หน้าเว็บ

น.ส.วรรณภา ปั้นนาค รหัส 5210125401038 เอกการจัดการทั่วไป ปี 4 ภาคปกติ

ทฤษฎีระบบราชการ (Bureaucracy Theory)
แนวคิดของ Max Weber
แม็ค เว็บเบอร์ (Max Weber) นักสังคมสงเคราะห์และนักรัฐศาสตร์ชาวเยอรมันที่มีชื่อเสียง แนวคิดนี้เกิดที่เยอรมัน ในขณะที่มีปฏิวัติอุตสาหกรรม และปรากฏให้เห็นว่ามีการใช้ระบบการอุปถัมภ์ในการจัดการ ส่งผลให้เกิดความไม่มีประสิทธิภาพในองค์การ Weber เห็นความจำเป็นในการสร้างพื้นฐานของหลักเหตุและผลสำหรับการบริหารองค์การขนาดใหญ่ จึงได้นำเสนอแนวคิดรูปแบบองค์การที่เป็นอุดมคติเรียกว่า "องค์การระบบราชการ (Bureaucracy)" เป็นองค์การที่บริหารภารกิจ (Tasks) ต่างๆเพื่อพัฒนาให้บรรลุผลสำเร็จได้เร็วขึ้น มีประสิทธิภาพและความเป็นเหตุเป็นผล (Rational) มากขึ้น
Weber ได้แสดงให้เห็นหลัก 7 ประการในระบบราชการที่ทำการศึกษาและพัฒนาหลักการเหล่านี้ให้เป็นตัวกำหนดลักษณะการจ้างงาน การรกระจายอำนาจและการควบคุมอำนาจภายในองค์การ หลักการระบบราชการมีรายละเอียดดังนี้
1. หลักการแบ่งงานกันทำ (Division of Labor) เป็นหลักการแบ่งแยกหน้าที่ตามลักษณะงานและความชำนาญของบุคคล (Personal Expertise) เพื่อให้องค์การใช้ทรัพยากรที่มีได้อย่างมีประสิทธิภาพเกิดความสมดุลระหว่างหน้าที่และความรับผิดชอบ บุคคลที่มีความชำนาญเฉพาะจะได้รับการฝึกงานหรือการเรียนรู้งานโดยมีการปรับเปลี่ยนบุคคลเพื่อหางานที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคล การแบ่งงานกันทำถือว่าเป็นการสร้างความรับผิดชอบโดยตรงต่อบุคคลในองค์การ
2. หลักโครงสร้างตามสายการบังคับบัญชา (Hierarchical) ทั้งนี้ เมื่อได้รับตำแหน่งสูงขึ้นสามารถอำนวยการและควบคุมบุคคลที่อยู่ในตำแหน่งที่ต่ำกว่า Weber แสดงความเห็นไว้ว่า ผู้ใต้บังคับบัญชาควรถูกกำหนดจากองค์การให้ชัดเจนว่าจะถูกอำนวยการ สั่งการและควบคุมโดยใครและลำดับชั้นของสายบังคับบัญชา
3. การกำหนดกฎ วินัย และการควบคุม (Rule, Disciplines and Controlling) เป็นแนวทางของการปฏิบัติงานของบุคคลในองค์การอย่างเป็นทางการ กฎจะทำให้บุคคลมีระเบียบวินัย หากทุกคนในองค์การยึดมั่นในกฎจะทำให้องค์การมีความมั่นคงเมื่อบวกกับการที่องค์การมีระบบการควบคุมของผู้บังคับบัญชาที่ดีแล้วก็จะช่วยให้องค์การสามารถไปสู่จุดมุ่งหมายเดียวกันได้อย่างรวดเร็ว
4. การกำหนดงานตามหลักอำนาจหน้าที่ (Authority) เป็นการแสดงตำแหน่งงานตามลำดับชั้นโดยการแต่งตั้งบุคคลที่เหมาะสมให้ดำรงตำแหน่ง หลักอำนาจหน้าที่จะเพิ่มขึ้นเมื่อได้รับตำแหน่งใหม่ที่สูงกว่าเดิมและมีความรับผิดชอบมากขึ้น อาจกล่าวได้ว่าตำแหน่งที่มาของอำนาจหน้าที่มีดังนี้
4.1 อำนาจหน้าที่แบบดั่งเดิม (Traditional Authority) เป็นอำนาจหน้าที่ที่ได้รับสืบทอดมามาจากต้นตระกูลหรือผู้ที่ได้รับความเคารพนับถือในครอบครัวส่วนใหญ่ตั้งอยู่บนพื้นฐาน ของขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรม
4.2 อำนาจหน้าที่ที่มีมาแต่กำเนิด (Charismatic Authority) เป็นอำนาจหน้าที่ที่ได้รับและติดตัวมาเนื่องจากผู้ให้กำเนิดเป็นบุคคลที่มีอำนาจหรือมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปในเชิงธุรกิจ ผู้ให้กำเนิดมักเป็นนักธุรกิจ นักการเมืองหรือผู้ทรงอิทธิพล เมื่อมีทายาทอิทธิพลนั้นจึงถ่ายทอดไปยังทายาทโดยอัตโนมัติ
4.3 อำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย (Legal Authority) เป็นอำนาจหน้าที่ที่ได้รับมาตามสิทธิของกฎหมายที่ระบุไว้ในประเด็นต่างๆ
5. ข้อผูกมัดในระยะยาวในอาชีพ (Lifelong career Commitment) บุคคลที่ได้รับมอบหมายให้ทำงานในระบบราชการจะทำงานได้ตลอดชีวิตและมีโอกาสก้าวหน้าในหน้าที่การงานได้เป็นการประกันความมั่นคงในอาชีพ
6. อำนาจหน้าที่ตามโครงสร้างองค์การ (Authority Structure) เป็นอำนาจหน้าที่ที่ได้รับมาโดยตรงจากองค์การเพื่อให้สามารถทำหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายจากองค์การในครั้งแรกที่เข้าทำงานรวมถึงที่ได้รับมอบหมายภายหลัง
7. ความมีเหตุมีผล (Rationality) ผู้บริหารทุกคนจะต้องยึดหลักเหตุและผลในการบริหารงานโดยเฉพาะในการแก้ไขปัญหาและการตัดสินใจในทุกกิจกรรมในองค์การ
สรุปได้ว่าทฤษฎีระบบราชการ (Bureaucracy) ตามแนวคิดของ Weber เป็นแนวคิดเน้นให้เห็นถึงระบบการบริหารที่อาศัยความสัมพันธ์ของโครงสร้างองค์การและอำนาจหน้าที่ในการบริการเพื่อให้เป็นไปตามกฎและระเบียบขององค์การรวมถึงการใช้หลักของเหตุและผลของบุคคลในการดำเนินงานให้บรรลุจุดหมาย


อ้างอิงจาก
อนิวัช แก้วจำนงค์. (2552). หลักการจัดการ. พิมพ์ครั้งที่ 2. สงขลา: นำศิลป์โฆษณา. (หน้า 62-64).