หน้าเว็บ

น.ส.สายชน นาคปานเสือ รหัส 5210125401055 การจัดการทั่วไป



บทที่ 10 การแข่งขันในตลาดโลกและการปรับตัวเพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน
การสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน
                การเสริมสร้างองค์กรให้แข็งแกร่ง  มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลในยุคของการแข่งขันทางธุรกิจ  ผู้นำหรือผู้บริหารขององค์กรที่บทบาทสำคัญ และได้รับการสนับสนุนจากพนักงานระดับปฏิบัติการ  การได้เปรียบในการแข่งขันจะเกิดขึ้นได้  ผู้นำหรือผู้บริหารจำเป็นต้องมีแนวทางในการดำเนินงานที่มีความชัดเจน  โดยเริ่มจากการกำหนดวิสัยทัศน์ (Vision) การกำหนดเป้าหมาย (Goals) การกำหนดคุณค่าและความเชื่อร่วมกัน (Value and Belief) และการกำหนดกลยุทธ์ (Strategies) บทบาทพนักงานระดับปฏิบัติการเป็นบทบาทของการสนับสนุนและประสานงาน ทำให้เกิดแนวทางการปฏิบัติ มีรายละเอียดดังนี้

1.  บทบาทของผู้นำหรือผู้บริหาร  การประสบความสำเร็จของการที่จะทำให้องค์กรเป็นผู้นำทางธุรกิจ   และสามารถแข่งขันกับคู่แข่งขันทางธุรกิจได้เป็นอย่างดี  ผู้นำหรือผู้บริหารจำเป็นต้องมีความเฉลียวฉลาด  ทั้งระดับสติปัญญาและระดับวุฒิภาวะทางอารมณ์  ซึ่งจะเป็นแนวทางที่จะทำให้กำหนดบทบาทและภาระหน้าที่ได้อย่างชัดเจนและมีประสิทธิภาพผู้นำหรือผู้บริหารจะบริหารจะต้องใช้แนวคิดที่แนวทางขององค์กร นำไปสู่ความสำเร็จ  สำหรับบทบาทของผู้นำหรือผู้บริหารที่จะทำให้องค์กรได้เปรียบทางการแข่งขันทางธุรกิจควรมีดังนี้
1.1  การกำหนดวิสัยทัศน์  (Vision)
การกำหนดวิสัยทัศน์เป็นบทบาทแรกของภาวะหน้าที่ของผู้นำ  หรือผู้บริหารองค์กรวิสัยทัศน์ที่ผู้นำหรือผู้บริหารจะต้องให้ความสำคัญ  ควรมีลักษณะที่ก่อให้เกิดความรู้สึกน่าสนใจ  การก่อให้เกิดความหมายในชีวิตการทำงานและชีวิตส่วนบุคคล  การกำหนดมาตรฐานของความเป็นเลิศที่โดดเด่น  และเป็นตัวเชื่อมความเป็นอดีตที่จะส่งผลต่อความสำเร็จในอนาคต  โดยปกติแล้วการกำหนดวิสัยทัศน์จะต้องมีความชัดเจน  สั้น  และเข้าใจง่ายต่อการนำไปสู่การปฏิบัติ  เช่น  การกำหนดวิสัยทัศน์ของบริษัทวอลท์  ดิสนีย์ (Walt Disney) คือ การทำให้ทุก ๆ คนมีความสุข เป็นต้น
1.2  การกำหนดเป้าหมาย (Goals)
การกำหนดเป้าหมายที่ดีควรมาจากการที่นำวิสัยทัศน์มาพิจารณา  ในการกำหนดเป้าหมายทั้งเป็นเป้าหมายที่เป็นทางการ (Official Goal) และเป้าหมายปฏิบัติการ (Operative Goals)
เป้าหมายที่เป็นทางการ (Official Goal)  เป็นการกำหนดทิศทางขององศ์การในอนาคตโดยอธิบายถึงวิสัยทัศน์ขององค์กรและคุณค่าของ
การมาอยู่ร่วมกันในองค์กร  ซึ่งจะก่อให้เกิดความเป็นน้ำหนึ่งอันเดียวกัน  เป็นเกณฑ์สำหรับจูงใจทรัพยากรบุคคลในองค์กร  และสร้างบรรยากาศ
ในการทำงานให้กับพนักงาน
เป้าหมายปฏิบัติการ (Operative Goals) เพื่ออธิบายถึงการวัดผลที่เฉพาะเจาะจงขององค์กร  ในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับความสำเร็จขององค์กร
กำหนดระยะเวลาในการปฏิบัติงานที่สั้นกว่าเป้าหมายที่เป็นทางการซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับผลการปฏิบัติงานของพนักงาน  การบำรุงรักษา  การ
ปรับปรุงเปลี่ยนแปลง
1.3  การกำหนดคุณค่าและความเชื่อร่วมกัน (Value and Belief)
ในการทำงานร่วมกันจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจกันทำงาน  โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้นำหรือผู้บริหารที่มีบทบาทที่เหนือกว่าพนักงานระดับปฏิบัติการ จึงต้องมีการกำหนดคุณค่าของตัวเองโดยความสำนึกในความรับผิดชอบ (Accountability) ความเป็นกลาง (Neutrality) การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ(Participation) การมีความโปร่งใสในการเปิดเผยข้อมูลให้กับผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง (Transparency) การมุ่งสู่ผลสัมฤทธิ์ในการทำงาน (Result Orientation)และความเป็นมืออาชีพในหน้าที่การงานที่ทำอยู่ (Alums)

2.  ส่วนความเชื่อร่วมกัน ผู้นำหรือผู้บริหารพนักงานทุกคนที่ความรู้มีความสามารถที่จะทำงานร่วมกันได้เป็นอย่างดี ไม่มีการแบ่งพรรคแบ่งพวกที่จะทำให้เกิดการแตกแยก
1.4  การกำหนดกลยุทธ์ (Strategies)
เป็นหน้าที่และบทบาทที่ผู้นำหรือผู้บริหาร นำเป้าหมายที่เป็นทางการ และเป้าหมายปฏิบัติการมาพิจารณาร่วมกัน  เพื่อให้ทราบทิศทางของการดำเนินงานขององค์กรว่า ควรจะเป็นไปในทิศทางใด ซึ่งการที่จะได้ทิศทางของการดำเนินงานที่ถูกต้องและชัดเจนนั้น ผู้นำหรือผู้บริหารจะต้องพิจารณาเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกขององค์กร ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
สภาพแวดล้อมภายในองค์กร (Internal Environment) เป็นสิ่งที่ผู้นำหรือผู้บริหารควบคุมให้เป็นไปในทิศทาง  ทางของเป้าหมายที่เป็น
ทางการ  และเป้าหมายการดำเนินการภายในองค์กร  เป็นเครื่องมือสำหรับการควบคุมเพื่อก่อให้เกิดการได้เปรียบทางการแข่งขัน มีดังนี้
ก. จุดแข็ง (Strengths)
การค้นหาจุดแข็งขององค์กรจะเป็นข้อได้เปรียบ  และมีความแตกต่างไปจากคู่แข่งขันทางธุรกิจ  ทำให้บุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องทางธุรกิจสามารถาจดจำและให้ความสนใจได้เป็นพิเศษ  เรียงลำดับความสำคัญ  ตั้งแต่จุดแข็งที่มีความสำคัญที่สุดจนถึงมีความสำคัญน้อยที่สุด  ทั้งนี้  เพื่อที่จะสามารถนำจุดแข็งเหล่านั้นมาสร้างเป็นแนวทางการกำหนดกลยุทธ์ขององค์กร  ให้มีความชัดเจนและถูกต้องมากขึ้น
ข.  จุดอ่อน (Weaknesses)
องค์กรทุกองค์กรที่จุดอ่อนด้วยกันทั้งสิ้น  การยอมรับจุดอ่อนและที่มาจุดอ่อนให้กลับกลายเป็นจุดแข็ง  ก็เป็นอีกหนทางหนึ่งของการสร้างศักยภาพของการแข่งขันทางธุรกิจ และความเจริญก้าวหน้าขององค์กร
สภาพแวดล้อมภายนอกองค์กร (External Environment) เป็นสิ่งที่ผู้นำหรือผู้บริหารไม่สามารถควบคุมได้  นอกจากที่วิสัยทัศน์กว้างไกล  มักจะคาดการณ์ล่วงหน้าถึงสภาพปัญหาหรืออุปสรรคต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นมาในอนาคต  โดยศึกษาเรื่องต่าง ๆ ดังนี้
ค.  โอกาส  (Opportunities) มีอยู่ทั่วไปในธุรกิจ ผู้นำหรือผู้บริหารจะหยิบยกมาใช้เพื่อเสริมสร้างศักยภาพขององค์กร และการได้เปรียบทางการแข่งขันพิจารณาทางโอกาสที่เหนือกว่าผู้อื่น
บทที่ 11 การบริหารจัดการธุรกิจสีเขียวและการวิเคราะห์ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และคุณภาพชีวิต
หลักการอนุรักษ์
                การที่จะให้บรรลุเป้าหมาย คือ การที่จะทำให้มีทรัพยากรธรรมชาติไว้ใช้และอยู่คู่กับโลกตลอดไปได้นั้น  มีหลักการอนุรักษ์  3 ประการ คือ
                1.  ใช้อย่างฉลาด  การจะใช้  ต้องพิจารณาให้รอบคอบถึงผลดี  ผลเสีย  ความขาดแคลนหรือความหายากในอนาคต อีกทั้งพิจารณาหลักเศรษฐศาสตร์ถึงต้นทุนและผลตอบแทนอย่างถี่ถ้วน
                2.  ประหยัด  (เก็บ  รักษา  สงวน)  ของที่หายาก  หมายถึง  ทรัพยากรใดที่มีน้อยหรือหายาก  ควรเก็บรักษาไว้มิให้สูญไป  บางครั้งถ้ามีของบางชนิดที่พอจะใช้ได้ ต้องใช้อย่างประหยัด
                3. ฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมที่ไม่ดีหรือเสื่อมโทรมให้ดีขึ้น (ซ่อมแซม ปรับปรุง)  กล่าวคือ  ทรัพยากรใดก็ตามมีสภาพล่อแหลมต่อการสูญเปล่า  หรือจะหมดไปถ้าดำเนินการไม่ถูกต้องตามหลักวิชา ควรหาทางปรับปรุงให้อยู่ในลักษณะที่ดีขึ้น



2. การจัดการสิ่งแวดล้อม
การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หมายถึง การดำเนินการต่อทรัพยากร  ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมสามารถเอื้ออำนวยให้มวลมนุษย์มีใช้ตลอดไป โดยไม่ขาดแคลนและมีปัญหาใดๆ  โดยใช้วิธี กาสงวน  อนุรักษ์และพัฒนา          
3. บทบาทการประสานความร่วมมือขององค์กร หน่วยงานภาครัฐและเอกชนในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย
- ภาครัฐบาล สำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมมลพิษ กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กรมป่าไม้
- ภาคเอกชน    NGOs  องค์กรเอกชนด้านคุ้มครองสิ่งแวดล้อมและการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
- ระดับโลก    องค์กรยูเนสโก (UNSECO) IUCN ,WWF, Green Peace

สิทธิและหน้าที่ของประชาชนและการให้ความช่วยเหลือต่อองค์กรเอกชน
                สิทธิและหน้าที่ของประชาชนในการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติตามมาตรา 6 ของพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 ได้ระบุไว้ดังนี้
1. การรับทราบข้อมูลและข่าวสารของทางราชการในเรื่องที่เกี่ยวกับการส่งเสริมและรักษาคุณภาพ   สิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ยกเว้นข้อมูลทางราชการที่ถือว่าเป็นความลับ
2. การได้รับชดเชยค่าเสียหายหรือค่าทดแทนจากรัฐ ในกรณีที่เกิดจากภัยอันตรายจากการแพร่กระจายของมลพิษจากกิจการหรือโครงการที่ราชการหรือรัฐวิสาหกิจริเริ่มสนับสนุนหรือดำเนินการ
3. การร้องเรียน กล่าวโทษผู้กระทำผิดที่ละเมิด หรือฝ่าฝืนกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมมลพิษหรือการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
4. การให้ความร่วมมือและช่วยเหลือเจ้าพนักงานในการปฏิบัติหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการส่ง เสริม  และรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม
5. การปฏิบัติตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมหรือกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมโดยเคร่งครัดประเทศไทยกับอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ
ประเทศไทยได้รับสิทธิประโยชน์เพิ่มขึ้น   จากการทำสัตยาบันในอนุสัญญาความหลากหลาย   ทางชีวภาพ ดังนี้
                1. เป็นภาพพจน์ที่ดีต่อที่รัฐบาลไทยให้คำมั่นสัญญาต่อประชาคมโลก ในการรักษาสิ่งแวดล้อม   ของประเทศไทยและของโลกไว้ให้ดีที่สุดที่จะเป็นไปได้
2. มีการควบคุมดูแลอย่างจริงจังมากขึ้นในการที่ประเทศต่างๆจะเข้ามาศึกษาวิจัยและการนำทรัพยากรชีวภาพออกไปวิจัยนอกประเทศ
3.ได้รับสิทธิประโยชน์ต่อการที่ประเทศต่างๆมีการนำทรัพยากรที่มีใประเทศออกไปใช้ และ
ประเทศนั้นจะต้องถ่ายทอดเทคโนโลยีอย่างเหมาะสมให้กับประเทศไทยด้วย
4. ร่วมกับประเทศภาคีสมาชิกซึ่งมีทรัพยากรชีวภาพที่เหมือนกัน ในการเจรจาต่อรองกับประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจในการรักษาผลประโยชน์ด้านต่าง ๆ ร่วมกัน
5.   สามารถนำทรัพยากรชีวภาพที่ขาดแคลนจากประเทศภาคีสมาชิกมาใช้ได้
6. สิทธิในการเข้าร่วมเจรจาระหว่างประเทศในการกำหนดหลักเกณฑ์ต่างๆ ในการจัดการ
ทรัพยากรชีวภาพในการประชุมของประเทศภาคีอนุสัญญาเช่นการเข้าไปร่วมกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัยทางชีวภาพ หรือ Bio Safety ฯลฯ
7. เป็นผลดีต่อการค้าส่งออกในระบบนานาชาติ เพราะปัจจุบันประเทศมหาอำนาจทางการค้า  มองด้านการอนุรักษ์ธรรมชาติของประเทศคู่ค้าเป็นสำคัญ
8. กระตุ้นให้รัฐบาลดำเนินงานด้านอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพให้กฎหมายเกี่ยวกับ   การจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างจริงจัง   เพราะรัฐบาลจะต้องรายงานสถานะภาพความหลากหลาย  ทางชีวภาพต่อที่ประชุมใหญ่ของสมัชชาภาคีทุกปี
9. จะได้รับงบประมาณพิเศษมาช่วยเหลือจากกองทุนสิ่งแวดล้อมโลกในการวิจัยการจัดการและการอนุรักษ์ทรัพยากรชีวภาพในประเทศ
10.อนุสัญญาฯนี้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ซึ่งชุมชนท้องถิ่นและชุมชน พื้นเมืองจะได้รับการยอมรับมากขึ้นที่จะร่วมมือกับภาครัฐในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและทรัพยากรชีวภาพที่มีอยู่ในท้องถิ่นนั้นรวมทั้งสิทธิภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชนต่างๆ จะได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายที่จะมีขึ้นต่อไปในอนาคต

www.voanews.com
www.thailandindustry.com
www.thannews.th.com

ไม่มีความคิดเห็น: