น.ส.อลิตา ธนาพีรัชต์ชัย รหัส 062 เอกการจัดการทั่วไป
บทที่ 1 การวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นในการจัดการ การประเมินสภาพแวดล้อมภายนอกและภายใน
เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมต่างๆ ทั้ง “ภายใน” และ “ภายนอก” บริษัท ซึ่งจะช่วยให้ผู้ลงทุน
ทราบถึงจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส หรืออุปสรรคที่อาจเป็นปัญหาสำคัญในการดำเนินงานของบริษัท
SWOT มาจากตัวย่อภาษาอังกฤษ 4 ตัว ได้แก่…
• S - Strengths หมายถึง จุดแข็งหรือข้อได้เปรียบที่เกิดจาก
สภาพแวดล้อมภายในบริษัท ซึ่งบริษัทควรดำรงไว้เพื่อเสริมสร้าง
ความเข็มแข็งขององค์กร เช่น ทักษะในการทำธุรกิจ พนักงานที่มี
ความสามารถ ฐานะการเงินที่มั่นคง ตราสินค้าเป็นที่รู้จัก เป็นผู้นำด้านราคาและต้นทุน เทคโนโลยีทันสมัยล้ำหน้า ฯลฯ
• W - Weaknesses หมายถึง จุดอ่อนหรือข้อเสียเปรียบที่เกิดจากสภาพแวดล้อมภายในบริษัท ซึ่งบริษัทจะต้องหาวิธีในการแก้ปัญหานั้น เช่น พนักงานขาดความรู้ความสามารถ ฐานะการเงินไม่มั่นคง สินค้าล้าสมัย อุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ล้าสมัย ขาดความชำนาญด้าน
การตลาด ฯลฯ
• O - Opportunities หมายถึง โอกาสที่เกิดจากสภาพแวดล้อม
ภายนอกบริษัทเอื้อประโยชน์หรือส่งเสริมการดำเนินงานของบริษัท
ซึ่งบริษัทสามารถฉกฉวยข้อดีเหล่านี้มาเสริมสร้างให้องค์กรเข็มแข็งขึ้นได้ เช่น การเจริญเติบโตในตลาดใหม่ การขยายตลาดทั่วโลก การพัฒนาสินค้าและบริการใหม่ ความต้องการสินค้าใหม่ของลูกค้า การเปลี่ยนแปลงของประชากร การได้เปรียบเชิงเศรษฐกิจ กฎหมายที่มีผลกระทบต่อ
การแข่งขัน ฯลฯ
• T - Threats หมายถึง อุปสรรคหรือข้อจำกัดที่เกิดจาก
สภาพแวดล้อมภายนอก ซึ่งบริษัทไม่สามารถควบคุมได้ แต่จำเป็นต้องปรับกลยุทธ์ให้สอดคล้องและพยายามขจัดอุปสรรคต่างๆ ที่เกิดขึ้น
เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายแก่องค์กร ทั้งทางตรงและทางอ้อม เช่น
ผู้เข้ามาใหม่ในตลาด ต้นทุนวัตถุดิบสูง การขาดแคลนวัตถุดิบ
การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี ปัญหาเศรษฐกิจ อุปสรรคจากกฎหมาย สินค้าทดแทน รสนิยมและความต้องการของลูกค้า ฯลฯ
ตัวอย่างการวิเคราะห์ SWOT ของบริษัท XXX ซึ่งดำเนินธุรกิจน้ำพริกสำเร็จรูปพร้อมรับประทาน
• ผู้บริหารมีความรู้และสูตรในการผลิตน้ำพริก
เป็นอย่างดี
• มีช่องทางการจัดจำหน่ายที่แน่นอน โดยทำสัญญาส่งเป็นรายเดือนกับตัวแทนจำหน่าย
• ได้รับเครื่องหมายรับรองคุณภาพสินค้าจาก อ.ย. ตั้งแต่ปีแรกที่เริ่มดำเนินการ
• อยู่ใกล้แหล่งวัตถุดิบ จึงมีต้นทุนการขนส่งต่ำ และไม่จำเป็นต้องสำรองวัตถุดิบไว้มาก
• ต้นทุนการผลิตต่ำ สามารถตั้งราคาได้ถูกกว่าคู่แข่ง
• เงินลงทุนเริ่มแรกเป็นเงินลงทุนของผู้ก่อตั้ง ทำให้ไม่มีปัญหาภาระหนี้สิน • ตราสินค้ายังไม่เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคมากนัก
เนื่องจากยังไม่มีการโฆษณาประชาสัมพันธ์ให้
ผู้บริโภครับรู้เท่าที่ควร
• พนักงานส่วนใหญ่เป็นพนักงานระดับแรงงาน ทำให้การพัฒนาทักษะฝีมือต้องใช้เวลามาก
• สถานที่ผลิตสินค้าอยู่ในเขตที่พักอาศัยของชุมชน เกิดข้อจำกัดในด้านการขยายกำลังการผลิต
• น้ำพริกเป็นอาหารที่อยู่คู่กับคนไทยมานาน และ
ได้รับความนิยมจากผู้บริโภคมาโดยตลอด ทำให้สินค้าสามารถขายได้อย่างสม่ำเสมอ
• รัฐบาลมีนโยบายในการที่จะส่งเสริมธุรกิจ
ขนาดกลางและขนาดเล็กอย่างจริงจัง ทำให้เป็นโอกาสในการขยายการผลิต • ลงทุนไม่มาก ทำให้มีคู่แข่งจำนวนมาก
• สินค้าเลียนแบบได้ง่าย
• ต้องพึ่งพาวัตถุดิบตามธรรมชาติเป็นหลัก จึงมี
ความเสี่ยงที่ผลผลิตจะขาดตลาด หรือความผันผวนของราคาวัตถุดิบ
ข้อสรุปจาก SWOT จะมีประโยชน์สำหรับผู้บริหารบริษัทในการวางแผนกลยุทธ์การตลาด และช่วยให้บริษัทสามารถแก้ปัญหา ฟันฝ่าอุปสรรค ตลอดจนสามารถฉวยโอกาสทางการตลาดเอาไว้ได้ ซึ่งผู้ลงทุนก็สามารถนำ
หลักการนี้มาประยุกต์ใช้ประกอบการพิจารณาตัดสินใจลงทุนในบริษัทนั้นๆ ได้เช่นกัน
บทที่ 2 แนวคิด ทฤษฎีทางการบริหารจัดการที่สำคัญ ตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบัน
ยุคที่ 3 ยุคการจัดการสมัยปัจจุบัน (Modern) (ค.ศ. 1950-ปัจจุบัน)
1. แนวความคิดการจัดการโดยใช้คณิตศาสตร์เพื่อช่วยในการตัดสินใจเป็นแนวความคิดที่ใช้ตัวเลขเป็นเครื่องมือในการบริหารและการตัดสินใจ โดยมีการพยายามปรับข้อมูลต่าง ๆ ให้เป็นตัวเลข และนำตัวเลขเหล่านั้นผ่านกระบวนการคำนวณทางคณิตศาสตร์และตัวเลขที่เป็นผลลัพธ์จะนำไปสู่การวิเคราะห็ ตีความ และแปรความหมาย และจะนำไปใช้ประกอบในการตัดสินใจของผู้บริหาร อย่างไรก็ตามการใช้ตัวเลขหรือสูตรคำนวณต่าง ๆ ที่เป็นกระบวนการทางคณิตศาสตร์นั้น มีข้อจำกัดและมีข้อยกเว้นมากซึ่งข้อจำกันที่เป็นข้อยกเว้นเหล่านี้แท้จริงแล้วเป็นสิ่งที่เกี่ยวข้อง และมีอิทธิพลที่สำคัญในการที่จะต้องพิจารณาประกอบในการบริหารงานและการตัดสินใจ แต่อย่างไรก็ตาม ตัวเลขที่ผ่านการประมวลทางคณิตศาสตร์ออกมาเป็นผลลัพธ์จะใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพเพียงใดนั้น ก็ขึ้นอยู่กับความสามารถของผู้วิเคราะห์ที่จะต้องคำนึงถึงปัจจัยแวดล้อมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องและจะต้องนำมาพิจารณาประกอบกับผลลัพธที่เป็นตัวเบบอย่างสมเหตุสมผล
2. แนวความคิดการจัดการเชิงระบบ
แนวความคิดการจัดการเชิงระบบ โดย Norbert Wiener (ค.ศ. 1958) เป็นการนำเอาแนวคิดเกี่ยวกับระบบ (system) มาประยุกต์ใช้ ซึ่งการที่จะเข้าใจแนวความคิดนี้ได้ดีนั้นจะต้องมีความเข้าใจเกี่ยวกับระบบในอันดับแรกก่อน
ระบบ (system) คือ ส่วนต่าง ๆ จำนวนหนึ่ง ซึ่งสัมพันธ์และขึ้นอยู่ต่อกันเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันเพื่อกระทำงานสิ่งบางอย่างให้สำเร็จผลตามต้องการ
ลักษณะสำคัญของระบบ
1. ในระบบใหญ่ (system) จะประกอบด้วยระบบย่อย (sub system)
2. ทั้งระบบจะมีการเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลาในลักษณะเป็น dynamic
3. การเคลื่อนไหวของระบบย่อย (sub system) จะมีผลกระทบซึ่งกันและกันอย่างต่อเนื่องเป็นลูกโซ่ (chain of effect)
4. การเปลี่ยนแปลงของระบบหนึ่งจะส่งผลกระทบต่อระบบอื่น
ชนิดของระบบ
ระบบแบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ
1. ระบบปิด (closed system) เป็นระบบที่ไม่เกี่ยวพันกับสิ่งแวดล้อมภายนอก และสิ่งแวดล้อมภายนอกจะไม่มีอิทธิพลต่อกลไกของระบบ
2. ระบบเปิด (opened system) เป็นระบบที่ต้องคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม เนื่องจากสิ่งแวดล้อมภายนอกต่าง ๆ นั้นมีอิทธิพลต่อกลไกของระบบ
องค์ประกอบสำคัญของระบบ
ดังนั้น แนวความคิดการจัดการเชิงระบบ (system approach) เป็นแนวความคิดที่มององค์การและกลไกภายในองค์การว่าลักษณะเหมือนกับระบบ กล่าวคือถ้าจะพิจารณาองค์ประกอบส่วนนำเข้า (input) ขององค์การก็ได้แก่ ปัจจัยทางการจัดการต่าง ๆ เช่น วัตถุดิบ แรงงาน เครื่องจักร โดยส่วนนำเข้าเหล่านี้จะนำไปผ่านกระบวนการ (process) คือผ่านกระบวนการและกิจกรรมทางการบริหาร และในส่วนของผลลัพธ์ (output) ก็คือ สินค้า หรือบริหาร และนำไปสู่การบรรลุวัตถุประสงค์ก็คือ กำไร ผลตอบแทนที่น่าพอใจของผู้ถือหุ้นและความอยู่รอเจริญเติบโตขององค์การ
การมองโดยภาพรวมขององค์การ อาจกล่าวได้ว่าองค์การเป็นระบบเปิด เนื่องมาจาก การทำงานโดยผ่านกระบวนการต่าง ๆ เพื่อให้ออกมาเป็นความสำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพตามเป้าหมายนั้นจะต้องขึ้นอยู่กับปัจจัยแวดล้อมต่าง ๆ ได้แก่ กฎหมาย เศรษฐกิจ การเมือง ลูกค้า คู่แข่งขัน เทคโนโลยี ฯลฯ ซึ่งความสำเร็จขององค์การจะมีประสิทธภาพมากน้อยเพียงใดก็ขึ้นอยู่กับอิทธิพลของปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้ นอกจากนี้ก็มีระบบการควบคุม ประเมินผลงานเพื่อเป็นข้อมูลย้อนกลับหรือ feedback เพื่อนำไปสู่การแก้ไขและพัฒนาต่อไป
กลไกการจัดการเชิงระบบ ก็เป็นการมององค์การในลักษณะ กลไกของระบบ กล่าวคือ
- องค์การเปรียบเสมือนระบบใหญ่ (system) ซึ่งประกอบด้วยระบบย่อยต่าง ๆ (sub system) เช่น ระบบตลาด ระบบผลิต ระบบการเงิน ระบบบัญชี ระบบการบริหารบุคคล เป็นต้น
- องค์การจะมีการเคลื่อนไหวตลอดเวลา ก็คือ มีการทำงานตลอดจนการปฏิบัติกิจกรรมทางการบริหาร เพื่อให้ประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย
- ในระบบย่อย หรือ หน่วยงานต่าง ๆ ก็จะมีการทำงานตามหน้าที่ ซึ่งจะต้องมีการติดต่อประสานงานระหว่างกันอยู่ตลอดเวลา โดยอาศัยระบบการจัดการการติดต่อสื่อสารภายในที่มีประสิทธิภาพ
- เมื่อหน่วยงานใด หรือส่วนงานใดเกิดการเปลี่ยนแปลงก็จะส่งผลกระทบไปยังหน่วยงานอื่น ๆ ถึงแม้แต่ละหน่วยงานจะมีเป้าหมายเป็นของตนเองตามลักษณะงาน แต่ในภาพรวมแล้วเป้าหมายเหล่านั้นจะต้องมีทิศทางเดียวกันเพื่อมุ่งสู่เป้าหมายโดยรวมขององค์การ
บทที่ 3 การค้นหาข้อมูลโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
เทคโนโลยีสารสนเทศที่นำมาใช้สำหรับการเรียนการสอน เป็นการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่หลายอย่าง สอนด้วยสื่ออุปกรณ์ที่ทันสมัย ห้องเรียนสมัยใหม่ มีอุปกรณ์วิดีโอโปรเจคเตอร์ (Video Projector)มีเครื่องคอมพิวเตอร์ มีระบบการอ่านข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์แบบต่าง ๆ รูปแบบของสื่อที่นำมาใช้ในด้านการเรียนการสอน ก็มีหลากหลาย ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมในการนำมาใช้ เช่น คอมพิวเตอร์ช่วยสอน อิเล็กทรอนิกส์บุค วิดีโอเทเลคอนเฟอเรนซ์ ระบบวิดีโอออนดีมานด์ การสืบค้นข้อมูลในคอมพิวเตอร์ และระบบอินเทอร์เน็ต เป็นต้น
- คอมพิวเตอร์ช่วยสอน เป็นการนำเอาเทคโนโลยี รวมกับการออกแบบโปรแกรมการสอน มาใช้ช่วยสอน ซึ่งเรียกกันโดยทั่วไปว่าบทเรียน CAI ( Computer - Assisted Instruction ) การจัดโปรแกรมการสอน โดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน ในปัจจุบันมักอยู่ในรูปของสื่อประสม (Multimedia) ซึ่งหมายถึงนำเสนอได้ทั้งภาพ ข้อความ เสียง ภาพเคลื่อนไหวฯลฯ โปรแกรมช่วยสอนนี้เหมาะกับการศึกษาด้วยตนเอง และเปิดโอกาสให้ผู้เรียนสามารถโต้ตอบ กับบทเรียนได้ตลอด จนมีผลป้อนกลับเพื่อให้ผู้เรียนรู้ บทเรียนได้อย่างถูกต้อง และเข้าใจในเนื้อหาวิชาของบทเรียนนั้นๆ
- การเรียนการสอนโดยใช้เว็บเป็นหลัก เป็นการจัดการเรียน ที่มีสภาพการเรียนต่างไปจากรูปแบบเดิม การเรียนการสอนแบบนี้ อาศัยศักยภาพและความสามารถของเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นการนำเอาสื่อการเรียนการสอน ที่เป็นเทคโนโลยี มาช่วยสนับสนุนการเรียนการสอน ให้เกิดการเรียนรู้ การสืบค้นข้อมูล และเชื่อมโยงเครือข่าย ทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนได้ทุกสถานท ี่และทุกเวลา การจัดการเรียนการสอนลักษณะนี้ มีชื่อเรียกหลายชื่อ ได้แก่ การเรียนการสอนผ่านเว็บ (Web-based Instruction) การฝึกอบรมผ่านเว็บ (Web-based Trainning) การเรียนการสอนผ่านเวิล์ดไวด์เว็บ (www-based Instruction) การสอนผ่านสื่อทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-learning) เป็นต้น
- อิเล็กทรอนิกส์บุค คือการเก็บข้อมูลจำนวนมากด้วยซีดีรอม หนึ่งแผ่นสามารถเก็บข้อมูลตัวอักษรได้มากถึง 600 ล้านตัวอักษร ดังนั้นซีดีรอมหนึ่งแผ่นสามารถเก็บข้อมูลหนังสือ หรือเอกสารได้มากกว่าหนังสือหนึ่งเล่ม และที่สำคัญคือการใช้กับคอมพิวเตอร์ ทำให้สามารถเรียกค้นหาข้อมูลภายในซีดีรอม ได้อย่างรวดเร็วโดยใช้ดัชนี สืบค้นหรือสารบัญเรื่อง ซีดีรอมจึงเป็นสื่อที่มีบทบาทต่อการศึกษาอย่างยิ่ง เพราะในอนาคตหนังสือต่าง ๆ จะจัดเก็บอยู่ในรูปซีดีรอม และเรียกอ่านด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่เรียกว่าอิเล็กทรอนิกส์บุค ซีดีรอมมีข้อดีคือสามารถจัดเก็บ ข้อมูลในรูปของมัลติมีเดีย และเมื่อนำซีดีรอมหลายแผ่นใส่ไว้ในเครื่องอ่านชุดเดียวกัน ทำให้ซีดีรอมสามารถขยายการเก็บข้อมูลจำนวนมากยิ่งขึ้นได้
- วิดีโอเทเลคอนเฟอเรนซ์ หมายถึงการประชุมทางจอภาพ โดยใช้เทคโนโลยีการสื่อสารที่ทันสมัย เป็นการประชุมร่วมกันระหว่างบุคคล หรือคณะบุคคลที่อยู่ต่างสถานที่ และห่างไกลกันโดยใช้สื่อทางด้านมัลติมีเดีย ที่ให้ทั้งภาพเคลื่อนไหว ภาพนิ่ง เสียง และข้อมูลตัวอักษร ในการประชุมเวลาเดียวกัน และเป็นการสื่อสาร 2 ทาง จึงทำให้ ดูเหมือนว่าได้เข้าร่วมประชุมร่วมกันตามปกติ ด้านการศึกษาวิดีโอเทคเลคอนเฟอเรนซ์ ทำให้ผู้เรียนและผู้สอนสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ ผ่านทางจอภาพ โทรทัศน์และเสียง นักเรียนในห้องเรียน ที่อยู่ห่างไกลสามารถเห็นภาพและเสียง ของผู้สอนสามารถเห็นอากับกิริยาของ ผู้สอน เห็นการเคลื่อนไหวและสีหน้าของผู้สอนในขณะเรียน คุณภาพของภาพและเสียง ขึ้นอยู่กับความเร็วของช่องทางการสื่อสาร ที่ใช้เชื่อมต่อระหว่างสองฝั่งที่มีการประชุมกัน ได้แก่ จอโทรทัศน์หรือจอคอมพิวเตอร์ ลำโพง ไมโครโฟน กล้อง อุปกรณ์เข้ารหัสและถอดรหัส ผ่านเครือข่ายการสื่อสารความเร็วสูงแบบไอเอสดีเอ็น (ISDN)
- ระบบวิดีโอออนดีมานด์ (Video on Demand) เป็นระบบใหม่ที่กำลังได้รับความนิยมนำมาใช้ ในหลายประเทศเช่น ญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกา โดยอาศัยเครือข่ายคอมพิวเตอร์ความเร็วสูง ทำให้ผู้ชมตามบ้านเรือนต่าง ๆ สามารถเลือกรายการวิดีทัศน์ ที่ตนเองต้องการชมได้โดยเลือกตามรายการ (Menu) และเลือกชมได้ตลอดเวลา วิดีโอออนดีมานด์ เป็นระบบที่มีศูนย์กลาง การเก็บข้อมูลวีดิทัศน์ไว้จำนวนมาก โดยจัดเก็บในรูปแหล่งข้อมูลขนาดใหญ่ (Video Server) เมื่อผู้ใช้ต้องการเลือกชมรายการใด ก็เลือกได้จากฐานข้อมูลที่ต้องการ ระบบวิดีโอ ออนดีมานด์จึงเป็นระบบที่จะนำมาใช้ ในเรื่องการเรียนการสอนทางไกลได้ โดยไม่มีข้อจำกัดด้านเวลา ผู้เรียนสามารถเลือกเรียน ในสิ่งที่ตนเองต้องการเรียนหรือสนใจได้
- การสืบค้นข้อมูล (Search Engine) ปัจจุบันได้มีการกล่าวถึงระบบการสืบค้นข้อมูลกันมาก แม้แต่ในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ก็มีการประยุกต์ใช้ไฮเปอร์เท็กซ์ในการสืบค้นข้อมูล จนมีโปรโตคอลชนิดพิเศษที่ใช้กัน คือ World Wide Web หรือเรียกว่า www. โดยผู้ใช้สามารถเรียกใช้โปรโตคอล http เพื่อเชื่อมโยงเข้าสู่ระบบไฮเปอร์เท็กซ์ ซึ่งเป็นฐานข้อมูลในอินเทอร์เน็ต ไฮเปอร์เท็กซ์มีลักษณะเป็นแบบมัลติมีเดีย เพราะสามารถสร้างเป็นฐานข้อมูลขนาดใหญ่ ที่เก็บได้ทั้งภาพ เสียง และตัวอักษร มีระบบการเรียกค้นที่มีประสิทธิภาพ โดยใช้โครงสร้างดัชนีแบบลำดับชั้นภูมิ โดยทั่วไป ไฮเปอร์เท็กซ์จะเป็นฐานข้อมูลที่มีดัชนีสืบค้นแบบเดินหน้า ถอยหลัง และบันทึกร่องรอยของการสืบค้นไว้ โปรแกรมที่ใช้ในการสร้างไฮเปอร์เท็กซ์มีเป็นจำนวนมาก ส่วนโปรแกรมที่มีชื่อเสียงได้แก่ HTML Compossor FrontPage Marcromedia DreaWeaver เป็นต้น ปัจจุบันเราใช้วิธีการสืบค้นข้อมูล เพื่อนำข้อมูลที่ได้ไปใช้ประกอบในการทำเอกสารรายงานต่าง ๆ ได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว
- อินเทอร์เน็ต คือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ซึ่งประกอบด้วยเครือข่ายย่อย และเครือข่ายใหญ่สลับซับซ้อนมากมาย เชื่อมต่อกันมากกว่า 300 ล้านเครื่องในปัจจุบัน โดยใช้ในการติดต่อสื่อสาร ข้อความรูปภาพ เสียงและอื่น ๆ โดยผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ที่มีผู้ใช้งานกระจายกันอยู่ทั่วโลก ปัจจุบันได้มีการนำระบบอินเทอร์เน็ต เข้ามาใช้ในวงการศึกษากันทั่วโลก ซึ่งมีประโยชน์ในด้านการเรียนการสอนเป็นอย่างมาก
บทที่ 4 แนวคิดเกี่ยวกับภาวะผู้นำ และการบริหารจัดการสมัยใหม่
แนวคิดผู้นำเชิงพฤติกรรม (Behavioral Approach) แนวคิดนี้ศึกษาถึงพฤติกรรมที่ผู้นำแสดงออกเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติและประสิทธิผลตามที่ผู้นำต้องการ โดยผู้นำแต่ละคนจะมีพฤติกรรมที่แตกต่างกันออกไป มหาวิทยาลัยและสถาบันต่างๆในสหรัฐอเมริกาได้ให้ความสนใจและทำการวิจัยเกี่ยวกับพฤติกรรมของผู้นำ โดยทำการศึกษาถึงพฤติกรรมของผู้นำที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งผลสรุปที่สำคัญๆ มีดังต่อไปนี้ (วิภาดา คุปตานนท์, 2544: 242-247) 1.ภาวะผู้นำแบบประชาธิปไตยและผู้นำแบบเผด็จการ (Democratic leadership – Autocratic leadership) Tannenbaum และSchmidt อธิบายว่า ผู้นำแบบประชาธิปไตยนิยมกระจายอำนาจ มอบหมายงานให้สมาชิก และเปิดโอกาสให้สมาชิกเข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ในทางตรงกันข้าม ผู้นำแบบเผด็จการมักนิยมใช้ดุลยพินิจและการตัดสินใจด้วยตัวเอง และมักไม่เปิดโอกาสให้สมาชิกเข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจ 2.การศึกษาของ University of Michigan ได้แจกแจงพฤติกรรมของผู้นำที่แตกต่างกันใน 3 ลักษณะอย่างเห็นได้ชัด คือ 1).พฤติกรรมผู้นำที่มุ่งคน (People-oriented behaviors) ที่ให้ความสำคัญต่อสมาชิกหรือพนักงาน เข้าใจความแตกต่างและยอมรับความสำคัญของพนักงาน มีการเปิดโอกาสให้พนักงานมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ อีกทั้งยังสนใจ และเข้าใจความต้องการของคนงาน 2).พฤติกรรมของผู้นำที่มุ่งงาน (Task-oriented behaviors) ที่ผู้นำเน้นความสำเร็จของการทำงาน เน้นการสร้างงานและผลผลิตที่มีมาตรฐานสูง เน้นการใช้กฎ ระเบียบ ข้อปฏิบัติเพื่อให้งานบรรลุเป้าหมาย 3.การศึกษาของ Ohio State University ได้สรุปว่าพฤติกรรมของผู้นำสามารถแบ่งได้เป็น 2 ด้าน คือ 1).พฤติกรรมที่มุ่งสร้างโครงสร้าง (Initiation structure) ที่ผู้นำให้ความสำคัญกับกฎเกณฑ์ การบังคับบัญชา เน้นบทบาทหน้าที่ตามตำแหน่ง และเน้นผลงานที่เกิดจากการทำงานตามโครงสร้าง 2).พฤติกรรมที่มุ่งความสัมพันธ์ (Consideration) ผู้นำจะให้ความสำคัญกับการมีความสัมพันธภาพที่ดีกับสมาชิก และมีส่วนร่วมในการทำงานของสมาชิก 4.Managerial Grid เป็นตัวอย่างหนึ่งของการศึกษาพฤติกรรมของผู้นำที่ผนวกแนวคิดทางพฤติกรรมต่างๆเข้าด้วยกัน โดย Blake และMouton ได้สร้างตาราง 2 มิติ โดยให้แกนนอนแทนผู้นำที่มุ่งผลงาน (Production-oriented leader) และแกนตั้งแทนผู้นำที่มุ่งคน (People-oriented leadership) ซึ่งผู้นำที่มีประสิทธิภาพสูงสุด ได้แก่ผู้นำที่มุ่งทั้งงานและคน
บทที่ 5 ทฤษฎีผู้นำที่เหมาะสมกับสถานการณ์และสิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน
ในปี 1967 Fred E.Fiedler ได้เสนอแนวความคิดการบริหารเชิงสถานการณ์ (Situational Management Theory) หรือทฤษฎีอุบัติการณ์ (Contingency Theory) ซึ่งถือเป็นทฤษฎีการบริหารที่ขึ้นอยู่กับในเชิงสภาพข้อเท็จจริงด้วยแนวคิดที่ว่าการเลือกทางออกที่จะไปสู่การแก้ปัญหาทางการบริหารถือว่าไม่มีวิธีใดที่ดีที่สุด หากแต่สถานการณ์ต่างหากที่จะเป็นตัวกำหนดว่าควรจะหยิบใช้การบริหารแบบใดในสภาวการณ์เช่นนั้น หลักคิดง่ายๆ ของการบริหารเชิงสถานการณ์ นั้นถือว่าการบริหารจะดีหรือไม่ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ สถานการณ์จะเป็นตัวกำหนดการตัดสินใจ และรูปแบบการบริหารที่เหมาะสม และผู้บริหารจะต้องพยายามวิเคราะห์สถานการณ์ให้ดีที่สุด โดยเป็นการผสมผสานแนวคิดระหว่างระบบปิดและระบบเปิด และยอมรับหลักการของทฤษฎีระบบว่าทุกส่วนของระบบจะต้องสัมพันธ์ และมีผลกระทบซึ่งกันและกัน คือมุ่งเน้น ความสัมพันธ์ระหว่างองค์การกับสภาพแวดล้อมขององค์การ สถานการณ์บางครั้งจะต้องใช้การตัดสินใจอย่างเฉียบขาด บางสถานการณ์ต้องอาศัยการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ บางครั้งก็ต้องคำนึงถึงหลักมนุษย์และแรงจูงใจ บางครั้งก็ต้องคำนึงถึงเป้าหมายหรือผลผลิตขององค์กรเป็นหลัก การบริหารจึงต้องอาศัยสถานการณ์เป็นตัวกำหนดในการตัดสินใจ
การบริหารเชิงสถานการณ์จะคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมและความต้องการของบุคคลในหน่วยงานเป็นหลักมากกว่าที่จะแสวงหาวิธีการอันดีเลิศมาใช้ในการทำงาน โดยใช้ปัจจัยทางด้านจิตวิทยาในการพิจารณาด้วย โดยเน้นให้ผู้บริหารรู้จักใช้การพิจารณาความแตกต่างที่มีอยู่ในหน่วยงาน เช่น ความแตกต่างระหว่างบุคคล ความแตกต่างระหว่างระเบียบกฎเกณฑ์ วิธีการ กระบวนการ และการควบคุมงาน ความแตกต่างระหว่างความสัมพันธ์ของบุคคลในองค์กร หรือความแตกต่างระหว่างเป้าหมายการดำเนินงานขององค์การ เป็นต้น
บทที่ 6 การเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และวิเคราะห์ถึงผลกระทบต่อการบริหารจัดการ
ปี พ.ศ.2554 ภาคธุรกิจได้รับผลกระทบจากมหาอุทกภัย ในขณะที่ผลกระทบในระยะยาว ภาคธุรกิจเองยังอาจได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรีทางการค้าในกลุ่มประชาคมอาเซียน (AEC) ในปี 2558 ซึ่งจุดนี้เองจะเป็นแรงผลักให้เกิดการเปลี่ยนแปลง (Force of Change) ที่สำคัญที่จะทำให้องค์กรต่าง ๆ มีความจำเป็นที่จะต้องปรับตัวเองในการเพิ่มขีดความสามารถในการดำเนินธุรกิจในอนาคต โดยเฉพาะอย่างยิ่งภายใต้ภาวะการแข่งขันที่มีแนวโน้มจะรุนแรงมากยิ่งขึ้น ซึ่งสิ่งสำคัญที่จะทำให้องค์กรสามารถเพิ่มขีดความสามารถดังกล่าว ย่อมปฏิเสธไม่ได้ว่าผู้บริหารจะต้องให้ความสำคัญกับปัจจัยในด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในองค์กร องค์กรจะต้องเตรียมพร้อมสำหรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต โดยเริ่มต้นจากการประเมินความพร้อมในด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่เป็นอยู่ในปัจจุบันขององค์กร เพื่อที่จะประเมินได้ว่า ธุรกิจของตนเองมีความพร้อม มากหรือน้อย เพียงใด ในการที่จะสามารถพลิกวิกฤติให้เป็นโอกาส ซึ่งการบริหารทรัพยากรมนุษย์ด้วยมุมมองที่ถูกต้อง(Human Resource Focus) จะเป็นปัจจัยสนับสนุนสำคัญที่ช่วยสร้างโอกาสในการดำเนินธุรกิจ สร้างจุดเปลี่ยนแปลงให้องค์กรเติบโตแบบก้าวกระโดด หรือ “Change S Curve” นั่นเอง
ก่อนหน้าที่จะเกิดวิกฤตอุทกภัย
องค์กรมีกลยุทธ์การบริหารทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Focus) เป็นอย่างไร”
และ“หลังภาวะวิกฤตอุทกภัยที่จะเปลี่ยนไปสู่การเปิดเสรีกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) องค์กรจะมีการปรับตัวด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์อย่างไร เพื่อให้มีความสามารถทัดเทียมหรือเหนือกว่าคู่แข่ง”
จากการที่ผู้เขียนในฐานะที่ปรึกษาด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์และพัฒนาองค์กร ได้มีโอกาสสัมภาษณ์ผู้บริหารระดับสูงในบริษัทฯ ชั้นนำ ตลอดจนผู้บริหารระดับสูงในสายงานทรัพยากรมนุษย์ ที่ให้ความสำคัญในการเตรียมพร้อมกับการเปิดเสรีทางการค้าในกลุ่มประชาคมอาเซียน (AEC) ในปี 2558 ต่างก็มีมุมมองในการบริหารทรัพยากรมนุษย์เพื่อสร้างขีดความสามารถในการดำเนินธุรกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งภายหลังจากภาวะวิกฤตอุทกภัยได้เริ่มคลี่คลายลง และการเตรียมความพร้อมสำหรับการมุ่งสู่การเปิดเสรีกลุ่มประชาคมอาเซียน (AEC) ในอีก 3 ปีข้างหน้า โดยมีประเด็นที่มุ่งเน้นสำคัญ ๆ ที่ผู้เขียนประมวลนำมาสรุป แบ่งออกเป็น 6 ประเด็นที่สำคัญ ๆ ดังนี้
ประการแรก ความสามารถของพนักงานในการดำเนินธุรกิจในระดับข้ามชาติ (Global Competency)
ประการที่สอง การพัฒนาความสามารถในด้านธุรกิจของพนักงาน(Business Acumen Competency)
ประการที่สาม ความรวดเร็วและเหมาะสมในการพัฒนาพนักงานให้มีขีดความสามารถสูง(Speed Learning)
ประการที่สี่ การบริหารจัดการพนักงานที่มีขีดความสามารถสูง (Talent Management)
ประการที่ห้า การบริหารกำลังพลให้คุ้มค่า(Manpower Utilization)
ประการที่หก การสร้างจิตสำนึกอย่างเร่งด่วนให้กับพนักงาน(Sense of Urgency)
บทที่ 7 การพัฒนาองค์การไปสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้และการพัฒนาอย่างยั่งยืน
แนวคิดของ Learning Organization
Chris Argyris และ Donald Schon ได้ให้คำนิยามการเรียนรู้สองรูปแบบที่มีความสำคัญในการสร้าง Learning Organization คือ Single Loop Learning ( First Order / Corrective Learning) หมายถึง การเรียนรู้ที่เกิดขึ้นแก่องค์การเมื่อการทำงานบรรลุผลที่ต้องการลักษณะการเรียนรู้แบบที่สองเรียกว่า Double Loop Learning (Second Oder/Generative Learning)หมายถึงการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นเมื่อสิ่งที่ต้องการให้บรรลุผลหรือเป้าหมายไม่สอดคล้องกับผลการกระทำ Peter Senge เชื่อว่าหัวใจของการสร้าง Learning Organization อยู่ที่การสร้างวินัย 5 ประการในรูปของการนำไปปฏิบัติของบุคคล ทีม และองค์การอย่างต่อเนื่อง วินัย 5 ประการที่เป็นแนวทางสนการปฏิบัติเพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้ทั้งองค์การมีดังนี้
1. Personnal Mastery : มุ่งสู่ความเป็นเลิศ และรอบรู้ โดยมุ่งมั่นที่จะพัฒนาตนเองให้ไปถึงเป้าหมายด้วย การสร้างวิสัยทัศน์ส่วนตน (Personal Vission) เมื่อลงมือกรทำและต้องมุ่งมั่นสร้างสรรจึงจำเป็นต้องมี แรงมุ่งมั่นใฝ่ดี (Creative Tention) มีการใช้ข้อมูลข้อเท็จจริงเพื่อคิดวิเคราะห์และตัดสินใจ (Commitment to the Truth) ที่ทำให้มีระบบการคิดตัดสินใจที่ดี รวมทั้งใช้การฝึกจิตใต้สำนึกในการทำงาน (Using Subconciousness) ทำงานด้วยการดำเนินไปอย่างอัตโนมัติ
2. MentalModel มีรูปแบบวิธีการคิดและมุมมองที่เปิดกว้าง ผลลัพธ์ที่จะเกิดจากรูปแบบแนวคิดนี้จะออกมาในรูปของผลลัพธ์ 3 ลักษณะคือ เจตคติ หมายถึง ท่าที หรือความรู้สึกของบุคคลต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เหตุการณ์ หรือเรื่องราวใด ๆ ทัศนคติแนวความคิดเห็นและกระบวนทัศน์ กรอบความคิด แนวปฏิบัติที่เราปฏิบัติตาม ๆ กันไป จนกระทั่งกลายเป็นวัฒนธรรมขององค์การ
3. Shared Vission การสร้างและสานวิสัยทัศน์ วิสัยทัศน์องค์การ เป็นความมุ่งหวังขององค์การที่ทุกคนต้องร่วมกันบูรณาการให้เกิดเป็นรูปธธรรมในอนาคต ลักษณะวิสัยทัศน์องค์การที่ดี คือ กลุ่มมผู้นำต้องเป็นฝ่ายเริ่มน้นเข้าสู่กระบวนการพัฒนาวิสัยทัศน์อย่างจริงจัง วิสัยทัศน์นั้นจะต้องมีรายละเอียดชัดเจน เพียงพอที่จะนำไปเป็นแนวทางปฏิบัติได้ วิสัยทัศน์องค์การต้องเป็นภพบวกต่อองค์การ
4. Team Learn การเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม องค์การความมุ่งเน้นให้ทุกคนในทีมมีสำนึกร่วมกันว่า เรากำลังทำอะไรและจะทำอะไรต่อไป ทำอย่างไร จะช่วยเพิ่มคุณค่าแก่ลูกค้า การเรียนรู้ร่วมกันเป็นทึมขึ้นกับ 2 ปัจจัย คือ IQ และ EQ ประสานกับการเรียนรู้ร่วมกันเป็นทึม และการสร้างภาวะผู้นำแก่ผู้นำองค์การทุกระดับ
5. System Thinking มีความคิดความเข้าใจเชิงระบบ ทุกคนควรมีความสามารถในการเข้าใจถึงความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งต่าง ๆ ที่เป็นองค์ประกอบสำคัญของระบบนอกจากมองภาพรวมแล้ว ต้องมองรายละเอียดของส่วนประกอบย่อยในภาพนั้นให้ออกด้วย วินัยข้อนี้สามารถแก้ไขปัญหาที่สลับซับซ้อนต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี
บทที่ 8 เทคนิคในการบริหารทรัพยากรมนุษย์และการจัดการที่เหมาะสมกับวัฒนธรรมไทย
คนกับงาน เป็นของคู่กันอย่างแยกไม่ออก ทั้งในเชิงการมองจากมิติความสำคัญของคนที่มีต่องาน และมิติที่คนเป็นผู้ที่ทำให้งานนั้นเกิดขึ้นมาได้ แต่การที่จะทำให้คนทำงานอย่างเกิดประสิทธิภาพและได้ประสิทธิผลนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะไม่ว่าจะหาเครื่องมือหรือเทคนิคในการบริหารจัดการสารพัดนำเข้ามาใช้ หากแต่คนที่เป็นผู้ทำงานไม่อยากทำงาน ไม่รักและผูกพันกับองค์การ หรือไม่มีพื้นฐานของความคิด พื้นฐานของจิตใจที่เหมาะสม เช่น เจองานยากเป็นถอย หรือที่พบเห็นได้บ่อย คือ “รับปากผ่าน ๆ” เป็นต้นแล้วล่ะก็ ย่อมจะเกิดคำถามขึ้นมาอย่างแน่นอนว่า งานจะสำเร็จลงได้อย่างไร ในแวดงวงทางวิชาการหรือที่รู้จักกันในสาขาวิชาทางพฤติกรรมองค์การ และภาคปฏิบัติของการบริหารองค์การ จึงหันมาให้ความสนในเรื่องการสร้างค่านิยม วัฒนธรรมหรือรูปแบบความคิดความเชื่อที่เป็นรูปแบบเฉพาะขององค์การแต่ละองค์การขึ้นมา เพื่อเป็นเบ้าหลอมแนวคิด อันส่งผลให้เกิดพฤติกรรมการทำงานของบุคลากร และเชื่อมโยงเรื่องของวัฒนธรรมองค์การนี้ เข้ากับระบบการบริหารและประเมินผลการปฏิบัติงานเพื่อนำมาใชในหนวยงาน แต่เรื่องนี้ก็ไม่หมู แต่ตรงข้ามกลับถือเปนเรื่องยากและตองอาศัยการบริหารการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ภายในองค์การ และลึกลงไปในจิตใจ การรับรู้ของบุคลากร กล่าวกันว่า ปัจจัยแห่งความสําเร็จขององค์การประการหลักอันหนึ่งก็อยูที่ความสามารถในการบูรณาการระบบการบริหารผลงานเขากับวัฒนธรรมในการบริหารทรัพยากรบุคคลที่เป็นอยูในองคการนั้นได้หรือไม่
บทที่ 9 การบริหารการเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาอย่างยั่งยืน
องค์กรที่ดีควรมีความเจริญก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง และความต่อเนื่อง อละการพัฒนาที่ขาดการต่อเนื่องย่อมไม่ดีแน่ ดังนั้นจึงขอแนะนำ การพัฒนาองค์การอย่างเป็นระบบ อย่าง่าย ควรมีการสร้างแผนแม่แบบในการเปลี่ยนแปลง จะต้องมีการประเมินสถานการณ์ขององค์การ เพื่อให้เห็นช่องว่างของความแตกต่างระหว่างองค์การในปัจจุบันกับองค์การที่ควรจะเป็นในอนาคต หลังจากนั้นจะต้องมีการวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรคขององค์การ เพื่อที่จะนำจุดแข็งขององค์การมาผลักดันการพัฒนาองค์การ โดยมีกลไกการควบคุมทิศทางที่แน่นอน การพัฒนาองค์การจะต้องพิจารณาว่าองค์การที่จะพัฒนาเป็นแบบเปิดหรือแบบปิด ถ้าเป็นองค์การแบบเปิด ทุกคนจะต้องมีส่วนร่วมแก้ปัญหาร่วมรับผิดชอบโดยเน้นที่เป้าหมายขององค์การเป็นหลัก ลักษณะโครงสร้างขององค์การจะเป็นแบบกว้าง อาศัยการให้คำแนะนำมากกว่าสั่งการ การบริหารงานลักษณะนี้ พนักงานจะมีความซื่อสัตย์และมีจิตสำนึกในความสำเร็จของงานมากกว่าตัวบุคคล แต่ถ้าหากองค์การเป็นแบบปิดหรือแบบระบบราชการ การพัฒนาองค์การจะทำได้ยากลำบาก ทั้งนี้เนื่องมาจากมีการแบ่งงานตามหน้าที่ ลักษณะงาน ซ้ำๆ กัน มีความรับผิดชอบตามหน้าที่ของหน่วยงานที่สังกัดอยู่ มีสายการบังคับบัญชาในลักษณะแนวดิ่ง ยึดถือตัวบุคคลเป็นหลักไม่เน้นทีมงานและความสำคัญของงาน ลักษณะเช่นนี้พัฒนาได้ยาก เนื่องจากมีแรงต้านมากเห็นแก่ญาติพวกพ้องครอบครัว ผู้บริหารสูญเสียอำนาจมีความเกรงอก เกรงใจ ไม่สามารถบริหารงานให้บรรลุเป้าหมายได้สาเหตุที่องค์การจะต้องมีการพัฒนาเพื่อช่วยให้หน่วยงานมีกฎระเบียบน้อยลง และให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาขจัดอุปสรรคในการติดต่อสื่อสาร มุ่งเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์การและสร้างความรู้สึกเป็นเจ้าของ สนับสนุนให้ทำงานร่วมกันระหว่างแผนกเพื่อเป้าหมายขององค์การที่สูงขึ้น นอกจากนั้นยังเกิดจากแรงผลักดันภายในและแรงผลักดันภายนอกที่ทำให้องค์การต้องพัฒนา แรงผลักภายในหมายความถึงการเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์ การเปลี่ยนโครงสร้างใหม่ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมองค์การ ค่านิยม วัฒนธรรม ความอึดอัดในการทำงาน ความขัดแย้งในกฎระเบียบ อัตราการเข้าออกของพนักงานสูง ส่วนแรงผลักดันภายนอก ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงในวงการธุรกิจ เช่น การเปลี่ยนแปลงของตลาด การเปลี่ยนแปลงกำลังคนการขาดแคลนแรงงาน การหันมาใช้เครื่องจักร การไม่สามารถบริการลูกค้าได้ การเปลี่ยนผู้บริหาร และการนำเทคโนโลยีใหม่เข้ามาใช้ การพัฒนาองค์การจะต้องเปลี่ยนแปลงระบบทั้งหมดขององค์การ เช่น แรงงานคน โครงสร้างและระบบงาน งานและปัญหา เทคโนโลยี โดยมี สิ่งแวดล้อมเป็นตัวประกอบ เช่น สังคม การเมือง และเศรษฐกิจ โดยมีแรงผลักดันภายนอกและภายในเป็นตัวกระตุ้นให้มีการปรับโครงสร้างเดิมให้เป็นโครงสร้างใหม่
บทที่ 10 การแข่งขันในตลาดโลกและการปรับตัวเพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน
ในปัจจุบันวิธีการสร้างความมั่นคั่งและมั่นคงให้องค์การที่ดีที่สุด คือการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน (competitive advantage) ซึ่งเป็นหัวใจของการวางแผนกลยุทธ์ ความได้เปรียบในการแข่งขันหรือ Competitive advantage คือ สิ่งที่เป็นความสามารถพิเศษขององค์กรที่คู่แข่งไม่สามารถเลียนแบบได้ หรือคู่แข่งต้องใช้เวลาในการปรับตัวเองมากก่อนที่เลียบแบบความสามารถของเรา ได้ เช่น นวัตกรรม ระบบการจัดการภายในองค์กร ระบบการบริหารองค์กร ภาพลักษณ์ขององค์กรเป็นต้น ปัจจัยที่เป็นพื้นฐานที่สำคัญมากที่สุดในการทำให้เกิดความได้เปรียบในการแข่งขันก็คือ ความรู้ (Knowledge) ที่องค์กรต้องพยายามสร้างขึ้นมา ด้วยการเรียนรู้ (Learning) และพัฒนามาเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization) ให้ได้ จากนั้นผู้บริหารต้องดึงเอาความรู้ต่าง ๆ ที่บุคลากรมี เพื่อมาสร้างนวัตกรรม (Innovation) ให้กับองค์กรต่อไป ความได้เปรียบทางการแข่งขันจะขึ้นอยู่กับความสามารถที่เป็นเลิศขององค์กรทั้ง 3 ด้านคือ ขายสินค้าและให้บริการที่ดีกว่า ขายสินค้าที่ถูกกว่า และตอบสนองต่อลูกค้าได้เร็วกว่าคู่แข่งขัน คำว่าสินค้าและให้บริการที่ดีกว่าเรียกว่า “ ขายสินค้าหรือให้บริการที่แตกต่าง (differentiation) ” การขายสินค้าที่ถูกกว่าจะต้องผลิตด้วยต้นทุนต่ำกว่าเรียกว่า “ cost leadership ” และตอบสนองต่อลูกค้าได้เร็วกว่าก็คือ “ quick response ” คำว่าสินค้าและบริการที่แตกต่างไปจากองค์การอื่นหรือ differentiation นั้น หมายถึง สินค้าและบริการขององค์การที่พิเศษไปจากสินค้าและบริการขององค์การอื่นไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง หรือหลายๆ ทาง และความแตกต่างนี้ทำให้ผู้ซื้ออยากใช้สินค้านั้นและยินดีจะจ่ายซื้อสินค้านั้นในราคาที่สูงกว่าสินค้าอื่น
บทที่ 11 การบริหารจัดการธุรกิจสีเขียวและการวิเคราะห์ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และคุณภาพชีวิต
"อุตสาหกรรมนิเวศ" (Industrial Ecology) เป็นแนวคิดของการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมที่ทางการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) นำเสนอและผลักดัน โดยกำหนดให้มีการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมสู่เมืองอุตสาหกรรมนิเวศปีละ 3 แห่ง
และภายในปี 2562 ได้ตั้งเป้าหมายว่าทุกนิคมอุตสาหกรรมจะพัฒนาสู่ความเป็นเมืองอุตสาหกรรมนิเวศ
หลักของการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมนิเวศ จะเน้นการใช้พื้นที่เป็นศูนย์กลางการรวมกิจกรรมของทุกภาคส่วน โดยมีหลักการพัฒนาในแต่ละพื้นที่ 3 ประการสำคัญ คือ (หนึ่ง) การมุ่งสู่สังคมคาร์บอนต่ำ เป็นการปรับกระบวนการผลิตทั้งภาคอุตสาหกรรม เกษตรกรรม และบริการ เพื่อลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (สอง) การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน โดยภาครัฐจะต้องเปิดโอกาสให้ประชาชนและผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนรับรู้ ร่วมคิด ร่วมตัดสินใจ สร้างความโปร่งใสและเป็นที่ยอมรับร่วมกันของทุกฝ่าย (สาม) การใช้หลักการพัฒนาคลัสเตอร์อุตสาหกรรมนิเวศ เป็นการปรับแนวคิดในการจัดการภาคธุรกิจการผลิต จากการบำบัดมาเป็นการป้องกันมลพิษ โดยการเชื่อมโยงกิจกรรมในภาคการผลิตและบริการย่อย สู่การผลิตนิเวศและบริการนิเวศด้วยระบบจัดการวัสดุ วัตถุดิบ และพลังงานเพื่อการผลิตแบบ 3Rs ทำให้กากของเสียมีมูลค่าและสร้างรายได้ให้กับธุรกิจ
แนวคิดอุตสาหกรรมนิเวศเป็นส่วนหนึ่งบนเส้นทางการพัฒนาสู่ "สังคมสีเขียว" ซึ่งเป็น 1 ใน 3 ของสังคมที่เป็นจุดมุ่งหมายของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (อีกสองด้าน คือ สังคมมั่นคง และสังคมวัฒนธรรม) สังคมสีเขียวที่กำหนดไว้ในแผนฯ 11 เน้นการปรับโครงสร้างการผลิตสู่สังคมคาร์บอนต่ำ มีการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ และสิ่งแวดล้อมได้รับการฟื้นฟู อนุรักษ์และจัดการอย่างยั่งยืน ควบคู่กับการสร้างความเป็นธรรมและการเกื้อกูลในสังคมไทย
ความท้าทายของการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมนิเวศสู่การปฏิบัติได้จริงมีหลายประการ
ในด้านกรอบแนวคิด อุตสาหกรรมนิเวศเป็นแนวคิดที่ตอบสนองต่อความตื่นตัวและความตระหนักด้านสิ่งแวดล้อมของประชาชนทั่วไปและชุมชนท้องถิ่น รวมทั้งกระแสและแรงกดดันระหว่างประเทศในเรื่องแนวคิดเศรษฐกิจสีเขียว พยายามหาจุดลงตัวระหว่างทิศทางการพัฒนาอุตสาหกรรมกับการดูแลรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิต แต่จากบทเรียนการพัฒนาอุตสาหกรรมไทยในอดีตโดยเฉพาะอย่างยิ่งจากกรณีปัญหาเขตพื้นที่มาบตาพุด ทำให้ภาคประชาสังคมยังไม่มีความไว้วางใจ มีความระแวงสงสัย และยังมีข้อคำถามอีกมากเกี่ยวกับอุตสาหกรรมนิเวศทั้งในเชิงหลักการและแนวคิด
ในด้านกระบวนการนโยบายสาธารณะด้านสิ่งแวดล้อม การพัฒนาอุตสาหกรรมนิเวศไปสู่การปฏิบัตินับเป็นกระบวนการนโยบายสาธารณะด้านสิ่งแวดล้อมประเภทหนึ่ง ในสภาพการณ์ปัจจุบันมีความเปลี่ยนแปลงอย่างมากเกี่ยวกับ "ภูมิทัศน์ทางการเมือง" ในกระบวนการนโยบายด้านสิ่งแวดล้อม มีตัวกระทำใหม่ (ชุมชนท้องถิ่น องค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และศาลปกครอง) มีกติกาและกระบวนการใหม่ที่กำหนดไว้ตามบทบัญญัติหลายมาตราของรัฐธรรมนูญ (เช่น เรื่องการมีส่วนร่วม เรื่องการรับฟังความเห็น ) รวมทั้งมีเครื่องมือใหม่เพิ่มขึ้นในการตัดสินใจนโยบายสาธารณะ เช่น การประเมินผลกระทบทางสุขภาพ (HIA) การประเมินสิ่งแวดล้อมเชิงยุทธศาสตร์ (SEA) ตัวชี้วัดความอยู่เย็นเป็นสุข ฯลฯ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการปรับเปลี่ยนกระบวนการนโยบายสาธารณะด้านสิ่งแวดล้อมให้สอดรับกับสภาพความเปลี่ยนแปลงและความเป็นจริงชุดใหม่
ในด้านเครื่องมือบริหารจัดการและตัดสินใจด้านสิ่งแวดล้อมซึ่งเกี่ยวโยงกับการพัฒนาอุตสาหกรรมนิเวศ เครื่องมือหลักที่ใช้อยู่ในประเทศไทย คือ การวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ซึ่งมีปัญหาในเชิงระบบและโครงสร้างหลายด้าน การเพิ่มเรื่อง HIA ผนวกเข้ามาในระบบ EIA ก็ไม่เพียงพอต่อการแก้ไขปัญหา เนื่องจากตัว EIA ซึ่งเป็นระบบหลักมีปัญหาอยู่มาก จำเป็นต้องมีการปฏิรูปครั้งใหญ่เพื่อสร้างความเชื่อมั่นและให้เกิดประโยชน์ตามวัตถุประสงค์แท้จริงของเครื่องมือนี้ คือ การช่วยชี้ว่าอาจเกิดผลกระทบอย่างไรบ้างจากการพัฒนาอุตสาหกรรม (และกิจกรรมอื่นๆ รวมทั้งอุตสาหกรรมนิเวศ) จะหาทางป้องกันหรือลดผลกระทบได้อย่างไร และนำไปสู่การดำเนินการจริงตามข้อเสนอที่ระบุไว้ตามรายงาน EIA
นอกเหนือจากนิคมอุตสาหกรรม 9 แห่งที่ กนอ.ได้กำหนดไว้เป็นพื้นที่นำร่องสำหรับอุตสาหกรรมนิเวศในปี 2553-2555 แล้ว ขอเสนอให้ดำเนินการในเขตมาบตาพุดเป็นพื้นที่ต่อไป โดยตั้งเป้าหมายว่าต้องนำไปสู่การยกเลิกประกาศเขตควบคุมมลพิษในบริเวณพื้นที่มาบตาพุด ซึ่งหมายความว่าแก้ไขปัญหามลพิษได้สำเร็จ เป็นการทดสอบและพิสูจน์ว่าแนวคิดอุตสาหกรรมนิเวศจะมีผลในทางปฏิบัติได้จริงหรือไม่สำหรับประเทศไทย
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น