หน้าเว็บ

ภานุมาศ คงประเสริฐ รหัส 5120125401203 การจัดการทั่วไป กศ.พบ.รุ่น 19 ม 1


บทที่ 9 การบริหารการเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาอย่างยั่งยืน
     ภาคหนึ่งของงานสัมมนาหลักสูตร Leading Bold Change ที่มี “จอห์น คอตเตอร์” กูรูทางด้านผู้นำระดับโลก เป็นเจ้าของหลักสูตร และมีบริษัท ออคิด สลิงชอท จำกัด เป็นผู้ซื้อลิขสิทธิ์หลักสูตรนี้เข้ามาเผยแพร่ในประเทศไทยได้มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์มุมมองต่อเรื่องการนำการเปลี่ยนแปลงมาปรับ ใช้กับองค์กร โดยส่วนนี้นอกจากจะมี “อภิวุฒิ พิมลแสงสุริยา” กรรมการผู้จัดการ บริษัท ออคิด สลิงชอท จำกัด หากยังมี “จุตินันท์ ภิรมย์ภักดี” กรรมการรอง ผู้จัดการใหญ่ บริษัท บุญรอด บริวเวอรี่ จำกัด มาร่วมพูดคุยด้วยเบื้องต้น “จุตินันท์” แลกเปลี่ยน ประสบการณ์มุมมองต่อองค์กรให้ฟังว่า บุญรอดฯตอนนี้มีอายุ 77 ปี    และเคยมีมาร์เก็ตแชร์ในตลาดสูงถึง 90% แต่พอ ปี 2540 คู่แข่งเริ่มเข้ามา และภายใน 3 ปี เราสูญเสียมาร์เก็ตแชร์ประมาณ 20-30% แต่ที่สุดเราก็มีโอกาสฟื้นกลับมา“เราเข้าใจดีว่าผ่านมาสิงห์เป็นเบอร์ 1 ในตลาด และตอนนั้นเราคิดว่าเราประสบความสำเร็จในธุรกิจ แต่พอหลังจาก ปี 2540 เราพยายามเข้าใจ เรารู้ดีว่าคู่แข่งของเรามีศักยภาพ เราใช้เวลานานมาก หรือทำใจยอมรับนานมากว่าเราแพ้คู่แข่งจริง ๆ” “ตอนนั้นเราบอกตัวเองว่าเราจะรอดไหม เราพยายามแก้ไข ปรับโครงสร้างบริษัท เพื่อที่จะให้องค์กรขับเคลื่อน และในปี 2541-2542 ก็มีบริษัทต่างชาติเริ่มติดต่อเข้ามา เพื่อจะเป็นพาร์ตเนอร์ หรือจะมาเทกโอเวอร์เรา ตอนนั้นผมเอง รับหน้าที่ไปเจรจากับกลุ่มทุนต่าง ๆ ประมาณ 1 ปี” “จึงสรุปว่าเราแย่ถึงกับขนาดที่เราจะขายหุ้นเลยหรือ เราคิดในฐานะ family business ว่าทำไมสิงห์จะมาหยุดอยู่กับยุคของเรา ก็เลยจุดประกายให้เราสู้ จากนั้นเราเลย change จากครอบครัวที่เป็น ผู้บริหารทั้งหมด และทุกคนผ่านมาล้วนมีความเสมอภาค”  “จึงพร้อมใจกันยอมถอยอัตตาตัวเอง และให้การสนับสนุนผู้นำคนใหม่ ที่สุดจึงผ่านจุดนั้นไปได้ อีกอย่างตอนนั้น เรา concern ศักยภาพคู่แข่งว่าเขามีศักยภาพ แต่เมื่อวันหนึ่งที่เรารอดแล้ว ทำไมเราจึงต้องมาเปรียบเทียบ เพราะตอนนี้เรามองข้ามจุดนั้นไปแล้ว”  ถึงตรงนี้ “อภิวุฒิ” จึงแลกเปลี่ยนประสบการณ์มุมมองบ้างว่า จากกรณีศึกษาที่เคยทำการสำรวจพบว่าองค์กรยักษ์ใหญ่บางราย พอเวลาล้ม แล้วยากที่จะกลับขึ้นมายืน ดังนั้นการที่สิงห์กลับมาเป็น เบอร์ 1 ครั้ง จึงมีความน่าสนใจ
“เพราะสิงห์เป็น family business ขณะเดียวกันก็มีมืออาชีพเข้ามาในองค์กร ความน่าสนใจอยู่ตรงที่การ blend กันได้อย่างไร แถมยังสร้างความสำเร็จด้วย”  “ผมจึงมองว่าบางครั้งวัฒนธรรมองค์กรแม้ดูจะเปลี่ยนบ่อย แต่ว่าเปลี่ยนยาก อย่างองค์กรสิงห์ 77 ปี ตรงนี้เป็นภาพของสิงห์ แต่จะทำอย่างไรให้วัฒนธรรมองค์กรรักษาความสำเร็จขององค์กรไว้ได้ ตรงนี้น่าสนใจ”  คำถามที่ต้องการคำตอบตรงนี้ “จุตินันท์” จึงขอเสริมว่า การที่เราสามารถ blend ได้ เพราะมาจากคำพูดของ “คุณสันติ ภิรมย์ภักดี” ที่บอกว่า…ผมยอมรับว่าผมแพ้ แต่ผมไม่ยอมแพ้    “ตรงนี้เป็นตัวจุดประกายที่ทำอย่างไร ถึงจะไม่แพ้ เราจึงมีการปรับองค์กร มีการนำมืออาชีพเข้ามา และจากเดิมที่เราเป็น family business ซึ่งมีมุ้งหลายหลัง เราก็ทำการละลายกรอบตรงนั้นทิ้ง ซึ่งก็ทำให้ทุกคนใน family business ยอมรับ และเข้าใจในที่สุด”  “ดังนั้นการปรับโครงสร้างการบริหารบุคคล จึงเป็นตัว key success ที่สำคัญ พวกเราทุกคนก็ให้ความสำคัญมากในการเปลี่ยนแปลงครั้งนั้น อีกอย่างคุณสันติก็ไม่ได้รีบเร่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทันที เขาให้เวลาเป็นปี เพื่อก้าวสู่ความเป็นมืออาชีพ”
ถึงตรงนี้ “อภิวุฒิ” จึงถาม “จุตินันท์” ว่า อะไรเป็นอุปสรรคสำคัญในการเปลี่ยนแปลงของสิงห์ครั้งนั้น ?
“จุตินันท์” จึงตอบว่า เรามองว่าภายใน-ภายนอกต้องแก้ไขเยอะ ระยะสั้น เราจึงเอามืออาชีพเข้าไปในสายการผลิต ส่วนระยะยาว เรามองไปที่ลูกค้าและเอเย่นต์ทั้งหมด 300 กว่ารายทั่วประเทศ
“เพราะที่ผ่านมาเราไม่เคยเปลี่ยนแปลงเขา แต่ตอนนี้ถึงคราวต้องเปลี่ยน แต่เขา ไม่อยากเปลี่ยน เราจึงต้องมีการพูดคุยกันค่อนข้างเยอะ สำหรับเรื่องภายใน ผู้นำต้องมีความชัดเจน และทุกคนยอมรับได้ เพราะอยู่ในช่วงของความอยู่รอด ก็เลยทำให้ทุกคนพร้อมใจกันที่จะเปลี่ยน”  “อภิวุฒิ” จึงมองเสริมว่า การเปลี่ยนตอนอ่อนแออาจมีคำถามไม่เยอะ แต่เปลี่ยนตอนที่ตัวเองแข็งแรงนี่สิยาก เพราะคนอาจตั้งคำถามว่าทำไมต้องเดี๋ยวนี้  “จุตินันท์” จึงตอบว่าใช่…เพราะหลายคนคิดว่าเราชนะคู่แข่งแล้ว ทำไมต้องทำอีกล่ะ ผมมองว่าความทรงจำที่ติดตัวมันง่าย แต่อีก 10 ปีข้างหน้า คนรุ่นใหม่ที่กำลังขึ้นมา เขาไม่ได้ผ่านความทรงจำที่ดีมาด้วยกัน เขาจึงอาจไม่รู้สึกถึงความสำเร็จที่ผ่านมา  ตรงนี้จึงเกิดเป็นแผนว่าแล้วเราจะทำอย่างไรต่อหลังจากประสบความสำเร็จ แล้ว ?  “จุตินันท์” จึงตอบว่า ตอนนี้ธุรกิจไม่ได้อยู่ที่เบียร์เป็นหลักแล้ว เราไปทำธุรกิจอาหาร ส่งออก และทุกธุรกิจมีเป้า และมีแรงกระตุ้น ที่สำคัญจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น  “อภิวุฒิ” จึงถามต่อว่า แล้วทำอย่างไรถึงให้ change อยู่ในองค์กรอย่างถาวร ?   “จุตินันท์” จึงตอบว่า เราต้องพยายามสร้างการ create change เพื่อให้คนเกิดกระบวนการทางความคิด และจะต้องทำอย่างไรให้คนข้างบนรู้ว่าเกิดอะไรขึ้น ขณะเดียวกันก็ต้องพยายามทำให้คนข้างล่างรับรู้ไปในทิศทางเดียวกันด้วย เพราะผมมองว่าการสื่อสารเป็นเรื่องสำคัญ อันดับแรก ๆ ของการ change   “และไม่เฉพาะบริษัทใดบริษัทหนึ่งเท่านั้น แต่ต้องทุกบริษัทที่อยู่ในสิงห์ทั้งกรุ๊ป ที่สำคัญภาพของ HR จะต้องเข้ามาเสริมทัพมากขึ้น และจะต้องสร้างความยุติธรรมให้เกิดขึ้นกับทุกคนในองค์กร ผมยอมรับว่าบุญรอดฯมีหลายมุ้ง และหลายมุ้งก็มีความแตกต่าง เราจึงต้องพยายามสลายมุ้ง”   ผลตรงนี้ “อภิวุฒิ” จึงมองว่าตอนเปลี่ยนแปลง พนักงานอาจไม่ค่อยเชื่อฟัง ดังนั้น HR จึงต้องเข้ามาช่วย และ HR ในปัจจุบันต้องเป็นหุ้นส่วนทางกลยุทธ์กับ ผู้บริหาร  “เพราะเรื่องนี้เป็นความท้าทาย และ HR ต้องมีความรู้สึกว่าพนักงานคือลูกค้า คือทำอย่างไรให้เขามีความพึงพอใจในการทำงาน และต้องมุ่งสร้างความน่าไว้วางใจ ไม่ใช่เป็นผู้คุ้มกฎแบบสมัยก่อน”ในประเด็นเดียวกันนี้ “จุตินันท์” จึงมองเสริมว่า ส่วนผู้บริหารก็ต้องให้ความเป็นกันเองกับพนักงานทุกระดับ และเราต้องสร้างความไว้วางใจด้วยตัวของเราเอง“อย่างตอนที่เราสูญเสียส่วนแบ่งทางการตลาดให้กับคู่แข่ง พนักงานของเรากว่า 2,000 คน มีคนย้ายไปอยู่ที่อื่นไม่ถึง 20 คน ผมว่าตรงนี้มันสะท้อนเรื่องการบริหารนะ เพราะเราดูแลพนักงาน ซัพพลายเออร์ เหมือนครอบครัว แต่จะต้องมีความเป็นมืออาชีพด้วย”  “ยิ่งตอนหลังเราพยายามสร้างคำว่าครอบครัวสิงห์ เพื่อให้เกิดความผูกพัน ระหว่างเรากับพนักงานทุกคน ผมจึงมองว่าเราต้องให้ใจเขาก่อน เขาจึงจะให้ใจเรากลับมา ซึ่งตรงนี้ดูเหมือนง่าย ดูเหมือนเป็นเรื่องธรรมดา แต่ไม่ธรรมดาเลย”ฉะนั้นตรงนี้จึงเป็นคำตอบว่าทำไมสิงห์ถึงกลับมายืนเป็นเบอร์ 1 ได้อีกครั้งหนึ่งซึ่งไม่ธรรมดาเลย ?

ที่มา: กรณีศึกษา “ครอบครัวสิงห์” ต่อเรื่องการเปลี่ยนแปลงจนเป็นเบอร์ 1 อีกครั้ง | บล็อกความรู้ | WiseKnow | Knowledge Blog


บทที่10 การแข่งขันในตลาดโลกและการปรับตัวเพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน
ความก้าวหน้าและพัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศส่งผลกระทบต่อการปฎิบัติงานแต่ละหน่วยงานมากขึ้น องค์การต่าง ๆ ในฐานะที่เป็นระบบย่อยภายในระบบสังคมมีความจำเป็นที่จะต้องปรับตัว เพื่อความอยู่รอดและการเจริญเติบโตในอนาคต  
หลายหน่วยงานต่างๆได้ปรับโครงสร้างขององค์การจากโครงสร้างแบบลำดับขั้นเข้าสู่โครงสร้างระบบเครือข่าย พัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศช่วยลดขั้นตอนการทำงาน ช่วยให้การตัดสินใจ และการประสานงานระหว่างหน่วยงานมีประสิทธิภาพ จึงไม่ต้องมีการตรวจสอบและควบคุมเป็นลำดับขั้น นอกจากบุคลากรรุ่นใหม่ยังมีความรู้และทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศสูงกว่าในอดีต    จึงพร้อมที่จะรับผิดชอบในการปฏิบัติงานของตนและกลุ่มมากขึ้น
องค์การขนาดใหญ่ปรับตัวเป็นกลุ่มองค์การขนาดย่อม เพื่อความคล่องตัวในการปฏิบัติงาน การประสานงาน การแข่งขัน       และรองรับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นมีการสนับสนุนการปฏิบัติงานร่วมกันเป็นกลุ่ม โดยที่ผู้จัดการหรือหัวหน้างานจะเปลี่ยนหน้าที่จากผู้สั่งการมาเป็นผู้ฝึกสอน ผู้ประสานงาน และอำนวยความสะดวกในการทำงานระบบการเข้าทำงานแบบยืดหยุ่นจะถูกนำมาใช้ แรงงานบางส่วนจะสามารถทำงานอยู่ที่บ้าน ขณะที่หลายฝ่ายสามารถเลือกเวลาเข้าทำงานและเลือกงานที่เหมาะสมได้เอง
  นอกจากนี้กิจกรรมทางธุรกิจก็ต้องมีการเปลี่ยนแปลงตามการพลวัตรของสังคมที่ถูกผลักด้นด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ เช่น    กิจกรรมทางการเงินที่ต้องกระทำต่อเนื่องตลอดทั้งวันทั้งคืน การผลิตและการตลาดต้องปรับตัว เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่มีหลากหลายขึ้น ช่องทางการจัดจำหน่ายจะมีมากขึ้นกว่าในอดีต เป็นต้น ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่ผู้บริหารในหน่วยงานต่าง ๆ  จะต้องติดตามความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในหน่วยงานของตนต่อไป โดยมีข้อแนะนำในการเตรียมตัว       เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในหน่วยความงานของตนต่อไป โดยมีข้อแนะนำในการเตรียมตัวเพื่อก้าวสู่ยุคสารสนเทศอย่างมั่นคง
  เราจะเห็นว่าการดำเนินธุรกิจในปัจจุบันต้องอาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นพื้นฐาน โดยเทคโนโลยีสารสนเทศถูกใช้ให้เป็นประโยชน์แก่องค์การในหลายด้าน ตั้งแต่ การประมวลผลงานประจำวัน การตัดสินใจของผู้จัดการ ตลอดจนสนับสนุนการดำเนินกลยุทธ์ขององค์การ นอกจากนี้เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยส่งเสริมรูปแบบใหม่ในการสื่อสารข้อมูล และการเพิ่มผลผลิตขององค์การ  แนวโน้มของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศขององค์การ แสดงให้เราเห็นได้ว่าในอนาคตผู้ที่จะเป็นนักบริหารและนักวิชาชีพที่ประสบความสำเร็จจะต้องไม่เพียงแค่รู้จักคอมพิวเตอร์ แต่จะต้องสามารถใช้คอมพิวเตอร์อย่างมีประสิทธิภาพ และรู้จักการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ   โดยผู้บริหารในอนาคตจะต้องรู้จักการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีกับงานของตนเอง มีความคิดในการที่จะสร้างระบบสารสนเทศที่ตนเองต้องการ เพื่อช่วยในการตัดสินใจในภาวะที่มีการแข่งขันสูง ทำให้การบริหารของตนเองมีประสิทธิภาพ และประสบความสำเร็จอย่างสูงสุด ขณะที่นักวิชาชีพจะใช้ระบบสารสนเทศในการรวบรวม และประมวลผล และจัดการข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนการค้นหาและตรวจสอบข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ ผ่านระบบเครือข่ายอย่างถูกต้องและรวดเร็วแนวโน้มของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศขององค์การ แสดงให้เราเห็นได้ว่าในอนาคตผู้ที่จะเป็นนักบริหารและนักวิชาชีพที่ประสบความสำเร็จจะต้องไม่เพียงแค่รู้จักคอมพิวเตอร์ แต่จะต้องสามารถใช้คอมพิวเตอร์อย่างมีประสิทธิภาพ และรู้จักการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ   โดยผู้บริหารในอนาคตจะต้องรู้จักการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีกับงานของตนเอง มีความคิดในการที่จะสร้างระบบสารสนเทศที่ตนเองต้องการ เพื่อช่วยในการตัดสินใจในภาวะที่มีการแข่งขันสูง ทำให้การบริหารของตนเองมีประสิทธิภาพ และประสบความสำเร็จอย่างสูงสุด ขณะที่นักวิชาชีพจะใช้ระบบสารสนเทศในการรวบรวม และประมวลผล และจัดการข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนการค้นหาและตรวจสอบข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ ผ่านระบบเครือข่ายอย่างถูกต้องและรวดเร็ว
องค์การที่เจริญเติบโตในอนาคตต้องสามารถประยุกต์เทคโนโลยีเข้าไปในโครงสร้างการบริหารงาน และการติดต่อสื่อสารโดยเทคโนโลยีสารสนเทศเปรียบเสมือนเส้นประสาทของธุรกิจ    แต่การประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศในองค์การจะส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานและบุคลากรมากกว่าการเพิ่มประสิทธิภาพ หรือการลดขั้นตอนในการทำงาน การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศจะเกี่ยวข้องกับจริยธรรมและความรับผิดชอบต่อส่วนรวม เช่น การไหลเวียนของข้อมูลผ่านขอบเขตขององค์การและเขตแดนของประเทศ   การติดตามผลและตรวจสอบการทำงานกับความเป็นส่วนตัวของพนักงาน การทุจริตหรือฉ้อโกงในระบบเครือข่าย    การก่อนการร้ายหรือการโจรกรรมซึ่งผู้บริหารจะต้องติดตามทำความเข้าใจในศักยภาพและผลกระทบของเทคโนโลยีที่มีต่อองค์การและสังคม    เพื่อให้เลือกใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์สูงสุดและก่อให้เกิดผลกระทบในด้านลบน้อยที่สุดต่อองค์การและสังคมแวดล้อม
ที่มา: http://www.softbizplus.com/it/1320-it-for-organization

                       
บทที่ 11การบริหารจัดการธุรกิจสีเขียวและการวิเคราะห์ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และคุณภาพชีวิต
แนวโน้มที่เห็นได้ชัดเจนขึ้นคือทั้งบุคคลธรรมดาและกิจการห้างร้านจะหันไปเลือกการลงทุนและทุ่มแวลาและงบประมาณเพื่อกิจกรรมที่เป็นความรับผิดชอบต่อสังคมหรือ CSR มากขึ้นในส่วนของผู้ประกอบการ การพัฒนารูปแบบการดำเนินงานแบบกรีนมากขึ้น ถูกมองว่าจะช่วยในการสร้างความได้เปรียบด้านการแข่งขันที่ใช้กับคู่แข่งขันได้ ยกระดับคุณธรรมของบุคลากร ยกระดับสภาพแวดล้อมการทำงานให้บุคลากรมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สามารถลดค่าใช้จ่ายดำเนินงานด้านพนักงานและเพิ่มประสิทธิภาพ จนทำให้ผลการประกอบการดีขึ้น ทำให้สาธารณชนตระหนักว่ากิจการให้ความสำคัญกับการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมและใส่ใจในสินค้าและบริการที่วางจำหน่าย เพื่อตอบสนองผู้บริโภคที่ใส่ใจกับการเลือกสินค้ามากขึ้น
     การศึกษาของบอสตัน คอนซัลติง กรุ๊ป จากผู้บริโภค 9,000 คนทั่วโลกพบว่า การเลือกซื้อกรีนโปรดักส์ยังคงมาอันดับแรก แม้ว่าภาวะเศรษฐกิจจะถดถอยลง และ 73% ของคนอเมริกันถือว่าประวัติของผู้ประกอบการในการรณรงค์เรื่องกรีนโปรดักส์เป็นตัวแปรในการตัดสินใจซื้อสินค้าและบริการนอกจากนั้น นักวิเคราะห์ยังเชื่อว่าธุรกิจด้านกรีนโปรดักส์จะกลายเป็นธุรกิจยักษ์ใหญ่ในอนาคต อย่างเช่นบริษัทซีร็อกซ์เชื่อว่ากลังจากใช้กรีนโมเดลแล้ว บริษัทจะประหยัดค่าออกแบบและต้นทุนการผลิตไปได้ไม่น้อยกว่า 2,000 ล้านดอลลาร์ หรือโตโยต้าที่ใช้สายการผลิตเดียวกับรถยนต์หลายรุ่น จนประหยัดพลังงานในโรงงานได้กว่า 30% แสดงว่าการใช้กรีนไม่ได้เป็นเพียงการทำความดี แต่ยังเป็นการเพิ่มพูนรายได้ของกิจการด้วย
       นอกจากกิจการที่เป็นผู้ผลิตแล้ว กิจการค้าปลีกของโลกจะขยับใช้กรีนโมเดลกันมากขึ้นในปี 2012 ต่อเนื่องจากปีที่แล้ว อย่างเช่น ห้างวอลมาร์ทได้กำหนดให้กิจการคู่ค้าที่ผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคส่งให้ตนต้องตอบคำถามด้านกรีน 15 ข้อ เพื่อประเมินว่าได้มีส่วนร่วมในการพัฒนากรีนโปรดักส์อย่างเพียงพอหรือไม่
       ตามความเห็นของแบทเทลล์ (Battelle) ได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับ 10 อันดับแนวโน้มของกรีนในอนาคต ดังนี้แนวโน้มแรก การเพิ่มขึ้นของการใช้พลังงานยั่งยืนและหมุนเวียนใช้ใหม่สำหรับเครื่องปั่นไฟฟ้าใช้ อันเนื่องมาจากการเติบโตของประชากร รวมถึงการขยายตัวออกไปของตัวเมือง โดยเฉพาะในจีนและอินเดีย จะทำให้เกิดความต้องการใช้ไฟฟ้ามากขึ้น และไฟฟ้าควรจะเป็นพลังงานสะอาด หาไม่ได้มาจากการเผาเหมืองถ่านหิน หรือการสร้างมลภาวะ และแก๊สเรือนกระจกพลังงานในปี 2012 จะเพิ่มความสนใจในพลังงานลม พลังงานโซลาร์ เซลล์เชื้อเพลิงเหลว เชื้อเพลงจากไบโอ เทคโนโลยีการเผาถ่านที่ทำให้โลกสะอาด
       แนวโน้มที่สอง การบริหารทรัพยากรน้ำ ด้วยการใช้ซ้ำและรีไซเคิลน้ำมาใช้ใหม่ เป็นอีกหนึ่งของความพยายามจะประหยัดน้ำที่ใช้ในการอุปโภคบริโภคไว้ให้มากที่สุด ที่เริ่มมีความสำคัญมากขึ้นในวงการกรีนตามลำดับการดำเนินการเรื่องนี้มีความเป็นไปได้มากน้อยเพียงใดขึ้นกับความก้าวหน้าของเทคโนโลยี จนทำให้ได้เทคโนโลยีใหม่ๆ ในการบริหารจัดการน้ำได้มีประสิทธิผลมากขึ้น ควบคู่กับการปรับปรุงคุณภาพของน้ำดื่มน้ำใช้ ทำให้พี้นที่แห้งแล้งและอยู่อาศัยไม่ได้ในโลกลดลง และการตั้งโรงงานบำบัดเพื่อบริหารจัดการกับบรรดาน้ำทิ้งจากอาคารบ้านเรือนแนวโน้มที่สาม การออกกฎหมายและนโยบายในการควบคุมการสร้างคาร์บอน เป็นการพยายามใช้เกณฑ์ภาคบังคับผสมกับความสมัครใจในการควบคุมระดับการสร้างคาร์บอนในระดับประเทศ โดยการลงนามร่วมกันของผู้บริหารประเทศและระหว่างรัฐบาลของประเทศต่าง ๆในระยะต่อไป อาจมีการออกกฎหมายที่ควบคุมการระดับการสร้างคาร์บอนของรถยนต์แต่ละคันที่วิ่งอยู่บนท้องถนน หรือการเก็บภาษีรถที่สร้างคาร์บอน เพื่อให้การควบคุมคาร์บอนอยู่บนมาตรฐานเดียวกันทั่วทั้งโลกการพัฒนาความเข้มงวดของกฎหมายน่าจะทำให้การผลิตสินค้าสะอาด และระบบพลังงานในรถยนต์เปลี่ยนแปลงไปอย่างถาวรแนวโน้มที่สี่ คือ การเกิดธุรกิจที่ใช้โมเดลเกี่ยวข้องกับกรีนอย่างเต็มรูปแบบ ซึ่งที่ผ่านมาได้เกิดสภาวการณ์นี้แล้ว โดยเป็นกิจการที่คำนึงถึงสังคม ใช้โมเดลการดำเนินงานแบบกรีนครบวงจร และขายกรีนโปรดักส์ของตนให้กับสังคม โดยยังสามารถเลี้ยงชีพและดำรงกิจการอยู่ได้การดำเนินงานของกิจการเหล่านี้ใช้เทคโนโลยีสะอาดในการดำเนินงานทั้งหมดและถ่ายนทอดลงไปสู่ผู้ประกอบการรายอื่น เช่น รับบริหารการสูญเปล่าด้านอุตสาหกรรม และการใช้พลังงานที่สิ้นเปลืองน้อยลง โดยผู้ประกอบการที่ลงทุนซื้อเทคโนโลยีกรีนเหล่านี้ก็จะได้ประโยชน์ด้วยแนวโน้มที่ห้า การขนส่งและคมนาคมที่เป็นกรีน เนื่องจากไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของแก๊สเรือนกระจกมาจากรถยนต์ การสร้างรถยนต์มากขึ้นก็คือการสร้างคาร์บอนมากขึ้นด้วยแนวโน้มส่วนนี้จึงเป็นการเน้นที่จะพัฒนาพลังงานหมุนเวียนและพลังงานยั่งยืนเพื่อให้กับรถยนต์ รวมทั้งอีเธอนอล และพลังงานไบโอทั้งหลาย ที่มีการสำรวจและวิจัยกันมากมาย และคาดว่าจะมีบทบาทมากขึ้นเรื่อยๆ ในอนาคตในอนาคตรถยนต์พลังงานผสมหรือไฮบริด รถยนต์ไฟฟ้า จึงเป็นสิ่งที่จะปรากฏโฉมในท้องถนนมากขึ้นแนวโน้มที่หก การเพิ่มขึ้นของกรีนโปรดักส์ในท้องตลาดที่มีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นจากปัจจุบัน จากการเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้ประกอบการกรีนโปรดักส์ และการเติบโตอย่างต่อเนื่องของผู้บริโภคที่เป็นกรีน ชอปปิ้ง ซึ่งการกระจายตัวของตลาดจะทำให้ราคาต่อหน่วยของสินค้ากรีนโปรดักส์น่าจะลดลงตามลำดับแนวโน้มที่เจ็ด การพัฒนาแนวคิดเชิงระบบ (System Approach) ในการวิเคราะห์ผลกระทบของการผลิตต่อสภาพแวดล้อม เพื่อให้การวัดและประเมินผลกระทบได้อย่างแม่ยำมากขึ้น
       แต่เดิมประเด็นนี้มีการพิจารณาแต่เพียงในระดับของท้องที่ ด้วยการประเมินตัวผลิตภัณฑ์ กระบวนการผลิต และโรงงานผลิตว่ากระทบต่อคุณภาพของสิ่งแวดล้อมอย่างไร แต่ในปี 2012 มุมมองจะเปิดกว้างมากขึ้น ตั้งแต่การผลิต การจัดจำหน่ายสินค้า และการบริโภคตลอดวิถีทางทางการตลาดและกำลังจะขยายต่อไปในระดับภาคอุตสาหกรรมและระดับมหภาค ซึ่งเป็นการพิจารณาทั้งระบบตลอดห่วงโซ่อุปทาน และพิจารณาผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมที่เป็นระดับชุมชน ระดับประเทศ และระดับโลก โดยการทำงานด้านการประเมินดังกล่าวจะใช้เทคโนโลยีและคอมพิวเตอร์มามีส่วนช่วยมากขึ้น เพื่อให้สามารถเชื่อมโยงผลกระทบได้ทั้งระบบแนวโน้มที่แปด โลกจะได้รับผลกระทบมากขึ้นจากการขยายตัวของเมืองและประชากรที่เข้าไปใช้ประโยชน์หรือทำลายทรัพยากรธรรมชาติมากขึ้นการเพิ่มขึ้นของประชากรในทุกมุมโลก หมายถึงจำนวนผู้บริโภคจะมีเพิ่มมากขึ้น มลภาวะมากขึ้น ซึ่งทำให้แนวโน้มและความจำเป็นในการใช้กรีนคอนเซปต์ต้องทำอย่างจริงจังมากขึ้นประชากรของโลกเพิ่มขึ้นจนผ่านระดับ 6,000 ล้านคนเมื่อปี 2000 และคาดว่าจะเพิ่มเป็น 7,800 ล้านคนในปี 2020การเปลี่ยนแปลงที่อยู่ของประชากรออกไปตามการขยายตัวของครอบครัว ทำให้สิ่งอำนวยความสะดวก สาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานขยายตามออกไปด้วยแนวโน้มที่เก้า ความก้าวหน้าและใช้ชีวิตอยู่บนเทคโนโลยี สารสนเทศ และการสื่อสาร ทำให้การติดต่อสื่อสารถึงกันทำได้ผ่านระบบรีโมต และทางไกล ไม่ต้องการการเดินทางไปพบกันแบบเผชิญหน้า ค่าใช้จ่ายในการเดินทางหรือการเคลื่อนที่ทางกายภาพจึงมีแนวโน้มที่จะลดลง รวมไปถึงการทำงานจากที่พักอาศัยแทนการออกไปตั้งต้นงานที่สำนักงานหรือในออฟฟิศที่ห่างไกลการพัฒนาการแบบนี้ สนับสนุนแนวคิดของกรีนคอมเซปต์โดยไม่ตั้งใจ แต่เป็นไปอย่างมีประสิทธิผลแนวโน้มที่สิบ อาคารบนแนวคิดกรีนจะเพิ่มขึ้น จากการที่สถาปัตย์ และนักออกแบบอาคารได้คำนึงถึงรูปแบบการทำงานของอาคารที่จะช่วยลดภาวะโลกร้อนมากขึ้นอาคารสมัยใหม่จึงพิจารณาการบริหารจัดการความอบอุ่นหรือความร้อนภายในอาคาร การลดการใช้ไฟฟ้าในการให้แสงสว่างแต่ให้อาคารมีแสงสว่างที่เพียงพอเอง และใช้ระบบการบริหารจัดการน้ำแบบใช้หมุนเวียนซ้ำการพัฒนาในเรื่องอาคารนี้ได้ขยายวงออกไปเป็นเรื่องของ กรีนซิตี้ หรือ อีโค ซิตี้ ไม่ใช่เพียงระดับของหมุ่บ้านหรือชุมชนเท่านั้นเรื่องนี้มีอิทธิพลต่อการวางผังและการปรับปรุงผังเมืองใหม่ให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น เช่น การกำหนดพื้นที่สีเขียวเป็นภาคบังคับ การจัดพื้นที่ที่รองรับอากาศบริสุทธิ์ในชุมชนเป็นที่คาดหมายกันว่า กฎเกณฑ์ที่เข้มงวดเกี่ยวกับอาคารแบบกรีนนี้จะเริ่มนำออกมาใช้ในอนาคตอันใกล้นี้ ทำให้อาคารสร้างใหม่ต้องพัฒนาระบบพลังงานทางเลือก โดยเฉพาะพลังงานโซลาร์ รวมทั้งพลังงานลม
ที่มา: GLOBAL GREEN 2012 : 10 แนวโน้มธุรกิจสีเขียว | การบริหารจัดการ | WiseKnow.Com 




ไม่มีความคิดเห็น: