หน้าเว็บ

Vanila SweetZ


มาตรการและเครื่องมือจูงใจในการจัดการสิ่งแวดล้อม

     เครื่องมือทางด้านนโยบายที่ได้มีการพัฒนาและนำมาใช้ในการจัดการสิ่งแวดล้อม ที่นิยมใช้กันทั่วไปในปัจจุบัน มี 3 แนวทาง ได้แก่



1. การใช้มาตรการตามกฎหมายในการควบคุมและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (command and control) เช่น การกำหนดมาตรฐานอากาศเสียที่มนุษย์ไม่ควรปล่อยออกมาให้เกินมาตรฐาน มาตรการด้านน้ำเสียน้ำทิ้ง รูปแบบสิ่งก่อสร้างที่ถูกต้องตามมาตรฐานและข้อกำหนดอื่น ๆ เป็นต้น มาตรการทางกฎหมายนี้ควรมีประสิทธิภาพประสิทธิผล และเป็นธรรมสาหรับทุกคน แต่มาตรการทางกฎหมายกลับกลายเป็นแนวทางห้าม การกำหนดอาณัติหรือมาตรการควบคุมบังคับ โดยมาตรการเหล่านี้ไม่มีความยืดหยุ่น มีความเป็นทางการและยึดระเบียบข้อบังคับ ไม่สามารถต่อรองหรือลดหย่อน และไม่มีวิธีการประนีประนอมเพื่อให้เกิดแนวทางที่เหมาะสมที่สุดได้ ทำให้เกิดการเผชิญหน้าระหว่างหน่วยงานของรัฐกับเอกชนซึ่งกระทำผิดระเบียบกฎหมาย มาตรการทางกฎหมายแต่อย่างเดียวจึงไม่มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ไม่ประหยัด ไม่ส่งเสริมความคิดริเริ่มให้แก่เอกชนที่เกี่ยวข้อง และไม่มีหน่วยงานหรือบุคลากรเพียงพอในการปฏิบัติตามให้มาตรการเหล่านี้เกิดผล

2. การให้สิ่งจูงใจแก่ธุรกิจเอกชนในการอนุรักษ์และจัดการสิ่งแวดล้อมเพื่อประโยชน์ของส่วนรวม (market-based incentives) โดยตนเองไม่เสียประโยชน์ และบางครั้งอาจจะได้ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย (win-win solution) โดยหลักการแล้ว การนำมาตรการทางเศรษฐกิจมาใช้ก็เพื่อให้ค่าของความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมเป็นส่วนหนึ่งหรืออยู่ภายในราคาของสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ (internalization) เช่น การใช้หลักการ ผู้ก่อความเสียหายเป็นผู้จ่าย (polluter pays principle) ภาษีสิ่งแวดล้อม (eco-tax) เช่น user charges, emission charges, product charges เป็นต้น

     การให้สิ่งจูงใจบังเกิดผลดีต่อสิ่งแวดล้อม เพราะผู้ประกอบการได้ประโยชน์เช่นกัน ทำให้มาตรการทางเศรษฐกิจเป็นที่นิยมในประเทศที่พัฒนาแล้ว เพราะประหยัดมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ทั้งยังส่งเสริมความคิดริเริ่มในการหาแนวทางใหม่หรือเทคโนโลยีชนิดใหม่เพื่อลดค่าใช้จ่ายและหากาไรจากการลดผลเสียหายทางสิ่งแวดล้อมได้ด้วย ผู้ที่ทำลายสิ่งแวดล้อมต่อไปก็จะถูกลงโทษโดยปริยายเพราะต้องจ่ายค่าเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมด้วยการซื้อเครดิต (credits) จากผู้ที่สามารถลดปริมาณอากาศเสีย น้ำเสีย หรือของเสียของตนเองได้ อย่างไรก็ดี ปริมาณเครดิตหรือโควต้า (quotas) อาจจะไม่มีความแน่นอนและราคาก็ยังไม่คงที่เพราะตลาด กิจกรรมเหล่านี้ยังค่อนข้างใหม่อยู่ และในบางสังคม มาตรการทางเศรษฐกิจก็ยังไม่เป็นที่ยอมรับกัน เพราะเป็นการให้ประโยชน์แก่ผู้ที่ทำลายสิ่งแวดล้อมและผู้กระทำผิดจริยธรรมมากกว่า บางสังคมเห็นว่าเป็นการเอาเปรียบสังคมและคนจน ประเทศควรนำภาษีไปช่วยคนจนมากกว่าจะให้ประโยชน์ต่ออาชญากรทางสิ่งแวดล้อม


3. ความร่วมมือระหว่างรัฐและเอกชนซึ่งสมัครใจโดยไม่มีการบีบบังคับ (partnership หรือ voluntary actions) รัฐและสมาคมเอกชนตกลงเกี่ยวกับมาตรฐาน ของสิ่งแวดล้อม เช่น ปริมาณสารพิษ ฯลฯ ที่จะต้องลดลง องค์การเอกชน เช่น สมาคมอุตสาหกรรมจะตกลงกันเองในหมู่สมาชิกและกาหนดสัดส่วนที่สมาชิกจะต้องรับผิดชอบในการลดปริมาณสารพิษ ผู้ที่ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงก็จะต้องถูกลงโทษ วิธีการนี้ให้อิสระแก่ผู้ปฏิบัติพอสมควร และนำาไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางค่านิยมทางสิ่งแวดล้อมสำหรับภาคเอกชน อย่างไรก็ดี ความสมัครใจแต่เพียงอย่างเดียวดูจะไม่พอสำหรับการจัดการสิ่งแวดล้อม มาตรการทางกฎหมายและทางการบริหารก็ยังจาเป็น อยู่บ้าง ในเรื่องนี้ Winsemius and Guntram  ได้ให้ทัศนะว่า ผู้บริหารต้องใช้การจัดการเป็นเครื่องมือที่จะทำให้บุคลากรเกิดแรงกระตุ้นที่จะปฏิบัติภารกิจด้านจัดการสิ่งแวดล้อมที่วางเป้าหมายไว้ ภารกิจดังกล่าวคือการทาให้เกิดความพึงพอใจสูงสุดในบรรดาลูกค้า (customers) และผู้ร่วมสภาพเสี่ยง (stakeholders) ซึ่งหมายถึง ผู้ถือหุ้น (shareholders) บุคลากร (coworkers) และสมาชิกทั้งหมดในชุมชน (host communities) อันจะนำไปสู่ความได้เปรียบเหนือคู่แข่ง หากผู้บริหารมีการดำเนินการที่เหมาะสมก็จะทำให้สาธารณะชนเกิดความรู้สึกที่ดีต่อองค์การและอาจมีผลต่อพฤติกรรมผู้บริโภคได้ ยิ่งกว่านั้นก็อาจส่งผลดียิ่งขึ้นโดยทำให้เป้าหมายของผู้ร่วมสภาพเสี่ยงโดยรวมมีความสอดคล้องกันกับเป้าหมายขององค์การ และจะเกิดแรงกระตุ้นที่เป็น แรงบันดาลใจให้เกิดความร่วมมือร่วมใจเป็นพลังร่วม (inspired partnership) ของกลุ่มเล็กกลุ่มน้อยที่อาจมีความคิดเห็นแตกแยกกระจัดกระจายอยู่ เป็นหน้าที่ของผู้บริหารระดับสูงที่จะต้องเป็นผู้นำในการปลูกจิตสำนึกให้เกิดขึ้นในองค์การ

     แนวนโยบายทั้ง 3 อย่างที่ได้กล่าวมาแล้วไม่ได้ถูกแยกจากกันโดยเด็ดขาดแต่อาจจะเป็นการผสมผสานทั้ง 3 แนวทางเข้าด้วยกัน มาตรการทางกฎหมายและการบริหารก็ยังคงเป็นหลักทั่วไปของนโยบายทางสิ่งแวดล้อม มาตรการทางเศรษฐกิจจะนิยมใช้ในประเทศที่มีระบบเศรษฐกิจทุนนิยมหรือระบบการปกครองเสรีนิยม เพราะมีความสอดคล้องกับปรัชญาทางการเมืองและเศรษฐกิจมากกว่ามาตรการทางกฎหมายและการบริหาร แต่สาหรับประเทศในยุโรปซึ่งมีแนวคิดทางสังคมนิยมค่อนข้างแรงและมีความนิยมใน ecological modernization ค่อนข้างมาก แนวนโยบายความสมัครใจและความร่วมมือระหว่างรัฐและเอกชนจะเป็นที่ยอมรับกันมาก เพราะแนวทางนี้มีความเป็นไปได้สูงและสอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืนอย่างแข็ง โดยสังคมในยุโรปได้มีการปรับตัวจากสังคมบริโภคให้เป็นสังคมอนุรักษ์มากขึ้น และประชาชนมีจิตสำนึกทางนิเวศและมีความเป็นพลเมืองของระบบนิเวศมากขึ้น แต่ทั้งนี้มิได้หมายความว่าแต่ละประเทศเลือกนโยบายแนวใดแนวหนึ่งเท่านั้น ประเทศส่วนใหญ่จะใช้นโยบายทั้ง 3 แนว เพียงแต่อาจจะเน้นแนวใดแนวหนึ่งมากกว่าอย่างอื่นเท่านั้น โดยทั่วไปประเทศ ส่วนใหญ่จึงใช้มาตรการผสมมากกว่า

     นอกจากนี้ รายงานฉบับสมบูรณ์เรื่อง โครงการจัดลาดับความสำคัญของปัญหาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ให้แนวคิดการจัดการสิ่งแวดล้อมเชิงสถาบันไว้ว่า การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อนำไปสู่สังคมที่ยั่งยืนต้องอาศัยกระบวนการที่หลากหลายเพื่อแก้ปัญหาได้อย่างรอบด้าน เช่น การจัดการด้วยการบังคับใช้บทลงโทษต่าง ๆ เพียงอย่างเดียวจะไม่สามารถแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ถ้าสังคมมีกระบวนการเสริม เช่น การสร้างจิตสำนึกที่ดีต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมพร้อม ๆ กับการกำหนดมาตรการจูงใจและการบังคับใช้บทลงโทษ ต่างก็จะทำให้การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น



อ้างอิง : http://www.idealconsultancy.com/Th/Creative_Professional_Branding_Marketing_Solutions.asp?Gid=39&SGid=121

ไม่มีความคิดเห็น: