หน้าเว็บ

นางสาวนพมาศ พิณทมร รหัส 5210125401067 เอกการจัดการทั่วไป ปี 4

Douglas McGregor ซึ่งเป็นที่รู้จักในชื่อของทฤษฎี X และทฤษฎี Y ได้ศึกษาวิธีการที่ผู้บริหารมองตัวเองสัมพันธ์กับบุคคลอื่น ทัศนะนี้ต้องการความคิดในการรับรู้ธรรมชาติของมนุษย์ ซึ่งมีข้อสมมติ 2 ประการเกี่ยวกับลักษณะของบุคคล ดังนี้

ข้อสมมติเกี่ยวกับทฤษฎี X

1. โดยทั่วไปมนุษย์ไม่ชอบการทำงาน และจะหลีกเลี่ยงงานถ้าสามารถทำได้

2. จากลักษณะของมนุษย์ ที่ไม่ชอบทำงาน คนส่วนใหญ่จึงต้องถูกบังคับ ควบคุม สั่งการและใช้วิธีการลงโทษ เพื่อให้ใช้ความพยายามให้เพียงพอ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การ
3. มนุษย์โดยเฉลี่ยพอใจการถูกบังคับ ต้องการเลี่ยงความรับผิดชอบ มีความทะเยอทะยานน้อย และต้องการความปลอดภัย ทฤษฎี X เป็นการมองโลกในแง่ร้าย ไม่ยืดหยุ่น การควบคุมจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้บังคับบัญชาใช้ควบคุมผู้ใต้บังคับบัญชา)

ข้อสมมติเกี่ยวกับทฤษฎี Y

1. การใช้ความพยายามทางกายภาพ และความพยายามด้านจิตใจในการทำงานตามธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นการเล่นหรือการพักผ่อน

2. การควบคุมภายนอกและอุปสรรคของการลงโทษ ไม่ใช่วิธีการเดียวในการใช้ความพยายามให้บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การ บุคคลจึงใช้การควบคุมตัวเอง เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ต้องการ บุคคลจึงใช้การควบคุมตัวเองเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ต้องการ

3. ระดับของการให้บรรลุวัตถุประสงค์ ขึ้นอยู่กับขนาดของรางวัลที่สัมพันธ์กับความสำเร็จ

4. มนุษย์โดยเฉลี่ยเรียนรู้ภายใต้สภาพที่เหมาะสม ไม่แต่เพียงการยอมรับความรับผิดชอบ แต่มีการแสวงหาด้วย

5. สมรรถภาพขึ้นอยู่กับระดับของการจินตนาการระดับสูงความซื่อสัตย์และความคิดสร้างสรรค์

6. ภายใต้อุตสาหกรรมสมัยใหม่ ศักยภาพที่เฉลียวฉลาดของความเป็นมนุษย์ โดยเฉลี่ยมีการใช้ประโยชน์บางส่วน (ทฤษฎี Y เป็นการมองโลกในแง่ดี ยืดหยุ่นได้และเป็นกลไกที่มุ่งการควบคุมตนเองร่วมกับความต้องการส่วนตัวและความต้องการขององค์กร)

อ้างอิง: McGregor, Douglas M. (1960). The Human Side of Enterprise. New York: McGraw-Hill Book Company.

การส่งบทความเกี่ยวกับการวิเคราะห์สภาพแวดล้อม

ถึงนักศึกษาทุกท่านที่ยังไม่ได้ส่งบทความ ขอให้รีบส่งภายในวันเสาร์ สำหรับนักศึกษาที่เรียนวันอาทิตย์ และ สำหรับนักศึกษาภาคปกติขอให้รีบส่งภายในวันอังคารที่ 3 กค 55
บทความที่นักศึกษาจะต้องแสดงความคิดเห็น จะต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูลด้วยนะคะ

นางสาววิไลพร ส่งเสริม รหัส 5210125401043 การจัดการทั่วไป ปี 4



การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก
สภาพแวดล้อมภายนอกไม่เคยอยู่กับที่ ตัวอย่างเช่น สภาพแวดล้อมภายนอกอาจจะเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงในบางเวลา ความรับผิดชอบของผู้บริหารคือการรุบุโอกาสในอนาคต และการกำหนดตำแหน่งของบริษัทเพื่อแสวงหาประโยชน์จากโอกาส แต่ผู้บริหารต้องเผชิญการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมภายนอกอย่างมากมายและเป็นไปไม่ได้ที่จะติดตามการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมภายนอกทุกอย่าง ดังนั้นผู้บริหารควรจะมุ่งเฉพาะปัจจัยทางสภาพแวดล้อมที่สำคัญเท่านั้น
ปัจจัยทางสภาพแวดล้อมที่สำคัญ คือเหตุการณ์ที่มีผลกกระทบในทางที่ดีหรือไม่ดีเป็นอย่างมากต่อการดำเนินงานของบริษัท ไม่ใช่ว่าอุตสาหกรรมทุกอย่างจะมีปัจจัยทางสภาพแวดล้อม ที่สำคัญอย่างเดียวกันตามที่เคยกล่าวถึงข้างต้น ตัวอย่างเช่น บริษัทผลิตสินค้าบนรากฐานของการใช้น้ำมัน ราคานำมันของตลาดโลกจะมีความสำคัญ แต่จะไม่มีความสำคัญต่อบริษัทผลิตรองเท้า ในกรณีของบริษัทข้ามชาติการเปลี่ยนแปลงจำทุนนิยมไปเป็นสังคมนิยมจะมีผลกระทบต่อบริษัทข้ามชาติที่อยู่ภายในประเทศนั้นเป็นอย่างมากการพยากรณ์โอกาสและอุปสรรคที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมภายนอกจะมีขั้นตอนดังนี้
1. การระบุปัจจัยทางสภาพแวดล้อมที่สำคัญ
2. การตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยทางสภาพแวดล้อมที่สำคัญ
3. การพยากรณ์ผลกระทบของปัจจัยทางสภาพแวดล้อมที่สำคัญต่อคุณลักษณะของอุตสาหกรรม
สรุปการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมภายนอกจะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและปัจจัยความสำเร็จที่สำคัญใหม่ๆ ขึ้นมาเพื่อการประเมินจุดแข็งและจุดอ่อนของบริษัท ผู้บริหารต้องประเมินทรัพยากรและความสามารถของบริษัท ตามปัจจัยความสำเร็จที่สำคัญใหม่ๆในตอนต่อไปเราจะพิจารณาถึงวิธีการระบุปัจจัยความสำเร็จที่สำคัญของธุรกิจ

อ้างอิงจาก สมยศ นาวีการ. (2538). การบริหารเชิงกลยุทธ์. กรุงเทพฯ : สามัคคีสาร.

Narin

การวิเคราะห์สวอต (อังกฤษ: SWOT Analysis) หรือในชื่อไทยชื่ออื่นเช่น การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมและศักยภาพ หรือ การวิเคราะห์สภาวะแวดล้อม เป็นเครื่องมือในการประเมินสถานการณ์ สำหรับองค์กร หรือโครงการ ซึ่งช่วยผู้บริหารกำหนดจุดแข็งและจุดอ่อนจากสภาพแวดล้อมภายใน โอกาสและอุปสรรคจากสภาพแวดล้อมภายนอก ตลอดจนผลกระทบที่มีศักยภาพจากปัจจัยเหล่านี้ต่อการทำงานขององค์กร
เทคนิคนี้ อัลเบิร์ต ฮัมฟรี (Albert Humphrey) ได้ชื่อว่าเป็นผู้เริ่มแนวคิดนี้โดยนำเทคนิคนี้มาแสดงในงานสัมมนาที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด
[แก้]ความหมาย SWOT

คำว่า "สวอต" หรือ "SWOT" นั้นมาจากตัวย่อภาษาอังกฤษ 4 ตัว ได้แก่
S มาจาก Strengths หมายถึง จุดเด่นหรือจุดแข็ง ซึ่งเป็นผลมาจากปัจจัยภายใน เป็นข้อดีที่เกิดจากสภาพแวดล้อมภายในบริษัท เช่น จุดแข็งด้านส่วนประสม จุดแข็งด้านการเงิน จุดแข็งด้านการผลิต จุดแข็งด้านทรัพยากรบุคคล บริษัทจะต้องใช้ประโยชน์จากจุดแข็งในการกำหนดกลยุทธ์การตลาด
W มาจาก Weaknesses หมายถึง จุดด้อยหรือจุดอ่อน ซึ่งเป็นผลมาจากปัจจัยภายใน เป็นปัญหาหรือข้อบกพร่องที่เกิดจากสภาพแวดล้อมภายในต่างๆ ของบริษัท ซึ่งบริษัทจะต้องหาวิธีในการแก้ปัญหานั้น
O มาจาก Opportunities หมายถึง โอกาส ซึ่งเกิดจากปัจจัยภายนอก เป็นผลจากการที่สภาพแวดล้อมภายนอกของบริษัทเอื้อประโยชน์หรือส่งเสริมการดำเนินงานขององค์กร โอกาสแตกต่างจากจุดแข็งตรงที่โอกาสนั้นเป็นผลมาจากสภาพแวดล้อมภายนอก แต่จุดแข็งนั้นเป็นผลมาจากสภาพแวดล้อมภายใน นักการตลาดที่ดีจะต้องเสาะแสวงหาโอกาสอยู่เสมอ และใช้ประโยชน์จากโอกาสนั้น
T มาจาก Threats หมายถึง อุปสรรค ซึ่งเกิดจากปัจจัยภายนอก เป็นข้อจำกัดที่เกิดจากสภาพแวดล้อมภายนอก ซึ่งธุรกิจจำเป็นต้องปรับกลยุทธ์การตลาดให้สอดคล้องและพยายามขจัดอุปสรรคต่างๆ ที่เกิดขึ้นให้ได้จริง
[แก้]อ้างอิง

Armstrong.M Management Processes and Functions, 1996, London CIPD ISBN 0-85292-438-0

นายวิทวัชร ยัสพันธุ์ รหัส 5210125401074 การจัดการทั่วไป ปี 4

การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน ( Internal Environment Analysis)
ผู้บริหารไม่สามารถบรรลุความสำเร็จภายในการบริหารเชิงกลยุทธ์ได้เลย ถ้าปราศจากความเข้าใจปัจจัยเชิงกลยุทธ์อย่างลึกซึ้งภายในองค์การ ปัจจัยเชิงกลยุทธ์เหล่านี้คือ จุดแข็งและจุดอ่อนภายใน ที่อาจจะเป็นข้อจำกัดหรือสนับสนุนกลยุทธ์ขององค์การได้ ปัจจัยเชิงกลยุทธ์ของสภาพแวดล้อมภายในของบริษัทคือ
1. โครงสร้าง
- โครงสร้างขององค์การจะแสดงให้เห็นถึงถึงการติดต่อสื่อสาร อำนาจหน้าที่ กระแสของงาน การจัดระเบียบบทบาทและความสัมพันธ์ของพนักงานอย่างเป็นทางการ โดยมี 5 โครงสร้างดังนี้
1.1 โครงสร้างแบบเรียบง่าย
1.2 โครงสร้างแบบหน้าที่
1.3 โครงสร้างแบบหน่วยธุรกิจ
1.4 โครงสร้างแบบแมทริค
1.5 โครงสร้างแบบบริษัทในเครือ
2. วัฒนธรรม
- วัฒนธรรมของบริษัทคือ ความเชื่อ ความคาดหวัง และค่านิยมร่วมกันของบรรดาพนักงานภายในบริษัท และจะถูกถ่ายทอดจากพนักงานยุคหนึ่งไปยังพนักงานอีกยุคหนึ่ง โดยวัฒนธรรมขององค์การจะมีหน้าที่สำคัญหลายอย่างภายในบริษัท คือ
2.1 วัฒนธรรมของบริษัทจะถ่ายทอดเอกลักษณ์แก่พนักงาน
2.2 วัฒนธรรมของบริษัทจะสร้างความผูกพันของพนักงานต่อบางสิ่งมากกว่าตัวพวกเขาเอง
2.3 วัฒนธรรมของบริษัทจะสร้างความมั่นคงแก่บริษัทในฐานะที่เป็นระบบสังคมหนึ่ง
2.4 วัฒนธรรมของบริษัทจะเป็นกรอบการอ้างอิงแก่พนักงานเพื่อการดำเนินงานของบริษัท และใช้เป็นแนวทางของพฤติกรรมที่เหมาะสม
3. ทรัพยากร
วิลเลียม นิวแมน ได้ชี้ให้เห็นว่าแนวทางการพัฒนากลยุทธ์ของบริษัทที่ดีที่สุดคือ การเลือกบทบาทหรือช่องทางที่เหมาะสมกับการแข่งขันและทรัพยากรของบริษัท โดยทั่วไปทรัพยากรของบริษัทจะถูกพิจารณาในแง่ของทรัพยากรการเงิน กายภาพ มนุษย์ ข้อมูล และเทคโนโลยีของบริษัท
อ้างอิงจาก สมยศ นาวีการ. (2535). การบริหารเชิงกลยุทธ์และนโยบายธุรกิจ. กรุงเทพฯ : กรุงธนพัฒนา.

นางสาวผกามาศ มุขศรี รหัส 5210125401001 เอกการจัดการทั่วไป

การวิเคราะห์ สภาพแวดล้อมภายในและภายนอกองค์กร (SWOT)
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในและภายนอกองค์กรทางการศึกษา เพื่อศึกษาแนวโน้มการพัฒนาการศึกษาให้มีความเหมาะสม สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนท้องถิ่น โดยแนวโน้มการพัฒนาการศึกษาขององค์กรทางการศึกษาต้องมีความเป็นไปได้ในการพัฒนาตามเงื่อนไขข้อจำกัดและองค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อการจัดการศึกษา ซึ่งได้แก่ นโยบายในการจัดการศึกษาของหน่วยงานต้นสังกัด รูปแบบการบริหารงานขององค์กรทางการศึกษา และปัจจัยทีเกี่ยวข้องอื่น
การศึกษาความต้องการของชุมชน เป็นการสำรวจความต้องการขององค์กรชุมชนที่องค์กรทางการศึกษาตั้งอยู่ความต้องการของผู้ปกครองนักเรียนและความต้องการของชาวบ้านในชุมชนสรุปมาเป็นแนวทางในการดำเนินงานเพื่อตอบสนองความต้องการของชุมชนการวิเคราะห์สภาพขององค์กรทางการศึกษาเพื่อกำหนดแนวทางในการพัฒนาการศึกษา จะต้องวิเคราะห์ผลกระทบที่เกิดจากปัจจัยต่าง ๆ ด้วย เรียกว่า SWOT Analysis ซึ่งได้แก่


Strengths - จุดแข็งหรือข้อได้เปรียบ
Weaknesses - จุดอ่อนหรือข้อเสียเปรียบ
Opportunities - โอกาสที่จะดำเนินการได้
Threats - อุปสรรค หรือปัจจัยที่คุกคามการดำเนินงานขององค์การ
การวิเคราะห์ SWOT อาจเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เป็นการทำ Situation Analysis

เป็นการวิเคราะห์สภาพองค์การ หรือหน่วยงานในปัจจุบัน เพื่อค้นหาจุดแข็ง จุดเด่น จุดด้อย หรือสิ่งที่อาจเป็นปัญหาสำคัญในการดำเนินงานสู่สภาพที่ต้องการในอนาคต การวิเคราะห์สภาพการณ์(Situation Analysis) วิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน เพื่อให้รู้ตนเอง (รู้เรา) รู้จักสภาพแวดล้อม (รู้เขา) ชัดเจน และวิเคราะห์โอกาส-อุปสรรค เพื่อประโยชน์ในการกำหนดวิสัยทัศน์ หรือเลือกกลยุทธ์ระดับองค์กรที่เหมาะสมต่อไป ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับการทำ Strategic Decision การทำ Strategic Decision เป็นการตัดสินใจเลือกกลยุทธ์หรือวิธีดำเนินงานที่สำคัญ ที่เป็นหลักในการปฏิบัติไปสู่สภาพที่ต้องการในอนาคตขององค์การ เพื่อการบรรลุ Vision หรือสภาพในอนาคตตามที่ได้กำหนดไว้ ซึ่งเป็นการเลือกโดยคำนึงถึงสภาพในอนาคต โดยคำนึงถึงจุดที่ต้องการ โดยรู้สถานการณ์ เห็นถึงโอกาสและรู้จุดดี จุดเด่นตลอดจนจุดอ่อนในการดำเนินงานไปสู่จุดหมายที่ต้องการขององค์การในอนาคต เป็นการค้นหากลยุทธ์โดยหลักการ มองกว้าง เห็นไกล รอบคอบ ตามหลักการกำหนดกลยุทธ์ในแบบต่าง ๆ เช่น กลยุทธ์ที่มุ่งหา S สูง – O สูง, S สูง – T ต่ำ,
W ต่ำ – O สูง และ W ต่ำ – T ต่ำ กลยุทธ์เชิงรุก กลยุทธ์เพื่อความเจริญก้าวหน้า (Growth Strategy) กลยุทธ์แบบคงที่ (Stability Strategy) กลยุทธ์แบบตัดทอนป้องกัน (Retrenchment and Defense Strategy) กลยุทธ์การตั้งราคา-การขาย กลยุทธ์การแข่งขัน กลยุทธ์การเป็นผู้นำ กลยุทธ์ในการสร้างความแตกต่างของผลิตภัณฑ์และบริการ กลยุทธ์การจำกัดขอบเขตปฏิบัติการ เป็นต้น

อ้างอิง http://www.vcharkarn.com/vcafe/133036

น.ส.สุนิสา รหัส 5130125401212

การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน (S ,W)
สภาพแวดล้อมภายในประกอบด้วย ปัจจัยที่อยู่ภายในองค์กร ได้แก่ โครงสร้าง วัฒนธรรม และทรัพยากรขององค์กร
โครงสร้างขององค์กร (CORPORATE STRUCTURE) จะแสดงให้เห็นถึงการรวมกลุ่มงาน ความสัมพันธ์ทางอำนาจหน้าที่ การไหลเวียนของงาน การติดต่อสื่อสารภายใน
วัฒนธรรมองค์กร (CORPORATE CULTURE) จะหมายถึงความเชื่อ ความคาดหวัง และค่านิยมร่วมกัน โดยทั่วไปจะปรากฏขึ้นมาเป็นบรรทัดฐานที่ระบุถึงพฤติกรรมที่ยอมรับกันของบุคคลตั้งแต่ผู้บริหารลงมาจนถึงพนักงานระดับล่างสุด
ส่วนทรัพยากรขององค์การ (CORPORATE RESOURCES) จะหมายถึง ทรัพย์สินทุกอย่างภายในองค์การ ได้แก่ คน เงินทุน วัตถุดิบ เทคโนโลยี และทักษะ เป็นต้น
ซึ่งการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในประกอบด้วย
จุดแข็ง (STRENGTHS) หมายถึง การดำเนินงานภายในองค์การที่ต้องวิเคราะห์การดำเนินงานภายใน เช่น การบริหรการเงิน การตลาด การวิจัยและพัฒนาเพื่อการพิจารณาถึงจุดแข็งของการดำเนินงานภายในเหล่านี้เป็นระยะ และใช้ประโยชน์จากจุดแข็งของการดำเนินงานเหล่านี้อยู่เสมอ
จุดอ่อน (WEAKNESS) หมายถึง การดำเนินงานภายในองค์กรที่ไม่สามารถกระทำได้ดี เช่น การบริหาร การเงิน การตลาด การวิจัยและพัฒนา จะเป็นอุปสรรคต่อความสำเร็จ

นางสาวนพมาศ พิณทมร รหัส 5210125401067 เอกการจัดการทั่วไป ปี 4

การวิเคราะห์ SWOT Analysis ความหมายของ SWOT Analysis เป็นการวิเคราะห์สภาพองค์การ หรือหน่วยงานในปัจจุบัน เพื่อค้นหาจุดแข็ง จุดเด่น จุดด้อย หรือสิ่งที่อาจเป็นปัญหาสำคัญในการดำเนินงานสู่สภาพที่ต้องการในอนาคตซึ่งแบ่งไว้คือ
SWOT เป็นตัวย่อที่มีความหมายดังนี้
1. Strengths - จุดแข็ง2. หรือข้อได้เปรียบ
3. Weaknesses - จุดอ่อนหรือข้อเสียเปรียบ
4. Opportunities - โอกาสที่จะดำเนินการได้
5. Threats - อุปสรรค ข้อจำกัด หรือปัจจัยที่คุกคามการดำเนินงาน
หลักการสำคัญของ SWOT ก็คือการวิเคราะห์โดยการสำรวจจากสภาพการณ์ 2 ด้าน คือ สภาพการณ์ภายในและสภาพการณ์ภายนอก ดังนั้นการวิเคราะห์ SWOT จึงเรียกได้ว่าเป็นการวิเคราะห์สภาพการณ์ (Situation Analysis) ซึ่งเป็นการวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน เพื่อให้รู้ตนเอง (รู้เรา) รู้จักสภาพแวดล้อม (รู้เขา) ชัดเจน และวิเคราะห์โอกาส-อุปสรรค การวิเคราะห์ปัจจัยต่าง ๆ ทั้งภายนอกและภายในองค์กร ซึ่งจะช่วยให้ผู้บริหารขององค์กรทราบถึงการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นภายนอกองค์กร ทั้งสิ่งที่ได้เกิดขึ้นแล้วและแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงในอนาคต รวมทั้งผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ที่มีต่อองค์กรธุรกิจ และจุดแข็ง จุดอ่อน และความสามารถด้านต่าง ๆ ที่องค์กรมีอยู่ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะเป็นประโยชน์อย่างมากต่อการกำหนดวิสัยทัศน์ การกำหนดกลยุทธ์และการดำเนินตามกลยุทธ์ของระดับองค์กรที่เหมาะสมต่อไป

ประโยชน์ของการวิเคราะห์ SWOT เป็นการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมต่าง ๆ ทั้งภายนอกและภายในองค์กรซึ่งปัจจัยเหล่านี้แต่ละอย่างจะช่วยให้เข้าใจได้ว่ามีอิทธิพลต่อผลการดำเนินงานขององค์กรอย่างไรจุดแข็งขององค์กรจะเป็นความสามารถภายในที่ถูกใช้ประโยชน์เพื่อการบรรลุเป้าหมาย ในขณะที่จุดอ่อนขององค์กรจะเป็นคุณลักษณะภายใน ที่อาจจะทำลายผลการดำเนินงาน โอกาสทางสภาพแวดล้อมจะเป็นสถานการณ์ที่ให้โอกาสเพื่อการบรรลุเป้าหมายองค์กรในทางกลับกันอุปสรรคทางสภาพแวดล้อมจะเป็นสถานการณ์ที่ขัดขวางการบรรลุเป้าหมายขององค์กร ผลจากการวิเคราะห์ SWOT นี้จะใช้เป็นแนวทางในการกำหนดวิสัยทัศน์ การกำหนดกลยุทธ์ เพื่อให้องค์กรเกิดการพัฒนาไปในทางที่เหมาะสม


4. ข้อดี – ข้อเสีย ของการทำ SWOT Analysis
ข้อดี เทคนิคการวิเคราะห์ SWOT ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายในการวิเคราะห์สถานการณ์ต่างๆ ทางธุรกิจและการบริหารเชิงกลยุทธ์ เนื่องจากเป็นเทคนิคที่เข้าใจง่าย ไม่ซับซ้อน ให้ความสะดวกเป็นอย่างมากสำหรับผู้ที่นำ SWOT มาใช้ และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ด้านต่างๆ มากมาย เช่น - การตัดสินใจเลือกเมื่อมีทางเลือกหลายๆ ทาง - การกำหนดความสำคัญก่อนหลังของเหตุการณ์ - การบริหารความเปลี่ยนแปลงที่ต้องการให้เกิดขึ้น - การวิเคราะห์และแก้ปัญหาในการดำเนินการ - การวิเคราะห์โครงการเริ่มใหม่ - การเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้สูงขึ้น - การสร้างกระบวนการเรียนรู้ใหม่ ฯลฯ
ข้อเสีย ของการใช้ SWOT ก็มีอยู่ไม่น้อยเช่นกัน เมื่อเปรียบเทียบกับประโยชน์และความหลากหลายในการประยุกต์ใช้งาน เช่น- โอกาสผิดพลาดเกิดจาก คุณภาพของข้อมูลที่นำมาใช้วิเคราะห์ ทักษะ ประสบการณ์ และความเข้าใจในความรู้พื้นฐานของเทคนิค SWOT ของผู้วิเคราะห์- ต้องทบทวน SWOT เป็นระยะๆ เพื่อตรวจสอบสภาพว่า เหตุการณ์และปัจจัยต่างๆ ที่นำมาใช้เป็นข้อมูลพื้นฐาน ยังเหมือนเดิมหรือมีการเปลี่ยนแปลงไปแล้วหรือไม่

อ้างอิง: วัฒนา วงศ์เกียรติรัตน์และคณะ.การวางแผนกลยุทธ์. บริษัทอินโนกราฟฟิกส์ จำกัด, 2546.

นายภาสัณห์ ใจดี 5210125401024 เอกการจัดการทั่วไป ปี4

แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับการจัดการ
การจัดการ (Management) เป้นกระบวนการของการวางแผน การอำนวยการและการควบคุม เพื่อให้งานนี้บรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้
ประการแรก คือ การวางแผน การตั้งนโยบายของกลุ่ม วางวัตถุประสงค์และ โครงการสำหนับอนาคต
ประการที่สอง คือ การจัดมอบหมายความรับผิดชอบเฉพาะอย่างให้กับแผนกต่างๆและระดับต่างๆทั้งทีมทำงาน การใช้ทรัพยากรที่มีอย่างมีประสิทธิภาพ
ประการที่สาม คือ การนำทางและเป็นผู้ชี้แนะแนวทางให้ เกิดความสะดวกในการตรวจสอบการปฏิบัติ และโดยการควบคุมนี้ผู้จัดสามารถ พบว่า ได้มีการทำอะไรบ้างเพื่อตอบสนองต่อวัตถุประสงค์และการมอบหมายงาน

อ้างอิง สมพงษ์ เกษมสิน.(2514).การบริหาร.กรุงเทพมหานคร:สำนักพิมพ์เกษมสุวรรณ

น.ส สมใจ มูลพงษ์ 5130125401226 การจัดการทั่วไป รุ่น 19 หมู่



การประเมินสภาพแวดล้อมภายในองค์กร การประเมินสภาพแวดล้อมภายในองค์กร จะเกี่ยวกับการวิเคราะห์และพิจารณาทรัพยากรและความสามารถภายในองค์กร ทุกๆ ด้าน เพื่อที่จะระบุจุดแข็งและจุดอ่อนขององค์กรแหล่งที่มาเบื้องต้นของข้อมูลเพื่อการประเมินสภาพแวดล้อมภายใน คือระบบข้อมูลเพื่อ การบริหารที่ครอบคลุมทุกด้าน ทั้งในด้านโครงสร้าง ระบบ ระเบียบ วิธีปฎิบัติงาน บรรยากาศในการทำงานและทรัพยากรในการบริหาร(คน เงิน วัสดุ การจัดการ รวมถึงการพิจารณาผลการดำเนินงานที่ผ่านมาขององค์กรเพื่อที่จะเข้าใจสถานการณ์และผลกลยุทธ์ก่อนหน้านี้ด้วย - จุดแข็งขององค์กร (S-Strengths) เป็นการวิเคราะห์ปัจจัยภายในจากมุมมองของผู้ที่อยู่ภายในองค์กรนั้นเองว่าปัจจัยใดภายในองค์กรที่เป็นข้อได้เปรียบหรือจุดเด่นขององค์กรที่องค์กรควรนำมาใช้ในการพัฒนาองค์กรได้ และควรดำรงไว้เพื่อการ เสริมสร้างความเข็มแข็งขององค์กร - จุดอ่อนขององค์กร (W-Weanesses) เป็นการวิเคราะห์ ปัจจัยภายในจากมุมมองของผู้ที่อยู่ภายในจากมุมมอง
ของผู้ที่อยู่ภายในองค์กรนั้น ๆ เองว่าปัจจัยภายในองค์กรที่เป็นจุดด้อย ข้อเสียเปรียบขององค์กรที่ควรปรับปรุงให้ดีขึ้นหรือขจัดให้หมดไป อันจะเป็นประโยชน์ต่อองค์กร
การประเมินสภาพแวดล้อมภายนอก ภายใต้การประเมินสภาพแวดล้อมภายนอกองค์กรนั้น สามารถค้นหาโอกาสและอุปสรรคทางการดำเนินงานขององค์กรที่ได้รับผลกระทบจากสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจทั้งในและระหว่างประเทศที่เกี่ยวกับการดำเนินงานขององค์กร เช่น อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ นโยบาย การเงิน การงบประมาณ สภาพแวดล้อมทางสังคม เช่น ระดับการศึกษาและอัตรารู้หนังสือของประชาชน การตั้งถิ่นฐานและการอพยพของ ประชาชน ลักษณะชุมชน ขนบธรรมเนียมประเพณี ค่านิยม ความเชื่อและวัฒนธรรม สภาพแวดล้อมทางการเมือง เช่น พระราชบัญญัติ พระราชกฤษฎีกา มติคณะรัฐมนตรี และสภาพแวดล้อมทางเทคโนโลยี หมายถึง กรรมวิธีใหม่ๆและพัฒนาการทางด้านเครื่องมือ อุปกรณ์ที่จะช่วยเพิ่ม
ประสิทธิภาพในการผลิตและให้บริการ - โอกาสทางสภาพแวดล้อม (O-Opportunities) เป็นการวิเคราะห์ว่าปัจจัยภายนอกองค์กร ปัจจัยใดที่สามารถส่งผล กระทบประโยชน์ ทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อการดำเนินการขององค์กรในระดับมหาภาค และองค์กรสามารถฉกฉวยข้อดีเหล่านี้มาเสริมสร้างให้ หน่วยงานเข็มแข็งขึ้นได้ - อุปสรรคทางสภาพแวดล้อม (T-Threats) เป็นการวิเคราะห์ว่าปัจจัยภายนอกองค์กรปัจจัยใดที่สามารถส่งผล กระทบในระดับมหภาคในทางที่จะก่อให้เกิดความเสียหายทั้งทางตรงและทางอ้อม ซึ่งองค์กรจำต้องหลีกเลี่ยง หรือปรับสภาพองค์กรให้มี ความแข็งแกร่งพร้อมที่จะเผชิญแรงกระทบดังกล่าวได้

อ้างอิงจาก http://mba1ubu.igetweb.com/index.php?mo=3&art=300331

น.ส ปวราพร หาญบุญศรี รหัส 5130125401227 เอกการจัดการทั่วไป กศพบ รุ่น 19



การเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม

สภาพแวดล้อมทั้งทาง ด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม เทคโนโลยี มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอด


สาเหตุของการเปลี่ยนแปลง เกิดจากปัจจัย 2 ประการ
1. การแข่งขันที่ไร้พรมแดน
2. การเปลี่ยนแปลง และ นวัตกรรมทางเทคโนโลยี


ซึ่งอัตราการเปลี่ยนแปลง และ การใช้เทคโนโลยีเพิ่มขึ้นในอัตราที่เร็วขึ้นทุกขณะ และ ในปัจจุบันเป็นยุคของเทคโนโลยีสารสนเทศ รวมทั้งการทวีความสำคัญของความรู้ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ ตามมา
การเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมดังกล่าวนี้ ส่งผลต่อสภาพการแข่งขันขององค์กรธุรกิจต่างๆ องค์กรต้องรู้จักปรับตัว พัฒนาให้ตนเอง มีความแตกต่างและเหนือกว่าคู่แข่งขัน ทำให้ผู้บริหารต้องตระหนักถึงความสำคัญของสภาวะแวดล้อม

โดยพยายามที่จะวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกและภายใน เพื่อประเมินจุดแข็งและจุดอ่อนของกิจการ และ แสวงหาช่องทางและโอกาสในการดำเนินธุรกิจอย่างถูกต้อง และทำให้องค์กรธุรกิจมีการเจริญเติบโต และ พัฒนาอย่างเหมาะสม สามารถสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การจัดการเชิงกลยุทธ์จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อความสำเร็จขององค์กร เพราะเป็นปัจจัยที่ทำให้องค์กรสามารถปรับตัวและดำรงอยู่ได้ จึงอาจกล่าวได้ว่า การจัดการเชิงกลยุทธ์ เป็นสาเหตุความเป็นเลิศของการบริหาร หรือ ความสำเร็จของกิจการ



ลักษณะของการจัดการเชิงกลยุทธ์

การจัดการเชิงกลยุทธ์ มีการคิดหาวิธีการ หรือ กลยุทธ์ทางเลือกต่างๆ เพื่อนำมาปฏิบัติ ให้บรรลุเป้าหมาย จึงควรที่จะคำนึงปัจจัยต่างๆ ดังต่อไปนี้ คือ ลักษณะธุรกิจที่ดำเนินอยู่ ลักษณะของธุรกิจในอนาคต สภาพแวดล้อม การจัดสรรทรัพยากร และ การปฏิบัติงานให้บรรลุวัตถุประสงค์

การจัดการเชิงกลยุทธ์ จึงมีลักษณะ ดังนี้

1. เป็นการกำหนดวิสัยทัศน์ ทิศทาง และ วัตถุประสงค์ เพื่อให้องค์กรมีทิศทาง และ เป้าหมายที่ชัดเจน

2. เป็นการกำหนด วิธีการ หรือ แนวทาง ในการดำเนินงาน และ กิจกรรมต่างๆขององค์กร เพื่อให้องค์กรบรรลุถึงทิศทาง และ วัตถุประสงค์ที่กำหนดขึ้น

3. เป็นการนำเอาวิธีการ หรือ แนวทางการดำเนินงานที่คิดขึ้นมาประยุกต์ใช้

4. เป็นเครื่องมือวัดความสามารถในการบริหารของผู้บริหาร

5. มีผลต่อทิศทางการดำเนินงานในระยะยาวขององค์กร

6. ได้มาซึ่งความได้เปรียบทางการแข่งขันขององค์กร

7. นำไปสู่การเปลี่ยนแปลง

8. เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานในระดับต่างๆขององค์กร

9. เกี่ยวข้องกับปัจจัยแวดล้อมภายนอก และ ภายใน รวมทั้งค่านิยม ทัศนคติ ความคาดหวังของบุคคลฝ่ายต่างๆ เช่น ผู้ถือหุ้น สังคม รัฐบาล พนักงาน



อ้างอิงจาก http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=merchantdream&month=08-03-2010&group=242&gblog=10

รัตนาพรรณ คงกล่ำ รหัส 5130125401250



ความหมายของSWOT Analysis

SWOT Analysis เป็นการวิเคราะห์สภาพองค์กร หรือหน่วยงานในปัจจุบัน เพื่อค้นหาจุดแข็ง จุดเด่น จุดด้อย หรือสิ่งที่อาจเป็นปัญหาสำคัญในการดำเนินงานสู่สภาพที่ต้องการในอนาคต



การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในองค์กร

การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในองค์กรจะเกี่ยวกับการวิเคราะห์พิจารณาทรัพยากรและความสามารถภายในองค์กรทุกๆด้าน เพื่อที่จะระบุจุดแข็งและจุดอ่อนขององค์กรแหล่งที่มาเบื้องต้นของข้อมูลเพื่อการประเมินสภาพแวดล้อมภายใน คือระบบข้อมูลเพื่อการบริหารที่ครอบคลุมทุกด้าน ทั้งในด้านโครงสร้าง ระบบ ระเบียบ วิธีปฎิบัติงาน บรรยากาศในการทำงานและทรัพยากรในการบริหารคน เงิน วัสดุ การจัดการ รวมถึงการพิจารณาผลการดำเนินงานที่ผ่านมาขององค์กรเพื่อที่จะเข้าใจสถานการณ์และแผนกลยุทธ์ก่อนหน้านี้ด้วย

Strength Analysis

การวิเคราะห์จุดแข็ง หรือ Strength Analysis เป็นการศึกษาตนเองจากมุมมองภายในและภายนอกว่าจุดแข็งของเราในเชิงเปรียบเทียบกับคู่แข่งนั้น เป็นเช่นไร หากจุดแข็งดังกล่าวเป็นสิ่งที่ทุกคนมีก็ไม่ถือว่าเป็นจุดแข็ง แต่เป็นความจำเป็น (Necessity) สำหรับการทำตลาด เช่น การผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ได้รับฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 อาจจะเคยเป็นจุดแข็งในอดีต แต่ปัจจุบันได้กลายเป็นสิ่งจำเป็นที่แบรนด์ใดไม่มีไม่ได้ ดังนั้นแล้วการมีฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 จึงไม่ถือเป็นจุดแข็งของบริษัท และแบรนด์

Weakness Analysis

การวิเคราะห์จุดอ่อน หรือ Weakness Analysis เป็นการศึกษาตนเอง จากมุมมองภายในและภายนอกว่า จุดอ่อนของเราในเชิงเปรียบเทียบกับคู่แข่งเป็นเช่นไร หากจุดอ่อนดังกล่าว เป็นสิ่งที่ทุกคนมีก็ไม่ถือว่าเป็นจุดอ่อนที่มีนัยสำคัญ แต่ในขณะเดียวกันถ้าเราสามารถแก้ไขจุดอ่อนเหล่านั้นได้ ก็จะเปรียบเสมือนว่าเรามีจุดแข็งเพิ่มขึ้นมา

โดยทั่วไปแล้ว หลายๆบริษัทสามารถวิเคราะห์จุดอ่อนของตนเองได้ดีเพราะเหตุผลหลายประการ อาทิ มองไม่เห็นว่าประเด็นต่างๆ นั้นเป็นจุดอ่อนได้อย่างไร หรืออาจจะเป็นเพราะการนำเสนอจุดอ่อนจะเป็นการตำหนิฝ่ายที่เกี่ยวข้อง การวิเคราะห์จุดอ่อนที่ดีจึงควรอาศัยการช่วยเหลือจากบุคคลภายนอก หรือคณะทำงานที่มีความมุ่งมั่นที่จะค้นหาความจริงที่เป็นจุดอ่อนของกิจการ



1. การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกองค์กร

ภายใต้การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกองค์กรนั้น สามารถค้นหาโอกาสและอุปสรรคทางการดำเนินงานขององค์กรที่ได้รับผลกระทบจากสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจทั้งในและระหว่างประเทศที่เกี่ยวกับการดำเนินงานขององค์กร เช่น อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ นโยบาย การเงิน การงบประมาณ สภาพแวดล้อมทางสังคม เช่น ระดับการศึกษาและอัตรารู้หนังสือของประชาชน การตั้งถิ่นฐานและการอพยพของ ประชาชน ลักษณะชุมชน ขนบธรรมเนียมประเพณี ค่านิยม ความเชื่อและวัฒนธรรม สภาพแวดล้อมทางการเมือง เช่น พระราชบัญญัติ พระราชกฤษฎีกา มติคณะรัฐมนตรี และสภาพแวดล้อมทางเทคโนโลยี หมายถึง กรรมวิธีใหม่ๆและพัฒนาการทางด้านเครื่องมือ อุปกรณ์ที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตและให้บริการ



Opportunity Analysis

การวิเคราะห์โอกาส หรือ Opportunity Analysis เป็นการศึกษาว่าโอกาสที่มีอยู่เชิงการตลาดนั้นคืออะไร โดยทั่วไปแล้วโอกาสทางการตลาดต่างๆ มักเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีในระดับกว้างและระดับลึก, การเปลี่ยนแปลงนโยบายต่างๆของรัฐบาล, การเปลี่ยนแปลงลักษณะทางสังคมศาสตร์การเปลี่ยนแปลงลักษณะทางประชากรศาสตร์ หรือการเปลี่ยนแปลงในวิถีการดำรงชีวิตของผู้บริโภค



Threat Analysis

ในทางตรงข้ามกับการวิเคราะห์โอกาสของบริษัท การวิเคราะห์อุปสรรค หรือ Threat Analysis เป็นการศึกษาว่าปัจจัยภายนอกที่มีผลต่อการเติบโตทางธุรกิจของบริษัทคืออะไร ปัจจัยเหล่านั้นมักเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีในระดับกว้างและระดับลึก,การเปลี่ยนแปลงนโยบายต่างๆของรัฐบาล,การเปลี่ยนแปลงลักษณะทางสังคมศาสตร์, การเปลี่ยนแปลงลักษณะทางประชากรศาสตร์ หรือ การเปลี่ยนแปลงในวิถีการดำรงชีวิตของผู้บริโภคโดยทั่วไป





www.cco.moph.go.th/p/research/swot.doc

หทัยทิพย์ 070

การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก

ในการกำหนดกลยุทธ์ที่มีประสิทธิผลเพื่อนยึดครองโอกาสนั้น ผู้ประกอบการต้องทำการวิเคราะห์องค์ประกอบ 2 ประการคือ

1.สภาพแวดล้อมภายนอก โดยทำการศึกษาแนวโน้มสภาพแวดล้อมทั่วไป และสภาพแวดล้อมอุตสาหากรรม หรือสภาพแวดล้อมการแข่งขัน เพื่อค้นหาช่องว่างจากตลาด

2. สภาพแวดล้อมภายใน หรือการวิเคราะห์กิจการ
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทั่วไป หรือการวิเคราะห์ PEST ได้แก่ การเมือง เศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยี

การเมือง
- ภาษีทางตรงและภาษีทางอ้อม
- ภาษีเงินได้นิติบุคคล
- งบประมาณของรัฐ
- นโยบายการพัฒนาอุตสาหกรรม
- นโยบายการเงินและระดับอัตราดอกเบี้ย
- ข้อตกลงทางการค้าระหว่างประเทศ
- กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคและการแข่งขัน
- การออกกฎระเบียบและการผ่อนคลายกฎระเบียบของรัฐ
- การปฏิบัติในระดับท้องถิ่น
- นโยบายด้านการศึกษา

เศรษฐกิจ
- วัฏจักรธุรกิจ
- ภาวะการจ้างงาน
- อัตราดอกเบี้ยและอัตราแลกเปลี่ยน
- ราคาที่อยู่อาศัยและภาวะตลาดหลักทรัพย์
- การพัฒนาเศรษฐกิจ

สังคม
- อัตราการเติบโตของประชากร
- โครงสร้างอายุ
- การโยกย้ายถิ่นฐาน
- การเปลี่ยนแปลงสังคมและวัฒนธรรม

เทคโนโลยี
- ระดับค่าใช้จ่ายในการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ของอุตสาหกรรมต่างๆ
- ตลาดใหม่
- วิธีการผลิต
- อัตราการยอมรับเทคโนโลยีใหม่

สภาพแวดล้อมอุตสาหกรรม

การคุกคามจากคู่แข่งขันที่จะเข้ามาใหม่ ขึ้นอยู่กับปัจจัย 2 ประการ
1. อุปสรรคที่สกัดกั้นผู้ที่จะเข้ามาใหม่
2. การแข่งขันของกิจการที่มีอยู่เดิม
3. แรงกดดันจากผลิตภัณฑ์ทดแทน
4. อำนาจการต่อรองของผู้ซื้อ
5. อำนาจการต่อรองของผู้จัดหา

อ้างอิงจาก อำนาจ ธีระวนิช. (2549). ผู้ประกอบการ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์.

นางสาวนงลักษณ์ พลจันทร์ การจัดการทั่วไป ปี44 5210125401056

สิ่งแวดล้อมภายในองค์การ (Internal Environment) คือสภาวะแวดล้อมที่ธุรกิจสามารถควบคุมได้ หมายถึง ปัจจัยต่าง ๆ ที่ธุรกิจสามารถกำหนดและควบุคมได้เป็นไปตามความต้องการของธุรกิจถือว่าเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อโปรแกรมการตลาด โดยการวิเคราห์จุดแข็งจุดอ่อนของธุรกิจ ในการนำไปเปรียบเทียบกับคู่แข่งขัน สามารถจำแนกได้ดังนี้
1. ส่วนผสมททางการตลาด เป็นส่วนที่สำคัญในการเลือกตลาดเป้าหมายซึ่งสิ่งเหล่านี้นำมาวางแผนกลยุทธ์ทางการตลาด
2. นโยบายการบริหารของบริษัท โดยผู้บริหารของธุรกิจจะเป็นผู้กำหนด เช่น วัตถุประสงค์หรือเป้าหมายในการดำเนินธุรกิจ โครงสร้างการบริหาร ระบบการบริหารปรัชญาและวัฒนะธรรม ตลอดจนนโยบายฝ่ายต่าง ๆ

สิ่งแวดล้อมภายนอกองค์กร (External Environment) หรือภาวะแวดล้อมที่ธุรกิจไม่สามารถควบคุมได้ ปัจจัยกลุ่มนี้ หมายถึง ปัจจัยยังคับภายนอกธุรกิจที่มีอิทธิพลต่อระบบการตลาด ถือว่าเป็นปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้แต่มีอิธิพลต่อระบบการตลาด คือสร้างโอกาสหรืออุปสรรคแก่ธุรกิจ ซึ่งประกอบด้วย สิ่งแวดล้อมจุลภาค และสิ่งแวดล้อมมหภาค

สิ่งแวดล้อมภายนอกระดับจุลภาค (Micro External Environment)
ภาวะแวดล้อมภายนอกที่ไม่สามารถควบุคมได้ แต่สามารถเลือกที่จะติดต่อและเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสมได้ ได้แก่
1 ตลาด หรือลูกค้า
2 ผู้ขายปัจจัยการผลิตหรือวัตถุดิบ
3 คนกลางทางการตลาด
4 กลุ่มผลประโยชน์
5 ชุมชน

สิ่งแวดล้อมภายนอกระดับมหภาค (Macro External Environment)
ภาวะแวดล้อมหรือปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการดำเนินธุรกิจและต่อระบบการตลาดเป็นอย่างมาก แต่ละหน่วยงานและองค์การธุรกิจไม่สามารถควบคุมการเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้เลย สิ่งแวดล้อมภายนอกมหภาคได้แก่

สภาพแวดล้อมขององค์การธุรกิจ

.....องค์การธุรกิจมีบทบาทและผลกระทบต่อสภาวะแวดล้อมในสภาพเดียวกันสภาวะแวดล้อมมีบทบาทและอิทธิพลต่อองค์การธุรกิจในลักษณะต่างๆ กันหลายรูปแบบซึ่งขึ้นอยู่กับความต้องการและระดับของสังคม ชนิดและสภาพของสิ่งแวดล้อมนั้นสภาพแวดล้อมขององค์การธุรกิจสามารถแบ่งออกเป็น 8 ประการ ได้แก่ (ระวัง เนตรโพธิ์แก้ว 2537: 10 - 12)
แหล่งที่มา jamthailand.50webs.com/env_internal.doc
หนังสือที่อ้างอิง: ผศ.ดร.ณัฎฐพันธ์ เขจรนันทน์. (2552). การจัดการเชิงกลยุทธ์.กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น

นางสาว สายชน นาคปานเสือ รหัส 521025401055

ทฤษฎี X และทฤษฎี Y ของแมคเกรเกอร์.

แมคเกรเกอร์ (McGregor, 1960) ได้ชี้ให้เห็นถึงแบบของการบริหาร 2 แบบ คือ ทฤษฎี X ซึ่งมีลักษณะเป็นเผด็จการ และทฤษฎี Y หรือการมีส่วนร่วม แต่ละแบบเกี่ยวข้องกับสมมุติฐานที่มีต่อลักษณะของมนุษย์ดังนี้

ผู้บริหารแบบทฤษฎี X เชื่อว่า

1. มนุษย์โดยทั่วไปไม่ชองการทำงาน และพยายามหลีกเลี่ยงงานถ้าสามารถทำได้
2. เนื่องจากการไม่ชอบทำงานของมนุษย์ มนุษย์จึงถูกควบคุม บังคับ หรือข่มขู่ให้ทำงาน ชอบให้สั่งการและใช้วิธีการลงโทษ เพื่อให้ใช้ความพยายามได้เพียงพอ และบรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การ
3. มนุษย์โดยทั่วไปพอใจกับการชี้แนะสั่งการหรือการถูกบังคับ ต้องการหลีกเลี่ยงความรับผิดชอบ มีความทะเยอทะยานน้อย และต้องการความมั่นคงมากที่สุด ผู้บริหารตามทฤษฎี X จึงต้องสร้างแรงจูงใจโดยการข่มขู่ และลงโทษ เพื่อทำให้ลูกน้องใช้ความพยายามให้บรรลุความสำเร็จตามเป้าหมายขององค์การ

ผู้บริหารแบบทฤษฎี Y มีความเชื่อว่า

1. การทำงานเป็นการตอบสนองความพอใจ
2. การข่มขู่ด้วยวิธีการลงโทษไม่ได้เป็นวิธีการที่ดีที่สุดในการจูงใจให้คนทำ งาน บุคคลที่ผูกพันกับการบรรลุถึงความสำเร็จตามเป้าหมายขององค์การ จะมีแรงจูงใจด้วยตนเองและควบคุมตนเอง
3. ความผูกพันของบุคคลที่มีต่อเป้าหมายขึ้นอยู่กับรางวัล และผลตอบแทนที่พวกเขาคาดหวังว่าจะได้รับเมื่อเป้าหมายบรรลุถึงความสำเร็จ
4. ภายใต้สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมในการทำงาน เป็นการจูงใจให้บุคคลอมรับและแสวงหาความรับผิดชอบ มีความคิดสร้างสรรค์ในการทำงาน
ทฤษฎี Y เน้นถึงการพัฒนาตนเองของมนุษย์ ชี้ให้เห็นว่ามนุษย์นั้นรู้จักตัวเองได้ถูกต้อง รู้จักความสามารถของตนเอง ผู้บริหารควรสร้างแรงจูงใจโดยการสร้างสรรค์สถานการณ์ที่จะทำให้สมาชิกมีความ รู้สึกรับผิดชอบ และมีส่วนร่วมในการทำงาน ในการบริหารนั้น มีการนำทฤษฎีเชิงจิตวิทยามาใช้จำนวนมาก เพราะการบริหารเป็นการทำงานกับ “คน” และทฤษฎีจิตวิทยาก็พูดเรื่อง “คน” การศึกษาทฤษฎีจิตวิทยาที่เกี่ยวกับการควบคุมกำกับพฤติกรรมของมนุษย์ การสร้างแรงจูงใจในการทำงาน และภาวะผู้นำ จึงเป็นประโยชน์อย่างมากต่อผู้บริหาร Donglas Mc Gregor ได้ค้นพบแนวคิด “พฤติกรรมองค์การ” และสรุปว่า กิจกรรมการบริหารจัดการล้วนมีสาเหตุรากฐานมาจากทฤษฎีพฤติกรรมมนุษย์ (human behaviors) ซึ่งเป็นไปตามกรอบทฤษฎี X และทฤษฎี Y คือ
ทฤษฎี X (Theory X) คือคนประเภทเกียจคร้าน ในการบริหารจึงควรใช้มาตรการบังคับ มีระเบียบกฎเกณฑ์คอยกำกับ มีการควบคุมการทำงานอย่างใกล้ชิด และมีการลงโทษเป็นหลัก
ทฤษฎี Y (Theory Y) คือคนประเภทขยัน ควรมีการกำหนดหน้าที่การงานที่เหมาะสม ท้าทายความสามารถ สร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานเชิงบวก และควรเปิดโอกาสให้มีส่วนร่วมในการบริหารงาน

อ้างอิงจาก หนังสือ ทฤษฎี องค์การเพื่อการบริหาร
ร.ศ.ดร สมิหร่า จิตลดากร
สำนักพิมพ์ คงวุฒิ คุณากร พิมพ์ ครั้งที่ 3
5 กุมภาพันธ์ 2546