หน้าเว็บ

นางสาวนพมาศ พิณทมร รหัส 5210125401067

การวิเคราะห์ SWOT Analysis ความหมายของ SWOT Analysis เป็นการวิเคราะห์สภาพองค์การ หรือหน่วยงานในปัจจุบัน เพื่อค้นหาจุดแข็ง จุดเด่น จุดด้อย หรือสิ่งที่อาจเป็นปัญหาสำคัญในการดำเนินงานสู่สภาพที่ต้องการในอนาคตซึ่งแบ่งไว้คือ
SWOT เป็นตัวย่อที่มีความหมายดังนี้
1. Strengths - จุดแข็ง2. หรือข้อได้เปรียบ
3. Weaknesses - จุดอ่อนหรือข้อเสียเปรียบ
4. Opportunities - โอกาสที่จะดำเนินการได้
5. Threats - อุปสรรค ข้อจำกัด หรือปัจจัยที่คุกคามการดำเนินงาน
หลักการสำคัญของ SWOT ก็คือการวิเคราะห์โดยการสำรวจจากสภาพการณ์ 2 ด้าน คือ สภาพการณ์ภายในและสภาพการณ์ภายนอก ดังนั้นการวิเคราะห์ SWOT จึงเรียกได้ว่าเป็นการวิเคราะห์สภาพการณ์ (Situation Analysis) ซึ่งเป็นการวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน เพื่อให้รู้ตนเอง (รู้เรา) รู้จักสภาพแวดล้อม (รู้เขา) ชัดเจน และวิเคราะห์โอกาส-อุปสรรค การวิเคราะห์ปัจจัยต่าง ๆ ทั้งภายนอกและภายในองค์กร ซึ่งจะช่วยให้ผู้บริหารขององค์กรทราบถึงการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นภายนอกองค์กร ทั้งสิ่งที่ได้เกิดขึ้นแล้วและแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงในอนาคต รวมทั้งผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ที่มีต่อองค์กรธุรกิจ และจุดแข็ง จุดอ่อน และความสามารถด้านต่าง ๆ ที่องค์กรมีอยู่ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะเป็นประโยชน์อย่างมากต่อการกำหนดวิสัยทัศน์ การกำหนดกลยุทธ์และการดำเนินตามกลยุทธ์ของระดับองค์กรที่เหมาะสมต่อไป

ประโยชน์ของการวิเคราะห์ SWOT เป็นการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมต่าง ๆ ทั้งภายนอกและภายในองค์กรซึ่งปัจจัยเหล่านี้แต่ละอย่างจะช่วยให้เข้าใจได้ว่ามีอิทธิพลต่อผลการดำเนินงานขององค์กรอย่างไรจุดแข็งขององค์กรจะเป็นความสามารถภายในที่ถูกใช้ประโยชน์เพื่อการบรรลุเป้าหมาย ในขณะที่จุดอ่อนขององค์กรจะเป็นคุณลักษณะภายใน ที่อาจจะทำลายผลการดำเนินงาน โอกาสทางสภาพแวดล้อมจะเป็นสถานการณ์ที่ให้โอกาสเพื่อการบรรลุเป้าหมายองค์กรในทางกลับกันอุปสรรคทางสภาพแวดล้อมจะเป็นสถานการณ์ที่ขัดขวางการบรรลุเป้าหมายขององค์กร ผลจากการวิเคราะห์ SWOT นี้จะใช้เป็นแนวทางในการกำหนดวิสัยทัศน์ การกำหนดกลยุทธ์ เพื่อให้องค์กรเกิดการพัฒนาไปในทางที่เหมาะสม


4. ข้อดี – ข้อเสีย ของการทำ SWOT Analysis
ข้อดี เทคนิคการวิเคราะห์ SWOT ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายในการวิเคราะห์สถานการณ์ต่างๆ ทางธุรกิจและการบริหารเชิงกลยุทธ์ เนื่องจากเป็นเทคนิคที่เข้าใจง่าย ไม่ซับซ้อน ให้ความสะดวกเป็นอย่างมากสำหรับผู้ที่นำ SWOT มาใช้ และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ด้านต่างๆ มากมาย เช่น - การตัดสินใจเลือกเมื่อมีทางเลือกหลายๆ ทาง - การกำหนดความสำคัญก่อนหลังของเหตุการณ์ - การบริหารความเปลี่ยนแปลงที่ต้องการให้เกิดขึ้น - การวิเคราะห์และแก้ปัญหาในการดำเนินการ - การวิเคราะห์โครงการเริ่มใหม่ - การเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้สูงขึ้น - การสร้างกระบวนการเรียนรู้ใหม่ ฯลฯ
ข้อเสีย ของการใช้ SWOT ก็มีอยู่ไม่น้อยเช่นกัน เมื่อเปรียบเทียบกับประโยชน์และความหลากหลายในการประยุกต์ใช้งาน เช่น- โอกาสผิดพลาดเกิดจาก คุณภาพของข้อมูลที่นำมาใช้วิเคราะห์ ทักษะ ประสบการณ์ และความเข้าใจในความรู้พื้นฐานของเทคนิค SWOT ของผู้วิเคราะห์- ต้องทบทวน SWOT เป็นระยะๆ เพื่อตรวจสอบสภาพว่า เหตุการณ์และปัจจัยต่างๆ ที่นำมาใช้เป็นข้อมูลพื้นฐาน ยังเหมือนเดิมหรือมีการเปลี่ยนแปลงไปแล้วหรือไม่

อ้างอิง: วัฒนา วงศ์เกียรติรัตน์และคณะ.การวางแผนกลยุทธ์. บริษัทอินโนกราฟฟิกส์ จำกัด, 2546.

นางสาวนงลักษณ์ พลจันทร์ การจัดการทั่วไป ปี44 5210125401056‏

สิ่งแวดล้อมภายในองค์การ (Internal Environment) คือสภาวะแวดล้อมที่ธุรกิจสามารถควบคุมได้ หมายถึง ปัจจัยต่าง ๆ ที่ธุรกิจสามารถกำหนดและควบุคมได้เป็นไปตามความต้องการของธุรกิจถือว่าเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อโปรแกรมการตลาด โดยการวิเคราห์จุดแข็งจุดอ่อนของธุรกิจ ในการนำไปเปรียบเทียบกับคู่แข่งขัน สามารถจำแนกได้ดังนี้
1. ส่วนผสมททางการตลาด เป็นส่วนที่สำคัญในการเลือกตลาดเป้าหมายซึ่งสิ่งเหล่านี้นำมาวางแผนกลยุทธ์ทางการตลาด
2. นโยบายการบริหารของบริษัท โดยผู้บริหารของธุรกิจจะเป็นผู้กำหนด เช่น วัตถุประสงค์หรือเป้าหมายในการดำเนินธุรกิจ โครงสร้างการบริหาร ระบบการบริหารปรัชญาและวัฒนะธรรม ตลอดจนนโยบายฝ่ายต่าง ๆ

สิ่งแวดล้อมภายนอกองค์กร (External Environment) หรือภาวะแวดล้อมที่ธุรกิจไม่สามารถควบคุมได้ ปัจจัยกลุ่มนี้ หมายถึง ปัจจัยยังคับภายนอกธุรกิจที่มีอิทธิพลต่อระบบการตลาด ถือว่าเป็นปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้แต่มีอิธิพลต่อระบบการตลาด คือสร้างโอกาสหรืออุปสรรคแก่ธุรกิจ ซึ่งประกอบด้วย สิ่งแวดล้อมจุลภาค และสิ่งแวดล้อมมหภาค

สิ่งแวดล้อมภายนอกระดับจุลภาค (Micro External Environment)
ภาวะแวดล้อมภายนอกที่ไม่สามารถควบุคมได้ แต่สามารถเลือกที่จะติดต่อและเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสมได้ ได้แก่
1 ตลาด หรือลูกค้า
2 ผู้ขายปัจจัยการผลิตหรือวัตถุดิบ
3 คนกลางทางการตลาด
4 กลุ่มผลประโยชน์
5 ชุมชน

สิ่งแวดล้อมภายนอกระดับมหภาค (Macro External Environment)
ภาวะแวดล้อมหรือปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการดำเนินธุรกิจและต่อระบบการตลาดเป็นอย่างมาก แต่ละหน่วยงานและองค์การธุรกิจไม่สามารถควบคุมการเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้เลย สิ่งแวดล้อมภายนอกมหภาคได้แก่

สภาพแวดล้อมขององค์การธุรกิจ

.....องค์การธุรกิจมีบทบาทและผลกระทบต่อสภาวะแวดล้อมในสภาพเดียวกันสภาวะแวดล้อมมีบทบาทและอิทธิพลต่อองค์การธุรกิจในลักษณะต่างๆ กันหลายรูปแบบซึ่งขึ้นอยู่กับความต้องการและระดับของสังคม ชนิดและสภาพของสิ่งแวดล้อมนั้นสภาพแวดล้อมขององค์การธุรกิจสามารถแบ่งออกเป็น 8 ประการ ได้แก่ (ระวัง เนตรโพธิ์แก้ว 2537: 10 - 12)
แหล่งที่มา jamthailand.50webs.com/env_internal.doc

น.ส. กันตินันท์ บุญลิลา 5130125401235

สรุปการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในเป็นการศึกษาเพื่อค้นหาและระบุว่าองค์การจะต้องบริหารงานและดำเนินงานที่จะนำปัจจัยขององค์การมาใช้เพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันจากจุดแข็งและโอกาส ตลอดจนเพื่อหลีกเลี่ยงจุดอ่อนและอุปสรรคที่จะเกิดขึ้น การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในขององค์การสามารถทำได้หลายวิธี ดังนี้ คือ การวิเคราะห์โดยใช้ทรัพยากรเป็นฐานเป็นการพิจารณาถึงคุณลักษณะพิเศษของทรัพยากรที่จะสร้างผลตอบแทนเข้าสู่องค์การ การวิเคราะห์ลูกโซ่แห่งคุณค่าเป็นการพิจารณากิจกรรมภายในขององค์การ ที่สร้างคุณค่าให้กับลูกค้า แบ่งเป็นกิจกรรมหลัก 5 กิจกรรม และกิจกรรมสนับสนุน 4 กิจกรรม เพื่อนำไปสู่การได้เปรียบเทียบทางการแข่งขัน โดยการปรับปรุงกิจกรรมในแต่ละกิจกรรมให้เป็นจุดแข็งที่จะก่อให้เกิดคุณค่าให้แก่ลูกค้า การวิเคราะห์ตามหน้าที่ธุรกิจเป็นการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในองค์การโดยแยกตามหน้าที่ธุรกิจ คือ การตลาด การเงิน การผลิตและดำเนินงาน การบริหารทรัพยากรมนุษย์ การวิจัยและพัฒนา การจัดการและระบบสารสนเทศ การวิเคราะห์โครงร่าง 7-S ของแมคคีนซีย์เป็นการศึกษาปัจจัยที่เป็นส่วนประกอบสำคัญที่มีผลต่อความสำเร็จในการดำเนินงานขององค์การ ประกอบด้วย โครงร่าง กลยุทธ์ ระบบ รูปแบบ การบริหาร พนักงาน ทักษะฝีมือและค่านิยมร่วมและการวิเคราะห์ความสามารถหลักขององค์การเป็นการวิเคราะห์ปัจจัยที่เป็นความสามารถหลักขององค์การที่จะนำไปสู่การแข่งขันให้ประสบความสำเร็จ โดยการสร้างคุณค่าให้แก่ลูกค้าที่สามารถรับรู้ได้ เช่น ความคงทน ความสะดวกสบาย หรือความน่าใช้ในตัวสินค้าหรือบริการ
อ้างอิงจาก http://www.oknation.net/blog/sareenal

น.ส. ปาริฉัตร หยุ่นเฮง รหัส 5130125401216


การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน (Internal Environment Analysis)
การเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมภายนอก ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงลักษณะของอุตสาหกรรม ซึ่งจะสร้างโอกาส และ อุปสรรค และ ปัจจัยแห่งความสำเร็จที่สำคัญใหม่ๆขึ้นมา ผู้บริหารจึงต้องประเมินทรัพยากรและความสามารถขององค์กร โดยการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในด้วย ทั้งนี้เพื่อทราบถึงจุดแข็งและจุดอ่อนขององค์กรด้วย
สภาพแวดล้อมภายในองค์กร (Internal Environment Analysis) เป็นปัจจัยภายในที่ขึ้นกับทรัพยากรและความสามารถขององค์กรเอง ดังนั้น จึงเป็นสิ่งที่ผู้บริหารสามารถควบคุมได้ (Controllable Factor)
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน มีการวิเคราะห์ได้หลายวิธี ที่นิยมกันได้แก่
1. การวิเคราะห์ตามหน้าที่ (FUNCTIONAL ANALYSIS)
2. การวิเคราะห์ปัจจัย 7 ประการของ McKinsey (Mckincy 7-S Framwork)
3. สายโซ่แห่งคุณค่า (Value Chain Analysis)
การวิเคราะห์ปัจจัยภายในองค์กรตามหน้าที่การปฏิบัติงาน

การวิเคราะห์ จุดอ่อน จุดแข็ง โดยพิจารณาจากสายงาน หรือ หน้าที่ของงานด้านต่างๆ โดยเปรียบเทียบกับคู่แข่งขัน หรือ การดำเนินงานที่ผ่านมาในอดีต การวิเคราะห์ปัจจัยภายในองค์การ
การวิเคราะห์ปัจจัยภายในองค์การตามหน้าที่การปฏิบัติงาน ประกอบด้วย

1. ด้านการบริหารโดยพิจารณา
1.1 ทักษะ และ ความสามารถของผู้บริหาร
1.2 โครงสร้างองค์กร
1.3 ระบบการวางแผน
1.4 มาตรฐานกระบวนการปฏิบัติงาน
1.5 ระบบการควบคุม
1.6 วัฒนธรรมองค์กร
1.7 จรรยาบรรณของผู้บริหาร
2 ด้าน เทคโนโลยี โดยพิจารณาจาก
2.1 ต้นทุน (COST OF TECHNOLOGY)
2.2 การประหยัดจากขนาดการผลิต (Economic of scale)
2.3 การเพิ่มผลผลิต (PRODUCTIVITY)
2.4 ความได้เปรียบในการแข่งขัน (Conpetitive Advantage)
2.5 ระบบข้อมูลสารสนเทศ (Information Technology)
3 ด้าน การบริหารทรัพยากรมนุษย์
3.1 ทัศนคติของพนักงาน
3.2 ทักษะความสามารถในการทำงาน
3.3 ประสบการณ์
3.4 จำนวนพนักงาน
3.5 อัตราการขาดงาน / การเข้าออกของพนักงาน
3.6 การจ่ายค่าตอบแทน เงินเดือน และ สวัสดิการ
3.7 ขวัญ และ กำลังใจ
3.8 การวิเคราะห์งาน
3.9 ระบบสรรหา และ คัดเลือก
4 ด้าน การผลิตโดย พิจารณา
4.1 เครื่องจักร
– มีประสิทธิภาพ
– การดัดแปลงใช้กับงานอื่น
– ค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุง
– ความพร้อมของเครื่องจักร อุปกรณ์
4.2 วัตถุดิบ
- ปริมาณ
– ต้นทุน
– จำนวนผู้ผลิต และ ผู้ขาย
- จุดสั่งซื้อ และ ระยะเวลาในการสั่งซื้อ
- การจัดซื้ออย่างมีคุณภาพ
4.3 กระบวน
– กระบวนการผลิต
– กำลัง และ ขีด ความสามารถการผลิต
– ระบบควบคุม ระบบคุณภาพ
– มีระบบสารสนเทศ สนับสนุนการผลิต
4.4 การบริหารสินค้าคงเหลือ
- คุณภาพของสินค้า
- ต้นทุนสินค้า ค่าใช้จ่ายในการสั่งซื้อ และการเก็บ
- ปริมาณการผลิตที่เหมาะสม ปริมาณสินค้าคงคลัง
5. ด้าน การตลาดโดย พิจารณา
5.1 ส่วนแบ่งตลาด (SEGMENTATION)
5.2 กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย (TARGET MARKET)
5.3 ตำแหน่งของตลาด (POSITIONING)
5.4 ผลิตภัณฑ์ (PRODUCT)
5.5 ราคา (PRICE)
5.6 ช่องทางการจัดจำหน่าย (PLACE)
5.7 การส่งเสริมการขาย/การตลาด (PROMOTION)
5.8 วงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์
6. ด้าน การเงิน โดยพิจารณาจาก
6.1 แหล่งที่มาของเงินทุน
6.2 ต้นทุนของเงินลงทุน
6.3 ปริมาณเงินทุน
6.4 ระยะเวลาการใช้คืนเงินทุน
6.5 โครงสร้างของเงินทุน
6.6 สภาพคล่องทางการเงิน
6.7 ความเสี่ยงทางธุรกิจ
การวิเคราะห์สภาพทางการเงินของกิจการ
สามารถทำได้โดยใช้
1.การวิเคราะห์จุดคุ้มทุน
2.การวิเคราะห์งบการเงิน
1.2.1 การวิเคราะห์จุดคุ้มทุน
1.2.2 การวิเคราะห์งบการเงิน
1.อัตราส่วนสภาพคล่อง (Liquidity Ratios)
1.1 อัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียน (Current Ratio)
วัดความสามารถชำระหนี้ระยะสั้น ด้วยทรัพย์สินระยะสั้น
1.2 อัตราส่วนทรัพย์สินคล่องตัว (Quick (Acid Test)Ratio)
วัดความสามารถชำระหนี้ระยะสั้นด้วยทรัพย์สินหมุนเวียนที่ไม่รวมสินค้าคงเหลือ
1.3 อัตราส่วนเงินสด (Cash Ratios)
วัดความสามารถชำระหนี้ หนี้สินหมุนเวียนด้วยเงินสด หรือ ทรัพย์สินที่ใกล้เคียงเงินสด
2.อัตราส่วนการทำกำไร (Profitability Ratios)
2.1 อัตราส่วนกำไรสุทธิ (Net Profit Margin)
แสดงให้เห็นถึงกำไรหลังจากหักภาษี จากยอดขายแต่ละบาท
2.2 อัตราส่วนกำไรขั้นต้น (Gross Profit Margin)
ชี้ให้เห็นถึงกำไรขั้นต้น เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายอย่างอื่นที่นอกเหนือจากต้นทุนขาย
2.3 ผลตอบแทนจากการลงทุน (ROI) (Return On Investment)
วัดอัตราผลตอบแทนจากการใช้ทรัพย์สินรวม/ประสิทธิภาพ การบริหารงาน
2.4 ผลตอบแทนจากส่วนของเจ้าของ (ROE) (Return On Equity)
วัดอัตราผลตอบแทนจากมูลค่าตามบัญชีของเงินลงทุนภายในบริษัทของผู้ถือหุ้น
2.5 กำไรต่อหุ้น (EPS) (Earning Per Share)
แสดงให้เห็นถึงกำไรหลังภาษีต่อหุ้นสามัญหนึ่งหุ้น
3.อัตราส่วนการใช้ทรัพย์สิน (Activity Ratios)
3.1 การหมุนเวียนสินค้าคงเหลือ (Inventory Turnover)
วัดจำนวนครั้งที่สินค้าคงเหลือถูกจำหน่ายภายในช่วงระยะเวลาหนึ่ง โดยปกติคือหนึ่งปี
3.2 การหมุนเวียนของทุนดำเนินงานสุทธิ (Net Working Capital Turnover)
วัดประสิทธิภาพของทุนดำเนินงานสุทธิเพื่อการสร้างยอดขาย
3.3 ระยะเวลาการเก็บหนี้ (Average Collection Period)
ชี้ให้เห็นถึงจำนวน วันที่บริษัทต้องรอเพื่อการเก็บเงินจากลูกหนี้
3.4 การหมุนเวียนของลูกหนี้
ชี้ให้เห็นถึงจำนวนครึ่งของวงจรลูกหนี้ในระหว่างปี
4.อัตราส่วนความสามารถในการก่อหนี้ (Leverage Ratios)
4.1 อัตราส่วนหนี้สินต่อทรัพย์สิน (Debt to Asset Ratio)
ชี้ให้เห็นถึงเงินทุนกู้ยืมที่ถูกใช้เพื่อการซื้อทรัพย์สินของบริษัท
4.2 อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของเจ้าของ (Debt to Equity Ratio)
ชี้ให้เห็นถึงสัดส่วนระหว่างเงินทุนจากเจ้าหนี้ และ เงินทุนจากเจ้าของ
4.3 หนี้สินระยะยาวต่อโครงสร้างของเงินทุน (Long Term Debt to Capital)
ชี้ให้เห็นถึงหนี้สินระยะยาวภายในโครงสร้างของทุน
4.4 อัตราส่วนความสามารถจ่ายดอกเบี้ย (Time Interest Earned)
วัดความสามารถชำระดอกเบี้ยบริษัท
4.5 อัตราส่วนความสามารถจ่ายค่าใช้จ่ายทางการเงิน (Cov of Fix Charge)
วัดความสามารถชำระภาระผูกพันรายจ่ายประจำทุกอยางของบริษัท
4.6 หนี้สินหมุนเวียนต่อส่วนของเจ้าของ (Current Liabilities to Equity)
วัดสัดส่วนระหว่างเงินกู้ระยะสั้นและส่วนของเจ้าของ
5.อัตราส่วนอื่นๆ
5.1 อัตราส่วนราคา / กำไร (Price Earning Ratio)
ชี้ให้เห็นถึงราคาปัจจุบันของหุ้นบนพื้นฐานของกำไร
5.2 อัตราส่วนการจ่ายเงินปันผล (Dividend Pay-out Ratio)
ชี้ให้เห็นถึงร้อยละของกำไรที่จ่ายเป็นเงินปันผล แบบจำลอง 7-S หรือ การวิเคราะห์ปัจจัย 7 ประการของ McKinsey (McKinney 7-S Framework)
McKinsey ได้พัฒนาแบบจำลอง 7- S ขึ้นมาด้วยจุดมุ่งหมายสำคัญ 3 ประการคือ
1. ช่วยให้ผู้บริหารเข้าใจวัฒนธรรมองค์กร
2. ช่วยให้ผู้บริหารสามารถประเมินองค์การตาม 7-S
3. การวิเคราะห์ความสอดคล้องระหว่างปัจจัยทางการบริหารทั้ง 7แนวคิดของ Mckinsey คือ ความมีประสิทธิภาพขององค์กรจะเกิดขึ้นจากความเกี่ยวพันกันระหว่างปัจจัย 7 ประการ คือ
1.โครงสร้าง (STRUCTURE) หมายถึง การจัดสายงานและความสัมพันธ์ของหน่วยงานต่างๆ ที่องค์การกำหนดขึ้นอย่างเป็นทางการ ทำให้ทราบว่าใครเป็นผู้บังคับบัญชา ดูแลหน่วยงานใดบ้างโครงสร้างองค์กรแสดงให้เห็นถึง การจัดหมวดหมู่งาน การแบ่งงานกันทำ อำนาจ หน้าที่ ความรับผิดชอบ สายบังคับบัญชา และ การประสานงาน

2.กลยุทธ์ (STRATEGY) หมายถึง กลวิธีในการดำเนินธุรกิจให้ประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ โดยการแบ่งสรรทรัพยากรที่ธุรกิจมีอยู่ เพื่อดำเนินการในเวลาต่างๆ ให้เหมาะกับสภาพแวดล้อม และ การแข่งขันที่เปลี่ยนแปลงไป

3.ระบบ (SYSTEM) หมายถึง ระบบในการบริหารงานประจำวัน เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ต่างๆ เป็นไปด้วยความสะดวกเรียบร้อย เช่น ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ ระบบบัญชี และ ระบบงบประมาณ

4.สไตล์ (STYLES) หมายถึง ลักษณะแบบแผน หรือ พฤติกรรมในการบริหารของผู้บริหารระดับสูงขององค์การ และ พนักงานในองค์กร

5.คน (STAFF) หมายถึง ลักษณะและส่วนประกอบของสมาชิกในองค์กร ซึ่งประกอบด้วยผู้บริหารและพนักงานว่า มีคุณลักษณะและคุณสมบัติ คุณวุฒิอย่างไร ซึ่งควรจะเหมาะสมกับลักษณะโครงสร้างองค์กรและงานที่ต้องปฏิบัติ

6.ทักษะ (SKILLS) หมายถึง ความรู้ ความชำนาญ ของสมาชิกในองค์การที่เป็นจุดเด่น หรือ เป็นข้อได้เปรียบในการแข่งขัน

7.ค่านิยมร่วม (SHARED VALUES) หมายถึง ค่านิยมร่วมกันของสมาชิกในองค์การ ซึ่งเป็นสิ่งที่สมาชิกทุกคนยึดถือในการปฏิบัติงานร่วมกันแนวคิดแห่งห่วงโซ่แห่งคุณค่า แสดงให้เห็นถึง “คุณค่า” ทั้งหมดที่องค์กรมอบให้แก่ลูกค้า จากการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ภายในองค์กร
แบ่งออกได้ 2 ประเภท
1. กิจกรรมหลัก / กิจกรรมพื้นฐาน
2. กิจกรรมสนับสนุน
1. กิจกรรมพื้นฐาน (Primary activity) ประกอบด้วย
1.1 การนำวัสดุอุปกรณ์ สินค้ามาใช้ในธุรกิจ (Inbound logistics)
:กิจกรรมที่เกี่ยวกับ การขนส่ง การจัดเก็บ และ การแจกจ่ายวัตถุดิบ
1.2 การดำเนินงานของฝ่ายต่างๆ ที่ต้องประสานงานกัน (Operations)
:การแปรวัตถุดิบให้เป็นสินค้า การบรรจุหีบห่อ /รักษาเครื่องจักร
1.3 การจัดส่งสินค้าออก (Outbound logistics)
:กิจกรรมเกี่ยวกับ การจัดเก็บรวบรวม การจัดจำหน่ายสินค้าและบริการที่เสร็จแล้วไปยังผู้บริโภค และ การบริหารสินค้าคงคลัง
1.4 การตลาด และ การขาย (Marketing and sales)
:กิจกรรมที่เกี่ยวกับการจูงใจให้ลูกค้าซื้อสินค้าและบริการ เช่น การโฆษณา การส่งเสริมการขาย การเลือกช่องทางการจัดจำหน่าย
1.5 ผลิตภัณฑ์ และ การให้บริการ (Product and Services)
:กิจกรรมที่เกี่ยวกับ การให้บริการ บำรุงรักษาสินค้า การบริการหลังการขาย เช่น การติดตั้ง การซ่อมบำรุง การอบรมการใช้สินค้า
2. กิจกรรมสนับสนุน (Support activities) ประกอบด้วย
2.1 โครงสร้างธุรกิจ (Firm infrastructure)
ได้แก่ การบริหารงานทั่วไป การ วางแผน บัญชี การเงิน และ MIS
2.2 การบริหารทรัพยากรมนุษย์ (Human resource management)
ได้แก่ การสรรหา และ คัดเลือก การฝึกอบรม เงินเดือน / ค่าตอบแทน
2.3 การพัฒนาเทคโนโลยี (Technology management)
ได้แก่ การพัฒนา การออกแบบสินค้า การออกแบบกระบวนการผลิต
2.4 การจัดซื้อสินค้า และ ปัจจัยการผลิต (Procurement)
ได้แก่ การจัดหา หรือ การจัดซื้อวัตถุดิบ เครื่องจักร เครื่องมือต่างๆ
http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=entrepreneur&month=02-082010&group=21&gblog=3




นางสาวนุชนภางค์ สงคราม รหัส 219 หมู่ 1 รุ่น 19 การจัดการทั่วไป


วัฒนธรรมองค์การ (Organization Culture)
ประเทศต่าง ๆ จะมีขนบธรรมเนียมและวัฒนธรรมประเพณีเพื่อเป็นเอกลักษณ์ของตนเอง องค์การก็เช่นเดียวกัน จะมีวัฒนธรรมองค์การที่แตกต่างกันไปในแต่ละองค์การได้ วัฒนธรรมองค์การจะสร้างประโยชน์หรือคุณค่าให้แก่องค์การนั้น ๆ เช่น วัฒนธรรมในการมุ่งสร้างคุณภาพ วัฒนธรรมในการสร้างนวัตกรรม เป็นต้น แต่ขณะเดียวกันวัฒนธรรมองค์การบางอย่างก็ทำให้เกิดจุดอ่อนแก่องค์การนั้น ๆ ได้ เช่น วัฒนธรรมแบบอนุรักษ์นิยม วัฒนธรรมการทำงานแบบมุ่งให้บุคลากรมีการแข่งขันกันมากจนเกินไป จนองค์การเกิดความระส่ำระสาย เป็นต้น

จากการศึกษาของ Daniel R. Denison (1990) ในปัจจัยด้านวัฒนธรรมองค์การและประสิทธิผลขององค์การ พบว่าวัฒนธรรมองค์การจะส่งผลต่อประสิทธิผล (Effectiveness) ขององค์การเป็นอย่างมาก เมื่อวัฒนธรรมนั้นก่อให้เกิด

1. การผูกพัน (Involvement) และการมีส่วนร่วมในองค์การ

2. การปรับตัว (Adaptability) ที่เหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกองค์การ

3. การประพฤติปฏิบัติได้สม่ำเสมอ (Consistency) ซึ่งจะทำให้เกิดการทำงานที่ประสานกันและสามารถคาดหมายพฤติกรรมต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นได้

4. มีภารกิจ (และวิสัยทัศน์) ขององค์การที่เหมาะสม ทำให้องค์การมีกรอบและทิศทางการดำเนินงานที่ชัดเจน

ปัจจัยทั้ง 4 ส่วนนี้ จะทำให้องค์การสามารถบรรลุสู่ประสิทธิผล (Effectiveness) ตามที่ต้องการได้ ปัจจัยด้านวัฒนธรรมองค์การจึงมีความสำคัญที่จะสนับสนุนให้องค์การบรรลุสู่วิสัยทัศน์ และภารกิจที่กำหนดอย่างเหมาะสมได้


รูปแสดงลักษณะของวัฒนธรรมที่จะทำให้องค์การบรรลุประสิทธิผล
ดังนั้น ผู้บริหารควรให้ความสำคัญกับวัฒนธรรมองค์การ โดยการประเมินสภาพของวัฒนธรรมองค์การที่เป็นอยู่ และประเมินความเหมาะสมหรือคุณค่าที่มีต่อองค์การ เพื่อจะได้สร้างวัฒนธรรมองค์การให้เป็นไปในแนวทางที่เหมาะสม เกิดประโยชน์สูงสุดต่อองค์การ อย่างเช่นที่สายการบินเซาท์แวสต์แอร์ไลน์ ผู้บริหารระดับสูงคือ เฮิร์บ เคลลี่เฮอร์ ประธานบริหารเซาท์แวสต์แอร์ไลน์ ได้สร้างวัฒนธรรมองค์การที่ให้พนักงานทำงานอย่างมีความสุข ความสนุก จนคนในเซาท์แวสต์ท้าทายว่า แม้บริษัทอื่นจะลอกเลียนสูตรการทำธุรกิจของเซาท์แวสต์ได้ แต่อาจไม่ประสบความสำเร็จเท่ากับเซาท์แวสต์ เพราะวัฒนธรรมองค์การนั้นแตกต่างกันไปไม่อาจลอกเลียนแบบวัฒนธรรมการทำงานของเซาท์แวสต์ได้
วัฒนธรรมในองค์กรเป็นสิ่งสำคัญที่แสดงออกถึงพฤติกรรมของคนในองค์กรนั้น ๆ ซึ่งเกิดจากความต้องการที่จะเปลี่ยนแปลงภายในองค์กร

ที่มา : สุเทพ พงศ์ศรีวัฒน์ สถาบันราชภัฏเชียงราย



นายชัยวัฒน์ โฉมสุข รหัส 244



การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกองค์การ

สภาพแวดล้อมภายนอกที่มีผลต่อการดำเนินงานขององค์การธุรกิจ ได้แก่ สภาพแวดล้อมทั่วไปที่มีอิทธิพลทางอ้อมต่อองค์การ เช่น สภาพเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และเทคโนโลยี เป็นต้น สภาพแวดล้อมทางการแข่งขันเป็นปัจจัยที่มีผลกระทบโดยตรงต่อองค์การ เช่น ผู้ถือหุ้น ลูกค้า คู่แข่งขัน ผู้จัดจำหน่าย เป็นต้น ที่ก่อให้เกิดโอกาสและอุปสรรคต่อการดำเนินธุรกิจขององค์การ ดังนั้นการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกเป็นเครื่องมือที่มีความสำคัญในการกำหนดกลยุทธ์ให้เหมาะสม และสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่เกิดขึ้นและเปลี่ยนแปลงไป การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกมีขั้นตอน ได้แก่ การตรวจสอบ การติดตามและตรวจสอบ การพยากรณ์ และการประเมิน ที่จะช่วยให้ผู้บริหารตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงและผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม

การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทั่วไปเป็นการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลทางอ้อมต่อองค์การ ได้แก่ สังคมและวัฒนธรรม เทคโนโลยี เศรษฐกิจ และกฎหมายและการเมือง ที่จะทำให้ผู้บริหารได้ทราบว่ามีปัจจัยหลักสำคัญในแต่ละด้าน มีผลต่อธุรกิจขององค์การที่กำลังดำเนินการอยู่เพื่อเตรียมพร้อมที่จะตอบสนองอย่างเหมาะสมต่อการเปลี่ยนแปลง

การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมในการแข่งขันเป็นการวิเคราะห์ปัจจัยในด้านการแข่งขันเพื่อให้ทราบถึงจุดแข็ง จุดอ่อนขององค์การ และคู่แข่งขัน โดยใช้การวิเคราะห์ใน 2 แนวทาง คือ การวิเคราะห์อุตสาหกรรมของพอร์ตเตอร์ เป็นเครื่องมือการวิเคราะห์แรงผลักดันสำคัญ 5 ประการ ได้แก่ ภัยคุกคามเกิดจากคู่แข่งขันหน้าใหม่ ความรุนแรงของการแข่งขัน อำนาจต่อรองของผู้ซื้อ อำนาจต่อรองของผู้ขาย ปัจจัยการผลิต และภัยคุกคามจากผลิตภัณฑ์ทดแทน ส่วนการวิเคราะห์คู่แข่งขันเป็นการวิเคราะห์คู่แข่งขันในอุตสาหกรรมเดียวกับองค์การ มีการดำเนินอย่างไรในปัจจุบันและอนาคต โดยพิจารณาจากปัจจัยด้านวัตถุประสงค์กลยุทธ์ ความสามารถในการแข่งขันและรูปแบการตอบสนองแข่งขัน เพื่อสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันขององค์การ

นางสาวกอบทอง 5130125401224



สภาพแวดล้อมภายนอก

เนื่องจากสภาพแวดล้อมมีการเปลี่ยนแปลงได้ และ มีอิทธิพลต่อการดำเนินธุรกิจ หากผู้บริหารทราบถึงความเปลี่ยนแปลง และ ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับองค์การ ก็จะสามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงนั้นได้ดังนั้น องค์กรจึงควรมีการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมต่างๆที่มีผลกระทบต่อธุรกิจ เพื่อเป็นการประเมินหา จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และ อุปสรรค ขององค์การ ผลการวิเคราะห์มักถูกใช้เป็นรากฐานของการกำหนดกลยุทธ์ เพื่อที่จะทำให้บรรลุตาม วิสัยทัศน์ ภารกิจ เป้าหมาย หรือ นโยบายขององค์กร

การวิเคราะห์ SWOT (SWOT Analysis)

การประเมิน ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมภายนอกองค์กร เพื่อทำให้ทราบถึง โอกาส และ อุปสรรค และการประเมิน ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมภายในองค์กร เพื่อทำให้ทราบถึง จุดแข็ง และ จุดอ่อน ภายในองค์กรจะเรียกการวิเคราะห์นี้ว่า การวิเคราะห์ SWOT โดยที่

S = Strength คือ จุดแข็ง

W = Weakness คือ จุดอ่อน

O = Opportunity คือ โอกาส

T = Threats คือ อุปสรรค

S = Strength (จุดแข็ง) หมายถึง การดำเนินงานภายในองค์กรที่สามารถกระทำได้ดี องค์กรจะต้องวิเคราะห์ การดำเนินงานภายใน เช่น การบริหาร การเงิน การตลาด การผลิต และ การวิจัยพัฒนา เพื่อพิจาณาเป็นระยะ องค์กรที่บรรลุความสำเร็จจะกำหนดกลยุทธ์ขององค์กร โดยใช้ประโยชน์จาก จุดแข็ง ของการดำเนินงานภายในเสมอ

W= Weakness (จุดอ่อน) หมายถึง การดำเนินงานภายในองค์กรที่ทำได้ไม่ดี อาจเป็นเพราะการขาดแคลนทรัพยากรในองค์กรที่จะส่งเสริมให้การดำเนินงานลุล่วงด้วยดี ได้แก่ การบริหาร การเงิน การตลาด การผลิต การวิจัยพัฒนา ซึ่งเป็นข้อด้อยขององค์กร ที่ทำให้ไม่ประสบความสำเร็จ องค์กรจะต้องกำหนดกลยุทธ์ที่สามารถลบล้าง หรือ ปรับปรุง จุดอ่อน การดำเนินงานภายในเหล่านี้ให้ดีขึ้น

O = Opportunity (โอกาส) หมายถึง สภาพแวดล้อมภายนอก ที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินงานขององค์กร องค์กรต้องคาดคะเนการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม เช่น เศรษฐกิจ การเมือง สังคม เทคโนโลยี และ การแข่งขัน อยู่เป็นระยะ เพื่อการแสวงหาประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมภายนอก ซึ่งความเปลี่ยนแปลงอาจส่งผลถึงความต้องการของผู้บริโภค ทัศนคติของพนักงาน ทำให้ต้องมีการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ไปตามความเปลี่ยนแปลงด้วย

T = Threats (อุปสรรค) หมายถึง สภาพแวดล้อมภายนอกที่คุกคามต่อการดำเนินงานขององค์กร สภาพแวดล้อมภายนอกเหล่านี้ได้แก่ เศรษฐกิจ การเมือง สังคม เทคโนโลยี และ การแข่งขัน เป็นต้น ซึ่งส่งผลลบต่อการดำเนินงานขององค์กร เช่น ทำให้ความต้องการของผู้บริโภคลดลง ทัศนคติของพนักงานแย่ลง ทำให้ต้องมีการปรับกลยุทธ์เพื่อขจัด หลีกเลี่ยง สภาพแวดล้อมที่ส่งผลลบต่อองค์กรการเก็บรวบรวมข้อมูลสภาพแวดล้อม ในการวิเคราะห์ SWOT องค์กรควรได้ศึกษา เก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมทั้งภายใน และ ภายนอกกิจการ เพื่อทำให้ทราบถึงความเปลี่ยนแปลงของสภาวะแวดล้อม และ ผลกระทบที่เกิดขึ้น การเก็บรวบรวมข้อมูลอาจทำได้หลายวิธีร่วมกัน ดังนี้





1. จากข้อมูล จากหน่วยงานเก็บรวบรวมไว้แล้ว

2. ข้อมูลจากพนักงานในองค์การ

3. หนังสือพิมพ์ วารสารทางธุรกิจต่างๆ

4. หน่วยงานของรัฐ หรือ เอกชน

5. ฐานข้อมูลต่างๆ ทั้งภายใน ภายนอกองค์กร

6. ข้อมูลจากลูกค้า และ ผู้จัดส่งวัตถุดิบ

7. ข้อมูลจากการวิเคราะห์ของผู้เชี่ยวชาญการพยากรณ์การเปลี่ยนแปลงของสภาวะแวดล้อม
นอกจากข้อมูลที่รวบรวมจากแหล่งข้อมูลต่างๆแล้ว ธุรกิจอาจต้องพยากรณ์ คาดการณ์ ถึงสภาพแวดล้อมในอนาคต เช่น การพยากรณ์ เศรษฐกิจ สังคม การเมือง เทคโนโลยี เพื่อใช้ประกอบในการตัดสินใจ กำหนดกลยุทธ์ ที่เหมาะสม กับองค์กรต่อไป การพยากรณ์ ทำได้หลายวิธีด้วยกัน ทั้งใน เชิงคุณภาพ และ เชิงปริมาณ ดังนี้

1. การใช้ข้อมูลจากอดีตมาคาดการณ์อนาคต

2. ใช้ข้อวิจารณ์ หรือ ความคิดเห็นของบุคคลต่างๆ

3. ใช้ความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ

4. ระดมสมอง

5. การคาดการณ์สถานการณ์ในอนาคต

6. จากนักพยากรณ์อนาคต

7. ใช้สถิติในการวิเคราะห์ การถัวเฉลี่ย การวิเคราะห์อนุกรมเวลา การวิเคราะห์ปัจจัย (Factor Analysis)

สภาพแวดล้อมของธุรกิจ แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ สภาพแวดล้อมภายนอก และ สภาพแวดล้อมภายใน ซึ่งมีวิธีการวิเคราะห์ดังนี้การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก (External Analysis)สภาพแวดล้อมภายนอก เป็นปัจจัยที่อยู่เหนือการควบคุมขององค์กร มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เป็นไปไม่ได้ที่จะติดตามการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมได้ทุกอย่าง ผู้บริหารควรจะมุ่งเฉพาะปัจจัยทางสภาพแวดล้อมที่สำคัญเท่านั้น โดยทั่วไป สภาพแวดล้อมภายนอก จะมีอยู่ สองส่วน คือ

1. สภาพแวดล้อมการดำเนินงาน (Task Environment) เป็นปัจจัยที่มีผลกระทบโดยตรง ต่อการดำเนินงานของกิจการ ประกอบไปด้วย ผู้มีส่วนได้เสียกับองค์กร เช่น รัฐบาล ชุมชน คู่แข่งขัน ลูกค้า ผู้จำหน่ายวัตถุดิบ เจ้าหนี้ แรงงาน กลุ่มผลประโยชน์

2. สภาพแวดล้อมโดยทั่วไป (General Environment)เป็นปัจจัยที่ไม่กระทบต่อการดำเนินงานระยะสั้นขององค์กร แต่มีผลต่อการตัดสินใจในระยะยาว ได้แก่ เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม การเมือง กฎหมาย เทคโนโลยี ภูมิศาสตร์ และ ปัจจัยระหว่างประเทศสภาพแวดล้อมการดำเนินงาน (Task Environment)
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมการดำเนินงานขององค์กร อาจะเรียกว่า การวิเคราะห์อุตสาหกรรม (Industrial Analysis) คือ กลุ่มขององค์กรที่มีผลิตผลและบริการคล้ายคลึงกัน หรือ กลุ่มธุรกิจที่มีลักษณะเดียวกัน สภาพแวดล้อมการดำเนินงานจะประกอบไปด้วยปัจจัยที่เฉพาะเจาะจง และ กระทบต่อการบริหารงานขององค์กรในทันที เช่น คู่แข่งขัน ลูกค้า แรงงาน และ ผู้จัดจำหน่าย ซึ่งรูปแบบการวิเคราะห์อุตสาหกรรมที่นิยมใช้กัน คือ รูปแบบการประเมินสภาพวะการแข่งขันภายในอุตสาหกรรม (5-F Model) ของ Michael E. Porter หรือ Five Force Model ประกอบไปด้วย 5 ปัจจัย คือ

1. การคุกคามของผู้เข้ามาใหม่ (New Entrants)

2. คู่แข่งขันในอุตสาหกรรม (Industry Compettitors)

3. การคุกคามของผลิตภัณฑ์ทดแทน (Substitutes)

4. อำนาจการเจรจาต่อรองของผู้ซื้อ (Bargaining Power OF Buyers)

5. อำนาจการต่อรองของผู้จำหน่ายวัตถุดิบ (Bargaining Power of Suppliers)

แหล่งที่มา:

http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=entrepreneur&month=02-08-2010&group=21&gblog=2

นางสาวสายพิณ สิงห์ใจ รหัส 1248



การประเมินสภาพแวดล้อมภายนอกภายใต้การประเมินสภาพแวดล้อมภายนอกองค์กรนั้นสามารถค้นหาโอกาสและอุปสรรคทางการดำเนินงานขององค์กรที่ได้รับผลกระทบจากสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจทั้งในและระหว่างประเทศที่เกี่ยวกับการดำเนินงานขององค์กรเช่น อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ นโยบาย การเงิน การงบประมาณ สภาพแวดล้อมทางสังคม ยกตัวอย่างเช่น ระดับการศึกษาของนักศึกษาในมหาวิทยาลัยราชภัฎพระนครหรืออัตราการเรียนรู้หนังสือของประชาชน การตั้งถิ่นฐานและการอพยพของ ประชาชน ลักษณะของชุมชนชุมชน ขนบธรรมเนียมประเพณี ค่านิยม ความเชื่อและวัฒนธรรม สภาพแวดล้อมทางการเมือง ยกตัวอย่างเช่น พระราชบัญญัติ พระราชกฤษฎีกา มติคณะรัฐมนตรี และสภาพแวดล้อมทางเทคโนโลยี อาจจะหมายถึง กรรมวิธีใหม่ๆและพัฒนาการทางด้านเครื่องมือ อุปกรณ์ที่จะช่วยเพิ่ม ประสิทธิภาพในการผลิตและให้บริการ - โอกาสทางสภาพแวดล้อม เป็นการวิเคราะห์ว่าปัจจัยภายนอกองค์กร ปัจจัยใดที่สามารถส่งผล กระทบประโยชน์ ทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อการดำเนินการขององค์กรในระดับมหาภาค และองค์กรสามารถฉกฉวยข้อดีเหล่านี้มาเสริมสร้างให้ได้ หน่วยงานจะเข็มแข็งขึ้นได้ก็จะขึ้นอยู่กับ อุปสรรคทางสภาพแวดล้อม เป็นการวิเคราะห์ว่าปัจจัยภายนอกองค์กรปัจจัยใดที่สามารถส่งผล กระทบในระดับมหาภาคในทางที่จะก่อให้เกิดความเสียหายทั้งทางตรงและทางอ้อม ซึ่งองค์กรจำต้องหลีกเลี่ยง หรือปรับสภาพองค์กรให้มี ความแข็งแกร่งพร้อมที่จะเผชิญแรงกระทบดังกล่าวได้ต่อไป

แหล่งอ้างอิง

บุญเกียรติ ชีวะตระกูลกิจ. การจัดการเชิงยุทธศาสตร์. กรุงเทพฯ : สุขุมและบุตร. 2546.

วัฒนา วงศ์เกียรติรัตน์และคณะ. การวางแผนกลยุทธ์. บริษัทอินโนกราฟฟิกส์ จำกัด, 2546.

นางสาวสายพิณ สิงห์ใจ รหัส 5130125401248



การวิเคราะห์ปัจจัยสภาพแวดล้อมภายนอก ( Externat Environment Analysis )



การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกขององค์กร
เนื่องจากสภาพแวดล้อมมีการเปลี่ยนแปลงได้ และ มีอิทธิพลต่อการดำเนินงานหากผู้บริหารหรือผู้ดำเนินการทราบถึงความเปลี่ยนแปลงและผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับองค์การก็จะสามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงนั้นได้ ดังนั้น องค์กรจึงควรมีการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมต่างๆที่มีผลกระทบต่อธุรกิจ เพื่อเป็นการประเมินหา จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และ อุปสรรค ขององค์การ ผลการวิเคราะห์มักถูกใช้เป็นรากฐานของการกำหนดกลยุทธ์ เพื่อที่จะทำให้บรรลุตาม วิสัยทัศน์ ภารกิจ เป้าหมาย หรือ นโยบายขององค์กร ในการ การวิเคราะห์ SWOT Analysis

1. ความหมายของ SWOT Analysis เป็นการวิเคราะห์สภาพองค์การ หรือหน่วยงานในปัจจุบัน เพื่อค้นหาจุดแข็ง จุดเด่น จุดด้อย หรือสิ่งที่อาจเป็นปัญหาสำคัญในการดำเนินงานสู่สภาพที่ต้องการในอนาคตซึ่งแบ่งไว้คือ

SWOT เป็นตัวย่อที่มีความหมายดังนี้

1. Strengths - จุดแข็งหรือข้อได้เปรียบ

2. Weaknesses - จุดอ่อนหรือข้อเสียเปรียบ

3. Opportunities - โอกาสที่จะดำเนินการได้

4. Threats - อุปสรรค ข้อจำกัด หรือปัจจัยที่คุกคามการดำเนินงานขององค์การ

หลักการสำคัญของSWOT ก็คือการวิเคราะห์โดยการสำรวจจากสภาพการณ์ 2 ด้าน คือ สภาพการณ์ภายในและสภาพการณ์ภายนอก ดังนั้นการวิเคราะห์ SWOT จึงเรียกได้ว่าเป็นการวิเคราะห์สภาพการณ์ (Situation Analysis) ซึ่งเป็นการวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน เพื่อให้รู้ตนเอง (รู้เรา) รู้จักสภาพแวดล้อม (รู้เขา) ชัดเจน และวิเคราะห์โอกาส-อุปสรรค การวิเคราะห์ปัจจัยต่าง ๆ ทั้งภายนอกและภายในองค์กร ซึ่งจะช่วยให้ผู้บริหารขององค์กรทราบถึงการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นภายนอกองค์กร ทั้งสิ่งที่ได้เกิดขึ้นแล้วและแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงในอนาคต รวมทั้งผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ที่มีต่อองค์กรธุรกิจ และจุดแข็ง จุดอ่อน และความสามารถด้านต่าง ๆ ที่องค์กรมีอยู่ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะเป็นประโยชน์อย่างมากต่อการกำหนดวิสัยทัศน์ การกำหนดกลยุทธ์และการดำเนินตามกลยุทธ์ขององค์กรระดับองค์กรที่เหมาะสมต่อไป

2. ประโยชน์ของการวิเคราะห์ SWOT เป็นการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมต่าง ๆ ทั้งภายนอกและภายในองค์กรซึ่งปัจจัยเหล่านี้แต่ละอย่างจะช่วยให้เข้าใจได้ว่ามีอิทธิพลต่อผลการดำเนินงานขององค์กรอย่างไรจุดแข็งขององค์กรจะเป็นความสามารถภายในที่ถูกใช้ประโยชน์เพื่อการบรรลุเป้าหมาย ในขณะที่จุดอ่อนขององค์กรจะเป็นคุณลักษณะภายใน ที่อาจจะทำลายผลการดำเนินงาน โอกาสทางสภาพแวดล้อมจะเป็นสถานการณ์ที่ให้โอกาสเพื่อการบรรลุเป้าหมายองค์กรในทางกลับกันอุปสรรคทางสภาพแวดล้อมจะเป็นสถานการณ์ที่ขัดขวางการบรรลุเป้าหมายขององค์กร ผลจากการวิเคราะห์ SWOT นี้จะใช้เป็นแนวทางในการกำหนดวิสัยทัศน์ การกำหนดกลยุทธ์ เพื่อให้องค์กรเกิดการพัฒนาไปในทางที่เหมาะสม 3. ขั้นตอน / วิธีการดำเนินการทำ SWOT Analysisการวิเคราะห์ SWOT จะครอบคลุมขอบเขตของปัจจัยที่กว้าง ด้วยการระบุจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและอุปสรรคขององค์กรทำให้มีข้อมูล ในการกำหนดทิศทางหรือเป้าหมายที่จะถูกสร้างขึ้นมาบนจุดแข็งขององค์กร และแสวงหาประโยชน์จากโอกาสทางสภาพแวดล้อม และสามารถ กำหนดกลยุทธ์ที่มุ่งเอาชนะอุปสรรคทางสภาพแวดล้อมหรือลดจุดอ่อนขององค์กรให้มีน้อยที่สุดได้ ภายใต้การวิเคราะห์ SWOT นั้น จะต้องวิเคราะห์ทั้งสภาพแวดล้อมภายในและภายนอก องค์กร โดยมีขั้นตอนดังนี้

3.1. การประเมินสภาพแวดล้อมภายในองค์กรการประเมินสภาพแวดล้อมภายในองค์กร จะเกี่ยวกับการวิเคราะห์และพิจารณาทรัพยากรและความสามารถภายในองค์กร ทุกๆ ด้าน เพื่อที่จะระบุจุดแข็งและจุดอ่อนขององค์กรแหล่งที่มาเบื้องต้นของข้อมูลเพื่อการประเมินสภาพแวดล้อมภายใน คือระบบข้อมูลเพื่อ การบริหารที่ครอบคลุมทุกด้าน ทั้งในด้านโครงสร้าง ระบบ ระเบียบ วิธีปฏิบัติงาน บรรยากาศในการทำงานและทรัพยากรในการบริหาร(คน เงิน วัสดุ การจัดการ รวมถึงการพิจารณาผลการดำเนินงานที่ผ่านมาขององค์กรเพื่อที่จะเข้าใจสถานการณ์และผลกลยุทธ์ก่อนหน้านี้ด้วย - จุดแข็งขององค์กร (S-Strengths) เป็นการวิเคราะห์ปัจจัยภายในจากมุมมองของผู้ที่อยู่ภายในองค์กรนั้นเองว่าปัจจัยใดภายในองค์กรที่เป็นข้อได้เปรียบหรือจุดเด่นขององค์กรที่องค์กรควรนำมาใช้ในการพัฒนาองค์กรได้ และควรดำรงไว้เพื่อการ เสริมสร้างความเข็มแข็งขององค์กร - จุดอ่อนขององค์กร (W-Weaknesses) เป็นการวิเคราะห์ ปัจจัยภายในจากมุมมองของผู้ที่อยู่ภายในจากมุมมอง ของผู้ที่อยู่ภายในองค์กรนั้น ๆ เองว่าปัจจัยภายในองค์กรที่เป็นจุดด้อย ข้อเสียเปรียบขององค์กรที่ควรปรับปรุงให้ดีขึ้นหรือขจัดให้หมดไป อันจะเป็นประโยชน์ต่อองค์กร

3.2. การประเมินสภาพแวดล้อมภายนอกภายใต้การประเมินสภาพแวดล้อมภายนอกองค์กรนั้นสามารถค้นหาโอกาสและอุปสรรคทางการดำเนินงานขององค์กรที่ได้รับผลกระทบจากสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจทั้งในและระหว่างประเทศที่เกี่ยวกับการดำเนินงานขององค์กรเช่น อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ นโยบาย การเงิน การงบประมาณ สภาพแวดล้อมทางสังคม เช่น ระดับการศึกษาและอัตรารู้หนังสือของประชาชน การตั้งถิ่นฐานและการอพยพของ ประชาชน ลักษณะชุมชน ขนบธรรมเนียมประเพณี ค่านิยม ความเชื่อและวัฒนธรรม สภาพแวดล้อมทางการเมือง เช่น พระราชบัญญัติ พระราชกฤษฎีกา มติคณะรัฐมนตรี และสภาพแวดล้อมทางเทคโนโลยี หมายถึง กรรมวิธีใหม่ๆและพัฒนาการทางด้านเครื่องมือ อุปกรณ์ที่จะช่วยเพิ่ม
ประสิทธิภาพในการผลิตและให้บริการ - โอกาสทางสภาพแวดล้อม (O-Opportunities) เป็นการวิเคราะห์ว่าปัจจัยภายนอกองค์กร ปัจจัยใดที่สามารถส่งผล กระทบประโยชน์ ทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อการดำเนินการขององค์กรในระดับมหาภาค และองค์กรสามารถฉกฉวยข้อดีเหล่านี้มาเสริมสร้างให้ หน่วยงานเข็มแข็งขึ้นได้ - อุปสรรคทางสภาพแวดล้อม (T-Threats) เป็นการวิเคราะห์ว่าปัจจัยภายนอกองค์กรปัจจัยใดที่สามารถส่งผล กระทบในระดับมหภาคในทางที่จะก่อให้เกิดความเสียหายทั้งทางตรงและทางอ้อม ซึ่งองค์กรจำต้องหลีกเลี่ยง หรือปรับสภาพองค์กรให้มี ความแข็งแกร่งพร้อมที่จะเผชิญแรงกระทบดังกล่าวได้

3.3. ระบุสถานการณ์จากการประเมินสภาพแวดล้อมเมื่อได้ข้อมูลเกี่ยวกับ จุดแข็ง-จุดอ่อน โอกาส-อุปสรรค จากการวิเคราะห์ปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกด้วยการประเมินสภาพ แวดล้อมภายในและสภาพแวดล้อมภายนอกแล้ว ให้นำจุดแข็ง-จุดอ่อนภายในมาเปรียบเทียบกับ โอกาส-อุปสรรค จากภายนอกเพื่อดูว่าองค์กร กำลังเผชิญสถานการณ์เช่นใดและภายใต้สถานการณ์ เช่นนั้น องค์กรควรจะทำอย่างไร โดยทั่วไป ในการวิเคราะห์ SWOT ดังกล่าวนี้ องค์กร จะอยู่ในสถานการณ์ 4 รูปแบบดังนี้

3.3.1 สถานการณ์ที่ 1 (จุดแข็ง-โอกาส) สถานการณ์นี้เป็นสถานการณ์ที่พึ่งปรารถนาที่สุด เนื่องจากองค์กรค่อนข้างจะมีหลายอย่าง ดังนั้น ผู้บริหารขององค์กรควรกำหนดกลยุทธ์ในเชิงรุก (Aggressive - Strategy) เพื่อดึงเอาจุดแข็งที่มีอยู่มาเสริมสร้างและปรับใช้และฉกฉวยโอกาสต่างๆ ที่เปิดมาหาประโยชน์อย่างเต็มที่

3.3.2 สถานการณ์ที่ 2 (จุดอ่อน-ภัยอุปสรรค) สถานการณ์นี้เป็นสถานการณ์ที่เลวร้ายที่สุด เนื่องจากองค์กรกำลังเผชิญอยู่กับอุปสรรคจากภายนอกและมีปัญหาจุดอ่อนภายในหลาย ประการ ดังนั้น ทางเลือกที่ดีที่สุดคือกลยุทธ์ การตั้งรับหรือป้องกันตัว (Defensive Strategy) เพื่อพยายามลดหรือหลบหลีกภัยอุปสรรค ต่างๆที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ตลอดจนหามาตรการที่จะทำให้องค์กรเกิดความสูญเสียที่น้อยที่สุด

3.3.3 สถานการณ์ที่ 3 (จุดอ่อน-โอกาส) สถานการณ์องค์กรมีโอกาสเป็นข้อได้เปรียบด้านการแข่งขันอยู่หลายประการ แต่ติดขัดอยู่ตรงที่มีปัญหาอุปสรรคที่เป็นจุดอ่อนอยู่ หลายอย่างเช่นกัน ดังนั้น ทางออกคือกลยุทธ์การพลิกตัว (Turnaround-Oriented Strategy) เพื่อจัดหรือแก้ไขจุดอ่อนภายในต่างๆ ให้ พร้อมที่จะฉกฉวยโอกาสต่างๆที่เปิดให้

3.3.4 สถานการณ์ที่ 4 (จุดแข็ง-อุปสรรค) สถานการณ์นี้เกิดขึ้นจากการที่สภาพแวดล้อมไม่เอื้ออำนวยต่อการดำเนินงาน แต่ตัวองค์กรมีข้อได้เปรียบที่เป็นจุดแข็งหลายประการ ดังนั้นแทนที่จะรอจนกระทั่งสภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลงไป ก็สามารถที่จะเลือกกลยุทธ์การแตกตัว หรือขยายขอบข่ายกิจการ (diversification Strategy) เพื่อใช้ประโยชน์จากจุดแข็งที่มีสร้างโอกาสในระยะยาวด้านอื่นๆแทน

ข้อพิจารณาในการวิเคราะห์ SWOT มีดังนี้

1. ควรวิเคราะห์แยกแยะควรทำอย่างลึกซึ้ง เพื่อให้ได้ปัจจัยที่มีความสำคัญจริง ๆ เป็นสาเหตุหลัก ๆ ของปัญหาที่แท้จริง กล่าวคือ เป็นปัจจัยที่มีประโยชน์ในการนำไปกำหนดเป็นนโยบาย ตลอดจนสามารถนำไปกำหนดกลยุทธ์ ที่จะทำให้องค์การ/ชุมชนบรรลุเป้าหมายที่เป็นผลลัพธ์ขั้นสุดท้าย (Result) ได้จริง 2. การกำหนดปัจจัยต่าง ๆ ไม่ควรกำหนดของเขตของความหมายของปัจจัยต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น จุดอ่อน (W) หรือ จุดแข็ง (S) หรือ โอกาส (O) หรือ อุปสรรค (T) ให้มีความหมายคาบเกี่ยวกัน จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องตัดสินใจ และชี้ชัดว่าปัจจัยที่กำหนดขึ้นมานั้นเป็นปัจจัยในกลุ่มใด ทั้งนี้เพราะปัจจัยที่อยู่ต่างกลุ่มกัน ก็ต้องสมควรที่จะนำไปกำหนดกลยุทธ์ที่ต่างกันออกไป


ปัจจัยภายใน /ปัจจัยภายนอก

S จุดแข็งภายในองค์กร

W จุดอ่อนภายในองค์กร


O โอกาสภายนอก

SO การนำข้อได้เปรียบของจุดแข็ง ภายในและโอกาสภายนอกมาใช้

WO การแก้ไขจุดอ่อนภายในโดย พิจารณาจากโอกาสภายนอก ที่เป็นผลดีต่อองค์กร


T อุปสรรคภายนอก

ST การแก้ไขหรือลดอุปสรรคภายนอกโดยนำจุดแข็งภายในมาใช้

WT การแก้ไขหรือลดความเสียหาย ของธุรกิจอันเกิดจากจุดอ่อนภายในองค์กรและอุปสรรคภายนอก




4. ข้อดี – ข้อเสีย ของการทำ SWOT Analysis ข้อดี เทคนิคการวิเคราะห์ SWOT ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายในการวิเคราะห์สถานการณ์ต่างๆ ทางธุรกิจและการบริหารเชิงกลยุทธ์ เนื่องจากเป็นเทคนิคที่เข้าใจง่าย ไม่ซับซ้อน ให้ความสะดวกเป็นอย่างมากสำหรับผู้ที่นำ SWOT มาใช้ และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ด้านต่างๆ มากมาย เช่น - การตัดสินใจเลือกเมื่อมีทางเลือกหลายๆ ทาง - การกำหนดความสำคัญก่อนหลังของเหตุการณ์ - การบริหารความเปลี่ยนแปลงที่ต้องการให้เกิดขึ้น - การวิเคราะห์และแก้ปัญหาในการดำเนินการ - การวิเคราะห์โครงการเริ่มใหม่ - การเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้สูงขึ้น - การสร้างกระบวนการเรียนรู้ใหม่ ฯลฯ ข้อเสีย ของการใช้ SWOT ก็มีอยู่ไม่น้อยเช่นกัน เมื่อเปรียบเทียบกับประโยชน์และความหลากหลายในการประยุกต์ใช้งาน เช่น- โอกาสผิดพลาดเกิดจาก คุณภาพของข้อมูลที่นำมาใช้วิเคราะห์ ทักษะ ประสบการณ์ และความเข้าใจในความรู้พื้นฐานของเทคนิค SWOT ของผู้วิเคราะห์- ต้องทบทวน SWOT เป็นระยะๆ เพื่อตรวจสอบสภาพว่า เหตุการณ์และปัจจัยต่างๆ ที่นำมาใช้เป็นข้อมูลพื้นฐาน ยังเหมือนเดิมหรือมีการเปลี่ยนแปลงไปแล้วหรือไม่

การวิเคราะห์ปัจจัยสภาพแวดล้อมภายนอกการแข่งขันในเชิงธุรกิจ

การเก็บรวบรวมข้อมูลสภาพแวดล้อม ในการวิเคราะห์ SWOT องค์กรควรได้ศึกษา เก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมทั้งภายใน และ ภายนอกกิจการ เพื่อทำให้ทราบถึงความเปลี่ยนแปลงของสภาวะแวดล้อม และ ผลกระทบที่เกิดขึ้น การเก็บรวบรวมข้อมูลอาจทำได้หลายวิธีร่วมกัน ดังนี้
1. จากข้อมูล จากหน่วยงานเก็บรวบรวมไว้แล้ว
2. ข้อมูลจากพนักงานในองค์การ
3. หนังสือพิมพ์ วารสารทางธุรกิจต่างๆ
4. หน่วยงานของรัฐ หรือ เอกชน
5. ฐานข้อมูลต่างๆ ทั้งภายใน ภายนอกองค์กร
6. ข้อมูลจากลูกค้า และ ผู้จัดส่งวัตถุดิบ
7. ข้อมูลจากการวิเคราะห์ของผู้เชี่ยวชาญการพยากรณ์การเปลี่ยนแปลงของสภาวะแวดล้อม
นอกจากข้อมูลที่รวบรวมจากแหล่งข้อมูลต่างๆแล้ว ธุรกิจอาจต้องพยากรณ์ คาดการณ์ ถึงสภาพแวดล้อมในอนาคต เช่น การพยากรณ์ เศรษฐกิจ สังคม การเมือง เทคโนโลยี เพื่อใช้ประกอบในการตัดสินใจ กำหนดกลยุทธ์ ที่เหมาะสม กับองค์กรต่อไป การพยากรณ์ ทำได้หลายวิธีด้วยกัน ทั้งใน เชิงคุณภาพ และ เชิงปริมาณ ดังนี้
1. การใช้ข้อมูลจากอดีตมาคาดการณ์อนาคต
2. ใช้ข้อวิจารณ์ หรือ ความคิดเห็นของบุคคลต่างๆ
3. ใช้ความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ
4. ระดมสมอง
5. การคาดการณ์สถานการณ์ในอนาคต
6. จากนักพยากรณ์อนาคต
7.ใช้สถิติในการวิเคราะห์ การถัวเฉลี่ย การวิเคราะห์อนุกรมเวลา การวิเคราะห์ปัจจัย (Factor Analysis) สภาพแวดล้อมของธุรกิจ แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ สภาพแวดล้อมภายนอก และ สภาพแวดล้อมภายใน ซึ่งมีวิธีการวิเคราะห์ดังนี้
1. สภาพแวดล้อมการดำเนินงาน (Task Environment) เป็นปัจจัยที่มีผลกระทบโดยตรง ต่อการดำเนินงานของกิจการ ประกอบไปด้วย ผู้มีส่วนได้เสียกับองค์กร เช่น รัฐบาล ชุมชน คู่แข่งขัน ลูกค้า ผู้จำหน่ายวัตถุดิบ เจ้าหนี้ แรงงาน กลุ่มผลประโยชน์
2. สภาพแวดล้อมโดยทั่วไป (General Environment) เป็นปัจจัยที่ไม่กระทบต่อการดำเนินงานระยะสั้นขององค์กร แต่มีผลต่อการตัดสินใจในระยะยาว ได้แก่ เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม การเมือง กฎหมาย เทคโนโลยี ภูมิศาสตร์ และ ปัจจัยระหว่างประเทศ


สภาพแวดล้อมการดำเนินงาน (Task Environment) การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมการดำเนินงานขององค์กร อาจจะเรียกว่า การวิเคราะห์อุตสาหกรรม (Industrial Analysis) คือ กลุ่มขององค์กรที่มีผลิตผลและบริการคล้ายคลึงกัน หรือ กลุ่มธุรกิจที่มีลักษณะเดียวกัน สภาพแวดล้อมการดำเนินงานจะประกอบไปด้วยปัจจัยที่เฉพาะเจาะจง และ กระทบต่อการบริหารงานขององค์กรในทันที เช่น คู่แข่งขัน ลูกค้า แรงงาน และ ผู้จัดจำหน่าย ซึ่งรูปแบบการวิเคราะห์อุตสาหกรรมที่นิยมใช้กัน คือ รูปแบบการประเมินสภาพวะการแข่งขันภายในอุตสาหกรรม (5-F Model) ของ Michael E. Porter หรือ Five Force Model ประกอบไปด้วย 5 ปัจจัย คือ
1. การคุกคามของผู้เข้ามาใหม่ (New Entrants)
2. คู่แข่งขันในอุตสาหกรรม (Industry Competitors)
3. การคุกคามของผลิตภัณฑ์ทดแทน (Substitutes)
4. อำนาจการเจรจาต่อรองของผู้ซื้อ (Bargaining Power OF Buyers)
5. อำนาจการต่อรองของผู้จำหน่ายวัตถุดิบ (Bargaining Power of Suppliers)
1. การคุกคามของผู้เข้ามาใหม่ (New Entrants)โดยทั่วไปผู้เข้ามาใหม่ จะเพิ่มกำลังการผลิตใหม่แก่อุตสาหกรรม ความต้องการส่วนแบ่งการตลาด และ ทรัพยากรของผู้มาใหม่ จะคุกคามต่อองค์กรที่มีอยู่เดิมทันที การคุมคามของผู้เข้ามาใหม่ จะขึ้นอยู่กับอุปสรรคการเข้ามา (Entry Barrier) และ การตอบโต้จากคู่แข่งขันที่มีอยู่เดิม ถ้าเข้ามาในอุตสาหกรรมได้ง่าย ก็มีการแข่งขันสูง เป็นอุปสรรคในการทำธุรกิจ อุปสรรคการเข้ามาในอุตสาหกรรม ได้แก่ การประหยัดต่อขนาด(Economics of scale) ความแตกต่างของสินค้า เงินลงทุนสูง ต้นทุนการเปลี่ยนผู้ขาย ความสามารถในการเข้าถึงช่องทางการจัดจำหน่าย และ นโยบายของรัฐ

2. คู่แข่งขันในอุตสาหกรรม (Industry Competitors) หรือ สภาพการแข่งขันระหว่างบริษัทในอุตสาหกรรมเดียวกัน การดำเนินการของคู่แข่งขันหนึ่งจะมีผลกระทบต่อคู่แข่งขันอื่น และอาจจะทำให้เกิดการตอบโต้ ความรุนแรงของสภาพการแข่งขันระหว่างองค์กรธุรกิจที่อยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกัน ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ เหล่านี้ จำนวนคู่แข่งขันในอุตสาหกรรม อัตราการเจริญเติบโตของอุตสาหกรรม ถ้าอุตสาหกรรมยังเติบโตสูง การแข่งขันก็ไม่รุนแรง คุณลักษณะของสินค้าและบริการ มีความเหมือน หรือ ความต่างกัน มูลค่าของต้นทุนคงที่ กำลังการผลิต การออกจากอุตสาหกรรม ถ้าการออกไปยาก มีข้อจำกัด จะทำให้คู่แข่งขันไม่ได้ลดจำนวนลง การแข่งขันจะสูง

ข้อจำกัด ในการออกจากอุตสาหกรรม เช่น การลงทุนในโรงงานสูง ไม่สามารถนำไปใช้ในกิจการอื่น ไม่สามารถขายต่อได้ ต้นทุนการออกจากอุตสาหกรรมสูง เช่น ค่าชดเชยแก่ลูกจ้างความผูกพันที่มีต่ออุตสาหกรรมการลงทุนในสินทรัพย์ถาวร / ต้นทุนคงที่ยังไม่ถึงจุดคุ้มทุน ความภาคภูมิใจของผู้บริหารกลัวเสียหน้าเมื่อออกจากอุตสาหกรรมแรงผลักดันจากรัฐบาล
3. การคุกคามของผลิตภัณฑ์ทดแทน (Substitutes) สินค้าทดแทนเป็นสินค้าหรือบริการ ที่สามารถนำไปใช้ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค แทนสินค้าหรือบริการอื่นได้เช่นเดียวกัน หรือ ใกล้เคียงกัน เช่น เครื่องจักรสานพลาสติก แทน เครื่องจักรสานที่ทำด้วยหวาย การใช้น้ำตาลเทียมแทนน้ำตาลธรรมชาติ การใช้โทรสารแทนการส่งจดหมายถึงลูกค้า เครื่องเล่น VDO / VCD กลายเป็นผลิตภัณฑ์ทดแทนเครื่องฉายภาพยนตร์มากขึ้นธุรกิจในอุตสาหกรรมหนึ่ง จะเป็นคู่แข่งขันกับธุรกิจในอุตสาหกรรมอื่น ที่ผลิตภัณฑ์ทดแทนได้ ทำให้มีข้อจำกัดในการกำหนดราคา และ ความสามารถในการทำกำไร คือ ถ้าตั้งราคาสูง ลูกค้าจะเปลี่ยนใจไปซื้อผลิตภัณฑ์ทดแทน เช่น ราคาเนื้อหมูขึ้นสูงมาก ผู้บริโภคหันไปซื้อเนื้อไก่แทน ดังนั้น ถ้ามีสินค้าทดแทน การแข่งขันจะสูง
4. อำนาจการเจรจาต่อรองของผู้ซื้อ (Bargaining Power OF Buyers) ผู้ซื้อ หรือ ลูกค้า จะมีผลกระทบต่ออุตสาหกรรมด้วย ถ้าลูกค้ามีอำนาจต่อรอง สภาพการแข่งขันจะสูง เพราะลูกค้าสามารถที่จะกดดันราคาให้ต่ำลง และ คุณภาพของสินค้าและบริการดีขึ้น และสามารถเปลี่ยนไปใช้สินค้าของคู่แข่งขัน ผู้ซื้อจะมีอำนาจการเจรจาต่อรองสูงเมื่อลูกค้าซื้อผลิตภัณฑ์ในสัดส่วนสูงจากบริษัท ลูกค้ามีโอกาสรวมธุรกิจไปข้างหลัง (Backward Integrated) ไปสู่ธุรกิจที่จำหน่ายวัตถุดิบให้กับองค์กรเช่นกลุ่มผู้จำหน่ายรถยนต์ขู่ว่าจะประกอบรถยนต์เองแทนที่จะเป็นเพียงตัวแทนจำหน่าย มีทางเลือกอื่นๆในการจัดซื้อมากมาย เนื่องจากสินค้าในตลาดไม่แตกต่างกันมาก ลูกค้าจะเลือกซื้อจากผู้ค้ารายใดก็ได้ต้นทุนในการเปลี่ยนแปลงผู้จำหน่ายวัตถุดิบต่ำ (Lo of switching cost)
5.อำนาจการต่อรองของผู้จำหน่ายวัตถุดิบ (BargainingPowerof Suppliers) ถ้าผู้จำหน่ายวัตถุดิบ หรือ Supplier มีอำนาจต่อรอง การแข่งขันจะสูง เนื่องจาก ผู้จำหน่ายวัตถุดิบสามารถกระทบอุตสาหกรรมได้ด้วยการขึ้นราคาหรือลดปริมาณของวัตถุดิบลงผู้จำหน่ายวัตถุดิบจะมีอำนาจการเจรจาต่อรองสูงเมื่อมีผู้จำหน่ายวัตถุดิบน้อยรายแต่จำหน่ายไปยังบริษัทจำนวนมาก
ผู้ซื้อผลิตภัณฑ์ซื้อเป็นสัดส่วนที่น้อยจากผู้จำหน่ายวัตถุดิบเมื่อเทียบกับลูกค้ารายอื่น ต้นทุนในการเปลี่ยนไปใช้วัตถุดิบอื่นสูงเช่น ค่าใช้จ่ายในการปรับเครื่องจักร (เปลี่ยนจากรถยนต์ใช้น้ำมันเบนซิน ไปเป็นใช้ก๊าซ(NGV)ไม่มีผลิตภัณฑ์แทนผู้จำหน่ายวัตถุดิบสามารถรวมธุรกิจไปข้างหน้า สู่ธุรกิจที่เป็นลูกค้าขององค์กร (Foreward Integrated) เช่น กลุ่มผู้กลั่นน้ำมัน จะตั้งปั๊มน้ำมันเอง
PORTER’S FIVE FORCE MODEL 
รูปการวิเคราะห์ปัจจัยสภาพแวดล้อมภายนอกของการแข่งขันในองค์การ

สภาพแวดล้อมภายนอก แบ่งออกเป็น สภาพแวดล้อมภายนอกองค์กร และ สภาพแวดล้อมภายในองค์กร การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมเรียกว่า SWOT Analysis การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน ทำให้ทราบถึง จุดแข็งและจุดอ่อน ส่วน การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก ทำให้ทราบถึง โอกาส และ อุปสรรคสภาพแวดล้อมภายนอก มีอยู่ 2 ส่วน คือ สภาพแวดล้อมทั่วไป และ สภาพแวดล้อมการดำเนินงาน สภาพแวดล้อมทั่วไป เช่น เศรษฐกิจ การเมือง กฎหมาย สังคม วัฒนธรรม เทคโนโลยีภูมิศาสตร์สภาพแวดล้อมการดำเนินงานเป็นปัจจัยที่มีผลโดยตรงต่อธุรกิจในอุตสาหกรรมนั้นๆเช่นคู่แข่งขัน ลูกค้า รัฐบาล ชุมชน ผู้จำหน่ายวัตถุดิบการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมการดำเนินการ บางที เรียกว่า การวิเคราะห์อุตสาหกรรม รูปแบบที่นิยมใช้ในการวิเคราะห์คือ Porter’s 5 F Model ประกอบด้วยปัจจัย 5 ปัจจัย คือ การคุกคามของผู้เข้ามาใหม่ คู่แข่งขันในอุตสาหกรรม การคุกคามของผลิตภัณฑ์ทดแทน อำนาจต่อรองของผู้ซื้อ และ อำนาจต่อรองของผู้ขายการวิเคราะห์ SWOT โดยละเอียด จะมีการให้ค่าคะแนน และ ถ่วงน้ำหนัก ซึ่งจะเป็นข้อมูลที่ละเอียดชัดเจนมากขึ้น ในการกำหนดกลยุทธ์ต่อไป 

แหล่งอ้างอิง

บุญเกียรติ ชีวะตระกูลกิจ. การจัดการเชิงยุทธศาสตร์. กรุงเทพฯ : สุขุมและบุตร. 2546.

วัฒนา วงศ์เกียรติรัตน์และคณะ. การวางแผนกลยุทธ์. บริษัทอินโนกราฟฟิกส์ จำกัด, 2546.

จักร ติงศ์ภัทิย์. ผู้แปล พิมพ์ครั้งที่ 7 กลยุทธ์ : การสร้างและนำไปปฏิบัติ. เอ็กซเปอร์เน็ทจำกัด,

ศิริวรรณ เสรีรัตน์และคณะ. การบริหารเชิงกลยุทธ์และกรณีศึกษา. กรุงเทพฯ: ธีระฟิล์มและ

ไซเท็กซ์จำกัด, 2542.

12 สิงหาคม 2553, การวิเคราะห์ สภาพแวดล้อมภายในและภายนอกองค์กร (SWOT). เข้าถึงได้จาก http://202.28.94.202/wichuda/qa/km/swot.doc.

ชูเพ็ญ วิบุลสันติ. 12 สิงหาคม 2553 การวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน (จุดด้อย) โอกาสและอุปสรรค (ความเสี่ยง)ขององค์กร (SWOT Analysis). เข้าถึงได้จาก http://www.pharmacy.cmu.ac.th/pharmcare/pharad/swot982.htm

12 สิงหาคม 2553, ภาพรวม (Overview) กระบวนการบริหารเชิงกลยุทธ์ . เข้าถึงได้จาก http://www.tct.ac.th/PongsakS/sm_lecture_01.htm

12 สิงหาคม 2553, การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในและภายนอกองค์กร. เข้าถึงได้จาก

http://www.fareastern.ac.th/acad/mk/yaowalak/stm/Ch03.doc

12 สิงหาคม 2553 การวิเคราะห์สถานภาพ (SWOT Analysis) ของอำเภอ. เข้าถึงได้จาก

http://www.dopa.go.th/layout/handb4.htmlSwot Analysis http://www.oja.moj.go.th/data/document/news/SWOT_Analysis

เรวัต ตันตยานนท์.12 สิงหาคม 2553 SMEs Clinic : 'SWOT' เครื่องมือวิเคราะห์สารพัดประโยชน์ ?.

เข้าถึงได้จากhttp://www.bangkokbizweek.com/20041202/smallbiz/index.php?news=column_15688840.html

น.ส.อารยา อินทะสอน รหัส 5210125401039 เอกการจัดการทั่วไป ปี 4

วิธีการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน
ผู้บริหารเชิงกลยุทธ์ควรจะระบุปัจจัยภายในบริษัทของพวกเขาที่อาจจะเป็นจุดแข็งและจุดอ่อนที่สำคัญปัจจัยเหล่านี้จะเป็นจุดแข็ง ถ้าพวกมันสร้างข้อได้เปรียบทางการแข่งขัน นี่คือบางสิ่งบางอย่างที่บริษัททำหรือมีศักยภาพที่จะทำได้ดี บางสิ่งบางอย่างที่บริษัททำได้ไม่ดีหรือไม่มีความสามารถจะทำทั้งที่คู่แข่งขันของพวกเขามีความสามารถนั้นภายในการประเมินความสำคัญของปัจจัยเหล่านี้ผู้บริหารควรจะมั่นใจว่าพวกมันคือปัจจัยเชิงกลยุทธ์ภายในหรือไม่-จุดแข็งและจุดอ่อนบางอย่างที่กำหนดอนาคตของบริษัท วิธีการอย่างหนึ่งคือ การเปรียบเทียบเครื่องวัดปัจจัยเหล่านี้กับเครื่องวัด
(1) ผลการดำเนินงานที่ผ่านมาของบริษัท
(2) คู่แข่งขันรายสำคัญของบริษัท
(3) อุตสาหกรรมโดยส่วนรวม
ถ้าปัจจัยเหล่านี้ (เช่น สถานการณ์ทางการเงินของบริษัท) แตกต่างอย่างมากจากที่ผ่านมาของบริษัทคู่แข่งขันรายสำคัญของบริษัท หรือค่าเฉลี่ยของอุตสาหกรรม ปัจจัยเหล่านี้น่าจะเป็นปัจจัยเชิงกลยุทธ์ และควรถูกพิจารณาภายในการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ ผู้บริหารสามารถวิเคราะห์ปัจจัยภายในได้ด้วยวิธีการต่อไปนี้ คือ กรอบข่าย 7-s การวิเคราะห์ PIMS การวิเคราะห์ลูกโซ่คุณค่า และการวิเคราะห์ตามหน้าที่
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมและอุตสาหกรรม
ก่อนที่ผู้บริหารเชิงกลยุทธ์จะเริ่มกลยุทธ์ของพวกเขาขึ้นมา พวกเขาจะต้องวิเคราะห์สภาพแวดล้อมเสียก่อน เพื่อการพิจารณาถึงโอกาส และ อุปสรรค การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมคือการตรวจสอบการประเมิน และการเผยแพร่ข้อมูลทางภาพแวดล้อมไปยังผู้บริหารภายในบริษัท บริษัทจะต้องตรวจสอบสภาพแวดล้อมอยู่เสมอ เพื่อการตรวจสอบปัจจัยเชิงกลยุทธ์ที่มีผลกระทบต่อความสำเร็จหรือความล้มเหลวของบริษัท
อ้างอิงจาก สมยศ นาวีการ. (2541). การบริหารเชิงกลยุทธ์และนโยบายทางธุรกิจ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์.ผู้จัดการ