นางสาวกาญจนา แปลงทุน รุ่น 19 รหัสนักศึกษา 5130125401222
บทที่ 10 การแข่งขันในตลาดโลกและความได้เปรียบทางการแข่งขัน
การสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน
การเสริมสร้างองค์กรให้แข็งแกร่ง มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลในยุคของการแข่งขันทางธุรกิจ ผู้นำหรือผู้บริหารขององค์กรที่บทบาทสำคัญ และได้รับการสนับสนุนจากพนักงานระดับปฏิบัติการ การได้เปรียบในการแข่งขันจะเกิดขึ้นได้ ผู้นำหรือผู้บริหารจำเป็นต้องมีแนวทางในการดำเนินงานที่มีความชัดเจน โดยเริ่มจากการกำหนดวิสัยทัศน์ (Vision) การกำหนดเป้าหมาย (Goals) การกำหนดคุณค่าและความเชื่อร่วมกัน (Value and Belief) และการกำหนดกลยุทธ์ (Strategies) บทบาทพนักงานระดับปฏิบัติการเป็นบทบาทของการสนับสนุนและประสานงาน ทำให้เกิดแนวทางการปฏิบัติ มีรายละเอียดดังนี้
เมื่อกล่าวถึงการสร้างความเป็นผู้นำขององค์กรคนส่วนมากจะมีความเข้าใจว่าเป็นบทบาทของผู้นำหรือผู้บริหารขององค์กรเพียงฝ่ายเดียวที่จะทำให้องค์กรมีความแข็งแกร่ง และการได้เปรียบทางการแข่งขันทางธุรกิจ ซึ่งก็มีส่วนที่ถูกต้องส่วนหนึ่ง แต่ถ้าหากขาดการสนับสนุนจากบทบาทการปฏิบัติงานของพนักงานระดับปฏิบัติการแล้ว ความแข็งแกร่งและการได้เปรียบทางการแข่งขันทางธุรกิจก็อาจจะเกิดขึ้นได้ยาก ดังนั้น การประสานกันระหว่างบทบาทของผู้นำกับบทบาทของพนักงานระดับปฏิบัติการ ย่อมเป็นหนทางที่จะก่อให้เกิดความสำเร็จอย่างแน่นอนแต่ทั้งนี้บทบาทของผู้นำหรือผู้บริหารจำเป็นต้องมีแนวทางในการดำเนินงานที่มีความชัดเจน โดยเริ่มจากการที่ผู้นำหรือผู้บริหารจะต้องมีการกำหนดวิสัยทัศน์ (Vision) การกำหนดเป้าหมาย (Goals) การกำหนดคุณค่าและความเชื่อร่วมกัน (Value and Belief) และการกำหนดกลยุทธ์ (Strategies) ในด้านบทบาทของพนักงานระดับปฏิบัติการเป็นบทบาทของการสนับสนุนและประสานงาน ทำให้เกิดแนวทางการปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
1. บทบาทของผู้นำหรือผู้บริหาร การประสบความสำเร็จของการที่จะทำให้องค์กรเป็นผู้นำทางธุรกิจ และสามารถแข่งขันกับคู่แข่งขันทางธุรกิจได้เป็นอย่างดี ผู้นำหรือผู้บริหารจำเป็นต้องมีความเฉลียวฉลาด ทั้งระดับสติปัญญาและระดับวุฒิภาวะทางอารมณ์ ซึ่งจะเป็นแนวทางที่จะทำให้กำหนดบทบาทและภาระหน้าที่ได้อย่างชัดเจนและมีประสิทธิภาพผู้นำหรือผู้บริหารจะบริหารจะต้องใช้แนวคิดที่แนวทางขององค์กร นำไปสู่ความสำเร็จ สำหรับบทบาทของผู้นำหรือผู้บริหารที่จะทำให้องค์กรได้เปรียบทางการแข่งขันทางธุรกิจควรมีดังนี้
1.1 การกำหนดวิสัยทัศน์ (Vision)
การกำหนดวิสัยทัศน์เป็นบทบาทแรกของภาวะหน้าที่ของผู้นำ หรือผู้บริหารองค์กรวิสัยทัศน์ที่ผู้นำหรือผู้บริหารจะต้องให้ความสำคัญ ควรมีลักษณะที่ก่อให้เกิดความรู้สึกน่าสนใจ การก่อให้เกิดความหมายในชีวิตการทำงานและชีวิตส่วนบุคคล การกำหนดมาตรฐานของความเป็นเลิศที่โดดเด่น และเป็นตัวเชื่อมความเป็นอดีตที่จะส่งผลต่อความสำเร็จในอนาคต โดยปกติแล้วการกำหนดวิสัยทัศน์จะต้องมีความชัดเจน สั้น และเข้าใจง่ายต่อการนำไปสู่การปฏิบัติ เช่น การกำหนดวิสัยทัศน์ของบริษัทวอลท์ ดิสนีย์ (Walt Disney) คือ การทำให้ทุก ๆ คนมีความสุข เป็นต้น
1.2 การกำหนดเป้าหมาย (Goals)
การกำหนดเป้าหมายที่ดีควรมาจากการที่นำวิสัยทัศน์มาพิจารณา ในการกำหนดเป้าหมายทั้งเป็นเป้าหมายที่เป็นทางการ (Official Goal) และเป้าหมายปฏิบัติการ (Operative Goals)
• เป้าหมายที่เป็นทางการ (Official Goal) เป็นการกำหนดทิศทางขององศ์การในอนาคตโดยอธิบายถึงวิสัยทัศน์ขององค์กรและคุณค่าของ
• การมาอยู่ร่วมกันในองค์กร ซึ่งจะก่อให้เกิดความเป็นน้ำหนึ่งอันเดียวกัน เป็นเกณฑ์สำหรับจูงใจทรัพยากรบุคคลในองค์กร และสร้างบรรยากาศ
• ในการทำงานให้กับพนักงาน
• เป้าหมายปฏิบัติการ (Operative Goals) เพื่ออธิบายถึงการวัดผลที่เฉพาะเจาะจงขององค์กร ในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับความสำเร็จขององค์กร
• กำหนดระยะเวลาในการปฏิบัติงานที่สั้นกว่าเป้าหมายที่เป็นทางการซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับผลการปฏิบัติงานของพนักงาน การบำรุงรักษา การ
• ปรับปรุงเปลี่ยนแปลง
1.3 การกำหนดคุณค่าและความเชื่อร่วมกัน (Value and Belief)
ในการทำงานร่วมกันจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจกันทำงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้นำหรือผู้บริหารที่มีบทบาทที่เหนือกว่าพนักงานระดับปฏิบัติการ จึงต้องมีการกำหนดคุณค่าของตัวเองโดยความสำนึกในความรับผิดชอบ (Accountability) ความเป็นกลาง (Neutrality) การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ(Participation) การมีความโปร่งใสในการเปิดเผยข้อมูลให้กับผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง (Transparency) การมุ่งสู่ผลสัมฤทธิ์ในการทำงาน (Result Orientation)และความเป็นมืออาชีพในหน้าที่การงานที่ทำอยู่ (Alums)
2. ส่วนความเชื่อร่วมกัน ผู้นำหรือผู้บริหารพนักงานทุกคนที่ความรู้มีความสามารถที่จะทำงานร่วมกันได้เป็นอย่างดี ไม่มีการแบ่งพรรคแบ่งพวกที่จะทำให้เกิดการแตกแยก
1.4 การกำหนดกลยุทธ์ (Strategies)
เป็นหน้าที่และบทบาทที่ผู้นำหรือผู้บริหาร นำเป้าหมายที่เป็นทางการ และเป้าหมายปฏิบัติการมาพิจารณาร่วมกัน เพื่อให้ทราบทิศทางของการดำเนินงานขององค์กรว่า ควรจะเป็นไปในทิศทางใด ซึ่งการที่จะได้ทิศทางของการดำเนินงานที่ถูกต้องและชัดเจนนั้น ผู้นำหรือผู้บริหารจะต้องพิจารณาเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกขององค์กร ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
• สภาพแวดล้อมภายในองค์กร (Internal Environment) เป็นสิ่งที่ผู้นำหรือผู้บริหารควบคุมให้เป็นไปในทิศทาง ทางของเป้าหมายที่เป็น
• ทางการ และเป้าหมายการดำเนินการภายในองค์กร เป็นเครื่องมือสำหรับการควบคุมเพื่อก่อให้เกิดการได้เปรียบทางการ
ก. จุดแข็ง (Strengths)
การค้นหาจุดแข็งขององค์กรจะเป็นข้อได้เปรียบ และมีความแตกต่างไปจากคู่แข่งขันทางธุรกิจ ทำให้บุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องทางธุรกิจสามารถาจดจำและให้ความสนใจได้เป็นพิเศษ เรียงลำดับความสำคัญ ตั้งแต่จุดแข็งที่มีความสำคัญที่สุดจนถึงมีความสำคัญน้อยที่สุด ทั้งนี้ เพื่อที่จะสามารถนำจุดแข็งเหล่านั้นมาสร้างเป็นแนวทางการกำหนดกลยุทธ์ขององค์กร ให้มีความชัดเจนและถูกต้องมากขึ้น
ข. จุดอ่อน (Weaknesses)
องค์กรทุกองค์กรที่จุดอ่อนด้วยกันทั้งสิ้น การยอมรับจุดอ่อนและที่มาจุดอ่อนให้กลับกลายเป็นจุดแข็ง ก็เป็นอีกหนทางหนึ่งของการสร้างศักยภาพของการแข่งขันทางธุรกิจ และความเจริญก้าวหน้าขององค์กร
• สภาพแวดล้อมภายนอกองค์กร (External Environment) เป็นสิ่งที่ผู้นำหรือผู้บริหารไม่สามารถควบคุมได้ นอกจากที่วิสัยทัศน์กว้างไกล มักจะคาดการณ์ล่วงหน้าถึงสภาพปัญหาหรืออุปสรรคต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นมาในอนาคต โดยศึกษาเรื่องต่าง ๆ ดังนี้
ค. โอกาส (Opportunities) มีอยู่ทั่วไปในธุรกิจ ผู้นำหรือผู้บริหารจะหยิบยกมาใช้เพื่อเสริมสร้างศักยภาพขององค์กร และการได้เปรียบทางการแข่งขันพิจารณาทางโอกาสที่เหนือกว่าผู้อื่น
2. กลยุทธ์การแข่งขันของพอร์ตเตอร์ (Porter Competitive Strategies) มี 3 องค์ประกอบ ได้แก่
2.1 การลดต้นทุนทางการจัดการ (Low – Cost Leadership) พิจารณาสภาพแวดล้อมภายนอก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คู่แข่งขันทางธุรกิจมาเป็นแนวทางในการลดต้นทุนทางการจัดการขององค์กร เช่น ผลิตสินค้าที่ได้มาตรฐานและมีคุณภาพขณะที่ต้นทุนถูกกว่าคู่แข่งขัน การลดเวลาของกระบวนการทำงานให้สั้นลง แต่ค่าใช้จ่ายในการตอบแทนพนักงานเท่าเดิม เป็นต้น
2.2 การสร้างความแตกต่าง (Differentiation) การสร้างความแตกต่างจากคู่แข่งขันทางธุรกิจ จะทำให้เป็นเอกลักษณ์ขององค์กรที่เกิดจากกระทำการ ซึ่งเป็นการได้เปรียบทางการแข่งขันทางธุรกิจ อาจจะเป็นความแตกต่างในกระบวนการทำงานขององค์กร หรือสินค้าและบริการ แต่ทั้งนี้ความแตกต่างดังกล่าวจะต้องแสดงให้เห็นถึงประสิทธิผลและประสิทธิภาพที่เหนือกว่าคู่แข่งขัน
2.3 การมุ่งเน้นเฉพาะ (Focus) การได้เปรียบทางการแข่งขัน ผู้นำหรือผู้บริหารจะต้องพิจารณาเน้นเฉพาะกลุ่มที่มีส่วนเกี่ยวข้องทางธุรกิจ ทั้งนี้เพื่อตอบสนองต่อความต้องการและความพึงพอใจได้อย่างเต็มที่
2. บทบาทของพนักงานระดับปฏิบัติการ มี 2 ลักษณะ
2.1 บทบาทในการเป็นผู้ปฏิบัติตามกลยุทธ์ขององค์กร การเป็นพนักงานระดับปฏิบัติที่ควรมีแนวคิดในการปฏิบัติตามแนวทางกลยุทธ์ขององค์กร อันเนื่องมาจากเหตุผลที่ว่า ถ้าองค์กรสามารถยืนหยัดอยู่ได้ในธุรกิจ พนักงานทุก ๆ คนก็จะอยู่รอดไปด้วยกัน และถ้าหากพนักงานทุก ๆ คน มีความกระตือรือร้นในการปฏิบัติตามกลยุทธ์ขององค์กรอย่างเต็มที่ องค์กรก็อาจจะได้เปรียบทางการแข่งขันทางธุรกิจ ก็หมายความว่า ผลประโยชน์ต่าง ๆที่จะเกิดขึ้นกับองค์กรและพนักงานทุก ๆ คนย่อมเกิดขึ้นแน่นอน การที่ประสบความสำเร็จทางธุรกิจและได้เปรียบทางการแข่งขันทางธุรกิจส่วนมากแล้ว พนักงานทุก ๆ คนมีความสามัคคีร่วมกันเป็นน้ำหนึ่งเดียวกัน การไว้ใจซึ่งกันและกัน และการต่อสู้กับอุปสรรคและปัญหาอย่างเต็มที่
2.2 บทบาทในการเป็นผู้ส่งเสริมและให้ข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ การมีส่วนในการส่งเสริมและให้ข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ ในการทำให้กลยุทธ์ขององค์กรมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลเพิ่มมากขึ้น การได้เปรียบทางการแข่งขัน ควรเริ่มต้นจากผู้นำหรือผู้บริหารในการกำหนดวิสัยทัศน์ กำหนดเป้าหมาย กำหนดคุณค่าและความเชื่อร่วมกัน และการกำหนดกลยุทธ์ขององค์กร เพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งประสิทธิผลขององค์กรโดยส่วนรวม โดยการพิจารณาจากทรัพยากรที่มีอยู่ ไม่ว่าจะเป็นเงินทุน บุคลากรผลิตภัณฑ์ หรือชื่อเสียงขององค์กร สิ่งเหล่านี้จะสามารถส่งเสริมให้องค์กรสามารถสร้างการสร้างผลิตภัณฑ์พื้นฐานมาประกอบควบคู่กันไป องค์กรใดสามารถทำได้องค์กรนั้น ก็จะสามารถสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันได้โดยง่าย
การสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน 6 มิติ
ในยุคที่การแข่งขันมีความรุนแรง การมุ่งเน้นกลยุทธ์การสร้างความได้เปรียบเพียงกลยุทธ์เดียวอาจส่งผลให้องค์กรไม่สามารถปรับตัวให้
สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปได้ทันท่วงที องค์กรที่ประสบความสำเร็จหลายแห่งได้ใช้กลยุทธ์ที่หลากหลายในการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันให้เกิดขึ้น มิใช่มุ่งเน้นกลยุทธ์เฉพาะเพียงด้านใดด้านหนึ่งเท่านั้น แต่องค์กรเหล่านี้อาจเริ่มต้นจากการใช้กลยุทธ์เพียงกลยุทธ์เดียวในการแข่งขัน เช่นDell Computer ที่ดำเนินธุรกิจจำหน่ายคอมพิวเตอร์ ได้เริ่มต้นธุรกิจด้วยการมุ่งเน้นการลดต้นทุน ขั้นตอนในการทำธุรกิจจะเริ่มจากเมื่อได้รับคำสั่งซื้อจากลูกค้า แล้วบริษัทจะติดต่อไปยังผู้ผลิตอุปกรณ์ชิ้นส่วนประกอบคอมพิวเตอร์ทันที เพื่อให้นำชิ้นส่วนมาส่งและประกอบเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ เสร็จแล้วก็จะดำเนินการจัดส่งให้ลูกค้าทันที เราจะเห็นได้ว่า Dell ไม่มีการเก็บสินค้าไว้ที่คลังสินค้าเลย การบริหารสินค้าเช่นนี้จัดได้ว่าเป็นการมุ่งเน้นทางการลดต้นทุน โดยเฉพาะต้นทุนของสินค้าคงคลัง ต่อมาเมื่อการแข่งขันในธุรกิจจำหน่ายคอมพิวเตอร์มีความรุ่นแรงมากขึ้น Dell จึงได้นำเอากลยุทธ์ด้านอื่น ๆมาใช้ เช่น การบริการส่งสินค้าอย่างรวดเร็ว การเน้นคุณภาพของสินค้าและการรับประกัน เป็นต้น
การสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันให้เกิดขึ้นนั้นมาจากการใช้กลยุทธ์ 6 ประการด้วยกัน ซึ่งองค์กรสามารถเริ่มต้นจากกลยุทธ์ใดกลยุทธ์หนึ่งก่อนก็ได้
แต่องค์กรจะต้องมีการพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพของกลยุทธ์ทุกกลยุทธ์ให้มีความเข้มแข็งด้วยกัน ดังต่อไปนี้
1. ความได้เปรียบจากการเป็นผู้เข้าสู่ตลาดรายแรก (customer market advantage) ประเด็นแรกที่องค์กรจะต้องให้ความสำคัญคือการสร้างตลาดใหม่หรือเป็นผู้คิดริเริ่มใหม่ ๆ ให้กับลูกค้าซึ่งการริเริ่มในสิ่งที่คู่แข่งยังไม่สามารถทำได้นั้น
จะทำให้องค์กรปราศจากการแข่งขันซึ่งนับได้ว่าเป็นความได้เปรียบอย่างดีเยี่ยมและเป็นจุดเริ่มต้นแห่งความสำเร็จในอนาคต เช่น Xerox ได้ริเริ่มทำธุรกิจการถ่ายเอกสารเป็นเจ้าแรก ลักษณะการทำธุรกิจของ Xerox จึงมีความโดดเด่นเป็นพิเศษภายใต้การจดทะเบียนขอสิทธิบัตร ด้วยเหตุนี้เองการตลาดของ Xerox จึงมีความแตกต่างในด้านการนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่มีความโดดเด่นและเหนือกว่าและไม่มีองค์กรใดสามารถทำธุรกิจได้เหมือนกับ Xerox อาจกล่าวได้ว่าเป็นการสร้างความได้เปรียบในการแข่งในเรื่องการเข้าสู่การตลาดเป็นรายแรก
2. ความได้เปรียบในการนำเสนอผลิตภัณฑ์หรือบริการที่โดดเด่นกว่าคู่แข่ง (product and service advantage) องค์กรใดก็ตามที่สามารถตอบสนองต่อความพึงพอใจของผู้บริโภคที่มีความโดดเด่น องค์กรนั้นถือได้ว่าเป็นองค์กรที่ใช้กลยุทธ์การสร้างความแตกต่าง ซึ่งการสร้างความแตกต่างนี้หากจะมองย้อนกลับไปในอดีตแล้ว เราจะพบว่าองค์กรหลายแห่งได้ใช้กลยุทธ์นี้มานานแล้ว และมีการพัฒนาไปสู่ความได้เปรียบในการแข่งขันในระยะยาว เช่น Samsung เป็นบริษัทที่จะหน่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่หรือมือถือที่เน้นรูปแบบ สีสัน และความทันสมัยของรูปลักษณ์ภายนอก โดยเฉพาะอย่างยิ่งหน้าจอสีที่มีความคมชัดกว่ายี่ห้ออื่น ส่งผลให้มือถือของ Samsung มีความโดดเด่นและไม่เหมือนคู่แข่งขันรายอื่น อย่างไรก็ตาม ข้อด้อยของกลยุทธ์นี้ก็คือคู่แข่งขันสามารถลอกเลียนแบบได้ง่าย ด้วยเหตุนี้ องค์กรที่ใช้กลยุทธ์ดังกล่าวจะต้องมีการปรับปรุงและพัฒนาผลิตภัณฑ์ของตนเองอยู่เสมอเพื่อให้ก้าวล้ำกว่าของคู่แข่ง
3. ความได้เปรียบในการสร้างห่วงโซ่คุณค่าหรือระบบธุรกิจ (Business system/value chain advantage) การบริหารกิจกรรมทางธุรกิจเพื่อให้บรรลุเป้าหมายองค์กร เรียกว่าการบริหารห่วงโซ่คุณค่าหรือระบบธุรกิจ กิจกรรมทางธุรกิจจะเริ่มต้นจากการวิจัยและการพัฒนาผลิตภัณฑ์ การผลิตการขาย การตลาด การจัดจำหน่าย และการบริการหลังการขาย หากองค์กรธุรกิจมีความโดดเด่นในกิจกรรมทางธุรกิจ กิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่งก็จะส่งผลให้องค์กรนั้นมีความได้เปรียบทางการแข่งขันในเรื่องนั้น ๆ หลายองค์กรพยายามสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันโดยมุ่งเฉพาะกิจกรรมทางธุรกิจที่องค์กรถนัดและมุ่งการการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้องค์กรนั้นมีกลยุทธ์ที่เหนือกว่าคู่แข่งขัน และกลายเป็นจุดแข็งหรือเอกลักษณ์ขององค์กรในที่สุด เช่น บริษัท พรอกเตอร์แอนด์แกมบิล (P&G) จำกัด มีความเชี่ยวชาญทางการตลาด บริษัท โซนี่ จำกัด บริษัทที่เน้นนวัตกรรมในการออกแบบผลิตภัณฑ์ได้ตรงตามความต้องของลูกค้า บริษัท โตโยต้า จำกัด เน้นประสิทธิภาพในการผลิต และ American Express บริษัทที่ให้การบริการลูกค้าได้อย่างประทับใจ เป็นต้น
แนวทางที่จะเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารห่วงโซ่คุณค่า ก็คือการติดต่อประสานงานระหว่างหน่วยงานในองค์กรเพื่อให้กิจกรรมต่าง ๆ ดำเนินไปได้ด้วยดีในบางครั้งองค์กรจำเป็นจะต้องมีการออกแบบโครงสร้างกรใหม่ เพื่อปรับรูปแบบ และระบบการดำเนินธุรกิจให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น ตัวอย่างขององค์กรธุรกิจที่ประสบความสำเร็จในการปรับเปลี่ยนระบบการดำเนินธุรกิจ ก็คือสายการบิน Southwest สายการบิน Southwest มีกำไรเพิ่มขึ้นจาการปรับระบบธุรกิจให้สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้า ไม่ว่าจะเป็นเรื่องขั้นตอนการเลือกที่นั่งของลูกค้าหรือการให้บริการลูกค้าสรุปแล้วจะเห็นได้ว่าห่วงโซ่คุณค่านั้นมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อองค์กรธุรกิจที่
จำหน่ายผลิตภัณฑ์และธุรกิจขายบริหารจำไว้ว่าการจะทำให้ห่วงโซ่คุณค่าขององค์กรมีความโดดเด่นและเหนือกว่าคู่แข่งขันนั้น องค์กรจำเป็นจะต้องกำหนดวัตถุประสงค์ของกิจกรรมทุก ๆ กิจกรรมไว้อย่างชัดเจน และให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน
4. ความได้เปรียบของแหล่งทรัพยากร (System assets / resources advantages) ทรัพยากรขององค์กรประกอบไปด้วยสินทรัพย์ที่ตัวตน เช่น ผลิตภัณฑ์และอาคาร และสินทรัพย์ที่ไม่มีตัวตน เช่น ลิขสิทธิ์ ตราสินค้า และชื่อเสียงขององค์กร องค์กรส่วนใหญ่จะใช้ประโยชนจากทรัพยากรที่มีอยู่ในการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันให้เกิดขึ้น ซึ่งการใช้ทรัพยากรเพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันให้เกิดขึ้นนี้ เรียกว่าAsset Based Competitive Advantages เช่น Coca – Cola เป็นบริษัทที่มีชื่อเสียงทางด้านเครื่องดื่มน้ำอัดลมจนเป็นที่รู้จักกันทั่วโลกมีมูลค่าของตราสินค้า (brand equity) สูงมาก ประกอบกับ Coca – Cola มีระบบการจัดจำหน่ายสินค้าที่มีประสิทธิภาพ มีทรัพยากรในการขนส่งสินค้าอย่างครบครัน ปัจจุบัน Coca – Cola มีความได้เปรียบทางการแข่งขันในด้านทรัพยากรที่มีอยู่ นั่นคือระบบการจัดจำหน่ายที่มีประสิทธิภาพและตราสินค้าที่มีชื่อเสียง
5. ความได้เปรียบในเรื่องพันธมิตร (Partner advantage) การมีพันธมิตรที่ดีจะช่วยสนับสนุนให้องค์กรสามารถพัฒนาธุรกิจอย่างรวดเร็ว หลายองค์กรพยายามค้นหาคู่ค้าเพื่อสร้างเป็นพันธมิตรในการทำธุรกิจระยะยาว เช่น Rover ได้ประสบปัญหาด้านธุรกิจจำหน่ายรถยนต์กับสภาวะการขาดทุนและไม่สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้อีกจนกระทั่ง Honda ได้เข้ามาร่วมลงทุนขอเป็นพันธมิตรด้วยและได้ช่วยทำให้ Rover สามารถขายกิจการของตนเองได้กับ BMW ได้ การสร้างพันธมิตรทางธุรกิจไม่ใช่เรื่องง่ายที่องค์กรใดก็สามารถทำได้ องค์กรจะต้องมีการคัดเลือกพันธมิตรให้เหมาะสมกับองค์กรของตน เปรียบเสมือนการรวมจุดแข็งขององค์กรสองฝ่ายเข้าด้วยกันเพื่อสร้างผลประโยชน์สูงสุดให้เกิดขึ้นและนำไปสู่ความได้เปรียบทางการแข่งขันต่อไป
6. ความได้เปรียบในการประหยัดต้นทุนในการผลิต (Scale and scope advantage) องค์กรสามารถสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันให้เกิดขึ้นได้ด้วยการมุ่งเน้นการสร้าง Economies of Scope นั่นคือ ความสามารถในการลดต้นทุนโดยใช้ทรัพยากรร่วมกันของหน่วยธุรกิจต่าง ๆ เราจะสังเกตเห็นได้ว่าโรงงานขนาดใหญ่มักจะมีต้นทุนการผลิตต่อหน่วยต่ำเนื่องจากผลิตสินค้าหลายประเภทเป็นจำนวนมาก จึงสามารถให้ทรัพยากรในการผลิตร่วมได้ก่อให้เกิดการประหยัดต้นทุนในการผลิต ส่วนหลักการของ Economies of Scale จะเน้นไปในเรื่องของการผลิตในปริมาณที่มากเพื่อให้ต้นทุนต่อหน่วยต่ำลง
กลยุทธ์การสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันจะประสบความสำเร็จได้นั้นองค์กรจะต้องมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่องและใช้กลยุทธ์ทั้ง 6 มิตินี้ก็คือ Singapore Airline ซึ่งเป็นสายการบินที่เริ่มต้นจากการใช้กลยุทธ์การสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน แล้วมีการพัฒนากลยุทธ์ในด้านอื่น ๆในระยะเวลาต่อมา โดยสรุปแล้ว Singapore Airline มีการใช้กลยุทธ์ดังนี้
กลยุทธ์การสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันในเรื่องของการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด (Resource advantage)
• Singapore Airline มีรัฐบาลสิงคโปร์เป็นเจ้าของสายาการบินและเป็นเจ้าของท่าอากาศยาน ส่งผลให้ต้นทุนในการบริการต่ำกว่าคู่แข่งขันมาก นอกจากนี้ Singapore Airline ยังมีระบบการบริหารกิจกรรมทางธุรกิจได้เป็นอย่างด
เช่น มีการจัดระบบการจองตั๋วเครื่องบินที่รวดเร็วถูกต้อง และทันสมัยอยู่ตลอดเวลา Singapore Airline จึงมีความได้เปรียบในการแข่งขันตามหลักการของ Asset-Based Competitive Advantage การมีพันธมิตรที่ดีเป็นหนทางสู่ความสำเร็จได้ในอนาคต (Partner advantage)
• Singapore Airlines มีเครือข่ายพันธมิตรมากทั้งในแถบยุโรปและอเมริกาซึ่งการมีพันธมิตรจำนวนมากนี้เอง ส่งผลให้ลูกค้าที่อยู่ทางยุโรปและ
• อเมริกาสามารถเลือกการเดินทางมายังแถบเอเชียได้โดยใช้บริหารของ Singapore Airline เพราะการเดินทางมีความสะดวกและรวดเร็ว
Singapore Airline เป็นสายการบินขนาดเล็ก ดังนั้น Singapore Airline จึงไม่สามารถใช้กลยุทธ์ทางด้าน Economies of Scaleได้ อย่างไรก็ตาม Singapore Airline จำเป็นที่จะต้องปรับกลยุทธ์ของตนให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมของตลาด เนื่องจากสภาวะการแข่งขันค่อนข้างสูงหากสายการบินคู่แข่งมีการปรับตัวและพัฒนาการให้บริการที่เหนือกว่าแล้ว Singapore Airline ก็จำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนตาม
สรุป
องค์กรควรที่จะพิจารณาพื้นฐานขององค์กร ว่าจะสามารถสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันให้เกิดขึ้นได้หรือไม่ โดยการพิจารณาพื้นฐานขององค์กร ว่าจะสามารถสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันให้เกิดขึ้นได้หรือไม่ โดยการพิจารณาจากทรัพยากรที่มีอยู่ ไม่ว่าจะเป็นเงินทุน บุคลากร ผลิตภัณฑ์ หรือชื่อเสียงขององค์กร และดูว่าสิ่งเหล่านี้จะสามารถส่งเสริมให้องค์กรสามารถสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันให้เกิดขึ้นได้อย่างไร สิ่งที่องค์กรควรทำ ก็คือการสร้างระบบวิเคราะห์สถานการณ์ทางการตลาดควบคู่กันไป องค์กรใดที่สามารถทำได้องค์กรนั้นก็จะสามารถสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันให้เกิดขึ้นได้อย่างง่ายดาย
ข้อมูลจาก อาจารย์กลัยาณี สูงสมบัติ สื่อการสอนวิชาเทคนิคการจัดการสมัยใหม่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
บทที่ 11 การบริการจัดการธุรกิจสีเขียวและการวิเคราะห์ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิต
แนวโน้มของการพัฒนาแนวคิดกรีนหรือโลกสะอาดยังคงเป็นสิ่งที่หลายคนอยากเห็นว่าจะดำเนินไปอย่างไรในอนาคต จึงมีนักวิจัยหลายสำนักออกมาพยากรณ์เกี่ยวกับแนวโน้มของโกลบอล กรีนกันตั้งแต่ต้นปี 2012อย่างเช่นสถาบันที่มีชื่อว่าเดอะ สเปนเซอร์ อินสติ The Spencer Institute ได้เสนอข้อคิดเห็นเกี่ยวกับแนวโน้มของการดำเนินชีวิตแบบกรีนและการดำรงอยู่แบบเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในปี 2012 ไว้ว่าชีวิตในอนาคตยังคงเน้นความพยายามที่จะอยู่แบบกรีนมากขึ้นกว่าเดิม โดยคาดว่าจะเน้นในด้านอาหาร ไลฟ์สไตล์ และการพัฒนาเศรษฐกิจที่มีสัดส่วนของการเติบโตแบบกรีนมาขึ้น ทำให้สีของปี 2012 ยังคงเป็นสีเขียว และแนวคิดกรีนไม่ใช่เพียงแนวโน้มของโลกอีกต่อไป
กรีนไลฟ์สไตล์
กรีนไลฟ์สไตล์หมายถึงการดำรงชีวิตประจำวันแบบกรีน โดยเฉพาะความพยายามดูแลสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอ ไม่เจ็บไม่ไข้ เพื่อจะได้ไม่ต้องจ่ายเงินประกันสุขภาพที่แพงขึ้น และการเก็บภาษีด้านการรักษาพยาบาลมากขึ้น พร้อมกับเพิ่มความตั้งใจในการลดการเบียดเบียนโลกและสิ่งแวดล้อม
แนวคิดแบบนี้ จึงเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามจะประหยัด พร้อมทั้งเยียวยาสุขภาพร่างกายให้สมบูรณ์ แข็งแรงมากขึ้น พร้อมกับแรงบันดาลใจในการบริโภคให้น้อยลง รายจ่ายการบริโภคลดลง จะได้ลดการเบียดเบียนธรรมชาติลง และเอาเวลาที่เคยกินๆ นอนๆ ไปทำสิ่งที่เป็นสาระอย่างอื่นแทนความตั้งใจเหล่านี้มีโอกาสเกิดผลสำเร็จได้มากขึ้นในปี 2012 เพราะผู้คนได้มีการเรียนรู้ว่าการมีสุขภาพที่ดีต้องทำอย่างไร และการใช้ชีวิตแบบเลี่ยงความเสี่ยงจะต้องไม่ทำอะไรบ้างที่อาจนำไปสู่เหตุการณ์ความเสี่ยง
อาหารสีเขียว
ทางเลือกใหม่
เมื่อความตั้งใจจะมีไลฟ์สไตล์แบบกรีนเริ่มต้นขึ้น อาหารก็กลายเป็นปัจจัยสำคัญที่จะสนับสนุนการดำรงชีวิตในแบบที่ตั้งใจ อาหารออร์แกนิก ปราศจากการใช้สารเคมีหรือ GMOผ่านการดัดแปลงหรือปรุงแต่งน้อยลงให้มากที่สุด และสิ้นเปลืองหีบห่อน้อยที่สุดจะกลายเป็นทางเลือกที่ผู้คนต้องการมากขึ้นในปี 2012
เศรษฐกิจแบบกรีน
แนวโน้มที่เห็นได้ชัดเจนขึ้นคือทั้งบุคคลธรรมดาและกิจการห้างร้านจะหันไปเลือกการลงทุนและทุ่มแวลาและงบประมาณเพื่อกิจกรรมที่เป็นความรับผิดชอบต่อสังคมหรือ CSR มากขึ้น
ในส่วนของผู้ประกอบการ การพัฒนารูปแบบการดำเนินงานแบบกรีนมากขึ้น ถูกมองว่าจะช่วยในการสร้างความได้เปรียบด้านการแข่งขันที่ใช้กับคู่แข่งขันได้ ยกระดับคุณธรรมของบุคลากร ยกระดับสภาพแวดล้อมการทำงานให้บุคลากรมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สามารถลดค่าใช้จ่ายดำเนินงานด้านพนักงานและเพิ่มประสิทธิภาพ จนทำให้ผลการประกอบการดีขึ้น ทำให้สาธารณชนตระหนักว่ากิจการให้ความสำคัญกับการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมและใส่ใจในสินค้าและบริการที่วางจำหน่าย เพื่อตอบสนองผู้บริโภคที่ใส่ใจกับการเลือกสินค้ามากขึ้นการศึกษาของบอสตัน คอนซัลติง กรุ๊ป จากผู้บริโภค 9,000 คนทั่วโลกพบว่า การเลือกซื้อกรีนโปรดักส์ยังคงมาอันดับแรก แม้ว่าภาวะเศรษฐกิจจะถดถอยลง และ 73% ของคนอเมริกันถือว่าประวัติของผู้ประกอบการในการรณรงค์เรื่องกรีนโปรดักส์เป็นตัวแปรในการตัดสินใจซื้อสินค้าและบริการนอกจากนั้น นักวิเคราะห์ยังเชื่อว่าธุรกิจด้านกรีนโปรดักส์จะกลายเป็นธุรกิจยักษ์ใหญ่ในอนาคต อย่างเช่นบริษัทซีร็อกซ์เชื่อว่ากลังจากใช้กรีนโมเดลแล้ว บริษัทจะประหยัดค่าออกแบบและต้นทุนการผลิตไปได้ไม่น้อยกว่า 2,000 ล้านดอลลาร์ หรือโตโยต้าที่ใช้สายการผลิตเดียวกับรถยนต์หลายรุ่น จนประหยัดพลังงานในโรงงานได้กว่า 30% แสดงว่าการใช้กรีนไม่ได้เป็นเพียงการทำความดี แต่ยังเป็นการเพิ่มพูนรายได้ของกิจการด้วยนอกจากกิจการที่เป็นผู้ผลิตแล้ว กิจการค้าปลีกของโลกจะขยับใช้กรีนโมเดลกันมากขึ้นในปี 2012 ต่อเนื่องจากปีที่แล้ว อย่างเช่น ห้างวอลมาร์ทได้กำหนดให้กิจการคู่ค้าที่ผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคส่งให้ตนต้องตอบคำถามด้านกรีน 15 ข้อ เพื่อประเมินว่าได้มีส่วนร่วมในการพัฒนากรีนโปรดักส์อย่างเพียงพอหรือตามความเห็นของแบทเทลล์ (Battelle) ได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับ 10 อันดับแนวโน้มของกรีนในอนาคต ดังนี้
แนวโน้มแรก การเพิ่มขึ้นของการใช้พลังงานยั่งยืนและหมุนเวียนใช้ใหม่สำหรับเครื่องปั่นไฟฟ้าใช้ อันเนื่องมาจากการเติบโตของประชากร รวมถึงการขยายตัวออกไปของตัวเมือง โดยเฉพาะในจีนและอินเดีย จะทำให้เกิดความต้องการใช้ไฟฟ้ามากขึ้น และไฟฟ้าควรจะเป็นพลังงานสะอาด หาไม่ได้มาจากการเผาเหมืองถ่านหิน หรือการสร้างมลภาวะ และแก๊สเรือนกระจกพลังงานในปี 2012 จะเพิ่มความสนใจในพลังงานลม พลังงานโซลาร์ เซลล์เชื้อเพลิงเหลว เชื้อเพลงจากไบโอ เทคโนโลยีการเผาถ่านที่ทำให้โลกสะอาด
แนวโน้มที่สอง การบริหารทรัพยากรน้ำ ด้วยการใช้ซ้ำและรีไซเคิลน้ำมาใช้ใหม่ เป็นอีกหนึ่งของความพยายามจะประหยัดน้ำที่ใช้ในการอุปโภคบริโภคไว้ให้มากที่สุด ที่เริ่มมีความสำคัญมากขึ้นในวงการกรีนตามลำดับการดำเนินการเรื่องนี้มีความเป็นไปได้มากน้อยเพียงใดขึ้นกับความก้าวหน้าของเทคโนโลยี จนทำให้ได้เทคโนโลยีใหม่ๆ ในการบริหารจัดการน้ำได้มีประสิทธิผลมากขึ้น ควบคู่กับการปรับปรุงคุณภาพของน้ำดื่มน้ำใช้ ทำให้พี้นที่แห้งแล้งและอยู่อาศัยไม่ได้ในโลกลดลง และการตั้งโรงงานบำบัดเพื่อบริหารจัดการกับบรรดาน้ำทิ้งจากอาคารบ้านเรือน
แนวโน้มที่สาม การออกกฎหมายและนโยบายในการควบคุมการสร้างคาร์บอน เป็นการพยายามใช้เกณฑ์ภาคบังคับผสมกับความสมัครใจในการควบคุมระดับการสร้างคาร์บอนในระดับประเทศ โดยการลงนามร่วมกันของผู้บริหารประเทศและระหว่างรัฐบาลของประเทศต่าง ๆในระยะต่อไป อาจมีการออกกฎหมายที่ควบคุมการระดับการสร้างคาร์บอนของรถยนต์แต่ละคันที่วิ่งอยู่บนท้องถนน หรือการเก็บภาษีรถที่สร้างคาร์บอน เพื่อให้การควบคุมคาร์บอนอยู่บนมาตรฐานเดียวกันทั่วทั้งโลกการพัฒนาความเข้มงวดของกฎหมายน่าจะทำให้การผลิตสินค้าสะอาด และระบบพลังงานในรถยนต์เปลี่ยนแปลงไปอย่างถาวร
แนวโน้มที่สี่ คือ การเกิดธุรกิจที่ใช้โมเดลเกี่ยวข้องกับกรีนอย่างเต็มรูปแบบ ซึ่งที่ผ่านมาได้เกิดสภาวการณ์นี้แล้ว โดยเป็นกิจการที่คำนึงถึงสังคม ใช้โมเดลการดำเนินงานแบบกรีนครบวงจร และขายกรีนโปรดักส์ของตนให้กับสังคม โดยยังสามารถเลี้ยงชีพและดำรงกิจการอยู่ได้การดำเนินงานของกิจการเหล่านี้ใช้เทคโนโลยีสะอาดในการดำเนินงานทั้งหมดและถ่ายนทอดลงไปสู่ผู้ประกอบการรายอื่น เช่น รับบริหารการสูญเปล่าด้านอุตสาหกรรม และการใช้พลังงานที่สิ้นเปลืองน้อยลง โดยผู้ประกอบการที่ลงทุนซื้อเทคโนโลยีกรีนเหล่านี้ก็จะได้ประโยชน์ด้วย
แนวโน้มที่ห้า การขนส่งและคมนาคมที่เป็นกรีน เนื่องจากไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของแก๊สเรือนกระจกมาจากรถยนต์ การสร้างรถยนต์มากขึ้นก็คือการสร้างคาร์บอนมากขึ้นด้วยแนวโน้มส่วนนี้จึงเป็นการเน้นที่จะพัฒนาพลังงานหมุนเวียนและพลังงานยั่งยืนเพื่อให้กับรถยนต์ รวมทั้งอีเธอนอล และพลังงานไบโอทั้งหลาย ที่มีการสำรวจและวิจัยกันมากมาย และคาดว่าจะมีบทบาทมากขึ้นเรื่อยๆ ในอนาคตในอนาคตรถยนต์พลังงานผสมหรือไฮบริด รถยนต์ไฟฟ้า จึงเป็นสิ่งที่จะปรากฏโฉมในท้องถนนมากขึ้น
แนวโน้มที่หก การเพิ่มขึ้นของกรีนโปรดักส์ในท้องตลาดที่มีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นจากปัจจุบัน จากการเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้ประกอบการกรีนโปรดักส์ และการเติบโตอย่างต่อเนื่องของผู้บริโภคที่เป็นกรีน ชอปปิ้ง ซึ่งการกระจายตัวของตลาดจะทำให้ราคาต่อหน่วยของสินค้ากรีนโปรดักส์น่าจะลดลงตามลำดับ
แนวโน้มที่เจ็ด การพัฒนาแนวคิดเชิงระบบ (System Approach) ในการวิเคราะห์ผลกระทบของการผลิตต่อสภาพแวดล้อม เพื่อให้การวัดและประเมินผลกระทบได้อย่างแม่ยำมากขึ้นแต่เดิมประเด็นนี้มีการพิจารณาแต่เพียงในระดับของท้องที่ ด้วยการประเมินตัวผลิตภัณฑ์ กระบวนการผลิต และโรงงานผลิตว่ากระทบต่อคุณภาพของสิ่งแวดล้อมอย่างไร แต่ในปี 2012 มุมมองจะเปิดกว้างมากขึ้น ตั้งแต่การผลิต การจัดจำหน่ายสินค้า และการบริโภคตลอดวิถีทางทางการตลาดและกำลังจะขยายต่อไปในระดับภาคอุตสาหกรรมและระดับมหภาค ซึ่งเป็นการพิจารณาทั้งระบบตลอดห่วงโซ่อุปทาน และพิจารณาผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมที่เป็นระดับชุมชน ระดับประเทศ และระดับโลก โดยการทำงานด้านการประเมินดังกล่าวจะใช้เทคโนโลยีและคอมพิวเตอร์มามีส่วนช่วยมากขึ้น เพื่อให้สามารถเชื่อมโยงผลกระทบได้ทั้งระบบ
แนวโน้มที่แปด โลกจะได้รับผลกระทบมากขึ้นจากการขยายตัวของเมืองและประชากรที่เข้าไปใช้ประโยชน์หรือทำลายทรัพยากรธรรมชาติมากขึ้นการเพิ่มขึ้นของประชากรในทุกมุมโลก หมายถึงจำนวนผู้บริโภคจะมีเพิ่มมากขึ้น มลภาวะมากขึ้น ซึ่งทำให้แนวโน้มและความจำเป็นในการใช้กรีนคอนเซปต์ต้องทำอย่างจริจังมากขึ้นประชากรของโลกเพิ่มขึ้นจนผ่านระดับ 6,000 ล้านคนเมื่อปี 2000 และคาดว่าจะเพิ่มเป็น 7,800 ล้านคนในปี 2020การเปลี่ยนแปลงที่อยู่ของประชากรออกไปตามการขยายตัวของครอบครัว ทำให้สิ่งอำนวยความสะดวก สาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานขยายตามออกไปด้วย
แนวโน้มที่เก้า ความก้าวหน้าและใช้ชีวิตอยู่บนเทคโนโลยี สารสนเทศ และการสื่อสาร ทำให้การติดต่อสื่อสารถึงกันทำได้ผ่านระบบรีโมต และทางไกล ไม่ต้องการการเดินทางไปพบกันแบบเผชิญหน้า ค่าใช้จ่ายในการเดินทางหรือการเคลื่อนที่ทางกายภาพจึงมีแนวโน้มที่จะลดลง รวมไปถึงการทำงานจากที่พักอาศัยแทนการออกไปตั้งต้นงานที่สำนักงานหรือในออฟฟิศที่ห่างไกลการพัฒนาการแบบนี้ สนับสนุนแนวคิดของกรีนคอมเซปต์โดยไม่ตั้งใจ แต่เป็นไปอย่างมีประสิทธิผล
แนวโน้มที่สิบ อาคารบนแนวคิดกรีนจะเพิ่มขึ้น จากการที่สถาปัตย์และนักออกแบบอาคารได้คำนึงถึงรูปแบบการทำงานของอาคารที่จะช่วยลดภาวะโลกร้อนมากขึ้นอาคารสมัยใหม่จึงพิจารณาการบริหารจัดการความอบอุ่นหรือความร้อนภายในอาคาร การลดการใช้ไฟฟ้าในการให้แสงสว่างแต่ให้อาคารมีแสงสว่างที่เพียงพอเอง และใช้ระบบการบริหารจัดการน้ำแบบใช้หมุนเวียนซ้ำการพัฒนาในเรื่องอาคารนี้ได้ขยายวงออกไปเป็นเรื่องของ กรีนซิตี้ หรือ อีโค ซิตี้ ไม่ใช่เพียงระดับของหมุ่บ้านหรือชุมชนเท่านั้นเรื่องนี้มีอิทธิพลต่อการวางผังและการปรับปรุงผังเมืองใหม่ให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น เช่น การกำหนดพื้นที่สีเขียวเป็นภาคบังคับ การจัดพื้นที่ที่รองรับอากาศบริสุทธิ์ในชุมชนเป็นที่คาดหมายกันว่า กฎเกณฑ์ที่เข้มงวดเกี่ยวกับอาคารแบบกรีนนี้จะเริ่มนำออกมาใช้ในอนาคตอันใกล้นี้ ทำให้อาคารสร้างใหม่ต้องพัฒนาระบบพลังงานทางเลือก โดยเฉพาะพลังงานโซลาร์ รวมทั้งพลังงานลม
ข้อมูลจาก ดร.พิพัฒน์ ยอดพฤติการณ์ บล็อกธุรกิจ CEO
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น