หน้าเว็บ

น.ส. ปาริฉัตร หยุ่นเฮง รหัส 216 การจัดการทั่วไป รุ่นที่ 19


บทที่10 การแข่งขันในตลาดโลกและการปรับตัวเพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน
เริ่มต้นธุรกิจใหม่ : การสร้างความแตกต่างเพื่อความอยู่รอด
โดย ปกรณ์ พรรธนะแพทย์
รองกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย

สำหรับผู้ที่เพิ่งเริ่มต้นธุรกิจของตัวเอง ผมเชื่อว่าคำถามในใจของหลายคนคงไม่พ้นเรื่อง “เราจะอยู่รอดในตลาดได้อย่างไร” ในโลกยุคการแข่งขันเสรีเช่นปัจจุบันที่ผู้บริโภคมีทางเลือกมากมายในการตัดสินใจซื้อสินค้า ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจที่ผันผวน ยิ่งทำให้ผู้บริโภคเพิ่มความระมัดระวังในการใช้จ่าย ส่งผลให้ผู้ประกอบการ โดยเฉพาะกลุ่มเอสเอ็มอีที่เพิ่งเริ่มต้นกิจการ ต้องทำงานหนักมากขึ้น เพื่อให้สินค้าและบริการของกิจการเป็นที่ต้องการของตลาด หรือได้รับความนิยมจากผู้บริโภค การสร้างตราสินค้าหรือแบรนด์เพื่อให้เกิดการรับรู้นั้นอาจจะไม่เพียงพออีกต่อไป แต่ต้องสร้างสินค้า / บริการที่แตกต่าง (Differentiation) จากผลิตภัณฑ์หรือบริการของคู่แข่งอย่างชัดเจนด้วย

 แนวคิดของการสร้างความแตกต่าง
1. การเป็นเจ้าแรกผู้บุกเบิกตลาด ผู้บริโภคส่วนใหญ่มักรู้สึกว่าเจ้าแรกคือต้นตำรับ มีความเชี่ยวชาญและความรู้มากกว่า ส่วนผู้ที่เดินรอยตามเป็นพวกลอกเลียนแบบ นอกจากนี้ ผู้บริโภคมักจะจดจำสินค้าซึ่งเป็นเจ้าแรกได้ จนบางครั้งชื่อตราสินค้าอาจจะกลายเป็นคำที่ใช้เรียกแทนชื่อประเภทสินค้าไปในที่สุด แต่ทั้งนี้ ผู้ประกอบการจำเป็นต้องมีการนำเสนอนวัตกรรมใหม่ๆอย่างต่อเนื่องด้วย เพื่อยึดครองส่วนแบ่งไว้ให้ได้นานที่สุด
2. การสร้างคุณสมบัติที่แตกต่างจากผู้นำตลาดเดิม น่าจะเป็นแนวทางให้กิจการเอสเอ็มอีที่เพิ่งเริ่มต้นธุรกิจช่วงชิงส่วนแบ่งตลาดได้บ้าง โดยเฉพาะคุณสมบัติที่เน้นถึงประโยชน์ที่ลูกค้าจะได้รับ ซึ่งควรดึงจุดเด่นมาเพียงเรื่องเดียว ที่ง่ายต่อความเข้าใจและการจดจำ ลูกค้าจะได้ไม่สับสน
3. การใช้ความเป็นมรดกสืบทอดหรืออ้างอิงแหล่งกำเนิดเพื่อสร้างความแตกต่าง ผลิตภัณฑ์ที่มีประวัติศาสตร์อันยาวนาน หรือมาจากถิ่นกำเนิดเฉพาะที่ ย่อมสะท้อนถึงความน่าเชื่อถือ และทำให้ผู้บริโภคเกิดความมั่นใจในการเลือก เช่น ขนมสูตรชาววัง ครีมบำรุงผิวสูตรคุณยาย เป็นต้น

 ขั้นตอนการสร้างความแตกต่าง
1. ค้นหาไอเดียสร้างความแตกต่าง / เอกลักษณ์โดดเด่น
2. มีข้อมูลสนับสนุนแนวคิดให้ดูน่าเชื่อถือ หรือสามารถอธิบายถึงความแตกต่างนั้นได้ โดยไม่มีข้อสงสัยที่ส่งผลในเชิงลบต่อผลิตภัณฑ์
3. ต้องเข้าใจในภาพรวมของกิจการ ตลาด และความต้องการของผู้บริโภค พร้อมทั้งเก็บรายละเอียดของคู่แข่ง ทั้งคู่แข่งทางตรงและทางอ้อม (คู่แข่งในสินค้าที่สามารถทดแทนกันได้) และศึกษาสถานการณ์ ณ เวลานั้น เพื่อดูว่าเป็นช่วงที่เหมาะกับไอเดียของกิจการหรือไม่ โดยอาจทำวิจัยศึกษาพฤติกรรมหรือความนิยมของผู้บริโภค เป็นต้น
4. สื่อสารความแตกต่างให้เข้าไปอยู่ในใจของกลุ่มเป้าหมาย เพื่อก่อให้เกิดการรับรู้ในวงกว้าง โดยเน้นการสื่อสารที่เข้าใจง่ายผ่านสื่อต่างๆ ตามความเหมาะสม อาทิ การโฆษณา จัดทำโบรชัวร์ เวบไซต์ หรือการเสนอขาย ณ จุดขาย เป็นต้น

 รูปแบบของการสร้างความแตกต่าง
สำหรับรูปแบบการสร้างความแตกต่างนั้นประกอบด้วยหลากหลายแนวทาง ดังนี้
1.ด้านผลิตภัณฑ์ : เป็นความประทับใจอันดับแรกในการดึงดูดลูกค้า
รูปแบบ เช่น ขนาด รูปร่าง สีสัน เหมาะสมกับประโยชน์ใช้สอย
การออกแบบที่สวยงาม โดดเด่น ใช้งานได้ง่าย
สินค้าทุกหน่วยมีคุณภาพ และได้มาตรฐานตามที่สัญญาไว้
คุณลักษณะเด่นที่เพิ่มเติมจากหน้าที่หลักของสินค้า
ความทนทาน
ความน่าเชื่อถือ / ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน โดยทั่วไปผู้บริโภคมักจะยินดีจ่ายสูงขึ้นสำหรับสินค้าที่น่าเชื่อถือ
บรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสม สวยงาม
2.ด้านการบริการ : เป็นความแตกต่างที่เพิ่มเติมด้วยบริการที่เหนือกว่า
ความสะดวกในการสั่งซื้อ
ความรวดเร็วในการให้บริการ
การเอาใจใส่ดูแลลูกค้า
จัดอบรมให้แก่ลูกค้า เพื่อให้ใช้ผลิตภัณฑ์ได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ
การให้คำปรึกษาและข้อมูลข่าวสารต่างๆ ที่เป็นประโยชน์แก่ลูกค้า
การซ่อมบำรุง เป็นการช่วยเหลือลูกค้าให้ได้ใช้สินค้าที่อยู่ในสภาพการทำงานที่ดีอยู่เสมอ
การขนส่งและการติดตั้ง
3.ด้านบุคลากร : เป็นการสร้างความแข็งแกร่งด้วยการสรรหาและฝึกอบรมพนักงานให้มีประสิทธิภาพเหนือคู่แข่ง
ความสามารถ ความชำนาญ และความรู้ในการขาย
ความสุภาพ เป็นมิตร มีสัมมาคารวะ และเป็นกันเองในการให้บริการ
ความน่าเชื่อถือ และไว้วางใจได้
การให้บริการที่เสมอต้นเสมอปลาย
ตอบสนองต่อคำขอร้องของลูกค้าอย่างรวดเร็ว
มีการสื่อสารที่ดี โดยให้ข้อมูลที่ชัดเจน และพยายามเข้าใจลูกค้า
4.ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย : เป็นการสร้างความได้เปรียบในการจัดจำหน่ายให้พร้อมต่อการจับจ่ายของลูกค้า
สามารถหาซื้อได้ง่าย
มีช่องทางจัดจำหน่ายที่หลากหลาย
แหล่งจำหน่ายสามารถพบได้ในที่ต่างๆ มากกว่าคู่แข่ง
5.ด้านภาพลักษณ์: การพัฒนาภาพลักษณ์ให้แข็งแกร่งต้องอาศัยเวลา ความอดทน และความคิดสร้างสรรค์ ไม่ใช่ทำในเพียงระยะเวลาสั้น แต่ต้องทำเป็นแคมเปญอย่างต่อเนื่อง
สัญลักษณ์ / ตราสินค้า ที่มีลักษณะเฉพาะตัว โดดเด่น เหมาะกับประเภทของสินค้า / บริการ
สี อาทิ สีของผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์ ร้านค้า เครื่องแบบพนักงานเป็นต้น
สโลแกนที่บ่งบอกถึงจุดเด่นได้อย่างชัดเจนและจดจำได้ง่าย
คุณลักษณะพิเศษ อาทิ ความเก่าแก่ของผลิตภัณฑ์ การเข้ามาเป็นรายแรก ความคุ้มค่าที่สุด หรือการไม่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม เป็นต้น
สิ่งที่ควรระวังในการสร้างความแตกต่าง
1. การสร้างความแตกต่างให้กับธุรกิจเป็นเรื่องที่ดี และสำคัญต่อความอยู่รอดของการดำเนินธุรกิจในยุคที่มีการแข่งขันสูง แต่ก็มีข้อควรระวังผลเสียที่อาจตามมาต่อกิจการด้วย อาทิ
2. การใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ในการผลิต ไม่ว่าจะเป็นการผลิตให้ได้จำนวนที่มากขึ้น หรือการพัฒนาคุณสมบัติของสินค้าให้ดีขึ้น ควรพิจารณาเรื่องต้นทุนที่เพิ่มขึ้นว่าคุ้มค่าหรือไม่
3. ความสอดคล้องกับวัฒนธรรมของแต่ละท้องถิ่น การสร้างความแตกต่างให้กับสินค้าและบริการนั้น ต้องคำนึงถึงความสอดคล้องกับสถานที่ และวัฒนธรรมของแหล่งที่จะนำสินค้าไปวางจำหน่ายด้วย
4. การวางตำแหน่งของสินค้าต้องชัดเจน และตรงกับกลุ่มเป้าหมาย เพื่อให้เกิดภาพลักษณ์ที่เหมาะสมตามที่ตั้งใจไว้


แหล่งที่มา   http://www.stockwave.in.th/economic-view/6777-kbang-110210.html

นายชัยวัฒน์ โฉมสุข รหัส 244 การจัดการทั่วไป


การสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน
                การเสริมสร้างองค์กรให้แข็งแกร่ง  มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลในยุคของการแข่งขันทางธุรกิจ  ผู้นำหรือผู้บริหารขององค์กรที่บทบาทสำคัญ และได้รับการสนับสนุนจากพนักงานระดับปฏิบัติการ  การได้เปรียบในการแข่งขันจะเกิดขึ้นได้  ผู้นำหรือผู้บริหารจำเป็นต้องมีแนวทางในการดำเนินงานที่มีความชัดเจน  โดยเริ่มจากการกำหนดวิสัยทัศน์ (Vision) การกำหนดเป้าหมาย (Goals) การกำหนดคุณค่าและความเชื่อร่วมกัน (Value and Belief) และการกำหนดกลยุทธ์ (Strategies) บทบาทพนักงานระดับปฏิบัติการเป็นบทบาทของการสนับสนุนและประสานงาน ทำให้เกิดแนวทางการปฏิบัติ มีรายละเอียดดังนี้

เมื่อกล่าวถึงการสร้างความเป็นผู้นำขององค์กรคนส่วนมากจะมีความเข้าใจว่าเป็นบทบาทของผู้นำหรือผู้บริหารขององค์กรเพียงฝ่ายเดียวที่จะทำให้องค์กรมีความแข็งแกร่ง และการได้เปรียบทางการแข่งขันทางธุรกิจ ซึ่งก็มีส่วนที่ถูกต้องส่วนหนึ่ง  แต่ถ้าหากขาดการสนับสนุนจากบทบาทการปฏิบัติงานของพนักงานระดับปฏิบัติการแล้ว   ความแข็งแกร่งและการได้เปรียบทางการแข่งขันทางธุรกิจก็อาจจะเกิดขึ้นได้ยาก  ดังนั้น  การประสานกันระหว่างบทบาทของผู้นำกับบทบาทของพนักงานระดับปฏิบัติการ  ย่อมเป็นหนทางที่จะก่อให้เกิดความสำเร็จอย่างแน่นอนแต่ทั้งนี้บทบาทของผู้นำหรือผู้บริหารจำเป็นต้องมีแนวทางในการดำเนินงานที่มีความชัดเจน  โดยเริ่มจากการที่ผู้นำหรือผู้บริหารจะต้องมีการกำหนดวิสัยทัศน์ (Vision) การกำหนดเป้าหมาย (Goals) การกำหนดคุณค่าและความเชื่อร่วมกัน (Value and Belief) และการกำหนดกลยุทธ์ (Strategies) ในด้านบทบาทของพนักงานระดับปฏิบัติการเป็นบทบาทของการสนับสนุนและประสานงาน  ทำให้เกิดแนวทางการปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม   ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

1.  บทบาทของผู้นำหรือผู้บริหาร  การประสบความสำเร็จของการที่จะทำให้องค์กรเป็นผู้นำทางธุรกิจ   และสามารถแข่งขันกับคู่แข่งขันทางธุรกิจได้เป็นอย่างดี  ผู้นำหรือผู้บริหารจำเป็นต้องมีความเฉลียวฉลาด  ทั้งระดับสติปัญญาและระดับวุฒิภาวะทางอารมณ์  ซึ่งจะเป็นแนวทางที่จะทำให้กำหนดบทบาทและภาระหน้าที่ได้อย่างชัดเจนและมีประสิทธิภาพผู้นำหรือผู้บริหารจะบริหารจะต้องใช้แนวคิดที่แนวทางขององค์กร นำไปสู่ความสำเร็จ  สำหรับบทบาทของผู้นำหรือผู้บริหารที่จะทำให้องค์กรได้เปรียบทางการแข่งขันทางธุรกิจควรมีดังนี้

1.1  การกำหนดวิสัยทัศน์  (Vision)
การกำหนดวิสัยทัศน์เป็นบทบาทแรกของภาวะหน้าที่ของผู้นำ  หรือผู้บริหารองค์กรวิสัยทัศน์ที่ผู้นำหรือผู้บริหารจะต้องให้ความสำคัญ  ควรมีลักษณะที่ก่อให้เกิดความรู้สึกน่าสนใจ  การก่อให้เกิดความหมายในชีวิตการทำงานและชีวิตส่วนบุคคล  การกำหนดมาตรฐานของความเป็นเลิศที่โดดเด่น  และเป็นตัวเชื่อมความเป็นอดีตที่จะส่งผลต่อความสำเร็จในอนาคต  โดยปกติแล้วการกำหนดวิสัยทัศน์จะต้องมีความชัดเจน  สั้น  และเข้าใจง่ายต่อการนำไปสู่การปฏิบัติ  เช่น  การกำหนดวิสัยทัศน์ของบริษัทวอลท์  ดิสนีย์ (Walt Disney) คือ การทำให้ทุก ๆ คนมีความสุข เป็นต้น
1.2  การกำหนดเป้าหมาย (Goals)
การกำหนดเป้าหมายที่ดีควรมาจากการที่นำวิสัยทัศน์มาพิจารณา  ในการกำหนดเป้าหมายทั้งเป็นเป้าหมายที่เป็นทางการ (Official Goal) และเป้าหมายปฏิบัติการ (Operative Goals)
เป้าหมายที่เป็นทางการ (Official Goal)  เป็นการกำหนดทิศทางขององศ์การในอนาคตโดยอธิบายถึงวิสัยทัศน์ขององค์กรและคุณค่าของ
การมาอยู่ร่วมกันในองค์กร  ซึ่งจะก่อให้เกิดความเป็นน้ำหนึ่งอันเดียวกัน  เป็นเกณฑ์สำหรับจูงใจทรัพยากรบุคคลในองค์กร  และสร้างบรรยากาศ
ในการทำงานให้กับพนักงาน
เป้าหมายปฏิบัติการ (Operative Goals) เพื่ออธิบายถึงการวัดผลที่เฉพาะเจาะจงขององค์กร  ในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับความสำเร็จขององค์กร
กำหนดระยะเวลาในการปฏิบัติงานที่สั้นกว่าเป้าหมายที่เป็นทางการซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับผลการปฏิบัติงานของพนักงาน  การบำรุงรักษา  การ
ปรับปรุงเปลี่ยนแปลง
1.3  การกำหนดคุณค่าและความเชื่อร่วมกัน (Value and Belief)
ในการทำงานร่วมกันจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจกันทำงาน  โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้นำหรือผู้บริหารที่มีบทบาทที่เหนือกว่าพนักงานระดับปฏิบัติการ จึงต้องมีการกำหนดคุณค่าของตัวเองโดยความสำนึกในความรับผิดชอบ (Accountability) ความเป็นกลาง (Neutrality) การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ(Participation) การมีความโปร่งใสในการเปิดเผยข้อมูลให้กับผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง (Transparency) การมุ่งสู่ผลสัมฤทธิ์ในการทำงาน (Result Orientation)และความเป็นมืออาชีพในหน้าที่การงานที่ทำอยู่ (Alums)

2.  ส่วนความเชื่อร่วมกัน ผู้นำหรือผู้บริหารพนักงานทุกคนที่ความรู้มีความสามารถที่จะทำงานร่วมกันได้เป็นอย่างดี ไม่มีการแบ่งพรรคแบ่งพวกที่จะทำให้เกิดการแตกแยก

1.4  การกำหนดกลยุทธ์ (Strategies)
เป็นหน้าที่และบทบาทที่ผู้นำหรือผู้บริหาร นำเป้าหมายที่เป็นทางการ และเป้าหมายปฏิบัติการมาพิจารณาร่วมกัน  เพื่อให้ทราบทิศทางของการดำเนินงานขององค์กรว่า ควรจะเป็นไปในทิศทางใด ซึ่งการที่จะได้ทิศทางของการดำเนินงานที่ถูกต้องและชัดเจนนั้น ผู้นำหรือผู้บริหารจะต้องพิจารณาเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกขององค์กร ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
สภาพแวดล้อมภายในองค์กร (Internal Environment) เป็นสิ่งที่ผู้นำหรือผู้บริหารควบคุมให้เป็นไปในทิศทาง  ทางของเป้าหมายที่เป็น
ทางการ  และเป้าหมายการดำเนินการภายในองค์กร  เป็นเครื่องมือสำหรับการควบคุมเพื่อก่อให้เกิดการได้เปรียบทางการแข่งขัน มีดังนี้
ก. จุดแข็ง (Strengths)
การค้นหาจุดแข็งขององค์กรจะเป็นข้อได้เปรียบ  และมีความแตกต่างไปจากคู่แข่งขันทางธุรกิจ  ทำให้บุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องทางธุรกิจสามารถาจดจำและให้ความสนใจได้เป็นพิเศษ  เรียงลำดับความสำคัญ  ตั้งแต่จุดแข็งที่มีความสำคัญที่สุดจนถึงมีความสำคัญน้อยที่สุด  ทั้งนี้  เพื่อที่จะสามารถนำจุดแข็งเหล่านั้นมาสร้างเป็นแนวทางการกำหนดกลยุทธ์ขององค์กร  ให้มีความชัดเจนและถูกต้องมากขึ้น
ข.  จุดอ่อน (Weaknesses)
องค์กรทุกองค์กรที่จุดอ่อนด้วยกันทั้งสิ้น  การยอมรับจุดอ่อนและที่มาจุดอ่อนให้กลับกลายเป็นจุดแข็ง  ก็เป็นอีกหนทางหนึ่งของการสร้างศักยภาพของการแข่งขันทางธุรกิจ และความเจริญก้าวหน้าขององค์กร
สภาพแวดล้อมภายนอกองค์กร (External Environment) เป็นสิ่งที่ผู้นำหรือผู้บริหารไม่สามารถควบคุมได้  นอกจากที่วิสัยทัศน์กว้างไกล  มักจะคาดการณ์ล่วงหน้าถึงสภาพปัญหาหรืออุปสรรคต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นมาในอนาคต  โดยศึกษาเรื่องต่าง ๆ ดังนี้
ค.  โอกาส  (Opportunities) มีอยู่ทั่วไปในธุรกิจ ผู้นำหรือผู้บริหารจะหยิบยกมาใช้เพื่อเสริมสร้างศักยภาพขององค์กร และการได้เปรียบทางการแข่งขันพิจารณาทางโอกาสที่เหนือกว่าผู้อื่น

2.  กลยุทธ์การแข่งขันของพอร์ตเตอร์ (Porter   Competitive Strategies) มี 3 องค์ประกอบ ได้แก่

2.1 การลดต้นทุนทางการจัดการ (Low – Cost Leadership) พิจารณาสภาพแวดล้อมภายนอก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คู่แข่งขันทางธุรกิจมาเป็นแนวทางในการลดต้นทุนทางการจัดการขององค์กร เช่น ผลิตสินค้าที่ได้มาตรฐานและมีคุณภาพขณะที่ต้นทุนถูกกว่าคู่แข่งขัน การลดเวลาของกระบวนการทำงานให้สั้นลง แต่ค่าใช้จ่ายในการตอบแทนพนักงานเท่าเดิม เป็นต้น
2.2  การสร้างความแตกต่าง (Differentiation) การสร้างความแตกต่างจากคู่แข่งขันทางธุรกิจ จะทำให้เป็นเอกลักษณ์ขององค์กรที่เกิดจากกระทำการ  ซึ่งเป็นการได้เปรียบทางการแข่งขันทางธุรกิจ    อาจจะเป็นความแตกต่างในกระบวนการทำงานขององค์กร หรือสินค้าและบริการ แต่ทั้งนี้ความแตกต่างดังกล่าวจะต้องแสดงให้เห็นถึงประสิทธิผลและประสิทธิภาพที่เหนือกว่าคู่แข่งขัน
2.3  การมุ่งเน้นเฉพาะ (Focus) การได้เปรียบทางการแข่งขัน ผู้นำหรือผู้บริหารจะต้องพิจารณาเน้นเฉพาะกลุ่มที่มีส่วนเกี่ยวข้องทางธุรกิจ ทั้งนี้เพื่อตอบสนองต่อความต้องการและความพึงพอใจได้อย่างเต็มที่

2.  บทบาทของพนักงานระดับปฏิบัติการ มี  2 ลักษณะ

2.1 บทบาทในการเป็นผู้ปฏิบัติตามกลยุทธ์ขององค์กร  การเป็นพนักงานระดับปฏิบัติที่ควรมีแนวคิดในการปฏิบัติตามแนวทางกลยุทธ์ขององค์กร อันเนื่องมาจากเหตุผลที่ว่า  ถ้าองค์กรสามารถยืนหยัดอยู่ได้ในธุรกิจ  พนักงานทุก ๆ คนก็จะอยู่รอดไปด้วยกัน  และถ้าหากพนักงานทุก ๆ คน มีความกระตือรือร้นในการปฏิบัติตามกลยุทธ์ขององค์กรอย่างเต็มที่  องค์กรก็อาจจะได้เปรียบทางการแข่งขันทางธุรกิจ  ก็หมายความว่า  ผลประโยชน์ต่าง ๆที่จะเกิดขึ้นกับองค์กรและพนักงานทุก ๆ คนย่อมเกิดขึ้นแน่นอน การที่ประสบความสำเร็จทางธุรกิจและได้เปรียบทางการแข่งขันทางธุรกิจส่วนมากแล้ว พนักงานทุก ๆ คนมีความสามัคคีร่วมกันเป็นน้ำหนึ่งเดียวกัน  การไว้ใจซึ่งกันและกัน  และการต่อสู้กับอุปสรรคและปัญหาอย่างเต็มที่

2.2  บทบาทในการเป็นผู้ส่งเสริมและให้ข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์  การมีส่วนในการส่งเสริมและให้ข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์  ในการทำให้กลยุทธ์ขององค์กรมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลเพิ่มมากขึ้น  การได้เปรียบทางการแข่งขัน  ควรเริ่มต้นจากผู้นำหรือผู้บริหารในการกำหนดวิสัยทัศน์ กำหนดเป้าหมาย  กำหนดคุณค่าและความเชื่อร่วมกัน และการกำหนดกลยุทธ์ขององค์กร  เพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งประสิทธิผลขององค์กรโดยส่วนรวม  โดยการพิจารณาจากทรัพยากรที่มีอยู่  ไม่ว่าจะเป็นเงินทุน บุคลากรผลิตภัณฑ์  หรือชื่อเสียงขององค์กร  สิ่งเหล่านี้จะสามารถส่งเสริมให้องค์กรสามารถสร้างการสร้างผลิตภัณฑ์พื้นฐานมาประกอบควบคู่กันไป  องค์กรใดสามารถทำได้องค์กรนั้น  ก็จะสามารถสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันได้โดยง่าย
การสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน  6 มิติ

ในยุคที่การแข่งขันมีความรุนแรง  การมุ่งเน้นกลยุทธ์การสร้างความได้เปรียบเพียงกลยุทธ์เดียวอาจส่งผลให้องค์กรไม่สามารถปรับตัวให้
สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปได้ทันท่วงที องค์กรที่ประสบความสำเร็จหลายแห่งได้ใช้กลยุทธ์ที่หลากหลายในการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันให้เกิดขึ้น มิใช่มุ่งเน้นกลยุทธ์เฉพาะเพียงด้านใดด้านหนึ่งเท่านั้น  แต่องค์กรเหล่านี้อาจเริ่มต้นจากการใช้กลยุทธ์เพียงกลยุทธ์เดียวในการแข่งขัน เช่นDell Computer ที่ดำเนินธุรกิจจำหน่ายคอมพิวเตอร์ ได้เริ่มต้นธุรกิจด้วยการมุ่งเน้นการลดต้นทุน ขั้นตอนในการทำธุรกิจจะเริ่มจากเมื่อได้รับคำสั่งซื้อจากลูกค้า แล้วบริษัทจะติดต่อไปยังผู้ผลิตอุปกรณ์ชิ้นส่วนประกอบคอมพิวเตอร์ทันที  เพื่อให้นำชิ้นส่วนมาส่งและประกอบเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์  เสร็จแล้วก็จะดำเนินการจัดส่งให้ลูกค้าทันที  เราจะเห็นได้ว่า Dell  ไม่มีการเก็บสินค้าไว้ที่คลังสินค้าเลย  การบริหารสินค้าเช่นนี้จัดได้ว่าเป็นการมุ่งเน้นทางการลดต้นทุน  โดยเฉพาะต้นทุนของสินค้าคงคลัง  ต่อมาเมื่อการแข่งขันในธุรกิจจำหน่ายคอมพิวเตอร์มีความรุ่นแรงมากขึ้น  Dell  จึงได้นำเอากลยุทธ์ด้านอื่น ๆมาใช้ เช่น การบริการส่งสินค้าอย่างรวดเร็ว  การเน้นคุณภาพของสินค้าและการรับประกัน เป็นต้น
การสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันให้เกิดขึ้นนั้นมาจากการใช้กลยุทธ์ 6 ประการด้วยกัน ซึ่งองค์กรสามารถเริ่มต้นจากกลยุทธ์ใดกลยุทธ์หนึ่งก่อนก็ได้
แต่องค์กรจะต้องมีการพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพของกลยุทธ์ทุกกลยุทธ์ให้มีความเข้มแข็งด้วยกัน  ดังต่อไปนี้
1.  ความได้เปรียบจากการเป็นผู้เข้าสู่ตลาดรายแรก (customer market advantage) ประเด็นแรกที่องค์กรจะต้องให้ความสำคัญคือการสร้างตลาดใหม่หรือเป็นผู้คิดริเริ่มใหม่ ๆ ให้กับลูกค้าซึ่งการริเริ่มในสิ่งที่คู่แข่งยังไม่สามารถทำได้นั้น
จะทำให้องค์กรปราศจากการแข่งขันซึ่งนับได้ว่าเป็นความได้เปรียบอย่างดีเยี่ยมและเป็นจุดเริ่มต้นแห่งความสำเร็จในอนาคต เช่น Xerox  ได้ริเริ่มทำธุรกิจการถ่ายเอกสารเป็นเจ้าแรก  ลักษณะการทำธุรกิจของ  Xerox จึงมีความโดดเด่นเป็นพิเศษภายใต้การจดทะเบียนขอสิทธิบัตร  ด้วยเหตุนี้เองการตลาดของ  Xerox จึงมีความแตกต่างในด้านการนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่มีความโดดเด่นและเหนือกว่าและไม่มีองค์กรใดสามารถทำธุรกิจได้เหมือนกับ Xerox อาจกล่าวได้ว่าเป็นการสร้างความได้เปรียบในการแข่งในเรื่องการเข้าสู่การตลาดเป็นรายแรก

2.  ความได้เปรียบในการนำเสนอผลิตภัณฑ์หรือบริการที่โดดเด่นกว่าคู่แข่ง (product and service advantage) องค์กรใดก็ตามที่สามารถตอบสนองต่อความพึงพอใจของผู้บริโภคที่มีความโดดเด่น  องค์กรนั้นถือได้ว่าเป็นองค์กรที่ใช้กลยุทธ์การสร้างความแตกต่าง  ซึ่งการสร้างความแตกต่างนี้หากจะมองย้อนกลับไปในอดีตแล้ว  เราจะพบว่าองค์กรหลายแห่งได้ใช้กลยุทธ์นี้มานานแล้ว  และมีการพัฒนาไปสู่ความได้เปรียบในการแข่งขันในระยะยาว  เช่น  Samsung  เป็นบริษัทที่จะหน่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่หรือมือถือที่เน้นรูปแบบ  สีสัน  และความทันสมัยของรูปลักษณ์ภายนอก  โดยเฉพาะอย่างยิ่งหน้าจอสีที่มีความคมชัดกว่ายี่ห้ออื่น ส่งผลให้มือถือของ Samsung มีความโดดเด่นและไม่เหมือนคู่แข่งขันรายอื่น  อย่างไรก็ตาม  ข้อด้อยของกลยุทธ์นี้ก็คือคู่แข่งขันสามารถลอกเลียนแบบได้ง่าย  ด้วยเหตุนี้  องค์กรที่ใช้กลยุทธ์ดังกล่าวจะต้องมีการปรับปรุงและพัฒนาผลิตภัณฑ์ของตนเองอยู่เสมอเพื่อให้ก้าวล้ำกว่าของคู่แข่ง

3.  ความได้เปรียบในการสร้างห่วงโซ่คุณค่าหรือระบบธุรกิจ (Business system/value chain advantage) การบริหารกิจกรรมทางธุรกิจเพื่อให้บรรลุเป้าหมายองค์กร เรียกว่าการบริหารห่วงโซ่คุณค่าหรือระบบธุรกิจ   กิจกรรมทางธุรกิจจะเริ่มต้นจากการวิจัยและการพัฒนาผลิตภัณฑ์ การผลิตการขาย  การตลาด  การจัดจำหน่าย  และการบริการหลังการขาย  หากองค์กรธุรกิจมีความโดดเด่นในกิจกรรมทางธุรกิจ   กิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่งก็จะส่งผลให้องค์กรนั้นมีความได้เปรียบทางการแข่งขันในเรื่องนั้น ๆ หลายองค์กรพยายามสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันโดยมุ่งเฉพาะกิจกรรมทางธุรกิจที่องค์กรถนัดและมุ่งการการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง  ส่งผลให้องค์กรนั้นมีกลยุทธ์ที่เหนือกว่าคู่แข่งขัน  และกลายเป็นจุดแข็งหรือเอกลักษณ์ขององค์กรในที่สุด เช่น  บริษัท พรอกเตอร์แอนด์แกมบิล (P&G) จำกัด   มีความเชี่ยวชาญทางการตลาด  บริษัท โซนี่ จำกัด  บริษัทที่เน้นนวัตกรรมในการออกแบบผลิตภัณฑ์ได้ตรงตามความต้องของลูกค้า  บริษัท  โตโยต้า  จำกัด  เน้นประสิทธิภาพในการผลิต  และ American Express บริษัทที่ให้การบริการลูกค้าได้อย่างประทับใจ  เป็นต้น
แนวทางที่จะเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารห่วงโซ่คุณค่า  ก็คือการติดต่อประสานงานระหว่างหน่วยงานในองค์กรเพื่อให้กิจกรรมต่าง ๆ ดำเนินไปได้ด้วยดีในบางครั้งองค์กรจำเป็นจะต้องมีการออกแบบโครงสร้างกรใหม่  เพื่อปรับรูปแบบ  และระบบการดำเนินธุรกิจให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น  ตัวอย่างขององค์กรธุรกิจที่ประสบความสำเร็จในการปรับเปลี่ยนระบบการดำเนินธุรกิจ  ก็คือสายการบิน  Southwest สายการบิน Southwest มีกำไรเพิ่มขึ้นจาการปรับระบบธุรกิจให้สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้า ไม่ว่าจะเป็นเรื่องขั้นตอนการเลือกที่นั่งของลูกค้าหรือการให้บริการลูกค้าสรุปแล้วจะเห็นได้ว่าห่วงโซ่คุณค่านั้นมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อองค์กรธุรกิจที่
จำหน่ายผลิตภัณฑ์และธุรกิจขายบริหารจำไว้ว่าการจะทำให้ห่วงโซ่คุณค่าขององค์กรมีความโดดเด่นและเหนือกว่าคู่แข่งขันนั้น  องค์กรจำเป็นจะต้องกำหนดวัตถุประสงค์ของกิจกรรมทุก ๆ กิจกรรมไว้อย่างชัดเจน  และให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน

4.  ความได้เปรียบของแหล่งทรัพยากร (System assets / resources advantages) ทรัพยากรขององค์กรประกอบไปด้วยสินทรัพย์ที่ตัวตน เช่น ผลิตภัณฑ์และอาคาร และสินทรัพย์ที่ไม่มีตัวตน เช่น ลิขสิทธิ์ ตราสินค้า และชื่อเสียงขององค์กร องค์กรส่วนใหญ่จะใช้ประโยชนจากทรัพยากรที่มีอยู่ในการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันให้เกิดขึ้น ซึ่งการใช้ทรัพยากรเพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันให้เกิดขึ้นนี้ เรียกว่าAsset Based Competitive Advantages เช่น Coca – Cola เป็นบริษัทที่มีชื่อเสียงทางด้านเครื่องดื่มน้ำอัดลมจนเป็นที่รู้จักกันทั่วโลกมีมูลค่าของตราสินค้า  (brand equity) สูงมาก ประกอบกับ Coca – Cola  มีระบบการจัดจำหน่ายสินค้าที่มีประสิทธิภาพ  มีทรัพยากรในการขนส่งสินค้าอย่างครบครัน  ปัจจุบัน Coca – Cola  มีความได้เปรียบทางการแข่งขันในด้านทรัพยากรที่มีอยู่  นั่นคือระบบการจัดจำหน่ายที่มีประสิทธิภาพและตราสินค้าที่มีชื่อเสียง

5.  ความได้เปรียบในเรื่องพันธมิตร (Partner advantage) การมีพันธมิตรที่ดีจะช่วยสนับสนุนให้องค์กรสามารถพัฒนาธุรกิจอย่างรวดเร็ว หลายองค์กรพยายามค้นหาคู่ค้าเพื่อสร้างเป็นพันธมิตรในการทำธุรกิจระยะยาว เช่น Rover ได้ประสบปัญหาด้านธุรกิจจำหน่ายรถยนต์กับสภาวะการขาดทุนและไม่สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้อีกจนกระทั่ง Honda ได้เข้ามาร่วมลงทุนขอเป็นพันธมิตรด้วยและได้ช่วยทำให้ Rover สามารถขายกิจการของตนเองได้กับ BMW ได้  การสร้างพันธมิตรทางธุรกิจไม่ใช่เรื่องง่ายที่องค์กรใดก็สามารถทำได้  องค์กรจะต้องมีการคัดเลือกพันธมิตรให้เหมาะสมกับองค์กรของตน  เปรียบเสมือนการรวมจุดแข็งขององค์กรสองฝ่ายเข้าด้วยกันเพื่อสร้างผลประโยชน์สูงสุดให้เกิดขึ้นและนำไปสู่ความได้เปรียบทางการแข่งขันต่อไป

6.  ความได้เปรียบในการประหยัดต้นทุนในการผลิต  (Scale and scope advantage) องค์กรสามารถสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันให้เกิดขึ้นได้ด้วยการมุ่งเน้นการสร้าง Economies of Scope นั่นคือ ความสามารถในการลดต้นทุนโดยใช้ทรัพยากรร่วมกันของหน่วยธุรกิจต่าง ๆ เราจะสังเกตเห็นได้ว่าโรงงานขนาดใหญ่มักจะมีต้นทุนการผลิตต่อหน่วยต่ำเนื่องจากผลิตสินค้าหลายประเภทเป็นจำนวนมาก   จึงสามารถให้ทรัพยากรในการผลิตร่วมได้ก่อให้เกิดการประหยัดต้นทุนในการผลิต ส่วนหลักการของ Economies of Scale จะเน้นไปในเรื่องของการผลิตในปริมาณที่มากเพื่อให้ต้นทุนต่อหน่วยต่ำลง
     
กลยุทธ์การสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันจะประสบความสำเร็จได้นั้นองค์กรจะต้องมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่องและใช้กลยุทธ์ทั้ง 6 มิตินี้ก็คือ  Singapore Airline ซึ่งเป็นสายการบินที่เริ่มต้นจากการใช้กลยุทธ์การสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน แล้วมีการพัฒนากลยุทธ์ในด้านอื่น ๆในระยะเวลาต่อมา โดยสรุปแล้ว Singapore Airline มีการใช้กลยุทธ์ดังนี้
               
กลยุทธ์การสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันในเรื่องของการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด (Resource advantage)
Singapore Airline มีรัฐบาลสิงคโปร์เป็นเจ้าของสายาการบินและเป็นเจ้าของท่าอากาศยาน  ส่งผลให้ต้นทุนในการบริการต่ำกว่าคู่แข่งขันมาก  นอกจากนี้ Singapore Airline ยังมีระบบการบริหารกิจกรรมทางธุรกิจได้เป็นอย่างด
เช่น มีการจัดระบบการจองตั๋วเครื่องบินที่รวดเร็วถูกต้อง และทันสมัยอยู่ตลอดเวลา Singapore Airline จึงมีความได้เปรียบในการแข่งขันตามหลักการของ Asset-Based Competitive Advantage การมีพันธมิตรที่ดีเป็นหนทางสู่ความสำเร็จได้ในอนาคต (Partner advantage)
Singapore Airlines  มีเครือข่ายพันธมิตรมากทั้งในแถบยุโรปและอเมริกาซึ่งการมีพันธมิตรจำนวนมากนี้เอง  ส่งผลให้ลูกค้าที่อยู่ทางยุโรปและ
อเมริกาสามารถเลือกการเดินทางมายังแถบเอเชียได้โดยใช้บริหารของ Singapore Airline เพราะการเดินทางมีความสะดวกและรวดเร็ว
        Singapore Airline เป็นสายการบินขนาดเล็ก ดังนั้น Singapore Airline จึงไม่สามารถใช้กลยุทธ์ทางด้าน Economies of Scaleได้ อย่างไรก็ตาม Singapore Airline จำเป็นที่จะต้องปรับกลยุทธ์ของตนให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมของตลาด เนื่องจากสภาวะการแข่งขันค่อนข้างสูงหากสายการบินคู่แข่งมีการปรับตัวและพัฒนาการให้บริการที่เหนือกว่าแล้ว Singapore Airline ก็จำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนตาม

สรุป
                    องค์กรควรที่จะพิจารณาพื้นฐานขององค์กร  ว่าจะสามารถสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันให้เกิดขึ้นได้หรือไม่  โดยการพิจารณาพื้นฐานขององค์กร ว่าจะสามารถสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันให้เกิดขึ้นได้หรือไม่  โดยการพิจารณาจากทรัพยากรที่มีอยู่  ไม่ว่าจะเป็นเงินทุน  บุคลากร ผลิตภัณฑ์  หรือชื่อเสียงขององค์กร  และดูว่าสิ่งเหล่านี้จะสามารถส่งเสริมให้องค์กรสามารถสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันให้เกิดขึ้นได้อย่างไร สิ่งที่องค์กรควรทำ  ก็คือการสร้างระบบวิเคราะห์สถานการณ์ทางการตลาดควบคู่กันไป  องค์กรใดที่สามารถทำได้องค์กรนั้นก็จะสามารถสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันให้เกิดขึ้นได้อย่างง่ายดาย

kravee hirunwong


สรุปอุตสาหกรรมที่ได้เปรียบ เสียเปรีบเมื่อเปิด AEC
Posted in: ความได้เปรียบเสียเปรียบไทยในAEC, บทความ AEC สำคัญที่ควรอ่าน   16 กันยายน 2555
นายอิทธิชัย ยศศรี ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเศรษฐกิจอุตสาหกรรมสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม(สศอ.) เปิดเผยว่า สศอ.ได้ศึกษาความได้เปรียบทางการค้าของสินค้าอุตสาหกรรมของ ไทยภายหลังการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือAEC ปี 2558 เทียบกับสินค้าอุตสาหกรรมอาเซียนกับ 4 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์ พบว่าไทยมี 36 กลุ่มอุตสาหกรรมจัดอยู่ในประเภทป่วยที่ต้องได้รับการรักษาและเมื่อเทียบกับ 4 ประเทศพบอินโดนีเซียมี 61 กลุ่ม ฟิลิปปินส์มี 43 กลุ่ม สิงคโปร์มี 42 กลุ่ม และมาเลเซียมี 17 กลุ่ม
ทั้งนี้ 36 กลุ่มอุตสาหกรรมของไทยที่จัดอยู่ในประเภทป่วยแยกเป็น 3 กลุ่มได้แก่
กลุ่มที่ 1 พบความผิดปกติหรือจัดในเกณฑ์ที่มีความได้เปรียบทางการแข่งขันลดลงกับประเทศในอาเซียนซึ่งประกอบด้วย 13 กลุ่มอุตสาหกรรมเช่น เคมีภัณฑ์อินทรีย์ ผลิตภัณฑ์จากยางพารา กระดาษและกระดาษแข็ง ผลิตภัณฑ์เซรามิก เครื่องจักร/เครื่องกล/ลอยเลอร์ อากาศยาน/ยานอวกาศ อาวุธและกระสุน เป็นต้น
กลุ่มที่ 2 กลุ่มที่อยู่ในอาการกำเริบ หรือมีความสูญเสียความได้เปรียบทางการแข่งขันมีทั้งสิ้น 9 กลุ่มอุตสาหกรรมเช่น เหล็กและเหล็กกล้า เฟอร์นิเจอร์ หนังเฟอร์/เฟอร์เทียม เยื่อไม้หรือเยื่อที่ได้จากเส้นใยเซลลูโลสอื่นๆ ขนแกะ/ผ้าทอ เส้นใยสิ่งทอจากพืช/ด้ายกระดาษ ร่ม/ร่มปักกันแดด เป็นต้น
กลุ่มที่ 3 กลุ่มที่ป่วยหนัก หรือจัดอยู่ในเกณฑ์ที่มีความเสียเปรียบมากขึ้น มีทั้งสิ้น 14 กลุ่มอุตสาหกรรม เช่น เชื้อเพลิงจากแร่/น้ำมันแร่ ผลิตภัณฑ์ทางเภสัชกรรม ปุ๋ย เครื่องหนัง เคมีภัณฑ์เบ็ดเตล็ด ไข่มุกธรรมชาติ/รัตนชาติ ทองแดงและของทำด้วยทองแดง นิกเกิลและของที่ทาด้วยนิกเกิล รองเท้า สนับแข้งและของที่คล้ายกัน เครื่องดนตรี เป็นต้น
สำหรับอุตสาหกรรมไทยที่มีความได้เปรียบมากขึ้นมีทั้งสิ้น 16 กลุ่มเช่น ยานยนต์และส่วนประกอบ พลาสติกและของที่ทำด้วยพลาสติก หนังดิบและหนังฟอก เรือและสิ่งก่อสร้างลอยน้ำ แก้วและเครื่องแก้ว ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากเหล็กและเหล็กกล้า พรมและสิ่งทอปูพื้นต่างๆ เส้นใยสั้นประดิษฐ์ ฝูาย เป็นต้น ซึ่งเมื่อเทียบกับ 4 ประเทศจะพบว่าไทยมีจำนวนกลุ่มอุตสาหกรรมที่ได้เปรียบมากขึ้นเป็นอันดับ 2 รองจากมาเลเซียที่มี 17 กลุ่ม ส่วน สิงคโปร์มี 13 กลุ่ม อินโดนีเซียมี 6 กลุ่ม และฟิลิปปินส์มี 5ขณะที่อุตสาหกรรมซึ่งเมื่อเข้าสู่AECแล้วจะได้รับความได้ เปรียบ 3 กลุ่มอุตสาหกรรมได้แก่ เสื้อผ้าและของที่ใช้แล้วทำด้วยสิ่งทอ สังกะสีและของทำด้วยสังกะสี หัวรถจักรของรถไฟหรือรถราง ส่วนอุตสาหกรรมที่จะมีความเสียเปรียบลดลงมี 16 กลุ่มอุตสาหกรรม เช่น หนังสือ/อุตสาหกรรมการพิมพ์ เครื่อง จักรไฟฟ้า/อุปกรณ์ไฟฟ้า ไม้ก๊อกและของทำด้วยไม้ก๊อก ตะกั่วและของที่ทาด้วยตะกั่ว โลหะสามัญ สินแร่ ไหม ของเล่นและอุปกรณ์การกีฬา ศิลปกรรม ผลิตภัณฑ์เบ็ดเตล็ด เป็นต้น
ที่มา : ข่าวสด  http://www.thai-aec.com/531#ixzz27GyNBmrk

นาย ธนกฤต อาชีวะประดิาฐ รหัส 5210125401053 การจัดการทั่วไป



บทที่ 10
 การแข่งขันในตลาดโลกและการปรับตัวเพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน
             
                 หลังจากที่มีข่าวว่า Apple อาจจะกำลังเปิดตัวโทรศัพท์มือถือรุ่นใหม่ iPhone 5 ในสัปดาห์หน้า ดูเหมือนการแข่งขันในตลาด Smartphone และคอมพิวเตอร์มือถือก็ยิ่งรุนแรงขึ้น Nokia และ Microsoft จับมือกันเปิดตัวโทรศัพท์มือถือรุ่นใหม่อีก 2 รุ่น Motorola ซึ่งกลายเป็นบริษัทในเครือของ Google ก็เปิดตัวโทรศัพท์มือถือรุ่นใหม่อีก 3 รุ่น ส่วน Amazon ก็เพิ่งเปิดตัวคอมพิวเตอร์ Tablet รุ่นใหม่ Kindle Fire HD เช่นกัน

                เมื่อวันพุธที่นครนิวยอร์ค บริษัท Nokia ซึ่งเคยเป็นผู้นำในตลาดโทรศัพท์มือถือโลกจัดงานเปิดตัวโทรศัพท์มือถือ อัจฉริยะหรือ smartphone รุ่นใหม่ 2 รุ่นคือ Lumia 820 กับ 920 ซึ่งใช้ระบบปฏิบัติการแบบใหม่ล่าสุดของ Microsoft คือ Window 8 โทรศัพท์รุ่นนี้มาพร้อมกับระบบชาร์จไฟแบบไร้สายและมีกล้องพิเศษที่ลดความ พร่ามัวได้

คุณ Stephen Elop ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ Nokia กล่าวในงานนี้ว่าการที่ Nokia ร่วมมือกับ Microsoft จะช่วยให้ผู้บริโภคได้ประโยชน์จากการแข่งขันในตลาดโทรศัพท์มือถือ และว่า Nokia ต้องการร่วมเป็นส่วนหนึ่งของระบบความสัมพันธ์แบบผสมผสานระหว่างซอฟท์แวร์ ฮาร์ดแวร์ และเครือข่ายดิจิตัลต่างๆที่เรียกว่า ระบบนิเวศน์ทางคอมพิวเตอร์  ที่

ผ่านมา บริษัท Apple คือผู้นำในการสร้างระบบนิเวศน์ทางคอมพิวเตอร์นี้ด้วยเครือข่ายเทคโนโลยีที่ ครอบคลุมตลาดโทรศัพท์มือถือและคอมพิวเตอร์ Tablet ทั่วโลก ต่อมามี Google ก้าวเข้ามาเป็นคู่แข่งสำคัญกับระบบปฏิบัติการ Android

คุณ Elizabeth Fife แห่ง University of Southern California ผู้ศึกษาเกี่ยวกับอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์มือถือเชื่อว่า ความร่วมมือระหว่าง Nokia กับ Microsoft คือกลยุทธ์ใหม่ในการต่อสู้กับ Apple และ Google พร้อมชี้ว่า Nokia กับ Microsoft ต่างมีซอฟท์แวร์และอุปกรณ์อยู่แล้ว ซึ่งหากสามารถควบคุมทั้งสองส่วนนี้ได้ก็จะมีศักยภาพแข่งขันในตลาดได้ อย่างไรก็ตามหลังงานเปิดตัวโทรศัพท์ดังกล่าว หุ้นของ Nokia ร่วงลงไป 16% ซึ่งแสดงให้เห็นว่านักลงทุนไม่ค่อยฮือฮากับผลิตภัณฑ์ใหม่ของ Nokia เท่าใดนัก

ทางด้าน Google ที่เพิ่งซื้อบริษัท Motorola เมื่อเดือน พ.ค ก็เปิดตัวโทรศัพท์มือถือรุ่นใหม่อีก 3 รุ่นเมื่อวานนี้เช่นกัน ภายใต้ชื่อ Motorola Razr HD  Razr Maxx และRazr M ซึ่งรองรับเครือข่ายสัญญาณ 4G ระบบปฏิบัติการใหม่ของ Android 4.1 Jelly Bean พร้อมแบตเตอรี่ที่บรรจุไฟได้มากกว่าเดิม คาดว่าจะวางขายก่อนสิ้นเดือนนี้

และในวันนี้ บริษัทเทคโนโลยี Amazon ก็เพิ่งเปิดตัวคอมพิวเตอร์ tablet รุ่นใหม่ 3 รุ่นในชื่อ Kindle Fire HD แยกเป็นขนาดหน้าจอ 7 นิ้ว หน้าจอ 8.9 นิ้ว และแบบที่รองรับเครือข่าย 4G โดยมีราคาเริ่มต้นที่ $199 ส่วน Kindle Fire แบบธรรมดารุ่นใหม่นั้นมีราคาเหลือเพียง $159 เท่านั้น

นักวิเคราะห์ด้านเทคโนโลยีหลายคนรวมทั้งคุณ Roger Cheng แห่งเว็บไซต์ CNET.com ให้ทัศนะว่ากลยุทธ์ของ Amazon ในการผลิตฮาร์ดแวร์ราคาถูกรวมทั้งอุปกรณ์รุ่นใหม่ๆของบริษัทอื่นที่กำลังมี ราคาลดลงนั้น แสดงให้เห็นถึงการแข่งขันอย่างดุเดือดในตลาดคอมพิวเตอร์มือถือ ซึ่งถือเป็นประโยชน์สำหรับผู้บริโภค และในอนาคตนั้นเชื่อว่าบริษัทผู้ผลิตสินค้าเทคโนโลยีต่างๆจะไม่เน้นเอากำไร จากการขายอุปกรณ์หรือฮาร์ดแวร์ แต่จะมุ่งขายส่วนที่เป็นซอฟท์แวร์  Application และบริการต่างๆแทน
บทที่ 11
 การบริหารจัดการธุรกิจสีเขียวและการวิเคราะห์ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และคุณภาพชีวิต

        Green Business กับงานด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อ อนาคตที่สดใสของโลกวันนี้

ปัจจุบันทั้งทางภาครัฐและภาคเอกชนหันมาทุ่มเม็ดเงินลงทุนด้านสิ่งแวดล้อมและพลังงานทางเลือกเพิ่มมากขึ้น เพื่อมุ่งไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนของโลก ทำให้ธุรกิจสีเขียวเป็นกระแสของอนาคตที่ทั้งสร้างแรงงาน ลดการว่างงาน ช่วยทำให้ระบบเศรษฐกิจเคลื่อนตัวต่อไปได้ และสร้างผลดีแก่สิ่งแวดล้อม ลดปัญหาภาวะโลกร้อนควบคู่กันไป
ธุรกิจสีเขียว หรือ Green Business คือ กิจการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เช่น ใช้วัสดุธรรมชาติ ใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ควบคุมไม่ให้สร้างของเสียหรือก่อมลพิษส่งผลกระทบต่อผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อม การประกอบธุรกิจโดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมนี้ได้รับความสนใจจากทั่วโลก เนื่องมาจากวิกฤติเศรษฐกิจที่ล่มสลาย ราคาพลังงานและอาหารถีบตัวสูงขึ้นอย่างไม่หยุดยั้ง และสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป เพราะฉะนั้นจึงต้องมี การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมให้เป็นไปอย่างยั่งยืนโดยไม่เบียดเบียนธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งทำให้ทราบว่าการพัฒนาเศรษฐกิจแบบที่พวกเราปฏิบัติกันมาตลอดนั้นไม่ถูกทาง และควรหันมาลงทุนเรื่องโครงสร้างพลังงานและสิ่งแวดล้อมที่จะนำไปสู่ความยั่งยืนมากกว่า

Vanila SweetZ


มาตรการและเครื่องมือจูงใจในการจัดการสิ่งแวดล้อม

     เครื่องมือทางด้านนโยบายที่ได้มีการพัฒนาและนำมาใช้ในการจัดการสิ่งแวดล้อม ที่นิยมใช้กันทั่วไปในปัจจุบัน มี 3 แนวทาง ได้แก่



1. การใช้มาตรการตามกฎหมายในการควบคุมและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (command and control) เช่น การกำหนดมาตรฐานอากาศเสียที่มนุษย์ไม่ควรปล่อยออกมาให้เกินมาตรฐาน มาตรการด้านน้ำเสียน้ำทิ้ง รูปแบบสิ่งก่อสร้างที่ถูกต้องตามมาตรฐานและข้อกำหนดอื่น ๆ เป็นต้น มาตรการทางกฎหมายนี้ควรมีประสิทธิภาพประสิทธิผล และเป็นธรรมสาหรับทุกคน แต่มาตรการทางกฎหมายกลับกลายเป็นแนวทางห้าม การกำหนดอาณัติหรือมาตรการควบคุมบังคับ โดยมาตรการเหล่านี้ไม่มีความยืดหยุ่น มีความเป็นทางการและยึดระเบียบข้อบังคับ ไม่สามารถต่อรองหรือลดหย่อน และไม่มีวิธีการประนีประนอมเพื่อให้เกิดแนวทางที่เหมาะสมที่สุดได้ ทำให้เกิดการเผชิญหน้าระหว่างหน่วยงานของรัฐกับเอกชนซึ่งกระทำผิดระเบียบกฎหมาย มาตรการทางกฎหมายแต่อย่างเดียวจึงไม่มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ไม่ประหยัด ไม่ส่งเสริมความคิดริเริ่มให้แก่เอกชนที่เกี่ยวข้อง และไม่มีหน่วยงานหรือบุคลากรเพียงพอในการปฏิบัติตามให้มาตรการเหล่านี้เกิดผล

2. การให้สิ่งจูงใจแก่ธุรกิจเอกชนในการอนุรักษ์และจัดการสิ่งแวดล้อมเพื่อประโยชน์ของส่วนรวม (market-based incentives) โดยตนเองไม่เสียประโยชน์ และบางครั้งอาจจะได้ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย (win-win solution) โดยหลักการแล้ว การนำมาตรการทางเศรษฐกิจมาใช้ก็เพื่อให้ค่าของความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมเป็นส่วนหนึ่งหรืออยู่ภายในราคาของสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ (internalization) เช่น การใช้หลักการ ผู้ก่อความเสียหายเป็นผู้จ่าย (polluter pays principle) ภาษีสิ่งแวดล้อม (eco-tax) เช่น user charges, emission charges, product charges เป็นต้น

     การให้สิ่งจูงใจบังเกิดผลดีต่อสิ่งแวดล้อม เพราะผู้ประกอบการได้ประโยชน์เช่นกัน ทำให้มาตรการทางเศรษฐกิจเป็นที่นิยมในประเทศที่พัฒนาแล้ว เพราะประหยัดมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ทั้งยังส่งเสริมความคิดริเริ่มในการหาแนวทางใหม่หรือเทคโนโลยีชนิดใหม่เพื่อลดค่าใช้จ่ายและหากาไรจากการลดผลเสียหายทางสิ่งแวดล้อมได้ด้วย ผู้ที่ทำลายสิ่งแวดล้อมต่อไปก็จะถูกลงโทษโดยปริยายเพราะต้องจ่ายค่าเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมด้วยการซื้อเครดิต (credits) จากผู้ที่สามารถลดปริมาณอากาศเสีย น้ำเสีย หรือของเสียของตนเองได้ อย่างไรก็ดี ปริมาณเครดิตหรือโควต้า (quotas) อาจจะไม่มีความแน่นอนและราคาก็ยังไม่คงที่เพราะตลาด กิจกรรมเหล่านี้ยังค่อนข้างใหม่อยู่ และในบางสังคม มาตรการทางเศรษฐกิจก็ยังไม่เป็นที่ยอมรับกัน เพราะเป็นการให้ประโยชน์แก่ผู้ที่ทำลายสิ่งแวดล้อมและผู้กระทำผิดจริยธรรมมากกว่า บางสังคมเห็นว่าเป็นการเอาเปรียบสังคมและคนจน ประเทศควรนำภาษีไปช่วยคนจนมากกว่าจะให้ประโยชน์ต่ออาชญากรทางสิ่งแวดล้อม


3. ความร่วมมือระหว่างรัฐและเอกชนซึ่งสมัครใจโดยไม่มีการบีบบังคับ (partnership หรือ voluntary actions) รัฐและสมาคมเอกชนตกลงเกี่ยวกับมาตรฐาน ของสิ่งแวดล้อม เช่น ปริมาณสารพิษ ฯลฯ ที่จะต้องลดลง องค์การเอกชน เช่น สมาคมอุตสาหกรรมจะตกลงกันเองในหมู่สมาชิกและกาหนดสัดส่วนที่สมาชิกจะต้องรับผิดชอบในการลดปริมาณสารพิษ ผู้ที่ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงก็จะต้องถูกลงโทษ วิธีการนี้ให้อิสระแก่ผู้ปฏิบัติพอสมควร และนำาไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางค่านิยมทางสิ่งแวดล้อมสำหรับภาคเอกชน อย่างไรก็ดี ความสมัครใจแต่เพียงอย่างเดียวดูจะไม่พอสำหรับการจัดการสิ่งแวดล้อม มาตรการทางกฎหมายและทางการบริหารก็ยังจาเป็น อยู่บ้าง ในเรื่องนี้ Winsemius and Guntram  ได้ให้ทัศนะว่า ผู้บริหารต้องใช้การจัดการเป็นเครื่องมือที่จะทำให้บุคลากรเกิดแรงกระตุ้นที่จะปฏิบัติภารกิจด้านจัดการสิ่งแวดล้อมที่วางเป้าหมายไว้ ภารกิจดังกล่าวคือการทาให้เกิดความพึงพอใจสูงสุดในบรรดาลูกค้า (customers) และผู้ร่วมสภาพเสี่ยง (stakeholders) ซึ่งหมายถึง ผู้ถือหุ้น (shareholders) บุคลากร (coworkers) และสมาชิกทั้งหมดในชุมชน (host communities) อันจะนำไปสู่ความได้เปรียบเหนือคู่แข่ง หากผู้บริหารมีการดำเนินการที่เหมาะสมก็จะทำให้สาธารณะชนเกิดความรู้สึกที่ดีต่อองค์การและอาจมีผลต่อพฤติกรรมผู้บริโภคได้ ยิ่งกว่านั้นก็อาจส่งผลดียิ่งขึ้นโดยทำให้เป้าหมายของผู้ร่วมสภาพเสี่ยงโดยรวมมีความสอดคล้องกันกับเป้าหมายขององค์การ และจะเกิดแรงกระตุ้นที่เป็น แรงบันดาลใจให้เกิดความร่วมมือร่วมใจเป็นพลังร่วม (inspired partnership) ของกลุ่มเล็กกลุ่มน้อยที่อาจมีความคิดเห็นแตกแยกกระจัดกระจายอยู่ เป็นหน้าที่ของผู้บริหารระดับสูงที่จะต้องเป็นผู้นำในการปลูกจิตสำนึกให้เกิดขึ้นในองค์การ

     แนวนโยบายทั้ง 3 อย่างที่ได้กล่าวมาแล้วไม่ได้ถูกแยกจากกันโดยเด็ดขาดแต่อาจจะเป็นการผสมผสานทั้ง 3 แนวทางเข้าด้วยกัน มาตรการทางกฎหมายและการบริหารก็ยังคงเป็นหลักทั่วไปของนโยบายทางสิ่งแวดล้อม มาตรการทางเศรษฐกิจจะนิยมใช้ในประเทศที่มีระบบเศรษฐกิจทุนนิยมหรือระบบการปกครองเสรีนิยม เพราะมีความสอดคล้องกับปรัชญาทางการเมืองและเศรษฐกิจมากกว่ามาตรการทางกฎหมายและการบริหาร แต่สาหรับประเทศในยุโรปซึ่งมีแนวคิดทางสังคมนิยมค่อนข้างแรงและมีความนิยมใน ecological modernization ค่อนข้างมาก แนวนโยบายความสมัครใจและความร่วมมือระหว่างรัฐและเอกชนจะเป็นที่ยอมรับกันมาก เพราะแนวทางนี้มีความเป็นไปได้สูงและสอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืนอย่างแข็ง โดยสังคมในยุโรปได้มีการปรับตัวจากสังคมบริโภคให้เป็นสังคมอนุรักษ์มากขึ้น และประชาชนมีจิตสำนึกทางนิเวศและมีความเป็นพลเมืองของระบบนิเวศมากขึ้น แต่ทั้งนี้มิได้หมายความว่าแต่ละประเทศเลือกนโยบายแนวใดแนวหนึ่งเท่านั้น ประเทศส่วนใหญ่จะใช้นโยบายทั้ง 3 แนว เพียงแต่อาจจะเน้นแนวใดแนวหนึ่งมากกว่าอย่างอื่นเท่านั้น โดยทั่วไปประเทศ ส่วนใหญ่จึงใช้มาตรการผสมมากกว่า

     นอกจากนี้ รายงานฉบับสมบูรณ์เรื่อง โครงการจัดลาดับความสำคัญของปัญหาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ให้แนวคิดการจัดการสิ่งแวดล้อมเชิงสถาบันไว้ว่า การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อนำไปสู่สังคมที่ยั่งยืนต้องอาศัยกระบวนการที่หลากหลายเพื่อแก้ปัญหาได้อย่างรอบด้าน เช่น การจัดการด้วยการบังคับใช้บทลงโทษต่าง ๆ เพียงอย่างเดียวจะไม่สามารถแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ถ้าสังคมมีกระบวนการเสริม เช่น การสร้างจิตสำนึกที่ดีต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมพร้อม ๆ กับการกำหนดมาตรการจูงใจและการบังคับใช้บทลงโทษ ต่างก็จะทำให้การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น



อ้างอิง : http://www.idealconsultancy.com/Th/Creative_Professional_Branding_Marketing_Solutions.asp?Gid=39&SGid=121

นางสาวกาญจนา แปลงทุน รุ่น 19 รหัสนักศึกษา 5130125401222


บทที่ 10 การแข่งขันในตลาดโลกและความได้เปรียบทางการแข่งขัน
การสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน
                การเสริมสร้างองค์กรให้แข็งแกร่ง  มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลในยุคของการแข่งขันทางธุรกิจ  ผู้นำหรือผู้บริหารขององค์กรที่บทบาทสำคัญ และได้รับการสนับสนุนจากพนักงานระดับปฏิบัติการ  การได้เปรียบในการแข่งขันจะเกิดขึ้นได้  ผู้นำหรือผู้บริหารจำเป็นต้องมีแนวทางในการดำเนินงานที่มีความชัดเจน  โดยเริ่มจากการกำหนดวิสัยทัศน์ (Vision) การกำหนดเป้าหมาย (Goals) การกำหนดคุณค่าและความเชื่อร่วมกัน (Value and Belief) และการกำหนดกลยุทธ์ (Strategies) บทบาทพนักงานระดับปฏิบัติการเป็นบทบาทของการสนับสนุนและประสานงาน ทำให้เกิดแนวทางการปฏิบัติ มีรายละเอียดดังนี้
เมื่อกล่าวถึงการสร้างความเป็นผู้นำขององค์กรคนส่วนมากจะมีความเข้าใจว่าเป็นบทบาทของผู้นำหรือผู้บริหารขององค์กรเพียงฝ่ายเดียวที่จะทำให้องค์กรมีความแข็งแกร่ง และการได้เปรียบทางการแข่งขันทางธุรกิจ ซึ่งก็มีส่วนที่ถูกต้องส่วนหนึ่ง  แต่ถ้าหากขาดการสนับสนุนจากบทบาทการปฏิบัติงานของพนักงานระดับปฏิบัติการแล้ว   ความแข็งแกร่งและการได้เปรียบทางการแข่งขันทางธุรกิจก็อาจจะเกิดขึ้นได้ยาก  ดังนั้น  การประสานกันระหว่างบทบาทของผู้นำกับบทบาทของพนักงานระดับปฏิบัติการ  ย่อมเป็นหนทางที่จะก่อให้เกิดความสำเร็จอย่างแน่นอนแต่ทั้งนี้บทบาทของผู้นำหรือผู้บริหารจำเป็นต้องมีแนวทางในการดำเนินงานที่มีความชัดเจน  โดยเริ่มจากการที่ผู้นำหรือผู้บริหารจะต้องมีการกำหนดวิสัยทัศน์ (Vision) การกำหนดเป้าหมาย (Goals) การกำหนดคุณค่าและความเชื่อร่วมกัน (Value and Belief) และการกำหนดกลยุทธ์ (Strategies) ในด้านบทบาทของพนักงานระดับปฏิบัติการเป็นบทบาทของการสนับสนุนและประสานงาน  ทำให้เกิดแนวทางการปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม   ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
1.  บทบาทของผู้นำหรือผู้บริหาร  การประสบความสำเร็จของการที่จะทำให้องค์กรเป็นผู้นำทางธุรกิจ   และสามารถแข่งขันกับคู่แข่งขันทางธุรกิจได้เป็นอย่างดี  ผู้นำหรือผู้บริหารจำเป็นต้องมีความเฉลียวฉลาด  ทั้งระดับสติปัญญาและระดับวุฒิภาวะทางอารมณ์  ซึ่งจะเป็นแนวทางที่จะทำให้กำหนดบทบาทและภาระหน้าที่ได้อย่างชัดเจนและมีประสิทธิภาพผู้นำหรือผู้บริหารจะบริหารจะต้องใช้แนวคิดที่แนวทางขององค์กร นำไปสู่ความสำเร็จ  สำหรับบทบาทของผู้นำหรือผู้บริหารที่จะทำให้องค์กรได้เปรียบทางการแข่งขันทางธุรกิจควรมีดังนี้
1.1  การกำหนดวิสัยทัศน์  (Vision)
การกำหนดวิสัยทัศน์เป็นบทบาทแรกของภาวะหน้าที่ของผู้นำ  หรือผู้บริหารองค์กรวิสัยทัศน์ที่ผู้นำหรือผู้บริหารจะต้องให้ความสำคัญ  ควรมีลักษณะที่ก่อให้เกิดความรู้สึกน่าสนใจ  การก่อให้เกิดความหมายในชีวิตการทำงานและชีวิตส่วนบุคคล  การกำหนดมาตรฐานของความเป็นเลิศที่โดดเด่น  และเป็นตัวเชื่อมความเป็นอดีตที่จะส่งผลต่อความสำเร็จในอนาคต  โดยปกติแล้วการกำหนดวิสัยทัศน์จะต้องมีความชัดเจน  สั้น  และเข้าใจง่ายต่อการนำไปสู่การปฏิบัติ  เช่น  การกำหนดวิสัยทัศน์ของบริษัทวอลท์  ดิสนีย์ (Walt Disney) คือ การทำให้ทุก ๆ คนมีความสุข เป็นต้น


1.2  การกำหนดเป้าหมาย (Goals)
การกำหนดเป้าหมายที่ดีควรมาจากการที่นำวิสัยทัศน์มาพิจารณา  ในการกำหนดเป้าหมายทั้งเป็นเป้าหมายที่เป็นทางการ (Official Goal) และเป้าหมายปฏิบัติการ (Operative Goals)
เป้าหมายที่เป็นทางการ (Official Goal)  เป็นการกำหนดทิศทางขององศ์การในอนาคตโดยอธิบายถึงวิสัยทัศน์ขององค์กรและคุณค่าของ
การมาอยู่ร่วมกันในองค์กร  ซึ่งจะก่อให้เกิดความเป็นน้ำหนึ่งอันเดียวกัน  เป็นเกณฑ์สำหรับจูงใจทรัพยากรบุคคลในองค์กร  และสร้างบรรยากาศ
ในการทำงานให้กับพนักงาน
เป้าหมายปฏิบัติการ (Operative Goals) เพื่ออธิบายถึงการวัดผลที่เฉพาะเจาะจงขององค์กร  ในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับความสำเร็จขององค์กร
กำหนดระยะเวลาในการปฏิบัติงานที่สั้นกว่าเป้าหมายที่เป็นทางการซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับผลการปฏิบัติงานของพนักงาน  การบำรุงรักษา  การ
ปรับปรุงเปลี่ยนแปลง
1.3  การกำหนดคุณค่าและความเชื่อร่วมกัน (Value and Belief)
ในการทำงานร่วมกันจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจกันทำงาน  โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้นำหรือผู้บริหารที่มีบทบาทที่เหนือกว่าพนักงานระดับปฏิบัติการ จึงต้องมีการกำหนดคุณค่าของตัวเองโดยความสำนึกในความรับผิดชอบ (Accountability) ความเป็นกลาง (Neutrality) การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ(Participation) การมีความโปร่งใสในการเปิดเผยข้อมูลให้กับผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง (Transparency) การมุ่งสู่ผลสัมฤทธิ์ในการทำงาน (Result Orientation)และความเป็นมืออาชีพในหน้าที่การงานที่ทำอยู่ (Alums)
2.  ส่วนความเชื่อร่วมกัน ผู้นำหรือผู้บริหารพนักงานทุกคนที่ความรู้มีความสามารถที่จะทำงานร่วมกันได้เป็นอย่างดี ไม่มีการแบ่งพรรคแบ่งพวกที่จะทำให้เกิดการแตกแยก
1.4  การกำหนดกลยุทธ์ (Strategies)
เป็นหน้าที่และบทบาทที่ผู้นำหรือผู้บริหาร นำเป้าหมายที่เป็นทางการ และเป้าหมายปฏิบัติการมาพิจารณาร่วมกัน  เพื่อให้ทราบทิศทางของการดำเนินงานขององค์กรว่า ควรจะเป็นไปในทิศทางใด ซึ่งการที่จะได้ทิศทางของการดำเนินงานที่ถูกต้องและชัดเจนนั้น ผู้นำหรือผู้บริหารจะต้องพิจารณาเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกขององค์กร ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
สภาพแวดล้อมภายในองค์กร (Internal Environment) เป็นสิ่งที่ผู้นำหรือผู้บริหารควบคุมให้เป็นไปในทิศทาง  ทางของเป้าหมายที่เป็น
ทางการ  และเป้าหมายการดำเนินการภายในองค์กร  เป็นเครื่องมือสำหรับการควบคุมเพื่อก่อให้เกิดการได้เปรียบทางการ
ก. จุดแข็ง (Strengths)
การค้นหาจุดแข็งขององค์กรจะเป็นข้อได้เปรียบ  และมีความแตกต่างไปจากคู่แข่งขันทางธุรกิจ  ทำให้บุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องทางธุรกิจสามารถาจดจำและให้ความสนใจได้เป็นพิเศษ  เรียงลำดับความสำคัญ  ตั้งแต่จุดแข็งที่มีความสำคัญที่สุดจนถึงมีความสำคัญน้อยที่สุด  ทั้งนี้  เพื่อที่จะสามารถนำจุดแข็งเหล่านั้นมาสร้างเป็นแนวทางการกำหนดกลยุทธ์ขององค์กร  ให้มีความชัดเจนและถูกต้องมากขึ้น
ข.  จุดอ่อน (Weaknesses)
องค์กรทุกองค์กรที่จุดอ่อนด้วยกันทั้งสิ้น  การยอมรับจุดอ่อนและที่มาจุดอ่อนให้กลับกลายเป็นจุดแข็ง  ก็เป็นอีกหนทางหนึ่งของการสร้างศักยภาพของการแข่งขันทางธุรกิจ และความเจริญก้าวหน้าขององค์กร
สภาพแวดล้อมภายนอกองค์กร (External Environment) เป็นสิ่งที่ผู้นำหรือผู้บริหารไม่สามารถควบคุมได้  นอกจากที่วิสัยทัศน์กว้างไกล  มักจะคาดการณ์ล่วงหน้าถึงสภาพปัญหาหรืออุปสรรคต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นมาในอนาคต  โดยศึกษาเรื่องต่าง ๆ ดังนี้
ค.  โอกาส  (Opportunities) มีอยู่ทั่วไปในธุรกิจ ผู้นำหรือผู้บริหารจะหยิบยกมาใช้เพื่อเสริมสร้างศักยภาพขององค์กร และการได้เปรียบทางการแข่งขันพิจารณาทางโอกาสที่เหนือกว่าผู้อื่น

2.  กลยุทธ์การแข่งขันของพอร์ตเตอร์ (Porter   Competitive Strategies) มี 3 องค์ประกอบ ได้แก่

2.1 การลดต้นทุนทางการจัดการ (Low – Cost Leadership) พิจารณาสภาพแวดล้อมภายนอก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คู่แข่งขันทางธุรกิจมาเป็นแนวทางในการลดต้นทุนทางการจัดการขององค์กร เช่น ผลิตสินค้าที่ได้มาตรฐานและมีคุณภาพขณะที่ต้นทุนถูกกว่าคู่แข่งขัน การลดเวลาของกระบวนการทำงานให้สั้นลง แต่ค่าใช้จ่ายในการตอบแทนพนักงานเท่าเดิม เป็นต้น
2.2  การสร้างความแตกต่าง (Differentiation) การสร้างความแตกต่างจากคู่แข่งขันทางธุรกิจ จะทำให้เป็นเอกลักษณ์ขององค์กรที่เกิดจากกระทำการ  ซึ่งเป็นการได้เปรียบทางการแข่งขันทางธุรกิจ    อาจจะเป็นความแตกต่างในกระบวนการทำงานขององค์กร หรือสินค้าและบริการ แต่ทั้งนี้ความแตกต่างดังกล่าวจะต้องแสดงให้เห็นถึงประสิทธิผลและประสิทธิภาพที่เหนือกว่าคู่แข่งขัน
2.3  การมุ่งเน้นเฉพาะ (Focus) การได้เปรียบทางการแข่งขัน ผู้นำหรือผู้บริหารจะต้องพิจารณาเน้นเฉพาะกลุ่มที่มีส่วนเกี่ยวข้องทางธุรกิจ ทั้งนี้เพื่อตอบสนองต่อความต้องการและความพึงพอใจได้อย่างเต็มที่


2.  บทบาทของพนักงานระดับปฏิบัติการ มี  2 ลักษณะ
2.1 บทบาทในการเป็นผู้ปฏิบัติตามกลยุทธ์ขององค์กร  การเป็นพนักงานระดับปฏิบัติที่ควรมีแนวคิดในการปฏิบัติตามแนวทางกลยุทธ์ขององค์กร อันเนื่องมาจากเหตุผลที่ว่า  ถ้าองค์กรสามารถยืนหยัดอยู่ได้ในธุรกิจ  พนักงานทุก ๆ คนก็จะอยู่รอดไปด้วยกัน  และถ้าหากพนักงานทุก ๆ คน มีความกระตือรือร้นในการปฏิบัติตามกลยุทธ์ขององค์กรอย่างเต็มที่  องค์กรก็อาจจะได้เปรียบทางการแข่งขันทางธุรกิจ  ก็หมายความว่า  ผลประโยชน์ต่าง ๆที่จะเกิดขึ้นกับองค์กรและพนักงานทุก ๆ คนย่อมเกิดขึ้นแน่นอน การที่ประสบความสำเร็จทางธุรกิจและได้เปรียบทางการแข่งขันทางธุรกิจส่วนมากแล้ว พนักงานทุก ๆ คนมีความสามัคคีร่วมกันเป็นน้ำหนึ่งเดียวกัน  การไว้ใจซึ่งกันและกัน  และการต่อสู้กับอุปสรรคและปัญหาอย่างเต็มที่
2.2  บทบาทในการเป็นผู้ส่งเสริมและให้ข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์  การมีส่วนในการส่งเสริมและให้ข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์  ในการทำให้กลยุทธ์ขององค์กรมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลเพิ่มมากขึ้น  การได้เปรียบทางการแข่งขัน  ควรเริ่มต้นจากผู้นำหรือผู้บริหารในการกำหนดวิสัยทัศน์ กำหนดเป้าหมาย  กำหนดคุณค่าและความเชื่อร่วมกัน และการกำหนดกลยุทธ์ขององค์กร  เพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งประสิทธิผลขององค์กรโดยส่วนรวม  โดยการพิจารณาจากทรัพยากรที่มีอยู่  ไม่ว่าจะเป็นเงินทุน บุคลากรผลิตภัณฑ์  หรือชื่อเสียงขององค์กร  สิ่งเหล่านี้จะสามารถส่งเสริมให้องค์กรสามารถสร้างการสร้างผลิตภัณฑ์พื้นฐานมาประกอบควบคู่กันไป  องค์กรใดสามารถทำได้องค์กรนั้น  ก็จะสามารถสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันได้โดยง่าย
การสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน  6 มิติ
ในยุคที่การแข่งขันมีความรุนแรง  การมุ่งเน้นกลยุทธ์การสร้างความได้เปรียบเพียงกลยุทธ์เดียวอาจส่งผลให้องค์กรไม่สามารถปรับตัวให้
สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปได้ทันท่วงที องค์กรที่ประสบความสำเร็จหลายแห่งได้ใช้กลยุทธ์ที่หลากหลายในการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันให้เกิดขึ้น มิใช่มุ่งเน้นกลยุทธ์เฉพาะเพียงด้านใดด้านหนึ่งเท่านั้น  แต่องค์กรเหล่านี้อาจเริ่มต้นจากการใช้กลยุทธ์เพียงกลยุทธ์เดียวในการแข่งขัน เช่นDell Computer ที่ดำเนินธุรกิจจำหน่ายคอมพิวเตอร์ ได้เริ่มต้นธุรกิจด้วยการมุ่งเน้นการลดต้นทุน ขั้นตอนในการทำธุรกิจจะเริ่มจากเมื่อได้รับคำสั่งซื้อจากลูกค้า แล้วบริษัทจะติดต่อไปยังผู้ผลิตอุปกรณ์ชิ้นส่วนประกอบคอมพิวเตอร์ทันที  เพื่อให้นำชิ้นส่วนมาส่งและประกอบเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์  เสร็จแล้วก็จะดำเนินการจัดส่งให้ลูกค้าทันที  เราจะเห็นได้ว่า Dell  ไม่มีการเก็บสินค้าไว้ที่คลังสินค้าเลย  การบริหารสินค้าเช่นนี้จัดได้ว่าเป็นการมุ่งเน้นทางการลดต้นทุน  โดยเฉพาะต้นทุนของสินค้าคงคลัง  ต่อมาเมื่อการแข่งขันในธุรกิจจำหน่ายคอมพิวเตอร์มีความรุ่นแรงมากขึ้น  Dell  จึงได้นำเอากลยุทธ์ด้านอื่น ๆมาใช้ เช่น การบริการส่งสินค้าอย่างรวดเร็ว  การเน้นคุณภาพของสินค้าและการรับประกัน เป็นต้น
การสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันให้เกิดขึ้นนั้นมาจากการใช้กลยุทธ์ 6 ประการด้วยกัน ซึ่งองค์กรสามารถเริ่มต้นจากกลยุทธ์ใดกลยุทธ์หนึ่งก่อนก็ได้
แต่องค์กรจะต้องมีการพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพของกลยุทธ์ทุกกลยุทธ์ให้มีความเข้มแข็งด้วยกัน  ดังต่อไปนี้
1.  ความได้เปรียบจากการเป็นผู้เข้าสู่ตลาดรายแรก (customer market advantage) ประเด็นแรกที่องค์กรจะต้องให้ความสำคัญคือการสร้างตลาดใหม่หรือเป็นผู้คิดริเริ่มใหม่ ๆ ให้กับลูกค้าซึ่งการริเริ่มในสิ่งที่คู่แข่งยังไม่สามารถทำได้นั้น
จะทำให้องค์กรปราศจากการแข่งขันซึ่งนับได้ว่าเป็นความได้เปรียบอย่างดีเยี่ยมและเป็นจุดเริ่มต้นแห่งความสำเร็จในอนาคต เช่น Xerox  ได้ริเริ่มทำธุรกิจการถ่ายเอกสารเป็นเจ้าแรก  ลักษณะการทำธุรกิจของ  Xerox จึงมีความโดดเด่นเป็นพิเศษภายใต้การจดทะเบียนขอสิทธิบัตร  ด้วยเหตุนี้เองการตลาดของ  Xerox จึงมีความแตกต่างในด้านการนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่มีความโดดเด่นและเหนือกว่าและไม่มีองค์กรใดสามารถทำธุรกิจได้เหมือนกับ Xerox อาจกล่าวได้ว่าเป็นการสร้างความได้เปรียบในการแข่งในเรื่องการเข้าสู่การตลาดเป็นรายแรก
2.  ความได้เปรียบในการนำเสนอผลิตภัณฑ์หรือบริการที่โดดเด่นกว่าคู่แข่ง (product and service advantage) องค์กรใดก็ตามที่สามารถตอบสนองต่อความพึงพอใจของผู้บริโภคที่มีความโดดเด่น  องค์กรนั้นถือได้ว่าเป็นองค์กรที่ใช้กลยุทธ์การสร้างความแตกต่าง  ซึ่งการสร้างความแตกต่างนี้หากจะมองย้อนกลับไปในอดีตแล้ว  เราจะพบว่าองค์กรหลายแห่งได้ใช้กลยุทธ์นี้มานานแล้ว  และมีการพัฒนาไปสู่ความได้เปรียบในการแข่งขันในระยะยาว  เช่น  Samsung  เป็นบริษัทที่จะหน่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่หรือมือถือที่เน้นรูปแบบ  สีสัน  และความทันสมัยของรูปลักษณ์ภายนอก  โดยเฉพาะอย่างยิ่งหน้าจอสีที่มีความคมชัดกว่ายี่ห้ออื่น ส่งผลให้มือถือของ Samsung มีความโดดเด่นและไม่เหมือนคู่แข่งขันรายอื่น  อย่างไรก็ตาม  ข้อด้อยของกลยุทธ์นี้ก็คือคู่แข่งขันสามารถลอกเลียนแบบได้ง่าย  ด้วยเหตุนี้  องค์กรที่ใช้กลยุทธ์ดังกล่าวจะต้องมีการปรับปรุงและพัฒนาผลิตภัณฑ์ของตนเองอยู่เสมอเพื่อให้ก้าวล้ำกว่าของคู่แข่ง
3.  ความได้เปรียบในการสร้างห่วงโซ่คุณค่าหรือระบบธุรกิจ (Business system/value chain advantage) การบริหารกิจกรรมทางธุรกิจเพื่อให้บรรลุเป้าหมายองค์กร เรียกว่าการบริหารห่วงโซ่คุณค่าหรือระบบธุรกิจ   กิจกรรมทางธุรกิจจะเริ่มต้นจากการวิจัยและการพัฒนาผลิตภัณฑ์ การผลิตการขาย  การตลาด  การจัดจำหน่าย  และการบริการหลังการขาย  หากองค์กรธุรกิจมีความโดดเด่นในกิจกรรมทางธุรกิจ   กิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่งก็จะส่งผลให้องค์กรนั้นมีความได้เปรียบทางการแข่งขันในเรื่องนั้น ๆ หลายองค์กรพยายามสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันโดยมุ่งเฉพาะกิจกรรมทางธุรกิจที่องค์กรถนัดและมุ่งการการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง  ส่งผลให้องค์กรนั้นมีกลยุทธ์ที่เหนือกว่าคู่แข่งขัน  และกลายเป็นจุดแข็งหรือเอกลักษณ์ขององค์กรในที่สุด เช่น  บริษัท พรอกเตอร์แอนด์แกมบิล (P&G) จำกัด   มีความเชี่ยวชาญทางการตลาด  บริษัท โซนี่ จำกัด  บริษัทที่เน้นนวัตกรรมในการออกแบบผลิตภัณฑ์ได้ตรงตามความต้องของลูกค้า  บริษัท  โตโยต้า  จำกัด  เน้นประสิทธิภาพในการผลิต  และ American Express บริษัทที่ให้การบริการลูกค้าได้อย่างประทับใจ  เป็นต้น
แนวทางที่จะเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารห่วงโซ่คุณค่า  ก็คือการติดต่อประสานงานระหว่างหน่วยงานในองค์กรเพื่อให้กิจกรรมต่าง ๆ ดำเนินไปได้ด้วยดีในบางครั้งองค์กรจำเป็นจะต้องมีการออกแบบโครงสร้างกรใหม่  เพื่อปรับรูปแบบ  และระบบการดำเนินธุรกิจให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น  ตัวอย่างขององค์กรธุรกิจที่ประสบความสำเร็จในการปรับเปลี่ยนระบบการดำเนินธุรกิจ  ก็คือสายการบิน  Southwest สายการบิน Southwest มีกำไรเพิ่มขึ้นจาการปรับระบบธุรกิจให้สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้า ไม่ว่าจะเป็นเรื่องขั้นตอนการเลือกที่นั่งของลูกค้าหรือการให้บริการลูกค้าสรุปแล้วจะเห็นได้ว่าห่วงโซ่คุณค่านั้นมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อองค์กรธุรกิจที่
จำหน่ายผลิตภัณฑ์และธุรกิจขายบริหารจำไว้ว่าการจะทำให้ห่วงโซ่คุณค่าขององค์กรมีความโดดเด่นและเหนือกว่าคู่แข่งขันนั้น  องค์กรจำเป็นจะต้องกำหนดวัตถุประสงค์ของกิจกรรมทุก ๆ กิจกรรมไว้อย่างชัดเจน  และให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน
4.  ความได้เปรียบของแหล่งทรัพยากร (System assets / resources advantages) ทรัพยากรขององค์กรประกอบไปด้วยสินทรัพย์ที่ตัวตน เช่น ผลิตภัณฑ์และอาคาร และสินทรัพย์ที่ไม่มีตัวตน เช่น ลิขสิทธิ์ ตราสินค้า และชื่อเสียงขององค์กร องค์กรส่วนใหญ่จะใช้ประโยชนจากทรัพยากรที่มีอยู่ในการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันให้เกิดขึ้น ซึ่งการใช้ทรัพยากรเพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันให้เกิดขึ้นนี้ เรียกว่าAsset Based Competitive Advantages เช่น Coca – Cola เป็นบริษัทที่มีชื่อเสียงทางด้านเครื่องดื่มน้ำอัดลมจนเป็นที่รู้จักกันทั่วโลกมีมูลค่าของตราสินค้า  (brand equity) สูงมาก ประกอบกับ Coca – Cola  มีระบบการจัดจำหน่ายสินค้าที่มีประสิทธิภาพ  มีทรัพยากรในการขนส่งสินค้าอย่างครบครัน  ปัจจุบัน Coca – Cola  มีความได้เปรียบทางการแข่งขันในด้านทรัพยากรที่มีอยู่  นั่นคือระบบการจัดจำหน่ายที่มีประสิทธิภาพและตราสินค้าที่มีชื่อเสียง
5.  ความได้เปรียบในเรื่องพันธมิตร (Partner advantage) การมีพันธมิตรที่ดีจะช่วยสนับสนุนให้องค์กรสามารถพัฒนาธุรกิจอย่างรวดเร็ว หลายองค์กรพยายามค้นหาคู่ค้าเพื่อสร้างเป็นพันธมิตรในการทำธุรกิจระยะยาว เช่น Rover ได้ประสบปัญหาด้านธุรกิจจำหน่ายรถยนต์กับสภาวะการขาดทุนและไม่สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้อีกจนกระทั่ง Honda ได้เข้ามาร่วมลงทุนขอเป็นพันธมิตรด้วยและได้ช่วยทำให้ Rover สามารถขายกิจการของตนเองได้กับ BMW ได้  การสร้างพันธมิตรทางธุรกิจไม่ใช่เรื่องง่ายที่องค์กรใดก็สามารถทำได้  องค์กรจะต้องมีการคัดเลือกพันธมิตรให้เหมาะสมกับองค์กรของตน  เปรียบเสมือนการรวมจุดแข็งขององค์กรสองฝ่ายเข้าด้วยกันเพื่อสร้างผลประโยชน์สูงสุดให้เกิดขึ้นและนำไปสู่ความได้เปรียบทางการแข่งขันต่อไป
6.  ความได้เปรียบในการประหยัดต้นทุนในการผลิต  (Scale and scope advantage) องค์กรสามารถสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันให้เกิดขึ้นได้ด้วยการมุ่งเน้นการสร้าง Economies of Scope นั่นคือ ความสามารถในการลดต้นทุนโดยใช้ทรัพยากรร่วมกันของหน่วยธุรกิจต่าง ๆ เราจะสังเกตเห็นได้ว่าโรงงานขนาดใหญ่มักจะมีต้นทุนการผลิตต่อหน่วยต่ำเนื่องจากผลิตสินค้าหลายประเภทเป็นจำนวนมาก   จึงสามารถให้ทรัพยากรในการผลิตร่วมได้ก่อให้เกิดการประหยัดต้นทุนในการผลิต ส่วนหลักการของ Economies of Scale จะเน้นไปในเรื่องของการผลิตในปริมาณที่มากเพื่อให้ต้นทุนต่อหน่วยต่ำลง
    กลยุทธ์การสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันจะประสบความสำเร็จได้นั้นองค์กรจะต้องมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่องและใช้กลยุทธ์ทั้ง 6 มิตินี้ก็คือ  Singapore Airline ซึ่งเป็นสายการบินที่เริ่มต้นจากการใช้กลยุทธ์การสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน แล้วมีการพัฒนากลยุทธ์ในด้านอื่น ๆในระยะเวลาต่อมา โดยสรุปแล้ว Singapore Airline มีการใช้กลยุทธ์ดังนี้
           

 กลยุทธ์การสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันในเรื่องของการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด (Resource advantage)
Singapore Airline มีรัฐบาลสิงคโปร์เป็นเจ้าของสายาการบินและเป็นเจ้าของท่าอากาศยาน  ส่งผลให้ต้นทุนในการบริการต่ำกว่าคู่แข่งขันมาก  นอกจากนี้ Singapore Airline ยังมีระบบการบริหารกิจกรรมทางธุรกิจได้เป็นอย่างด
เช่น มีการจัดระบบการจองตั๋วเครื่องบินที่รวดเร็วถูกต้อง และทันสมัยอยู่ตลอดเวลา Singapore Airline จึงมีความได้เปรียบในการแข่งขันตามหลักการของ Asset-Based Competitive Advantage การมีพันธมิตรที่ดีเป็นหนทางสู่ความสำเร็จได้ในอนาคต (Partner advantage)
Singapore Airlines  มีเครือข่ายพันธมิตรมากทั้งในแถบยุโรปและอเมริกาซึ่งการมีพันธมิตรจำนวนมากนี้เอง  ส่งผลให้ลูกค้าที่อยู่ทางยุโรปและ
อเมริกาสามารถเลือกการเดินทางมายังแถบเอเชียได้โดยใช้บริหารของ Singapore Airline เพราะการเดินทางมีความสะดวกและรวดเร็ว
        Singapore Airline เป็นสายการบินขนาดเล็ก ดังนั้น Singapore Airline จึงไม่สามารถใช้กลยุทธ์ทางด้าน Economies of Scaleได้ อย่างไรก็ตาม Singapore Airline จำเป็นที่จะต้องปรับกลยุทธ์ของตนให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมของตลาด เนื่องจากสภาวะการแข่งขันค่อนข้างสูงหากสายการบินคู่แข่งมีการปรับตัวและพัฒนาการให้บริการที่เหนือกว่าแล้ว Singapore Airline ก็จำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนตาม

สรุป
                    องค์กรควรที่จะพิจารณาพื้นฐานขององค์กร  ว่าจะสามารถสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันให้เกิดขึ้นได้หรือไม่  โดยการพิจารณาพื้นฐานขององค์กร ว่าจะสามารถสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันให้เกิดขึ้นได้หรือไม่  โดยการพิจารณาจากทรัพยากรที่มีอยู่  ไม่ว่าจะเป็นเงินทุน  บุคลากร ผลิตภัณฑ์  หรือชื่อเสียงขององค์กร  และดูว่าสิ่งเหล่านี้จะสามารถส่งเสริมให้องค์กรสามารถสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันให้เกิดขึ้นได้อย่างไร สิ่งที่องค์กรควรทำ  ก็คือการสร้างระบบวิเคราะห์สถานการณ์ทางการตลาดควบคู่กันไป  องค์กรใดที่สามารถทำได้องค์กรนั้นก็จะสามารถสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันให้เกิดขึ้นได้อย่างง่ายดาย

ข้อมูลจาก อาจารย์กลัยาณี  สูงสมบัติ สื่อการสอนวิชาเทคนิคการจัดการสมัยใหม่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร


 บทที่ 11 การบริการจัดการธุรกิจสีเขียวและการวิเคราะห์ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิต
แนวโน้มของการพัฒนาแนวคิดกรีนหรือโลกสะอาดยังคงเป็นสิ่งที่หลายคนอยากเห็นว่าจะดำเนินไปอย่างไรในอนาคต จึงมีนักวิจัยหลายสำนักออกมาพยากรณ์เกี่ยวกับแนวโน้มของโกลบอล กรีนกันตั้งแต่ต้นปี 2012อย่างเช่นสถาบันที่มีชื่อว่าเดอะ สเปนเซอร์ อินสติ The Spencer Institute ได้เสนอข้อคิดเห็นเกี่ยวกับแนวโน้มของการดำเนินชีวิตแบบกรีนและการดำรงอยู่แบบเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในปี 2012 ไว้ว่าชีวิตในอนาคตยังคงเน้นความพยายามที่จะอยู่แบบกรีนมากขึ้นกว่าเดิม โดยคาดว่าจะเน้นในด้านอาหาร ไลฟ์สไตล์ และการพัฒนาเศรษฐกิจที่มีสัดส่วนของการเติบโตแบบกรีนมาขึ้น ทำให้สีของปี 2012 ยังคงเป็นสีเขียว และแนวคิดกรีนไม่ใช่เพียงแนวโน้มของโลกอีกต่อไป
กรีนไลฟ์สไตล์
        กรีนไลฟ์สไตล์หมายถึงการดำรงชีวิตประจำวันแบบกรีน โดยเฉพาะความพยายามดูแลสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอ ไม่เจ็บไม่ไข้ เพื่อจะได้ไม่ต้องจ่ายเงินประกันสุขภาพที่แพงขึ้น และการเก็บภาษีด้านการรักษาพยาบาลมากขึ้น พร้อมกับเพิ่มความตั้งใจในการลดการเบียดเบียนโลกและสิ่งแวดล้อม
แนวคิดแบบนี้ จึงเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามจะประหยัด พร้อมทั้งเยียวยาสุขภาพร่างกายให้สมบูรณ์ แข็งแรงมากขึ้น พร้อมกับแรงบันดาลใจในการบริโภคให้น้อยลง รายจ่ายการบริโภคลดลง จะได้ลดการเบียดเบียนธรรมชาติลง และเอาเวลาที่เคยกินๆ นอนๆ ไปทำสิ่งที่เป็นสาระอย่างอื่นแทนความตั้งใจเหล่านี้มีโอกาสเกิดผลสำเร็จได้มากขึ้นในปี 2012 เพราะผู้คนได้มีการเรียนรู้ว่าการมีสุขภาพที่ดีต้องทำอย่างไร และการใช้ชีวิตแบบเลี่ยงความเสี่ยงจะต้องไม่ทำอะไรบ้างที่อาจนำไปสู่เหตุการณ์ความเสี่ยง
อาหารสีเขียว
ทางเลือกใหม่
       เมื่อความตั้งใจจะมีไลฟ์สไตล์แบบกรีนเริ่มต้นขึ้น อาหารก็กลายเป็นปัจจัยสำคัญที่จะสนับสนุนการดำรงชีวิตในแบบที่ตั้งใจ อาหารออร์แกนิก ปราศจากการใช้สารเคมีหรือ GMOผ่านการดัดแปลงหรือปรุงแต่งน้อยลงให้มากที่สุด และสิ้นเปลืองหีบห่อน้อยที่สุดจะกลายเป็นทางเลือกที่ผู้คนต้องการมากขึ้นในปี 2012



เศรษฐกิจแบบกรีน
    แนวโน้มที่เห็นได้ชัดเจนขึ้นคือทั้งบุคคลธรรมดาและกิจการห้างร้านจะหันไปเลือกการลงทุนและทุ่มแวลาและงบประมาณเพื่อกิจกรรมที่เป็นความรับผิดชอบต่อสังคมหรือ CSR มากขึ้น
       
ในส่วนของผู้ประกอบการ การพัฒนารูปแบบการดำเนินงานแบบกรีนมากขึ้น ถูกมองว่าจะช่วยในการสร้างความได้เปรียบด้านการแข่งขันที่ใช้กับคู่แข่งขันได้ ยกระดับคุณธรรมของบุคลากร ยกระดับสภาพแวดล้อมการทำงานให้บุคลากรมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สามารถลดค่าใช้จ่ายดำเนินงานด้านพนักงานและเพิ่มประสิทธิภาพ จนทำให้ผลการประกอบการดีขึ้น ทำให้สาธารณชนตระหนักว่ากิจการให้ความสำคัญกับการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมและใส่ใจในสินค้าและบริการที่วางจำหน่าย เพื่อตอบสนองผู้บริโภคที่ใส่ใจกับการเลือกสินค้ามากขึ้นการศึกษาของบอสตัน คอนซัลติง กรุ๊ป จากผู้บริโภค 9,000 คนทั่วโลกพบว่า การเลือกซื้อกรีนโปรดักส์ยังคงมาอันดับแรก แม้ว่าภาวะเศรษฐกิจจะถดถอยลง และ 73% ของคนอเมริกันถือว่าประวัติของผู้ประกอบการในการรณรงค์เรื่องกรีนโปรดักส์เป็นตัวแปรในการตัดสินใจซื้อสินค้าและบริการนอกจากนั้น นักวิเคราะห์ยังเชื่อว่าธุรกิจด้านกรีนโปรดักส์จะกลายเป็นธุรกิจยักษ์ใหญ่ในอนาคต อย่างเช่นบริษัทซีร็อกซ์เชื่อว่ากลังจากใช้กรีนโมเดลแล้ว บริษัทจะประหยัดค่าออกแบบและต้นทุนการผลิตไปได้ไม่น้อยกว่า 2,000 ล้านดอลลาร์ หรือโตโยต้าที่ใช้สายการผลิตเดียวกับรถยนต์หลายรุ่น จนประหยัดพลังงานในโรงงานได้กว่า 30% แสดงว่าการใช้กรีนไม่ได้เป็นเพียงการทำความดี แต่ยังเป็นการเพิ่มพูนรายได้ของกิจการด้วยนอกจากกิจการที่เป็นผู้ผลิตแล้ว กิจการค้าปลีกของโลกจะขยับใช้กรีนโมเดลกันมากขึ้นในปี 2012 ต่อเนื่องจากปีที่แล้ว อย่างเช่น ห้างวอลมาร์ทได้กำหนดให้กิจการคู่ค้าที่ผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคส่งให้ตนต้องตอบคำถามด้านกรีน 15 ข้อ เพื่อประเมินว่าได้มีส่วนร่วมในการพัฒนากรีนโปรดักส์อย่างเพียงพอหรือตามความเห็นของแบทเทลล์ (Battelle) ได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับ 10 อันดับแนวโน้มของกรีนในอนาคต ดังนี้
        แนวโน้มแรก การเพิ่มขึ้นของการใช้พลังงานยั่งยืนและหมุนเวียนใช้ใหม่สำหรับเครื่องปั่นไฟฟ้าใช้ อันเนื่องมาจากการเติบโตของประชากร รวมถึงการขยายตัวออกไปของตัวเมือง โดยเฉพาะในจีนและอินเดีย จะทำให้เกิดความต้องการใช้ไฟฟ้ามากขึ้น และไฟฟ้าควรจะเป็นพลังงานสะอาด หาไม่ได้มาจากการเผาเหมืองถ่านหิน หรือการสร้างมลภาวะ และแก๊สเรือนกระจกพลังงานในปี 2012 จะเพิ่มความสนใจในพลังงานลม พลังงานโซลาร์ เซลล์เชื้อเพลิงเหลว เชื้อเพลงจากไบโอ เทคโนโลยีการเผาถ่านที่ทำให้โลกสะอาด
  แนวโน้มที่สอง การบริหารทรัพยากรน้ำ ด้วยการใช้ซ้ำและรีไซเคิลน้ำมาใช้ใหม่ เป็นอีกหนึ่งของความพยายามจะประหยัดน้ำที่ใช้ในการอุปโภคบริโภคไว้ให้มากที่สุด ที่เริ่มมีความสำคัญมากขึ้นในวงการกรีนตามลำดับการดำเนินการเรื่องนี้มีความเป็นไปได้มากน้อยเพียงใดขึ้นกับความก้าวหน้าของเทคโนโลยี จนทำให้ได้เทคโนโลยีใหม่ๆ ในการบริหารจัดการน้ำได้มีประสิทธิผลมากขึ้น ควบคู่กับการปรับปรุงคุณภาพของน้ำดื่มน้ำใช้ ทำให้พี้นที่แห้งแล้งและอยู่อาศัยไม่ได้ในโลกลดลง และการตั้งโรงงานบำบัดเพื่อบริหารจัดการกับบรรดาน้ำทิ้งจากอาคารบ้านเรือน
       
แนวโน้มที่สาม การออกกฎหมายและนโยบายในการควบคุมการสร้างคาร์บอน เป็นการพยายามใช้เกณฑ์ภาคบังคับผสมกับความสมัครใจในการควบคุมระดับการสร้างคาร์บอนในระดับประเทศ โดยการลงนามร่วมกันของผู้บริหารประเทศและระหว่างรัฐบาลของประเทศต่าง ๆในระยะต่อไป อาจมีการออกกฎหมายที่ควบคุมการระดับการสร้างคาร์บอนของรถยนต์แต่ละคันที่วิ่งอยู่บนท้องถนน หรือการเก็บภาษีรถที่สร้างคาร์บอน เพื่อให้การควบคุมคาร์บอนอยู่บนมาตรฐานเดียวกันทั่วทั้งโลกการพัฒนาความเข้มงวดของกฎหมายน่าจะทำให้การผลิตสินค้าสะอาด และระบบพลังงานในรถยนต์เปลี่ยนแปลงไปอย่างถาวร
        แนวโน้มที่สี่ คือ การเกิดธุรกิจที่ใช้โมเดลเกี่ยวข้องกับกรีนอย่างเต็มรูปแบบ ซึ่งที่ผ่านมาได้เกิดสภาวการณ์นี้แล้ว โดยเป็นกิจการที่คำนึงถึงสังคม ใช้โมเดลการดำเนินงานแบบกรีนครบวงจร และขายกรีนโปรดักส์ของตนให้กับสังคม โดยยังสามารถเลี้ยงชีพและดำรงกิจการอยู่ได้การดำเนินงานของกิจการเหล่านี้ใช้เทคโนโลยีสะอาดในการดำเนินงานทั้งหมดและถ่ายนทอดลงไปสู่ผู้ประกอบการรายอื่น เช่น รับบริหารการสูญเปล่าด้านอุตสาหกรรม และการใช้พลังงานที่สิ้นเปลืองน้อยลง โดยผู้ประกอบการที่ลงทุนซื้อเทคโนโลยีกรีนเหล่านี้ก็จะได้ประโยชน์ด้วย
        แนวโน้มที่ห้า การขนส่งและคมนาคมที่เป็นกรีน เนื่องจากไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของแก๊สเรือนกระจกมาจากรถยนต์ การสร้างรถยนต์มากขึ้นก็คือการสร้างคาร์บอนมากขึ้นด้วยแนวโน้มส่วนนี้จึงเป็นการเน้นที่จะพัฒนาพลังงานหมุนเวียนและพลังงานยั่งยืนเพื่อให้กับรถยนต์ รวมทั้งอีเธอนอล และพลังงานไบโอทั้งหลาย ที่มีการสำรวจและวิจัยกันมากมาย และคาดว่าจะมีบทบาทมากขึ้นเรื่อยๆ ในอนาคตในอนาคตรถยนต์พลังงานผสมหรือไฮบริด รถยนต์ไฟฟ้า จึงเป็นสิ่งที่จะปรากฏโฉมในท้องถนนมากขึ้น
        แนวโน้มที่หก การเพิ่มขึ้นของกรีนโปรดักส์ในท้องตลาดที่มีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นจากปัจจุบัน จากการเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้ประกอบการกรีนโปรดักส์ และการเติบโตอย่างต่อเนื่องของผู้บริโภคที่เป็นกรีน ชอปปิ้ง ซึ่งการกระจายตัวของตลาดจะทำให้ราคาต่อหน่วยของสินค้ากรีนโปรดักส์น่าจะลดลงตามลำดับ
        แนวโน้มที่เจ็ด การพัฒนาแนวคิดเชิงระบบ (System Approach) ในการวิเคราะห์ผลกระทบของการผลิตต่อสภาพแวดล้อม เพื่อให้การวัดและประเมินผลกระทบได้อย่างแม่ยำมากขึ้นแต่เดิมประเด็นนี้มีการพิจารณาแต่เพียงในระดับของท้องที่ ด้วยการประเมินตัวผลิตภัณฑ์ กระบวนการผลิต และโรงงานผลิตว่ากระทบต่อคุณภาพของสิ่งแวดล้อมอย่างไร แต่ในปี 2012 มุมมองจะเปิดกว้างมากขึ้น ตั้งแต่การผลิต การจัดจำหน่ายสินค้า และการบริโภคตลอดวิถีทางทางการตลาดและกำลังจะขยายต่อไปในระดับภาคอุตสาหกรรมและระดับมหภาค ซึ่งเป็นการพิจารณาทั้งระบบตลอดห่วงโซ่อุปทาน และพิจารณาผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมที่เป็นระดับชุมชน ระดับประเทศ และระดับโลก โดยการทำงานด้านการประเมินดังกล่าวจะใช้เทคโนโลยีและคอมพิวเตอร์มามีส่วนช่วยมากขึ้น เพื่อให้สามารถเชื่อมโยงผลกระทบได้ทั้งระบบ
        แนวโน้มที่แปด โลกจะได้รับผลกระทบมากขึ้นจากการขยายตัวของเมืองและประชากรที่เข้าไปใช้ประโยชน์หรือทำลายทรัพยากรธรรมชาติมากขึ้นการเพิ่มขึ้นของประชากรในทุกมุมโลก หมายถึงจำนวนผู้บริโภคจะมีเพิ่มมากขึ้น มลภาวะมากขึ้น ซึ่งทำให้แนวโน้มและความจำเป็นในการใช้กรีนคอนเซปต์ต้องทำอย่างจริจังมากขึ้นประชากรของโลกเพิ่มขึ้นจนผ่านระดับ 6,000 ล้านคนเมื่อปี 2000 และคาดว่าจะเพิ่มเป็น 7,800 ล้านคนในปี 2020การเปลี่ยนแปลงที่อยู่ของประชากรออกไปตามการขยายตัวของครอบครัว ทำให้สิ่งอำนวยความสะดวก สาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานขยายตามออกไปด้วย
        แนวโน้มที่เก้า ความก้าวหน้าและใช้ชีวิตอยู่บนเทคโนโลยี สารสนเทศ และการสื่อสาร ทำให้การติดต่อสื่อสารถึงกันทำได้ผ่านระบบรีโมต และทางไกล ไม่ต้องการการเดินทางไปพบกันแบบเผชิญหน้า ค่าใช้จ่ายในการเดินทางหรือการเคลื่อนที่ทางกายภาพจึงมีแนวโน้มที่จะลดลง รวมไปถึงการทำงานจากที่พักอาศัยแทนการออกไปตั้งต้นงานที่สำนักงานหรือในออฟฟิศที่ห่างไกลการพัฒนาการแบบนี้ สนับสนุนแนวคิดของกรีนคอมเซปต์โดยไม่ตั้งใจ แต่เป็นไปอย่างมีประสิทธิผล
        แนวโน้มที่สิบ อาคารบนแนวคิดกรีนจะเพิ่มขึ้น จากการที่สถาปัตย์และนักออกแบบอาคารได้คำนึงถึงรูปแบบการทำงานของอาคารที่จะช่วยลดภาวะโลกร้อนมากขึ้นอาคารสมัยใหม่จึงพิจารณาการบริหารจัดการความอบอุ่นหรือความร้อนภายในอาคาร การลดการใช้ไฟฟ้าในการให้แสงสว่างแต่ให้อาคารมีแสงสว่างที่เพียงพอเอง และใช้ระบบการบริหารจัดการน้ำแบบใช้หมุนเวียนซ้ำการพัฒนาในเรื่องอาคารนี้ได้ขยายวงออกไปเป็นเรื่องของ กรีนซิตี้ หรือ อีโค ซิตี้ ไม่ใช่เพียงระดับของหมุ่บ้านหรือชุมชนเท่านั้นเรื่องนี้มีอิทธิพลต่อการวางผังและการปรับปรุงผังเมืองใหม่ให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น เช่น การกำหนดพื้นที่สีเขียวเป็นภาคบังคับ การจัดพื้นที่ที่รองรับอากาศบริสุทธิ์ในชุมชนเป็นที่คาดหมายกันว่า กฎเกณฑ์ที่เข้มงวดเกี่ยวกับอาคารแบบกรีนนี้จะเริ่มนำออกมาใช้ในอนาคตอันใกล้นี้ ทำให้อาคารสร้างใหม่ต้องพัฒนาระบบพลังงานทางเลือก โดยเฉพาะพลังงานโซลาร์ รวมทั้งพลังงานลม


ข้อมูลจาก ดร.พิพัฒน์  ยอดพฤติการณ์ บล็อกธุรกิจ CEO






 


นางสาวทุเรียน ยศเหลา รหัส 5130125401220 การจัดการทั่วไป รุ่น 19


บทที่11
การบริหารการจัดการธุรกิจสีเขียวและการวิเคราะห์ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิต
ความเห็นของแบทเทลล์(Battelle)ได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับ10อันดับแนวโน้มของกรีนในอนาคดังนี้
แนวโน้มแรก การเพิ่มขึ้นของการใช้พลังงานยั่งยืนและหมุนเวียนใช้ใหม่สำหรับเครื่องปั่นไฟฟ้าใช้ อันเนื่องมาจากการเติบโตของประชากร รวมถึงการขยายตัวออกไปของตัวเมือง โดยเฉพาะในจีนและอินเดีย จะทำให้เกิดความต้องการใช้ไฟฟ้ามากขึ้น และไฟฟ้าควรจะเป็นพลังงานสะอาด หาไม่ได้มาจากการเผาเหมืองถ่านหิน หรือการสร้างมลภาวะ และแก๊สเรือนกระจก      
พลังงานในปี 2012 จะเพิ่มความสนใจในพลังงานลม พลังงานโซลาร์ เซลล์เชื้อเพลิงเหลว เชื้อเพลงจากไบโอเทคโนโลยีการเผาถ่านที่ทำให้โลกสะอาด    
แนวโน้มที่สอง การบริหารทรัพยากรน้ำ ด้วยการใช้ซ้ำและรีไซเคิลน้ำมาใช้ใหม่ เป็นอีกหนึ่งของความพยายามจะประหยัดน้ำที่ใช้ในการอุปโภคบริโภคไว้ให้มากที่สุดที่เริ่มมีความสำคัญมากขึ้นในวงการกรีนตามลำดับ การดำเนินการเรื่องนี้มีความเป็นไปได้มากน้อยเพียงใดขึ้นกับความก้าวหน้าของเทคโนโลยี จนทำให้ได้เทคโนโลยีใหม่ๆ ในการบริหารจัดการน้ำได้มีประสิทธิผลมากขึ้น ควบคู่กับการปรับปรุงคุณภาพของน้ำดื่มน้ำใช้ ทำให้พี้นที่แห้งแล้งและอยู่อาศัยไม่ได้ในโลกลดลง และการตั้งโรงงานบำบัดเพื่อบริหารจัดการกับบรรดาน้ำทิ้งจากอาคารบ้านเรือน      
แนวโน้มที่สาม การออกกฎหมายและนโยบายในการควบคุมการสร้างคาร์บอน เป็นการพยายามใช้เกณฑ์ภาคบังคับผสมกับความสมัครใจในการควบคุมระดับการสร้างคาร์บอนในระดับประเทศ โดยการลงนามร่วมกันของผู้บริหารประเทศและระหว่างรัฐบาลของประเทศต่าง ๆ      
ในระยะต่อไป อาจมีการออกกฎหมายที่ควบคุมการระดับการสร้างคาร์บอนของรถยนต์แต่ละคันที่วิ่งอยู่บนท้องถนน หรือการเก็บภาษีรถที่สร้างคาร์บอน เพื่อให้การควบคุมคาร์บอนอยู่บนมาตรฐานเดียวกันทั่วทั้งโลกการพัฒนาความเข้มงวดของกฎหมายน่าจะทำให้การผลิตสินค้าสะอาด และระบบพลังงานในรถยนต์เปลี่ยนแปลงไปอย่างถาวร      
แนวโน้มที่สี่ คือ การเกิดธุรกิจที่ใช้โมเดลเกี่ยวข้องกับกรีนอย่างเต็มรูปแบบ ซึ่งที่ผ่านมาได้เกิดสภาวการณ์นี้แล้ว โดยเป็นกิจการที่คำนึงถึงสังคม ใช้โมเดลการดำเนินงานแบบกรีนครบวงจร และขายกรีนโปรดักส์ของตนให้กับสังคม โดยยังสามารถเลี้ยงชีพและดำรงกิจการอยู่ได้    
การดำเนินงานของกิจการเหล่านี้ใช้เทคโนโลยีสะอาดในการดำเนินงานทั้งหมดและถ่ายนทอดลงไปสู่ผู้ประกอบการรายอื่น เช่น รับบริหารการสูญเปล่าด้านอุตสาหกรรม และการใช้พลังงานที่สิ้นเปลืองน้อยลง โดยผู้ประกอบการที่ลงทุนซื้อเทคโนโลยีกรีนเหล่านี้ก็จะได้ประโยชน์ด้วย    
แนวโน้มที่ห้า การขนส่งและคมนาคมที่เป็นกรีน เนื่องจากไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของแก๊สเรือนกระจกมาจากรถยนต์ การสร้างรถยนต์มากขึ้นก็คือการสร้างคาร์บอนมากขึ้นด้วย      
แนวโน้มส่วนนี้จึงเป็นการเน้นที่จะพัฒนาพลังงานหมุนเวียนและพลังงานยั่งยืนเพื่อให้กับรถยนต์ รวมทั้งอีเธอนอล และพลังงานไบโอทั้งหลาย ที่มีการสำรวจและวิจัยกันมากมาย และคาดว่าจะมีบทบาทมากขึ้นเรื่อยๆ ในอนาคตในอนาคตรถยนต์พลังงานผสมหรือไฮบริด รถยนต์ไฟฟ้า จึงเป็นสิ่งที่จะปรากฏโฉมในท้องถนนมากขึ้น      
แนวโน้มที่หก การเพิ่มขึ้นของกรีนโปรดักส์ในท้องตลาดที่มีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นจากปัจจุบัน จากการเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้ประกอบการกรีนโปรดักส์ และการเติบโตอย่างต่อเนื่องของผู้บริโภคที่เป็นกรีน ชอปปิ้ง ซึ่งการกระจายตัวของตลาดจะทำให้ราคาต่อหน่วยของสินค้ากรีนโปรดักส์น่าจะลดลงตามลำดับ      
แนวโน้มที่เจ็ด การพัฒนาแนวคิดเชิงระบบ (System Approach) ในการวิเคราะห์ผลกระทบของการผลิตต่อสภาพแวดล้อมเพื่อให้การวัดและประเมินผลกระทบได้อย่างแม่ยำมากขึ้น    
แต่เดิมประเด็นนี้มีการพิจารณาแต่เพียงในระดับของท้องที่ด้วยการประเมินตัวผลิตภัณฑ์ กระบวนการผลิต และโรงงานผลิตว่ากระทบต่อคุณภาพของสิ่งแวดล้อมอย่างไร แต่ในปี 2012 มุมมองจะเปิดกว้างมากขึ้น ตั้งแต่การผลิต การจัดจำหน่ายสินค้า และการบริโภคตลอดวิถีทางทางการตลาดและกำลังจะขยายต่อไปในระดับภาคอุตสาหกรรมและระดับมหภาค ซึ่งเป็นการพิจารณาทั้งระบบตลอดห่วงโซ่อุปทาน และพิจารณาผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมที่เป็นระดับชุมชน ระดับประเทศ และระดับโลก โดยการทำงานด้านการประเมินดังกล่าวจะใช้เทคโนโลยีและคอมพิวเตอร์มามีส่วนช่วยมากขึ้นเพื่อให้สามารถเชื่อมโยงผลกระทบได้ทั้งระบบ    
แนวโน้มที่แปด โลกจะได้รับผลกระทบมากขึ้นจากการขยายตัวของเมืองและประชากรที่เข้าไปใช้ประโยชน์หรือทำลายทรัพยากรธรรมชาติมากขึ้น      
การเพิ่มขึ้นของประชากรในทุกมุมโลก หมายถึงจำนวนผู้บริโภคจะมีเพิ่มมากขึ้น มลภาวะมากขึ้น ซึ่งทำให้แนวโน้มและความจำเป็นในการใช้กรีนคอนเซปต์ต้องทำอย่างจริงจังมากขึ้น      
ประชากรของโลกเพิ่มขึ้นจนผ่านระดับ 6,000 ล้านคนเมื่อปี 2000 และคาดว่าจะเพิ่มเป็น 7,800 ล้านคนในปี 2020การเปลี่ยนแปลงที่อยู่ของประชากรออกไปตามการขยายตัวของครอบครัว ทำให้สิ่งอำนวยความสะดวกสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานขยายตามออกไปด้วย    
แนวโน้มที่เก้า ความก้าวหน้าและใช้ชีวิตอยู่บนเทคโนโลยี สารสนเทศ และการสื่อสาร ทำให้กาติดต่อสื่อสารถึงกันทำได้ผ่านระบบรีโมตและทางไกลไม่ต้องการการเดินทางไปพบกันแบบเผชิญหน้า ค่าใช้จ่ายในการเดินทางหรือการเคลื่อนที่ทางกายภาพจึงมีแนวโน้มที่จะลดลง รวมไปถึงการทำงานจากที่พักอาศัยแทนการออกไปตั้งต้นงานที่สำนักงานหรือในออฟฟิศที่ห่างไกล      
การพัฒนาการแบบนี้สนับสนุนแนวคิดของกรีนคอมเซปต์โดยไม่ตั้งใจแต่เป็นไปอย่างมีประสิทธิผล
       
แนวโน้มที่สิบอาคารบนแนวคิดกรีนจะเพิ่มขึ้นจากการที่สถาปัตย์และนักออกแบบอาคารได้คำนึงถึงรูปแบบการทำงานของอาคารที่จะช่วยลดภาวะโลกร้อนมากขึ้น    
อาคารสมัยใหม่จึงพิจารณาการบริหารจัดการความอบอุ่นหรือความร้อนภายในอาคาร การลดการใช้ไฟฟ้าในการให้แสงสว่างแต่ให้อาคารมีแสงสว่างที่เพียงพอเอง และใช้ระบบการบริหารจัดการน้ำแบบใช้หมุนเวียนซ้ำ      
การพัฒนาในเรื่องอาคารนี้ได้ขยายวงออกไปเป็นเรื่องของ กรีนซิตี้ หรือ อีโค ซิตี้ ไม่ใช่เพียงระดับของหมุ่บ้านหรือชุมชนเท่านั้น       เรื่องนี้มีอิทธิพลต่อการวางผังและการปรับปรุงผังเมืองใหม่ให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น เช่น การกำหนดพื้นที่สีเขียวเป็นภาคบังคับการจัดพื้นที่ที่รองรับอากาศบริสุทธิ์ในชุมชน      
เป็นที่คาดหมายกันว่ากฎเกณฑ์ที่เข้มงวดเกี่ยวกับอาคารแบบกรีนนี้จะเริ่มนำออกมาใช้ในอนาคตอันใกล้นี้ทำให้อาคารสร้างใหม่ต้องพัฒนาระบบพลังงานทางเลือก โดยเฉพาะพลังงานโซลารวมทั้งพลังงานลม

www.wise kncw.com






           
       

น.ส. สมใจ มูลพงษ์ 5130125401226 การจัดการทั่วไป กศ.พบ รุ่น 19 หมู่ 1


บทที่ 9 การบริหารการเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาอย่างยั่งยืน

การพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืน
การพัฒนาองค์กร (Organization Development)
หรือที่นิยมเรียกกันว่า OD เป็นเครื่องมือที่ถูกนำมาใช้ในการบริหารและพัฒนาองค์กรเพื่อให้องค์กรสามารถปรับตัวและแก้ไขปัญหา ก้าวทันการเปลี่ยนแปลง พร้อมสร้างความเข้มแข็งให้กับองค์กรอย่างเป็นระบบและเป็นรูปธรรมมากขึ้น
ได้มีนักวิชาการหลายท่านได้เคยให้ความหมายเกี่ยวกับการพัฒนาองค์กรไว้หลายแนวความคิดด้วยกัน ตัวอย่างเช่น
1. การพัฒนาองค์กร คือ ความพยายามอย่างมีแผน ที่มุ่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมขององค์กร เป็นความพยายามที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงระบบขององค์กร ทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ ควรมุ่งเน้นที่การเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมขององค์กรเป็นหลัก ไม่ใช่การมุ่งเน้นที่การเปลี่ยนแปลงของบุคคล แต่การเปลี่ยนแปลงของบุคคลที่เกิดขึ้นเป็นผลพลอยได้ของการเปลี่ยนแปลง วัฒนธรรมขององค์กร
2. การพัฒนาองค์กร คือ กระบวนการปรับปรุงองค์กรให้กลับสู่สภาวะใหม่ที่เหมือนเดิมหรือดีกว่าเดิมโดย มุ่งที่ความกล้าในการยอมรับการเปลี่ยนแปลง เน้นให้องค์กรมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ที่จะนำเอาความใหม่และแปลกทั้งทางด้านเทคนิค วิทยาการ และทรัพยากรมนุษย์ที่มีค่ามาสู่องค์กร
3. การพัฒนาองค์กร คือ กระบวนการปรับปรุงประสิทธิภาพขององค์กร โดยใช้การวิจัยเชิงแก้ปัญหา ซึ่งมีลักษณะเป็นกระบวนการการแก้ปัญหาอย่างมีระบบเชิงวิทยาศาสตร์ ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้
1. การวิเคราะห์ปัญหาเบื้องต้นขององค์กร
2. การเก็บรวบรวมข้อมูลจากองค์กร
3. การป้อนข้อมูลย้อนกลับให้แก่องค์กร
4. สำรวจปัญหาขององค์กรจากข้อมูลที่ได้รับทั้งหมด
5. วางแผนปฏิบัติการ
6. ลงมือปฏิบัติการ

จากความหมายข้างต้น สรุปได้ว่า การ พัฒนาองค์กร หมายถึง ความพยายามอย่างมีแผนและต่อเนื่อง เพื่อก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั่วทั้งระบบ โดยมุ่งเน้นการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมขององค์กรเพื่อการเพิ่มประสิทธิภาพและ ประสิทธิผลขององค์าร ทั้งนี้ ต้องได้รับความเห็นชอบและสนับสนุนจากผู้บริหารระดับสูงและต้องใช้เครื่องมือ และเทคนิคทางด้านพฤติกรรมศาสตร์ ประกอบกระบวนการวิจัยเชิงแก้ปัญหาเป็นแม่แบบ

องค์ประกอบหลักของการพัฒนาองค์กร (Organization Development )

1.มีพื้นฐานทางด้านสังคมศาสตร์
แม้ว่าปัจจุบันเทคนิคการพัฒนาองค์กรได้ขยายตัวและบูรณาการเข้ากับเทคนิคการบริหารอื่นๆ เช่นการบัญชีและการเงิน การปรับปรุงเทคโนโลยีสำนักงานและการดำเนินการ เป็นต้น แต่ไม่ว่าเราจะพัฒนาองค์กรไปในรูปแบบใดเราก็ต้องประยุกต์โดยการนำความเข้าใจและหลักทางสังคมศาสตร์และมนุษย์สัมพันธ์มาประยุกต์เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นในทิศทางที่ต้องการ
2.ให้ความสำคัญกับการพัฒนาสมาชิกขององค์กร
โดยหลักการเชื่อว่ามนุษย์ทุกคน มีความสามารถและต้องการจะมีสภาพชีวิตที่ดี ดังนั้นผู้บริหารจะต้องจัดโครงสร้างองค์กร ระบบงาน และบรรยากาศที่สร้างความพอใจในการทำงาน และพร้อมเปิดโอกาสให้พนักงานมีความก้าวหน้า และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง
3.เพิ่มความสามารถในการทำงานขององค์กร
การพัฒนาองค์กร จะศึกษาและวิเคราะห์ปัญหาเพื่อกำหนดแนวทางในการปรับปรุงและแก้ไขปัญหาในระดับต่างๆ ขององค์กร ตั้งแต่ระดับบุคคล หน่วยงานหรือองค์กร เพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงขึ้นสาเหตุที่องค์กรต่างๆ ต้องทำการพัฒนา

สาเหตุที่องค์กรต่างๆ ต้องทำการพัฒนา
1. ความซับซ้อนและความหลากหลายขององค์กร
การเปลี่ยนแปลงและความก้าวหน้าในสังคมปัจจุบัน ทำให้องค์กรหลายแห่งต้องปรับตัวจนมีโครงสร้างที่ซับซ้อน และมีรูปแบบที่หลากหลายขึ้น ซึ่งเราจะเห็นรูปแบบการปรับตัวในระดับต่างๆ เช่น การรื้อปรับระบบ (Reengineering) การแตกออกเป็นหน่วยธุรกิจย่อย (Business Unit) การลดระดับการบังคับบัญชา (Delayering) หรือการลดขนาดองค์กร (Downsizing) เป็นต้น ทำให้มีการปรับเปลี่ยนระบบและวิธีการทำงาน ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อบุคลากรที่ปฏิบัติทั้งในเชิงกายภาพและจิตใจ ทำให้ฝ่ายบริหารไม่เพียงแต่ต้องตัดสินใจเปลี่ยนโครงสร้างขององค์กร แต่จะต้องสามารถวางแผนและทำการพัฒนาองค์กร เพื่อเตรียมความพร้อมให้แก่ทั้งบุคคลและองค์กร
2. พลวัตของสภาพแวดล้อม
การขยายตัวและเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมภายนอก เช่น เศรษฐกิจ สังคมวัฒนธรรม การเมือง เทคโนโลยี และโลกาภิวัตน์ ตลอดจนสภาพแวดล้อมในการดำเนินงานต่างๆ เช่น ลูกค้า คู่แข่งขัน ต่างก็มีอิทธิพลต่อการดำรงอยู่ของทั้งองค์กรและบุคลากร ประกอบกับแผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในระดับมหภาคของประเทศ ที่ให้ความสำคัญกับคุณภาพชีวิตของประชากร ได้สร้างแรงผลักดันให้องค์กรธุรกิจต้องปรับตัวและดำเนินงานเพื่อตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐานของแรงงานเพื่อให้มีคุณภาพชีวิตการทำงานที่ดีขึ้น
3. ความยืดหยุ่นและการตอบสนองต่อปัญหา
องค์กรต้องมีความยืดหยุ่นต่อแรงกดดันและสามารถตอบสนองต่อปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว ถูกต้อง และเหมาะสม เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงและความผันผวนของสภาพแวดล้อม อาจสร้างโอกาสหรืออุปสรรคให้แก่องค์กรได้ โดยโอกาสและอุปสรรคที่เกิดขึ้นอาจจะมีรูปแบบที่แตกต่างจากอดีต ทำให้องค์กรต้องสามารถตอบสนองต่อปัญหาได้อย่างเป็นระบบและตรงประเด็น ซึ่งต้องอาศัยความรู้ความสามารถและความพร้อมขององค์กร ในการรับรู้และตระหนักถึงปัญหา การวิเคราะห์สาเหตุ และการแก้ไขที่ถูกต้อง ผ่านทางทรัพยากรมนุษย์ที่มีศักยภาพ และเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างตนเอง กลุ่ม องค์กร และสภาพแวดล้อมอย่างดี
4. แรงผลักดันของเทคโนโลยี
ปัจจุบันเทคโนโลยีเป็นปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพ และประสิทธิผลในการทำงานของธุรกิจ การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีในอุตสาหกรรมทำให้องค์กรต้องปรับเปลี่ยนเทคโนโลยีของตนเอง เพื่อให้สามารถทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลทัดเทียมหรือเหนือกว่าองค์กรอื่นๆ มิเช่นนั้นก็จะถูกคู่แข่งขันแซงหน้า และอาจจะต้องออกจากการแข่งขันไปในที่สุด ซึ่งเราสมควรให้ความสนใจกับเทคโนโลยีด้านต่างๆ ดังนี้
4.1 เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) หรือ IT ได้แก่ คอมพิวเตอร์ ชุดคำสั่ง อุปกรณ์สื่อสาร และระบบ Internet จะเป็นกลจักรสำคัญในการสร้างประสิทธิภาพ และความคล่องตัวให้แก่องค์กร ผ่านระบบการจัดการข้อมูลที่เหมาะสม ที่ช่วยให้การตัดสินใจแก้ไขปัญหามีความถูกต้องและเหมาะสมกับข้อจำกัดของสถานการณ์
4.2 เทคโนโลยีการผลิตและการปฏิบัติงาน (Production/Operations Technology) เป็นเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่ช่วยให้การผลิตมีประสิทธิภาพ และผลผลิตสูงขึ้น ตลอดจนช่วยในการปฏิบัติงานของบุคคลให้สะดวกและรวดเร็วมากขึ้น ซึ่งจะส่งผลต่อการเพิ่มผลิตภาพ (Productivity) ในการดำเนินงานของธุรกิจ
4.3 เทคโนโลยีการบริหารงาน (Management Technology) เป็นเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่ช่วยให้การทำงานขององค์กรมีประสิทธิภาพ ทั้งในด้านการวางแผน การปฏิบัติการ และการควบคุม เช่น Benchmarking การบริหารคุณภาพโดยรวม (Total Quality Management : TQM ) หรือ การรื้อปรับระบบ (Reengineering) เป็นต้น โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาทั้งโครงสร้างและการทำงานขององค์กรให้ก้าวหน้าและทันสมัย ซึ่งจะช่วยสร้างความได้เปรียบเหนือคู่แข่งขัน
เราจะเห็นว่า พัฒนาการและการใช้งานเทคโนโลยีทั้งสามด้านอย่างเหมาะสมจะมีอิทธิพล และช่วยเร่งการพัฒนาผลิตภาพ (Productivity) รวมขององค์กร ดังนั้นการที่เราจะสามารถใช้เทคโนโลยีได้อย่างถูกต้อง และลงตัวจะต้องอาศัยทรัพยากรมนุษย์ที่ไม่เพียงแต่มีความรู้ในงานที่ตนทำ แต่จะต้องสามารถใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่องค์กร โดยสามารถประสานประโยชน์และสร้างสมดุลระหว่างงานและระบบให้ได้อย่างเต็มที่
5. การตื่นตัวด้านจริยธรรมและความรับผิดชอบต่อสังคม
นอกจากแรงผลักดันของกระแสการดำเนินงาน และปัจจัยแวดล้อมภายนอก ดังที่กล่าวมาแล้ว ผู้บริหารในองค์กรต่างๆ ยังจะต้องตื่นตัวและให้ความสำคัญกับการดำเนินงานอย่างมีจริยธรรม ซื่อสัตย์ และรับผิดชอบต่อสังคม สิ่งแวดล้อม ลูกค้าและพนักงาน โดยเฉพาะพนักงานซึ่งเป็นส่วนประกอบที่สำคัญอันดับหนึ่งขององค์กร ที่สมควรได้รับการปฏิบัติอย่างเป็นธรรม และมีมนุษยธรรม เพื่อให้เขามีความพอใจ และเต็มใจปฏิบัติงานที่ตนได้รับมอบหมายอย่างเต็มความสามารถและเสียสละให้แก่องค์กร โดยพร้อมจะปฏิบัติงานอื่นที่อยู่นอกเหนือขอบเขตการทำงานของตน เพื่อให้องค์กรก้าวไปข้างหน้าได้อย่างมั่นคงความหมายและแนวคิดของการพัฒนาองค์กร

อ้างอิงจาก :  http://www.lib.ubu.ac.th/qa-km/?p=147

บทที่ 10 การแข่งขันในตลาดโลกและการปรับตัวเพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน

การแข่งขันในตลาดโลกที่ต้องแข่งทั้งปริมาณและคุณภาพในส่วนของการตลาดระดับประเทศนั้น การแสวงหาตลาดใหม่ยังเป็นปัญหาอยู่ เนื่องจากเรามีคู่แข่งอยู่มาก แม้ว่าเราจะมีความพร้อมหลายด้าน แต่การหาโอกาสในการเข้าไปเจาะตลาดที่มีศักยภาพยังทำได้ไม่มาก
การเป็นเพียงแหล่งรับช่วงการผลิต ไม่อาจทำรายได้ให้กับประเทศอย่างเพียงพอ และทำให้ประเทศขาดโอกาสในการพัฒนาและการต่อรองมากกว่าการเป็นผู้ผลิตเอง ในส่วนนี้จำเป็นต้องมีการปรับหรือทบทวนยุทธศาสตร์การตลาดและการผลิตใหม่
การเร่งสร้างผลิตภัณฑ์ที่ตอบการดำเนินชีวิตผู้บริโภคแบบใหม่ให้ได้ โดยใช้ความคิดเชิงสร้างสรรค์ผสมผสานกับจุดเด่น ทั้งในเชิงวัฒนธรรม วัตถุดิบ ทักษะ ความชำนาญ และเอกลักษณ์เฉพาะตัวการวางตำแหน่ง / จุดยืนที่ชัดเจนของแบรนด์ที่ชัดเจนของไทยให้มากขึ้น
เศรษฐกิจแบบสร้างสรรค์มูลค่า(Value Creation Economy)
ท่ามกลางภาวะการแข่งขันในตลาดโลกที่รุนแรงขึ้นเรื่อยๆ หลายประเทศกำลังเผชิญกับ อันตรายของระบบเศรษฐกิจแบบอุตสาหกรรมที่เน้นค่าแรงราคาถูก ในการผลิตสินค้าที่เหมือนกัน คราวละมากๆ สำหรับประเทศไทย เรามีทางเลือกอยู่สองทาง คือเลือกที่จะยังคงแข่งขันในตลาด สินค้าอุตสาหกรรม ซึ่งคงต้องมุ่งหาความได้เปรียบทางการแข่งขัน ด้วยการลดต้นทุนให้ต่ำลง หรือเพิ่มผลกำไรโดยใช้เทคโนโลยีและนำเครื่องจักรมาใช้แทนแรงงานคน ซึ่งจะทำให้ฐานะทางเศรษฐกิจ เติบโตขึ้น แต่มีความเสี่ยงที่จะเกิดอัตราการว่างงานสูงขึ้นในส่วนของแรงงานไร้ทักษะ หรือเราจะเลือกวิธีที่จะสร้างระบบเศรษฐกิจที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของการสร้างสรรค์มูลค่า ไม่ใช่แค่การเพิ่มมูลค่า? เพื่อรักษาขีดความสามารถในการแข่งขัน การทำความเข้าใจว่าทำไมจะต้องหันมาให้ ความสนใจกับระบบเศรษฐกิจแบบสร้างสรรค์มูลค่า แล้วจะเริ่มจากจุดไหน และจะเริ่มอย่างไร น่าจะเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพที่สุดในการหันมามองว่า อะไรคือสิ่งที่เป็นจุดเด่นและเอกลักษณ์ของเรา พอที่จะสามารถนำไปใช้เป็นรากฐานเพื่อให้เศรษฐกิจของเราก้าวไปอย่างมั่นคงและ ยั่งยืน

การชุมนุมทางความคิดในครั้งนี้จึงมุ่งที่จะรวบรวมความรู้ที่ไม่เพียงช่วยให้ ประเทศไทยอยู่รอด แต่ต้องสามารถฟันฝ่าภาวะการแข่งขันที่รุนแรงในศตวรรษที่ 21 ไปได้ ด้วยการให้ความสำคัญอย่างยิ่งยวดกับเศรษฐกิจแบบสร้างสรรค์มูลค่า

อ้างอิงจาก
http://www.tcdc.or.th/symposium/creativitiesunfold/index_06-th.html
http://www.hitintrend.com/article/2012-%e0%b8%9b%e0%b8%b5%e0%b9%81%e0%b8%ab%e0%b9%88%e0%b8%87%e0%b8%84%e0%b8%a7%e0%b8%b2%e0%b8%a1%e0%b8%97%e0%b9%89%e0%b8%b2%e0%b8%a2%e0%b8%97%e0%b8%b2%e0%b8%a2/

 บทที่ 11 การบริหารจัดการธุรกิจสีเขียวและการวิเคราะห์ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และคุณภาพชีวิต
กรีนไลฟ์สไตล์
     
  กรีนไลฟ์สไตล์หมายถึงการดำรงชีวิตประจำวันแบบกรีน โดยเฉพาะความพยายามดูแลสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอ ไม่เจ็บไม่ไข้ เพื่อจะได้ไม่ต้องจ่ายเงินประกันสุขภาพที่แพงขึ้น และการเก็บภาษีด้านการรักษาพยาบาลมากขึ้น พร้อมกับเพิ่มความตั้งใจในการลดการเบียดเบียนโลกและสิ่งแวดล้อม
        แนวคิดแบบนี้ จึงเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามจะประหยัด พร้อมทั้งเยียวยาสุขภาพร่างกายให้สมบูรณ์ แข็งแรงมากขึ้น พร้อมกับแรงบันดาลใจในการบริโภคให้น้อยลง รายจ่ายการบริโภคลดลง จะได้ลดการเบียดเบียนธรรมชาติลง และเอาเวลาที่เคยกินๆ นอนๆ ไปทำสิ่งที่เป็นสาระอย่างอื่นแทน
        ความตั้งใจเหล่านี้มีโอกาสเกิดผลสำเร็จได้มากขึ้นในปี 2012 เพราะผู้คนได้มีการเรียนรู้ว่าการมีสุขภาพที่ดีต้องทำอย่างไร และการใช้ชีวิตแบบเลี่ยงความเสี่ยงจะต้องไม่ทำอะไรบ้างที่อาจนำไปสู่เหตุการณ์ความเสี่ยง
เศรษฐกิจแบบกรีน
        แนวโน้มที่เห็นได้ชัดเจนขึ้นคือทั้งบุคคลธรรมดาและกิจการห้างร้านจะหันไปเลือกการลงทุนและทุ่มแวลาและงบประมาณเพื่อกิจกรรมที่เป็นความรับผิดชอบต่อสังคมหรือ CSR มากขึ้น ในส่วนของผู้ประกอบการ การพัฒนารูปแบบการดำเนินงานแบบกรีนมากขึ้น ถูกมองว่าจะช่วยในการสร้างความได้เปรียบด้านการแข่งขันที่ใช้กับคู่แข่งขันได้ ยกระดับคุณธรรมของบุคลากร ยกระดับสภาพแวดล้อมการทำงานให้บุคลากรมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สามารถลดค่าใช้จ่ายดำเนินงานด้านพนักงานและเพิ่มประสิทธิภาพ จนทำให้ผลการประกอบการดีขึ้น ทำให้สาธารณชนตระหนักว่ากิจการให้ความสำคัญกับการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมและใส่ใจในสินค้าและบริการที่วางจำหน่าย เพื่อตอบสนองผู้บริโภคที่ใส่ใจกับการเลือกสินค้ามากขึ้น
        นอกจากกิจการที่เป็นผู้ผลิตแล้ว กิจการค้าปลีกของโลกจะขยับใช้กรีนโมเดลกันมากขึ้นในปี 2012 ต่อเนื่องจากปีที่แล้ว อย่างเช่น ห้างวอลมาร์ทได้กำหนดให้กิจการคู่ค้าที่ผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคส่งให้ตนต้องตอบคำถามด้านกรีน 15 ข้อ เพื่อประเมินว่าได้มีส่วนร่วมในการพัฒนากรีนโปรดักส์อย่างเพียงพอหรือไม่
ตามความเห็นของแบทเทลล์ (Battelle) ได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับ 10 อันดับแนวโน้มของกรีนในอนาคต ดังนี้
        แนวโน้มแรก การเพิ่มขึ้นของการใช้พลังงานยั่งยืนและหมุนเวียนใช้ใหม่สำหรับเครื่องปั่นไฟฟ้าใช้ อันเนื่องมาจากการเติบโตของประชากร รวมถึงการขยายตัวออกไปของตัวเมือง โดยเฉพาะในจีนและอินเดีย จะทำให้เกิดความต้องการใช้ไฟฟ้ามากขึ้น และไฟฟ้าควรจะเป็นพลังงานสะอาด หาไม่ได้มาจากการเผาเหมืองถ่านหิน หรือการสร้างมลภาวะ และแก๊สเรือนกระจก
        พลังงานในปี 2012 จะเพิ่มความสนใจในพลังงานลม พลังงานโซลาร์ เซลล์เชื้อเพลิงเหลว เชื้อเพลงจากไบโอ เทคโนโลยีการเผาถ่านที่ทำให้โลกสะอาด
        แนวโน้มที่สอง การบริหารทรัพยากรน้ำ ด้วยการใช้ซ้ำและรีไซเคิลน้ำมาใช้ใหม่ เป็นอีกหนึ่งของความพยายามจะประหยัดน้ำที่ใช้ในการอุปโภคบริโภคไว้ให้มากที่สุด ที่เริ่มมีความสำคัญมากขึ้นในวงการกรีนตามลำดับ
        การดำเนินการเรื่องนี้มีความเป็นไปได้มากน้อยเพียงใดขึ้นกับความก้าวหน้าของเทคโนโลยี จนทำให้ได้เทคโนโลยีใหม่ๆ ในการบริหารจัดการน้ำได้มีประสิทธิผลมากขึ้น ควบคู่กับการปรับปรุงคุณภาพของน้ำดื่มน้ำใช้ ทำให้พี้นที่แห้งแล้งและอยู่อาศัยไม่ได้ในโลกลดลง และการตั้งโรงงานบำบัดเพื่อบริหารจัดการกับบรรดาน้ำทิ้งจากอาคารบ้านเรือน
        แนวโน้มที่สาม การออกกฎหมายและนโยบายในการควบคุมการสร้างคาร์บอน เป็นการพยายามใช้เกณฑ์ภาคบังคับผสมกับความสมัครใจในการควบคุมระดับการสร้างคาร์บอนในระดับประเทศ โดยการลงนามร่วมกันของผู้บริหารประเทศและระหว่างรัฐบาลของประเทศต่าง ๆ
        ในระยะต่อไป อาจมีการออกกฎหมายที่ควบคุมการระดับการสร้างคาร์บอนของรถยนต์แต่ละคันที่วิ่งอยู่บนท้องถนน หรือการเก็บภาษีรถที่สร้างคาร์บอน เพื่อให้การควบคุมคาร์บอนอยู่บนมาตรฐานเดียวกันทั่วทั้งโลก
        การพัฒนาความเข้มงวดของกฎหมายน่าจะทำให้การผลิตสินค้าสะอาด และระบบพลังงานในรถยนต์เปลี่ยนแปลงไปอย่างถาวร
        แนวโน้มที่สี่ คือ การเกิดธุรกิจที่ใช้โมเดลเกี่ยวข้องกับกรีนอย่างเต็มรูปแบบ ซึ่งที่ผ่านมาได้เกิดสภาวการณ์นี้แล้ว โดยเป็นกิจการที่คำนึงถึงสังคม ใช้โมเดลการดำเนินงานแบบกรีนครบวงจร และขายกรีนโปรดักส์ของตนให้กับสังคม โดยยังสามารถเลี้ยงชีพและดำรงกิจการอยู่ได้
        การดำเนินงานของกิจการเหล่านี้ใช้เทคโนโลยีสะอาดในการดำเนินงานทั้งหมดและถ่ายนทอดลงไปสู่ผู้ประกอบการรายอื่น เช่น รับบริหารการสูญเปล่าด้านอุตสาหกรรม และการใช้พลังงานที่สิ้นเปลืองน้อยลง โดยผู้ประกอบการที่ลงทุนซื้อเทคโนโลยีกรีนเหล่านี้ก็จะได้ประโยชน์ด้วย
        แนวโน้มที่ห้า การขนส่งและคมนาคมที่เป็นกรีน เนื่องจากไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของแก๊สเรือนกระจกมาจากรถยนต์ การสร้างรถยนต์มากขึ้นก็คือการสร้างคาร์บอนมากขึ้นด้วย
        แนวโน้มส่วนนี้จึงเป็นการเน้นที่จะพัฒนาพลังงานหมุนเวียนและพลังงานยั่งยืนเพื่อให้กับรถยนต์ รวมทั้งอีเธอนอล และพลังงานไบโอทั้งหลาย ที่มีการสำรวจและวิจัยกันมากมาย และคาดว่าจะมีบทบาทมากขึ้นเรื่อยๆ ในอนาคต
ในอนาคตรถยนต์พลังงานผสมหรือไฮบริด รถยนต์ไฟฟ้า จึงเป็นสิ่งที่จะปรากฏโฉมในท้องถนนมากขึ้น
        แนวโน้มที่หก การเพิ่มขึ้นของกรีนโปรดักส์ในท้องตลาดที่มีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นจากปัจจุบัน จากการเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้ประกอบการกรีนโปรดักส์ และการเติบโตอย่างต่อเนื่องของผู้บริโภคที่เป็นกรีน ชอปปิ้ง ซึ่งการกระจายตัวของตลาดจะทำให้ราคาต่อหน่วยของสินค้ากรีนโปรดักส์น่าจะลดลงตามลำดับ
        แนวโน้มที่เจ็ด การพัฒนาแนวคิดเชิงระบบ (System Approach) ในการวิเคราะห์ผลกระทบของการผลิตต่อสภาพแวดล้อม เพื่อให้การวัดและประเมินผลกระทบได้อย่างแม่ยำมากขึ้น
        แต่เดิมประเด็นนี้มีการพิจารณาแต่เพียงในระดับของท้องที่ ด้วยการประเมินตัวผลิตภัณฑ์ กระบวนการผลิต และโรงงานผลิตว่ากระทบต่อคุณภาพของสิ่งแวดล้อมอย่างไร แต่ในปี 2012 มุมมองจะเปิดกว้างมากขึ้น ตั้งแต่การผลิต การจัดจำหน่ายสินค้า และการบริโภคตลอดวิถีทางทางการตลาดและกำลังจะขยายต่อไปในระดับภาคอุตสาหกรรมและระดับมหภาค ซึ่งเป็นการพิจารณาทั้งระบบตลอดห่วงโซ่อุปทาน และพิจารณาผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมที่เป็นระดับชุมชน ระดับประเทศ และระดับโลก โดยการทำงานด้านการประเมินดังกล่าวจะใช้เทคโนโลยีและคอมพิวเตอร์มามีส่วนช่วยมากขึ้น เพื่อให้สามารถเชื่อมโยงผลกระทบได้ทั้งระบบ
        แนวโน้มที่แปด โลกจะได้รับผลกระทบมากขึ้นจากการขยายตัวของเมืองและประชากรที่เข้าไปใช้ประโยชน์หรือทำลายทรัพยากรธรรมชาติมากขึ้น
        การเพิ่มขึ้นของประชากรในทุกมุมโลก หมายถึงจำนวนผู้บริโภคจะมีเพิ่มมากขึ้น มลภาวะมากขึ้น ซึ่งทำให้แนวโน้มและความจำเป็นในการใช้กรีนคอนเซปต์ต้องทำอย่างจริจังมากขึ้น
        ประชากรของโลกเพิ่มขึ้นจนผ่านระดับ 6,000 ล้านคนเมื่อปี 2000 และคาดว่าจะเพิ่มเป็น 7,800 ล้านคนในปี 2020  การเปลี่ยนแปลงที่อยู่ของประชากรออกไปตามการขยายตัวของครอบครัว ทำให้สิ่งอำนวยความสะดวก สาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานขยายตามออกไปด้วย
        แนวโน้มที่เก้า ความก้าวหน้าและใช้ชีวิตอยู่บนเทคโนโลยี สารสนเทศ และการสื่อสาร ทำให้การติดต่อสื่อสารถึงกันทำได้ผ่านระบบรีโมต และทางไกล ไม่ต้องการการเดินทางไปพบกันแบบเผชิญหน้า ค่าใช้จ่ายในการเดินทางหรือการเคลื่อนที่ทางกายภาพจึงมีแนวโน้มที่จะลดลง รวมไปถึงการทำงานจากที่พักอาศัยแทนการออกไปตั้งต้นงานที่สำนักงานหรือในออฟฟิศที่ห่างไกลการพัฒนาการแบบนี้ สนับสนุนแนวคิดของกรีนคอมเซปต์โดยไม่ตั้งใจ แต่เป็นไปอย่างมีประสิทธิผล
        แนวโน้มที่สิบ อาคารบนแนวคิดกรีนจะเพิ่มขึ้น จากการที่สถาปัตย์และนักออกแบบอาคารได้คำนึงถึงรูปแบบการทำงานของอาคารที่จะช่วยลดภาวะโลกร้อนมากขึ้น
        อาคารสมัยใหม่จึงพิจารณาการบริหารจัดการความอบอุ่นหรือความร้อนภายในอาคาร การลดการใช้ไฟฟ้าในการให้แสงสว่างแต่ให้อาคารมีแสงสว่างที่เพียงพอเอง และใช้ระบบการบริหารจัดการน้ำแบบใช้หมุนเวียนซ้ำการพัฒนาในเรื่องอาคารนี้ได้ขยายวงออกไปเป็นเรื่องของ กรีนซิตี้ หรือ อีโค ซิตี้ ไม่ใช่เพียงระดับของหมุ่บ้านหรือชุมชนเท่านั้น
        เรื่องนี้มีอิทธิพลต่อการวางผังและการปรับปรุงผังเมืองใหม่ให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น เช่น การกำหนดพื้นที่สีเขียวเป็นภาคบังคับ การจัดพื้นที่ที่รองรับอากาศบริสุทธิ์ในชุมชน
        เป็นที่คาดหมายกันว่า กฎเกณฑ์ที่เข้มงวดเกี่ยวกับอาคารแบบกรีนนี้จะเริ่มนำออกมาใช้ในอนาคตอันใกล้นี้ ทำให้อาคารสร้างใหม่ต้องพัฒนาระบบพลังงานทางเลือก โดยเฉพาะพลังงานโซลาร์ รวมทั้งพลังงานลม
 การบริหารสีเขียว (The Green of Management)
ในราวปลายปี 1960 จะเห็นได้ว่ามีเพียงไม่กี่คนได้ให้ความสนใจในผลลัพท์ของภาพแวดล้อมที่เป็นผลมาจากการตัดสินใจ แลtการกระทำของธุรกิจของเขา ปัญหาทางด้านนิเวศน์วิทยา (ecology) อย่างไรก็ตามแล้ว ค.ศ. 1960 จะเห็นได้ว่าองค์การธุรกิจได้เล็งเห็นความสำคัญในเรื่องนี้และมีผู้รนรงค์มากขึ้น และได้เพิ่มจำนวนมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ทั้งนี้เป็นเพราะสภาพแวดล้อมที่เลวลงจากเดิมทำให้หลายคนหันมาตระหนักถึงการรักษาสภาพแวดล้อมให้ดีขึ้น เช่น องค์การ กลุ่ม และแต่ละบุคคล ตระหนักในสิ่งนี้จึงเป็นการเชื่อมโยงอย่างใกล้ชิดระหว่างการตัดสินใจ และกิจกรรมขององค์การกับผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาตี่เรียกกันว่า การบริหารสีเขียว ซึ่งหมายถึง การคำนึงถึงการบริหารงานที่จะต้องไม่ทำให้เกิดผลกระทบกับทรัพยากรธรรมชาติ หรือสภาพธรรมชาติไม่วเรื่องใดๆ เพราะการขาดการยั้งคิดและบริหารงานหรือตัดสินใจอย่างผิดพลาดของธุรกิจมีกาจะนำไปสู่ปัญหาต่างๆ ได้ อาทิ ปัญหาทรัพยากร ธรรมชาติทกำลังจะสูญสิ้นไป ปัญหาอุณหภูมิของโลกที่ร้อนมากขึ้นจากอดีต ปัญหาอุบัติเหตะทางอุตสาหกรรม ตลอดจนปัญหาขยะที่มีพิษ จากความมักง่ายของโรงงานอุตสาหกรรม

ความหมายของ 'green business'

          "ธุรกิจสีเขียว" หมายถึง องค์กรที่ประกอบธุรกรรมโดยมีปณิธานในการทำงานที่มุ่งอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เพื่อให้ทรัพยากรธรรมชาติทั้งหลายของโลกมนุษย์ อาทิ อากาศ ต้นน้ำ ลำธาร ป่าไม้ สัตว์ป่า พืชพันธุ์ธัญญาหาร แมลง ฯลฯ มีชีวิตอยู่ร่วมกันในระบบนิเวศวิทยาที่ดีที่สุดและอย่างยั่งยืนที่สุด
         
          การดำเนินธุรกิจหรือแม้กระทั่งการดำเนินชีวิตประจำวันของมนุษย์เรา ล้วนมีผลกระทบทางลบต่อสิ่งแวดล้อมไม่มากก็น้อยอยู่ทุกนาที แค่อยู่กับบ้านทำอาหาร อาบน้ำแต่งตัว เข้านอน ฯลฯ ก็ล้วนสามารถสร้างมลพิษให้สิ่งแวดล้อมได้ตลอดเวลา

          ลองคิดง่าย ๆ เช่น ทอดไข่เจียวรับประทานกับข้าว เวลาล้างกระทะที่มีน้ำมันติดอยู่ คราบน้ำมันก็จะไหลผ่านท่อน้ำในอ่างส่งตรงไปยังท่อระบายน้ำรวมทันที โดยไม่มีระบบกรองหรือกักคราบน้ำมันใด ๆ ทั้งสิ้น นี่ยังไม่คิดถึงน้ำยาล้างจานที่เป็นสารเคมีอีก เวลาอาบน้ำแต่งตัว? คราบสบู่ แชมพูสระผม สเปรย์ผม ก็ล้วนสร้างมลพิษให้น้ำและอากาศทั้งสิ้น เวลานอน? อากาศร้อนก็ต้องเปิดแอร์ ซึ่งทำให้บรรยากาศของโลกร้อนขึ้นทุกวันเช่นกัน ทำยังไงได้? ก็มันร้อนนี่นา
ธุรกิจสีเขียว มักจะให้ความสำคัญต่อผลลัพธ์ทางธุรกิจใน 3 ด้านสำคัญ ที่เรียกว่า triple bottom line ซึ่งได้แก่ people ผลลัพธ์ที่จะเกิดต่อมนุษยโลกที่เกี่ยวข้อง, planet ผลกระทบที่จะเกิดต่อสิ่งแวดล้อม สภาวะอากาศ และการเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติของโลกมนุษย์และ profit ซึ่งเป็นผลตอบแทนทางเศรษฐกิจที่จะเกิดขึ้นจากการทำธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
การทำการตลาดสีเขียวนั้น น่าจะมีองค์ประกอบสำคัญ 3 ประการที่นักการตลาดควรให้ความสนใจ ได้แก่
          1. การนำเสนอให้ตลาดผู้บริโภคทั่วไปได้เห็นและเกิดความเข้าใจว่า สิ่งที่บริษัทหรือองค์กรกำลังทำอยู่นี้จะช่วยเหลือสภาพแวดล้อมของโลก ทั้งในเชิงกว้างและในระดับสังคม ชุมชนแวดล้อมได้อย่างไร
          2. นำเสนอสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและธรรมชาติ
          3. ใช้วิธีการที่เป็นสีเขียวเช่นกัน ในการนำเสนอองค์ประกอบข้อ 1 และ ข้อ 2 ที่ได้กล่าวมา

          วิธีการข้อที่ 3 เป็นข้อที่นักการตลาดทั่วไป อาจต้องปรับแนวความคิดเดิม ๆ หันมาสู่การคิดหาวิธีการที่จะทำให้วิธีการทางการตลาดเป็นสีเขียวให้ได้มากที่สุด

          เช่น การใช้วัสดุประกอบการตลาด อาทิ กระดาษที่ใช้ในการพิมพ์เอกสารการตลาดที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การเลือกใช้หมึกพิมพ์ที่ไม่สร้างมลภาวะ และมองไปถึงว่าวัสดุเหล่านั้น หลังจากทำหน้าที่ทางการตลาดสื่อความสำคัญไปยังผู้บริโภคแล้ว ผู้บริโภคจะมีวิธีในการกำจัดทิ้งอย่างไรจึงจะไม่ทำให้เกิดผลกระทบในเชิงลบ เป็นไปได้หรือไม่ที่จะทำให้เกิดการนำกลับมาใช้ใหม่ หรือนำมาใช้ซ้ำได้ด้วยวิธีใด ๆ ก็ตาม


ซีพีเอฟทุ่มพันล้านลุยธุรกิจสีเขียว

วิกฤติยูโร ไม่ระคายผิวสิ้นปีโกย 3 แสนล้าน

ซีพีเอฟทุ่ม 1 พันล้าน ลุยธุรกิจสีเขียว ภายใต้วิสัยทัศน์ ครัวของโลก ตั้งเป้าบริหารจัดการฟาร์มและโรงงานในเครือทุกครบทั้งวงจรการผลิต เริ่มต้นนำร่องที่ฟาร์มเลี้ยงสัตว์ เผยแนวโน้มราคาสินค้าอาจปรับขึ้นที่ 5-10% ตามต้นทุนที่สูงขึ้น ย้ำวิกฤตเศรษฐกิจยูโรโซนไม่กระทบซีพีเอฟ สิ้นปีหวังโกยยอด 3 แสนล้าน

นายอดิเรก ศรีประทักษ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ และประธานคณะผู้บริหาร บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ เปิดเผยว่า ภายใต้วิสัยทัศน์การเป็น “ครัวของโลก” บริษัทได้ตระหนักถึงความสำคัญด้านสิ่งแวดล้อมและภาวะโลกร้อน โดยมุ่งผลิตผลิตภัณฑ์อาหารคุณภาพปลอดภัย มาตรฐานสากลสู่ผู้บริโภค ด้วยกระบวนการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ไม่ส่งผลกระทบต่อชุมชน และมีการจัดการทรัพยากรการผลิตอย่างยั่งยืนมาอย่างจริงจังและต่อเนื่อง

โดยล่าสุด บริษัทได้กำหนดเป้าหมายให้ธุรกิจของบริษัทก้าวสู่การเป็น “ธุรกิจสีเขียว” ผ่านธุรกิจฟาร์มเลี้ยงสัตว์ เป็นธุรกิจต้นแบบนำร่อง และขยายไปสู่ธุรกิจอาหารสัตว์ และธุรกิจอาหาร ตลอดทั้งวงจรการผลิต ตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทาง คาดว่าจะสามารถลดปริมาณก๊าซเรือนกระจก ภายใต้นโยบายดังกล่าวได้ปีละกว่า 344,000 ตันคาร์บอนไดออกไซด์ และจะลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานโดยรวมได้กว่า 1,260 ล้านบาทต่อปี ทั้งนี้เพื่อเป็นการตอบสนองพฤติกรรมผู้บริโภคในปัจจุบัน ที่ตื่นตัวในวิกฤตการณ์ด้านสิ่งแวดล้อมของโลก


อ้างอิงจาก :  Read more: GLOBAL GREEN 2012 : 10 แนวโน้มธุรกิจสีเขียว | การบริหารจัดการ | WiseKnow.Com
http://www.wiseknow.com/GLOBAL-GREEN-2012-:-10-%E0%B9%81%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B9%82%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%A1%E0%B8%98%E0%B8%B8%E0%B8%A3%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A7.html
http://www.idis.ru.ac.th/report/index.php?topic=2024.0
http://www.banmuang.co.th/2012/06/%E0%B8%8B%E0%B8%B5%E0%B8%9E%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%9F%E0%B8%97%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%A5%E0%B8%B8%E0%B8%A2%E0%B8%98/