หน้าเว็บ

นัตพล ใบเรือ การจัดการทั่วไป รุ่น 19 233


บทที่ 10   การแข่งขันในตลาดโลกและการปรับตัวเพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน



กรอบแนวคิดการพัฒนาองค์กรในการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันทางธุรกิจ  
                   พอร์เตอร์ก็ได้คิดค้นแนวคิกการนำกลยุทธ์ความได้เปรียบในการแข่งขันทางธุรกิจ โดยเขาได้เขียนหนังสือเรื่องหนึ่งเกี่ยวกับความได้เปรียบในเชิงแข่งขันทางธุรกิจ ชื่อว่า Competitive Advantage ซึ่งได้กล่าวหลักการไว้ว่า หากต้องการให้ธุรกิจสามารถแข่งขันได้แล้ว จะต้องใส่ใจในสิ่ง 3 อย่างต่อไปนี้
                         1. กลยุทธ์ต้นทุน (Cost Strategy)
                         2. กลยุทธ์ความแตกต่าง (Differentiate Strategy)
                         3. กลยุทธ์มุ่งเฉพาะกลุ่ม (Niche or Focus Strategy)


             1. การลดต้นทุนทางการจัดการ (Low – Cost Leadership)
                   พิจารณาสภาพแวดล้อมภายนอก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คู่แข่งขันทางธุรกิจมาเป็นแนวทางในการลดต้นทุนทางการจัดการขององค์กร เช่น ผลิตสินค้าที่ได้มาตรฐานและมีคุณภาพขณะที่ต้นทุนถูกกว่าคู่แข่งขัน การลดเวลาของกระบวนการทำงานให้สั้นลง แต่ค่าใช้จ่ายในการตอบแทนพนักงานเท่าเดิม เป็นต้น
   กลยุทธ์การลดต้นทุน (Cost Reduction) เป็นเทคนิคนำมาใช้เพื่อให้การบริหารจัดทรัพยากรต่าง ๆ ในการดำเนินการขององค์กรเป็นไปอย่างประหยัดและเกิดประสิทธิภาพสูงสุด สามารถขายสินค้าและบริการได้ในระดับราคาต่ำกว่าคู่แข่ง

  กลยุทธ์การลดต้นทุน
                                ทำให้ธุรกิจมีความได้เปรียบในการแข่งขันเหนือคู่แข่ง  2 ประการคือ
                                1. ความได้เปรียบด้านราคา องค์การธุรกิจที่มีต้นทุนการผลิตต่ำกว่า สามารถกำหนดราคาของสินค้าได้ต่ำกว่าคู่แข่ง
                                2. ความได้เปรียบด้านการทำกำไร การลดต้นทุนย่อมสามารถมีกำไรได้มากกว่า เมื่อจำหน่ายสินค้าและบริการในปริมาณคุณภาพใกล้เคียงกันและในระดับราคาเดียว กัน

                         แนวทางการลดต้นทุนมี 5 วิธี คือ
                                1. Reduction of Loss หรือการลดค่าใช้จ่ายสูญเปล่าต้องพยายามค้นหาสาเหตุของปัญหา/ข้อบกพร่องโดย ใช้เทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อเปรียบเทียบค่าใช้ข่ายมาตรฐาน (Standard Cost) กับค่าใช้จ่ายจริงที่เกิดขึ้น (Actual Cost) เพื่อหาทางลดช่องว่างระหว่างทั้งสองค่าให้น้อยที่สุด
                                2.Benchmarking เป็นการเปรียบเทียบต้นทุนของบริษัทกับบริษัทอื่น ๆ ที่เป็นธุรกิจประเภทเดียวกัน
                                3.IE Approach คือการใช้เทคนิค Industrial Engineering หรือ IE เพื่อวิเคราะห์กระบวนการทำงาน (work process) ในส่วนต่าง ๆ โดยจะต้องมีการจัดเก็บข้อมูลเกี่ยวกับเวลาการทำงานของคนงานเพื่อกำหนดเวลามาตรฐาน
                                4.VA/AE Approach หรือ การใช้เทคนิค Value Analysis/Value Engineering ซึ่งเป็นเครื่องมือที่นำมาใช้ลดค่าใช้จ่าย คิดค้นวิธีการที่มีต้นทุนที่ถูกกว่า
                                5.Engineering/Breakthrough/Zero-based budgeting คือ การคิดค้นผลิตภัณฑ์ใหม่ วิธีการทำงานใหม่ ที่มีความแตกต่างไปจากวิธีการเดิม
                                6.แนว ทางดังกล่าวมุ่งลดความสูญเสียและค่าใช้จ่ายซึ่งเป็นต้นทุนที่ไม่จำเป็น ตลอดจนลดงานที่ไม่ก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่ม ส่งผลกระทบ ทำให้คุณภาพและ/หรือความพึงพอใจของลูกค้าหรือผู้รับบริการต้องลดลง
             2. การสร้างความแตกต่าง (Differentiation)
                         การสร้างความแตกต่างจากคู่แข่งขันทางธุรกิจ จะทำให้เป็นเอกลักษณ์ขององค์กรที่เกิดจากกระทำการ  ซึ่งเป็นการได้เปรียบทางการแข่งขันทางธุรกิจ    อาจจะเป็นความแตกต่างในกระบวนการทำงานขององค์กร หรือสินค้าและบริการ แต่ทั้งนี้ความแตกต่างดังกล่าวจะต้องแสดงให้เห็นถึงประสิทธิผลและประสิทธิภาพที่เหนือกว่าคู่แข่งขัน  ซึ่งกลยุทธ์การสร้างความแตกต่าง (Differentiation) หมายถึง การสร้างคุณค่าให้เกิดขึ้นในตัวของสินค้า และบริการที่นำมาซึ่งความแตกต่างจากคู่แข่งขันรายอื่น เป็นกลยุทธ์ที่ควรส่งเสริมให้มีการพัฒนาตลอดเวลา เพราะคุณค่าที่เคยมีในอดีตอาจไม่ได้รับการยอมรับจากผู้บริโภคเมื่อเวลา เปลี่ยนไป เหตุผลที่ต้องพัฒนาตลอดเวลา เพราะการแข่งขันในตลาดมีสูงมาก และสินค้าและบริการที่มีอยู่ในตลาดปัจจุบันมีความคล้ายคลึงกันมาก ธุรกิจจึงต้องสร้างสินค้าและบริการให้แตกต่างจากคู่แข่งเพื่อตอบสนองความ ต้องการนั้น โดยมีวัตถุประสงค์ชัดเจนในการสร้างให้ลูกค้าเกิดความพึงพอใจสูงสุด
                         ตัวอย่างการใช้กลยุทธ์ความแตกต่าง
                                ตัวอย่างที่ 1  บริษัทโอเมก้า (Omega) ซึ่งเป็นบริษัทผลิตนาฬิกาที่มีความเที่ยงตรงสูงมาก เป็นนาฬิกาที่ผ่านการคัดเลือกจากองค์การอวกาศนาซ่าให้นาฬิกาของ Omega รุ่น Speed Master เป็นนาฬิกาที่นักบินอวกาศใช้ทำงานในการสำรวจอวกาศเป็นระยะเวลานาน ซึ่งเป็นการทำงานอยู่ในชั้นบรรยากาศที่เป็นสูญญากาศ การที่นาฬิกาโอเมก้าสามารถบอกเวลาได้อย่างเที่ยงตรงแม้ในสภาวะสูญญากาศทำให้ นาฬิกา Omega ได้รับการยอมรับ และเป็นที่นิยมแพร่หลายทั่วโลก จัดได้ว่าเป็นคุณค่าที่สร้างความแตกต่างจากนาฬิกายี่ห้ออื่น                                                     อุตสาหกรรมรถมอเตอร์ไซด์ รถมอเตอร์ไซด์ของบริษัทฮอนด้า (Honda) ที่ผลิตออกมารุ่นแรกคือรุ่น Super Club ที่มีขนาดความจุกระบอกสูบ 50 cc ซึ่งในขณะนั้นก็มีมอเตอร์ไซค์หลายยี่ห้อในท้องตลาด แต่ Honda ได้ดำเนินกลยุทธ์การสร้างความแตกต่าง โดยการสร้างคุณค่าให้กับสินค้าด้วยการออกแบบระบบเครื่องยนต์ที่แตกต่างจาก ผู้ผลิตรายอื่นคือ เป็นเครื่องยนต์แบบสี่จังหวะแทนที่จะเป็นเครื่องยนต์สองจังหวะเหมือนกับ ยี่ห้ออื่น เป็นผลทำให้บริษัทฮอนด้า เป็นที่ยอมรับจากผู้บริโภคทั่วโลกในเรื่องการเป็นผู้นำการพัฒนานวัตกรรมของ เครื่องยนต์ เพราะพบว่าเป็นเทคโนโลยีที่ช่วยในการประหยัดน้ำมัน และเป็นเครื่องยนต์ที่มีการเผาไหม้เชื้อเพลิงได้อย่างสะอาดมาก ซึ่งเป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้การขยายธุรกิจจากรถมอเตอร์ไซด์เข้ามาผลิตรถยนต์ ของฮอนด้าได้รับการยอมรับอย่างรวดเร็ว ทั้งที่เป็นค่ายรถยนต์ที่เกิดขึ้นใหม่
                   จะเห็นได้ว่าการสร้างความแตกต่างในองค์กรจะช่วยทำให้องค์กรเกิดความได้เปรียบในการแข่งขันเพราะสินค้าและบริการที่เราคิดค้นขึ้นมาเองจะทำให้สามารถตอบสนองลูกค้าได้โดยที่ไม่ซ้ำกับคู่แข่งซึ่งทำให้เราได้เปรียบ
             3.  กลยุทธ์การมุ่งจุดสนใจ (Focus Strategy)
                         กลยุทธ์การมุ่งจุดสนใจ (Focus Strategy) ในกลยุทธ์นี้อาจแยกออกได้เป็นการมุ่งจุดสนใจที่ลูกค้า ซึ่งอาจจะเป็นเด็ก ผู้หญิง คนแก่ วงการแพทย์ ฯลฯ เช่น บริษัท Tyco บริษัทผลิตของเด็กเล่น จะมีการออกแบบและสร้างผลิตภัณฑ์ขึ้นใหม่ตลอดเวลา และมีกลยุทธ์ในการเจาะกลุ่มลูกค้าที่มีการพัฒนาตลอดเวลาด้วย เพื่อตอบสนองลูกค้าที่มีสถานภาพเปลี่ยนไป เช่น เด็กที่โตมากขึ้น มีรายได้มากขึ้น มีการศึกษามากขึ้น อาจลืมสินค้าที่ตนเองเคยผูกพันในอดีตได้ ดังนั้นบริษัท Tyco จะทำการศึกษาพฤติกรรมในการบริโภคของลูกค้าและศึกษาการเปลี่ยนแปลงที่เกิด ขึ้นตลอดเวลา เพื่อให้ธุรกิจสามารถตอบสนองความต้องการของกลุ่มลูกค้าดังกล่าวได้ ทำให้มีการเติบโตของธุรกิจอย่าง ต่อเนื่อง ในบางองค์การอาจมีความเชี่ยวชาญพิเศษ เช่น บริษัท Tiffany ที่มุ่งจุดสนใจผลิตสินค้าที่มีเอกลักษณ์เน้นการออกแบบตอบสนองลูกค้าที่มีราย ได้สูง ด้วยการนำเสนอสินค้าประเภทเครื่องประดับที่หรูหราแสดงออกถึงความมีรสนิยม ชั้นสูงใน กรณีที่เป็นการมุ่งจุดสนใจที่ตัวผลิตภัณฑ์เพื่อพัฒนาตัวเองสู่ความเป็นหนึ่ง ในอุตสาหกรรมนั้น ระดับของการพัฒนาผลิตภัณฑ์สังเกตได้จาก สัดส่วนการลงทุนในเรื่องการวิจัยและพัฒนา ในกรณีของบริษัทผลิตยาและเวชภัณฑ์ที่มุ่งเน้นพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ตนเองมีความ เชี่ยวชาญ เช่น บริษัท Astra มุ่งการวิจัยและพัฒนายารักษาโรคกระเพาะอาหารโดยมีตัวยาที่มีชื่อเสียงมากคือ Losec
                         การที่บริษัท ไนกี้ (Nike) มุ่งเน้นพัฒนาผลิตภัณฑ์สำหรับนักกีฬาโดยเฉพาะ มีการพัฒนาเทคโนโลยีทางการกีฬาเพื่อสร้างตัวเองเข้าสู่ความเป็นเลิศ เช่น การพัฒนารองเท้า ไนกี้แอร์ ที่เหมาะสำหรับนักกีฬาบาสเกตบอล
                         การที่บริษัทโกดัก (Kodak) มุ่งเน้นจุดสนใจที่เทคโนโลยีการบันทึกภาพ โดยได้มีการศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนาฟิล์มชนิดใหม่ออกสู่ตลาดตลอดเวลา จะสังเกตเห็นได้ชัดว่าองค์การที่กล่าวมาล้วนแต่เป็นองค์การที่มีความเชี่ยว ชาญเฉพาะทาง จึงทำให้พอสรุปได้ว่า การมุ่งความสนใจไปในสิ่งที่ตนเองถนัดและมีความเชี่ยวชาญจะสร้างให้เกิดเป็น ความได้เปรียบในการแข่งขันได้                                                                               การ มุ่งจุดสนใจที่ตลาด เป็นอีกมิติหนึ่งในเชิงธุรกิจ ตลาดดังกล่าวอาจจะเป็นตลาดที่เกิดใหม่ ตลาดที่มีการอิ่มตัวแล้ว หรือ ตลาดเฉพาะ (Niche Market) องค์การจึงจำเป็นต้องเลือกใช้กลยุทธ์ที่มีลักษณะเฉพาะพิเศษให้เหมาะสมกับ ความต้องการของตลาดนั้น ที่มีความแตกต่างในเรื่องความต้องการสินค้า รูปแบบของผลิตภัณฑ์ สีสัน คุณภาพ และความคาดหวัง ที่มีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ดังนั้นการดำเนินธุรกิจโดยใช้กลยุทธ์ธุรกิจเดียวกันในทุกตลาด จึงเป็นการตัดสินใจที่ไม่เหมาะสม                                        กลยุทธ์การมุ่งจุดสนใจอาจมีการพิจารณาทั้งลูกค้า ผลิตภัณฑ์ และตลาดพร้อมกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการศึกษาวิเคราะห์สิ่งแวดล้อมภายนอกและภายในของธุรกิจและ ของอุตสาหกรรมนั้น เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการกำหนดกลยุทธ์ผู้บริหารจึงต้องศึกษา ข้อมูลให้ครบถ้วนก่อนการตัดสินใจ                              
                   ดังนั้น ทั้งสามกลยุทธ์ที่กล่าวมาข้างต้นจะช่วยให้องค์กรสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน แต่ทั้งนี้กลยุทธ์ที่จะเลือกใช้ในองค์กรก็ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมภายในและภายนอกองค์กรหรือสถานการณ์ที่องค์กรกำลังเผชิญอยู่  จะเห็นได้จากความพยายามในการบรรลุกลยุทธ์ความเป็นผู้นำในเรื่องต้นทุนที่มี การพัฒนานำเอาเทคโนโลยีนาโน (Nanotechnology) เข้ามาใช้ล้วนแล้วแต่เป็นความพยายามในการลดต้นทุนทั้งสิ้น หรือแม้แต่รูปแบบการสร้างความแตกต่างของผลิตภัณฑ์ ปัจจุบันบริษัท Sony ได้พัฒนาอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่สามารถใช้งานได้หลายรูปแบบ โดยเป็นทั้ง Organizer อุปกรณ์ฟังเพลงจาก MP3 อุปกรณ์ที่สามารถติดต่อสื่อสารผ่านระบบเน็ตเวิร์ค และเป็นกล้องถ่ายรูประบบดิจิตอลที่สามารถส่งภาพผ่านคลื่นโทรศัพท์ได้ อย่างไรก็ตามก็ยังไม่เพียงพอกับความต้องการของผู้บริโภคปัจจุบันที่มีอย่าง มากมาย แบบไม่รู้จบ


http://vanlapa.igetweb.com/index.php?lite=article&qid=579772

                    บทที่11   การบริหารจัดการธุรกิจสีเขียวและวิเคราะห์ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิต



สำหรับ Green Ocean Strategy  หรือกลยุทธ์น่านน้ำสีเขียวนี้ เน้นการพัฒนา สิ่งแวดล้อม ซึ่งจำแนกได้ 2 เรื่อง คือ เรื่องการจัดการทรัพยากรบุคคลและเรื่องการจัดการระบบ ทั้งกระบวนการนำเข้าและกระบวนการส่งออก ซึ่งจะต้องดำเนินการอย่างจริงจังโดยเน้นการเป็นมิตรกับ สิ่งแวดล้อม และคำนึงถึงทิศทางความต้องการของผู้บริโภค

"การพัฒนาอย่างยั่งยืน หรือ Sustainable Development เป็นกรอบใหญ่สุดของการพัฒนาที่ยั่งยืน ส่วน CSR เปรียบเสมือนกลไกในการดำเนินกิจกรรมขององค์กรอย่างยั่งยืน ดังนั้นเราจะเห็นว่าในแต่ละองค์กร จะมีกลยุทธ์ได้หลายกลยุทธ์ ซึ่ง Green Ocean เป็นส่วนหนึ่งในการทำ CSR เช่นกัน"

แนวคิดหลักในการจัดการทรัพยากรบุคคลนั้นจะต้องปลูกฝัง 7Rs พื้นฐานก่อน คือ 1) Rethink 2) Reduce 3) Reused 4) Recycle 5) Refuse คือ การปฏิเสธทรัพยากรหรือวัตถุดิบในการผลิต ที่อาจจะไม่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 6) Recondition ซึ่งรวมกันระหว่าง repair คือ การซ่อมแซมและ replace

ส่วนสุดท้าย อันดับที่ 7) Return คือ การได้มาซึ่งผลตอบแทนทั้งองค์กรและกิจการ ที่สำคัญคือการตอบแทนสู่สังคม



"ธุรกิจสีเขียว" หมายถึง องค์กรที่ประกอบธุรกรรมโดยมีปณิธานในการทำงานที่มุ่งอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เพื่อให้ทรัพยากรธรรมชาติทั้งหลายของโลกมนุษย์ อาทิ อากาศ ต้นน้ำ ลำธาร ป่าไม้ สัตว์ป่า พืชพันธุ์ธัญญาหาร แมลง ฯลฯ มีชีวิตอยู่ร่วมกันในระบบนิเวศวิทยาที่ดีที่สุดและอย่างยั่งยืนที่สุด





ด้านการนำไปปรับใช้ในองค์กรธุรกิจ มีหลายธุรกิจที่ดำเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและได้รับการยอมรับในฐานะองค์กรต้นแบบว่าเป็นธุรกิจสีเขียว อาทิ บมจ.บางจากปิโตรเลียม บมจ.ปูนซิเมนต์ไทย และ บมจ.พฤกษา เรียลเอสเตท

"

วัฒนา โอภานนท์อมตะ" รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานด้านบริหารและเทคโนโลยีสารสนเทศ บมจ.บางจากปิโตรเลียม กล่าวว่า หากมองย้อนหลังไปเมื่อ 25 ปีที่ผ่านมา ในแง่การทำธุรกิจทั่วไปจะพบว่า ธุรกิจจะมองเพียงผลตอบแทนเป็นตัวตั้งเท่านั้น คือ เน้นเรื่องเศรษฐกิจ มีเพียงบางองค์กรเท่านั้นที่คิดถึงสังคมและสิ่งแวดล้อมไปพร้อม ๆ กันด้วย

และด้วยวิกฤตราคาน้ำมันที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ที่มาจากปัญหาการขนส่งและ ความไม่ต้องการขายน้ำมันจากประเทศผู้ค้าน้ำมัน จึงทำให้บางจากฯ นำแก๊สโซฮอล์หรือ ไบโอดีเซลซึ่งเป็นพลังงานทดแทนมาลดการใช้น้ำมันแทน

นอกจากจะมีการผลักดันให้มีการใช้พลังงานทดแทนแล้ว ยังมีการสำรวจทัศนคติและพฤติกรรมผู้บริโภค โดยเฉพาะคนเจเนอเรชั่นวาย ซึ่งพบว่าผู้บริโภคกลุ่มนี้ให้ความสำคัญต่อผลิตภัณฑ์ที่ทำให้สภาพแวดล้อมดีขึ้น และทำให้มีส่วนร่วมในการช่วยเหลือสังคมอีกด้วย

"การที่จะยั่งยืนได้ ต้องเติบโตได้ มั่นคงได้ และการที่จะเติบโตมั่นคงได้ คือการ ที่จะต้องเป็นประโยชน์ต่อสังคมด้วย" วัฒนากล่าว

ส่วนผู้ที่มาจากธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ "เมธา จันทร์แจ่มจรัส" กรรมการและรองกรรมการผู้จัดการ บมจ.พฤกษา เรียล เอสเตท กล่าวว่า หลายคนมองว่า ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมได้ง่าย แต่ในความเป็นจริงแล้วค่อนข้างยาก เนื่องจากจะต้องมีวิธีการที่ต้องถึงมวลชน ต้องสร้างความไว้ใจให้กับมวลชน

และด้วยปณิธานของบริษัทที่ต้องการสร้างบ้านให้กับผู้มีรายได้น้อยและปานกลาง ซึ่งสิ่งที่สำคัญที่สุด คือ การทำต้นทุนให้ต่ำ และราคาต่ำ เพื่อผู้บริโภคจะได้มีกำลังซื้อ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะได้ของที่ไม่มีคุณภาพ เราสามารถเลือกวัตถุดิบที่ดีได้ แต่สิ่งที่พฤกษาทำ คือ การเน้นการบริหารต้นทุนและการจัดการ เพื่อจะทำให้กระบวนการก่อสร้างถูกที่สุด มีคุณภาพที่สุด และมีประสิทธิภาพที่สุด ซึ่งเป็นโจทย์ที่หลายคนอยากได้ทั้ง 3 อย่างพร้อมกัน แต่เป็นสิ่งที่ทำได้ค่อนข้างยาก

กระบวนการก่อสร้างโครงการ อสังหาริมทรัพย์ตามท้องตลาดทั่วไปนั้น ส่วนใหญ่จะเป็นระบบก่อฉาบปูน ซึ่งปัญหาของระบบนี้ จะเห็นจากเมื่อไปบริเวณที่อยู่ในระหว่างการดำเนินการก่อสร้าง จะสังเกตเห็นถุงปูนเกลื่อนกลาดตามพื้นอยู่มากมาย หรือเศษขยะเหล่านั้นจะส่งผลต่อผู้ประกอบการในการไปกำจัดให้เรียบร้อย ซึ่งก็จะทำให้เป็นการเพิ่มต้นทุนการผลิตขึ้นไปอีก

แต่สำหรับพฤกษาฯ ใช้วิธีการ Rethink หรือคิดใหม่ โดยการใช้วิธีสำเร็จรูปในระบบปิด โดยการทำในโรงงานก่อนแล้วจึงนำมาประกอบที่ไซต์งานก่อสร้าง

"หากเราผลิตวัสดุก่อสร้างในที่เดียว โดยการใช้คอมพิวเตอร์เข้ามาควบคุมปริมาณวัตถุดิบและปริมาณฝุ่นหรือเสียงอันเป็นมลพิษที่เกิดจากการก่อสร้างได้ เราก็สามารถผลิตในระบบปิดได้ด้วย แล้วนำวัสดุเหล่านั้นมาประกอบที่ไซต์ สิ่งที่ตามมา คือ ความเป็นระเบียบ ความสะอาดและแทนที่จะใช้วิธีการขนส่งวัสดุในการก่อสร้างมากมายไปตามไซต์งานต่าง ๆ ก็ขนส่งไปยังโรงงานที่เดียวเพื่อผลิตเป็นวัสดุสำเร็จรูปให้เบ็ดเสร็จในครั้งเดียว ซึ่งจะทำให้การจราจรบริเวณที่ก่อสร้างลดลง ทั้งยังลดผลกระทบต่อชุมชนรอบข้างตามไปด้วย" เมธากล่าว

ส่วน "วีนัส อัศวสิทธิถาวร" ผู้อำนวยการสำนักงานสื่อสารองค์กร เครือซิเมนต์ไทย หรือเอสซีจี ระบุว่า จากการตั้งเป้าหมายให้ปี 2558 เอสซีจีจะต้องเป็นองค์กรที่ยึดถือการพัฒนาอย่างยั่งยืน และเป็นองค์กรต้นแบบ ซึ่งไม่ใช่แค่ในประเทศไทย แต่หมายถึงการขยายครอบคลุมอาเซียน ทำให้วันนี้บริษัทมีภารกิจหลายเรื่องที่จะไปสู่เป้าหมายนั้น

เอสซีจีจึงมุ่งเน้นการพัฒนานวัตกรรม ในการคิดใหม่ ทำใหม่ หรือการนำงานวิจัยที่เกี่ยวข้องในทุก ๆ งาน เพื่อเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าและบริการ หรือแม้แต่ การพัฒนาพนักงานด้วยการกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา และมุ่งหางานวิจัยใหม่ ๆ ในการพัฒนาสินค้าและบริการอยู่ตลอดเช่นกัน

แล้วอุตสาหกรรมสีเขียวจะประสบความสำเร็จหรือไม่นั้น มีความจำเป็นที่จะต้องอาศัยการขับเคลื่อนพร้อม ๆ กัน ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องมาตรการในการกำกับควบคุมดูแล หรือเรื่อง สิ่งแวดล้อมตามกฎหมาย ซึ่งจะต้องมีเจ้าหน้าที่ภาครัฐเข้าไปทำหน้าที่ในการกำกับดูแลอย่างเข้มงวด ตลอดจนต้องมีมาตรการจูงใจ ส่งเสริม ชักชวนโรงงานต่าง ๆ ให้เข้าสู่อุตสาหกรรมสีเขียวอย่างจริงจังเพื่อนำไปสู่ความยั่งยืนตามมา

"องค์กรที่จะเป็นต้นแบบด้านการเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมได้นั้น ต้องชวนองค์กรอื่นมาร่วมเป็นเครือข่ายกันด้วย


http://greenoceanstrategy.blogspot.com/2010/12/green-ocean-strategy-3.html.                                       

ไม่มีความคิดเห็น: