หน้าเว็บ

นางสาวกอบทอง 5130125401224 รุ่น 19


การเตรียมความพร้อมเข้าสู่สมาคมเศรษฐกิขอาเซียนและวิเคราะห์ถึงผลกระทบต่อการบริหารจัดการ

ในปี 2558 นี้ ประเทศไทยกำลังจะก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน เราจึงไม่อาจปฏิเสธได้ว่าคนไทยและภาคธุรกิจทุกแขนง ต้องตื่นตัว และเรียนรู้ภาษา วัฒนธรรม ตลอดจนวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของเพื่อนบ้านในกลุ่มอาเซียนด้วยกันให้มากขึ้น เพื่อเป็นการเปิดโลกกว้าง และเป็นจุดเริ่มต้นการเตรียมความพร้อมก้าวสู่ประชาคมอาเซียนในอนาคต

ดร.ทักษิณ ปิลวาสน์ นายกสมาคมผู้ประกอบการท่องเที่ยวระหว่างประเทศ กล่าวว่า โอกาสและข้อได้เปรียบเพื่อนบ้านในกลุ่มอาเซียนด้วยกัน โดยเฉพาะการท่องเที่ยวไทย ที่เห็นได้ชัดคือ การใช้ข้อได้เปรียบในการเป็นประตูสู่ภูมิภาค (Gateway to Asean) ของ AEC ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ขณะที่ประเทศเพื่อนบ้านที่ความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับไทยอย่าง พม่า และ กัมพูชา ก็มีนโยบายเปิดประเทศมากขึ้น นักท่องเที่ยวทั้งจากในและนอกภูมิภาค สนใจในการเดินทางและการลงทุนใน 2 ประเทศดังกล่าวมากขึ้นทุกวัน ทำให้ไทยยิ่งมีโอกาสจับกลุ่มนักท่องเที่ยวเชื่อมโยงมาไทยก่อนกระจายไปสู่เพื่อนบ้านได้

นายกสมาคมฯ กล่าวอีกว่า เราได้เปรียบประเทศอื่นในหลายๆ เรื่อง ไม่ว่าจะเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงและได้รับการยอมรับไปทั่วโลก และเรายังเป็นเซ็นเตอร์ในการกระจายความเจริญ ความสะดวกในการเดินทาง เป็นศูนย์กลางของสายการบิน นักท่องเที่ยวนั่งเครื่องมาลงกรุงเทพฯ แล้วเดินทางไปทางรถออกมาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซียได้ ส่วนทางภาคอีสาน ทางเหนือก็สามารถออกไปกัมพูชา เวียดนาม จีน จนถึงธิเบตได้ ในเรื่องอาหารการกินก็สมบูรณ์ ผู้คนก็น่ารัก ใครมาก็ประทับใจตลอด นี่คือความได้เปรียบของเรา แต่ผมไม่อยากให้เราประมาท เราต้องเตรียมพร้อมและต้องดึงเพื่อนบ้านมาเป็นมิตรให้ได้ ต้องไม่แข่งกัน แต่ต้องสามัคคีและร่วมมือกันทำธุรกิจ นำตลาดตรงนี้ไปเสนออเมริกา ยุโรป ญี่ปุ่น เกาหลี ฯลฯ ซึ่งในกลุ่มประเทศเหล่านี้เขาชอบประเทศไทยมากอยู่แล้ว

สำหรับทางด้านของผู้ประกอบการการท่องเที่ยวนั้น นายกสมาคมฯ กล่าวว่า ต้องเปิดโลก เปิดตา และส่งเสริมพนักงานที่มีฝีมือไปศึกษาดูงานต่างประเทศ ให้ทุนการศึกษาต่อระดับสูง และจัดอบรมระยะสั้น เรียนรู้ว่าอะไรจะเกิดขึ้นในการค้าเสรีอาเซียน ส่วนภาครัฐที่รับผิดชอบในด้านการท่องเที่ยว ก็ต้องเรียกประชุมผู้ที่เกี่ยวข้องและให้ความรู้ในเรื่องอาเซียน ภาษา การตลาดอย่างเร่งด่วน สอนให้รู้ว่าผู้ประกอบการจะเจอกับอะไร และจะพัฒนาองค์กรอย่างไรบ้าง ที่สำคัญในเรื่องการตลาด ที่ต้องให้ผู้ประกอบการหันมาพัฒนาเว็บไซต์และองค์กรให้ดียิ่งๆ ขึ้น เพราะในขณะนี้โลกเปลี่ยนเป็นโลกไซเบอร์ไปแล้ว นักท่องเที่ยวเปิดดูข้อมูลในอินเตอร์เน็ตได้จากทั่วโลก ฉะนั้น ทำการตลาดต้องทำในรูปแบบใหม่ๆ เพื่อพร้อมรับความเปลี่ยนแปลง ในส่วนของพนักงาน คุณต้องมีความชอบในอาชีพ ต้องเรียนรู้และศึกษาตลอด เมื่อมาทำงานก็อย่าเอาเรื่องเงินมาเป็นเรื่องใหญ่ ต้องมีใจรัก มีความอดทน ใจเย็น เวลาที่เราบริการดีๆ นักท่องเที่ยวก็จะกลับมาใช้บริการเราอีก ทุกวันนี้ธุรกิจท่องเที่ยวขาดบุคลากรมาก เพราะคนไทยเลือกงาน จบมาแล้วทำอะไรไม่เป็น เช็ดกระจกไม่ได้ เสิร์ฟน้ำก็ไม่ได้ เงินเดือนน้อยก็ไม่เอา มาถึงก็ขอทำงานสบายๆ ไม่คิดที่จะเรียนรู้ ผมจึงอยากฝากถึงน้องๆ ที่อยากทำงานบริการ หรือด้านท่องเที่ยวว่าถ้าอยากทำงานด้านนี้ต้องปรับตัว ปรับทัศนคติ ไม่ใช่เพิ่งจบมาแต่ต้องอยู่ที่ดีๆ หรูๆ งานหนักไม่เอา งานเบาไม่สู้ ก็จะหางานลำบาก อาชีพเหล่านี้ก็จะตกไปอยู่ในมือของคนต่างชาติหมดนายกสมาคม กล่าว

ปัจจุบันมีนักท่องเที่ยวกลุ่มรัสเซีย อินเดีย ศรีลังกา และเนปาลเข้ามามากขึ้น นายกสมาคมฯ บอกว่า นักท่องเที่ยวกลุ่มนี้ส่วนมากเข้ามาแล้วไม่ค่อยใช้จ่ายอะไร แต่เข้ามาแย่งอาชีพ มาใช้ทรัพยากรของคนไทย โดยการขายทัวร์เองแล้วนำเงินกลับประเทศ บางกลุ่มก็เข้ามาก่ออาชญากรรม จึงอยากให้หน่วยงานของรัฐตรวจตราและเข้มงวดให้มากขึ้น ขอนักท่องเที่ยวที่มีคุณภาพ อย่าเอาแต่ปริมาณแล้วมาสร้างปัญหาให้คนไทย นอกจากนี้ปัญหาที่สำคัญและส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยวยิ่งกว่าภัยธรรมชาติก็คือปัญหาทางการเมือง หากการเมืองยังเป็นเช่นนี้ ก็จะกลายเป็นปัจจัยที่ทำลายตัวเอง ทำลายศักยภาพในการแข่งขัน เรื่องการเมืองจึงถือว่าเป็นเรื่องสำคัญ หากต้องการสร้างโอกาสในเวลาที่ประชาคมอาเซียนเป็นหนึ่งเดียว การเมืองของประเทศไทยจะต้องก้าวเข้าสู่วิถีของการปรองดองเท่านั้น ทั้งหมดจึงมีคำตอบว่าโอกาสที่อาเซียนจะเป็นผลด้านบวกให้กับประเทศไทยในอนาคตข้างหน้านั้นไม่ใช่เรื่องง่าย หากแต่คนไทยต้องปรับตัวเองเกือบทุกด้าน ทั้งในด้านการเมือง ภาคเอกชน และคุณภาพของบุคลากรเพื่อแข่งขันกับประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งกำลังจะล้ำหน้าประเทศไทยไปแล้ว ด้วยการหันหน้ามาสามัคคี ร่วมมือ ร่วมใจกันเพื่อให้ประเทศพัฒนาไปได้อย่างยั่งยืนนั่นเอง


นันทรัชต์ นาคมอญ nakmorn_59@hotmail.com


ภาวะผู้นำ
ธร สุนทรายุทธ (ม.ป.ป..,หน้า 97) ที่กล่าวไว้ว่า ผู้บริหารเป็นผู้ที่มีอำนาจตามที่ตนได้รับมอบหมายจากผู้มีอำนาจเหนือขึ้นไป โดยรับผิดชอบหน่วยงานตามระเบียบแบบแผน มีอำนาจหน้าที่ตามระเบียบข้อบังคับ หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับองค์กรนั้นได้บัญญัติไว้ ส่วนผู้นำเป็นบุคคลที่สามารถจูงใจบุคคลในองค์กร ให้ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความเต็มใจโดยเกิดจากการศรัทธา เลื่อมใส ผู้นำเป็นผู้ที่มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในการที่จะนำวิธีการใหม่ ๆ มาใช้ในการปฏิบัติงาน ซึ่งก่อให้เกิดผลดี ที่จะทำให้องค์กรดำเนินงานสำเร็จลุล่วงไปตามเป้าหมายที่ต้องการ ดังนั้น ภาวะผู้นำจึงปรากฏใน 2 ลักษณะ คือ ประการแรก ภาวะผู้นำที่เป็นทางการ ( formal leadership) จะเกิดขึ้นเมื่อผู้บริหารเป็นผู้นำ โดยการอำนาจหน้าที่ที่เป็นทางการ บุคคลที่ดำรงตำแหน่งบริหารที่มีโอกาสและความรับผิดชอบที่จะใช้ความเป็นผู้นำ อย่างเป็นทางการ ในความสัมพันธ์กับผู้ใต้บังคับบัญชา ผู้บริหารบางคนจะมีความเข้าใจที่ดีต่ออำนาจหน้าที่ และความสัมพันธ์อย่างเป็นทางการกับผู้ใต้บังคับบัญชา ผู้บริหารเหล่านี้จะเป็นผู้นำที่ดี ประการที่สองคือ ภาวะผู้นำที่ไม่เป็นทางการ( informal leadership) จะเกิดขึ้น เมื่อบุคคลที่ไม่มีอำนาจหน้าที่ที่เป็นทางการสามารถมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของ บุคคลอื่นได้ แม้ว่าพวกเขาจะไม่ได้ถูกแต่งตั้งอย่างเป็นทางการ พวกเขาสามารถกลายเป็นผู้นำ โดยความดึงดูดส่วนบุคคลของพวกเขาได้

แนวความคิดการบริหารเชิงสถานการณ์
ในปี 1967 Fred E. Fiedler ได้เสนอแนวความคิดการบริหารเชิงสถานการณ์ (Situational Management Theory) หรือทฤษฎีอุบัติการณ์ (Contingency Theory) ซึ่งถือเป็นทฤษฎีการบริหารที่ขึ้นอยู่กับ สภาพข้อเท็จจริงด้วยแนวคิดที่ว่าการเลือกทางออกที่จะไปสู่การแก้ปัญหาทางการบริหารถือว่าไม่มีวิธีใดที่ดีที่สุด หากแต่สถานการณ์ต่างหากที่จะเป็นตัวกำหนดว่าควรจะหยิบใช้วิธีการบริหารแบบใดในสภาวการณ์นั้นๆ หลักคิดง่ายๆ ของการบริหารเชิงสถานการณ์นั้น ถือว่าการบริหารจะดีหรือไม่ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ สถานการณ์จะเป็นตัวกำหนดการตัดสินใจ ในการเลือกรูปแบบการบริหารที่เหมาะสม ผู้บริหารจะต้องพยายามวิเคราะห์สถานการณ์ให้ดีที่สุด โดยเป็นการผสมผสานแนวคิดระหว่างระบบปิดและระบบเปิด ยอมรับหลักการของทฤษฎีระบบว่าทุกส่วนของระบบจะต้องสัมพันธ์ มีผลกระทบซึ่งกันและกัน คือมุ่งเน้น ความสัมพันธ์ระหว่างองค์การกับสภาพแวดล้อมขององค์การ สถานการณ์บางครั้งจะต้องใช้การตัดสินใจอย่างเฉียบขาด บางสถานการณ์ต้องอาศัยการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ บางครั้งก็ต้องคำนึงถึงหลักมนุษย์และแรงจูงใจ บางครั้งก็ต้องคำนึงถึงเป้าหมายหรือผลผลิตขององค์กรเป็นหลัก การบริหารจึงต้องอาศัยสถานการณ์เป็นตัวกำหนดในการตัดสินใจ

แนวความคิดทางการบริหารเชิงสถานการณ์ ตามทฤษฎีของ Fiedler ประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ปัจจุบัน 2 ลักษณะดังนี้
1. การศึกษารูปแบบของผู้นำที่มุ่งความสัมพันธ์ (Relationship-oriented leader) เป็นผู้นำที่มุ่งความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน ผู้นำจะสร้างความไว้วางใจ ความเคารพนับถือ และรับฟังความต้องการของพนักงาน เป็นผู้นำที่คำนึงถึงผู้อื่นเป็นหลัก (Consideration)   ผู้นำที่มุ่งงาน (Task -oriented leader) เป็นผู้นำที่มุ่งความสำเร็จในงาน ซึ่งจะกำหนดทิศทางและมาตรฐานในการทำงานไว้อย่างชัดเจน มีลักษณะคล้ายกับผู้นำแบบที่คำนึงถึงตัวเองเป็นหลัก (Initiating structure style)

ทฤษฎีของ Elton Mayo.

Elton Mayo เป็นบิดาคนหนึ่งในขบวนการมนุษย์สัมพันธ์ เขาให้ความสำคัญกับความสัมพันธ์ระหว่างคนงานด้วยกันเอง หรือระหว่างกลุ่มของคนงานในอันที่จะเพิ่มผลผลิตในองค์การ การมีการติดต่ออย่างเปิดกว้างระหว่างหัวหน้ากับลูกน้อง การให้โอกาสกับผู้ใต้บังคับบัญชาเข้ามาร่วมตัดสินใจอย่างเป็นประชาธิปไตย การให้ความสำคัญกับผู้ปฏิบัติงานทุกระดับและเอาใจใส่ดูแลเขา ให้ความเป็นกันเองกับเขามากกว่าคนงาน ย่อมทำให้มีผลงานเพิ่มขึ้น
แนวความคิดของ Mayo จากการทดลองที่ Hawthorn ใกล้เมือง Chicago U.S.A สรุปได้ 5 ประการ คือ ปทัสถานสังคม (ข้อตกลงเบื้องต้นในการทำงาน) คนงานที่สามารถปรับตัวเข้ากับกฎเกณฑ์อย่างไม่เป็นทางการของกลุ่มคนงานด้วยกัน จะมีความสบายใจและเพิ่มผลผลิต มากกว่าคนงานที่ไม่พยายามปฏิบัติหรือปรับตัวเข้ากับกฏเกณฑ์ที่กลุ่มปฏิบัติกัน กฎเกณฑ์เหล่านี้ตกลงกันเองและยึดถือกันภายในกลุ่ม และยังผลให้คนงานมีความรู้สึกว่าตนเป็นส่วนหนึ่งของพรรคพวก
กลุ่ม พฤติกรรมของกลุ่มมีอิทธิพลจูงใจและสามารถเปลี่ยนพฤติกรรมของแต่ละบุคคลได้ และกลุ่มย่อมมีอำนาจต่อรองกับฝ่ายบริหารโดยอาจจะเพิ่มผลผลิตหรือลดผลผลิตก็ได้ (1) การให้รางวัล และการลงโทษของสังคมในหมู่คนงานด้วยกัน เช่น การให้ความเห็นอกเห็นใจของกลุ่มแต่ละบุคคล การให้ความนับถือและความจงรักภักดีต่อกลุ่ม และกลุ่มต่อแต่ละบุคคล มีอิทธิพลต่อคนงานมากกว่าการที่ฝ่ายบริหารจะให้รางวัลเป็นตัวเงินต่อคนงานเหล่านี้ (2) การควบคุมบังคับบัญชา การบังคับบัญชาจะมีประสิทธิภาพมากที่สุด ถ้าฝ่ายบริหารปรึกษากลุ่มและหัวหน้าของกลุ่มที่ไม่เป็นทางการนี้ ในอันที่ปฏิบัติงานให้บรรลุเป้าหมายขบวนการมนุษย์สัมพันธ์ต้องการให้ผู้บังคับบัญชาเป็นคนที่น่ารัก เป็นนักฟังที่ดี เป็นมนุษย์ไม่ใช่เป็นนาย ต้องให้ข้อคิดแล้วให้คนงานตัดสินใจ อย่าเป็นผู้ตัดสินใจปัญหาเสียเอง ขบวนการมนุษย์สัมพันธ์จึงเชื่อว่าการสื่อข้อความอย่างมีประสิทธิภาพประกอบกับการให้โอกาสคนงานเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา เป็นหนทางที่ดีที่สุดที่จะได้มาซึ่งการควบคุมบังคับบัญชาที่มีประสิทธิภาพ (3) การบริหารแบบประชาธิปไตย พนักงานทำงานได้ผลงานดีมาก ถ้าเขาได้จัดการงานที่เขารับผิดชอบเอง โดยมีการควบคุมน้อยที่สุดจากผู้บริหาร หลังจากที่ได้มีการปรึกษาร่วมกันแล้ว
สรุปได้ว่า Mayo เชื่อว่าหากได้นำวิธีการทางมนุษย์สัมพันธ์ไปใช้ให้ถูกต้องแล้ว จะทำให้บรรยากาศในองค์การอำนวยให้ทุกฝ่ายเข้ากันได้อย่างดีที่สุด คนงานจะได้รับความพอใจสูงขึ้น และกำลังความสามารถทางการผลิตก็จะเพิ่มมากขึ้นด้วย ผลการทดลองนี้ ได้ชี้ให้เห็นถึงอิทธิพลสำคัญของกลุ่มทางสังคมภายในองค์การที่เกิดขึ้นอย่างไม่เป็นทางการ ซึ่งมีพื้นฐานมาจาก "ความรู้สึก" (sentiments) ที่เป็นเรื่องราวทางจิตใจของคนงาน และความสัมพันธ์ทางสังคมระหว่างคนงานด้วยกัน

แนวความคิดที่เป็นข้อเท็จจริงที่ได้จากการค้นพบสองประการ คือ พฤติกรรมของคนงานมีการปฏิบัติตอบต่อสภาพแวดล้อมทั้งสองทางด้วยกัน คือ ทั้งต่อสภาพทางกายภาพที่เป็นสภาพแวดล้อมรอบตัว (physical environment) ซึ่งเป็นสภาพแวดล้อมของงาน และยังมีการปฏิบัติตอบต่อสภาพแวดล้อมของเรื่องราวทางจิตวิทยา และสังคมของที่ทำงานด้วย สภาพเหล่านี้ก็คือ อิทธิพลของกลุ่มไม่เป็นทางการ (informal group) การยอมรับในฐานะของตัวบุคคล และการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ

การทดลองที่ฮอร์ทอร์น (The Howthorn experiments)
การศึกษาที่เรียกว่า Hawthorn Study มีขึ้นที่บริษัท Western Electric Company ในชิคาโก ระหว่าง ค.ศ.1927-1932 การทดลองดังกล่าวกระทำภายใต้ควบคุมของ เอลตัน เมโย (Elton Mayo) นักจิตวิทยาจากมหาวิทยาลัยฮาวาร์ด
การศึกษาดังกล่าวนี้เริ่มต้นด้วยการสำรวจความสัมพันธ์ระหว่างสภาพแวดล้อมทางกายภาพ (physical environment) กับประสิทธิภาพในการทำงาน (productivity)
สภาพแวดล้อมทางกายภาพในลักษณะที่ทำงาน ถูกกำหนดขึ้นโดยปัจจัยต่อไปนี้
1. ความเข้มของแสงสว่าง
2. ระดับของอุณหภูมิ
3. และเงื่อนไขทางกายภาพในการทำงานอื่น ๆ

ผลจากการทดลองสรุปได้ว่า ปทัสถานทางสังคมของกลุ่ม (social norm of group) เป็นกุญแจสำคัญในการตัดสินพฤติกรรมในการทำงานของกลุ่ม การที่เราตัดปัจจัยที่เกี่ยวกับปทัสถานทางสังคมของกลุ่มออกไปจากระบบ การบริหารองค์การตามความเชื่อแบบเก่า จะเป็นผลทำให้เราไม่อาจบริหารองค์การให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดได้
อ้างอิงข้อมูลมาจาก
http://www.idis.ru.ac.th/report/index.php?topic=2011.0           



การวิเคราะห์ SWOT

การวิเคราะห์ SWOT ประกอบด้วย

1. การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน (S W) สภาพแวดล้อมภายในประกอบด้วย ปัจจัยที่อยู่ภายในองค์กร ได้แก่ โครงสร้างวัฒนธรรม และทรัพยากรขององค์กร โครงสร้างจะแสดงให้เห็นถึงการรวมกลุ่มงาน ความสัมพันธ์ทางอำนาจหน้าที่ การไหลเวียนของงาน การติดต่อสื่อสารภายใน ซึ่งวัฒนธรรมองค์กร (Corporate culture) จะหมายถึงความเชื่อ ความคาดหวัง และค่านิยมร่วมกัน โดยทั่วไปจะปรากฏขึ้นมาเป็นบรรทัดฐานที่ระบุถึงพฤติกรรมที่ยอมรับกันของบุคคลตั้งแต่ผู้บริหารลงมาจนถึงพนักงานระดับล่างสุด ส่วนทรัพยากรขององค์การ (Corporate resources) จะหมายถึง ทรัพย์สินทุกอย่างภายในองค์การ ได้แก่ คน เงินทุน วัตถุดิบ เทคโนโลยี และทักษะ เป็นต้น (วัฒนา วงศ์เกียรติรัตน์. 2546 : 127 – 128 และสมยศ นาวีการ. 2544 : 24 – 25) ซึ่งการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในประกอบด้วย

1.1) จุดแข็ง (Strengths) หมายถึง การดำเนินงานภายในองค์การที่ต้องวิเคราะห์การดำเนินงานภายใน เช่น การบริหรการเงิน การตลาด การวิจัยและพัฒนาเพื่อการพิจารณาถึงจุดแข็งของการดำเนินงานภายในเหล่านี้เป็นระยะ และใช้ประโยชน์จากจุดแข็งของการดำเนินงานเหล่านี้อยู่เสมอ
1.2) จุดอ่อน (Weakness) หมายถึง การดำเนินงานภายในองค์กรที่ไม่สามารถกระทำได้ดี เช่น การบริหาร การเงิน การตลาด การวิจัยและพัฒนา จะเป็นอุปสรรคต่อความสำเร็จ

2. การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก (OT) สภาพแวดล้อมภายนอกประกอบด้วยปัจจัยที่อยู่ภายนอกและไม่ได้อยู่ภายใต้การควบคุมระยะสั้นของผู้บริหารระดับสูง ซึ่งสภาพแวดล้อมภายนอกจะมีอยู่สองส่วนคือ สภาพแวดล้อมการดำเนินงานและสภาพแวดล้อมโดยทั่วไป สภาพแวดล้อมการดำเนินงาน (Task environment) จะประกอบด้วย ปัจจัยที่กระทบและถูกกระทบโดยตรงต่อการดำเนินงาน ปัจจัยเหล่านี้ได้แก่ ผู้มีส่วนได้เสีย รัฐบาล ผู้จำหน่ายวัตถุดิบ ชุมชน คู่แข่งขัน และกลุ่มผลประโยชน์


สภาพแวดล้อมโดยทั่วไป (General environment) จะประกอบด้วยปัจจัยที่ไม่กระทบโดยตรงต่อการดำเนินงานระยะสั้น ปัจจัยเหล่านี้จะมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจระยะยาวได้แก่ เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม เทคโนโลยี การเมืองและกฎหมาย (สมยศ นาวีการ. 2544 : 24 – 25 และสุพานี สฤษฏ์วานิช. 2544 : 136) ซึ่งการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกประกอบด้วย

2.1) โอกาส (Opportunities) หมายถึง สภาพแวดล้อมภายนอกที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินงานขององค์การ ซึ่งต้องคาดคะเนการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมภายนอก เช่น เศรษฐกิจ สังคม การเมือง เทคโนโลยี และการแข่งขันเพื่อการแสวงหาประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมเหล่านี้ เช่น การพัฒนาของคอมพิวเตอร์ การเปลี่ยนแปลงของประชากร และการเปลี่ยนแปลงค่านิยมและทัศนคติ และการแข่งขันจากต่างประเทศ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้อาจจะทำให้ความต้องการของลูกค้าเปลี่ยนแปลงไป


2.2) อุปสรรค (Treats) หมายถึง สภาพแวดล้อมภายนอกที่คุกคามต่อการดำเนินงานขององค์การ สภาพแวดล้อมเหล่านี้ได้แก่ เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม เทคโนโลยีและการแข่งขัน


จากการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน (จุดแข็งและจุดอ่อน) และสภาพแวดล้อมภายนอก (โอกาสและอุปสรรค) สามารถแสดงเป็นตาราง SWOT ได้ดังนี้ (สมยศ นาวีการ. 2546 : 80 – 81)

ตารางแสดงการวิเคราะห์ SWOT


ปัจจัยภายใน

ปัจจัยภายนอก

S = ระบุจุดแข็งภายใน

W = ระบุจุดอ่อนภายใน


O = ระบุโอกาสภายนอก

SO = ยุทธศาสตร์เชิงรุก

WO = ยุทธศาสตร์เชิงพัฒนา
T = ระบุอุปสรรคภายนอก

ST = ยุทธศาสตร์เชิงรับ

WT = ยุทธศาสตร์เชิงถอย

ตาราง SWOT ชี้ให้เห็นว่ายุทธศาสตร์ทางเลือกขององค์การจะมีอยู่ 4 อย่าง ซึ่งในทางปฏิบัติแล้วอาจจะดำเนินยุทธศาสตร์ผสมกันได้ (สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. 2546 : 34 – 35)

ยุทธศาสตร์เชิงรุก (SO Strategies) เมื่อผลของการพิจารณาปัจจัยที่เป็นกุญแจแห่งความสำเร็จทั้งสภาพแวดล้อมภายในและภายนอกอยู่ในช่องจุดแข็งและโอกาส (O) เป็นยุทธศาสตร์เพื่อการบรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ เมื่อผู้ดำเนินการมีจุดแข็งและโอกาสเอื้ออำนวย
ยุทธศาสตร์เชิงพัฒนา (WO Strategies) เมื่อปัจจัยแห่งความสำเร็จของสภาพแวดล้อมภายในไปอยู่ในช่องจุดอ่อน (W) แต่ปัจจัยแห่งความสำเร็จของสภาพแวดล้อมภายนอกอยู่ในช่องโอกาส (O) เป็นยุทธศาสตร์ที่ปรับจุดอ่อนให้เป็นจุดแข็ง เพื่อให้สามารถดำเนินยุทธศาสตร์เชิงรุกได้เมื่อโอกาสเอื้ออำนวยแต่ผู้ดำเนินการมีจุดอ่อน


ยุทธศาสตร์เชิงรับ (ST Strategies) เป็นยุทธศาสตร์ที่ปรับอุปสรรคให้เป็นโอกาสเพื่อให้ดำเนินยุทธศาสตร์เชิงรุกได้ หากผู้ดำเนินการมีจุดแข็งแต่โอกาสไม่เอื้ออำนวยให้เนื่องจากปัจจัยแห่งความสำเร็จของสภาพแวดล้อมภายในอยู่ในช่องจุดแข็ง (S) แต่ปัจจัยแห่งความสำเร็จของสภาพแวดล้อมภายนอกในช่องอุปสรรค (T)

ยุทธศาสตร์เชิงถอย (WT Strategies) เป็นยุทธศาสตร์ที่ปรับการดำเนินงานเพื่อการบรรลุวัตถุประสงค์ไปเป็นรูปแบบอื่น เนื่องจากปัจจัยแห่งความสำเร็จของสภาพแวดล้อมภายในอยู่ในช่องจุดอ่อน (W) และปัจจัยแห่งความสำเร็จของสภาพแวดล้อมภายนอกอยู่ในช่องอุปสรรค (T)
ข้อพิจารณาในการตัดสินใจเลือกยุทธศาสตร์
ในการตัดสินใจเลือกยุทธศาสตร์ใด ๆ จำเป็นต้องคำนึงถึงบรรทัดฐานและเงื่อนไขบางประการดังต่อไปนี้ (ปกรณ์ ปรียากร. 2546 : 155 – 156 และสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. 2546 : 51)

1) บรรทัดฐานหลัก
- ต้องตอบสนองต่อสภาพแวดล้อมภายนอก


- ต้องคำนึงถึงการรักษาสถานภาพและความได้เปรียบในการแข่งขัน

- ในแต่ละด้านที่กำหนดต้องมีความสอดคล้องกัน

- ต้องคำนึงถึงความยืดหยุ่น

- ต้องสอดคล้องกับภารกิจและวัตถุประสงค์


- ต้องมีความเป็นไปได้ในการดำเนินงาน

2) เงื่อนไขที่ต้องพิจารณา


- ความเพียงพอของทรัพยากรโดยเฉพาะทางการเงิน


- ทัศนคติในเชิงบวก


- สมรรถนะขององค์การโดยรวม

ความว่องไวในการตอบโต้หรือโต้กลับในสถานการณ์ที่นอกเหนือความคาดหมาย


 

นางสาวนฤมล คำแหงพล





การเตรียมความพร้อมเข้าสู่สมาคมอาเซียน



เอเอสซีซีและประเทศสมาชิกควรประสานงานกับสถาบันการศึกษาอย่างสม่ำเสมอ รวมทั้งองค์กรภาคประชาสังคม กลุ่มอุตสาหกรรม และองค์กรทางวิชาการ ที่สามารถมีส่วนร่วม เพื่อโน้มน้าวทัศนคติของกลุ่มเป้าหมายและสาธารณชน ความพยายามนี้สามารถส่งเสริมหุ้นส่วนและเวทีระหว่างภาครัฐและเอกชนที่มีอยู่แล้วในการแบ่งปันข่าวสารเกี่ยวกับวามสำคัญและประโยชน์ของเอเอสซีซีและเพื่อส่งเสริมความเข้าใจที่ดียิ่งขึ้น รวมทั้งการสนับสนุนจากกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียให้แก่เอเอสซีซี



เพื่อดึงดูดให้ผู้มีส่วนได้เสียเข้าร่วมโครงการนี้อย่างกว้างขวาง ควรใช้สื่อและเครื่องมือที่หลากหลายในการขับเคลื่อนโครงการตั้งแต่เริ่มต้น ได้แก่



1. การจัดพื้นที่สำหรับ ศูนย์อาเซียนแวดวงผู้ชนะในหมวดเอเอสซีซีของเว็บไซต์สำนักเลขาธิการอาเซียน



2. ออกประกาศเป็นระยะๆ เกี่ยวกับความสำเร็จในการดำเนินการตาม เอเอสซีซี และ/หรือผู้ประสบความสำเร็จในช่วงนั้นโดยจัดทำในรูปแบบบทความหลักเพื่อกระตุ้นให้มีการนำเสนอที่กว้างขวาง และได้รับการแปลเป็นภาษาท้องถิ่นของชาติสมาชิกอาเซียน



3. สิ่งพิมพ์โฆษณารายคาบที่ย้ำเตือนผู้คนถึงโครงการผู้ประสบความสำเร็จในอดีต และส่งเสริมให้ผู้อ่านเสนอชื่อผู้ประสบความสำเร็จที่รู้จัก






วิเคราะห์ถึงผลกระทบต่อการบริหารจัดการ



ประเทศไทยสามารถเกิดการเรียนรู้และการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น เรื่องธุรกิจ การค้า การท่องเที่ยว กฎหมาย การลงทุน การเงิน รวมทั้งการเรียนรู้ทางการเมือง สภาพสังคมและวัฒนธรรม เทคโนโลยีจากประเทศสมาชิกประชาคมอาเซียนได้เป็นอย่างดี และที่สำคัญอย่างยิ่งของประเทศไทยในขณะนี้ คือ การเรียนรู้เรื่องการศึกษา การจัดการธุรกิจ การป้องกันปัญหาการทุจริตคอร์รัปชัน รวมทั้ง กลยุทธ์ กลวิธี ทางการค้า และ Business Model ซึ่งในที่นี้หมายถึง วิธีการหาเงินของประเทศต่างๆ ว่าเขาได้มาด้วยวิธีใด และนักธุรกิจ ครูอาจารย์ด้านธุรกิจศึกษาและนักเศรษฐศาสตร์หรือผู้ที่เกี่ยวข้องจะได้นำมาพัฒนาให้ดีขึ้น และช่วยให้คุณภาพชีวิตของสังคมไทยดีขึ้นในวันข้างหน้า



กลยุทธ์ที่เหมาะสมคือการฝึกที่จะเป็นผู้เรียน หรือนักเรียนที่ดีที่คอยสังเกต จดจำ บันทึก ปรับปรุง ทดสอบ รวมทั้งเป็นนักฟังที่มีประสิทธิภาพ(Good Listener) เพื่อการเก็บเกี่ยวประสบการณ์ความรู้เพื่อนำมาปรับปรุงการทำงานของเราให้ดีขึ้นไปจากเดิม



ดังนั้นประเทศไทยจึงควรมีการบริหารจัดการที่ดี ทั้งในด้านการศึกษา ด้านธุรกิจ รวมถึงการลงทุนและการจัดการด้านอื่นๆที่เป็นการส่งเสริมการลงทุน เพื่อให้สามารถรองรับกับสถานการณ์ต่างๆที่จะเกิดขึ้น เมื่อประเทศไทยเข้าสู่ประชาคมอาเซียน เพราะหากประเทศไทยไม่มีการจัดการที่ดีแล้ว ก็จะไม่สามารถดำเนินธุรกิจ หรือดำเนินกิจการต่างๆในภาวการณ์ที่มีการแข่งขันสูงเช่นนั้นได้ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศไทยเป็นอย่างมาก นั่นคือการบริหารจัดการที่ดีจะเป็นส่วนช่วยให้ประเทศไทยมีศักยภาพที่สามารถแข่งขันกับประเทศต่างๆได้ และยังจะส่งผลให้ภาพรวมของเศรษฐกิจไทยเป็นไปในทิศทางที่เติบโตมากขึ้นด้วย










การจัดการทั่วไป รุ่น 19


นางสาว วณิดา สามทอง สาขาเอกการจัดการทั่วไป รหัส 5210125401065





การปรากฏขององค์การแห่งการเรียนรู้



องค์การแห่งการเรียนรู้ เป็นกระบวนการบริหารจัดการเพื่อขยายขีดความสามารถและเพิ่มศักยภาพ ในการสร้างผลงานสร้างอนาคต ตลอดจนความได้เปรียบในการแข่งขัน โดยผู้คนในองค์การต่างก็ต้องเรียนรู้ วิธีที่จะเรียนรู้ร่วมกันอย่างต่อเนื่อง กระบวนการเรียนรู้จึงควรอยู่ในทุกๆที่ขององค์การ รวมถึงอยู่ในทุกๆ กระบวนงาน ที่ทุกคนจะต้องร่วมกันเรียนรู้และร่วมกันทำอย่างเป็นระบบ



อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ เคยเขียนไว้ว่า “จิตใต้สำนึกที่สร้างปัญหาจะไม่สามารถแก้ปัญหาที่มันสร้างขึ้นมานั้นได้ เราต้องเรียนรู้ที่จะมองโลกด้วยจิตสำนึกใหม่” ในทำนองเดียวกัน เราก็ไม่สามารถจัดการกับปัญหาและความท้าทายใหม่ๆบนโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วนี้ ด้วยโครงสร้าง รูปแบบความคิดเดิมๆ หรือด้วยความรู้ที่เคยใช้ได้ผลในอดีตเช่นกัน



ปัจจุบันคนในองค์การจำนวนไม่น้อยได้ตระหนักชัดแล้วว่า กลยุทธ์ ภาวะผู้นำ ความรู้ และเทคโนโลยีของวันวานไม่สามารถทำให้องค์การประสบความสำเร็จในวันข้างหน้าได้ ท่ามกลางสภาพแวดล้อมที่ประกอบไปด้วย การควบรวมกิจการ การรุดหน้าทางเทคโนโลยี การเปลี่ยนแปลงทางสังคมขนานใหญ่ และการแข่งขันที่เพิ่มสูงขึ้น บริษัทต้องสร้างสมรรถนะในการเรียนรู้ของตน ถ้าหากต้องการจะประสบความสำเร็จ



บริษัทต่างๆ ตระหนักว่าพวกเขาต้องค่อยๆ พัฒนาความสามารถในการเรียนรู้ของตนให้ดียิ่งขึ้นไป เพื่อที่จะเรียนรู้จากทั้งความสำเร็จ และความล้มเหลวของตนให้เร็วขึ้น พวกเขาต้องปฏิรูปตนเองไปเป็นองค์การที่ทุกคนสามารถเพิ่มสมรรถนะในการผลิตและในการปรับตัว โดยการก้าวกระโดดแบบควอนตัมอย่างไม่หยุดยั้ง เพื่อที่พวกเขาจะได้ไม่สูญพันธ์ไปแบบเดียวกับไดโนเสาร์ ที่ไม่สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมที่กำลังเปลี่ยนแปลงได้



ในช่วงต้นทศวรรษที่ 1990 มีองค์การจำนวนหนึ่งที่ได้เริ่มต้นกระบวนการปรับเปลี่ยนเข้าสู่การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ เช่น บริษัท Corning, Federal Express, Ford, General Electric, Motorola และ Pacific Bell ในสหรัฐอเมริกา หรืออย่างABB, Rover และSheerness Steel ในยุโรป รวมถึง Samsung และ Singapore Airlines ในเอเชีย ล้วนแล้วแต่เป็นนักบุกเบิกที่ประสบความสำเร็จ พวกเขามีการเรียนรู้อย่างเป็นระบบไปถ้วนทั่วทุกหนแห่งในองค์การ เป็นผลทำให้เกิดการปรับปรุง และพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการ ซึ่งเป็นวิถีทางที่ดีที่สุดไม่ใช่แต่เฉพาะการอยู่รอด แต่มันรวมถึงความสำเร็จอีกด้วย



อย่างไรก็ดี มีบางองค์การที่ได้เริ่มกระบวนการแห่งการเรียนรู้และปรับตัวแล้ว แต่ก็ไม่สามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงแบบยั่งยืนได้เพราะพวกเขาไม่พร้อมที่จะสลัดความมั่นคงในรูปแบบที่เคยเป็นในอดีต และในสภาพที่เป็นอยู่ของพวกเขา ก็ไม่พร้อมที่จะเปลี่ยนตัวเองไปเป็นองค์การแบบใหม่ – องค์การแห่งการเรียนรู้อย่างเต็มที่ได้ พวกเขาเลือกที่จะดำเนินการเปลี่ยนแปลงในแบบที่ไม่รุนแรงและปลอดภัยกว่า อย่างเช่น การทำวงจรคุณภาพ หรือปรับรื้อองค์การ ซึ่งทำให้พวกเขาได้ประโยชน์จากการเรียนรู้ในองค์การได้ไม่เต็มที่



ชื่อหนังสือ: การพัฒนาองค์การ....แห่งการเรียนรู้



ผู้แต่ง: Michael J. Marquardt



ปีที่พิมพ์: 2548




นางสาว ปลิดา หนูศิริ 5330125401394 เอกการจัดการทั่วไป รุ่น26 หมู่ 2 เรียนร่วม





การเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ปี 2558



แนวทางการเตรียมความพร้อมในอาเชียน ทำาความเข้าใจในเรื่องการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้องตรงกัน



สร้างค่านิยมและแนวปฏิบัติร่วมกันของอาเซียนในด้านต่างๆ เช่น ค่านิยมว่าด้วยการไม่ใช้กาลัง ยึดหลักสันติวิธี และการไม่ใช้อาวุธนิวเคลียร์ในการแก้ไขปัญหาต่างๆ เพื่อสร้างความสงบ สันติภายในภูมิภาค



เสริมสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางการทหาร เพื่อสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจและป้องกันความขัดแย้งที่รุนแรง



เสริมสร้างขีดความสามารถของอาเซียนในการเผชิญกับภัยคุกคามความมั่นคง บนพื้นฐานความมั่นคงของมนุษย์ ตลอดจนการประสานจัดทาข้อมูลกลางในเรื่องอาชญกรรมข้ามชาติในอาเซียน เพื่อใช้แก้ไขปัญหาการก่อการร้าย การค้ายาเสพติด การประพฤติผิดกฎหมาย และอาชญกรรมข้ามชาติ



ทำไมจึงต้องตั้งอาเซียน ? ประเทศผู้ร่วมก่อตั้งเห็นว่าการตั้งองค์กรความร่วมมือ ระดับภูมิภาค จะช่วยให้



1. ป้องกันการเกิดความขัดแย้ง 2. ส่งเสริมการระงับข้อพิพาทโดยวิธีสันติ 3. ส่งเสริมในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน



ประเทศสมาชิกอาเซียน ประกอบด้วย



1. อินโดนีเซีย 6. บรูไน 2. มาเลเซีย ร่วมก่อตั้ง เรียกว่า 7. เวียดนาม3. ฟิลิปปินส์ “ปฏิญญากรุงเทพ”8. ลาว4. สิงคโปร์ 9. พม่า5. ไทย 10. กัมพูชา



เป้าหมายการจัดตั้งอาเซียน 7 ประการ



1. ส่งเสริมการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และความก้าวหน้าทางสังคม และวัฒนธรรม2. ส่งเสริมการมีเสถียรภาพ สันติภาพ และความมั่นคงของภูมิภาค3. ส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม วิชาการ วิทยาศาสตร์ และด้านการบริหาร4. ส่งเสริมความร่วมมือซึ่งกันและกันในการฝึกอบรมและการวิจัย5. ส่งเสริมความร่วมมือในด้านเกษตรกรรม และอุตสาหกรรม การค้า การคมนาคม การสื่อสาร และการปรับปรุงมาตรฐานการดำรงชีวิต6. ส่งเสริมการมีหลักสูตรการศึกษาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้7. ร่วมมือกับองค์กรระดับภูมิภาคและองค์กรระหว่างประเทศ



ประชาคมอาเซียน



One Vision, One Identity, One Community



หนึ่งวิสัยทัศน์, หนึ่งเอกลักษณ์, หนึ่งประชาคม



ประชาคมอาเซียน



ประชาคมเศรษฐกิจ



ประชาคมสังคมและวัฒนธรรม



ประชาคมการเมืองและความมั่นคง







9 แนวทางการพัฒนาภายใต้กรอบการสร้างความเชื่อมโยงประเทศในภูมิภาค เพื่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม (ต่อ)สร้างความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน



1.พัฒนาความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคธุรกิจเอกชนที่มีศักยภาพในการร่วมพัฒนาบุคลากรในทุกภาคส่วนเศรษฐกิจ



2.เสริมสร้างความเข้มแข็งให้สถาบันการศึกษา



3.กำาหนดมาตรฐานขั้นพื้นฐานของคุณภาพสินค้าและบริการ



4.ดำาเนินการตามพันธกรณีระหว่างประเทศด้านสิ่งแวดล้อมต่างๆ อย่างต่อเนื่อง



5.เสริมสร้างการผลิตและบริโภคสินค้าและบริการที่นาสู่การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ลดมลพิษ ลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างไม่มีประสิทธิภาพ และลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม



6.เสริมสร้างความร่วมมือที่ดีระหว่างประเทศในการสนับสนุนการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างมีจริยธรรมและไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม



ผลกระทบ



ภายใต้การพัฒนาไปสู่ประชาคมอาเซียนนั้น ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนมักจะได้รับความสนใจ



และกล่าวถึงเป็นอย่างมากในปัจจุบัน เนื่องจากจะนำมาซึ่งความเปลี่ยนแปลงภายในภูมิภาคอย่าง



กว้างขวาง โดยแนวโน้มการพัฒนาสำคัญอันจะเกิดจากประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ได้แก่ การ



จัดระบบและการเพิ่มขึ้นของการค้า การลงทุนและการบริการระหว่างประเทศ การพัฒนาโครงสร้าง



พื้นฐานและขยายตัวของเมือง การบริหารงานชายแดน การปฏิสัมพันธ์ทางสังคมอย่างใกล้ชิด การ



เคลื่อนย้ายคน และการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีและการสื่อสาร



อย่างไรก็ดี แม้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนจะไม่ได้ส่งผลกระทบต่อกระทรวงมหาดไทยโดยตรง



ในเชิงการขับเคลื่อนหรือดำเนินการให้เป็นไปตามพิมพ์เขียวประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนของประเทศไทย



แต่ในฐานะหน่วยงานภาครัฐที่มีภารกิจสำคัญในการบริหารราชการส่วนภูมิภาค การปรับตัวและเตรียม



ความพร้อมสำหรับผลกระทบทั้งเชิงบวกและลบที่จะเกิดขึ้นในระดับประเทศ หน่วยงาน พื้นที่ และ



ประชาชนก็ย่อมจะเป็นการสร้างความสามารถในการแข่งขันหรือเป็นแรงสนับสนุนที่จะทำให้การเป็น



ส่วนหนึ่งของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนของไทยเป็นไปอย่างราบรื่น และเกิดประโยชน์สูงสุด



จากการศึกษา พบว่า แนวโน้มโอกาสและผลกระทบต่อกระทรวงมหาดไทยภายใต้อำนาจ



หน้าที่ที่เกี่ยวข้องที่มีความท้าทาย ได้แก่ ปัญหาความมั่นคงรูปแบบใหม่ (Non-traditional Security



Issues) การบริหารงานทางทะเบียน การปรับตัวของการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัด การค้า



ชายแดน การประกอบอาชีพของประชาชน การจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษ การพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก



ความเหลื่อมล้ำทางสังคม การขยายตัวของเมือง ความต้องการด้านระบบสาธารณูปโภคและ



สาธารณูปการ การจัดการความขัดแย้ง การพัฒนาภาษาต่างประเทศ การสร้างความสัมพันธ์ระหว่าง



ประเทศ และการส่งเสริมประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน



ดังนั้น เพื่อเป็นการเตรียมพร้อมสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558 กระทรวงมหาดไทย



ควรดำเนินการตามประเด็นยุทธศาสตร์ใน 3 ประเด็นหลัก ได้แก่



1) การสร้างความพร้อมเชิงยุทธศาสตร์ระดับองค์กร (Organizational Strategic



Preparedness Building) ประกอบด้วยกลยุทธ์ คือ การเตรียมความพร้อมด้านบุคลากร การพัฒนา



โครงสร้างและระบบบริหารจัดการ การปรับเปลี่ยนเชิงนโยบาย ระเบียบ กฎหมายและแนวปฏิบัติที่



เกี่ยวข้อง การพัฒนาองค์ความรู้ด้านการวิจัยและพัฒนา และการพัฒนาภาพลักษณ์องค์กร



2) การเพิ่มขีดสมรรถนะการบริหารจัดการพื้นที่ (area-based management) ในฐานะ



หน่วยงานหลักในการบริหารราชการส่วนภูมิภาค (Capacity Building for Integrated Regional



Administration and Development) ประกอบด้วยกลยุทธ์ คือ การเสริมสร้างสมรรถนะการ



บริหารราชการส่วนภูมิภาค และการกระชับความร่วมมือระดับจังหวัด/ กลุ่มจังหวัดกับภาคส่วนอื่นๆ



3) การยกระดับการบริการ และอำนวยความเป็นธรรมประชาชน (Public Service



Quality Upgrading) ประกอบด้วยกลยุทธ์ คือ การพัฒนาการบริการประชาชน และการอำนวยความ



เป็นธรรมแก่ประชาชน



โดยเพื่อให้การเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนของกระทรวงมหาดไทยบรรลุ



สำเร็จ



www.uesdb.go.th

นางสาวมาลินี นิยมไทย รหัส 5210125401057 การจัดการทั่วไป

นางสาวมาลินี นิยมไทย รหัส 5210125401057 การจัดการทั่วไป

นางสาววัชรี ทองห่อ รหัส 5210125401052 การจัดการทั่วไป ปี 4


ดอกไม้ประจำชาติอาเซียน 

ดอก Simpor หรือที่เรารู้จักกันในชื่อดอก Dillenia เป็นดอกไม้ประจำชาติของประเทศ บรูไน ดารุสซาลาม 
ดอก Rumdul ก็คือดอก ลำดวน เป็นดอกไม้ประจำชาติของราชอาณาจักรกัมพูชา ดอก Moon Orchid (กล้วยไม้ราตรี) เป็นกล้วยไม้ในสายพันธุ์ของ Phalaenopsis เป็นดอกไม้ประจำชาติของ สาธารณรัฐอินโดนีเซีย

ลีลาวดี หรือลั่นทม เป็นดอกไม้ประจำชาติของ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
Hibiscus หรือ ชบา เป็นดอกไม้ประจำชาติของ ประเทศมาเลเซีย
Padauk ประดู่ เป็นดอกไม้ประจำชาติของ สหภาพพม่า

Sampaguita Jasmine ดอกพุดแก้ว เป็นดอกไม้ประจำชาติของสาธารณรัฐฟิลิปปินส์

บัว เป็นดอกไม้ประจำชาติของ สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม
Vanda Miss Joaquim เป็นกล้วยไม้ในกลุ่ม แวนด้า เป็นดอกไม้ประจำชาติของ สาธารณรัฐสิงคโปร์

ราชพฤกษ์ หรือ ดอกคูน เป็นดอกไม้ประจำชาติไทย

ที่มา : http://nongnan9004.wordpress.com/

นาย.นัตพล ใบเรือ 233 การจัดการทั่วไป รุ่น 19



21 คุณสมบัติหลักแห่งการเป็นผู้นำ โดย John C.Maxwell

1. ผู้นำต้องเป็นคนมีวิสัยทัศน์ ต้องมองไปถึงอนาคต และเห็นจุดมุ่งหมายอย่างชัดเจน

2. ผู้นำต้องใฝ่รู้ ต้องไม่ล้าหลัง ติดตามเรียนรู้ให้ทันการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ

3. ผู้นำต้องเป็นผู้รับใช้ที่ดี เรียนรู้การปฏิบัติจากผู้อื่น

4. ผู้นำต้องมีวินัยในตนเอง เพื่อเป็นตัวอย่างในการสร้างวินัยให้กับองค์กร

5. ผู้นำต้องเป็นผู้มั่นคง ในหลักการ อุดมการณ์ ไม่หวั่นไหวต่อสถานการณ์

6. ผู้นำต้องเป็นคนกล้ารับผิดชอบผลที่เกิดจากการตัดสินใจ

7. ผู้นำต้องเป็นผู้มีมนุษยสัมพันธ์ดี ทำให้การทำงานเกิดความราบรื่น

8. ผู้นำต้องเป็นคนรู้จักแก้ปัญหาทั้งระยะสั้นระยะยาวถ้ารู้ว่ามีปัญหาต้องรีบแก้ไม่ปล่อย ให้ ปัญหาคงค้าง

9. ผู้นำต้องเป็นผู้มีทัศนคติที่ดีในการทำงาน ต้องเชื่อว่าทำได้

10. ผู้นำต้องมีใจรักในงาน รักผู้ร่วมงาน รักผู้เกี่ยวข้องในงาน รักผู้รับบริการ รักตนเองเข้าใจตนเอง

11. ผู้นำต้องมีคุณธรรม เชื่อมั่นในหลักคุณธรรม

12. ผู้นำต้องมีเสน่ห์ บุคลิกดี ความประทับใจแรกพบช่วยให้งานประสบความสำเร็จได้ง่าย

13. ผู้นำต้องทุ่มเท เชื่อมั่นในสิ่งที่ทำ หากไม่ทุ่มเทจะเป็นเพียงนักฝัน

14. ผู้นำต้องรู้จักการสื่อสารที่ดี มีความสามารถสื่อให้ผู้อื่นเข้าใจในสิ่งทีตนเองคิด ทำเรื่องยากให้ง่าย

15. ผู้นำต้องเป็นคนมีประสิทธิภาพ ทำงานอย่างมีหลักวิชาการให้เกิดความสำเร็จ

16. ผู้นำต้องกล้าหาญ ทำในสิ่งที่ถูกต้องกล้าคัดค้านในสิ่งผิด

17. ผู้นำต้องมีวิจารณญาณที่ดี รู้จักวิเคราะห์ ตัดสินใจถูกต้อง

18. ผู้นำต้องมีความแจ่มชัดในทุกด้าน

19. ผู้นำต้องเป็นคนมีน้ำใจ

20. ผู้นำต้องเป็นคนมีความคิดริเริ่มในสิ่งใหม่ๆ

21. ผู้นำต้องเป็นผู้ฟังที่ดี เพื่อเข้าถึงจิตใจคน


แหล่งอ้างอิง
http://www.novabizz.com/NovaAce/Relationship/Leadership_11.htm#ixzz215hBRJah