หน้าเว็บ

นายชัยวัฒน์ โฉมสุข รหัส 244 การจัดการทั่วไป


การสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน
                การเสริมสร้างองค์กรให้แข็งแกร่ง  มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลในยุคของการแข่งขันทางธุรกิจ  ผู้นำหรือผู้บริหารขององค์กรที่บทบาทสำคัญ และได้รับการสนับสนุนจากพนักงานระดับปฏิบัติการ  การได้เปรียบในการแข่งขันจะเกิดขึ้นได้  ผู้นำหรือผู้บริหารจำเป็นต้องมีแนวทางในการดำเนินงานที่มีความชัดเจน  โดยเริ่มจากการกำหนดวิสัยทัศน์ (Vision) การกำหนดเป้าหมาย (Goals) การกำหนดคุณค่าและความเชื่อร่วมกัน (Value and Belief) และการกำหนดกลยุทธ์ (Strategies) บทบาทพนักงานระดับปฏิบัติการเป็นบทบาทของการสนับสนุนและประสานงาน ทำให้เกิดแนวทางการปฏิบัติ มีรายละเอียดดังนี้

เมื่อกล่าวถึงการสร้างความเป็นผู้นำขององค์กรคนส่วนมากจะมีความเข้าใจว่าเป็นบทบาทของผู้นำหรือผู้บริหารขององค์กรเพียงฝ่ายเดียวที่จะทำให้องค์กรมีความแข็งแกร่ง และการได้เปรียบทางการแข่งขันทางธุรกิจ ซึ่งก็มีส่วนที่ถูกต้องส่วนหนึ่ง  แต่ถ้าหากขาดการสนับสนุนจากบทบาทการปฏิบัติงานของพนักงานระดับปฏิบัติการแล้ว   ความแข็งแกร่งและการได้เปรียบทางการแข่งขันทางธุรกิจก็อาจจะเกิดขึ้นได้ยาก  ดังนั้น  การประสานกันระหว่างบทบาทของผู้นำกับบทบาทของพนักงานระดับปฏิบัติการ  ย่อมเป็นหนทางที่จะก่อให้เกิดความสำเร็จอย่างแน่นอนแต่ทั้งนี้บทบาทของผู้นำหรือผู้บริหารจำเป็นต้องมีแนวทางในการดำเนินงานที่มีความชัดเจน  โดยเริ่มจากการที่ผู้นำหรือผู้บริหารจะต้องมีการกำหนดวิสัยทัศน์ (Vision) การกำหนดเป้าหมาย (Goals) การกำหนดคุณค่าและความเชื่อร่วมกัน (Value and Belief) และการกำหนดกลยุทธ์ (Strategies) ในด้านบทบาทของพนักงานระดับปฏิบัติการเป็นบทบาทของการสนับสนุนและประสานงาน  ทำให้เกิดแนวทางการปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม   ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

1.  บทบาทของผู้นำหรือผู้บริหาร  การประสบความสำเร็จของการที่จะทำให้องค์กรเป็นผู้นำทางธุรกิจ   และสามารถแข่งขันกับคู่แข่งขันทางธุรกิจได้เป็นอย่างดี  ผู้นำหรือผู้บริหารจำเป็นต้องมีความเฉลียวฉลาด  ทั้งระดับสติปัญญาและระดับวุฒิภาวะทางอารมณ์  ซึ่งจะเป็นแนวทางที่จะทำให้กำหนดบทบาทและภาระหน้าที่ได้อย่างชัดเจนและมีประสิทธิภาพผู้นำหรือผู้บริหารจะบริหารจะต้องใช้แนวคิดที่แนวทางขององค์กร นำไปสู่ความสำเร็จ  สำหรับบทบาทของผู้นำหรือผู้บริหารที่จะทำให้องค์กรได้เปรียบทางการแข่งขันทางธุรกิจควรมีดังนี้

1.1  การกำหนดวิสัยทัศน์  (Vision)
การกำหนดวิสัยทัศน์เป็นบทบาทแรกของภาวะหน้าที่ของผู้นำ  หรือผู้บริหารองค์กรวิสัยทัศน์ที่ผู้นำหรือผู้บริหารจะต้องให้ความสำคัญ  ควรมีลักษณะที่ก่อให้เกิดความรู้สึกน่าสนใจ  การก่อให้เกิดความหมายในชีวิตการทำงานและชีวิตส่วนบุคคล  การกำหนดมาตรฐานของความเป็นเลิศที่โดดเด่น  และเป็นตัวเชื่อมความเป็นอดีตที่จะส่งผลต่อความสำเร็จในอนาคต  โดยปกติแล้วการกำหนดวิสัยทัศน์จะต้องมีความชัดเจน  สั้น  และเข้าใจง่ายต่อการนำไปสู่การปฏิบัติ  เช่น  การกำหนดวิสัยทัศน์ของบริษัทวอลท์  ดิสนีย์ (Walt Disney) คือ การทำให้ทุก ๆ คนมีความสุข เป็นต้น
1.2  การกำหนดเป้าหมาย (Goals)
การกำหนดเป้าหมายที่ดีควรมาจากการที่นำวิสัยทัศน์มาพิจารณา  ในการกำหนดเป้าหมายทั้งเป็นเป้าหมายที่เป็นทางการ (Official Goal) และเป้าหมายปฏิบัติการ (Operative Goals)
เป้าหมายที่เป็นทางการ (Official Goal)  เป็นการกำหนดทิศทางขององศ์การในอนาคตโดยอธิบายถึงวิสัยทัศน์ขององค์กรและคุณค่าของ
การมาอยู่ร่วมกันในองค์กร  ซึ่งจะก่อให้เกิดความเป็นน้ำหนึ่งอันเดียวกัน  เป็นเกณฑ์สำหรับจูงใจทรัพยากรบุคคลในองค์กร  และสร้างบรรยากาศ
ในการทำงานให้กับพนักงาน
เป้าหมายปฏิบัติการ (Operative Goals) เพื่ออธิบายถึงการวัดผลที่เฉพาะเจาะจงขององค์กร  ในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับความสำเร็จขององค์กร
กำหนดระยะเวลาในการปฏิบัติงานที่สั้นกว่าเป้าหมายที่เป็นทางการซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับผลการปฏิบัติงานของพนักงาน  การบำรุงรักษา  การ
ปรับปรุงเปลี่ยนแปลง
1.3  การกำหนดคุณค่าและความเชื่อร่วมกัน (Value and Belief)
ในการทำงานร่วมกันจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจกันทำงาน  โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้นำหรือผู้บริหารที่มีบทบาทที่เหนือกว่าพนักงานระดับปฏิบัติการ จึงต้องมีการกำหนดคุณค่าของตัวเองโดยความสำนึกในความรับผิดชอบ (Accountability) ความเป็นกลาง (Neutrality) การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ(Participation) การมีความโปร่งใสในการเปิดเผยข้อมูลให้กับผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง (Transparency) การมุ่งสู่ผลสัมฤทธิ์ในการทำงาน (Result Orientation)และความเป็นมืออาชีพในหน้าที่การงานที่ทำอยู่ (Alums)

2.  ส่วนความเชื่อร่วมกัน ผู้นำหรือผู้บริหารพนักงานทุกคนที่ความรู้มีความสามารถที่จะทำงานร่วมกันได้เป็นอย่างดี ไม่มีการแบ่งพรรคแบ่งพวกที่จะทำให้เกิดการแตกแยก

1.4  การกำหนดกลยุทธ์ (Strategies)
เป็นหน้าที่และบทบาทที่ผู้นำหรือผู้บริหาร นำเป้าหมายที่เป็นทางการ และเป้าหมายปฏิบัติการมาพิจารณาร่วมกัน  เพื่อให้ทราบทิศทางของการดำเนินงานขององค์กรว่า ควรจะเป็นไปในทิศทางใด ซึ่งการที่จะได้ทิศทางของการดำเนินงานที่ถูกต้องและชัดเจนนั้น ผู้นำหรือผู้บริหารจะต้องพิจารณาเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกขององค์กร ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
สภาพแวดล้อมภายในองค์กร (Internal Environment) เป็นสิ่งที่ผู้นำหรือผู้บริหารควบคุมให้เป็นไปในทิศทาง  ทางของเป้าหมายที่เป็น
ทางการ  และเป้าหมายการดำเนินการภายในองค์กร  เป็นเครื่องมือสำหรับการควบคุมเพื่อก่อให้เกิดการได้เปรียบทางการแข่งขัน มีดังนี้
ก. จุดแข็ง (Strengths)
การค้นหาจุดแข็งขององค์กรจะเป็นข้อได้เปรียบ  และมีความแตกต่างไปจากคู่แข่งขันทางธุรกิจ  ทำให้บุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องทางธุรกิจสามารถาจดจำและให้ความสนใจได้เป็นพิเศษ  เรียงลำดับความสำคัญ  ตั้งแต่จุดแข็งที่มีความสำคัญที่สุดจนถึงมีความสำคัญน้อยที่สุด  ทั้งนี้  เพื่อที่จะสามารถนำจุดแข็งเหล่านั้นมาสร้างเป็นแนวทางการกำหนดกลยุทธ์ขององค์กร  ให้มีความชัดเจนและถูกต้องมากขึ้น
ข.  จุดอ่อน (Weaknesses)
องค์กรทุกองค์กรที่จุดอ่อนด้วยกันทั้งสิ้น  การยอมรับจุดอ่อนและที่มาจุดอ่อนให้กลับกลายเป็นจุดแข็ง  ก็เป็นอีกหนทางหนึ่งของการสร้างศักยภาพของการแข่งขันทางธุรกิจ และความเจริญก้าวหน้าขององค์กร
สภาพแวดล้อมภายนอกองค์กร (External Environment) เป็นสิ่งที่ผู้นำหรือผู้บริหารไม่สามารถควบคุมได้  นอกจากที่วิสัยทัศน์กว้างไกล  มักจะคาดการณ์ล่วงหน้าถึงสภาพปัญหาหรืออุปสรรคต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นมาในอนาคต  โดยศึกษาเรื่องต่าง ๆ ดังนี้
ค.  โอกาส  (Opportunities) มีอยู่ทั่วไปในธุรกิจ ผู้นำหรือผู้บริหารจะหยิบยกมาใช้เพื่อเสริมสร้างศักยภาพขององค์กร และการได้เปรียบทางการแข่งขันพิจารณาทางโอกาสที่เหนือกว่าผู้อื่น

2.  กลยุทธ์การแข่งขันของพอร์ตเตอร์ (Porter   Competitive Strategies) มี 3 องค์ประกอบ ได้แก่

2.1 การลดต้นทุนทางการจัดการ (Low – Cost Leadership) พิจารณาสภาพแวดล้อมภายนอก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คู่แข่งขันทางธุรกิจมาเป็นแนวทางในการลดต้นทุนทางการจัดการขององค์กร เช่น ผลิตสินค้าที่ได้มาตรฐานและมีคุณภาพขณะที่ต้นทุนถูกกว่าคู่แข่งขัน การลดเวลาของกระบวนการทำงานให้สั้นลง แต่ค่าใช้จ่ายในการตอบแทนพนักงานเท่าเดิม เป็นต้น
2.2  การสร้างความแตกต่าง (Differentiation) การสร้างความแตกต่างจากคู่แข่งขันทางธุรกิจ จะทำให้เป็นเอกลักษณ์ขององค์กรที่เกิดจากกระทำการ  ซึ่งเป็นการได้เปรียบทางการแข่งขันทางธุรกิจ    อาจจะเป็นความแตกต่างในกระบวนการทำงานขององค์กร หรือสินค้าและบริการ แต่ทั้งนี้ความแตกต่างดังกล่าวจะต้องแสดงให้เห็นถึงประสิทธิผลและประสิทธิภาพที่เหนือกว่าคู่แข่งขัน
2.3  การมุ่งเน้นเฉพาะ (Focus) การได้เปรียบทางการแข่งขัน ผู้นำหรือผู้บริหารจะต้องพิจารณาเน้นเฉพาะกลุ่มที่มีส่วนเกี่ยวข้องทางธุรกิจ ทั้งนี้เพื่อตอบสนองต่อความต้องการและความพึงพอใจได้อย่างเต็มที่

2.  บทบาทของพนักงานระดับปฏิบัติการ มี  2 ลักษณะ

2.1 บทบาทในการเป็นผู้ปฏิบัติตามกลยุทธ์ขององค์กร  การเป็นพนักงานระดับปฏิบัติที่ควรมีแนวคิดในการปฏิบัติตามแนวทางกลยุทธ์ขององค์กร อันเนื่องมาจากเหตุผลที่ว่า  ถ้าองค์กรสามารถยืนหยัดอยู่ได้ในธุรกิจ  พนักงานทุก ๆ คนก็จะอยู่รอดไปด้วยกัน  และถ้าหากพนักงานทุก ๆ คน มีความกระตือรือร้นในการปฏิบัติตามกลยุทธ์ขององค์กรอย่างเต็มที่  องค์กรก็อาจจะได้เปรียบทางการแข่งขันทางธุรกิจ  ก็หมายความว่า  ผลประโยชน์ต่าง ๆที่จะเกิดขึ้นกับองค์กรและพนักงานทุก ๆ คนย่อมเกิดขึ้นแน่นอน การที่ประสบความสำเร็จทางธุรกิจและได้เปรียบทางการแข่งขันทางธุรกิจส่วนมากแล้ว พนักงานทุก ๆ คนมีความสามัคคีร่วมกันเป็นน้ำหนึ่งเดียวกัน  การไว้ใจซึ่งกันและกัน  และการต่อสู้กับอุปสรรคและปัญหาอย่างเต็มที่

2.2  บทบาทในการเป็นผู้ส่งเสริมและให้ข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์  การมีส่วนในการส่งเสริมและให้ข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์  ในการทำให้กลยุทธ์ขององค์กรมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลเพิ่มมากขึ้น  การได้เปรียบทางการแข่งขัน  ควรเริ่มต้นจากผู้นำหรือผู้บริหารในการกำหนดวิสัยทัศน์ กำหนดเป้าหมาย  กำหนดคุณค่าและความเชื่อร่วมกัน และการกำหนดกลยุทธ์ขององค์กร  เพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งประสิทธิผลขององค์กรโดยส่วนรวม  โดยการพิจารณาจากทรัพยากรที่มีอยู่  ไม่ว่าจะเป็นเงินทุน บุคลากรผลิตภัณฑ์  หรือชื่อเสียงขององค์กร  สิ่งเหล่านี้จะสามารถส่งเสริมให้องค์กรสามารถสร้างการสร้างผลิตภัณฑ์พื้นฐานมาประกอบควบคู่กันไป  องค์กรใดสามารถทำได้องค์กรนั้น  ก็จะสามารถสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันได้โดยง่าย
การสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน  6 มิติ

ในยุคที่การแข่งขันมีความรุนแรง  การมุ่งเน้นกลยุทธ์การสร้างความได้เปรียบเพียงกลยุทธ์เดียวอาจส่งผลให้องค์กรไม่สามารถปรับตัวให้
สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปได้ทันท่วงที องค์กรที่ประสบความสำเร็จหลายแห่งได้ใช้กลยุทธ์ที่หลากหลายในการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันให้เกิดขึ้น มิใช่มุ่งเน้นกลยุทธ์เฉพาะเพียงด้านใดด้านหนึ่งเท่านั้น  แต่องค์กรเหล่านี้อาจเริ่มต้นจากการใช้กลยุทธ์เพียงกลยุทธ์เดียวในการแข่งขัน เช่นDell Computer ที่ดำเนินธุรกิจจำหน่ายคอมพิวเตอร์ ได้เริ่มต้นธุรกิจด้วยการมุ่งเน้นการลดต้นทุน ขั้นตอนในการทำธุรกิจจะเริ่มจากเมื่อได้รับคำสั่งซื้อจากลูกค้า แล้วบริษัทจะติดต่อไปยังผู้ผลิตอุปกรณ์ชิ้นส่วนประกอบคอมพิวเตอร์ทันที  เพื่อให้นำชิ้นส่วนมาส่งและประกอบเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์  เสร็จแล้วก็จะดำเนินการจัดส่งให้ลูกค้าทันที  เราจะเห็นได้ว่า Dell  ไม่มีการเก็บสินค้าไว้ที่คลังสินค้าเลย  การบริหารสินค้าเช่นนี้จัดได้ว่าเป็นการมุ่งเน้นทางการลดต้นทุน  โดยเฉพาะต้นทุนของสินค้าคงคลัง  ต่อมาเมื่อการแข่งขันในธุรกิจจำหน่ายคอมพิวเตอร์มีความรุ่นแรงมากขึ้น  Dell  จึงได้นำเอากลยุทธ์ด้านอื่น ๆมาใช้ เช่น การบริการส่งสินค้าอย่างรวดเร็ว  การเน้นคุณภาพของสินค้าและการรับประกัน เป็นต้น
การสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันให้เกิดขึ้นนั้นมาจากการใช้กลยุทธ์ 6 ประการด้วยกัน ซึ่งองค์กรสามารถเริ่มต้นจากกลยุทธ์ใดกลยุทธ์หนึ่งก่อนก็ได้
แต่องค์กรจะต้องมีการพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพของกลยุทธ์ทุกกลยุทธ์ให้มีความเข้มแข็งด้วยกัน  ดังต่อไปนี้
1.  ความได้เปรียบจากการเป็นผู้เข้าสู่ตลาดรายแรก (customer market advantage) ประเด็นแรกที่องค์กรจะต้องให้ความสำคัญคือการสร้างตลาดใหม่หรือเป็นผู้คิดริเริ่มใหม่ ๆ ให้กับลูกค้าซึ่งการริเริ่มในสิ่งที่คู่แข่งยังไม่สามารถทำได้นั้น
จะทำให้องค์กรปราศจากการแข่งขันซึ่งนับได้ว่าเป็นความได้เปรียบอย่างดีเยี่ยมและเป็นจุดเริ่มต้นแห่งความสำเร็จในอนาคต เช่น Xerox  ได้ริเริ่มทำธุรกิจการถ่ายเอกสารเป็นเจ้าแรก  ลักษณะการทำธุรกิจของ  Xerox จึงมีความโดดเด่นเป็นพิเศษภายใต้การจดทะเบียนขอสิทธิบัตร  ด้วยเหตุนี้เองการตลาดของ  Xerox จึงมีความแตกต่างในด้านการนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่มีความโดดเด่นและเหนือกว่าและไม่มีองค์กรใดสามารถทำธุรกิจได้เหมือนกับ Xerox อาจกล่าวได้ว่าเป็นการสร้างความได้เปรียบในการแข่งในเรื่องการเข้าสู่การตลาดเป็นรายแรก

2.  ความได้เปรียบในการนำเสนอผลิตภัณฑ์หรือบริการที่โดดเด่นกว่าคู่แข่ง (product and service advantage) องค์กรใดก็ตามที่สามารถตอบสนองต่อความพึงพอใจของผู้บริโภคที่มีความโดดเด่น  องค์กรนั้นถือได้ว่าเป็นองค์กรที่ใช้กลยุทธ์การสร้างความแตกต่าง  ซึ่งการสร้างความแตกต่างนี้หากจะมองย้อนกลับไปในอดีตแล้ว  เราจะพบว่าองค์กรหลายแห่งได้ใช้กลยุทธ์นี้มานานแล้ว  และมีการพัฒนาไปสู่ความได้เปรียบในการแข่งขันในระยะยาว  เช่น  Samsung  เป็นบริษัทที่จะหน่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่หรือมือถือที่เน้นรูปแบบ  สีสัน  และความทันสมัยของรูปลักษณ์ภายนอก  โดยเฉพาะอย่างยิ่งหน้าจอสีที่มีความคมชัดกว่ายี่ห้ออื่น ส่งผลให้มือถือของ Samsung มีความโดดเด่นและไม่เหมือนคู่แข่งขันรายอื่น  อย่างไรก็ตาม  ข้อด้อยของกลยุทธ์นี้ก็คือคู่แข่งขันสามารถลอกเลียนแบบได้ง่าย  ด้วยเหตุนี้  องค์กรที่ใช้กลยุทธ์ดังกล่าวจะต้องมีการปรับปรุงและพัฒนาผลิตภัณฑ์ของตนเองอยู่เสมอเพื่อให้ก้าวล้ำกว่าของคู่แข่ง

3.  ความได้เปรียบในการสร้างห่วงโซ่คุณค่าหรือระบบธุรกิจ (Business system/value chain advantage) การบริหารกิจกรรมทางธุรกิจเพื่อให้บรรลุเป้าหมายองค์กร เรียกว่าการบริหารห่วงโซ่คุณค่าหรือระบบธุรกิจ   กิจกรรมทางธุรกิจจะเริ่มต้นจากการวิจัยและการพัฒนาผลิตภัณฑ์ การผลิตการขาย  การตลาด  การจัดจำหน่าย  และการบริการหลังการขาย  หากองค์กรธุรกิจมีความโดดเด่นในกิจกรรมทางธุรกิจ   กิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่งก็จะส่งผลให้องค์กรนั้นมีความได้เปรียบทางการแข่งขันในเรื่องนั้น ๆ หลายองค์กรพยายามสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันโดยมุ่งเฉพาะกิจกรรมทางธุรกิจที่องค์กรถนัดและมุ่งการการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง  ส่งผลให้องค์กรนั้นมีกลยุทธ์ที่เหนือกว่าคู่แข่งขัน  และกลายเป็นจุดแข็งหรือเอกลักษณ์ขององค์กรในที่สุด เช่น  บริษัท พรอกเตอร์แอนด์แกมบิล (P&G) จำกัด   มีความเชี่ยวชาญทางการตลาด  บริษัท โซนี่ จำกัด  บริษัทที่เน้นนวัตกรรมในการออกแบบผลิตภัณฑ์ได้ตรงตามความต้องของลูกค้า  บริษัท  โตโยต้า  จำกัด  เน้นประสิทธิภาพในการผลิต  และ American Express บริษัทที่ให้การบริการลูกค้าได้อย่างประทับใจ  เป็นต้น
แนวทางที่จะเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารห่วงโซ่คุณค่า  ก็คือการติดต่อประสานงานระหว่างหน่วยงานในองค์กรเพื่อให้กิจกรรมต่าง ๆ ดำเนินไปได้ด้วยดีในบางครั้งองค์กรจำเป็นจะต้องมีการออกแบบโครงสร้างกรใหม่  เพื่อปรับรูปแบบ  และระบบการดำเนินธุรกิจให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น  ตัวอย่างขององค์กรธุรกิจที่ประสบความสำเร็จในการปรับเปลี่ยนระบบการดำเนินธุรกิจ  ก็คือสายการบิน  Southwest สายการบิน Southwest มีกำไรเพิ่มขึ้นจาการปรับระบบธุรกิจให้สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้า ไม่ว่าจะเป็นเรื่องขั้นตอนการเลือกที่นั่งของลูกค้าหรือการให้บริการลูกค้าสรุปแล้วจะเห็นได้ว่าห่วงโซ่คุณค่านั้นมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อองค์กรธุรกิจที่
จำหน่ายผลิตภัณฑ์และธุรกิจขายบริหารจำไว้ว่าการจะทำให้ห่วงโซ่คุณค่าขององค์กรมีความโดดเด่นและเหนือกว่าคู่แข่งขันนั้น  องค์กรจำเป็นจะต้องกำหนดวัตถุประสงค์ของกิจกรรมทุก ๆ กิจกรรมไว้อย่างชัดเจน  และให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน

4.  ความได้เปรียบของแหล่งทรัพยากร (System assets / resources advantages) ทรัพยากรขององค์กรประกอบไปด้วยสินทรัพย์ที่ตัวตน เช่น ผลิตภัณฑ์และอาคาร และสินทรัพย์ที่ไม่มีตัวตน เช่น ลิขสิทธิ์ ตราสินค้า และชื่อเสียงขององค์กร องค์กรส่วนใหญ่จะใช้ประโยชนจากทรัพยากรที่มีอยู่ในการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันให้เกิดขึ้น ซึ่งการใช้ทรัพยากรเพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันให้เกิดขึ้นนี้ เรียกว่าAsset Based Competitive Advantages เช่น Coca – Cola เป็นบริษัทที่มีชื่อเสียงทางด้านเครื่องดื่มน้ำอัดลมจนเป็นที่รู้จักกันทั่วโลกมีมูลค่าของตราสินค้า  (brand equity) สูงมาก ประกอบกับ Coca – Cola  มีระบบการจัดจำหน่ายสินค้าที่มีประสิทธิภาพ  มีทรัพยากรในการขนส่งสินค้าอย่างครบครัน  ปัจจุบัน Coca – Cola  มีความได้เปรียบทางการแข่งขันในด้านทรัพยากรที่มีอยู่  นั่นคือระบบการจัดจำหน่ายที่มีประสิทธิภาพและตราสินค้าที่มีชื่อเสียง

5.  ความได้เปรียบในเรื่องพันธมิตร (Partner advantage) การมีพันธมิตรที่ดีจะช่วยสนับสนุนให้องค์กรสามารถพัฒนาธุรกิจอย่างรวดเร็ว หลายองค์กรพยายามค้นหาคู่ค้าเพื่อสร้างเป็นพันธมิตรในการทำธุรกิจระยะยาว เช่น Rover ได้ประสบปัญหาด้านธุรกิจจำหน่ายรถยนต์กับสภาวะการขาดทุนและไม่สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้อีกจนกระทั่ง Honda ได้เข้ามาร่วมลงทุนขอเป็นพันธมิตรด้วยและได้ช่วยทำให้ Rover สามารถขายกิจการของตนเองได้กับ BMW ได้  การสร้างพันธมิตรทางธุรกิจไม่ใช่เรื่องง่ายที่องค์กรใดก็สามารถทำได้  องค์กรจะต้องมีการคัดเลือกพันธมิตรให้เหมาะสมกับองค์กรของตน  เปรียบเสมือนการรวมจุดแข็งขององค์กรสองฝ่ายเข้าด้วยกันเพื่อสร้างผลประโยชน์สูงสุดให้เกิดขึ้นและนำไปสู่ความได้เปรียบทางการแข่งขันต่อไป

6.  ความได้เปรียบในการประหยัดต้นทุนในการผลิต  (Scale and scope advantage) องค์กรสามารถสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันให้เกิดขึ้นได้ด้วยการมุ่งเน้นการสร้าง Economies of Scope นั่นคือ ความสามารถในการลดต้นทุนโดยใช้ทรัพยากรร่วมกันของหน่วยธุรกิจต่าง ๆ เราจะสังเกตเห็นได้ว่าโรงงานขนาดใหญ่มักจะมีต้นทุนการผลิตต่อหน่วยต่ำเนื่องจากผลิตสินค้าหลายประเภทเป็นจำนวนมาก   จึงสามารถให้ทรัพยากรในการผลิตร่วมได้ก่อให้เกิดการประหยัดต้นทุนในการผลิต ส่วนหลักการของ Economies of Scale จะเน้นไปในเรื่องของการผลิตในปริมาณที่มากเพื่อให้ต้นทุนต่อหน่วยต่ำลง
     
กลยุทธ์การสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันจะประสบความสำเร็จได้นั้นองค์กรจะต้องมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่องและใช้กลยุทธ์ทั้ง 6 มิตินี้ก็คือ  Singapore Airline ซึ่งเป็นสายการบินที่เริ่มต้นจากการใช้กลยุทธ์การสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน แล้วมีการพัฒนากลยุทธ์ในด้านอื่น ๆในระยะเวลาต่อมา โดยสรุปแล้ว Singapore Airline มีการใช้กลยุทธ์ดังนี้
               
กลยุทธ์การสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันในเรื่องของการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด (Resource advantage)
Singapore Airline มีรัฐบาลสิงคโปร์เป็นเจ้าของสายาการบินและเป็นเจ้าของท่าอากาศยาน  ส่งผลให้ต้นทุนในการบริการต่ำกว่าคู่แข่งขันมาก  นอกจากนี้ Singapore Airline ยังมีระบบการบริหารกิจกรรมทางธุรกิจได้เป็นอย่างด
เช่น มีการจัดระบบการจองตั๋วเครื่องบินที่รวดเร็วถูกต้อง และทันสมัยอยู่ตลอดเวลา Singapore Airline จึงมีความได้เปรียบในการแข่งขันตามหลักการของ Asset-Based Competitive Advantage การมีพันธมิตรที่ดีเป็นหนทางสู่ความสำเร็จได้ในอนาคต (Partner advantage)
Singapore Airlines  มีเครือข่ายพันธมิตรมากทั้งในแถบยุโรปและอเมริกาซึ่งการมีพันธมิตรจำนวนมากนี้เอง  ส่งผลให้ลูกค้าที่อยู่ทางยุโรปและ
อเมริกาสามารถเลือกการเดินทางมายังแถบเอเชียได้โดยใช้บริหารของ Singapore Airline เพราะการเดินทางมีความสะดวกและรวดเร็ว
        Singapore Airline เป็นสายการบินขนาดเล็ก ดังนั้น Singapore Airline จึงไม่สามารถใช้กลยุทธ์ทางด้าน Economies of Scaleได้ อย่างไรก็ตาม Singapore Airline จำเป็นที่จะต้องปรับกลยุทธ์ของตนให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมของตลาด เนื่องจากสภาวะการแข่งขันค่อนข้างสูงหากสายการบินคู่แข่งมีการปรับตัวและพัฒนาการให้บริการที่เหนือกว่าแล้ว Singapore Airline ก็จำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนตาม

สรุป
                    องค์กรควรที่จะพิจารณาพื้นฐานขององค์กร  ว่าจะสามารถสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันให้เกิดขึ้นได้หรือไม่  โดยการพิจารณาพื้นฐานขององค์กร ว่าจะสามารถสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันให้เกิดขึ้นได้หรือไม่  โดยการพิจารณาจากทรัพยากรที่มีอยู่  ไม่ว่าจะเป็นเงินทุน  บุคลากร ผลิตภัณฑ์  หรือชื่อเสียงขององค์กร  และดูว่าสิ่งเหล่านี้จะสามารถส่งเสริมให้องค์กรสามารถสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันให้เกิดขึ้นได้อย่างไร สิ่งที่องค์กรควรทำ  ก็คือการสร้างระบบวิเคราะห์สถานการณ์ทางการตลาดควบคู่กันไป  องค์กรใดที่สามารถทำได้องค์กรนั้นก็จะสามารถสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันให้เกิดขึ้นได้อย่างง่ายดาย

ไม่มีความคิดเห็น: