การเตรียมความพร้อมเข้าสู่สมาคมอาเซียน
เอเอสซีซีและประเทศสมาชิกควรประสานงานกับสถาบันการศึกษาอย่างสม่ำเสมอ รวมทั้งองค์กรภาคประชาสังคม กลุ่มอุตสาหกรรม และองค์กรทางวิชาการ ที่สามารถมีส่วนร่วม เพื่อโน้มน้าวทัศนคติของกลุ่มเป้าหมายและสาธารณชน ความพยายามนี้สามารถส่งเสริมหุ้นส่วนและเวทีระหว่างภาครัฐและเอกชนที่มีอยู่แล้วในการแบ่งปันข่าวสารเกี่ยวกับวามสำคัญและประโยชน์ของเอเอสซีซีและเพื่อส่งเสริมความเข้าใจที่ดียิ่งขึ้น รวมทั้งการสนับสนุนจากกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียให้แก่เอเอสซีซี
เพื่อดึงดูดให้ผู้มีส่วนได้เสียเข้าร่วมโครงการนี้อย่างกว้างขวาง ควรใช้สื่อและเครื่องมือที่หลากหลายในการขับเคลื่อนโครงการตั้งแต่เริ่มต้น ได้แก่
1. การจัดพื้นที่สำหรับ ศูนย์อาเซียนแวดวงผู้ชนะในหมวดเอเอสซีซีของเว็บไซต์สำนักเลขาธิการอาเซียน
2. ออกประกาศเป็นระยะๆ เกี่ยวกับความสำเร็จในการดำเนินการตาม เอเอสซีซี และ/หรือผู้ประสบความสำเร็จในช่วงนั้นโดยจัดทำในรูปแบบบทความหลักเพื่อกระตุ้นให้มีการนำเสนอที่กว้างขวาง และได้รับการแปลเป็นภาษาท้องถิ่นของชาติสมาชิกอาเซียน
3. สิ่งพิมพ์โฆษณารายคาบที่ย้ำเตือนผู้คนถึงโครงการผู้ประสบความสำเร็จในอดีต และส่งเสริมให้ผู้อ่านเสนอชื่อผู้ประสบความสำเร็จที่รู้จัก
วิเคราะห์ถึงผลกระทบต่อการบริหารจัดการ
ประเทศไทยสามารถเกิดการเรียนรู้และการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น เรื่องธุรกิจ การค้า การท่องเที่ยว กฎหมาย การลงทุน การเงิน รวมทั้งการเรียนรู้ทางการเมือง สภาพสังคมและวัฒนธรรม เทคโนโลยีจากประเทศสมาชิกประชาคมอาเซียนได้เป็นอย่างดี และที่สำคัญอย่างยิ่งของประเทศไทยในขณะนี้ คือ การเรียนรู้เรื่องการศึกษา การจัดการธุรกิจ การป้องกันปัญหาการทุจริตคอร์รัปชัน รวมทั้ง กลยุทธ์ กลวิธี ทางการค้า และ Business Model ซึ่งในที่นี้หมายถึง วิธีการหาเงินของประเทศต่างๆ ว่าเขาได้มาด้วยวิธีใด และนักธุรกิจ ครูอาจารย์ด้านธุรกิจศึกษาและนักเศรษฐศาสตร์หรือผู้ที่เกี่ยวข้องจะได้นำมาพัฒนาให้ดีขึ้น และช่วยให้คุณภาพชีวิตของสังคมไทยดีขึ้นในวันข้างหน้า
กลยุทธ์ที่เหมาะสมคือการฝึกที่จะเป็นผู้เรียน หรือนักเรียนที่ดีที่คอยสังเกต จดจำ บันทึก ปรับปรุง ทดสอบ รวมทั้งเป็นนักฟังที่มีประสิทธิภาพ(Good Listener) เพื่อการเก็บเกี่ยวประสบการณ์ความรู้เพื่อนำมาปรับปรุงการทำงานของเราให้ดีขึ้นไปจากเดิม
ดังนั้นประเทศไทยจึงควรมีการบริหารจัดการที่ดี ทั้งในด้านการศึกษา ด้านธุรกิจ รวมถึงการลงทุนและการจัดการด้านอื่นๆที่เป็นการส่งเสริมการลงทุน เพื่อให้สามารถรองรับกับสถานการณ์ต่างๆที่จะเกิดขึ้น เมื่อประเทศไทยเข้าสู่ประชาคมอาเซียน เพราะหากประเทศไทยไม่มีการจัดการที่ดีแล้ว ก็จะไม่สามารถดำเนินธุรกิจ หรือดำเนินกิจการต่างๆในภาวการณ์ที่มีการแข่งขันสูงเช่นนั้นได้ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศไทยเป็นอย่างมาก นั่นคือการบริหารจัดการที่ดีจะเป็นส่วนช่วยให้ประเทศไทยมีศักยภาพที่สามารถแข่งขันกับประเทศต่างๆได้ และยังจะส่งผลให้ภาพรวมของเศรษฐกิจไทยเป็นไปในทิศทางที่เติบโตมากขึ้นด้วย
การจัดการทั่วไป รุ่น 19
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น