หน้าเว็บ

นางสาวผกามาศ มุขศรี รหัส 5210125401001 การจัดการทั่วไป

ทฤษฎีการจัดการแบบวิทยาศาสตร์(The Scientific Management)
Taylor ได้ทำการศึกษาและพัฒนา วิธีการทำงานที่มีประสิทธิภาพจากการสังเกตการทำงานของคนงานและสรุปว่า คนงาน มีลักษณะของการหลบหลีกงานในขณะทำงาน (soldiering) กล่าวคือ เขาจะทำงานช้าลง หรือทำงานไม่เต็มศักยภาพของตนเอง ส่งผลให้งานหรือผลผลิตต่ำกว่าที่ควรจะเป็น Taylor ได้ออกแบบระบบการทำงานทั้งระบบให้มีประสิทธิภาพสูงสุด โดยการจูงใจให้ คนงานทำงานด้วยการเปลี่ยนระบบการจ่ายค่าจ้างจากระบบเดิมที่จ่ายค่าจ้างคนงานทุกคนเท่ากันเป็นระบบการจ่ายค่าจ้างแบบรายชิ้น (a piecework pay system) พร้อมประยุกต์ วิธีการบริหารค่าจ้างโดยเพิ่มค่าจ้างให้คนงานที่สามารถทำงานได้ตามมาตรฐาน และสูงกว่า มาตรฐานที่กำหนดไว้ อีกทั้งนำระบบการกำหนดเวลาพักระหว่างเวลาทำงานเป็นช่วงๆ (periods) เพื่อที่จะลดความเมื่อยล้าในการทำงานให้แก่พนักงาน ทำให้คุณภาพการทำงาน ของพนักงานสูงขึ้น ผลผลิตการทำงานได้มากขึ้น และขวัญกำลังใจของพนักงานสูงขึ้น
นอกจากนี้ Taylor ได้เสนอทฤษฎีความเชื่อที่ว่าปัจจัยที่สำคัญที่จะน่าไปสู่การจัดการที่มีประสิทธิภาพและการสร้าง สัมพันธภาพที่ดีกับพนักงานขึ้นอยู่กับปัจจัย ดังต่อไปนี้
1. ศึกษาวิธีการทำงานด้วยวิธีการวิทยาศาสตร์โดยพัฒนาวิธีทำงานให้เป็นระบบมีขั้นตอนที่มีประสิทธิภาพในการทำงานเพื่อตัดวิธีการทำให้เกิดความสูญเสียในการทำงาน
2. ค้นหาวิธีการทำงานใดๆเพื่อให้ได้วิธีการทำงานให้ง่ายที่สุดเพื่อฝึกฝนให้ ผู้ปฏิบัติงานได้ทำงานง่ายขึ้นและพัฒนาไปสู่ความเชี่ยวชาญในงานของตน
3. การจ่ายค่าจ้างแบบจูงใจ เป็นความพยายามที่เชื่อมโยงกับหลักการที่ผ่านมา คือ ถ้า งานที่ตนเองทำอยู่การะทำได้สะดวกและง่ายขึ้น จะนำไปสู่ความสามารถที่พนักงาน จะกระตือรือร้นในการทำงาน จนสามารถพิชิตรางวัลหรือค่าจ้างที่มากขึ้นได้
4. การบริหารและการจัดการให้เป็นวิทยาศาสตร์ เพื่อนำไปสู่การจ่ายค่าจ้างให้ มากขึ้นและทำให้พนักงานทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
5.การคำนึงถึงหลักความสามารถ กล่าวคือ การดำเนินงานของพนักงานในระดับปฏิบัติการให้ยึดถือความสามารถในการทำงาน ตลอดจนการเลื่อนตำแหน่งให้นำหลักเกณฑ์นี้ไปใช้เป็นสำคัญ


อ้างอิงจาก หนังสือการบริหารองค์กร ชื่อเรื่องทฤษฎีองค์การ:วิเคราะห์แนวความคิดทฤษฎีและการประยุกต์/ทองใบ สุดชารี

ไม่มีความคิดเห็น: