หน้าเว็บ

การวิเคราะห์ สภาพแวดล้อมภายในและภายนอก


1.      การตรวจสอบสภาพแวดล้อม (Environmental Scanning) สามารถแบ่งได้เป็น 2 ส่วนคือ
1   การตรวจสอบสภาพแวดล้อมภายนอก (External Environmental Scanning) ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับ สภาพแวดล้อมของอุตสาหกรรม (Task Environment or Industry Environment) และสภาพแวดล้อมของสังคม (Societal Environment)
2. การตรวจสอบสภาพแวดล้อมภายใน (Internal Environmental Scanning) ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์ โครงสร้าง (Structure) วัฒนธรรมองค์การ (Culture) และ ทรัพยากร (Resources) ของบริษัท

การตรวจสอบสภาพแวดล้อมภายนอก
(Environmental Scanning and Industry Analysis)
สภาพแวดล้อมภายนอกมีความสำคัญต่อความสำเร็จของกิจการ การที่กิจการจะประสบความสำเร็จได้นั้น ผู้บริหารจะต้องมีความสามารถที่จะปรับตัวให้อยู่รอดได้ในสภาพแวดล้อมภายนอกที่เปลี่ยนแปลงไป  ผู้บริหารจะต้องมองหากลยุทธ์ที่เหมาะสมที่จะแข่งขันได้ในสถานการณ์ต่างๆ และต้องมีความสามารถที่จะปรับตัวให้เหมาะสมกับกลยุทธ์เหล่านั้น กลยุทธ์ที่เหมาะสมทั้งต่อสถานการณ์ภายนอก และสอดคล้องกับการปฏิบัติงานของบริษัทจะถือว่าเป็นกลยุทธ์ที่ดีที่สุด ในการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันและการอยู่รอดในระยะยาว
อย่างไรก็ตาม สภาพแวดล้อมเป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา รวมถึงมีความซับซ้อนยากที่จะเข้าใจได้ ต้องอาศัยการวิเคราะห์จากผู้ที่มีประสบการณ์และมีการตรวจสอบจากปัจจัยแวดล้อมหลายๆ ตัวประกอบกัน เพื่อที่จะทำความเข้าใจได้อย่างลึกซึ้งและถูกต้องถึงระดับของการเปลี่ยนแปลงหรือแนวโน้มของการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นตลอดเวลา การที่สภาพแวดล้อมมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ถือได้ว่าเป็นอุปสรรคที่สำคัญประการหนึ่งของผู้บริหารในการวางแผนกลยุทธ์ เพราะว่าการคาดการณ์ถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตจะทำได้ยากขึ้น และถ้าผู้บริหารไม่เข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมก็มีแนวโน้มว่า แผนกลยุทธ์ที่วางไว้จะไม่ประสบความสำเร็จอย่างที่ควรจะเป็น

การตรวจสอบสภาพแวดล้อม (Environmental Scanning)
เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่า ผลประกอบการที่ดี และกำไรของกิจการมักจะเกิดจากการวางแผนที่มีประสิทธิภาพ และการวางแผนที่ดีนั้น ต้องมีการตรวจสอบสภาพแวดล้อมที่ถูกต้อง ดังนั้น จึงมีความจำเป็นและเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้บริหารกิจการทุกแห่งจะต้องให้ความสนใจกับการประเมิน หรือ ตรวจสอบสภาพแวดล้อมที่จะมีผลกระทบต่อบริษัททั้งทางตรงและทางอ้อม เพื่อมองหาโอกาส หรืออุปสรรคที่จะต้องเผชิญและแก้ไขต่อไปในอนาคต
สภาพแวดล้อมภายนอก คืออะไร (Environmental Variables)
คือสิ่งแวดล้อมภายนอกที่จะมีผลกระทบต่อบริษัทและสามารถทำให้บริษัทได้โอกาส หรือเกิดอุปสรรคในการบริหารกิจการได้ สำหรับสภาพแวดล้อมภายนอกที่จะนำมาวิเคราะห์ในการบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์ หรือ นำมาใช้ในเรื่องของยุทธศาสตร์การบริหารนั้นจะมี 2 ประเภทคือ
1.       สภาพแวดล้อมทางสังคม (Societal Environment)
2.       สภาพแวดล้อมของอุตสาหกรรม (Task Environment or Industry Environment)
ในการประเมินสภาพแวดล้อมภายนอกตัวแรก หรือ สภาพแวดล้อมทางสังคม (Societal Environment)   มีตัวแปรหลายตัวที่กิจการจะต้องให้ความสำคัญ และตัวแปรเหล่านี้จะมีผลต่อการดำเนินงานในระยะยาว ซึ่งประกอบไปด้วย ตัวแปรที่สำคัญ 4 ตัวคือ
1.       สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ (Economic Forces) เป็นตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของการแลกเปลี่ยนวัตถุดิบ เงิน พลังงาน และ ข้อมูลข่าวสาร
2.       สภาพแวดล้อมทางเทคโนโลยี (Technological Forces) เป็นตัวแปรที่จะช่วยนำเสนอสิ่งใหม่ๆ มาใช้ในการแก้ปัญหาของกิจการ
3.       สภาพแวดล้อมทางด้านการเมืองและกฏหมาย (Political – legal Forces) เป็นตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับการใช้อำนาจทางการเมือง การออกกฎหมาย ระเบียบข้อบังคับ ที่จะเป็นประโยชน์หรือเป็นอุปสรรคต่อการบริหารกิจการ
4.       สภาพแวดล้อมทางด้านสังคมและวัฒนธรรม (Sociocultural Forces) เป็นตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับค่านิยมของคนในสังคม ความเชื่อ บรรทัดฐาน ประเพณี และแนวทางในการดำเนินชีวิต



สำหรับการประเมินสภาพแวดล้อมของอุตสาหกรรม (Task Environment or Industry Environment) จะเป็นการวิเคราะห์ถึงกลุ่มที่มีผลกระทบโดยตรงต่อการดำเนินกิจการของบริษัท ซึ่งกลุ่มที่ว่านี้ จะหมายรวมถึง รัฐบาล (governments) ชุมชนท้องถิ่น (local communities)  ผู้จัดจำหน่ายวัตถุดิบ (suppliers) คู่แข่งขัน (competitors)  ลูกค้า (customers) ผู้ให้สินเชื่อ (creditors) ลูกจ้างหรือพนักงาน (employee/labor unions) กลุ่มที่มีผลประโยชน์เกี่ยวข้องอื่นๆ (special – interest groups) และสมาคมการค้าที่เกี่ยวข้อง (trade associations) ผู้บริหารกิจการจะต้องให้ความสำคัญกับสภาพแวดล้อมภายนอกทั้งสองประเภท คือ ทั้งสภาพแวดล้อมทางสังคม และสภาพแวดล้อมของอุตสาหกรรม เพราะว่าสภาพแวดล้อมทั้งสองประเภทนี้จะมีส่วนสำคัญที่จะทำให้กิจการประสบความสำเร็จได้ในอนาคต
ตัวอย่างของตัวแปรที่จะต้องวิเคราะห์ในการตรวจสอบสภาพแวดล้อมทางสังคม
(Some Important Variables in the Societal Environment)
1.       สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ (Economic)
1.1   แนวโน้มของค่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (Gross National Product; GNP trends)
1.2   อัตราดอกเบี้ย (Interest rates)
1.3   ปริมาณเงินในประเทศ (Money supply)
1.4   อัตราเงินเฟ้อ (Inflation rates)
1.5   ระดับการว่างงานภายในประเทศ (Unemployment levels)
1.6   อัตราค่าแรงขั้นต่ำ (Wage/price controls)
1.7   การปรับลดอัตราแลกเปลี่ยนหรือมูลค่าของเงินบาท (Devaluation) หรือ การเพิ่มค่าของอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท (Revaluation)
1.8   ปริมาณพลังงานและต้นทุนของพลังงาน (Energy availability and cost)
1.9   รายได้ที่ใช้จ่ายได้จริง (Disposable and discretionary income) เป็นรายได้หลังหักภาษีและรายได้ตัวนี้จะแสดงถึงอำนาจซื้อที่แท้จริงของประชาชนและการออมด้วย
2.       สภาพแวดล้อมทางเทคโนโลยี (Technology)
2.1   การใช้จ่ายของภาครัฐเพื่อการวิจัยและพัฒนา (Total federal spending for R&D)
2.2   การใช้จ่ายของภาคเอกชนเพื่อการวิจัยและพัฒนา (Total industry spending for R&D)
2.3   การให้ความสำคัญต่อการพัฒนาเทคโนโลยี (Focus of technological efforts)
2.4   การให้ความคุ้มครองด้านลิขสิทธิ์ (Patent protection)
2.5   การคิดค้นผลิตภัณฑ์ใหม่ (New products)
2.6   การพัฒนาเทคโนโลยีจากห้องทดลองสู่ตลาด (New developments in technology transfer from lab to market place)
2.7   การปรับปรุงผลผลิตผ่านระบบอัตโนมัติ (Productivity improvements through automation)
3.       สภาพแวดล้อมทางด้านการเมืองและกฎหมาย (Political – legal )
3.1   กฎหมายป้องกันการผูกขาด (Antitrust regulations)
3.2   กฎหมายคุ้มครองสิ่งแวดล้อม (Environmental protection laws)
3.3   กฎหมายเกี่ยวกับการเสียภาษี (Tax laws)
3.4   สิทธิพิเศษทางกฎหมายอื่นๆ (Special incentives)
3.5   กฎหมายการค้าระหว่างประเทศ (Foreign trade regulations)
3.6   ทัศนคติต่อบริษัทต่างชาติ (Attitudes toward foreign companies)
3.7   กฎหมายการจ้างงานและการเลื่อนขั้นเลื่อนตำแหน่ง (Laws on hiring and promotion)
3.8   ความมีเสถียรภาพของรัฐบาล (Stability of government)
4.       สภาพแวดล้อมทางด้านสังคมและวัฒนธรรม
4.1   การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการใช้ชีวิต (Life – style changes)
4.2   ความคาดหวังหรือโอกาสก้าวหน้าในอาชีพ (Career expectations)
4.3   บทบาทของผู้บริโภค (Customer activism)
4.4   อัตราการตั้งครอบครัวใหม่ (Rate of family formation)
4.5   อัตราการเพิ่มของประชากร (Growth rate of population)
4.6   การกระจายของอายุของประชากร (Age distribution of population)
4.7   การกระจายของถิ่นที่อยู่ของประชากร (Regional shifts in population)
4.8   อายุเฉลี่ยของประชากร (Life expectancies)
4.9   อัตราการเกิด (Birth rates)






การประเมินผลการเรียนรู้


กิจกรรมที่
วิธีการประเมิน**
สัปดาห์ที่ประเมิน 
สัดส่วนของการประเมิน
1
ทดสอบย่อย ครั้งที่ 1
สอบกลางภาค
ทดสอบย่อยครั้งที่ 2
สอบปลายภาค

4
8
12
15
10%
25%
10%
25%
2
วิเคราะห์กรณีศึกษา ค้นคว้า การนำเสนอ
รายงาน
การทำงานกลุ่มและผลงาน
การอ่านและสรุปบทความ
การส่งงานตามที่มอบหมาย

ตลอดภาคการศึกษา
20%
3
การเข้าชั้นเรียน
การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็น
ตลอดภาคการศึกษา
10%

แนวการสอน


บทที่ 1 การวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นในการจัดการ การประเมินสภาพแวดล้อมภายนอกและภายใน
บทที่ 2 แนวคิด ทฤษฎีทางการบริหารจัดการที่สำคัญ ตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบัน
บทที่ 3 การค้นหาข้อมูลโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
บทที่ 4 แนวคิดเกี่ยวกับภาวะผู้นำ และการบริหารจัดการสมัยใหม่
บทที่ 5 ทฤษฎีผู้นำที่เหมาะสมกับสถานการณ์และสิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน
บทที่ 6 การเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และวิเคราะห์ถึงผลกระทบต่อการบริหารจัดการ
บทที่ 7 การพัฒนาองค์การไปสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้และการพัฒนาอย่างยั่งยืน
บทที่ 8 เทคนิคในการบริหารทรัพยากรมนุษย์และการจัดการที่เหมาะสมกับวัฒนธรรมไทย
บทที่ 9 การบริหารการเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาอย่างยั่งยืน
บทที่ 10 การแข่งขันในตลาดโลกและการปรับตัวเพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน
บทที่ 11 การบริหารจัดการธุรกิจสีเขียวและการวิเคราะห์ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และคุณภาพชีวิต