นางสาว ปลิดา หนูศิริ 5330125401394 เอกการจัดการทั่วไป รุ่น26 หมู่ 2 เรียนร่วม
การเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ปี 2558
แนวทางการเตรียมความพร้อมในอาเชียน ทำาความเข้าใจในเรื่องการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้องตรงกัน
สร้างค่านิยมและแนวปฏิบัติร่วมกันของอาเซียนในด้านต่างๆ เช่น ค่านิยมว่าด้วยการไม่ใช้กาลัง ยึดหลักสันติวิธี และการไม่ใช้อาวุธนิวเคลียร์ในการแก้ไขปัญหาต่างๆ เพื่อสร้างความสงบ สันติภายในภูมิภาค
เสริมสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางการทหาร เพื่อสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจและป้องกันความขัดแย้งที่รุนแรง
เสริมสร้างขีดความสามารถของอาเซียนในการเผชิญกับภัยคุกคามความมั่นคง บนพื้นฐานความมั่นคงของมนุษย์ ตลอดจนการประสานจัดทาข้อมูลกลางในเรื่องอาชญกรรมข้ามชาติในอาเซียน เพื่อใช้แก้ไขปัญหาการก่อการร้าย การค้ายาเสพติด การประพฤติผิดกฎหมาย และอาชญกรรมข้ามชาติ
ทำไมจึงต้องตั้งอาเซียน ? ประเทศผู้ร่วมก่อตั้งเห็นว่าการตั้งองค์กรความร่วมมือ ระดับภูมิภาค จะช่วยให้
1. ป้องกันการเกิดความขัดแย้ง 2. ส่งเสริมการระงับข้อพิพาทโดยวิธีสันติ 3. ส่งเสริมในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน
ประเทศสมาชิกอาเซียน ประกอบด้วย
1. อินโดนีเซีย 6. บรูไน 2. มาเลเซีย ร่วมก่อตั้ง เรียกว่า 7. เวียดนาม3. ฟิลิปปินส์ “ปฏิญญากรุงเทพ”8. ลาว4. สิงคโปร์ 9. พม่า5. ไทย 10. กัมพูชา
เป้าหมายการจัดตั้งอาเซียน 7 ประการ
1. ส่งเสริมการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และความก้าวหน้าทางสังคม และวัฒนธรรม2. ส่งเสริมการมีเสถียรภาพ สันติภาพ และความมั่นคงของภูมิภาค3. ส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม วิชาการ วิทยาศาสตร์ และด้านการบริหาร4. ส่งเสริมความร่วมมือซึ่งกันและกันในการฝึกอบรมและการวิจัย5. ส่งเสริมความร่วมมือในด้านเกษตรกรรม และอุตสาหกรรม การค้า การคมนาคม การสื่อสาร และการปรับปรุงมาตรฐานการดำรงชีวิต6. ส่งเสริมการมีหลักสูตรการศึกษาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้7. ร่วมมือกับองค์กรระดับภูมิภาคและองค์กรระหว่างประเทศ
ประชาคมอาเซียน
One Vision, One Identity, One Community
หนึ่งวิสัยทัศน์, หนึ่งเอกลักษณ์, หนึ่งประชาคม
ประชาคมอาเซียน
ประชาคมเศรษฐกิจ
ประชาคมสังคมและวัฒนธรรม
ประชาคมการเมืองและความมั่นคง
9 แนวทางการพัฒนาภายใต้กรอบการสร้างความเชื่อมโยงประเทศในภูมิภาค เพื่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม (ต่อ)สร้างความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
1.พัฒนาความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคธุรกิจเอกชนที่มีศักยภาพในการร่วมพัฒนาบุคลากรในทุกภาคส่วนเศรษฐกิจ
2.เสริมสร้างความเข้มแข็งให้สถาบันการศึกษา
3.กำาหนดมาตรฐานขั้นพื้นฐานของคุณภาพสินค้าและบริการ
4.ดำาเนินการตามพันธกรณีระหว่างประเทศด้านสิ่งแวดล้อมต่างๆ อย่างต่อเนื่อง
5.เสริมสร้างการผลิตและบริโภคสินค้าและบริการที่นาสู่การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ลดมลพิษ ลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างไม่มีประสิทธิภาพ และลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
6.เสริมสร้างความร่วมมือที่ดีระหว่างประเทศในการสนับสนุนการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างมีจริยธรรมและไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
ผลกระทบ
ภายใต้การพัฒนาไปสู่ประชาคมอาเซียนนั้น ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนมักจะได้รับความสนใจ
และกล่าวถึงเป็นอย่างมากในปัจจุบัน เนื่องจากจะนำมาซึ่งความเปลี่ยนแปลงภายในภูมิภาคอย่าง
กว้างขวาง โดยแนวโน้มการพัฒนาสำคัญอันจะเกิดจากประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ได้แก่ การ
จัดระบบและการเพิ่มขึ้นของการค้า การลงทุนและการบริการระหว่างประเทศ การพัฒนาโครงสร้าง
พื้นฐานและขยายตัวของเมือง การบริหารงานชายแดน การปฏิสัมพันธ์ทางสังคมอย่างใกล้ชิด การ
เคลื่อนย้ายคน และการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีและการสื่อสาร
อย่างไรก็ดี แม้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนจะไม่ได้ส่งผลกระทบต่อกระทรวงมหาดไทยโดยตรง
ในเชิงการขับเคลื่อนหรือดำเนินการให้เป็นไปตามพิมพ์เขียวประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนของประเทศไทย
แต่ในฐานะหน่วยงานภาครัฐที่มีภารกิจสำคัญในการบริหารราชการส่วนภูมิภาค การปรับตัวและเตรียม
ความพร้อมสำหรับผลกระทบทั้งเชิงบวกและลบที่จะเกิดขึ้นในระดับประเทศ หน่วยงาน พื้นที่ และ
ประชาชนก็ย่อมจะเป็นการสร้างความสามารถในการแข่งขันหรือเป็นแรงสนับสนุนที่จะทำให้การเป็น
ส่วนหนึ่งของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนของไทยเป็นไปอย่างราบรื่น และเกิดประโยชน์สูงสุด
จากการศึกษา พบว่า แนวโน้มโอกาสและผลกระทบต่อกระทรวงมหาดไทยภายใต้อำนาจ
หน้าที่ที่เกี่ยวข้องที่มีความท้าทาย ได้แก่ ปัญหาความมั่นคงรูปแบบใหม่ (Non-traditional Security
Issues) การบริหารงานทางทะเบียน การปรับตัวของการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัด การค้า
ชายแดน การประกอบอาชีพของประชาชน การจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษ การพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก
ความเหลื่อมล้ำทางสังคม การขยายตัวของเมือง ความต้องการด้านระบบสาธารณูปโภคและ
สาธารณูปการ การจัดการความขัดแย้ง การพัฒนาภาษาต่างประเทศ การสร้างความสัมพันธ์ระหว่าง
ประเทศ และการส่งเสริมประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน
ดังนั้น เพื่อเป็นการเตรียมพร้อมสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558 กระทรวงมหาดไทย
ควรดำเนินการตามประเด็นยุทธศาสตร์ใน 3 ประเด็นหลัก ได้แก่
1) การสร้างความพร้อมเชิงยุทธศาสตร์ระดับองค์กร (Organizational Strategic
Preparedness Building) ประกอบด้วยกลยุทธ์ คือ การเตรียมความพร้อมด้านบุคลากร การพัฒนา
โครงสร้างและระบบบริหารจัดการ การปรับเปลี่ยนเชิงนโยบาย ระเบียบ กฎหมายและแนวปฏิบัติที่
เกี่ยวข้อง การพัฒนาองค์ความรู้ด้านการวิจัยและพัฒนา และการพัฒนาภาพลักษณ์องค์กร
2) การเพิ่มขีดสมรรถนะการบริหารจัดการพื้นที่ (area-based management) ในฐานะ
หน่วยงานหลักในการบริหารราชการส่วนภูมิภาค (Capacity Building for Integrated Regional
Administration and Development) ประกอบด้วยกลยุทธ์ คือ การเสริมสร้างสมรรถนะการ
บริหารราชการส่วนภูมิภาค และการกระชับความร่วมมือระดับจังหวัด/ กลุ่มจังหวัดกับภาคส่วนอื่นๆ
3) การยกระดับการบริการ และอำนวยความเป็นธรรมประชาชน (Public Service
Quality Upgrading) ประกอบด้วยกลยุทธ์ คือ การพัฒนาการบริการประชาชน และการอำนวยความ
เป็นธรรมแก่ประชาชน
โดยเพื่อให้การเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนของกระทรวงมหาดไทยบรรลุ
สำเร็จ
www.uesdb.go.th
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น