นัตพล ใบเรือ การจัดการทั่วไป รุ่น 19 233
บทที่ 10 การแข่งขันในตลาดโลกและการปรับตัวเพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน
กรอบแนวคิดการพัฒนาองค์กรในการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันทางธุรกิจ
พอร์เตอร์ก็ได้คิดค้นแนวคิกการนำกลยุทธ์ความได้เปรียบในการแข่งขันทางธุรกิจ โดยเขาได้เขียนหนังสือเรื่องหนึ่งเกี่ยวกับความได้เปรียบในเชิงแข่งขันทางธุรกิจ ชื่อว่า Competitive Advantage ซึ่งได้กล่าวหลักการไว้ว่า หากต้องการให้ธุรกิจสามารถแข่งขันได้แล้ว จะต้องใส่ใจในสิ่ง 3 อย่างต่อไปนี้
1. กลยุทธ์ต้นทุน (Cost Strategy)
2. กลยุทธ์ความแตกต่าง (Differentiate Strategy)
3. กลยุทธ์มุ่งเฉพาะกลุ่ม (Niche or Focus Strategy)
1. การลดต้นทุนทางการจัดการ (Low – Cost Leadership)
พิจารณาสภาพแวดล้อมภายนอก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คู่แข่งขันทางธุรกิจมาเป็นแนวทางในการลดต้นทุนทางการจัดการขององค์กร เช่น ผลิตสินค้าที่ได้มาตรฐานและมีคุณภาพขณะที่ต้นทุนถูกกว่าคู่แข่งขัน การลดเวลาของกระบวนการทำงานให้สั้นลง แต่ค่าใช้จ่ายในการตอบแทนพนักงานเท่าเดิม เป็นต้น
กลยุทธ์การลดต้นทุน (Cost Reduction) เป็นเทคนิคนำมาใช้เพื่อให้การบริหารจัดทรัพยากรต่าง ๆ ในการดำเนินการขององค์กรเป็นไปอย่างประหยัดและเกิดประสิทธิภาพสูงสุด สามารถขายสินค้าและบริการได้ในระดับราคาต่ำกว่าคู่แข่ง
กลยุทธ์การลดต้นทุน
ทำให้ธุรกิจมีความได้เปรียบในการแข่งขันเหนือคู่แข่ง 2 ประการคือ
1. ความได้เปรียบด้านราคา องค์การธุรกิจที่มีต้นทุนการผลิตต่ำกว่า สามารถกำหนดราคาของสินค้าได้ต่ำกว่าคู่แข่ง
2. ความได้เปรียบด้านการทำกำไร การลดต้นทุนย่อมสามารถมีกำไรได้มากกว่า เมื่อจำหน่ายสินค้าและบริการในปริมาณคุณภาพใกล้เคียงกันและในระดับราคาเดียว กัน
แนวทางการลดต้นทุนมี 5 วิธี คือ
1. Reduction of Loss หรือการลดค่าใช้จ่ายสูญเปล่าต้องพยายามค้นหาสาเหตุของปัญหา/ข้อบกพร่องโดย ใช้เทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อเปรียบเทียบค่าใช้ข่ายมาตรฐาน (Standard Cost) กับค่าใช้จ่ายจริงที่เกิดขึ้น (Actual Cost) เพื่อหาทางลดช่องว่างระหว่างทั้งสองค่าให้น้อยที่สุด
2.Benchmarking เป็นการเปรียบเทียบต้นทุนของบริษัทกับบริษัทอื่น ๆ ที่เป็นธุรกิจประเภทเดียวกัน
3.IE Approach คือการใช้เทคนิค Industrial Engineering หรือ IE เพื่อวิเคราะห์กระบวนการทำงาน (work process) ในส่วนต่าง ๆ โดยจะต้องมีการจัดเก็บข้อมูลเกี่ยวกับเวลาการทำงานของคนงานเพื่อกำหนดเวลามาตรฐาน
4.VA/AE Approach หรือ การใช้เทคนิค Value Analysis/Value Engineering ซึ่งเป็นเครื่องมือที่นำมาใช้ลดค่าใช้จ่าย คิดค้นวิธีการที่มีต้นทุนที่ถูกกว่า
5.Engineering/Breakthrough/Zero-based budgeting คือ การคิดค้นผลิตภัณฑ์ใหม่ วิธีการทำงานใหม่ ที่มีความแตกต่างไปจากวิธีการเดิม
6.แนว ทางดังกล่าวมุ่งลดความสูญเสียและค่าใช้จ่ายซึ่งเป็นต้นทุนที่ไม่จำเป็น ตลอดจนลดงานที่ไม่ก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่ม ส่งผลกระทบ ทำให้คุณภาพและ/หรือความพึงพอใจของลูกค้าหรือผู้รับบริการต้องลดลง
2. การสร้างความแตกต่าง (Differentiation)
การสร้างความแตกต่างจากคู่แข่งขันทางธุรกิจ จะทำให้เป็นเอกลักษณ์ขององค์กรที่เกิดจากกระทำการ ซึ่งเป็นการได้เปรียบทางการแข่งขันทางธุรกิจ อาจจะเป็นความแตกต่างในกระบวนการทำงานขององค์กร หรือสินค้าและบริการ แต่ทั้งนี้ความแตกต่างดังกล่าวจะต้องแสดงให้เห็นถึงประสิทธิผลและประสิทธิภาพที่เหนือกว่าคู่แข่งขัน ซึ่งกลยุทธ์การสร้างความแตกต่าง (Differentiation) หมายถึง การสร้างคุณค่าให้เกิดขึ้นในตัวของสินค้า และบริการที่นำมาซึ่งความแตกต่างจากคู่แข่งขันรายอื่น เป็นกลยุทธ์ที่ควรส่งเสริมให้มีการพัฒนาตลอดเวลา เพราะคุณค่าที่เคยมีในอดีตอาจไม่ได้รับการยอมรับจากผู้บริโภคเมื่อเวลา เปลี่ยนไป เหตุผลที่ต้องพัฒนาตลอดเวลา เพราะการแข่งขันในตลาดมีสูงมาก และสินค้าและบริการที่มีอยู่ในตลาดปัจจุบันมีความคล้ายคลึงกันมาก ธุรกิจจึงต้องสร้างสินค้าและบริการให้แตกต่างจากคู่แข่งเพื่อตอบสนองความ ต้องการนั้น โดยมีวัตถุประสงค์ชัดเจนในการสร้างให้ลูกค้าเกิดความพึงพอใจสูงสุด
ตัวอย่างการใช้กลยุทธ์ความแตกต่าง
ตัวอย่างที่ 1 บริษัทโอเมก้า (Omega) ซึ่งเป็นบริษัทผลิตนาฬิกาที่มีความเที่ยงตรงสูงมาก เป็นนาฬิกาที่ผ่านการคัดเลือกจากองค์การอวกาศนาซ่าให้นาฬิกาของ Omega รุ่น Speed Master เป็นนาฬิกาที่นักบินอวกาศใช้ทำงานในการสำรวจอวกาศเป็นระยะเวลานาน ซึ่งเป็นการทำงานอยู่ในชั้นบรรยากาศที่เป็นสูญญากาศ การที่นาฬิกาโอเมก้าสามารถบอกเวลาได้อย่างเที่ยงตรงแม้ในสภาวะสูญญากาศทำให้ นาฬิกา Omega ได้รับการยอมรับ และเป็นที่นิยมแพร่หลายทั่วโลก จัดได้ว่าเป็นคุณค่าที่สร้างความแตกต่างจากนาฬิกายี่ห้ออื่น อุตสาหกรรมรถมอเตอร์ไซด์ รถมอเตอร์ไซด์ของบริษัทฮอนด้า (Honda) ที่ผลิตออกมารุ่นแรกคือรุ่น Super Club ที่มีขนาดความจุกระบอกสูบ 50 cc ซึ่งในขณะนั้นก็มีมอเตอร์ไซค์หลายยี่ห้อในท้องตลาด แต่ Honda ได้ดำเนินกลยุทธ์การสร้างความแตกต่าง โดยการสร้างคุณค่าให้กับสินค้าด้วยการออกแบบระบบเครื่องยนต์ที่แตกต่างจาก ผู้ผลิตรายอื่นคือ เป็นเครื่องยนต์แบบสี่จังหวะแทนที่จะเป็นเครื่องยนต์สองจังหวะเหมือนกับ ยี่ห้ออื่น เป็นผลทำให้บริษัทฮอนด้า เป็นที่ยอมรับจากผู้บริโภคทั่วโลกในเรื่องการเป็นผู้นำการพัฒนานวัตกรรมของ เครื่องยนต์ เพราะพบว่าเป็นเทคโนโลยีที่ช่วยในการประหยัดน้ำมัน และเป็นเครื่องยนต์ที่มีการเผาไหม้เชื้อเพลิงได้อย่างสะอาดมาก ซึ่งเป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้การขยายธุรกิจจากรถมอเตอร์ไซด์เข้ามาผลิตรถยนต์ ของฮอนด้าได้รับการยอมรับอย่างรวดเร็ว ทั้งที่เป็นค่ายรถยนต์ที่เกิดขึ้นใหม่
จะเห็นได้ว่าการสร้างความแตกต่างในองค์กรจะช่วยทำให้องค์กรเกิดความได้เปรียบในการแข่งขันเพราะสินค้าและบริการที่เราคิดค้นขึ้นมาเองจะทำให้สามารถตอบสนองลูกค้าได้โดยที่ไม่ซ้ำกับคู่แข่งซึ่งทำให้เราได้เปรียบ
3. กลยุทธ์การมุ่งจุดสนใจ (Focus Strategy)
กลยุทธ์การมุ่งจุดสนใจ (Focus Strategy) ในกลยุทธ์นี้อาจแยกออกได้เป็นการมุ่งจุดสนใจที่ลูกค้า ซึ่งอาจจะเป็นเด็ก ผู้หญิง คนแก่ วงการแพทย์ ฯลฯ เช่น บริษัท Tyco บริษัทผลิตของเด็กเล่น จะมีการออกแบบและสร้างผลิตภัณฑ์ขึ้นใหม่ตลอดเวลา และมีกลยุทธ์ในการเจาะกลุ่มลูกค้าที่มีการพัฒนาตลอดเวลาด้วย เพื่อตอบสนองลูกค้าที่มีสถานภาพเปลี่ยนไป เช่น เด็กที่โตมากขึ้น มีรายได้มากขึ้น มีการศึกษามากขึ้น อาจลืมสินค้าที่ตนเองเคยผูกพันในอดีตได้ ดังนั้นบริษัท Tyco จะทำการศึกษาพฤติกรรมในการบริโภคของลูกค้าและศึกษาการเปลี่ยนแปลงที่เกิด ขึ้นตลอดเวลา เพื่อให้ธุรกิจสามารถตอบสนองความต้องการของกลุ่มลูกค้าดังกล่าวได้ ทำให้มีการเติบโตของธุรกิจอย่าง ต่อเนื่อง ในบางองค์การอาจมีความเชี่ยวชาญพิเศษ เช่น บริษัท Tiffany ที่มุ่งจุดสนใจผลิตสินค้าที่มีเอกลักษณ์เน้นการออกแบบตอบสนองลูกค้าที่มีราย ได้สูง ด้วยการนำเสนอสินค้าประเภทเครื่องประดับที่หรูหราแสดงออกถึงความมีรสนิยม ชั้นสูงใน กรณีที่เป็นการมุ่งจุดสนใจที่ตัวผลิตภัณฑ์เพื่อพัฒนาตัวเองสู่ความเป็นหนึ่ง ในอุตสาหกรรมนั้น ระดับของการพัฒนาผลิตภัณฑ์สังเกตได้จาก สัดส่วนการลงทุนในเรื่องการวิจัยและพัฒนา ในกรณีของบริษัทผลิตยาและเวชภัณฑ์ที่มุ่งเน้นพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ตนเองมีความ เชี่ยวชาญ เช่น บริษัท Astra มุ่งการวิจัยและพัฒนายารักษาโรคกระเพาะอาหารโดยมีตัวยาที่มีชื่อเสียงมากคือ Losec
การที่บริษัท ไนกี้ (Nike) มุ่งเน้นพัฒนาผลิตภัณฑ์สำหรับนักกีฬาโดยเฉพาะ มีการพัฒนาเทคโนโลยีทางการกีฬาเพื่อสร้างตัวเองเข้าสู่ความเป็นเลิศ เช่น การพัฒนารองเท้า ไนกี้แอร์ ที่เหมาะสำหรับนักกีฬาบาสเกตบอล
การที่บริษัทโกดัก (Kodak) มุ่งเน้นจุดสนใจที่เทคโนโลยีการบันทึกภาพ โดยได้มีการศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนาฟิล์มชนิดใหม่ออกสู่ตลาดตลอดเวลา จะสังเกตเห็นได้ชัดว่าองค์การที่กล่าวมาล้วนแต่เป็นองค์การที่มีความเชี่ยว ชาญเฉพาะทาง จึงทำให้พอสรุปได้ว่า การมุ่งความสนใจไปในสิ่งที่ตนเองถนัดและมีความเชี่ยวชาญจะสร้างให้เกิดเป็น ความได้เปรียบในการแข่งขันได้ การ มุ่งจุดสนใจที่ตลาด เป็นอีกมิติหนึ่งในเชิงธุรกิจ ตลาดดังกล่าวอาจจะเป็นตลาดที่เกิดใหม่ ตลาดที่มีการอิ่มตัวแล้ว หรือ ตลาดเฉพาะ (Niche Market) องค์การจึงจำเป็นต้องเลือกใช้กลยุทธ์ที่มีลักษณะเฉพาะพิเศษให้เหมาะสมกับ ความต้องการของตลาดนั้น ที่มีความแตกต่างในเรื่องความต้องการสินค้า รูปแบบของผลิตภัณฑ์ สีสัน คุณภาพ และความคาดหวัง ที่มีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ดังนั้นการดำเนินธุรกิจโดยใช้กลยุทธ์ธุรกิจเดียวกันในทุกตลาด จึงเป็นการตัดสินใจที่ไม่เหมาะสม กลยุทธ์การมุ่งจุดสนใจอาจมีการพิจารณาทั้งลูกค้า ผลิตภัณฑ์ และตลาดพร้อมกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการศึกษาวิเคราะห์สิ่งแวดล้อมภายนอกและภายในของธุรกิจและ ของอุตสาหกรรมนั้น เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการกำหนดกลยุทธ์ผู้บริหารจึงต้องศึกษา ข้อมูลให้ครบถ้วนก่อนการตัดสินใจ
ดังนั้น ทั้งสามกลยุทธ์ที่กล่าวมาข้างต้นจะช่วยให้องค์กรสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน แต่ทั้งนี้กลยุทธ์ที่จะเลือกใช้ในองค์กรก็ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมภายในและภายนอกองค์กรหรือสถานการณ์ที่องค์กรกำลังเผชิญอยู่ จะเห็นได้จากความพยายามในการบรรลุกลยุทธ์ความเป็นผู้นำในเรื่องต้นทุนที่มี การพัฒนานำเอาเทคโนโลยีนาโน (Nanotechnology) เข้ามาใช้ล้วนแล้วแต่เป็นความพยายามในการลดต้นทุนทั้งสิ้น หรือแม้แต่รูปแบบการสร้างความแตกต่างของผลิตภัณฑ์ ปัจจุบันบริษัท Sony ได้พัฒนาอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่สามารถใช้งานได้หลายรูปแบบ โดยเป็นทั้ง Organizer อุปกรณ์ฟังเพลงจาก MP3 อุปกรณ์ที่สามารถติดต่อสื่อสารผ่านระบบเน็ตเวิร์ค และเป็นกล้องถ่ายรูประบบดิจิตอลที่สามารถส่งภาพผ่านคลื่นโทรศัพท์ได้ อย่างไรก็ตามก็ยังไม่เพียงพอกับความต้องการของผู้บริโภคปัจจุบันที่มีอย่าง มากมาย แบบไม่รู้จบ
http://vanlapa.igetweb.com/index.php?lite=article&qid=579772
บทที่11 การบริหารจัดการธุรกิจสีเขียวและวิเคราะห์ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิต
สำหรับ Green Ocean Strategy หรือกลยุทธ์น่านน้ำสีเขียวนี้ เน้นการพัฒนา สิ่งแวดล้อม ซึ่งจำแนกได้ 2 เรื่อง คือ เรื่องการจัดการทรัพยากรบุคคลและเรื่องการจัดการระบบ ทั้งกระบวนการนำเข้าและกระบวนการส่งออก ซึ่งจะต้องดำเนินการอย่างจริงจังโดยเน้นการเป็นมิตรกับ สิ่งแวดล้อม และคำนึงถึงทิศทางความต้องการของผู้บริโภค
"การพัฒนาอย่างยั่งยืน หรือ Sustainable Development เป็นกรอบใหญ่สุดของการพัฒนาที่ยั่งยืน ส่วน CSR เปรียบเสมือนกลไกในการดำเนินกิจกรรมขององค์กรอย่างยั่งยืน ดังนั้นเราจะเห็นว่าในแต่ละองค์กร จะมีกลยุทธ์ได้หลายกลยุทธ์ ซึ่ง Green Ocean เป็นส่วนหนึ่งในการทำ CSR เช่นกัน"
แนวคิดหลักในการจัดการทรัพยากรบุคคลนั้นจะต้องปลูกฝัง 7Rs พื้นฐานก่อน คือ 1) Rethink 2) Reduce 3) Reused 4) Recycle 5) Refuse คือ การปฏิเสธทรัพยากรหรือวัตถุดิบในการผลิต ที่อาจจะไม่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 6) Recondition ซึ่งรวมกันระหว่าง repair คือ การซ่อมแซมและ replace
ส่วนสุดท้าย อันดับที่ 7) Return คือ การได้มาซึ่งผลตอบแทนทั้งองค์กรและกิจการ ที่สำคัญคือการตอบแทนสู่สังคม
"ธุรกิจสีเขียว" หมายถึง องค์กรที่ประกอบธุรกรรมโดยมีปณิธานในการทำงานที่มุ่งอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เพื่อให้ทรัพยากรธรรมชาติทั้งหลายของโลกมนุษย์ อาทิ อากาศ ต้นน้ำ ลำธาร ป่าไม้ สัตว์ป่า พืชพันธุ์ธัญญาหาร แมลง ฯลฯ มีชีวิตอยู่ร่วมกันในระบบนิเวศวิทยาที่ดีที่สุดและอย่างยั่งยืนที่สุด
ด้านการนำไปปรับใช้ในองค์กรธุรกิจ มีหลายธุรกิจที่ดำเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและได้รับการยอมรับในฐานะองค์กรต้นแบบว่าเป็นธุรกิจสีเขียว อาทิ บมจ.บางจากปิโตรเลียม บมจ.ปูนซิเมนต์ไทย และ บมจ.พฤกษา เรียลเอสเตท
"
วัฒนา โอภานนท์อมตะ" รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานด้านบริหารและเทคโนโลยีสารสนเทศ บมจ.บางจากปิโตรเลียม กล่าวว่า หากมองย้อนหลังไปเมื่อ 25 ปีที่ผ่านมา ในแง่การทำธุรกิจทั่วไปจะพบว่า ธุรกิจจะมองเพียงผลตอบแทนเป็นตัวตั้งเท่านั้น คือ เน้นเรื่องเศรษฐกิจ มีเพียงบางองค์กรเท่านั้นที่คิดถึงสังคมและสิ่งแวดล้อมไปพร้อม ๆ กันด้วย
และด้วยวิกฤตราคาน้ำมันที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ที่มาจากปัญหาการขนส่งและ ความไม่ต้องการขายน้ำมันจากประเทศผู้ค้าน้ำมัน จึงทำให้บางจากฯ นำแก๊สโซฮอล์หรือ ไบโอดีเซลซึ่งเป็นพลังงานทดแทนมาลดการใช้น้ำมันแทน
นอกจากจะมีการผลักดันให้มีการใช้พลังงานทดแทนแล้ว ยังมีการสำรวจทัศนคติและพฤติกรรมผู้บริโภค โดยเฉพาะคนเจเนอเรชั่นวาย ซึ่งพบว่าผู้บริโภคกลุ่มนี้ให้ความสำคัญต่อผลิตภัณฑ์ที่ทำให้สภาพแวดล้อมดีขึ้น และทำให้มีส่วนร่วมในการช่วยเหลือสังคมอีกด้วย
"การที่จะยั่งยืนได้ ต้องเติบโตได้ มั่นคงได้ และการที่จะเติบโตมั่นคงได้ คือการ ที่จะต้องเป็นประโยชน์ต่อสังคมด้วย" วัฒนากล่าว
ส่วนผู้ที่มาจากธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ "เมธา จันทร์แจ่มจรัส" กรรมการและรองกรรมการผู้จัดการ บมจ.พฤกษา เรียล เอสเตท กล่าวว่า หลายคนมองว่า ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมได้ง่าย แต่ในความเป็นจริงแล้วค่อนข้างยาก เนื่องจากจะต้องมีวิธีการที่ต้องถึงมวลชน ต้องสร้างความไว้ใจให้กับมวลชน
และด้วยปณิธานของบริษัทที่ต้องการสร้างบ้านให้กับผู้มีรายได้น้อยและปานกลาง ซึ่งสิ่งที่สำคัญที่สุด คือ การทำต้นทุนให้ต่ำ และราคาต่ำ เพื่อผู้บริโภคจะได้มีกำลังซื้อ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะได้ของที่ไม่มีคุณภาพ เราสามารถเลือกวัตถุดิบที่ดีได้ แต่สิ่งที่พฤกษาทำ คือ การเน้นการบริหารต้นทุนและการจัดการ เพื่อจะทำให้กระบวนการก่อสร้างถูกที่สุด มีคุณภาพที่สุด และมีประสิทธิภาพที่สุด ซึ่งเป็นโจทย์ที่หลายคนอยากได้ทั้ง 3 อย่างพร้อมกัน แต่เป็นสิ่งที่ทำได้ค่อนข้างยาก
กระบวนการก่อสร้างโครงการ อสังหาริมทรัพย์ตามท้องตลาดทั่วไปนั้น ส่วนใหญ่จะเป็นระบบก่อฉาบปูน ซึ่งปัญหาของระบบนี้ จะเห็นจากเมื่อไปบริเวณที่อยู่ในระหว่างการดำเนินการก่อสร้าง จะสังเกตเห็นถุงปูนเกลื่อนกลาดตามพื้นอยู่มากมาย หรือเศษขยะเหล่านั้นจะส่งผลต่อผู้ประกอบการในการไปกำจัดให้เรียบร้อย ซึ่งก็จะทำให้เป็นการเพิ่มต้นทุนการผลิตขึ้นไปอีก
แต่สำหรับพฤกษาฯ ใช้วิธีการ Rethink หรือคิดใหม่ โดยการใช้วิธีสำเร็จรูปในระบบปิด โดยการทำในโรงงานก่อนแล้วจึงนำมาประกอบที่ไซต์งานก่อสร้าง
"หากเราผลิตวัสดุก่อสร้างในที่เดียว โดยการใช้คอมพิวเตอร์เข้ามาควบคุมปริมาณวัตถุดิบและปริมาณฝุ่นหรือเสียงอันเป็นมลพิษที่เกิดจากการก่อสร้างได้ เราก็สามารถผลิตในระบบปิดได้ด้วย แล้วนำวัสดุเหล่านั้นมาประกอบที่ไซต์ สิ่งที่ตามมา คือ ความเป็นระเบียบ ความสะอาดและแทนที่จะใช้วิธีการขนส่งวัสดุในการก่อสร้างมากมายไปตามไซต์งานต่าง ๆ ก็ขนส่งไปยังโรงงานที่เดียวเพื่อผลิตเป็นวัสดุสำเร็จรูปให้เบ็ดเสร็จในครั้งเดียว ซึ่งจะทำให้การจราจรบริเวณที่ก่อสร้างลดลง ทั้งยังลดผลกระทบต่อชุมชนรอบข้างตามไปด้วย" เมธากล่าว
ส่วน "วีนัส อัศวสิทธิถาวร" ผู้อำนวยการสำนักงานสื่อสารองค์กร เครือซิเมนต์ไทย หรือเอสซีจี ระบุว่า จากการตั้งเป้าหมายให้ปี 2558 เอสซีจีจะต้องเป็นองค์กรที่ยึดถือการพัฒนาอย่างยั่งยืน และเป็นองค์กรต้นแบบ ซึ่งไม่ใช่แค่ในประเทศไทย แต่หมายถึงการขยายครอบคลุมอาเซียน ทำให้วันนี้บริษัทมีภารกิจหลายเรื่องที่จะไปสู่เป้าหมายนั้น
เอสซีจีจึงมุ่งเน้นการพัฒนานวัตกรรม ในการคิดใหม่ ทำใหม่ หรือการนำงานวิจัยที่เกี่ยวข้องในทุก ๆ งาน เพื่อเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าและบริการ หรือแม้แต่ การพัฒนาพนักงานด้วยการกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา และมุ่งหางานวิจัยใหม่ ๆ ในการพัฒนาสินค้าและบริการอยู่ตลอดเช่นกัน
แล้วอุตสาหกรรมสีเขียวจะประสบความสำเร็จหรือไม่นั้น มีความจำเป็นที่จะต้องอาศัยการขับเคลื่อนพร้อม ๆ กัน ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องมาตรการในการกำกับควบคุมดูแล หรือเรื่อง สิ่งแวดล้อมตามกฎหมาย ซึ่งจะต้องมีเจ้าหน้าที่ภาครัฐเข้าไปทำหน้าที่ในการกำกับดูแลอย่างเข้มงวด ตลอดจนต้องมีมาตรการจูงใจ ส่งเสริม ชักชวนโรงงานต่าง ๆ ให้เข้าสู่อุตสาหกรรมสีเขียวอย่างจริงจังเพื่อนำไปสู่ความยั่งยืนตามมา
"องค์กรที่จะเป็นต้นแบบด้านการเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมได้นั้น ต้องชวนองค์กรอื่นมาร่วมเป็นเครือข่ายกันด้วย
http://greenoceanstrategy.blogspot.com/2010/12/green-ocean-strategy-3.html.
สุชาดา มณีโชติ การจัดการทั่วไป รุ่น 19 217
บทที่11 การบริหารจัดการธุรกิจสีเขียวและวิเคราะห์ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิต
· "ธุรกิจสีเขียว" หมายถึง องค์กรที่ประกอบธุรกรรมโดยมีปณิธานในการทำงานที่มุ่งอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เพื่อให้ทรัพยากรธรรมชาติทั้งหลายของโลกมนุษย์ อาทิ อากาศ ต้นน้ำ ลำธาร ป่าไม้ สัตว์ป่า พืชพันธุ์ธัญญาหาร แมลง ฯลฯ มีชีวิตอยู่ร่วมกันในระบบนิเวศวิทยาที่ดีที่สุดและอย่างยั่งยืนที่สุด
การดำเนินธุรกิจหรือแม้กระทั่งการดำเนินชีวิตประจำวันของมนุษย์เรา ล้วนมีผลกระทบทางลบต่อสิ่งแวดล้อมไม่มากก็น้อยอยู่ทุกนาที แค่อยู่กับบ้านทำอาหาร อาบน้ำแต่งตัว เข้านอน ฯลฯ ก็ล้วนสามารถสร้างมลพิษให้สิ่งแวดล้อมได้ตลอดเวลา Home
เมื่อใช้ก็ต้องทดแทน เมื่อรับเอาก็ต้องรู้จักให้คืน
เราคงต้องยอมรับความจริงว่าการใช้ชีวิตที่เกิดมาเป็นมนุษย์นี้ ต้องใช้ทรัพยากรและทำลายทรัพยากรมากพอสมควร ทั้งนี้ การประกอบธุรกิจบางอย่างก็มีผลในทางทำลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมโดยตรง เช่น ธุรกิจค้าไม้ ขุดเจาะน้ำมัน เป็นต้น ส่วนที่ทำลายสิ่งแวดล้อมทางอ้อมนั้น คงไม่จำเป็นต้องยกตัวอย่างแล้ว
อย่างไรก็ตาม การเป็นองค์กรสีเขียวไม่ได้หมายความว่ากระดุกกระดิกทำอะไรไม่ได้เลย ห้ามใช้ทรัพยากรธรรมชาติโดยเด็ดขาด อย่างนี้มันเป็นไปไม่ได้อยู่แล้ว แต่การเป็นหรือพยายามเป็นองค์กรสีเขียวหมายความว่า มีนโยบายและกระบวนการในการประกอบธุรกิจที่พยายามใช้ หรือทำลายสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด และหากเป็นไปได้ก็ต้องพยายามสร้างขึ้นทดแทน หรือพยายามบำบัดสภาพแวดล้อมที่ถูกทำลายไปให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ยกตัวอย่างเช่น เมื่อมีการตัดไม้มาใช้ ก็ต้องปลูกป่าทดแทน เป็นต้น หรือถ้าของบางอย่างมันสร้างทดแทนไม่ได้เช่น ถ้าขุดน้ำมันหรือถ่านหินมาใช้แล้ว ก็คงสร้างขึ้นมาคืนสู่ธรรมชาติไม่ได้ ก็ต้องหาวิธีขุดเจาะน้ำมันหรือถ่านหินที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้น้อยที่สุด รวมทั้งมีการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อที่จะใช้ประโยชน์จากน้ำมัน หรือถ่านหินให้ได้สูงสุด และมีกากของทรัพยากรเหลือทิ้งน้อยที่สุด
สรุปก็คือว่า การประกอบธุรกิจสีเขียวคือ การดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบต่อทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมของโลก เพราะโลกเรานี้ทุกคนมีส่วนร่วมเป็นเจ้าของ อย่าแก้ปัญหาอย่างมักง่าย แค่ให้พ้น ๆ ตัว แต่มันไม่พ้นจากโลกนี้ แล้วก็จะกลับย้อนมาหาตัวต้นตอในที่สุด หนีไม่พ้น ยกตัวอย่าง เช่น การที่ประเทศอุตสาหกรรมบางประเทศ มีกากขยะนิวเคลียร์อันเป็นสารพิษมีอันตรายร้ายแรง ความที่รัฐบาลของประเทศตนเองมีกฎหมายควบคุมการกำจัดสารพิษอย่างเคร่งครัด ดังนั้น จึงได้ลักลอบขนเอากากนิวเคลียร์ใส่เรือลอยในมหาสมุทร ซึ่งถือเป็นน่านน้ำสากลไม่มีประเทศใดเป็นเจ้าของคอยตรวจตราดูแล แล้ววันหนึ่งเรือลำนั้นก็ลอยไปเกยหาดของประเทศใดประเทศหนึ่ง ที่กลายเป็นแพะโดยจำใจ และก็มีหลายกรณีเช่นกัน ที่บริษัทยักษ์ใหญ่บางบริษัททำการเจรจากับรัฐบาลที่เห็นแก่เงินของประเทศด้อยพัฒนาบางประเทศ เพื่อทิ้งกากขยะ กากสารพิษต่าง ๆ ซึ่งนับเป็นกรรมของประชาชนตาดำ ๆ ของประเทศนั้นไป
ระดับ 'ความเขียว' ของธุรกิจ
การดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมไม่ใช่เรื่องที่ทำได้ง่าย ๆ หรือไร้ค่าใช้จ่าย ในทางตรงกันข้ามมันเป็นเรื่องที่มีความสลับซับซ้อนและมีค่าใช้จ่ายแฝงอยู่ด้วยพอสมควร (หรืออาจแพงมาก ขึ้นอยู่กับประเภทของธุรกิจ) จะอาศัยเพียงจิตสำนึกความรับผิดชอบเพียงปัจจัยเดียวไม่เพียงพอ แต่ในขณะเดียวกัน ถ้าไม่มีจิตสำนึกรับผิดชอบเอาเสียเลย โลกของเราคงถล่มทลายแน่จากปัญหา global warming (ภาวะโลกร้อน) คงกลายเป็น global boiling (ภาวะโลกเดือดพล่าน) เป็นแน่
องค์กรแต่ละองค์กรสามารถเลือกวางนโยบายได้ว่า ตนเองมีความต้องการและความพร้อมที่จะ "เขียว" ขนาดไหน ซึ่งปัจจัยที่นำมาพิจารณาในการเลือกระดับความเขียว (หรือระดับความรับผิดชอบต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม) มีดังนี้
ปัจจัยที่ 1 : ระดับศีลธรรม จริยธรรม ความรับผิดชอบของเจ้าของบริษัทหรือ CEO
คงปฏิเสธไม่ได้ว่า บุคคลที่มีอิทธิพลมากที่สุดในการกำหนดระดับความรับผิดชอบขององค์กรคือ ผู้นำระดับสูงสุดนั่นเอง ดังนั้น ค่านิยมและความเชื่อส่วนตัวของผู้นำจึงเป็นปัจจัยสำคัญที่สุด อันมีผลกระทบต่อความเชื่อ ทัศนคติและพฤติกรรมของพนักงานทั้งองค์กร
ปัจจัยที่ 2 : กฎหมายที่ควบคุมผู้ประกอบการ
ในแต่ละประเทศจะมีกฎข้อบังคับ ข้อกำหนดและแนวทางปฏิบัติต่าง ๆ สำหรับธุรกิจแต่ละประเภทอยู่แล้ว เช่น ต้องมีการบำบัดน้ำเสียอย่างไร ต้องมีการดูแลเรื่องควันพิษอย่างไร ฯลฯ ซึ่งการปฏิบัติตามกฎหมายกำหนดนั้น ถือว่าเป็นการปฏิบัติขั้นต่ำที่สุดแล้ว เพราะถ้าไม่ทำตามก็ถือว่าผิดกฎหมาย อย่างไรก็ตามมีผู้ประกอบการหลายคนไม่สนใจข้อกฎหมาย โดยใช้วิธีหลบเลี่ยงหรือติดสินบนเจ้าหน้าที่รัฐ เพื่อปิดปากไม่ให้เอาเรื่องก็มีถมไป มิฉะนั้นแม่น้ำแม่กลองของเราคงไม่เน่าจนปลาลอยตายเป็นแพให้เห็นอยู่บ่อย ๆ
ปัจจัยที่ 3 : ทัศนคติของผู้บริโภคและสาธารณชน
ปัจจุบันนี้ชาวบ้านอย่างเรา ๆ ท่าน ๆ เริ่มมีหูตากว้างขวางและมีสิทธิมีเสียงมากขึ้น อีกทั้งมีสื่อในรูปแบบต่าง ๆ ช่วยเป็นกระบอกเสียงให้เรา ดังนั้น เมื่อมีผู้เดือดร้อน เช่น เหม็นกลิ่นควัน น้ำเน่า คันตามตัวเพราะพิษจากสารเคมี ฯลฯ จึงสามารถร้องเรียนเรียกค่าเสียหายได้ หรือแม้กระทั่งธุรกิจนั้นยังไม่เปิดกิจการแต่สาธารณชนมีความกังวลห่วงใยว่า จะสร้างผลกระทบทางลบต่อสภาพแวดล้อมความเป็นอยู่ของพวกเขาสาธารณชนก็สามารถทักท้วงหรือประท้วงต่อต้านจนธุรกิจล้มก็ยังไหว
ดังนั้น ผู้ประกอบธุรกิจจึงต้องใคร่ครวญปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้ให้ดีว่า บริษัทของตนเองควรจะมีความเขียวในระดับใดจึงจะเหมาะสมกับเงื่อนไขต่าง ๆ นี้
http://www.ksmecare.com/news_popu .aspx?ID=7963
สุชาดา มณีโชติ การจัดการทั่วไป รุ่น 19 217
บทที่ 10 การแข่งขันในตลาดโลกและการปรับตัวเพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน
การสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน 6 มิติ
ในยุคที่การแข่งขันมีความรุนแรง การมุ่งเน้นกลยุทธ์การสร้างความได้เปรียบเพียงกลยุทธ์เดียวอาจส่งผลให้องค์กรไม่สามารถปรับตัวให้
สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปได้ทันท่วงที องค์กรที่ประสบความสำเร็จหลายแห่งได้ใช้กลยุทธ์ที่หลากหลายในการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันให้เกิดขึ้น มิใช่มุ่งเน้นกลยุทธ์เฉพาะเพียงด้านใดด้านหนึ่งเท่านั้น แต่องค์กรเหล่านี้อาจเริ่มต้นจากการใช้กลยุทธ์เพียงกลยุทธ์เดียวในการแข่งขัน เช่นDell Computer ที่ดำเนินธุรกิจจำหน่ายคอมพิวเตอร์ ได้เริ่มต้นธุรกิจด้วยการมุ่งเน้นการลดต้นทุน ขั้นตอนในการทำธุรกิจจะเริ่มจากเมื่อได้รับคำสั่งซื้อจากลูกค้า แล้วบริษัทจะติดต่อไปยังผู้ผลิตอุปกรณ์ชิ้นส่วนประกอบคอมพิวเตอร์ทันที เพื่อให้นำชิ้นส่วนมาส่งและประกอบเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ เสร็จแล้วก็จะดำเนินการจัดส่งให้ลูกค้าทันที เราจะเห็นได้ว่า Dell ไม่มีการเก็บสินค้าไว้ที่คลังสินค้าเลย การบริหารสินค้าเช่นนี้จัดได้ว่าเป็นการมุ่งเน้นทางการลดต้นทุน โดยเฉพาะต้นทุนของสินค้าคงคลัง ต่อมาเมื่อการแข่งขันในธุรกิจจำหน่ายคอมพิวเตอร์มีความรุ่นแรงมากขึ้น Dell จึงได้นำเอากลยุทธ์ด้านอื่น ๆมาใช้ เช่น การบริการส่งสินค้าอย่างรวดเร็ว การเน้นคุณภาพของสินค้าและการรับประกัน เป็นต้น
การสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันให้เกิดขึ้นนั้นมาจากการใช้กลยุทธ์ 6 ประการด้วยกัน ซึ่งองค์กรสามารถเริ่มต้นจากกลยุทธ์ใดกลยุทธ์หนึ่งก่อนก็ได้
แต่องค์กรจะต้องมีการพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพของกลยุทธ์ทุกกลยุทธ์ให้มีความเข้มแข็งด้วยกัน ดังต่อไปนี้
1. ความได้เปรียบจากการเป็นผู้เข้าสู่ตลาดรายแรก (customer market advantage) ประเด็นแรกที่องค์กรจะต้องให้ความสำคัญคือการสร้างตลาดใหม่หรือเป็นผู้คิดริเริ่มใหม่ ๆ ให้กับลูกค้าซึ่งการริเริ่มในสิ่งที่คู่แข่งยังไม่สามารถทำได้นั้น
จะทำให้องค์กรปราศจากการแข่งขันซึ่งนับได้ว่าเป็นความได้เปรียบอย่างดีเยี่ยมและเป็นจุดเริ่มต้นแห่งความสำเร็จในอนาคต เช่น Xerox ได้ริเริ่มทำธุรกิจการถ่ายเอกสารเป็นเจ้าแรก ลักษณะการทำธุรกิจของ Xerox จึงมีความโดดเด่นเป็นพิเศษภายใต้การจดทะเบียนขอสิทธิบัตร ด้วยเหตุนี้เองการตลาดของ Xerox จึงมีความแตกต่างในด้านการนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่มีความโดดเด่นและเหนือกว่าและไม่มีองค์กรใดสามารถทำธุรกิจได้เหมือนกับ Xerox อาจกล่าวได้ว่าเป็นการสร้างความได้เปรียบในการแข่งในเรื่องการเข้าสู่การตลาดเป็นรายแรก
2. ความได้เปรียบในการนำเสนอผลิตภัณฑ์หรือบริการที่โดดเด่นกว่าคู่แข่ง (product and service advantage) องค์กรใดก็ตามที่สามารถตอบสนองต่อความพึงพอใจของผู้บริโภคที่มีความโดดเด่น องค์กรนั้นถือได้ว่าเป็นองค์กรที่ใช้กลยุทธ์การสร้างความแตกต่าง ซึ่งการสร้างความแตกต่างนี้หากจะมองย้อนกลับไปในอดีตแล้ว เราจะพบว่าองค์กรหลายแห่งได้ใช้กลยุทธ์นี้มานานแล้ว และมีการพัฒนาไปสู่ความได้เปรียบในการแข่งขันในระยะยาว เช่น Samsung เป็นบริษัทที่จะหน่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่หรือมือถือที่เน้นรูปแบบ สีสัน และความทันสมัยของรูปลักษณ์ภายนอก โดยเฉพาะอย่างยิ่งหน้าจอสีที่มีความคมชัดกว่ายี่ห้ออื่น ส่งผลให้มือถือของ Samsung มีความโดดเด่นและไม่เหมือนคู่แข่งขันรายอื่น อย่างไรก็ตาม ข้อด้อยของกลยุทธ์นี้ก็คือคู่แข่งขันสามารถลอกเลียนแบบได้ง่าย ด้วยเหตุนี้ องค์กรที่ใช้กลยุทธ์ดังกล่าวจะต้องมีการปรับปรุงและพัฒนาผลิตภัณฑ์ของตนเองอยู่เสมอเพื่อให้ก้าวล้ำกว่าของคู่แข่ง
3. ความได้เปรียบในการสร้างห่วงโซ่คุณค่าหรือระบบธุรกิจ (Business system/value chain advantage) การบริหารกิจกรรมทางธุรกิจเพื่อให้บรรลุเป้าหมายองค์กร เรียกว่าการบริหารห่วงโซ่คุณค่าหรือระบบธุรกิจ กิจกรรมทางธุรกิจจะเริ่มต้นจากการวิจัยและการพัฒนาผลิตภัณฑ์ การผลิตการขาย การตลาด การจัดจำหน่าย และการบริการหลังการขาย หากองค์กรธุรกิจมีความโดดเด่นในกิจกรรมทางธุรกิจ กิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่งก็จะส่งผลให้องค์กรนั้นมีความได้เปรียบทางการแข่งขันในเรื่องนั้น ๆ หลายองค์กรพยายามสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันโดยมุ่งเฉพาะกิจกรรมทางธุรกิจที่องค์กรถนัดและมุ่งการการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้องค์กรนั้นมีกลยุทธ์ที่เหนือกว่าคู่แข่งขัน และกลายเป็นจุดแข็งหรือเอกลักษณ์ขององค์กรในที่สุด เช่น บริษัท พรอกเตอร์แอนด์แกมบิล (P&G) จำกัด มีความเชี่ยวชาญทางการตลาด บริษัท โซนี่ จำกัด บริษัทที่เน้นนวัตกรรมในการออกแบบผลิตภัณฑ์ได้ตรงตามความต้องของลูกค้า บริษัท โตโยต้า จำกัด เน้นประสิทธิภาพในการผลิต และ American Express บริษัทที่ให้การบริการลูกค้าได้อย่างประทับใจ เป็นต้น
แนวทางที่จะเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารห่วงโซ่คุณค่า ก็คือการติดต่อประสานงานระหว่างหน่วยงานในองค์กรเพื่อให้กิจกรรมต่าง ๆ ดำเนินไปได้ด้วยดีในบางครั้งองค์กรจำเป็นจะต้องมีการออกแบบโครงสร้างกรใหม่ เพื่อปรับรูปแบบ และระบบการดำเนินธุรกิจให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น ตัวอย่างขององค์กรธุรกิจที่ประสบความสำเร็จในการปรับเปลี่ยนระบบการดำเนินธุรกิจ ก็คือสายการบิน Southwest สายการบิน Southwest มีกำไรเพิ่มขึ้นจาการปรับระบบธุรกิจให้สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้า ไม่ว่าจะเป็นเรื่องขั้นตอนการเลือกที่นั่งของลูกค้าหรือการให้บริการลูกค้าสรุปแล้วจะเห็นได้ว่าห่วงโซ่คุณค่านั้นมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อองค์กรธุรกิจที่
จำหน่ายผลิตภัณฑ์และธุรกิจขายบริหารจำไว้ว่าการจะทำให้ห่วงโซ่คุณค่าขององค์กรมีความโดดเด่นและเหนือกว่าคู่แข่งขันนั้น องค์กรจำเป็นจะต้องกำหนดวัตถุประสงค์ของกิจกรรมทุก ๆ กิจกรรมไว้อย่างชัดเจน และให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน
4. ความได้เปรียบของแหล่งทรัพยากร (System assets / resources advantages) ทรัพยากรขององค์กรประกอบไปด้วยสินทรัพย์ที่ตัวตน เช่น ผลิตภัณฑ์และอาคาร และสินทรัพย์ที่ไม่มีตัวตน เช่น ลิขสิทธิ์ ตราสินค้า และชื่อเสียงขององค์กร องค์กรส่วนใหญ่จะใช้ประโยชนจากทรัพยากรที่มีอยู่ในการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันให้เกิดขึ้น ซึ่งการใช้ทรัพยากรเพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันให้เกิดขึ้นนี้ เรียกว่าAsset Based Competitive Advantages เช่น Coca – Cola เป็นบริษัทที่มีชื่อเสียงทางด้านเครื่องดื่มน้ำอัดลมจนเป็นที่รู้จักกันทั่วโลกมีมูลค่าของตราสินค้า (brand equity) สูงมาก ประกอบกับ Coca – Cola มีระบบการจัดจำหน่ายสินค้าที่มีประสิทธิภาพ มีทรัพยากรในการขนส่งสินค้าอย่างครบครัน ปัจจุบัน Coca – Cola มีความได้เปรียบทางการแข่งขันในด้านทรัพยากรที่มีอยู่ นั่นคือระบบการจัดจำหน่ายที่มีประสิทธิภาพและตราสินค้าที่มีชื่อเสียง
5. ความได้เปรียบในเรื่องพันธมิตร (Partner advantage) การมีพันธมิตรที่ดีจะช่วยสนับสนุนให้องค์กรสามารถพัฒนาธุรกิจอย่างรวดเร็ว หลายองค์กรพยายามค้นหาคู่ค้าเพื่อสร้างเป็นพันธมิตรในการทำธุรกิจระยะยาว เช่น Rover ได้ประสบปัญหาด้านธุรกิจจำหน่ายรถยนต์กับสภาวะการขาดทุนและไม่สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้อีกจนกระทั่ง Honda ได้เข้ามาร่วมลงทุนขอเป็นพันธมิตรด้วยและได้ช่วยทำให้ Rover สามารถขายกิจการของตนเองได้กับ BMW ได้ การสร้างพันธมิตรทางธุรกิจไม่ใช่เรื่องง่ายที่องค์กรใดก็สามารถทำได้ องค์กรจะต้องมีการคัดเลือกพันธมิตรให้เหมาะสมกับองค์กรของตน เปรียบเสมือนการรวมจุดแข็งขององค์กรสองฝ่ายเข้าด้วยกันเพื่อสร้างผลประโยชน์สูงสุดให้เกิดขึ้นและนำไปสู่ความได้เปรียบทางการแข่งขันต่อไป
6. ความได้เปรียบในการประหยัดต้นทุนในการผลิต (Scale and scope advantage) องค์กรสามารถสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันให้เกิดขึ้นได้ด้วยการมุ่งเน้นการสร้าง Economies of Scope นั่นคือ ความสามารถในการลดต้นทุนโดยใช้ทรัพยากรร่วมกันของหน่วยธุรกิจต่าง ๆ เราจะสังเกตเห็นได้ว่าโรงงานขนาดใหญ่มักจะมีต้นทุนการผลิตต่อหน่วยต่ำเนื่องจากผลิตสินค้าหลายประเภทเป็นจำนวนมาก จึงสามารถให้ทรัพยากรในการผลิตร่วมได้ก่อให้เกิดการประหยัดต้นทุนในการผลิต ส่วนหลักการของ Economies of Scale จะเน้นไปในเรื่องของการผลิตในปริมาณที่มากเพื่อให้ต้นทุนต่อหน่วยต่ำลง
กลยุทธ์การสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันจะประสบความสำเร็จได้นั้นองค์กรจะต้องมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่องและใช้กลยุทธ์ทั้ง 6 มิตินี้ก็คือ Singapore Airline ซึ่งเป็นสายการบินที่เริ่มต้นจากการใช้กลยุทธ์การสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน แล้วมีการพัฒนากลยุทธ์ในด้านอื่น ๆในระยะเวลาต่อมา โดยสรุปแล้ว Singapore Airline มีการใช้กลยุทธ์ดังนี้
กลยุทธ์การสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันในเรื่องของการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด (Resource advantage)
Singapore Airline มีรัฐบาลสิงคโปร์เป็นเจ้าของสายาการบินและเป็นเจ้าของท่าอากาศยาน ส่งผลให้ต้นทุนในการบริการต่ำกว่าคู่แข่งขันมาก นอกจากนี้ Singapore Airline ยังมีระบบการบริหารกิจกรรมทางธุรกิจได้เป็นอย่างด
เช่น มีการจัดระบบการจองตั๋วเครื่องบินที่รวดเร็วถูกต้อง และทันสมัยอยู่ตลอดเวลา Singapore Airline จึงมีความได้เปรียบในการแข่งขันตามหลักการของ Asset-Based Competitive Advantage การมีพันธมิตรที่ดีเป็นหนทางสู่ความสำเร็จได้ในอนาคต (Partner advantage)
Singapore Airlines มีเครือข่ายพันธมิตรมากทั้งในแถบยุโรปและอเมริกาซึ่งการมีพันธมิตรจำนวนมากนี้เอง ส่งผลให้ลูกค้าที่อยู่ทางยุโรปและ
อเมริกาสามารถเลือกการเดินทางมายังแถบเอเชียได้โดยใช้บริหารของ Singapore Airline เพราะการเดินทางมีความสะดวกและรวดเร็ว
Singapore Airline เป็นสายการบินขนาดเล็ก ดังนั้น Singapore Airline จึงไม่สามารถใช้กลยุทธ์ทางด้าน Economies of Scaleได้ อย่างไรก็ตาม Singapore Airline จำเป็นที่จะต้องปรับกลยุทธ์ของตนให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมของตลาด เนื่องจากสภาวะการแข่งขันค่อนข้างสูงหากสายการบินคู่แข่งมีการปรับตัวและพัฒนาการให้บริการที่เหนือกว่าแล้ว Singapore Airline ก็จำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนตาม
สรุป
องค์กรควรที่จะพิจารณาพื้นฐานขององค์กร ว่าจะสามารถสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันให้เกิดขึ้นได้หรือไม่ โดยการพิจารณาพื้นฐานขององค์กร ว่าจะสามารถสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันให้เกิดขึ้นได้หรือไม่ โดยการพิจารณาจากทรัพยากรที่มีอยู่ ไม่ว่าจะเป็นเงินทุน บุคลากร ผลิตภัณฑ์ หรือชื่อเสียงขององค์กร และดูว่าสิ่งเหล่านี้จะสามารถส่งเสริมให้องค์กรสามารถสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันให้เกิดขึ้นได้อย่างไร สิ่งที่องค์กรควรทำ ก็คือการสร้างระบบวิเคราะห์สถานการณ์ทางการตลาดควบคู่กันไป องค์กรใดที่สามารถทำได้องค์กรนั้นก็จะสามารถสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันให้เกิดขึ้นได้อย่างง่ายดาย
http://uhost.rmutp.ac.th/kanlayanee.so/L6/6-1-3.html
โบว์ น.ส วราภรณ์ รัชชุรัตน การจัดการทั่วไป รหัส 031
การบริหารจัดการธุรกิจสีเขียวและการวิเคราะห์ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิต
ธุรกิจสีเขียว (Green Business)
การประกอบธุรกิจสีเขียวคือ การดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบต่อทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมของโลก เพราะโลกเรานี้ทุกคนมีส่วนร่วมเป็นเจ้าของ อย่าแก้ปัญหาอย่างมักง่าย แค่ให้พ้นๆ ตัว เพราะมันก็จะกลับย้อนมาหาตัวต้นตอในที่สุด
การดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมไม่ใช่เรื่องที่ทำได้ง่ายๆ หรือไร้ค่าใช้จ่าย ในทางตรงกันข้ามมันเป็นเรื่องที่มีความสลับซับซ้อนและมีค่าใช้จ่ายแฝงอยู่ด้วยพอสมควรจะอาศัยเพียงจิตสำนึกความรับผิดชอบเพียงปัจจัยเดียวไม่เพียงพอ แต่ในขณะเดียวกัน ถ้าไม่มีจิตสำนึกรับผิดชอบเอาเสียเลย โลกของเราคงถล่มทลายแน่จากปัญหา Global Warming (ภาวะโลกร้อน) คงกลายเป็น Global Boiling (ภาวะโลกเดือดพล่าน) เป็นแน่
องค์กรแต่ละองค์กรสามารถเลือกวางนโยบายได้ว่า ตนเองมีความต้องการและความพร้อมที่จะ “เขียว” ขนาดไหน ซึ่งปัจจัยที่นำมาพิจารณาในการเลือกระดับความเขียว (หรือระดับความรับผิดชอบต่อทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม) มีดังนี้
ปัจจัยที่ 1 : ระดับศีลธรรม จริยธรรม ความรับผิดชอบของเจ้าของบริษัทหรือ CEO
บุคคลที่มีอิทธิพลมากที่สุดในการกำหนดระดับความรับผิดชอบขององค์กรคือ ผู้นำระดับสูงสุดนั่นเอง ดังนั้น ค่านิยมและความเชื่อส่วนตัวของผู้นำจึงเป็นปัจจัยสำคัญที่สุด อันมีผลกระทบต่อความเชื่อ ทัศนคติและพฤติกรรมของพนักงานทั้งองค์กร
ปัจจัยที่ 2 : กฎหมายที่ควบคุมผู้ประกอบการ
ในแต่ละประเทศจะมีกฎข้อบังคับ ข้อกำหนดและแนวทางปฏิบัติต่างๆสำหรับธุรกิจแต่ละประเภทอยู่แล้ว เช่น ต้องมีการบำบัดน้ำเสียอย่างไร ต้องมีการดูแลเรื่องควันพิษอย่างไร ฯลฯ ซึ่งการปฏิบัติตามกฎหมายกำหนดนั้น ถือว่าเป็นการปฏิบัติขั้นต่ำที่สุดแล้ว เพราะถ้าไม่ทำตามก็ถือว่าผิดกฎหมาย อย่างไรก็ตามมีผู้ประกอบการหลายคนไม่สนใจข้อกฎหมาย โดยใช้วิธีหลบเลี่ยงหรือติดสินบนเจ้าหน้าที่รัฐ เพื่อปิดปากไม่ให้เอาเรื่องก็มีถมไป มิฉะนั้นแม่น้ำแม่กลองของเราคงไม่เน่าจนปลาลอยตายเป็นแพให้เห็นอยู่บ่อยๆ หรอกนะคะ
ปัจจัยที่ 3 : ทัศนคติของผู้บริโภคและสาธารณชน
ปัจจุบันนี้ชาวบ้านเริ่มมีหูตากว้างขวางและมีสิทธิมีเสียงมากขึ้น อีกทั้งมีสื่อในรูปแบบต่างๆ ช่วยเป็นกระบอกเสียงให้เรา ดังนั้น เมื่อมีผู้เดือดร้อน เช่น เหม็นกลิ่นควัน น้ำเน่า คันตามตัวเพราะพิษจากสารเคมี ฯลฯ จึงสามารถร้องเรียนเรียกค่าเสียหายได้ หรือแม้กระทั่งธุรกิจนั้นจะยังไม่เปิดกิจการก็ตาม หากจะสร้างผลกระทบทางลบต่อสภาพแวดล้อมความเป็นอยู่ของพวกเขา สาธารณชนก็สามารถทักท้วงหรือประท้วงต่อต้านจนธุรกิจล้มก็ยังไหว
ยกตัวอย่างองค์การที่มีการดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบต่อทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมฃ
1. บริษัทแมคโคร ที่ไม่มีถุงพลาสติกใส่สินค้าให้ลูกค้า เพื่อเป็นการลดขยะ
2.บริษัทบิ๊กซี ที่ปรับปรุงโครงสร้างหลังคาให้เปิดรับแสงสว่างจากดวงอาทิตย์แทนการเปิดแสงนีออน เพื่อลดภาวะโลกร้อน
น.ส.อลิตา ธนาพีรัชต์ชัย รหัส 062 เอกการจัดการทั่วไป
บทที่ 1 การวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นในการจัดการ การประเมินสภาพแวดล้อมภายนอกและภายใน
เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมต่างๆ ทั้ง “ภายใน” และ “ภายนอก” บริษัท ซึ่งจะช่วยให้ผู้ลงทุน
ทราบถึงจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส หรืออุปสรรคที่อาจเป็นปัญหาสำคัญในการดำเนินงานของบริษัท
SWOT มาจากตัวย่อภาษาอังกฤษ 4 ตัว ได้แก่…
• S - Strengths หมายถึง จุดแข็งหรือข้อได้เปรียบที่เกิดจาก
สภาพแวดล้อมภายในบริษัท ซึ่งบริษัทควรดำรงไว้เพื่อเสริมสร้าง
ความเข็มแข็งขององค์กร เช่น ทักษะในการทำธุรกิจ พนักงานที่มี
ความสามารถ ฐานะการเงินที่มั่นคง ตราสินค้าเป็นที่รู้จัก เป็นผู้นำด้านราคาและต้นทุน เทคโนโลยีทันสมัยล้ำหน้า ฯลฯ
• W - Weaknesses หมายถึง จุดอ่อนหรือข้อเสียเปรียบที่เกิดจากสภาพแวดล้อมภายในบริษัท ซึ่งบริษัทจะต้องหาวิธีในการแก้ปัญหานั้น เช่น พนักงานขาดความรู้ความสามารถ ฐานะการเงินไม่มั่นคง สินค้าล้าสมัย อุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ล้าสมัย ขาดความชำนาญด้าน
การตลาด ฯลฯ
• O - Opportunities หมายถึง โอกาสที่เกิดจากสภาพแวดล้อม
ภายนอกบริษัทเอื้อประโยชน์หรือส่งเสริมการดำเนินงานของบริษัท
ซึ่งบริษัทสามารถฉกฉวยข้อดีเหล่านี้มาเสริมสร้างให้องค์กรเข็มแข็งขึ้นได้ เช่น การเจริญเติบโตในตลาดใหม่ การขยายตลาดทั่วโลก การพัฒนาสินค้าและบริการใหม่ ความต้องการสินค้าใหม่ของลูกค้า การเปลี่ยนแปลงของประชากร การได้เปรียบเชิงเศรษฐกิจ กฎหมายที่มีผลกระทบต่อ
การแข่งขัน ฯลฯ
• T - Threats หมายถึง อุปสรรคหรือข้อจำกัดที่เกิดจาก
สภาพแวดล้อมภายนอก ซึ่งบริษัทไม่สามารถควบคุมได้ แต่จำเป็นต้องปรับกลยุทธ์ให้สอดคล้องและพยายามขจัดอุปสรรคต่างๆ ที่เกิดขึ้น
เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายแก่องค์กร ทั้งทางตรงและทางอ้อม เช่น
ผู้เข้ามาใหม่ในตลาด ต้นทุนวัตถุดิบสูง การขาดแคลนวัตถุดิบ
การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี ปัญหาเศรษฐกิจ อุปสรรคจากกฎหมาย สินค้าทดแทน รสนิยมและความต้องการของลูกค้า ฯลฯ
ตัวอย่างการวิเคราะห์ SWOT ของบริษัท XXX ซึ่งดำเนินธุรกิจน้ำพริกสำเร็จรูปพร้อมรับประทาน
• ผู้บริหารมีความรู้และสูตรในการผลิตน้ำพริก
เป็นอย่างดี
• มีช่องทางการจัดจำหน่ายที่แน่นอน โดยทำสัญญาส่งเป็นรายเดือนกับตัวแทนจำหน่าย
• ได้รับเครื่องหมายรับรองคุณภาพสินค้าจาก อ.ย. ตั้งแต่ปีแรกที่เริ่มดำเนินการ
• อยู่ใกล้แหล่งวัตถุดิบ จึงมีต้นทุนการขนส่งต่ำ และไม่จำเป็นต้องสำรองวัตถุดิบไว้มาก
• ต้นทุนการผลิตต่ำ สามารถตั้งราคาได้ถูกกว่าคู่แข่ง
• เงินลงทุนเริ่มแรกเป็นเงินลงทุนของผู้ก่อตั้ง ทำให้ไม่มีปัญหาภาระหนี้สิน • ตราสินค้ายังไม่เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคมากนัก
เนื่องจากยังไม่มีการโฆษณาประชาสัมพันธ์ให้
ผู้บริโภครับรู้เท่าที่ควร
• พนักงานส่วนใหญ่เป็นพนักงานระดับแรงงาน ทำให้การพัฒนาทักษะฝีมือต้องใช้เวลามาก
• สถานที่ผลิตสินค้าอยู่ในเขตที่พักอาศัยของชุมชน เกิดข้อจำกัดในด้านการขยายกำลังการผลิต
• น้ำพริกเป็นอาหารที่อยู่คู่กับคนไทยมานาน และ
ได้รับความนิยมจากผู้บริโภคมาโดยตลอด ทำให้สินค้าสามารถขายได้อย่างสม่ำเสมอ
• รัฐบาลมีนโยบายในการที่จะส่งเสริมธุรกิจ
ขนาดกลางและขนาดเล็กอย่างจริงจัง ทำให้เป็นโอกาสในการขยายการผลิต • ลงทุนไม่มาก ทำให้มีคู่แข่งจำนวนมาก
• สินค้าเลียนแบบได้ง่าย
• ต้องพึ่งพาวัตถุดิบตามธรรมชาติเป็นหลัก จึงมี
ความเสี่ยงที่ผลผลิตจะขาดตลาด หรือความผันผวนของราคาวัตถุดิบ
ข้อสรุปจาก SWOT จะมีประโยชน์สำหรับผู้บริหารบริษัทในการวางแผนกลยุทธ์การตลาด และช่วยให้บริษัทสามารถแก้ปัญหา ฟันฝ่าอุปสรรค ตลอดจนสามารถฉวยโอกาสทางการตลาดเอาไว้ได้ ซึ่งผู้ลงทุนก็สามารถนำ
หลักการนี้มาประยุกต์ใช้ประกอบการพิจารณาตัดสินใจลงทุนในบริษัทนั้นๆ ได้เช่นกัน
บทที่ 2 แนวคิด ทฤษฎีทางการบริหารจัดการที่สำคัญ ตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบัน
ยุคที่ 3 ยุคการจัดการสมัยปัจจุบัน (Modern) (ค.ศ. 1950-ปัจจุบัน)
1. แนวความคิดการจัดการโดยใช้คณิตศาสตร์เพื่อช่วยในการตัดสินใจเป็นแนวความคิดที่ใช้ตัวเลขเป็นเครื่องมือในการบริหารและการตัดสินใจ โดยมีการพยายามปรับข้อมูลต่าง ๆ ให้เป็นตัวเลข และนำตัวเลขเหล่านั้นผ่านกระบวนการคำนวณทางคณิตศาสตร์และตัวเลขที่เป็นผลลัพธ์จะนำไปสู่การวิเคราะห็ ตีความ และแปรความหมาย และจะนำไปใช้ประกอบในการตัดสินใจของผู้บริหาร อย่างไรก็ตามการใช้ตัวเลขหรือสูตรคำนวณต่าง ๆ ที่เป็นกระบวนการทางคณิตศาสตร์นั้น มีข้อจำกัดและมีข้อยกเว้นมากซึ่งข้อจำกันที่เป็นข้อยกเว้นเหล่านี้แท้จริงแล้วเป็นสิ่งที่เกี่ยวข้อง และมีอิทธิพลที่สำคัญในการที่จะต้องพิจารณาประกอบในการบริหารงานและการตัดสินใจ แต่อย่างไรก็ตาม ตัวเลขที่ผ่านการประมวลทางคณิตศาสตร์ออกมาเป็นผลลัพธ์จะใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพเพียงใดนั้น ก็ขึ้นอยู่กับความสามารถของผู้วิเคราะห์ที่จะต้องคำนึงถึงปัจจัยแวดล้อมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องและจะต้องนำมาพิจารณาประกอบกับผลลัพธที่เป็นตัวเบบอย่างสมเหตุสมผล
2. แนวความคิดการจัดการเชิงระบบ
แนวความคิดการจัดการเชิงระบบ โดย Norbert Wiener (ค.ศ. 1958) เป็นการนำเอาแนวคิดเกี่ยวกับระบบ (system) มาประยุกต์ใช้ ซึ่งการที่จะเข้าใจแนวความคิดนี้ได้ดีนั้นจะต้องมีความเข้าใจเกี่ยวกับระบบในอันดับแรกก่อน
ระบบ (system) คือ ส่วนต่าง ๆ จำนวนหนึ่ง ซึ่งสัมพันธ์และขึ้นอยู่ต่อกันเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันเพื่อกระทำงานสิ่งบางอย่างให้สำเร็จผลตามต้องการ
ลักษณะสำคัญของระบบ
1. ในระบบใหญ่ (system) จะประกอบด้วยระบบย่อย (sub system)
2. ทั้งระบบจะมีการเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลาในลักษณะเป็น dynamic
3. การเคลื่อนไหวของระบบย่อย (sub system) จะมีผลกระทบซึ่งกันและกันอย่างต่อเนื่องเป็นลูกโซ่ (chain of effect)
4. การเปลี่ยนแปลงของระบบหนึ่งจะส่งผลกระทบต่อระบบอื่น
ชนิดของระบบ
ระบบแบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ
1. ระบบปิด (closed system) เป็นระบบที่ไม่เกี่ยวพันกับสิ่งแวดล้อมภายนอก และสิ่งแวดล้อมภายนอกจะไม่มีอิทธิพลต่อกลไกของระบบ
2. ระบบเปิด (opened system) เป็นระบบที่ต้องคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม เนื่องจากสิ่งแวดล้อมภายนอกต่าง ๆ นั้นมีอิทธิพลต่อกลไกของระบบ
องค์ประกอบสำคัญของระบบ
ดังนั้น แนวความคิดการจัดการเชิงระบบ (system approach) เป็นแนวความคิดที่มององค์การและกลไกภายในองค์การว่าลักษณะเหมือนกับระบบ กล่าวคือถ้าจะพิจารณาองค์ประกอบส่วนนำเข้า (input) ขององค์การก็ได้แก่ ปัจจัยทางการจัดการต่าง ๆ เช่น วัตถุดิบ แรงงาน เครื่องจักร โดยส่วนนำเข้าเหล่านี้จะนำไปผ่านกระบวนการ (process) คือผ่านกระบวนการและกิจกรรมทางการบริหาร และในส่วนของผลลัพธ์ (output) ก็คือ สินค้า หรือบริหาร และนำไปสู่การบรรลุวัตถุประสงค์ก็คือ กำไร ผลตอบแทนที่น่าพอใจของผู้ถือหุ้นและความอยู่รอเจริญเติบโตขององค์การ
การมองโดยภาพรวมขององค์การ อาจกล่าวได้ว่าองค์การเป็นระบบเปิด เนื่องมาจาก การทำงานโดยผ่านกระบวนการต่าง ๆ เพื่อให้ออกมาเป็นความสำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพตามเป้าหมายนั้นจะต้องขึ้นอยู่กับปัจจัยแวดล้อมต่าง ๆ ได้แก่ กฎหมาย เศรษฐกิจ การเมือง ลูกค้า คู่แข่งขัน เทคโนโลยี ฯลฯ ซึ่งความสำเร็จขององค์การจะมีประสิทธภาพมากน้อยเพียงใดก็ขึ้นอยู่กับอิทธิพลของปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้ นอกจากนี้ก็มีระบบการควบคุม ประเมินผลงานเพื่อเป็นข้อมูลย้อนกลับหรือ feedback เพื่อนำไปสู่การแก้ไขและพัฒนาต่อไป
กลไกการจัดการเชิงระบบ ก็เป็นการมององค์การในลักษณะ กลไกของระบบ กล่าวคือ
- องค์การเปรียบเสมือนระบบใหญ่ (system) ซึ่งประกอบด้วยระบบย่อยต่าง ๆ (sub system) เช่น ระบบตลาด ระบบผลิต ระบบการเงิน ระบบบัญชี ระบบการบริหารบุคคล เป็นต้น
- องค์การจะมีการเคลื่อนไหวตลอดเวลา ก็คือ มีการทำงานตลอดจนการปฏิบัติกิจกรรมทางการบริหาร เพื่อให้ประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย
- ในระบบย่อย หรือ หน่วยงานต่าง ๆ ก็จะมีการทำงานตามหน้าที่ ซึ่งจะต้องมีการติดต่อประสานงานระหว่างกันอยู่ตลอดเวลา โดยอาศัยระบบการจัดการการติดต่อสื่อสารภายในที่มีประสิทธิภาพ
- เมื่อหน่วยงานใด หรือส่วนงานใดเกิดการเปลี่ยนแปลงก็จะส่งผลกระทบไปยังหน่วยงานอื่น ๆ ถึงแม้แต่ละหน่วยงานจะมีเป้าหมายเป็นของตนเองตามลักษณะงาน แต่ในภาพรวมแล้วเป้าหมายเหล่านั้นจะต้องมีทิศทางเดียวกันเพื่อมุ่งสู่เป้าหมายโดยรวมขององค์การ
บทที่ 3 การค้นหาข้อมูลโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
เทคโนโลยีสารสนเทศที่นำมาใช้สำหรับการเรียนการสอน เป็นการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่หลายอย่าง สอนด้วยสื่ออุปกรณ์ที่ทันสมัย ห้องเรียนสมัยใหม่ มีอุปกรณ์วิดีโอโปรเจคเตอร์ (Video Projector)มีเครื่องคอมพิวเตอร์ มีระบบการอ่านข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์แบบต่าง ๆ รูปแบบของสื่อที่นำมาใช้ในด้านการเรียนการสอน ก็มีหลากหลาย ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมในการนำมาใช้ เช่น คอมพิวเตอร์ช่วยสอน อิเล็กทรอนิกส์บุค วิดีโอเทเลคอนเฟอเรนซ์ ระบบวิดีโอออนดีมานด์ การสืบค้นข้อมูลในคอมพิวเตอร์ และระบบอินเทอร์เน็ต เป็นต้น
- คอมพิวเตอร์ช่วยสอน เป็นการนำเอาเทคโนโลยี รวมกับการออกแบบโปรแกรมการสอน มาใช้ช่วยสอน ซึ่งเรียกกันโดยทั่วไปว่าบทเรียน CAI ( Computer - Assisted Instruction ) การจัดโปรแกรมการสอน โดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน ในปัจจุบันมักอยู่ในรูปของสื่อประสม (Multimedia) ซึ่งหมายถึงนำเสนอได้ทั้งภาพ ข้อความ เสียง ภาพเคลื่อนไหวฯลฯ โปรแกรมช่วยสอนนี้เหมาะกับการศึกษาด้วยตนเอง และเปิดโอกาสให้ผู้เรียนสามารถโต้ตอบ กับบทเรียนได้ตลอด จนมีผลป้อนกลับเพื่อให้ผู้เรียนรู้ บทเรียนได้อย่างถูกต้อง และเข้าใจในเนื้อหาวิชาของบทเรียนนั้นๆ
- การเรียนการสอนโดยใช้เว็บเป็นหลัก เป็นการจัดการเรียน ที่มีสภาพการเรียนต่างไปจากรูปแบบเดิม การเรียนการสอนแบบนี้ อาศัยศักยภาพและความสามารถของเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นการนำเอาสื่อการเรียนการสอน ที่เป็นเทคโนโลยี มาช่วยสนับสนุนการเรียนการสอน ให้เกิดการเรียนรู้ การสืบค้นข้อมูล และเชื่อมโยงเครือข่าย ทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนได้ทุกสถานท ี่และทุกเวลา การจัดการเรียนการสอนลักษณะนี้ มีชื่อเรียกหลายชื่อ ได้แก่ การเรียนการสอนผ่านเว็บ (Web-based Instruction) การฝึกอบรมผ่านเว็บ (Web-based Trainning) การเรียนการสอนผ่านเวิล์ดไวด์เว็บ (www-based Instruction) การสอนผ่านสื่อทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-learning) เป็นต้น
- อิเล็กทรอนิกส์บุค คือการเก็บข้อมูลจำนวนมากด้วยซีดีรอม หนึ่งแผ่นสามารถเก็บข้อมูลตัวอักษรได้มากถึง 600 ล้านตัวอักษร ดังนั้นซีดีรอมหนึ่งแผ่นสามารถเก็บข้อมูลหนังสือ หรือเอกสารได้มากกว่าหนังสือหนึ่งเล่ม และที่สำคัญคือการใช้กับคอมพิวเตอร์ ทำให้สามารถเรียกค้นหาข้อมูลภายในซีดีรอม ได้อย่างรวดเร็วโดยใช้ดัชนี สืบค้นหรือสารบัญเรื่อง ซีดีรอมจึงเป็นสื่อที่มีบทบาทต่อการศึกษาอย่างยิ่ง เพราะในอนาคตหนังสือต่าง ๆ จะจัดเก็บอยู่ในรูปซีดีรอม และเรียกอ่านด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่เรียกว่าอิเล็กทรอนิกส์บุค ซีดีรอมมีข้อดีคือสามารถจัดเก็บ ข้อมูลในรูปของมัลติมีเดีย และเมื่อนำซีดีรอมหลายแผ่นใส่ไว้ในเครื่องอ่านชุดเดียวกัน ทำให้ซีดีรอมสามารถขยายการเก็บข้อมูลจำนวนมากยิ่งขึ้นได้
- วิดีโอเทเลคอนเฟอเรนซ์ หมายถึงการประชุมทางจอภาพ โดยใช้เทคโนโลยีการสื่อสารที่ทันสมัย เป็นการประชุมร่วมกันระหว่างบุคคล หรือคณะบุคคลที่อยู่ต่างสถานที่ และห่างไกลกันโดยใช้สื่อทางด้านมัลติมีเดีย ที่ให้ทั้งภาพเคลื่อนไหว ภาพนิ่ง เสียง และข้อมูลตัวอักษร ในการประชุมเวลาเดียวกัน และเป็นการสื่อสาร 2 ทาง จึงทำให้ ดูเหมือนว่าได้เข้าร่วมประชุมร่วมกันตามปกติ ด้านการศึกษาวิดีโอเทคเลคอนเฟอเรนซ์ ทำให้ผู้เรียนและผู้สอนสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ ผ่านทางจอภาพ โทรทัศน์และเสียง นักเรียนในห้องเรียน ที่อยู่ห่างไกลสามารถเห็นภาพและเสียง ของผู้สอนสามารถเห็นอากับกิริยาของ ผู้สอน เห็นการเคลื่อนไหวและสีหน้าของผู้สอนในขณะเรียน คุณภาพของภาพและเสียง ขึ้นอยู่กับความเร็วของช่องทางการสื่อสาร ที่ใช้เชื่อมต่อระหว่างสองฝั่งที่มีการประชุมกัน ได้แก่ จอโทรทัศน์หรือจอคอมพิวเตอร์ ลำโพง ไมโครโฟน กล้อง อุปกรณ์เข้ารหัสและถอดรหัส ผ่านเครือข่ายการสื่อสารความเร็วสูงแบบไอเอสดีเอ็น (ISDN)
- ระบบวิดีโอออนดีมานด์ (Video on Demand) เป็นระบบใหม่ที่กำลังได้รับความนิยมนำมาใช้ ในหลายประเทศเช่น ญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกา โดยอาศัยเครือข่ายคอมพิวเตอร์ความเร็วสูง ทำให้ผู้ชมตามบ้านเรือนต่าง ๆ สามารถเลือกรายการวิดีทัศน์ ที่ตนเองต้องการชมได้โดยเลือกตามรายการ (Menu) และเลือกชมได้ตลอดเวลา วิดีโอออนดีมานด์ เป็นระบบที่มีศูนย์กลาง การเก็บข้อมูลวีดิทัศน์ไว้จำนวนมาก โดยจัดเก็บในรูปแหล่งข้อมูลขนาดใหญ่ (Video Server) เมื่อผู้ใช้ต้องการเลือกชมรายการใด ก็เลือกได้จากฐานข้อมูลที่ต้องการ ระบบวิดีโอ ออนดีมานด์จึงเป็นระบบที่จะนำมาใช้ ในเรื่องการเรียนการสอนทางไกลได้ โดยไม่มีข้อจำกัดด้านเวลา ผู้เรียนสามารถเลือกเรียน ในสิ่งที่ตนเองต้องการเรียนหรือสนใจได้
- การสืบค้นข้อมูล (Search Engine) ปัจจุบันได้มีการกล่าวถึงระบบการสืบค้นข้อมูลกันมาก แม้แต่ในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ก็มีการประยุกต์ใช้ไฮเปอร์เท็กซ์ในการสืบค้นข้อมูล จนมีโปรโตคอลชนิดพิเศษที่ใช้กัน คือ World Wide Web หรือเรียกว่า www. โดยผู้ใช้สามารถเรียกใช้โปรโตคอล http เพื่อเชื่อมโยงเข้าสู่ระบบไฮเปอร์เท็กซ์ ซึ่งเป็นฐานข้อมูลในอินเทอร์เน็ต ไฮเปอร์เท็กซ์มีลักษณะเป็นแบบมัลติมีเดีย เพราะสามารถสร้างเป็นฐานข้อมูลขนาดใหญ่ ที่เก็บได้ทั้งภาพ เสียง และตัวอักษร มีระบบการเรียกค้นที่มีประสิทธิภาพ โดยใช้โครงสร้างดัชนีแบบลำดับชั้นภูมิ โดยทั่วไป ไฮเปอร์เท็กซ์จะเป็นฐานข้อมูลที่มีดัชนีสืบค้นแบบเดินหน้า ถอยหลัง และบันทึกร่องรอยของการสืบค้นไว้ โปรแกรมที่ใช้ในการสร้างไฮเปอร์เท็กซ์มีเป็นจำนวนมาก ส่วนโปรแกรมที่มีชื่อเสียงได้แก่ HTML Compossor FrontPage Marcromedia DreaWeaver เป็นต้น ปัจจุบันเราใช้วิธีการสืบค้นข้อมูล เพื่อนำข้อมูลที่ได้ไปใช้ประกอบในการทำเอกสารรายงานต่าง ๆ ได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว
- อินเทอร์เน็ต คือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ซึ่งประกอบด้วยเครือข่ายย่อย และเครือข่ายใหญ่สลับซับซ้อนมากมาย เชื่อมต่อกันมากกว่า 300 ล้านเครื่องในปัจจุบัน โดยใช้ในการติดต่อสื่อสาร ข้อความรูปภาพ เสียงและอื่น ๆ โดยผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ที่มีผู้ใช้งานกระจายกันอยู่ทั่วโลก ปัจจุบันได้มีการนำระบบอินเทอร์เน็ต เข้ามาใช้ในวงการศึกษากันทั่วโลก ซึ่งมีประโยชน์ในด้านการเรียนการสอนเป็นอย่างมาก
บทที่ 4 แนวคิดเกี่ยวกับภาวะผู้นำ และการบริหารจัดการสมัยใหม่
แนวคิดผู้นำเชิงพฤติกรรม (Behavioral Approach) แนวคิดนี้ศึกษาถึงพฤติกรรมที่ผู้นำแสดงออกเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติและประสิทธิผลตามที่ผู้นำต้องการ โดยผู้นำแต่ละคนจะมีพฤติกรรมที่แตกต่างกันออกไป มหาวิทยาลัยและสถาบันต่างๆในสหรัฐอเมริกาได้ให้ความสนใจและทำการวิจัยเกี่ยวกับพฤติกรรมของผู้นำ โดยทำการศึกษาถึงพฤติกรรมของผู้นำที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งผลสรุปที่สำคัญๆ มีดังต่อไปนี้ (วิภาดา คุปตานนท์, 2544: 242-247) 1.ภาวะผู้นำแบบประชาธิปไตยและผู้นำแบบเผด็จการ (Democratic leadership – Autocratic leadership) Tannenbaum และSchmidt อธิบายว่า ผู้นำแบบประชาธิปไตยนิยมกระจายอำนาจ มอบหมายงานให้สมาชิก และเปิดโอกาสให้สมาชิกเข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ในทางตรงกันข้าม ผู้นำแบบเผด็จการมักนิยมใช้ดุลยพินิจและการตัดสินใจด้วยตัวเอง และมักไม่เปิดโอกาสให้สมาชิกเข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจ 2.การศึกษาของ University of Michigan ได้แจกแจงพฤติกรรมของผู้นำที่แตกต่างกันใน 3 ลักษณะอย่างเห็นได้ชัด คือ 1).พฤติกรรมผู้นำที่มุ่งคน (People-oriented behaviors) ที่ให้ความสำคัญต่อสมาชิกหรือพนักงาน เข้าใจความแตกต่างและยอมรับความสำคัญของพนักงาน มีการเปิดโอกาสให้พนักงานมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ อีกทั้งยังสนใจ และเข้าใจความต้องการของคนงาน 2).พฤติกรรมของผู้นำที่มุ่งงาน (Task-oriented behaviors) ที่ผู้นำเน้นความสำเร็จของการทำงาน เน้นการสร้างงานและผลผลิตที่มีมาตรฐานสูง เน้นการใช้กฎ ระเบียบ ข้อปฏิบัติเพื่อให้งานบรรลุเป้าหมาย 3.การศึกษาของ Ohio State University ได้สรุปว่าพฤติกรรมของผู้นำสามารถแบ่งได้เป็น 2 ด้าน คือ 1).พฤติกรรมที่มุ่งสร้างโครงสร้าง (Initiation structure) ที่ผู้นำให้ความสำคัญกับกฎเกณฑ์ การบังคับบัญชา เน้นบทบาทหน้าที่ตามตำแหน่ง และเน้นผลงานที่เกิดจากการทำงานตามโครงสร้าง 2).พฤติกรรมที่มุ่งความสัมพันธ์ (Consideration) ผู้นำจะให้ความสำคัญกับการมีความสัมพันธภาพที่ดีกับสมาชิก และมีส่วนร่วมในการทำงานของสมาชิก 4.Managerial Grid เป็นตัวอย่างหนึ่งของการศึกษาพฤติกรรมของผู้นำที่ผนวกแนวคิดทางพฤติกรรมต่างๆเข้าด้วยกัน โดย Blake และMouton ได้สร้างตาราง 2 มิติ โดยให้แกนนอนแทนผู้นำที่มุ่งผลงาน (Production-oriented leader) และแกนตั้งแทนผู้นำที่มุ่งคน (People-oriented leadership) ซึ่งผู้นำที่มีประสิทธิภาพสูงสุด ได้แก่ผู้นำที่มุ่งทั้งงานและคน
บทที่ 5 ทฤษฎีผู้นำที่เหมาะสมกับสถานการณ์และสิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน
ในปี 1967 Fred E.Fiedler ได้เสนอแนวความคิดการบริหารเชิงสถานการณ์ (Situational Management Theory) หรือทฤษฎีอุบัติการณ์ (Contingency Theory) ซึ่งถือเป็นทฤษฎีการบริหารที่ขึ้นอยู่กับในเชิงสภาพข้อเท็จจริงด้วยแนวคิดที่ว่าการเลือกทางออกที่จะไปสู่การแก้ปัญหาทางการบริหารถือว่าไม่มีวิธีใดที่ดีที่สุด หากแต่สถานการณ์ต่างหากที่จะเป็นตัวกำหนดว่าควรจะหยิบใช้การบริหารแบบใดในสภาวการณ์เช่นนั้น หลักคิดง่ายๆ ของการบริหารเชิงสถานการณ์ นั้นถือว่าการบริหารจะดีหรือไม่ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ สถานการณ์จะเป็นตัวกำหนดการตัดสินใจ และรูปแบบการบริหารที่เหมาะสม และผู้บริหารจะต้องพยายามวิเคราะห์สถานการณ์ให้ดีที่สุด โดยเป็นการผสมผสานแนวคิดระหว่างระบบปิดและระบบเปิด และยอมรับหลักการของทฤษฎีระบบว่าทุกส่วนของระบบจะต้องสัมพันธ์ และมีผลกระทบซึ่งกันและกัน คือมุ่งเน้น ความสัมพันธ์ระหว่างองค์การกับสภาพแวดล้อมขององค์การ สถานการณ์บางครั้งจะต้องใช้การตัดสินใจอย่างเฉียบขาด บางสถานการณ์ต้องอาศัยการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ บางครั้งก็ต้องคำนึงถึงหลักมนุษย์และแรงจูงใจ บางครั้งก็ต้องคำนึงถึงเป้าหมายหรือผลผลิตขององค์กรเป็นหลัก การบริหารจึงต้องอาศัยสถานการณ์เป็นตัวกำหนดในการตัดสินใจ
การบริหารเชิงสถานการณ์จะคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมและความต้องการของบุคคลในหน่วยงานเป็นหลักมากกว่าที่จะแสวงหาวิธีการอันดีเลิศมาใช้ในการทำงาน โดยใช้ปัจจัยทางด้านจิตวิทยาในการพิจารณาด้วย โดยเน้นให้ผู้บริหารรู้จักใช้การพิจารณาความแตกต่างที่มีอยู่ในหน่วยงาน เช่น ความแตกต่างระหว่างบุคคล ความแตกต่างระหว่างระเบียบกฎเกณฑ์ วิธีการ กระบวนการ และการควบคุมงาน ความแตกต่างระหว่างความสัมพันธ์ของบุคคลในองค์กร หรือความแตกต่างระหว่างเป้าหมายการดำเนินงานขององค์การ เป็นต้น
บทที่ 6 การเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และวิเคราะห์ถึงผลกระทบต่อการบริหารจัดการ
ปี พ.ศ.2554 ภาคธุรกิจได้รับผลกระทบจากมหาอุทกภัย ในขณะที่ผลกระทบในระยะยาว ภาคธุรกิจเองยังอาจได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรีทางการค้าในกลุ่มประชาคมอาเซียน (AEC) ในปี 2558 ซึ่งจุดนี้เองจะเป็นแรงผลักให้เกิดการเปลี่ยนแปลง (Force of Change) ที่สำคัญที่จะทำให้องค์กรต่าง ๆ มีความจำเป็นที่จะต้องปรับตัวเองในการเพิ่มขีดความสามารถในการดำเนินธุรกิจในอนาคต โดยเฉพาะอย่างยิ่งภายใต้ภาวะการแข่งขันที่มีแนวโน้มจะรุนแรงมากยิ่งขึ้น ซึ่งสิ่งสำคัญที่จะทำให้องค์กรสามารถเพิ่มขีดความสามารถดังกล่าว ย่อมปฏิเสธไม่ได้ว่าผู้บริหารจะต้องให้ความสำคัญกับปัจจัยในด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในองค์กร องค์กรจะต้องเตรียมพร้อมสำหรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต โดยเริ่มต้นจากการประเมินความพร้อมในด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่เป็นอยู่ในปัจจุบันขององค์กร เพื่อที่จะประเมินได้ว่า ธุรกิจของตนเองมีความพร้อม มากหรือน้อย เพียงใด ในการที่จะสามารถพลิกวิกฤติให้เป็นโอกาส ซึ่งการบริหารทรัพยากรมนุษย์ด้วยมุมมองที่ถูกต้อง(Human Resource Focus) จะเป็นปัจจัยสนับสนุนสำคัญที่ช่วยสร้างโอกาสในการดำเนินธุรกิจ สร้างจุดเปลี่ยนแปลงให้องค์กรเติบโตแบบก้าวกระโดด หรือ “Change S Curve” นั่นเอง
ก่อนหน้าที่จะเกิดวิกฤตอุทกภัย
องค์กรมีกลยุทธ์การบริหารทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Focus) เป็นอย่างไร”
และ“หลังภาวะวิกฤตอุทกภัยที่จะเปลี่ยนไปสู่การเปิดเสรีกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) องค์กรจะมีการปรับตัวด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์อย่างไร เพื่อให้มีความสามารถทัดเทียมหรือเหนือกว่าคู่แข่ง”
จากการที่ผู้เขียนในฐานะที่ปรึกษาด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์และพัฒนาองค์กร ได้มีโอกาสสัมภาษณ์ผู้บริหารระดับสูงในบริษัทฯ ชั้นนำ ตลอดจนผู้บริหารระดับสูงในสายงานทรัพยากรมนุษย์ ที่ให้ความสำคัญในการเตรียมพร้อมกับการเปิดเสรีทางการค้าในกลุ่มประชาคมอาเซียน (AEC) ในปี 2558 ต่างก็มีมุมมองในการบริหารทรัพยากรมนุษย์เพื่อสร้างขีดความสามารถในการดำเนินธุรกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งภายหลังจากภาวะวิกฤตอุทกภัยได้เริ่มคลี่คลายลง และการเตรียมความพร้อมสำหรับการมุ่งสู่การเปิดเสรีกลุ่มประชาคมอาเซียน (AEC) ในอีก 3 ปีข้างหน้า โดยมีประเด็นที่มุ่งเน้นสำคัญ ๆ ที่ผู้เขียนประมวลนำมาสรุป แบ่งออกเป็น 6 ประเด็นที่สำคัญ ๆ ดังนี้
ประการแรก ความสามารถของพนักงานในการดำเนินธุรกิจในระดับข้ามชาติ (Global Competency)
ประการที่สอง การพัฒนาความสามารถในด้านธุรกิจของพนักงาน(Business Acumen Competency)
ประการที่สาม ความรวดเร็วและเหมาะสมในการพัฒนาพนักงานให้มีขีดความสามารถสูง(Speed Learning)
ประการที่สี่ การบริหารจัดการพนักงานที่มีขีดความสามารถสูง (Talent Management)
ประการที่ห้า การบริหารกำลังพลให้คุ้มค่า(Manpower Utilization)
ประการที่หก การสร้างจิตสำนึกอย่างเร่งด่วนให้กับพนักงาน(Sense of Urgency)
บทที่ 7 การพัฒนาองค์การไปสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้และการพัฒนาอย่างยั่งยืน
แนวคิดของ Learning Organization
Chris Argyris และ Donald Schon ได้ให้คำนิยามการเรียนรู้สองรูปแบบที่มีความสำคัญในการสร้าง Learning Organization คือ Single Loop Learning ( First Order / Corrective Learning) หมายถึง การเรียนรู้ที่เกิดขึ้นแก่องค์การเมื่อการทำงานบรรลุผลที่ต้องการลักษณะการเรียนรู้แบบที่สองเรียกว่า Double Loop Learning (Second Oder/Generative Learning)หมายถึงการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นเมื่อสิ่งที่ต้องการให้บรรลุผลหรือเป้าหมายไม่สอดคล้องกับผลการกระทำ Peter Senge เชื่อว่าหัวใจของการสร้าง Learning Organization อยู่ที่การสร้างวินัย 5 ประการในรูปของการนำไปปฏิบัติของบุคคล ทีม และองค์การอย่างต่อเนื่อง วินัย 5 ประการที่เป็นแนวทางสนการปฏิบัติเพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้ทั้งองค์การมีดังนี้
1. Personnal Mastery : มุ่งสู่ความเป็นเลิศ และรอบรู้ โดยมุ่งมั่นที่จะพัฒนาตนเองให้ไปถึงเป้าหมายด้วย การสร้างวิสัยทัศน์ส่วนตน (Personal Vission) เมื่อลงมือกรทำและต้องมุ่งมั่นสร้างสรรจึงจำเป็นต้องมี แรงมุ่งมั่นใฝ่ดี (Creative Tention) มีการใช้ข้อมูลข้อเท็จจริงเพื่อคิดวิเคราะห์และตัดสินใจ (Commitment to the Truth) ที่ทำให้มีระบบการคิดตัดสินใจที่ดี รวมทั้งใช้การฝึกจิตใต้สำนึกในการทำงาน (Using Subconciousness) ทำงานด้วยการดำเนินไปอย่างอัตโนมัติ
2. MentalModel มีรูปแบบวิธีการคิดและมุมมองที่เปิดกว้าง ผลลัพธ์ที่จะเกิดจากรูปแบบแนวคิดนี้จะออกมาในรูปของผลลัพธ์ 3 ลักษณะคือ เจตคติ หมายถึง ท่าที หรือความรู้สึกของบุคคลต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เหตุการณ์ หรือเรื่องราวใด ๆ ทัศนคติแนวความคิดเห็นและกระบวนทัศน์ กรอบความคิด แนวปฏิบัติที่เราปฏิบัติตาม ๆ กันไป จนกระทั่งกลายเป็นวัฒนธรรมขององค์การ
3. Shared Vission การสร้างและสานวิสัยทัศน์ วิสัยทัศน์องค์การ เป็นความมุ่งหวังขององค์การที่ทุกคนต้องร่วมกันบูรณาการให้เกิดเป็นรูปธธรรมในอนาคต ลักษณะวิสัยทัศน์องค์การที่ดี คือ กลุ่มมผู้นำต้องเป็นฝ่ายเริ่มน้นเข้าสู่กระบวนการพัฒนาวิสัยทัศน์อย่างจริงจัง วิสัยทัศน์นั้นจะต้องมีรายละเอียดชัดเจน เพียงพอที่จะนำไปเป็นแนวทางปฏิบัติได้ วิสัยทัศน์องค์การต้องเป็นภพบวกต่อองค์การ
4. Team Learn การเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม องค์การความมุ่งเน้นให้ทุกคนในทีมมีสำนึกร่วมกันว่า เรากำลังทำอะไรและจะทำอะไรต่อไป ทำอย่างไร จะช่วยเพิ่มคุณค่าแก่ลูกค้า การเรียนรู้ร่วมกันเป็นทึมขึ้นกับ 2 ปัจจัย คือ IQ และ EQ ประสานกับการเรียนรู้ร่วมกันเป็นทึม และการสร้างภาวะผู้นำแก่ผู้นำองค์การทุกระดับ
5. System Thinking มีความคิดความเข้าใจเชิงระบบ ทุกคนควรมีความสามารถในการเข้าใจถึงความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งต่าง ๆ ที่เป็นองค์ประกอบสำคัญของระบบนอกจากมองภาพรวมแล้ว ต้องมองรายละเอียดของส่วนประกอบย่อยในภาพนั้นให้ออกด้วย วินัยข้อนี้สามารถแก้ไขปัญหาที่สลับซับซ้อนต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี
บทที่ 8 เทคนิคในการบริหารทรัพยากรมนุษย์และการจัดการที่เหมาะสมกับวัฒนธรรมไทย
คนกับงาน เป็นของคู่กันอย่างแยกไม่ออก ทั้งในเชิงการมองจากมิติความสำคัญของคนที่มีต่องาน และมิติที่คนเป็นผู้ที่ทำให้งานนั้นเกิดขึ้นมาได้ แต่การที่จะทำให้คนทำงานอย่างเกิดประสิทธิภาพและได้ประสิทธิผลนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะไม่ว่าจะหาเครื่องมือหรือเทคนิคในการบริหารจัดการสารพัดนำเข้ามาใช้ หากแต่คนที่เป็นผู้ทำงานไม่อยากทำงาน ไม่รักและผูกพันกับองค์การ หรือไม่มีพื้นฐานของความคิด พื้นฐานของจิตใจที่เหมาะสม เช่น เจองานยากเป็นถอย หรือที่พบเห็นได้บ่อย คือ “รับปากผ่าน ๆ” เป็นต้นแล้วล่ะก็ ย่อมจะเกิดคำถามขึ้นมาอย่างแน่นอนว่า งานจะสำเร็จลงได้อย่างไร ในแวดงวงทางวิชาการหรือที่รู้จักกันในสาขาวิชาทางพฤติกรรมองค์การ และภาคปฏิบัติของการบริหารองค์การ จึงหันมาให้ความสนในเรื่องการสร้างค่านิยม วัฒนธรรมหรือรูปแบบความคิดความเชื่อที่เป็นรูปแบบเฉพาะขององค์การแต่ละองค์การขึ้นมา เพื่อเป็นเบ้าหลอมแนวคิด อันส่งผลให้เกิดพฤติกรรมการทำงานของบุคลากร และเชื่อมโยงเรื่องของวัฒนธรรมองค์การนี้ เข้ากับระบบการบริหารและประเมินผลการปฏิบัติงานเพื่อนำมาใชในหนวยงาน แต่เรื่องนี้ก็ไม่หมู แต่ตรงข้ามกลับถือเปนเรื่องยากและตองอาศัยการบริหารการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ภายในองค์การ และลึกลงไปในจิตใจ การรับรู้ของบุคลากร กล่าวกันว่า ปัจจัยแห่งความสําเร็จขององค์การประการหลักอันหนึ่งก็อยูที่ความสามารถในการบูรณาการระบบการบริหารผลงานเขากับวัฒนธรรมในการบริหารทรัพยากรบุคคลที่เป็นอยูในองคการนั้นได้หรือไม่
บทที่ 9 การบริหารการเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาอย่างยั่งยืน
องค์กรที่ดีควรมีความเจริญก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง และความต่อเนื่อง อละการพัฒนาที่ขาดการต่อเนื่องย่อมไม่ดีแน่ ดังนั้นจึงขอแนะนำ การพัฒนาองค์การอย่างเป็นระบบ อย่าง่าย ควรมีการสร้างแผนแม่แบบในการเปลี่ยนแปลง จะต้องมีการประเมินสถานการณ์ขององค์การ เพื่อให้เห็นช่องว่างของความแตกต่างระหว่างองค์การในปัจจุบันกับองค์การที่ควรจะเป็นในอนาคต หลังจากนั้นจะต้องมีการวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรคขององค์การ เพื่อที่จะนำจุดแข็งขององค์การมาผลักดันการพัฒนาองค์การ โดยมีกลไกการควบคุมทิศทางที่แน่นอน การพัฒนาองค์การจะต้องพิจารณาว่าองค์การที่จะพัฒนาเป็นแบบเปิดหรือแบบปิด ถ้าเป็นองค์การแบบเปิด ทุกคนจะต้องมีส่วนร่วมแก้ปัญหาร่วมรับผิดชอบโดยเน้นที่เป้าหมายขององค์การเป็นหลัก ลักษณะโครงสร้างขององค์การจะเป็นแบบกว้าง อาศัยการให้คำแนะนำมากกว่าสั่งการ การบริหารงานลักษณะนี้ พนักงานจะมีความซื่อสัตย์และมีจิตสำนึกในความสำเร็จของงานมากกว่าตัวบุคคล แต่ถ้าหากองค์การเป็นแบบปิดหรือแบบระบบราชการ การพัฒนาองค์การจะทำได้ยากลำบาก ทั้งนี้เนื่องมาจากมีการแบ่งงานตามหน้าที่ ลักษณะงาน ซ้ำๆ กัน มีความรับผิดชอบตามหน้าที่ของหน่วยงานที่สังกัดอยู่ มีสายการบังคับบัญชาในลักษณะแนวดิ่ง ยึดถือตัวบุคคลเป็นหลักไม่เน้นทีมงานและความสำคัญของงาน ลักษณะเช่นนี้พัฒนาได้ยาก เนื่องจากมีแรงต้านมากเห็นแก่ญาติพวกพ้องครอบครัว ผู้บริหารสูญเสียอำนาจมีความเกรงอก เกรงใจ ไม่สามารถบริหารงานให้บรรลุเป้าหมายได้สาเหตุที่องค์การจะต้องมีการพัฒนาเพื่อช่วยให้หน่วยงานมีกฎระเบียบน้อยลง และให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาขจัดอุปสรรคในการติดต่อสื่อสาร มุ่งเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์การและสร้างความรู้สึกเป็นเจ้าของ สนับสนุนให้ทำงานร่วมกันระหว่างแผนกเพื่อเป้าหมายขององค์การที่สูงขึ้น นอกจากนั้นยังเกิดจากแรงผลักดันภายในและแรงผลักดันภายนอกที่ทำให้องค์การต้องพัฒนา แรงผลักภายในหมายความถึงการเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์ การเปลี่ยนโครงสร้างใหม่ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมองค์การ ค่านิยม วัฒนธรรม ความอึดอัดในการทำงาน ความขัดแย้งในกฎระเบียบ อัตราการเข้าออกของพนักงานสูง ส่วนแรงผลักดันภายนอก ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงในวงการธุรกิจ เช่น การเปลี่ยนแปลงของตลาด การเปลี่ยนแปลงกำลังคนการขาดแคลนแรงงาน การหันมาใช้เครื่องจักร การไม่สามารถบริการลูกค้าได้ การเปลี่ยนผู้บริหาร และการนำเทคโนโลยีใหม่เข้ามาใช้ การพัฒนาองค์การจะต้องเปลี่ยนแปลงระบบทั้งหมดขององค์การ เช่น แรงงานคน โครงสร้างและระบบงาน งานและปัญหา เทคโนโลยี โดยมี สิ่งแวดล้อมเป็นตัวประกอบ เช่น สังคม การเมือง และเศรษฐกิจ โดยมีแรงผลักดันภายนอกและภายในเป็นตัวกระตุ้นให้มีการปรับโครงสร้างเดิมให้เป็นโครงสร้างใหม่
บทที่ 10 การแข่งขันในตลาดโลกและการปรับตัวเพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน
ในปัจจุบันวิธีการสร้างความมั่นคั่งและมั่นคงให้องค์การที่ดีที่สุด คือการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน (competitive advantage) ซึ่งเป็นหัวใจของการวางแผนกลยุทธ์ ความได้เปรียบในการแข่งขันหรือ Competitive advantage คือ สิ่งที่เป็นความสามารถพิเศษขององค์กรที่คู่แข่งไม่สามารถเลียนแบบได้ หรือคู่แข่งต้องใช้เวลาในการปรับตัวเองมากก่อนที่เลียบแบบความสามารถของเรา ได้ เช่น นวัตกรรม ระบบการจัดการภายในองค์กร ระบบการบริหารองค์กร ภาพลักษณ์ขององค์กรเป็นต้น ปัจจัยที่เป็นพื้นฐานที่สำคัญมากที่สุดในการทำให้เกิดความได้เปรียบในการแข่งขันก็คือ ความรู้ (Knowledge) ที่องค์กรต้องพยายามสร้างขึ้นมา ด้วยการเรียนรู้ (Learning) และพัฒนามาเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization) ให้ได้ จากนั้นผู้บริหารต้องดึงเอาความรู้ต่าง ๆ ที่บุคลากรมี เพื่อมาสร้างนวัตกรรม (Innovation) ให้กับองค์กรต่อไป ความได้เปรียบทางการแข่งขันจะขึ้นอยู่กับความสามารถที่เป็นเลิศขององค์กรทั้ง 3 ด้านคือ ขายสินค้าและให้บริการที่ดีกว่า ขายสินค้าที่ถูกกว่า และตอบสนองต่อลูกค้าได้เร็วกว่าคู่แข่งขัน คำว่าสินค้าและให้บริการที่ดีกว่าเรียกว่า “ ขายสินค้าหรือให้บริการที่แตกต่าง (differentiation) ” การขายสินค้าที่ถูกกว่าจะต้องผลิตด้วยต้นทุนต่ำกว่าเรียกว่า “ cost leadership ” และตอบสนองต่อลูกค้าได้เร็วกว่าก็คือ “ quick response ” คำว่าสินค้าและบริการที่แตกต่างไปจากองค์การอื่นหรือ differentiation นั้น หมายถึง สินค้าและบริการขององค์การที่พิเศษไปจากสินค้าและบริการขององค์การอื่นไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง หรือหลายๆ ทาง และความแตกต่างนี้ทำให้ผู้ซื้ออยากใช้สินค้านั้นและยินดีจะจ่ายซื้อสินค้านั้นในราคาที่สูงกว่าสินค้าอื่น
บทที่ 11 การบริหารจัดการธุรกิจสีเขียวและการวิเคราะห์ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และคุณภาพชีวิต
"อุตสาหกรรมนิเวศ" (Industrial Ecology) เป็นแนวคิดของการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมที่ทางการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) นำเสนอและผลักดัน โดยกำหนดให้มีการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมสู่เมืองอุตสาหกรรมนิเวศปีละ 3 แห่ง
และภายในปี 2562 ได้ตั้งเป้าหมายว่าทุกนิคมอุตสาหกรรมจะพัฒนาสู่ความเป็นเมืองอุตสาหกรรมนิเวศ
หลักของการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมนิเวศ จะเน้นการใช้พื้นที่เป็นศูนย์กลางการรวมกิจกรรมของทุกภาคส่วน โดยมีหลักการพัฒนาในแต่ละพื้นที่ 3 ประการสำคัญ คือ (หนึ่ง) การมุ่งสู่สังคมคาร์บอนต่ำ เป็นการปรับกระบวนการผลิตทั้งภาคอุตสาหกรรม เกษตรกรรม และบริการ เพื่อลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (สอง) การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน โดยภาครัฐจะต้องเปิดโอกาสให้ประชาชนและผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนรับรู้ ร่วมคิด ร่วมตัดสินใจ สร้างความโปร่งใสและเป็นที่ยอมรับร่วมกันของทุกฝ่าย (สาม) การใช้หลักการพัฒนาคลัสเตอร์อุตสาหกรรมนิเวศ เป็นการปรับแนวคิดในการจัดการภาคธุรกิจการผลิต จากการบำบัดมาเป็นการป้องกันมลพิษ โดยการเชื่อมโยงกิจกรรมในภาคการผลิตและบริการย่อย สู่การผลิตนิเวศและบริการนิเวศด้วยระบบจัดการวัสดุ วัตถุดิบ และพลังงานเพื่อการผลิตแบบ 3Rs ทำให้กากของเสียมีมูลค่าและสร้างรายได้ให้กับธุรกิจ
แนวคิดอุตสาหกรรมนิเวศเป็นส่วนหนึ่งบนเส้นทางการพัฒนาสู่ "สังคมสีเขียว" ซึ่งเป็น 1 ใน 3 ของสังคมที่เป็นจุดมุ่งหมายของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (อีกสองด้าน คือ สังคมมั่นคง และสังคมวัฒนธรรม) สังคมสีเขียวที่กำหนดไว้ในแผนฯ 11 เน้นการปรับโครงสร้างการผลิตสู่สังคมคาร์บอนต่ำ มีการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ และสิ่งแวดล้อมได้รับการฟื้นฟู อนุรักษ์และจัดการอย่างยั่งยืน ควบคู่กับการสร้างความเป็นธรรมและการเกื้อกูลในสังคมไทย
ความท้าทายของการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมนิเวศสู่การปฏิบัติได้จริงมีหลายประการ
ในด้านกรอบแนวคิด อุตสาหกรรมนิเวศเป็นแนวคิดที่ตอบสนองต่อความตื่นตัวและความตระหนักด้านสิ่งแวดล้อมของประชาชนทั่วไปและชุมชนท้องถิ่น รวมทั้งกระแสและแรงกดดันระหว่างประเทศในเรื่องแนวคิดเศรษฐกิจสีเขียว พยายามหาจุดลงตัวระหว่างทิศทางการพัฒนาอุตสาหกรรมกับการดูแลรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิต แต่จากบทเรียนการพัฒนาอุตสาหกรรมไทยในอดีตโดยเฉพาะอย่างยิ่งจากกรณีปัญหาเขตพื้นที่มาบตาพุด ทำให้ภาคประชาสังคมยังไม่มีความไว้วางใจ มีความระแวงสงสัย และยังมีข้อคำถามอีกมากเกี่ยวกับอุตสาหกรรมนิเวศทั้งในเชิงหลักการและแนวคิด
ในด้านกระบวนการนโยบายสาธารณะด้านสิ่งแวดล้อม การพัฒนาอุตสาหกรรมนิเวศไปสู่การปฏิบัตินับเป็นกระบวนการนโยบายสาธารณะด้านสิ่งแวดล้อมประเภทหนึ่ง ในสภาพการณ์ปัจจุบันมีความเปลี่ยนแปลงอย่างมากเกี่ยวกับ "ภูมิทัศน์ทางการเมือง" ในกระบวนการนโยบายด้านสิ่งแวดล้อม มีตัวกระทำใหม่ (ชุมชนท้องถิ่น องค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และศาลปกครอง) มีกติกาและกระบวนการใหม่ที่กำหนดไว้ตามบทบัญญัติหลายมาตราของรัฐธรรมนูญ (เช่น เรื่องการมีส่วนร่วม เรื่องการรับฟังความเห็น ) รวมทั้งมีเครื่องมือใหม่เพิ่มขึ้นในการตัดสินใจนโยบายสาธารณะ เช่น การประเมินผลกระทบทางสุขภาพ (HIA) การประเมินสิ่งแวดล้อมเชิงยุทธศาสตร์ (SEA) ตัวชี้วัดความอยู่เย็นเป็นสุข ฯลฯ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการปรับเปลี่ยนกระบวนการนโยบายสาธารณะด้านสิ่งแวดล้อมให้สอดรับกับสภาพความเปลี่ยนแปลงและความเป็นจริงชุดใหม่
ในด้านเครื่องมือบริหารจัดการและตัดสินใจด้านสิ่งแวดล้อมซึ่งเกี่ยวโยงกับการพัฒนาอุตสาหกรรมนิเวศ เครื่องมือหลักที่ใช้อยู่ในประเทศไทย คือ การวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ซึ่งมีปัญหาในเชิงระบบและโครงสร้างหลายด้าน การเพิ่มเรื่อง HIA ผนวกเข้ามาในระบบ EIA ก็ไม่เพียงพอต่อการแก้ไขปัญหา เนื่องจากตัว EIA ซึ่งเป็นระบบหลักมีปัญหาอยู่มาก จำเป็นต้องมีการปฏิรูปครั้งใหญ่เพื่อสร้างความเชื่อมั่นและให้เกิดประโยชน์ตามวัตถุประสงค์แท้จริงของเครื่องมือนี้ คือ การช่วยชี้ว่าอาจเกิดผลกระทบอย่างไรบ้างจากการพัฒนาอุตสาหกรรม (และกิจกรรมอื่นๆ รวมทั้งอุตสาหกรรมนิเวศ) จะหาทางป้องกันหรือลดผลกระทบได้อย่างไร และนำไปสู่การดำเนินการจริงตามข้อเสนอที่ระบุไว้ตามรายงาน EIA
นอกเหนือจากนิคมอุตสาหกรรม 9 แห่งที่ กนอ.ได้กำหนดไว้เป็นพื้นที่นำร่องสำหรับอุตสาหกรรมนิเวศในปี 2553-2555 แล้ว ขอเสนอให้ดำเนินการในเขตมาบตาพุดเป็นพื้นที่ต่อไป โดยตั้งเป้าหมายว่าต้องนำไปสู่การยกเลิกประกาศเขตควบคุมมลพิษในบริเวณพื้นที่มาบตาพุด ซึ่งหมายความว่าแก้ไขปัญหามลพิษได้สำเร็จ เป็นการทดสอบและพิสูจน์ว่าแนวคิดอุตสาหกรรมนิเวศจะมีผลในทางปฏิบัติได้จริงหรือไม่สำหรับประเทศไทย
นางสาว รำไพพรรณ เชียงหนุ้น รหัส 5130125401215 การจัดการทั่วไป
บทที่ 9 การบริหารการเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาอย่างยั่งยืน
การเปลี่ยนแปลงการบริหาร management change คือ วิวัฒนาการของแนวคิดทางการบริหารตามภาวการณ์ต่าง ๆ อาทิ การบริหารแนววิทยาศาสตร์ มนุษยสัมพันธ์ เชิงระบบและตามถานการณ์ ภาวการณ์ซึ่งเปลี่ยนแปลงไปตามบริบท (context) ของสังคม ทั้งด้านเศรษฐกิจ การเมือง สังคม สิ่งแวดล้อมและเทคโนโลยี ฯลฯ เป็นการเปลี่ยนแปลงซึ่งต้องบริหารแบบรู้เท่าทัน ทันการณ์ มีวิสัยทัศน์ โดยใช้พื้นฐานความรู้เดิมเป็นตัวตั้ง แล้วนำมาวิเคราะห์เรียบเรียง เพื่อศึกษาและทำความเข้าใจ แล้วจัดการกำจัดจุดอ่อน และเพิ่มจุดแข็ง ให้เกิดประโยชน์สูงสุดด้วย "การบริหารการเปลี่ยนแปลง (change management)"
รูปแบบการบริหารการเปลี่ยนแปลง ในการบริหารการเปลี่ยนแปลง ต้องมีการพัฒนาองค์กร ซึ่งมีรูปแบบวิธีการที่ดีอย่างน้อย 3 รูปแบบ ดังนี้
1. รูปแบบ 3 ขั้นตอน ตามแนวคิดของ Kurt Lewin ประกอบด้วย การคลายตัว (unfreezing) เนื่องจากเกิดปัญหาจึงต้องเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลง (changing) คือ การเปลี่ยนจากพฤติกรรมเก่า ไปสู่พฤติกรรมใหม่ และการกลับคงตัวอย่างเดิม (refreezing) เพื่อหล่อหลอมพฤติกรรมใหม่ให้มั่นคงถาวร
2. รูปแบบ 2 ปัจจัย ตามแนวคิดของ Larry Greiner ที่เห็นว่าการเปลี่ยนแปลงเกิดจากแรงบีบภายนอก กับการกระตุ้นผลักดันภายใน เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงมีอยู่ตลอดเวลา ปัจจัยทั้งสองเกิดขึ้นตลอดเวลา จึงต้องดำเนินการเปลี่ยนแปลงโดย ศึกษาการเปลี่ยนแปลง ค้นหาวิธีการที่ดีกว่า ทดลองวิธีใหม่ หล่อหลอมข้อดีเข้าด้วยกัน เพื่อบริหารการเปลี่ยนแปลงอย่างมีประสิทธิภาพ
3. รูปแบบผลกระทบของปัจจัย ตามแนวคิดของ Harold J. Leavitt ที่เชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงเกิดจากผลกระทบที่เกิดขึ้นตลอดเวลาของ งาน โครงสร้าง เทคนิควิทยาการ และคน ทั้ง 4 ประการนี้เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงก็จะส่งผลกระทบเกี่ยวพันกัน และการเปลี่ยนแปลงบางเรื่องอยู่เหนือการควบคุม ดังนั้นผู้บริหารจึงต้องสนใจสิ่งที่เปลี่ยนแปลง สิ่งที่จะเปลี่ยนแปลง และผลกระทบที่เกิด หรือจะเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของแต่ละปัจจัย
แนวโน้มของกระแสการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับองค์การ
1. ด้านโครงสร้าง (structure)
2. องค์ประกอบของประชากร (demographic)
3. เกิดจริยธรรมใหม่ของการทำงาน (new work ethic)
4. การเรียนรู้และองค์ความรู้ (learning and knowledge)
5. เทคโนโลยีและการเข้าถึงสารสนเทศ (technology and access to information)
6. เน้นเรื่องความยืดหยุ่น (emphasis on flexibility)
7. ต้องพร้อมเผชิญต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว (fast-paced change)
สิ่งที่ต้องพิจารณาเปลี่ยนแปลงในองค์การ
1. เป้าหมายและกลยุทธ์
2. เทคโนโลยี (technology)
3. การออกแบบงานใหม่ (job redesign)
4. โครงสร้าง (structure)
5. กระบวนการ (process)
6. คน (people)
ผู้บริหารที่เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงสู่คุณภาพการศึกษา
1. เป็นผู้นำวิสัยทัศน์ (visionary Leadership) และสามารถกระจายวิสัยทัศน์ไปยังบุคคล ต่าง ๆ ได้
2. ใช้หลักการกระจายอำนาจ (empowerment) และการมีส่วนร่วม (participation)
3. เป็นผู้มีความสัมพันธ์กับบุคลากร ทั้งภายในและนอกองค์กร
4. มีความมุ่งมั่นในการทำงาน
5. ผู้นำคุณภาพจะต้องมีความรู้ความสามารถในการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีและใช้ข้อมูลสถิติ ในการวิเคราะห์และตัดสินใจ
6. ให้การสนับสนุนและช่วยเหลือลูกน้อง
7. ความสามารถในการสื่อสาร
8. ความสามารถในการใช้แรงจูงใจ
9. เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง (chang leadership)
เอกสารอ้างอิง
ธวัช บุณยมณี. ภาวะผู้นำและการเปลี่ยนแปลง. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์, 2550.
นส. รำไพพรรณ เชียงหนุ้น รหัส 5130125401215 การจัดการทั่วไป
บทที่ 10 การแข่งขันในตาดโลกและการปรับตัวเพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน
ความได้เปรียบในการแข่งขันหรือ Competitive advantage คือ สิ่งที่เป็นความสามารถพิเศษขององค์กรที่คู่แข่งไม่สามารถเลียนแบบได้ หรือคู่แข่งต้องใช้เวลาในการปรับตัวเองมากก่อนที่เลียบแบบความสามารถของเราได้ เช่น นวัตกรรม ระบบการจัดการภายในองค์กร ระบบการบริหารองค์กร ภาพลักษณ์ขององค์กรและ ปัจจัยที่เป็นพื้นฐานที่สำคัญมากที่สุดในการทำให้เกิดความได้เปรียบในการแข่งขันก็คือ ความรู้ (Knowledge) ที่องค์กรต้องพยายามสร้างขึ้นมา ด้วยการเรียนรู้ (Learning) และพัฒนามาเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization) ให้ได้ จากนั้นผู้บริหารต้องดึงเอาความรู้ต่าง ๆ ที่บุคลากรมี เพื่อมาสร้างนวัตกรรม (Innovation) ให้กับองค์กรต่อไป
พอร์เตอร์ก็ได้คิดค้นแนวคิกการนำกลยุทธ์ความได้เปรียบในการแข่งขันทางธุรกิจ โดยเขาได้เขียนหนังสือเรื่องหนึ่งเกี่ยวกับความได้เปรียบในเชิงแข่งขันทางธุรกิจ ชื่อว่า Competitive Advantage ซึ่งได้กล่าวหลักการไว้ว่า หากต้องการให้ธุรกิจสามารถแข่งขันได้แล้ว จะต้องใส่ใจในสิ่ง 3 อย่างต่อไปนี้
1. กลยุทธ์ต้นทุน (Cost Strategy)
2. กลยุทธ์ความแตกต่าง (Differentiate Strategy)
3. กลยุทธ์มุ่งเฉพาะกลุ่ม (Niche or Focus Strategy)
1. การลดต้นทุนทางการจัดการ (Low – Cost Leadership)
พิจารณาสภาพแวดล้อมภายนอก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คู่แข่งขันทางธุรกิจมาเป็นแนวทางในการลดต้นทุนทางการจัดการขององค์กร เช่น ผลิตสินค้าที่ได้มาตรฐานและมีคุณภาพขณะที่ต้นทุนถูกกว่าคู่แข่งขัน การลดเวลาของกระบวนการทำงานให้สั้นลง แต่ค่าใช้จ่ายในการตอบแทนพนักงานเท่าเดิม เป็นต้น
กลยุทธ์การลดต้นทุน (Cost Reduction) เป็นเทคนิคนำมาใช้เพื่อให้การบริหารจัดทรัพยากรต่าง ๆ ในการดำเนินการขององค์กรเป็นไปอย่างประหยัดและเกิดประสิทธิภาพสูงสุด สามารถขายสินค้าและบริการได้ในระดับราคาต่ำกว่าคู่แข่ง
กลยุทธ์การลดต้นทุน ที่ทำให้ธุรกิจมีความได้เปรียบในการแข่งขันเหนือคู่แข่ง 2 ประการคือ
1. ความได้เปรียบด้านราคา องค์การธุรกิจที่มีต้นทุนการผลิตต่ำกว่า สามารถกำหนดราคาของสินค้าได้ต่ำกว่าคู่แข่ง
2. ความได้เปรียบด้านการทำกำไร การลดต้นทุนย่อมสามารถมีกำไรได้มากกว่า เมื่อจำหน่ายสินค้าและบริการในปริมาณคุณภาพใกล้เคียงกันและในระดับราคาเดียว กัน
แนวทางการลดต้นทุนมี 5 วิธี คือ
1. Reduction of Loss หรือการลดค่าใช้จ่ายสูญเปล่าต้องพยายามค้นหาสาเหตุของปัญหา/ข้อบกพร่องโดย ใช้เทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อเปรียบเทียบค่าใช้ข่ายมาตรฐาน (Standard Cost) กับค่าใช้จ่ายจริงที่เกิดขึ้น (Actual Cost) เพื่อหาทางลดช่องว่างระหว่างทั้งสองค่าให้น้อยที่สุด
2.Benchmarking เป็นการเปรียบเทียบต้นทุนของบริษัทกับบริษัทอื่น ๆ ที่เป็นธุรกิจประเภทเดียวกัน
3.IE Approach คือการใช้เทคนิค Industrial Engineering หรือ IE เพื่อวิเคราะห์กระบวนการทำงาน (work process) ในส่วนต่าง ๆ โดยจะต้องมีการจัดเก็บข้อมูลเกี่ยวกับเวลาการทำงานของคนงานเพื่อกำหนดเวลามาตรฐาน
4.VA/AE Approach หรือ การใช้เทคนิค Value Analysis/Value Engineering ซึ่งเป็นเครื่องมือที่นำมาใช้ลดค่าใช้จ่าย คิดค้นวิธีการที่มีต้นทุนที่ถูกกว่า
5.Engineering/Breakthrough/Zero-based budgeting คือ การคิดค้นผลิตภัณฑ์ใหม่ วิธีการทำงานใหม่ ที่มีความแตกต่างไปจากวิธีการเดิม
6.แนว ทางดังกล่าวมุ่งลดความสูญเสียและค่าใช้จ่ายซึ่งเป็นต้นทุนที่ไม่จำเป็น ตลอดจนลดงานที่ไม่ก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่ม ส่งผลกระทบ ทำให้คุณภาพและ/หรือความพึงพอใจของลูกค้าหรือผู้รับบริการต้องลดลง
2. การสร้างความแตกต่าง (Differentiation)
การสร้างความแตกต่างจากคู่แข่งขันทางธุรกิจ จะทำให้เป็นเอกลักษณ์ขององค์กรที่เกิดจากกระทำการ ซึ่งเป็นการได้เปรียบทางการแข่งขันทางธุรกิจ อาจจะเป็นความแตกต่างในกระบวนการทำงานขององค์กร หรือสินค้าและบริการ แต่ทั้งนี้ความแตกต่างดังกล่าวจะต้องแสดงให้เห็นถึงประสิทธิผลและประสิทธิภาพที่เหนือกว่าคู่แข่งขัน ซึ่งกลยุทธ์การสร้างความแตกต่าง (Differentiation) หมายถึง การสร้างคุณค่าให้เกิดขึ้นในตัวของสินค้า และบริการที่นำมาซึ่งความแตกต่างจากคู่แข่งขันรายอื่น เป็นกลยุทธ์ที่ควรส่งเสริมให้มีการพัฒนาตลอดเวลา เพราะคุณค่าที่เคยมีในอดีตอาจไม่ได้รับการยอมรับจากผู้บริโภคเมื่อเวลา เปลี่ยนไป
3. กลยุทธ์การมุ่งจุดสนใจ (Focus Strategy)
กลยุทธ์การมุ่งจุดสนใจ (Focus Strategy) ในกลยุทธ์นี้อาจแยกออกได้เป็นการมุ่งจุดสนใจที่ลูกค้า ซึ่งอาจจะเป็นเด็ก ผู้หญิง คนแก่ วงการแพทย์ ฯลฯ เช่น บริษัท Tyco บริษัทผลิตของเด็กเล่น จะมีการออกแบบและสร้างผลิตภัณฑ์ขึ้นใหม่ตลอดเวลา และมีกลยุทธ์ในการเจาะกลุ่มลูกค้าที่มีการพัฒนาตลอดเวลาด้วย เพื่อตอบสนองลูกค้าที่มีสถานภาพเปลี่ยนไป เช่น เด็กที่โตมากขึ้น มีรายได้มากขึ้น มีการศึกษามากขึ้น อาจลืมสินค้าที่ตนเองเคยผูกพันในอดีตได้ ดังนั้นบริษัท Tyco จะทำการศึกษาพฤติกรรมในการบริโภคของลูกค้าและศึกษาการเปลี่ยนแปลงที่เกิด ขึ้นตลอดเวลา เพื่อให้ธุรกิจสามารถตอบสนองความต้องการของกลุ่มลูกค้าดังกล่าวได้ ทำให้มีการเติบโตของธุรกิจอย่าง ต่อเนื่อง
นส.รำไพพรรณ เชียงหนุ้น รหัส 5130125401215 การจัดการทั่วไป
บทที่ 11 การบริหารจัดการธุรกิจสีเขียวและการวิเคราะห์ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิต
ธุรกิจสีเขียว" หมายถึง องค์กรที่ประกอบธุรกรรมโดยมีปณิธานในการทำงานที่มุ่งอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เพื่อให้ทรัพยากรธรรมชาติทั้งหลายของโลกมนุษย์ อาทิ อากาศ ต้นน้ำ ลำธาร ป่าไม้ สัตว์ป่า พืชพันธุ์ธัญญาหาร แมลง ฯลฯ มีชีวิตอยู่ร่วมกันในระบบนิเวศวิทยาที่ดีที่สุดและอย่างยั่งยืนที่สุด
การดำเนินธุรกิจหรือแม้กระทั่งการดำเนินชีวิตประจำวันของมนุษย์เรา ล้วนมีผลกระทบในทางลบต่อสิ่งแวดล้อมไม่มากก็น้อยอยู่ทุกนาที แค่อยู่กับบ้านทำอาหาร อาบน้ำแต่งตัว เข้านอน ก็ล้วนสามารถสร้างมลพิษให้สิ่งแวดล้อมได้ตลอดเวลาการดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมไม่ใช่เรื่องที่ทำได้ง่าย ๆ หรือไร้ค่าใช้จ่าย ในทางตรงกันข้ามมันเป็นเรื่องที่มีความสลับซับซ้อนและมีค่าใช้จ่ายแฝงอยู่ด้วยพอสมควร (หรืออาจแพงมาก ขึ้นอยู่กับประเภทของธุรกิจ) จะอาศัยเพียงจิตสำนึกความรับผิดชอบเพียงปัจจัยเดียวไม่เพียงพอ แต่ในขณะเดียวกัน ถ้าไม่มีจิตสำนึกรับผิดชอบเอาเสียเลย โลกขคงถล่มทลายจากปัญหา global warming (ภาวะโลกร้อน) คงกลายเป็น global boiling (ภาวะโลกเดือดพล่าน)
องค์กรแต่ละองค์กรสามารถเลือกวางนโยบายได้ว่า ตนเองมีความต้องการและความพร้อมที่จะ "เขียว" ขนาดไหน ซึ่งปัจจัยที่นำมาพิจารณาในการเลือกระดับความเขียว (หรือระดับความรับผิดชอบต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม) มีดังนี้
ปัจจัยที่ 1 : ระดับศีลธรรม จริยธรรม ความรับผิดชอบของเจ้าของบริษัทหรือ CEO
คงปฏิเสธไม่ได้ว่า บุคคลที่มีอิทธิพลมากที่สุดในการกำหนดระดับความรับผิดชอบขององค์กรคือ ผู้นำระดับสูงสุดนั่นเอง ดังนั้น ค่านิยมและความเชื่อส่วนตัวของผู้นำจึงเป็นปัจจัยสำคัญที่สุด อันมีผลกระทบต่อความเชื่อ ทัศนคติและพฤติกรรมของพนักงานทั้งองค์กร
ปัจจัยที่ 2 : กฎหมายที่ควบคุมผู้ประกอบการ
ในแต่ละประเทศจะมีกฎข้อบังคับ ข้อกำหนดและแนวทางปฏิบัติต่าง ๆ สำหรับธุรกิจแต่ละประเภทอยู่แล้ว เช่น ต้องมีการบำบัดน้ำเสียอย่างไร ต้องมีการดูแลเรื่องควันพิษอย่างไร ซึ่งการปฏิบัติตามกฎหมายถือว่าเป็นการปฏิบัติขั้นต่ำที่สุดแล้ว เพราะถ้าไม่ทำตามก็ถือว่าผิดกฎหมาย
ปัจจัยที่ 3 : ทัศนคติของผู้บริโภคและสาธารณชน
ปัจจุบันนี้ชาวบ้าน เริ่มมีหูตากว้างขวางและมีสิทธิมีเสียงมากขึ้น อีกทั้งมีสื่อในรูปแบบต่าง ๆ ช่วยเป็นกระบอกเสียงให้เรา ดังนั้น เมื่อมีผู้เดือดร้อน เช่น เหม็นกลิ่นควัน น้ำเน่า คันตามตัวเพราะพิษจากสารเคมี จึงสามารถร้องเรียนเรียกค่าเสียหายได้ หรือแม้กระทั่งธุรกิจนั้นยังไม่เปิดกิจการแต่สาธารณชนมีความกังวลห่วงใยว่า จะสร้างผลกระทบทางลบต่อสภาพแวดล้อมความเป็นอยู่ของพวกเขาสาธารณชนก็สามารถทักท้วงหรือประท้วงต่อต้านจนธุรกิจล้มก็ยังไหวส่วนวิเคราะห์คุณภาพน้ำสำนักวิจัย พัฒนาและอุทกวิทยากรมทรัพยากรน้ำ
อ้างอิง :ส่วนวิเคราะห์คุณภาพน้ำ สำนักวิจัยพัฒนาและ อุทกวิทยากรมทรัพยากรน้ำ
รัตนาพรรณ คงกล่ำ รหัส 5130125401250
บทที่ 10
การแข่งขันตลาดโลกและการปรับตัวเพื่อสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน
กลยุทธ์การแข่งขัน (COMPETITIVE STRATEGY)
ไมเคิล อี พอร์เตอร์ โด่งดังในเมืองไทยขึ้นมา ก็ในสมัยที่
นายกทักษิณต้องการให้เขามาศึกษาในเรื่อง กลยุทธ์และความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมในเมืองไทย ในตลาดโลก ที่ โด่งดังมากก็เพราะค่าตัวการศึกษาอันแพงลิบลิ่วของพอร์เตอร์เอง หลักหรือทฤษฎีที่ทำให้พอร์เตอร์โด่งดังขึ้นมา ก็ด้วยความคิดของกลยุทธ์การแข่งขัน (Competitive Strategy) ซึ่งเขาบอกว่า การ ทำธุรกิจนั้น จะประสบกับปัญหาการต่อสู้มากหรือน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับ พลังของสิ่งต่างๆ ที่เกี่ยวกับธุรกิจนั้นจำนวน 5 อย่าง (5 Forces) อันประกอบด้วย พลังกดดันทั้ง 5 ประการในการที่ธุรกิจจะถูกกระทำจากสิ่งแวดล้อม
1) สภาพการแข่งขันภายในตัวธุรกิจนั้นเอง
คือคู่แข่งต่างๆที่มีอยู่แล้ว เห็นๆ หน้ากันอยู่ อันนี้ก็คือใครดีใครอยู่ เรียกว่าทำด้วยกัน ขายของให้กับลูกค้ากลุ่มเดียวกัน เช่น DTAC กับ AIS, หรือ Coke กับ Pepsi เป็นต้น
2) สภาพการแข่งขันจากภายนอกธุรกิจนั้น
คือคู่แข่งที่อาจจะกระโดดเข้ามาร่วมสังเวียนด้วยในอนาคต การจะป้องกันคู่แข่งที่จะเข้ามา ก็ต้องอาศัยความที่ธุรกิจได้ดำเนินการมาก่อน เช่นผลิตของจำนวนมากๆ ทำให้เกิดการประหยัดเนื่องจากขนาด (Economic of Scale) ทำให้มี Profit Margin ต่ำจนกระทั่ง ไม่เกิดการจูงใจให้ผู้อื่นโดดเข้ามาแข่งขันด้วย เนื่องจากไม่คุ้มค่าความเสี่ยง หรืออาจจะพยายามทำให้สินค้ามีตรายี่ห้อที่ทรงพลัง, มีความแตกต่างในสินค้าอันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะซึ่งคู่แข่งไม่สามารถทำได้ (มีลิขสิทธิ หรือมีสิทธิบัตรคุ้มครอง), ลูกค้าไม่ต้องการเปลี่ยนไปซื้อสินค้าจากผู้อื่นเนื่องจากมีต้นทุนในการเปลี่ยนแปลงกระบวนการ (Switching Cost), มีการคุ้มครองจากรัฐบาลเช่นสัมปทาน เป็นต้น
3) สภาพแรงกดดันจากคู่แข่งทางอ้อมหรือสินค้าทดแทน
จริงๆแล้วก็เป็นธุรกิจที่ไม่ได้อยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกัน แต่อุตสาหกรรมนั้นสามารถทำกำไรได้มากมาย จนเป็นที่ชำเลืองมองของคนอื่นที่อยู่นอกระบบ วันหนึ่งเขาก็อาจจะอยากกระโดดเข้ามามีส่วนร่วมขายของทดแทนเพื่อทำเงินบ้าง ผู้ที่จะอยู่ได้จะต้องมีสินค้าที่มีประสิทธิภาพสูงกว่า มีลักษณะเด่นกว่า ที่ไม่สามารถถูกทดแทนได้โดยง่ายจากสินค้าประเภทอื่น
4) อำนาจต่อรองจากผู้ขายวัตถุดิบให้กับธุรกิจ
เช่นหากมีผู้จำหน่ายวัตถุดิบชนิดนี้น้อยราย, หรือเป็นของจำเป็นที่ต้องซื้อ ไม่สามารถซื้อจากคนอื่นได้, หรือธุรกิจจะต้องเสียเงินในการเปลี่ยนแปลงกระบวนการหากต้องการเปลี่ยนวัตถุดิบ เมื่อเป็นดังนี้แล้วผู้ขายวัตถุดิบก็เล่นตัวขึ้นราคาเอามากๆ หรือไม่ตั้งใจสำรองวัตถุดิบนั้นไว้ให้มีเพียงพอใช้ในยามต้องการ อาจจะเกิดความขาดแคลนได้ง่ายเมื่อจำเป็น
5) อำนาจต่อรองจากผู้ซื้อ
ในกรณีนี้เช่นถ้าผู้ซื้อเป็นผู้ซื้อรายใหญ่เพียงรายเดียว, หรือสามารถซื้อสินค้าจากใครก็ได้ เพราะไม่ได้มีลักษณะเด่น หรือใช้ได้เหมือนกันโดยไม่ต้องแปลงกระบวนการ (ไม่มี Switching Cost หรือมีแต่น้อยมาก), หรือเป็นสินค้าที่ผู้ซื้ออาจจะมาผลิตเองได้ ก็อาจจะขอต่อรองราคาให้มีส่วนลดได้มากๆอำนาจหรือแรงกดดันทั้งห้าประการนี้ หากมีมากอยู่ล้อมรอบธุรกิจ ก็จะทำให้ดำเนินงานได้อย่างลำบาก ต้องคอยจัดการหลบหลีกเลี่ยงให้เกิดปัญหาน้อยที่สุด รักษาลูกค้าไว้ให้ได้มากที่สุด หรือพยายามด้วยวิธีพิสดารเพื่อให้ธุรกิจดำเนินต่อไปได้ สุดท้ายแล้วอาจจะต้องห้ำหั่นกันด้วยราคา ทำให้มีอัตราส่วนกำไรขั้นต้นต่ำลง จนกระทั่งอาจจะเกิดการขาดทุนจะอยู่ไม่ได้
นอกจากนี้แล้ว พอร์เตอร์ก็ได้คิดต่อไปถึงความได้เปรียบในการแข่งขันทางธุรกิจ เขาได้เขียนหนังสืออีกเรื่องหนึ่งเกี่ยวกับความได้เปรียบในเชิงแข่งขัน ชื่อว่า Competitive Advantage ซึ่งได้กล่าวหลักการไว้ว่า หากต้องการให้ธุรกิจสามารถแข่งขันได้แล้ว จะต้องใส่ใจในสิ่ง 3 อย่างต่อไปนี้
1) สร้างความแตกต่าง (Differentiation)
คือสินค้าหรือบริการที่ธุรกิจผลิตขึ้นมานั้น จะต้องมีความแตกต่างที่อาจจะไม่สามารถหาได้จากสินค้าทั่วไปของผู้อื่น หรือมีการเพิ่มศักยภาพหรือประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ จนทำให้สามารถตั้งราคาขายที่แพงกว่าคู่แข่งได้
2) การมีต้นทุนการผลิตที่ต่ำ (Cost Leadership)
หากธุรกิจมีต้นทุนที่ต่ำแล้ว ก็ย่อมจะดำรงอยู่ในตลาดการแข่งขันได้แม้ว่าจะมี Profit Margin ที่ต่ำ ซึ่งลักษณะเช่นนี้จะทำให้คู่แข่งอื่นไม่อยากที่จะเข้ามาแข่งขันด้วย เพราะว่าไม่คุ้มกับความเสี่ยงในการอยู่รอดเพื่อทำตลาดแข่งขัน ธุรกิจที่มีต้นทุนการผลิตต่ำเองแต่อยู่มาก่อน
และอยู่เพียงผู้เดียวในตลาด จะสามารถอยู่ได้เนื่องจากมีลูกค้าจำนวนมาก ทำให้กำไรสุทธิที่สร้างขึ้นได้นั้นเป็นจำนวนที่สูง
3) การเจาะจงในตลาด (Focus)
คือการที่ธุรกิจมุ่งเน้นผลิตสินค้าหรือบริการให้กับตลาดเฉพาะส่วน อาจจะเรียกว่าเป็นตลาดเฉพาะส่วน (Niche Market) ก็ได้ เมื่อเป็นดังนี้แล้ว ด้วยสินค้าและบริการที่จำเพาะดังนั้นแล้ว จะทำให้สามารถตั้งราคาขายได้สูง เนื่องจากลูกค้าจำเป็นต้องซื้อจากธุรกิจนั้น และไม่ต้องการเสี่ยงที่จะซื้อจากผู้อื่นอีกในเรื่องของความได้เปรียบเชิงแข่งขันนี้ ก็มีโมเดลอธิบายเช่นเดียวกับเรื่องของกลยุทธ์การแข่งขันเช่นกัน ก็คือโมเดลของห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) ที่ธุรกิจได้สร้างให้มีขึ้น
หลักการง่ายๆของห่วงโซ่นี้ก็คือ > ออกแบบผลิตภัณฑ์ > ผลิตหรือจัดสร้าง > ส่งลงตลาดให้ถึงมือลูกค้า > จัดส่งและสนับสนุนผลิตภัณฑ์ให้เติบโต
หลักความคิดของไมเคิล อี พอร์เตอร์ ยังคงเป็นจริงจนถึงทุกวันนี้ หากธุรกิจสามารถนำไปประยุกต์ใช้ปฏิบัติได้จริงๆแล้ว ย่อมจะทำให้สามารถดำรงอยู่ในความได้เปรียบเชิงแข่งขันได้อย่างยั่งยืน
แหล่งอ้างอิง http://www.stock2morrow.com/showthread.php?t=21121&page=1
รัตนาพรรณ คงกล่ำ รหัส 5130125401250
บทที่ 11
การบริหารการจัดการธุรกิจสีเขียวและการวิเคราะห์ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
ความหมายของ 'green business'
"ธุรกิจสีเขียว" หมายถึง องค์กรที่ประกอบธุรกรรมโดยมีปณิธานในการทำงานที่มุ่งอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เพื่อให้ทรัพยากรธรรมชาติทั้งหลายของโลกมนุษย์ อาทิ อากาศ ต้นน้ำ ลำธาร ป่าไม้ สัตว์ป่า พืชพันธุ์ธัญญาหาร แมลง ฯลฯ มีชีวิตอยู่ร่วมกันในระบบนิเวศวิทยาที่ดีที่สุดและอย่างยั่งยืนที่สุด
การดำเนินธุรกิจหรือแม้กระทั่งการดำเนินชีวิตประจำวันของมนุษย์เรา ล้วนมีผลกระทบทางลบต่อสิ่งแวดล้อมไม่มากก็น้อยอยู่ทุกนาที แค่อยู่กับบ้านทำอาหาร อาบน้ำแต่งตัว เข้านอน ฯลฯ ก็ล้วนสามารถสร้างมลพิษให้สิ่งแวดล้อมได้ตลอดเวลา
ลองคิดง่าย ๆ เช่น ทอดไข่เจียวรับประทานกับข้าว เวลาล้างกระทะที่มีน้ำมันติดอยู่ คราบน้ำมันก็จะไหลผ่านท่อน้ำในอ่างส่งตรงไปยังท่อระบายน้ำรวมทันที โดยไม่มีระบบกรองหรือกักคราบน้ำมันใด ๆ ทั้งสิ้น นี่ยังไม่คิดถึงน้ำยาล้างจานที่เป็นสารเคมีอีก เวลาอาบน้ำแต่งตัว? คราบสบู่ แชมพูสระผม สเปรย์ผม ก็ล้วนสร้างมลพิษให้น้ำและอากาศทั้งสิ้น เวลานอน? อากาศร้อนก็ต้องเปิดแอร์ ซึ่งทำให้บรรยากาศของโลกร้อนขึ้นทุกวันเช่นกัน ทำยังไงได้? ก็มันร้อนนี่นา เมื่อใช้ก็ต้องทดแทน เมื่อรับเอาก็ต้องรู้จักให้คืน
เราคงต้องยอมรับความจริงว่าการใช้ชีวิตที่เกิดมาเป็นมนุษย์นี้ ต้องใช้ทรัพยากรและทำลายทรัพยากรมากพอสมควร ทั้งนี้ การประกอบธุรกิจบางอย่างก็มีผลในทางทำลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมโดยตรง เช่น ธุรกิจค้าไม้ ขุดเจาะน้ำมัน เป็นต้น ส่วนที่ทำลายสิ่งแวดล้อมทางอ้อมนั้น คงไม่จำเป็นต้องยกตัวอย่างแล้ว
อย่างไรก็ตาม การเป็นองค์กรสีเขียวไม่ได้หมายความว่ากระดุกกระดิกทำอะไรไม่ได้เลย ห้ามใช้ทรัพยากรธรรมชาติโดยเด็ดขาด อย่างนี้มันเป็นไปไม่ได้อยู่แล้ว แต่การเป็นหรือพยายามเป็นองค์กรสีเขียวหมายความว่า มีนโยบายและกระบวนการในการประกอบธุรกิจที่พยายามใช้ หรือทำลายสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด และหากเป็นไปได้ก็ต้องพยายามสร้างขึ้นทดแทน หรือพยายามบำบัดสภาพแวดล้อมที่ถูกทำลายไปให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ยกตัวอย่างเช่น เมื่อมีการตัดไม้มาใช้ ก็ต้องปลูกป่าทดแทน เป็นต้น หรือถ้าของบางอย่างมันสร้างทดแทนไม่ได้เช่น ถ้าขุดน้ำมันหรือถ่านหินมาใช้แล้ว ก็คงสร้างขึ้นมาคืนสู่ธรรมชาติไม่ได้ ก็ต้องหาวิธีขุดเจาะน้ำมันหรือถ่านหินที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้น้อยที่สุด รวมทั้งมีการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อที่จะใช้ประโยชน์จากน้ำมัน หรือถ่านหินให้ได้สูงสุด และมีกากของทรัพยากรเหลือทิ้งน้อยที่สุด
สรุปก็คือว่า การประกอบธุรกิจสีเขียวคือ การดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบต่อทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมของโลก เพราะโลกเรานี้ทุกคนมีส่วนร่วมเป็นเจ้าของ อย่าแก้ปัญหาอย่างมักง่าย แค่ให้พ้น ๆ ตัว แต่มันไม่พ้นจากโลกนี้ แล้วก็จะกลับย้อนมาหาตัวต้นตอในที่สุด หนีไม่พ้น ยกตัวอย่าง เช่น การที่ประเทศอุตสาหกรรมบางประเทศ มีกากขยะนิวเคลียร์อันเป็นสารพิษมีอันตรายร้ายแรง ความที่รัฐบาลของประเทศตนเองมีกฎหมายควบคุมการกำจัดสารพิษอย่างเคร่งครัด ดังนั้น จึงได้ลักลอบขนเอากากนิวเคลียร์ใส่เรือลอยในมหาสมุทร ซึ่งถือเป็นน่านน้ำสากลไม่มีประเทศใดเป็นเจ้าของคอยตรวจตราดูแล แล้ววันหนึ่งเรือลำนั้นก็ลอยไปเกยหาดของประเทศใดประเทศหนึ่ง ที่กลายเป็นแพะโดยจำใจ และก็มีหลายกรณีเช่นกัน ที่บริษัทยักษ์ใหญ่บางบริษัททำการเจรจากับรัฐบาลที่เห็นแก่เงินของประเทศด้อยพัฒนาบางประเทศ เพื่อทิ้งกากขยะ กากสารพิษต่าง ๆ ซึ่งนับเป็นกรรมของประชาชนตาดำ ๆ ของประเทศนั้นไป
ระดับ 'ความเขียว' ของธุรกิจ
การดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมไม่ใช่เรื่องที่ทำได้ง่าย ๆ หรือไร้ค่าใช้จ่าย ในทางตรงกันข้ามมันเป็นเรื่องที่มีความสลับซับซ้อนและมีค่าใช้จ่ายแฝงอยู่ด้วยพอสมควร (หรืออาจแพงมาก ขึ้นอยู่กับประเภทของธุรกิจ) จะอาศัยเพียงจิตสำนึกความรับผิดชอบเพียงปัจจัยเดียวไม่เพียงพอ แต่ในขณะเดียวกัน ถ้าไม่มีจิตสำนึกรับผิดชอบเอาเสียเลย โลกของเราคงถล่มทลายแน่จากปัญหา global warming (ภาวะโลกร้อน) คงกลายเป็น global boiling (ภาวะโลกเดือดพล่าน) เป็นแน่
องค์กรแต่ละองค์กรสามารถเลือกวางนโยบายได้ว่า ตนเองมีความต้องการและความพร้อมที่จะ "เขียว" ขนาดไหน ซึ่งปัจจัยที่นำมาพิจารณาในการเลือกระดับความเขียว (หรือระดับความรับผิดชอบต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม) มีดังนี้
ปัจจัยที่ 1 : ระดับศีลธรรม จริยธรรม ความรับผิดชอบของเจ้าของบริษัทหรือ CEO
คงปฏิเสธไม่ได้ว่า บุคคลที่มีอิทธิพลมากที่สุดในการกำหนดระดับความรับผิดชอบขององค์กรคือ ผู้นำระดับสูงสุดนั่นเอง ดังนั้น ค่านิยมและความเชื่อส่วนตัวของผู้นำจึงเป็นปัจจัยสำคัญที่สุด อันมีผลกระทบต่อความเชื่อ ทัศนคติและพฤติกรรมของพนักงานทั้งองค์กร
ปัจจัยที่ 2 : กฎหมายที่ควบคุมผู้ประกอบการ
ในแต่ละประเทศจะมีกฎข้อบังคับ ข้อกำหนดและแนวทางปฏิบัติต่าง ๆ สำหรับธุรกิจแต่ละประเภทอยู่แล้ว เช่น ต้องมีการบำบัดน้ำเสียอย่างไร ต้องมีการดูแลเรื่องควันพิษอย่างไร ฯลฯ ซึ่งการปฏิบัติตามกฎหมายกำหนดนั้น ถือว่าเป็นการปฏิบัติขั้นต่ำที่สุดแล้ว เพราะถ้าไม่ทำตามก็ถือว่าผิดกฎหมาย อย่างไรก็ตามมีผู้ประกอบการหลายคนไม่สนใจข้อกฎหมาย โดยใช้วิธีหลบเลี่ยงหรือติดสินบนเจ้าหน้าที่รัฐ เพื่อปิดปากไม่ให้เอาเรื่องก็มีถมไป มิฉะนั้นแม่น้ำแม่กลองของเราคงไม่เน่าจนปลาลอยตายเป็นแพให้เห็นอยู่บ่อย ๆ
ปัจจัยที่ 3 : ทัศนคติของผู้บริโภคและสาธารณชน
ปัจจุบันนี้ชาวบ้านอย่างเรา ๆ ท่าน ๆ เริ่มมีหูตากว้างขวางและมีสิทธิมีเสียงมากขึ้น อีกทั้งมีสื่อในรูปแบบต่าง ๆ ช่วยเป็นกระบอกเสียงให้เรา ดังนั้น เมื่อมีผู้เดือดร้อน เช่น เหม็นกลิ่นควัน น้ำเน่า คันตามตัวเพราะพิษจากสารเคมี ฯลฯ จึงสามารถร้องเรียนเรียกค่าเสียหายได้ หรือแม้กระทั่งธุรกิจนั้นยังไม่เปิดกิจการแต่สาธารณชนมีความกังวลห่วงใยว่า จะสร้างผลกระทบทางลบต่อสภาพแวดล้อมความเป็นอยู่ของพวกเขาสาธารณชนก็สามารถทักท้วงหรือประท้วงต่อต้านจนธุรกิจล้มก็ยังไหว
ดังนั้น ผู้ประกอบธุรกิจจึงต้องใคร่ครวญปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้ให้ดีว่า บริษัทของตนเองควรจะมีความเขียวในระดับใดจึงจะเหมาะสมกับเงื่อนไขต่าง ๆ นี้
แหล่งอ้างอิง http://www.waterlab-dwr.com/wizContent.asp?wizConID=266&txtmMenu_ID=7
น.ส.สุนิสา ปิ่นชูทอง รหัส 5130125401212 กศ.พบ.รุ่น 19 หมู่ 1 การจัดการทั่วไป
บทที่ 10 การแข่งขันในตลาดโลกและการปรับตัวเพื่อสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน
วิธีรักษาความได้เปรียบทางการแข่งขัน
ความได้เปรียบทางการแข่งขัน เป็นสุดยอดปรารถนาของทุกกิจการที่ต้องดำเนินงานท่ามกลางความผันแปรที่ เปลี่ยนแปลง ซึ่งทุกธุรกิจย่อมจะทำทุกวิถีทางที่จะเฟ้นหากลยุทธ์ที่เฉียบคมที่สุด เพื่อนำมาสู่การสร้างความได้เปรียบดังกล่าวเหนือคู่แข่ง
แต่อย่างไรก็ตาม การได้มาซึ่งความได้เปรียบที่เหนือชั้นนั้น ยังไม่ยากลำบากเท่ากับรักษามันเอาไว้ บ่อยครั้งที่หลายท่านคงเห็นบริษัทที่ครั้งหนึ่งเคยเกรียงไกรอย่างมาก แต่ก็ต้องประสบกับปัญหาและสภาวะถดถอยลงไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งบางแห่งถึงกับล้มไปโดยที่ไม่สามารถฟื้นตัวกลับมายืนอยู่จุดเดิมได้อีกเลย
จึงเริ่มมีการพยายามวิเคราะห์หาแนวคิดกลยุทธ์ต่าง ๆ ที่นอกจากจะนำไปสู่ความได้เปรียบแล้ว ยังต้องสามารถทำนุบำรุงให้คงอยู่ในระยะยาวอย่างต่อเนื่องได้อีกด้วย เนื่องจากไม่มีคู่แข่งรายใดที่จะยอมอยู่เฉย มองดูธุรกิจของเราเติบโตต่อไปได้อย่างราบรื่น หากกิจการของเราประสบความสำเร็จในระดับหนึ่ง ก็ต้องมีผู้ที่พยายามจะเข้ามาร่วมต่อสู้แย่งชิงผลประโยชน์จากความสำเร็จนั้น ด้วย ไม่ช้าก็เร็ว
ดังนั้น จึงมีเทคนิคบางประการมานำเสนอ เพื่อนำสู่ความได้เปรียบในการดำเนินงานที่คงทนถาวรมากขึ้น
ประการแรก คือ กล้าเสี่ยงกับการสร้างสรรค์ โดยกิจการควรสนับสนุนการสร้างแนวคิดใหม่ ๆ และทดลองที่จะนำแนวคิดที่แตกต่างลงสู่การปฏิบัติ แม้ว่าบ่อยครั้งความคิดนั้น ๆ จะดูแปลกแหวกแนว จนอาจจะถูกคนอื่นๆหัวเราะเยาะและเย้ยหยันว่าเป็นไปไม่ได้ก็ตาม
เจฟ เบซอส ผู้ก่อตั้ง อเมซอนดอทคอม อันลือลั่น ก็กล่าวยืนยันว่า "การที่จะคิดค้นสิ่งใหม่ๆนั้น มักจะทำให้เราถูกมองว่าเป็นตัวประหลาดในสายตาของคนรอบข้างเสมอ" แต่หากกิจการไม่เสี่ยงที่จะทดลองเลยนั้น ก็ไม่สามารถจะลิ้มรสของความเป็นผู้นำที่แตกต่างได้เลย โดยเครื่องไม้เครื่องมือหลายอย่างที่อเมซอนคิดค้นขึ้น เพื่อนำมาสู่การให้บริการค้าปลีกออนไลน์ต่อลูกค้าอย่างล้ำสมัย ไม่ว่าจะเป็นระบบแนะนำสินค้าแบบตัวต่อตัว ระบบเว็ปเพจส่วนบุคคล ฯลฯ ล้วนแล้วแต่เคยถูกมองว่าเป็นไปไม่ได้ทั้งสิ้น
หรือแม้แต่ คีออสเพลงดิจิตอลของสตาร์บัค หรือ ระบบค้นหาข้อมูลระดับโลกของกูเกิล ก็ผ่านการวิพากษ์วิจารณ์กันมาอย่างหนาหูทั้งสิ้น แต่สิ่งต่าง ๆ ก็ได้นำมาความสำเร็จที่แตกต่างมาสู่กิจการอย่างต่อเนื่องเช่นกัน
ซึ่งการที่กล้าเสี่ยงกับการสร้างสรรค์นี้ ไม่ควรแต่จะมุ่งเน้นในการพิจารณาเฉพาะการเคลื่อนไหวของคู่แข่งโดยตรงใน ปัจจุบันเท่านั้นนะครับ เพราะจะทำให้เป็นการสร้าง "กรอบ" ในแนวความคิดของกิจการเอง อาจส่งผลให้ไม่สามารถคิดออกไปนอกกรอบหรือแนวทางที่ต่างไปจากที่อุตสาหกรรม และการแข่งขันปัจจุบันเป็นอยู่ก็ได้ จึงยากที่จะแตกต่างอย่างแท้จริง ดังนั้นจึงไม่ควรเพียงแต่ "look around" เท่านั้น แต่ควรจะ "look ahead" มองออกไปข้างหน้าโดยไม่ยึดติดกับสิ่งที่เคยเห็นหรือเคยดำเนินการอยู่
เทคนิคประการที่สอง คือ อย่าลุ่มหลงกับการเพิ่มขนาดเท่านั้น ควรเน้นที่การสร้างความเป็นเอกลักษณ์มากกว่า หลายธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ มักจะคิดว่าการเติบโตหรือขนาดที่ใหญ่ขึ้นอย่างต่อเนื่องนั้น ถือเป็นปัจจัยแห่งความสำเร็จ จึงมีความพยายามที่จะเพิ่มขนาดอย่างต่อเนื่อง
แต่ในความเป็นจริงแล้ว ความได้เปรียบทางการแข่งขัน มิได้ขึ้นอยู่กับขนาดแต่เพียงอย่างเดียว ยิ่งขนาดใหญ่ขึ้น แต่หากทุกอย่างกลับขาดความโดดเด่น จะยิ่งทำให้เป็นภาระทางการดำเนินงานเสียเปล่า ดังนั้น การมุ่งเน้นที่เอกลักษณ์เพื่อตอบสนองความต้องการเฉพาะด้านที่พิเศษแตกต่าง จริง ๆ จึงเป็นสิ่งที่จะทำให้เกิดความมั่นคงในการแข่งขันมากกว่า
วอลล์-มาร์ท ห้างค้าปลีกที่ใหญ่สุดในโลก ก็เริ่มที่จะทำนุบำรุงความได้เปรียบทางการแข่งขันของตน โดยมิได้พึ่งพาเรื่องของขนาดเท่านั้น แต่มุ่งเน้นให้วอลล์-มาร์ทกลายเป็นธุรกิจบริการที่ใส่ใจและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงจะเป็นตัวกลางในการนำเสนอแต่ผลิตภัณฑ์ที่ส่งเสริมสุขภาพ และไม่ทำลายสภาพแวดล้อม เพื่อให้เหมาะสมกับแนวโน้มความต้องการของสังคม โดยสินค้าที่นำมาจำหน่ายในร้านจะต้องสามารถติดตามกลับไปยังต้นแหล่งได้เสมอ เพื่อยืนยันถึงความปลอดภัยและเป็นมิตรต่อโลกอย่างจริงจัง ซึ่งถือเป็นจุดเด่นที่เป็นเอกลักษณ์จากค้าปลีกรายอื่น ๆ
เทคนิคประการที่สาม คือ อย่าดึงดันกับการแข่งขันแต่เพียงอย่างเดียว ควรหาตลาดใหม่เพื่อฉกฉวยโอกาสในการเติบโตด้วย โดยแนวคิดนี้เน้นว่าควรใส่ใจในการสร้างสรรค์โอกาสทางการตลาดใหม่ๆอยู่ตลอด เวลา แทนที่จะดำเนินงานอยู่ในตลาดที่มีการแข่งขันรุนแรงแต่เพียงอย่างเดียว เพราะอาจจะเพลี่ยงพล้ำได้ง่าย และผลตอบแทนก็ไม่คุ้มค่า
เทคนิคที่สี่ คือ โฟกัสที่ลูกค้า มิใช่คู่แข่งขัน ซึ่งอาจจะทำให้เห็นการพัฒนาโอกาสทางธุรกิจที่อยู่ในความต้องการของตลาดได้ อย่างมาก เช่น บริษัท Caterpillar ที่มีผลิตภัณฑ์ด้านเครื่องจักรหนักอันลือชื่อ โดยเน้นการตอบสนองความต้องการของลูกค้าอย่างถึงที่สุด จนเกิดความเป็นเลิศด้านบริการ ซึ่งบริษัทสัญญาว่า ไม่ว่าลูกค้าจะอยู่ที่ใดในโลกนี้ ก็สามารถที่จะส่งชิ้นส่วนไปให้บริการได้ภายใน 24 ชั่วโมง
ซึ่งถือเป็นจุดขายที่เป็นเอกลักษณ์ จนกระทั่งหลายคนมองว่า Caterpillar ขายบริการด้วยซ้ำ และท้ายที่สุด จากการที่กิจการมีการพัฒนาเครือข่ายการขนส่งทั่วโลก ทำให้มีทักษะและเทคโนโลยีสูงมากพอที่จะเข้าแข่งขันในธุรกิจให้บริการทางด้านลอจิสติกส์เพิ่มเติม ซึ่งปัจจุบันกลายเป็นธุรกิจหลักที่เติบโตสูงสุดของบริษัท และทำรายได้มหาศาลกลับคืนมาทีเดียว
นอกจากนี้ กิจการยังควรมีการสร้างเครือข่ายสนับสนุนการแลกเปลี่ยนไอเดียและข้อมูล ระหว่างบริษัท เพื่อเป็นการจุดประกายการสร้างสรรค์ รวมถึงควรต้องกระตุ้นให้บุคลากรของเรากระหายในความสำเร็จและพัฒนาอย่างต่อ เนื่องตลอดเวลา จึงจะสามารถวิ่งหนีและกระโดดข้ามคู่แข่งได้ต่อไปในอนาคต
ที่มา : http://www.ezyjob.com/บทความ/การตลาด-วิธีรักษาความได้เปรียบทางการแข่งขัน-227.htm
บทที่ 11 การบริหารจัดการธุรกิจสีเขียวและการวิเคราะห์กระทบต่อสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิต
โอกาสของธุรกิจ “สีเขียว” กับอุตสาหกรรมสิ่งทอ
ขณะนี้ทั่วโลกกำลังตื่นตัวมากเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือที่รู้จักกันดีว่า “โลกร้อน” ผลกระทบที่เกิดขึ้นก็เริ่มมีความชัดเจนมากขึ้นพร้อมกับหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่มั่นใจและแน่ใจว่าการที่โลกร้อนขึ้นมีสาเหตุมาจากการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล ภาคอุตสาหกรรมก็เป็นส่วนสำคัญที่เป็นต้นเหตุในการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นก๊าซเรือนกระจกตัวที่สำคัญที่สุด โดยจากรายงานขององค์การพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ UNIDOในปี พ.ศ. 2547 ได้แสดงให้เห็นว่าภาคอุตสาหกรรมมีการใช้พลังงานคิดเป็นร้อยละ 26ของการใช้พลังงานของโลก และปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์คิดเป็นร้อยละ 18.5 อย่างไรก็ดีภาคอุตสาหกรรมนับเป็นภาคที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศที่สำคัญ ดังนั้นการผลักดันให้ดำเนินการเพื่อแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมจึงเป็นสิ่งสำคัญ และจากแบบสอบถามผู้บริโภคในอังกฤษ (โดย L.E.K. Consulting LLC)พบว่าผู้บริโภคถึงร้อยละ 40คิดว่าผู้ผลิตนั้นจะต้องมีความรับผิดชอบในการผลิตสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม จึงนับว่าเป็นสิ่งท้าทายเป็นอย่างยิ่งสำหรับภาคอุตสาหกรรมในการตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภคในข้อนี้ แม้ว่าการดำเนินการนี้มีความยุ่งยากในการดำเนินการและมีค่าใช้จ่ายสูงแต่กำลังเป็นแนวทางที่หลายอุตสาหกรรมใหญ่ทั่วโลกกำลังดำเนินการอยู่ นับเป็นการปรับเปลี่ยนแนวคิดหรือทัศนคติที่เกิดขึ้นเมื่อประมาณ 20ปีที่ผ่านมาว่า “มนุษย์เราจะสามารถช่วยโลกที่เปราะบางใบนี้ได้หรือ”ให้เปลี่ยนเป็น“เราจะสามารถรักษาโลกของเราใบนี้ได้อย่างไร”
อุตสาหกรรมสิ่งทอเป็นอุตสาหกรรมที่บริโภคน้ำและพลังงานจำนวนมหาศาล ซึ่งถ้าให้ความสำคัญกับปัญหาโลกร้อนที่กำลังเกิดขึ้นตอนนี้ เราจะเห็นความเชื่อมโยงระหว่างอุตสาหกรรมสิ่งทอและโลกร้อนอย่างชัดเจน เพราะการใช้พลังงานนั้นสัมพันธ์กับการผลิตก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ยิ่งมีการใช้พลังงานมากก็จะผลิตก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมาสู่บรรยากาศโลกมากเช่นกัน ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของโลกร้อน ในขณะเดียวกันจากงานวิจัยต่างๆที่แสดงให้เห็นว่าโลกร้อนนั้นจะส่งผลกระทบที่สำคัญต่อทรัพยากรน้ำอย่างมากถึงขนาดทำให้โลกเราขาดแคลนปริมาณน้ำจืดเพื่ออุปโภคและบริโภคด้วย และการใช้น้ำจำนวนมหาศาลของอุตสาหกรรมสิ่งทอก็จะยิ่งทำให้สถานการณ์การขาดแคลนน้ำจืดของโลกยิ่งรุนแรงขึ้นเป็นทวีคูณ
จากตัวเลขการผลิตสิ่งทอของโลก 60พันล้านกิโลกรัม แสดงว่ามีการใช้พลังงานถึงประมาณ 1,074พันล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง หรือ มีการใช้ถ่านหินประมาณ 132ล้านเมตริกตัน เราสามารถคำนวณการลดการใช้พลังงานดังกล่าวลงได้ และการลดเพียงร้อยละ 30ก็นับว่ามากทีเดียว และคาร์บอนไดออกไซด์ก็จะลดลงด้วย ถ้าการใช้ถ่านหิน 1เมตริกตัน มีต้นทุนประมาณ 139ดอลล่าร์สหรัฐฯ ค่าใช้จ่ายด้านพลังงานก็จะสูงถึง 17.2พันล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ การลดการใช้ลงร้อยละ 30-50ก็จะทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายได้ถึง 5.1-8.6พันล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ ทีเดียว มีนัยสำคัญต่อการลงทุนอย่างมาก
นอกจากนี้ กระแสโลกาภิวัฒน์และการรับรู้ข้อมูลข่าวสารของโลกที่เป็นไปอย่างกว้างขวางไร้พรมแดน ทำให้ผู้บริโภคหันมาให้ความสำคัญและใส่ใจกับเรื่องสิ่งแวดล้อมมากขึ้นกว่าที่ผ่านมา ซึ่งทำให้เห็นได้ว่าสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในอนาคตอันใกล้นี้ จะกลายเป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างยิ่งต่อความสำเร็จทางการตลาด ความยั่งยืนที่เราพูดถึงกันมานานนับ 10ปี ก็จะไม่ใช่เพียงคำโฆษณา หรือ sloganในการรณรงค์ทางการตลาดเท่านั้น แต่จะกลายเป็นเงื่อนไขที่สำคัญต่อการดำเนินธุรกิจในระยะยาวและความอยู่รอดของธุรกิจด้วย ผู้บริโภคในยุโรปก็มีความพร้อมและมีกำลังซื้อยินดีที่จะจ่ายแพงขึ้นเพื่อซื้อสินค้า “สีเขียว”ดังจะเห็นตัวอย่างได้จากความสำเร็จของสินค้ายี่ห้อ PatagoniaÒ (ของสหรัฐฯ ซึ่งผลิตเสื้อผ้าที่ใส่ออกนอกบ้านโดยใช้วัสดุ recycle คือ polyesterที่มาจากขวด polyethylene terephthalate (PET) ที่ผ่านกระบวนการ recycle มาแล้ว แทนการใช้ virgin polyester หรือกรณีในยุโรปผู้ค้าปลีกรายใหญ่บางรายได้เริ่มขอใบประกาศนียบัตรที่ออกให้โดยบริษัท Carbon Footprintของอังกฤษ เพื่อแสดงให้เห็นว่าสินค้ามีการผลิตมาอย่างไร เป็นต้น
นอกจากนี้ความคิดที่จะต้องควบคุมการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ก็ทำให้หลายบริษัทดำเนินการในรูปแบบที่ต่างกัน ตัวอย่าง เช่น Marks & Spencer, Boots และอีกหลายบริษัท เริ่มมีฉลากคาร์บอน หรือ Carbon Labelติดที่สินค้าแล้ว แต่สิ่งสำคัญที่เราเห็นไปไกลกว่านั้นก็คือ ยุทธศาสตร์การจัดการคาร์บอนที่ผนวกรวมหรือมีการบูรณาการเข้าไปในยุทธศาสตร์ของบริษัท เพื่อก่อให้เกิดแนวทางการดำเนินงานที่สอดคล้องกันนั่นเอง
ลองมาดูธุรกิจสิ่งทอที่ได้มีการปรับเปลี่ยนไปในทิศทางที่ดำเนินการเพื่อแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีผู้บริโภคให้ความสนใจและซื้อสินค้าเป็นจำนวนมาก เป็นการแสดงให้เห็นว่าตลาดสำหรับสินค้า “สีเขียว”นั้นกำลังเกิดขึ้นและน่าจะขยายใหญ่ขึ้นอีกในอนาคต
ห้าง Tescoของอังกฤษก็ได้เริ่มมีการใช้ฉลากที่บ่งบอกปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออก ไซด์ (Carbon FootprintÔlogo)ซึ่งออกให้โดย Carbon Trust นอกจากนี้ Tesco ได้จัดทำแถลงการณ์ว่าจะมีการพัฒนาเพื่อให้มีการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งฉลากดังกล่าวจะให้ข้อมูลกับผู้บริโภคถึงปริมาณการปล่อยคาร์บอนของสินค้าเพื่อช่วยในการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค เรื่องนี้กำลังกลายเป็นความได้เปรียบทางการแข่งขันมากขึ้นด้วย และบริษัทเองก็ตั้งใจที่จะแสดงให้เห็นว่าการดำเนินการด้วย “ความยั่งยืน”นั้น สามารถทำกำไรและสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันได้ เพื่อเป็นแบบอย่างให้ธุรกิจอื่นๆดำเนินการตาม นำไปสู่อุตสาหกรรมเสื้อผ้าและสิ่งทอที่มีการปล่อยคาร์บอนต่ำ
Marks & Spencerของอังกฤษ ได้กำหนดแผนเพื่อให้มีความเป็นกลางในเรื่องการ ปล่อยคาร์บอน (Carbon Neutral)ภายในปีพ.ศ. 2555 และมีการจัดงบประมาณมหาศาลเพื่อดำเนินการดังกล่าว โดยได้เปิดตัวโรงงาน “สีเขียว”ที่ศรีลังกา 2 แห่ง ผลิตชุดชั้นในและเฟอร์นิเจอร์ นับเป็นโรงงาน “สีเขียว”แห่งแรกของโลก ซึ่งส่งมาขายที่อังกฤษ ซึ่งนอกจากจะลดปริมาณการปล่อยคาร์บอนในกระบวนการผลิตลงแล้ว ยังลดปริมาณการใช้พลังงาน แล้วยังใช้ปริมาณน้ำน้อยลง อีกทั้งไม่ต้องทำการฝังกลบขยะและของเสียอีกด้วย พร้อมกับต้องการให้เกิด “รูปแบบ”การดำเนินการที่รักษาสิ่งแวดล้อมให้กับธุรกิจอื่นๆ และจะมีการขยายโรงงาน “สีเขียว”ดังกล่าวไปยังภูมิภาคอื่นๆทั่วโลก นอกจากนี้ การดำเนินการดังกล่าวยังเป็นการสร้าง “รูปแบบการดำเนินการโรงงานสีเขียว”ด้วย ผลที่เกิดขึ้นกับโรงงานในศรีลังกาก็คือ โรงงานสามารถลดค่าไฟลงได้กว่าครึ่ง ในขณะที่ค่าไฟกำลังขึ้นราคา และลดการใช้พลังงานโดยรวมลงร้อยละ 43ลดการใช้น้ำลงได้ร้อยละ 58และลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลงได้ถึงร้อยละ 77
นอกจากนี้ ในฮ่องกงเองก็ได้มีการรวมตัวกันของบริษัทแฟชั่นเสื้อผ้าชั้นนำในประเทศภายใต้ “กลุ่มธุรกิจแฟชั่นเพื่อความยั่งยืน”(Sustainable Fashion Business Consortium: SFBC)เพื่อส่งเสริมให้ธุรกิจดำเนินการในลักษณะที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด ซึ่งขณะนี้ก็ได้มีบทบาทสำคัญใน supply chainของแวดวงแฟชั่นด้วย แม้ว่าฮ่องกงเองจะมีการผลิตเสื้อผ้าและสิ่งทอเองน้อยมาก แต่ก็เป็นที่ตั้งของบริษัทแม่ของหลายบริษัทที่ผลิตเสื้อผ้าในจีนและประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ บทบาทของกลุ่มจึงมีความสำคัญมาก โดยให้ความสำคัญกับการปรับปรุงกระบวนการผลิตและการหาทรัพยากรจากแหล่งต่างๆอย่างต่อเนื่อง และสนับสนุนการใช้แนวทางที่ยั่งยืนภายใต้การใช้วัตถุดิบที่มีความยั่งยืน การลดการใช้พลังงานโดยรวม และการลดผลกระทบจากขยะและสารเคมี ทางกลุ่มเองต้องการเป็นผู้นำของโลกในการ recycleขยะจากผลิตภัณฑ์ฝ้าย (cotton waste)อีกทั้งเพื่อมุ่งสู่การจัดทำและติดฉลากคาร์บอน รวมถึงการเข้าสู่ตลาดการซื้อขายคาร์บอนในอนาคตด้วย
จากกระแสโลกด้านสิ่งแวดล้อมและโลกร้อนที่กำลังมาแรง ทำให้ความต้องการฝ้ายเพิ่มสูงขึ้นมาก นั่นหมายถึงว่า ไม่เพียงแต่ธุรกิจรายใหญ่ที่มีการปรับเปลี่ยนการดำเนินธุรกิจและได้ประโยชน์จากกระแสดังกล่าวเท่านั้น ผู้ค้ารายย่อยในประเทศยากจนก็ได้รับประโยชน์ด้วย ผู้ผลิตฝ้ายรายย่อยทั้งในอินเดีย มอริทัส และมาดากัสการ์ ก็ได้เข้าสู่วงจรการค้าที่เป็นธรรมมากขึ้น ซึ่งแม้ว่าราคาผลิตภัณฑ์ฝ้ายจะแพงกว่าผลิตภัณฑ์อื่นถึงร้อยละ 30แต่ด้วยกระแสด้านสิ่งแวดล้อมและโลกร้อนก็ทำให้ตลาดและความต้องการเพิ่มขึ้นได้ โดยเฉพาะจากกลุ่มผู้บริโภคชนชั้นกลางที่มีรายได้สูง ทั้งนี้ กลุ่มผู้ค้าเหล่านี้ส่งสินค้าให้กับทาง Marks & Spencerของอังกฤษ ซึ่งมีการใส่ชื่อ websiteบนสินค้าเพื่อที่ผู้บริโภคสามารถเข้าไปดูและรับรู้ถึงที่มาของสินค้านั้นๆได้
ในขณะเดียวกัน กลุ่มผู้นำแฟชั่นเพื่อการลดผลกระทบจากอุตสาหกรรมสิ่งทอต่อสิ่งแวดล้อม (Reducing the Impact of Textiles on the Environment Group)ในอังกฤษ ก็ได้ทำการสำรวจกลุ่มผู้บริโภคเสื้อผ้าแฟชั่น และพบว่าร้อยละ 80 มีพฤติกรรมการซื้อที่ส่วนหนึ่งตัดสินใจจากประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม หรือ ประเด็น “สีเขียว”ผู้ผลิตสินค้าแฟชั่นจึงไม่อาจมองข้ามเรื่องนี้ได้ ทำให้กลุ่มผู้ผลิตและผู้ขายเสื้อผ้าแฟชั่นทั้งหลายโดยเฉพาะในอังกฤษและยุโรป ดำเนินการตอบรับกับกระแสดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นการใช้สารเคมีที่ปลอดภัยมากขึ้น การใช้เส้นใยธรรมชาติ เช่น ฝ้ายและใยกัญชงในการผลิตมากขึ้น การติดฉลากเพื่อความโปร่งใส การนำกลับมาใช้ใหม่ การซักล้างที่อุณหภูมิ 30˚C เป็นต้น
สินค้ายี่ห้อดังอย่าง Levi Straussก็มีการใช้ฝ้ายธรรมชาติและกะลามะพร้าว เพื่อสร้างภาพลักษณ์กระแสรักสิ่งแวดล้อมให้กับสินค้า Timberlandก็มีการติดป้ายดัชนีสีเขียวให้กับสินค้าเพื่อแสดงความโปร่งใส และเพื่อช่วยในการตัดสินใจในการซื้อกับผู้บริโภค ดัชนีสีเขียวดังกล่าวจะบอกปริมาณการใช้สารเคมีในกระบวนการผลิตของสินค้าแต่ละชิ้นที่นำมาขาย รวมถึงข้อมูลการใช้พลังงานที่เกี่ยวกับโลกร้อน และทรัพยากรอื่นๆ แต่ไม่รวมเรื่องการขนส่ง นอกจากนี้ เส้นด้ายของ Patagonia ก็ได้มีการพัฒนาไปมาก สามารถลดขยะที่จะต้องนำไปฝังกลบในสหรัฐฯ และได้ตั้งเป้าให้มีเส้นด้ายที่สามารถนำไปผ่านกระบวนการนำกลับมาใช้ใหม่ได้ร้อยละ 100ภายในปีพ.ศ. 2553 นอกจากนี้ยังมียี่ห้ออื่นๆอีก ไม่ว่าจะเป็น C&Aของเยอรมนี ก็ตั้งเป้าให้มีการใช้ไฟฟ้าที่ผลิตจากพลังงานหมุนเวียนทั้ง 750ห้างทั่วโลกภายในปีพ.ศ. 2553 รวมทั้งใช้ถุงจากวัสดุที่ผ่านกระบวนการนำกลับมาใช้ใหม่ มีการติดฉลากรักษาสิ่งแวดล้อม เป็นต้น โดยหวังจะให้มีการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลง 70,000 ตัน ภายในปีพ.ศ. 2552และลดได้เพิ่มขึ้นกว่า 100,000ตัน ภายในปีพ.ศ. 2553 ยี่ห้อ GAPในสหรัฐฯเองก็ได้ตั้งเป้าการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงร้อยละ 11ต่อตารางฟุตในช่วงปีพ.ศ. 2546-2551 โดยใช้มาตรการการอนุรักษ์พลังงาน การออกแบบที่ยั่งยืนและการใช้กระบวนการนำกลับมาใช้ใหม่ ยี่ห้อ H&Mของสวีเดนเอง ก็มีการส่งเสริมให้ใช้ไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนกับทั้ง 1,432ร้านสาขา และตั้งเป้าเพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลงร้อยละ 10ในช่วงปีพ.ศ. 2548-2552 เป็นต้น
แผนภาพ : ความสัมพันธ์ของความยั่งยืน
ตัวอย่างการดำเนินการที่เกิดขึ้นในโลกในขณะนี้เกี่ยวกับอุตสาหกรรมสิ่งทอ เสื้อผ้า และแฟชั่น ที่ตอบรับกับกระแสด้านสิ่งแวดล้อมและโลกร้อนนั้น ทำให้เราเห็นถึงโอกาสในเรื่องธุรกิจ และการใช้ประเด็นดังกล่าวในการดำเนินธุรกิจไปอย่างยั่งยืนและสมดุลในระยะยาว ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ตลาดและความต้องการสินค้าที่รักษาสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นการผลักดันมาจากกฎหมายในระดับประเทศหรือประเทศที่นำเข้าสินค้า หรือจากความตระหนักของผู้บริโภคเองก็ตาม ได้เกิดขึ้นแล้วและมีแนวโน้มที่ชัดเจนที่จะขยายตัวอีกมากในอนาคตอันใกล้ อุตสาหกรรมสิ่งทอและเสื้อผ้าของไทยเองจึงต้องปรับตัวและปรับเปลี่ยนให้ทันกับกระแสของโลกดังกล่าวด้วย และหากเป็นไปได้ก็น่าจะดีไม่น้อยถ้าได้เห็นกระแสความต้องการหรือตลาดหรือหรือผู้บริโภคของไทยเราเอง ที่ใส่ใจและตระหนักในเรื่องนี้ด้วย เราจะได้มีสินค้าเสื้อผ้าที่เป็น “สีเขียว”ในท้องตลาดบ้านเรา
ที่มา : โดย ศูนย์วิเคราะห์ทดสอบสิ่งทอ, สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ
http://www.thaitextile.org/environment/article_envi.php?id=ARC0120209153212
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)