำงานรวมถึงที่ได้รับมอบหมายภายหลัง
7. ความมีเหตุมีผล (Rationality) ผู้บริหารทุกคนจะต้องยึดหลักเหตุและผลในการบริหารงานโดยเฉพาะในการแก้ไขปัญหาและการตัดสินใจในทุกกิจกรรมในองค์การ
สรุปได้ว่าทฤษฎีระบบราชการ (Bureaucracy) ตามแนวคิดของ Weber เป็นแนวคิดเน้นให้เห็นถึงระบบการบริหารที่อาศัยความสัมพันธ์ของโครงสร้างองค์การและอำนาจหน้าที่ในการบริการเพื่อให้เป็นไปตามกฎและระเบียบขององค์การรวมถึงการใช้หลักของเหตุและผลของบุคคลในการดำเนินงานให้บรรลุจุดหมาย
อ้างอิงจาก
อนิวัช แก้วจำนงค์. (2552). หลักการจัดการ. พิมพ์ครั้งที่ 2. สงขลา: นำศิลป์โฆษณา. (หน้า 62-64).
แนวคิดของ Max Weber
แม็ค เว็บเบอร์ (Max Weber) นักสังคมสงเคราะห์และนักรัฐศาสตร์ชาวเยอรมันที่มีชื่อเสียง แนวคิดนี้เกิดที่เยอรมัน ในขณะที่มีปฏิวัติอุตสาหกรรม และปรากฏให้เห็นว่ามีการใช้ระบบการอุปถัมภ์ในการจัดการ ส่งผลให้เกิดความไม่มีประสิทธิภาพในองค์การ Weber เห็นความจำเป็นในการสร้างพื้นฐานของหลักเหตุและผลสำหรับการบริหารองค์การขนาดใหญ่ จึงได้นำเสนอแนวคิดรูปแบบองค์การที่เป็นอุดมคติเรียกว่า "องค์การระบบราชการ (Bureaucracy)" เป็นองค์การที่บริหารภารกิจ (Tasks) ต่างๆเพื่อพัฒนาให้บรรลุผลสำเร็จได้เร็วขึ้น มีประสิทธิภาพและความเป็นเหตุเป็นผล (Rational) มากขึ้น
Weber ได้แสดงให้เห็นหลัก 7 ประการในระบบราชการที่ทำการศึกษาและพัฒนาหลักการเหล่านี้ให้เป็นตัวกำหนดลักษณะการจ้างงาน การรกระจายอำนาจและการควบคุมอำนาจภายในองค์การ หลักการระบบราชการมีรายละเอียดดังนี้
1. หลักการแบ่งงานกันทำ (Division of Labor) เป็นหลักการแบ่งแยกหน้าที่ตามลักษณะงานและความชำนาญของบุคคล (Personal Expertise) เพื่อให้องค์การใช้ทรัพยากรที่มีได้อย่างมีประสิทธิภาพเกิดความสมดุลระหว่างหน้าที่และความรับผิดชอบ บุคคลที่มีความชำนาญเฉพาะจะได้รับการฝึกงานหรือการเรียนรู้งานโดยมีการปรับเปลี่ยนบุคคลเพื่อหางานที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคล การแบ่งงานกันทำถือว่าเป็นการสร้างความรับผิดชอบโดยตรงต่อบุคคลในองค์การ
2. หลักโครงสร้างตามสายการบังคับบัญชา (Hierarchical) ทั้งนี้ เมื่อได้รับตำแหน่งสูงขึ้นสามารถอำนวยการและควบคุมบุคคลที่อยู่ในตำแหน่งที่ต่ำกว่า Weber แสดงความเห็นไว้ว่า ผู้ใต้บังคับบัญชาควรถูกกำหนดจากองค์การให้ชัดเจนว่าจะถูกอำนวยการ สั่งการและควบคุมโดยใครและลำดับชั้นของสายบังคับบัญชา
3. การกำหนดกฎ วินัย และการควบคุม (Rule, Disciplines and Controlling) เป็นแนวทางของการปฏิบัติงานของบุคคลในองค์การอย่างเป็นทางการ กฎจะทำให้บุคคลมีระเบียบวินัย หากทุกคนในองค์การยึดมั่นในกฎจะทำให้องค์การมีความมั่นคงเมื่อบวกกับการที่องค์การมีระบบการควบคุมของผู้บังคับบัญชาที่ดีแล้วก็จะช่วยให้องค์การสามารถไปสู่จุดมุ่งหมายเดียวกันได้อย่างรวดเร็ว
4. การกำหนดงานตามหลักอำนาจหน้าที่ (Authority) เป็นการแสดงตำแหน่งงานตามลำดับชั้นโดยการแต่งตั้งบุคคลที่เหมาะสมให้ดำรงตำแหน่ง หลักอำนาจหน้าที่จะเพิ่มขึ้นเมื่อได้รับตำแหน่งใหม่ที่สูงกว่าเดิมและมีความรับผิดชอบมากขึ้น อาจกล่าวได้ว่าตำแหน่งที่มาของอำนาจหน้าที่มีดังนี้
4.1 อำนาจหน้าที่แบบดั่งเดิม (Traditional Authority) เป็นอำนาจหน้าที่ที่ได้รับสืบทอดมามาจากต้นตระกูลหรือผู้ที่ได้รับความเคารพนับถือในครอบครัวส่วนใหญ่ตั้งอยู่บนพื้นฐาน ของขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรม
4.2 อำนาจหน้าที่ที่มีมาแต่กำเนิด (Charismatic Authority) เป็นอำนาจหน้าที่ที่ได้รับและติดตัวมาเนื่องจากผู้ให้กำเนิดเป็นบุคคลที่มีอำนาจหรือมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปในเชิงธุรกิจ ผู้ให้กำเนิดมักเป็นนักธุรกิจ นักการเมืองหรือผู้ทรงอิทธิพล เมื่อมีทายาทอิทธิพลนั้นจึงถ่ายทอดไปยังทายาทโดยอัตโนมัติ
4.3 อำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย (Legal Authority) เป็นอำนาจหน้าที่ที่ได้รับมาตามสิทธิของกฎหมายที่ระบุไว้ในประเด็นต่างๆ
5. ข้อผูกมัดในระยะยาวในอาชีพ (Lifelong career Commitment) บุคคลที่ได้รับมอบหมายให้ทำงานในระบบราชการจะทำงานได้ตลอดชีวิตและมีโอกาสก้าวหน้าในหน้าที่การงานได้เป็นการประกันความมั่นคงในอาชีพ
6. อำนาจหน้าที่ตามโครงสร้างองค์การ (Authority Structure) เป็นอำนาจหน้าที่ที่ได้รับมาโดยตรงจากองค์การเพื่อให้สามารถทำหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายจากองค์การในครั้งแรกที่เข้าทำงานรวมถึงที่ได้รับมอบหมายภายหลัง
7. ความมีเหตุมีผล (Rationality) ผู้บริหารทุกคนจะต้องยึดหลักเหตุและผลในการบริหารงานโดยเฉพาะในการแก้ไขปัญหาและการตัดสินใจในทุกกิจกรรมในองค์การ
สรุปได้ว่าทฤษฎีระบบราชการ (Bureaucracy) ตามแนวคิดของ Weber เป็นแนวคิดเน้นให้เห็นถึงระบบการบริหารที่อาศัยความสัมพันธ์ของโครงสร้างองค์การและอำนาจหน้าที่ในการบริการเพื่อให้เป็นไปตามกฎและระเบียบขององค์การรวมถึงการใช้หลักของเหตุและผลของบุคคลในการดำเนินงานให้บรรลุจุดหมาย
อ้างอิงจาก
อนิวัช แก้วจำนงค์. (2552). หลักการจัดการ. พิมพ์ครั้งที่ 2. สงขลา: นำศิลป์โฆษณา. (หน้า 62-64).
นายภานุมาศ คงประเสริฐ รหัส 203 การจัดการทั่วไป
SWOT ภาคครัวเรือน
ความรู้เบื้องต้นระบุว่าเทคนิค SWOT มากจาก จุดแข็ง(Strength) จุดออน (Weakness) โอกาส (Opportunity) และขอจํากัดหรืออุปสรรค (Threat) เพื่อนำเทคนิค SWOT มาใชเพื่อวิเคราะหสภาพแวดลอมทั้งภายในและภายนอก เช่นถ้าเป็นหนวยงาน ก็เพื่อชวยใหการพิจารณาศึกษาสภาพแวดลอม ของหนวยงานเปนระบบและชั ดเจนยิ่งขึ้น โดยเป็นประโยชน์ตอการนําไปเปนแนวทางในการพัฒนาหนวยงาน หรือในการกําหนดวิสัยทัศน (vision) ของหนวยงาน
อย่างไรก็ตามคงต้องเข้าใจและรู้ถึงแก่นแท้ของ SWOT ว่าเหตุการณ์หรือทรัพยากรแบบไหน ลักษณะใด ถึงเรียกว่า จุดแข็ง (S) จุดอ่อน (W) โอกาส (O) และ อุปสรรคหรือข้อจำกัด (T) เนื่องจากจุดแข็ง (S) และ โอกาส (O) มีความหมายคล้ายกัน เพราะต่างเป็นลักษณะของ “ สิ่งดี ” สำหรับ จุดอ่อน (W) และ อุปสรรค/ ข้อจำกัด (T) ก็มีความหมายคล้ายกัน เพราะต่างเป็นลักษณะของ “ข้อเสีย”
ดังนั้น การนำเทคนิค SWOT มาช่วยวิเคราะห์ต้องกำหนดความหมาย และความเข้าใจให้ดี ยกตัวอย่าง จุดแข็ง (S) คือ การสนับสนุนจากภายในครอบครัว และเอื้ออำนวยต่อการทำงานของ ครอบครัว เช่นเงินออมและสภาพเศรษฐกิจการเงินอยู่ในระดับที่ดี สมาชิกครอบครัวมีการศึกษาดีทำงานรายได้สูง หัวหน้าครอบครัวขยันขันแข็งทำมาหากิน เป็นต้น สำหรับจุดอ่อน (W) คือ ข้อบกพรอง ของครอบครัว ที่ไม เอื้ออำนวยต่อการทำงานของครอบครัว เช่น สมาชิกในครอบครัว ทะเลาะเบาะแว้งเป็นประจำ ทำให้ขาดขวัญและกำลังใจการทำงาน ครอบครัวขาดเงินใช้จ่ายอย่างรุนแรง หัวหน้าครอบครัวขาดจิตสำนึกเฉื่อยชาในการทำมาหากิน
ในส่วนของโอกาส (O) คือ การสนับสนุนจากภายนอกครอบครัว ที่เอื้ออำนวยต่อครอบครัว
เช่น นโยบายของหน่วยงานราชการที่สนับสนุนการพัฒนาครอบครัว หรือกระแสหรืออิทธิพลทางการเมืองการปกครองที่เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาครอบครัว ผ่านทางสื่อสารมวลชนต่างๆ สุดท้ายอุปสรรค/ ขอจํากัด (T) คือ ขอบกพรองจากภายนอกครอบครัว หรือปจจัยภายนอกที่ไมสนับสนุนหรือไมเอื้ออำนวยตอครอบครัว เชน เศรษฐกิจตกต่ำ อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นสูง การทําลายสิ่งแวดลอม ผู้บริหารท้องถิ่นไม่มีนโยบายยกระดับการพัฒนาครัวเป็นต้น
จากข้อมูลข้างต้นสามารถพิจารณาได้ว่า เทคนิค SWOT สามารถนำมาปรับใช้ได้กับหน่วยงานในทุกระดับ โดยเฉพาะในหน่วยงานที่เล็กที่สุดของสังคมแต่มีความสำคัญที่สุด นั่นคือระดับครอบครัว เพราะครอบครัวคือจุดเริ่มต้นแห่งความงอกงามของชีวิตมนุษย์ และเชื่อมโยงถึงความงอกงามโดยรวมของสังคม นอกจากนี้หากทุกคนมีการวิเคราะห์ต่อจนถึงระดับรายบุคคล การพัฒนาตนเองก็จะสามารถทำได้อย่างไม่มีที่สิ้น
เพราะ หากรู้ตัวเรา ทั้งข้อดี ความถนัดของตัวเรา รู้โอกาส รู้ข้อเสีย จุดด้อยของตัวเรา รวมถึงการรู้ ข้อจำกัดหรืออุปสรรคของตัวเรา จะทำให้จังหวะการก้าวของชีวิตดีขึ้น มีการวางแผนเพื่อก้าวสู่
เป้าหมาย (vision) ของชีวิตโดยเฉพาะบุคคล ในช่วงวัยรุ่นที่ควรนำ เทคนิค SWOT มาตรวจสอบเพื่อหาแนวทางเหมาะสม มีความเหมาะเจาะพอดีกันกับชีวิตของตัวเอง รวมถึงเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับตัวเองได้อีกทางหนึ่ง
ทั้งนี้แม้เทคนิค SWOT เป็น การค้นหาวิธีการโดยอาศัยการ มองกว้าง เห็นไกล รอบคอบ ตามหลักการกำหนดกลยุทธ์ เช่น รู้จักบทบาทของหน่วยงานที่เป็น หน่วยระดับดาว (Stars) หน่วยแม่วัว (Cash Cows) หน่วยที่เป็นสุนัข (Dogs) กับหน่วยงานที่อยู่ในระดับน่าสงสัย (Question Marks) รวมทั้งกลยุทธ์เพิ่มศักยภาพ เพื่อใช้ประโยชน์จากจุดแข็งที่มีอยู่ และสภาพโอกาสที่เอื้ออำนวย เพิ่มศักยภาพในการทำงานของหน่วยงาน เกิดเป็นปริมาณและคุณภาพงานให้สูงที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
กลยุทธ์ สร้างภูมิคุ้มกัน เพื่อใช้ประโยชน์จุดแข็งที่มีอยู่ให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด และบรรเทาผลกระทบจากสภาพแวดล้อมที่เป็นอุปสรรคต่อการทำงานให้ลดน้อยลง กลยุทธ์ เร่งพัฒนาโดยใช้ประโยชน์จากสภาพโอกาสและสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการทำงานเป็นปัจจัยผลักดันจากภายนอกให้เกิดการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงภายในหน่วยงาน ที่มีจุดอ่อนรอคอยการแก้ไขอยู่
หรือกลยุทธ์แก้วิกฤติ เพื่อ ใช้ประโยชน์จากสภาพโอกาสที่เลวร้าย และจุดอ่อนของหน่วยงานที่มีอยู่ แสวงหาแนวทางใหม่ๆและปรับรื้อระบบการทำงานให้ต่างจากเดิมเพื่อหาทางอยู่รอดให้ได้ภายใต้สภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้ออำนวย
อย่าง ไรก็ตามหากพิจารณาถึงโครงการของภาครัฐที่มีผลต่อการพัฒนาประเทศ ทั้งในอดีตและปัจจุบัน บางโครงการในอดีตถือว่าเป็นโอกาส แต่ปัจจุบันมองว่าเป็นอุปสรรค หรือปัจจุบันเป็นอุปสรรคอนาคตอาจเป็นโอกาสก็อาจเป็นไปได้เช่นกัน เพราะการวิเคราะห์ Swot ไม่ใช่ อกาลิโก หรือเป็นเรื่องทันสมัยตลอด เพราะเมื่อเวลาเปลี่ยนบางปัจจัยย่อมเปลี่ยนเช่นกัน
รวมถึงขึ้นอยู่กับมุมมองและลักษณะประเภทของหน่วยงานหรือ ประเภทของธุรกิจ ยกตัวอย่างการเจรจาการเปิดเขตการค้าเสรี ( FTA ) ระหว่างไทยกับจีน ผู้ผลิตกระเทียมอาจมองว่าเป็นอุปสรรคเพราะนโยบายดังกล่าวทำให้กระเทียมราคา ถูกจากจีนทะลักเข้ามาในไทยมากมาย แต่กรณีดังกล่าวจะเป็นโอกาสสำหรับ ผู้บริโภคกระเทียมเนื่องจากมีกระเทียมคุณภาพดี ราคาถูก มาบริโภคตลอดปี
นอกจากนี้ เทคนิค SWOT จำ เป็นต้องทำในทุกหน่วยงาน เพราะเป็นการนำเสนอกลยุทธ์การทำงานที่ทุกหน่วยงานควรจะมีเป็นประจำ และเมื่อนำมารวมกัน ก็จะเกิดกลยุทธ์ในภาพรวมของหน่วยงานที่ใหญ่กว่า เช่นกลยุทธ์ของหมู่บ้านต่างๆ ก่อให้เกิดกลยุทธ์ของอำเภอ ที่สำคัญเทคนิค SWOT ยังนำไปสู่ความสำเร็จ และความล้มเหลว ของโครงการที่จะเกิดขึ้น ที่สำคัญเทคนิค SWOT เป็นกระบวนการที่ไม่หยุดนิ่ง ต้องเคลื่อนไหวตลอดเวลาหรือต้องปรับปรุง อยู่เสมอ เพราะปัจจัย O (โอกาส Opportunity ) และ T ( ขอจํากัดหรืออุปสรรค Threat ) ซึ่งอยู่นอกเหนือการควบคุม จะมีปรับเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา รวมทั้ง S (จุดแข็ง Strength ) และ W ( จุดออน Weakness ) ของหน่วยงานด้วย
ทั้งนี้เทคนิค SWOT เป็นการสร้างภูมิคุ้มกันแก่หน่วยงานเพราะทำให้ทราบถึงกลยุทธ์ในการปรับปรุงการทำ งาน ความก้าวหน้า และขีดจำกัดด้านคน งาน งบประมาณ และระบบงาน เพื่อป้องกันการแทรกแซงการทำงานจากปัจจัยภายนอกได้มากขึ้น ที่สำคัญที่สุดเทคนิค SWOT ของหน่วยงาน หากนำไปสู่เทคนิค SWOT บุคคล จะเพิ่มความเข้าใจที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งหมายถึงความสำเร็จของงาน และความก้าวหน้าของหน้าที่การงาน และเชื่อมโยงถึงการใช้ชีวิตประจำวันในที่สุด คือการใช้ชีวิตอย่างปกติอย่างที่เราควรจะเป็น
หรือหากนำเทคนิค SWOT ไปวิเคราะห์ในหน่วยงานระดับประเทศหรือระดับรัฐ ก็อาจจะได้คำตอบว่าประเทศไทยเหมาะสมกับแนวทางการพัฒนาแบบไหน จุดแข็งเรื่องทรัพยากร และโอกาสจากนโยบายและสภาพความเป็นไปของโลกปัจจุบัน ชี้ชัดไปทางใด ทั้งหมดไม่มีคำว่าสายโดยเริ่มต้นที่ตัวเรา หาความถนัด จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส ปัญหาหรืออุปสรรค เริ่มตั้งแต่วันนี้
แหล่งที่มา http://doojid.blogspot.com/2010/09/swot.html
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)