ปีการศึกษา 1/2556
วิธีการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน ผู้บริหารเชิงกลยุทธ์ควรจะระบุปัจจัยภายในบริษัทของพวกเขาที่อาจจะเป็นจุดแข็งและจุดอ่อนที่สำคัญปัจจัยเหล่านี้จะเป็นจุดแข็ง ถ้าพวกมันสร้างข้อได้เปรียบทางการแข่งขัน นี่คือบางสิ่งบางอย่างที่บริษัททำหรือมีศักยภาพที่จะทำได้ดี บางสิ่งบางอย่างที่บริษัททำได้ไม่ดีหรือไม่มีความสามารถจะทำทั้งที่คู่แข่งขันของพวกเขามีความสามารถนั้นภายในการประเมินความสำคัญของปัจจัยเหล่านี้ผู้บริหารควรจะมั่นใจว่าพวกมันคือปัจจัยเชิงกลยุทธ์ภายในหรือไม่-จุดแข็งและจุดอ่อนบางอย่างที่กำหนดอนาคตของบริษัท วิธีการอย่างหนึ่งคือ การเปรียบเทียบเครื่องวัดปัจจัยเหล่านี้กับเครื่องวัด(1) ผลการดำเนินงานที่ผ่านมาของบริษัท(2) คู่แข่งขันรายสำคัญของบริษัท(3) อุตสาหกรรมโดยส่วนรวมถ้าปัจจัยเหล่านี้ (เช่น สถานการณ์ทางการเงินของบริษัท) แตกต่างอย่างมากจากที่ผ่านมาของบริษัทคู่แข่งขันรายสำคัญของบริษัท หรือค่าเฉลี่ยของอุตสาหกรรม ปัจจัยเหล่านี้น่าจะเป็นปัจจัยเชิงกลยุทธ์ และควรถูกพิจารณาภายในการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ ผู้บริหารสามารถวิเคราะห์ปัจจัยภายในได้ด้วยวิธีการต่อไปนี้ คือ กรอบข่าย 7-s การวิเคราะห์ PIMS การวิเคราะห์ลูกโซ่คุณค่า และการวิเคราะห์ตามหน้าที่การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมและอุตสาหกรรม ก่อนที่ผู้บริหารเชิงกลยุทธ์จะเริ่มกลยุทธ์ของพวกเขาขึ้นมา พวกเขาจะต้องวิเคราะห์สภาพแวดล้อมเสียก่อน เพื่อการพิจารณาถึงโอกาส และ อุปสรรค การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมคือการตรวจสอบการประเมิน และการเผยแพร่ข้อมูลทางภาพแวดล้อมไปยังผู้บริหารภายในบริษัท บริษัทจะต้องตรวจสอบสภาพแวดล้อมอยู่เสมอ เพื่อการตรวจสอบปัจจัยเชิงกลยุทธ์ที่มีผลกระทบต่อความสำเร็จหรือความล้มเหลวของบริษัทอ้างอิงจาก สมยศ นาวีการ. (2541). การบริหารเชิงกลยุทธ์และนโยบายทางธุรกิจ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์.ผู้จัดการ*น.ส.อารยา อินทะสอน รหัส 5210125401039 เอกการจัดการทั่วไป ปี 4 *
นางสาวสุชาดา สุขวงษ์ รหัส 5210125401002 การจัดการทั่วไปการวิเคราะห์ สภาพแวดล้อมภายในและภายนอกองค์กร (SWOT) การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในและภายนอกองค์กรทางการศึกษา เพื่อศึกษาแนวโน้มการพัฒนาการศึกษาให้มีความเหมาะสม สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนท้องถิ่น โดยแนวโน้มการพัฒนาการศึกษาขององค์กรทางการศึกษาต้องมีความเป็นไปได้ในการพัฒนาตามเงื่อนไขข้อจำกัดและองค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อการจัดการศึกษา ซึ่งได้แก่ นโยบายในการจัดการศึกษาของหน่วยงานต้นสังกัด รูปแบบการบริหารงานขององค์กรทางการศึกษา และปัจจัยทีเกี่ยวข้องอื่นการศึกษาความต้องการของชุมชน เป็นการสำรวจความต้องการขององค์กรชุมชนที่องค์กรทางการศึกษาตั้งอยู่ความต้องการของผู้ปกครองนักเรียนและความต้องการของชาวบ้านในชุมชนสรุปมาเป็นแนวทางในการดำเนินงานเพื่อตอบสนองความต้องการของชุมชนการวิเคราะห์สภาพขององค์กรทางการศึกษาเพื่อกำหนดแนวทางในการพัฒนาการศึกษา จะต้องวิเคราะห์ผลกระทบที่เกิดจากปัจจัยต่าง ๆ ด้วย เรียกว่า SWOT Analysis ซึ่งได้แก่Strengths - จุดแข็งหรือข้อได้เปรียบ Weaknesses - จุดอ่อนหรือข้อเสียเปรียบ Opportunities - โอกาสที่จะดำเนินการได้ Threats - อุปสรรค หรือปัจจัยที่คุกคามการดำเนินงานขององค์การ การวิเคราะห์ SWOT อาจเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เป็นการทำ Situation Analysis เป็นการวิเคราะห์สภาพองค์การ หรือหน่วยงานในปัจจุบัน เพื่อค้นหาจุดแข็ง จุดเด่น จุดด้อย หรือสิ่งที่อาจเป็นปัญหาสำคัญในการดำเนินงานสู่สภาพที่ต้องการในอนาคต การวิเคราะห์สภาพการณ์ (Situation Analysis) วิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน เพื่อให้รู้ตนเอง (รู้เรา) รู้จักสภาพแวดล้อม (รู้เขา) ชัดเจน และวิเคราะห์โอกาส-อุปสรรค เพื่อประโยชน์ในการกำหนดวิสัยทัศน์ หรือเลือกกลยุทธ์ระดับองค์กรที่เหมาะสมต่อไป ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับการทำ Strategic Decision การทำ Strategic Decision เป็นการตัดสินใจเลือกกลยุทธ์หรือวิธีดำเนินงานที่สำคัญ ที่เป็นหลักในการปฏิบัติไปสู่สภาพที่ต้องการในอนาคตขององค์การ เพื่อการบรรลุ Vision หรือสภาพในอนาคตตามที่ได้กำหนดไว้ ซึ่งเป็นการเลือกโดยคำนึงถึงสภาพในอนาคต โดยคำนึงถึงจุดที่ต้องการ โดยรู้สถานการณ์ เห็นถึงโอกาสและรู้จุดดี จุดเด่นตลอดจนจุดอ่อนในการดำเนินงานไปสู่จุดหมายที่ต้องการขององค์การในอนาคต เป็นการค้นหากลยุทธ์โดยหลักการ มองกว้าง เห็นไกล รอบคอบ ตามหลักการกำหนดกลยุทธ์ในแบบต่าง ๆ เช่น กลยุทธ์ที่มุ่งหา S สูง – O สูง, S สูง – T ต่ำ, W ต่ำ – O สูง และ W ต่ำ – T ต่ำ กลยุทธ์เชิงรุก กลยุทธ์เพื่อความเจริญก้าวหน้า (Growth Strategy) กลยุทธ์แบบคงที่ (Stability Strategy) กลยุทธ์แบบตัดทอนป้องกัน (Retrenchment and Defense Strategy) กลยุทธ์การตั้งราคา-การขาย กลยุทธ์การแข่งขัน กลยุทธ์การเป็นผู้นำ กลยุทธ์ในการสร้างความแตกต่างของผลิตภัณฑ์และบริการ กลยุทธ์การจำกัดขอบเขตปฏิบัติการ เป็นต้นอ้างอิงhttp://www.vcharkarn.com/vcafe/133036
สัมมนาปัญหาการจัดการ:นางสาวสุกัญญา ปราณีดุดสี การจัดการทั่วไป ปี4 รหัส 5210125401006 ทฤษฎีการบริหารการจัดการเชิงระบบ ทฤษฎีการบริหารการจัดการเชิงระบบ มีรากฐานมาจากทฤษฏีระบบโดยทั่วไปของ Ludwig von Bertalanffy ซึ่งเป็นนักวิทยาศาสตร์ด้านฟิสิกส์และชีววิทยา รูปแบบของระบบvon Bertalanffy มี 2 แบบคือ 1.ระบบปิด ซึ่งไม่ได้รับอิทธิพลและไม่มีปฏิกิริยาโต้ตอบกับสิ่งแวดล้อมที่อยู่รายรอบระบบนั้นๆ โดยส่วนใหญ่แล้วระบบปิดเป็นเครื่องจักรกลที่มีการเคลื่อนไหวหรือกิจกรรมที่กำหนดไว้ตายตัวก่อนล่วงหน้าแล้ว โดยไม่ต้องคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม 2.ระบบเปิด จะมีปฎิกิริยาโต้ตอบกับสิ่งแวดล้อมของระบบอย่างต่อเนื่อง พืชเป็นตัวอย่างหนึ่งของระบบเปิด การมีปฏิกิริยาโต้ตอบกับสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่องจะมีผลกระทบต่อสภาพความเป็นอยู่และอนาคตของพืชนั้นๆ สิ่งแวดล้อมจะเป็นสิ่งบ่งชี้ว่าพืชนั้นจะมีชีวิตอยู่ได้หรือไม่ ระบบและองค์รวม แนวคิดขององค์รวมของระบบมีความสำคัญมากในการวิเคราะห์ระบบโดยทั่วไป L.Thomas Hopkins ได้แนะแนวทางในการวิเคราะห์เชิงระบบ 6 ประการ ดังนี้ 1.องค์รวมของระบบควรเป็นหลักสำคัญของการวิเคราะห์ 2.การบูรณาการเป็นปัจจัยหลักในการวิเคราะห์องค์รวมของระบบ 3.การปรับเปลี่ยนแต่ละองค์ประกอบควรพิจารณาเปรียบเทียบถึงผลกระทบต่อองค์ประกอบอื่นๆ 4.แต่ละองค์ประกอบมีบทบาทที่ต้องปฏิบัติเพื่อองค์รวมสามารถบรรลุเป้าหมายของตนได้ 5.ตำแหน่งขององค์ประกอบย่อยภาขยในองค์รวมจะบ่งบอกถึงคุณลักษณะและภาระหน้าที่ของ องค์ประกอบย่อยนั้นๆ 6.การวิเคราะห์ทั้งหมดจะเริ่มต้นที่องค์รวม องค์ประกอบย่อยอื่นๆ และความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบต่างๆ ควรพัฒนาให้เหมาะสมกับเป้าหมายขององค์รวมให้มากที่สุด ทฤษฏีการบริหารจัดการเชิงระบบมีรากฐานบนทฤษฏีระบบ เราจึงควรให้ความสำคัญของการวิเคราะห์สถานการณ์ด้านการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ จากนั้นเราจึงจะมาศึกษาถึงองค์ประกอบต่างๆ ของระบบและข้อมูลที่สามารถประยุกต์ใช้กับการวิเคราะห็ระบบได้อ้างอิง: ชื่อหนังสือ การจัดการสมัยใหม่ (Modern Management:9ed) ผู้แต่ง Samuel C.Certo สำนักพิมพ์ บริษัท เพียร์สัน เอ็ดดูเคชั่น อินโดไชน่า จำกัด ปีที่พิมพ์ 2552
แสดงความคิดเห็น
3 ความคิดเห็น:
วิธีการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน
ผู้บริหารเชิงกลยุทธ์ควรจะระบุปัจจัยภายในบริษัทของพวกเขาที่อาจจะเป็นจุดแข็งและจุดอ่อนที่สำคัญปัจจัยเหล่านี้จะเป็นจุดแข็ง ถ้าพวกมันสร้างข้อได้เปรียบทางการแข่งขัน นี่คือบางสิ่งบางอย่างที่บริษัททำหรือมีศักยภาพที่จะทำได้ดี บางสิ่งบางอย่างที่บริษัททำได้ไม่ดีหรือไม่มีความสามารถจะทำทั้งที่คู่แข่งขันของพวกเขามีความสามารถนั้นภายในการประเมินความสำคัญของปัจจัยเหล่านี้ผู้บริหารควรจะมั่นใจว่าพวกมันคือปัจจัยเชิงกลยุทธ์ภายในหรือไม่-จุดแข็งและจุดอ่อนบางอย่างที่กำหนดอนาคตของบริษัท วิธีการอย่างหนึ่งคือ การเปรียบเทียบเครื่องวัดปัจจัยเหล่านี้กับเครื่องวัด
(1) ผลการดำเนินงานที่ผ่านมาของบริษัท
(2) คู่แข่งขันรายสำคัญของบริษัท
(3) อุตสาหกรรมโดยส่วนรวม
ถ้าปัจจัยเหล่านี้ (เช่น สถานการณ์ทางการเงินของบริษัท) แตกต่างอย่างมากจากที่ผ่านมาของบริษัทคู่แข่งขันรายสำคัญของบริษัท หรือค่าเฉลี่ยของอุตสาหกรรม ปัจจัยเหล่านี้น่าจะเป็นปัจจัยเชิงกลยุทธ์ และควรถูกพิจารณาภายในการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ ผู้บริหารสามารถวิเคราะห์ปัจจัยภายในได้ด้วยวิธีการต่อไปนี้ คือ กรอบข่าย 7-s การวิเคราะห์ PIMS การวิเคราะห์ลูกโซ่คุณค่า และการวิเคราะห์ตามหน้าที่
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมและอุตสาหกรรม
ก่อนที่ผู้บริหารเชิงกลยุทธ์จะเริ่มกลยุทธ์ของพวกเขาขึ้นมา พวกเขาจะต้องวิเคราะห์สภาพแวดล้อมเสียก่อน เพื่อการพิจารณาถึงโอกาส และ อุปสรรค การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมคือการตรวจสอบการประเมิน และการเผยแพร่ข้อมูลทางภาพแวดล้อมไปยังผู้บริหารภายในบริษัท บริษัทจะต้องตรวจสอบสภาพแวดล้อมอยู่เสมอ เพื่อการตรวจสอบปัจจัยเชิงกลยุทธ์ที่มีผลกระทบต่อความสำเร็จหรือความล้มเหลวของบริษัท
อ้างอิงจาก สมยศ นาวีการ. (2541). การบริหารเชิงกลยุทธ์และนโยบายทางธุรกิจ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์.ผู้จัดการ
*น.ส.อารยา อินทะสอน รหัส 5210125401039 เอกการจัดการทั่วไป ปี 4 *
นางสาวสุชาดา สุขวงษ์ รหัส 5210125401002 การจัดการทั่วไป
การวิเคราะห์ สภาพแวดล้อมภายในและภายนอกองค์กร (SWOT)
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในและภายนอกองค์กรทางการศึกษา เพื่อศึกษา
แนวโน้มการพัฒนาการศึกษาให้มีความเหมาะสม สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนท้องถิ่น โดยแนวโน้มการพัฒนาการศึกษาขององค์กรทางการศึกษาต้องมีความเป็นไปได้ในการพัฒนาตามเงื่อนไขข้อจำกัดและองค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อการจัดการศึกษา ซึ่งได้แก่ นโยบายในการจัดการศึกษาของหน่วยงานต้นสังกัด รูปแบบการบริหารงานขององค์กรทางการศึกษา และปัจจัยทีเกี่ยวข้องอื่น
การศึกษาความต้องการของชุมชน เป็นการสำรวจความต้องการขององค์กรชุมชนที่องค์กรทางการศึกษาตั้งอยู่ความต้องการของผู้ปกครองนักเรียน
และความต้องการของชาวบ้านในชุมชนสรุปมาเป็นแนวทางในการดำเนินงานเพื่อตอบสนองความต้องการของชุมชนการวิเคราะห์สภาพขององค์กรทางการศึกษาเพื่อกำหนด
แนวทางในการพัฒนาการศึกษา จะต้องวิเคราะห์ผลกระทบที่เกิดจากปัจจัยต่าง ๆ ด้วย เรียกว่า SWOT Analysis ซึ่งได้แก่
Strengths - จุดแข็งหรือข้อได้เปรียบ
Weaknesses - จุดอ่อนหรือข้อเสียเปรียบ
Opportunities - โอกาสที่จะดำเนินการได้
Threats - อุปสรรค หรือปัจจัยที่คุกคามการดำเนินงานขององค์การ
การวิเคราะห์ SWOT อาจเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เป็นการทำ Situation Analysis
เป็นการวิเคราะห์สภาพองค์การ หรือหน่วยงานในปัจจุบัน เพื่อค้นหาจุดแข็ง จุดเด่น จุดด้อย หรือสิ่งที่อาจเป็นปัญหาสำคัญในการดำเนินงานสู่สภาพที่ต้องการในอนาคต การวิเคราะห์สภาพการณ์
(Situation Analysis) วิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน เพื่อให้รู้ตนเอง (รู้เรา) รู้จักสภาพแวดล้อม (รู้เขา) ชัดเจน และวิเคราะห์โอกาส-อุปสรรค เพื่อประโยชน์ในการกำหนดวิสัยทัศน์ หรือเลือกกลยุทธ์ระดับองค์กรที่เหมาะสมต่อไป ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับการทำ Strategic Decision การทำ Strategic Decision เป็นการตัดสินใจเลือกกลยุทธ์หรือวิธีดำเนินงานที่สำคัญ ที่เป็นหลักในการปฏิบัติไปสู่สภาพที่ต้องการในอนาคตขององค์การ เพื่อการบรรลุ Vision หรือสภาพในอนาคตตามที่ได้กำหนดไว้ ซึ่งเป็นการเลือกโดยคำนึงถึงสภาพในอนาคต โดยคำนึงถึงจุดที่ต้องการ โดยรู้สถานการณ์ เห็นถึงโอกาสและรู้จุดดี จุดเด่นตลอดจนจุดอ่อนในการดำเนินงานไปสู่จุดหมายที่ต้องการขององค์การในอนาคต เป็นการค้นหากลยุทธ์โดยหลักการ มองกว้าง เห็นไกล รอบคอบ ตามหลักการกำหนดกลยุทธ์ในแบบต่าง ๆ เช่น กลยุทธ์ที่มุ่งหา S สูง – O สูง, S สูง – T ต่ำ,
W ต่ำ – O สูง และ W ต่ำ – T ต่ำ กลยุทธ์เชิงรุก กลยุทธ์เพื่อความเจริญก้าวหน้า (Growth Strategy) กลยุทธ์แบบคงที่ (Stability Strategy) กลยุทธ์แบบตัดทอนป้องกัน (Retrenchment and Defense Strategy) กลยุทธ์การตั้งราคา-การขาย กลยุทธ์การแข่งขัน กลยุทธ์การเป็นผู้นำ กลยุทธ์ในการสร้างความแตกต่างของผลิตภัณฑ์และบริการ กลยุทธ์การจำกัดขอบเขตปฏิบัติการ เป็นต้น
อ้างอิง
http://www.vcharkarn.com/vcafe/133036
สัมมนาปัญหาการจัดการ:นางสาวสุกัญญา ปราณีดุดสี การจัดการทั่วไป ปี4 รหัส 5210125401006
ทฤษฎีการบริหารการจัดการเชิงระบบ
ทฤษฎีการบริหารการจัดการเชิงระบบ มีรากฐานมาจากทฤษฏีระบบโดยทั่วไปของ Ludwig von Bertalanffy ซึ่งเป็นนักวิทยาศาสตร์ด้านฟิสิกส์และชีววิทยา รูปแบบของระบบvon Bertalanffy มี 2 แบบคือ
1.ระบบปิด ซึ่งไม่ได้รับอิทธิพลและไม่มีปฏิกิริยาโต้ตอบกับสิ่งแวดล้อมที่อยู่รายรอบระบบนั้นๆ โดยส่วนใหญ่แล้วระบบปิดเป็นเครื่องจักรกลที่มีการเคลื่อนไหวหรือกิจกรรมที่กำหนดไว้ตายตัวก่อนล่วงหน้าแล้ว โดยไม่ต้องคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม
2.ระบบเปิด จะมีปฎิกิริยาโต้ตอบกับสิ่งแวดล้อมของระบบอย่างต่อเนื่อง พืชเป็นตัวอย่างหนึ่งของระบบเปิด การมีปฏิกิริยาโต้ตอบกับสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่องจะมีผลกระทบต่อสภาพความเป็นอยู่และอนาคตของพืชนั้นๆ สิ่งแวดล้อมจะเป็นสิ่งบ่งชี้ว่าพืชนั้นจะมีชีวิตอยู่ได้หรือไม่
ระบบและองค์รวม แนวคิดขององค์รวมของระบบมีความสำคัญมากในการวิเคราะห์ระบบโดยทั่วไป
L.Thomas Hopkins ได้แนะแนวทางในการวิเคราะห์เชิงระบบ 6 ประการ ดังนี้
1.องค์รวมของระบบควรเป็นหลักสำคัญของการวิเคราะห์
2.การบูรณาการเป็นปัจจัยหลักในการวิเคราะห์องค์รวมของระบบ
3.การปรับเปลี่ยนแต่ละองค์ประกอบควรพิจารณาเปรียบเทียบถึงผลกระทบต่อองค์ประกอบอื่นๆ
4.แต่ละองค์ประกอบมีบทบาทที่ต้องปฏิบัติเพื่อองค์รวมสามารถบรรลุเป้าหมายของตนได้
5.ตำแหน่งขององค์ประกอบย่อยภาขยในองค์รวมจะบ่งบอกถึงคุณลักษณะและภาระหน้าที่ของ องค์ประกอบย่อยนั้นๆ
6.การวิเคราะห์ทั้งหมดจะเริ่มต้นที่องค์รวม องค์ประกอบย่อยอื่นๆ และความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบต่างๆ ควรพัฒนาให้เหมาะสมกับเป้าหมายขององค์รวมให้มากที่สุด
ทฤษฏีการบริหารจัดการเชิงระบบมีรากฐานบนทฤษฏีระบบ เราจึงควรให้ความสำคัญของการวิเคราะห์สถานการณ์ด้านการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ จากนั้นเราจึงจะมาศึกษาถึงองค์ประกอบต่างๆ ของระบบและข้อมูลที่สามารถประยุกต์ใช้กับการวิเคราะห็ระบบได้
อ้างอิง: ชื่อหนังสือ การจัดการสมัยใหม่ (Modern Management:9ed)
ผู้แต่ง Samuel C.Certo
สำนักพิมพ์ บริษัท เพียร์สัน เอ็ดดูเคชั่น อินโดไชน่า จำกัด
ปีที่พิมพ์ 2552
แสดงความคิดเห็น