นายภานุมาศ คงประเสริฐ รหัส 203 การจัดการทั่วไป
SWOT ภาคครัวเรือน
ความรู้เบื้องต้นระบุว่าเทคนิค SWOT มากจาก จุดแข็ง(Strength) จุดออน (Weakness) โอกาส (Opportunity) และขอจํากัดหรืออุปสรรค (Threat) เพื่อนำเทคนิค SWOT มาใชเพื่อวิเคราะหสภาพแวดลอมทั้งภายในและภายนอก เช่นถ้าเป็นหนวยงาน ก็เพื่อชวยใหการพิจารณาศึกษาสภาพแวดลอม ของหนวยงานเปนระบบและชั ดเจนยิ่งขึ้น โดยเป็นประโยชน์ตอการนําไปเปนแนวทางในการพัฒนาหนวยงาน หรือในการกําหนดวิสัยทัศน (vision) ของหนวยงาน
อย่างไรก็ตามคงต้องเข้าใจและรู้ถึงแก่นแท้ของ SWOT ว่าเหตุการณ์หรือทรัพยากรแบบไหน ลักษณะใด ถึงเรียกว่า จุดแข็ง (S) จุดอ่อน (W) โอกาส (O) และ อุปสรรคหรือข้อจำกัด (T) เนื่องจากจุดแข็ง (S) และ โอกาส (O) มีความหมายคล้ายกัน เพราะต่างเป็นลักษณะของ “ สิ่งดี ” สำหรับ จุดอ่อน (W) และ อุปสรรค/ ข้อจำกัด (T) ก็มีความหมายคล้ายกัน เพราะต่างเป็นลักษณะของ “ข้อเสีย”
ดังนั้น การนำเทคนิค SWOT มาช่วยวิเคราะห์ต้องกำหนดความหมาย และความเข้าใจให้ดี ยกตัวอย่าง จุดแข็ง (S) คือ การสนับสนุนจากภายในครอบครัว และเอื้ออำนวยต่อการทำงานของ ครอบครัว เช่นเงินออมและสภาพเศรษฐกิจการเงินอยู่ในระดับที่ดี สมาชิกครอบครัวมีการศึกษาดีทำงานรายได้สูง หัวหน้าครอบครัวขยันขันแข็งทำมาหากิน เป็นต้น สำหรับจุดอ่อน (W) คือ ข้อบกพรอง ของครอบครัว ที่ไม เอื้ออำนวยต่อการทำงานของครอบครัว เช่น สมาชิกในครอบครัว ทะเลาะเบาะแว้งเป็นประจำ ทำให้ขาดขวัญและกำลังใจการทำงาน ครอบครัวขาดเงินใช้จ่ายอย่างรุนแรง หัวหน้าครอบครัวขาดจิตสำนึกเฉื่อยชาในการทำมาหากิน
ในส่วนของโอกาส (O) คือ การสนับสนุนจากภายนอกครอบครัว ที่เอื้ออำนวยต่อครอบครัว
เช่น นโยบายของหน่วยงานราชการที่สนับสนุนการพัฒนาครอบครัว หรือกระแสหรืออิทธิพลทางการเมืองการปกครองที่เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาครอบครัว ผ่านทางสื่อสารมวลชนต่างๆ สุดท้ายอุปสรรค/ ขอจํากัด (T) คือ ขอบกพรองจากภายนอกครอบครัว หรือปจจัยภายนอกที่ไมสนับสนุนหรือไมเอื้ออำนวยตอครอบครัว เชน เศรษฐกิจตกต่ำ อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นสูง การทําลายสิ่งแวดลอม ผู้บริหารท้องถิ่นไม่มีนโยบายยกระดับการพัฒนาครัวเป็นต้น
จากข้อมูลข้างต้นสามารถพิจารณาได้ว่า เทคนิค SWOT สามารถนำมาปรับใช้ได้กับหน่วยงานในทุกระดับ โดยเฉพาะในหน่วยงานที่เล็กที่สุดของสังคมแต่มีความสำคัญที่สุด นั่นคือระดับครอบครัว เพราะครอบครัวคือจุดเริ่มต้นแห่งความงอกงามของชีวิตมนุษย์ และเชื่อมโยงถึงความงอกงามโดยรวมของสังคม นอกจากนี้หากทุกคนมีการวิเคราะห์ต่อจนถึงระดับรายบุคคล การพัฒนาตนเองก็จะสามารถทำได้อย่างไม่มีที่สิ้น
เพราะ หากรู้ตัวเรา ทั้งข้อดี ความถนัดของตัวเรา รู้โอกาส รู้ข้อเสีย จุดด้อยของตัวเรา รวมถึงการรู้ ข้อจำกัดหรืออุปสรรคของตัวเรา จะทำให้จังหวะการก้าวของชีวิตดีขึ้น มีการวางแผนเพื่อก้าวสู่
เป้าหมาย (vision) ของชีวิตโดยเฉพาะบุคคล ในช่วงวัยรุ่นที่ควรนำ เทคนิค SWOT มาตรวจสอบเพื่อหาแนวทางเหมาะสม มีความเหมาะเจาะพอดีกันกับชีวิตของตัวเอง รวมถึงเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับตัวเองได้อีกทางหนึ่ง
ทั้งนี้แม้เทคนิค SWOT เป็น การค้นหาวิธีการโดยอาศัยการ มองกว้าง เห็นไกล รอบคอบ ตามหลักการกำหนดกลยุทธ์ เช่น รู้จักบทบาทของหน่วยงานที่เป็น หน่วยระดับดาว (Stars) หน่วยแม่วัว (Cash Cows) หน่วยที่เป็นสุนัข (Dogs) กับหน่วยงานที่อยู่ในระดับน่าสงสัย (Question Marks) รวมทั้งกลยุทธ์เพิ่มศักยภาพ เพื่อใช้ประโยชน์จากจุดแข็งที่มีอยู่ และสภาพโอกาสที่เอื้ออำนวย เพิ่มศักยภาพในการทำงานของหน่วยงาน เกิดเป็นปริมาณและคุณภาพงานให้สูงที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
กลยุทธ์ สร้างภูมิคุ้มกัน เพื่อใช้ประโยชน์จุดแข็งที่มีอยู่ให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด และบรรเทาผลกระทบจากสภาพแวดล้อมที่เป็นอุปสรรคต่อการทำงานให้ลดน้อยลง กลยุทธ์ เร่งพัฒนาโดยใช้ประโยชน์จากสภาพโอกาสและสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการทำงานเป็นปัจจัยผลักดันจากภายนอกให้เกิดการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงภายในหน่วยงาน ที่มีจุดอ่อนรอคอยการแก้ไขอยู่
หรือกลยุทธ์แก้วิกฤติ เพื่อ ใช้ประโยชน์จากสภาพโอกาสที่เลวร้าย และจุดอ่อนของหน่วยงานที่มีอยู่ แสวงหาแนวทางใหม่ๆและปรับรื้อระบบการทำงานให้ต่างจากเดิมเพื่อหาทางอยู่รอดให้ได้ภายใต้สภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้ออำนวย
อย่าง ไรก็ตามหากพิจารณาถึงโครงการของภาครัฐที่มีผลต่อการพัฒนาประเทศ ทั้งในอดีตและปัจจุบัน บางโครงการในอดีตถือว่าเป็นโอกาส แต่ปัจจุบันมองว่าเป็นอุปสรรค หรือปัจจุบันเป็นอุปสรรคอนาคตอาจเป็นโอกาสก็อาจเป็นไปได้เช่นกัน เพราะการวิเคราะห์ Swot ไม่ใช่ อกาลิโก หรือเป็นเรื่องทันสมัยตลอด เพราะเมื่อเวลาเปลี่ยนบางปัจจัยย่อมเปลี่ยนเช่นกัน
รวมถึงขึ้นอยู่กับมุมมองและลักษณะประเภทของหน่วยงานหรือ ประเภทของธุรกิจ ยกตัวอย่างการเจรจาการเปิดเขตการค้าเสรี ( FTA ) ระหว่างไทยกับจีน ผู้ผลิตกระเทียมอาจมองว่าเป็นอุปสรรคเพราะนโยบายดังกล่าวทำให้กระเทียมราคา ถูกจากจีนทะลักเข้ามาในไทยมากมาย แต่กรณีดังกล่าวจะเป็นโอกาสสำหรับ ผู้บริโภคกระเทียมเนื่องจากมีกระเทียมคุณภาพดี ราคาถูก มาบริโภคตลอดปี
นอกจากนี้ เทคนิค SWOT จำ เป็นต้องทำในทุกหน่วยงาน เพราะเป็นการนำเสนอกลยุทธ์การทำงานที่ทุกหน่วยงานควรจะมีเป็นประจำ และเมื่อนำมารวมกัน ก็จะเกิดกลยุทธ์ในภาพรวมของหน่วยงานที่ใหญ่กว่า เช่นกลยุทธ์ของหมู่บ้านต่างๆ ก่อให้เกิดกลยุทธ์ของอำเภอ ที่สำคัญเทคนิค SWOT ยังนำไปสู่ความสำเร็จ และความล้มเหลว ของโครงการที่จะเกิดขึ้น ที่สำคัญเทคนิค SWOT เป็นกระบวนการที่ไม่หยุดนิ่ง ต้องเคลื่อนไหวตลอดเวลาหรือต้องปรับปรุง อยู่เสมอ เพราะปัจจัย O (โอกาส Opportunity ) และ T ( ขอจํากัดหรืออุปสรรค Threat ) ซึ่งอยู่นอกเหนือการควบคุม จะมีปรับเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา รวมทั้ง S (จุดแข็ง Strength ) และ W ( จุดออน Weakness ) ของหน่วยงานด้วย
ทั้งนี้เทคนิค SWOT เป็นการสร้างภูมิคุ้มกันแก่หน่วยงานเพราะทำให้ทราบถึงกลยุทธ์ในการปรับปรุงการทำ งาน ความก้าวหน้า และขีดจำกัดด้านคน งาน งบประมาณ และระบบงาน เพื่อป้องกันการแทรกแซงการทำงานจากปัจจัยภายนอกได้มากขึ้น ที่สำคัญที่สุดเทคนิค SWOT ของหน่วยงาน หากนำไปสู่เทคนิค SWOT บุคคล จะเพิ่มความเข้าใจที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งหมายถึงความสำเร็จของงาน และความก้าวหน้าของหน้าที่การงาน และเชื่อมโยงถึงการใช้ชีวิตประจำวันในที่สุด คือการใช้ชีวิตอย่างปกติอย่างที่เราควรจะเป็น
หรือหากนำเทคนิค SWOT ไปวิเคราะห์ในหน่วยงานระดับประเทศหรือระดับรัฐ ก็อาจจะได้คำตอบว่าประเทศไทยเหมาะสมกับแนวทางการพัฒนาแบบไหน จุดแข็งเรื่องทรัพยากร และโอกาสจากนโยบายและสภาพความเป็นไปของโลกปัจจุบัน ชี้ชัดไปทางใด ทั้งหมดไม่มีคำว่าสายโดยเริ่มต้นที่ตัวเรา หาความถนัด จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส ปัญหาหรืออุปสรรค เริ่มตั้งแต่วันนี้
แหล่งที่มา http://doojid.blogspot.com/2010/09/swot.html
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น