หน้าเว็บ

นางสาวหทัยทิพย์ พรายแก้ว รหัส 5210125401070 การจัดการทั่วไปปี 4


ศิลปะการเป็นผู้นำที่ดี
1. ต้องซาบซึ้งถึงนโยบาย อำนาจหน้าที่และกิจการงานในหน่วยงานของตน
2. ต้องมีแผนในการดำเนินงาน และหมั่นเอาใจใส่ปรับปรุงอยู่เสมอ
3. ต้องหมั่นศึกษาหาความรู้ ปรับปรุงตนเองให้ทันสมัยอยู่เสมอ
4. ต้องจัดให้มีระบบการติดต่อกับผู้ใต้บังคับบัญชาที่มีประสิทธิภาพ
5. ต้องรู้จักใช้คนให้เหมาะสมกับงาน
6. ต้องมีความซื่อสัตย์
7. ต้องติดตามงานอยู่เสมอ
8. ต้องรู้จักพิจารณาลำดับความสำคัญของงาน งานด่วนต้องรีบทำก่อน
9. ต้องเป็นผู้มีพรหมวิหารสี่
10. ต้องมีความยุติธรรม
11. ต้องเป็นคนตรงต่อเวลา
12. ต้องหมั่นอบรมผู้ใต้บังคับบัญชาให้มีความสามารถในการทำงาน
13. ต้องเป็นคนมีความคิดริเริ่มและสนับสนุนให้ผู้ใต้บังคับบัญชามีความคิดริเริ่มด้วย
14. ต้องกระตุ้นและสนับสนุนให้ผู้ใต้บังคับบัญชาแสดงความคิดเห็น และหาทางปรับปรุงงานของหน่วยงานของตนอยู่เสมอ
15. ต้องเป็นคนใจกว้างและมีใจหนักแน่นต่อสภาวการณ์ และคำพูดที่ขัดแย้ง หรือที่ไม่เป็นมิตร
16. อย่าเป็นคนหูเบา ต้องฟังความเห็นทุกด้านก่อน แล้วจึงสั่งการหรือปฏิบัติการ แต่อย่าเมินต่อข่าวลือหรือคำบอกกล่าว
17. ต้องเป็นผู้ที่กล้ายอมรับผิด
18. ต้องให้ความสนใจ และเอาใจใส่ในความเป็นอยู่ของผู้ใต้บังคับบัญชา
19. ต้องขยันในงาน อุทิศเวลาให้แก่หน้าที่การงาน
20. จงยกย่องชมเชยผู้กระทำดี และควรทำต่อหน้าผู้อื่นเมื่อมีโอกาส
21. จงดุ หรือ เล่นงาน ผู้ใต้บังคับบัญชาอย่างเงียบๆ อย่าให้ใครได้ยิน
22. ต้องแสดงให้ผู้ใต้บังคับบัญชาเห็นว่า ความก้าวหน้าของเขาขึ้นอยู่กับผลแห่งการปฏิบัติงานของเขามากกว่าสิ่งอื่นใด
23. ต้องให้เกียรติผู้ที่เสนอความคิดเห็นหรือวิธีการไว้ อย่าอ้างเอาความคิดเห็นหรือวิธีการที่ผู้อื่นเสนอว่าเป็นของตน
24. อย่าเป็นคนโลเลหรือเปลี่ยนใจบ่อยๆ
25. ต้องเป็นผู้สั่งและอำนวยการที่ดี
26. จงเป็นผู้นำ ของผู้ใต้บังคับบัญชา มิใช่ผู้ถือแส้คุมอยู่เบื้องหลัง
27. ต้องประพฤติตนให้เป็นตัวอย่างที่ดีแก่ผู้ใต้บังคับบัญชา

อ้างอิงจาก หนังสือ การบริหารทักษะ และ การปฏิบัติ โดย เอกชัย กี่สุขพันธ์ พ.ศ.2530
ทฤษฎีวิถีทางสู่เป้าหมายของภาวะผู้นำ
แบ่งออกเป็น 4 แบบคือ
1. แบบนำทาง
คือผู้นำที่วางมาตรฐานและตารางการทำงาน รวมทั้งการสร้างกฎระเบียบและข้อบังคับไว้อย่างเคร่งครัด และแจ้งให้ผู้ใต้บังคับบัญชาทราบว่าคาดหวังอะไรจากพวกเขา นิยมการสั่งการโดยไม่ให้ผู้ใต้บังคับบัญชามีส่วนร่วมแต่อย่างใด เป็นผู้นำที่ลักษณะอำนาจนิยม
2. แบบสนับสนุน
คือผู้นำที่แสดงความเอาใจใส่ต่อสถานะความเป็นอยู่และความต้องการส่วนบุคคลของผู้ใต้บังคับบัญชา ผู้นำจะมุ่งเน้นที่การพัฒนาความสัมพันธ์อันพึงพอใจระหว่างบุคคลให้แก่สมาชิกกลุ่ม รวมทั้งการดูแลผู้ใต้บังคับบัญชาอย่างเสมอภาคเท่าเทียมกัน ลักษณะผู้นำแบบนี้เหมาะกับสถานการณ์ที่ลักษณะของงานไม่น่าพึงพอใจ สร้างความคับข้องใจ และตึงเครียด
3. แบบร่วมมือ
คือผู้นำที่ปรึกษาหารือกับผู้ใต้บังคับบัญชา แสวงหาข้อเสนอแนะ และคำแนะนำในการตัดสินใจ แต่การตัดสินใจยังคงเป็นของผู้นำ
4. แบบมุ่งความสำเร็จของงาน
คือผู้นำที่ตั้งเป้าหมายอันน่าท้าทายและส่งเสริมให้ผู้ใต้บังคับบัญชาแสดงความรับผิดชอบต่อผลสำเร็จของเป้าหมายนั้นๆ มุ่งเน้นที่การปรับปรุงการทำงาน สร้างความคาดหมายไว้สูงต่อความสามารถของผู้ใต้บังคับบัญชาที่จะไปสู่มาตรฐานอันยอดเยี่ยมที่ได้ตั้งไว้
ทฤษฎีนี้เชื่อว่าแท้จริงแล้ว สถานการณ์ที่แตกต่างกันย่อมต้องการความเป็นผู้นำที่แตกต่างกันไปด้วย ลูธานส์ กล่าวว่า แบบของผู้นำชนิดต่างๆ สามารถที่จะใช้ได้และใช้ได้จริง โดยหัวหน้าคนเดียวกันในสถานการณ์ที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับองค์ประกอบสองประสารที่มาบรรจบกันคือลักษณะหรือคุณสมบัติของผู้ใต้บังคับบัญชาและคุณสมบัติของสิ่งแวดล้อมของงานที่ผู้ใต้บังคับบัญชาเผชิญอยู่
แบบพฤติกรรมของภาวะผู้นำทั้ง 4 แบบดังกล่าวข้างต้น ย่อมมีผลโดยตรงต่อการปฏิบัติงานของผู้ใต้บังคับบัญชา ตลอดจนมีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจในการทำงานของสมาชิกในหน่วยงานนั้นๆ  ผลงานวิจัยส่วนใหญ่ยืนยันไปในทิศทางเดียวกันว่ารูปแบบการบังคับบัญชาที่ให้ความสนใจคนงานมากกับรูปแบบการบังคับบัญชาที่ให้โอกาสผู้ใต้บังคับบัญชาในการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ จะทำให้คนงานมีความรู้สึกพอใจสูงกว่าการบังคับบัญชาแบบเผด็จการ


อ้างอิง หนังสือชื่อ หลักการจัดการ หลักการบริหาร โดย ตุลา มหาพสุธานนท์ พ.ศ.2545
แนวคิดของการพัฒนาองค์การในแง่การเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมขององค์การ
ซึ่งครอบคลุมถึงปฏิสัมพันธ์ของพฤติกรรมต่างๆในองค์การ บรรทัดฐาน ความรู้สึก ความเชื่อ ทัศนคติ ค่านิยมและเทคโนโลยี (เทคโนโลยีในที่นี้หมายถึง วิธีการ กระบวนการและเครื่องมือที่ใช้ในองค์การ ซึ่งโดยนัยแห่งการพัฒนาองค์การนั้น การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีมักเป็นผลสืบเนื่องมาจากการพัฒนาองค์การ การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีไม่ใช่เป็นสาเหตุที่ต้องการพัฒนาองค์การ) 
การพัฒนาองค์การเพื่อการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมขององค์การเป็นความพยายามที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งระบบ ซึ่งมีความหมายรวมถึงระบบขององค์การที่เป็นทางการ (Formal System) และระบบขององค์การที่ไม่เป็นทางการ (Informal System) 
ระบบขององค์การที่ไม่เป็นทางการ (Informal System ) มีองค์ประกอบ เช่น การรับรู้ (Perceptions) ทัศนคติ (Attitudes) ความรู้สึก (Feelings) อันได้แก่ ความโกรธ ความกลัว ความรักใคร่ชอบพอและความสิ้นหวัง เป็นต้น ค่านิยม (Values) ความเชื่อ (Beliefs) การปฏิสัมพันธ์อย่างไม่เป็นทางการ (Informal Interactions) และบรรทัดฐานของกลุ่ม (Group Norms) เหล่านี้เป็นต้น ส่วนลักษณะของระบบที่เป็นทางการขององค์การ (Formal System) นั้นหมายถึง ข้อกำหนดที่มีการประกาศออกมาอย่างเป็นทางการและเปิดเผย เช่น วัตถุประสงค์ขององค์การ (Organizational Goals) โครงสร้างขององค์การ (Organizational Structure) นโยบายและแนวทางปฏิบัติ (Organizational Policies and Procedures) เทคโนโลยี (Technology) ผลผลิต (Products) และทรัพยากรด้านการเงิน (Financial Resources) ขององค์การ เหล่านี้เป็นต้น
เวนเดลล์ แอล เฟรนซ์ (Wendell L. French) และ ซีซิล เอช เบลล์ (Cecil H. Bell) ได้อธิบายเปรียบเทียบระบบขององค์การที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการขององค์การว่าเปรียบเสมือนภูเขาน้ำแข็ง ส่วนของภูเขาน้ำแข็งที่มักจมอยู่ใต้ผิวน้ำ คือระบบขององค์การที่ไม่เป็นทางการ ซึ่งผู้บริหารมักจะไม่ได้คำนึงถึงเท่ากับระบบขององค์การที่เป็นทางการ เฟรนซ์และเบลล์เปรียบเทียบระบบขององค์การที่เป็นทางการเสมือนส่วนบนของภูเขาที่ลอยขึ้นอย่างเปิดเผยเหนือน้ำ นอกจากนี้ เฟรนซ์ และ เบลล์ ให้ข้อสังเกตว่าเมื่อการพัฒนาองค์การได้เป็นที่ยอมรับอย่างเป็นทางการจากระบบขององค์การที่เป็นทางการเรียบร้อยแล้ว ระบบขององค์การที่ไม่เป็นทางการกลับเป็นจุดเริ่มต้นที่การพัฒนาองค์การ ต้องให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะองค์ประกอบด้านทัศนคติ ความรู้สึก ความเชื่อ และค่านิยมขององค์การที่ไม่เป็นทางการบทบาทหน้าที่ของการบริหารทรัพยากรมนุษย์
บทบาทหน้าที่ของการบริหารทรัพยากรมนุษย์ขององค์การขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ กระทำเพื่อให้องค์การมีการใช้ทรัพยากรมนุษย์ให้เกิดประโยชน์สูงสุด บรรลุเป้าหมายขององค์การ ดังนั้น สมาคมการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ของประเทศสหรัฐอเมริกาได้กำหนดไว้ 6 บทบาทหน้าที่หลักดังต่อไปนี้
1. การวางแผน การสรรหา และการคัดเลือกทรัพยากรมนุษย์ ดำเนินกิจกรรมดังนี้
1.1 การวิเคราะห์งานเพื่อสร้างความต้องการเฉพาะของงานแต่ละงาน
1.2 การประมาณการความต้องการทรัพยากรมนุษย์ขององค์การเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย
1.3 การพัฒนาและจัดทำแผนปฏิบัติตามความต้องการที่กำหนดไว้
1.4 การสรรหาทรัพยากรมนุษย์ตามความต้องการขององค์การ
1.5 การคัดเลือกและจัดจ้างทรัพยากรมนุษย์เพื่อบรรลุในตำแหน่งงานที่ว่าง
2. การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ดำเนินกิจกรรมดังนี้
2.1 การปฐมนิเทศและฝึกอบรมพนักงาน
2.2 การจัดการด้านการออกแบบการปฏิบัติงานตามแผน
2.3 การจัดตั้งทีมงานที่มีประสิทธิภาพ
2.4 การออกแบบระบบเพื่อการประเมินผลการปฏิบัติงาน
2.5 การประเมินพนักงานเพื่อการพัฒนาแผนอาชีพ
3. การจ่ายค่าตอบแทนและผลประโยชน์ ดำเนินกิจกรรมดังนี้
3.1 การออกแบบและดำเนินการบริหาร
3.2 การบริหารค่าตอบแทนและผลประโยชน์ที่เป็นธรรม
4. พนักงานและแรงงานสัมพันธ์ ดำเนินกิจกรรมดังนี้
4.1 รักษาความสัมพันธ์อันดีระหว่างองค์การและสหภาพแรงงาน
4.2 ออกแบบแนวปฏิบัติงานที่ถ่วงดุลความสัมพันธ์อันดี
5. ความปลอดภัยและสุขภาพอนามัย ดำเนินกิจกรรมดังนี้
5.1 ออกแบบและดำเนินงานโปรแกรม
5.2 แก้ปัญหาที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของพนักงาน
6. การวิจัยทรัพยากรมนุษย์ ดำเนินกิจกรรมดังนี้
6.1 จัดหาข้อมูลและสารสนเทศทรัพยากรมนุษย์
6.2 ออกแบบระบบการสื่อสารข้อมูลการดำเนินงานของพนักงาน  
อ้างอิง วิชัย โถสุวรรณจินดา. (2546). การบริหารทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพฯ
นางสาวหทัยทิพย์  พรายแก้ว การจัดการทั่วไปปี 4 รหัส 5210125401070
การบริหารการเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาอย่างยั่งยืน
คอตเลอร์ ให้คำแนะนำ 8 ประการ ในการบริหารความเปลี่ยนแปลง ไว้ดังนี้
1. สร้างความรู้สึกจำเป็นเร่งด่วนในการเปลี่ยนแปลง วิกฤต – โอกาส
2. สร้างทีมงาน แนวร่วมที่ทรงพลัง โน้มนำการเปลี่ยนแปลง
3. สร้างวิสัยทัศน์ ชี้นำความพยายามในการปรับเปลี่ยน
4. สื่อสาร สร้างความเข้าใจ ยึดมั่นในวิสัยทัศน์ และกลยุทธ์ผลักดัน
5. เพิ่มอำนาจให้ผู้อื่นในการตัดสินใจ เพื่อให้วิสัยทัศน์เป็นจริง
6. วางแผนอย่างเป็นระบบ เพื่อมุ่งสร้างความสำเร็จในระยะเวลาอันสั้น
7. รวบรวมผลสำเร็จของการปรับปรุง ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงมากยิ่งขึ้น
8. ปลูกฝังแนวทางใหม่ๆ ของความสำเร็จ เข้าสู่ระบบการทำงานขององค์กร
อ้างอิง พันศักดิ์ ผู้มีสัตย์. (2553). การบริหารจัดการยุคใหม่. กรุงเทพฯ : บริษัท ก.พล (1996) จำกัด


 ในภาวการณ์แข่งขันปัจจุบันธุรกิจจะต้องแข่งขันในหลายระดับ ทั้งแข่งขันกับคู่แข่งภายในประเทศและแข่งขันกับคู่แข่งจากต่างประเทศ ทั้งคู่แข่งขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ ซึ่งภาวการณ์แข่งขันดังนี้เอง ธุรกิจที่มีความสามารถและมีโอกาสในการขยายตลาดออกสู่ต่างประเทศควรจะเริ่ม พิจารณาช่องทางและโอกาสในการส่งสินค้า ปัจจัยหลักที่มีอิทธิพลให้ขยายกิจการสู่ต่างประเทศมี 5 ประการดังนี้
          1. บริษัทคู่แข่งซึ่งเป็นธุรกิจข้ามชาตินำเสนอผลิตภัณฑ์ที่ดีกว่า หรือมีราคาที่ถูกกว่าเข้าสู่ตลาดท้องถิ่น และธุรกิจสูญเสียส่วนแบ่งทางการตลาดจากตลาดภายในประเทศ ทำให้ธุรกิจจำเป็นจะต้องหาตลาดในประเทศอื่น ๆ ทดแทนยอดขายที่สูญเสียไปจากการแข่งขันภายในประเทศ
          2. ธุรกิจค้นพบว่าตลาดในบางประเทศสามารถทำกำไรให้กับธุรกิจได้มากกว่า ด้วยการกำหนดราคาขายที่สูงกว่าตลาดภายในประเทศ ดังจะเห็นได้ชัดจากธุรกิจในอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์  และเครื่องประดับ  
          3. ธุรกิจที่มีความเกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิต มีความจำเป็นที่จะต้องขยายฐานลูกค้าเพื่อให้ปริมาณการผลิตเข้าสู่จุดคุ้มค่า ของการผลิต (economy of scale) ซึ่งขนาดตลาดภายในประเทศไม่เพียงพอ
          4. ธุรกิจต้องการลดภาวะพึ่งพิงจากตลาดภายในประเทศ โดยเฉพาะจากประเทศที่มีความมั่นคงทางเศรษฐกิจ และการเมืองต่ำไปสู่ประเทศที่มีความมั่นคงทางเศรษฐกิจและการเมืองสูงกว่า เพื่อเป็นการลดความเสี่ยงของธุรกิจ 
          5. บ่อยครั้งที่กิจการจะต้องขยายธุรกิจไปสู่ต่างประเทศ เนื่องจากลูกค้าหลักของธุรกิจขยายกิจการไปสู่ต่างประเทศและต้องการการบริการ ในประเทศนั้น ๆ ด้วย

อ้างอิงจาก อาจารย์ธีรศักดิ์  วงศ์ปิยะ. ค้นเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2555. จากเว็บไซต์ http://www.idis.ru.ac.th/report/index.php?topic=542.0
   
ตัวอย่างบริษัทที่เตรียมธุรกิจเพื่อเข้าสู่ตลาดโลก...
          บริษัท ฮอนด้า มอเตอร์ จำกัด ประเทศญี่ปุ่น ประกาศว่าฮอนด้าจะเดินหน้านำเสนอคุณค่าใหม่ๆ สู่สังคมโลก และให้ความสำคัญกับความพึงพอใจของลูกค้าเป็นหลัก โดยจะมุ่งพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อสิ่งแวดล้อม ส่งมอบผลิตภัณฑ์ที่ดี มี Co2 ต่ำ ในราคาย่อมเยาให้กับลูกค้าอย่างรวดเร็ว ฮอนด้าได้กำหนดเป็นกลยุทธ์การดำเนินงานของบริษัทไว้ 3 ประการด้วยกันคือ มุ่งพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อสิ่งแวดล้อม ยกระดับความเข้มแข็งด้านการผลิต และเสริมสร้างการเติบโตทางธุรกิจในตลาดใหม่ๆ โดยภูมิภาคเอเชียยังคงมีบทบาทในการเป็นฐานการผลิตและส่งออกที่สำคัญของ ฮอนด้า

          นายทาคาโนบุ อิโต้ ประธานกรรมการบริหารและซีอีโอ บริษัท ฮอนด้า มอเตอร์ จำกัด ได้กล่าวในงานแถลงข่าวกลางปีที่สำนักงานวาโกะ ประเทศญี่ปุ่นว่า ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาตลาดรถนั่งขนาดเล็กทั่วโลกมีอัตราการขยายตัวเพิ่มมากขึ้น เนื่องมาจากความตระหนักด้านสิ่งแวดล้อมและวิกฤตการณ์การเงินโลก ตลอดจนโครงสร้างของเศรษฐกิจโลกที่เปลี่ยนแปลงไป ฮอนด้าต้องตอบสนองอย่างรวดเร็วต่อการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว เพื่อให้องค์กรสามารถเติบโตและแข่งขันได้


          “ในสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่มีความเข้มงวดมากขึ้น ฮอนด้าจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องย้อนกลับไปที่หลักการดำเนินงานพื้นฐานของ บริษัท ที่ให้ความสำคัญกับมุมมองของลูกค้า เราได้กำหนดทิศทางการดำเนินงานในอีก 10 ปีข้างหน้าไว้ว่า เราจะส่งมอบผลิตภัณฑ์ที่ดี มี Co2 ต่ำในราคาที่ย่อมเยาให้กับลูกค้าอย่างรวดเร็ว ผลิตภัณฑ์ที่ดีนั้นหมายถึงผลิตภัณฑ์ซึ่งมีความดึงดูดใจที่ลูกค้าต้องการ และสร้างสรรค์ขึ้นจากเทคโนโลยีที่ฮอนด้าพัฒนาขึ้นเอง ผลิตภัณฑ์ที่ดีนั้นจะต้องส่งมอบได้เร็ว และต้องมีราคาที่ย่อมเยาซึ่งจะทำให้ลูกค้ามีความสุขที่ได้ซื้อผลิตภัณฑ์นั้น


            คำว่า ‘มี CO2 ต่ำ’ ได้สะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของฮอนด้า ที่ต้องการจัดการกับปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจัง ”


            แล้วกล่าวเสริมอีกว่า ฮอนด้าได้ให้ความสำคัญในการลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมมาโดยตลอด เห็นได้จากการแนะนำผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมออกสู่ตลาดอย่างต่อ เนื่อง เช่น รถไฮบริดรุ่นอินไซท์ และซีอาร์-ซี จากนี้ต่อไป


           ฮอนด้าจะมุ่งพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้นอีก โดยจะเพิ่มจำนวนรุ่นรถที่ใช้ระบบไฮบริดให้มากขึ้น เริ่มจากฟิต ไฮบริด ซึ่งจะจำหน่ายในประเทศญี่ปุ่นช่วงฤดูใบไม้ร่วงปีนี้ และจะพัฒนาระบบไฮบริดในรถขนาดกลางและขนาดใหญ่ รวมถึงรถที่ใช้ระบบไฮบริดแบบปลั๊ก-อินด้วย ทั้งนี้เพื่อให้สามารถตอบสนองความต้องการที่หลากหลายของลูกค้าให้ได้มากที่ สุด นอกจากนี้ฮอนด้าจะเดินหน้าพัฒนารถไฟฟ้าที่ใช้แบตเตอรี่ โดยมีเป้าหมายที่จะนำมาใช้จริงให้เร็วที่สุด โดยจะเริ่มจำหน่ายในประเทศญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกาในปี 2012 อย่างไรก็ตาม ฮอนด้ายังให้ความสำคัญกับการพัฒนารถที่ใช้เชื้อเพลิงเบนซินโดยในปี 2012 ฮอนด้าจะพัฒนาเครื่องยนต์และระบบเกียร์เพื่อให้มีอัตราการประหยัดน้ำมันที่ เพิ่มมากขึ้น


            นอกจากนี้ฮอนด้ามีแผนจะเปิดให้เช่าใช้ จักรยานยนต์ไฟฟ้ารุ่น อีวี นีโอ แก่องค์กรธุรกิจในประเทศญี่ปุ่นในเดือนธันวาคมปีนี้ และจะแนะนำจักรยานยนต์ไฟฟ้ารุ่นใหม่ในประเทศจีนในปีหน้า ฮอนด้าจะทำตลาดจักรยานยนต์ไฟฟ้าทั้งในประเทศที่พัฒนาแล้ว และประเทศที่กำลังเติบโตทางเศรษฐกิจ โดยจะพัฒนาสมรรถนะของตัวรถให้ดียิ่งขึ้น และทำราคาให้สามารถแข่งขันได้เพื่อที่จะก้าวสู่การเป็นผู้นำในตลาด จักรยานยนต์ไฟฟ้า เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายการสร้างความพึงพอใจสูงสุดแก่ลูกค้า ด้วยการแนะนำผลิตภัณฑ์ที่มี CO2 ต่ำออกสู่ตลาดอย่างรวดเร็ว


            ฮอนด้าจะยกระดับความเข้มแข็งด้านการผลิต โดยสร้างองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีการผลิต โรงงานต้นแบบในประเทศญี่ปุ่นจะมุ่งเน้นเทคโนโลยีในการผลิตรถยนต์ขนาดเล็กและ รถยนต์เพื่อสิ่งแวดล้อม โดยจะขยายองค์ความรู้และเทคโนโลยีดังกล่าวออกไปสู่โรงงานฮอนด้าในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ภายใต้นโยบาย “ผลิตในที่ที่มีความต้องการ” ฮอนด้าจะเสริมสร้างเครือข่ายการผลิตระหว่างโรงงาน และระหว่างประเทศเพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นด้านการผลิต ด้วยวิธีนี้ ฮอนด้าจะสามารถ สร้างระบบการผลิตที่แข็งแกร่ง และทำให้ฮอนด้ามีศักยภาพในการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงที่รุนแรงในตลาดได้ดี ยิ่งขึ้น


           ด้านการเสริมสร้างการเติบโตทางธุรกิจในตลาดใหม่ๆ นั้น ในประเทศที่กำลังเติบโตทางเศรษฐกิจ จักรยานยนต์นับเป็นส่วนหนึ่งในการดำเนินชีวิตประจำวันของผู้คน ประชากรจำนวนมากและตลาดขนาดใหญ่ที่มีศักยภาพในประเทศเหล่านั้น กำลังจะกลายมาเป็นกลุ่มลูกค้าหลักของฮอนด้า โดยมีคู่แข่งสำคัญได้แก่ ผู้ผลิตจากจีน และอินเดีย หากฮอนด้าต้องการที่จะรักษาความเป็นผู้นำตลาด ฮอนด้าต้องไม่เพียงแค่รักษาคุณภาพที่ดีของผลิตภัณฑ์ไว้เท่านั้น แต่ต้องทำราคาให้สามารถแข่งขันได้ในตลาดนั้นด้วย และเพื่อสร้างความดึงดูดใจในตัวผลิตภัณฑ์ ฮอนด้าจะเพิ่มความสามารถในการแข่งขันด้านราคา โดยจะพยายามใช้ชิ้นส่วนและวัตถุดิบภายในประเทศที่ผลิตให้มากที่สุด ตามที่เคยทำในประเทศไทยมากว่า 40 ปี ปัจจุบันโรงงานผลิตรถจักรยานยนต์ในประเทศไทยได้เติบโตขึ้นเป็นฐานการผลิตรถ จักรยานยนต์ที่จำหน่ายออกไป


          ทั่วโลก (Global Model) เช่น สกู๊ตเตอร์รุ่น PCX ที่ผลิตและเปิดตัวครั้งแรกในประเทศไทยเมื่อปีที่ผ่านมา และส่งออกไปยังประเทศต่างๆทั่วโลก โดยในปลายปีนี้ฮอนด้ามีแผนจะเปิดตัวจักรยานยนต์สปอร์ตรุ่นใหม่ในประเทศไทย และจะส่งออกไปจำหน่ายทั่วโลกเช่นกัน


         ภูมิภาคเอเชียยังเป็นฐานการผลิตที่สำคัญของฮอนด้า โดยในปีหน้าฮอนด้าจะเปิดโรงงานแห่งใหม่ในประเทศอินโดนีเซีย เพื่อขยายกำลังการผลิตจักรยานยนต์ ซึ่งภายหลังจากการเริ่มเดินสายพานการผลิตในช่วงปลายปีหน้า กำลังการผลิตจักรยานยนต์ฮอนด้าในภูมิภาคเอเชีย(ไม่รวมญี่ปุ่น) จะเพิ่มขึ้นจากปัจุบัน 16 ล้านคันต่อปีเป็น 18 ล้านคันต่อปี จากจำนวนการผลิตที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้ฮอนด้าสามารถรวมทุกขั้นตอนมาไว้ในภูมิภาคเดียวกัน ตั้งแต่การวิจัยและพัฒนา การจัดซื้อชิ้นส่วน และการผลิต ซึ่งจะทำให้ฮอนด้ามีศักยภาพในการแข่งขันที่สูงขึ้น และสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น


          สำหรับธุรกิจรถยนต์ ฮอนด้าจะพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันในประเทศที่กำลังเติบโตทางเศรษฐกิจ ซึ่งตลาดรถนั่งขนาดเล็กกำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยจะเร่งให้เกิดการพัฒนาฐานการผลิตรถในภูมิภาคโดยใช้แม่พิมพ์ วัตถุดิบ ตลอดจนชิ้นส่วนที่ผลิตขึ้นเองภายในภูมิภาค ในปีหน้านี้ฮอนด้าจะเปิดตัวอีโคคาร์ในประเทศไทย ซึ่งเป็นรถที่มีอัตราการประหยัดน้ำมันเป็นเลิศ โดยจะผลิตและส่งออกไปจำหน่ายยังกลุ่มประเทศอาเซียน นอกจากนั้นยังมีแผนที่จะเปิดตัวรถขนาดเล็กในประเทศอินเดีย ซึ่งจะใช้โครงสร้างตัวถังเดียวกันกับอีโคคาร์อีกด้วย


อ้างอิงจากเว็บไซต์ http://interbrand-honda.blogspot.com/2010/08/blog-post.html

ไม่มีความคิดเห็น: