นางสุชาดา มณีโชติ
การประปานครหลวง ให้บริการทางด้านต่างๆ หลายดังต่อไปนี้
ช่องทางการชำระเงิน
· ตัวแทนการชำระเงิน
· สาขาที่ให้บริการ
· ทางอิเล็กทรอนิกส์
บริการอิเล็กทรอนิกส์
· ขอติดตั้งประปาใหม่
· ตรวจสอบสถานะการติดตั้ง
· บริการชำระค่าน้ำประปาและสอบถามข้อมูล
· บริการคำนวณค่าน้ำ
· ตรวจสอบคุณภาพน้ำ
· E-Book
ผู้ใช้น้ำควรรู้
· อัตราค่าน้ำและบริการ
· ข้อปฎิบัติ
· การขอโอนการใช้น้ำ
· การงดจ่ายน้ำประปา
· มาตรวัดน้ำ
· สาระน่ารู้
ขั้นตอนและรายละเอียดการขอใช้บริการ
· การขอติดตั้งการประปาใหม่/ซ้ำ
· การขอเพิ่ม-ลดขนาดมาตรวัดน้ำ
· การรับฝากมาตรวัดน้ำ
· การขอยกเลิกการใช้น้ำ
· การเปลี่ยนแปลงรายละเอียดผู้ใช้น้ำ
· ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม
พื้นที่ให้บริการ
· สำนักงานประปาสาขา
และบริการอื่นๆที่น่าสนใจสามารถเข้าดูได้ที่ www.mwa.co.th
อ้างอิงจาก : http://www.mwa.co.th/main.php?filename=service
นาย ไกรฤกษ์ ไชยมงคล (แชมป์) 5210125401005 เอกการจัดการทั่วไป
www.thaiairways.co.th
บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) (อังกฤษ: Thai Airways International Public Company Limited; ชื่อย่อ: ไทย, THAI) เป็นสายการบินแห่งชาติของประเทศไทยในปัจจุบัน ทำการบินทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ จดทะเบียนในรูปบริษัทจำกัด เมื่อวันอังคารที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2503 เริ่มบินระหว่างประเทศเที่ยวแรกไปยังฮ่องกง เมื่อวันอาทิตย์ที่ 1 พฤษภาคม ปีเดียวกัน และเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2534 นับเป็นสายการบินที่มีอายุยาวนานเป็นอันดับที่ 39 ของโลก
การบินไทยเป็นสายการบินลำดับต้นในเอเชีย ที่ทำการบินในเส้นทางกรุงเทพฯ-ลอนดอน (ท่าอากาศยานฮีทโธรว์) รวมทั้งเปิดเส้นทางการบินตรงจากกรุงเทพฯ-ลอสแอนเจลิส อันเป็นเส้นทางบินที่มีระยะไกลเป็นอันดับที่ 7 ของโลก ด้วยเครื่องบินแอร์บัส เอ 340-500 โดยไม่มีการแวะพัก และใช้เครื่องบินโบอิง 777-200 บินตรงไกลที่สุด ในเส้นทางกรุงเทพฯ-บริสเบน ส่วนเส้นทางกรุงเทพฯ-เอเธนส์เป็นเส้นทางบินตรงไกลที่สุด สำหรับเครื่องบินชนิดโบอิง 777-300 นอกจากนี้ การบินไทยได้รับรางวัลยอดเยี่ยมจากองค์การอนามัยโลกว่าด้วยสุขอนามัยบนเครื่องบิน
ประวัติ
เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2502 รัฐบาลไทยดำเนินการให้ บริษัท เดินอากาศไทย จำกัด (อังกฤษ: Thai Airways Company Limited; ชื่อย่อ: บดท.; TAC) กับ สายการบินสแกนดิเนเวียน (อังกฤษ: Scandinavian Airlines System; ชื่อย่อ: SAS) ทำสัญญาร่วมทุนระหว่างกัน เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2502 จากนั้นในวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2503 บริษัท การบินไทย จำกัด จดทะเบียนจัดตั้งขึ้นด้วยทุนประเดิม 2 ล้านบาท เพื่อดำเนินธุรกิจสายการบินระหว่างประเทศ โดยมีเที่ยวบินปฐมฤกษ์ไปยังฮ่องกง เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม ปีเดียวกัน
ต่อมาในวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2520 เอสเอเอสคืนหุ้นให้เดินอากาศไทย หลังจากครบระยะเวลาตามสัญญาร่วมทุน แล้วโอนให้แก่กระทรวงการคลังเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ ตามมติคณะรัฐมนตรี และในที่สุดเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2531 เดินอากาศไทยซึ่งดำเนินธุรกิจสายการบินภายในประเทศ ก็รวมกิจการเข้ากับการบินไทย เพื่อให้สายการบินแห่งชาติเป็นหนึ่งเดียว ตามมติคณะรัฐมนตรีเศรษฐกิจ จากนั้นในวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2534 การบินไทยเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ตามมติคณะรัฐมนตรี และจดทะเบียนแปลงสภาพเป็นบริษัทมหาชน เมื่อปี พ.ศ. 2537
คำขวัญ
คำขวัญภาษาไทยของการบินไทยคือรักคุณเท่าฟ้า ปรากฏเป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2521 เป็นชื่อใหม่ของวารสารภายใน ซึ่งเปลี่ยนจากเดิมคือ ข่าวการบินไทย (เริ่มเมื่อ พ.ศ. 2519) โดยวลีดังกล่าวมีที่มาจาก วิถีชีวิตของชาวไทย ดังที่พ่อแม่มักตั้งคำถามกับลูกว่า รักพ่อแม่แค่ไหน แล้วลูกก็มักตอบว่า "รักพ่อแม่เท่าฟ้า" ซึ่งสื่อความหมายถึงความรักที่กว้างใหญ่ไพศาลไปสุดขอบฟ้า จึงนำมาใช้เชิงเปรียบเทียบกับบริการของการบินไทย ทั้งนี้ คำขวัญของการบินไทยดังกล่าว เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายในประเทศไทย จากผลงานเพลงชื่อเดียวกัน ของวงดนตรีเพื่อชีวิต คาราบาว ซึ่งเผยแพร่เป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2528 ส่วนคำขวัญภาษาอังกฤษใช้ว่าSmooth as Silk ซึ่งแปลเป็นภาษาไทยได้ว่า นุ่มละมุนดุจแพรไหม มีชื่อเสียงมาจากเพลงชื่อเดียวกัน ที่กระจายเสียงภายในเครื่องก่อนเริ่มเที่ยวบิน และที่นำมาใช้ประกอบรายการ การบินไทยไขจักรวาล
อ้างอิง
บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) .(ออนไลน์). แหล่งที่มา : http://www.thaiairways.co.th/ ๑๐ กรกฎาคม ๒๕๕
นางสาวนรินทร กนกศรีขริน รหัส 5210125401069 เอกการจัดการทั่วไป
http://www.tmd.go.th
กรมอุตุนิยมวิทยาแห่งราชอาณาจักรไทย (อังกฤษ: Meteorological Department of Thailand) เป็นหน่วยงานของรัฐบาลไทย ระดับกรม สังกัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ทำหน้าที่ในการพยากรณ์อากาศ รายงานปรากฏการณ์ธรรมชาติต่างๆ เช่น แผ่นดินไหว ความสูงของคลื่น รายงานพยากรณ์อากาศประจำวันและพยากรณ์อากาศในช่วงเวลาที่กำลังจะมาถึง รวมทั้งออกประกาศเตือนต่างๆ
วิสัยทัศน์
• เป็นองค์การชำนาญการด้านอุตุนิยมวิทยา ที่ประชาชมีความพึงพอใจในบริการ พร้อมสนองตอบการพัฒนาเศรษฐกิจ
• สังคม และสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
พันธกิจ
• พยากรณ์อากาศ และเตือนภัยธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพ ครอบคลุมพื้นที่ทั่วทั้งประเทศ
• ให้บริการสารสนเทศ และองค์ความรู้อุตุนิยมวิทยา เพื่อประโยชน์สูงสุดของผู้ใช้ และประชาชน
อำนาจหน้าที่
• ตรวจ เฝ้าระวัง ติดตาม รายงานสภาวะอากาศ และปรากฏการณ์ธรรมชาติ
• พยากรณ์อากาศและเตือนภัยที่เกิดจากธรรมชาติอย่างเป็นสากล
• ให้บริการด้านอุตุนิยมวิทยาแก่กิจกรรมต่าง ๆ ในระบบเทคนิคที่ทันสมัย
• ศึกษาวิจัย และพัฒนาด้านอุตุนิยมวิทยา ภูมิสารสนเทศ ภูมิฟิสิกส์ และเทคนิควิศวกรรมที่เกี่ยวข้อง
• ร่วมมือและประสานงานด้านอุตุนิยมวิทยากับประชาชน องค์การ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งในประเทศ
• และต่าง ประเทศ รวมทั้งประสานงานกับองค์การอุตุนิยมวิทยาโลก ( WMO ) ด้วย
• ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
อ้างอิง
กรมอุตุนิยมวิทยาแห่งราชอาณาจักรไทย .(ออนไลน์). แหล่งที่มา : http://www.tmd.go.th ๑๐ กรกฎาคม ๒๕๕
กรมอุตุนิยมวิทยาแห่งราชอาณาจักรไทย (อังกฤษ: Meteorological Department of Thailand) เป็นหน่วยงานของรัฐบาลไทย ระดับกรม สังกัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ทำหน้าที่ในการพยากรณ์อากาศ รายงานปรากฏการณ์ธรรมชาติต่างๆ เช่น แผ่นดินไหว ความสูงของคลื่น รายงานพยากรณ์อากาศประจำวันและพยากรณ์อากาศในช่วงเวลาที่กำลังจะมาถึง รวมทั้งออกประกาศเตือนต่างๆ
วิสัยทัศน์
• เป็นองค์การชำนาญการด้านอุตุนิยมวิทยา ที่ประชาชมีความพึงพอใจในบริการ พร้อมสนองตอบการพัฒนาเศรษฐกิจ
• สังคม และสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
พันธกิจ
• พยากรณ์อากาศ และเตือนภัยธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพ ครอบคลุมพื้นที่ทั่วทั้งประเทศ
• ให้บริการสารสนเทศ และองค์ความรู้อุตุนิยมวิทยา เพื่อประโยชน์สูงสุดของผู้ใช้ และประชาชน
อำนาจหน้าที่
• ตรวจ เฝ้าระวัง ติดตาม รายงานสภาวะอากาศ และปรากฏการณ์ธรรมชาติ
• พยากรณ์อากาศและเตือนภัยที่เกิดจากธรรมชาติอย่างเป็นสากล
• ให้บริการด้านอุตุนิยมวิทยาแก่กิจกรรมต่าง ๆ ในระบบเทคนิคที่ทันสมัย
• ศึกษาวิจัย และพัฒนาด้านอุตุนิยมวิทยา ภูมิสารสนเทศ ภูมิฟิสิกส์ และเทคนิควิศวกรรมที่เกี่ยวข้อง
• ร่วมมือและประสานงานด้านอุตุนิยมวิทยากับประชาชน องค์การ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งในประเทศ
• และต่าง ประเทศ รวมทั้งประสานงานกับองค์การอุตุนิยมวิทยาโลก ( WMO ) ด้วย
• ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
อ้างอิง
กรมอุตุนิยมวิทยาแห่งราชอาณาจักรไทย .(ออนไลน์). แหล่งที่มา : http://www.tmd.go.th ๑๐ กรกฎาคม ๒๕๕
นางสาวฑิตฐิตา มีชูแสง รหัส 059 การจัดการทั่วไป ปี4
ทฤษฎีองค์การก่อนสมัยวิทยาการการจัดการ
โสเครตีส (Socrates) เป็นนักปรัชญาการเมืองซึ่งไม่ปรากฏผลงานเขียนด้วยตนเอง แต่ความคิดเห็นของโสเครติสได้ปรากฏอยู่ในงานเขียนของเพลโต (Plato) เช่นเรื่อง The Republic ซึ่งกล่าวถึงหลังการขององค์การสังคมว่า จะต้องมีการแบ่งงานกันทำ และมีการทำงานตามความสามารถของแต่ละบุคคลในองค์การทางสังคมนั้นๆ ทั้งนี้เนื่องจากปัจเจกชนมีความต้องการหลายประการและไม่สามารถจะสนองความต้องการทุกๆอย่างของตนเองได้ จึงต้องให้ผู้อื่นที่ทำดีกว่าตนช่วยทำให้ ซึ่งตนก็จะสามารถมีสิ่งที่ตนต้องการได้อย่างครบถ้วน เช่น อาหาร เสื้อผ้า รองเท้า เป็นต้น
ในช่วงเวลาต่อมาเพลโตก็ได้ยืนยันแนวความคิดของโสเครตีสในเรื่องการแบ่งงานกันทำตามความรู้ความชำนาญของบุคคลแต่ละประเภท โดยเน้นให้เห็นว่าองค์การเป็นระบบของการให้บริการ ซึ่งสมาชิกในองค์การทุกคนจะต้องมีทั้งการให้และการรับ โดยแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน ภายใต้หลักเกณฑ์พื้นฐานที่สำคัญคือ มีการแบ่งงานกันทำ และการทำงานตามความชำนาญ ซึ่งจะช่วยให้งานง่ายขึ้นแล้ว ยังได้คุณภาพดีด้วย นอกจากนี้เพลโตยังได้เสนอแนวความคิดในการแบ่งคนออกเป็น 3 กลุ่ม คือ ทาสทำงานด้านเกษตรกรรม ชนชั้นอิสระซึ่งไม่ใช่พลเมืองทำงานด้านการค้าและอุตสาหกรรม และบุคคลที่เป็นพลเมือง ให้เป็นผู้รับผิดชอบทำงานเกี่ยวกับการเมืองทั้งหมดของสังคม
และการจัดระเบียบขององค์กรในยุคนั้นคือจะช่วยให้มนุษย์เป็นคนดีได้จำเป็นจะต้องมีหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
- มีการแบ่งงานกันทำ (Division of Labour)
- มีการแบ่งงานกันทำตามความรู้ความชำนาญ (Specialization)
- ใช้หลักการแห่งอำนาจ (Authority) ในการกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในองค์กร
- ใช้หลักประสานความร่วมมือกัน (Co-operation) ของคนในองค์กร
- มีการอำนวยการ (Direction) โดยผู้ออกกฎข้อบังคับ
- หลักการเอกภาพในการบังคับบัญชา (Unity of Command) คือการมีผู้บังคับบัญชาเพียงคนเดียว
- มีสภาวะของผู้นำ (Leadership)
- มีสายการบังคับบัญชาของอำนาจ (Hierarchical Authority)
โดย รศ.ดร.สมิหรา จิตตลดากร พิมพ์ครั้งที่ 3 จัดพิมพ์โดย สำนักพิมพ์คงวุฒิคุณากร พิมพ์ที่ แสงเทียนการพิมพ์
หน้า 53-58
โสเครตีส (Socrates) เป็นนักปรัชญาการเมืองซึ่งไม่ปรากฏผลงานเขียนด้วยตนเอง แต่ความคิดเห็นของโสเครติสได้ปรากฏอยู่ในงานเขียนของเพลโต (Plato) เช่นเรื่อง The Republic ซึ่งกล่าวถึงหลังการขององค์การสังคมว่า จะต้องมีการแบ่งงานกันทำ และมีการทำงานตามความสามารถของแต่ละบุคคลในองค์การทางสังคมนั้นๆ ทั้งนี้เนื่องจากปัจเจกชนมีความต้องการหลายประการและไม่สามารถจะสนองความต้องการทุกๆอย่างของตนเองได้ จึงต้องให้ผู้อื่นที่ทำดีกว่าตนช่วยทำให้ ซึ่งตนก็จะสามารถมีสิ่งที่ตนต้องการได้อย่างครบถ้วน เช่น อาหาร เสื้อผ้า รองเท้า เป็นต้น
ในช่วงเวลาต่อมาเพลโตก็ได้ยืนยันแนวความคิดของโสเครตีสในเรื่องการแบ่งงานกันทำตามความรู้ความชำนาญของบุคคลแต่ละประเภท โดยเน้นให้เห็นว่าองค์การเป็นระบบของการให้บริการ ซึ่งสมาชิกในองค์การทุกคนจะต้องมีทั้งการให้และการรับ โดยแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน ภายใต้หลักเกณฑ์พื้นฐานที่สำคัญคือ มีการแบ่งงานกันทำ และการทำงานตามความชำนาญ ซึ่งจะช่วยให้งานง่ายขึ้นแล้ว ยังได้คุณภาพดีด้วย นอกจากนี้เพลโตยังได้เสนอแนวความคิดในการแบ่งคนออกเป็น 3 กลุ่ม คือ ทาสทำงานด้านเกษตรกรรม ชนชั้นอิสระซึ่งไม่ใช่พลเมืองทำงานด้านการค้าและอุตสาหกรรม และบุคคลที่เป็นพลเมือง ให้เป็นผู้รับผิดชอบทำงานเกี่ยวกับการเมืองทั้งหมดของสังคม
และการจัดระเบียบขององค์กรในยุคนั้นคือจะช่วยให้มนุษย์เป็นคนดีได้จำเป็นจะต้องมีหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
- มีการแบ่งงานกันทำ (Division of Labour)
- มีการแบ่งงานกันทำตามความรู้ความชำนาญ (Specialization)
- ใช้หลักการแห่งอำนาจ (Authority) ในการกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในองค์กร
- ใช้หลักประสานความร่วมมือกัน (Co-operation) ของคนในองค์กร
- มีการอำนวยการ (Direction) โดยผู้ออกกฎข้อบังคับ
- หลักการเอกภาพในการบังคับบัญชา (Unity of Command) คือการมีผู้บังคับบัญชาเพียงคนเดียว
- มีสภาวะของผู้นำ (Leadership)
- มีสายการบังคับบัญชาของอำนาจ (Hierarchical Authority)
โดย รศ.ดร.สมิหรา จิตตลดากร พิมพ์ครั้งที่ 3 จัดพิมพ์โดย สำนักพิมพ์คงวุฒิคุณากร พิมพ์ที่ แสงเทียนการพิมพ์
หน้า 53-58
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)