หน้าเว็บ

การวิเคราะห์ สภาพแวดล้อมภายในและภายนอก


1.      การตรวจสอบสภาพแวดล้อม (Environmental Scanning) สามารถแบ่งได้เป็น 2 ส่วนคือ
1   การตรวจสอบสภาพแวดล้อมภายนอก (External Environmental Scanning) ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับ สภาพแวดล้อมของอุตสาหกรรม (Task Environment or Industry Environment) และสภาพแวดล้อมของสังคม (Societal Environment)
2. การตรวจสอบสภาพแวดล้อมภายใน (Internal Environmental Scanning) ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์ โครงสร้าง (Structure) วัฒนธรรมองค์การ (Culture) และ ทรัพยากร (Resources) ของบริษัท

การตรวจสอบสภาพแวดล้อมภายนอก
(Environmental Scanning and Industry Analysis)
สภาพแวดล้อมภายนอกมีความสำคัญต่อความสำเร็จของกิจการ การที่กิจการจะประสบความสำเร็จได้นั้น ผู้บริหารจะต้องมีความสามารถที่จะปรับตัวให้อยู่รอดได้ในสภาพแวดล้อมภายนอกที่เปลี่ยนแปลงไป  ผู้บริหารจะต้องมองหากลยุทธ์ที่เหมาะสมที่จะแข่งขันได้ในสถานการณ์ต่างๆ และต้องมีความสามารถที่จะปรับตัวให้เหมาะสมกับกลยุทธ์เหล่านั้น กลยุทธ์ที่เหมาะสมทั้งต่อสถานการณ์ภายนอก และสอดคล้องกับการปฏิบัติงานของบริษัทจะถือว่าเป็นกลยุทธ์ที่ดีที่สุด ในการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันและการอยู่รอดในระยะยาว
อย่างไรก็ตาม สภาพแวดล้อมเป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา รวมถึงมีความซับซ้อนยากที่จะเข้าใจได้ ต้องอาศัยการวิเคราะห์จากผู้ที่มีประสบการณ์และมีการตรวจสอบจากปัจจัยแวดล้อมหลายๆ ตัวประกอบกัน เพื่อที่จะทำความเข้าใจได้อย่างลึกซึ้งและถูกต้องถึงระดับของการเปลี่ยนแปลงหรือแนวโน้มของการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นตลอดเวลา การที่สภาพแวดล้อมมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ถือได้ว่าเป็นอุปสรรคที่สำคัญประการหนึ่งของผู้บริหารในการวางแผนกลยุทธ์ เพราะว่าการคาดการณ์ถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตจะทำได้ยากขึ้น และถ้าผู้บริหารไม่เข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมก็มีแนวโน้มว่า แผนกลยุทธ์ที่วางไว้จะไม่ประสบความสำเร็จอย่างที่ควรจะเป็น

การตรวจสอบสภาพแวดล้อม (Environmental Scanning)
เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่า ผลประกอบการที่ดี และกำไรของกิจการมักจะเกิดจากการวางแผนที่มีประสิทธิภาพ และการวางแผนที่ดีนั้น ต้องมีการตรวจสอบสภาพแวดล้อมที่ถูกต้อง ดังนั้น จึงมีความจำเป็นและเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้บริหารกิจการทุกแห่งจะต้องให้ความสนใจกับการประเมิน หรือ ตรวจสอบสภาพแวดล้อมที่จะมีผลกระทบต่อบริษัททั้งทางตรงและทางอ้อม เพื่อมองหาโอกาส หรืออุปสรรคที่จะต้องเผชิญและแก้ไขต่อไปในอนาคต
สภาพแวดล้อมภายนอก คืออะไร (Environmental Variables)
คือสิ่งแวดล้อมภายนอกที่จะมีผลกระทบต่อบริษัทและสามารถทำให้บริษัทได้โอกาส หรือเกิดอุปสรรคในการบริหารกิจการได้ สำหรับสภาพแวดล้อมภายนอกที่จะนำมาวิเคราะห์ในการบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์ หรือ นำมาใช้ในเรื่องของยุทธศาสตร์การบริหารนั้นจะมี 2 ประเภทคือ
1.       สภาพแวดล้อมทางสังคม (Societal Environment)
2.       สภาพแวดล้อมของอุตสาหกรรม (Task Environment or Industry Environment)
ในการประเมินสภาพแวดล้อมภายนอกตัวแรก หรือ สภาพแวดล้อมทางสังคม (Societal Environment)   มีตัวแปรหลายตัวที่กิจการจะต้องให้ความสำคัญ และตัวแปรเหล่านี้จะมีผลต่อการดำเนินงานในระยะยาว ซึ่งประกอบไปด้วย ตัวแปรที่สำคัญ 4 ตัวคือ
1.       สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ (Economic Forces) เป็นตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของการแลกเปลี่ยนวัตถุดิบ เงิน พลังงาน และ ข้อมูลข่าวสาร
2.       สภาพแวดล้อมทางเทคโนโลยี (Technological Forces) เป็นตัวแปรที่จะช่วยนำเสนอสิ่งใหม่ๆ มาใช้ในการแก้ปัญหาของกิจการ
3.       สภาพแวดล้อมทางด้านการเมืองและกฏหมาย (Political – legal Forces) เป็นตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับการใช้อำนาจทางการเมือง การออกกฎหมาย ระเบียบข้อบังคับ ที่จะเป็นประโยชน์หรือเป็นอุปสรรคต่อการบริหารกิจการ
4.       สภาพแวดล้อมทางด้านสังคมและวัฒนธรรม (Sociocultural Forces) เป็นตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับค่านิยมของคนในสังคม ความเชื่อ บรรทัดฐาน ประเพณี และแนวทางในการดำเนินชีวิต



สำหรับการประเมินสภาพแวดล้อมของอุตสาหกรรม (Task Environment or Industry Environment) จะเป็นการวิเคราะห์ถึงกลุ่มที่มีผลกระทบโดยตรงต่อการดำเนินกิจการของบริษัท ซึ่งกลุ่มที่ว่านี้ จะหมายรวมถึง รัฐบาล (governments) ชุมชนท้องถิ่น (local communities)  ผู้จัดจำหน่ายวัตถุดิบ (suppliers) คู่แข่งขัน (competitors)  ลูกค้า (customers) ผู้ให้สินเชื่อ (creditors) ลูกจ้างหรือพนักงาน (employee/labor unions) กลุ่มที่มีผลประโยชน์เกี่ยวข้องอื่นๆ (special – interest groups) และสมาคมการค้าที่เกี่ยวข้อง (trade associations) ผู้บริหารกิจการจะต้องให้ความสำคัญกับสภาพแวดล้อมภายนอกทั้งสองประเภท คือ ทั้งสภาพแวดล้อมทางสังคม และสภาพแวดล้อมของอุตสาหกรรม เพราะว่าสภาพแวดล้อมทั้งสองประเภทนี้จะมีส่วนสำคัญที่จะทำให้กิจการประสบความสำเร็จได้ในอนาคต
ตัวอย่างของตัวแปรที่จะต้องวิเคราะห์ในการตรวจสอบสภาพแวดล้อมทางสังคม
(Some Important Variables in the Societal Environment)
1.       สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ (Economic)
1.1   แนวโน้มของค่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (Gross National Product; GNP trends)
1.2   อัตราดอกเบี้ย (Interest rates)
1.3   ปริมาณเงินในประเทศ (Money supply)
1.4   อัตราเงินเฟ้อ (Inflation rates)
1.5   ระดับการว่างงานภายในประเทศ (Unemployment levels)
1.6   อัตราค่าแรงขั้นต่ำ (Wage/price controls)
1.7   การปรับลดอัตราแลกเปลี่ยนหรือมูลค่าของเงินบาท (Devaluation) หรือ การเพิ่มค่าของอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท (Revaluation)
1.8   ปริมาณพลังงานและต้นทุนของพลังงาน (Energy availability and cost)
1.9   รายได้ที่ใช้จ่ายได้จริง (Disposable and discretionary income) เป็นรายได้หลังหักภาษีและรายได้ตัวนี้จะแสดงถึงอำนาจซื้อที่แท้จริงของประชาชนและการออมด้วย
2.       สภาพแวดล้อมทางเทคโนโลยี (Technology)
2.1   การใช้จ่ายของภาครัฐเพื่อการวิจัยและพัฒนา (Total federal spending for R&D)
2.2   การใช้จ่ายของภาคเอกชนเพื่อการวิจัยและพัฒนา (Total industry spending for R&D)
2.3   การให้ความสำคัญต่อการพัฒนาเทคโนโลยี (Focus of technological efforts)
2.4   การให้ความคุ้มครองด้านลิขสิทธิ์ (Patent protection)
2.5   การคิดค้นผลิตภัณฑ์ใหม่ (New products)
2.6   การพัฒนาเทคโนโลยีจากห้องทดลองสู่ตลาด (New developments in technology transfer from lab to market place)
2.7   การปรับปรุงผลผลิตผ่านระบบอัตโนมัติ (Productivity improvements through automation)
3.       สภาพแวดล้อมทางด้านการเมืองและกฎหมาย (Political – legal )
3.1   กฎหมายป้องกันการผูกขาด (Antitrust regulations)
3.2   กฎหมายคุ้มครองสิ่งแวดล้อม (Environmental protection laws)
3.3   กฎหมายเกี่ยวกับการเสียภาษี (Tax laws)
3.4   สิทธิพิเศษทางกฎหมายอื่นๆ (Special incentives)
3.5   กฎหมายการค้าระหว่างประเทศ (Foreign trade regulations)
3.6   ทัศนคติต่อบริษัทต่างชาติ (Attitudes toward foreign companies)
3.7   กฎหมายการจ้างงานและการเลื่อนขั้นเลื่อนตำแหน่ง (Laws on hiring and promotion)
3.8   ความมีเสถียรภาพของรัฐบาล (Stability of government)
4.       สภาพแวดล้อมทางด้านสังคมและวัฒนธรรม
4.1   การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการใช้ชีวิต (Life – style changes)
4.2   ความคาดหวังหรือโอกาสก้าวหน้าในอาชีพ (Career expectations)
4.3   บทบาทของผู้บริโภค (Customer activism)
4.4   อัตราการตั้งครอบครัวใหม่ (Rate of family formation)
4.5   อัตราการเพิ่มของประชากร (Growth rate of population)
4.6   การกระจายของอายุของประชากร (Age distribution of population)
4.7   การกระจายของถิ่นที่อยู่ของประชากร (Regional shifts in population)
4.8   อายุเฉลี่ยของประชากร (Life expectancies)
4.9   อัตราการเกิด (Birth rates)






214 ความคิดเห็น:

1 – 200 จาก 214   ใหม่กว่า›   ใหม่ที่สุด»
Unknown กล่าวว่า...

การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในเป็นการศึกษาเพื่อค้นหาและระบุว่าองค์การจะต้องบริหารงานและดำเนินงานที่จะนำปัจจัยขององค์การมาใช้เพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันจากจุดแข็งและโอกาส ตลอดจนเพื่อหลีกเลี่ยงจุดอ่อนและอุปสรรคที่จะเกิดขึ้น การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในขององค์การสามารถทำได้หลายวิธี ดังนี้ คือ การวิเคราะห์โดยใช้ทรัพยากรเป็นฐานเป็นการพิจารณาถึงคุณลักษณะพิเศษของทรัพยากรที่จะสร้างผลตอบแทนเข้าสู่องค์การ การวิเคราะห์ลูกโซ่แห่งคุณค่าเป็นการพิจารณากิจกรรมภายในขององค์การ ที่สร้างคุณค่าให้กับลูกค้า แบ่งเป็นกิจกรรมหลัก 5 กิจกรรม และกิจกรรมสนับสนุน 4 กิจกรรม เพื่อนำไปสู่การได้เปรียบเทียบทางการแข่งขัน โดยการปรับปรุงกิจกรรมในแต่ละกิจกรรมให้เป็นจุดแข็งที่จะก่อให้เกิดคุณค่าให้แก่ลูกค้า การวิเคราะห์ตามหน้าที่ธุรกิจเป็นการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในองค์การโดยแยกตามหน้าที่ธุรกิจ คือ การตลาด การเงิน การผลิตและดำเนินงาน การบริหารทรัพยากรมนุษย์ การวิจัยและพัฒนา การจัดการและระบบสารสนเทศ การวิเคราะห์โครงร่าง 7-S ของแมคคีนซีย์เป็นการศึกษาปัจจัยที่เป็นส่วนประกอบสำคัญที่มีผลต่อความสำเร็จในการดำเนินงานขององค์การ ประกอบด้วย โครงร่าง กลยุทธ์ ระบบ รูปแบบ การบริหาร พนักงาน ทักษะฝีมือและค่านิยมร่วมและการวิเคราะห์ความสามารถหลักขององค์การเป็นการวิเคราะห์ปัจจัยที่เป็นความสามารถหลักขององค์การที่จะนำไปสู่การแข่งขันให้ประสบความสำเร็จ โดยการสร้างคุณค่าให้แก่ลูกค้าที่สามารถรับรู้ได้ เช่น ความคงทน ความสะดวกสบาย หรือความน่าใช้ในตัวสินค้าหรือบริการ

ขอบคุณแหล่งที่มา : http://www.oknation.net/blog/sareena1/2010/01/26/entry-1

ผู้โพส : นางสาวสอาด รหัส 5130125401218

Unknown กล่าวว่า...

การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในเป็นการศึกษาเพื่อค้นหาและระบุว่าองค์การจะต้องบริหารงานและดำเนินงานที่จะนำปัจจัยขององค์การมาใช้เพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันจากจุดแข็งและโอกาส ตลอดจนเพื่อหลีกเลี่ยงจุดอ่อนและอุปสรรคที่จะเกิดขึ้น การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในขององค์การสามารถทำได้หลายวิธี ดังนี้ คือ การวิเคราะห์โดยใช้ทรัพยากรเป็นฐานเป็นการพิจารณาถึงคุณลักษณะพิเศษของทรัพยากรที่จะสร้างผลตอบแทนเข้าสู่องค์การ การวิเคราะห์ลูกโซ่แห่งคุณค่าเป็นการพิจารณากิจกรรมภายในขององค์การ ที่สร้างคุณค่าให้กับลูกค้า แบ่งเป็นกิจกรรมหลัก 5 กิจกรรม และกิจกรรมสนับสนุน 4 กิจกรรม เพื่อนำไปสู่การได้เปรียบเทียบทางการแข่งขัน โดยการปรับปรุงกิจกรรมในแต่ละกิจกรรมให้เป็นจุดแข็งที่จะก่อให้เกิดคุณค่าให้แก่ลูกค้า การวิเคราะห์ตามหน้าที่ธุรกิจเป็นการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในองค์การโดยแยกตามหน้าที่ธุรกิจ คือ การตลาด การเงิน การผลิตและดำเนินงาน การบริหารทรัพยากรมนุษย์ การวิจัยและพัฒนา การจัดการและระบบสารสนเทศ การวิเคราะห์โครงร่าง 7-S ของแมคคีนซีย์เป็นการศึกษาปัจจัยที่เป็นส่วนประกอบสำคัญที่มีผลต่อความสำเร็จในการดำเนินงานขององค์การ ประกอบด้วย โครงร่าง กลยุทธ์ ระบบ รูปแบบ การบริหาร พนักงาน ทักษะฝีมือและค่านิยมร่วมและการวิเคราะห์ความสามารถหลักขององค์การเป็นการวิเคราะห์ปัจจัยที่เป็นความสามารถหลักขององค์การที่จะนำไปสู่การแข่งขันให้ประสบความสำเร็จ โดยการสร้างคุณค่าให้แก่ลูกค้าที่สามารถรับรู้ได้ เช่น ความคงทน ความสะดวกสบาย หรือความน่าใช้ในตัวสินค้าหรือบริการ

ขอบคุณแหล่งที่มา : http://www.oknation.net/blog/sareena1/2010/01/26/entry-1

ผู้โพส : นางสาวสอาด รหัส 5130125401218

Unknown กล่าวว่า...

การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในเป็นการศึกษาเพื่อค้นหาและระบุว่าองค์การจะต้องบริหารงานและดำเนินงานที่จะนำปัจจัยขององค์การมาใช้เพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันจากจุดแข็งและโอกาส ตลอดจนเพื่อหลีกเลี่ยงจุดอ่อนและอุปสรรคที่จะเกิดขึ้น การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในขององค์การสามารถทำได้หลายวิธี ดังนี้ คือ การวิเคราะห์โดยใช้ทรัพยากรเป็นฐานเป็นการพิจารณาถึงคุณลักษณะพิเศษของทรัพยากรที่จะสร้างผลตอบแทนเข้าสู่องค์การ การวิเคราะห์ลูกโซ่แห่งคุณค่าเป็นการพิจารณากิจกรรมภายในขององค์การ ที่สร้างคุณค่าให้กับลูกค้า แบ่งเป็นกิจกรรมหลัก 5 กิจกรรม และกิจกรรมสนับสนุน 4 กิจกรรม เพื่อนำไปสู่การได้เปรียบเทียบทางการแข่งขัน โดยการปรับปรุงกิจกรรมในแต่ละกิจกรรมให้เป็นจุดแข็งที่จะก่อให้เกิดคุณค่าให้แก่ลูกค้า การวิเคราะห์ตามหน้าที่ธุรกิจเป็นการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในองค์การโดยแยกตามหน้าที่ธุรกิจ คือ การตลาด การเงิน การผลิตและดำเนินงาน การบริหารทรัพยากรมนุษย์ การวิจัยและพัฒนา การจัดการและระบบสารสนเทศ การวิเคราะห์โครงร่าง 7-S ของแมคคีนซีย์เป็นการศึกษาปัจจัยที่เป็นส่วนประกอบสำคัญที่มีผลต่อความสำเร็จในการดำเนินงานขององค์การ ประกอบด้วย โครงร่าง กลยุทธ์ ระบบ รูปแบบ การบริหาร พนักงาน ทักษะฝีมือและค่านิยมร่วมและการวิเคราะห์ความสามารถหลักขององค์การเป็นการวิเคราะห์ปัจจัยที่เป็นความสามารถหลักขององค์การที่จะนำไปสู่การแข่งขันให้ประสบความสำเร็จ โดยการสร้างคุณค่าให้แก่ลูกค้าที่สามารถรับรู้ได้ เช่น ความคงทน ความสะดวกสบาย หรือความน่าใช้ในตัวสินค้าหรือบริการ

ขอบคุณแหล่งที่มา : http://www.oknation.net/blog/sareena1/2010/01/26/entry-1

ผู้โพส : นางสาวสอาด รหัส 5130125401218

porviiii กล่าวว่า...

สภาพแวดล้อมองค์กร หมายถึง สิ่งต่างๆ ที่มีผลกระทบต่อการดาเนินธุรกิจขององค์กรและในทางกลับกันก็สามารถได้รับผลกระทบจากการดาเนินงานของธุรกิจ สภาพแวดล้อมแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท
1.สภาพแวดล้อมภายใน (Internal Environment)
เป็นแรงผลักดันภายในธุรกิจที่มีอิทธิพลต่อการจัดการและดาเนินงานของธุรกิจ ซึ่ง ธุรกิจสามารถควบคุมและจัดการสภาพแวดล้อมลักษณะนี้ให้เป็นไปตามแนวทางที่ต้องการได้ ซึ่งในการจัดการผู้บริหารต้องทาการศึกษาปัจจัยเหล่านี้เพื่อประเมินจุดแข็ง (strengths) และจุดอ่อน (weakness) ขององค์การ
1.1 โครงสร้างองค์กร (Organization) โครงสร้างของกิจการเป็นตัวกำหนดทิศทางแก่องค์กรในการ ดา เนินกลยุทธ์ในการเข้าสู่ตลาดโลก รวมถึงเป็นการพิจารณาระดับความพร้อมขององค์กรทางด้านบุคคลากรทั้ง ในประเทศและต่างประเทศ
1.2 กลยุทธ์ของกิจการ (Business Strategy) ในกระบวนการเปลี่ยนแปลงภายในยังประกอบไปด้วยการ เปลี่ยนแปลงกลยุทธ์ขององค์การ ซึ่งกลยุทธ์จะเป็นตัวกำหนดทิศทางการทำงาน เพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์และ พันธกิจขององค์การ ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงในเรื่องของกลยุทธ์จะเป็นส่วนที่สำคัญที่ทำ ให้ทิศทางการ ดา เนินงานขององค์การเปลี่ยนแปลงต่อกระแสโลก ไม่ว่าจะเป็นการขยายสาขาสู่ต่างประเทศ การทา การค้ากับคู่ ค้าในโซนใหม่ การพัฒนาและออกผลิตภัณฑ์ใหม่ เพิ่มความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ เพื่อตอบสนองความ ต้องการของลูกค้า ให้ความสำคัญกับการบริการลูกค้า และผลิตสินค้าที่มีราคาถูกและมีคุณภาพ
1.3 บุคลากรและความสามารถของบุคลากร (Human Resource and Ability) กิจการสามารถปรับตัวต่อ สภาพแวดล้อมได้ดี เมื่อพนักงานได้รับการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาทักษะ ความรู้และความสามารถ และสามารถ พัฒนาความสามารถในการปฏิบัติงานของบุคลากรในองค์การ และทา ให้ผลการปฏิบัติงานมีคุณภาพดีขึ้น เพื่อให้ สามารถทา การผลิตได้มีประสิทธิผลมากที่สุด
1.4 วัฒนธรรมองค์กร (Organization Culture) รวมไปถึง การเปลี่ยนแปลงค่านิยมในการทางาน การ เปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมในด้านต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดภายนอก
1.5 องค์ประกอบอื่นๆ ในองค์การ ได้แก่ พันธกิจของบริษัท ระบบการบริหารงาน กระบวนการผลิตและ การทา งานในธุรกิจทรัพยากรต่าง ๆ ในธุรกิจ กฎระเบียบภายในองค์การ
นางสาววรางคณา 5130125401211

Unknown กล่าวว่า...

การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในเป็นการศึกษาเพื่อค้นหาและระบุว่าองค์การจะต้องบริหารงานและดำเนินงานที่จะนำปัจจัยขององค์การมาใช้เพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันจากจุดแข็งและโอกาส ตลอดจนเพื่อหลีกเลี่ยงจุดอ่อนและอุปสรรคที่จะเกิดขึ้น การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในขององค์การสามารถทำได้หลายวิธี ดังนี้ คือ การวิเคราะห์โดยใช้ทรัพยากรเป็นฐานเป็นการพิจารณาถึงคุณลักษณะพิเศษของทรัพยากรที่จะสร้างผลตอบแทนเข้าสู่องค์การ การวิเคราะห์ลูกโซ่แห่งคุณค่าเป็นการพิจารณากิจกรรมภายในขององค์การ ที่สร้างคุณค่าให้กับลูกค้า แบ่งเป็นกิจกรรมหลัก 5 กิจกรรม และกิจกรรมสนับสนุน 4 กิจกรรม เพื่อนำไปสู่การได้เปรียบเทียบทางการแข่งขัน โดยการปรับปรุงกิจกรรมในแต่ละกิจกรรมให้เป็นจุดแข็งที่จะก่อให้เกิดคุณค่าให้แก่ลูกค้า การวิเคราะห์ตามหน้าที่ธุรกิจเป็นการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในองค์การโดยแยกตามหน้าที่ธุรกิจ คือ การตลาด การเงิน การผลิตและดำเนินงาน การบริหารทรัพยากรมนุษย์ การวิจัยและพัฒนา การจัดการและระบบสารสนเทศ การวิเคราะห์โครงร่าง 7-S ของแมคคีนซีย์เป็นการศึกษาปัจจัยที่เป็นส่วนประกอบสำคัญที่มีผลต่อความสำเร็จในการดำเนินงานขององค์การ ประกอบด้วย โครงร่าง กลยุทธ์ ระบบ รูปแบบ การบริหาร พนักงาน ทักษะฝีมือและค่านิยมร่วมและการวิเคราะห์ความสามารถหลักขององค์การเป็นการวิเคราะห์ปัจจัยที่เป็นความสามารถหลักขององค์การที่จะนำไปสู่การแข่งขันให้ประสบความสำเร็จ โดยการสร้างคุณค่าให้แก่ลูกค้าที่สามารถรับรู้ได้ เช่น ความคงทน ความสะดวกสบาย หรือความน่าใช้ในตัวสินค้าหรือบริการ

ขอบคุณแหล่งที่มา : http://www.oknation.net/blog/sareena1/2010/01/26/entry-1

ผู้โพส : นางสาว สอาด รหัส 5130125401218

Unknown กล่าวว่า...

การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในเป็นการศึกษาเพื่อค้นหาและระบุว่าองค์การจะต้องบริหารงานและดำเนินงานที่จะนำปัจจัยขององค์การมาใช้เพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันจากจุดแข็งและโอกาส ตลอดจนเพื่อหลีกเลี่ยงจุดอ่อนและอุปสรรคที่จะเกิดขึ้น การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในขององค์การสามารถทำได้หลายวิธี ดังนี้ คือ การวิเคราะห์โดยใช้ทรัพยากรเป็นฐานเป็นการพิจารณาถึงคุณลักษณะพิเศษของทรัพยากรที่จะสร้างผลตอบแทนเข้าสู่องค์การ การวิเคราะห์ลูกโซ่แห่งคุณค่าเป็นการพิจารณากิจกรรมภายในขององค์การ ที่สร้างคุณค่าให้กับลูกค้า แบ่งเป็นกิจกรรมหลัก 5 กิจกรรม และกิจกรรมสนับสนุน 4 กิจกรรม เพื่อนำไปสู่การได้เปรียบเทียบทางการแข่งขัน โดยการปรับปรุงกิจกรรมในแต่ละกิจกรรมให้เป็นจุดแข็งที่จะก่อให้เกิดคุณค่าให้แก่ลูกค้า การวิเคราะห์ตามหน้าที่ธุรกิจเป็นการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในองค์การโดยแยกตามหน้าที่ธุรกิจ คือ การตลาด การเงิน การผลิตและดำเนินงาน การบริหารทรัพยากรมนุษย์ การวิจัยและพัฒนา การจัดการและระบบสารสนเทศ การวิเคราะห์โครงร่าง 7-S ของแมคคีนซีย์เป็นการศึกษาปัจจัยที่เป็นส่วนประกอบสำคัญที่มีผลต่อความสำเร็จในการดำเนินงานขององค์การ ประกอบด้วย โครงร่าง กลยุทธ์ ระบบ รูปแบบ การบริหาร พนักงาน ทักษะฝีมือและค่านิยมร่วมและการวิเคราะห์ความสามารถหลักขององค์การเป็นการวิเคราะห์ปัจจัยที่เป็นความสามารถหลักขององค์การที่จะนำไปสู่การแข่งขันให้ประสบความสำเร็จ โดยการสร้างคุณค่าให้แก่ลูกค้าที่สามารถรับรู้ได้ เช่น ความคงทน ความสะดวกสบาย หรือความน่าใช้ในตัวสินค้าหรือบริการ

ขอบคุณแหล่งที่มา: http://www.oknation.net/blog/sareena1/2010/01/26/entry-1

ผู้โพส: นางสาว สอาด รหัส 5130125401218

Unknown กล่าวว่า...

การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน (Internal Environment Analysis)


การเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมภายนอก ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงลักษณะของอุตสาหกรรม ซึ่งจะสร้างโอกาส และ อุปสรรค และ ปัจจัยแห่งความสำเร็จที่สำคัญใหม่ๆขึ้นมา ผู้บริหารจึงต้องประเมินทรัพยากรและความสามารถขององค์กร โดยการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในด้วย ทั้งนี้เพื่อทราบถึงจุดแข็งและจุดอ่อนขององค์กรด้วย

สภาพแวดล้อมภายในองค์กร (Internal Environment Analysis) เป็นปัจจัยภายในที่ขึ้นกับทรัพยากรและความสามารถขององค์กรเอง

ดังนั้น จึงเป็นสิ่งที่ผู้บริหารสามารถควบคุมได้ (Controllable Factor)

การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน มีการวิเคราะห์ได้หลายวิธี ที่นิยมกันได้แก่

1. การวิเคราะห์ตามหน้าที่ (FUNCTIONAL ANALYSIS)

2. การวิเคราะห์ปัจจัย 7 ประการของ McKinsey (Mckincy 7-S Framwork)

3. สายโซ่แห่งคุณค่า (Value Chain Analysis)


การวิเคราะห์ปัจจัยภายในองค์กรตามหน้าที่การปฏิบัติงาน

การวิเคราะห์ จุดอ่อน จุดแข็ง โดยพิจารณาจากสายงาน หรือ หน้าที่ของงานด้านต่างๆ โดยเปรียบเทียบกับคู่แข่งขัน หรือ การดำเนินงานที่ผ่านมาในอดีต การวิเคราะห์ปัจจัยภายในองค์การ


การวิเคราะห์ปัจจัยภายในองค์การตามหน้าที่การปฏิบัติงาน ประกอบด้วย

1. ด้านการบริหารโดยพิจารณา

1.1 ทักษะ และ ความสามารถของผู้บริหาร
1.2 โครงสร้างองค์กร
1.3 ระบบการวางแผน
1.4 มาตรฐานกระบวนการปฏิบัติงาน
1.5 ระบบการควบคุม
1.6 วัฒนธรรมองค์กร
1.7 จรรยาบรรณของผู้บริหาร

2 ด้าน เทคโนโลยี โดยพิจารณาจาก

2.1 ต้นทุน (COST OF TECHNOLOGY)
2.2 การประหยัดจากขนาดการผลิต (Economic of scale)
2.3 การเพิ่มผลผลิต (PRODUCTIVITY)
2.4 ความได้เปรียบในการแข่งขัน (Conpetitive Advantage)
2.5 ระบบข้อมูลสารสนเทศ (Information Technology)


3 ด้าน การบริหารทรัพยากรมนุษย์

3.1 ทัศนคติของพนักงาน
3.2 ทักษะความสามารถในการทำงาน
3.3 ประสบการณ์
3.4 จำนวนพนักงาน
3.5 อัตราการขาดงาน / การเข้าออกของพนักงาน
3.6 การจ่ายค่าตอบแทน เงินเดือน และ สวัสดิการ
3.7 ขวัญ และ กำลังใจ
3.8 การวิเคราะห์งาน
3.9 ระบบสรรหา และ คัดเลือก


4 ด้าน การผลิตโดย พิจารณา

4.1 เครื่องจักร
– มีประสิทธิภาพ
– การดัดแปลงใช้กับงานอื่น
– ค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุง
– ความพร้อมของเครื่องจักร อุปกรณ์

4.2 วัตถุดิบ
- ปริมาณ
– ต้นทุน
– จำนวนผู้ผลิต และ ผู้ขาย
- จุดสั่งซื้อ และ ระยะเวลาในการสั่งซื้อ
- การจัดซื้ออย่างมีคุณภาพ

4.3 กระบวน
– กระบวนการผลิต
– กำลัง และ ขีด ความสามารถการผลิต
– ระบบควบคุม ระบบคุณภาพ
– มีระบบสารสนเทศ สนับสนุนการผลิต

4.4 การบริหารสินค้าคงเหลือ
- คุณภาพของสินค้า
- ต้นทุนสินค้า ค่าใช้จ่ายในการสั่งซื้อ และการเก็บ
- ปริมาณการผลิตที่เหมาะสม ปริมาณสินค้าคงคลัง


5. ด้าน การตลาดโดย พิจารณา

5.1 ส่วนแบ่งตลาด (SEGMENTATION)
5.2 กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย (TARGET MARKET)
5.3 ตำแหน่งของตลาด (POSITIONING)
5.4 ผลิตภัณฑ์ (PRODUCT)
5.5 ราคา (PRICE)
5.6 ช่องทางการจัดจำหน่าย (PLACE)
5.7 การส่งเสริมการขาย/การตลาด (PROMOTION)
5.8 วงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์


6. ด้าน การเงิน โดยพิจารณาจาก

6.1 แหล่งที่มาของเงินทุน
6.2 ต้นทุนของเงินลงทุน
6.3 ปริมาณเงินทุน
6.4 ระยะเวลาการใช้คืนเงินทุน
6.5 โครงสร้างของเงินทุน
6.6 สภาพคล่องทางการเงิน
6.7 ความเสี่ยงทางธุรกิจ

นายอัตถชัย รหัส 5130125401213

Unknown กล่าวว่า...

การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน
Internal Analysis
เพื่อใช้เป็นหนทางในการกำหนดหาความเข้มแข็ง (strength) ที่กิจการจะต้องสร้างขึ้นมา รวมทั้งความอ่อนแอ (weakness) ที่จะต้องเอาชนะให้ได้
กิจการดำเนินงานดี หมายถึง
การปฏิบัติงานภายใน (internal operations) มีประสิทธิภาพ (efficiency) และประสิทธิผล (effectiveness) ดีอย่างไร สามารถสร้างคุณค่าแก่ลูกค้า (customer value) และความได้เปรียบทางการแข่งขัน (competitive advantages) ได้อย่างไร
ตัวอย่าง : กรณีเทคโนโลยี HDTV ของ Thomson Consumer Electronics Corp. ได้รับเงินสนับสนุน 1 พันล้านดอลลาร์จากรัฐบาลฝรั่งเศส
แนวคิดเพื่อการวิเคราะห์ความเข้มแข็งและความอ่อนแอของกิจการ
 ปัจจัยความสำเร็จ (Critical Success Factors)
 ห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain)
 กระบวนธุรกิจแก่น (Core Business Process)

วิธีการประเมินความเข้มแข็งและความอ่อนแอ
1. Balanced Scorecard
เป็นการพิจารณาบริษัทจากมุมมองหลายด้าน ได้แก่
- ทางด้านการเงิน ได้แก่ ค่า EVA กำไร การเติบโต
- ทางด้านลูกค้า ได้แก่ คุณค่าเพื่อลูกค้า
- ทางด้านการทำงานภายใน ได้แก่ กระบวนและระบบแก่น
- ทางด้านองค์กร ได้แก่ ความสามารถในการปรับตัว

2. การวิเคราะห์เชิงปริมาณ (Quantitative Analysis)
2.1 การวิเคราะห์ทางการเงิน (Financial Analysis) เช่น อัตราส่วนต่างๆ ที่แสดง
- ความสามารถในการทำกำไร (Profitability Ratios) เป็นการวัดความสามารถของกิจการ
- สภาพคล่อง (Liquidity Ratios) เป็นการวัดเงื่อนไขผูกพันระยะสั้น
- ความสามารถในการก่อหนี้ (Leverage Ratios) เป็นการวัดความเสี่ยงทางธุรกิจ
- ความสามารถใช้ทรัพย์สิน (Activity Ratios) เป็นการวัดประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากร
2.2 การวิเคราะห์ที่ไม่เกี่ยวกับการเงิน (Non-Financial Quantitative Analysis) เช่น
- ระยะเวลาที่ใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่
- อัตราการลาออกของพนักงาน
- อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นต่อ 1,000 คน-ชั่วโมง
- อัตราบ่นจากลูกค้าต่อสัปดาห์
- ลำดับทางการตลาด
- จำนวนลูกค้าซื้อซ้ำ
- จำนวนผลิตภัณฑ์ใหม่
- จำนวนจุดขายย่อย เป็นต้น
2. การวิเคราะห์เชิงคุณภาพ (Qualitative Analysis)

การเปรียบเทียบมาตรฐาน (Standards Comparison)
1. บรรทัดฐานทางอุตสาหกรรม (Industry Norms)
2. ความสามารถในอดีต (Historical Performance)
3. การทดสอบเปรียบเทียบ (Benchmarks)
- การทดสอบเทียบกับคู่แข่ง (Competitive Benchmark)
- การทดสอบเทียบกับการทำงาน (Functional Benchmark)

นางสาวเรวดี รหัส 5130125401231

blueheart กล่าวว่า...

การเก็บรวบรวมข้อมูลสภาพแวดล้อม

ในการวิเคราะห์ SWOT องค์กรควรได้ศึกษา เก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมทั้งภายใน และ ภายนอกกิจการ เพื่อทำให้ทราบถึงความเปลี่ยนแปลงของสภาวะแวดล้อม และ ผลกระทบที่เกิดขึ้น การเก็บรวบรวมข้อมูลอาจทำได้หลายวิธีร่วมกัน ดังนี้

1. จากข้อมูล จากหน่วยงานเก็บรวบรวมไว้แล้ว

2. ข้อมูลจากพนักงานในองค์การ

3. หนังสือพิมพ์ วารสารทางธุรกิจต่างๆ

4. หน่วยงานของรัฐ หรือ เอกชน

5. ฐานข้อมูลต่างๆ ทั้งภายใน ภายนอกองค์กร

6. ข้อมูลจากลูกค้า และ ผู้จัดส่งวัตถุดิบ

7. ข้อมูลจากการวิเคราะห์ของผู้เชี่ยวชาญ


การพยากรณ์การเปลี่ยนแปลงของสภาวะแวดล้อม

นอกจากข้อมูลที่รวบรวมจากแหล่งข้อมูลต่างๆแล้ว ธุรกิจอาจต้องพยากรณ์ คาดการณ์ ถึงสภาพแวดล้อมในอนาคต เช่น การพยากรณ์ เศรษฐกิจ สังคม การเมือง เทคโนโลยี เพื่อใช้ประกอบในการตัดสินใจ กำหนดกลยุทธ์ ที่เหมาะสม กับองค์กรต่อไป

การพยากรณ์ ทำได้หลายวิธีด้วยกัน ทั้งใน เชิงคุณภาพ และ เชิงปริมาณ ดังนี้

1. การใช้ข้อมูลจากอดีตมาคาดการณ์อนาคต

2. ใช้ข้อวิจารณ์ หรือ ความคิดเห็นของบุคคลต่างๆ

3. ใช้ความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ

4. ระดมสมอง

5. การคาดการณ์สถานการณ์ในอนาคต

6. จากนักพยากรณ์อนาคต

7. ใช้สถิติในการวิเคราะห์ การถัวเฉลี่ย การวิเคราะห์อนุกรมเวลา การวิเคราะห์ปัจจัย (Factor Analysis)

**หทัยทิพย์ การจัดการทั่วไป ปี 4 รหัส 5210125401070 หมู่ 1**

Unknown กล่าวว่า...

การวิเคราะห์สภาวะแวดล้อม (SWOT Analysis)
เป็นเครื่องมือในการประเมินสถานการณ์ สำหรับองค์กร หรือโครงการ ซึ่งช่วยผู้บริหารกำหนด จุดแข็งและจุดอ่อนจากสภาพแวดล้อมภายใน โอกาสและอุปสรรคจากสภาพแวดล้อมภายนอก ตลอดจนผลกระทบจากปัจจัยต่าง ๆ ต่อการทำงานขององค์กร นอกจากนี้ยังบอกได้ว่าองค์กรมีแรงขับไปยังเป้าหมายได้ดีหรือไม่ มั่นใจได้อย่างไรว่าระบบการทำงานในองค์กรยังมีประสิทธิภาพอยู่ มีจุดอ่อนที่จะต้องปรับปรุงอย่างไร ซึ่งการวิเคราะห์สภาวะแวดล้อม (SWOT Analysis) มีปัจจัยที่ควรนำมาพิจารณา 2 ส่วน ดังนี้

1. ปัจจัยภายใน (Internal Environment Analysis) ได้แก่
1.1 S มาจาก Strengths หมายถึง จุดเด่นหรือจุดแข็ง ซึ่งเป็นผลมาจากปัจจัยภายใน
เป็นข้อดีที่เกิดจากสภาพแวดล้อมภายในองค์กร เช่น จุดแข็งด้านส่วนประสม จุดแข็งด้านการเงิน จุดแข็งด้านการผลิต จุดแข็งด้านทรัพยากรบุคคล องค์กรจะต้องใช้ประโยชน์จากจุดแข็งในการกำหนดกลยุทธ์
1.2 W มาจาก Weaknesses หมายถึง จุดด้อยหรือจุดอ่อน ซึ่งเป็นผลมาจากปัจจัย
ภายใน เป็นปัญหาหรือข้อบกพร่องที่เกิดจากสภาพแวดล้อมภายในต่างๆ ขององค์กร ซึ่งองค์กรจะต้องหาวิธีในการแก้ปัญหานั้น
2. ปัจจัยภายนอก (External Environment Analysis) ได้แก่
2.1 O มาจาก Opportunities หมายถึง โอกาส เป็นผลจากการที่สภาพแวดล้อม
ภายนอกขององค์กรเอื้อประโยชน์หรือส่งเสริมการ ดำเนินงานขององค์กร โอกาสแตกต่างจากจุดแข็งตรงที่โอกาสนั้นเป็นผลมาจากสภาพแวดล้อมภายนอก แต่จุดแข็งนั้นเป็นผลมาจากสภาพแวดล้อมภายใน ผู้บริหารที่ดีจะต้องเสาะแสวงหาโอกาสอยู่เสมอ และใช้ประโยชน์จากโอกาสนั้น
2.2 T มาจาก Threats หมายถึง อุปสรรค เป็นข้อจำกัดที่เกิดจากสภาพแวดล้อม
ภายนอก ซึ่งการบริหารจำเป็นต้องปรับกลยุทธ์ให้สอดคล้องและพยายามขจัดอุปสรรค ต่างๆ ที่เกิดขึ้นให้ได้จริง
ความสำคัญการประเมินสภาพแวดล้อมภายในองค์กร
การประเมินสภาพแวดล้อมภายในองค์กร จะเป็นการประเมินปัจจัยต่าง ๆ ที่อยู่ภายใต้
การควบคุมขององค์กร เช่น ทรัพยากรทางการเงิน เครื่องจักร อาคาร สถานที่ บุคลากร และการดำเนินการต่าง ๆ ภายในองค์กร ทุก ๆ ด้าน ระบุจุดแข็งและจุดอ่อนขององค์กร แหล่งที่มาเบื้องต้นของข้อมูลเพื่อการประเมินสภาพแวดล้อมภายใน มาจากระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information System : MIS) ที่มีอยู่ในองค์กร ได้แก่ ระบบข้อมูลเพื่อการบริหารที่ครอบคลุมทุกด้าน ทั้งในด้านโครงสร้าง ระบบ ระเบียบ วิธีปฏิบัติงาน บรรยากาศในการทำงานและทรัพยากรในการบริหาร (คน เงิน วัสดุ การจัดการ รวมถึงการพิจารณาผลการดำเนินงานที่ผ่านมาขององค์กร) เพื่อที่จะเข้าใจสถานการณ์และผลกลยุทธ์ก่อนหน้านี้ ด้วยจุดแข็งขององค์กร (S-Strengths) เป็นการวิเคราะห์ปัจจัยภายในจากมุมมองของผู้ที่อยู่ภายในองค์กรนั้นเองว่าปัจจัยใดภายในองค์กรที่เป็นข้อได้เปรียบหรือจุดเด่นขององค์กรที่องค์กรควรนำมาใช้ในการพัฒนาองค์กรได้ และควรดำรงไว้เพื่อการ เสริมสร้างความเข็มแข็งขององค์กร จุดอ่อนขององค์กร (Weaknesses) เป็นการวิเคราะห์ ปัจจัยภายในจากมุมมองของผู้ที่อยู่ภายในจากมุมมองของผู้ที่อยู่ภายในองค์กรนั้น ๆ เองว่าปัจจัยภายในองค์กรที่เป็นจุดด้อย ข้อเสียเปรียบขององค์กรที่ควรปรับปรุงให้ดีขึ้นหรือขจัดให้หมดไป การประเมินสภาพแวดล้อมภายในจะช่วยให้เกิดการใช้ทรัพยากรที่คุ้มค่า สร้างความได้เปรียบในการดำเนินกิจกรรม/โครงการ และเป็นปัจจัยที่สำคัญในการสร้างคุณค่าให้เกิดขึ้นกับลูกค้า (Customer Value) ดังนั้นผู้บริหารจึงควรให้ความสำคัญกับการพิจารณาปัจจัยและทรัพยากรต่าง ๆ ขององค์กร ซึ่งจะเป็นข้อมูลพื้นฐานที่สำคัญในการกำหนดทิศทางและกลยุทธ์ขององค์กรที่มีประสิทธิภาพ

อ้างอิงจาก เอกชัย บุญยาทิษฐาน. (2553). คู่มือการวิเคราะห์ SWOT อย่างมืออาชีพ. กรุงเทพฯ : ปัญญาชน.

Unknown กล่าวว่า...

การวิเคราะห์สภาวะแวดล้อม (SWOT Analysis)
เป็นเครื่องมือในการประเมินสถานการณ์ สำหรับองค์กร หรือโครงการ ซึ่งช่วยผู้บริหารกำหนด จุดแข็งและจุดอ่อนจากสภาพแวดล้อมภายใน โอกาสและอุปสรรคจากสภาพแวดล้อมภายนอก ตลอดจนผลกระทบจากปัจจัยต่าง ๆ ต่อการทำงานขององค์กร นอกจากนี้ยังบอกได้ว่าองค์กรมีแรงขับไปยังเป้าหมายได้ดีหรือไม่ มั่นใจได้อย่างไรว่าระบบการทำงานในองค์กรยังมีประสิทธิภาพอยู่ มีจุดอ่อนที่จะต้องปรับปรุงอย่างไร ซึ่งการวิเคราะห์สภาวะแวดล้อม (SWOT Analysis) มีปัจจัยที่ควรนำมาพิจารณา 2 ส่วน ดังนี้

1. ปัจจัยภายใน (Internal Environment Analysis) ได้แก่
1.1 S มาจาก Strengths หมายถึง จุดเด่นหรือจุดแข็ง ซึ่งเป็นผลมาจากปัจจัยภายใน
เป็นข้อดีที่เกิดจากสภาพแวดล้อมภายในองค์กร เช่น จุดแข็งด้านส่วนประสม จุดแข็งด้านการเงิน จุดแข็งด้านการผลิต จุดแข็งด้านทรัพยากรบุคคล องค์กรจะต้องใช้ประโยชน์จากจุดแข็งในการกำหนดกลยุทธ์
1.2 W มาจาก Weaknesses หมายถึง จุดด้อยหรือจุดอ่อน ซึ่งเป็นผลมาจากปัจจัย
ภายใน เป็นปัญหาหรือข้อบกพร่องที่เกิดจากสภาพแวดล้อมภายในต่างๆ ขององค์กร ซึ่งองค์กรจะต้องหาวิธีในการแก้ปัญหานั้น
2. ปัจจัยภายนอก (External Environment Analysis) ได้แก่
2.1 O มาจาก Opportunities หมายถึง โอกาส เป็นผลจากการที่สภาพแวดล้อม
ภายนอกขององค์กรเอื้อประโยชน์หรือส่งเสริมการ ดำเนินงานขององค์กร โอกาสแตกต่างจากจุดแข็งตรงที่โอกาสนั้นเป็นผลมาจากสภาพแวดล้อมภายนอก แต่จุดแข็งนั้นเป็นผลมาจากสภาพแวดล้อมภายใน ผู้บริหารที่ดีจะต้องเสาะแสวงหาโอกาสอยู่เสมอ และใช้ประโยชน์จากโอกาสนั้น
2.2 T มาจาก Threats หมายถึง อุปสรรค เป็นข้อจำกัดที่เกิดจากสภาพแวดล้อม
ภายนอก ซึ่งการบริหารจำเป็นต้องปรับกลยุทธ์ให้สอดคล้องและพยายามขจัดอุปสรรค ต่างๆ ที่เกิดขึ้นให้ได้จริง
ความสำคัญการประเมินสภาพแวดล้อมภายในองค์กร
การประเมินสภาพแวดล้อมภายในองค์กร จะเป็นการประเมินปัจจัยต่าง ๆ ที่อยู่ภายใต้
การควบคุมขององค์กร เช่น ทรัพยากรทางการเงิน เครื่องจักร อาคาร สถานที่ บุคลากร และการดำเนินการต่าง ๆ ภายในองค์กร ทุก ๆ ด้าน ระบุจุดแข็งและจุดอ่อนขององค์กร แหล่งที่มาเบื้องต้นของข้อมูลเพื่อการประเมินสภาพแวดล้อมภายใน มาจากระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information System : MIS) ที่มีอยู่ในองค์กร ได้แก่ ระบบข้อมูลเพื่อการบริหารที่ครอบคลุมทุกด้าน ทั้งในด้านโครงสร้าง ระบบ ระเบียบ วิธีปฏิบัติงาน บรรยากาศในการทำงานและทรัพยากรในการบริหาร (คน เงิน วัสดุ การจัดการ รวมถึงการพิจารณาผลการดำเนินงานที่ผ่านมาขององค์กร) เพื่อที่จะเข้าใจสถานการณ์และผลกลยุทธ์ก่อนหน้านี้ ด้วยจุดแข็งขององค์กร (S-Strengths) เป็นการวิเคราะห์ปัจจัยภายในจากมุมมองของผู้ที่อยู่ภายในองค์กรนั้นเองว่าปัจจัยใดภายในองค์กรที่เป็นข้อได้เปรียบหรือจุดเด่นขององค์กรที่องค์กรควรนำมาใช้ในการพัฒนาองค์กรได้ และควรดำรงไว้เพื่อการ เสริมสร้างความเข็มแข็งขององค์กร จุดอ่อนขององค์กร (Weaknesses) เป็นการวิเคราะห์ ปัจจัยภายในจากมุมมองของผู้ที่อยู่ภายในจากมุมมองของผู้ที่อยู่ภายในองค์กรนั้น ๆ เองว่าปัจจัยภายในองค์กรที่เป็นจุดด้อย ข้อเสียเปรียบขององค์กรที่ควรปรับปรุงให้ดีขึ้นหรือขจัดให้หมดไป การประเมินสภาพแวดล้อมภายในจะช่วยให้เกิดการใช้ทรัพยากรที่คุ้มค่า สร้างความได้เปรียบในการดำเนินกิจกรรม/โครงการ และเป็นปัจจัยที่สำคัญในการสร้างคุณค่าให้เกิดขึ้นกับลูกค้า (Customer Value) ดังนั้นผู้บริหารจึงควรให้ความสำคัญกับการพิจารณาปัจจัยและทรัพยากรต่าง ๆ ขององค์กร ซึ่งจะเป็นข้อมูลพื้นฐานที่สำคัญในการกำหนดทิศทางและกลยุทธ์ขององค์กรที่มีประสิทธิภาพ




อ้างอิงจาก เอกชัย บุญยาทิษฐาน. (2553). คู่มือการวิเคราะห์ SWOT อย่างมืออาชีพ. กรุงเทพฯ : ปัญญาชน.

Unknown กล่าวว่า...

น.ส.วรรณภา ปั้นนาค รหัส 5210125401038 เอกการจัดการทั่วไป
การวิเคราะห์สภาวะแวดล้อม (SWOT Analysis)
เป็นเครื่องมือในการประเมินสถานการณ์ สำหรับองค์กร หรือโครงการ ซึ่งช่วยผู้บริหารกำหนด จุดแข็งและจุดอ่อนจากสภาพแวดล้อมภายใน โอกาสและอุปสรรคจากสภาพแวดล้อมภายนอก ตลอดจนผลกระทบจากปัจจัยต่าง ๆ ต่อการทำงานขององค์กร นอกจากนี้ยังบอกได้ว่าองค์กรมีแรงขับไปยังเป้าหมายได้ดีหรือไม่ มั่นใจได้อย่างไรว่าระบบการทำงานในองค์กรยังมีประสิทธิภาพอยู่ มีจุดอ่อนที่จะต้องปรับปรุงอย่างไร ซึ่งการวิเคราะห์สภาวะแวดล้อม (SWOT Analysis) มีปัจจัยที่ควรนำมาพิจารณา 2 ส่วน ดังนี้

1. ปัจจัยภายใน (Internal Environment Analysis) ได้แก่
1.1 S มาจาก Strengths หมายถึง จุดเด่นหรือจุดแข็ง ซึ่งเป็นผลมาจากปัจจัยภายใน
เป็นข้อดีที่เกิดจากสภาพแวดล้อมภายในองค์กร เช่น จุดแข็งด้านส่วนประสม จุดแข็งด้านการเงิน จุดแข็งด้านการผลิต จุดแข็งด้านทรัพยากรบุคคล องค์กรจะต้องใช้ประโยชน์จากจุดแข็งในการกำหนดกลยุทธ์
1.2 W มาจาก Weaknesses หมายถึง จุดด้อยหรือจุดอ่อน ซึ่งเป็นผลมาจากปัจจัย
ภายใน เป็นปัญหาหรือข้อบกพร่องที่เกิดจากสภาพแวดล้อมภายในต่างๆ ขององค์กร ซึ่งองค์กรจะต้องหาวิธีในการแก้ปัญหานั้น
2. ปัจจัยภายนอก (External Environment Analysis) ได้แก่
2.1 O มาจาก Opportunities หมายถึง โอกาส เป็นผลจากการที่สภาพแวดล้อม
ภายนอกขององค์กรเอื้อประโยชน์หรือส่งเสริมการ ดำเนินงานขององค์กร โอกาสแตกต่างจากจุดแข็งตรงที่โอกาสนั้นเป็นผลมาจากสภาพแวดล้อมภายนอก แต่จุดแข็งนั้นเป็นผลมาจากสภาพแวดล้อมภายใน ผู้บริหารที่ดีจะต้องเสาะแสวงหาโอกาสอยู่เสมอ และใช้ประโยชน์จากโอกาสนั้น
2.2 T มาจาก Threats หมายถึง อุปสรรค เป็นข้อจำกัดที่เกิดจากสภาพแวดล้อม
ภายนอก ซึ่งการบริหารจำเป็นต้องปรับกลยุทธ์ให้สอดคล้องและพยายามขจัดอุปสรรค ต่างๆ ที่เกิดขึ้นให้ได้จริง
ความสำคัญการประเมินสภาพแวดล้อมภายในองค์กร
การประเมินสภาพแวดล้อมภายในองค์กร จะเป็นการประเมินปัจจัยต่าง ๆ ที่อยู่ภายใต้
การควบคุมขององค์กร เช่น ทรัพยากรทางการเงิน เครื่องจักร อาคาร สถานที่ บุคลากร และการดำเนินการต่าง ๆ ภายในองค์กร ทุก ๆ ด้าน ระบุจุดแข็งและจุดอ่อนขององค์กร แหล่งที่มาเบื้องต้นของข้อมูลเพื่อการประเมินสภาพแวดล้อมภายใน มาจากระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information System : MIS) ที่มีอยู่ในองค์กร ได้แก่ ระบบข้อมูลเพื่อการบริหารที่ครอบคลุมทุกด้าน ทั้งในด้านโครงสร้าง ระบบ ระเบียบ วิธีปฏิบัติงาน บรรยากาศในการทำงานและทรัพยากรในการบริหาร (คน เงิน วัสดุ การจัดการ รวมถึงการพิจารณาผลการดำเนินงานที่ผ่านมาขององค์กร) เพื่อที่จะเข้าใจสถานการณ์และผลกลยุทธ์ก่อนหน้านี้ ด้วยจุดแข็งขององค์กร (S-Strengths) เป็นการวิเคราะห์ปัจจัยภายในจากมุมมองของผู้ที่อยู่ภายในองค์กรนั้นเองว่าปัจจัยใดภายในองค์กรที่เป็นข้อได้เปรียบหรือจุดเด่นขององค์กรที่องค์กรควรนำมาใช้ในการพัฒนาองค์กรได้ และควรดำรงไว้เพื่อการ เสริมสร้างความเข็มแข็งขององค์กร จุดอ่อนขององค์กร (Weaknesses) เป็นการวิเคราะห์ ปัจจัยภายในจากมุมมองของผู้ที่อยู่ภายในจากมุมมองของผู้ที่อยู่ภายในองค์กรนั้น ๆ เองว่าปัจจัยภายในองค์กรที่เป็นจุดด้อย ข้อเสียเปรียบขององค์กรที่ควรปรับปรุงให้ดีขึ้นหรือขจัดให้หมดไป การประเมินสภาพแวดล้อมภายในจะช่วยให้เกิดการใช้ทรัพยากรที่คุ้มค่า สร้างความได้เปรียบในการดำเนินกิจกรรม/โครงการ และเป็นปัจจัยที่สำคัญในการสร้างคุณค่าให้เกิดขึ้นกับลูกค้า (Customer Value) ดังนั้นผู้บริหารจึงควรให้ความสำคัญกับการพิจารณาปัจจัยและทรัพยากรต่าง ๆ ขององค์กร ซึ่งจะเป็นข้อมูลพื้นฐานที่สำคัญในการกำหนดทิศทางและกลยุทธ์ขององค์กรที่มีประสิทธิภาพ

อ้างอิงจาก เอกชัย บุญยาทิษฐาน. (2553). คู่มือการวิเคราะห์ SWOT อย่างมืออาชีพ. กรุงเทพฯ : ปัญญาชน.

Unknown กล่าวว่า...

SWOT Analysis เป็นการวิเคราะห์สภาพองค์การ หรือหน่วยงานในปัจจุบัน เพื่อค้นหาจุดแข็ง จุดเด่น จุดด้อย หรือสิ่งที่อาจเป็นปัญหาสำคัญในการดำเนินงานสู่สภาพที่ต้องการในอนาคต
SWOT เป็นตัวย่อที่มีความหมายดังนี้
Strengths - จุดแข็งหรือข้อได้เปรียบ
Weaknesses - จุดอ่อนหรือข้อเสียเปรียบ
Opportunities - โอกาสที่จะดำเนินการได้
Threats - อุปสรรค ข้อจำกัด หรือปัจจัยที่คุกคามการดำเนินงานขององค์การ

หลักการสำคัญของ SWOT ก็คือการวิเคราะห์โดยการสำรวจจากสภาพการณ์ 2 ด้าน คือ สภาพการณ์ภายในและสภาพการณ์ภายนอก ดังนั้นการวิเคราะห์ SWOT จึงเรียกได้ว่าเป็นการวิเคราะห์สภาพการณ์ (situation analysis) ซึ่งเป็นการวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน เพื่อให้รู้ตนเอง (รู้เรา) รู้จักสภาพแวดล้อม (รู้เขา) ชัดเจน และวิเคราะห์โอกาส-อุปสรรค การวิเคราะห์ปัจจัยต่าง ๆ ทั้งภายนอกและภายในองค์กร ซึ่งจะช่วยให้ผู้บริหารขององค์กรทราบถึงการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นภายนอกองค์กร ทั้งสิ่งที่ได้เกิดขึ้นแล้วและแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงในอนาคต รวมทั้งผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ที่มีต่อองค์กรธุรกิจ และจุดแข็ง จุดอ่อน และความสามารถด้านต่าง ๆ ที่องค์กรมีอยู่ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะเป็นประโยชน์อย่างมากต่อการกำหนดวิสัยทัศน์ การกำหนดกลยุทธ์และการดำเนินตามกลยุทธ์ขององค์กรระดับองค์กรที่เหมาะสมต่อไป

ประโยชน์ของการวิเคราะห์ SWOT
วิเคราะห์ SWOT เป็นการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมต่าง ๆ ทั้งภายนอกและภายในองค์กร ซึ่งปัจจัยเหล่านี้แต่ละอย่างจะช่วยให้เข้าใจได้ว่ามีอิทธิพลต่อผลการดำเนินงานขององค์กรอย่างไร จุดแข็งขององค์กรจะเป็นความสามารถภายในที่ถูกใช้ประโยชน์เพื่อการบรรลุเป้าหมายในขณะที่จุดอ่อนขององค์กรจะเป็นคุณลักษณะภายใน ที่อาจจะทำลายผลการดำเนินงาน โอกาสทางสภาพแวดล้อมจะเป็นสถานการณ์ที่ให้โอกาสเพื่อการบรรลุเป้าหมายองค์กรในทางกลับกันอุปสรรคทางสภาพแวดล้อมจะเป็นสถานการณ์ที่ขัดขวางการบรรลุเป้าหมายขององค์กร ผลจากการวิเคราะห์ SWOT นี้จะใช้เป็นแนวทางในการกำหนดวิสัยทัศน์ การกำหนดกลยุทธ์ เพื่อให้องค์กรเกิดการพัฒนาไปในทางที่เหมาะสม

ขั้นตอน / วิธีการดำเนินการทำ SWOT Analysis
การวิเคราะห์ SWOT จะครอบคลุมขอบเขตของปัจจัยที่กว้างด้วยการระบุจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและอุปสรรคขององค์กร ทำให้มีข้อมูล ในการกำหนดทิศทางหรือเป้าหมายที่จะถูกสร้างขึ้นมาบนจุดแข็งขององค์กร และแสวงหาประโยชน์จากโอกาสทางสภาพแวดล้อม และสามารถ กำหนดกลยุทธ์ที่มุ่งเอาชนะอุปสรรคทางสภาพแวดล้อมหรือลดจุดอ่อนขององค์กรให้มีน้อยที่สุดได้ ภายใต้การวิเคราะห์ SWOT นั้น จะต้องวิเคราะห์ทั้งสภาพแวดล้อมภายในและภายนอก องค์กร โดยมีขั้นตอนดังนี้

1. การประเมินสภาพแวดล้อมภายในองค์กร
การประเมินสภาพแวดล้อมภายในองค์กร จะเกี่ยวกับการวิเคราะห์และพิจารณาทรัพยากรและความสามารถภายในองค์กร ทุก ๆ ด้าน เพื่อที่จะระบุจุดแข็งและจุดอ่อนขององค์กรแหล่งที่มาเบื้องต้นของข้อมูลเพื่อการประเมินสภาพแวดล้อมภายใน คือระบบข้อมูลเพื่อ การบริหารที่ครอบคลุมทุกด้าน ทั้งในด้านโครงสร้าง ระบบ ระเบียบ วิธีปฎิบัติงาน บรรยากาศในการทำงานและทรัพยากรในการบริหาร (คน เงิน วัสดุ การจัดการ) รวมถึงการพิจารณาผลการดำเนินงานที่ผ่านมาขององค์กรเพื่อที่จะเข้าใจสถานการณ์และผลกลยุทธ์ก่อนหน้านี้ด้วย
2. การประเมินสภาพแวดล้อมภายนอก
ภายใต้การประเมินสภาพแวดล้อมภายนอกองค์กรนั้น สามารถค้นหาโอกาสและอุปสรรคทางการดำเนินงานขององค์กรที่ได้รับผลกระทบจากสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจทั้งในและระหว่างประเทศที่เกี่ยวกับการดำเนินงานขององค์กร เช่น อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ นโยบาย การเงิน การงบประมาณ สภาพแวดล้อมทางสังคม เช่น ระดับการศึกษาและอัตรารู้หนังสือของประชาชน การตั้งถิ่นฐานและการอพยพของประชาชน ลักษณะชุมชน ขนบธรรมเนียมประเพณี ค่านิยม ความเชื่อและวัฒนธรรม สภาพแวดล้อมทางการเมือง เช่น พระราชบัญญัติ พระราชกฤษฎีกา มติคณะรัฐมนตรี และสภาพแวดล้อมทางเทคโนโลยี หมายถึงกรรมวิธีใหม่ๆและพัฒนาการทางด้านเครื่องมือ อุปกรณ์ที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตและให้บริการ

แหล่่งที่มา http://www.idis.ru.ac.th/report/index.php?topic=483.0

นางสาวเรวดี รหัส 5130125401231

Unknown กล่าวว่า...

ปณิตา การจัดการทั่วไป รุ่น52ภาคปกติ รหัส5210125401064

สภาพแวดล้อมภายนอก : สภาพแวดล้อมทางการแข่งขันและการสร้างข้อได้เปรียบทางการแข่งขัน

สภาพแวดล้อมภายนอก : สภาพแวดล้อมมหภาคและสภาพแวดล้อมทางการแข่งขัน ทุกองค์กรจะได้รับอิทธิพลจากคู่แข่งขันทั้งสิ้น สภาพแวดล้อมทางกาารแข่งขันประกอบด้วย องค์การต่างๆที่มีอิทธิพลทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อธุรกิจ ซึ่งถือได้ว่าเป็นสภาพแวดล้อมมหภาคของธุรกิจ ซึ่งประกอบด้วยกฎหมาย การเมือง เศรษฐกิจ เทคโนโลยี ประชากรศาสตร์ และค่านิยมของสังคม ปัจจัยเหล่านี้ถือว่ามีอิทธิพลต่อองค์การ ส่วนสภาพแวดล้อมทางการแข่งขันถือว่าเป็นสภาพแวดล้อมที่อยู่ใกล้ชิดและมีอิทธิพลตอองค์การมากที่สุด
สภาพแวดล้อมทางการแข่งขันประกอบด้วย
1.อุปสรรคจากคู่แข่งขันที่เข้ามาใหม่ การที่คู่แข่งขันใหม่เข้ามาแย้งลูกค้านั้นจะทำให้ยอดขายลดลงและกำไรลดลงด้วย ตัวอย่าง สำนักพิมพ์หนังสือวิชาการแห่งหนึ่ง ซึ่งเป็นธุรกิจที่จะมีคู่แข่งขันมากมาย ผู้ประกอบการมีวิธีการแก้ไขคือ ต้องปรับปรุงหนังสือเล่มเดิมที่กำลังจะล้าสมัยให้มีจุดแข็งทางด้านความทันสมัย มีทฤษฎีใหม่ๆที่เกิดขึ้นและถ่ายทอดให้เกิดความเข้าใจขึ้น
2.อำนาจการต่อรองของผู้ขายปัจจัยการผลิต ผู้ขายปัจจัยการผลิตจะมีผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตซึ่งทำให้ราคาสินค้าสูงขึ้น ถ้าผู้ขายปัจจัยการผลิตเปลี่ยนแปลงราคาปัจจัยการผลิตจะมีผลกระทบต่อต้นทุนของผู้ผลิต และมีผลกระทบต่อราคาสินค้าด้วย ตัวอย่าง ต้นทุนของกระดาษซึ่งเป็นวัตถุดิบที่สำคัญในการผลิตหนังสือสูงขึ้น ทำให้ผู้ผลิตหนังสือจำเป็นต้องขึ้นราคา แต่การขึ้นราคานั้นจะมีผลกระทบต่อปริมาณความต้องการซื้อของลูกค้าทำให้ปริมาณความต้องการซื้อลดลงอย่างมากซึ่งทำให้รายได้และกำไรลดลงด้วย
3.อำนาจการต่อรองของผู้ซื้อ เป็นอุปสรรคที่สำคัญมากโดยเฉพาะในช่วงภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ซึ่งผู้บริโภคไม่มีอำนาจซื้อ ดังนั้นสินค้าบางชนิดถึงแม้ว่าต้อนทุนจะสูงขึ้นผู้ผลิตก็จำเป็นต้องรักษาระดับราคาเดิมเอาไว้เพื่อความอยู่รอดของธุรกิจ เพราะถึงจะขายในราคาเดิมก็ขายยากอยู่แล้วถ้าหากขึ้นราคาอีกก็ยิ่งจะทำให้ขายไม่ได้
4.อุปสรรคจากผลิตภัณฑ์หรือบริการที่ทดแทน ผลิตภัณฑ์หรือบริการของคู่แข่งขัน จะเป็นทางเลือกสำหรับลูกค้าในการซื้อ ยิ่งจำนวนของสินค้าทดแทนมากขึ้นเท่าใด กำไรส่วนเกินยิ่งมากขึ้น ด้วยเหตุนี้จึงเปลี่ยนอุปสรรคให้เป็นโอกาส โดยที่ธุรกิจจะต้องพยายามสร้างคุณสมบัติผลิตภัณฑ์ใหม่ๆที่แตกต่างเหนือว่าคู่แข่งขัน และสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ ตัวอย่าง ตำราทางวิชาการแต่ละเล่มก็จะมีตำราคู้แข่งขันอื่นหรือบริการถ่ายเอกสาในราคาแผ่นละ .50บาท ถือว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่ทดแทนกันได้
5.ระดับการแข่งขันระหว่างธุรกิจเดิม ในแต่ละอุตสาหกรรมจะมีการแข่งขันกันมากขึ้น จึงทำให้ยอดขายและกำไรลดลง ตัวอย่าง ธุรกิจสำนักพิมพ์ซึ่งมีคู่แข่งขันที่เป็นสำนักพิมพ์อื่นๆมากมาย
การจัดการเพื่อสร้างข้อได้เปรียบทางการแข่งขัน การสร้างความสามารถที่แตกต่างเหนือกว่าคู่แข่งขันและส่งผลให้องค์กรมีข้อได้เปรียบเหนือกว่าคู่แข่งขันอื่นในตลาดซึ่งสามารถทำได้หลายวิธีไม่ว่าจะเป็น การสร้างข้อได้เปรียบทางด้านผลิตภัณฑ์ ราคา บริการ คุณภาพ เป็นต้น โดยการเสนอสิ่งที่มีคุณค่าแก่ลูกค้าเป็นสิ่งที่คู่แข่งขันไม่สามารถเลียนแบบหรือทำได้ดีเท่า
เพื่อความอยู่รอดและเพื่อเอาชนะการแข่งขันองค์การจำเป็นที่จะต้องสร้างข้อได้เปรียบที่เหนือกว่าคู่แข่งขัน โดยการทำสิ่งที่มีคุณค่าสำหรับลูกค้า กล่าวคือใช้ทัศนะการจัดการที่สามารถตอบสนองความพึงพอใจของลูกค้าโดยใช้
1.ข้อได้เปรียบทางการแข่งขันด้านต้นทุน
2.ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพสูง
3.ความรวดเร็วทันเวลา
4.นวัตกรรม

Unknown กล่าวว่า...

ปณิตา การจัดการทั่วไป รุ่น52ภาคปกติ รหัส5210125401064

สภาพแวดล้อมภายนอก : สภาพแวดล้อมทางการแข่งขันและการสร้างข้อได้เปรียบทางการแข่งขัน

สภาพแวดล้อมภายนอก : สภาพแวดล้อมมหภาคและสภาพแวดล้อมทางการแข่งขัน ทุกองค์กรจะได้รับอิทธิพลจากคู่แข่งขันทั้งสิ้น สภาพแวดล้อมทางกาารแข่งขันประกอบด้วย องค์การต่างๆที่มีอิทธิพลทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อธุรกิจ ซึ่งถือได้ว่าเป็นสภาพแวดล้อมมหภาคของธุรกิจ ซึ่งประกอบด้วยกฎหมาย การเมือง เศรษฐกิจ เทคโนโลยี ประชากรศาสตร์ และค่านิยมของสังคม ปัจจัยเหล่านี้ถือว่ามีอิทธิพลต่อองค์การ ส่วนสภาพแวดล้อมทางการแข่งขันถือว่าเป็นสภาพแวดล้อมที่อยู่ใกล้ชิดและมีอิทธิพลตอองค์การมากที่สุด
สภาพแวดล้อมทางการแข่งขันประกอบด้วย
1.อุปสรรคจากคู่แข่งขันที่เข้ามาใหม่ การที่คู่แข่งขันใหม่เข้ามาแย้งลูกค้านั้นจะทำให้ยอดขายลดลงและกำไรลดลงด้วย ตัวอย่าง สำนักพิมพ์หนังสือวิชาการแห่งหนึ่ง ซึ่งเป็นธุรกิจที่จะมีคู่แข่งขันมากมาย ผู้ประกอบการมีวิธีการแก้ไขคือ ต้องปรับปรุงหนังสือเล่มเดิมที่กำลังจะล้าสมัยให้มีจุดแข็งทางด้านความทันสมัย มีทฤษฎีใหม่ๆที่เกิดขึ้นและถ่ายทอดให้เกิดความเข้าใจขึ้น
2.อำนาจการต่อรองของผู้ขายปัจจัยการผลิต ผู้ขายปัจจัยการผลิตจะมีผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตซึ่งทำให้ราคาสินค้าสูงขึ้น ถ้าผู้ขายปัจจัยการผลิตเปลี่ยนแปลงราคาปัจจัยการผลิตจะมีผลกระทบต่อต้นทุนของผู้ผลิต และมีผลกระทบต่อราคาสินค้าด้วย ตัวอย่าง ต้นทุนของกระดาษซึ่งเป็นวัตถุดิบที่สำคัญในการผลิตหนังสือสูงขึ้น ทำให้ผู้ผลิตหนังสือจำเป็นต้องขึ้นราคา แต่การขึ้นราคานั้นจะมีผลกระทบต่อปริมาณความต้องการซื้อของลูกค้าทำให้ปริมาณความต้องการซื้อลดลงอย่างมากซึ่งทำให้รายได้และกำไรลดลงด้วย
3.อำนาจการต่อรองของผู้ซื้อ เป็นอุปสรรคที่สำคัญมากโดยเฉพาะในช่วงภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ซึ่งผู้บริโภคไม่มีอำนาจซื้อ ดังนั้นสินค้าบางชนิดถึงแม้ว่าต้อนทุนจะสูงขึ้นผู้ผลิตก็จำเป็นต้องรักษาระดับราคาเดิมเอาไว้เพื่อความอยู่รอดของธุรกิจ เพราะถึงจะขายในราคาเดิมก็ขายยากอยู่แล้วถ้าหากขึ้นราคาอีกก็ยิ่งจะทำให้ขายไม่ได้
4.อุปสรรคจากผลิตภัณฑ์หรือบริการที่ทดแทน ผลิตภัณฑ์หรือบริการของคู่แข่งขัน จะเป็นทางเลือกสำหรับลูกค้าในการซื้อ ยิ่งจำนวนของสินค้าทดแทนมากขึ้นเท่าใด กำไรส่วนเกินยิ่งมากขึ้น ด้วยเหตุนี้จึงเปลี่ยนอุปสรรคให้เป็นโอกาส โดยที่ธุรกิจจะต้องพยายามสร้างคุณสมบัติผลิตภัณฑ์ใหม่ๆที่แตกต่างเหนือว่าคู่แข่งขัน และสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ ตัวอย่าง ตำราทางวิชาการแต่ละเล่มก็จะมีตำราคู้แข่งขันอื่นหรือบริการถ่ายเอกสาในราคาแผ่นละ .50บาท ถือว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่ทดแทนกันได้
5.ระดับการแข่งขันระหว่างธุรกิจเดิม ในแต่ละอุตสาหกรรมจะมีการแข่งขันกันมากขึ้น จึงทำให้ยอดขายและกำไรลดลง ตัวอย่าง ธุรกิจสำนักพิมพ์ซึ่งมีคู่แข่งขันที่เป็นสำนักพิมพ์อื่นๆมากมาย
การจัดการเพื่อสร้างข้อได้เปรียบทางการแข่งขัน การสร้างความสามารถที่แตกต่างเหนือกว่าคู่แข่งขันและส่งผลให้องค์กรมีข้อได้เปรียบเหนือกว่าคู่แข่งขันอื่นในตลาดซึ่งสามารถทำได้หลายวิธีไม่ว่าจะเป็น การสร้างข้อได้เปรียบทางด้านผลิตภัณฑ์ ราคา บริการ คุณภาพ เป็นต้น โดยการเสนอสิ่งที่มีคุณค่าแก่ลูกค้าเป็นสิ่งที่คู่แข่งขันไม่สามารถเลียนแบบหรือทำได้ดีเท่า
เพื่อความอยู่รอดและเพื่อเอาชนะการแข่งขันองค์การจำเป็นที่จะต้องสร้างข้อได้เปรียบที่เหนือกว่าคู่แข่งขัน โดยการทำสิ่งที่มีคุณค่าสำหรับลูกค้า กล่าวคือใช้ทัศนะการจัดการที่สามารถตอบสนองความพึงพอใจของลูกค้าโดยใช้
1.ข้อได้เปรียบทางการแข่งขันด้านต้นทุน
2.ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพสูง
3.ความรวดเร็วทันเวลา
4.นวัตกรรม

อ้างอิง : ศิริวรรณ เสรีรัตน์. องค์การและการจัดการ. กรุงเทพฯ, 2542.

Unknown กล่าวว่า...

นางสาวนงลักษณ์ พลจันทร์ การจัดการทั่วไป ปี44 5210125401056

สิ่งแวดล้อมภายในองค์การ (Internal Environment) คือสภาวะแวดล้อมที่ธุรกิจสามารถควบคุมได้ หมายถึง ปัจจัยต่าง ๆ ที่ธุรกิจสามารถกำหนดและควบุคมได้เป็นไปตามความต้องการของธุรกิจถือว่าเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อโปรแกรมการตลาด โดยการวิเคราห์จุดแข็งจุดอ่อนของธุรกิจ ในการนำไปเปรียบเทียบกับคู่แข่งขัน สามารถจำแนกได้ดังนี้
1. ส่วนผสมททางการตลาด เป็นส่วนที่สำคัญในการเลือกตลาดเป้าหมายซึ่งสิ่งเหล่านี้นำมาวางแผนกลยุทธ์ทางการตลาด
2. นโยบายการบริหารของบริษัท โดยผู้บริหารของธุรกิจจะเป็นผู้กำหนด เช่น วัตถุประสงค์หรือเป้าหมายในการดำเนินธุรกิจ โครงสร้างการบริหาร ระบบการบริหารปรัชญาและวัฒนะธรรม ตลอดจนนโยบายฝ่ายต่าง ๆ

สิ่งแวดล้อมภายนอกองค์กร (External Environment) หรือภาวะแวดล้อมที่ธุรกิจไม่สามารถควบคุมได้ ปัจจัยกลุ่มนี้ หมายถึง ปัจจัยยังคับภายนอกธุรกิจที่มีอิทธิพลต่อระบบการตลาด ถือว่าเป็นปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้แต่มีอิธิพลต่อระบบการตลาด คือสร้างโอกาสหรืออุปสรรคแก่ธุรกิจ ซึ่งประกอบด้วย สิ่งแวดล้อมจุลภาค และสิ่งแวดล้อมมหภาค

สิ่งแวดล้อมภายนอกระดับจุลภาค (Micro External Environment)
ภาวะแวดล้อมภายนอกที่ไม่สามารถควบุคมได้ แต่สามารถเลือกที่จะติดต่อและเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสมได้ ได้แก่
1 ตลาด หรือลูกค้า
2 ผู้ขายปัจจัยการผลิตหรือวัตถุดิบ
3 คนกลางทางการตลาด
4 กลุ่มผลประโยชน์
5 ชุมชน

สิ่งแวดล้อมภายนอกระดับมหภาค (Macro External Environment)
ภาวะแวดล้อมหรือปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการดำเนินธุรกิจและต่อระบบการตลาดเป็นอย่างมาก แต่ละหน่วยงานและองค์การธุรกิจไม่สามารถควบคุมการเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้เลย สิ่งแวดล้อมภายนอกมหภาคได้แก่

สภาพแวดล้อมขององค์การธุรกิจ

.....องค์การธุรกิจมีบทบาทและผลกระทบต่อสภาวะแวดล้อมในสภาพเดียวกันสภาวะแวดล้อมมีบทบาทและอิทธิพลต่อองค์การธุรกิจในลักษณะต่างๆ กันหลายรูปแบบซึ่งขึ้นอยู่กับความต้องการและระดับของสังคม ชนิดและสภาพของสิ่งแวดล้อมนั้นสภาพแวดล้อมขององค์การธุรกิจสามารถแบ่งออกเป็น 8 ประการ ได้แก่ (ระวัง เนตรโพธิ์แก้ว 2537: 10 - 12)
แหล่งที่มา jamthailand.50webs.com/env_internal.doc

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

การวิเคราะห์ สภาพแวดล้อมภายในและภายนอกองค์กร (SWOT)
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในและภายนอกองค์กรทางการศึกษา เพื่อศึกษา

แนวโน้มการพัฒนาการศึกษาให้มีความเหมาะสม สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนท้องถิ่น โดยแนวโน้มการพัฒนาการศึกษาขององค์กรทางการศึกษาต้องมีความเป็นไปได้ในการพัฒนาตามเงื่อนไขข้อจำกัดและองค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อการจัดการศึกษา ซึ่งได้แก่ นโยบายในการจัดการศึกษาของหน่วยงานต้นสังกัด รูปแบบการบริหารงานขององค์กรทางการศึกษา และปัจจัยทีเกี่ยวข้องอื่น

การศึกษาความต้องการของชุมชน เป็นการสำรวจความต้องการขององค์กรชุมชนที่องค์กรทางการศึกษาตั้งอยู่ความต้องการของผู้ปกครองนักเรียน
และความต้องการของชาวบ้านในชุมชนสรุปมาเป็นแนวทางในการดำเนินงานเพื่อตอบสนองความต้องการของชุมชนการวิเคราะห์สภาพขององค์กรทางการศึกษาเพื่อกำหนด
แนวทางในการพัฒนาการศึกษา จะต้องวิเคราะห์ผลกระทบที่เกิดจากปัจจัยต่าง ๆ ด้วย เรียกว่า SWOT Analysis ซึ่งได้แก่

Strengths - จุดแข็งหรือข้อได้เปรียบ
Weaknesses - จุดอ่อนหรือข้อเสียเปรียบ
Opportunities - โอกาสที่จะดำเนินการได้
Threats - อุปสรรค หรือปัจจัยที่คุกคามการดำเนินงานขององค์การ
การวิเคราะห์ SWOT อาจเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เป็นการทำ Situation Analysis

เป็นการวิเคราะห์สภาพองค์การ หรือหน่วยงานในปัจจุบัน เพื่อค้นหาจุดแข็ง จุดเด่น จุดด้อย หรือสิ่งที่อาจเป็นปัญหาสำคัญในการดำเนินงานสู่สภาพที่ต้องการในอนาคต การวิเคราะห์สภาพการณ์

(Situation Analysis) วิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน เพื่อให้รู้ตนเอง (รู้เรา) รู้จักสภาพแวดล้อม (รู้เขา) ชัดเจน และวิเคราะห์โอกาส-อุปสรรค เพื่อประโยชน์ในการกำหนดวิสัยทัศน์ หรือเลือกกลยุทธ์ระดับองค์กรที่เหมาะสมต่อไป ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับการทำ Strategic Decision การทำ Strategic Decision เป็นการตัดสินใจเลือกกลยุทธ์หรือวิธีดำเนินงานที่สำคัญ ที่เป็นหลักในการปฏิบัติไปสู่สภาพที่ต้องการในอนาคตขององค์การ เพื่อการบรรลุ Vision หรือสภาพในอนาคตตามที่ได้กำหนดไว้ ซึ่งเป็นการเลือกโดยคำนึงถึงสภาพในอนาคต โดยคำนึงถึงจุดที่ต้องการ โดยรู้สถานการณ์ เห็นถึงโอกาสและรู้จุดดี จุดเด่นตลอดจนจุดอ่อนในการดำเนินงานไปสู่จุดหมายที่ต้องการขององค์การในอนาคต เป็นการค้นหากลยุทธ์โดยหลักการ มองกว้าง เห็นไกล รอบคอบ ตามหลักการกำหนดกลยุทธ์ในแบบต่าง ๆ เช่น กลยุทธ์ที่มุ่งหา S สูง – O สูง, S สูง – T ต่ำ,

W ต่ำ – O สูง และ W ต่ำ – T ต่ำ กลยุทธ์เชิงรุก กลยุทธ์เพื่อความเจริญก้าวหน้า (Growth Strategy) กลยุทธ์แบบคงที่ (Stability Strategy) กลยุทธ์แบบตัดทอนป้องกัน (Retrenchment and Defense Strategy) กลยุทธ์การตั้งราคา-การขาย กลยุทธ์การแข่งขัน กลยุทธ์การเป็นผู้นำ กลยุทธ์ในการสร้างความแตกต่างของผลิตภัณฑ์และบริการ กลยุทธ์การจำกัดขอบเขตปฏิบัติการ เป็นต้น




(SWOT)

แผนภูมิ แสดงการวิเคราะห์สภาพองค์กรทางการศึกษาเพื่อกำหนดแนวทางการจัดการศึกษา


กำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์และยุทธศาสตร์ขององค์การ

วิสัยทัศน์ (Vision) คือ ภาพในอนาคตขององค์กรที่ผู้นำและสมาชิกทุกคนร่วมกันวาดฝันหรือจินตนาการขึ้น โดยมีพื้นฐานอยู่บนความเป็นจริงในปัจจุบัน เชื่อมโยง
วัตถุประสงค์ ภารกิจ ค่านิยม และความเชื่อเข้าด้วยกัน พรรณนาให้เห็นทิศทางขององค์กรอย่างชัดเจน มีพลังท้าทาย ทะเยอทะยาน และมีความเป็นไปได้ เน้นถึงความมุ่งมั่นที่จะทำสิ่งที่ยิ่งใหญ่ หรือดีที่สุดให้กับลูกค้าและสังคม

วิสัยทัศน์จะเกี่ยวกับการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ เป็นการตัดสินใจเกี่ยวกับการกำหนดทิศทางธุรกิจ เป็นการตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับการอยู่รอดทางธุรกิจ ซึ่งจะกล่าวถึงอีกครั้งในเรื่องยุทธศาสตร์ขององค์การ

Unknown กล่าวว่า...

ความหมายของ SWOT Analysis
SWOT Analysis เป็นการวิเคราะห์สภาพองค์กร หรือหน่วยงานในปัจจุบัน เพื่อค้นหาจุดแข็ง จุดเด่น จุดด้อย หรือสิ่งที่อาจเป็นปัญหาสำคัญในการดำเนินงานสู่สภาพที่ต้องการในอนาคต

การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในองค์กร
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในองค์กรจะเกี่ยวกับการวิเคราะห์พิจารณาทรัพยากร และความ สามารถภายในองค์กรทุกๆด้าน เพื่อที่จะระบุจุดแข็งและจุดอ่อนขององค์กร แหล่งที่มาเบื้องต้นของข้อมูลเพื่อการประเมินสภาพแวดล้อมภายใน คือระบบข้อมูลเพื่อการบริหารที่ครอบคลุมทุกด้าน ทั้งในด้านโครงสร้าง ระบบ ระเบียบ วิธีปฎิบัติงาน บรรยากาศในการทำงานและทรัพยากรในการบริหาร คน เงิน วัสดุ การจัดการ รวมถึงการพิจารณาผลการดำเนินงานที่ผ่านมาขององค์กรเพื่อที่จะเข้าใจสถานการณ์และแผนกลยุทธ์ก่อนหน้านี้ด้วย
Strength Analysis
การวิเคราะห์จุดแข็ง หรือ Strength Analysis เป็นการศึกษาตนเองจากมุมมองภายในและภายนอกว่า จุดแข็งของเราในเชิงเปรียบเทียบกับคู่แข่งนั้น เป็นเช่นไร หากจุดแข็งดังกล่าวเป็นสิ่งที่ทุกคนมีก็ไม่ถือว่าเป็นจุดแข็ง แต่เป็นความจำเป็น (Necessity) สำหรับการทำตลาด เช่น การผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ได้รับฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 อาจจะเคยเป็นจุดแข็งในอดีต แต่ปัจจุบันได้กลายเป็นสิ่งจำเป็นที่แบรนด์ใดไม่มีไม่ได้ ดังนั้นแล้วการมีฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 จึงไม่ถือเป็นจุดแข็งของบริษัท และแบรนด์

Weakness Analysis
เช่นเดียวกับการวิเคราะห์จุดแข็ง การวิเคราะห์จุดอ่อน หรือ Weakness Analysis เป็นการศึกษาตนเอง จากมุมมองภายในและภายนอกว่า จุดอ่อนของเราในเชิงเปรียบเทียบกับคู่แข่งเป็นเช่นไร หากจุดอ่อนดังกล่าว เป็นสิ่งที่ทุกคนมีก็ไม่ถือว่าเป็นจุดอ่อนที่มีนัยสำคัญ แต่ในขณะเดียวกันถ้าเราสามารถแก้ไขจุดอ่อนเหล่านั้นได้ ก็จะเปรียบเสมือนว่าเรามีจุดแข็งเพิ่มขึ้นมา
โดยทั่วไปแล้ว หลายๆบริษัทสามารถวิเคราะห์จุดอ่อนของตนเองได้ดีเพราะเหตุผลหลายประการ อาทิ มองไม่เห็นว่าประเด็นต่างๆ นั้นเป็นจุดอ่อนได้อย่างไร หรืออาจจะเป็นเพราะการนำเสนอจุดอ่อนจะเป็นการตำหนิฝ่ายที่เกี่ยวข้อง การวิเคราะห์จุดอ่อนที่ดีจึงควรอาศัยการช่วยเหลือจากบุคคลภายนอก หรือคณะทำงานที่มีความมุ่งมั่นที่จะค้นหาความจริงที่เป็นจุดอ่อนของกิจการ


1. การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกองค์กร
ภายใต้การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกองค์กรนั้น สามารถค้นหาโอกาสและอุปสรรคทางการดำเนินงานขององค์กรที่ได้รับผลกระทบ จากสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจทั้งใน และระหว่างประเทศที่เกี่ยวกับการดำเนินงานขององค์กร เช่น อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ นโยบาย การเงิน การงบประมาณ สภาพแวดล้อมทางสังคม เช่น ระดับการศึกษาและอัตรารู้หนังสือของประชาชน การตั้งถิ่นฐานและการอพยพของ ประชาชน ลักษณะชุมชน ขนบธรรมเนียมประเพณี ค่านิยม ความเชื่อและวัฒนธรรม สภาพแวดล้อมทางการเมือง เช่น พระราชบัญญัติ พระราชกฤษฎีกา มติคณะรัฐมนตรี และสภาพแวดล้อมทางเทคโนโลยี หมายถึง กรรมวิธีใหม่ๆและพัฒนาการทางด้านเครื่องมือ อุปกรณ์ที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตและให้บริการ

Opportunity Analysis
การวิเคราะห์โอกาส หรือ Opportunity Analysis เป็นการศึกษาว่าโอกาสที่มีอยู่เชิงการตลาดนั้นคืออะไร โดยทั่วไปแล้วโอกาสทางการตลาดต่างๆ มักเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีในระดับกว้างและระดับลึก, การเปลี่ยนแปลงนโยบายต่างๆของรัฐบาล, การเปลี่ยนแปลงลักษณะทางสังคมศาสตร์การเปลี่ยนแปลงลักษณะทางประชากรศาสตร์ หรือการเปลี่ยนแปลงในวิถีการดำรงชีวิตของผู้บริโภค

Threat Analysis
ในทางตรงข้ามกับการวิเคราะห์โอกาสของบริษัท การวิเคราะห์อุปสรรค หรือ Threat Analysis เป็นการศึกษาว่าปัจจัยภายนอกที่มีผลต่อการเติบโตทางธุรกิจของบริษัทคืออะไร ปัจจัยเหล่านั้นมักเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีในระดับกว้างและระดับลึก,การเปลี่ยนแปลงนโยบายต่างๆของรัฐบาล,การเปลี่ยนแปลงลักษณะทางสังคมศาสตร์, การเปลี่ยนแปลงลักษณะทางประชากรศาสตร์ หรือ การเปลี่ยนแปลงในวิถีการดำรงชีวิตของผู้บริโภคโดยทั่วไป

อ้างอิงจาก www.cco.moph.go.th/p/research/swot.doc

นางรัตนาพรรณ รหัส 5130125401250

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

นางสาวผกามาศ มุขศรี 5210125401001 สาขาการจัดการทั่วไป
การวิเคราะห์ สภาพแวดล้อมภายในและภายนอกองค์กร (SWOT)
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในและภายนอกองค์กรทางการศึกษา เพื่อศึกษา

แนวโน้มการพัฒนาการศึกษาให้มีความเหมาะสม สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนท้องถิ่น โดยแนวโน้มการพัฒนาการศึกษาขององค์กรทางการศึกษาต้องมีความเป็นไปได้ในการพัฒนาตามเงื่อนไขข้อจำกัดและองค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อการจัดการศึกษา ซึ่งได้แก่ นโยบายในการจัดการศึกษาของหน่วยงานต้นสังกัด รูปแบบการบริหารงานขององค์กรทางการศึกษา และปัจจัยทีเกี่ยวข้องอื่น

การศึกษาความต้องการของชุมชน เป็นการสำรวจความต้องการขององค์กรชุมชนที่องค์กรทางการศึกษาตั้งอยู่ความต้องการของผู้ปกครองนักเรียน
และความต้องการของชาวบ้านในชุมชนสรุปมาเป็นแนวทางในการดำเนินงานเพื่อตอบสนองความต้องการของชุมชนการวิเคราะห์สภาพขององค์กรทางการศึกษาเพื่อกำหนด
แนวทางในการพัฒนาการศึกษา จะต้องวิเคราะห์ผลกระทบที่เกิดจากปัจจัยต่าง ๆ ด้วย เรียกว่า SWOT Analysis ซึ่งได้แก่

Strengths - จุดแข็งหรือข้อได้เปรียบ
Weaknesses - จุดอ่อนหรือข้อเสียเปรียบ
Opportunities - โอกาสที่จะดำเนินการได้
Threats - อุปสรรค หรือปัจจัยที่คุกคามการดำเนินงานขององค์การ
การวิเคราะห์ SWOT อาจเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เป็นการทำ Situation Analysis

เป็นการวิเคราะห์สภาพองค์การ หรือหน่วยงานในปัจจุบัน เพื่อค้นหาจุดแข็ง จุดเด่น จุดด้อย หรือสิ่งที่อาจเป็นปัญหาสำคัญในการดำเนินงานสู่สภาพที่ต้องการในอนาคต การวิเคราะห์สภาพการณ์

(Situation Analysis) วิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน เพื่อให้รู้ตนเอง (รู้เรา) รู้จักสภาพแวดล้อม (รู้เขา) ชัดเจน และวิเคราะห์โอกาส-อุปสรรค เพื่อประโยชน์ในการกำหนดวิสัยทัศน์ หรือเลือกกลยุทธ์ระดับองค์กรที่เหมาะสมต่อไป ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับการทำ Strategic Decision การทำ Strategic Decision เป็นการตัดสินใจเลือกกลยุทธ์หรือวิธีดำเนินงานที่สำคัญ ที่เป็นหลักในการปฏิบัติไปสู่สภาพที่ต้องการในอนาคตขององค์การ เพื่อการบรรลุ Vision หรือสภาพในอนาคตตามที่ได้กำหนดไว้ ซึ่งเป็นการเลือกโดยคำนึงถึงสภาพในอนาคต โดยคำนึงถึงจุดที่ต้องการ โดยรู้สถานการณ์ เห็นถึงโอกาสและรู้จุดดี จุดเด่นตลอดจนจุดอ่อนในการดำเนินงานไปสู่จุดหมายที่ต้องการขององค์การในอนาคต เป็นการค้นหากลยุทธ์โดยหลักการ มองกว้าง เห็นไกล รอบคอบ ตามหลักการกำหนดกลยุทธ์ในแบบต่าง ๆ เช่น กลยุทธ์ที่มุ่งหา S สูง – O สูง, S สูง – T ต่ำ,

W ต่ำ – O สูง และ W ต่ำ – T ต่ำ กลยุทธ์เชิงรุก กลยุทธ์เพื่อความเจริญก้าวหน้า (Growth Strategy) กลยุทธ์แบบคงที่ (Stability Strategy) กลยุทธ์แบบตัดทอนป้องกัน (Retrenchment and Defense Strategy) กลยุทธ์การตั้งราคา-การขาย กลยุทธ์การแข่งขัน กลยุทธ์การเป็นผู้นำ กลยุทธ์ในการสร้างความแตกต่างของผลิตภัณฑ์และบริการ กลยุทธ์การจำกัดขอบเขตปฏิบัติการ เป็นต้น

Unknown กล่าวว่า...

การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน (S ,W)
สภาพแวดล้อมภายในประกอบด้วย ปัจจัยที่อยู่ภายในองค์กร ได้แก่ โครงสร้าง วัฒนธรรม และทรัพยากรขององค์กร
โครงสร้างขององค์กร (CORPORATE STRUCTURE) จะแสดงให้เห็นถึงการรวมกลุ่มงาน ความสัมพันธ์ทางอำนาจหน้าที่ การไหลเวียนของงาน การติดต่อสื่อสารภายใน
วัฒนธรรมองค์กร (CORPORATE CULTURE) จะหมายถึงความเชื่อ ความคาดหวัง และค่านิยมร่วมกัน โดยทั่วไปจะปรากฏขึ้นมาเป็นบรรทัดฐานที่ระบุถึงพฤติกรรมที่ยอมรับกันของบุคคลตั้งแต่ผู้บริหารลงมาจนถึงพนักงานระดับล่างสุด
ส่วนทรัพยากรขององค์การ (CORPORATE RESOURCES) จะหมายถึง ทรัพย์สินทุกอย่างภายในองค์การ ได้แก่ คน เงินทุน วัตถุดิบ เทคโนโลยี และทักษะ เป็นต้น
ซึ่งการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในประกอบด้วย
จุดแข็ง (STRENGTHS) หมายถึง การดำเนินงานภายในองค์การที่ต้องวิเคราะห์การดำเนินงานภายใน เช่น การบริหรการเงิน การตลาด การวิจัยและพัฒนาเพื่อการพิจารณาถึงจุดแข็งของการดำเนินงานภายในเหล่านี้เป็นระยะ และใช้ประโยชน์จากจุดแข็งของการดำเนินงานเหล่านี้อยู่เสมอ
จุดอ่อน (WEAKNESS) หมายถึง การดำเนินงานภายในองค์กรที่ไม่สามารถกระทำได้ดี เช่น การบริหาร การเงิน การตลาด การวิจัยและพัฒนา จะเป็นอุปสรรคต่อความสำเร็จ

น.ส.สุนิสา รหัส 5130125401212

Unknown กล่าวว่า...

น.ส.ผกามาศ มุขศรี รหัส 5210125401001 เอกการจัดการทั่วไป

การวิเคราะห์ สภาพแวดล้อมภายในและภายนอกองค์กร (SWOT)
แนวโน้มการพัฒนาการศึกษาให้มีความเหมาะสม สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนท้องถิ่น โดยแนวโน้มการพัฒนาการศึกษาขององค์กรทางการศึกษาต้องมีความเป็นไปได้ในการพัฒนาตามเงื่อนไขข้อจำกัดและองค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อการจัดการศึกษา ซึ่งได้แก่ นโยบายในการจัดการศึกษาของหน่วยงานต้นสังกัด รูปแบบการบริหารงานขององค์กรทางการศึกษา และปัจจัยทีเกี่ยวข้องอื่น

การศึกษาความต้องการของชุมชน เป็นการสำรวจความต้องการขององค์กรชุมชนที่องค์กรทางการศึกษาตั้งอยู่ความต้องการของผู้ปกครองนักเรียน
และความต้องการของชาวบ้านในชุมชนสรุปมาเป็นแนวทางในการดำเนินงานเพื่อตอบสนองความต้องการของชุมชนการวิเคราะห์สภาพขององค์กรทางการศึกษาเพื่อกำหนด
แนวทางในการพัฒนาการศึกษา จะต้องวิเคราะห์ผลกระทบที่เกิดจากปัจจัยต่าง ๆ ด้วย เรียกว่า SWOT Analysis ซึ่งได้แก่

Strengths - จุดแข็งหรือข้อได้เปรียบ
Weaknesses - จุดอ่อนหรือข้อเสียเปรียบ
Opportunities - โอกาสที่จะดำเนินการได้
Threats - อุปสรรค หรือปัจจัยที่คุกคามการดำเนินงานขององค์การ
การวิเคราะห์ SWOT อาจเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เป็นการทำ Situation Analysis

เป็นการวิเคราะห์สภาพองค์การ หรือหน่วยงานในปัจจุบัน เพื่อค้นหาจุดแข็ง จุดเด่น จุดด้อย หรือสิ่งที่อาจเป็นปัญหาสำคัญในการดำเนินงานสู่สภาพที่ต้องการในอนาคต การวิเคราะห์สภาพการณ์

(Situation Analysis) วิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน เพื่อให้รู้ตนเอง (รู้เรา) รู้จักสภาพแวดล้อม (รู้เขา) ชัดเจน และวิเคราะห์โอกาส-อุปสรรค เพื่อประโยชน์ในการกำหนดวิสัยทัศน์ หรือเลือกกลยุทธ์ระดับองค์กรที่เหมาะสมต่อไป ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับการทำ Strategic Decision การทำ Strategic Decision เป็นการตัดสินใจเลือกกลยุทธ์หรือวิธีดำเนินงานที่สำคัญ ที่เป็นหลักในการปฏิบัติไปสู่สภาพที่ต้องการในอนาคตขององค์การ เพื่อการบรรลุ Vision หรือสภาพในอนาคตตามที่ได้กำหนดไว้ ซึ่งเป็นการเลือกโดยคำนึงถึงสภาพในอนาคต โดยคำนึงถึงจุดที่ต้องการ โดยรู้สถานการณ์ เห็นถึงโอกาสและรู้จุดดี จุดเด่นตลอดจนจุดอ่อนในการดำเนินงานไปสู่จุดหมายที่ต้องการขององค์การในอนาคต เป็นการค้นหากลยุทธ์โดยหลักการ มองกว้าง เห็นไกล รอบคอบ ตามหลักการกำหนดกลยุทธ์ในแบบต่าง ๆ เช่น กลยุทธ์ที่มุ่งหา S สูง – O สูง, S สูง – T ต่ำ,

W ต่ำ – O สูง และ W ต่ำ – T ต่ำ กลยุทธ์เชิงรุก กลยุทธ์เพื่อความเจริญก้าวหน้า (Growth Strategy) กลยุทธ์แบบคงที่ (Stability Strategy) กลยุทธ์แบบตัดทอนป้องกัน (Retrenchment and Defense Strategy) กลยุทธ์การตั้งราคา-การขาย กลยุทธ์การแข่งขัน กลยุทธ์การเป็นผู้นำ กลยุทธ์ในการสร้างความแตกต่างของผลิตภัณฑ์และบริการ กลยุทธ์การจำกัดขอบเขตปฏิบัติการ เป็นต้น

อ้างอิง http://www.vcharkarn.com/vcafe/133036

Unknown กล่าวว่า...

น.ส.ผกามาศ มุขศรี รหัส 5210125401001 เอกการจัดการทั่วไป

การวิเคราะห์ สภาพแวดล้อมภายในและภายนอกองค์กร (SWOT)
แนวโน้มการพัฒนาการศึกษาให้มีความเหมาะสม สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนท้องถิ่น โดยแนวโน้มการพัฒนาการศึกษาขององค์กรทางการศึกษาต้องมีความเป็นไปได้ในการพัฒนาตามเงื่อนไขข้อจำกัดและองค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อการจัดการศึกษา ซึ่งได้แก่ นโยบายในการจัดการศึกษาของหน่วยงานต้นสังกัด รูปแบบการบริหารงานขององค์กรทางการศึกษา และปัจจัยทีเกี่ยวข้องอื่น

การศึกษาความต้องการของชุมชน เป็นการสำรวจความต้องการขององค์กรชุมชนที่องค์กรทางการศึกษาตั้งอยู่ความต้องการของผู้ปกครองนักเรียน
และความต้องการของชาวบ้านในชุมชนสรุปมาเป็นแนวทางในการดำเนินงานเพื่อตอบสนองความต้องการของชุมชนการวิเคราะห์สภาพขององค์กรทางการศึกษาเพื่อกำหนด
แนวทางในการพัฒนาการศึกษา จะต้องวิเคราะห์ผลกระทบที่เกิดจากปัจจัยต่าง ๆ ด้วย เรียกว่า SWOT Analysis ซึ่งได้แก่

Strengths - จุดแข็งหรือข้อได้เปรียบ
Weaknesses - จุดอ่อนหรือข้อเสียเปรียบ
Opportunities - โอกาสที่จะดำเนินการได้
Threats - อุปสรรค หรือปัจจัยที่คุกคามการดำเนินงานขององค์การ
การวิเคราะห์ SWOT อาจเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เป็นการทำ Situation Analysis

เป็นการวิเคราะห์สภาพองค์การ หรือหน่วยงานในปัจจุบัน เพื่อค้นหาจุดแข็ง จุดเด่น จุดด้อย หรือสิ่งที่อาจเป็นปัญหาสำคัญในการดำเนินงานสู่สภาพที่ต้องการในอนาคต การวิเคราะห์สภาพการณ์

(Situation Analysis) วิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน เพื่อให้รู้ตนเอง (รู้เรา) รู้จักสภาพแวดล้อม (รู้เขา) ชัดเจน และวิเคราะห์โอกาส-อุปสรรค เพื่อประโยชน์ในการกำหนดวิสัยทัศน์ หรือเลือกกลยุทธ์ระดับองค์กรที่เหมาะสมต่อไป ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับการทำ Strategic Decision การทำ Strategic Decision เป็นการตัดสินใจเลือกกลยุทธ์หรือวิธีดำเนินงานที่สำคัญ ที่เป็นหลักในการปฏิบัติไปสู่สภาพที่ต้องการในอนาคตขององค์การ เพื่อการบรรลุ Vision หรือสภาพในอนาคตตามที่ได้กำหนดไว้ ซึ่งเป็นการเลือกโดยคำนึงถึงสภาพในอนาคต โดยคำนึงถึงจุดที่ต้องการ โดยรู้สถานการณ์ เห็นถึงโอกาสและรู้จุดดี จุดเด่นตลอดจนจุดอ่อนในการดำเนินงานไปสู่จุดหมายที่ต้องการขององค์การในอนาคต เป็นการค้นหากลยุทธ์โดยหลักการ มองกว้าง เห็นไกล รอบคอบ ตามหลักการกำหนดกลยุทธ์ในแบบต่าง ๆ เช่น กลยุทธ์ที่มุ่งหา S สูง – O สูง, S สูง – T ต่ำ,

W ต่ำ – O สูง และ W ต่ำ – T ต่ำ กลยุทธ์เชิงรุก กลยุทธ์เพื่อความเจริญก้าวหน้า (Growth Strategy) กลยุทธ์แบบคงที่ (Stability Strategy) กลยุทธ์แบบตัดทอนป้องกัน (Retrenchment and Defense Strategy) กลยุทธ์การตั้งราคา-การขาย กลยุทธ์การแข่งขัน กลยุทธ์การเป็นผู้นำ กลยุทธ์ในการสร้างความแตกต่างของผลิตภัณฑ์และบริการ กลยุทธ์การจำกัดขอบเขตปฏิบัติการ เป็นต้น

อ้างอิง http://www.vcharkarn.com/vcafe/133036

Unknown กล่าวว่า...

น.ส.ผกามาศ มุขศรี รหัส 5210125401001 เอกการจัดการทั่วไป

การวิเคราะห์ สภาพแวดล้อมภายในและภายนอกองค์กร (SWOT)
แนวโน้มการพัฒนาการศึกษาให้มีความเหมาะสม สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนท้องถิ่น โดยแนวโน้มการพัฒนาการศึกษาขององค์กรทางการศึกษาต้องมีความเป็นไปได้ในการพัฒนาตามเงื่อนไขข้อจำกัดและองค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อการจัดการศึกษา ซึ่งได้แก่ นโยบายในการจัดการศึกษาของหน่วยงานต้นสังกัด รูปแบบการบริหารงานขององค์กรทางการศึกษา และปัจจัยทีเกี่ยวข้องอื่น

การศึกษาความต้องการของชุมชน เป็นการสำรวจความต้องการขององค์กรชุมชนที่องค์กรทางการศึกษาตั้งอยู่ความต้องการของผู้ปกครองนักเรียน
และความต้องการของชาวบ้านในชุมชนสรุปมาเป็นแนวทางในการดำเนินงานเพื่อตอบสนองความต้องการของชุมชนการวิเคราะห์สภาพขององค์กรทางการศึกษาเพื่อกำหนด
แนวทางในการพัฒนาการศึกษา จะต้องวิเคราะห์ผลกระทบที่เกิดจากปัจจัยต่าง ๆ ด้วย เรียกว่า SWOT Analysis ซึ่งได้แก่

Strengths - จุดแข็งหรือข้อได้เปรียบ
Weaknesses - จุดอ่อนหรือข้อเสียเปรียบ
Opportunities - โอกาสที่จะดำเนินการได้
Threats - อุปสรรค หรือปัจจัยที่คุกคามการดำเนินงานขององค์การ
การวิเคราะห์ SWOT อาจเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เป็นการทำ Situation Analysis

เป็นการวิเคราะห์สภาพองค์การ หรือหน่วยงานในปัจจุบัน เพื่อค้นหาจุดแข็ง จุดเด่น จุดด้อย หรือสิ่งที่อาจเป็นปัญหาสำคัญในการดำเนินงานสู่สภาพที่ต้องการในอนาคต การวิเคราะห์สภาพการณ์

(Situation Analysis) วิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน เพื่อให้รู้ตนเอง (รู้เรา) รู้จักสภาพแวดล้อม (รู้เขา) ชัดเจน และวิเคราะห์โอกาส-อุปสรรค เพื่อประโยชน์ในการกำหนดวิสัยทัศน์ หรือเลือกกลยุทธ์ระดับองค์กรที่เหมาะสมต่อไป ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับการทำ Strategic Decision การทำ Strategic Decision เป็นการตัดสินใจเลือกกลยุทธ์หรือวิธีดำเนินงานที่สำคัญ ที่เป็นหลักในการปฏิบัติไปสู่สภาพที่ต้องการในอนาคตขององค์การ เพื่อการบรรลุ Vision หรือสภาพในอนาคตตามที่ได้กำหนดไว้ ซึ่งเป็นการเลือกโดยคำนึงถึงสภาพในอนาคต โดยคำนึงถึงจุดที่ต้องการ โดยรู้สถานการณ์ เห็นถึงโอกาสและรู้จุดดี จุดเด่นตลอดจนจุดอ่อนในการดำเนินงานไปสู่จุดหมายที่ต้องการขององค์การในอนาคต เป็นการค้นหากลยุทธ์โดยหลักการ มองกว้าง เห็นไกล รอบคอบ ตามหลักการกำหนดกลยุทธ์ในแบบต่าง ๆ เช่น กลยุทธ์ที่มุ่งหา S สูง – O สูง, S สูง – T ต่ำ,

W ต่ำ – O สูง และ W ต่ำ – T ต่ำ กลยุทธ์เชิงรุก กลยุทธ์เพื่อความเจริญก้าวหน้า (Growth Strategy) กลยุทธ์แบบคงที่ (Stability Strategy) กลยุทธ์แบบตัดทอนป้องกัน (Retrenchment and Defense Strategy) กลยุทธ์การตั้งราคา-การขาย กลยุทธ์การแข่งขัน กลยุทธ์การเป็นผู้นำ กลยุทธ์ในการสร้างความแตกต่างของผลิตภัณฑ์และบริการ กลยุทธ์การจำกัดขอบเขตปฏิบัติการ เป็นต้น

อ้างอิง http://www.vcharkarn.com/vcafe/133036

Unknown กล่าวว่า...

น.ส.ผกามาศ มุขศรี รหัส 5210125401001 เอกการจัดการทั่วไป

การวิเคราะห์ สภาพแวดล้อมภายในและภายนอกองค์กร (SWOT)
แนวโน้มการพัฒนาการศึกษาให้มีความเหมาะสม สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนท้องถิ่น โดยแนวโน้มการพัฒนาการศึกษาขององค์กรทางการศึกษาต้องมีความเป็นไปได้ในการพัฒนาตามเงื่อนไขข้อจำกัดและองค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อการจัดการศึกษา ซึ่งได้แก่ นโยบายในการจัดการศึกษาของหน่วยงานต้นสังกัด รูปแบบการบริหารงานขององค์กรทางการศึกษา และปัจจัยทีเกี่ยวข้องอื่น

การศึกษาความต้องการของชุมชน เป็นการสำรวจความต้องการขององค์กรชุมชนที่องค์กรทางการศึกษาตั้งอยู่ความต้องการของผู้ปกครองนักเรียน
และความต้องการของชาวบ้านในชุมชนสรุปมาเป็นแนวทางในการดำเนินงานเพื่อตอบสนองความต้องการของชุมชนการวิเคราะห์สภาพขององค์กรทางการศึกษาเพื่อกำหนด
แนวทางในการพัฒนาการศึกษา จะต้องวิเคราะห์ผลกระทบที่เกิดจากปัจจัยต่าง ๆ ด้วย เรียกว่า SWOT Analysis ซึ่งได้แก่

Strengths - จุดแข็งหรือข้อได้เปรียบ
Weaknesses - จุดอ่อนหรือข้อเสียเปรียบ
Opportunities - โอกาสที่จะดำเนินการได้
Threats - อุปสรรค หรือปัจจัยที่คุกคามการดำเนินงานขององค์การ
การวิเคราะห์ SWOT อาจเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เป็นการทำ Situation Analysis

เป็นการวิเคราะห์สภาพองค์การ หรือหน่วยงานในปัจจุบัน เพื่อค้นหาจุดแข็ง จุดเด่น จุดด้อย หรือสิ่งที่อาจเป็นปัญหาสำคัญในการดำเนินงานสู่สภาพที่ต้องการในอนาคต การวิเคราะห์สภาพการณ์

(Situation Analysis) วิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน เพื่อให้รู้ตนเอง (รู้เรา) รู้จักสภาพแวดล้อม (รู้เขา) ชัดเจน และวิเคราะห์โอกาส-อุปสรรค เพื่อประโยชน์ในการกำหนดวิสัยทัศน์ หรือเลือกกลยุทธ์ระดับองค์กรที่เหมาะสมต่อไป ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับการทำ Strategic Decision การทำ Strategic Decision เป็นการตัดสินใจเลือกกลยุทธ์หรือวิธีดำเนินงานที่สำคัญ ที่เป็นหลักในการปฏิบัติไปสู่สภาพที่ต้องการในอนาคตขององค์การ เพื่อการบรรลุ Vision หรือสภาพในอนาคตตามที่ได้กำหนดไว้ ซึ่งเป็นการเลือกโดยคำนึงถึงสภาพในอนาคต โดยคำนึงถึงจุดที่ต้องการ โดยรู้สถานการณ์ เห็นถึงโอกาสและรู้จุดดี จุดเด่นตลอดจนจุดอ่อนในการดำเนินงานไปสู่จุดหมายที่ต้องการขององค์การในอนาคต เป็นการค้นหากลยุทธ์โดยหลักการ มองกว้าง เห็นไกล รอบคอบ ตามหลักการกำหนดกลยุทธ์ในแบบต่าง ๆ เช่น กลยุทธ์ที่มุ่งหา S สูง – O สูง, S สูง – T ต่ำ,

W ต่ำ – O สูง และ W ต่ำ – T ต่ำ กลยุทธ์เชิงรุก กลยุทธ์เพื่อความเจริญก้าวหน้า (Growth Strategy) กลยุทธ์แบบคงที่ (Stability Strategy) กลยุทธ์แบบตัดทอนป้องกัน (Retrenchment and Defense Strategy) กลยุทธ์การตั้งราคา-การขาย กลยุทธ์การแข่งขัน กลยุทธ์การเป็นผู้นำ กลยุทธ์ในการสร้างความแตกต่างของผลิตภัณฑ์และบริการ กลยุทธ์การจำกัดขอบเขตปฏิบัติการ เป็นต้น

อ้างอิง http://www.vcharkarn.com/vcafe/133036

Unknown กล่าวว่า...

น.ส.ผกามาศ มุขศรี รหัส 5210125401001 เอกการจัดการทั่วไป

การวิเคราะห์ สภาพแวดล้อมภายในและภายนอกองค์กร (SWOT)

แนวโน้มการพัฒนาการศึกษาให้มีความเหมาะสม สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนท้องถิ่น โดยแนวโน้มการพัฒนาการศึกษาขององค์กรทางการศึกษาต้องมีความเป็นไปได้ในการพัฒนาตามเงื่อนไขข้อจำกัดและองค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อการจัดการศึกษา ซึ่งได้แก่ นโยบายในการจัดการศึกษาของหน่วยงานต้นสังกัด รูปแบบการบริหารงานขององค์กรทางการศึกษา และปัจจัยทีเกี่ยวข้องอื่น

การศึกษาความต้องการของชุมชน เป็นการสำรวจความต้องการขององค์กรชุมชนที่องค์กรทางการศึกษาตั้งอยู่ความต้องการของผู้ปกครองนักเรียน
และความต้องการของชาวบ้านในชุมชนสรุปมาเป็นแนวทางในการดำเนินงานเพื่อตอบสนองความต้องการของชุมชนการวิเคราะห์สภาพขององค์กรทางการศึกษาเพื่อกำหนด

แนวทางในการพัฒนาการศึกษา จะต้องวิเคราะห์ผลกระทบที่เกิดจากปัจจัยต่าง ๆ ด้วย เรียกว่า SWOT Analysis ซึ่งได้แก่

Strengths - จุดแข็งหรือข้อได้เปรียบ
Weaknesses - จุดอ่อนหรือข้อเสียเปรียบ
Opportunities - โอกาสที่จะดำเนินการได้
Threats - อุปสรรค หรือปัจจัยที่คุกคามการดำเนินงานขององค์การ
การวิเคราะห์ SWOT อาจเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เป็นการทำ Situation Analysis

เป็นการวิเคราะห์สภาพองค์การ หรือหน่วยงานในปัจจุบัน เพื่อค้นหาจุดแข็ง จุดเด่น จุดด้อย หรือสิ่งที่อาจเป็นปัญหาสำคัญในการดำเนินงานสู่สภาพที่ต้องการในอนาคต การวิเคราะห์สภาพการณ์

(Situation Analysis) วิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน เพื่อให้รู้ตนเอง (รู้เรา) รู้จักสภาพแวดล้อม (รู้เขา) ชัดเจน และวิเคราะห์โอกาส-อุปสรรค เพื่อประโยชน์ในการกำหนดวิสัยทัศน์ หรือเลือกกลยุทธ์ระดับองค์กรที่เหมาะสมต่อไป ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับการทำ Strategic Decision การทำ Strategic Decision เป็นการตัดสินใจเลือกกลยุทธ์หรือวิธีดำเนินงานที่สำคัญ ที่เป็นหลักในการปฏิบัติไปสู่สภาพที่ต้องการในอนาคตขององค์การ เพื่อการบรรลุ Vision หรือสภาพในอนาคตตามที่ได้กำหนดไว้ ซึ่งเป็นการเลือกโดยคำนึงถึงสภาพในอนาคต โดยคำนึงถึงจุดที่ต้องการ โดยรู้สถานการณ์ เห็นถึงโอกาสและรู้จุดดี จุดเด่นตลอดจนจุดอ่อนในการดำเนินงานไปสู่จุดหมายที่ต้องการขององค์การในอนาคต เป็นการค้นหากลยุทธ์โดยหลักการ มองกว้าง เห็นไกล รอบคอบ ตามหลักการกำหนดกลยุทธ์ในแบบต่าง ๆ เช่น กลยุทธ์ที่มุ่งหา S สูง – O สูง, S สูง – T ต่ำ,

W ต่ำ – O สูง และ W ต่ำ – T ต่ำ กลยุทธ์เชิงรุก กลยุทธ์เพื่อความเจริญก้าวหน้า (Growth Strategy) กลยุทธ์แบบคงที่ (Stability Strategy) กลยุทธ์แบบตัดทอนป้องกัน (Retrenchment and Defense Strategy) กลยุทธ์การตั้งราคา-การขาย กลยุทธ์การแข่งขัน กลยุทธ์การเป็นผู้นำ กลยุทธ์ในการสร้างความแตกต่างของผลิตภัณฑ์และบริการ กลยุทธ์การจำกัดขอบเขตปฏิบัติการ เป็นต้น

อ้างอิง http://www.vcharkarn.com/vcafe/133036

Unknown กล่าวว่า...

นางสาว ผกามาศ มุขศรี รหัส 5210125401001 เอกการจัดการทั่วไป

การวิเคราะห์ สภาพแวดล้อมภายในและภายนอกองค์กร (SWOT)
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในและภายนอกองค์กรทางการศึกษา เพื่อศึกษา

แนวโน้มการพัฒนาการศึกษาให้มีความเหมาะสม สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนท้องถิ่น โดยแนวโน้มการพัฒนาการศึกษาขององค์กรทางการศึกษาต้องมีความเป็นไปได้ในการพัฒนาตามเงื่อนไขข้อจำกัดและองค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อการจัดการศึกษา ซึ่งได้แก่ นโยบายในการจัดการศึกษาของหน่วยงานต้นสังกัด รูปแบบการบริหารงานขององค์กรทางการศึกษา และปัจจัยทีเกี่ยวข้องอื่น

การศึกษาความต้องการของชุมชน เป็นการสำรวจความต้องการขององค์กรชุมชนที่องค์กรทางการศึกษาตั้งอยู่ความต้องการของผู้ปกครองนักเรียน
และความต้องการของชาวบ้านในชุมชนสรุปมาเป็นแนวทางในการดำเนินงานเพื่อตอบสนองความต้องการของชุมชนการวิเคราะห์สภาพขององค์กรทางการศึกษาเพื่อกำหนด
แนวทางในการพัฒนาการศึกษา จะต้องวิเคราะห์ผลกระทบที่เกิดจากปัจจัยต่าง ๆ ด้วย เรียกว่า SWOT Analysis ซึ่งได้แก่

Strengths - จุดแข็งหรือข้อได้เปรียบ
Weaknesses - จุดอ่อนหรือข้อเสียเปรียบ
Opportunities - โอกาสที่จะดำเนินการได้
Threats - อุปสรรค หรือปัจจัยที่คุกคามการดำเนินงานขององค์การ
การวิเคราะห์ SWOT อาจเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เป็นการทำ Situation Analysis

เป็นการวิเคราะห์สภาพองค์การ หรือหน่วยงานในปัจจุบัน เพื่อค้นหาจุดแข็ง จุดเด่น จุดด้อย หรือสิ่งที่อาจเป็นปัญหาสำคัญในการดำเนินงานสู่สภาพที่ต้องการในอนาคต การวิเคราะห์สภาพการณ์

(Situation Analysis) วิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน เพื่อให้รู้ตนเอง (รู้เรา) รู้จักสภาพแวดล้อม (รู้เขา) ชัดเจน และวิเคราะห์โอกาส-อุปสรรค เพื่อประโยชน์ในการกำหนดวิสัยทัศน์ หรือเลือกกลยุทธ์ระดับองค์กรที่เหมาะสมต่อไป ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับการทำ Strategic Decision การทำ Strategic Decision เป็นการตัดสินใจเลือกกลยุทธ์หรือวิธีดำเนินงานที่สำคัญ ที่เป็นหลักในการปฏิบัติไปสู่สภาพที่ต้องการในอนาคตขององค์การ เพื่อการบรรลุ Vision หรือสภาพในอนาคตตามที่ได้กำหนดไว้ ซึ่งเป็นการเลือกโดยคำนึงถึงสภาพในอนาคต โดยคำนึงถึงจุดที่ต้องการ โดยรู้สถานการณ์ เห็นถึงโอกาสและรู้จุดดี จุดเด่นตลอดจนจุดอ่อนในการดำเนินงานไปสู่จุดหมายที่ต้องการขององค์การในอนาคต เป็นการค้นหากลยุทธ์โดยหลักการ มองกว้าง เห็นไกล รอบคอบ ตามหลักการกำหนดกลยุทธ์ในแบบต่าง ๆ เช่น กลยุทธ์ที่มุ่งหา S สูง – O สูง, S สูง – T ต่ำ,

W ต่ำ – O สูง และ W ต่ำ – T ต่ำ กลยุทธ์เชิงรุก กลยุทธ์เพื่อความเจริญก้าวหน้า (Growth Strategy) กลยุทธ์แบบคงที่ (Stability Strategy) กลยุทธ์แบบตัดทอนป้องกัน (Retrenchment and Defense Strategy) กลยุทธ์การตั้งราคา-การขาย กลยุทธ์การแข่งขัน กลยุทธ์การเป็นผู้นำ กลยุทธ์ในการสร้างความแตกต่างของผลิตภัณฑ์และบริการ กลยุทธ์การจำกัดขอบเขตปฏิบัติการ เป็นต้น

อ้างอิง http://www.vcharkarn.com/vcafe/133036

Unknown กล่าวว่า...

นางสาวผกามาศ มุขศรี รหัส 5210125401001 เอกการจัดการทั่วไป

การวิเคราะห์ สภาพแวดล้อมภายในและภายนอกองค์กร (SWOT)
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในและภายนอกองค์กรทางการศึกษา เพื่อศึกษา

แนวโน้มการพัฒนาการศึกษาให้มีความเหมาะสม สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนท้องถิ่น โดยแนวโน้มการพัฒนาการศึกษาขององค์กรทางการศึกษาต้องมีความเป็นไปได้ในการพัฒนาตามเงื่อนไขข้อจำกัดและองค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อการจัดการศึกษา ซึ่งได้แก่ นโยบายในการจัดการศึกษาของหน่วยงานต้นสังกัด รูปแบบการบริหารงานขององค์กรทางการศึกษา และปัจจัยทีเกี่ยวข้องอื่น

การศึกษาความต้องการของชุมชน เป็นการสำรวจความต้องการขององค์กรชุมชนที่องค์กรทางการศึกษาตั้งอยู่ความต้องการของผู้ปกครองนักเรียน
และความต้องการของชาวบ้านในชุมชนสรุปมาเป็นแนวทางในการดำเนินงานเพื่อตอบสนองความต้องการของชุมชนการวิเคราะห์สภาพขององค์กรทางการศึกษาเพื่อกำหนด
แนวทางในการพัฒนาการศึกษา จะต้องวิเคราะห์ผลกระทบที่เกิดจากปัจจัยต่าง ๆ ด้วย เรียกว่า SWOT Analysis ซึ่งได้แก่

Strengths - จุดแข็งหรือข้อได้เปรียบ
Weaknesses - จุดอ่อนหรือข้อเสียเปรียบ
Opportunities - โอกาสที่จะดำเนินการได้
Threats - อุปสรรค หรือปัจจัยที่คุกคามการดำเนินงานขององค์การ
การวิเคราะห์ SWOT อาจเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เป็นการทำ Situation Analysis

เป็นการวิเคราะห์สภาพองค์การ หรือหน่วยงานในปัจจุบัน เพื่อค้นหาจุดแข็ง จุดเด่น จุดด้อย หรือสิ่งที่อาจเป็นปัญหาสำคัญในการดำเนินงานสู่สภาพที่ต้องการในอนาคต การวิเคราะห์สภาพการณ์

(Situation Analysis) วิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน เพื่อให้รู้ตนเอง (รู้เรา) รู้จักสภาพแวดล้อม (รู้เขา) ชัดเจน และวิเคราะห์โอกาส-อุปสรรค เพื่อประโยชน์ในการกำหนดวิสัยทัศน์ หรือเลือกกลยุทธ์ระดับองค์กรที่เหมาะสมต่อไป ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับการทำ Strategic Decision การทำ Strategic Decision เป็นการตัดสินใจเลือกกลยุทธ์หรือวิธีดำเนินงานที่สำคัญ ที่เป็นหลักในการปฏิบัติไปสู่สภาพที่ต้องการในอนาคตขององค์การ เพื่อการบรรลุ Vision หรือสภาพในอนาคตตามที่ได้กำหนดไว้ ซึ่งเป็นการเลือกโดยคำนึงถึงสภาพในอนาคต โดยคำนึงถึงจุดที่ต้องการ โดยรู้สถานการณ์ เห็นถึงโอกาสและรู้จุดดี จุดเด่นตลอดจนจุดอ่อนในการดำเนินงานไปสู่จุดหมายที่ต้องการขององค์การในอนาคต เป็นการค้นหากลยุทธ์โดยหลักการ มองกว้าง เห็นไกล รอบคอบ ตามหลักการกำหนดกลยุทธ์ในแบบต่าง ๆ เช่น กลยุทธ์ที่มุ่งหา S สูง – O สูง, S สูง – T ต่ำ,

W ต่ำ – O สูง และ W ต่ำ – T ต่ำ กลยุทธ์เชิงรุก กลยุทธ์เพื่อความเจริญก้าวหน้า (Growth Strategy) กลยุทธ์แบบคงที่ (Stability Strategy) กลยุทธ์แบบตัดทอนป้องกัน (Retrenchment and Defense Strategy) กลยุทธ์การตั้งราคา-การขาย กลยุทธ์การแข่งขัน กลยุทธ์การเป็นผู้นำ กลยุทธ์ในการสร้างความแตกต่างของผลิตภัณฑ์และบริการ กลยุทธ์การจำกัดขอบเขตปฏิบัติการ เป็นต้น

อ้างอิง http://www.vcharkarn.com/vcafe/133036

Unknown กล่าวว่า...

นางสาวผกามาศ มุขศรี รหัส 5210125401001 เอกการจัดการทั่วไป

การวิเคราะห์ สภาพแวดล้อมภายในและภายนอกองค์กร (SWOT)
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในและภายนอกองค์กรทางการศึกษา เพื่อศึกษาแนวโน้มการพัฒนาการศึกษาให้มีความเหมาะสม สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนท้องถิ่น โดยแนวโน้มการพัฒนาการศึกษาขององค์กรทางการศึกษาต้องมีความเป็นไปได้ในการพัฒนาตามเงื่อนไขข้อจำกัดและองค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อการจัดการศึกษา ซึ่งได้แก่ นโยบายในการจัดการศึกษาของหน่วยงานต้นสังกัด รูปแบบการบริหารงานขององค์กรทางการศึกษา และปัจจัยทีเกี่ยวข้องอื่น
การศึกษาความต้องการของชุมชน เป็นการสำรวจความต้องการขององค์กรชุมชนที่องค์กรทางการศึกษาตั้งอยู่ความต้องการของผู้ปกครองนักเรียนและความต้องการของชาวบ้านในชุมชนสรุปมาเป็นแนวทางในการดำเนินงานเพื่อตอบสนองความต้องการของชุมชนการวิเคราะห์สภาพขององค์กรทางการศึกษาเพื่อกำหนดแนวทางในการพัฒนาการศึกษา จะต้องวิเคราะห์ผลกระทบที่เกิดจากปัจจัยต่าง ๆ ด้วย เรียกว่า SWOT Analysis ซึ่งได้แก่

Strengths - จุดแข็งหรือข้อได้เปรียบ
Weaknesses - จุดอ่อนหรือข้อเสียเปรียบ
Opportunities - โอกาสที่จะดำเนินการได้
Threats - อุปสรรค หรือปัจจัยที่คุกคามการดำเนินงานขององค์การ
การวิเคราะห์ SWOT อาจเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เป็นการทำ Situation Analysis

เป็นการวิเคราะห์สภาพองค์การ หรือหน่วยงานในปัจจุบัน เพื่อค้นหาจุดแข็ง จุดเด่น จุดด้อย หรือสิ่งที่อาจเป็นปัญหาสำคัญในการดำเนินงานสู่สภาพที่ต้องการในอนาคต การวิเคราะห์สภาพการณ์(Situation Analysis) วิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน เพื่อให้รู้ตนเอง (รู้เรา) รู้จักสภาพแวดล้อม (รู้เขา) ชัดเจน และวิเคราะห์โอกาส-อุปสรรค เพื่อประโยชน์ในการกำหนดวิสัยทัศน์ หรือเลือกกลยุทธ์ระดับองค์กรที่เหมาะสมต่อไป ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับการทำ Strategic Decision การทำ Strategic Decision เป็นการตัดสินใจเลือกกลยุทธ์หรือวิธีดำเนินงานที่สำคัญ ที่เป็นหลักในการปฏิบัติไปสู่สภาพที่ต้องการในอนาคตขององค์การ เพื่อการบรรลุ Vision หรือสภาพในอนาคตตามที่ได้กำหนดไว้ ซึ่งเป็นการเลือกโดยคำนึงถึงสภาพในอนาคต โดยคำนึงถึงจุดที่ต้องการ โดยรู้สถานการณ์ เห็นถึงโอกาสและรู้จุดดี จุดเด่นตลอดจนจุดอ่อนในการดำเนินงานไปสู่จุดหมายที่ต้องการขององค์การในอนาคต เป็นการค้นหากลยุทธ์โดยหลักการ มองกว้าง เห็นไกล รอบคอบ ตามหลักการกำหนดกลยุทธ์ในแบบต่าง ๆ เช่น กลยุทธ์ที่มุ่งหา S สูง – O สูง, S สูง – T ต่ำ,
W ต่ำ – O สูง และ W ต่ำ – T ต่ำ กลยุทธ์เชิงรุก กลยุทธ์เพื่อความเจริญก้าวหน้า (Growth Strategy) กลยุทธ์แบบคงที่ (Stability Strategy) กลยุทธ์แบบตัดทอนป้องกัน (Retrenchment and Defense Strategy) กลยุทธ์การตั้งราคา-การขาย กลยุทธ์การแข่งขัน กลยุทธ์การเป็นผู้นำ กลยุทธ์ในการสร้างความแตกต่างของผลิตภัณฑ์และบริการ กลยุทธ์การจำกัดขอบเขตปฏิบัติการ เป็นต้น

อ้างอิง http://www.vcharkarn.com/vcafe/133036

blueheart กล่าวว่า...

การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก
ในการกำหนดกลยุทธ์ที่มีประสิทธิผลเพื่อยึดครองโอกาสนั้น ผู้ประกอบการต้องทำการวิเคราะห์องค์ประกอบ 2 ประการคือ
1. สภาพแวดล้อมภายนอก โดยทำการศึกษาแนวโน้มสภาพแวดล้อมทั่วไป และสภาพแวดล้อมอุตสาหกรรม หรือสภาพแวดล้อมการแข่งขัน
2. สภาพแวดล้อมภายใน หรือการวิเคราะห์กิจการ
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทั่วไปหรือการวิเคราะห์ PEST
มี 4 ด้านดังนี้
1.1 การเมือง
- ภาษีทางตรงและภาษีทางอ้อม
- ภาษีเงินได้นิติบุคคล
- งบประมาณของรัฐ
- นโยบายการพัฒนาอุตสาหกรรม
- นโยบายการเงินและระดับอัตราดอกเบี้ย
- ข้อตกลงทางการค้าระหว่างประเทศ
- กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคและการแข่งขัน
- การออกกฎระเบียบและการผ่อนคลายกฎระเบียบของรัฐ
- การปฏิบัติในระดับท้องถิ่น
- นโยบายด้านการศึกษา
1.2 เศรษฐกิจ
- วัฎจักรธุรกิจ
- ภาวะการจ้างงาน
- อัตราดอกเบี้ยและอัตราแลกเปลี่ยน
- ราคาที่อยู่อาศัยและภาวะตลาดหลักทรัพย์
- การพัฒนาเศรษฐกิจ
1.3 สังคม
- อัตราการเติบโตของประชากร
- โครงสร้างอายุ
- การโยกย้ายถิ่นฐาน
- การเปลี่ยนแปลงสังคมและวัฒนธรรม
1.4 เทคโนโลยี
- ระดับค่าใช้จ่ายในการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ของอุตสาหกรรมต่างๆ
- ตลาดใหม่
- วิธีการผลิต
- อัตราการยอมรับเทคโนโลยีใหม่
สภาพแวดล้อมอุตสาหกรรม
- การคุกคามจากคู่แข่งขัน
- การแข่งขันของกิจการที่มีอยู่เดิม
- แรงกดดันจากผลิตภัณฑ์ทดแทน
- อำนาจต่อรองของผู้ซื้อ
- อำนาจต่อรองของผู้จัดหา
อ้างอิงจาก อำนาจ ธีระวนิช. (2549). ผู้ประกอบการ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์.

*น.ส.หทัยทิพย์ พรายแก้ว รหัส 5210125401070 เอกการจัดการทั่วไป ปี 4 *

Unknown กล่าวว่า...

นางสาวผกามาศ มุขศรี รหัส 5210125401001 เอกการจัดการทั่วไป

การวิเคราะห์ สภาพแวดล้อมภายในและภายนอกองค์กร (SWOT)
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในและภายนอกองค์กรทางการศึกษา เพื่อศึกษาแนวโน้มการพัฒนาการศึกษาให้มีความเหมาะสม สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนท้องถิ่น โดยแนวโน้มการพัฒนาการศึกษาขององค์กรทางการศึกษาต้องมีความเป็นไปได้ในการพัฒนาตามเงื่อนไขข้อจำกัดและองค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อการจัดการศึกษา ซึ่งได้แก่ นโยบายในการจัดการศึกษาของหน่วยงานต้นสังกัด รูปแบบการบริหารงานขององค์กรทางการศึกษา และปัจจัยทีเกี่ยวข้องอื่น
การศึกษาความต้องการของชุมชน เป็นการสำรวจความต้องการขององค์กรชุมชนที่องค์กรทางการศึกษาตั้งอยู่ความต้องการของผู้ปกครองนักเรียนและความต้องการของชาวบ้านในชุมชนสรุปมาเป็นแนวทางในการดำเนินงานเพื่อตอบสนองความต้องการของชุมชนการวิเคราะห์สภาพขององค์กรทางการศึกษาเพื่อกำหนดแนวทางในการพัฒนาการศึกษา จะต้องวิเคราะห์ผลกระทบที่เกิดจากปัจจัยต่าง ๆ ด้วย เรียกว่า SWOT Analysis ซึ่งได้แก่

Strengths - จุดแข็งหรือข้อได้เปรียบ
Weaknesses - จุดอ่อนหรือข้อเสียเปรียบ
Opportunities - โอกาสที่จะดำเนินการได้
Threats - อุปสรรค หรือปัจจัยที่คุกคามการดำเนินงานขององค์การ
การวิเคราะห์ SWOT อาจเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เป็นการทำ Situation Analysis

เป็นการวิเคราะห์สภาพองค์การ หรือหน่วยงานในปัจจุบัน เพื่อค้นหาจุดแข็ง จุดเด่น จุดด้อย หรือสิ่งที่อาจเป็นปัญหาสำคัญในการดำเนินงานสู่สภาพที่ต้องการในอนาคต การวิเคราะห์สภาพการณ์(Situation Analysis) วิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน เพื่อให้รู้ตนเอง (รู้เรา) รู้จักสภาพแวดล้อม (รู้เขา) ชัดเจน และวิเคราะห์โอกาส-อุปสรรค เพื่อประโยชน์ในการกำหนดวิสัยทัศน์ หรือเลือกกลยุทธ์ระดับองค์กรที่เหมาะสมต่อไป ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับการทำ Strategic Decision การทำ Strategic Decision เป็นการตัดสินใจเลือกกลยุทธ์หรือวิธีดำเนินงานที่สำคัญ ที่เป็นหลักในการปฏิบัติไปสู่สภาพที่ต้องการในอนาคตขององค์การ เพื่อการบรรลุ Vision หรือสภาพในอนาคตตามที่ได้กำหนดไว้ ซึ่งเป็นการเลือกโดยคำนึงถึงสภาพในอนาคต โดยคำนึงถึงจุดที่ต้องการ โดยรู้สถานการณ์ เห็นถึงโอกาสและรู้จุดดี จุดเด่นตลอดจนจุดอ่อนในการดำเนินงานไปสู่จุดหมายที่ต้องการขององค์การในอนาคต เป็นการค้นหากลยุทธ์โดยหลักการ มองกว้าง เห็นไกล รอบคอบ ตามหลักการกำหนดกลยุทธ์ในแบบต่าง ๆ เช่น กลยุทธ์ที่มุ่งหา S สูง – O สูง, S สูง – T ต่ำ,
W ต่ำ – O สูง และ W ต่ำ – T ต่ำ กลยุทธ์เชิงรุก กลยุทธ์เพื่อความเจริญก้าวหน้า (Growth Strategy) กลยุทธ์แบบคงที่ (Stability Strategy) กลยุทธ์แบบตัดทอนป้องกัน (Retrenchment and Defense Strategy) กลยุทธ์การตั้งราคา-การขาย กลยุทธ์การแข่งขัน กลยุทธ์การเป็นผู้นำ กลยุทธ์ในการสร้างความแตกต่างของผลิตภัณฑ์และบริการ กลยุทธ์การจำกัดขอบเขตปฏิบัติการ เป็นต้น

อ้างอิง http://www.vcharkarn.com/vcafe/133036

Unknown กล่าวว่า...

นางสาวผกามาศ มุขศรี รหัส 5210125401001 เอกการจัดการทั่วไป

การวิเคราะห์ สภาพแวดล้อมภายในและภายนอกองค์กร (SWOT)
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในและภายนอกองค์กรทางการศึกษา เพื่อศึกษาแนวโน้มการพัฒนาการศึกษาให้มีความเหมาะสม สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนท้องถิ่น โดยแนวโน้มการพัฒนาการศึกษาขององค์กรทางการศึกษาต้องมีความเป็นไปได้ในการพัฒนาตามเงื่อนไขข้อจำกัดและองค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อการจัดการศึกษา ซึ่งได้แก่ นโยบายในการจัดการศึกษาของหน่วยงานต้นสังกัด รูปแบบการบริหารงานขององค์กรทางการศึกษา และปัจจัยทีเกี่ยวข้องอื่น
การศึกษาความต้องการของชุมชน เป็นการสำรวจความต้องการขององค์กรชุมชนที่องค์กรทางการศึกษาตั้งอยู่ความต้องการของผู้ปกครองนักเรียนและความต้องการของชาวบ้านในชุมชนสรุปมาเป็นแนวทางในการดำเนินงานเพื่อตอบสนองความต้องการของชุมชนการวิเคราะห์สภาพขององค์กรทางการศึกษาเพื่อกำหนดแนวทางในการพัฒนาการศึกษา จะต้องวิเคราะห์ผลกระทบที่เกิดจากปัจจัยต่าง ๆ ด้วย เรียกว่า SWOT Analysis ซึ่งได้แก่

Strengths - จุดแข็งหรือข้อได้เปรียบ
Weaknesses - จุดอ่อนหรือข้อเสียเปรียบ
Opportunities - โอกาสที่จะดำเนินการได้
Threats - อุปสรรค หรือปัจจัยที่คุกคามการดำเนินงานขององค์การ
การวิเคราะห์ SWOT อาจเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เป็นการทำ Situation Analysis

เป็นการวิเคราะห์สภาพองค์การ หรือหน่วยงานในปัจจุบัน เพื่อค้นหาจุดแข็ง จุดเด่น จุดด้อย หรือสิ่งที่อาจเป็นปัญหาสำคัญในการดำเนินงานสู่สภาพที่ต้องการในอนาคต การวิเคราะห์สภาพการณ์(Situation Analysis) วิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน เพื่อให้รู้ตนเอง (รู้เรา) รู้จักสภาพแวดล้อม (รู้เขา) ชัดเจน และวิเคราะห์โอกาส-อุปสรรค เพื่อประโยชน์ในการกำหนดวิสัยทัศน์ หรือเลือกกลยุทธ์ระดับองค์กรที่เหมาะสมต่อไป ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับการทำ Strategic Decision การทำ Strategic Decision เป็นการตัดสินใจเลือกกลยุทธ์หรือวิธีดำเนินงานที่สำคัญ ที่เป็นหลักในการปฏิบัติไปสู่สภาพที่ต้องการในอนาคตขององค์การ เพื่อการบรรลุ Vision หรือสภาพในอนาคตตามที่ได้กำหนดไว้ ซึ่งเป็นการเลือกโดยคำนึงถึงสภาพในอนาคต โดยคำนึงถึงจุดที่ต้องการ โดยรู้สถานการณ์ เห็นถึงโอกาสและรู้จุดดี จุดเด่นตลอดจนจุดอ่อนในการดำเนินงานไปสู่จุดหมายที่ต้องการขององค์การในอนาคต เป็นการค้นหากลยุทธ์โดยหลักการ มองกว้าง เห็นไกล รอบคอบ ตามหลักการกำหนดกลยุทธ์ในแบบต่าง ๆ เช่น กลยุทธ์ที่มุ่งหา S สูง – O สูง, S สูง – T ต่ำ,
W ต่ำ – O สูง และ W ต่ำ – T ต่ำ กลยุทธ์เชิงรุก กลยุทธ์เพื่อความเจริญก้าวหน้า (Growth Strategy) กลยุทธ์แบบคงที่ (Stability Strategy) กลยุทธ์แบบตัดทอนป้องกัน (Retrenchment and Defense Strategy) กลยุทธ์การตั้งราคา-การขาย กลยุทธ์การแข่งขัน กลยุทธ์การเป็นผู้นำ กลยุทธ์ในการสร้างความแตกต่างของผลิตภัณฑ์และบริการ กลยุทธ์การจำกัดขอบเขตปฏิบัติการ เป็นต้น


อ้างอิง http://www.vcharkarn.com/vcafe/133036

Unknown กล่าวว่า...

นางสาวผกามาศ มุขศรี รหัส 5210125401001 เอกการจัดการทั่วไป

การวิเคราะห์ สภาพแวดล้อมภายในและภายนอกองค์กร (SWOT)
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในและภายนอกองค์กรทางการศึกษา เพื่อศึกษาแนวโน้มการพัฒนาการศึกษาให้มีความเหมาะสม สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนท้องถิ่น โดยแนวโน้มการพัฒนาการศึกษาขององค์กรทางการศึกษาต้องมีความเป็นไปได้ในการพัฒนาตามเงื่อนไขข้อจำกัดและองค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อการจัดการศึกษา ซึ่งได้แก่ นโยบายในการจัดการศึกษาของหน่วยงานต้นสังกัด รูปแบบการบริหารงานขององค์กรทางการศึกษา และปัจจัยทีเกี่ยวข้องอื่น
การศึกษาความต้องการของชุมชน เป็นการสำรวจความต้องการขององค์กรชุมชนที่องค์กรทางการศึกษาตั้งอยู่ความต้องการของผู้ปกครองนักเรียนและความต้องการของชาวบ้านในชุมชนสรุปมาเป็นแนวทางในการดำเนินงานเพื่อตอบสนองความต้องการของชุมชนการวิเคราะห์สภาพขององค์กรทางการศึกษาเพื่อกำหนดแนวทางในการพัฒนาการศึกษา จะต้องวิเคราะห์ผลกระทบที่เกิดจากปัจจัยต่าง ๆ ด้วย เรียกว่า SWOT Analysis ซึ่งได้แก่

Strengths - จุดแข็งหรือข้อได้เปรียบ
Weaknesses - จุดอ่อนหรือข้อเสียเปรียบ
Opportunities - โอกาสที่จะดำเนินการได้
Threats - อุปสรรค หรือปัจจัยที่คุกคามการดำเนินงานขององค์การ
การวิเคราะห์ SWOT อาจเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เป็นการทำ Situation Analysis

เป็นการวิเคราะห์สภาพองค์การ หรือหน่วยงานในปัจจุบัน เพื่อค้นหาจุดแข็ง จุดเด่น จุดด้อย หรือสิ่งที่อาจเป็นปัญหาสำคัญในการดำเนินงานสู่สภาพที่ต้องการในอนาคต การวิเคราะห์สภาพการณ์(Situation Analysis) วิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน เพื่อให้รู้ตนเอง (รู้เรา) รู้จักสภาพแวดล้อม (รู้เขา) ชัดเจน และวิเคราะห์โอกาส-อุปสรรค เพื่อประโยชน์ในการกำหนดวิสัยทัศน์ หรือเลือกกลยุทธ์ระดับองค์กรที่เหมาะสมต่อไป ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับการทำ Strategic Decision การทำ Strategic Decision เป็นการตัดสินใจเลือกกลยุทธ์หรือวิธีดำเนินงานที่สำคัญ ที่เป็นหลักในการปฏิบัติไปสู่สภาพที่ต้องการในอนาคตขององค์การ เพื่อการบรรลุ Vision หรือสภาพในอนาคตตามที่ได้กำหนดไว้ ซึ่งเป็นการเลือกโดยคำนึงถึงสภาพในอนาคต โดยคำนึงถึงจุดที่ต้องการ โดยรู้สถานการณ์ เห็นถึงโอกาสและรู้จุดดี จุดเด่นตลอดจนจุดอ่อนในการดำเนินงานไปสู่จุดหมายที่ต้องการขององค์การในอนาคต เป็นการค้นหากลยุทธ์โดยหลักการ มองกว้าง เห็นไกล รอบคอบ ตามหลักการกำหนดกลยุทธ์ในแบบต่าง ๆ เช่น กลยุทธ์ที่มุ่งหา S สูง – O สูง, S สูง – T ต่ำ,
W ต่ำ – O สูง และ W ต่ำ – T ต่ำ กลยุทธ์เชิงรุก กลยุทธ์เพื่อความเจริญก้าวหน้า (Growth Strategy) กลยุทธ์แบบคงที่ (Stability Strategy) กลยุทธ์แบบตัดทอนป้องกัน (Retrenchment and Defense Strategy) กลยุทธ์การตั้งราคา-การขาย กลยุทธ์การแข่งขัน กลยุทธ์การเป็นผู้นำ กลยุทธ์ในการสร้างความแตกต่างของผลิตภัณฑ์และบริการ กลยุทธ์การจำกัดขอบเขตปฏิบัติการ เป็นต้น

อ้างอิง http://www.vcharkarn.com/vcafe/133036

Unknown กล่าวว่า...

นางสาวผกามาศ มุขศรี รหัส 5210125401001 เอกการจัดการทั่วไป

การวิเคราะห์ สภาพแวดล้อมภายในและภายนอกองค์กร (SWOT)
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในและภายนอกองค์กรทางการศึกษา เพื่อศึกษาแนวโน้มการพัฒนาการศึกษาให้มีความเหมาะสม สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนท้องถิ่น โดยแนวโน้มการพัฒนาการศึกษาขององค์กรทางการศึกษาต้องมีความเป็นไปได้ในการพัฒนาตามเงื่อนไขข้อจำกัดและองค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อการจัดการศึกษา ซึ่งได้แก่ นโยบายในการจัดการศึกษาของหน่วยงานต้นสังกัด รูปแบบการบริหารงานขององค์กรทางการศึกษา และปัจจัยทีเกี่ยวข้องอื่น
การศึกษาความต้องการของชุมชน เป็นการสำรวจความต้องการขององค์กรชุมชนที่องค์กรทางการศึกษาตั้งอยู่ความต้องการของผู้ปกครองนักเรียนและความต้องการของชาวบ้านในชุมชนสรุปมาเป็นแนวทางในการดำเนินงานเพื่อตอบสนองความต้องการของชุมชนการวิเคราะห์สภาพขององค์กรทางการศึกษาเพื่อกำหนดแนวทางในการพัฒนาการศึกษา จะต้องวิเคราะห์ผลกระทบที่เกิดจากปัจจัยต่าง ๆ ด้วย เรียกว่า SWOT Analysis ซึ่งได้แก่

Strengths - จุดแข็งหรือข้อได้เปรียบ
Weaknesses - จุดอ่อนหรือข้อเสียเปรียบ
Opportunities - โอกาสที่จะดำเนินการได้
Threats - อุปสรรค หรือปัจจัยที่คุกคามการดำเนินงานขององค์การ
การวิเคราะห์ SWOT อาจเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เป็นการทำ Situation Analysis

เป็นการวิเคราะห์สภาพองค์การ หรือหน่วยงานในปัจจุบัน เพื่อค้นหาจุดแข็ง จุดเด่น จุดด้อย หรือสิ่งที่อาจเป็นปัญหาสำคัญในการดำเนินงานสู่สภาพที่ต้องการในอนาคต การวิเคราะห์สภาพการณ์(Situation Analysis) วิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน เพื่อให้รู้ตนเอง (รู้เรา) รู้จักสภาพแวดล้อม (รู้เขา) ชัดเจน และวิเคราะห์โอกาส-อุปสรรค เพื่อประโยชน์ในการกำหนดวิสัยทัศน์ หรือเลือกกลยุทธ์ระดับองค์กรที่เหมาะสมต่อไป ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับการทำ Strategic Decision การทำ Strategic Decision เป็นการตัดสินใจเลือกกลยุทธ์หรือวิธีดำเนินงานที่สำคัญ ที่เป็นหลักในการปฏิบัติไปสู่สภาพที่ต้องการในอนาคตขององค์การ เพื่อการบรรลุ Vision หรือสภาพในอนาคตตามที่ได้กำหนดไว้ ซึ่งเป็นการเลือกโดยคำนึงถึงสภาพในอนาคต โดยคำนึงถึงจุดที่ต้องการ โดยรู้สถานการณ์ เห็นถึงโอกาสและรู้จุดดี จุดเด่นตลอดจนจุดอ่อนในการดำเนินงานไปสู่จุดหมายที่ต้องการขององค์การในอนาคต เป็นการค้นหากลยุทธ์โดยหลักการ มองกว้าง เห็นไกล รอบคอบ ตามหลักการกำหนดกลยุทธ์ในแบบต่าง ๆ เช่น กลยุทธ์ที่มุ่งหา S สูง – O สูง, S สูง – T ต่ำ,
W ต่ำ – O สูง และ W ต่ำ – T ต่ำ กลยุทธ์เชิงรุก กลยุทธ์เพื่อความเจริญก้าวหน้า (Growth Strategy) กลยุทธ์แบบคงที่ (Stability Strategy) กลยุทธ์แบบตัดทอนป้องกัน (Retrenchment and Defense Strategy) กลยุทธ์การตั้งราคา-การขาย กลยุทธ์การแข่งขัน กลยุทธ์การเป็นผู้นำ กลยุทธ์ในการสร้างความแตกต่างของผลิตภัณฑ์และบริการ กลยุทธ์การจำกัดขอบเขตปฏิบัติการ เป็นต้น


อ้างอิง http://www.vcharkarn.com/vcafe/133036

Unknown กล่าวว่า...

น.ส.ผกามาศ มุขศรี รหัส 5210125401001 เอกการจัดการทั่วไป

การวิเคราะห์ สภาพแวดล้อมภายในและภายนอกองค์กร (SWOT)
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในและภายนอกองค์กรทางการศึกษา เพื่อศึกษาแนวโน้มการพัฒนาการศึกษาให้มีความเหมาะสม สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนท้องถิ่น โดยแนวโน้มการพัฒนาการศึกษาขององค์กรทางการศึกษาต้องมีความเป็นไปได้ในการพัฒนาตามเงื่อนไขข้อจำกัดและองค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อการจัดการศึกษา ซึ่งได้แก่ นโยบายในการจัดการศึกษาของหน่วยงานต้นสังกัด รูปแบบการบริหารงานขององค์กรทางการศึกษา และปัจจัยทีเกี่ยวข้องอื่น
การศึกษาความต้องการของชุมชน เป็นการสำรวจความต้องการขององค์กรชุมชนที่องค์กรทางการศึกษาตั้งอยู่ความต้องการของผู้ปกครองนักเรียนและความต้องการของชาวบ้านในชุมชนสรุปมาเป็นแนวทางในการดำเนินงานเพื่อตอบสนองความต้องการของชุมชนการวิเคราะห์สภาพขององค์กรทางการศึกษาเพื่อกำหนดแนวทางในการพัฒนาการศึกษา จะต้องวิเคราะห์ผลกระทบที่เกิดจากปัจจัยต่าง ๆ ด้วย เรียกว่า SWOT Analysis ซึ่งได้แก่

Strengths - จุดแข็งหรือข้อได้เปรียบ
Weaknesses - จุดอ่อนหรือข้อเสียเปรียบ
Opportunities - โอกาสที่จะดำเนินการได้
Threats - อุปสรรค หรือปัจจัยที่คุกคามการดำเนินงานขององค์การ
การวิเคราะห์ SWOT อาจเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เป็นการทำ Situation Analysis

เป็นการวิเคราะห์สภาพองค์การ หรือหน่วยงานในปัจจุบัน เพื่อค้นหาจุดแข็ง จุดเด่น จุดด้อย หรือสิ่งที่อาจเป็นปัญหาสำคัญในการดำเนินงานสู่สภาพที่ต้องการในอนาคต การวิเคราะห์สภาพการณ์(Situation Analysis) วิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน เพื่อให้รู้ตนเอง (รู้เรา) รู้จักสภาพแวดล้อม (รู้เขา) ชัดเจน และวิเคราะห์โอกาส-อุปสรรค เพื่อประโยชน์ในการกำหนดวิสัยทัศน์ หรือเลือกกลยุทธ์ระดับองค์กรที่เหมาะสมต่อไป ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับการทำ Strategic Decision การทำ Strategic Decision เป็นการตัดสินใจเลือกกลยุทธ์หรือวิธีดำเนินงานที่สำคัญ ที่เป็นหลักในการปฏิบัติไปสู่สภาพที่ต้องการในอนาคตขององค์การ เพื่อการบรรลุ Vision หรือสภาพในอนาคตตามที่ได้กำหนดไว้ ซึ่งเป็นการเลือกโดยคำนึงถึงสภาพในอนาคต โดยคำนึงถึงจุดที่ต้องการ โดยรู้สถานการณ์ เห็นถึงโอกาสและรู้จุดดี จุดเด่นตลอดจนจุดอ่อนในการดำเนินงานไปสู่จุดหมายที่ต้องการขององค์การในอนาคต เป็นการค้นหากลยุทธ์โดยหลักการ มองกว้าง เห็นไกล รอบคอบ ตามหลักการกำหนดกลยุทธ์ในแบบต่าง ๆ เช่น กลยุทธ์ที่มุ่งหา S สูง – O สูง, S สูง – T ต่ำ,
W ต่ำ – O สูง และ W ต่ำ – T ต่ำ กลยุทธ์เชิงรุก กลยุทธ์เพื่อความเจริญก้าวหน้า (Growth Strategy) กลยุทธ์แบบคงที่ (Stability Strategy) กลยุทธ์แบบตัดทอนป้องกัน (Retrenchment and Defense Strategy) กลยุทธ์การตั้งราคา-การขาย กลยุทธ์การแข่งขัน กลยุทธ์การเป็นผู้นำ กลยุทธ์ในการสร้างความแตกต่างของผลิตภัณฑ์และบริการ กลยุทธ์การจำกัดขอบเขตปฏิบัติการ เป็นต้น

อ้างอิง http://www.vcharkarn.com/vcafe/133036

Unknown กล่าวว่า...

นางสาวผกามาศ มุขศรี รหัส 5210125401001 เอกการจัดการทั่วไป

การวิเคราะห์ สภาพแวดล้อมภายในและภายนอกองค์กร (SWOT)
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในและภายนอกองค์กรทางการศึกษา เพื่อศึกษาแนวโน้มการพัฒนาการศึกษาให้มีความเหมาะสม สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนท้องถิ่น โดยแนวโน้มการพัฒนาการศึกษาขององค์กรทางการศึกษาต้องมีความเป็นไปได้ในการพัฒนาตามเงื่อนไขข้อจำกัดและองค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อการจัดการศึกษา ซึ่งได้แก่ นโยบายในการจัดการศึกษาของหน่วยงานต้นสังกัด รูปแบบการบริหารงานขององค์กรทางการศึกษา และปัจจัยทีเกี่ยวข้องอื่น
การศึกษาความต้องการของชุมชน เป็นการสำรวจความต้องการขององค์กรชุมชนที่องค์กรทางการศึกษาตั้งอยู่ความต้องการของผู้ปกครองนักเรียนและความต้องการของชาวบ้านในชุมชนสรุปมาเป็นแนวทางในการดำเนินงานเพื่อตอบสนองความต้องการของชุมชนการวิเคราะห์สภาพขององค์กรทางการศึกษาเพื่อกำหนดแนวทางในการพัฒนาการศึกษา จะต้องวิเคราะห์ผลกระทบที่เกิดจากปัจจัยต่าง ๆ ด้วย เรียกว่า SWOT Analysis ซึ่งได้แก่

Strengths - จุดแข็งหรือข้อได้เปรียบ
Weaknesses - จุดอ่อนหรือข้อเสียเปรียบ
Opportunities - โอกาสที่จะดำเนินการได้
Threats - อุปสรรค หรือปัจจัยที่คุกคามการดำเนินงานขององค์การ
การวิเคราะห์ SWOT อาจเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เป็นการทำ Situation Analysis

เป็นการวิเคราะห์สภาพองค์การ หรือหน่วยงานในปัจจุบัน เพื่อค้นหาจุดแข็ง จุดเด่น จุดด้อย หรือสิ่งที่อาจเป็นปัญหาสำคัญในการดำเนินงานสู่สภาพที่ต้องการในอนาคต การวิเคราะห์สภาพการณ์(Situation Analysis) วิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน เพื่อให้รู้ตนเอง (รู้เรา) รู้จักสภาพแวดล้อม (รู้เขา) ชัดเจน และวิเคราะห์โอกาส-อุปสรรค เพื่อประโยชน์ในการกำหนดวิสัยทัศน์ หรือเลือกกลยุทธ์ระดับองค์กรที่เหมาะสมต่อไป ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับการทำ Strategic Decision การทำ Strategic Decision เป็นการตัดสินใจเลือกกลยุทธ์หรือวิธีดำเนินงานที่สำคัญ ที่เป็นหลักในการปฏิบัติไปสู่สภาพที่ต้องการในอนาคตขององค์การ เพื่อการบรรลุ Vision หรือสภาพในอนาคตตามที่ได้กำหนดไว้ ซึ่งเป็นการเลือกโดยคำนึงถึงสภาพในอนาคต โดยคำนึงถึงจุดที่ต้องการ โดยรู้สถานการณ์ เห็นถึงโอกาสและรู้จุดดี จุดเด่นตลอดจนจุดอ่อนในการดำเนินงานไปสู่จุดหมายที่ต้องการขององค์การในอนาคต เป็นการค้นหากลยุทธ์โดยหลักการ มองกว้าง เห็นไกล รอบคอบ ตามหลักการกำหนดกลยุทธ์ในแบบต่าง ๆ เช่น กลยุทธ์ที่มุ่งหา S สูง – O สูง, S สูง – T ต่ำ,
W ต่ำ – O สูง และ W ต่ำ – T ต่ำ กลยุทธ์เชิงรุก กลยุทธ์เพื่อความเจริญก้าวหน้า (Growth Strategy) กลยุทธ์แบบคงที่ (Stability Strategy) กลยุทธ์แบบตัดทอนป้องกัน (Retrenchment and Defense Strategy) กลยุทธ์การตั้งราคา-การขาย กลยุทธ์การแข่งขัน กลยุทธ์การเป็นผู้นำ กลยุทธ์ในการสร้างความแตกต่างของผลิตภัณฑ์และบริการ กลยุทธ์การจำกัดขอบเขตปฏิบัติการ เป็นต้น

อ้างอิง http://www.vcharkarn.com/vcafe/133036

Unknown กล่าวว่า...

นางสาวผกามาศ มุขศรี รหัส 5210125401001 เอกการจัดการทั่วไป

การวิเคราะห์ สภาพแวดล้อมภายในและภายนอกองค์กร (SWOT)
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในและภายนอกองค์กรทางการศึกษา เพื่อศึกษาแนวโน้มการพัฒนาการศึกษาให้มีความเหมาะสม สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนท้องถิ่น โดยแนวโน้มการพัฒนาการศึกษาขององค์กรทางการศึกษาต้องมีความเป็นไปได้ในการพัฒนาตามเงื่อนไขข้อจำกัดและองค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อการจัดการศึกษา ซึ่งได้แก่ นโยบายในการจัดการศึกษาของหน่วยงานต้นสังกัด รูปแบบการบริหารงานขององค์กรทางการศึกษา และปัจจัยทีเกี่ยวข้องอื่น
การศึกษาความต้องการของชุมชน เป็นการสำรวจความต้องการขององค์กรชุมชนที่องค์กรทางการศึกษาตั้งอยู่ความต้องการของผู้ปกครองนักเรียนและความต้องการของชาวบ้านในชุมชนสรุปมาเป็นแนวทางในการดำเนินงานเพื่อตอบสนองความต้องการของชุมชนการวิเคราะห์สภาพขององค์กรทางการศึกษาเพื่อกำหนดแนวทางในการพัฒนาการศึกษา จะต้องวิเคราะห์ผลกระทบที่เกิดจากปัจจัยต่าง ๆ ด้วย เรียกว่า SWOT Analysis ซึ่งได้แก่

Strengths - จุดแข็งหรือข้อได้เปรียบ
Weaknesses - จุดอ่อนหรือข้อเสียเปรียบ
Opportunities - โอกาสที่จะดำเนินการได้
Threats - อุปสรรค หรือปัจจัยที่คุกคามการดำเนินงานขององค์การ
การวิเคราะห์ SWOT อาจเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เป็นการทำ Situation Analysis

เป็นการวิเคราะห์สภาพองค์การ หรือหน่วยงานในปัจจุบัน เพื่อค้นหาจุดแข็ง จุดเด่น จุดด้อย หรือสิ่งที่อาจเป็นปัญหาสำคัญในการดำเนินงานสู่สภาพที่ต้องการในอนาคต การวิเคราะห์สภาพการณ์(Situation Analysis) วิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน เพื่อให้รู้ตนเอง (รู้เรา) รู้จักสภาพแวดล้อม (รู้เขา) ชัดเจน และวิเคราะห์โอกาส-อุปสรรค เพื่อประโยชน์ในการกำหนดวิสัยทัศน์ หรือเลือกกลยุทธ์ระดับองค์กรที่เหมาะสมต่อไป ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับการทำ Strategic Decision การทำ Strategic Decision เป็นการตัดสินใจเลือกกลยุทธ์หรือวิธีดำเนินงานที่สำคัญ ที่เป็นหลักในการปฏิบัติไปสู่สภาพที่ต้องการในอนาคตขององค์การ เพื่อการบรรลุ Vision หรือสภาพในอนาคตตามที่ได้กำหนดไว้ ซึ่งเป็นการเลือกโดยคำนึงถึงสภาพในอนาคต โดยคำนึงถึงจุดที่ต้องการ โดยรู้สถานการณ์ เห็นถึงโอกาสและรู้จุดดี จุดเด่นตลอดจนจุดอ่อนในการดำเนินงานไปสู่จุดหมายที่ต้องการขององค์การในอนาคต เป็นการค้นหากลยุทธ์โดยหลักการ มองกว้าง เห็นไกล รอบคอบ ตามหลักการกำหนดกลยุทธ์ในแบบต่าง ๆ เช่น กลยุทธ์ที่มุ่งหา S สูง – O สูง, S สูง – T ต่ำ,
W ต่ำ – O สูง และ W ต่ำ – T ต่ำ กลยุทธ์เชิงรุก กลยุทธ์เพื่อความเจริญก้าวหน้า (Growth Strategy) กลยุทธ์แบบคงที่ (Stability Strategy) กลยุทธ์แบบตัดทอนป้องกัน (Retrenchment and Defense Strategy) กลยุทธ์การตั้งราคา-การขาย กลยุทธ์การแข่งขัน กลยุทธ์การเป็นผู้นำ กลยุทธ์ในการสร้างความแตกต่างของผลิตภัณฑ์และบริการ กลยุทธ์การจำกัดขอบเขตปฏิบัติการ เป็นต้น

อ้างอิง http://www.vcharkarn.com/vcafe/133036

Unknown กล่าวว่า...

สภาพแวดล้อมภายใน (Internal Enyironment)
สภาพแวดล้อมภายในเป็นแรงผลักดันภายในธุรกิจที่มีอิทธิพลต่อการจัดการและการดำเนินงานของธุรกิจ ซึ่งในการจัดการผู้บริหารต้องทำการศึกษาปัจจัยเหล่านี้เพื่อประเมินจุดแข็ง(Strengths)และจุดอ่อน(Weakness) ขององค์กรด้วย
1. โครงสร้างองค์กร(Organization)เป็นระบบที่เป็นทางการขององค์กร ความสัมพันธ์ระหว่างกฎ ระเบียบ งาน และอำนาจเพื่อที่จะควบคุมบุคลากรในองค์กรให้ทำงานร่วมกันและมีการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้บรรลุวัตถุประสงค์
2. กลยุทธ์ของกิจการ(Business Strategy)ในกระบวนการเปลี่ยนแปลงภายในยังประกอบไปด้วย การเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์ขององค์กรซึ่งกลยุทธ์จะเป็นตัวกำหนดทิศทางการทำงานเพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์และพันธกิจขององค์กร ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงในเรื่องของกลยุทธ์จะเป็นส่วนที่สำคัญที่ทำให้ทิศทางการดำเนินงานขององค์กรเปลี่ยนแปลงต่อกระแสโลกในปัจจุบันการพัฒนาและออกผลิตภัณฑ์ใหม่ เพื่อความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า
3. บุคลากรและความสามารถของบุคลากร (Human Resource and Ability) กิจการสามารถปรับตัวต่อสภาพแวดล้อมได้ดีเมื่อพนักงานได้รับการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาทักษะความรู้ความสามารถและสามารถพัฒนาความสามารถในการปฏิบัติงานของบุคลากรในองค์กรและทำให้ผลปฏิบัติงานมีคุณภาพดีขึ้นเพื่อให้สามารถทำการผลิตได้มีประสิทธิผลมากที่สุด
4. วัฒนธรรมองค์กร(Organization Culture) คือ ทุกสิ่งทุกอย่างที่บุคคลในองค์กรหนึ่งปฏิบัติเหมือนๆกันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะองค์กรนั้น เกิดจากการเชื่องโยง ผสมผสานกันระหว่างเจตคติของบุคคล ค่านิยม ความเชื่อ ปทัสถานและการกระทำของบุคคลของกลุ่มขององค์กร นโยบายและวัตถุประสงค์ขององค์กร เทคโนโลยีสภาวะของกลุ่มความสำเร็จขององค์กร จนเป็นที่ยอมรับของบุคคลในองค์กร

Unknown กล่าวว่า...

สภาพแวดล้อมภายใน (Internal Enyironment)
สภาพแวดล้อมภายในเป็นแรงผลักดันภายในธุรกิจที่มีอิทธิพลต่อการจัดการและการดำเนินงานของธุรกิจ ซึ่งในการจัดการผู้บริหารต้องทำการศึกษาปัจจัยเหล่านี้เพื่อประเมินจุดแข็ง(Strengths)และจุดอ่อน(Weakness) ขององค์กรด้วย
1. โครงสร้างองค์กร(Organization)เป็นระบบที่เป็นทางการขององค์กร ความสัมพันธ์ระหว่างกฎ ระเบียบ งาน และอำนาจเพื่อที่จะควบคุมบุคลากรในองค์กรให้ทำงานร่วมกันและมีการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้บรรลุวัตถุประสงค์
2. กลยุทธ์ของกิจการ(Business Strategy)ในกระบวนการเปลี่ยนแปลงภายในยังประกอบไปด้วย การเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์ขององค์กรซึ่งกลยุทธ์จะเป็นตัวกำหนดทิศทางการทำงานเพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์และพันธกิจขององค์กร ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงในเรื่องของกลยุทธ์จะเป็นส่วนที่สำคัญที่ทำให้ทิศทางการดำเนินงานขององค์กรเปลี่ยนแปลงต่อกระแสโลกในปัจจุบันการพัฒนาและออกผลิตภัณฑ์ใหม่ เพื่อความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า
3. บุคลากรและความสามารถของบุคลากร (Human Resource and Ability) กิจการสามารถปรับตัวต่อสภาพแวดล้อมได้ดีเมื่อพนักงานได้รับการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาทักษะความรู้ความสามารถและสามารถพัฒนาความสามารถในการปฏิบัติงานของบุคลากรในองค์กรและทำให้ผลปฏิบัติงานมีคุณภาพดีขึ้นเพื่อให้สามารถทำการผลิตได้มีประสิทธิผลมากที่สุด
4. วัฒนธรรมองค์กร(Organization Culture) คือ ทุกสิ่งทุกอย่างที่บุคคลในองค์กรหนึ่งปฏิบัติเหมือนๆกันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะองค์กรนั้น เกิดจากการเชื่องโยง ผสมผสานกันระหว่างเจตคติของบุคคล ค่านิยม ความเชื่อ ปทัสถานและการกระทำของบุคคลของกลุ่มขององค์กร นโยบายและวัตถุประสงค์ขององค์กร เทคโนโลยีสภาวะของกลุ่มความสำเร็จขององค์กร จนเป็นที่ยอมรับของบุคคลในองค์กร
*ผู้โพส นางสาว กันตินันท์ บุญลิลา 5130125401235*

Unknown กล่าวว่า...

นางสาวผกามาศ มุขศรี รหัส 5210125401001 เอกการจัดการทั่วไป

การวิเคราะห์ สภาพแวดล้อมภายในและภายนอกองค์กร (SWOT)
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในและภายนอกองค์กรทางการศึกษา เพื่อศึกษา

แนวโน้มการพัฒนาการศึกษาให้มีความเหมาะสม สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนท้องถิ่น โดยแนวโน้มการพัฒนาการศึกษาขององค์กรทางการศึกษาต้องมีความเป็นไปได้ในการพัฒนาตามเงื่อนไขข้อจำกัดและองค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อการจัดการศึกษา ซึ่งได้แก่ นโยบายในการจัดการศึกษาของหน่วยงานต้นสังกัด รูปแบบการบริหารงานขององค์กรทางการศึกษา และปัจจัยทีเกี่ยวข้องอื่น

การศึกษาความต้องการของชุมชน เป็นการสำรวจความต้องการขององค์กรชุมชนที่องค์กรทางการศึกษาตั้งอยู่ความต้องการของผู้ปกครองนักเรียน
และความต้องการของชาวบ้านในชุมชนสรุปมาเป็นแนวทางในการดำเนินงานเพื่อตอบสนองความต้องการของชุมชนการวิเคราะห์สภาพขององค์กรทางการศึกษาเพื่อกำหนด
แนวทางในการพัฒนาการศึกษา จะต้องวิเคราะห์ผลกระทบที่เกิดจากปัจจัยต่าง ๆ ด้วย เรียกว่า SWOT Analysis ซึ่งได้แก่

Strengths - จุดแข็งหรือข้อได้เปรียบ
Weaknesses - จุดอ่อนหรือข้อเสียเปรียบ
Opportunities - โอกาสที่จะดำเนินการได้
Threats - อุปสรรค หรือปัจจัยที่คุกคามการดำเนินงานขององค์การ
การวิเคราะห์ SWOT อาจเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เป็นการทำ Situation Analysis

เป็นการวิเคราะห์สภาพองค์การ หรือหน่วยงานในปัจจุบัน เพื่อค้นหาจุดแข็ง จุดเด่น จุดด้อย หรือสิ่งที่อาจเป็นปัญหาสำคัญในการดำเนินงานสู่สภาพที่ต้องการในอนาคต การวิเคราะห์สภาพการณ์

(Situation Analysis) วิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน เพื่อให้รู้ตนเอง (รู้เรา) รู้จักสภาพแวดล้อม (รู้เขา) ชัดเจน และวิเคราะห์โอกาส-อุปสรรค เพื่อประโยชน์ในการกำหนดวิสัยทัศน์ หรือเลือกกลยุทธ์ระดับองค์กรที่เหมาะสมต่อไป ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับการทำ Strategic Decision การทำ Strategic Decision เป็นการตัดสินใจเลือกกลยุทธ์หรือวิธีดำเนินงานที่สำคัญ ที่เป็นหลักในการปฏิบัติไปสู่สภาพที่ต้องการในอนาคตขององค์การ เพื่อการบรรลุ Vision หรือสภาพในอนาคตตามที่ได้กำหนดไว้ ซึ่งเป็นการเลือกโดยคำนึงถึงสภาพในอนาคต โดยคำนึงถึงจุดที่ต้องการ โดยรู้สถานการณ์ เห็นถึงโอกาสและรู้จุดดี จุดเด่นตลอดจนจุดอ่อนในการดำเนินงานไปสู่จุดหมายที่ต้องการขององค์การในอนาคต เป็นการค้นหากลยุทธ์โดยหลักการ มองกว้าง เห็นไกล รอบคอบ ตามหลักการกำหนดกลยุทธ์ในแบบต่าง ๆ เช่น กลยุทธ์ที่มุ่งหา S สูง – O สูง, S สูง – T ต่ำ,

W ต่ำ – O สูง และ W ต่ำ – T ต่ำ กลยุทธ์เชิงรุก กลยุทธ์เพื่อความเจริญก้าวหน้า (Growth Strategy) กลยุทธ์แบบคงที่ (Stability Strategy) กลยุทธ์แบบตัดทอนป้องกัน (Retrenchment and Defense Strategy) กลยุทธ์การตั้งราคา-การขาย กลยุทธ์การแข่งขัน กลยุทธ์การเป็นผู้นำ กลยุทธ์ในการสร้างความแตกต่างของผลิตภัณฑ์และบริการ กลยุทธ์การจำกัดขอบเขตปฏิบัติการ เป็นต้น

อ้างอิง http://www.vcharkarn.com/vcafe/133036

Unknown กล่าวว่า...

แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับการจัดการ
การจัดการ (Management) เป้นกระบวนการของการวางแผน การอำนวยการและการควบคุม เพื่อให้งานนี้บรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้
ประการแรก คือ การวางแผน การตั้งนโยบายของกลุ่ม วางวัตถุประสงค์และ โครงการสำหนับอนาคต
ประการที่สอง คือ การจัดมอบหมายความรับผิดชอบเฉพาะอย่างให้กับแผนกต่างๆและระดับต่างๆทั้งทีมทำงาน การใช้ทรัพยากรที่มีอย่างมีประสิทธิภาพ
ประการที่สาม คือ การนำทางและเป็นผู้ชี้แนะแนวทางให้ เกิดความสะดวกในการตรวจสอบการปฏิบัติ และโดยการควบคุมนี้ผู้จัดสามารถ พบว่า ได้มีการทำอะไรบ้างเพื่อตอบสนองต่อวัตถุประสงค์และการมอบหมายงาน

อ้างอิง สมพงษ์ เกษมสิน.(2514).การบริหาร.กรุงเทพมหานคร:สำนักพิมพ์เกษมสุวรรณ


*นายภาสัณห์ ใจดี 5210125401024 เอกการจัดการทั่วไป ปี4

Unknown กล่าวว่า...

แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับการจัดการ
การจัดการ (Management) เป้นกระบวนการของการวางแผน การอำนวยการและการควบคุม เพื่อให้งานนี้บรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้
ประการแรก คือ การวางแผน การตั้งนโยบายของกลุ่ม วางวัตถุประสงค์และ โครงการสำหนับอนาคต
ประการที่สอง คือ การจัดมอบหมายความรับผิดชอบเฉพาะอย่างให้กับแผนกต่างๆและระดับต่างๆทั้งทีมทำงาน การใช้ทรัพยากรที่มีอย่างมีประสิทธิภาพ
ประการที่สาม คือ การนำทางและเป็นผู้ชี้แนะแนวทางให้ เกิดความสะดวกในการตรวจสอบการปฏิบัติ และโดยการควบคุมนี้ผู้จัดสามารถ พบว่า ได้มีการทำอะไรบ้างเพื่อตอบสนองต่อวัตถุประสงค์และการมอบหมายงาน

อ้างอิง สมพงษ์ เกษมสิน.(2514).การบริหาร.กรุงเทพมหานคร:สำนักพิมพ์เกษมสุวรรณ


*นายภาสัณห์ ใจดี 5210125401024 เอกการจัดการทั่วไป ปี4

Unknown กล่าวว่า...

แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับการจัดการ
การจัดการ (Management) เป้นกระบวนการของการวางแผน การอำนวยการและการควบคุม เพื่อให้งานนี้บรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้
ประการแรก คือ การวางแผน การตั้งนโยบายของกลุ่ม วางวัตถุประสงค์และ โครงการสำหนับอนาคต
ประการที่สอง คือ การจัดมอบหมายความรับผิดชอบเฉพาะอย่างให้กับแผนกต่างๆและระดับต่างๆทั้งทีมทำงาน การใช้ทรัพยากรที่มีอย่างมีประสิทธิภาพ
ประการที่สาม คือ การนำทางและเป็นผู้ชี้แนะแนวทางให้ เกิดความสะดวกในการตรวจสอบการปฏิบัติ และโดยการควบคุมนี้ผู้จัดสามารถ พบว่า ได้มีการทำอะไรบ้างเพื่อตอบสนองต่อวัตถุประสงค์และการมอบหมายงาน

อ้างอิง สมพงษ์ เกษมสิน.(2514).การบริหาร.กรุงเทพมหานคร:สำนักพิมพ์เกษมสุวรรณ


*นายภาสัณห์ ใจดี 5210125401024 เอกการจัดการทั่วไป ปี4

Unknown กล่าวว่า...

แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับการจัดการ
การจัดการ (Management) เป้นกระบวนการของการวางแผน การอำนวยการและการควบคุม เพื่อให้งานนี้บรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้
ประการแรก คือ การวางแผน การตั้งนโยบายของกลุ่ม วางวัตถุประสงค์และ โครงการสำหนับอนาคต
ประการที่สอง คือ การจัดมอบหมายความรับผิดชอบเฉพาะอย่างให้กับแผนกต่างๆและระดับต่างๆทั้งทีมทำงาน การใช้ทรัพยากรที่มีอย่างมีประสิทธิภาพ
ประการที่สาม คือ การนำทางและเป็นผู้ชี้แนะแนวทางให้ เกิดความสะดวกในการตรวจสอบการปฏิบัติ และโดยการควบคุมนี้ผู้จัดสามารถ พบว่า ได้มีการทำอะไรบ้างเพื่อตอบสนองต่อวัตถุประสงค์และการมอบหมายงาน

อ้างอิง สมพงษ์ เกษมสิน.(2514).การบริหาร.กรุงเทพมหานคร:สำนักพิมพ์เกษมสุวรรณ


*นายภาสัณห์ ใจดี 5210125401024 เอกการจัดการทั่วไป ปี4

Unknown กล่าวว่า...

แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับการจัดการ
การจัดการ (Management) เป้นกระบวนการของการวางแผน การอำนวยการและการควบคุม เพื่อให้งานนี้บรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้
ประการแรก คือ การวางแผน การตั้งนโยบายของกลุ่ม วางวัตถุประสงค์และ โครงการสำหนับอนาคต
ประการที่สอง คือ การจัดมอบหมายความรับผิดชอบเฉพาะอย่างให้กับแผนกต่างๆและระดับต่างๆทั้งทีมทำงาน การใช้ทรัพยากรที่มีอย่างมีประสิทธิภาพ
ประการที่สาม คือ การนำทางและเป็นผู้ชี้แนะแนวทางให้ เกิดความสะดวกในการตรวจสอบการปฏิบัติ และโดยการควบคุมนี้ผู้จัดสามารถ พบว่า ได้มีการทำอะไรบ้างเพื่อตอบสนองต่อวัตถุประสงค์และการมอบหมายงาน

อ้างอิง สมพงษ์ เกษมสิน.(2514).การบริหาร.กรุงเทพมหานคร:สำนักพิมพ์เกษมสุวรรณ


*นายภาสัณห์ ใจดี 5210125401024 เอกการจัดการทั่วไป ปี4

วาว วิทวัชร กล่าวว่า...

การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน ( Internal Environment Analysis)
ผู้บริหารไม่สามารถบรรลุความสำเร็จภายในการบริหารเชิงกลยุทธ์ได้เลย ถ้าปราศจากความเข้าใจปัจจัยเชิงกลยุทธ์อย่างลึกซึ้งภายในองค์การ ปัจจัยเชิงกลยุทธ์เหล่านี้คือ จุดแข็งและจุดอ่อนภายใน ที่อาจจะเป็นข้อจำกัดหรือสนับสนุนกลยุทธ์ขององค์การได้ ปัจจัยเชิงกลยุทธ์ของสภาพแวดล้อมภายในของบริษัทคือ
1. โครงสร้าง
- โครงสร้างขององค์การจะแสดงให้เห็นถึงถึงการติดต่อสื่อสาร อำนาจหน้าที่ กระแสของงาน การจัดระเบียบบทบาทและความสัมพันธ์ของพนักงานอย่างเป็นทางการ โดยมี 5 โครงสร้างดังนี้
1.1 โครงสร้างแบบเรียบง่าย
1.2 โครงสร้างแบบหน้าที่
1.3 โครงสร้างแบบหน่วยธุรกิจ
1.4 โครงสร้างแบบแมทริค
1.5 โครงสร้างแบบบริษัทในเครือ
2. วัฒนธรรม
- วัฒนธรรมของบริษัทคือ ความเชื่อ ความคาดหวัง และค่านิยมร่วมกันของบรรดาพนักงานภายในบริษัท และจะถูกถ่ายทอดจากพนักงานยุคหนึ่งไปยังพนักงานอีกยุคหนึ่ง โดยวัฒนธรรมขององค์การจะมีหน้าที่สำคัญหลายอย่างภายในบริษัท คือ
2.1 วัฒนธรรมของบริษัทจะถ่ายทอดเอกลักษณ์แก่พนักงาน
2.2 วัฒนธรรมของบริษัทจะสร้างความผูกพันของพนักงานต่อบางสิ่งมากกว่าตัวพวกเขาเอง
2.3 วัฒนธรรมของบริษัทจะสร้างความมั่นคงแก่บริษัทในฐานะที่เป็นระบบสังคมหนึ่ง
2.4 วัฒนธรรมของบริษัทจะเป็นกรอบการอ้างอิงแก่พนักงานเพื่อการดำเนินงานของบริษัท และใช้เป็นแนวทางของพฤติกรรมที่เหมาะสม
3. ทรัพยากร
วิลเลียม นิวแมน ได้ชี้ให้เห็นว่าแนวทางการพัฒนากลยุทธ์ของบริษัทที่ดีที่สุดคือ การเลือกบทบาทหรือช่องทางที่เหมาะสมกับการแข่งขันและทรัพยากรของบริษัท โดยทั่วไปทรัพยากรของบริษัทจะถูกพิจารณาในแง่ของทรัพยากรการเงิน กายภาพ มนุษย์ ข้อมูล และเทคโนโลยีของบริษัท

วาว วิทวัชร กล่าวว่า...

นายวิทวัชร ยัสพันธุ์ รหัส 5210125401074 การจัดการทั่วไป ปี 4

อ้างอิงจาก สมยศ นาวีการ. (2535). การบริหารเชิงกลยุทธ์และนโยบายธุรกิจ. กรุงเทพฯ : กรุงธนพัฒนา.

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

การวิเคราะห์สวอต (อังกฤษ: SWOT Analysis) หรือในชื่อไทยชื่ออื่นเช่น การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมและศักยภาพ หรือ การวิเคราะห์สภาวะแวดล้อม เป็นเครื่องมือในการประเมินสถานการณ์ สำหรับองค์กร หรือโครงการ ซึ่งช่วยผู้บริหารกำหนดจุดแข็งและจุดอ่อนจากสภาพแวดล้อมภายใน โอกาสและอุปสรรคจากสภาพแวดล้อมภายนอก ตลอดจนผลกระทบที่มีศักยภาพจากปัจจัยเหล่านี้ต่อการทำงานขององค์กร
เทคนิคนี้ อัลเบิร์ต ฮัมฟรี (Albert Humphrey) ได้ชื่อว่าเป็นผู้เริ่มแนวคิดนี้โดยนำเทคนิคนี้มาแสดงในงานสัมมนาที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด
[แก้]ความหมาย SWOT

คำว่า "สวอต" หรือ "SWOT" นั้นมาจากตัวย่อภาษาอังกฤษ 4 ตัว ได้แก่
S มาจาก Strengths หมายถึง จุดเด่นหรือจุดแข็ง ซึ่งเป็นผลมาจากปัจจัยภายใน เป็นข้อดีที่เกิดจากสภาพแวดล้อมภายในบริษัท เช่น จุดแข็งด้านส่วนประสม จุดแข็งด้านการเงิน จุดแข็งด้านการผลิต จุดแข็งด้านทรัพยากรบุคคล บริษัทจะต้องใช้ประโยชน์จากจุดแข็งในการกำหนดกลยุทธ์การตลาด
W มาจาก Weaknesses หมายถึง จุดด้อยหรือจุดอ่อน ซึ่งเป็นผลมาจากปัจจัยภายใน เป็นปัญหาหรือข้อบกพร่องที่เกิดจากสภาพแวดล้อมภายในต่างๆ ของบริษัท ซึ่งบริษัทจะต้องหาวิธีในการแก้ปัญหานั้น
O มาจาก Opportunities หมายถึง โอกาส ซึ่งเกิดจากปัจจัยภายนอก เป็นผลจากการที่สภาพแวดล้อมภายนอกของบริษัทเอื้อประโยชน์หรือส่งเสริมการดำเนินงานขององค์กร โอกาสแตกต่างจากจุดแข็งตรงที่โอกาสนั้นเป็นผลมาจากสภาพแวดล้อมภายนอก แต่จุดแข็งนั้นเป็นผลมาจากสภาพแวดล้อมภายใน นักการตลาดที่ดีจะต้องเสาะแสวงหาโอกาสอยู่เสมอ และใช้ประโยชน์จากโอกาสนั้น
T มาจาก Threats หมายถึง อุปสรรค ซึ่งเกิดจากปัจจัยภายนอก เป็นข้อจำกัดที่เกิดจากสภาพแวดล้อมภายนอก ซึ่งธุรกิจจำเป็นต้องปรับกลยุทธ์การตลาดให้สอดคล้องและพยายามขจัดอุปสรรคต่างๆ ที่เกิดขึ้นให้ได้จริง
[แก้]อ้างอิง

Armstrong.M Management Processes and Functions, 1996, London CIPD ISBN 0-85292-438-0

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ความหมายของ SWOT Analysis
SWOT Analysis เป็นการวิเคราะห์สภาพองค์กร หรือหน่วยงานในปัจจุบัน เพื่อค้นหาจุดแข็ง จุดเด่น จุดด้อย หรือสิ่งที่อาจเป็นปัญหาสำคัญในการดำเนินงานสู่สภาพที่ต้องการในอนาคต

การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในองค์กร
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในองค์กรจะเกี่ยวกับการวิเคราะห์พิจารณาทรัพยากร และความ สามารถภายในองค์กรทุกๆด้าน เพื่อที่จะระบุจุดแข็งและจุดอ่อนขององค์กร แหล่งที่มาเบื้องต้นของข้อมูลเพื่อการประเมินสภาพแวดล้อมภายใน คือระบบข้อมูลเพื่อการบริหารที่ครอบคลุมทุกด้าน ทั้งในด้านโครงสร้าง ระบบ ระเบียบ วิธีปฎิบัติงาน บรรยากาศในการทำงานและทรัพยากรในการบริหาร คน เงิน วัสดุ การจัดการ รวมถึงการพิจารณาผลการดำเนินงานที่ผ่านมาขององค์กรเพื่อที่จะเข้าใจสถานการณ์และแผนกลยุทธ์ก่อนหน้านี้ด้วย
Strength Analysis
การวิเคราะห์จุดแข็ง หรือ Strength Analysis เป็นการศึกษาตนเองจากมุมมองภายในและภายนอกว่า จุดแข็งของเราในเชิงเปรียบเทียบกับคู่แข่งนั้น เป็นเช่นไร หากจุดแข็งดังกล่าวเป็นสิ่งที่ทุกคนมีก็ไม่ถือว่าเป็นจุดแข็ง แต่เป็นความจำเป็น (Necessity) สำหรับการทำตลาด เช่น การผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ได้รับฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 อาจจะเคยเป็นจุดแข็งในอดีต แต่ปัจจุบันได้กลายเป็นสิ่งจำเป็นที่แบรนด์ใดไม่มีไม่ได้ ดังนั้นแล้วการมีฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 จึงไม่ถือเป็นจุดแข็งของบริษัท และแบรนด์

Weakness Analysis
เช่นเดียวกับการวิเคราะห์จุดแข็ง การวิเคราะห์จุดอ่อน หรือ Weakness Analysis เป็นการศึกษาตนเอง จากมุมมองภายในและภายนอกว่า จุดอ่อนของเราในเชิงเปรียบเทียบกับคู่แข่งเป็นเช่นไร หากจุดอ่อนดังกล่าว เป็นสิ่งที่ทุกคนมีก็ไม่ถือว่าเป็นจุดอ่อนที่มีนัยสำคัญ แต่ในขณะเดียวกันถ้าเราสามารถแก้ไขจุดอ่อนเหล่านั้นได้ ก็จะเปรียบเสมือนว่าเรามีจุดแข็งเพิ่มขึ้นมา
โดยทั่วไปแล้ว หลายๆบริษัทสามารถวิเคราะห์จุดอ่อนของตนเองได้ดีเพราะเหตุผลหลายประการ อาทิ มองไม่เห็นว่าประเด็นต่างๆ นั้นเป็นจุดอ่อนได้อย่างไร หรืออาจจะเป็นเพราะการนำเสนอจุดอ่อนจะเป็นการตำหนิฝ่ายที่เกี่ยวข้อง การวิเคราะห์จุดอ่อนที่ดีจึงควรอาศัยการช่วยเหลือจากบุคคลภายนอก หรือคณะทำงานที่มีความมุ่งมั่นที่จะค้นหาความจริงที่เป็นจุดอ่อนของกิจการ


1. การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกองค์กร
ภายใต้การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกองค์กรนั้น สามารถค้นหาโอกาสและอุปสรรคทางการดำเนินงานขององค์กรที่ได้รับผลกระทบ จากสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจทั้งใน และระหว่างประเทศที่เกี่ยวกับการดำเนินงานขององค์กร เช่น อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ นโยบาย การเงิน การงบประมาณ สภาพแวดล้อมทางสังคม เช่น ระดับการศึกษาและอัตรารู้หนังสือของประชาชน การตั้งถิ่นฐานและการอพยพของ ประชาชน ลักษณะชุมชน ขนบธรรมเนียมประเพณี ค่านิยม ความเชื่อและวัฒนธรรม สภาพแวดล้อมทางการเมือง เช่น พระราชบัญญัติ พระราชกฤษฎีกา มติคณะรัฐมนตรี และสภาพแวดล้อมทางเทคโนโลยี หมายถึง กรรมวิธีใหม่ๆและพัฒนาการทางด้านเครื่องมือ อุปกรณ์ที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตและให้บริการ

Opportunity Analysis
การวิเคราะห์โอกาส หรือ Opportunity Analysis เป็นการศึกษาว่าโอกาสที่มีอยู่เชิงการตลาดนั้นคืออะไร โดยทั่วไปแล้วโอกาสทางการตลาดต่างๆ มักเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีในระดับกว้างและระดับลึก, การเปลี่ยนแปลงนโยบายต่างๆของรัฐบาล, การเปลี่ยนแปลงลักษณะทางสังคมศาสตร์การเปลี่ยนแปลงลักษณะทางประชากรศาสตร์ หรือการเปลี่ยนแปลงในวิถีการดำรงชีวิตของผู้บริโภค

Threat Analysis
ในทางตรงข้ามกับการวิเคราะห์โอกาสของบริษัท การวิเคราะห์อุปสรรค หรือ Threat Analysis เป็นการศึกษาว่าปัจจัยภายนอกที่มีผลต่อการเติบโตทางธุรกิจของบริษัทคืออะไร ปัจจัยเหล่านั้นมักเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีในระดับกว้างและระดับลึก,การเปลี่ยนแปลงนโยบายต่างๆของรัฐบาล,การเปลี่ยนแปลงลักษณะทางสังคมศาสตร์, การเปลี่ยนแปลงลักษณะทางประชากรศาสตร์ หรือ การเปลี่ยนแปลงในวิถีการดำรงชีวิตของผู้บริโภคโดยทั่วไป

นางรัตนาพรรณ รหัส 5130125401250

Unknown กล่าวว่า...

การประเมินสภาพแวดล้อมภายในองค์กรการประเมินสภาพแวดล้อมภายในองค์กร จะเกี่ยวกับการวิเคราะห์และพิจารณาทรัพยากรและความสามารถภายในองค์กร ทุกๆ ด้าน เพื่อที่จะระบุจุดแข็งและจุดอ่อนขององค์กรแหล่งที่มาเบื้องต้นของข้อมูลเพื่อการประเมินสภาพแวดล้อมภายใน คือระบบข้อมูลเพื่อ การบริหารที่ครอบคลุมทุกด้าน ทั้งในด้านโครงสร้าง ระบบ ระเบียบ วิธีปฎิบัติงาน บรรยากาศในการทำงานและทรัพยากรในการบริหาร(คน เงิน วัสดุ การจัดการ รวมถึงการพิจารณาผลการดำเนินงานที่ผ่านมาขององค์กรเพื่อที่จะเข้าใจสถานการณ์และผลกลยุทธ์ก่อนหน้านี้ด้วย - จุดแข็งขององค์กร (S-Strengths) เป็นการวิเคราะห์ปัจจัยภายในจากมุมมองของผู้ที่อยู่ภายในองค์กรนั้นเองว่าปัจจัยใดภายในองค์กรที่เป็นข้อได้เปรียบหรือจุดเด่นขององค์กรที่องค์กรควรนำมาใช้ในการพัฒนาองค์กรได้ และควรดำรงไว้เพื่อการ เสริมสร้างความเข็มแข็งขององค์กร - จุดอ่อนขององค์กร (W-Weanesses) เป็นการวิเคราะห์ ปัจจัยภายในจากมุมมองของผู้ที่อยู่ภายในจากมุมมอง
ของผู้ที่อยู่ภายในองค์กรนั้น ๆ เองว่าปัจจัยภายในองค์กรที่เป็นจุดด้อย ข้อเสียเปรียบขององค์กรที่ควรปรับปรุงให้ดีขึ้นหรือขจัดให้หมดไป อันจะเป็นประโยชน์ต่อองค์กร
การประเมินสภาพแวดล้อมภายนอกภายใต้การประเมินสภาพแวดล้อมภายนอกองค์กรนั้น สามารถค้นหาโอกาสและอุปสรรคทางการดำเนินงานขององค์กรที่ได้รับผลกระทบจากสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจทั้งในและระหว่างประเทศที่เกี่ยวกับการดำเนินงานขององค์กร เช่น อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ นโยบาย การเงิน การงบประมาณ สภาพแวดล้อมทางสังคม เช่น ระดับการศึกษาและอัตรารู้หนังสือของประชาชน การตั้งถิ่นฐานและการอพยพของ ประชาชน ลักษณะชุมชน ขนบธรรมเนียมประเพณี ค่านิยม ความเชื่อและวัฒนธรรม สภาพแวดล้อมทางการเมือง เช่น พระราชบัญญัติ พระราชกฤษฎีกา มติคณะรัฐมนตรี และสภาพแวดล้อมทางเทคโนโลยี หมายถึง กรรมวิธีใหม่ๆและพัฒนาการทางด้านเครื่องมือ อุปกรณ์ที่จะช่วยเพิ่ม
ประสิทธิภาพในการผลิตและให้บริการ - โอกาสทางสภาพแวดล้อม (O-Opportunities) เป็นการวิเคราะห์ว่าปัจจัยภายนอกองค์กร ปัจจัยใดที่สามารถส่งผล กระทบประโยชน์ ทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อการดำเนินการขององค์กรในระดับมหาภาค และองค์กรสามารถฉกฉวยข้อดีเหล่านี้มาเสริมสร้างให้ หน่วยงานเข็มแข็งขึ้นได้ - อุปสรรคทางสภาพแวดล้อม (T-Threats) เป็นการวิเคราะห์ว่าปัจจัยภายนอกองค์กรปัจจัยใดที่สามารถส่งผล กระทบในระดับมหภาคในทางที่จะก่อให้เกิดความเสียหายทั้งทางตรงและทางอ้อม ซึ่งองค์กรจำต้องหลีกเลี่ยง หรือปรับสภาพองค์กรให้มี ความแข็งแกร่งพร้อมที่จะเผชิญแรงกระทบดังกล่าวได้

อ้างอิงจากhttp://mba1ubu.igetweb.com/index.php?mo=3&art=300331
น.ส สมใจ มูลพงษ์ 5130125401226 การจัดการทั่วไปรุ่น 19 หมู่ 1

wilaiporn pueng กล่าวว่า...

การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก
สภาพแวดล้อมภายนอกไม่เคยอยู่กับที่ ตัวอย่างเช่น สภาพแวดล้อมภายนอกอาจจะเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงในบางเวลา ความรับผิดชอบของผู้บริหารคือการรุบุโอกาสในอนาคต และการกำหนดตำแหน่งของบริษัทเพื่อแสวงหาประโยชน์จากโอกาส แต่ผู้บริหารต้องเผชิญการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมภายนอกอย่างมากมายและเป็นไปไม่ได้ที่จะติดตามการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมภายนอกทุกอย่าง ดังนั้นผู้บริหารควรจะมุ่งเฉพาะปัจจัยทางสภาพแวดล้อมที่สำคัญเท่านั้น
ปัจจัยทางสภาพแวดล้อมที่สำคัญ คือเหตุการณ์ที่มีผลกกระทบในทางที่ดีหรือไม่ดีเป็นอย่างมากต่อการดำเนินงานของบริษัท ไม่ใช่ว่าอุตสาหกรรมทุกอย่างจะมีปัจจัยทางสภาพแวดล้อม ที่สำคัญอย่างเดียวกันตามที่เคยกล่าวถึงข้างต้น ตัวอย่างเช่น บริษัทผลิตสินค้าบนรากฐานของการใช้น้ำมัน ราคานำมันของตลาดโลกจะมีความสำคัญ แต่จะไม่มีความสำคัญต่อบริษัทผลิตรองเท้า ในกรณีของบริษัทข้ามชาติการเปลี่ยนแปลงจำทุนนิยมไปเป็นสังคมนิยมจะมีผลกระทบต่อบริษัทข้ามชาติที่อยู่ภายในประเทศนั้นเป็นอย่างมากการพยากรณ์โอกาสและอุปสรรคที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมภายนอกจะมีขั้นตอนดังนี้
1. การระบุปัจจัยทางสภาพแวดล้อมที่สำคัญ
2. การตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยทางสภาพแวดล้อมที่สำคัญ
3. การพยากรณ์ผลกระทบของปัจจัยทางสภาพแวดล้อมที่สำคัญต่อคุณลักษณะของอุตสาหกรรม
สรุปการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมภายนอกจะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและปัจจัยความสำเร็จที่สำคัญใหม่ๆ ขึ้นมาเพื่อการประเมินจุดแข็งและจุดอ่อนของบริษัท ผู้บริหารต้องประเมินทรัพยากรและความสามารถของบริษัท ตามปัจจัยความสำเร็จที่สำคัญใหม่ๆในตอนต่อไปเราจะพิจารณาถึงวิธีการระบุปัจจัยความสำเร็จที่สำคัญของธุรกิจ

นางสาววิไลพร ส่งเสริม รหัส 5210125401043 การจัดการทั่วไป ปี 4

อ้างอิงจาก สมยศ นาวีการ. (2538). การบริหารเชิงกลยุทธ์. กรุงเทพฯ : สามัคคีสาร.

wilaiporn pueng กล่าวว่า...

การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก
สภาพแวดล้อมภายนอกไม่เคยอยู่กับที่ ตัวอย่างเช่น สภาพแวดล้อมภายนอกอาจจะเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงในบางเวลา ความรับผิดชอบของผู้บริหารคือการรุบุโอกาสในอนาคต และการกำหนดตำแหน่งของบริษัทเพื่อแสวงหาประโยชน์จากโอกาส แต่ผู้บริหารต้องเผชิญการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมภายนอกอย่างมากมายและเป็นไปไม่ได้ที่จะติดตามการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมภายนอกทุกอย่าง ดังนั้นผู้บริหารควรจะมุ่งเฉพาะปัจจัยทางสภาพแวดล้อมที่สำคัญเท่านั้น
ปัจจัยทางสภาพแวดล้อมที่สำคัญ คือเหตุการณ์ที่มีผลกกระทบในทางที่ดีหรือไม่ดีเป็นอย่างมากต่อการดำเนินงานของบริษัท ไม่ใช่ว่าอุตสาหกรรมทุกอย่างจะมีปัจจัยทางสภาพแวดล้อม ที่สำคัญอย่างเดียวกันตามที่เคยกล่าวถึงข้างต้น ตัวอย่างเช่น บริษัทผลิตสินค้าบนรากฐานของการใช้น้ำมัน ราคานำมันของตลาดโลกจะมีความสำคัญ แต่จะไม่มีความสำคัญต่อบริษัทผลิตรองเท้า ในกรณีของบริษัทข้ามชาติการเปลี่ยนแปลงจำทุนนิยมไปเป็นสังคมนิยมจะมีผลกระทบต่อบริษัทข้ามชาติที่อยู่ภายในประเทศนั้นเป็นอย่างมากการพยากรณ์โอกาสและอุปสรรคที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมภายนอกจะมีขั้นตอนดังนี้
1. การระบุปัจจัยทางสภาพแวดล้อมที่สำคัญ
2. การตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยทางสภาพแวดล้อมที่สำคัญ
3. การพยากรณ์ผลกระทบของปัจจัยทางสภาพแวดล้อมที่สำคัญต่อคุณลักษณะของอุตสาหกรรม
สรุปการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมภายนอกจะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและปัจจัยความสำเร็จที่สำคัญใหม่ๆ ขึ้นมาเพื่อการประเมินจุดแข็งและจุดอ่อนของบริษัท ผู้บริหารต้องประเมินทรัพยากรและความสามารถของบริษัท ตามปัจจัยความสำเร็จที่สำคัญใหม่ๆในตอนต่อไปเราจะพิจารณาถึงวิธีการระบุปัจจัยความสำเร็จที่สำคัญของธุรกิจ

นางสาววิไลพร ส่งเสริม รหัส 5210125401043 การจัดการทั่วไป ปี 4

อ้างอิงจาก สมยศ นาวีการ. (2538). การบริหารเชิงกลยุทธ์. กรุงเทพฯ : สามัคคีสาร.

wilaiporn pueng กล่าวว่า...

การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก
สภาพแวดล้อมภายนอกไม่เคยอยู่กับที่ ตัวอย่างเช่น สภาพแวดล้อมภายนอกอาจจะเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงในบางเวลา ความรับผิดชอบของผู้บริหารคือการรุบุโอกาสในอนาคต และการกำหนดตำแหน่งของบริษัทเพื่อแสวงหาประโยชน์จากโอกาส แต่ผู้บริหารต้องเผชิญการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมภายนอกอย่างมากมายและเป็นไปไม่ได้ที่จะติดตามการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมภายนอกทุกอย่าง ดังนั้นผู้บริหารควรจะมุ่งเฉพาะปัจจัยทางสภาพแวดล้อมที่สำคัญเท่านั้น
ปัจจัยทางสภาพแวดล้อมที่สำคัญ คือเหตุการณ์ที่มีผลกกระทบในทางที่ดีหรือไม่ดีเป็นอย่างมากต่อการดำเนินงานของบริษัท ไม่ใช่ว่าอุตสาหกรรมทุกอย่างจะมีปัจจัยทางสภาพแวดล้อม ที่สำคัญอย่างเดียวกันตามที่เคยกล่าวถึงข้างต้น ตัวอย่างเช่น บริษัทผลิตสินค้าบนรากฐานของการใช้น้ำมัน ราคานำมันของตลาดโลกจะมีความสำคัญ แต่จะไม่มีความสำคัญต่อบริษัทผลิตรองเท้า ในกรณีของบริษัทข้ามชาติการเปลี่ยนแปลงจำทุนนิยมไปเป็นสังคมนิยมจะมีผลกระทบต่อบริษัทข้ามชาติที่อยู่ภายในประเทศนั้นเป็นอย่างมากการพยากรณ์โอกาสและอุปสรรคที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมภายนอกจะมีขั้นตอนดังนี้
1. การระบุปัจจัยทางสภาพแวดล้อมที่สำคัญ
2. การตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยทางสภาพแวดล้อมที่สำคัญ
3. การพยากรณ์ผลกระทบของปัจจัยทางสภาพแวดล้อมที่สำคัญต่อคุณลักษณะของอุตสาหกรรม
สรุปการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมภายนอกจะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและปัจจัยความสำเร็จที่สำคัญใหม่ๆ ขึ้นมาเพื่อการประเมินจุดแข็งและจุดอ่อนของบริษัท ผู้บริหารต้องประเมินทรัพยากรและความสามารถของบริษัท ตามปัจจัยความสำเร็จที่สำคัญใหม่ๆในตอนต่อไปเราจะพิจารณาถึงวิธีการระบุปัจจัยความสำเร็จที่สำคัญของธุรกิจ

นางสาววิไลพร ส่งเสริม รหัส 5210125401043 การจัดการทั่วไป ปี 4
อ้างอิงจาก สมยศ นาวีการ. (2538). การบริหารเชิงกลยุทธ์. กรุงเทพฯ : สามัคคีสาร.

Unknown กล่าวว่า...

การวิเคราะห์ สภาพแวดล้อมภายในและภายนอกองค์กร (SWOT)
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในและภายนอกองค์กรทางการศึกษา เพื่อศึกษา

แนวโน้มการพัฒนาการศึกษาให้มีความเหมาะสม สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนท้องถิ่น โดยแนวโน้มการพัฒนาการศึกษาขององค์กรทางการศึกษาต้องมีความเป็นไปได้ในการพัฒนาตามเงื่อนไขข้อจำกัดและองค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อการจัดการศึกษา ซึ่งได้แก่ นโยบายในการจัดการศึกษาของหน่วยงานต้นสังกัด รูปแบบการบริหารงานขององค์กรทางการศึกษา และปัจจัยทีเกี่ยวข้องอื่น

การศึกษาความต้องการของชุมชน เป็นการสำรวจความต้องการขององค์กรชุมชนที่องค์กรทางการศึกษาตั้งอยู่ความต้องการของผู้ปกครองนักเรียน
และความต้องการของชาวบ้านในชุมชนสรุปมาเป็นแนวทางในการดำเนินงานเพื่อตอบสนองความต้องการของชุมชนการวิเคราะห์สภาพขององค์กรทางการศึกษาเพื่อกำหนด
แนวทางในการพัฒนาการศึกษา จะต้องวิเคราะห์ผลกระทบที่เกิดจากปัจจัยต่าง ๆ ด้วย เรียกว่า SWOT Analysis ซึ่งได้แก่

Strengths - จุดแข็งหรือข้อได้เปรียบ
Weaknesses - จุดอ่อนหรือข้อเสียเปรียบ
Opportunities - โอกาสที่จะดำเนินการได้
Threats - อุปสรรค หรือปัจจัยที่คุกคามการดำเนินงานขององค์การ
การวิเคราะห์ SWOT อาจเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เป็นการทำ Situation Analysis

เป็นการวิเคราะห์สภาพองค์การ หรือหน่วยงานในปัจจุบัน เพื่อค้นหาจุดแข็ง จุดเด่น จุดด้อย หรือสิ่งที่อาจเป็นปัญหาสำคัญในการดำเนินงานสู่สภาพที่ต้องการในอนาคต การวิเคราะห์สภาพการณ์

(Situation Analysis) วิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน เพื่อให้รู้ตนเอง (รู้เรา) รู้จักสภาพแวดล้อม (รู้เขา) ชัดเจน และวิเคราะห์โอกาส-อุปสรรค เพื่อประโยชน์ในการกำหนดวิสัยทัศน์ หรือเลือกกลยุทธ์ระดับองค์กรที่เหมาะสมต่อไป ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับการทำ Strategic Decision การทำ Strategic Decision เป็นการตัดสินใจเลือกกลยุทธ์หรือวิธีดำเนินงานที่สำคัญ ที่เป็นหลักในการปฏิบัติไปสู่สภาพที่ต้องการในอนาคตขององค์การ เพื่อการบรรลุ Vision หรือสภาพในอนาคตตามที่ได้กำหนดไว้ ซึ่งเป็นการเลือกโดยคำนึงถึงสภาพในอนาคต โดยคำนึงถึงจุดที่ต้องการ โดยรู้สถานการณ์ เห็นถึงโอกาสและรู้จุดดี จุดเด่นตลอดจนจุดอ่อนในการดำเนินงานไปสู่จุดหมายที่ต้องการขององค์การในอนาคต เป็นการค้นหากลยุทธ์โดยหลักการ มองกว้าง เห็นไกล รอบคอบ ตามหลักการกำหนดกลยุทธ์ในแบบต่าง ๆ เช่น กลยุทธ์ที่มุ่งหา S สูง – O สูง, S สูง – T ต่ำ,

W ต่ำ – O สูง และ W ต่ำ – T ต่ำ กลยุทธ์เชิงรุก กลยุทธ์เพื่อความเจริญก้าวหน้า (Growth Strategy) กลยุทธ์แบบคงที่ (Stability Strategy) กลยุทธ์แบบตัดทอนป้องกัน (Retrenchment and Defense Strategy) กลยุทธ์การตั้งราคา-การขาย กลยุทธ์การแข่งขัน กลยุทธ์การเป็นผู้นำ กลยุทธ์ในการสร้างความแตกต่างของผลิตภัณฑ์และบริการ กลยุทธ์การจำกัดขอบเขตปฏิบัติการ เป็นต้น

อ้างอิง http://www.vcharkarn.com/vcafe/133036

น.ส.ผกามาศ มุขศรี รหัส 5210125401001 เอกการจัดการทั่วไป

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ผู้โพส: นางสาวนพมาศ พิณทมร รหัส 5210125401067 เอกการจัดการทั่วไป ปี 4
การวิเคราะห์ SWOT Analysis ความหมายของ SWOT Analysis เป็นการวิเคราะห์สภาพองค์การ หรือหน่วยงานในปัจจุบัน เพื่อค้นหาจุดแข็ง จุดเด่น จุดด้อย หรือสิ่งที่อาจเป็นปัญหาสำคัญในการดำเนินงานสู่สภาพที่ต้องการในอนาคตซึ่งแบ่งไว้คือ
SWOT เป็นตัวย่อที่มีความหมายดังนี้
1. Strengths - จุดแข็ง2. หรือข้อได้เปรียบ
3. Weaknesses - จุดอ่อนหรือข้อเสียเปรียบ
4. Opportunities - โอกาสที่จะดำเนินการได้
5. Threats - อุปสรรค ข้อจำกัด หรือปัจจัยที่คุกคามการดำเนินงาน
หลักการสำคัญของ SWOT ก็คือการวิเคราะห์โดยการสำรวจจากสภาพการณ์ 2 ด้าน คือ สภาพการณ์ภายในและสภาพการณ์ภายนอก ดังนั้นการวิเคราะห์ SWOT จึงเรียกได้ว่าเป็นการวิเคราะห์สภาพการณ์ (Situation Analysis) ซึ่งเป็นการวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน เพื่อให้รู้ตนเอง (รู้เรา) รู้จักสภาพแวดล้อม (รู้เขา) ชัดเจน และวิเคราะห์โอกาส-อุปสรรค การวิเคราะห์ปัจจัยต่าง ๆ ทั้งภายนอกและภายในองค์กร ซึ่งจะช่วยให้ผู้บริหารขององค์กรทราบถึงการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นภายนอกองค์กร ทั้งสิ่งที่ได้เกิดขึ้นแล้วและแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงในอนาคต รวมทั้งผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ที่มีต่อองค์กรธุรกิจ และจุดแข็ง จุดอ่อน และความสามารถด้านต่าง ๆ ที่องค์กรมีอยู่ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะเป็นประโยชน์อย่างมากต่อการกำหนดวิสัยทัศน์ การกำหนดกลยุทธ์และการดำเนินตามกลยุทธ์ของระดับองค์กรที่เหมาะสมต่อไป

ประโยชน์ของการวิเคราะห์ SWOT เป็นการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมต่าง ๆ ทั้งภายนอกและภายในองค์กรซึ่งปัจจัยเหล่านี้แต่ละอย่างจะช่วยให้เข้าใจได้ว่ามีอิทธิพลต่อผลการดำเนินงานขององค์กรอย่างไรจุดแข็งขององค์กรจะเป็นความสามารถภายในที่ถูกใช้ประโยชน์เพื่อการบรรลุเป้าหมาย ในขณะที่จุดอ่อนขององค์กรจะเป็นคุณลักษณะภายใน ที่อาจจะทำลายผลการดำเนินงาน โอกาสทางสภาพแวดล้อมจะเป็นสถานการณ์ที่ให้โอกาสเพื่อการบรรลุเป้าหมายองค์กรในทางกลับกันอุปสรรคทางสภาพแวดล้อมจะเป็นสถานการณ์ที่ขัดขวางการบรรลุเป้าหมายขององค์กร ผลจากการวิเคราะห์ SWOT นี้จะใช้เป็นแนวทางในการกำหนดวิสัยทัศน์ การกำหนดกลยุทธ์ เพื่อให้องค์กรเกิดการพัฒนาไปในทางที่เหมาะสม

ข้อพิจารณาในการวิเคราะห์ SWOT มีดังนี้
1. ควรวิเคราะห์แยกแยะควรทำอย่างลึกซึ้ง เพื่อให้ได้ปัจจัยที่มีความสำคัญจริง ๆ เป็นสาเหตุหลัก ๆ ของปัญหาที่แท้จริง กล่าวคือ เป็นปัจจัยที่มีประโยชน์ในการนำไปกำหนดเป็นนโยบาย ตลอดจนสามารถนำไปกำหนดกลยุทธ์ ที่จะทำให้องค์การ/ชุมชนบรรลุเป้าหมายที่เป็นผลลัพธ์ขั้นสุดท้าย (Result) ได้จริง
2. การกำหนดปัจจัยต่าง ๆ ไม่ควรกำหนดของเขตของความหมายของปัจจัยต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น จุดอ่อน (W) หรือ จุดแข็ง (S) หรือ โอกาส (O) หรือ อุปสรรค (T) ให้มีความหมายคาบเกี่ยวกัน จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องตัดสินใจ และชี้ชัดว่าปัจจัยที่กำหนดขึ้นมานั้นเป็นปัจจัยในกลุ่มใด ทั้งนี้เพราะปัจจัยที่อยู่ต่างกลุ่มกัน ก็ต้องสมควรที่จะนำไปกำหนดกลยุทธ์ที่ต่างกันออกไป

4. ข้อดี – ข้อเสีย ของการทำ SWOT Analysis
ข้อดี เทคนิคการวิเคราะห์ SWOT ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายในการวิเคราะห์สถานการณ์ต่างๆ ทางธุรกิจและการบริหารเชิงกลยุทธ์ เนื่องจากเป็นเทคนิคที่เข้าใจง่าย ไม่ซับซ้อน ให้ความสะดวกเป็นอย่างมากสำหรับผู้ที่นำ SWOT มาใช้ และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ด้านต่างๆ มากมาย เช่น - การตัดสินใจเลือกเมื่อมีทางเลือกหลายๆ ทาง - การกำหนดความสำคัญก่อนหลังของเหตุการณ์ - การบริหารความเปลี่ยนแปลงที่ต้องการให้เกิดขึ้น - การวิเคราะห์และแก้ปัญหาในการดำเนินการ - การวิเคราะห์โครงการเริ่มใหม่ - การเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้สูงขึ้น - การสร้างกระบวนการเรียนรู้ใหม่ ฯลฯ
ข้อเสีย ของการใช้ SWOT ก็มีอยู่ไม่น้อยเช่นกัน เมื่อเปรียบเทียบกับประโยชน์และความหลากหลายในการประยุกต์ใช้งาน เช่น- โอกาสผิดพลาดเกิดจาก คุณภาพของข้อมูลที่นำมาใช้วิเคราะห์ ทักษะ ประสบการณ์ และความเข้าใจในความรู้พื้นฐานของเทคนิค SWOT ของผู้วิเคราะห์- ต้องทบทวน SWOT เป็นระยะๆ เพื่อตรวจสอบสภาพว่า เหตุการณ์และปัจจัยต่างๆ ที่นำมาใช้เป็นข้อมูลพื้นฐาน ยังเหมือนเดิมหรือมีการเปลี่ยนแปลงไปแล้วหรือไม่

อ้างอิง: วัฒนา วงศ์เกียรติรัตน์และคณะ.การวางแผนกลยุทธ์. บริษัทอินโนกราฟฟิกส์ จำกัด, 2546.

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ผู้โพส: นางสาวนพมาศ พิณทมร รหัส 5210125401067 เอกการจัดการทั่วไป ปี 4
การวิเคราะห์ SWOT Analysis ความหมายของ SWOT Analysis เป็นการวิเคราะห์สภาพองค์การ หรือหน่วยงานในปัจจุบัน เพื่อค้นหาจุดแข็ง จุดเด่น จุดด้อย หรือสิ่งที่อาจเป็นปัญหาสำคัญในการดำเนินงานสู่สภาพที่ต้องการในอนาคตซึ่งแบ่งไว้คือ
SWOT เป็นตัวย่อที่มีความหมายดังนี้
1. Strengths - จุดแข็ง2. หรือข้อได้เปรียบ
3. Weaknesses - จุดอ่อนหรือข้อเสียเปรียบ
4. Opportunities - โอกาสที่จะดำเนินการได้
5. Threats - อุปสรรค ข้อจำกัด หรือปัจจัยที่คุกคามการดำเนินงาน
หลักการสำคัญของ SWOT ก็คือการวิเคราะห์โดยการสำรวจจากสภาพการณ์ 2 ด้าน คือ สภาพการณ์ภายในและสภาพการณ์ภายนอก ดังนั้นการวิเคราะห์ SWOT จึงเรียกได้ว่าเป็นการวิเคราะห์สภาพการณ์ (Situation Analysis) ซึ่งเป็นการวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน เพื่อให้รู้ตนเอง (รู้เรา) รู้จักสภาพแวดล้อม (รู้เขา) ชัดเจน และวิเคราะห์โอกาส-อุปสรรค การวิเคราะห์ปัจจัยต่าง ๆ ทั้งภายนอกและภายในองค์กร ซึ่งจะช่วยให้ผู้บริหารขององค์กรทราบถึงการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นภายนอกองค์กร ทั้งสิ่งที่ได้เกิดขึ้นแล้วและแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงในอนาคต รวมทั้งผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ที่มีต่อองค์กรธุรกิจ และจุดแข็ง จุดอ่อน และความสามารถด้านต่าง ๆ ที่องค์กรมีอยู่ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะเป็นประโยชน์อย่างมากต่อการกำหนดวิสัยทัศน์ การกำหนดกลยุทธ์และการดำเนินตามกลยุทธ์ของระดับองค์กรที่เหมาะสมต่อไป

ประโยชน์ของการวิเคราะห์ SWOT เป็นการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมต่าง ๆ ทั้งภายนอกและภายในองค์กรซึ่งปัจจัยเหล่านี้แต่ละอย่างจะช่วยให้เข้าใจได้ว่ามีอิทธิพลต่อผลการดำเนินงานขององค์กรอย่างไรจุดแข็งขององค์กรจะเป็นความสามารถภายในที่ถูกใช้ประโยชน์เพื่อการบรรลุเป้าหมาย ในขณะที่จุดอ่อนขององค์กรจะเป็นคุณลักษณะภายใน ที่อาจจะทำลายผลการดำเนินงาน โอกาสทางสภาพแวดล้อมจะเป็นสถานการณ์ที่ให้โอกาสเพื่อการบรรลุเป้าหมายองค์กรในทางกลับกันอุปสรรคทางสภาพแวดล้อมจะเป็นสถานการณ์ที่ขัดขวางการบรรลุเป้าหมายขององค์กร ผลจากการวิเคราะห์ SWOT นี้จะใช้เป็นแนวทางในการกำหนดวิสัยทัศน์ การกำหนดกลยุทธ์ เพื่อให้องค์กรเกิดการพัฒนาไปในทางที่เหมาะสม

4. ข้อดี – ข้อเสีย ของการทำ SWOT Analysis
ข้อดี เทคนิคการวิเคราะห์ SWOT ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายในการวิเคราะห์สถานการณ์ต่างๆ ทางธุรกิจและการบริหารเชิงกลยุทธ์ เนื่องจากเป็นเทคนิคที่เข้าใจง่าย ไม่ซับซ้อน ให้ความสะดวกเป็นอย่างมากสำหรับผู้ที่นำ SWOT มาใช้ และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ด้านต่างๆ มากมาย เช่น - การตัดสินใจเลือกเมื่อมีทางเลือกหลายๆ ทาง - การกำหนดความสำคัญก่อนหลังของเหตุการณ์ - การบริหารความเปลี่ยนแปลงที่ต้องการให้เกิดขึ้น - การวิเคราะห์และแก้ปัญหาในการดำเนินการ - การวิเคราะห์โครงการเริ่มใหม่ - การเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้สูงขึ้น - การสร้างกระบวนการเรียนรู้ใหม่ ฯลฯ
ข้อเสีย ของการใช้ SWOT ก็มีอยู่ไม่น้อยเช่นกัน เมื่อเปรียบเทียบกับประโยชน์และความหลากหลายในการประยุกต์ใช้งาน เช่น- โอกาสผิดพลาดเกิดจาก คุณภาพของข้อมูลที่นำมาใช้วิเคราะห์ ทักษะ ประสบการณ์ และความเข้าใจในความรู้พื้นฐานของเทคนิค SWOT ของผู้วิเคราะห์- ต้องทบทวน SWOT เป็นระยะๆ เพื่อตรวจสอบสภาพว่า เหตุการณ์และปัจจัยต่างๆ ที่นำมาใช้เป็นข้อมูลพื้นฐาน ยังเหมือนเดิมหรือมีการเปลี่ยนแปลงไปแล้วหรือไม่

อ้างอิง: วัฒนา วงศ์เกียรติรัตน์และคณะ.การวางแผนกลยุทธ์. บริษัทอินโนกราฟฟิกส์ จำกัด, 2546.

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ผู้โพส: นางสาวนพมาศ พิณทมร รหัส 5210125401067 เอกการจัดการทั่วไป ปี 4
การวิเคราะห์ SWOT Analysis ความหมายของ SWOT Analysis เป็นการวิเคราะห์สภาพองค์การ หรือหน่วยงานในปัจจุบัน เพื่อค้นหาจุดแข็ง จุดเด่น จุดด้อย หรือสิ่งที่อาจเป็นปัญหาสำคัญในการดำเนินงานสู่สภาพที่ต้องการในอนาคตซึ่งแบ่งไว้คือ
SWOT เป็นตัวย่อที่มีความหมายดังนี้
1. Strengths - จุดแข็ง2. หรือข้อได้เปรียบ
3. Weaknesses - จุดอ่อนหรือข้อเสียเปรียบ
4. Opportunities - โอกาสที่จะดำเนินการได้
5. Threats - อุปสรรค ข้อจำกัด หรือปัจจัยที่คุกคามการดำเนินงาน
หลักการสำคัญของ SWOT ก็คือการวิเคราะห์โดยการสำรวจจากสภาพการณ์ 2 ด้าน คือ สภาพการณ์ภายในและสภาพการณ์ภายนอก ดังนั้นการวิเคราะห์ SWOT จึงเรียกได้ว่าเป็นการวิเคราะห์สภาพการณ์ (Situation Analysis) ซึ่งเป็นการวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน เพื่อให้รู้ตนเอง (รู้เรา) รู้จักสภาพแวดล้อม (รู้เขา) ชัดเจน และวิเคราะห์โอกาส-อุปสรรค การวิเคราะห์ปัจจัยต่าง ๆ ทั้งภายนอกและภายในองค์กร ซึ่งจะช่วยให้ผู้บริหารขององค์กรทราบถึงการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นภายนอกองค์กร ทั้งสิ่งที่ได้เกิดขึ้นแล้วและแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงในอนาคต รวมทั้งผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ที่มีต่อองค์กรธุรกิจ และจุดแข็ง จุดอ่อน และความสามารถด้านต่าง ๆ ที่องค์กรมีอยู่ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะเป็นประโยชน์อย่างมากต่อการกำหนดวิสัยทัศน์ การกำหนดกลยุทธ์และการดำเนินตามกลยุทธ์ของระดับองค์กรที่เหมาะสมต่อไป

ประโยชน์ของการวิเคราะห์ SWOT เป็นการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมต่าง ๆ ทั้งภายนอกและภายในองค์กรซึ่งปัจจัยเหล่านี้แต่ละอย่างจะช่วยให้เข้าใจได้ว่ามีอิทธิพลต่อผลการดำเนินงานขององค์กรอย่างไรจุดแข็งขององค์กรจะเป็นความสามารถภายในที่ถูกใช้ประโยชน์เพื่อการบรรลุเป้าหมาย ในขณะที่จุดอ่อนขององค์กรจะเป็นคุณลักษณะภายใน ที่อาจจะทำลายผลการดำเนินงาน โอกาสทางสภาพแวดล้อมจะเป็นสถานการณ์ที่ให้โอกาสเพื่อการบรรลุเป้าหมายองค์กรในทางกลับกันอุปสรรคทางสภาพแวดล้อมจะเป็นสถานการณ์ที่ขัดขวางการบรรลุเป้าหมายขององค์กร ผลจากการวิเคราะห์ SWOT นี้จะใช้เป็นแนวทางในการกำหนดวิสัยทัศน์ การกำหนดกลยุทธ์ เพื่อให้องค์กรเกิดการพัฒนาไปในทางที่เหมาะสม

4. ข้อดี – ข้อเสีย ของการทำ SWOT Analysis
ข้อดี เทคนิคการวิเคราะห์ SWOT ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายในการวิเคราะห์สถานการณ์ต่างๆ ทางธุรกิจและการบริหารเชิงกลยุทธ์ เนื่องจากเป็นเทคนิคที่เข้าใจง่าย ไม่ซับซ้อน ให้ความสะดวกเป็นอย่างมากสำหรับผู้ที่นำ SWOT มาใช้ และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ด้านต่างๆ มากมาย เช่น - การตัดสินใจเลือกเมื่อมีทางเลือกหลายๆ ทาง - การกำหนดความสำคัญก่อนหลังของเหตุการณ์ - การบริหารความเปลี่ยนแปลงที่ต้องการให้เกิดขึ้น - การวิเคราะห์และแก้ปัญหาในการดำเนินการ - การวิเคราะห์โครงการเริ่มใหม่ - การเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้สูงขึ้น - การสร้างกระบวนการเรียนรู้ใหม่ ฯลฯ
ข้อเสีย ของการใช้ SWOT ก็มีอยู่ไม่น้อยเช่นกัน เมื่อเปรียบเทียบกับประโยชน์และความหลากหลายในการประยุกต์ใช้งาน เช่น- โอกาสผิดพลาดเกิดจาก คุณภาพของข้อมูลที่นำมาใช้วิเคราะห์ ทักษะ ประสบการณ์ และความเข้าใจในความรู้พื้นฐานของเทคนิค SWOT ของผู้วิเคราะห์- ต้องทบทวน SWOT เป็นระยะๆ เพื่อตรวจสอบสภาพว่า เหตุการณ์และปัจจัยต่างๆ ที่นำมาใช้เป็นข้อมูลพื้นฐาน ยังเหมือนเดิมหรือมีการเปลี่ยนแปลงไปแล้วหรือไม่

อ้างอิง: วัฒนา วงศ์เกียรติรัตน์และคณะ.การวางแผนกลยุทธ์. บริษัทอินโนกราฟฟิกส์ จำกัด, 2546.

ยัยตัวร้าย*My Coffee กล่าวว่า...

วิธีการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน
ผู้บริหารเชิงกลยุทธ์ควรจะระบุปัจจัยภายในบริษัทของพวกเขาที่อาจจะเป็นจุดแข็งและจุดอ่อนที่สำคัญปัจจัยเหล่านี้จะเป็นจุดแข็ง ถ้าพวกมันสร้างข้อได้เปรียบทางการแข่งขัน นี่คือบางสิ่งบางอย่างที่บริษัททำหรือมีศักยภาพที่จะทำได้ดี บางสิ่งบางอย่างที่บริษัททำได้ไม่ดีหรือไม่มีความสามารถจะทำทั้งที่คู่แข่งขันของพวกเขามีความสามารถนั้นภายในการประเมินความสำคัญของปัจจัยเหล่านี้ผู้บริหารควรจะมั่นใจว่าพวกมันคือปัจจัยเชิงกลยุทธ์ภายในหรือไม่-จุดแข็งและจุดอ่อนบางอย่างที่กำหนดอนาคตของบริษัท วิธีการอย่างหนึ่งคือ การเปรียบเทียบเครื่องวัดปัจจัยเหล่านี้กับเครื่องวัด
(1) ผลการดำเนินงานที่ผ่านมาของบริษัท
(2) คู่แข่งขันรายสำคัญของบริษัท
(3) อุตสาหกรรมโดยส่วนรวม
ถ้าปัจจัยเหล่านี้ (เช่น สถานการณ์ทางการเงินของบริษัท) แตกต่างอย่างมากจากที่ผ่านมาของบริษัทคู่แข่งขันรายสำคัญของบริษัท หรือค่าเฉลี่ยของอุตสาหกรรม ปัจจัยเหล่านี้น่าจะเป็นปัจจัยเชิงกลยุทธ์ และควรถูกพิจารณาภายในการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ ผู้บริหารสามารถวิเคราะห์ปัจจัยภายในได้ด้วยวิธีการต่อไปนี้ คือ กรอบข่าย 7-s การวิเคราะห์ PIMS การวิเคราะห์ลูกโซ่คุณค่า และการวิเคราะห์ตามหน้าที่
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมและอุตสาหกรรม
ก่อนที่ผู้บริหารเชิงกลยุทธ์จะเริ่มกลยุทธ์ของพวกเขาขึ้นมา พวกเขาจะต้องวิเคราะห์สภาพแวดล้อมเสียก่อน เพื่อการพิจารณาถึงโอกาส และ อุปสรรค การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมคือการตรวจสอบการประเมิน และการเผยแพร่ข้อมูลทางภาพแวดล้อมไปยังผู้บริหารภายในบริษัท บริษัทจะต้องตรวจสอบสภาพแวดล้อมอยู่เสมอ เพื่อการตรวจสอบปัจจัยเชิงกลยุทธ์ที่มีผลกระทบต่อความสำเร็จหรือความล้มเหลวของบริษัท
อ้างอิงจาก สมยศ นาวีการ.(2541). การบริหารเชิงกลยุทธ์และนโยบายธุรกิจ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์.ผู้จัดการ

*น.ส.อารยา อินทะสอน รหัส 5210125401039 เอกการจัดการทั่วไป ปี 4 *

Unknown กล่าวว่า...

นางสาว นัฐภรณ์ อยู่ดี รหัส5210125401068 การจัดการทั่วไป ปี4

การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในองค์กรธุรกิจ

สภาพแวดล้อมภายในองค์กรธุรกิจ เป็นปัจจัยที่เกิดขึ้นหรือมีอยู่ภายในองค์กรเอง ซึ่งปัจจัยต่างๆเหล่านี้องค์กรสามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางหรือรูปแบบที่ต้องการได้ตามความประสงค์หรืออาจเรียกได้ว่า "เป็นปัจจัยที่สามารถควบคุมได้" ปัจจัยของสภาพแวดล้อมภายในองค์กรที่สำคัญ คือ
กระบวนการห่วงโซ่คุณค่า คือกระบวนการที่องค์กรธุรกิจใช้ในการผลิตหรือดำเนินงานเพื่อส่งมอบสินค้าหรือบริการที่มีคุณค่าให้แก่ลูกค้า โดยอาศัยกิจกรรมต่างๆในกระบวนการหลัก เป็นกลไกสำคัญในการผลิตหรือดำเนินงาน และอาศัยกิจกรรมต่างๆในกระบวนการสนับสนุนเป็นกลไกในการเกื้อหนุน
การวิเคราะห์ความสามารถหลักขององค์กรมีประเด็นที่ควรพิจารณา คือ
-มีคุณค่าเพียงพอต่อการนำมาพัฒนาเป็นสินค้าหรือบริการที่สำคัญขององค์กรหรือช่วยสนับสนุนการดำเนินงานขององค์กรให้มีศักยภาพที่สูงขึ้น
-เป็นความสามารถขององค์กรที่ผู้อื่นไม่มี หรือไม่เท่าเทียม
-เป็นความสามารถที่คู่แข่งมิอาจลอกเลียนแบบได้ง่าย
-เป็นความสามารถที่หาสิ่งอื่นใดทดแทนได้ยาก
การวิเคราะห์ปัจจัยสร้างความสำเร็จของธุรกิจมีประเด็นที่ควร พิจารณา คือ
-ระดับคุณสมบัติและคุณภาพของสินค้าหรือบริการ
-การศึกษาและสำรวจระดับความพึงพอใจและความต้องการของลูกค้า
-การพัฒนาสินค้าหรือบริการตามให้ตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้า
ประโยชน์ของการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในคือ จะทำให้องค์กรรับทราบถึงแนวทางต่างๆที่จะต้องทำการปรับปรุงแก้ไขหรือพัฒนาทรัพยากรภายในองค์กร ให้มีความสอดคล้องต่อสถานการณ์ภายนอกที่เป็นอยู่

การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกองค์กรธุรกิจ
สภาพแวดล้อมภายนอกองค์กรธุรกิจ อาจหมายถึง ปัจจัยต่างๆที่เกิดขึ้นภายนอกองค์กร แล้วส่งผลกระทบต่อองค์กรทั้งในด้านที่เป็นคุณประโยชน์ และด้านที่เป็นโทษ ด้วยเหตุผลที่เป็นปัจจัยที่เกิดขึ้นภายนอกองค์กรจึงมีโอกาสที่ปัจจัยต่างๆเหล่านี้จะเกิดการเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลาหรือที่เรียกว่า "ปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้"
ผู้บริหารที่ประสบความสำเร็จมักจะกล่าวว่า "สภาพแวดล้อมภายนอกทางธุรกิจ เป็นปัจจัยสำคัญต่อการรักษาสภาพทางธุรกิจและมีความจำเป็นที่จะต้องทำความเข้าใจถึงสิ่งแวดล้อมนั้นๆเพื่อที่จะเอาชนะ ควบคุม กระทำอย่างใดอย่างหนึ่งหรือแสวงหาความเหมาะสมเพื่อความอยู่รอดทางธุรกิจอย่างยั่งยืน"
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกทั่วไป
สภาพแวดล้อมภายนอกทั่วไปจะไม่มีความสัมพันธ์กับองค์กรโดยตรงเป็นปัจจัยต่างๆที่ไม่มีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับการดำเนินงานขององค์กรแต่สามารถมีอิทธิพลหรือผลกระทบทางอ้อมต่อองค์กร เช่นสภาพเศรษฐกิจ สังคม การเมือง เทคโนโลยี
อ้างอิงจาก สุวัฒน์ ศิรินิรันดร์. (2551). คู่มือการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทางธุรกิจ. กรุงเทพฯ : หจก. ซี แอนด์ เอ็น.

Be^Knicknac^ กล่าวว่า...

การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม : ภายใน
สภาพแวดล้อมแวดล้อมภายในประกอบไปด้วย ปัจจัย (จุดแข็งและจุดอ่อน) ที่อยู่ภายในบริษัทและไม่ได้อยู่ภายใต้การควบคุมระยะสั้นของผู้บริหารระดับสูง ปัจจัยเหล่านี้ได้แก่ โครงสร้าง วัฒนธรรม และทรัพยากรของบริษัท
- โครงสร้างของบริษัท (Corporate Structure) จะแสดงให้เห็นถึงการรวมกลุ่มงาน ความสัมพันธ์ทางอำนาจหน้าที่ การไหลเวียนของงาน และการติดต่อสื่อสารภายในบริษัท เรามักจะเรียกโครงสร้างบริษัทนี้ว่า “สายการบังคับบัญชา” โดยทั่วไปโครงสร้างบริษัทจะแสดงให้เห็นสภาพภายในแผนภูมิองค์การ
- วัฒนธรรมขององค์การ (Corporate Culture) จะหมายถึงความเชื่อ ความคาดหวัง และค่ายนิยมร่วมกันของบรรดาบุคคลภายในบริษัท โดยทั่วไปจะปรากฏขึ้นมาเป็นบรรทัดฐานที่ระบุพฤติกรรมที่ยอมรับกันของบุคคล ตั้งแต่ผู้บริหารระดับสูงลงมาจนถึงพนักงานระดับล่างสุด
- ทรัพยากรของบริษัท (Corporate Resources) จะหมายถึงทรัพย์สินทุกอย่างภายในการผลิตและการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของบริษัท ทรัพย์สินเหล่านี้ ได้แก่ คน เงินทุน วัตถุดิบ โรงงาน เทคโนโลยี และทักษะ เป็นต้น
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม : ภายนอก
สภาพแวดล้อมภายนอกประกอบด้วยปัจจัย (โอกาสและอุปสรรค) ที่อยู่ภายนอกบริษัทและไม่ได้อยู่ภายใต้กรควบคุมของผู้บริหารระดับสูง โดยทั่วไปสภาพแวดล้อมภายนอกจะมีอยู่สองส่วนคือ : สภาพแวดล้อมการดำเนินงานและสภาพแวดล้อมโดยทั่วไป
- สภาพแวดล้อมการดำเนินงาน (Task Environment) จะประกอบด้วยปัจจัยที่กระทบและถูกกระทบโดยตรงต่อการดำเนินงานของบริษัทปัจจัยเหล่านี้ ได้แก่ ผู้มีส่วนได้เสีย รัฐบาล ผู้จำหน่ายวัตถุดิบ ชุมชน คู่แข่งขัน ลูกค้า เจ้าหนี้ สหภาพแรงงาน สมาคมการค้า และกลุ่มผลประโยชน์ เรามักจะเรียกสภาพแวดล้อมการดำเนินงานของบริษัทว่าอุตสาหกรรม
- สภาพแวดล้อมโดยทั่วไป (General Environment) จะประกอบด้วยปัจจัยที่ไม่กระทบโดยตรงต่อการดำเนินงานระยะสั้นของบริษัท ปัจจัยเหล่านี้จะมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจในระยะยาวของบริษัท ปัจจัยเหล่านี้ ได้แก่ เศรษฐกิจ สังคมวัฒนธรรม เทคโนโลยี และการเมือง กฎหมาย

อ้างอิงจาก สมยศ นาวีการ. (2535). การบริหารเชิงกลยุทธ์และนโยบายทางธุรกิจ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์.บรรณกิจเทรดดิ้ง
*น.ส.วณิดา สามทอง รหัส 5210125401065 เอกการจัดการทั่วไป ปี 4 *

Be^Knicknac^ กล่าวว่า...

การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม : ภายใน
สภาพแวดล้อมแวดล้อมภายในประกอบไปด้วย ปัจจัย (จุดแข็งและจุดอ่อน) ที่อยู่ภายในบริษัทและไม่ได้อยู่ภายใต้การควบคุมระยะสั้นของผู้บริหารระดับสูง ปัจจัยเหล่านี้ได้แก่ โครงสร้าง วัฒนธรรม และทรัพยากรของบริษัท
- โครงสร้างของบริษัท (Corporate Structure) จะแสดงให้เห็นถึงการรวมกลุ่มงาน ความสัมพันธ์ทางอำนาจหน้าที่ การไหลเวียนของงาน และการติดต่อสื่อสารภายในบริษัท เรามักจะเรียกโครงสร้างบริษัทนี้ว่า “สายการบังคับบัญชา” โดยทั่วไปโครงสร้างบริษัทจะแสดงให้เห็นสภาพภายในแผนภูมิองค์การ
- วัฒนธรรมขององค์การ (Corporate Culture) จะหมายถึงความเชื่อ ความคาดหวัง และค่ายนิยมร่วมกันของบรรดาบุคคลภายในบริษัท โดยทั่วไปจะปรากฏขึ้นมาเป็นบรรทัดฐานที่ระบุพฤติกรรมที่ยอมรับกันของบุคคล ตั้งแต่ผู้บริหารระดับสูงลงมาจนถึงพนักงานระดับล่างสุด
- ทรัพยากรของบริษัท (Corporate Resources) จะหมายถึงทรัพย์สินทุกอย่างภายในการผลิตและการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของบริษัท ทรัพย์สินเหล่านี้ ได้แก่ คน เงินทุน วัตถุดิบ โรงงาน เทคโนโลยี และทักษะ เป็นต้น
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม : ภายนอก
สภาพแวดล้อมภายนอกประกอบด้วยปัจจัย (โอกาสและอุปสรรค) ที่อยู่ภายนอกบริษัทและไม่ได้อยู่ภายใต้กรควบคุมของผู้บริหารระดับสูง โดยทั่วไปสภาพแวดล้อมภายนอกจะมีอยู่สองส่วนคือ : สภาพแวดล้อมการดำเนินงานและสภาพแวดล้อมโดยทั่วไป
- สภาพแวดล้อมการดำเนินงาน (Task Environment) จะประกอบด้วยปัจจัยที่กระทบและถูกกระทบโดยตรงต่อการดำเนินงานของบริษัทปัจจัยเหล่านี้ ได้แก่ ผู้มีส่วนได้เสีย รัฐบาล ผู้จำหน่ายวัตถุดิบ ชุมชน คู่แข่งขัน ลูกค้า เจ้าหนี้ สหภาพแรงงาน สมาคมการค้า และกลุ่มผลประโยชน์ เรามักจะเรียกสภาพแวดล้อมการดำเนินงานของบริษัทว่าอุตสาหกรรม
- สภาพแวดล้อมโดยทั่วไป (General Environment) จะประกอบด้วยปัจจัยที่ไม่กระทบโดยตรงต่อการดำเนินงานระยะสั้นของบริษัท ปัจจัยเหล่านี้จะมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจในระยะยาวของบริษัท ปัจจัยเหล่านี้ ได้แก่ เศรษฐกิจ สังคมวัฒนธรรม เทคโนโลยี และการเมือง กฎหมาย

อ้างอิงจาก สมยศ นาวีการ. (2535). การบริหารเชิงกลยุทธ์และนโยบายทางธุรกิจ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์.บรรณกิจเทรดดิ้ง
*น.ส.วณิดา สามทอง รหัส 5210125401065 เอกการจัดการทั่วไป ปี 4 *

Be^Knicknac^ กล่าวว่า...

การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม : ภายใน
สภาพแวดล้อมแวดล้อมภายในประกอบไปด้วย ปัจจัย (จุดแข็งและจุดอ่อน) ที่อยู่ภายในบริษัทและไม่ได้อยู่ภายใต้การควบคุมระยะสั้นของผู้บริหารระดับสูง ปัจจัยเหล่านี้ได้แก่ โครงสร้าง วัฒนธรรม และทรัพยากรของบริษัท
- โครงสร้างของบริษัท (Corporate Structure) จะแสดงให้เห็นถึงการรวมกลุ่มงาน ความสัมพันธ์ทางอำนาจหน้าที่ การไหลเวียนของงาน และการติดต่อสื่อสารภายในบริษัท เรามักจะเรียกโครงสร้างบริษัทนี้ว่า “สายการบังคับบัญชา” โดยทั่วไปโครงสร้างบริษัทจะแสดงให้เห็นสภาพภายในแผนภูมิองค์การ
- วัฒนธรรมขององค์การ (Corporate Culture) จะหมายถึงความเชื่อ ความคาดหวัง และค่ายนิยมร่วมกันของบรรดาบุคคลภายในบริษัท โดยทั่วไปจะปรากฏขึ้นมาเป็นบรรทัดฐานที่ระบุพฤติกรรมที่ยอมรับกันของบุคคล ตั้งแต่ผู้บริหารระดับสูงลงมาจนถึงพนักงานระดับล่างสุด
- ทรัพยากรของบริษัท (Corporate Resources) จะหมายถึงทรัพย์สินทุกอย่างภายในการผลิตและการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของบริษัท ทรัพย์สินเหล่านี้ ได้แก่ คน เงินทุน วัตถุดิบ โรงงาน เทคโนโลยี และทักษะ เป็นต้น
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม : ภายนอก
สภาพแวดล้อมภายนอกประกอบด้วยปัจจัย (โอกาสและอุปสรรค) ที่อยู่ภายนอกบริษัทและไม่ได้อยู่ภายใต้กรควบคุมของผู้บริหารระดับสูง โดยทั่วไปสภาพแวดล้อมภายนอกจะมีอยู่สองส่วนคือ : สภาพแวดล้อมการดำเนินงานและสภาพแวดล้อมโดยทั่วไป
- สภาพแวดล้อมการดำเนินงาน (Task Environment) จะประกอบด้วยปัจจัยที่กระทบและถูกกระทบโดยตรงต่อการดำเนินงานของบริษัทปัจจัยเหล่านี้ ได้แก่ ผู้มีส่วนได้เสีย รัฐบาล ผู้จำหน่ายวัตถุดิบ ชุมชน คู่แข่งขัน ลูกค้า เจ้าหนี้ สหภาพแรงงาน สมาคมการค้า และกลุ่มผลประโยชน์ เรามักจะเรียกสภาพแวดล้อมการดำเนินงานของบริษัทว่าอุตสาหกรรม
- สภาพแวดล้อมโดยทั่วไป (General Environment) จะประกอบด้วยปัจจัยที่ไม่กระทบโดยตรงต่อการดำเนินงานระยะสั้นของบริษัท ปัจจัยเหล่านี้จะมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจในระยะยาวของบริษัท ปัจจัยเหล่านี้ ได้แก่ เศรษฐกิจ สังคมวัฒนธรรม เทคโนโลยี และการเมือง กฎหมาย

อ้างอิงจาก สมยศ นาวีการ. (2535). การบริหารเชิงกลยุทธ์และนโยบายทางธุรกิจ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์.บรรณกิจเทรดดิ้ง
*น.ส.วณิดา สามทอง รหัส 5210125401065 เอกการจัดการทั่วไป ปี 4 *

Unknown กล่าวว่า...

นางสาวศิรินทรา เรืองรอง การจัดการทั่วไป ปี4 5210125401026

ความหมายของ SWOT เป็นคำย่อมาจากคำว่า Strengths Weaknesses Opportunities and Threats โดย
Strengths คือ จุดแข็ง หมายถึง ความสามารถและสถานการณ์ภายในองค์กรที่เป็นบวก ซึ่งองค์กรนำมาใช้เป็นประโยชน์ในการทำงานเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ หรือหมายถึง การดำเนินงานภายในที่องค์กรทำได้ดี
Weaknesses คือ จุดอ่อน หมายถึง สถานการณ์ภายในองค์กรที่เป็นลบและด้อยความสามารถ ซึ่งองค์กรไม่สามารถนำมาใช้เป็นประโยชน์ในการทำงานเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ หรือหมายถึง การดำเนินงานภายในที่องค์กรทำได้ไม่ดี
Opportunities คือ โอกาส หมายถึง ปัจจัยและสถานการณ์ภายนอกที่เอื้ออำนวยให้การทำงานขององค์กรบรรลุวัตถุประสงค์ หรือหมายถึง สภาพแวดล้อมภายนอกที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินการขององค์กร
Threats คืออุปสรรค หมายถึง ปัจจัยและสถานการณ์ภายนอกที่ขัดขวางการทำงานขององค์กรไม่ให้บรรลุวัตถุประสงค์ หรือหมายถึงสภาพแวดล้อมภายนอกที่เป็นปัญหาต่อองค์กร
บางครั้งการจำแนกโอกาสและอุปสรรคเป็นสิ่งที่ทำได้ยาก เพราะทั้งสองสิ่งนี้สามารถเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งการเปลี่ยนแปลงอาจทำให้สถานการณ์ที่เคยเป็นโอกาสกลับกลายเป็นอุปสรรคได้ และในทางกลับกัน อุปสรรคอาจกลับกลายเป็นโอกาสได้เช่นกัน ด้วยเหตุนี้องค์กรมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ของตนให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์แวดล้อม
2. กรอบการวิเคราะห์ SWOT ในการวิเคราะห์ SWOT การกำหนดเรื่อง หัวข้อ หรือประเด็น (Area) เป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องคำนึงถึง เพราะว่า การกำหนดประเด็นทำให้การวิเคราะห์และประเมินจุดอ่อน จุดแข็ง โอกาส และอุปสรรคได้ถูกต้องโดยเฉพาะการกำหนดประเด็นหลัก (key area) ได้ถูกต้องจะทำให้การวิเคราะห์ถูกต้องยิ่งขึ้น การกำหนดกรอบการวิเคราะห์ SWOT ใด ๆ ขึ้นอยู่กับลักษณะธุรกิจและธรรมชาติขององค์กรนั้น ๆ ในวงการธุรกิจเอกชนมีการคิดค้นกรอบการวิเคราะห์ SWOT ที่มีความหลากหลายรูปแบบ อาทิ MacMillan(ค.ศ. 1986) เสนอ 5 ประเด็นสำหรับกรอบการวิเคราะห์ SWOT คือ
1) เอกลักษณ์ขององค์กร
2) ขอบเขตปัจจุบันของธุรกิจ
3) แนวโน้มสภาพแวดล้อมที่จะเป็นโอกาสและอุปสรรค
4) โครงสร้างของธุรกิจ และ
5) รูปแบบการเติบโตที่คาดหวัง Goodstein et al (ค.ศ. 1993)
และเสนอ 5 ประเด็นที่ต้องวิเคราะห์ คือ
1) ความสำเร็จของแต่ละประเภทธุรกิจขององค์กรและทรัพยากรขององค์กรที่ยังไม่ถูกใช้
2) ระบบติดตามประเมินผลสำหรับธุรกิจแต่ละประเภท
3) กลยุทธ์ขององค์กรในแง่ความคิดริเริ่ม การเผชิญกับความเสี่ยง และการขับเคี่ยวทางการแข่งขัน
4) โครงสร้างและระบบการบริหารขององค์กรที่เอื้ออำนวยต่อการปฏิบัติแผนกลยุทธ์ให้บรรลุเป้าหมาย แ
5) วัฒนธรรมองค์กรและวิธีการทำธุรกิจ
Piercy and Giles (1998) เสนอ 4 ประเด็น คือ
1) ความเฉพาะเจาะจงของตลาดผลิตภัณฑ์
2) ความเฉพาะเจาะจงของกลุ่มลูกค้า
3) นโยบายราคาในตลาดที่เกี่ยวข้อง และ
4) การสื่อสารทางการตลาดสำหรับลูกค้าที่แตกต่างกัน และ Edwards (1994)
เสนอปัจจัยภายนอก 9 ประการ คือ การเมือง เศรษฐกิจ นิเวศวิทยา การแข่งขัน กฎหมาย โครงสร้างพื้นฐาน สังคม เทคโนโลยี และประชากร
แหล่งที่มา www.oae.go.th/ewtadmin/ewt/plan_web/download/.../sowt_01.doc

Unknown กล่าวว่า...

นางสาวสุชาดา สุขวงษ์ รหัส 5210125401002 การจัดการทั่วไป
การวิเคราะห์ สภาพแวดล้อมภายในและภายนอกองค์กร (SWOT)
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในและภายนอกองค์กรทางการศึกษา เพื่อศึกษา

แนวโน้มการพัฒนาการศึกษาให้มีความเหมาะสม สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนท้องถิ่น โดยแนวโน้มการพัฒนาการศึกษาขององค์กรทางการศึกษาต้องมีความเป็นไปได้ในการพัฒนาตามเงื่อนไขข้อจำกัดและองค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อการจัดการศึกษา ซึ่งได้แก่ นโยบายในการจัดการศึกษาของหน่วยงานต้นสังกัด รูปแบบการบริหารงานขององค์กรทางการศึกษา และปัจจัยทีเกี่ยวข้องอื่น

การศึกษาความต้องการของชุมชน เป็นการสำรวจความต้องการขององค์กรชุมชนที่องค์กรทางการศึกษาตั้งอยู่ความต้องการของผู้ปกครองนักเรียน
และความต้องการของชาวบ้านในชุมชนสรุปมาเป็นแนวทางในการดำเนินงานเพื่อตอบสนองความต้องการของชุมชนการวิเคราะห์สภาพขององค์กรทางการศึกษาเพื่อกำหนด
แนวทางในการพัฒนาการศึกษา จะต้องวิเคราะห์ผลกระทบที่เกิดจากปัจจัยต่าง ๆ ด้วย เรียกว่า SWOT Analysis ซึ่งได้แก่

Strengths - จุดแข็งหรือข้อได้เปรียบ
Weaknesses - จุดอ่อนหรือข้อเสียเปรียบ
Opportunities - โอกาสที่จะดำเนินการได้
Threats - อุปสรรค หรือปัจจัยที่คุกคามการดำเนินงานขององค์การ
การวิเคราะห์ SWOT อาจเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เป็นการทำ Situation Analysis

เป็นการวิเคราะห์สภาพองค์การ หรือหน่วยงานในปัจจุบัน เพื่อค้นหาจุดแข็ง จุดเด่น จุดด้อย หรือสิ่งที่อาจเป็นปัญหาสำคัญในการดำเนินงานสู่สภาพที่ต้องการในอนาคต การวิเคราะห์สภาพการณ์

(Situation Analysis) วิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน เพื่อให้รู้ตนเอง (รู้เรา) รู้จักสภาพแวดล้อม (รู้เขา) ชัดเจน และวิเคราะห์โอกาส-อุปสรรค เพื่อประโยชน์ในการกำหนดวิสัยทัศน์ หรือเลือกกลยุทธ์ระดับองค์กรที่เหมาะสมต่อไป ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับการทำ Strategic Decision การทำ Strategic Decision เป็นการตัดสินใจเลือกกลยุทธ์หรือวิธีดำเนินงานที่สำคัญ ที่เป็นหลักในการปฏิบัติไปสู่สภาพที่ต้องการในอนาคตขององค์การ เพื่อการบรรลุ Vision หรือสภาพในอนาคตตามที่ได้กำหนดไว้ ซึ่งเป็นการเลือกโดยคำนึงถึงสภาพในอนาคต โดยคำนึงถึงจุดที่ต้องการ โดยรู้สถานการณ์ เห็นถึงโอกาสและรู้จุดดี จุดเด่นตลอดจนจุดอ่อนในการดำเนินงานไปสู่จุดหมายที่ต้องการขององค์การในอนาคต เป็นการค้นหากลยุทธ์โดยหลักการ มองกว้าง เห็นไกล รอบคอบ ตามหลักการกำหนดกลยุทธ์ในแบบต่าง ๆ เช่น กลยุทธ์ที่มุ่งหา S สูง – O สูง, S สูง – T ต่ำ,

W ต่ำ – O สูง และ W ต่ำ – T ต่ำ กลยุทธ์เชิงรุก กลยุทธ์เพื่อความเจริญก้าวหน้า (Growth Strategy) กลยุทธ์แบบคงที่ (Stability Strategy) กลยุทธ์แบบตัดทอนป้องกัน (Retrenchment and Defense Strategy) กลยุทธ์การตั้งราคา-การขาย กลยุทธ์การแข่งขัน กลยุทธ์การเป็นผู้นำ กลยุทธ์ในการสร้างความแตกต่างของผลิตภัณฑ์และบริการ กลยุทธ์การจำกัดขอบเขตปฏิบัติการ เป็นต้น
อ้างอิง
http://www.vcharkarn.com/vcafe/133036

ThanaKrit Ahcwapadid กล่าวว่า...

นายธนกฤตอาชีวะประดิษฐ รหัส 5210125401053
เอกการจัดการทั่วไป ปี4
ทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการของมาสโลว์.
ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับความต้องการขั้นพื้นฐานของมนุษย์ ซึ่งกำหนดโดยนักจิตวิทยา ชื่อ มาสโลว์ (Abraham Maslow) เป็นทฤษฎีการจูงใจที่มีการกล่าวขวัญอย่างแพร่หลาย มาสโลว์มองว่าความต้องการของมนุษย์มีลักษณะเป็นลำดับขั้น จากระดับต่ำสุดไปยังระดับสูงสุด เมื่อความต้องการในระดับหนึ่งได้รับการตอบสนองแล้ว มนุษย์ก็จะมีความต้องการอื่นในระดับที่สูงขึ้นต่อไป
1. ความต้องการทางร่างกาย (physiological needs) เป็นความต้องการขั้นพื้นฐานของมนุษย์เพื่อความอยู่รอด เช่น อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค อากาศ น้ำดื่ม การพักผ่อน เป็นต้น
2. ความต้องการความปลอดภัยและมั่นคง (security or safety needs) เมื่อมนุษย์สามารถตอบสนองความต้องการทางร่างกายได้แล้ว มนุษย์ก็จะเพิ่มความต้องการในระดับที่สูงขึ้นต่อไป เช่น ความต้องการความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ความต้องการความมั่นคงในชีวิตและหน้าที่การงาน
3. ความต้องการความผูกพันหรือการยอมรับ (ความต้องการทางสังคม) (affiliation or acceptance needs) เป็นความต้องการเป็นส่วนหนึ่งของสังคม ซึ่งเป็นธรรมชาติอย่างหนึ่งของมนุษย์ เช่น ความต้องการให้และได้รับซึ่งความรัก ความต้องการเป็นส่วนหนึ่งของหมู่คณะ ความต้องการได้รับการยอมรับ การต้องการได้รับความชื่นชมจากผู้อื่น เป็นต้น
4. ความต้องการการยกย่อง (esteem needs) หรือ ความภาคภูมิใจในตนเอง เป็นความต้องการการได้รับการยกย่อง นับถือ และสถานะจากสังคม เช่น ความต้องการได้รับความเคารพนับถือ ความต้องการมีความรู้ความสามารถ เป็นต้น
5. ความต้องการความสำเร็จในชีวิต (self-actualization) เป็นความต้องการสูงสุดของแต่ละบุคคล เช่น ความต้องการที่จะทำทุกสิ่งทุกอย่างได้สำเร็จ ความต้องการทำทุกอย่างเพื่อตอบสนองความต้องการของตนเอง เป็นต้น

อ้างอิง : ทฤษฎีองค์การ Organization Theory ฉบับมาตรฐาน
ผู้เขียน ศิริวรรณ เสรีรัตน์, รศ., สมศักดิ์ วานิชยาภรณ์, สมชาย หิรัญกิตติ, รศ.
สำนักพิมพ์ : Diamond In Business World
เดือนปีที่พิมพ์ : 2545

ThanaKrit Ahcwapadid กล่าวว่า...

การวิเคราะห์ สภาพแวดล้อมภายในและภายนอกองค์กร (SWOT)
Posted on วันพุธที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 by modal

การวิเคราะห์ สภาพแวดล้อมภายในและภายนอกองค์กร (SWOT)
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในและภายนอกองค์กรทางการศึกษา เพื่อศึกษาแนวโน้มการพัฒนาการศึกษาให้
มีความเหมาะสม สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนท้องถิ่น โดยแนวโน้มการพัฒนาการศึกษาขององค์กรทาง
การศึกษาต้องมีความเป็นไปได้ในการพัฒนาตามเงื่อนไขข้อจำกัดและองค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อการจัดการศึกษา
ซึ่งได้แก่ นโยบายในการจัดการศึกษาของหน่วยงานต้นสังกัด รูปแบบการบริหารงานขององค์กรทางการศึกษา และ
ปัจจัยทีเกี่ยวข้องอื่นการศึกษาความต้องการของชุมชน เป็นการสำรวจความต้องการขององค์กรชุมชนที่องค์กรทาง
การศึกษาตั้งอยู่ความต้องการของผู้ปกครองนักเรียนและความต้องการของชาวบ้านในชุมชนสรุปมาเป็นแนวทางใน
การดำเนินงานเพื่อตอบสนองความต้องการของชุมชนการวิเคราะห์สภาพขององค์กรทางการศึกษาเพื่อกำหนดแนว
ทางในการพัฒนาการศึกษา จะต้องวิเคราะห์ผลกระทบที่เกิดจากปัจจัยต่าง ๆ ด้วย เรียกว่า SWOT Analysis ซึ่งได้แก่
1. Strengths - จุดแข็งหรือข้อได้เปรียบ
2. Weaknesses - จุดอ่อนหรือข้อเสียเปรียบ
3. Opportunities - โอกาสที่จะดำเนินการได้
4. Threats - อุปสรรค หรือปัจจัยที่คุกคามการดำเนินงานขององค์การ
การวิเคราะห์ SWOT อาจเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เป็นการทำ Situation Analysis เป็นการวิเคราะห์สภาพ
องค์การ หรือหน่วยงานในปัจจุบัน เพื่อค้นหาจุดแข็ง จุดเด่น จุดด้อย หรือสิ่งที่อาจเป็นปัญหาสำคัญในการดำเนินงาน
สู่สภาพที่ต้องการในอนาคต การวิเคราะห์สภาพการณ์ (Situation Analysis) วิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน เพื่อให้รู้ตนเอง
(รู้เรา) รู้จักสภาพแวดล้อม (รู้เขา) ชัดเจน และวิเคราะห์โอกาส-อุปสรรค เพื่อประโยชน์ในการกำหนดวิสัยทัศน์ หรือ
เลือกกลยุทธ์ระดับองค์กรที่เหมาะสมต่อไป ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับการทำ Strategic Decision การทำ Strategic Decision
เป็นการตัดสินใจเลือกกลยุทธ์หรือวิธีดำเนินงานที่สำคัญ ที่เป็นหลักในการปฏิบัติไปสู่สภาพที่ต้องการในอนาคตของ
องค์การ เพื่อการบรรลุ Vision หรือสภาพในอนาคตตามที่ได้กำหนดไว้ ซึ่งเป็นการเลือกโดยคำนึงถึงสภาพในอนาคต
โดยคำนึงถึงจุดที่ต้องการ โดยรู้สถานการณ์ เห็นถึงโอกาสและรู้จุดดี จุดเด่นตลอดจนจุดอ่อนในการดำเนินงานไปสู่
จุดหมายที่ต้องการขององค์การในอนาคต เป็นการค้นหากลยุทธ์โดยหลักการ มองกว้าง เห็นไกล รอบคอบ ตามหลัก
การกำหนดกลยุทธ์ในแบบต่าง ๆ เช่น กลยุทธ์ที่มุ่งหา S สูง – O สูง, S สูง – T ต่ำ, W ต่ำ – O สูง และ W ต่ำ – T ต่ำ
กลยุทธ์เชิงรุก กลยุทธ์เพื่อความเจริญก้าวหน้า (Growth Strategy) กลยุทธ์แบบคงที่ (Stability Strategy) กลยุทธ์แบบ
ตัดทอนป้องกัน (Retrenchment and Defense Strategy) กลยุทธ์การตั้งราคา-การขาย กลยุทธ์การแข่งขัน กลยุทธ์การ
เป็นผู้นำ กลยุทธ์ในการสร้างความแตกต่างของผลิตภัณฑ์และบริการ กลยุทธ์การจำกัดขอบเขตปฏิบัติการ เป็นต้น
นายธนกฤตอาชีวะประดิษฐ รหัส 5210125401053
เอกการจัดการทั่วไป ปี4

Miss saichon Nakpansue กล่าวว่า...

นางสาว สายชลนาค ปานเสือ รหัส 5210125401055
เอกการจัดการทั่วไป ปี 4

ทฤษฎี X และทฤษฎี Y ของแมคเกรเกอร์.

แมคเกรเกอร์ (McGregor, 1960) ได้ชี้ให้เห็นถึงแบบของการบริหาร 2 แบบ คือ ทฤษฎี X ซึ่งมีลักษณะเป็นเผด็จการ และทฤษฎี Y หรือการมีส่วนร่วม แต่ละแบบเกี่ยวข้องกับสมมุติฐานที่มีต่อลักษณะของมนุษย์ดังนี้
ผู้บริหารแบบทฤษฎี X เชื่อว่า
1. มนุษย์โดยทั่วไปไม่ชองการทำงาน และพยายามหลีกเลี่ยงงานถ้าสามารถทำได้
2. เนื่องจากการไม่ชอบทำงานของมนุษย์ มนุษย์จึงถูกควบคุม บังคับ หรือข่มขู่ให้ทำงาน ชอบให้สั่งการและใช้วิธีการลงโทษ เพื่อให้ใช้ความพยายามได้เพียงพอ และบรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การ
3. มนุษย์โดยทั่วไปพอใจกับการชี้แนะสั่งการหรือการถูกบังคับ ต้องการหลีกเลี่ยงความรับผิดชอบ มีความทะเยอทะยานน้อย และต้องการความมั่นคงมากที่สุด ผู้บริหารตามทฤษฎี X จึงต้องสร้างแรงจูงใจโดยการข่มขู่ และลงโทษ เพื่อทำให้ลูกน้องใช้ความพยายามให้บรรลุความสำเร็จตามเป้าหมายขององค์การ
ผู้บริหารแบบทฤษฎี Y มีความเชื่อว่า
1. การทำงานเป็นการตอบสนองความพอใจ
2. การข่มขู่ด้วยวิธีการลงโทษไม่ได้เป็นวิธีการที่ดีที่สุดในการจูงใจให้คนทำ งาน บุคคลที่ผูกพันกับการบรรลุถึงความสำเร็จตามเป้าหมายขององค์การ จะมีแรงจูงใจด้วยตนเองและควบคุมตนเอง
3. ความผูกพันของบุคคลที่มีต่อเป้าหมายขึ้นอยู่กับรางวัล และผลตอบแทนที่พวกเขาคาดหวังว่าจะได้รับเมื่อเป้าหมายบรรลุถึงความสำเร็จ
4. ภายใต้สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมในการทำงาน เป็นการจูงใจให้บุคคลอมรับและแสวงหาความรับผิดชอบ มีความคิดสร้างสรรค์ในการทำงาน
ทฤษฎี Y เน้นถึงการพัฒนาตนเองของมนุษย์ ชี้ให้เห็นว่ามนุษย์นั้นรู้จักตัวเองได้ถูกต้อง รู้จักความสามารถของตนเอง ผู้บริหารควรสร้างแรงจูงใจโดยการสร้างสรรค์สถานการณ์ที่จะทำให้สมาชิกมีความ รู้สึกรับผิดชอบ และมีส่วนร่วมในการทำงาน ในการบริหารนั้น มีการนำทฤษฎีเชิงจิตวิทยามาใช้จำนวนมาก เพราะการบริหารเป็นการทำงานกับ “คน” และทฤษฎีจิตวิทยาก็พูดเรื่อง “คน” การศึกษาทฤษฎีจิตวิทยาที่เกี่ยวกับการควบคุมกำกับพฤติกรรมของมนุษย์ การสร้างแรงจูงใจในการทำงาน และภาวะผู้นำ จึงเป็นประโยชน์อย่างมากต่อผู้บริหาร Donglas Mc Gregor ได้ค้นพบแนวคิด “พฤติกรรมองค์การ” และสรุปว่า กิจกรรมการบริหารจัดการล้วนมีสาเหตุรากฐานมาจากทฤษฎีพฤติกรรมมนุษย์ (human behaviors) ซึ่งเป็นไปตามกรอบทฤษฎี X และทฤษฎี Y คือ
ทฤษฎี X (Theory X) คือคนประเภทเกียจคร้าน ในการบริหารจึงควรใช้มาตรการบังคับ มีระเบียบกฎเกณฑ์คอยกำกับ มีการควบคุมการทำงานอย่างใกล้ชิด และมีการลงโทษเป็นหลัก
ทฤษฎี Y (Theory Y) คือคนประเภทขยัน ควรมีการกำหนดหน้าที่การงานที่เหมาะสม ท้าทายความสามารถ สร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานเชิงบวก และควรเปิดโอกาสให้มีส่วนร่วมในการบริหารงาน
อ้างอิง : ทฤษฎีองค์การ Organization Theory ฉบับมาตรฐาน
ผู้เขียน ศิริวรรณ เสรีรัตน์, รศ., สมศักดิ์ วานิชยาภรณ์, สมชาย หิรัญกิตติ, รศ.
สำนักพิมพ์ : Diamond In Business World
เดือนปีที่พิมพ์ : 2545

Unknown กล่าวว่า...

สภาพแวดล้อมภายในองค์กร (Internal Environment)
เป็นแรงผลักดันภายในธุรกิจที่มีอิทธิพลต่อการจัดการและดาเนินงานของธุรกิจ ซึ่ง ธุรกิจสามารถควบคุมและจัดการสภาพแวดล้อมลักษณะนี้ให้เป็นไปตามแนวทางที่ต้องการได้ ซึ่งในการจัดการผู้บริหารต้องทาการศึกษาปัจจัยเหล่านี้เพื่อประเมินจุดแข็ง (strengths) และจุดอ่อน (weakness) ขององค์การ
1.โครงสร้างองค์กร (Organization) โครงสร้างของกิจการเป็นตัวกาหนดทิศทางแก่องค์กรในการดาเนินกลยุทธ์ในการเข้าสู่ตลาดโลก รวมถึงเป็นการพิจารณาระดับความพร้อมขององค์กรทางด้านบุคคลากรทั้งในประเทศและต่างประเทศ
2.กลยุทธ์ของกิจการ (Business Strategy) ในกระบวนการเปลี่ยนแปลงภายในยังประกอบไปด้วยการเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์ขององค์การ ซึ่งกลยุทธ์จะเป็นตัวกาหนดทิศทางการทางาน เพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์และพันธกิจขององค์การ ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงในเรื่องของกลยุทธ์จะเป็นส่วนที่สาคัญที่ทาให้ทิศทางการดาเนินงานขององค์การเปลี่ยนแปลงต่อกระแสโลก ไม่ว่าจะเป็นการขยายสาขาสู่ต่างประเทศ การทาการค้ากับคู่ค้าในโซนใหม่ การพัฒนาและออกผลิตภัณฑ์ใหม่ เพิ่มความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า ให้ความสาคัญกับการบริการลูกค้า และผลิตสินค้าที่มีราคาถูกและมีคุณภาพ
3.บุคลากรและความสามารถของบุคลากร (Human Resource and Ability) กิจการสามารถปรับตัวต่อสภาพแวดล้อมได้ดี เมื่อพนักงานได้รับการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาทักษะ ความรู้และความสามารถ และสามารถพัฒนาความสามารถในการปฏิบัติงานของบุคลากรในองค์การ และทาให้ผลการปฏิบัติงานมีคุณภาพดีขึ้น เพื่อให้สามารถทาการผลิตได้มีประสิทธิผลมากที่สุด
4.วัฒนธรรมองค์กร (Organization Culture) รวมไปถึง การเปลี่ยนแปลงค่านิยมในการทางาน การเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมในด้านต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดภายนอก
5.องค์ประกอบอื่นๆ ในองค์การ ได้แก่พันธกิจของบริษัท ระบบการบริหารงาน กระบวนการผลิตและการทางานในธุรกิจทรัพยากรต่าง ๆ ในธุรกิจ กฎระเบียบภายในองค์การ
อ้างอิง(Michael H. Mescon and John V. Thill : 2001)

นส.รำไพพรรณ เชียงหนุ้น รหัส 5130125401215
การจัดการทั่วไป

Unknown กล่าวว่า...

สภาพแวดล้อมภายใน (Internal Enyironment)
สภาพแวดล้อมภายในเป็นแรงผลักดันภายในธุรกิจที่มีอิทธิพลต่อการจัดการและการดำเนินงานของธุรกิจ ซึ่งในการจัดการผู้บริหารต้องทำการศึกษาปัจจัยเหล่านี้เพื่อประเมินจุดแข็ง(Strengths)และจุดอ่อน(Weakness) ขององค์กรด้วย
1. โครงสร้างองค์กร(Organization)เป็นระบบที่เป็นทางการขององค์กร ความสัมพันธ์ระหว่างกฎ ระเบียบ งาน และอำนาจเพื่อที่จะควบคุมบุคลากรในองค์กรให้ทำงานร่วมกันและมีการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้บรรลุวัตถุประสงค์
2. กลยุทธ์ของกิจการ(Business Strategy)ในกระบวนการเปลี่ยนแปลงภายในยังประกอบไปด้วย การเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์ขององค์กรซึ่งกลยุทธ์จะเป็นตัวกำหนดทิศทางการทำงานเพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์และพันธกิจขององค์กร ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงในเรื่องของกลยุทธ์จะเป็นส่วนที่สำคัญที่ทำให้ทิศทางการดำเนินงานขององค์กรเปลี่ยนแปลงต่อกระแสโลกในปัจจุบันการพัฒนาและออกผลิตภัณฑ์ใหม่ เพื่อความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า
3. บุคลากรและความสามารถของบุคลากร (Human Resource and Ability) กิจการสามารถปรับตัวต่อสภาพแวดล้อมได้ดีเมื่อพนักงานได้รับการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาทักษะความรู้ความสามารถและสามารถพัฒนาความสามารถในการปฏิบัติงานของบุคลากรในองค์กรและทำให้ผลปฏิบัติงานมีคุณภาพดีขึ้นเพื่อให้สามารถทำการผลิตได้มีประสิทธิผลมากที่สุด
4. วัฒนธรรมองค์กร(Organization Culture) คือ ทุกสิ่งทุกอย่างที่บุคคลในองค์กรหนึ่งปฏิบัติเหมือนๆกันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะองค์กรนั้น เกิดจากการเชื่องโยง ผสมผสานกันระหว่างเจตคติของบุคคล ค่านิยม ความเชื่อ ปทัสถานและการกระทำของบุคคลของกลุ่มขององค์กร นโยบายและวัตถุประสงค์ขององค์กร เทคโนโลยีสภาวะของกลุ่มความสำเร็จขององค์กร จนเป็นที่ยอมรับของบุคคลในองค์กร

Unknown กล่าวว่า...

สภาพแวดล้อมภายใน (Internal Enyironment)
สภาพแวดล้อมภายในเป็นแรงผลักดันภายในธุรกิจที่มีอิทธิพลต่อการจัดการและการดำเนินงานของธุรกิจ ซึ่งในการจัดการผู้บริหารต้องทำการศึกษาปัจจัยเหล่านี้เพื่อประเมินจุดแข็ง(Strengths)และจุดอ่อน(Weakness) ขององค์กรด้วย
1. โครงสร้างองค์กร(Organization)เป็นระบบที่เป็นทางการขององค์กร ความสัมพันธ์ระหว่างกฎ ระเบียบ งาน และอำนาจเพื่อที่จะควบคุมบุคลากรในองค์กรให้ทำงานร่วมกันและมีการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้บรรลุวัตถุประสงค์
2. กลยุทธ์ของกิจการ(Business Strategy)ในกระบวนการเปลี่ยนแปลงภายในยังประกอบไปด้วย การเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์ขององค์กรซึ่งกลยุทธ์จะเป็นตัวกำหนดทิศทางการทำงานเพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์และพันธกิจขององค์กร ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงในเรื่องของกลยุทธ์จะเป็นส่วนที่สำคัญที่ทำให้ทิศทางการดำเนินงานขององค์กรเปลี่ยนแปลงต่อกระแสโลกในปัจจุบันการพัฒนาและออกผลิตภัณฑ์ใหม่ เพื่อความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า
3. บุคลากรและความสามารถของบุคลากร (Human Resource and Ability) กิจการสามารถปรับตัวต่อสภาพแวดล้อมได้ดีเมื่อพนักงานได้รับการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาทักษะความรู้ความสามารถและสามารถพัฒนาความสามารถในการปฏิบัติงานของบุคลากรในองค์กรและทำให้ผลปฏิบัติงานมีคุณภาพดีขึ้นเพื่อให้สามารถทำการผลิตได้มีประสิทธิผลมากที่สุด
4. วัฒนธรรมองค์กร(Organization Culture) คือ ทุกสิ่งทุกอย่างที่บุคคลในองค์กรหนึ่งปฏิบัติเหมือนๆกันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะองค์กรนั้น เกิดจากการเชื่องโยง ผสมผสานกันระหว่างเจตคติของบุคคล ค่านิยม ความเชื่อ ปทัสถานและการกระทำของบุคคลของกลุ่มขององค์กร นโยบายและวัตถุประสงค์ขององค์กร เทคโนโลยีสภาวะของกลุ่มความสำเร็จขององค์กร จนเป็นที่ยอมรับของบุคคลในองค์กร
อ้างอิง department.utcc.ac.th
**น.ส.กันตินันท์ บุญลิลา 5130125401235

Be^Knicknac^ กล่าวว่า...

การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม : ภายใน
สภาพแวดล้อมแวดล้อมภายในประกอบไปด้วย ปัจจัย (จุดแข็งและจุดอ่อน) ที่อยู่ภายในบริษัทและไม่ได้อยู่ภายใต้การควบคุมระยะสั้นของผู้บริหารระดับสูง ปัจจัยเหล่านี้ได้แก่ โครงสร้าง วัฒนธรรม และทรัพยากรของบริษัท
- โครงสร้างของบริษัท (Corporate Structure) จะแสดงให้เห็นถึงการรวมกลุ่มงาน ความสัมพันธ์ทางอำนาจหน้าที่ การไหลเวียนของงาน และการติดต่อสื่อสารภายในบริษัท เรามักจะเรียกโครงสร้างบริษัทนี้ว่า “สายการบังคับบัญชา” โดยทั่วไปโครงสร้างบริษัทจะแสดงให้เห็นสภาพภายในแผนภูมิองค์การ
- วัฒนธรรมขององค์การ (Corporate Culture) จะหมายถึงความเชื่อ ความคาดหวัง และค่ายนิยมร่วมกันของบรรดาบุคคลภายในบริษัท โดยทั่วไปจะปรากฏขึ้นมาเป็นบรรทัดฐานที่ระบุพฤติกรรมที่ยอมรับกันของบุคคล ตั้งแต่ผู้บริหารระดับสูงลงมาจนถึงพนักงานระดับล่างสุด
- ทรัพยากรของบริษัท (Corporate Resources) จะหมายถึงทรัพย์สินทุกอย่างภายในการผลิตและการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของบริษัท ทรัพย์สินเหล่านี้ ได้แก่ คน เงินทุน วัตถุดิบ โรงงาน เทคโนโลยี และทักษะ เป็นต้น
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม : ภายนอก
สภาพแวดล้อมภายนอกประกอบด้วยปัจจัย (โอกาสและอุปสรรค) ที่อยู่ภายนอกบริษัทและไม่ได้อยู่ภายใต้กรควบคุมของผู้บริหารระดับสูง โดยทั่วไปสภาพแวดล้อมภายนอกจะมีอยู่สองส่วนคือ : สภาพแวดล้อมการดำเนินงานและสภาพแวดล้อมโดยทั่วไป
- สภาพแวดล้อมการดำเนินงาน (Task Environment) จะประกอบด้วยปัจจัยที่กระทบและถูกกระทบโดยตรงต่อการดำเนินงานของบริษัทปัจจัยเหล่านี้ ได้แก่ ผู้มีส่วนได้เสีย รัฐบาล ผู้จำหน่ายวัตถุดิบ ชุมชน คู่แข่งขัน ลูกค้า เจ้าหนี้ สหภาพแรงงาน สมาคมการค้า และกลุ่มผลประโยชน์ เรามักจะเรียกสภาพแวดล้อมการดำเนินงานของบริษัทว่าอุตสาหกรรม
- สภาพแวดล้อมโดยทั่วไป (General Environment) จะประกอบด้วยปัจจัยที่ไม่กระทบโดยตรงต่อการดำเนินงานระยะสั้นของบริษัท ปัจจัยเหล่านี้จะมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจในระยะยาวของบริษัท ปัจจัยเหล่านี้ ได้แก่ เศรษฐกิจ สังคมวัฒนธรรม เทคโนโลยี และการเมือง กฎหมาย

อ้างอิงจาก สมยศ นาวีการ. (2535). การบริหารเชิงกลยุทธ์และนโยบายทางธุรกิจ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์.บรรณกิจเทรดดิ้ง
*น.ส.วณิดา สามทอง รหัส 5210125401065 เอกการจัดการทั่วไป ปี 4 *

วณิดา สามทอง กล่าวว่า...

การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม : ภายใน
สภาพแวดล้อมแวดล้อมภายในประกอบไปด้วย ปัจจัย (จุดแข็งและจุดอ่อน) ที่อยู่ภายในบริษัทและไม่ได้อยู่ภายใต้การควบคุมระยะสั้นของผู้บริหารระดับสูง ปัจจัยเหล่านี้ได้แก่ โครงสร้าง วัฒนธรรม และทรัพยากรของบริษัท
- โครงสร้างของบริษัท (Corporate Structure) จะแสดงให้เห็นถึงการรวมกลุ่มงาน ความสัมพันธ์ทางอำนาจหน้าที่ การไหลเวียนของงาน และการติดต่อสื่อสารภายในบริษัท เรามักจะเรียกโครงสร้างบริษัทนี้ว่า “สายการบังคับบัญชา” โดยทั่วไปโครงสร้างบริษัทจะแสดงให้เห็นสภาพภายในแผนภูมิองค์การ
- วัฒนธรรมขององค์การ (Corporate Culture) จะหมายถึงความเชื่อ ความคาดหวัง และค่ายนิยมร่วมกันของบรรดาบุคคลภายในบริษัท โดยทั่วไปจะปรากฏขึ้นมาเป็นบรรทัดฐานที่ระบุพฤติกรรมที่ยอมรับกันของบุคคล ตั้งแต่ผู้บริหารระดับสูงลงมาจนถึงพนักงานระดับล่างสุด
- ทรัพยากรของบริษัท (Corporate Resources) จะหมายถึงทรัพย์สินทุกอย่างภายในการผลิตและการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของบริษัท ทรัพย์สินเหล่านี้ ได้แก่ คน เงินทุน วัตถุดิบ โรงงาน เทคโนโลยี และทักษะ เป็นต้น
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม : ภายนอก
สภาพแวดล้อมภายนอกประกอบด้วยปัจจัย (โอกาสและอุปสรรค) ที่อยู่ภายนอกบริษัทและไม่ได้อยู่ภายใต้กรควบคุมของผู้บริหารระดับสูง โดยทั่วไปสภาพแวดล้อมภายนอกจะมีอยู่สองส่วนคือ : สภาพแวดล้อมการดำเนินงานและสภาพแวดล้อมโดยทั่วไป
- สภาพแวดล้อมการดำเนินงาน (Task Environment) จะประกอบด้วยปัจจัยที่กระทบและถูกกระทบโดยตรงต่อการดำเนินงานของบริษัทปัจจัยเหล่านี้ ได้แก่ ผู้มีส่วนได้เสีย รัฐบาล ผู้จำหน่ายวัตถุดิบ ชุมชน คู่แข่งขัน ลูกค้า เจ้าหนี้ สหภาพแรงงาน สมาคมการค้า และกลุ่มผลประโยชน์ เรามักจะเรียกสภาพแวดล้อมการดำเนินงานของบริษัทว่าอุตสาหกรรม
- สภาพแวดล้อมโดยทั่วไป (General Environment) จะประกอบด้วยปัจจัยที่ไม่กระทบโดยตรงต่อการดำเนินงานระยะสั้นของบริษัท ปัจจัยเหล่านี้จะมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจในระยะยาวของบริษัท ปัจจัยเหล่านี้ ได้แก่ เศรษฐกิจ สังคมวัฒนธรรม เทคโนโลยี และการเมือง กฎหมาย

อ้างอิงจาก สมยศ นาวีการ. (2535). การบริหารเชิงกลยุทธ์และนโยบายทางธุรกิจ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์.บรรณกิจเทรดดิ้ง
*น.ส.วณิดา สามทอง รหัส 5210125401065 เอกการจัดการทั่วไป ปี 4 *

Unknown กล่าวว่า...

สรุปการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในเป็นการศึกษาเพื่อค้นหาและระบุว่าองค์การจะต้องบริหารงานและดำเนินงานที่จะนำปัจจัยขององค์การมาใช้เพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันจากจุดแข็งและโอกาส ตลอดจนเพื่อหลีกเลี่ยงจุดอ่อนและอุปสรรคที่จะเกิดขึ้น การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในขององค์การสามารถทำได้หลายวิธี ดังนี้ คือ การวิเคราะห์โดยใช้ทรัพยากรเป็นฐานเป็นการพิจารณาถึงคุณลักษณะพิเศษของทรัพยากรที่จะสร้างผลตอบแทนเข้าสู่องค์การ การวิเคราะห์ลูกโซ่แห่งคุณค่าเป็นการพิจารณากิจกรรมภายในขององค์การ ที่สร้างคุณค่าให้กับลูกค้า แบ่งเป็นกิจกรรมหลัก 5 กิจกรรม และกิจกรรมสนับสนุน 4 กิจกรรม เพื่อนำไปสู่การได้เปรียบเทียบทางการแข่งขัน โดยการปรับปรุงกิจกรรมในแต่ละกิจกรรมให้เป็นจุดแข็งที่จะก่อให้เกิดคุณค่าให้แก่ลูกค้า การวิเคราะห์ตามหน้าที่ธุรกิจเป็นการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในองค์การโดยแยกตามหน้าที่ธุรกิจ คือ การตลาด การเงิน การผลิตและดำเนินงาน การบริหารทรัพยากรมนุษย์ การวิจัยและพัฒนา การจัดการและระบบสารสนเทศ การวิเคราะห์โครงร่าง 7-S ของแมคคีนซีย์เป็นการศึกษาปัจจัยที่เป็นส่วนประกอบสำคัญที่มีผลต่อความสำเร็จในการดำเนินงานขององค์การ ประกอบด้วย โครงร่าง กลยุทธ์ ระบบ รูปแบบ การบริหาร พนักงาน ทักษะฝีมือและค่านิยมร่วมและการวิเคราะห์ความสามารถหลักขององค์การเป็นการวิเคราะห์ปัจจัยที่เป็นความสามารถหลักขององค์การที่จะนำไปสู่การแข่งขันให้ประสบความสำเร็จ โดยการสร้างคุณค่าให้แก่ลูกค้าที่สามารถรับรู้ได้ เช่น ความคงทน ความสะดวกสบาย หรือความน่าใช้ในตัวสินค้าหรือบริการ
อ้างอิงจาก http://www.oknation.net/blog/sareenal
น.ส. กันตินันท์ บุญลิลา 5130125401235

Be^Knicknac^ กล่าวว่า...

การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม : ภายใน
สภาพแวดล้อมแวดล้อมภายในประกอบไปด้วย ปัจจัย (จุดแข็งและจุดอ่อน) ที่อยู่ภายในบริษัทและไม่ได้อยู่ภายใต้การควบคุมระยะสั้นของผู้บริหารระดับสูง ปัจจัยเหล่านี้ได้แก่ โครงสร้าง วัฒนธรรม และทรัพยากรของบริษัท
- โครงสร้างของบริษัท (Corporate Structure) จะแสดงให้เห็นถึงการรวมกลุ่มงาน ความสัมพันธ์ทางอำนาจหน้าที่ การไหลเวียนของงาน และการติดต่อสื่อสารภายในบริษัท เรามักจะเรียกโครงสร้างบริษัทนี้ว่า “สายการบังคับบัญชา” โดยทั่วไปโครงสร้างบริษัทจะแสดงให้เห็นสภาพภายในแผนภูมิองค์การ
- วัฒนธรรมขององค์การ (Corporate Culture) จะหมายถึงความเชื่อ ความคาดหวัง และค่ายนิยมร่วมกันของบรรดาบุคคลภายในบริษัท โดยทั่วไปจะปรากฏขึ้นมาเป็นบรรทัดฐานที่ระบุพฤติกรรมที่ยอมรับกันของบุคคล ตั้งแต่ผู้บริหารระดับสูงลงมาจนถึงพนักงานระดับล่างสุด
- ทรัพยากรของบริษัท (Corporate Resources) จะหมายถึงทรัพย์สินทุกอย่างภายในการผลิตและการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของบริษัท ทรัพย์สินเหล่านี้ ได้แก่ คน เงินทุน วัตถุดิบ โรงงาน เทคโนโลยี และทักษะ เป็นต้น
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม : ภายนอก
สภาพแวดล้อมภายนอกประกอบด้วยปัจจัย (โอกาสและอุปสรรค) ที่อยู่ภายนอกบริษัทและไม่ได้อยู่ภายใต้กรควบคุมของผู้บริหารระดับสูง โดยทั่วไปสภาพแวดล้อมภายนอกจะมีอยู่สองส่วนคือ : สภาพแวดล้อมการดำเนินงานและสภาพแวดล้อมโดยทั่วไป
- สภาพแวดล้อมการดำเนินงาน (Task Environment) จะประกอบด้วยปัจจัยที่กระทบและถูกกระทบโดยตรงต่อการดำเนินงานของบริษัทปัจจัยเหล่านี้ ได้แก่ ผู้มีส่วนได้เสีย รัฐบาล ผู้จำหน่ายวัตถุดิบ ชุมชน คู่แข่งขัน ลูกค้า เจ้าหนี้ สหภาพแรงงาน สมาคมการค้า และกลุ่มผลประโยชน์ เรามักจะเรียกสภาพแวดล้อมการดำเนินงานของบริษัทว่าอุตสาหกรรม
- สภาพแวดล้อมโดยทั่วไป (General Environment) จะประกอบด้วยปัจจัยที่ไม่กระทบโดยตรงต่อการดำเนินงานระยะสั้นของบริษัท ปัจจัยเหล่านี้จะมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจในระยะยาวของบริษัท ปัจจัยเหล่านี้ ได้แก่ เศรษฐกิจ สังคมวัฒนธรรม เทคโนโลยี และการเมือง กฎหมาย

อ้างอิงจาก สมยศ นาวีการ. (2535). การบริหารเชิงกลยุทธ์และนโยบายทางธุรกิจ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์.บรรณกิจเทรดดิ้ง
*น.ส.วณิดา สามทอง รหัส 5210125401065เอกการจัดการทั่วไป ปี 4 *

Be^Knicknac^ กล่าวว่า...

การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม : ภายใน
สภาพแวดล้อมแวดล้อมภายในประกอบไปด้วย ปัจจัย (จุดแข็งและจุดอ่อน) ที่อยู่ภายในบริษัทและไม่ได้อยู่ภายใต้การควบคุมระยะสั้นของผู้บริหารระดับสูง ปัจจัยเหล่านี้ได้แก่ โครงสร้าง วัฒนธรรม และทรัพยากรของบริษัท
- โครงสร้างของบริษัท (Corporate Structure) จะแสดงให้เห็นถึงการรวมกลุ่มงาน ความสัมพันธ์ทางอำนาจหน้าที่ การไหลเวียนของงาน และการติดต่อสื่อสารภายในบริษัท เรามักจะเรียกโครงสร้างบริษัทนี้ว่า “สายการบังคับบัญชา” โดยทั่วไปโครงสร้างบริษัทจะแสดงให้เห็นสภาพภายในแผนภูมิองค์การ
- วัฒนธรรมขององค์การ (Corporate Culture) จะหมายถึงความเชื่อ ความคาดหวัง และค่ายนิยมร่วมกันของบรรดาบุคคลภายในบริษัท โดยทั่วไปจะปรากฏขึ้นมาเป็นบรรทัดฐานที่ระบุพฤติกรรมที่ยอมรับกันของบุคคล ตั้งแต่ผู้บริหารระดับสูงลงมาจนถึงพนักงานระดับล่างสุด
- ทรัพยากรของบริษัท (Corporate Resources) จะหมายถึงทรัพย์สินทุกอย่างภายในการผลิตและการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของบริษัท ทรัพย์สินเหล่านี้ ได้แก่ คน เงินทุน วัตถุดิบ โรงงาน เทคโนโลยี และทักษะ เป็นต้น
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม : ภายนอก
สภาพแวดล้อมภายนอกประกอบด้วยปัจจัย (โอกาสและอุปสรรค) ที่อยู่ภายนอกบริษัทและไม่ได้อยู่ภายใต้กรควบคุมของผู้บริหารระดับสูง โดยทั่วไปสภาพแวดล้อมภายนอกจะมีอยู่สองส่วนคือ : สภาพแวดล้อมการดำเนินงานและสภาพแวดล้อมโดยทั่วไป
- สภาพแวดล้อมการดำเนินงาน (Task Environment) จะประกอบด้วยปัจจัยที่กระทบและถูกกระทบโดยตรงต่อการดำเนินงานของบริษัทปัจจัยเหล่านี้ ได้แก่ ผู้มีส่วนได้เสีย รัฐบาล ผู้จำหน่ายวัตถุดิบ ชุมชน คู่แข่งขัน ลูกค้า เจ้าหนี้ สหภาพแรงงาน สมาคมการค้า และกลุ่มผลประโยชน์ เรามักจะเรียกสภาพแวดล้อมการดำเนินงานของบริษัทว่าอุตสาหกรรม
- สภาพแวดล้อมโดยทั่วไป (General Environment) จะประกอบด้วยปัจจัยที่ไม่กระทบโดยตรงต่อการดำเนินงานระยะสั้นของบริษัท ปัจจัยเหล่านี้จะมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจในระยะยาวของบริษัท ปัจจัยเหล่านี้ ได้แก่ เศรษฐกิจ สังคมวัฒนธรรม เทคโนโลยี และการเมือง กฎหมาย

อ้างอิงจาก สมยศ นาวีการ. (2535). การบริหารเชิงกลยุทธ์และนโยบายทางธุรกิจ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์.บรรณกิจเทรดดิ้ง

*น.ส.วณิดา สามทอง รหัส 5210125401065 เอกการจัดการทั่วไป ปี 4 *

Be^Knicknac^ กล่าวว่า...

การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม : ภายใน
สภาพแวดล้อมแวดล้อมภายในประกอบไปด้วย ปัจจัย (จุดแข็งและจุดอ่อน) ที่อยู่ภายในบริษัทและไม่ได้อยู่ภายใต้การควบคุมระยะสั้นของผู้บริหารระดับสูง ปัจจัยเหล่านี้ได้แก่ โครงสร้าง วัฒนธรรม และทรัพยากรของบริษัท
- โครงสร้างของบริษัท (Corporate Structure) จะแสดงให้เห็นถึงการรวมกลุ่มงาน ความสัมพันธ์ทางอำนาจหน้าที่ การไหลเวียนของงาน และการติดต่อสื่อสารภายในบริษัท เรามักจะเรียกโครงสร้างบริษัทนี้ว่า “สายการบังคับบัญชา” โดยทั่วไปโครงสร้างบริษัทจะแสดงให้เห็นสภาพภายในแผนภูมิองค์การ
- วัฒนธรรมขององค์การ (Corporate Culture) จะหมายถึงความเชื่อ ความคาดหวัง และค่ายนิยมร่วมกันของบรรดาบุคคลภายในบริษัท โดยทั่วไปจะปรากฏขึ้นมาเป็นบรรทัดฐานที่ระบุพฤติกรรมที่ยอมรับกันของบุคคล ตั้งแต่ผู้บริหารระดับสูงลงมาจนถึงพนักงานระดับล่างสุด
- ทรัพยากรของบริษัท (Corporate Resources) จะหมายถึงทรัพย์สินทุกอย่างภายในการผลิตและการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของบริษัท ทรัพย์สินเหล่านี้ ได้แก่ คน เงินทุน วัตถุดิบ โรงงาน เทคโนโลยี และทักษะ เป็นต้น
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม : ภายนอก
สภาพแวดล้อมภายนอกประกอบด้วยปัจจัย (โอกาสและอุปสรรค) ที่อยู่ภายนอกบริษัทและไม่ได้อยู่ภายใต้กรควบคุมของผู้บริหารระดับสูง โดยทั่วไปสภาพแวดล้อมภายนอกจะมีอยู่สองส่วนคือ : สภาพแวดล้อมการดำเนินงานและสภาพแวดล้อมโดยทั่วไป
- สภาพแวดล้อมการดำเนินงาน (Task Environment) จะประกอบด้วยปัจจัยที่กระทบและถูกกระทบโดยตรงต่อการดำเนินงานของบริษัทปัจจัยเหล่านี้ ได้แก่ ผู้มีส่วนได้เสีย รัฐบาล ผู้จำหน่ายวัตถุดิบ ชุมชน คู่แข่งขัน ลูกค้า เจ้าหนี้ สหภาพแรงงาน สมาคมการค้า และกลุ่มผลประโยชน์ เรามักจะเรียกสภาพแวดล้อมการดำเนินงานของบริษัทว่าอุตสาหกรรม
- สภาพแวดล้อมโดยทั่วไป (General Environment) จะประกอบด้วยปัจจัยที่ไม่กระทบโดยตรงต่อการดำเนินงานระยะสั้นของบริษัท ปัจจัยเหล่านี้จะมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจในระยะยาวของบริษัท ปัจจัยเหล่านี้ ได้แก่ เศรษฐกิจ สังคมวัฒนธรรม เทคโนโลยี และการเมือง กฎหมาย

อ้างอิงจาก สมยศ นาวีการ. (2535). การบริหารเชิงกลยุทธ์และนโยบายทางธุรกิจ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์.บรรณกิจเทรดดิ้ง
*น.ส.วณิดา สามทอง รหัส 5210125401065 เอกการจัดการทั่วไป ปี 4 *

Be^Knicknac^ กล่าวว่า...

การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม : ภายใน
สภาพแวดล้อมแวดล้อมภายในประกอบไปด้วย ปัจจัย (จุดแข็งและจุดอ่อน) ที่อยู่ภายในบริษัทและไม่ได้อยู่ภายใต้การควบคุมระยะสั้นของผู้บริหารระดับสูง ปัจจัยเหล่านี้ได้แก่ โครงสร้าง วัฒนธรรม และทรัพยากรของบริษัท
- โครงสร้างของบริษัท (Corporate Structure) จะแสดงให้เห็นถึงการรวมกลุ่มงาน ความสัมพันธ์ทางอำนาจหน้าที่ การไหลเวียนของงาน และการติดต่อสื่อสารภายในบริษัท เรามักจะเรียกโครงสร้างบริษัทนี้ว่า “สายการบังคับบัญชา” โดยทั่วไปโครงสร้างบริษัทจะแสดงให้เห็นสภาพภายในแผนภูมิองค์การ
- วัฒนธรรมขององค์การ (Corporate Culture) จะหมายถึงความเชื่อ ความคาดหวัง และค่ายนิยมร่วมกันของบรรดาบุคคลภายในบริษัท โดยทั่วไปจะปรากฏขึ้นมาเป็นบรรทัดฐานที่ระบุพฤติกรรมที่ยอมรับกันของบุคคล ตั้งแต่ผู้บริหารระดับสูงลงมาจนถึงพนักงานระดับล่างสุด
- ทรัพยากรของบริษัท (Corporate Resources) จะหมายถึงทรัพย์สินทุกอย่างภายในการผลิตและการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของบริษัท ทรัพย์สินเหล่านี้ ได้แก่ คน เงินทุน วัตถุดิบ โรงงาน เทคโนโลยี และทักษะ เป็นต้น
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม : ภายนอก
สภาพแวดล้อมภายนอกประกอบด้วยปัจจัย (โอกาสและอุปสรรค) ที่อยู่ภายนอกบริษัทและไม่ได้อยู่ภายใต้กรควบคุมของผู้บริหารระดับสูง โดยทั่วไปสภาพแวดล้อมภายนอกจะมีอยู่สองส่วนคือ : สภาพแวดล้อมการดำเนินงานและสภาพแวดล้อมโดยทั่วไป
- สภาพแวดล้อมการดำเนินงาน (Task Environment) จะประกอบด้วยปัจจัยที่กระทบและถูกกระทบโดยตรงต่อการดำเนินงานของบริษัทปัจจัยเหล่านี้ ได้แก่ ผู้มีส่วนได้เสีย รัฐบาล ผู้จำหน่ายวัตถุดิบ ชุมชน คู่แข่งขัน ลูกค้า เจ้าหนี้ สหภาพแรงงาน สมาคมการค้า และกลุ่มผลประโยชน์ เรามักจะเรียกสภาพแวดล้อมการดำเนินงานของบริษัทว่าอุตสาหกรรม
- สภาพแวดล้อมโดยทั่วไป (General Environment) จะประกอบด้วยปัจจัยที่ไม่กระทบโดยตรงต่อการดำเนินงานระยะสั้นของบริษัท ปัจจัยเหล่านี้จะมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจในระยะยาวของบริษัท ปัจจัยเหล่านี้ ได้แก่ เศรษฐกิจ สังคมวัฒนธรรม เทคโนโลยี และการเมือง กฎหมาย

อ้างอิงจาก สมยศ นาวีการ. (2535). การบริหารเชิงกลยุทธ์และนโยบายทางธุรกิจ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์.บรรณกิจเทรดดิ้ง
*น.ส.วณิดา สามทอง รหัส 5210125401065 เอกการจัดการทั่วไป ปี 4 *

Be^Knicknac^ กล่าวว่า...

การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม : ภายใน
สภาพแวดล้อมแวดล้อมภายในประกอบไปด้วย ปัจจัย (จุดแข็งและจุดอ่อน) ที่อยู่ภายในบริษัทและไม่ได้อยู่ภายใต้การควบคุมระยะสั้นของผู้บริหารระดับสูง ปัจจัยเหล่านี้ได้แก่ โครงสร้าง วัฒนธรรม และทรัพยากรของบริษัท
- โครงสร้างของบริษัท (Corporate Structure) จะแสดงให้เห็นถึงการรวมกลุ่มงาน ความสัมพันธ์ทางอำนาจหน้าที่ การไหลเวียนของงาน และการติดต่อสื่อสารภายในบริษัท เรามักจะเรียกโครงสร้างบริษัทนี้ว่า “สายการบังคับบัญชา” โดยทั่วไปโครงสร้างบริษัทจะแสดงให้เห็นสภาพภายในแผนภูมิองค์การ
- วัฒนธรรมขององค์การ (Corporate Culture) จะหมายถึงความเชื่อ ความคาดหวัง และค่ายนิยมร่วมกันของบรรดาบุคคลภายในบริษัท โดยทั่วไปจะปรากฏขึ้นมาเป็นบรรทัดฐานที่ระบุพฤติกรรมที่ยอมรับกันของบุคคล ตั้งแต่ผู้บริหารระดับสูงลงมาจนถึงพนักงานระดับล่างสุด
- ทรัพยากรของบริษัท (Corporate Resources) จะหมายถึงทรัพย์สินทุกอย่างภายในการผลิตและการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของบริษัท ทรัพย์สินเหล่านี้ ได้แก่ คน เงินทุน วัตถุดิบ โรงงาน เทคโนโลยี และทักษะ เป็นต้น
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม : ภายนอก
สภาพแวดล้อมภายนอกประกอบด้วยปัจจัย (โอกาสและอุปสรรค) ที่อยู่ภายนอกบริษัทและไม่ได้อยู่ภายใต้กรควบคุมของผู้บริหารระดับสูง โดยทั่วไปสภาพแวดล้อมภายนอกจะมีอยู่สองส่วนคือ : สภาพแวดล้อมการดำเนินงานและสภาพแวดล้อมโดยทั่วไป
- สภาพแวดล้อมการดำเนินงาน (Task Environment) จะประกอบด้วยปัจจัยที่กระทบและถูกกระทบโดยตรงต่อการดำเนินงานของบริษัทปัจจัยเหล่านี้ ได้แก่ ผู้มีส่วนได้เสีย รัฐบาล ผู้จำหน่ายวัตถุดิบ ชุมชน คู่แข่งขัน ลูกค้า เจ้าหนี้ สหภาพแรงงาน สมาคมการค้า และกลุ่มผลประโยชน์ เรามักจะเรียกสภาพแวดล้อมการดำเนินงานของบริษัทว่าอุตสาหกรรม
- สภาพแวดล้อมโดยทั่วไป (General Environment) จะประกอบด้วยปัจจัยที่ไม่กระทบโดยตรงต่อการดำเนินงานระยะสั้นของบริษัท ปัจจัยเหล่านี้จะมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจในระยะยาวของบริษัท ปัจจัยเหล่านี้ ได้แก่ เศรษฐกิจ สังคมวัฒนธรรม เทคโนโลยี และการเมือง กฎหมาย

อ้างอิงจาก สมยศ นาวีการ. (2535). การบริหารเชิงกลยุทธ์และนโยบายทางธุรกิจ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์.บรรณกิจเทรดดิ้ง
*น.ส.วณิดา สามทอง รหัส 5210125401065 เอกการจัดการทั่วไป ปี 4 *

Be^Knicknac^ กล่าวว่า...

การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม : ภายใน
สภาพแวดล้อมแวดล้อมภายในประกอบไปด้วย ปัจจัย (จุดแข็งและจุดอ่อน) ที่อยู่ภายในบริษัทและไม่ได้อยู่ภายใต้การควบคุมระยะสั้นของผู้บริหารระดับสูง ปัจจัยเหล่านี้ได้แก่ โครงสร้าง วัฒนธรรม และทรัพยากรของบริษัท
- โครงสร้างของบริษัท (Corporate Structure) จะแสดงให้เห็นถึงการรวมกลุ่มงาน ความสัมพันธ์ทางอำนาจหน้าที่ การไหลเวียนของงาน และการติดต่อสื่อสารภายในบริษัท เรามักจะเรียกโครงสร้างบริษัทนี้ว่า “สายการบังคับบัญชา” โดยทั่วไปโครงสร้างบริษัทจะแสดงให้เห็นสภาพภายในแผนภูมิองค์การ
- วัฒนธรรมขององค์การ (Corporate Culture) จะหมายถึงความเชื่อ ความคาดหวัง และค่ายนิยมร่วมกันของบรรดาบุคคลภายในบริษัท โดยทั่วไปจะปรากฏขึ้นมาเป็นบรรทัดฐานที่ระบุพฤติกรรมที่ยอมรับกันของบุคคล ตั้งแต่ผู้บริหารระดับสูงลงมาจนถึงพนักงานระดับล่างสุด
- ทรัพยากรของบริษัท (Corporate Resources) จะหมายถึงทรัพย์สินทุกอย่างภายในการผลิตและการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของบริษัท ทรัพย์สินเหล่านี้ ได้แก่ คน เงินทุน วัตถุดิบ โรงงาน เทคโนโลยี และทักษะ เป็นต้น
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม : ภายนอก
สภาพแวดล้อมภายนอกประกอบด้วยปัจจัย (โอกาสและอุปสรรค) ที่อยู่ภายนอกบริษัทและไม่ได้อยู่ภายใต้กรควบคุมของผู้บริหารระดับสูง โดยทั่วไปสภาพแวดล้อมภายนอกจะมีอยู่สองส่วนคือ : สภาพแวดล้อมการดำเนินงานและสภาพแวดล้อมโดยทั่วไป
- สภาพแวดล้อมการดำเนินงาน (Task Environment) จะประกอบด้วยปัจจัยที่กระทบและถูกกระทบโดยตรงต่อการดำเนินงานของบริษัทปัจจัยเหล่านี้ ได้แก่ ผู้มีส่วนได้เสีย รัฐบาล ผู้จำหน่ายวัตถุดิบ ชุมชน คู่แข่งขัน ลูกค้า เจ้าหนี้ สหภาพแรงงาน สมาคมการค้า และกลุ่มผลประโยชน์ เรามักจะเรียกสภาพแวดล้อมการดำเนินงานของบริษัทว่าอุตสาหกรรม
- สภาพแวดล้อมโดยทั่วไป (General Environment) จะประกอบด้วยปัจจัยที่ไม่กระทบโดยตรงต่อการดำเนินงานระยะสั้นของบริษัท ปัจจัยเหล่านี้จะมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจในระยะยาวของบริษัท ปัจจัยเหล่านี้ ได้แก่ เศรษฐกิจ สังคมวัฒนธรรม เทคโนโลยี และการเมือง กฎหมาย

อ้างอิงจาก สมยศ นาวีการ. (2535). การบริหารเชิงกลยุทธ์และนโยบายทางธุรกิจ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์.บรรณกิจเทรดดิ้ง
*น.ส.วณิดา สามทอง รหัส 5210125401065 เอกการจัดการทั่วไป ปี 4 *

Unknown กล่าวว่า...
ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ
Be^Knicknac^ กล่าวว่า...

การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม : ภายใน
สภาพแวดล้อมแวดล้อมภายในประกอบไปด้วย ปัจจัย (จุดแข็งและจุดอ่อน) ที่อยู่ภายในบริษัทและไม่ได้อยู่ภายใต้การควบคุมระยะสั้นของผู้บริหารระดับสูง ปัจจัยเหล่านี้ได้แก่ โครงสร้าง วัฒนธรรม และทรัพยากรของบริษัท
- โครงสร้างของบริษัท (Corporate Structure) จะแสดงให้เห็นถึงการรวมกลุ่มงาน ความสัมพันธ์ทางอำนาจหน้าที่ การไหลเวียนของงาน และการติดต่อสื่อสารภายในบริษัท เรามักจะเรียกโครงสร้างบริษัทนี้ว่า “สายการบังคับบัญชา” โดยทั่วไปโครงสร้างบริษัทจะแสดงให้เห็นสภาพภายในแผนภูมิองค์การ
- วัฒนธรรมขององค์การ (Corporate Culture) จะหมายถึงความเชื่อ ความคาดหวัง และค่ายนิยมร่วมกันของบรรดาบุคคลภายในบริษัท โดยทั่วไปจะปรากฏขึ้นมาเป็นบรรทัดฐานที่ระบุพฤติกรรมที่ยอมรับกันของบุคคล ตั้งแต่ผู้บริหารระดับสูงลงมาจนถึงพนักงานระดับล่างสุด
- ทรัพยากรของบริษัท (Corporate Resources) จะหมายถึงทรัพย์สินทุกอย่างภายในการผลิตและการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของบริษัท ทรัพย์สินเหล่านี้ ได้แก่ คน เงินทุน วัตถุดิบ โรงงาน เทคโนโลยี และทักษะ เป็นต้น
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม : ภายนอก
สภาพแวดล้อมภายนอกประกอบด้วยปัจจัย (โอกาสและอุปสรรค) ที่อยู่ภายนอกบริษัทและไม่ได้อยู่ภายใต้กรควบคุมของผู้บริหารระดับสูง โดยทั่วไปสภาพแวดล้อมภายนอกจะมีอยู่สองส่วนคือ : สภาพแวดล้อมการดำเนินงานและสภาพแวดล้อมโดยทั่วไป
- สภาพแวดล้อมการดำเนินงาน (Task Environment) จะประกอบด้วยปัจจัยที่กระทบและถูกกระทบโดยตรงต่อการดำเนินงานของบริษัทปัจจัยเหล่านี้ ได้แก่ ผู้มีส่วนได้เสีย รัฐบาล ผู้จำหน่ายวัตถุดิบ ชุมชน คู่แข่งขัน ลูกค้า เจ้าหนี้ สหภาพแรงงาน สมาคมการค้า และกลุ่มผลประโยชน์ เรามักจะเรียกสภาพแวดล้อมการดำเนินงานของบริษัทว่าอุตสาหกรรม
- สภาพแวดล้อมโดยทั่วไป (General Environment) จะประกอบด้วยปัจจัยที่ไม่กระทบโดยตรงต่อการดำเนินงานระยะสั้นของบริษัท ปัจจัยเหล่านี้จะมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจในระยะยาวของบริษัท ปัจจัยเหล่านี้ ได้แก่ เศรษฐกิจ สังคมวัฒนธรรม เทคโนโลยี และการเมือง กฎหมาย

อ้างอิงจาก สมยศ นาวีการ. (2535). การบริหารเชิงกลยุทธ์และนโยบายทางธุรกิจ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์.บรรณกิจเทรดดิ้ง
*น.ส.วณิดา สามทอง รหัส 5210125401065 เอกการจัดการทั่วไป ปี 4 *

Unknown กล่าวว่า...

การวิเคราะห์สวอต (SWOT Analysis)

การนำเทคนิคที่เรียกว่า TOWS Matrix มาใช้ในการวิเคราะห์เพื่อกำหนดยุทธศาสตร์และกลยุทธ์ จะมีขั้นตอนการดำเนินการที่สำคัญ 2 ขั้นตอน ดังนี้

1. หลังจากที่มีการประเมินสภาพแวดล้อมโดยการวิเคราะห์ให้เห็นถึงจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและอุปสรรค ก็จะนำข้อมูลทั้งหมดมาวิเคราะห์ในรูปแบบความสัมพันธ์แบบแมตริกซ์โดยใช้

ตารางที่เรียกว่า TOWS Matrix

2. การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และ อุปสรรค ซึ่งผลของการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ให้เกิดยุทธ์ศาสตร์หรือกลยุทธ์สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ประเภท คือ

1) SO ได้มาจากการนำข้อมูลการประเมินสภาพแวดล้อมที่เป็นจุดแข็งและโอกาสมาพิจารณาร่วมกัน เพื่อที่จะนำมากำหนดเป็นยุทธ์ศาสตร์หรือกลยุทธ์เชิงรุก

2) ST ได้มาจากการนำข้อมูลการประเมินสภาพแวดล้อมที่เป็นจุดแข็งและอุปสรรคมาพิจารณาร่วมกัน เพื่อที่จะนำมากำหนดเป็นยุทธ์ศาสตร์หรือกลยุทธ์เชิงป้องกัน

3) WO ได้มาจากการนำข้อมูลการประเมินสภาพแวดล้อมที่เป็นจุดอ่อนและโอกาสมาพิจารณาร่วมกัน เพื่อที่จะนำมากำหนดเป็นยุทธ์ศาสตร์หรือกลยุทธ์เชิงแก้ไข

4) WT ได้มาจากการนำข้อมูลการประเมินสภาพแวดล้อมที่เป็นจุดอ่อนและอุปสรรคมาพิจารณาร่วมกัน เพื่อที่จะนำมากำหนดเป็นยุทธ์ศาสตร์หรือกลยุทธ์เชิงรับ

อ้างอิง http://www.oknation.net/blog/knowledge09/2009/08/06/entry-1

นางสาว มาลินี นิยมไทย รหัส 5210125401057 สาขาวิชาการจัดการทั่วไป ปี 4

Be^Knicknac^ กล่าวว่า...

การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม : ภายใน
สภาพแวดล้อมแวดล้อมภายในประกอบไปด้วย ปัจจัย (จุดแข็งและจุดอ่อน) ที่อยู่ภายในบริษัทและไม่ได้อยู่ภายใต้การควบคุมระยะสั้นของผู้บริหารระดับสูง ปัจจัยเหล่านี้ได้แก่ โครงสร้าง วัฒนธรรม และทรัพยากรของบริษัท
- โครงสร้างของบริษัท (Corporate Structure) จะแสดงให้เห็นถึงการรวมกลุ่มงาน ความสัมพันธ์ทางอำนาจหน้าที่ การไหลเวียนของงาน และการติดต่อสื่อสารภายในบริษัท เรามักจะเรียกโครงสร้างบริษัทนี้ว่า “สายการบังคับบัญชา” โดยทั่วไปโครงสร้างบริษัทจะแสดงให้เห็นสภาพภายในแผนภูมิองค์การ
- วัฒนธรรมขององค์การ (Corporate Culture) จะหมายถึงความเชื่อ ความคาดหวัง และค่ายนิยมร่วมกันของบรรดาบุคคลภายในบริษัท โดยทั่วไปจะปรากฏขึ้นมาเป็นบรรทัดฐานที่ระบุพฤติกรรมที่ยอมรับกันของบุคคล ตั้งแต่ผู้บริหารระดับสูงลงมาจนถึงพนักงานระดับล่างสุด
- ทรัพยากรของบริษัท (Corporate Resources) จะหมายถึงทรัพย์สินทุกอย่างภายในการผลิตและการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของบริษัท ทรัพย์สินเหล่านี้ ได้แก่ คน เงินทุน วัตถุดิบ โรงงาน เทคโนโลยี และทักษะ เป็นต้น
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม : ภายนอก
สภาพแวดล้อมภายนอกประกอบด้วยปัจจัย (โอกาสและอุปสรรค) ที่อยู่ภายนอกบริษัทและไม่ได้อยู่ภายใต้กรควบคุมของผู้บริหารระดับสูง โดยทั่วไปสภาพแวดล้อมภายนอกจะมีอยู่สองส่วนคือ : สภาพแวดล้อมการดำเนินงานและสภาพแวดล้อมโดยทั่วไป
- สภาพแวดล้อมการดำเนินงาน (Task Environment) จะประกอบด้วยปัจจัยที่กระทบและถูกกระทบโดยตรงต่อการดำเนินงานของบริษัทปัจจัยเหล่านี้ ได้แก่ ผู้มีส่วนได้เสีย รัฐบาล ผู้จำหน่ายวัตถุดิบ ชุมชน คู่แข่งขัน ลูกค้า เจ้าหนี้ สหภาพแรงงาน สมาคมการค้า และกลุ่มผลประโยชน์ เรามักจะเรียกสภาพแวดล้อมการดำเนินงานของบริษัทว่าอุตสาหกรรม
- สภาพแวดล้อมโดยทั่วไป (General Environment) จะประกอบด้วยปัจจัยที่ไม่กระทบโดยตรงต่อการดำเนินงานระยะสั้นของบริษัท ปัจจัยเหล่านี้จะมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจในระยะยาวของบริษัท ปัจจัยเหล่านี้ ได้แก่ เศรษฐกิจ สังคมวัฒนธรรม เทคโนโลยี และการเมือง กฎหมาย

อ้างอิงจาก สมยศ นาวีการ. (2535). การบริหารเชิงกลยุทธ์และนโยบายทางธุรกิจ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์.บรรณกิจเทรดดิ้ง
*น.ส.วณิดา สามทอง รหัส 5210125401065 เอกการจัดการทั่วไป ปี 4 *

Unknown กล่าวว่า...

การวิเคราะห์สวอต (SWOT Analysis)

การนำเทคนิคที่เรียกว่า TOWS Matrix มาใช้ในการวิเคราะห์เพื่อกำหนดยุทธศาสตร์และกลยุทธ์ จะมีขั้นตอนการดำเนินการที่สำคัญ 2 ขั้นตอน ดังนี้

1. หลังจากที่มีการประเมินสภาพแวดล้อมโดยการวิเคราะห์ให้เห็นถึงจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและอุปสรรค ก็จะนำข้อมูลทั้งหมดมาวิเคราะห์ในรูปแบบความสัมพันธ์แบบแมตริกซ์โดยใช้

ตารางที่เรียกว่า TOWS Matrix

2. การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และ อุปสรรค ซึ่งผลของการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ให้เกิดยุทธ์ศาสตร์หรือกลยุทธ์สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ประเภท คือ

1) SO ได้มาจากการนำข้อมูลการประเมินสภาพแวดล้อมที่เป็นจุดแข็งและโอกาสมาพิจารณาร่วมกัน เพื่อที่จะนำมากำหนดเป็นยุทธ์ศาสตร์หรือกลยุทธ์เชิงรุก

2) ST ได้มาจากการนำข้อมูลการประเมินสภาพแวดล้อมที่เป็นจุดแข็งและอุปสรรคมาพิจารณาร่วมกัน เพื่อที่จะนำมากำหนดเป็นยุทธ์ศาสตร์หรือกลยุทธ์เชิงป้องกัน

3) WO ได้มาจากการนำข้อมูลการประเมินสภาพแวดล้อมที่เป็นจุดอ่อนและโอกาสมาพิจารณาร่วมกัน เพื่อที่จะนำมากำหนดเป็นยุทธ์ศาสตร์หรือกลยุทธ์เชิงแก้ไข

4) WT ได้มาจากการนำข้อมูลการประเมินสภาพแวดล้อมที่เป็นจุดอ่อนและอุปสรรคมาพิจารณาร่วมกัน เพื่อที่จะนำมากำหนดเป็นยุทธ์ศาสตร์หรือกลยุทธ์เชิงรับ

อ้างอิง http://www.oknation.net/blog/knowledge09/2009/08/06/entry-1

นางสาวมาลินี นิยมไทย รหัส 5210125401057 เอกการจัดการทั่วไป ปี 4

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

การจัดการตามหลักการจัดการทั่วไปตามทฏษฎีการจัดการของ Henri Fayol

เกี่ยวกับหลักจัดการ Fayol ได้วางหลักทั่วไปที่ใช้ในการบริหารไว้ 14 ข้อ คือ

1.หลักที่เกี่ยวกับอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบ
2.หลักของการมีผู้บังคับบัญชาเพียงคนเดียว
3.หลักของการมีจุดมุ่งหมายร่วมกัน
4.หลักของการธำรงไว้ซึ่งสายงาน
5.หลักของการแบ่งงานกันทำ
6.หลักเกี่ยวกับระเบียบวินัย
7.หลักของการถือประโยชน์ส่วนบุคคลเป็นรองประโยชน์ส่วนรวม
8.หลักของการให้ผลประโยชน์ตอบแทน
9.หลักของการรวมอำนาจไว้ส่วนกลาง
10.หลักของความมีระเบียบเรียบร้อย
11.หลักของความเสมอภาค
12.หลักของความมีเสถียรภาพของการว่าจ้างทำงาน
13.หลักของความคิดริเริ่ม
14.หลักของความสามัคคี

อ้างอิงจาก Fayol, Henri. (1949). General and Industrial Management. London: Sir Isaac Pitman & Sons.

นาย ไกรฤกษ์ ไชยมงคล รหัส 5210125401005
เอกการจัดการทั่วไป ปี4

Unknown กล่าวว่า...
ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ
Unknown กล่าวว่า...

นส. อัญชลี คำประชม
การจัดการทั่วไป รหัส 5210125401058

การประเมินองค์การและสภาพแวดล้อม (Environment Scanning)
ในการประเมินสภาพแวดล้อมขององค์การนั้นจะประกอบไปด้วยการประเมินสภาพแวดล้อมภายนอก และการประเมินสภาพแวดล้อมภายใน โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ทราบถึง จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค หรือโดยทั่วไปจะเรียกว่าการวิเคราะห์ตามตัวแบบสว็อท (SWOT Analysis) ได้แก่
การวิเคราะห์จุดแข็ง (Strength –S)
การวิเคราะห์จุดอ่อน (Weakness –W)
การวิเคราะห์โอกาส (Opportunity –O)
การวิเคราะห์ภาวะคุกคาม (Threat- T)
2.1 การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในขององค์การ (Internal Analysis)
การวิเคราะห์ภายในขององค์การนั้น จะทำให้ทราบถึงจุดอ่อนและจุดแข็งขององค์การ ช่วยให้ประเมินอดีตและแนวโน้มในปัจจุบัน การวิเคราะห์ภายในสามารถทำได้โดยการวิเคราะห์ปัจจัยที่จะนำไปสู่ความสำเร็จ (Critical success factor) การวิเคราะห์ (Value chain) และวิเคราะห์กระบวนการหลัก (Core business process) ซึ่งจะทำให้องค์การมีความสามารถหลักที่โดดเด่น (Core competency)
• การวิเคราะห์ปัจจัยที่จะนำไปสู่ความสำเร็จ (Critical success factor) สามารถทำได้โดยการวิเคราะห์ลักษณะของกิจการ ตำแหน่งทางการแข่งขัน สภาพแวดล้อมทั่วไป และการพัฒนาองค์การ
โดยสรุปแล้วการวิเคราะห์ปัจจัยภายในหรือสภาพแวดล้อมภายในนี้จะทำให้ทราบถึงจุดแข็งหรือจุดอ่อนทางธุรกิจขององค์การ
จุดแข็ง : ลักษณะหรือองค์ประกอบขององค์การที่มีสมรรถนะเหนือกว่า
จุดอ่อน : ลักษณะหรือองค์ประกอบขององค์การที่มีสมรรถนะด้อยกว่าเมื่อเทียบกับคู่แข่ง
2.2 การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกองค์การ (External Analysis)
สภาพแวดล้อมภายนอกประกอบด้วย สภาพแวดล้อมทั่วไปและสภาพแวดล้อมในการดำเนินงาน
* สภาพแวดล้อมทั่วไป (General Environment) เป็นสภาพแวดล้อมที่มีความสำคัญ แต่อาจจะไม่ใช่สิ่งแวดล้อมที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับองค์การโดยตรงแต่เป็นสภาพแวดล้อมโดยทั่วไป มีตัวแบบในการพิจารณา คือ PEST Environment ได้แก่
สภาพแวดล้อมด้านการเมือง (Political Environment –P)
สภาพแวดล้อมด้านเศรษฐกิจ (Economic Environment –E)
สภาพแวดล้อมด้านสังคม (Sociological Environment –S)
สภาพแวดล้อมด้านเทคโนโลยี (Technology Environment –T)
สภาพแวดล้อมทั่วไปสามารถส่งผลกระทบต่อองค์การได้ ยกตัวอย่างเช่น หากรัฐออกกฎหมายที่เอื้อต่อการดำเนินธุรกิจ ก็จะส่งผลดีต่อโอกาสในการดำเนินงานขององค์การ หรือการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีที่รวดเร็วอาจส่งผลให้สินค้ามีความล้าสมัยอย่างรวดเร็ว เป็นต้น
• สภาพแวดล้อมในการดำเนินงาน (Task Environment) ไมเคิล อี พอร์ตเตอร์ (Michael E.Poter ) ได้เสนอตัวแบบการวิเคราะห์สภาพการแข่งขัน โดยใช้ตัวแบบที่ชื่อ The Five Compettive Force ซึ่งจะทำให้เราทราบถึงสมรรถภาพคู่แข่งที่เข้ามาใหม่
• การวิเคราะห์คู่แข่งที่เข้ามาใหม่ (New Entrance) ผู้ที่เข้ามาใหม่มีความมุ่งหวังที่จะเข้ามามีส่วนร่วม หรือมีส่วนแบ่งทางการตลาด ดังนั้นจึงเป็นภาวะที่คุกคาม ซึ่งจะมีมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับอุปสรรคที่เข้ามาและภาวะการตอบโต้ขององค์การ โดยสิ่งที่เป็นอุปสรรคต่อผู้ที่เข้ามาใหม่ ได้แก่ Ecomies of Scale ความประหยัดที่เกิดจากการผลิตจำนวนมาก (Economies of Scale) ทำให้คู่แข่งต้องมีการผลิตที่มีขนาดใหญ่พอ จึงจะสามารถต่อสู้กับกิจการเดิมได้
• การวิเคราะห์ผู้ซื้อ (Buyer) ผู้บริหารในองค์การภาครัฐ และภาคเอกชน จะต้องให้ความสำคัญกับลูกค้า เนื่องจากองค์การจะต้องเผชิญกับอำนาจการต่อรองของลูกค้า ในเรื่องของปริมาณ คุณภาพ และราคา
• การวิเคราะห์สินค้าทดแทน (Substitute) การมีสินค้าหรือบริการทดแทนทำให้องค์การต่าง ๆ จะต้องให้ความสำคัญกับคุณภาพของสินค้า ราคา และบริการที่นำเสนอให้กับลูกค้า เนื่องจากการละเลยความสำคัญดังกล่าวจะทำให้องค์การเสียเปรียบต่อคู่แข่งได้
• การวิเคราะห์คู่แข่ง (Rival) คู่แข่งมีความสำคัญอย่างยิ่งที่นักบริหารจะต้องคำนึงถึง เนื่องจากนักบริหารจะต้องใช้กลยุทธ์เพื่อสร้างความได้เปรียบเหนือคู่แข่ง การละเลยหรือไม่ให้ความสำคัญกับคู่แข่งจะหมายถึงความพ่ายแพ้
โดยสรุปแล้วการวิเคราะห์ปัจจัยภายนอกหรือสภาพแวดล้อมภายนอกนี้จะทำให้ทราบถึงโอกาสหรืออุปสรรคทางธุรกิจขององค์การ
โอกาส : การผสมผสานระหว่างเหตุการณ์ เวลา สถานที่ ที่มีแนวโน้มว่าจะเป็นประโยชน์ต่อองค์การ มาทำให้องค์การมีสมรรถนะที่จะดำเนินการบางอย่างที่เหนือกว่าคู่แข่ง
อุปสรรค : เหตุการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ และถ้าเกิดขึ้นก็จะทำความเสียหายให้แก่องค์การ
ที่มา อารีย์ แผ้วสกุลพันธ์.(2549)การจัดการเชิงกลยุทธ์.กรุงเทพฯ

Unknown กล่าวว่า...

การวิเคราะห์ภายนอก : โอกาส, อุปสรรค, การแข่งขันทางอุตสาหกรรม

โดยทั่วไปการรับรู้ต่อสภาพแวดล้อมไม่มีขอบเขตทิ้นสุดและทุกๆสิ่งภายนอกของการมีความหลายหลายเพิ่มมากขึ้น อย่างไรก็ตามการพิจารณาการวิเคราะห์ปัจจุบันเป็นเพียงมุมหนึ่งของสภาพแวดล้อมที่องค์การไม่มีความแน่นอน และต้องยอมรับเพื่อการอยู่รอด ดังนั้นสภาพแวดล้อมในองค์การคือตัวกำหนดส่วนประกอบที่เกิดขึ้นทั้งหมดหรือบางส่วนขององค์การ จุดประสงค์ของการศึกษาสภาพแวดล้อมภายนอกเพื่อการชี้ถึงโอกาสและอุปสรรค ซึ่งช่วยให้บริษัทสามารถปรับการแข่งขันเชิงกลยุทธ์ เพื่อทำให้บริษัทประสบผลสำเร็จในการบริหารงาน สิ่งซึ่งเรยกว่า “โอกาส” คือสิ่งที่เป็นหนทางที่นำไปสู่ความได้เปรียบที่มีความน่าจะเกิดขึ้นได้ ในขณะที่ “อุปสรรค” คือแรงบีบคั้นที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งทั้งโออาสและอุประสรรคอาจมีผลกระทบต่อความพยายามของบริษัทในการแข่ขันด้านกลยุทธ์ให้ประสบผลสำเร็จได้
องค์ประกอบของการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก
- การตรวจสอบ เป็นการระบุถึงสัญญาณเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงและแนวโน้มของสภาพแวดล้อม
- การควบคุม เป็นการจับความหมายผ่านการสังเกตอย่างต่อเนื่องของการเปลี่ยนแปลงและแนวโน้มของสภาพแวดล้อม
- การคาดคะเน เป็นการพัฒนาการวางแผนรองรับผลล่วงหน้าอันอาจจะเกิดจากการเปลี่ยนแปลงและแนวโน้มของสภาพแวดล้อม
- การประเมินสถานการณ์ เป็นการกำหนดจังหวะเวลาและความสำคัญของการเปลี่ยนแปลงและแนวโน้มของสภาพแวดล้อมสำหรับกลยุทธ์ของบริษัทและการจัดการกลยุทธ์เหล่านั้น
ที่มา : Q.Nguyen & H. Mintzberg, The rhythm of change, MIT Sloan Management Review, 44 (4), 2003,
pp. 79-84
สภาพแวดล้อมมักมีอิทธิพลต่อทิศทางและการดำเนินงานของโครงการ โครงสร้างองค์การ และกระบวนการภานในองค์การ ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ถูกกำหนดด้วยสภาพแวดล้อมต่างๆ ซึ่งสามารถสรุปได้เป็น 3 ปัจจัยดัได้แก่
1.ปัจจัยในสภาพแวดล้อมระยะไกล
-เศรษฐกิจ
- สังคม
-การเมือง
-เทคโนโลยี
-นิเทศวิทยา
2.ปัจจัยในสภาพแวดล้อมอุตสาหกรรม
-อุปสรรคที่เกิดจากคู่แข่งขันรายใหม่
-อำนาจต่อรองของซัพพลายเออร์
-อำนาจต่อรองของผู้ซื้อ
-อุปสรรคที่เกิดจากสินค้าทดแทน
-การแข่งขันช่วงชิงท่ามกลางบริษัทที่ก่อตั้งขึ้นมา
3.สภาพแวดล้อมการทำงาน
-คู่แข่งขัน
-เจ้าหนี้
-ลูกค้า
-ผู้จัดจำหน่าย
ที่มา : John A. Pearce II and Richard B. Robinson, Jr., Strategic Management Published by Mc Graw-Hill/lrwin, a business unit of The Mc Graw-Hill Companies., Copyright 2005. P.78

ที่มา : วิเชียร วิทยาอุดม, รศ. (2553). การบริหารเชิงกลยุทธ์. กรุงเทพมหานคร : ธนธัชการพิมพ์.

นางสาวนฤมล รหัส 5130125401247

Unknown กล่าวว่า...

นางสาวศิรินทรา เรืองรอง การจัดการทั่วไป ปี4 5210125401026
การวิเคราะห์ สภาพแวดล้อมภายในและภายนอกองค์กร (SWOT)
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในและภายนอกองค์กรทางการศึกษา เพื่อศึกษา

แนวโน้มการพัฒนาการศึกษาให้มีความเหมาะสม สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนท้องถิ่น โดยแนวโน้มการพัฒนาการศึกษาขององค์กรทางการศึกษาต้องมีความเป็นไปได้ในการพัฒนาตามเงื่อนไขข้อจำกัดและองค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อการจัดการศึกษา ซึ่งได้แก่ นโยบายในการจัดการศึกษาของหน่วยงานต้นสังกัด รูปแบบการบริหารงานขององค์กรทางการศึกษา และปัจจัยทีเกี่ยวข้องอื่น

การศึกษาความต้องการของชุมชน เป็นการสำรวจความต้องการขององค์กรชุมชนที่องค์กรทางการศึกษาตั้งอยู่ความต้องการของผู้ปกครองนักเรียน
และความต้องการของชาวบ้านในชุมชนสรุปมาเป็นแนวทางในการดำเนินงานเพื่อตอบสนองความต้องการของชุมชนการวิเคราะห์สภาพขององค์กรทางการศึกษาเพื่อกำหนด
แนวทางในการพัฒนาการศึกษา จะต้องวิเคราะห์ผลกระทบที่เกิดจากปัจจัยต่าง ๆ ด้วย เรียกว่า SWOT Analysis ซึ่งได้แก่

Strengths - จุดแข็งหรือข้อได้เปรียบ
Weaknesses - จุดอ่อนหรือข้อเสียเปรียบ
Opportunities - โอกาสที่จะดำเนินการได้
Threats - อุปสรรค หรือปัจจัยที่คุกคามการดำเนินงานขององค์การ
การวิเคราะห์ SWOT อาจเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เป็นการทำ Situation Analysis

เป็นการวิเคราะห์สภาพองค์การ หรือหน่วยงานในปัจจุบัน เพื่อค้นหาจุดแข็ง จุดเด่น จุดด้อย หรือสิ่งที่อาจเป็นปัญหาสำคัญในการดำเนินงานสู่สภาพที่ต้องการในอนาคต การวิเคราะห์สภาพการณ์

(Situation Analysis) วิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน เพื่อให้รู้ตนเอง (รู้เรา) รู้จักสภาพแวดล้อม (รู้เขา) ชัดเจน และวิเคราะห์โอกาส-อุปสรรค เพื่อประโยชน์ในการกำหนดวิสัยทัศน์ หรือเลือกกลยุทธ์ระดับองค์กรที่เหมาะสมต่อไป ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับการทำ Strategic Decision การทำ Strategic Decision เป็นการตัดสินใจเลือกกลยุทธ์หรือวิธีดำเนินงานที่สำคัญ ที่เป็นหลักในการปฏิบัติไปสู่สภาพที่ต้องการในอนาคตขององค์การ เพื่อการบรรลุ Vision หรือสภาพในอนาคตตามที่ได้กำหนดไว้ ซึ่งเป็นการเลือกโดยคำนึงถึงสภาพในอนาคต โดยคำนึงถึงจุดที่ต้องการ โดยรู้สถานการณ์ เห็นถึงโอกาสและรู้จุดดี จุดเด่นตลอดจนจุดอ่อนในการดำเนินงานไปสู่จุดหมายที่ต้องการขององค์การในอนาคต เป็นการค้นหากลยุทธ์โดยหลักการ มองกว้าง เห็นไกล รอบคอบ ตามหลักการกำหนดกลยุทธ์ในแบบต่าง ๆ เช่น กลยุทธ์ที่มุ่งหา S สูง – O สูง, S สูง – T ต่ำ,

W ต่ำ – O สูง และ W ต่ำ – T ต่ำ กลยุทธ์เชิงรุก กลยุทธ์เพื่อความเจริญก้าวหน้า (Growth Strategy) กลยุทธ์แบบคงที่ (Stability Strategy) กลยุทธ์แบบตัดทอนป้องกัน (Retrenchment and Defense Strategy) กลยุทธ์การตั้งราคา-การขาย กลยุทธ์การแข่งขัน กลยุทธ์การเป็นผู้นำ กลยุทธ์ในการสร้างความแตกต่างของผลิตภัณฑ์และบริการ กลยุทธ์การจำกัดขอบเขตปฏิบัติการ เป็นต้น




(SWOT)

แผนภูมิ แสดงการวิเคราะห์สภาพองค์กรทางการศึกษาเพื่อกำหนดแนวทางการจัดการศึกษา


กำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์และยุทธศาสตร์ขององค์การ

วิสัยทัศน์ (Vision) คือ ภาพในอนาคตขององค์กรที่ผู้นำและสมาชิกทุกคนร่วมกันวาดฝันหรือจินตนาการขึ้น โดยมีพื้นฐานอยู่บนความเป็นจริงในปัจจุบัน เชื่อมโยง
วัตถุประสงค์ ภารกิจ ค่านิยม และความเชื่อเข้าด้วยกัน พรรณนาให้เห็นทิศทางขององค์กรอย่างชัดเจน มีพลังท้าทาย ทะเยอทะยาน และมีความเป็นไปได้ เน้นถึงความมุ่งมั่นที่จะทำสิ่งที่ยิ่งใหญ่ หรือดีที่สุดให้กับลูกค้าและสังคม

วิสัยทัศน์จะเกี่ยวกับการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ เป็นการตัดสินใจเกี่ยวกับการกำหนดทิศทางธุรกิจ เป็นการตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับการอยู่รอดทางธุรกิจ ซึ่งจะกล่าวถึงอีกครั้งในเรื่องยุทธศาสตร์ขององค์การ
แหล่งที่มา http://www.vcharkarn.com/vcafe/133036

Unknown กล่าวว่า...

นางสาวศิรินทรา เรืองรอง การจัดการทั่วไป ปี4 5210125401026
การวิเคราะห์ สภาพแวดล้อมภายในและภายนอกองค์กร (SWOT)
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในและภายนอกองค์กรทางการศึกษา เพื่อศึกษา

แนวโน้มการพัฒนาการศึกษาให้มีความเหมาะสม สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนท้องถิ่น โดยแนวโน้มการพัฒนาการศึกษาขององค์กรทางการศึกษาต้องมีความเป็นไปได้ในการพัฒนาตามเงื่อนไขข้อจำกัดและองค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อการจัดการศึกษา ซึ่งได้แก่ นโยบายในการจัดการศึกษาของหน่วยงานต้นสังกัด รูปแบบการบริหารงานขององค์กรทางการศึกษา และปัจจัยทีเกี่ยวข้องอื่น

การศึกษาความต้องการของชุมชน เป็นการสำรวจความต้องการขององค์กรชุมชนที่องค์กรทางการศึกษาตั้งอยู่ความต้องการของผู้ปกครองนักเรียน
และความต้องการของชาวบ้านในชุมชนสรุปมาเป็นแนวทางในการดำเนินงานเพื่อตอบสนองความต้องการของชุมชนการวิเคราะห์สภาพขององค์กรทางการศึกษาเพื่อกำหนด
แนวทางในการพัฒนาการศึกษา จะต้องวิเคราะห์ผลกระทบที่เกิดจากปัจจัยต่าง ๆ ด้วย เรียกว่า SWOT Analysis ซึ่งได้แก่

Strengths - จุดแข็งหรือข้อได้เปรียบ
Weaknesses - จุดอ่อนหรือข้อเสียเปรียบ
Opportunities - โอกาสที่จะดำเนินการได้
Threats - อุปสรรค หรือปัจจัยที่คุกคามการดำเนินงานขององค์การ
การวิเคราะห์ SWOT อาจเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เป็นการทำ Situation Analysis

เป็นการวิเคราะห์สภาพองค์การ หรือหน่วยงานในปัจจุบัน เพื่อค้นหาจุดแข็ง จุดเด่น จุดด้อย หรือสิ่งที่อาจเป็นปัญหาสำคัญในการดำเนินงานสู่สภาพที่ต้องการในอนาคต การวิเคราะห์สภาพการณ์

(Situation Analysis) วิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน เพื่อให้รู้ตนเอง (รู้เรา) รู้จักสภาพแวดล้อม (รู้เขา) ชัดเจน และวิเคราะห์โอกาส-อุปสรรค เพื่อประโยชน์ในการกำหนดวิสัยทัศน์ หรือเลือกกลยุทธ์ระดับองค์กรที่เหมาะสมต่อไป ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับการทำ Strategic Decision การทำ Strategic Decision เป็นการตัดสินใจเลือกกลยุทธ์หรือวิธีดำเนินงานที่สำคัญ ที่เป็นหลักในการปฏิบัติไปสู่สภาพที่ต้องการในอนาคตขององค์การ เพื่อการบรรลุ Vision หรือสภาพในอนาคตตามที่ได้กำหนดไว้ ซึ่งเป็นการเลือกโดยคำนึงถึงสภาพในอนาคต โดยคำนึงถึงจุดที่ต้องการ โดยรู้สถานการณ์ เห็นถึงโอกาสและรู้จุดดี จุดเด่นตลอดจนจุดอ่อนในการดำเนินงานไปสู่จุดหมายที่ต้องการขององค์การในอนาคต เป็นการค้นหากลยุทธ์โดยหลักการ มองกว้าง เห็นไกล รอบคอบ ตามหลักการกำหนดกลยุทธ์ในแบบต่าง ๆ เช่น กลยุทธ์ที่มุ่งหา S สูง – O สูง, S สูง – T ต่ำ,

W ต่ำ – O สูง และ W ต่ำ – T ต่ำ กลยุทธ์เชิงรุก กลยุทธ์เพื่อความเจริญก้าวหน้า (Growth Strategy) กลยุทธ์แบบคงที่ (Stability Strategy) กลยุทธ์แบบตัดทอนป้องกัน (Retrenchment and Defense Strategy) กลยุทธ์การตั้งราคา-การขาย กลยุทธ์การแข่งขัน กลยุทธ์การเป็นผู้นำ กลยุทธ์ในการสร้างความแตกต่างของผลิตภัณฑ์และบริการ กลยุทธ์การจำกัดขอบเขตปฏิบัติการ เป็นต้น




(SWOT)

แผนภูมิ แสดงการวิเคราะห์สภาพองค์กรทางการศึกษาเพื่อกำหนดแนวทางการจัดการศึกษา


กำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์และยุทธศาสตร์ขององค์การ

วิสัยทัศน์ (Vision) คือ ภาพในอนาคตขององค์กรที่ผู้นำและสมาชิกทุกคนร่วมกันวาดฝันหรือจินตนาการขึ้น โดยมีพื้นฐานอยู่บนความเป็นจริงในปัจจุบัน เชื่อมโยง
วัตถุประสงค์ ภารกิจ ค่านิยม และความเชื่อเข้าด้วยกัน พรรณนาให้เห็นทิศทางขององค์กรอย่างชัดเจน มีพลังท้าทาย ทะเยอทะยาน และมีความเป็นไปได้ เน้นถึงความมุ่งมั่นที่จะทำสิ่งที่ยิ่งใหญ่ หรือดีที่สุดให้กับลูกค้าและสังคม

วิสัยทัศน์จะเกี่ยวกับการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ เป็นการตัดสินใจเกี่ยวกับการกำหนดทิศทางธุรกิจ เป็นการตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับการอยู่รอดทางธุรกิจ ซึ่งจะกล่าวถึงอีกครั้งในเรื่องยุทธศาสตร์ขององค์การ
แหล่งที่มา http://www.vcharkarn.com/vcafe/133036

Unknown กล่าวว่า...

นางสาวสุชาดา สุขวงษ์ รหัส 5210125401002 การจัดการทั่วไป
การวิเคราะห์ สภาพแวดล้อมภายในและภายนอกองค์กร (SWOT)
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในและภายนอกองค์กรทางการศึกษา เพื่อศึกษา

แนวโน้มการพัฒนาการศึกษาให้มีความเหมาะสม สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนท้องถิ่น โดยแนวโน้มการพัฒนาการศึกษาขององค์กรทางการศึกษาต้องมีความเป็นไปได้ในการพัฒนาตามเงื่อนไขข้อจำกัดและองค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อการจัดการศึกษา ซึ่งได้แก่ นโยบายในการจัดการศึกษาของหน่วยงานต้นสังกัด รูปแบบการบริหารงานขององค์กรทางการศึกษา และปัจจัยทีเกี่ยวข้องอื่น

การศึกษาความต้องการของชุมชน เป็นการสำรวจความต้องการขององค์กรชุมชนที่องค์กรทางการศึกษาตั้งอยู่ความต้องการของผู้ปกครองนักเรียน
และความต้องการของชาวบ้านในชุมชนสรุปมาเป็นแนวทางในการดำเนินงานเพื่อตอบสนองความต้องการของชุมชนการวิเคราะห์สภาพขององค์กรทางการศึกษาเพื่อกำหนด
แนวทางในการพัฒนาการศึกษา จะต้องวิเคราะห์ผลกระทบที่เกิดจากปัจจัยต่าง ๆ ด้วย เรียกว่า SWOT Analysis ซึ่งได้แก่

Strengths - จุดแข็งหรือข้อได้เปรียบ
Weaknesses - จุดอ่อนหรือข้อเสียเปรียบ
Opportunities - โอกาสที่จะดำเนินการได้
Threats - อุปสรรค หรือปัจจัยที่คุกคามการดำเนินงานขององค์การ
การวิเคราะห์ SWOT อาจเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เป็นการทำ Situation Analysis

เป็นการวิเคราะห์สภาพองค์การ หรือหน่วยงานในปัจจุบัน เพื่อค้นหาจุดแข็ง จุดเด่น จุดด้อย หรือสิ่งที่อาจเป็นปัญหาสำคัญในการดำเนินงานสู่สภาพที่ต้องการในอนาคต การวิเคราะห์สภาพการณ์

(Situation Analysis) วิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน เพื่อให้รู้ตนเอง (รู้เรา) รู้จักสภาพแวดล้อม (รู้เขา) ชัดเจน และวิเคราะห์โอกาส-อุปสรรค เพื่อประโยชน์ในการกำหนดวิสัยทัศน์ หรือเลือกกลยุทธ์ระดับองค์กรที่เหมาะสมต่อไป ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับการทำ Strategic Decision การทำ Strategic Decision เป็นการตัดสินใจเลือกกลยุทธ์หรือวิธีดำเนินงานที่สำคัญ ที่เป็นหลักในการปฏิบัติไปสู่สภาพที่ต้องการในอนาคตขององค์การ เพื่อการบรรลุ Vision หรือสภาพในอนาคตตามที่ได้กำหนดไว้ ซึ่งเป็นการเลือกโดยคำนึงถึงสภาพในอนาคต โดยคำนึงถึงจุดที่ต้องการ โดยรู้สถานการณ์ เห็นถึงโอกาสและรู้จุดดี จุดเด่นตลอดจนจุดอ่อนในการดำเนินงานไปสู่จุดหมายที่ต้องการขององค์การในอนาคต เป็นการค้นหากลยุทธ์โดยหลักการ มองกว้าง เห็นไกล รอบคอบ ตามหลักการกำหนดกลยุทธ์ในแบบต่าง ๆ เช่น กลยุทธ์ที่มุ่งหา S สูง – O สูง, S สูง – T ต่ำ,

W ต่ำ – O สูง และ W ต่ำ – T ต่ำ กลยุทธ์เชิงรุก กลยุทธ์เพื่อความเจริญก้าวหน้า (Growth Strategy) กลยุทธ์แบบคงที่ (Stability Strategy) กลยุทธ์แบบตัดทอนป้องกัน (Retrenchment and Defense Strategy) กลยุทธ์การตั้งราคา-การขาย กลยุทธ์การแข่งขัน กลยุทธ์การเป็นผู้นำ กลยุทธ์ในการสร้างความแตกต่างของผลิตภัณฑ์และบริการ กลยุทธ์การจำกัดขอบเขตปฏิบัติการ เป็นต้น
อ้างอิง
http://www.vcharkarn.com/vcafe/133036

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

น.ส.ภาณีนุช ปิยภานีกุล รหัส 5210125401014 เอกการจัดการทั่วไป ปี4 หมู่1

ทฤษฎีความยุติธรรม (Equity theory) เป็นทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการใช้วิจารณญาณของบุคคลกับความยุติธรรมของรางวัล โดยเปรียบเทียบกับปัจจัยนำเข้า (ประกอบด้วยหลายปัจจัย เช่น ความพยายาม ประสบการณ์ การศึกษา และรางวัล)J. Stacy Adams เป็นผู้กำหนดทฤษฎีความยุติธรรม ลักษณะสำคัญของทฤษฎียุติธรรม ดังสมการ

ผลลัพธ์ของบุคคลหนึ่ง ผลลัพธ์ของอีกบุคคลหนึ่ง
________________ = ________________

ปัจจัยนำเข้าของบุคคลหนึ่ง ปัจจัยนำเข้าของอีกบุคคลหนึ่ง

จะต้องมีความสมดุลของความสัมพันธ์ระหว่างผลลัพธ์ต่อปัจจัยนำเข้าของบุคคลหนึ่ง โดยเปรียบเทียบกับอีกบุคคลหนึ่ง ดังนี้
1.ถ้าบุคคลรู้สึกว่าเขาได้รับรางวัลที่ไม่เท่าเทียมกัน เขาจะไม่พอใจ จะลดปริมาณหรือคุณภาพของผลผลิต
2.ถ้าบุคคลได้รับรางวัลเท่าเทียมกัน เขาจะทำงานเพื่อให้ได้ผลผลิตในระดับเดิมต่อไป
3.ถ้าบุคคลคิดว่ารางวัลสูงกว่าสิ่งที่เป็นความยุติธรรม เขาจะทำงานมากขึ้น

ดังนั้นเป็นทางเลือกที่ว่าบางคนอาจจะลดรางวัล สถานการจาก 3ประการ ได้แก่ ความสมดุลและความไม่สมดุลของรางวัล
1.รางวัลที่ไม่ยุติธรรม (ความไม่พึงพอใจผลผลิตลดลง)
2.รางวัลที่ยุติธรรม (ความต่อเนื่องกันในระดับผลผลิตเดียวกัน)
3.เหนือกว่ารางวัลที่ยุติธรรม (งานหนักขึ้นรางวัลลดลง)

ปัญหาที่เกิดขึ้นก็คือ บุคคลจะคาดคะเนผลประโยชน์ของตนเกินจริง และคาดหวังรายได้รางวัลที่ได้รับเกินจริง ความไม่เท่าเทียมกันอาจจะมีเป็นบางครั้งสำหรับพนักงาน ความรู้สึกของความไม่เท่าเทียมกันจะมีผลต่อปฎิกิริยาบางประการ ตัวอย่าง พนักงานอาจจะโกรธหรือตัดสินใจทิ้งงานเพราะเกิดความรู้สึกว่า รางวัลที่ได้ไม่ยุติธรรมเมื่อเปรียบเทียบกับรางวัลของบุคคลอื่น

อ้างอิง : ศิริวรรณ เสรีรัตน์. องค์การและการจัดการ. กรุงเทพฯ, 2542.

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

การจัดการตามหลักการจัดการทั่วไปตามทฏษฎีการจัดการของ Henri Fayol

เกี่ยวกับหลักจัดการ Fayol ได้วางหลักทั่วไปที่ใช้ในการบริหารไว้ 14 ข้อ คือ

1.หลักที่เกี่ยวกับอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบ
2.หลักของการมีผู้บังคับบัญชาเพียงคนเดียว
3.หลักของการมีจุดมุ่งหมายร่วมกัน
4.หลักของการธำรงไว้ซึ่งสายงาน
5.หลักของการแบ่งงานกันทำ
6.หลักเกี่ยวกับระเบียบวินัย
7.หลักของการถือประโยชน์ส่วนบุคคลเป็นรองประโยชน์ส่วนรวม
8.หลักของการให้ผลประโยชน์ตอบแทน
9.หลักของการรวมอำนาจไว้ส่วนกลาง
10.หลักของความมีระเบียบเรียบร้อย
11.หลักของความเสมอภาค
12.หลักของความมีเสถียรภาพของการว่าจ้างทำงาน
13.หลักของความคิดริเริ่ม
14.หลักของความสามัคคี

อ้างอิงจาก รองศาสตราจารย์ ธงชัย สันติวงษ์. (2536).
จัดพิมพ์โดย บริษัทโรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช จำกัด

บรรณานุกรม
Fayol, Henri. (1949). General and Industrial Management. London: Sir Isaac Pitman & Sons.


นาย ไกรฤกษ์ ไชยมงคล รหัส 5210125401005
เอกการจัดการทั่วไป ปี4

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

การจัดการตามหลักการจัดการทั่วไปตามทฏษฎีการจัดการของ Henri Fayol

เกี่ยวกับหลักจัดการ Fayol ได้วางหลักทั่วไปที่ใช้ในการบริหารไว้ 14 ข้อ คือ

1.หลักที่เกี่ยวกับอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบ
2.หลักของการมีผู้บังคับบัญชาเพียงคนเดียว
3.หลักของการมีจุดมุ่งหมายร่วมกัน
4.หลักของการธำรงไว้ซึ่งสายงาน
5.หลักของการแบ่งงานกันทำ
6.หลักเกี่ยวกับระเบียบวินัย
7.หลักของการถือประโยชน์ส่วนบุคคลเป็นรองประโยชน์ส่วนรวม
8.หลักของการให้ผลประโยชน์ตอบแทน
9.หลักของการรวมอำนาจไว้ส่วนกลาง
10.หลักของความมีระเบียบเรียบร้อย
11.หลักของความเสมอภาค
12.หลักของความมีเสถียรภาพของการว่าจ้างทำงาน
13.หลักของความคิดริเริ่ม
14.หลักของความสามัคคี

อ้างอิงจาก รองศาสตราจารย์ ธงชัย สันติวงษ์. (2536).
จัดพิมพ์โดย บริษัทโรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช จำกัด

บรรณานุกรม
Fayol, Henri. (1949). General and Industrial Management. London: Sir Isaac Pitman & Sons.


นาย ไกรฤกษ์ ไชยมงคล รหัส 5210125401005
เอกการจัดการทั่วไป ปี4

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

การจัดการตามหลักการจัดการทั่วไปตามทฏษฎีการจัดการของ Henri Fayol

เกี่ยวกับหลักจัดการ Fayol ได้วางหลักทั่วไปที่ใช้ในการบริหารไว้ 14 ข้อ คือ

1.หลักที่เกี่ยวกับอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบ
2.หลักของการมีผู้บังคับบัญชาเพียงคนเดียว
3.หลักของการมีจุดมุ่งหมายร่วมกัน
4.หลักของการธำรงไว้ซึ่งสายงาน
5.หลักของการแบ่งงานกันทำ
6.หลักเกี่ยวกับระเบียบวินัย
7.หลักของการถือประโยชน์ส่วนบุคคลเป็นรองประโยชน์ส่วนรวม
8.หลักของการให้ผลประโยชน์ตอบแทน
9.หลักของการรวมอำนาจไว้ส่วนกลาง
10.หลักของความมีระเบียบเรียบร้อย
11.หลักของความเสมอภาค
12.หลักของความมีเสถียรภาพของการว่าจ้างทำงาน
13.หลักของความคิดริเริ่ม
14.หลักของความสามัคคี

อ้างอิงจาก รองศาสตราจารย์ ธงชัย สันติวงษ์. (2536).
จัดพิมพ์โดย บริษัทโรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช จำกัด

บรรณานุกรม
Fayol, Henri. (1949). General and Industrial Management. London: Sir Isaac Pitman & Sons.


นาย ไกรฤกษ์ ไชยมงคล รหัส 5210125401005
เอกการจัดการทั่วไป ปี4

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

การจัดการตามหลักการจัดการทั่วไปตามทฏษฎีการจัดการของ Henri Fayol

เกี่ยวกับหลักจัดการ Fayol ได้วางหลักทั่วไปที่ใช้ในการบริหารไว้ 14 ข้อ คือ

1.หลักที่เกี่ยวกับอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบ
2.หลักของการมีผู้บังคับบัญชาเพียงคนเดียว
3.หลักของการมีจุดมุ่งหมายร่วมกัน
4.หลักของการธำรงไว้ซึ่งสายงาน
5.หลักของการแบ่งงานกันทำ
6.หลักเกี่ยวกับระเบียบวินัย
7.หลักของการถือประโยชน์ส่วนบุคคลเป็นรองประโยชน์ส่วนรวม
8.หลักของการให้ผลประโยชน์ตอบแทน
9.หลักของการรวมอำนาจไว้ส่วนกลาง
10.หลักของความมีระเบียบเรียบร้อย
11.หลักของความเสมอภาค
12.หลักของความมีเสถียรภาพของการว่าจ้างทำงาน
13.หลักของความคิดริเริ่ม
14.หลักของความสามัคคี

อ้างอิงจาก รองศาสตราจารย์ ธงชัย สันติวงษ์. (2536).
จัดพิมพ์โดย บริษัทโรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช จำกัด

บรรณานุกรม
Fayol, Henri. (1949). General and Industrial Management. London: Sir Isaac Pitman & Sons.


นาย ไกรฤกษ์ ไชยมงคล รหัส 5210125401005
เอกการจัดการทั่วไป ปี4

Kantong กล่าวว่า...

การบริหารงานจะต้องมีปัจจัยพื้นฐาน 4 ประการ หรือเรียกว่า ทรัพยากร การบริหาร (Administration resources) คือ คน (man) เงิน (money) วัสดุอุปกรณ์ (material) และการจัดการ (management) หรือเรียกสั้นว่า 4 M ปัจจัยทั้ง 4 ประการ นับว่าเป็นปัจจัย พื้นฐาน ทั้งนี้เพราะว่าการบริหารทุกประเภทไม่ว่าจะเป็นของรัฐหรือเอกชนก็ตามจำเป็น ต้องอาศัย เงิน วัสดุ และการจัดการองค์การเป็นองค์ประกอบที่ขาดเสียมิได้
แต่ปัจจุบันได้มีพิจารณาขยายขอบเขตของปัจจัยการบริการกว้างขวางออกไปอีก เช่น Greenwood (อ้างถึงใน มัฆวาฬ สุวรรณเรือง,2536, หน้า 52) ได้เสนอความเห็นว่า ปัจจัยในการบริหารไม่ได้มีเพียง 4 อย่างเทานั้น แต่อย่างน้อยควรมี 7 อย่าง คือ คน เงิน พัสดุ อุปกรณ์ อำนาจหน้าที่ เวลา กำลังใจในการทำงานและความสะดวกต่าง ๆ
เป็นการแน่นอนว่า การบริหารงานจะต้องมีปัจจัยทั้ง 4 M เป็นส่วนประกอบ สำคัญ เพราะการที่จะดำเนินการให้สำเร็จตามนโยบายตามแผนหรือโครงการก็ต้องอาศัย กำลังคน เงิน วัสดุอุปกรณ์และวิธีการจัดการที่ดี โดยนำปัจจัยเหล่านี้มาผสมผสานกัน อย่างเหมาะสม เพราะจะเห็นได้ว่า แม้องค์การหรือบริษัทหรือส่วนราชการต่าง ๆ จะมีขนาดและปัจจัยต่าง ๆ เท่า ๆ กัน แต่ผลงานที่ได้ออกมาไม่เท่ากัน ปัญหาจึงมีว่า หัวใจ ของการบริหารมิได้อยู่ที่ปริมาณมากน้อยของปัจจัยการบริหารเพียงอย่างเดียว แต่ขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพของการจัดการ ภาวะความเป็นผู้นำ สภาพแวดล้อมอื่น ๆ ที่จะทำให้ เกิดผลงานที่ดีทั้งปริมาณและคุณภาพ
ดังนั้น การบริหารงานใด ๆ ก็ตาม การที่จะได้ผลงานออกมา (output) ก็จำเป็น จะต้องปัจจัย 3 อย่าง ที่ใส่เข้าไปในงานก่อน (input) คือ คน เงิน และวัสดุ และมี กระบวนการในการจัดการให้ input factors ต่าง ๆ ผสมกลมกลืนกันเป็นอย่างดี ผลงาน จะออกมาดีมีประสิทธิภาพ (อมร รักษาสัตย์ และขัตติยา กรรณสูต, 2515, หน้า 289)


อ้างอิง อมร รักษาสัตย์และขัตติยา กรรณสูต. (2515). ทฤษฎีและแนวความคิดในการพัฒนาประเทศ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
มัฆวาฬ สุวรรณเรือง. (2536). ประสิทธิผลของการนำนโยบายป้องปรามทุจริฅเลึอกตั้ง ของโครงการ ท.ม.ก. ไปปฏิบัติ: กรณีวิจัยปฏิบัติการเขตเลือกตั้ง ค. จังหวัด นครราชสีมา. วิทยานิพนธ์พัฒนบริหารศาสตรมหาบัณฑิต, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.


*นางสาวนรินทร กนกศรีขริน รหัส 5210125401069 เอกการจัดการทั่วไป

Kantong กล่าวว่า...

การบริหารงานจะต้องมีปัจจัยพื้นฐาน 4 ประการ หรือเรียกว่า ทรัพยากร การบริหาร (Administration resources) คือ คน (man) เงิน (money) วัสดุอุปกรณ์ (material) และการจัดการ (management) หรือเรียกสั้นว่า 4 M ปัจจัยทั้ง 4 ประการ นับว่าเป็นปัจจัย พื้นฐาน ทั้งนี้เพราะว่าการบริหารทุกประเภทไม่ว่าจะเป็นของรัฐหรือเอกชนก็ตามจำเป็น ต้องอาศัย เงิน วัสดุ และการจัดการองค์การเป็นองค์ประกอบที่ขาดเสียมิได้
แต่ปัจจุบันได้มีพิจารณาขยายขอบเขตของปัจจัยการบริการกว้างขวางออกไปอีก เช่น Greenwood (อ้างถึงใน มัฆวาฬ สุวรรณเรือง,2536, หน้า 52) ได้เสนอความเห็นว่า ปัจจัยในการบริหารไม่ได้มีเพียง 4 อย่างเทานั้น แต่อย่างน้อยควรมี 7 อย่าง คือ คน เงิน พัสดุ อุปกรณ์ อำนาจหน้าที่ เวลา กำลังใจในการทำงานและความสะดวกต่าง ๆ
เป็นการแน่นอนว่า การบริหารงานจะต้องมีปัจจัยทั้ง 4 M เป็นส่วนประกอบ สำคัญ เพราะการที่จะดำเนินการให้สำเร็จตามนโยบายตามแผนหรือโครงการก็ต้องอาศัย กำลังคน เงิน วัสดุอุปกรณ์และวิธีการจัดการที่ดี โดยนำปัจจัยเหล่านี้มาผสมผสานกัน อย่างเหมาะสม เพราะจะเห็นได้ว่า แม้องค์การหรือบริษัทหรือส่วนราชการต่าง ๆ จะมีขนาดและปัจจัยต่าง ๆ เท่า ๆ กัน แต่ผลงานที่ได้ออกมาไม่เท่ากัน ปัญหาจึงมีว่า หัวใจ ของการบริหารมิได้อยู่ที่ปริมาณมากน้อยของปัจจัยการบริหารเพียงอย่างเดียว แต่ขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพของการจัดการ ภาวะความเป็นผู้นำ สภาพแวดล้อมอื่น ๆ ที่จะทำให้ เกิดผลงานที่ดีทั้งปริมาณและคุณภาพ
ดังนั้น การบริหารงานใด ๆ ก็ตาม การที่จะได้ผลงานออกมา (output) ก็จำเป็น จะต้องปัจจัย 3 อย่าง ที่ใส่เข้าไปในงานก่อน (input) คือ คน เงิน และวัสดุ และมี กระบวนการในการจัดการให้ input factors ต่าง ๆ ผสมกลมกลืนกันเป็นอย่างดี ผลงาน จะออกมาดีมีประสิทธิภาพ (อมร รักษาสัตย์ และขัตติยา กรรณสูต, 2515, หน้า 289)


อ้างอิง อมร รักษาสัตย์และขัตติยา กรรณสูต. (2515). ทฤษฎีและแนวความคิดในการพัฒนาประเทศ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
มัฆวาฬ สุวรรณเรือง. (2536). ประสิทธิผลของการนำนโยบายป้องปรามทุจริฅเลึอกตั้ง ของโครงการ ท.ม.ก. ไปปฏิบัติ: กรณีวิจัยปฏิบัติการเขตเลือกตั้ง ค. จังหวัด นครราชสีมา. วิทยานิพนธ์พัฒนบริหารศาสตรมหาบัณฑิต, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.


*นางสาวนรินทร กนกศรีขริน รหัส 5210125401069 เอกการจัดการทั่วไป

Kantong กล่าวว่า...

การบริหารงานจะต้องมีปัจจัยพื้นฐาน 4 ประการ หรือเรียกว่า ทรัพยากร การบริหาร (Administration resources) คือ คน (man) เงิน (money) วัสดุอุปกรณ์ (material) และการจัดการ (management) หรือเรียกสั้นว่า 4 M ปัจจัยทั้ง 4 ประการ นับว่าเป็นปัจจัย พื้นฐาน ทั้งนี้เพราะว่าการบริหารทุกประเภทไม่ว่าจะเป็นของรัฐหรือเอกชนก็ตามจำเป็น ต้องอาศัย เงิน วัสดุ และการจัดการองค์การเป็นองค์ประกอบที่ขาดเสียมิได้
แต่ปัจจุบันได้มีพิจารณาขยายขอบเขตของปัจจัยการบริการกว้างขวางออกไปอีก เช่น Greenwood (อ้างถึงใน มัฆวาฬ สุวรรณเรือง,2536, หน้า 52) ได้เสนอความเห็นว่า ปัจจัยในการบริหารไม่ได้มีเพียง 4 อย่างเทานั้น แต่อย่างน้อยควรมี 7 อย่าง คือ คน เงิน พัสดุ อุปกรณ์ อำนาจหน้าที่ เวลา กำลังใจในการทำงานและความสะดวกต่าง ๆ
เป็นการแน่นอนว่า การบริหารงานจะต้องมีปัจจัยทั้ง 4 M เป็นส่วนประกอบ สำคัญ เพราะการที่จะดำเนินการให้สำเร็จตามนโยบายตามแผนหรือโครงการก็ต้องอาศัย กำลังคน เงิน วัสดุอุปกรณ์และวิธีการจัดการที่ดี โดยนำปัจจัยเหล่านี้มาผสมผสานกัน อย่างเหมาะสม เพราะจะเห็นได้ว่า แม้องค์การหรือบริษัทหรือส่วนราชการต่าง ๆ จะมีขนาดและปัจจัยต่าง ๆ เท่า ๆ กัน แต่ผลงานที่ได้ออกมาไม่เท่ากัน ปัญหาจึงมีว่า หัวใจ ของการบริหารมิได้อยู่ที่ปริมาณมากน้อยของปัจจัยการบริหารเพียงอย่างเดียว แต่ขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพของการจัดการ ภาวะความเป็นผู้นำ สภาพแวดล้อมอื่น ๆ ที่จะทำให้ เกิดผลงานที่ดีทั้งปริมาณและคุณภาพ
ดังนั้น การบริหารงานใด ๆ ก็ตาม การที่จะได้ผลงานออกมา (output) ก็จำเป็น จะต้องปัจจัย 3 อย่าง ที่ใส่เข้าไปในงานก่อน (input) คือ คน เงิน และวัสดุ และมี กระบวนการในการจัดการให้ input factors ต่าง ๆ ผสมกลมกลืนกันเป็นอย่างดี ผลงาน จะออกมาดีมีประสิทธิภาพ (อมร รักษาสัตย์ และขัตติยา กรรณสูต, 2515, หน้า 289)


อ้างอิง อมร รักษาสัตย์และขัตติยา กรรณสูต. (2515). ทฤษฎีและแนวความคิดในการพัฒนาประเทศ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
มัฆวาฬ สุวรรณเรือง. (2536). ประสิทธิผลของการนำนโยบายป้องปรามทุจริฅเลึอกตั้ง ของโครงการ ท.ม.ก. ไปปฏิบัติ: กรณีวิจัยปฏิบัติการเขตเลือกตั้ง ค. จังหวัด นครราชสีมา. วิทยานิพนธ์พัฒนบริหารศาสตรมหาบัณฑิต, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.


*นางสาวนรินทร กนกศรีขริน รหัส 5210125401069 เอกการจัดการทั่วไป

Unknown กล่าวว่า...

นส. อัญชลี คำประชม
การจัดการทั่วไป รหัส 5210125401058

การประเมินองค์การและสภาพแวดล้อม (Environment Scanning)
ในการประเมินสภาพแวดล้อมขององค์การนั้นจะประกอบไปด้วยการประเมินสภาพแวดล้อมภายนอก และการประเมินสภาพแวดล้อมภายใน โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ทราบถึง จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค หรือโดยทั่วไปจะเรียกว่าการวิเคราะห์ตามตัวแบบสว็อท (SWOT Analysis) ได้แก่
การวิเคราะห์จุดแข็ง (Strength –S)
การวิเคราะห์จุดอ่อน (Weakness –W)
การวิเคราะห์โอกาส (Opportunity –O)
การวิเคราะห์ภาวะคุกคาม (Threat- T)
2.1 การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในขององค์การ (Internal Analysis)
การวิเคราะห์ภายในขององค์การนั้น จะทำให้ทราบถึงจุดอ่อนและจุดแข็งขององค์การ ช่วยให้ประเมินอดีตและแนวโน้มในปัจจุบัน การวิเคราะห์ภายในสามารถทำได้โดยการวิเคราะห์ปัจจัยที่จะนำไปสู่ความสำเร็จ (Critical success factor) การวิเคราะห์ (Value chain) และวิเคราะห์กระบวนการหลัก (Core business process) ซึ่งจะทำให้องค์การมีความสามารถหลักที่โดดเด่น (Core competency)
• การวิเคราะห์ปัจจัยที่จะนำไปสู่ความสำเร็จ (Critical success factor) สามารถทำได้โดยการวิเคราะห์ลักษณะของกิจการ ตำแหน่งทางการแข่งขัน สภาพแวดล้อมทั่วไป และการพัฒนาองค์การ
โดยสรุปแล้วการวิเคราะห์ปัจจัยภายในหรือสภาพแวดล้อมภายในนี้จะทำให้ทราบถึงจุดแข็งหรือจุดอ่อนทางธุรกิจขององค์การ
จุดแข็ง : ลักษณะหรือองค์ประกอบขององค์การที่มีสมรรถนะเหนือกว่า
จุดอ่อน : ลักษณะหรือองค์ประกอบขององค์การที่มีสมรรถนะด้อยกว่าเมื่อเทียบกับคู่แข่ง
2.2 การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกองค์การ (External Analysis)
สภาพแวดล้อมภายนอกประกอบด้วย สภาพแวดล้อมทั่วไปและสภาพแวดล้อมในการดำเนินงาน
* สภาพแวดล้อมทั่วไป (General Environment) เป็นสภาพแวดล้อมที่มีความสำคัญ แต่อาจจะไม่ใช่สิ่งแวดล้อมที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับองค์การโดยตรงแต่เป็นสภาพแวดล้อมโดยทั่วไป มีตัวแบบในการพิจารณา คือ PEST Environment ได้แก่
สภาพแวดล้อมด้านการเมือง (Political Environment –P)
สภาพแวดล้อมด้านเศรษฐกิจ (Economic Environment –E)
สภาพแวดล้อมด้านสังคม (Sociological Environment –S)
สภาพแวดล้อมด้านเทคโนโลยี (Technology Environment –T)
สภาพแวดล้อมทั่วไปสามารถส่งผลกระทบต่อองค์การได้ ยกตัวอย่างเช่น หากรัฐออกกฎหมายที่เอื้อต่อการดำเนินธุรกิจ ก็จะส่งผลดีต่อโอกาสในการดำเนินงานขององค์การ หรือการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีที่รวดเร็วอาจส่งผลให้สินค้ามีความล้าสมัยอย่างรวดเร็ว เป็นต้น
• สภาพแวดล้อมในการดำเนินงาน (Task Environment) ไมเคิล อี พอร์ตเตอร์ (Michael E.Poter ) ได้เสนอตัวแบบการวิเคราะห์สภาพการแข่งขัน โดยใช้ตัวแบบที่ชื่อ The Five Compettive Force ซึ่งจะทำให้เราทราบถึงสมรรถภาพคู่แข่งที่เข้ามาใหม่
• การวิเคราะห์คู่แข่งที่เข้ามาใหม่ (New Entrance) ผู้ที่เข้ามาใหม่มีความมุ่งหวังที่จะเข้ามามีส่วนร่วม หรือมีส่วนแบ่งทางการตลาด ดังนั้นจึงเป็นภาวะที่คุกคาม ซึ่งจะมีมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับอุปสรรคที่เข้ามาและภาวะการตอบโต้ขององค์การ โดยสิ่งที่เป็นอุปสรรคต่อผู้ที่เข้ามาใหม่ ได้แก่ Ecomies of Scale ความประหยัดที่เกิดจากการผลิตจำนวนมาก (Economies of Scale) ทำให้คู่แข่งต้องมีการผลิตที่มีขนาดใหญ่พอ จึงจะสามารถต่อสู้กับกิจการเดิมได้
• การวิเคราะห์ผู้ซื้อ (Buyer) ผู้บริหารในองค์การภาครัฐ และภาคเอกชน จะต้องให้ความสำคัญกับลูกค้า เนื่องจากองค์การจะต้องเผชิญกับอำนาจการต่อรองของลูกค้า ในเรื่องของปริมาณ คุณภาพ และราคา
• การวิเคราะห์สินค้าทดแทน (Substitute) การมีสินค้าหรือบริการทดแทนทำให้องค์การต่าง ๆ จะต้องให้ความสำคัญกับคุณภาพของสินค้า ราคา และบริการที่นำเสนอให้กับลูกค้า เนื่องจากการละเลยความสำคัญดังกล่าวจะทำให้องค์การเสียเปรียบต่อคู่แข่งได้
• การวิเคราะห์คู่แข่ง (Rival) คู่แข่งมีความสำคัญอย่างยิ่งที่นักบริหารจะต้องคำนึงถึง เนื่องจากนักบริหารจะต้องใช้กลยุทธ์เพื่อสร้างความได้เปรียบเหนือคู่แข่ง การละเลยหรือไม่ให้ความสำคัญกับคู่แข่งจะหมายถึงความพ่ายแพ้
โดยสรุปแล้วการวิเคราะห์ปัจจัยภายนอกหรือสภาพแวดล้อมภายนอกนี้จะทำให้ทราบถึงโอกาสหรืออุปสรรคทางธุรกิจขององค์การ
โอกาส : การผสมผสานระหว่างเหตุการณ์ เวลา สถานที่ ที่มีแนวโน้มว่าจะเป็นประโยชน์ต่อองค์การ มาทำให้องค์การมีสมรรถนะที่จะดำเนินการบางอย่างที่เหนือกว่าคู่แข่ง
อุปสรรค : เหตุการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ และถ้าเกิดขึ้นก็จะทำความเสียหายให้แก่องค์การ
ที่มา อารีย์ แผ้วสกุลพันธ์.(2549)การจัดการเชิงกลยุทธ์.กรุงเทพฯ

Unknown กล่าวว่า...

นส. อัญชลี คำประชม
การจัดการทั่วไป รหัส 5210125401058

การประเมินองค์การและสภาพแวดล้อม (Environment Scanning)
ในการประเมินสภาพแวดล้อมขององค์การนั้นจะประกอบไปด้วยการประเมินสภาพแวดล้อมภายนอก และการประเมินสภาพแวดล้อมภายใน โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ทราบถึง จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค หรือโดยทั่วไปจะเรียกว่าการวิเคราะห์ตามตัวแบบสว็อท (SWOT Analysis) ได้แก่
การวิเคราะห์จุดแข็ง (Strength –S)
การวิเคราะห์จุดอ่อน (Weakness –W)
การวิเคราะห์โอกาส (Opportunity –O)
การวิเคราะห์ภาวะคุกคาม (Threat- T)
2.1 การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในขององค์การ (Internal Analysis)
การวิเคราะห์ภายในขององค์การนั้น จะทำให้ทราบถึงจุดอ่อนและจุดแข็งขององค์การ ช่วยให้ประเมินอดีตและแนวโน้มในปัจจุบัน การวิเคราะห์ภายในสามารถทำได้โดยการวิเคราะห์ปัจจัยที่จะนำไปสู่ความสำเร็จ (Critical success factor) การวิเคราะห์ (Value chain) และวิเคราะห์กระบวนการหลัก (Core business process) ซึ่งจะทำให้องค์การมีความสามารถหลักที่โดดเด่น (Core competency)
จุดแข็ง : ลักษณะหรือองค์ประกอบขององค์การที่มีสมรรถนะเหนือกว่า
จุดอ่อน : ลักษณะหรือองค์ประกอบขององค์การที่มีสมรรถนะด้อยกว่าเมื่อเทียบกับคู่แข่ง
2.2 การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกองค์การ (External Analysis)
สภาพแวดล้อมภายนอกประกอบด้วย สภาพแวดล้อมทั่วไปและสภาพแวดล้อมในการดำเนินงาน
* สภาพแวดล้อมทั่วไป (General Environment) เป็นสภาพแวดล้อมที่มีความสำคัญ แต่อาจจะไม่ใช่สิ่งแวดล้อมที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับองค์การโดยตรงแต่เป็นสภาพแวดล้อมโดยทั่วไป มีตัวแบบในการพิจารณา คือ PEST Environment ได้แก่
สภาพแวดล้อมด้านการเมือง (Political Environment –P)
สภาพแวดล้อมด้านเศรษฐกิจ (Economic Environment –E)
สภาพแวดล้อมด้านสังคม (Sociological Environment –S)
สภาพแวดล้อมด้านเทคโนโลยี (Technology Environment –T)
สภาพแวดล้อมทั่วไปสามารถส่งผลกระทบต่อองค์การได้ ยกตัวอย่างเช่น หากรัฐออกกฎหมายที่เอื้อต่อการดำเนินธุรกิจ ก็จะส่งผลดีต่อโอกาสในการดำเนินงานขององค์การ หรือการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีที่รวดเร็วอาจส่งผลให้สินค้ามีความล้าสมัยอย่างรวดเร็ว เป็นต้น
• สภาพแวดล้อมในการดำเนินงาน (Task Environment) ไมเคิล อี พอร์ตเตอร์ (Michael E.Poter ) ได้เสนอตัวแบบการวิเคราะห์สภาพการแข่งขัน โดยใช้ตัวแบบที่ชื่อ The Five Compettive Force ซึ่งจะทำให้เราทราบถึงสมรรถภาพคู่แข่งที่เข้ามาใหม่
• การวิเคราะห์คู่แข่งที่เข้ามาใหม่ (New Entrance) ผู้ที่เข้ามาใหม่มีความมุ่งหวังที่จะเข้ามามีส่วนร่วม หรือมีส่วนแบ่งทางการตลาด ดังนั้นจึงเป็นภาวะที่คุกคาม ซึ่งจะมีมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับอุปสรรคที่เข้ามาและภาวะการตอบโต้ขององค์การ โดยสิ่งที่เป็นอุปสรรคต่อผู้ที่เข้ามาใหม่ ได้แก่ Ecomies of Scale ความประหยัดที่เกิดจากการผลิตจำนวนมาก (Economies of Scale) ทำให้คู่แข่งต้องมีการผลิตที่มีขนาดใหญ่พอ จึงจะสามารถต่อสู้กับกิจการเดิมได้
• การวิเคราะห์ผู้ซื้อ (Buyer) ผู้บริหารในองค์การภาครัฐ และภาคเอกชน จะต้องให้ความสำคัญกับลูกค้า เนื่องจากองค์การจะต้องเผชิญกับอำนาจการต่อรองของลูกค้า ในเรื่องของปริมาณ คุณภาพ และราคา
• การวิเคราะห์สินค้าทดแทน (Substitute) การมีสินค้าหรือบริการทดแทนทำให้องค์การต่าง ๆ จะต้องให้ความสำคัญกับคุณภาพของสินค้า ราคา และบริการที่นำเสนอให้กับลูกค้า เนื่องจากการละเลยความสำคัญดังกล่าวจะทำให้องค์การเสียเปรียบต่อคู่แข่งได้
• การวิเคราะห์คู่แข่ง (Rival) คู่แข่งมีความสำคัญอย่างยิ่งที่นักบริหารจะต้องคำนึงถึง เนื่องจากนักบริหารจะต้องใช้กลยุทธ์เพื่อสร้างความได้เปรียบเหนือคู่แข่ง การละเลยหรือไม่ให้ความสำคัญกับคู่แข่งจะหมายถึงความพ่ายแพ้
โดยสรุปแล้วการวิเคราะห์ปัจจัยภายนอกหรือสภาพแวดล้อมภายนอกนี้จะทำให้ทราบถึงโอกาสหรืออุปสรรคทางธุรกิจขององค์การ
โอกาส : การผสมผสานระหว่างเหตุการณ์ เวลา สถานที่ ที่มีแนวโน้มว่าจะเป็นประโยชน์ต่อองค์การ มาทำให้องค์การมีสมรรถนะที่จะดำเนินการบางอย่างที่เหนือกว่าคู่แข่ง
อุปสรรค : เหตุการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ และถ้าเกิดขึ้นก็จะทำความเสียหายให้แก่องค์การ
ที่มา อารีย์ แผ้วสกุลพันธ์.(2549)การจัดการเชิงกลยุทธ์.กรุงเทพฯ

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

สภาพแวดล้อมอุตสาหกรรม
การคุกคามจากคู่แข่งขันที่จะเข้ามาใหม่
ก่อนที่คู่แข่งขันรายใหม่จะเข้ามาในตลาด อย่างน้อยกิจการนั้นๆ ต้องมีความมุ่งมั่นที่จะช่วงชิงส่วนแบ่งตลาดและต้องมั่นในว่ากิจการของตนมีความแตกต่างจากกิจการที่มีอยู่เดิม ซึ่งความแตกต่างนี้อาจเกิดจากเทคโนดลยีที่เหนือกว่า ชื่อเสียงผลิตภัณฑ์ดีกว่า ราคาต่ำกว่า เงินทุนที่มากกว่าหรือแม้กระทั้งอาศัยช่องว่างของตลาดและอื่นๆ ดังนั้นคู่แข่งขันรายใหม่จึงถือเป็นภัยคุกคามที่น่ากลัว ซึ่งในอุตสาหกรรมที่มีช่องว่างให้คู่แข่งขันรายใหม่เข้ามามีมากเพียงใดสภาพแวดล้อมการแข่งขันจะยิ่งเข้มข้นมากขึ้นตามละดับและในที่สุดจะส่งผลต่อระดับกำไรของกิจการที่มีอยู่เดิม
การคุกคามจากคู่แข่งขันที่จะเข้ามาใหม่ในธุรกิจแต่ละประเภทจะมีความแตกต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยที่สำคัญ 2 ประการคือ
1. อุปสรรคที่สกัดกั้นผู้ที่จะเข้ามาใหม่ ซึ่งมีทั้งในด้านต้นทุน ภาพลักษณ์ ความภักดีและต้นทุนการเปลี่ยนแปลงผลิตภัณฑ์ของลูกค้า เงินทุน ช่องทางการจัดจำหน่าย นโยบาย กฎหมาย ระเบียบและกฎเกณฑ์ของรัฐ
2. การคาดคะเนปฏิกิริยาการตอบโต้ของกิจการที่มีอยู่เดิม นอกจากกิจการรายใหม่จะต้องประเมินอุปสรรคกีดกั้นในการเข้าตลาดของตนแล้ว ผู้ที่จะเข้ามาใหม่จะต้องประเมินปฏิกิริยาการตอบโต้ของกิจการที่มีอยู่เดิมว่าจะมีมากน้อยเพียงใด เพราะถ้าแรงตอบโต้สูงย่อมก่อให้เกิดสงครามการแข่งขันและอาจลุกลามไปถึง “สงครามราคา” ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อผู้เข้ามาใหม่และอุตสาหกรรมโดยส่วนรวม
อ้างอิง อำนาจ ธีระวนิช. (2549). ผู้ประกอบการ. กรุงเทพฯ

นางสาววัชรี ทองห่อ รหัส5210125401052 เอกการจัดการทั่วไป ปี 4

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

สภาพแวดล้อมอุตสาหกรรม
การคุกคามจากคู่แข่งขันที่จะเข้ามาใหม่
ก่อนที่คู่แข่งขันรายใหม่จะเข้ามาในตลาด อย่างน้อยกิจการนั้นๆ ต้องมีความมุ่งมั่นที่จะช่วงชิงส่วนแบ่งตลาดและต้องมั่นในว่ากิจการของตนมีความแตกต่างจากกิจการที่มีอยู่เดิม ซึ่งความแตกต่างนี้อาจเกิดจากเทคโนดลยีที่เหนือกว่า ชื่อเสียงผลิตภัณฑ์ดีกว่า ราคาต่ำกว่า เงินทุนที่มากกว่าหรือแม้กระทั้งอาศัยช่องว่างของตลาดและอื่นๆ ดังนั้นคู่แข่งขันรายใหม่จึงถือเป็นภัยคุกคามที่น่ากลัว ซึ่งในอุตสาหกรรมที่มีช่องว่างให้คู่แข่งขันรายใหม่เข้ามามีมากเพียงใดสภาพแวดล้อมการแข่งขันจะยิ่งเข้มข้นมากขึ้นตามละดับและในที่สุดจะส่งผลต่อระดับกำไรของกิจการที่มีอยู่เดิม
การคุกคามจากคู่แข่งขันที่จะเข้ามาใหม่ในธุรกิจแต่ละประเภทจะมีความแตกต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยที่สำคัญ 2 ประการคือ
1. อุปสรรคที่สกัดกั้นผู้ที่จะเข้ามาใหม่ ซึ่งมีทั้งในด้านต้นทุน ภาพลักษณ์ ความภักดีและต้นทุนการเปลี่ยนแปลงผลิตภัณฑ์ของลูกค้า เงินทุน ช่องทางการจัดจำหน่าย นโยบาย กฎหมาย ระเบียบและกฎเกณฑ์ของรัฐ
2. การคาดคะเนปฏิกิริยาการตอบโต้ของกิจการที่มีอยู่เดิม นอกจากกิจการรายใหม่จะต้องประเมินอุปสรรคกีดกั้นในการเข้าตลาดของตนแล้ว ผู้ที่จะเข้ามาใหม่จะต้องประเมินปฏิกิริยาการตอบโต้ของกิจการที่มีอยู่เดิมว่าจะมีมากน้อยเพียงใด เพราะถ้าแรงตอบโต้สูงย่อมก่อให้เกิดสงครามการแข่งขันและอาจลุกลามไปถึง “สงครามราคา” ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อผู้เข้ามาใหม่และอุตสาหกรรมโดยส่วนรวม
อ้างอิง อำนาจ ธีระวนิช. (2549). ผู้ประกอบการ. กรุงเทพฯ

นางสาววัชรี ทองห่อ รหัส5210125401052 เอกการจัดการทั่วไป ปี 4

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

สภาพแวดล้อมอุตสาหกรรม
การคุกคามจากคู่แข่งขันที่จะเข้ามาใหม่
ก่อนที่คู่แข่งขันรายใหม่จะเข้ามาในตลาด อย่างน้อยกิจการนั้นๆ ต้องมีความมุ่งมั่นที่จะช่วงชิงส่วนแบ่งตลาดและต้องมั่นในว่ากิจการของตนมีความแตกต่างจากกิจการที่มีอยู่เดิม ซึ่งความแตกต่างนี้อาจเกิดจากเทคโนดลยีที่เหนือกว่า ชื่อเสียงผลิตภัณฑ์ดีกว่า ราคาต่ำกว่า เงินทุนที่มากกว่าหรือแม้กระทั้งอาศัยช่องว่างของตลาดและอื่นๆ ดังนั้นคู่แข่งขันรายใหม่จึงถือเป็นภัยคุกคามที่น่ากลัว ซึ่งในอุตสาหกรรมที่มีช่องว่างให้คู่แข่งขันรายใหม่เข้ามามีมากเพียงใดสภาพแวดล้อมการแข่งขันจะยิ่งเข้มข้นมากขึ้นตามละดับและในที่สุดจะส่งผลต่อระดับกำไรของกิจการที่มีอยู่เดิม
การคุกคามจากคู่แข่งขันที่จะเข้ามาใหม่ในธุรกิจแต่ละประเภทจะมีความแตกต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยที่สำคัญ 2 ประการคือ
1. อุปสรรคที่สกัดกั้นผู้ที่จะเข้ามาใหม่ ซึ่งมีทั้งในด้านต้นทุน ภาพลักษณ์ ความภักดีและต้นทุนการเปลี่ยนแปลงผลิตภัณฑ์ของลูกค้า เงินทุน ช่องทางการจัดจำหน่าย นโยบาย กฎหมาย ระเบียบและกฎเกณฑ์ของรัฐ
2. การคาดคะเนปฏิกิริยาการตอบโต้ของกิจการที่มีอยู่เดิม นอกจากกิจการรายใหม่จะต้องประเมินอุปสรรคกีดกั้นในการเข้าตลาดของตนแล้ว ผู้ที่จะเข้ามาใหม่จะต้องประเมินปฏิกิริยาการตอบโต้ของกิจการที่มีอยู่เดิมว่าจะมีมากน้อยเพียงใด เพราะถ้าแรงตอบโต้สูงย่อมก่อให้เกิดสงครามการแข่งขันและอาจลุกลามไปถึง “สงครามราคา” ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อผู้เข้ามาใหม่และอุตสาหกรรมโดยส่วนรวม
อ้างอิง อำนาจ ธีระวนิช. (2549). ผู้ประกอบการ. กรุงเทพฯ

นางสาววัชรี ทองห่อ รหัส5210125401052 เอกการจัดการทั่วไป ปี 4

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

สภาพแวดล้อมอุตสาหกรรม
การคุกคามจากคู่แข่งขันที่จะเข้ามาใหม่
ก่อนที่คู่แข่งขันรายใหม่จะเข้ามาในตลาด อย่างน้อยกิจการนั้นๆ ต้องมีความมุ่งมั่นที่จะช่วงชิงส่วนแบ่งตลาดและต้องมั่นในว่ากิจการของตนมีความแตกต่างจากกิจการที่มีอยู่เดิม ซึ่งความแตกต่างนี้อาจเกิดจากเทคโนดลยีที่เหนือกว่า ชื่อเสียงผลิตภัณฑ์ดีกว่า ราคาต่ำกว่า เงินทุนที่มากกว่าหรือแม้กระทั้งอาศัยช่องว่างของตลาดและอื่นๆ ดังนั้นคู่แข่งขันรายใหม่จึงถือเป็นภัยคุกคามที่น่ากลัว ซึ่งในอุตสาหกรรมที่มีช่องว่างให้คู่แข่งขันรายใหม่เข้ามามีมากเพียงใดสภาพแวดล้อมการแข่งขันจะยิ่งเข้มข้นมากขึ้นตามละดับและในที่สุดจะส่งผลต่อระดับกำไรของกิจการที่มีอยู่เดิม
การคุกคามจากคู่แข่งขันที่จะเข้ามาใหม่ในธุรกิจแต่ละประเภทจะมีความแตกต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยที่สำคัญ 2 ประการคือ
1. อุปสรรคที่สกัดกั้นผู้ที่จะเข้ามาใหม่ ซึ่งมีทั้งในด้านต้นทุน ภาพลักษณ์ ความภักดีและต้นทุนการเปลี่ยนแปลงผลิตภัณฑ์ของลูกค้า เงินทุน ช่องทางการจัดจำหน่าย นโยบาย กฎหมาย ระเบียบและกฎเกณฑ์ของรัฐ
2. การคาดคะเนปฏิกิริยาการตอบโต้ของกิจการที่มีอยู่เดิม นอกจากกิจการรายใหม่จะต้องประเมินอุปสรรคกีดกั้นในการเข้าตลาดของตนแล้ว ผู้ที่จะเข้ามาใหม่จะต้องประเมินปฏิกิริยาการตอบโต้ของกิจการที่มีอยู่เดิมว่าจะมีมากน้อยเพียงใด เพราะถ้าแรงตอบโต้สูงย่อมก่อให้เกิดสงครามการแข่งขันและอาจลุกลามไปถึง “สงครามราคา” ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อผู้เข้ามาใหม่และอุตสาหกรรมโดยส่วนรวม
อ้างอิง อำนาจ ธีระวนิช. (2549). ผู้ประกอบการ. กรุงเทพฯ

นางสาววัชรี ทองห่อ รหัส5210125401052 เอกการจัดการทั่วไป ปี 4

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

สภาพแวดล้อมอุตสาหกรรม
การคุกคามจากคู่แข่งขันที่จะเข้ามาใหม่
ก่อนที่คู่แข่งขันรายใหม่จะเข้ามาในตลาด อย่างน้อยกิจการนั้นๆ ต้องมีความมุ่งมั่นที่จะช่วงชิงส่วนแบ่งตลาดและต้องมั่นในว่ากิจการของตนมีความแตกต่างจากกิจการที่มีอยู่เดิม ซึ่งความแตกต่างนี้อาจเกิดจากเทคโนดลยีที่เหนือกว่า ชื่อเสียงผลิตภัณฑ์ดีกว่า ราคาต่ำกว่า เงินทุนที่มากกว่าหรือแม้กระทั้งอาศัยช่องว่างของตลาดและอื่นๆ ดังนั้นคู่แข่งขันรายใหม่จึงถือเป็นภัยคุกคามที่น่ากลัว ซึ่งในอุตสาหกรรมที่มีช่องว่างให้คู่แข่งขันรายใหม่เข้ามามีมากเพียงใดสภาพแวดล้อมการแข่งขันจะยิ่งเข้มข้นมากขึ้นตามละดับและในที่สุดจะส่งผลต่อระดับกำไรของกิจการที่มีอยู่เดิม
การคุกคามจากคู่แข่งขันที่จะเข้ามาใหม่ในธุรกิจแต่ละประเภทจะมีความแตกต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยที่สำคัญ 2 ประการคือ
1. อุปสรรคที่สกัดกั้นผู้ที่จะเข้ามาใหม่ ซึ่งมีทั้งในด้านต้นทุน ภาพลักษณ์ ความภักดีและต้นทุนการเปลี่ยนแปลงผลิตภัณฑ์ของลูกค้า เงินทุน ช่องทางการจัดจำหน่าย นโยบาย กฎหมาย ระเบียบและกฎเกณฑ์ของรัฐ
2. การคาดคะเนปฏิกิริยาการตอบโต้ของกิจการที่มีอยู่เดิม นอกจากกิจการรายใหม่จะต้องประเมินอุปสรรคกีดกั้นในการเข้าตลาดของตนแล้ว ผู้ที่จะเข้ามาใหม่จะต้องประเมินปฏิกิริยาการตอบโต้ของกิจการที่มีอยู่เดิมว่าจะมีมากน้อยเพียงใด เพราะถ้าแรงตอบโต้สูงย่อมก่อให้เกิดสงครามการแข่งขันและอาจลุกลามไปถึง “สงครามราคา” ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อผู้เข้ามาใหม่และอุตสาหกรรมโดยส่วนรวม
อ้างอิง อำนาจ ธีระวนิช. (2549). ผู้ประกอบการ. กรุงเทพฯ

นางสาววัชรี ทองห่อ รหัส5210125401052 เอกการจัดการทั่วไป ปี 4

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

สภาพแวดล้อมอุตสาหกรรม
การคุกคามจากคู่แข่งขันที่จะเข้ามาใหม่
ก่อนที่คู่แข่งขันรายใหม่จะเข้ามาในตลาด อย่างน้อยกิจการนั้นๆ ต้องมีความมุ่งมั่นที่จะช่วงชิงส่วนแบ่งตลาดและต้องมั่นในว่ากิจการของตนมีความแตกต่างจากกิจการที่มีอยู่เดิม ซึ่งความแตกต่างนี้อาจเกิดจากเทคโนดลยีที่เหนือกว่า ชื่อเสียงผลิตภัณฑ์ดีกว่า ราคาต่ำกว่า เงินทุนที่มากกว่าหรือแม้กระทั้งอาศัยช่องว่างของตลาดและอื่นๆ ดังนั้นคู่แข่งขันรายใหม่จึงถือเป็นภัยคุกคามที่น่ากลัว ซึ่งในอุตสาหกรรมที่มีช่องว่างให้คู่แข่งขันรายใหม่เข้ามามีมากเพียงใดสภาพแวดล้อมการแข่งขันจะยิ่งเข้มข้นมากขึ้นตามละดับและในที่สุดจะส่งผลต่อระดับกำไรของกิจการที่มีอยู่เดิม
การคุกคามจากคู่แข่งขันที่จะเข้ามาใหม่ในธุรกิจแต่ละประเภทจะมีความแตกต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยที่สำคัญ 2 ประการคือ
1. อุปสรรคที่สกัดกั้นผู้ที่จะเข้ามาใหม่ ซึ่งมีทั้งในด้านต้นทุน ภาพลักษณ์ ความภักดีและต้นทุนการเปลี่ยนแปลงผลิตภัณฑ์ของลูกค้า เงินทุน ช่องทางการจัดจำหน่าย นโยบาย กฎหมาย ระเบียบและกฎเกณฑ์ของรัฐ
2. การคาดคะเนปฏิกิริยาการตอบโต้ของกิจการที่มีอยู่เดิม นอกจากกิจการรายใหม่จะต้องประเมินอุปสรรคกีดกั้นในการเข้าตลาดของตนแล้ว ผู้ที่จะเข้ามาใหม่จะต้องประเมินปฏิกิริยาการตอบโต้ของกิจการที่มีอยู่เดิมว่าจะมีมากน้อยเพียงใด เพราะถ้าแรงตอบโต้สูงย่อมก่อให้เกิดสงครามการแข่งขันและอาจลุกลามไปถึง “สงครามราคา” ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อผู้เข้ามาใหม่และอุตสาหกรรมโดยส่วนรวม
อ้างอิง อำนาจ ธีระวนิช. (2549). ผู้ประกอบการ. กรุงเทพฯ

นางสาววัชรี ทองห่อ รหัส5210125401052 เอกการจัดการทั่วไป ปี 4

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

สภาพแวดล้อมอุตสาหกรรม
การคุกคามจากคู่แข่งขันที่จะเข้ามาใหม่
ก่อนที่คู่แข่งขันรายใหม่จะเข้ามาในตลาด อย่างน้อยกิจการนั้นๆ ต้องมีความมุ่งมั่นที่จะช่วงชิงส่วนแบ่งตลาดและต้องมั่นในว่ากิจการของตนมีความแตกต่างจากกิจการที่มีอยู่เดิม ซึ่งความแตกต่างนี้อาจเกิดจากเทคโนดลยีที่เหนือกว่า ชื่อเสียงผลิตภัณฑ์ดีกว่า ราคาต่ำกว่า เงินทุนที่มากกว่าหรือแม้กระทั้งอาศัยช่องว่างของตลาดและอื่นๆ ดังนั้นคู่แข่งขันรายใหม่จึงถือเป็นภัยคุกคามที่น่ากลัว ซึ่งในอุตสาหกรรมที่มีช่องว่างให้คู่แข่งขันรายใหม่เข้ามามีมากเพียงใดสภาพแวดล้อมการแข่งขันจะยิ่งเข้มข้นมากขึ้นตามละดับและในที่สุดจะส่งผลต่อระดับกำไรของกิจการที่มีอยู่เดิม
การคุกคามจากคู่แข่งขันที่จะเข้ามาใหม่ในธุรกิจแต่ละประเภทจะมีความแตกต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยที่สำคัญ 2 ประการคือ
1. อุปสรรคที่สกัดกั้นผู้ที่จะเข้ามาใหม่ ซึ่งมีทั้งในด้านต้นทุน ภาพลักษณ์ ความภักดีและต้นทุนการเปลี่ยนแปลงผลิตภัณฑ์ของลูกค้า เงินทุน ช่องทางการจัดจำหน่าย นโยบาย กฎหมาย ระเบียบและกฎเกณฑ์ของรัฐ
2. การคาดคะเนปฏิกิริยาการตอบโต้ของกิจการที่มีอยู่เดิม นอกจากกิจการรายใหม่จะต้องประเมินอุปสรรคกีดกั้นในการเข้าตลาดของตนแล้ว ผู้ที่จะเข้ามาใหม่จะต้องประเมินปฏิกิริยาการตอบโต้ของกิจการที่มีอยู่เดิมว่าจะมีมากน้อยเพียงใด เพราะถ้าแรงตอบโต้สูงย่อมก่อให้เกิดสงครามการแข่งขันและอาจลุกลามไปถึง “สงครามราคา” ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อผู้เข้ามาใหม่และอุตสาหกรรมโดยส่วนรวม
อ้างอิง อำนาจ ธีระวนิช. (2549). ผู้ประกอบการ. กรุงเทพฯ

นางสาววัชรี ทองห่อ รหัส5210125401052 เอกการจัดการทั่วไป ปี 4

Unknown กล่าวว่า...

นางสาวอัญชลี คำประชม รหัส 5210125401058
โปรแกรมการจัดการทั่วไป

การวิเคราะห์ (Analysis)
จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส อุปสรรค
ปัจจัยภายใน :จุดแข็ง (Strength) + จุดอ่อน (Weakness)
ปัจจัยภายนอก :โอกาส (Opportunities) + ภัยคุกคาม (Threat)
การวิเคราะห์สถานการณ์
มีประเด็นที่ประกอบด้วย จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และภัยคุกคาม (SWOT = Strength, Weakness, Opportunity และ Threat) คือ การสำรวจตรวจสอบสภาพภายในองค์การและสภาพแวดล้อมภายนอก เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการวางแผน เพื่อให้แผนนั้นได้ใช้ประโยชน์จากสิ่งที่มีอยู่และแก้ปัญหาที่ไม่พึงประสงค์ โดยอาศัยทั้งปัจจัยจากภายในและภายนอกมาเป็นฐานคิดสำหรับกำหนดแผนงานโครงการ
ปัจจัยภายใน ประกอบด้วย จุดแข็ง (Strength) และจุดอ่อน (Weakness)
จุดแข็ง หมายถึง สิ่งที่มีอยู่เองแล้วโดยพิจารณาจากความสำเร็จในมิติต่าง ๆ เช่น ทำเลที่ตั้ง ฐานะทางการเงิน ความสามารถของบุคลากร ความเป็นทีม คุณภาพบริการ ประเพณีวัฒนธรรม แหล่งท่องเที่ยว เป็นต้น
จุดอ่อน หมายถึง สิ่งที่มีอยู่เองแล้วโดยพิจารณาจากปัญหาหรืออุปสรรคในมิติต่าง ๆ เช่น ระเบียบกฎเกณฑ์ ขั้นตอนที่ซับซ้อน การเริ่มต้นใหม่ ความหลากหลายของคน เป็นต้น
ปัจจัยภายนอก ประกอบด้วย โอกาส (Opportunity) และภัยคุกคาม (Threat)
โอกาส หมายถึง สิ่งที่อยู่ภายนอกโดยพิจารณาถึงความเป็นประโยชน์หรือสนับสนุนเป้าหมายของชุมชน เช่น การเมือง การรวมการปกครอง กฎหมาย ราคาน้ำมัน ค่าเงินบาท คู่แข่ง เป็นต้น
ภัยคุกคาม หมายถึง สิ่งที่อยู่ภายนอกโดยพิจารณาว่าเป็นอุปสรรคต่อเป้าหมายของชุมชน เช่น การเมือง การรวมการปกครอง กฎหมาย ราคาน้ำมัน ค่าเงินบาท คู่แข่ง เป็นต้น
ที่มา http://www.thaiall.com/swot/ ปรับปรุง : 2555-05-02 (เพิ่ม strategy map)

Be^Knicknac^ กล่าวว่า...

การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม : ภายใน
สภาพแวดล้อมแวดล้อมภายในประกอบไปด้วย ปัจจัย (จุดแข็งและจุดอ่อน) ที่อยู่ภายในบริษัทและไม่ได้อยู่ภายใต้การควบคุมระยะสั้นของผู้บริหารระดับสูง ปัจจัยเหล่านี้ได้แก่ โครงสร้าง วัฒนธรรม และทรัพยากรของบริษัท
- โครงสร้างของบริษัท (Corporate Structure) จะแสดงให้เห็นถึงการรวมกลุ่มงาน ความสัมพันธ์ทางอำนาจหน้าที่ การไหลเวียนของงาน และการติดต่อสื่อสารภายในบริษัท เรามักจะเรียกโครงสร้างบริษัทนี้ว่า “สายการบังคับบัญชา” โดยทั่วไปโครงสร้างบริษัทจะแสดงให้เห็นสภาพภายในแผนภูมิองค์การ
- วัฒนธรรมขององค์การ (Corporate Culture) จะหมายถึงความเชื่อ ความคาดหวัง และค่ายนิยมร่วมกันของบรรดาบุคคลภายในบริษัท โดยทั่วไปจะปรากฏขึ้นมาเป็นบรรทัดฐานที่ระบุพฤติกรรมที่ยอมรับกันของบุคคล ตั้งแต่ผู้บริหารระดับสูงลงมาจนถึงพนักงานระดับล่างสุด
- ทรัพยากรของบริษัท (Corporate Resources) จะหมายถึงทรัพย์สินทุกอย่างภายในการผลิตและการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของบริษัท ทรัพย์สินเหล่านี้ ได้แก่ คน เงินทุน วัตถุดิบ โรงงาน เทคโนโลยี และทักษะ เป็นต้น
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม : ภายนอก
สภาพแวดล้อมภายนอกประกอบด้วยปัจจัย (โอกาสและอุปสรรค) ที่อยู่ภายนอกบริษัทและไม่ได้อยู่ภายใต้กรควบคุมของผู้บริหารระดับสูง โดยทั่วไปสภาพแวดล้อมภายนอกจะมีอยู่สองส่วนคือ : สภาพแวดล้อมการดำเนินงานและสภาพแวดล้อมโดยทั่วไป
- สภาพแวดล้อมการดำเนินงาน (Task Environment) จะประกอบด้วยปัจจัยที่กระทบและถูกกระทบโดยตรงต่อการดำเนินงานของบริษัทปัจจัยเหล่านี้ ได้แก่ ผู้มีส่วนได้เสีย รัฐบาล ผู้จำหน่ายวัตถุดิบ ชุมชน คู่แข่งขัน ลูกค้า เจ้าหนี้ สหภาพแรงงาน สมาคมการค้า และกลุ่มผลประโยชน์ เรามักจะเรียกสภาพแวดล้อมการดำเนินงานของบริษัทว่าอุตสาหกรรม
- สภาพแวดล้อมโดยทั่วไป (General Environment) จะประกอบด้วยปัจจัยที่ไม่กระทบโดยตรงต่อการดำเนินงานระยะสั้นของบริษัท ปัจจัยเหล่านี้จะมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจในระยะยาวของบริษัท ปัจจัยเหล่านี้ ได้แก่ เศรษฐกิจ สังคมวัฒนธรรม เทคโนโลยี และการเมือง กฎหมาย

อ้างอิงจาก สมยศ นาวีการ. (2535). การบริหารเชิงกลยุทธ์และนโยบายทางธุรกิจ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์.บรรณกิจเทรดดิ้ง
*น.ส.วณิดา สามทอง รหัส 5210125401065 เอกการจัดการทั่วไป ปี 4 *

Be^Knicknac^ กล่าวว่า...

การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม : ภายใน
สภาพแวดล้อมแวดล้อมภายในประกอบไปด้วย ปัจจัย (จุดแข็งและจุดอ่อน) ที่อยู่ภายในบริษัทและไม่ได้อยู่ภายใต้การควบคุมระยะสั้นของผู้บริหารระดับสูง ปัจจัยเหล่านี้ได้แก่ โครงสร้าง วัฒนธรรม และทรัพยากรของบริษัท
- โครงสร้างของบริษัท (Corporate Structure) จะแสดงให้เห็นถึงการรวมกลุ่มงาน ความสัมพันธ์ทางอำนาจหน้าที่ การไหลเวียนของงาน และการติดต่อสื่อสารภายในบริษัท เรามักจะเรียกโครงสร้างบริษัทนี้ว่า “สายการบังคับบัญชา” โดยทั่วไปโครงสร้างบริษัทจะแสดงให้เห็นสภาพภายในแผนภูมิองค์การ
- วัฒนธรรมขององค์การ (Corporate Culture) จะหมายถึงความเชื่อ ความคาดหวัง และค่ายนิยมร่วมกันของบรรดาบุคคลภายในบริษัท โดยทั่วไปจะปรากฏขึ้นมาเป็นบรรทัดฐานที่ระบุพฤติกรรมที่ยอมรับกันของบุคคล ตั้งแต่ผู้บริหารระดับสูงลงมาจนถึงพนักงานระดับล่างสุด
- ทรัพยากรของบริษัท (Corporate Resources) จะหมายถึงทรัพย์สินทุกอย่างภายในการผลิตและการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของบริษัท ทรัพย์สินเหล่านี้ ได้แก่ คน เงินทุน วัตถุดิบ โรงงาน เทคโนโลยี และทักษะ เป็นต้น
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม : ภายนอก
สภาพแวดล้อมภายนอกประกอบด้วยปัจจัย (โอกาสและอุปสรรค) ที่อยู่ภายนอกบริษัทและไม่ได้อยู่ภายใต้กรควบคุมของผู้บริหารระดับสูง โดยทั่วไปสภาพแวดล้อมภายนอกจะมีอยู่สองส่วนคือ : สภาพแวดล้อมการดำเนินงานและสภาพแวดล้อมโดยทั่วไป
- สภาพแวดล้อมการดำเนินงาน (Task Environment) จะประกอบด้วยปัจจัยที่กระทบและถูกกระทบโดยตรงต่อการดำเนินงานของบริษัทปัจจัยเหล่านี้ ได้แก่ ผู้มีส่วนได้เสีย รัฐบาล ผู้จำหน่ายวัตถุดิบ ชุมชน คู่แข่งขัน ลูกค้า เจ้าหนี้ สหภาพแรงงาน สมาคมการค้า และกลุ่มผลประโยชน์ เรามักจะเรียกสภาพแวดล้อมการดำเนินงานของบริษัทว่าอุตสาหกรรม
- สภาพแวดล้อมโดยทั่วไป (General Environment) จะประกอบด้วยปัจจัยที่ไม่กระทบโดยตรงต่อการดำเนินงานระยะสั้นของบริษัท ปัจจัยเหล่านี้จะมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจในระยะยาวของบริษัท ปัจจัยเหล่านี้ ได้แก่ เศรษฐกิจ สังคมวัฒนธรรม เทคโนโลยี และการเมือง กฎหมาย

อ้างอิงจาก สมยศ นาวีการ. (2535). การบริหารเชิงกลยุทธ์และนโยบายทางธุรกิจ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์.บรรณกิจเทรดดิ้ง
*น.ส.วณิดา สามทอง รหัส 5210125401065 เอกการจัดการทั่วไป ปี 4 *

Be^Knicknac^ กล่าวว่า...

การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม : ภายใน
สภาพแวดล้อมแวดล้อมภายในประกอบไปด้วย ปัจจัย (จุดแข็งและจุดอ่อน) ที่อยู่ภายในบริษัทและไม่ได้อยู่ภายใต้การควบคุมระยะสั้นของผู้บริหารระดับสูง ปัจจัยเหล่านี้ได้แก่ โครงสร้าง วัฒนธรรม และทรัพยากรของบริษัท
- โครงสร้างของบริษัท (Corporate Structure) จะแสดงให้เห็นถึงการรวมกลุ่มงาน ความสัมพันธ์ทางอำนาจหน้าที่ การไหลเวียนของงาน และการติดต่อสื่อสารภายในบริษัท เรามักจะเรียกโครงสร้างบริษัทนี้ว่า “สายการบังคับบัญชา” โดยทั่วไปโครงสร้างบริษัทจะแสดงให้เห็นสภาพภายในแผนภูมิองค์การ
- วัฒนธรรมขององค์การ (Corporate Culture) จะหมายถึงความเชื่อ ความคาดหวัง และค่ายนิยมร่วมกันของบรรดาบุคคลภายในบริษัท โดยทั่วไปจะปรากฏขึ้นมาเป็นบรรทัดฐานที่ระบุพฤติกรรมที่ยอมรับกันของบุคคล ตั้งแต่ผู้บริหารระดับสูงลงมาจนถึงพนักงานระดับล่างสุด
- ทรัพยากรของบริษัท (Corporate Resources) จะหมายถึงทรัพย์สินทุกอย่างภายในการผลิตและการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของบริษัท ทรัพย์สินเหล่านี้ ได้แก่ คน เงินทุน วัตถุดิบ โรงงาน เทคโนโลยี และทักษะ เป็นต้น
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม : ภายนอก
สภาพแวดล้อมภายนอกประกอบด้วยปัจจัย (โอกาสและอุปสรรค) ที่อยู่ภายนอกบริษัทและไม่ได้อยู่ภายใต้กรควบคุมของผู้บริหารระดับสูง โดยทั่วไปสภาพแวดล้อมภายนอกจะมีอยู่สองส่วนคือ : สภาพแวดล้อมการดำเนินงานและสภาพแวดล้อมโดยทั่วไป
- สภาพแวดล้อมการดำเนินงาน (Task Environment) จะประกอบด้วยปัจจัยที่กระทบและถูกกระทบโดยตรงต่อการดำเนินงานของบริษัทปัจจัยเหล่านี้ ได้แก่ ผู้มีส่วนได้เสีย รัฐบาล ผู้จำหน่ายวัตถุดิบ ชุมชน คู่แข่งขัน ลูกค้า เจ้าหนี้ สหภาพแรงงาน สมาคมการค้า และกลุ่มผลประโยชน์ เรามักจะเรียกสภาพแวดล้อมการดำเนินงานของบริษัทว่าอุตสาหกรรม
- สภาพแวดล้อมโดยทั่วไป (General Environment) จะประกอบด้วยปัจจัยที่ไม่กระทบโดยตรงต่อการดำเนินงานระยะสั้นของบริษัท ปัจจัยเหล่านี้จะมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจในระยะยาวของบริษัท ปัจจัยเหล่านี้ ได้แก่ เศรษฐกิจ สังคมวัฒนธรรม เทคโนโลยี และการเมือง กฎหมาย

อ้างอิงจาก สมยศ นาวีการ. (2535). การบริหารเชิงกลยุทธ์และนโยบายทางธุรกิจ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์.บรรณกิจเทรดดิ้ง
*น.ส.วณิดา สามทอง รหัส 5210125401065 เอกการจัดการทั่วไป ปี 4 *

Be^Knicknac^ กล่าวว่า...

การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม : ภายใน
สภาพแวดล้อมแวดล้อมภายในประกอบไปด้วย ปัจจัย (จุดแข็งและจุดอ่อน) ที่อยู่ภายในบริษัทและไม่ได้อยู่ภายใต้การควบคุมระยะสั้นของผู้บริหารระดับสูง ปัจจัยเหล่านี้ได้แก่ โครงสร้าง วัฒนธรรม และทรัพยากรของบริษัท
- โครงสร้างของบริษัท (Corporate Structure) จะแสดงให้เห็นถึงการรวมกลุ่มงาน ความสัมพันธ์ทางอำนาจหน้าที่ การไหลเวียนของงาน และการติดต่อสื่อสารภายในบริษัท เรามักจะเรียกโครงสร้างบริษัทนี้ว่า “สายการบังคับบัญชา” โดยทั่วไปโครงสร้างบริษัทจะแสดงให้เห็นสภาพภายในแผนภูมิองค์การ
- วัฒนธรรมขององค์การ (Corporate Culture) จะหมายถึงความเชื่อ ความคาดหวัง และค่ายนิยมร่วมกันของบรรดาบุคคลภายในบริษัท โดยทั่วไปจะปรากฏขึ้นมาเป็นบรรทัดฐานที่ระบุพฤติกรรมที่ยอมรับกันของบุคคล ตั้งแต่ผู้บริหารระดับสูงลงมาจนถึงพนักงานระดับล่างสุด
- ทรัพยากรของบริษัท (Corporate Resources) จะหมายถึงทรัพย์สินทุกอย่างภายในการผลิตและการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของบริษัท ทรัพย์สินเหล่านี้ ได้แก่ คน เงินทุน วัตถุดิบ โรงงาน เทคโนโลยี และทักษะ เป็นต้น
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม : ภายนอก
สภาพแวดล้อมภายนอกประกอบด้วยปัจจัย (โอกาสและอุปสรรค) ที่อยู่ภายนอกบริษัทและไม่ได้อยู่ภายใต้กรควบคุมของผู้บริหารระดับสูง โดยทั่วไปสภาพแวดล้อมภายนอกจะมีอยู่สองส่วนคือ : สภาพแวดล้อมการดำเนินงานและสภาพแวดล้อมโดยทั่วไป
- สภาพแวดล้อมการดำเนินงาน (Task Environment) จะประกอบด้วยปัจจัยที่กระทบและถูกกระทบโดยตรงต่อการดำเนินงานของบริษัทปัจจัยเหล่านี้ ได้แก่ ผู้มีส่วนได้เสีย รัฐบาล ผู้จำหน่ายวัตถุดิบ ชุมชน คู่แข่งขัน ลูกค้า เจ้าหนี้ สหภาพแรงงาน สมาคมการค้า และกลุ่มผลประโยชน์ เรามักจะเรียกสภาพแวดล้อมการดำเนินงานของบริษัทว่าอุตสาหกรรม
- สภาพแวดล้อมโดยทั่วไป (General Environment) จะประกอบด้วยปัจจัยที่ไม่กระทบโดยตรงต่อการดำเนินงานระยะสั้นของบริษัท ปัจจัยเหล่านี้จะมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจในระยะยาวของบริษัท ปัจจัยเหล่านี้ ได้แก่ เศรษฐกิจ สังคมวัฒนธรรม เทคโนโลยี และการเมือง กฎหมาย

อ้างอิงจาก สมยศ นาวีการ. (2535). การบริหารเชิงกลยุทธ์และนโยบายทางธุรกิจ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์.บรรณกิจเทรดดิ้ง
*น.ส.วณิดา สามทอง รหัส 5210125401065 เอกการจัดการทั่วไป ปี 4 *

Be^Knicknac^ กล่าวว่า...

การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม : ภายใน
สภาพแวดล้อมแวดล้อมภายในประกอบไปด้วย ปัจจัย (จุดแข็งและจุดอ่อน) ที่อยู่ภายในบริษัทและไม่ได้อยู่ภายใต้การควบคุมระยะสั้นของผู้บริหารระดับสูง ปัจจัยเหล่านี้ได้แก่ โครงสร้าง วัฒนธรรม และทรัพยากรของบริษัท
- โครงสร้างของบริษัท (Corporate Structure) จะแสดงให้เห็นถึงการรวมกลุ่มงาน ความสัมพันธ์ทางอำนาจหน้าที่ การไหลเวียนของงาน และการติดต่อสื่อสารภายในบริษัท เรามักจะเรียกโครงสร้างบริษัทนี้ว่า “สายการบังคับบัญชา” โดยทั่วไปโครงสร้างบริษัทจะแสดงให้เห็นสภาพภายในแผนภูมิองค์การ
- วัฒนธรรมขององค์การ (Corporate Culture) จะหมายถึงความเชื่อ ความคาดหวัง และค่ายนิยมร่วมกันของบรรดาบุคคลภายในบริษัท โดยทั่วไปจะปรากฏขึ้นมาเป็นบรรทัดฐานที่ระบุพฤติกรรมที่ยอมรับกันของบุคคล ตั้งแต่ผู้บริหารระดับสูงลงมาจนถึงพนักงานระดับล่างสุด
- ทรัพยากรของบริษัท (Corporate Resources) จะหมายถึงทรัพย์สินทุกอย่างภายในการผลิตและการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของบริษัท ทรัพย์สินเหล่านี้ ได้แก่ คน เงินทุน วัตถุดิบ โรงงาน เทคโนโลยี และทักษะ เป็นต้น
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม : ภายนอก
สภาพแวดล้อมภายนอกประกอบด้วยปัจจัย (โอกาสและอุปสรรค) ที่อยู่ภายนอกบริษัทและไม่ได้อยู่ภายใต้กรควบคุมของผู้บริหารระดับสูง โดยทั่วไปสภาพแวดล้อมภายนอกจะมีอยู่สองส่วนคือ : สภาพแวดล้อมการดำเนินงานและสภาพแวดล้อมโดยทั่วไป
- สภาพแวดล้อมการดำเนินงาน (Task Environment) จะประกอบด้วยปัจจัยที่กระทบและถูกกระทบโดยตรงต่อการดำเนินงานของบริษัทปัจจัยเหล่านี้ ได้แก่ ผู้มีส่วนได้เสีย รัฐบาล ผู้จำหน่ายวัตถุดิบ ชุมชน คู่แข่งขัน ลูกค้า เจ้าหนี้ สหภาพแรงงาน สมาคมการค้า และกลุ่มผลประโยชน์ เรามักจะเรียกสภาพแวดล้อมการดำเนินงานของบริษัทว่าอุตสาหกรรม
- สภาพแวดล้อมโดยทั่วไป (General Environment) จะประกอบด้วยปัจจัยที่ไม่กระทบโดยตรงต่อการดำเนินงานระยะสั้นของบริษัท ปัจจัยเหล่านี้จะมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจในระยะยาวของบริษัท ปัจจัยเหล่านี้ ได้แก่ เศรษฐกิจ สังคมวัฒนธรรม เทคโนโลยี และการเมือง กฎหมาย

อ้างอิงจาก สมยศ นาวีการ. (2535). การบริหารเชิงกลยุทธ์และนโยบายทางธุรกิจ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์.บรรณกิจเทรดดิ้ง
*น.ส.วณิดา สามทอง รหัส 5210125401065 เอกการจัดการทั่วไป ปี 4 *

Be^Knicknac^ กล่าวว่า...

การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม : ภายใน
สภาพแวดล้อมแวดล้อมภายในประกอบไปด้วย ปัจจัย (จุดแข็งและจุดอ่อน) ที่อยู่ภายในบริษัทและไม่ได้อยู่ภายใต้การควบคุมระยะสั้นของผู้บริหารระดับสูง ปัจจัยเหล่านี้ได้แก่ โครงสร้าง วัฒนธรรม และทรัพยากรของบริษัท
- โครงสร้างของบริษัท (Corporate Structure) จะแสดงให้เห็นถึงการรวมกลุ่มงาน ความสัมพันธ์ทางอำนาจหน้าที่ การไหลเวียนของงาน และการติดต่อสื่อสารภายในบริษัท เรามักจะเรียกโครงสร้างบริษัทนี้ว่า “สายการบังคับบัญชา” โดยทั่วไปโครงสร้างบริษัทจะแสดงให้เห็นสภาพภายในแผนภูมิองค์การ
- วัฒนธรรมขององค์การ (Corporate Culture) จะหมายถึงความเชื่อ ความคาดหวัง และค่ายนิยมร่วมกันของบรรดาบุคคลภายในบริษัท โดยทั่วไปจะปรากฏขึ้นมาเป็นบรรทัดฐานที่ระบุพฤติกรรมที่ยอมรับกันของบุคคล ตั้งแต่ผู้บริหารระดับสูงลงมาจนถึงพนักงานระดับล่างสุด
- ทรัพยากรของบริษัท (Corporate Resources) จะหมายถึงทรัพย์สินทุกอย่างภายในการผลิตและการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของบริษัท ทรัพย์สินเหล่านี้ ได้แก่ คน เงินทุน วัตถุดิบ โรงงาน เทคโนโลยี และทักษะ เป็นต้น
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม : ภายนอก
สภาพแวดล้อมภายนอกประกอบด้วยปัจจัย (โอกาสและอุปสรรค) ที่อยู่ภายนอกบริษัทและไม่ได้อยู่ภายใต้กรควบคุมของผู้บริหารระดับสูง โดยทั่วไปสภาพแวดล้อมภายนอกจะมีอยู่สองส่วนคือ : สภาพแวดล้อมการดำเนินงานและสภาพแวดล้อมโดยทั่วไป
- สภาพแวดล้อมการดำเนินงาน (Task Environment) จะประกอบด้วยปัจจัยที่กระทบและถูกกระทบโดยตรงต่อการดำเนินงานของบริษัทปัจจัยเหล่านี้ ได้แก่ ผู้มีส่วนได้เสีย รัฐบาล ผู้จำหน่ายวัตถุดิบ ชุมชน คู่แข่งขัน ลูกค้า เจ้าหนี้ สหภาพแรงงาน สมาคมการค้า และกลุ่มผลประโยชน์ เรามักจะเรียกสภาพแวดล้อมการดำเนินงานของบริษัทว่าอุตสาหกรรม
- สภาพแวดล้อมโดยทั่วไป (General Environment) จะประกอบด้วยปัจจัยที่ไม่กระทบโดยตรงต่อการดำเนินงานระยะสั้นของบริษัท ปัจจัยเหล่านี้จะมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจในระยะยาวของบริษัท ปัจจัยเหล่านี้ ได้แก่ เศรษฐกิจ สังคมวัฒนธรรม เทคโนโลยี และการเมือง กฎหมาย

อ้างอิงจาก สมยศ นาวีการ. (2535). การบริหารเชิงกลยุทธ์และนโยบายทางธุรกิจ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์.บรรณกิจเทรดดิ้ง
*น.ส.วณิดา สามทอง รหัส 5210125401065 เอกการจัดการทั่วไป ปี 4 *

Be^Knicknac^ กล่าวว่า...

การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม : ภายใน
สภาพแวดล้อมแวดล้อมภายในประกอบไปด้วย ปัจจัย (จุดแข็งและจุดอ่อน) ที่อยู่ภายในบริษัทและไม่ได้อยู่ภายใต้การควบคุมระยะสั้นของผู้บริหารระดับสูง ปัจจัยเหล่านี้ได้แก่ โครงสร้าง วัฒนธรรม และทรัพยากรของบริษัท
- โครงสร้างของบริษัท (Corporate Structure) จะแสดงให้เห็นถึงการรวมกลุ่มงาน ความสัมพันธ์ทางอำนาจหน้าที่ การไหลเวียนของงาน และการติดต่อสื่อสารภายในบริษัท เรามักจะเรียกโครงสร้างบริษัทนี้ว่า “สายการบังคับบัญชา” โดยทั่วไปโครงสร้างบริษัทจะแสดงให้เห็นสภาพภายในแผนภูมิองค์การ
- วัฒนธรรมขององค์การ (Corporate Culture) จะหมายถึงความเชื่อ ความคาดหวัง และค่ายนิยมร่วมกันของบรรดาบุคคลภายในบริษัท โดยทั่วไปจะปรากฏขึ้นมาเป็นบรรทัดฐานที่ระบุพฤติกรรมที่ยอมรับกันของบุคคล ตั้งแต่ผู้บริหารระดับสูงลงมาจนถึงพนักงานระดับล่างสุด
- ทรัพยากรของบริษัท (Corporate Resources) จะหมายถึงทรัพย์สินทุกอย่างภายในการผลิตและการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของบริษัท ทรัพย์สินเหล่านี้ ได้แก่ คน เงินทุน วัตถุดิบ โรงงาน เทคโนโลยี และทักษะ เป็นต้น
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม : ภายนอก
สภาพแวดล้อมภายนอกประกอบด้วยปัจจัย (โอกาสและอุปสรรค) ที่อยู่ภายนอกบริษัทและไม่ได้อยู่ภายใต้กรควบคุมของผู้บริหารระดับสูง โดยทั่วไปสภาพแวดล้อมภายนอกจะมีอยู่สองส่วนคือ : สภาพแวดล้อมการดำเนินงานและสภาพแวดล้อมโดยทั่วไป
- สภาพแวดล้อมการดำเนินงาน (Task Environment) จะประกอบด้วยปัจจัยที่กระทบและถูกกระทบโดยตรงต่อการดำเนินงานของบริษัทปัจจัยเหล่านี้ ได้แก่ ผู้มีส่วนได้เสีย รัฐบาล ผู้จำหน่ายวัตถุดิบ ชุมชน คู่แข่งขัน ลูกค้า เจ้าหนี้ สหภาพแรงงาน สมาคมการค้า และกลุ่มผลประโยชน์ เรามักจะเรียกสภาพแวดล้อมการดำเนินงานของบริษัทว่าอุตสาหกรรม
- สภาพแวดล้อมโดยทั่วไป (General Environment) จะประกอบด้วยปัจจัยที่ไม่กระทบโดยตรงต่อการดำเนินงานระยะสั้นของบริษัท ปัจจัยเหล่านี้จะมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจในระยะยาวของบริษัท ปัจจัยเหล่านี้ ได้แก่ เศรษฐกิจ สังคมวัฒนธรรม เทคโนโลยี และการเมือง กฎหมาย

อ้างอิงจาก สมยศ นาวีการ. (2535). การบริหารเชิงกลยุทธ์และนโยบายทางธุรกิจ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์.บรรณกิจเทรดดิ้ง
*น.ส.วณิดา สามทอง รหัส 5210125401065 เอกการจัดการทั่วไป ปี 4 *

Be^Knicknac^ กล่าวว่า...

การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม : ภายใน
สภาพแวดล้อมแวดล้อมภายในประกอบไปด้วย ปัจจัย (จุดแข็งและจุดอ่อน) ที่อยู่ภายในบริษัทและไม่ได้อยู่ภายใต้การควบคุมระยะสั้นของผู้บริหารระดับสูง ปัจจัยเหล่านี้ได้แก่ โครงสร้าง วัฒนธรรม และทรัพยากรของบริษัท
- โครงสร้างของบริษัท (Corporate Structure) จะแสดงให้เห็นถึงการรวมกลุ่มงาน ความสัมพันธ์ทางอำนาจหน้าที่ การไหลเวียนของงาน และการติดต่อสื่อสารภายในบริษัท เรามักจะเรียกโครงสร้างบริษัทนี้ว่า “สายการบังคับบัญชา” โดยทั่วไปโครงสร้างบริษัทจะแสดงให้เห็นสภาพภายในแผนภูมิองค์การ
- วัฒนธรรมขององค์การ (Corporate Culture) จะหมายถึงความเชื่อ ความคาดหวัง และค่ายนิยมร่วมกันของบรรดาบุคคลภายในบริษัท โดยทั่วไปจะปรากฏขึ้นมาเป็นบรรทัดฐานที่ระบุพฤติกรรมที่ยอมรับกันของบุคคล ตั้งแต่ผู้บริหารระดับสูงลงมาจนถึงพนักงานระดับล่างสุด
- ทรัพยากรของบริษัท (Corporate Resources) จะหมายถึงทรัพย์สินทุกอย่างภายในการผลิตและการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของบริษัท ทรัพย์สินเหล่านี้ ได้แก่ คน เงินทุน วัตถุดิบ โรงงาน เทคโนโลยี และทักษะ เป็นต้น
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม : ภายนอก
สภาพแวดล้อมภายนอกประกอบด้วยปัจจัย (โอกาสและอุปสรรค) ที่อยู่ภายนอกบริษัทและไม่ได้อยู่ภายใต้กรควบคุมของผู้บริหารระดับสูง โดยทั่วไปสภาพแวดล้อมภายนอกจะมีอยู่สองส่วนคือ : สภาพแวดล้อมการดำเนินงานและสภาพแวดล้อมโดยทั่วไป
- สภาพแวดล้อมการดำเนินงาน (Task Environment) จะประกอบด้วยปัจจัยที่กระทบและถูกกระทบโดยตรงต่อการดำเนินงานของบริษัทปัจจัยเหล่านี้ ได้แก่ ผู้มีส่วนได้เสีย รัฐบาล ผู้จำหน่ายวัตถุดิบ ชุมชน คู่แข่งขัน ลูกค้า เจ้าหนี้ สหภาพแรงงาน สมาคมการค้า และกลุ่มผลประโยชน์ เรามักจะเรียกสภาพแวดล้อมการดำเนินงานของบริษัทว่าอุตสาหกรรม
- สภาพแวดล้อมโดยทั่วไป (General Environment) จะประกอบด้วยปัจจัยที่ไม่กระทบโดยตรงต่อการดำเนินงานระยะสั้นของบริษัท ปัจจัยเหล่านี้จะมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจในระยะยาวของบริษัท ปัจจัยเหล่านี้ ได้แก่ เศรษฐกิจ สังคมวัฒนธรรม เทคโนโลยี และการเมือง กฎหมาย

อ้างอิงจาก สมยศ นาวีการ. (2535). การบริหารเชิงกลยุทธ์และนโยบายทางธุรกิจ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์.บรรณกิจเทรดดิ้ง
*น.ส.วณิดา สามทอง รหัส 5210125401065 เอกการจัดการทั่วไป ปี 4 *

Be^Knicknac^ กล่าวว่า...

การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม : ภายใน
สภาพแวดล้อมแวดล้อมภายในประกอบไปด้วย ปัจจัย (จุดแข็งและจุดอ่อน) ที่อยู่ภายในบริษัทและไม่ได้อยู่ภายใต้การควบคุมระยะสั้นของผู้บริหารระดับสูง ปัจจัยเหล่านี้ได้แก่ โครงสร้าง วัฒนธรรม และทรัพยากรของบริษัท
- โครงสร้างของบริษัท (Corporate Structure) จะแสดงให้เห็นถึงการรวมกลุ่มงาน ความสัมพันธ์ทางอำนาจหน้าที่ การไหลเวียนของงาน และการติดต่อสื่อสารภายในบริษัท เรามักจะเรียกโครงสร้างบริษัทนี้ว่า “สายการบังคับบัญชา” โดยทั่วไปโครงสร้างบริษัทจะแสดงให้เห็นสภาพภายในแผนภูมิองค์การ
- วัฒนธรรมขององค์การ (Corporate Culture) จะหมายถึงความเชื่อ ความคาดหวัง และค่ายนิยมร่วมกันของบรรดาบุคคลภายในบริษัท โดยทั่วไปจะปรากฏขึ้นมาเป็นบรรทัดฐานที่ระบุพฤติกรรมที่ยอมรับกันของบุคคล ตั้งแต่ผู้บริหารระดับสูงลงมาจนถึงพนักงานระดับล่างสุด
- ทรัพยากรของบริษัท (Corporate Resources) จะหมายถึงทรัพย์สินทุกอย่างภายในการผลิตและการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของบริษัท ทรัพย์สินเหล่านี้ ได้แก่ คน เงินทุน วัตถุดิบ โรงงาน เทคโนโลยี และทักษะ เป็นต้น
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม : ภายนอก
สภาพแวดล้อมภายนอกประกอบด้วยปัจจัย (โอกาสและอุปสรรค) ที่อยู่ภายนอกบริษัทและไม่ได้อยู่ภายใต้กรควบคุมของผู้บริหารระดับสูง โดยทั่วไปสภาพแวดล้อมภายนอกจะมีอยู่สองส่วนคือ : สภาพแวดล้อมการดำเนินงานและสภาพแวดล้อมโดยทั่วไป
- สภาพแวดล้อมการดำเนินงาน (Task Environment) จะประกอบด้วยปัจจัยที่กระทบและถูกกระทบโดยตรงต่อการดำเนินงานของบริษัทปัจจัยเหล่านี้ ได้แก่ ผู้มีส่วนได้เสีย รัฐบาล ผู้จำหน่ายวัตถุดิบ ชุมชน คู่แข่งขัน ลูกค้า เจ้าหนี้ สหภาพแรงงาน สมาคมการค้า และกลุ่มผลประโยชน์ เรามักจะเรียกสภาพแวดล้อมการดำเนินงานของบริษัทว่าอุตสาหกรรม
- สภาพแวดล้อมโดยทั่วไป (General Environment) จะประกอบด้วยปัจจัยที่ไม่กระทบโดยตรงต่อการดำเนินงานระยะสั้นของบริษัท ปัจจัยเหล่านี้จะมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจในระยะยาวของบริษัท ปัจจัยเหล่านี้ ได้แก่ เศรษฐกิจ สังคมวัฒนธรรม เทคโนโลยี และการเมือง กฎหมาย

อ้างอิงจาก สมยศ นาวีการ. (2535). การบริหารเชิงกลยุทธ์และนโยบายทางธุรกิจ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์.บรรณกิจเทรดดิ้ง
*น.ส.วณิดา สามทอง รหัส 5210125401065 เอกการจัดการทั่วไป ปี 4 *

tikjung กล่าวว่า...

สภาพแวดล้อมภายนอก (External Environment)
สภาพแวดล้อมภายนอกเป็นกิจการอยู่นอกขอบเขตขององค์การ ซึ่งผู้บริหารไม่สามารถควบคุมโดยตรงได้ แต่พลังสภาพแวดล้อมภายนอกนี้จะส่งผลกระทบถึงศักยภาพของการบริหารองค์การและความสามารถ ในการบรรลุเป้าหมายขององค์การได้ผู้บริหารจะต้องประเมินโอกาสและอุปสรรคจากสิ่งแวดล้อมภายนอก ทั้งปัจจุบันและอนาคตเพื่อวางแผนในการพัฒนาองค์การต่อไป
เมื่อพิจารณาผลกระทบต่อองค์การ สภาพแวดล้อมภายนอกจะประกอบด้วยสภาพแวดล้อมโดยทั่วไป(General Environment) และสภาพแวดล้อมในการดำเนินงาน โดยมีรายละเอียด ดังนี้
1. สภาพแวดล้อมโดยทั่วไป (General Environment) จะประกอบด้วยปัจจัยที่มีขอบเขตกว้างและองค์กรไม่สามารถควบคุมได้ ดังนั้นสภาพแวดล้อมโดยทั่วไปประกอบด้วยส่วนที่เกี่ยวข้องระหว่างกันซึ่งอาจแบ่งออกเป็น 6 ส่วน ดังนี้
1.1 สภาพแวดล้อมด้านประชากรศาสตร์ (Demographic Environment)
1.2 สภาพแวดล้อมด้านสังคมและวัฒนธรรม (Sociocultural Environment)
1.3 สภาพแวดล้อมด้านการเมืองและกฎหมาย ( Political / Legal Environment )
1.4 สภาพแวดล้อมทางเทคโนโลยี ( Technological Environment )
1.5 สภาพแวดล้อมด้านเศรษฐกิจมหภาค ( Macroeconomic Environment )
1.6 สภาพแวดล้อมระดับโลก ( Global Environment)
2. สภาพแวดล้อมในการดำเนินงาน (Operating Environment) เป็นสิ่งแวดล้อมภายนอกองค์การ ประกอบไปด้วยปัจจัยทั่วไปที่มีความสัมพันธ์อย่างเฉพาะเจาะจง มี 6 ประการ ดังนี้
1. ลูกค้า
2. คู่แข่งขัน
3. ผู้ขายวัตถุดิบ
4. แรงงาน
5. กฎระเบียบ
6. หุ้นส่วน
อ้างอิง: ชื่อหนังสือ การจัดการองค์การอุตสาหกรรมและการผลิต
ชื่อผู้แต่ง รองศาสตราจารย์ ดร. เปรื่อง กิจรัตน์ภร
สำนักพิมพ์ ศูนย์หนังสือราชภัฏพระนคร
ปีที่พิมพ์ 2544
นางสาวยุพาวรรณ ช่อมะลิ 5210125401078 การจัดการทั่วไป

tikjung กล่าวว่า...

สภาพแวดล้อมภายนอก (External Environment)
สภาพแวดล้อมภายนอกเป็นกิจการอยู่นอกขอบเขตขององค์การ ซึ่งผู้บริหารไม่สามารถควบคุมโดยตรงได้ แต่พลังสภาพแวดล้อมภายนอกนี้จะส่งผลกระทบถึงศักยภาพของการบริหารองค์การและความสามารถ ในการบรรลุเป้าหมายขององค์การได้ผู้บริหารจะต้องประเมินโอกาสและอุปสรรคจากสิ่งแวดล้อมภายนอก ทั้งปัจจุบันและอนาคตเพื่อวางแผนในการพัฒนาองค์การต่อไป
เมื่อพิจารณาผลกระทบต่อองค์การ สภาพแวดล้อมภายนอกจะประกอบด้วยสภาพแวดล้อมโดยทั่วไป(General Environment) และสภาพแวดล้อมในการดำเนินงาน โดยมีรายละเอียด ดังนี้
1. สภาพแวดล้อมโดยทั่วไป (General Environment) จะประกอบด้วยปัจจัยที่มีขอบเขตกว้างและองค์กรไม่สามารถควบคุมได้ ดังนั้นสภาพแวดล้อมโดยทั่วไปประกอบด้วยส่วนที่เกี่ยวข้องระหว่างกันซึ่งอาจแบ่งออกเป็น 6 ส่วน ดังนี้
1.1 สภาพแวดล้อมด้านประชากรศาสตร์ (Demographic Environment)
1.2 สภาพแวดล้อมด้านสังคมและวัฒนธรรม (Sociocultural Environment)
1.3 สภาพแวดล้อมด้านการเมืองและกฎหมาย ( Political / Legal Environment )
1.4 สภาพแวดล้อมทางเทคโนโลยี ( Technological Environment )
1.5 สภาพแวดล้อมด้านเศรษฐกิจมหภาค ( Macroeconomic Environment )
1.6 สภาพแวดล้อมระดับโลก ( Global Environment)
2. สภาพแวดล้อมในการดำเนินงาน (Operating Environment) เป็นสิ่งแวดล้อมภายนอกองค์การ ประกอบไปด้วยปัจจัยทั่วไปที่มีความสัมพันธ์อย่างเฉพาะเจาะจง มี 6 ประการ ดังนี้
1. ลูกค้า
2. คู่แข่งขัน
3. ผู้ขายวัตถุดิบ
4. แรงงาน
5. กฎระเบียบ
6. หุ้นส่วน
อ้างอิง: ชื่อหนังสือ การจัดการองค์การอุตสาหกรรมและการผลิต
ชื่อผู้แต่ง รองศาสตราจารย์ ดร. เปรื่อง กิจรัตน์ภร
สำนักพิมพ์ ศูนย์หนังสือราชภัฏพระนคร
ปีที่พิมพ์ 2544
นางสาวยุพาวรรณ ช่อมะลิ 5210125401078 การจัดการทั่วไป

tikjung กล่าวว่า...

สภาพแวดล้อมภายนอก (External Environment)
สภาพแวดล้อมภายนอกเป็นกิจการอยู่นอกขอบเขตขององค์การ ซึ่งผู้บริหารไม่สามารถควบคุมโดยตรงได้ แต่พลังสภาพแวดล้อมภายนอกนี้จะส่งผลกระทบถึงศักยภาพของการบริหารองค์การและความสามารถ ในการบรรลุเป้าหมายขององค์การได้ผู้บริหารจะต้องประเมินโอกาสและอุปสรรคจากสิ่งแวดล้อมภายนอก ทั้งปัจจุบันและอนาคตเพื่อวางแผนในการพัฒนาองค์การต่อไป
เมื่อพิจารณาผลกระทบต่อองค์การ สภาพแวดล้อมภายนอกจะประกอบด้วยสภาพแวดล้อมโดยทั่วไป(General Environment) และสภาพแวดล้อมในการดำเนินงาน โดยมีรายละเอียด ดังนี้
1. สภาพแวดล้อมโดยทั่วไป (General Environment) จะประกอบด้วยปัจจัยที่มีขอบเขตกว้างและองค์กรไม่สามารถควบคุมได้ ดังนั้นสภาพแวดล้อมโดยทั่วไปประกอบด้วยส่วนที่เกี่ยวข้องระหว่างกันซึ่งอาจแบ่งออกเป็น 6 ส่วน ดังนี้
1.1 สภาพแวดล้อมด้านประชากรศาสตร์ (Demographic Environment)
1.2 สภาพแวดล้อมด้านสังคมและวัฒนธรรม (Sociocultural Environment)
1.3 สภาพแวดล้อมด้านการเมืองและกฎหมาย ( Political / Legal Environment )
1.4 สภาพแวดล้อมทางเทคโนโลยี ( Technological Environment )
1.5 สภาพแวดล้อมด้านเศรษฐกิจมหภาค ( Macroeconomic Environment )
1.6 สภาพแวดล้อมระดับโลก ( Global Environment)
2. สภาพแวดล้อมในการดำเนินงาน (Operating Environment) เป็นสิ่งแวดล้อมภายนอกองค์การ ประกอบไปด้วยปัจจัยทั่วไปที่มีความสัมพันธ์อย่างเฉพาะเจาะจง มี 6 ประการ ดังนี้
1. ลูกค้า
2. คู่แข่งขัน
3. ผู้ขายวัตถุดิบ
4. แรงงาน
5. กฎระเบียบ
6. หุ้นส่วน
อ้างอิง: ชื่อหนังสือ การจัดการองค์การอุตสาหกรรมและการผลิต
ชื่อผู้แต่ง รองศาสตราจารย์ ดร. เปรื่อง กิจรัตน์ภร
สำนักพิมพ์ ศูนย์หนังสือราชภัฏพระนคร
ปีที่พิมพ์ 2544
นางสาวยุพาวรรณ ช่อมะลิ 5210125401078 การจัดการทั่วไป

FAH TANAPIRATCHAI กล่าวว่า...

นางสาว อลิตา ธนาพีรัชต์ชัย รหัส 062 สาขา การจัดการทั่วไป

สภาพแวดล้อมภายนอกองค์การ ได้แก่ สิ่งที่อยู่ภายนอกองค์การและมีผลกระทบต่อการดำเนินงานขององค์การ คนส่วนใหญ่จะมุ่งเน้นไปที่สภาพแวดล้อมองค์การ คนส่วนใหญ่จะมุ่งไปที่สภาพแวดล้อมองค์การ สภาพแวดล้อมภายนอกจึงเป็นหัวข้อในการศึกษาสภาพแวดล้อมองค์การ สภาพแวดล้อมองค์การ สามารถแยกย่อยได้ อีก 2 ประเภท คือ
1. สภาพแวดล้อมทั่วไป ได้แก่ สิ่งต่าง ๆ ที่อาจมีผลกระทบต่อองค์การ แต่ไม่สามรถเห็นความเกี่ยวข้องหรือสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยเหล่านี้ได้กับองค์การหรือการบรรลุผลขององค์การได้โดยตรง ซึ่งประกอบด้วยปัจจัยต่าง ๆ คือ
- ปัจจัยทางเศรษฐกิจ
- ปัจจัยทางด้านการเมืองและกฎหมาย
- ปัจจัยทางด้านเทคโนโลยี
- ปัจจัยทางด้านสังคมและวัฒนธรรม
- เหตุการณ์และแนวโน้มระหว่างประเทศ
2. สภาพแวดล้อมเฉพาะ เป็นสภาพแวดล้อมขององค์กรที่ส่งผลกรัทบต่อความสำเร็จในการทำงานขององค์กรโดยตรง จะประกอบด้วย
-ลูกค้า
- ผู้สนับสนุน
-คู่แข่ง
-หน่วยงานที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานขององค์กร
- หุ้นส่วน
- ผู้ถือหุ้น

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

สภาพแวดล้อมอุตสาหกรรม
การคุกคามจากคู่แข่งขันที่จะเข้ามาใหม่
ก่อนที่คู่แข่งขันรายใหม่จะเข้ามาในตลาด อย่างน้อยกิจการนั้นๆ ต้องมีความมุ่งมั่นที่จะช่วงชิงส่วนแบ่งตลาดและต้องมั่นในว่ากิจการของตนมีความแตกต่างจากกิจการที่มีอยู่เดิม ซึ่งความแตกต่างนี้อาจเกิดจากเทคโนดลยีที่เหนือกว่า ชื่อเสียงผลิตภัณฑ์ดีกว่า ราคาต่ำกว่า เงินทุนที่มากกว่าหรือแม้กระทั้งอาศัยช่องว่างของตลาดและอื่นๆ ดังนั้นคู่แข่งขันรายใหม่จึงถือเป็นภัยคุกคามที่น่ากลัว ซึ่งในอุตสาหกรรมที่มีช่องว่างให้คู่แข่งขันรายใหม่เข้ามามีมากเพียงใดสภาพแวดล้อมการแข่งขันจะยิ่งเข้มข้นมากขึ้นตามละดับและในที่สุดจะส่งผลต่อระดับกำไรของกิจการที่มีอยู่เดิม
การคุกคามจากคู่แข่งขันที่จะเข้ามาใหม่ในธุรกิจแต่ละประเภทจะมีความแตกต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยที่สำคัญ 2 ประการคือ
1. อุปสรรคที่สกัดกั้นผู้ที่จะเข้ามาใหม่ ซึ่งมีทั้งในด้านต้นทุน ภาพลักษณ์ ความภักดีและต้นทุนการเปลี่ยนแปลงผลิตภัณฑ์ของลูกค้า เงินทุน ช่องทางการจัดจำหน่าย นโยบาย กฎหมาย ระเบียบและกฎเกณฑ์ของรัฐ
2. การคาดคะเนปฏิกิริยาการตอบโต้ของกิจการที่มีอยู่เดิม นอกจากกิจการรายใหม่จะต้องประเมินอุปสรรคกีดกั้นในการเข้าตลาดของตนแล้ว ผู้ที่จะเข้ามาใหม่จะต้องประเมินปฏิกิริยาการตอบโต้ของกิจการที่มีอยู่เดิมว่าจะมีมากน้อยเพียงใด เพราะถ้าแรงตอบโต้สูงย่อมก่อให้เกิดสงครามการแข่งขันและอาจลุกลามไปถึง “สงครามราคา” ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อผู้เข้ามาใหม่และอุตสาหกรรมโดยส่วนรวม
อ้างอิง อำนาจ ธีระวนิช. (2549). ผู้ประกอบการ. กรุงเทพฯ

นางสาววัชรี ทองห่อ รหัส5210125401052 เอกการจัดการทั่วไป ปี 4

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

สภาพแวดล้อมอุตสาหกรรม
การคุกคามจากคู่แข่งขันที่จะเข้ามาใหม่
ก่อนที่คู่แข่งขันรายใหม่จะเข้ามาในตลาด อย่างน้อยกิจการนั้นๆ ต้องมีความมุ่งมั่นที่จะช่วงชิงส่วนแบ่งตลาดและต้องมั่นในว่ากิจการของตนมีความแตกต่างจากกิจการที่มีอยู่เดิม ซึ่งความแตกต่างนี้อาจเกิดจากเทคโนดลยีที่เหนือกว่า ชื่อเสียงผลิตภัณฑ์ดีกว่า ราคาต่ำกว่า เงินทุนที่มากกว่าหรือแม้กระทั้งอาศัยช่องว่างของตลาดและอื่นๆ ดังนั้นคู่แข่งขันรายใหม่จึงถือเป็นภัยคุกคามที่น่ากลัว ซึ่งในอุตสาหกรรมที่มีช่องว่างให้คู่แข่งขันรายใหม่เข้ามามีมากเพียงใดสภาพแวดล้อมการแข่งขันจะยิ่งเข้มข้นมากขึ้นตามละดับและในที่สุดจะส่งผลต่อระดับกำไรของกิจการที่มีอยู่เดิม
การคุกคามจากคู่แข่งขันที่จะเข้ามาใหม่ในธุรกิจแต่ละประเภทจะมีความแตกต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยที่สำคัญ 2 ประการคือ
1. อุปสรรคที่สกัดกั้นผู้ที่จะเข้ามาใหม่ ซึ่งมีทั้งในด้านต้นทุน ภาพลักษณ์ ความภักดีและต้นทุนการเปลี่ยนแปลงผลิตภัณฑ์ของลูกค้า เงินทุน ช่องทางการจัดจำหน่าย นโยบาย กฎหมาย ระเบียบและกฎเกณฑ์ของรัฐ
2. การคาดคะเนปฏิกิริยาการตอบโต้ของกิจการที่มีอยู่เดิม นอกจากกิจการรายใหม่จะต้องประเมินอุปสรรคกีดกั้นในการเข้าตลาดของตนแล้ว ผู้ที่จะเข้ามาใหม่จะต้องประเมินปฏิกิริยาการตอบโต้ของกิจการที่มีอยู่เดิมว่าจะมีมากน้อยเพียงใด เพราะถ้าแรงตอบโต้สูงย่อมก่อให้เกิดสงครามการแข่งขันและอาจลุกลามไปถึง “สงครามราคา” ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อผู้เข้ามาใหม่และอุตสาหกรรมโดยส่วนรวม
อ้างอิง อำนาจ ธีระวนิช. (2549). ผู้ประกอบการ. กรุงเทพฯ

นางสาววัชรี ทองห่อ รหัส5210125401052 เอกการจัดการทั่วไป ปี 4

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

สภาพแวดล้อมอุตสาหกรรม
การคุกคามจากคู่แข่งขันที่จะเข้ามาใหม่
ก่อนที่คู่แข่งขันรายใหม่จะเข้ามาในตลาด อย่างน้อยกิจการนั้นๆ ต้องมีความมุ่งมั่นที่จะช่วงชิงส่วนแบ่งตลาดและต้องมั่นในว่ากิจการของตนมีความแตกต่างจากกิจการที่มีอยู่เดิม ซึ่งความแตกต่างนี้อาจเกิดจากเทคโนดลยีที่เหนือกว่า ชื่อเสียงผลิตภัณฑ์ดีกว่า ราคาต่ำกว่า เงินทุนที่มากกว่าหรือแม้กระทั้งอาศัยช่องว่างของตลาดและอื่นๆ ดังนั้นคู่แข่งขันรายใหม่จึงถือเป็นภัยคุกคามที่น่ากลัว ซึ่งในอุตสาหกรรมที่มีช่องว่างให้คู่แข่งขันรายใหม่เข้ามามีมากเพียงใดสภาพแวดล้อมการแข่งขันจะยิ่งเข้มข้นมากขึ้นตามละดับและในที่สุดจะส่งผลต่อระดับกำไรของกิจการที่มีอยู่เดิม
การคุกคามจากคู่แข่งขันที่จะเข้ามาใหม่ในธุรกิจแต่ละประเภทจะมีความแตกต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยที่สำคัญ 2 ประการคือ
1. อุปสรรคที่สกัดกั้นผู้ที่จะเข้ามาใหม่ ซึ่งมีทั้งในด้านต้นทุน ภาพลักษณ์ ความภักดีและต้นทุนการเปลี่ยนแปลงผลิตภัณฑ์ของลูกค้า เงินทุน ช่องทางการจัดจำหน่าย นโยบาย กฎหมาย ระเบียบและกฎเกณฑ์ของรัฐ
2. การคาดคะเนปฏิกิริยาการตอบโต้ของกิจการที่มีอยู่เดิม นอกจากกิจการรายใหม่จะต้องประเมินอุปสรรคกีดกั้นในการเข้าตลาดของตนแล้ว ผู้ที่จะเข้ามาใหม่จะต้องประเมินปฏิกิริยาการตอบโต้ของกิจการที่มีอยู่เดิมว่าจะมีมากน้อยเพียงใด เพราะถ้าแรงตอบโต้สูงย่อมก่อให้เกิดสงครามการแข่งขันและอาจลุกลามไปถึง “สงครามราคา” ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อผู้เข้ามาใหม่และอุตสาหกรรมโดยส่วนรวม
อ้างอิง อำนาจ ธีระวนิช. (2549). ผู้ประกอบการ. กรุงเทพฯ

นางสาววัชรี ทองห่อ รหัส5210125401052 เอกการจัดการทั่วไป ปี 4

Unknown กล่าวว่า...

สภาพแวดล้อมอุตสาหกรรม
การคุกคามจากคู่แข่งขันที่จะเข้ามาใหม่
ก่อนที่คู่แข่งขันรายใหม่จะเข้ามาในตลาด อย่างน้อยกิจการนั้นๆ ต้องมีความมุ่งมั่นที่จะช่วงชิงส่วนแบ่งตลาดและต้องมั่นในว่ากิจการของตนมีความแตกต่างจากกิจการที่มีอยู่เดิม ซึ่งความแตกต่างนี้อาจเกิดจากเทคโนดลยีที่เหนือกว่า ชื่อเสียงผลิตภัณฑ์ดีกว่า ราคาต่ำกว่า เงินทุนที่มากกว่าหรือแม้กระทั้งอาศัยช่องว่างของตลาดและอื่นๆ ดังนั้นคู่แข่งขันรายใหม่จึงถือเป็นภัยคุกคามที่น่ากลัว ซึ่งในอุตสาหกรรมที่มีช่องว่างให้คู่แข่งขันรายใหม่เข้ามามีมากเพียงใดสภาพแวดล้อมการแข่งขันจะยิ่งเข้มข้นมากขึ้นตามละดับและในที่สุดจะส่งผลต่อระดับกำไรของกิจการที่มีอยู่เดิม
การคุกคามจากคู่แข่งขันที่จะเข้ามาใหม่ในธุรกิจแต่ละประเภทจะมีความแตกต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยที่สำคัญ 2 ประการคือ
1. อุปสรรคที่สกัดกั้นผู้ที่จะเข้ามาใหม่ ซึ่งมีทั้งในด้านต้นทุน ภาพลักษณ์ ความภักดีและต้นทุนการเปลี่ยนแปลงผลิตภัณฑ์ของลูกค้า เงินทุน ช่องทางการจัดจำหน่าย นโยบาย กฎหมาย ระเบียบและกฎเกณฑ์ของรัฐ
2. การคาดคะเนปฏิกิริยาการตอบโต้ของกิจการที่มีอยู่เดิม นอกจากกิจการรายใหม่จะต้องประเมินอุปสรรคกีดกั้นในการเข้าตลาดของตนแล้ว ผู้ที่จะเข้ามาใหม่จะต้องประเมินปฏิกิริยาการตอบโต้ของกิจการที่มีอยู่เดิมว่าจะมีมากน้อยเพียงใด เพราะถ้าแรงตอบโต้สูงย่อมก่อให้เกิดสงครามการแข่งขันและอาจลุกลามไปถึง “สงครามราคา” ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อผู้เข้ามาใหม่และอุตสาหกรรมโดยส่วนรวม
อ้างอิง อำนาจ ธีระวนิช. (2549). ผู้ประกอบการ. กรุงเทพฯ

นางสาววัชรี ทองห่อ รหัส5210125401052 เอกการจัดการทั่วไป ปี 4

Be^Knicknac^ กล่าวว่า...

การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม : ภายใน
สภาพแวดล้อมแวดล้อมภายในประกอบไปด้วย ปัจจัย (จุดแข็งและจุดอ่อน) ที่อยู่ภายในบริษัทและไม่ได้อยู่ภายใต้การควบคุมระยะสั้นของผู้บริหารระดับสูง ปัจจัยเหล่านี้ได้แก่ โครงสร้าง วัฒนธรรม และทรัพยากรของบริษัท
- โครงสร้างของบริษัท (Corporate Structure) จะแสดงให้เห็นถึงการรวมกลุ่มงาน ความสัมพันธ์ทางอำนาจหน้าที่ การไหลเวียนของงาน และการติดต่อสื่อสารภายในบริษัท เรามักจะเรียกโครงสร้างบริษัทนี้ว่า “สายการบังคับบัญชา” โดยทั่วไปโครงสร้างบริษัทจะแสดงให้เห็นสภาพภายในแผนภูมิองค์การ
- วัฒนธรรมขององค์การ (Corporate Culture) จะหมายถึงความเชื่อ ความคาดหวัง และค่ายนิยมร่วมกันของบรรดาบุคคลภายในบริษัท โดยทั่วไปจะปรากฏขึ้นมาเป็นบรรทัดฐานที่ระบุพฤติกรรมที่ยอมรับกันของบุคคล ตั้งแต่ผู้บริหารระดับสูงลงมาจนถึงพนักงานระดับล่างสุด
- ทรัพยากรของบริษัท (Corporate Resources) จะหมายถึงทรัพย์สินทุกอย่างภายในการผลิตและการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของบริษัท ทรัพย์สินเหล่านี้ ได้แก่ คน เงินทุน วัตถุดิบ โรงงาน เทคโนโลยี และทักษะ เป็นต้น
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม : ภายนอก
สภาพแวดล้อมภายนอกประกอบด้วยปัจจัย (โอกาสและอุปสรรค) ที่อยู่ภายนอกบริษัทและไม่ได้อยู่ภายใต้กรควบคุมของผู้บริหารระดับสูง โดยทั่วไปสภาพแวดล้อมภายนอกจะมีอยู่สองส่วนคือ : สภาพแวดล้อมการดำเนินงานและสภาพแวดล้อมโดยทั่วไป
- สภาพแวดล้อมการดำเนินงาน (Task Environment) จะประกอบด้วยปัจจัยที่กระทบและถูกกระทบโดยตรงต่อการดำเนินงานของบริษัทปัจจัยเหล่านี้ ได้แก่ ผู้มีส่วนได้เสีย รัฐบาล ผู้จำหน่ายวัตถุดิบ ชุมชน คู่แข่งขัน ลูกค้า เจ้าหนี้ สหภาพแรงงาน สมาคมการค้า และกลุ่มผลประโยชน์ เรามักจะเรียกสภาพแวดล้อมการดำเนินงานของบริษัทว่าอุตสาหกรรม
- สภาพแวดล้อมโดยทั่วไป (General Environment) จะประกอบด้วยปัจจัยที่ไม่กระทบโดยตรงต่อการดำเนินงานระยะสั้นของบริษัท ปัจจัยเหล่านี้จะมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจในระยะยาวของบริษัท ปัจจัยเหล่านี้ ได้แก่ เศรษฐกิจ สังคมวัฒนธรรม เทคโนโลยี และการเมือง กฎหมาย

อ้างอิงจาก สมยศ นาวีการ. (2535). การบริหารเชิงกลยุทธ์และนโยบายทางธุรกิจ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์.บรรณกิจเทรดดิ้ง
*น.ส.วณิดา สามทอง รหัส 5210125401065 เอกการจัดการทั่วไป ปี 4 *

Be^Knicknac^ กล่าวว่า...

การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม : ภายใน
สภาพแวดล้อมแวดล้อมภายในประกอบไปด้วย ปัจจัย (จุดแข็งและจุดอ่อน) ที่อยู่ภายในบริษัทและไม่ได้อยู่ภายใต้การควบคุมระยะสั้นของผู้บริหารระดับสูง ปัจจัยเหล่านี้ได้แก่ โครงสร้าง วัฒนธรรม และทรัพยากรของบริษัท
- โครงสร้างของบริษัท (Corporate Structure) จะแสดงให้เห็นถึงการรวมกลุ่มงาน ความสัมพันธ์ทางอำนาจหน้าที่ การไหลเวียนของงาน และการติดต่อสื่อสารภายในบริษัท เรามักจะเรียกโครงสร้างบริษัทนี้ว่า “สายการบังคับบัญชา” โดยทั่วไปโครงสร้างบริษัทจะแสดงให้เห็นสภาพภายในแผนภูมิองค์การ
- วัฒนธรรมขององค์การ (Corporate Culture) จะหมายถึงความเชื่อ ความคาดหวัง และค่ายนิยมร่วมกันของบรรดาบุคคลภายในบริษัท โดยทั่วไปจะปรากฏขึ้นมาเป็นบรรทัดฐานที่ระบุพฤติกรรมที่ยอมรับกันของบุคคล ตั้งแต่ผู้บริหารระดับสูงลงมาจนถึงพนักงานระดับล่างสุด
- ทรัพยากรของบริษัท (Corporate Resources) จะหมายถึงทรัพย์สินทุกอย่างภายในการผลิตและการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของบริษัท ทรัพย์สินเหล่านี้ ได้แก่ คน เงินทุน วัตถุดิบ โรงงาน เทคโนโลยี และทักษะ เป็นต้น
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม : ภายนอก
สภาพแวดล้อมภายนอกประกอบด้วยปัจจัย (โอกาสและอุปสรรค) ที่อยู่ภายนอกบริษัทและไม่ได้อยู่ภายใต้กรควบคุมของผู้บริหารระดับสูง โดยทั่วไปสภาพแวดล้อมภายนอกจะมีอยู่สองส่วนคือ : สภาพแวดล้อมการดำเนินงานและสภาพแวดล้อมโดยทั่วไป
- สภาพแวดล้อมการดำเนินงาน (Task Environment) จะประกอบด้วยปัจจัยที่กระทบและถูกกระทบโดยตรงต่อการดำเนินงานของบริษัทปัจจัยเหล่านี้ ได้แก่ ผู้มีส่วนได้เสีย รัฐบาล ผู้จำหน่ายวัตถุดิบ ชุมชน คู่แข่งขัน ลูกค้า เจ้าหนี้ สหภาพแรงงาน สมาคมการค้า และกลุ่มผลประโยชน์ เรามักจะเรียกสภาพแวดล้อมการดำเนินงานของบริษัทว่าอุตสาหกรรม
- สภาพแวดล้อมโดยทั่วไป (General Environment) จะประกอบด้วยปัจจัยที่ไม่กระทบโดยตรงต่อการดำเนินงานระยะสั้นของบริษัท ปัจจัยเหล่านี้จะมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจในระยะยาวของบริษัท ปัจจัยเหล่านี้ ได้แก่ เศรษฐกิจ สังคมวัฒนธรรม เทคโนโลยี และการเมือง กฎหมาย

อ้างอิงจาก สมยศ นาวีการ. (2535). การบริหารเชิงกลยุทธ์และนโยบายทางธุรกิจ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์.บรรณกิจเทรดดิ้ง
*น.ส.วณิดา สามทอง รหัส 5210125401065 เอกการจัดการทั่วไป ปี 4 *

Be^Knicknac^ กล่าวว่า...

การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม : ภายใน
สภาพแวดล้อมแวดล้อมภายในประกอบไปด้วย ปัจจัย (จุดแข็งและจุดอ่อน) ที่อยู่ภายในบริษัทและไม่ได้อยู่ภายใต้การควบคุมระยะสั้นของผู้บริหารระดับสูง ปัจจัยเหล่านี้ได้แก่ โครงสร้าง วัฒนธรรม และทรัพยากรของบริษัท
- โครงสร้างของบริษัท (Corporate Structure) จะแสดงให้เห็นถึงการรวมกลุ่มงาน ความสัมพันธ์ทางอำนาจหน้าที่ การไหลเวียนของงาน และการติดต่อสื่อสารภายในบริษัท เรามักจะเรียกโครงสร้างบริษัทนี้ว่า “สายการบังคับบัญชา” โดยทั่วไปโครงสร้างบริษัทจะแสดงให้เห็นสภาพภายในแผนภูมิองค์การ
- วัฒนธรรมขององค์การ (Corporate Culture) จะหมายถึงความเชื่อ ความคาดหวัง และค่ายนิยมร่วมกันของบรรดาบุคคลภายในบริษัท โดยทั่วไปจะปรากฏขึ้นมาเป็นบรรทัดฐานที่ระบุพฤติกรรมที่ยอมรับกันของบุคคล ตั้งแต่ผู้บริหารระดับสูงลงมาจนถึงพนักงานระดับล่างสุด
- ทรัพยากรของบริษัท (Corporate Resources) จะหมายถึงทรัพย์สินทุกอย่างภายในการผลิตและการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของบริษัท ทรัพย์สินเหล่านี้ ได้แก่ คน เงินทุน วัตถุดิบ โรงงาน เทคโนโลยี และทักษะ เป็นต้น
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม : ภายนอก
สภาพแวดล้อมภายนอกประกอบด้วยปัจจัย (โอกาสและอุปสรรค) ที่อยู่ภายนอกบริษัทและไม่ได้อยู่ภายใต้กรควบคุมของผู้บริหารระดับสูง โดยทั่วไปสภาพแวดล้อมภายนอกจะมีอยู่สองส่วนคือ : สภาพแวดล้อมการดำเนินงานและสภาพแวดล้อมโดยทั่วไป
- สภาพแวดล้อมการดำเนินงาน (Task Environment) จะประกอบด้วยปัจจัยที่กระทบและถูกกระทบโดยตรงต่อการดำเนินงานของบริษัทปัจจัยเหล่านี้ ได้แก่ ผู้มีส่วนได้เสีย รัฐบาล ผู้จำหน่ายวัตถุดิบ ชุมชน คู่แข่งขัน ลูกค้า เจ้าหนี้ สหภาพแรงงาน สมาคมการค้า และกลุ่มผลประโยชน์ เรามักจะเรียกสภาพแวดล้อมการดำเนินงานของบริษัทว่าอุตสาหกรรม
- สภาพแวดล้อมโดยทั่วไป (General Environment) จะประกอบด้วยปัจจัยที่ไม่กระทบโดยตรงต่อการดำเนินงานระยะสั้นของบริษัท ปัจจัยเหล่านี้จะมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจในระยะยาวของบริษัท ปัจจัยเหล่านี้ ได้แก่ เศรษฐกิจ สังคมวัฒนธรรม เทคโนโลยี และการเมือง กฎหมาย

อ้างอิงจาก สมยศ นาวีการ. (2535). การบริหารเชิงกลยุทธ์และนโยบายทางธุรกิจ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์.บรรณกิจเทรดดิ้ง
*น.ส.วณิดา สามทอง รหัส 5210125401065 เอกการจัดการทั่วไป ปี 4 *

tikjung กล่าวว่า...

สภาพแวดล้อมภายนอก (External Environment)
สภาพแวดล้อมภายนอกเป็นกิจการอยู่นอกขอบเขตขององค์การ ซึ่งผู้บริหารไม่สามารถควบคุมโดยตรงได้ แต่พลังสภาพแวดล้อมภายนอกนี้จะส่งผลกระทบถึงศักยภาพของการบริหารองค์การและความสามารถ ในการบรรลุเป้าหมายขององค์การได้ผู้บริหารจะต้องประเมินโอกาสและอุปสรรคจากสิ่งแวดล้อมภายนอก ทั้งปัจจุบันและอนาคตเพื่อวางแผนในการพัฒนาองค์การต่อไป
เมื่อพิจารณาผลกระทบต่อองค์การ สภาพแวดล้อมภายนอกจะประกอบด้วยสภาพแวดล้อมโดยทั่วไป(General Environment) และสภาพแวดล้อมในการดำเนินงาน โดยมีรายละเอียด ดังนี้
1. สภาพแวดล้อมโดยทั่วไป (General Environment) จะประกอบด้วยปัจจัยที่มีขอบเขตกว้างและองค์กรไม่สามารถควบคุมได้ ดังนั้นสภาพแวดล้อมโดยทั่วไปประกอบด้วยส่วนที่เกี่ยวข้องระหว่างกันซึ่งอาจแบ่งออกเป็น 6 ส่วน ดังนี้
1.1 สภาพแวดล้อมด้านประชากรศาสตร์ (Demographic Environment)
1.2 สภาพแวดล้อมด้านสังคมและวัฒนธรรม (Sociocultural Environment)
1.3 สภาพแวดล้อมด้านการเมืองและกฎหมาย ( Political / Legal Environment )
1.4 สภาพแวดล้อมทางเทคโนโลยี ( Technological Environment )
1.5 สภาพแวดล้อมด้านเศรษฐกิจมหภาค ( Macroeconomic Environment )
1.6 สภาพแวดล้อมระดับโลก ( Global Environment)
2. สภาพแวดล้อมในการดำเนินงาน (Operating Environment) เป็นสิ่งแวดล้อมภายนอกองค์การ ประกอบไปด้วยปัจจัยทั่วไปที่มีความสัมพันธ์อย่างเฉพาะเจาะจง มี 6 ประการ ดังนี้
1. ลูกค้า
2. คู่แข่งขัน
3. ผู้ขายวัตถุดิบ
4. แรงงาน
5. กฎระเบียบ
6. หุ้นส่วน
อ้างอิง: ชื่อหนังสือ การจัดการองค์การอุตสาหกรรมและการผลิต
ชื่อผู้แต่ง รองศาสตราจารย์ ดร. เปรื่อง กิจรัตน์ภร
สำนักพิมพ์ ศูนย์หนังสือราชภัฏพระนคร
ปีที่พิมพ์ 2544
นางสาวยุพาวรรณ ช่อมะลิ 5210125401078 การจัดการทั่วไป

tikjung กล่าวว่า...

สภาพแวดล้อมภายนอก (External Environment)
สภาพแวดล้อมภายนอกเป็นกิจการอยู่นอกขอบเขตขององค์การ ซึ่งผู้บริหารไม่สามารถควบคุมโดยตรงได้ แต่พลังสภาพแวดล้อมภายนอกนี้จะส่งผลกระทบถึงศักยภาพของการบริหารองค์การและความสามารถ ในการบรรลุเป้าหมายขององค์การได้ผู้บริหารจะต้องประเมินโอกาสและอุปสรรคจากสิ่งแวดล้อมภายนอก ทั้งปัจจุบันและอนาคตเพื่อวางแผนในการพัฒนาองค์การต่อไป
เมื่อพิจารณาผลกระทบต่อองค์การ สภาพแวดล้อมภายนอกจะประกอบด้วยสภาพแวดล้อมโดยทั่วไป(General Environment) และสภาพแวดล้อมในการดำเนินงาน โดยมีรายละเอียด ดังนี้
1. สภาพแวดล้อมโดยทั่วไป (General Environment) จะประกอบด้วยปัจจัยที่มีขอบเขตกว้างและองค์กรไม่สามารถควบคุมได้ ดังนั้นสภาพแวดล้อมโดยทั่วไปประกอบด้วยส่วนที่เกี่ยวข้องระหว่างกันซึ่งอาจแบ่งออกเป็น 6 ส่วน ดังนี้
1.1 สภาพแวดล้อมด้านประชากรศาสตร์ (Demographic Environment)
1.2 สภาพแวดล้อมด้านสังคมและวัฒนธรรม (Sociocultural Environment)
1.3 สภาพแวดล้อมด้านการเมืองและกฎหมาย ( Political / Legal Environment )
1.4 สภาพแวดล้อมทางเทคโนโลยี ( Technological Environment )
1.5 สภาพแวดล้อมด้านเศรษฐกิจมหภาค ( Macroeconomic Environment )
1.6 สภาพแวดล้อมระดับโลก ( Global Environment)
2. สภาพแวดล้อมในการดำเนินงาน (Operating Environment) เป็นสิ่งแวดล้อมภายนอกองค์การ ประกอบไปด้วยปัจจัยทั่วไปที่มีความสัมพันธ์อย่างเฉพาะเจาะจง มี 6 ประการ ดังนี้
1. ลูกค้า
2. คู่แข่งขัน
3. ผู้ขายวัตถุดิบ
4. แรงงาน
5. กฎระเบียบ
6. หุ้นส่วน
อ้างอิง: ชื่อหนังสือ การจัดการองค์การอุตสาหกรรมและการผลิต
ชื่อผู้แต่ง รองศาสตราจารย์ ดร. เปรื่อง กิจรัตน์ภร
สำนักพิมพ์ ศูนย์หนังสือราชภัฏพระนคร
ปีที่พิมพ์ 2544
นางสาวยุพาวรรณ ช่อมะลิ 5210125401078 การจัดการทั่วไป

tikjung กล่าวว่า...

สภาพแวดล้อมภายนอก (External Environment)
สภาพแวดล้อมภายนอกเป็นกิจการอยู่นอกขอบเขตขององค์การ ซึ่งผู้บริหารไม่สามารถควบคุมโดยตรงได้ แต่พลังสภาพแวดล้อมภายนอกนี้จะส่งผลกระทบถึงศักยภาพของการบริหารองค์การและความสามารถ ในการบรรลุเป้าหมายขององค์การได้ผู้บริหารจะต้องประเมินโอกาสและอุปสรรคจากสิ่งแวดล้อมภายนอก ทั้งปัจจุบันและอนาคตเพื่อวางแผนในการพัฒนาองค์การต่อไป
เมื่อพิจารณาผลกระทบต่อองค์การ สภาพแวดล้อมภายนอกจะประกอบด้วยสภาพแวดล้อมโดยทั่วไป(General Environment) และสภาพแวดล้อมในการดำเนินงาน โดยมีรายละเอียด ดังนี้
1. สภาพแวดล้อมโดยทั่วไป (General Environment) จะประกอบด้วยปัจจัยที่มีขอบเขตกว้างและองค์กรไม่สามารถควบคุมได้ ดังนั้นสภาพแวดล้อมโดยทั่วไปประกอบด้วยส่วนที่เกี่ยวข้องระหว่างกันซึ่งอาจแบ่งออกเป็น 6 ส่วน ดังนี้
1.1 สภาพแวดล้อมด้านประชากรศาสตร์ (Demographic Environment)
1.2 สภาพแวดล้อมด้านสังคมและวัฒนธรรม (Sociocultural Environment)
1.3 สภาพแวดล้อมด้านการเมืองและกฎหมาย ( Political / Legal Environment )
1.4 สภาพแวดล้อมทางเทคโนโลยี ( Technological Environment )
1.5 สภาพแวดล้อมด้านเศรษฐกิจมหภาค ( Macroeconomic Environment )
1.6 สภาพแวดล้อมระดับโลก ( Global Environment)
2. สภาพแวดล้อมในการดำเนินงาน (Operating Environment) เป็นสิ่งแวดล้อมภายนอกองค์การ ประกอบไปด้วยปัจจัยทั่วไปที่มีความสัมพันธ์อย่างเฉพาะเจาะจง มี 6 ประการ ดังนี้
1. ลูกค้า
2. คู่แข่งขัน
3. ผู้ขายวัตถุดิบ
4. แรงงาน
5. กฎระเบียบ
6. หุ้นส่วน
อ้างอิง: ชื่อหนังสือ การจัดการองค์การอุตสาหกรรมและการผลิต
ชื่อผู้แต่ง รองศาสตราจารย์ ดร. เปรื่อง กิจรัตน์ภร
สำนักพิมพ์ ศูนย์หนังสือราชภัฏพระนคร
ปีที่พิมพ์ 2544
นางสาวยุพาวรรณ ช่อมะลิ 5210125401078 การจัดการทั่วไป

tikjung กล่าวว่า...

สภาพแวดล้อมภายนอก (External Environment)
สภาพแวดล้อมภายนอกเป็นกิจการอยู่นอกขอบเขตขององค์การ ซึ่งผู้บริหารไม่สามารถควบคุมโดยตรงได้ แต่พลังสภาพแวดล้อมภายนอกนี้จะส่งผลกระทบถึงศักยภาพของการบริหารองค์การและความสามารถ ในการบรรลุเป้าหมายขององค์การได้ผู้บริหารจะต้องประเมินโอกาสและอุปสรรคจากสิ่งแวดล้อมภายนอก ทั้งปัจจุบันและอนาคตเพื่อวางแผนในการพัฒนาองค์การต่อไป
เมื่อพิจารณาผลกระทบต่อองค์การ สภาพแวดล้อมภายนอกจะประกอบด้วยสภาพแวดล้อมโดยทั่วไป(General Environment) และสภาพแวดล้อมในการดำเนินงาน โดยมีรายละเอียด ดังนี้
1. สภาพแวดล้อมโดยทั่วไป (General Environment) จะประกอบด้วยปัจจัยที่มีขอบเขตกว้างและองค์กรไม่สามารถควบคุมได้ ดังนั้นสภาพแวดล้อมโดยทั่วไปประกอบด้วยส่วนที่เกี่ยวข้องระหว่างกันซึ่งอาจแบ่งออกเป็น 6 ส่วน ดังนี้
1.1 สภาพแวดล้อมด้านประชากรศาสตร์ (Demographic Environment)
1.2 สภาพแวดล้อมด้านสังคมและวัฒนธรรม (Sociocultural Environment)
1.3 สภาพแวดล้อมด้านการเมืองและกฎหมาย ( Political / Legal Environment )
1.4 สภาพแวดล้อมทางเทคโนโลยี ( Technological Environment )
1.5 สภาพแวดล้อมด้านเศรษฐกิจมหภาค ( Macroeconomic Environment )
1.6 สภาพแวดล้อมระดับโลก ( Global Environment)
2. สภาพแวดล้อมในการดำเนินงาน (Operating Environment) เป็นสิ่งแวดล้อมภายนอกองค์การ ประกอบไปด้วยปัจจัยทั่วไปที่มีความสัมพันธ์อย่างเฉพาะเจาะจง มี 6 ประการ ดังนี้
1. ลูกค้า
2. คู่แข่งขัน
3. ผู้ขายวัตถุดิบ
4. แรงงาน
5. กฎระเบียบ
6. หุ้นส่วน
อ้างอิง: ชื่อหนังสือ การจัดการองค์การอุตสาหกรรมและการผลิต
ชื่อผู้แต่ง รองศาสตราจารย์ ดร. เปรื่อง กิจรัตน์ภร
สำนักพิมพ์ ศูนย์หนังสือราชภัฏพระนคร
ปีที่พิมพ์ 2544
นางสาวยุพาวรรณ ช่อมะลิ 5210125401078 การจัดการทั่วไป

tikjung กล่าวว่า...

สภาพแวดล้อมภายนอก (External Environment)
สภาพแวดล้อมภายนอกเป็นกิจการอยู่นอกขอบเขตขององค์การ ซึ่งผู้บริหารไม่สามารถควบคุมโดยตรงได้ แต่พลังสภาพแวดล้อมภายนอกนี้จะส่งผลกระทบถึงศักยภาพของการบริหารองค์การและความสามารถ ในการบรรลุเป้าหมายขององค์การได้ผู้บริหารจะต้องประเมินโอกาสและอุปสรรคจากสิ่งแวดล้อมภายนอก ทั้งปัจจุบันและอนาคตเพื่อวางแผนในการพัฒนาองค์การต่อไป
เมื่อพิจารณาผลกระทบต่อองค์การ สภาพแวดล้อมภายนอกจะประกอบด้วยสภาพแวดล้อมโดยทั่วไป(General Environment) และสภาพแวดล้อมในการดำเนินงาน โดยมีรายละเอียด ดังนี้
1. สภาพแวดล้อมโดยทั่วไป (General Environment) จะประกอบด้วยปัจจัยที่มีขอบเขตกว้างและองค์กรไม่สามารถควบคุมได้ ดังนั้นสภาพแวดล้อมโดยทั่วไปประกอบด้วยส่วนที่เกี่ยวข้องระหว่างกันซึ่งอาจแบ่งออกเป็น 6 ส่วน ดังนี้
1.1 สภาพแวดล้อมด้านประชากรศาสตร์ (Demographic Environment)
1.2 สภาพแวดล้อมด้านสังคมและวัฒนธรรม (Sociocultural Environment)
1.3 สภาพแวดล้อมด้านการเมืองและกฎหมาย ( Political / Legal Environment )
1.4 สภาพแวดล้อมทางเทคโนโลยี ( Technological Environment )
1.5 สภาพแวดล้อมด้านเศรษฐกิจมหภาค ( Macroeconomic Environment )
1.6 สภาพแวดล้อมระดับโลก ( Global Environment)
2. สภาพแวดล้อมในการดำเนินงาน (Operating Environment) เป็นสิ่งแวดล้อมภายนอกองค์การ ประกอบไปด้วยปัจจัยทั่วไปที่มีความสัมพันธ์อย่างเฉพาะเจาะจง มี 6 ประการ ดังนี้
1. ลูกค้า
2. คู่แข่งขัน
3. ผู้ขายวัตถุดิบ
4. แรงงาน
5. กฎระเบียบ
6. หุ้นส่วน
อ้างอิง: ชื่อหนังสือ การจัดการองค์การอุตสาหกรรมและการผลิต
ชื่อผู้แต่ง รองศาสตราจารย์ ดร. เปรื่อง กิจรัตน์ภร
สำนักพิมพ์ ศูนย์หนังสือราชภัฏพระนคร
ปีที่พิมพ์ 2544
นางสาวยุพาวรรณ ช่อมะลิ 5210125401078 การจัดการทั่วไป

Be^Knicknac^ กล่าวว่า...

การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม : ภายใน
สภาพแวดล้อมแวดล้อมภายในประกอบไปด้วย ปัจจัย (จุดแข็งและจุดอ่อน) ที่อยู่ภายในบริษัทและไม่ได้อยู่ภายใต้การควบคุมระยะสั้นของผู้บริหารระดับสูง ปัจจัยเหล่านี้ได้แก่ โครงสร้าง วัฒนธรรม และทรัพยากรของบริษัท
- โครงสร้างของบริษัท (Corporate Structure) จะแสดงให้เห็นถึงการรวมกลุ่มงาน ความสัมพันธ์ทางอำนาจหน้าที่ การไหลเวียนของงาน และการติดต่อสื่อสารภายในบริษัท เรามักจะเรียกโครงสร้างบริษัทนี้ว่า “สายการบังคับบัญชา” โดยทั่วไปโครงสร้างบริษัทจะแสดงให้เห็นสภาพภายในแผนภูมิองค์การ
- วัฒนธรรมขององค์การ (Corporate Culture) จะหมายถึงความเชื่อ ความคาดหวัง และค่ายนิยมร่วมกันของบรรดาบุคคลภายในบริษัท โดยทั่วไปจะปรากฏขึ้นมาเป็นบรรทัดฐานที่ระบุพฤติกรรมที่ยอมรับกันของบุคคล ตั้งแต่ผู้บริหารระดับสูงลงมาจนถึงพนักงานระดับล่างสุด
- ทรัพยากรของบริษัท (Corporate Resources) จะหมายถึงทรัพย์สินทุกอย่างภายในการผลิตและการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของบริษัท ทรัพย์สินเหล่านี้ ได้แก่ คน เงินทุน วัตถุดิบ โรงงาน เทคโนโลยี และทักษะ เป็นต้น
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม : ภายนอก
สภาพแวดล้อมภายนอกประกอบด้วยปัจจัย (โอกาสและอุปสรรค) ที่อยู่ภายนอกบริษัทและไม่ได้อยู่ภายใต้กรควบคุมของผู้บริหารระดับสูง โดยทั่วไปสภาพแวดล้อมภายนอกจะมีอยู่สองส่วนคือ : สภาพแวดล้อมการดำเนินงานและสภาพแวดล้อมโดยทั่วไป
- สภาพแวดล้อมการดำเนินงาน (Task Environment) จะประกอบด้วยปัจจัยที่กระทบและถูกกระทบโดยตรงต่อการดำเนินงานของบริษัทปัจจัยเหล่านี้ ได้แก่ ผู้มีส่วนได้เสีย รัฐบาล ผู้จำหน่ายวัตถุดิบ ชุมชน คู่แข่งขัน ลูกค้า เจ้าหนี้ สหภาพแรงงาน สมาคมการค้า และกลุ่มผลประโยชน์ เรามักจะเรียกสภาพแวดล้อมการดำเนินงานของบริษัทว่าอุตสาหกรรม
- สภาพแวดล้อมโดยทั่วไป (General Environment) จะประกอบด้วยปัจจัยที่ไม่กระทบโดยตรงต่อการดำเนินงานระยะสั้นของบริษัท ปัจจัยเหล่านี้จะมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจในระยะยาวของบริษัท ปัจจัยเหล่านี้ ได้แก่ เศรษฐกิจ สังคมวัฒนธรรม เทคโนโลยี และการเมือง กฎหมาย

อ้างอิงจาก สมยศ นาวีการ. (2535). การบริหารเชิงกลยุทธ์และนโยบายทางธุรกิจ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์.บรรณกิจเทรดดิ้ง
*น.ส.วณิดา สามทอง รหัส 5210125401065 เอกการจัดการทั่วไป ปี 4 *

Be^Knicknac^ กล่าวว่า...

การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม : ภายใน
สภาพแวดล้อมแวดล้อมภายในประกอบไปด้วย ปัจจัย (จุดแข็งและจุดอ่อน) ที่อยู่ภายในบริษัทและไม่ได้อยู่ภายใต้การควบคุมระยะสั้นของผู้บริหารระดับสูง ปัจจัยเหล่านี้ได้แก่ โครงสร้าง วัฒนธรรม และทรัพยากรของบริษัท
- โครงสร้างของบริษัท (Corporate Structure) จะแสดงให้เห็นถึงการรวมกลุ่มงาน ความสัมพันธ์ทางอำนาจหน้าที่ การไหลเวียนของงาน และการติดต่อสื่อสารภายในบริษัท เรามักจะเรียกโครงสร้างบริษัทนี้ว่า “สายการบังคับบัญชา” โดยทั่วไปโครงสร้างบริษัทจะแสดงให้เห็นสภาพภายในแผนภูมิองค์การ
- วัฒนธรรมขององค์การ (Corporate Culture) จะหมายถึงความเชื่อ ความคาดหวัง และค่ายนิยมร่วมกันของบรรดาบุคคลภายในบริษัท โดยทั่วไปจะปรากฏขึ้นมาเป็นบรรทัดฐานที่ระบุพฤติกรรมที่ยอมรับกันของบุคคล ตั้งแต่ผู้บริหารระดับสูงลงมาจนถึงพนักงานระดับล่างสุด
- ทรัพยากรของบริษัท (Corporate Resources) จะหมายถึงทรัพย์สินทุกอย่างภายในการผลิตและการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของบริษัท ทรัพย์สินเหล่านี้ ได้แก่ คน เงินทุน วัตถุดิบ โรงงาน เทคโนโลยี และทักษะ เป็นต้น
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม : ภายนอก
สภาพแวดล้อมภายนอกประกอบด้วยปัจจัย (โอกาสและอุปสรรค) ที่อยู่ภายนอกบริษัทและไม่ได้อยู่ภายใต้กรควบคุมของผู้บริหารระดับสูง โดยทั่วไปสภาพแวดล้อมภายนอกจะมีอยู่สองส่วนคือ : สภาพแวดล้อมการดำเนินงานและสภาพแวดล้อมโดยทั่วไป
- สภาพแวดล้อมการดำเนินงาน (Task Environment) จะประกอบด้วยปัจจัยที่กระทบและถูกกระทบโดยตรงต่อการดำเนินงานของบริษัทปัจจัยเหล่านี้ ได้แก่ ผู้มีส่วนได้เสีย รัฐบาล ผู้จำหน่ายวัตถุดิบ ชุมชน คู่แข่งขัน ลูกค้า เจ้าหนี้ สหภาพแรงงาน สมาคมการค้า และกลุ่มผลประโยชน์ เรามักจะเรียกสภาพแวดล้อมการดำเนินงานของบริษัทว่าอุตสาหกรรม
- สภาพแวดล้อมโดยทั่วไป (General Environment) จะประกอบด้วยปัจจัยที่ไม่กระทบโดยตรงต่อการดำเนินงานระยะสั้นของบริษัท ปัจจัยเหล่านี้จะมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจในระยะยาวของบริษัท ปัจจัยเหล่านี้ ได้แก่ เศรษฐกิจ สังคมวัฒนธรรม เทคโนโลยี และการเมือง กฎหมาย

อ้างอิงจาก สมยศ นาวีการ. (2535). การบริหารเชิงกลยุทธ์และนโยบายทางธุรกิจ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์.บรรณกิจเทรดดิ้ง
*น.ส.วณิดา สามทอง รหัส 5210125401065 เอกการจัดการทั่วไป ปี 4 *

Be^Knicknac^ กล่าวว่า...

การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม : ภายใน
สภาพแวดล้อมแวดล้อมภายในประกอบไปด้วย ปัจจัย (จุดแข็งและจุดอ่อน) ที่อยู่ภายในบริษัทและไม่ได้อยู่ภายใต้การควบคุมระยะสั้นของผู้บริหารระดับสูง ปัจจัยเหล่านี้ได้แก่ โครงสร้าง วัฒนธรรม และทรัพยากรของบริษัท
- โครงสร้างของบริษัท (Corporate Structure) จะแสดงให้เห็นถึงการรวมกลุ่มงาน ความสัมพันธ์ทางอำนาจหน้าที่ การไหลเวียนของงาน และการติดต่อสื่อสารภายในบริษัท เรามักจะเรียกโครงสร้างบริษัทนี้ว่า “สายการบังคับบัญชา” โดยทั่วไปโครงสร้างบริษัทจะแสดงให้เห็นสภาพภายในแผนภูมิองค์การ
- วัฒนธรรมขององค์การ (Corporate Culture) จะหมายถึงความเชื่อ ความคาดหวัง และค่ายนิยมร่วมกันของบรรดาบุคคลภายในบริษัท โดยทั่วไปจะปรากฏขึ้นมาเป็นบรรทัดฐานที่ระบุพฤติกรรมที่ยอมรับกันของบุคคล ตั้งแต่ผู้บริหารระดับสูงลงมาจนถึงพนักงานระดับล่างสุด
- ทรัพยากรของบริษัท (Corporate Resources) จะหมายถึงทรัพย์สินทุกอย่างภายในการผลิตและการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของบริษัท ทรัพย์สินเหล่านี้ ได้แก่ คน เงินทุน วัตถุดิบ โรงงาน เทคโนโลยี และทักษะ เป็นต้น
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม : ภายนอก
สภาพแวดล้อมภายนอกประกอบด้วยปัจจัย (โอกาสและอุปสรรค) ที่อยู่ภายนอกบริษัทและไม่ได้อยู่ภายใต้กรควบคุมของผู้บริหารระดับสูง โดยทั่วไปสภาพแวดล้อมภายนอกจะมีอยู่สองส่วนคือ : สภาพแวดล้อมการดำเนินงานและสภาพแวดล้อมโดยทั่วไป
- สภาพแวดล้อมการดำเนินงาน (Task Environment) จะประกอบด้วยปัจจัยที่กระทบและถูกกระทบโดยตรงต่อการดำเนินงานของบริษัทปัจจัยเหล่านี้ ได้แก่ ผู้มีส่วนได้เสีย รัฐบาล ผู้จำหน่ายวัตถุดิบ ชุมชน คู่แข่งขัน ลูกค้า เจ้าหนี้ สหภาพแรงงาน สมาคมการค้า และกลุ่มผลประโยชน์ เรามักจะเรียกสภาพแวดล้อมการดำเนินงานของบริษัทว่าอุตสาหกรรม
- สภาพแวดล้อมโดยทั่วไป (General Environment) จะประกอบด้วยปัจจัยที่ไม่กระทบโดยตรงต่อการดำเนินงานระยะสั้นของบริษัท ปัจจัยเหล่านี้จะมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจในระยะยาวของบริษัท ปัจจัยเหล่านี้ ได้แก่ เศรษฐกิจ สังคมวัฒนธรรม เทคโนโลยี และการเมือง กฎหมาย

อ้างอิงจาก สมยศ นาวีการ. (2535). การบริหารเชิงกลยุทธ์และนโยบายทางธุรกิจ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์.บรรณกิจเทรดดิ้ง
*น.ส.วณิดา สามทอง รหัส 5210125401065 เอกการจัดการทั่วไป ปี 4 *

Be^Knicknac^ กล่าวว่า...

การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม : ภายใน
สภาพแวดล้อมแวดล้อมภายในประกอบไปด้วย ปัจจัย (จุดแข็งและจุดอ่อน) ที่อยู่ภายในบริษัทและไม่ได้อยู่ภายใต้การควบคุมระยะสั้นของผู้บริหารระดับสูง ปัจจัยเหล่านี้ได้แก่ โครงสร้าง วัฒนธรรม และทรัพยากรของบริษัท
- โครงสร้างของบริษัท (Corporate Structure) จะแสดงให้เห็นถึงการรวมกลุ่มงาน ความสัมพันธ์ทางอำนาจหน้าที่ การไหลเวียนของงาน และการติดต่อสื่อสารภายในบริษัท เรามักจะเรียกโครงสร้างบริษัทนี้ว่า “สายการบังคับบัญชา” โดยทั่วไปโครงสร้างบริษัทจะแสดงให้เห็นสภาพภายในแผนภูมิองค์การ
- วัฒนธรรมขององค์การ (Corporate Culture) จะหมายถึงความเชื่อ ความคาดหวัง และค่ายนิยมร่วมกันของบรรดาบุคคลภายในบริษัท โดยทั่วไปจะปรากฏขึ้นมาเป็นบรรทัดฐานที่ระบุพฤติกรรมที่ยอมรับกันของบุคคล ตั้งแต่ผู้บริหารระดับสูงลงมาจนถึงพนักงานระดับล่างสุด
- ทรัพยากรของบริษัท (Corporate Resources) จะหมายถึงทรัพย์สินทุกอย่างภายในการผลิตและการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของบริษัท ทรัพย์สินเหล่านี้ ได้แก่ คน เงินทุน วัตถุดิบ โรงงาน เทคโนโลยี และทักษะ เป็นต้น
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม : ภายนอก
สภาพแวดล้อมภายนอกประกอบด้วยปัจจัย (โอกาสและอุปสรรค) ที่อยู่ภายนอกบริษัทและไม่ได้อยู่ภายใต้กรควบคุมของผู้บริหารระดับสูง โดยทั่วไปสภาพแวดล้อมภายนอกจะมีอยู่สองส่วนคือ : สภาพแวดล้อมการดำเนินงานและสภาพแวดล้อมโดยทั่วไป
- สภาพแวดล้อมการดำเนินงาน (Task Environment) จะประกอบด้วยปัจจัยที่กระทบและถูกกระทบโดยตรงต่อการดำเนินงานของบริษัทปัจจัยเหล่านี้ ได้แก่ ผู้มีส่วนได้เสีย รัฐบาล ผู้จำหน่ายวัตถุดิบ ชุมชน คู่แข่งขัน ลูกค้า เจ้าหนี้ สหภาพแรงงาน สมาคมการค้า และกลุ่มผลประโยชน์ เรามักจะเรียกสภาพแวดล้อมการดำเนินงานของบริษัทว่าอุตสาหกรรม
- สภาพแวดล้อมโดยทั่วไป (General Environment) จะประกอบด้วยปัจจัยที่ไม่กระทบโดยตรงต่อการดำเนินงานระยะสั้นของบริษัท ปัจจัยเหล่านี้จะมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจในระยะยาวของบริษัท ปัจจัยเหล่านี้ ได้แก่ เศรษฐกิจ สังคมวัฒนธรรม เทคโนโลยี และการเมือง กฎหมาย

อ้างอิงจาก สมยศ นาวีการ. (2535). การบริหารเชิงกลยุทธ์และนโยบายทางธุรกิจ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์.บรรณกิจเทรดดิ้ง
*น.ส.วณิดา สามทอง รหัส 5210125401065 เอกการจัดการทั่วไป ปี 4 *

tikjung กล่าวว่า...

การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม : ภายใน
สภาพแวดล้อมแวดล้อมภายในประกอบไปด้วย ปัจจัย (จุดแข็งและจุดอ่อน) ที่อยู่ภายในบริษัทและไม่ได้อยู่ภายใต้การควบคุมระยะสั้นของผู้บริหารระดับสูง ปัจจัยเหล่านี้ได้แก่ โครงสร้าง วัฒนธรรม และทรัพยากรของบริษัท
- โครงสร้างของบริษัท (Corporate Structure) จะแสดงให้เห็นถึงการรวมกลุ่มงาน ความสัมพันธ์ทางอำนาจหน้าที่ การไหลเวียนของงาน และการติดต่อสื่อสารภายในบริษัท เรามักจะเรียกโครงสร้างบริษัทนี้ว่า “สายการบังคับบัญชา” โดยทั่วไปโครงสร้างบริษัทจะแสดงให้เห็นสภาพภายในแผนภูมิองค์การ
- วัฒนธรรมขององค์การ (Corporate Culture) จะหมายถึงความเชื่อ ความคาดหวัง และค่ายนิยมร่วมกันของบรรดาบุคคลภายในบริษัท โดยทั่วไปจะปรากฏขึ้นมาเป็นบรรทัดฐานที่ระบุพฤติกรรมที่ยอมรับกันของบุคคล ตั้งแต่ผู้บริหารระดับสูงลงมาจนถึงพนักงานระดับล่างสุด
- ทรัพยากรของบริษัท (Corporate Resources) จะหมายถึงทรัพย์สินทุกอย่างภายในการผลิตและการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของบริษัท ทรัพย์สินเหล่านี้ ได้แก่ คน เงินทุน วัตถุดิบ โรงงาน เทคโนโลยี และทักษะ เป็นต้น
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม : ภายนอก
สภาพแวดล้อมภายนอกประกอบด้วยปัจจัย (โอกาสและอุปสรรค) ที่อยู่ภายนอกบริษัทและไม่ได้อยู่ภายใต้กรควบคุมของผู้บริหารระดับสูง โดยทั่วไปสภาพแวดล้อมภายนอกจะมีอยู่สองส่วนคือ : สภาพแวดล้อมการดำเนินงานและสภาพแวดล้อมโดยทั่วไป
- สภาพแวดล้อมการดำเนินงาน (Task Environment) จะประกอบด้วยปัจจัยที่กระทบและถูกกระทบโดยตรงต่อการดำเนินงานของบริษัทปัจจัยเหล่านี้ ได้แก่ ผู้มีส่วนได้เสีย รัฐบาล ผู้จำหน่ายวัตถุดิบ ชุมชน คู่แข่งขัน ลูกค้า เจ้าหนี้ สหภาพแรงงาน สมาคมการค้า และกลุ่มผลประโยชน์ เรามักจะเรียกสภาพแวดล้อมการดำเนินงานของบริษัทว่าอุตสาหกรรม
- สภาพแวดล้อมโดยทั่วไป (General Environment) จะประกอบด้วยปัจจัยที่ไม่กระทบโดยตรงต่อการดำเนินงานระยะสั้นของบริษัท ปัจจัยเหล่านี้จะมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจในระยะยาวของบริษัท ปัจจัยเหล่านี้ ได้แก่ เศรษฐกิจ สังคมวัฒนธรรม เทคโนโลยี และการเมือง กฎหมาย

อ้างอิงจาก สมยศ นาวีการ. (2535). การบริหารเชิงกลยุทธ์และนโยบายทางธุรกิจ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์.บรรณกิจเทรดดิ้ง
*น.ส.วณิดา สามทอง รหัส 5210125401065 เอกการจัดการทั่วไป ปี 4 *

tikjung กล่าวว่า...

สภาพแวดล้อมภายนอก (External Environment)
สภาพแวดล้อมภายนอกเป็นกิจการอยู่นอกขอบเขตขององค์การ ซึ่งผู้บริหารไม่สามารถควบคุมโดยตรงได้ แต่พลังสภาพแวดล้อมภายนอกนี้จะส่งผลกระทบถึงศักยภาพของการบริหารองค์การและความสามารถ ในการบรรลุเป้าหมายขององค์การได้ผู้บริหารจะต้องประเมินโอกาสและอุปสรรคจากสิ่งแวดล้อมภายนอก ทั้งปัจจุบันและอนาคตเพื่อวางแผนในการพัฒนาองค์การต่อไป
เมื่อพิจารณาผลกระทบต่อองค์การ สภาพแวดล้อมภายนอกจะประกอบด้วยสภาพแวดล้อมโดยทั่วไป(General Environment) และสภาพแวดล้อมในการดำเนินงาน โดยมีรายละเอียด ดังนี้
1. สภาพแวดล้อมโดยทั่วไป (General Environment) จะประกอบด้วยปัจจัยที่มีขอบเขตกว้างและองค์กรไม่สามารถควบคุมได้ ดังนั้นสภาพแวดล้อมโดยทั่วไปประกอบด้วยส่วนที่เกี่ยวข้องระหว่างกันซึ่งอาจแบ่งออกเป็น 6 ส่วน ดังนี้
1.1 สภาพแวดล้อมด้านประชากรศาสตร์ (Demographic Environment)
1.2 สภาพแวดล้อมด้านสังคมและวัฒนธรรม (Sociocultural Environment)
1.3 สภาพแวดล้อมด้านการเมืองและกฎหมาย ( Political / Legal Environment )
1.4 สภาพแวดล้อมทางเทคโนโลยี ( Technological Environment )
1.5 สภาพแวดล้อมด้านเศรษฐกิจมหภาค ( Macroeconomic Environment )
1.6 สภาพแวดล้อมระดับโลก ( Global Environment)
2. สภาพแวดล้อมในการดำเนินงาน (Operating Environment) เป็นสิ่งแวดล้อมภายนอกองค์การ ประกอบไปด้วยปัจจัยทั่วไปที่มีความสัมพันธ์อย่างเฉพาะเจาะจง มี 6 ประการ ดังนี้
1. ลูกค้า
2. คู่แข่งขัน
3. ผู้ขายวัตถุดิบ
4. แรงงาน
5. กฎระเบียบ
6. หุ้นส่วน
อ้างอิง: ชื่อหนังสือ การจัดการองค์การอุตสาหกรรมและการผลิต
ชื่อผู้แต่ง รองศาสตราจารย์ ดร. เปรื่อง กิจรัตน์ภร
สำนักพิมพ์ ศูนย์หนังสือราชภัฏพระนคร
ปีที่พิมพ์ 2544
นางสาวยุพาวรรณ ช่อมะลิ 5210125401078 การจัดการทั่วไป

tikjung กล่าวว่า...

สภาพแวดล้อมภายนอก (External Environment)
สภาพแวดล้อมภายนอกเป็นกิจการอยู่นอกขอบเขตขององค์การ ซึ่งผู้บริหารไม่สามารถควบคุมโดยตรงได้ แต่พลังสภาพแวดล้อมภายนอกนี้จะส่งผลกระทบถึงศักยภาพของการบริหารองค์การและความสามารถ ในการบรรลุเป้าหมายขององค์การได้ผู้บริหารจะต้องประเมินโอกาสและอุปสรรคจากสิ่งแวดล้อมภายนอก ทั้งปัจจุบันและอนาคตเพื่อวางแผนในการพัฒนาองค์การต่อไป
เมื่อพิจารณาผลกระทบต่อองค์การ สภาพแวดล้อมภายนอกจะประกอบด้วยสภาพแวดล้อมโดยทั่วไป(General Environment) และสภาพแวดล้อมในการดำเนินงาน โดยมีรายละเอียด ดังนี้
1. สภาพแวดล้อมโดยทั่วไป (General Environment) จะประกอบด้วยปัจจัยที่มีขอบเขตกว้างและองค์กรไม่สามารถควบคุมได้ ดังนั้นสภาพแวดล้อมโดยทั่วไปประกอบด้วยส่วนที่เกี่ยวข้องระหว่างกันซึ่งอาจแบ่งออกเป็น 6 ส่วน ดังนี้
1.1 สภาพแวดล้อมด้านประชากรศาสตร์ (Demographic Environment)
1.2 สภาพแวดล้อมด้านสังคมและวัฒนธรรม (Sociocultural Environment)
1.3 สภาพแวดล้อมด้านการเมืองและกฎหมาย ( Political / Legal Environment )
1.4 สภาพแวดล้อมทางเทคโนโลยี ( Technological Environment )
1.5 สภาพแวดล้อมด้านเศรษฐกิจมหภาค ( Macroeconomic Environment )
1.6 สภาพแวดล้อมระดับโลก ( Global Environment)
2. สภาพแวดล้อมในการดำเนินงาน (Operating Environment) เป็นสิ่งแวดล้อมภายนอกองค์การ ประกอบไปด้วยปัจจัยทั่วไปที่มีความสัมพันธ์อย่างเฉพาะเจาะจง มี 6 ประการ ดังนี้
1. ลูกค้า
2. คู่แข่งขัน
3. ผู้ขายวัตถุดิบ
4. แรงงาน
5. กฎระเบียบ
6. หุ้นส่วน
อ้างอิง: ชื่อหนังสือ การจัดการองค์การอุตสาหกรรมและการผลิต
ชื่อผู้แต่ง รองศาสตราจารย์ ดร. เปรื่อง กิจรัตน์ภร
สำนักพิมพ์ ศูนย์หนังสือราชภัฏพระนคร
ปีที่พิมพ์ 2544
นางสาวยุพาวรรณ ช่อมะลิ 5210125401078 การจัดการทั่วไป

Be^Knicknac^ กล่าวว่า...

การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม : ภายใน
สภาพแวดล้อมแวดล้อมภายในประกอบไปด้วย ปัจจัย (จุดแข็งและจุดอ่อน) ที่อยู่ภายในบริษัทและไม่ได้อยู่ภายใต้การควบคุมระยะสั้นของผู้บริหารระดับสูง ปัจจัยเหล่านี้ได้แก่ โครงสร้าง วัฒนธรรม และทรัพยากรของบริษัท
- โครงสร้างของบริษัท (Corporate Structure) จะแสดงให้เห็นถึงการรวมกลุ่มงาน ความสัมพันธ์ทางอำนาจหน้าที่ การไหลเวียนของงาน และการติดต่อสื่อสารภายในบริษัท เรามักจะเรียกโครงสร้างบริษัทนี้ว่า “สายการบังคับบัญชา” โดยทั่วไปโครงสร้างบริษัทจะแสดงให้เห็นสภาพภายในแผนภูมิองค์การ
- วัฒนธรรมขององค์การ (Corporate Culture) จะหมายถึงความเชื่อ ความคาดหวัง และค่ายนิยมร่วมกันของบรรดาบุคคลภายในบริษัท โดยทั่วไปจะปรากฏขึ้นมาเป็นบรรทัดฐานที่ระบุพฤติกรรมที่ยอมรับกันของบุคคล ตั้งแต่ผู้บริหารระดับสูงลงมาจนถึงพนักงานระดับล่างสุด
- ทรัพยากรของบริษัท (Corporate Resources) จะหมายถึงทรัพย์สินทุกอย่างภายในการผลิตและการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของบริษัท ทรัพย์สินเหล่านี้ ได้แก่ คน เงินทุน วัตถุดิบ โรงงาน เทคโนโลยี และทักษะ เป็นต้น
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม : ภายนอก
สภาพแวดล้อมภายนอกประกอบด้วยปัจจัย (โอกาสและอุปสรรค) ที่อยู่ภายนอกบริษัทและไม่ได้อยู่ภายใต้กรควบคุมของผู้บริหารระดับสูง โดยทั่วไปสภาพแวดล้อมภายนอกจะมีอยู่สองส่วนคือ : สภาพแวดล้อมการดำเนินงานและสภาพแวดล้อมโดยทั่วไป
- สภาพแวดล้อมการดำเนินงาน (Task Environment) จะประกอบด้วยปัจจัยที่กระทบและถูกกระทบโดยตรงต่อการดำเนินงานของบริษัทปัจจัยเหล่านี้ ได้แก่ ผู้มีส่วนได้เสีย รัฐบาล ผู้จำหน่ายวัตถุดิบ ชุมชน คู่แข่งขัน ลูกค้า เจ้าหนี้ สหภาพแรงงาน สมาคมการค้า และกลุ่มผลประโยชน์ เรามักจะเรียกสภาพแวดล้อมการดำเนินงานของบริษัทว่าอุตสาหกรรม
- สภาพแวดล้อมโดยทั่วไป (General Environment) จะประกอบด้วยปัจจัยที่ไม่กระทบโดยตรงต่อการดำเนินงานระยะสั้นของบริษัท ปัจจัยเหล่านี้จะมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจในระยะยาวของบริษัท ปัจจัยเหล่านี้ ได้แก่ เศรษฐกิจ สังคมวัฒนธรรม เทคโนโลยี และการเมือง กฎหมาย

อ้างอิงจาก สมยศ นาวีการ. (2535). การบริหารเชิงกลยุทธ์และนโยบายทางธุรกิจ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์.บรรณกิจเทรดดิ้ง
*น.ส.วณิดา สามทอง รหัส 5210125401065 เอกการจัดการทั่วไป ปี 4 *

Be^Knicknac^ กล่าวว่า...

การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม : ภายใน
สภาพแวดล้อมแวดล้อมภายในประกอบไปด้วย ปัจจัย (จุดแข็งและจุดอ่อน) ที่อยู่ภายในบริษัทและไม่ได้อยู่ภายใต้การควบคุมระยะสั้นของผู้บริหารระดับสูง ปัจจัยเหล่านี้ได้แก่ โครงสร้าง วัฒนธรรม และทรัพยากรของบริษัท
- โครงสร้างของบริษัท (Corporate Structure) จะแสดงให้เห็นถึงการรวมกลุ่มงาน ความสัมพันธ์ทางอำนาจหน้าที่ การไหลเวียนของงาน และการติดต่อสื่อสารภายในบริษัท เรามักจะเรียกโครงสร้างบริษัทนี้ว่า “สายการบังคับบัญชา” โดยทั่วไปโครงสร้างบริษัทจะแสดงให้เห็นสภาพภายในแผนภูมิองค์การ
- วัฒนธรรมขององค์การ (Corporate Culture) จะหมายถึงความเชื่อ ความคาดหวัง และค่ายนิยมร่วมกันของบรรดาบุคคลภายในบริษัท โดยทั่วไปจะปรากฏขึ้นมาเป็นบรรทัดฐานที่ระบุพฤติกรรมที่ยอมรับกันของบุคคล ตั้งแต่ผู้บริหารระดับสูงลงมาจนถึงพนักงานระดับล่างสุด
- ทรัพยากรของบริษัท (Corporate Resources) จะหมายถึงทรัพย์สินทุกอย่างภายในการผลิตและการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของบริษัท ทรัพย์สินเหล่านี้ ได้แก่ คน เงินทุน วัตถุดิบ โรงงาน เทคโนโลยี และทักษะ เป็นต้น
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม : ภายนอก
สภาพแวดล้อมภายนอกประกอบด้วยปัจจัย (โอกาสและอุปสรรค) ที่อยู่ภายนอกบริษัทและไม่ได้อยู่ภายใต้กรควบคุมของผู้บริหารระดับสูง โดยทั่วไปสภาพแวดล้อมภายนอกจะมีอยู่สองส่วนคือ : สภาพแวดล้อมการดำเนินงานและสภาพแวดล้อมโดยทั่วไป
- สภาพแวดล้อมการดำเนินงาน (Task Environment) จะประกอบด้วยปัจจัยที่กระทบและถูกกระทบโดยตรงต่อการดำเนินงานของบริษัทปัจจัยเหล่านี้ ได้แก่ ผู้มีส่วนได้เสีย รัฐบาล ผู้จำหน่ายวัตถุดิบ ชุมชน คู่แข่งขัน ลูกค้า เจ้าหนี้ สหภาพแรงงาน สมาคมการค้า และกลุ่มผลประโยชน์ เรามักจะเรียกสภาพแวดล้อมการดำเนินงานของบริษัทว่าอุตสาหกรรม
- สภาพแวดล้อมโดยทั่วไป (General Environment) จะประกอบด้วยปัจจัยที่ไม่กระทบโดยตรงต่อการดำเนินงานระยะสั้นของบริษัท ปัจจัยเหล่านี้จะมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจในระยะยาวของบริษัท ปัจจัยเหล่านี้ ได้แก่ เศรษฐกิจ สังคมวัฒนธรรม เทคโนโลยี และการเมือง กฎหมาย

อ้างอิงจาก สมยศ นาวีการ. (2535). การบริหารเชิงกลยุทธ์และนโยบายทางธุรกิจ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์.บรรณกิจเทรดดิ้ง
*น.ส.วณิดา สามทอง รหัส 5210125401065 เอกการจัดการทั่วไป ปี 4 *

Be^Knicknac^ กล่าวว่า...

การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม : ภายใน
สภาพแวดล้อมแวดล้อมภายในประกอบไปด้วย ปัจจัย (จุดแข็งและจุดอ่อน) ที่อยู่ภายในบริษัทและไม่ได้อยู่ภายใต้การควบคุมระยะสั้นของผู้บริหารระดับสูง ปัจจัยเหล่านี้ได้แก่ โครงสร้าง วัฒนธรรม และทรัพยากรของบริษัท
- โครงสร้างของบริษัท (Corporate Structure) จะแสดงให้เห็นถึงการรวมกลุ่มงาน ความสัมพันธ์ทางอำนาจหน้าที่ การไหลเวียนของงาน และการติดต่อสื่อสารภายในบริษัท เรามักจะเรียกโครงสร้างบริษัทนี้ว่า “สายการบังคับบัญชา” โดยทั่วไปโครงสร้างบริษัทจะแสดงให้เห็นสภาพภายในแผนภูมิองค์การ
- วัฒนธรรมขององค์การ (Corporate Culture) จะหมายถึงความเชื่อ ความคาดหวัง และค่ายนิยมร่วมกันของบรรดาบุคคลภายในบริษัท โดยทั่วไปจะปรากฏขึ้นมาเป็นบรรทัดฐานที่ระบุพฤติกรรมที่ยอมรับกันของบุคคล ตั้งแต่ผู้บริหารระดับสูงลงมาจนถึงพนักงานระดับล่างสุด
- ทรัพยากรของบริษัท (Corporate Resources) จะหมายถึงทรัพย์สินทุกอย่างภายในการผลิตและการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของบริษัท ทรัพย์สินเหล่านี้ ได้แก่ คน เงินทุน วัตถุดิบ โรงงาน เทคโนโลยี และทักษะ เป็นต้น
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม : ภายนอก
สภาพแวดล้อมภายนอกประกอบด้วยปัจจัย (โอกาสและอุปสรรค) ที่อยู่ภายนอกบริษัทและไม่ได้อยู่ภายใต้กรควบคุมของผู้บริหารระดับสูง โดยทั่วไปสภาพแวดล้อมภายนอกจะมีอยู่สองส่วนคือ : สภาพแวดล้อมการดำเนินงานและสภาพแวดล้อมโดยทั่วไป
- สภาพแวดล้อมการดำเนินงาน (Task Environment) จะประกอบด้วยปัจจัยที่กระทบและถูกกระทบโดยตรงต่อการดำเนินงานของบริษัทปัจจัยเหล่านี้ ได้แก่ ผู้มีส่วนได้เสีย รัฐบาล ผู้จำหน่ายวัตถุดิบ ชุมชน คู่แข่งขัน ลูกค้า เจ้าหนี้ สหภาพแรงงาน สมาคมการค้า และกลุ่มผลประโยชน์ เรามักจะเรียกสภาพแวดล้อมการดำเนินงานของบริษัทว่าอุตสาหกรรม
- สภาพแวดล้อมโดยทั่วไป (General Environment) จะประกอบด้วยปัจจัยที่ไม่กระทบโดยตรงต่อการดำเนินงานระยะสั้นของบริษัท ปัจจัยเหล่านี้จะมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจในระยะยาวของบริษัท ปัจจัยเหล่านี้ ได้แก่ เศรษฐกิจ สังคมวัฒนธรรม เทคโนโลยี และการเมือง กฎหมาย

อ้างอิงจาก สมยศ นาวีการ. (2535). การบริหารเชิงกลยุทธ์และนโยบายทางธุรกิจ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์.บรรณกิจเทรดดิ้ง
*น.ส.วณิดา สามทอง รหัส 5210125401065 เอกการจัดการทั่วไป ปี 4 *

tikjung กล่าวว่า...

สภาพแวดล้อมภายนอก (External Environment)
สภาพแวดล้อมภายนอกเป็นกิจการอยู่นอกขอบเขตขององค์การ ซึ่งผู้บริหารไม่สามารถควบคุมโดยตรงได้ แต่พลังสภาพแวดล้อมภายนอกนี้จะส่งผลกระทบถึงศักยภาพของการบริหารองค์การและความสามารถ ในการบรรลุเป้าหมายขององค์การได้ผู้บริหารจะต้องประเมินโอกาสและอุปสรรคจากสิ่งแวดล้อมภายนอก ทั้งปัจจุบันและอนาคตเพื่อวางแผนในการพัฒนาองค์การต่อไป
เมื่อพิจารณาผลกระทบต่อองค์การ สภาพแวดล้อมภายนอกจะประกอบด้วยสภาพแวดล้อมโดยทั่วไป(General Environment) และสภาพแวดล้อมในการดำเนินงาน โดยมีรายละเอียด ดังนี้
1. สภาพแวดล้อมโดยทั่วไป (General Environment) จะประกอบด้วยปัจจัยที่มีขอบเขตกว้างและองค์กรไม่สามารถควบคุมได้ ดังนั้นสภาพแวดล้อมโดยทั่วไปประกอบด้วยส่วนที่เกี่ยวข้องระหว่างกันซึ่งอาจแบ่งออกเป็น 6 ส่วน ดังนี้
1.1 สภาพแวดล้อมด้านประชากรศาสตร์ (Demographic Environment)
1.2 สภาพแวดล้อมด้านสังคมและวัฒนธรรม (Sociocultural Environment)
1.3 สภาพแวดล้อมด้านการเมืองและกฎหมาย ( Political / Legal Environment )
1.4 สภาพแวดล้อมทางเทคโนโลยี ( Technological Environment )
1.5 สภาพแวดล้อมด้านเศรษฐกิจมหภาค ( Macroeconomic Environment )
1.6 สภาพแวดล้อมระดับโลก ( Global Environment)
2. สภาพแวดล้อมในการดำเนินงาน (Operating Environment) เป็นสิ่งแวดล้อมภายนอกองค์การ ประกอบไปด้วยปัจจัยทั่วไปที่มีความสัมพันธ์อย่างเฉพาะเจาะจง มี 6 ประการ ดังนี้
1. ลูกค้า
2. คู่แข่งขัน
3. ผู้ขายวัตถุดิบ
4. แรงงาน
5. กฎระเบียบ
6. หุ้นส่วน
อ้างอิง: ชื่อหนังสือ การจัดการองค์การอุตสาหกรรมและการผลิต
ชื่อผู้แต่ง รองศาสตราจารย์ ดร. เปรื่อง กิจรัตน์ภร
สำนักพิมพ์ ศูนย์หนังสือราชภัฏพระนคร
ปีที่พิมพ์ 2544
นางสาวยุพาวรรณ ช่อมะลิ 5210125401078 การจัดการทั่วไป

tikjung กล่าวว่า...

สภาพแวดล้อมภายนอก (External Environment)
สภาพแวดล้อมภายนอกเป็นกิจการอยู่นอกขอบเขตขององค์การ ซึ่งผู้บริหารไม่สามารถควบคุมโดยตรงได้ แต่พลังสภาพแวดล้อมภายนอกนี้จะส่งผลกระทบถึงศักยภาพของการบริหารองค์การและความสามารถ ในการบรรลุเป้าหมายขององค์การได้ผู้บริหารจะต้องประเมินโอกาสและอุปสรรคจากสิ่งแวดล้อมภายนอก ทั้งปัจจุบันและอนาคตเพื่อวางแผนในการพัฒนาองค์การต่อไป
เมื่อพิจารณาผลกระทบต่อองค์การ สภาพแวดล้อมภายนอกจะประกอบด้วยสภาพแวดล้อมโดยทั่วไป(General Environment) และสภาพแวดล้อมในการดำเนินงาน โดยมีรายละเอียด ดังนี้
1. สภาพแวดล้อมโดยทั่วไป (General Environment) จะประกอบด้วยปัจจัยที่มีขอบเขตกว้างและองค์กรไม่สามารถควบคุมได้ ดังนั้นสภาพแวดล้อมโดยทั่วไปประกอบด้วยส่วนที่เกี่ยวข้องระหว่างกันซึ่งอาจแบ่งออกเป็น 6 ส่วน ดังนี้
1.1 สภาพแวดล้อมด้านประชากรศาสตร์ (Demographic Environment)
1.2 สภาพแวดล้อมด้านสังคมและวัฒนธรรม (Sociocultural Environment)
1.3 สภาพแวดล้อมด้านการเมืองและกฎหมาย ( Political / Legal Environment )
1.4 สภาพแวดล้อมทางเทคโนโลยี ( Technological Environment )
1.5 สภาพแวดล้อมด้านเศรษฐกิจมหภาค ( Macroeconomic Environment )
1.6 สภาพแวดล้อมระดับโลก ( Global Environment)
2. สภาพแวดล้อมในการดำเนินงาน (Operating Environment) เป็นสิ่งแวดล้อมภายนอกองค์การ ประกอบไปด้วยปัจจัยทั่วไปที่มีความสัมพันธ์อย่างเฉพาะเจาะจง มี 6 ประการ ดังนี้
1. ลูกค้า
2. คู่แข่งขัน
3. ผู้ขายวัตถุดิบ
4. แรงงาน
5. กฎระเบียบ
6. หุ้นส่วน
อ้างอิง: ชื่อหนังสือ การจัดการองค์การอุตสาหกรรมและการผลิต
ชื่อผู้แต่ง รองศาสตราจารย์ ดร. เปรื่อง กิจรัตน์ภร
สำนักพิมพ์ ศูนย์หนังสือราชภัฏพระนคร
ปีที่พิมพ์ 2544
นางสาวยุพาวรรณ ช่อมะลิ 5210125401078 การจัดการทั่วไป

tikjung กล่าวว่า...

สภาพแวดล้อมภายนอก (External Environment)
สภาพแวดล้อมภายนอกเป็นกิจการอยู่นอกขอบเขตขององค์การ ซึ่งผู้บริหารไม่สามารถควบคุมโดยตรงได้ แต่พลังสภาพแวดล้อมภายนอกนี้จะส่งผลกระทบถึงศักยภาพของการบริหารองค์การและความสามารถ ในการบรรลุเป้าหมายขององค์การได้ผู้บริหารจะต้องประเมินโอกาสและอุปสรรคจากสิ่งแวดล้อมภายนอก ทั้งปัจจุบันและอนาคตเพื่อวางแผนในการพัฒนาองค์การต่อไป
เมื่อพิจารณาผลกระทบต่อองค์การ สภาพแวดล้อมภายนอกจะประกอบด้วยสภาพแวดล้อมโดยทั่วไป(General Environment) และสภาพแวดล้อมในการดำเนินงาน โดยมีรายละเอียด ดังนี้
1. สภาพแวดล้อมโดยทั่วไป (General Environment) จะประกอบด้วยปัจจัยที่มีขอบเขตกว้างและองค์กรไม่สามารถควบคุมได้ ดังนั้นสภาพแวดล้อมโดยทั่วไปประกอบด้วยส่วนที่เกี่ยวข้องระหว่างกันซึ่งอาจแบ่งออกเป็น 6 ส่วน ดังนี้
1.1 สภาพแวดล้อมด้านประชากรศาสตร์ (Demographic Environment)
1.2 สภาพแวดล้อมด้านสังคมและวัฒนธรรม (Sociocultural Environment)
1.3 สภาพแวดล้อมด้านการเมืองและกฎหมาย ( Political / Legal Environment )
1.4 สภาพแวดล้อมทางเทคโนโลยี ( Technological Environment )
1.5 สภาพแวดล้อมด้านเศรษฐกิจมหภาค ( Macroeconomic Environment )
1.6 สภาพแวดล้อมระดับโลก ( Global Environment)
2. สภาพแวดล้อมในการดำเนินงาน (Operating Environment) เป็นสิ่งแวดล้อมภายนอกองค์การ ประกอบไปด้วยปัจจัยทั่วไปที่มีความสัมพันธ์อย่างเฉพาะเจาะจง มี 6 ประการ ดังนี้
1. ลูกค้า
2. คู่แข่งขัน
3. ผู้ขายวัตถุดิบ
4. แรงงาน
5. กฎระเบียบ
6. หุ้นส่วน
อ้างอิง: ชื่อหนังสือ การจัดการองค์การอุตสาหกรรมและการผลิต
ชื่อผู้แต่ง รองศาสตราจารย์ ดร. เปรื่อง กิจรัตน์ภร
สำนักพิมพ์ ศูนย์หนังสือราชภัฏพระนคร
ปีที่พิมพ์ 2544
นางสาวยุพาวรรณ ช่อมะลิ 5210125401078 การจัดการทั่วไป

Be^Knicknac^ กล่าวว่า...

การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม : ภายใน
สภาพแวดล้อมแวดล้อมภายในประกอบไปด้วย ปัจจัย (จุดแข็งและจุดอ่อน) ที่อยู่ภายในบริษัทและไม่ได้อยู่ภายใต้การควบคุมระยะสั้นของผู้บริหารระดับสูง ปัจจัยเหล่านี้ได้แก่ โครงสร้าง วัฒนธรรม และทรัพยากรของบริษัท
- โครงสร้างของบริษัท (Corporate Structure) จะแสดงให้เห็นถึงการรวมกลุ่มงาน ความสัมพันธ์ทางอำนาจหน้าที่ การไหลเวียนของงาน และการติดต่อสื่อสารภายในบริษัท เรามักจะเรียกโครงสร้างบริษัทนี้ว่า “สายการบังคับบัญชา” โดยทั่วไปโครงสร้างบริษัทจะแสดงให้เห็นสภาพภายในแผนภูมิองค์การ
- วัฒนธรรมขององค์การ (Corporate Culture) จะหมายถึงความเชื่อ ความคาดหวัง และค่ายนิยมร่วมกันของบรรดาบุคคลภายในบริษัท โดยทั่วไปจะปรากฏขึ้นมาเป็นบรรทัดฐานที่ระบุพฤติกรรมที่ยอมรับกันของบุคคล ตั้งแต่ผู้บริหารระดับสูงลงมาจนถึงพนักงานระดับล่างสุด
- ทรัพยากรของบริษัท (Corporate Resources) จะหมายถึงทรัพย์สินทุกอย่างภายในการผลิตและการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของบริษัท ทรัพย์สินเหล่านี้ ได้แก่ คน เงินทุน วัตถุดิบ โรงงาน เทคโนโลยี และทักษะ เป็นต้น
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม : ภายนอก
สภาพแวดล้อมภายนอกประกอบด้วยปัจจัย (โอกาสและอุปสรรค) ที่อยู่ภายนอกบริษัทและไม่ได้อยู่ภายใต้กรควบคุมของผู้บริหารระดับสูง โดยทั่วไปสภาพแวดล้อมภายนอกจะมีอยู่สองส่วนคือ : สภาพแวดล้อมการดำเนินงานและสภาพแวดล้อมโดยทั่วไป
- สภาพแวดล้อมการดำเนินงาน (Task Environment) จะประกอบด้วยปัจจัยที่กระทบและถูกกระทบโดยตรงต่อการดำเนินงานของบริษัทปัจจัยเหล่านี้ ได้แก่ ผู้มีส่วนได้เสีย รัฐบาล ผู้จำหน่ายวัตถุดิบ ชุมชน คู่แข่งขัน ลูกค้า เจ้าหนี้ สหภาพแรงงาน สมาคมการค้า และกลุ่มผลประโยชน์ เรามักจะเรียกสภาพแวดล้อมการดำเนินงานของบริษัทว่าอุตสาหกรรม
- สภาพแวดล้อมโดยทั่วไป (General Environment) จะประกอบด้วยปัจจัยที่ไม่กระทบโดยตรงต่อการดำเนินงานระยะสั้นของบริษัท ปัจจัยเหล่านี้จะมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจในระยะยาวของบริษัท ปัจจัยเหล่านี้ ได้แก่ เศรษฐกิจ สังคมวัฒนธรรม เทคโนโลยี และการเมือง กฎหมาย

อ้างอิงจาก สมยศ นาวีการ. (2535). การบริหารเชิงกลยุทธ์และนโยบายทางธุรกิจ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์.บรรณกิจเทรดดิ้ง
*น.ส.วณิดา สามทอง รหัส 5210125401065 เอกการจัดการทั่วไป ปี 4 *

Be^Knicknac^ กล่าวว่า...

การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม : ภายใน
สภาพแวดล้อมแวดล้อมภายในประกอบไปด้วย ปัจจัย (จุดแข็งและจุดอ่อน) ที่อยู่ภายในบริษัทและไม่ได้อยู่ภายใต้การควบคุมระยะสั้นของผู้บริหารระดับสูง ปัจจัยเหล่านี้ได้แก่ โครงสร้าง วัฒนธรรม และทรัพยากรของบริษัท
- โครงสร้างของบริษัท (Corporate Structure) จะแสดงให้เห็นถึงการรวมกลุ่มงาน ความสัมพันธ์ทางอำนาจหน้าที่ การไหลเวียนของงาน และการติดต่อสื่อสารภายในบริษัท เรามักจะเรียกโครงสร้างบริษัทนี้ว่า “สายการบังคับบัญชา” โดยทั่วไปโครงสร้างบริษัทจะแสดงให้เห็นสภาพภายในแผนภูมิองค์การ
- วัฒนธรรมขององค์การ (Corporate Culture) จะหมายถึงความเชื่อ ความคาดหวัง และค่ายนิยมร่วมกันของบรรดาบุคคลภายในบริษัท โดยทั่วไปจะปรากฏขึ้นมาเป็นบรรทัดฐานที่ระบุพฤติกรรมที่ยอมรับกันของบุคคล ตั้งแต่ผู้บริหารระดับสูงลงมาจนถึงพนักงานระดับล่างสุด
- ทรัพยากรของบริษัท (Corporate Resources) จะหมายถึงทรัพย์สินทุกอย่างภายในการผลิตและการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของบริษัท ทรัพย์สินเหล่านี้ ได้แก่ คน เงินทุน วัตถุดิบ โรงงาน เทคโนโลยี และทักษะ เป็นต้น
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม : ภายนอก
สภาพแวดล้อมภายนอกประกอบด้วยปัจจัย (โอกาสและอุปสรรค) ที่อยู่ภายนอกบริษัทและไม่ได้อยู่ภายใต้กรควบคุมของผู้บริหารระดับสูง โดยทั่วไปสภาพแวดล้อมภายนอกจะมีอยู่สองส่วนคือ : สภาพแวดล้อมการดำเนินงานและสภาพแวดล้อมโดยทั่วไป
- สภาพแวดล้อมการดำเนินงาน (Task Environment) จะประกอบด้วยปัจจัยที่กระทบและถูกกระทบโดยตรงต่อการดำเนินงานของบริษัทปัจจัยเหล่านี้ ได้แก่ ผู้มีส่วนได้เสีย รัฐบาล ผู้จำหน่ายวัตถุดิบ ชุมชน คู่แข่งขัน ลูกค้า เจ้าหนี้ สหภาพแรงงาน สมาคมการค้า และกลุ่มผลประโยชน์ เรามักจะเรียกสภาพแวดล้อมการดำเนินงานของบริษัทว่าอุตสาหกรรม
- สภาพแวดล้อมโดยทั่วไป (General Environment) จะประกอบด้วยปัจจัยที่ไม่กระทบโดยตรงต่อการดำเนินงานระยะสั้นของบริษัท ปัจจัยเหล่านี้จะมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจในระยะยาวของบริษัท ปัจจัยเหล่านี้ ได้แก่ เศรษฐกิจ สังคมวัฒนธรรม เทคโนโลยี และการเมือง กฎหมาย

อ้างอิงจาก สมยศ นาวีการ. (2535). การบริหารเชิงกลยุทธ์และนโยบายทางธุรกิจ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์.บรรณกิจเทรดดิ้ง
*น.ส.วณิดา สามทอง รหัส 5210125401065 เอกการจัดการทั่วไป ปี 4 *

Be^Knicknac^ กล่าวว่า...

การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม : ภายใน
สภาพแวดล้อมแวดล้อมภายในประกอบไปด้วย ปัจจัย (จุดแข็งและจุดอ่อน) ที่อยู่ภายในบริษัทและไม่ได้อยู่ภายใต้การควบคุมระยะสั้นของผู้บริหารระดับสูง ปัจจัยเหล่านี้ได้แก่ โครงสร้าง วัฒนธรรม และทรัพยากรของบริษัท
- โครงสร้างของบริษัท (Corporate Structure) จะแสดงให้เห็นถึงการรวมกลุ่มงาน ความสัมพันธ์ทางอำนาจหน้าที่ การไหลเวียนของงาน และการติดต่อสื่อสารภายในบริษัท เรามักจะเรียกโครงสร้างบริษัทนี้ว่า “สายการบังคับบัญชา” โดยทั่วไปโครงสร้างบริษัทจะแสดงให้เห็นสภาพภายในแผนภูมิองค์การ
- วัฒนธรรมขององค์การ (Corporate Culture) จะหมายถึงความเชื่อ ความคาดหวัง และค่ายนิยมร่วมกันของบรรดาบุคคลภายในบริษัท โดยทั่วไปจะปรากฏขึ้นมาเป็นบรรทัดฐานที่ระบุพฤติกรรมที่ยอมรับกันของบุคคล ตั้งแต่ผู้บริหารระดับสูงลงมาจนถึงพนักงานระดับล่างสุด
- ทรัพยากรของบริษัท (Corporate Resources) จะหมายถึงทรัพย์สินทุกอย่างภายในการผลิตและการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของบริษัท ทรัพย์สินเหล่านี้ ได้แก่ คน เงินทุน วัตถุดิบ โรงงาน เทคโนโลยี และทักษะ เป็นต้น
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม : ภายนอก
สภาพแวดล้อมภายนอกประกอบด้วยปัจจัย (โอกาสและอุปสรรค) ที่อยู่ภายนอกบริษัทและไม่ได้อยู่ภายใต้กรควบคุมของผู้บริหารระดับสูง โดยทั่วไปสภาพแวดล้อมภายนอกจะมีอยู่สองส่วนคือ : สภาพแวดล้อมการดำเนินงานและสภาพแวดล้อมโดยทั่วไป
- สภาพแวดล้อมการดำเนินงาน (Task Environment) จะประกอบด้วยปัจจัยที่กระทบและถูกกระทบโดยตรงต่อการดำเนินงานของบริษัทปัจจัยเหล่านี้ ได้แก่ ผู้มีส่วนได้เสีย รัฐบาล ผู้จำหน่ายวัตถุดิบ ชุมชน คู่แข่งขัน ลูกค้า เจ้าหนี้ สหภาพแรงงาน สมาคมการค้า และกลุ่มผลประโยชน์ เรามักจะเรียกสภาพแวดล้อมการดำเนินงานของบริษัทว่าอุตสาหกรรม
- สภาพแวดล้อมโดยทั่วไป (General Environment) จะประกอบด้วยปัจจัยที่ไม่กระทบโดยตรงต่อการดำเนินงานระยะสั้นของบริษัท ปัจจัยเหล่านี้จะมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจในระยะยาวของบริษัท ปัจจัยเหล่านี้ ได้แก่ เศรษฐกิจ สังคมวัฒนธรรม เทคโนโลยี และการเมือง กฎหมาย

อ้างอิงจาก สมยศ นาวีการ. (2535). การบริหารเชิงกลยุทธ์และนโยบายทางธุรกิจ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์.บรรณกิจเทรดดิ้ง
*น.ส.วณิดา สามทอง รหัส 5210125401065 เอกการจัดการทั่วไป ปี 4 *

Be^Knicknac^ กล่าวว่า...

การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม : ภายใน
สภาพแวดล้อมแวดล้อมภายในประกอบไปด้วย ปัจจัย (จุดแข็งและจุดอ่อน) ที่อยู่ภายในบริษัทและไม่ได้อยู่ภายใต้การควบคุมระยะสั้นของผู้บริหารระดับสูง ปัจจัยเหล่านี้ได้แก่ โครงสร้าง วัฒนธรรม และทรัพยากรของบริษัท
- โครงสร้างของบริษัท (Corporate Structure) จะแสดงให้เห็นถึงการรวมกลุ่มงาน ความสัมพันธ์ทางอำนาจหน้าที่ การไหลเวียนของงาน และการติดต่อสื่อสารภายในบริษัท เรามักจะเรียกโครงสร้างบริษัทนี้ว่า “สายการบังคับบัญชา” โดยทั่วไปโครงสร้างบริษัทจะแสดงให้เห็นสภาพภายในแผนภูมิองค์การ
- วัฒนธรรมขององค์การ (Corporate Culture) จะหมายถึงความเชื่อ ความคาดหวัง และค่ายนิยมร่วมกันของบรรดาบุคคลภายในบริษัท โดยทั่วไปจะปรากฏขึ้นมาเป็นบรรทัดฐานที่ระบุพฤติกรรมที่ยอมรับกันของบุคคล ตั้งแต่ผู้บริหารระดับสูงลงมาจนถึงพนักงานระดับล่างสุด
- ทรัพยากรของบริษัท (Corporate Resources) จะหมายถึงทรัพย์สินทุกอย่างภายในการผลิตและการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของบริษัท ทรัพย์สินเหล่านี้ ได้แก่ คน เงินทุน วัตถุดิบ โรงงาน เทคโนโลยี และทักษะ เป็นต้น
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม : ภายนอก
สภาพแวดล้อมภายนอกประกอบด้วยปัจจัย (โอกาสและอุปสรรค) ที่อยู่ภายนอกบริษัทและไม่ได้อยู่ภายใต้กรควบคุมของผู้บริหารระดับสูง โดยทั่วไปสภาพแวดล้อมภายนอกจะมีอยู่สองส่วนคือ : สภาพแวดล้อมการดำเนินงานและสภาพแวดล้อมโดยทั่วไป
- สภาพแวดล้อมการดำเนินงาน (Task Environment) จะประกอบด้วยปัจจัยที่กระทบและถูกกระทบโดยตรงต่อการดำเนินงานของบริษัทปัจจัยเหล่านี้ ได้แก่ ผู้มีส่วนได้เสีย รัฐบาล ผู้จำหน่ายวัตถุดิบ ชุมชน คู่แข่งขัน ลูกค้า เจ้าหนี้ สหภาพแรงงาน สมาคมการค้า และกลุ่มผลประโยชน์ เรามักจะเรียกสภาพแวดล้อมการดำเนินงานของบริษัทว่าอุตสาหกรรม
- สภาพแวดล้อมโดยทั่วไป (General Environment) จะประกอบด้วยปัจจัยที่ไม่กระทบโดยตรงต่อการดำเนินงานระยะสั้นของบริษัท ปัจจัยเหล่านี้จะมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจในระยะยาวของบริษัท ปัจจัยเหล่านี้ ได้แก่ เศรษฐกิจ สังคมวัฒนธรรม เทคโนโลยี และการเมือง กฎหมาย

อ้างอิงจาก สมยศ นาวีการ. (2535). การบริหารเชิงกลยุทธ์และนโยบายทางธุรกิจ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์.บรรณกิจเทรดดิ้ง
*น.ส.วณิดา สามทอง รหัส 5210125401065 เอกการจัดการทั่วไป ปี 4 *

Be^Knicknac^ กล่าวว่า...

การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม : ภายใน
สภาพแวดล้อมแวดล้อมภายในประกอบไปด้วย ปัจจัย (จุดแข็งและจุดอ่อน) ที่อยู่ภายในบริษัทและไม่ได้อยู่ภายใต้การควบคุมระยะสั้นของผู้บริหารระดับสูง ปัจจัยเหล่านี้ได้แก่ โครงสร้าง วัฒนธรรม และทรัพยากรของบริษัท
- โครงสร้างของบริษัท (Corporate Structure) จะแสดงให้เห็นถึงการรวมกลุ่มงาน ความสัมพันธ์ทางอำนาจหน้าที่ การไหลเวียนของงาน และการติดต่อสื่อสารภายในบริษัท เรามักจะเรียกโครงสร้างบริษัทนี้ว่า “สายการบังคับบัญชา” โดยทั่วไปโครงสร้างบริษัทจะแสดงให้เห็นสภาพภายในแผนภูมิองค์การ
- วัฒนธรรมขององค์การ (Corporate Culture) จะหมายถึงความเชื่อ ความคาดหวัง และค่ายนิยมร่วมกันของบรรดาบุคคลภายในบริษัท โดยทั่วไปจะปรากฏขึ้นมาเป็นบรรทัดฐานที่ระบุพฤติกรรมที่ยอมรับกันของบุคคล ตั้งแต่ผู้บริหารระดับสูงลงมาจนถึงพนักงานระดับล่างสุด
- ทรัพยากรของบริษัท (Corporate Resources) จะหมายถึงทรัพย์สินทุกอย่างภายในการผลิตและการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของบริษัท ทรัพย์สินเหล่านี้ ได้แก่ คน เงินทุน วัตถุดิบ โรงงาน เทคโนโลยี และทักษะ เป็นต้น
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม : ภายนอก
สภาพแวดล้อมภายนอกประกอบด้วยปัจจัย (โอกาสและอุปสรรค) ที่อยู่ภายนอกบริษัทและไม่ได้อยู่ภายใต้กรควบคุมของผู้บริหารระดับสูง โดยทั่วไปสภาพแวดล้อมภายนอกจะมีอยู่สองส่วนคือ : สภาพแวดล้อมการดำเนินงานและสภาพแวดล้อมโดยทั่วไป
- สภาพแวดล้อมการดำเนินงาน (Task Environment) จะประกอบด้วยปัจจัยที่กระทบและถูกกระทบโดยตรงต่อการดำเนินงานของบริษัทปัจจัยเหล่านี้ ได้แก่ ผู้มีส่วนได้เสีย รัฐบาล ผู้จำหน่ายวัตถุดิบ ชุมชน คู่แข่งขัน ลูกค้า เจ้าหนี้ สหภาพแรงงาน สมาคมการค้า และกลุ่มผลประโยชน์ เรามักจะเรียกสภาพแวดล้อมการดำเนินงานของบริษัทว่าอุตสาหกรรม
- สภาพแวดล้อมโดยทั่วไป (General Environment) จะประกอบด้วยปัจจัยที่ไม่กระทบโดยตรงต่อการดำเนินงานระยะสั้นของบริษัท ปัจจัยเหล่านี้จะมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจในระยะยาวของบริษัท ปัจจัยเหล่านี้ ได้แก่ เศรษฐกิจ สังคมวัฒนธรรม เทคโนโลยี และการเมือง กฎหมาย

อ้างอิงจาก สมยศ นาวีการ. (2535). การบริหารเชิงกลยุทธ์และนโยบายทางธุรกิจ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์.บรรณกิจเทรดดิ้ง
*น.ส.วณิดา สามทอง รหัส 5210125401065 เอกการจัดการทั่วไป ปี 4 *

Be^Knicknac^ กล่าวว่า...

การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม : ภายใน
สภาพแวดล้อมแวดล้อมภายในประกอบไปด้วย ปัจจัย (จุดแข็งและจุดอ่อน) ที่อยู่ภายในบริษัทและไม่ได้อยู่ภายใต้การควบคุมระยะสั้นของผู้บริหารระดับสูง ปัจจัยเหล่านี้ได้แก่ โครงสร้าง วัฒนธรรม และทรัพยากรของบริษัท
- โครงสร้างของบริษัท (Corporate Structure) จะแสดงให้เห็นถึงการรวมกลุ่มงาน ความสัมพันธ์ทางอำนาจหน้าที่ การไหลเวียนของงาน และการติดต่อสื่อสารภายในบริษัท เรามักจะเรียกโครงสร้างบริษัทนี้ว่า “สายการบังคับบัญชา” โดยทั่วไปโครงสร้างบริษัทจะแสดงให้เห็นสภาพภายในแผนภูมิองค์การ
- วัฒนธรรมขององค์การ (Corporate Culture) จะหมายถึงความเชื่อ ความคาดหวัง และค่ายนิยมร่วมกันของบรรดาบุคคลภายในบริษัท โดยทั่วไปจะปรากฏขึ้นมาเป็นบรรทัดฐานที่ระบุพฤติกรรมที่ยอมรับกันของบุคคล ตั้งแต่ผู้บริหารระดับสูงลงมาจนถึงพนักงานระดับล่างสุด
- ทรัพยากรของบริษัท (Corporate Resources) จะหมายถึงทรัพย์สินทุกอย่างภายในการผลิตและการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของบริษัท ทรัพย์สินเหล่านี้ ได้แก่ คน เงินทุน วัตถุดิบ โรงงาน เทคโนโลยี และทักษะ เป็นต้น
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม : ภายนอก
สภาพแวดล้อมภายนอกประกอบด้วยปัจจัย (โอกาสและอุปสรรค) ที่อยู่ภายนอกบริษัทและไม่ได้อยู่ภายใต้กรควบคุมของผู้บริหารระดับสูง โดยทั่วไปสภาพแวดล้อมภายนอกจะมีอยู่สองส่วนคือ : สภาพแวดล้อมการดำเนินงานและสภาพแวดล้อมโดยทั่วไป
- สภาพแวดล้อมการดำเนินงาน (Task Environment) จะประกอบด้วยปัจจัยที่กระทบและถูกกระทบโดยตรงต่อการดำเนินงานของบริษัทปัจจัยเหล่านี้ ได้แก่ ผู้มีส่วนได้เสีย รัฐบาล ผู้จำหน่ายวัตถุดิบ ชุมชน คู่แข่งขัน ลูกค้า เจ้าหนี้ สหภาพแรงงาน สมาคมการค้า และกลุ่มผลประโยชน์ เรามักจะเรียกสภาพแวดล้อมการดำเนินงานของบริษัทว่าอุตสาหกรรม
- สภาพแวดล้อมโดยทั่วไป (General Environment) จะประกอบด้วยปัจจัยที่ไม่กระทบโดยตรงต่อการดำเนินงานระยะสั้นของบริษัท ปัจจัยเหล่านี้จะมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจในระยะยาวของบริษัท ปัจจัยเหล่านี้ ได้แก่ เศรษฐกิจ สังคมวัฒนธรรม เทคโนโลยี และการเมือง กฎหมาย

อ้างอิงจาก สมยศ นาวีการ. (2535). การบริหารเชิงกลยุทธ์และนโยบายทางธุรกิจ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์.บรรณกิจเทรดดิ้ง
*น.ส.วณิดา สามทอง รหัส 5210125401065 เอกการจัดการทั่วไป ปี 4 *

wa กล่าวว่า...

สภาพแวดล้อมอุตสาหกรรม
การคุกคามจากคู่แข่งขันที่จะเข้ามาใหม่
ก่อนที่คู่แข่งขันรายใหม่จะเข้ามาในตลาด อย่างน้อยกิจการนั้นๆ ต้องมีความมุ่งมั่นที่จะช่วงชิงส่วนแบ่งตลาดและต้องมั่นในว่ากิจการของตนมีความแตกต่างจากกิจการที่มีอยู่เดิม ซึ่งความแตกต่างนี้อาจเกิดจากเทคโนดลยีที่เหนือกว่า ชื่อเสียงผลิตภัณฑ์ดีกว่า ราคาต่ำกว่า เงินทุนที่มากกว่าหรือแม้กระทั้งอาศัยช่องว่างของตลาดและอื่นๆ ดังนั้นคู่แข่งขันรายใหม่จึงถือเป็นภัยคุกคามที่น่ากลัว ซึ่งในอุตสาหกรรมที่มีช่องว่างให้คู่แข่งขันรายใหม่เข้ามามีมากเพียงใดสภาพแวดล้อมการแข่งขันจะยิ่งเข้มข้นมากขึ้นตามละดับและในที่สุดจะส่งผลต่อระดับกำไรของกิจการที่มีอยู่เดิม
การคุกคามจากคู่แข่งขันที่จะเข้ามาใหม่ในธุรกิจแต่ละประเภทจะมีความแตกต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยที่สำคัญ 2 ประการคือ
1. อุปสรรคที่สกัดกั้นผู้ที่จะเข้ามาใหม่ ซึ่งมีทั้งในด้านต้นทุน ภาพลักษณ์ ความภักดีและต้นทุนการเปลี่ยนแปลงผลิตภัณฑ์ของลูกค้า เงินทุน ช่องทางการจัดจำหน่าย นโยบาย กฎหมาย ระเบียบและกฎเกณฑ์ของรัฐ
2. การคาดคะเนปฏิกิริยาการตอบโต้ของกิจการที่มีอยู่เดิม นอกจากกิจการรายใหม่จะต้องประเมินอุปสรรคกีดกั้นในการเข้าตลาดของตนแล้ว ผู้ที่จะเข้ามาใหม่จะต้องประเมินปฏิกิริยาการตอบโต้ของกิจการที่มีอยู่เดิมว่าจะมีมากน้อยเพียงใด เพราะถ้าแรงตอบโต้สูงย่อมก่อให้เกิดสงครามการแข่งขันและอาจลุกลามไปถึง “สงครามราคา” ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อผู้เข้ามาใหม่และอุตสาหกรรมโดยส่วนรวม
อ้างอิง อำนาจ ธีระวนิช. (2549). ผู้ประกอบการ. กรุงเทพฯ

นางสาววัชรี ทองห่อ รหัส5210125401052 เอกการจัดการทั่วไป ปี 4

matavi_01 กล่าวว่า...

นายเมธาวี จันทร์อำรุง รหัส 5210125401054
การจัดการทั่วไป
การวิเคราะห์ (Analysis)
จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส อุปสรรค
ปัจจัยภายใน :จุดแข็ง (Strength) + จุดอ่อน (Weakness)
ปัจจัยภายนอก :โอกาส (Opportunities) + ภัยคุกคาม (Threat)
การวิเคราะห์สถานการณ์
มีประเด็นที่ประกอบด้วย จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และภัยคุกคาม (SWOT = Strength, Weakness, Opportunity และ Threat) คือ การสำรวจตรวจสอบสภาพภายในองค์การและสภาพแวดล้อมภายนอก เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการวางแผน เพื่อให้แผนนั้นได้ใช้ประโยชน์จากสิ่งที่มีอยู่และแก้ปัญหาที่ไม่พึงประสงค์ โดยอาศัยทั้งปัจจัยจากภายในและภายนอกมาเป็นฐานคิดสำหรับกำหนดแผนงานโครงการ
ปัจจัยภายใน ประกอบด้วย จุดแข็ง (Strength) และจุดอ่อน (Weakness)
จุดแข็ง หมายถึง สิ่งที่มีอยู่เองแล้วโดยพิจารณาจากความสำเร็จในมิติต่าง ๆ เช่น ทำเลที่ตั้ง ฐานะทางการเงิน ความสามารถของบุคลากร ความเป็นทีม คุณภาพบริการ ประเพณีวัฒนธรรม แหล่งท่องเที่ยว เป็นต้น
จุดอ่อน หมายถึง สิ่งที่มีอยู่เองแล้วโดยพิจารณาจากปัญหาหรืออุปสรรคในมิติต่าง ๆ เช่น ระเบียบกฎเกณฑ์ ขั้นตอนที่ซับซ้อน การเริ่มต้นใหม่ ความหลากหลายของคน เป็นต้น
ปัจจัยภายนอก ประกอบด้วย โอกาส (Opportunity) และภัยคุกคาม (Threat)
โอกาส หมายถึง สิ่งที่อยู่ภายนอกโดยพิจารณาถึงความเป็นประโยชน์หรือสนับสนุนเป้าหมายของชุมชน เช่น การเมือง การรวมการปกครอง กฎหมาย ราคาน้ำมัน ค่าเงินบาท คู่แข่ง เป็นต้น
ภัยคุกคาม หมายถึง สิ่งที่อยู่ภายนอกโดยพิจารณาว่าเป็นอุปสรรคต่อเป้าหมายของชุมชน เช่น การเมือง การรวมการปกครอง กฎหมาย ราคาน้ำมัน ค่าเงินบาท คู่แข่ง เป็นต้น

เทคโนโลยี
การใช้อุปกรณ์ร่วมกัน (Sharing of peripheral devices) เครือข่ายคอมพิวเตอร์ทำให้ผู้ใช้ สามารถใช้อุปกรณ์ รอบข้างที่ต่อพ่วงกับระบบคอมพิวเตอร์ ร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่นเครื่องพิมพ์ ดิสก์ไดร์ฟ ซีดีรอม สแกนเนอร์ โมเด็ม เป็นต้น ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่าย ไม่ต้องซื้ออุปกรณ์ที่มีราคาแพง เชื่อมต่อพ่วงให้กับคอมพิวเตอร์ทุกเครื่อง

การใช้โปรแกรมและข้อมูลร่วมกัน (Sharing of program and data) เครือข่ายคอมพิวเตอร์ ทำให้ผู้ใช้สามารถใช้โปรแกรม และข้อมูลร่วมกันได้ โดยจัดเก็บโปรแกรมไว้แหล่งเก็บข้อมูล ที่เป็นศูนย์กลาง เช่น ที่ฮาร์ดดิสก์ของเครื่อง File Server ผู้ใช้สามารถใช้โปรแกรมร่วมกัน ได้จากแหล่งเดียวกัน ไม่ต้องเก็บโปรแกรมไว้ในแต่ละเครื่อง ให้ซ้ำซ้อนกัน นอกจากนั้นยังสามารถรวบรวม ข้อมูลต่าง ๆ จัดเก็บเป็นฐานข้อมูล ผู้ใช้สามารถใช้สารสนเทศ จากฐานข้อมูลกลาง ผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร ์ที่ใช้งานได้อย่างสะดวกสบาย โดยไม่ต้องเดินทางไปสำเนาข้อมูลด้วยตนเอง เพราะใช้การเรียกใช้ข้อมูล ผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์นั่นเอง

สามารถติดต่อสื่อสารระยะไกลได้ (Telecommunication) การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ เป็นเครือข่าย ทั้งประเภทเครือข่าย LAN , MAN และ WAN ทำให้คอมพิวเตอร์ สามารถสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูล ระยะไกลได ้โดยใช้ซอฟต์แวร์ประยุกต์ ทางด้านการติดต่อสื่อสาร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต มีการให้บริการต่าง ๆ มากมาย เช่น การโอนย้ายไฟล์ข้อมูล การใช้จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail) การสืบค้นข้อมูล (Serach Engine) เป็นต้น

สามารถประยุกต์ใช้ในงานด้านธุรกิจได้ (ฺBusiness Applicability) องค์กรธุรกิจ มีการเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เพื่อประโยชน์ทางธุรกิจ เช่น เครือข่ายของธุรกิจธนาคาร ธุรกิจการบิน ธุรกิจประกันภัย ธุรกิจการท่องเที่ยว ธุรกิจหลักทรัพย์ สามารถดำเนินธุรกิจ ได้อย่างรวดเร็ว ตอบสนองความพึงพอใจ ให้แก่ลูกค้าในปัจจุบัน เริ่มมีการใช้ประโยชน์จากเครือข่าย Internet เพื่อทำธุรกิจกันแล้ว เช่นการสั่งซื้อสินค้า การจ่ายเงินผ่านระบบธนาคาร เป็นต้น

อ้างอิง : ทฤษฎีองค์การ Organization Theory ฉบับมาตรฐาน
ผู้เขียน ศิริวรรณ เสรีรัตน์, รศ., สมศักดิ์ วานิชยาภรณ์, สมชาย หิรัญกิตติ, รศ.
สำนักพิมพ์ : Diamond In Business World
เดือนปีที่พิมพ์ : 2545

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

น.ส.สายชน นาคปานเสือ 5210125401005 การจัดการทั่วไป
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในและภายนอก
การวิเคราะห์ SWOT ANALYSIS นั้น จะต้องวิเคราะห์อยู่บนพื้นฐาน 2 อย่าง คือ
1. BALK GROUD ของตัวผู้ประกอบการเอง
ว่ามีประสบการณ์อย่างไร มีจุดแข็งอย่างไรในตัวของคุณเอง
เช่น มีจุดเด่น ที่พูดคุย เป็นมิตรกับทุกคน
หรือชอบทำงาน GRAPHIC ได้ดี และเด่นกว่าคนอื่น
หรือ บุคคลิกดีสวยสะดุดตากว่าคนอื่น เป็นต้น
2. จุดเด่นจุดด้อยอันเกิดจากลักษณะของธุรกิจเอง โดยผมจะวิเคราะห์ ให้ดูอีกสักหนึ่ง CASE เพิ่ม เป็นกรณีศึกษา
การวิเคราะห์สถานการณ์ (SWOT ANALYSIS)
ตัวอย่างธุรกิจร้านงานด่วนในห้างสรรพสินค้า
จุดเด่น จุดแข็ง
1. เป็นธุกิจที่ลงทุนไม่มากคืนทุนได้เร็ว
2. กำไร 300-1500% นับว่าสูงมาก
3. เรียนรู้ได้ง่ายไม่ซับซ้อนจนเกินไป
แต่ผู้ประกอบการจะต้องชอบการทำงานกับคอมพิวเตอร์ ประเภทกราฟฟิก
4. จุดเด่นหลัก คือ ความเร็ว ลูกค้าสามารถรอรับได้เลย
5. ห้างสรรพสินค้ามีคนเดินมาก โอกาศได้งานมีสูง
6. เครื่องหนึ่งอย่างสามารถรับงานได้หลายประเภท
ทำให้เกิดงาน ประยุกต์ หลากหลายขึ้น โดยลงทุนเท่าเดิม
7. มีโปรแกรมลิขสิทธิ์ให้ใช้ควบคู่กับเครือของเรา
จุดอ่อน
1. ปัจจุบันมีความจริงจังเรื่องโปรแกรม ลิขสิทธ์มากขึ้น การใช้โปแกรมดีๆ
แต่ไม่ถูกต้องตามลิขสิทธ์ บางครั้งอาจเกิดปัญหาการถูกจับละเมิดได้
เช่น CORELDORAW, PHOTOSHOP,WINDOW
และโปรแกรมแท้ยังมีราคาสูงอยู่
2. เปิดร้านเริ่มต้นยังไม่มีลูกค้าประจำ จะต้องใช้กลยุทธมากขึ้น
เช่น วิธีการโปรโมทร้านค้า,เว็บบอร์ด,โปรเตอร์ในลิฟท์,ใบปลิว เป็นต้น
รอ 3-6 เดือน จะเริ่มมีลูกค้าประจำ
ในช่วงเริ่มต้นต้องคิดหาวิธี ทำการตลาดเชิงรุก เข้าไปด้วย
3. ค่าเช่าสูง และต้องมีค่ามัดจำด้วย ทำให้ลงทุนมากขึ้น
แก้ไขด้วยการ พูดคุยต่อรอง กับฝ่ายขายพื้นที่ หรือขอผ่อนผัน
โอกาส
1. ไม่มีร้านค้าประเภทเดียวกันในห้างที่คุณจะตั้งอยู่ ร้านค้าคู่แข่งอยู่นอกห้าง
ซึ่ง พฤติกรรมของคนในจังหวัดที่คุณอยู่นั้น คนชอบเดินเล่นในห้าง
2. ร้านค้าคู่แข่ง ไม่ได้บริหารงานด้วยตัวเจ้าของร้านเอง ร้านเก่า ทรุดโทรม
ขาดความน่าเชื่อถือ จุดนี้ เราสามารถ แข่งขันได้ อย่างแน่นอน เป็นต้น
3. ราคาขายของร้านคู่แข่งสูงมาก และเจ้าของร้านไม่ค่อยรับแขก
เพราะเปิดมานานแล้ว คิดว่ามีลูกค้าประจำ แต่ลูกค้าอาจหลุดมาร้านเราก็ได้
4. เราใช้เทคโนโลยีล่าสุดทำให้ง่ายต่อการแบ่งปัน คุณภาพดีกว่าแน่นอน
และต้นทุนก็น่าจะต่ำกว่าด้วยเช่นกัน
อุปสรรค์
1. เป็นธุรกิจที่ลงทุนไม่มาก อาจมีคู่แข่งเกิดขึ้นภายหลังได้
ดังนั้นจึงต้องคิดให้ แตกต่างอยู่เสมอ
2. พื้นที่เช่าในห้างมีการแข่งขันสูง ทำให้หาพื้นที่สวยๆยากขึ้น
หรือ อาจได้ในราคาสูงเกินไป

ขอขอบคุณ
ที่มาจากเว็บ http://mdit.pbru.ac.th/sme/index.htm

mean กล่าวว่า...

น.ส ปวราพร หาญบุญศรี รหัส 227 เอกการจัดการทั่วไป รุ่น 19

แนวความคิดการจัดการตามแนวมนุษย์สัมพันธ์ (Human Relation)

เจ้าของแนวความคิดหรือทฤษฎี ได้แก่ Elton Mayo นักจิตวิทยาชาวสหรัฐอเมริกาเรียกว่าวิจัยที่เป็นผลงานเป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดีว่า "Hawthorne study" หรือ "Hawthorne experiment" ซึ่งจากการศึกษาของ Mayo สรุปได้โดยธรรมชาติของมนุษย์จะมีพฤติกรรม 2 แบบคือ

1. พฤติกรรมที่เป็นไปตามเหตุผล
2. พฤติกรรมที่เป็นไปตามอารมณ์ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่เกิดขึ้นอย่างไม่มีเหตุผล

ดังนั้น ในการที่ให้ปัจจัยผลตอบแทนหรือค่าจ้างสูง เพื่อให้คนงานเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานสูงซึ่งถือว่าเป็นพฤติกรรมที่เป็นไปตามเหตุผลอาจจะเป็นความเข้าในที่ไม่ถูกต้องทั้งหมดเนื่องมาจากมนุษย์ไม่ใช่เครื่องจักรมนุษย์มีจิตใจและความรู้สึก มีความแปรปรวนทางด้านอารมณ์ ดังนั้น ปัจจัยจูงใจที่เป็นตัวเงินเพียงอย่างเดียวนั้นไม่เพียงพอต่อการใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน หรือเพิ่มผลผลิต ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่เป็นปัจจัยที่ใช้ตอนสนองเรื่องราวทางด้านจิตใจ และความสัมพันธ์ทางสังคมระหว่างกัน

นอกจากนี้ Mayo ยังได้ศึกษาในลำดับต่อมาเกี่ยวกับเรื่อง ลักษณะของผู้นำ (leadership) การพัฒนาพนักงาน (employee development) และการติดต่อสื่อสาร (communication)

แนวความคิดการจัดการแบบพฤติกรรมศาสตร์ (Behavior Approach)

จากการค้นพบแนวความคิดเกี่ยวกับมนุษย์สัมพันธ์ จึงทำให้มีการตื่นตัว และมีการศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับมนุษย์เพิ่มมากขึ้น โดยได้มีนักวิชาการหลาย ๆ ท่านในยุคนี้ได้ทำการศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับมนุษย์เพิ่มมากขึ้น โดยได้มีนักวิชาการหลาย ๆ ท่านในยุคนี้ได้ทำการศึกษา และกำหนดเป็นทฤษฎีต่าง ๆ เช่น
- Abraham Maslow ได้ศึกษาทฤษฎีความต้องการ
- Frederick Herzberg ได้ศึกษารูปแบบการจูงใจ
- Ralph M. Stogdill ได้ศึกษาผู้นำในองค์การ
- Kurt Lewin และเพื่อน ได้ศึกษาเรื่องการเคลื่อนไหวของกลุ่ม
- Chester Barnard ได้ศึกษาทฤษฎีอำนาจหน้าที่ที่เกิดจากการยอมรับ

และยังมีนักวิชาการใหม่ ๆ อีกหลายท่าน ที่ได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับมนุษย์อย่างลึกซึ้งในแง่มุมต่าง ๆ เช่น Chris Argyris, Rensis Likert, David C. McClelland เป็นต้น

กล่าวโดยสรุป การจัดการตามทฤษฎี Human Relation ได้มุ่งเน้นถึงความสำคัญของคน และ มีความเข้าใจเกี่ยวกับธรรมชาติที่แท้จริงของมนุษย์ ซึงเป็นการที่จะเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานและเพิ่มผลผลิตให้สูงขึ้นนั้น ปัจจัยที่เป็นตัวเงินนั้นยังไม่เพียงพอ แนวความคิดในยุคนี้จะมุ่งเน้นโดยให้ความสำคัญไปที่คน มากว่างาน ถือว่าคน เป็นหัวใจของการบริการที่จะต้องคำนึกถึงเป็นอันดับแรก จะต้องพยายามปรับวิธีการทำงานที่ให้คนพึงพอใจมีอิสระที่จะคิดริเริ่มเพื่อสร้างสรรค์ในทางต่าง ๆ

เปรียบเทียบแนวคิดการจัดการแบบวิทยาศาสตร์ กับ การจัดการตามแนวมนุษย์สัมพันธ์

กล่าวโดยสรุป การจัดการที่มีหลักเกณฑ์ (scientific management) เป็นแนวความคิดที่เป็นจุดเริ่มต้นของการศึกษาอย่างจริงจังเกี่ยวกับวิชาการจัดการ โดยมีการใช้หลักของการคำนวณเข้ามาเกี่ยวข้องเพื่อหาวิธีการที่ดีที่สุด แต่แนวความคิด scientific management มีจุดอ่อนที่ไม่สามารถนำไปใช้ได้ในองค์การโดยทั่วไป ดังนั้น แนวความคิดการจัดการตามหลักการจัดการทั่วไป หรือ general priciple of management จึงมีการพัฒนาให้เกิดขึ้น เป็นหลักการจัดการที่เป็นสากลสามารถนำไปประยุกต์ และปรับใช้กับองค์การได้โดยทั่วไป ซึ่งแนวความคิดที่เกิดขึ้นในยุคแรกนี้เป็นแนวความคิดที่มุ่งเพิ่มผลผลิตและวิธีการที่ดีที่สุดที่จะเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานโดยให้ความสำคัญกับงาน และมองเห็นคน เป็นปัจจัยในการผลิตที่จะต้องปรับตัวให้เข้ากับงานโดยให้ความสำคัญกับงาน และมองเป็นคน เปํนปัจจัยในการผลิตที่จะต้องปรับตัวให้เข้ากับงานหรือวิธีการที่ได้กำหนดไว้ โดยใช้ปัจจัยจูงใจคือ เงิน เป็นสิ่งที่ใช้จูงใจคนให้เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน

อ้างอิง : มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น. 2547. วิวัฒนาการของแนวคิดทางการจัดการ. [Online]./Available: URL:http://www.fareastern.ac.th/acad/mk/sirinapha/management/chapter3.htm

Unknown กล่าวว่า...

นางสาวสุนทรี ยิ่งประเสริฐ 5210125401045 การจัดการทั่วไป

การวิเคราะห์ SWOT (SWOT Analysis)

การประเมิน ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมภายนอกองค์กร เพื่อทำให้ทราบถึง โอกาส และ อุปสรรค และ
การประเมิน ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมภายในองค์กร เพื่อทำให้ทราบถึง จุดแข็ง และ จุดอ่อน ภายในองค์กร

S = Strength ( จุดแข็ง)

หมายถึง การดำเนินงานภายในองค์กรที่สามารถกระทำได้ดี องค์กรจะต้องวิเคราะห์ การดำเนินงานภายใน เช่น การบริหาร การเงิน การตลาด การผลิต และ การวิจัยพัฒนา เพื่อพิจาณาเป็นระยะ องค์กรที่บรรลุความสำเร็จจะกำหนดกลยุทธ์ขององค์กร โดยใช้ประโยชน์จาก จุดแข็ง ของการดำเนินงานภายในเสมอ

W= Weakness (จุดอ่อน)

หมายถึง การดำเนินงานภายในองค์กรที่ทำได้ไม่ดี อาจเป็นเพราะการขาดแคลนทรัพยากรในองค์กรที่จะส่งเสริมให้การดำเนินงานลุล่วงด้วยดี ได้แก่ การบริหาร การเงิน การตลาด การผลิต การวิจัยพัฒนา ซึ่งเป็นข้อด้อยขององค์กร ที่ทำให้ไม่ประสบความสำเร็จ องค์กรจะต้องกำหนดกลยุทธ์ที่สามารถลบล้าง หรือ ปรับปรุง จุดอ่อน การดำเนินงานภายในเหล่านี้ให้ดีขึ้น

O = Opportunity (โอกาส)

หมายถึง สภาพแวดล้อมภายนอก ที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินงานขององค์กร องค์กรต้องคาดคะเนการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม เช่น เศรษฐกิจ การเมือง สังคม เทคโนโลยี และ การแข่งขัน อยู่เป็นระยะ เพื่อการแสวงหาประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมภายนอก ซึ่งความเปลี่ยนแปลงอาจส่งผลถึงความต้องการของผู้บริโภค ทัศนคติของพนักงาน ทำให้ต้องมีการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ไปตามความเปลี่ยนแปลงด้วย

T = Threats (อุปสรรค)

หมายถึง สภาพแวดล้อมภายนอกที่คุกคามต่อการดำเนินงานขององค์กร สภาพแวดล้อมภายนอกเหล่านี้ได้แก่ เศรษฐกิจ การเมือง สังคม เทคโนโลยี และ การแข่งขัน เป็นต้น ซึ่งส่งผลลบต่อการดำเนินงานขององค์กร เช่น ทำให้ความต้องการของผู้บริโภคลดลง ทัศนคติของพนักงานแย่ลง ทำให้ต้องมีการปรับกลยุทธ์เพื่อขจัด หลีกเลี่ยง สภาพแวดล้อมที่ส่งผลลบต่อองค์กร

Unknown กล่าวว่า...

นางสาว มณีรัตน์ ศรีสง่า รหัส 044 สาขา การจัดการทั่วไป

การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก

องค์ประกอบในลักษณะรูปธรรมและนามธรรมที่สามารถเอื้อประโยชน์ต่อการปฏิบัติงาน ซึ่งปัจจัยที่เป็น
เชิงบวก เรียกว่า "โอกาส" (Opportunities) และปัจจัยที่เป็นเชิงลบ จะเรียกว่า "อุปสรรค" (Threats)
สำหรับแนวทางการวิเคราะห์ มีดังนี้
1. การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกทั่วไป
- ด้านนโยบายรัฐและการเมือง
เป็นปัจจัยหนึ่งที่เป็นโอกาสเอื้อให้การดำเนินงานของสำนักงานสหกรณ์จังหวัด เป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ
โดยมีกฎหมายหลายฉบับที่เกี่ยวข้อง
- 2) ด้านเศรษฐกิจ (Economic Component = E) ในภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวทั่วโลกและเกิดปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจ
ในปัจจุบันมีผลกระทบต่อการดำเนินงานของสำนักงานสหกรณ์จังหวัด ในเรื่องของงบประมาณ
และการดำเนินงานของสหกรณ์ / กลุ่มเกษตรกร ตลอดจนกลุ่มในลักษณะอื่นที่เกี่ยวข้อง
3) ด้านสังคมและวัฒนธรรม (Sociocultural Component = S) จากการเปลี่ยนแปลงของโลกในปัจจุบัน จึงจำเป็นต้องหาทางปรับเปลี่ยนสังคมไทย ซึ่งมีทั้ง จุดเด่นและจุดด้อย
จุดเด่นที่มีประโยชน์ เช่น การมีสถาบันครอบครัวที่ดี การมีภูมิปัญญาท้องถิ่นและวัฒนธรรม
การมีทัศนคติที่ดีในการทำงาน ฯลฯ หากนำมาปรับเปลี่ยนไปสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ (Knowledge base society)
ให้มีความมั่นคงแข็งแรง โดยการใช้จุดเด่นของสังคมที่มีอยู่
- ด้านเทคโนโลยี (Technology Component = T) ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี
และการสื่อสารได้พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งเป็นโอกาสของกรม
โดยเฉพาะการส่งเสริมให้มีการนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศภาครัฐมาใช้
ในขณะเดียวกันการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วทำให้เป็นอุปสรรคในส่วนที่ไม่สามารถปรับตัวหรือเปลี่ยนแปลงได้ทั
นเวลา สหกรณ์ / กลุ่มเกษตรกร
ส่วนใหญ่ยังไม่มีการใช้ระบบอินเตอร์เน็ตเป็นเครือข่ายในการติดต่อข่าวสารและการดำเนินธุรกิจ

Unknown กล่าวว่า...

น.ส.นิตยา จันทร์แก้ว รหัส046 การจัดการทั่วไป ปี4

สภาพแวดล้อมภายนอกของธุรกิจได้ดังนี้


1.สภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับงาน (Task Environment) จะเป็นสภาพแวดล้อมในด้านต่าง ๆ ที่

ส่งผลต่อการดำเนินงานของธุรกิจโดยตรงในการบรรลุเป้าหมาย สภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับงาน ได้แก่ คู่

แข่งขันผู้จำหน่ายปัจจัยการตลาดแรงงาน ผู้ใช้สินค้าและบริการลูกค้าเป็นต้น



2.สภาพแวดล้อมทั่วไป (GeneralEnvironment) จัดเป็นสภาพแวดล้อมที่ส่งผลกระทบต่อการ


ดำเนินการของธุรกิจในทางอ้อม (Indirectly Interactive Forces) แม้ว่าจะเป็นสภาพแวดล้อมที่ไม่ได้ส่งผลกระทบ

โดยตรงแต่สภาพแวดล้อมในแต่ละด้านดังกล่าวก็จะส่ง ผลต่อธุรกิจ สภาพแวดล้อมโดยทั่วไปได้แก่ เศรษฐกิจ


รัฐบาล วัฒนธรรมสังคม เทคโนโลยี เป็นต้น

2.2.1 เศรษฐกิจ (Economic) ปัจจัยทางเศรษฐกิจ มีความสาคัญต่อการประกอบธุรกิจเป็นอย่างยิ่ง หาก
สภาพเศรษฐกิจดี ก็จะเอื้ออำนวยต่อการประกอบธุรกิจ ให้ประสบความสาเร็จ ในทางตรงกันข้าม ถ้าสภาพ
เศรษฐกิจมีแนวโน้มถดถอยหรือตกตำ เงื่อนไขทางเศรษฐกิจมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา และยากที่จะพยากรณ์
ซึ่งมีผลทำให้การประกอบธุรกิจหยุดชะงัก ล้มเหลวหรืออาจจะต้องเลิกกิจการได้

2.2.2 เทคโนโลยี (Technology) การเปลี่ยนแปลงและความก้าวหน้าของเทคโนโลยีมีผลกระทบต่อการ
ดำเนินธุรกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เนต มีความสาคัญต่อองค์การธุรกิจมาก โดยมีการ
นำเอาปัจจัยทางเทคโนโลยีมาพิจารณาเพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน เพื่อช่วยให้ธุรกิจมีเทคนิคและ
ระบบการผลิตที่ทันสมัยขึ้น สามารถลดต้นทุนการผลิตลงและเพิ่มกำลังผลิต ช่วยให้สามารถจัดการ และมีการติดต่อสื่อสารที่รวดเร็วยิ่งขึ้นช่วยให้ธุรกิจสามารถผลิตสินค้าใหม่ๆ ทำให้สามารถตอบสนองความต้องการของ
ลูกค้าได้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น นอกจากนี้ปัจจัยระหว่างประเทศก็ส่งผลกระทบโดยตรงต่อหลายธุรกิจและเริ่มมี
ความสาคัญมากขึ้นในปัจจุบัน
ติดต่อสื่ อสารที่รวดเร็ วยิ่งขึ้นช่วยให้ธุรกิจสามารถผลิตสิ นค้าใหม่ๆ ทาให้สามารถตอบสนองความต้องการของ
ลูกค้าได้มีประสิ ทธิ ภาพยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ปั จจัยระหว่างประเทศก็ส่งผลกระทบโดยตรงต่อหลายธุ รกิจและเริ่มมีความสาคัญมากขึ้นในปัจจุบนี้
2.2.3 การเมื อ งและกฎหมาย (Political Law) ได้แ ก่ การเมื อ ง กฎข้อ บัง คับ นโยบายของรั ฐ บาลแนวโน้มการออกกฎหมายและพระราชบัญญัติต่างๆ ได้แก่ กฎหมายภาษีอากร พระราชบัญญัติค่าแรงขั้นต่ าพระราชบัญญัติการโฆษณา พระราชบัญญัติโรงงาน และพระราชบัญญัติคุมครองผูบริ โภค เป็ นต้น ซึ่ งการเปลี่ ยนแปลงดังกล่าว จะส่ งผลกระทบโดยตรงต่อการดาเนิ นงานขององค์การ ตัวอย่างเช่ น การเปลี่ ยนแปลงกฎหมายภาษีอากร อาจทาให้ตนทุนสิ นค้าสู งขึ้นหรื อ การเปลี่ยนแปลงนโยบายของรัฐบาลอาจเป็ นผลดีต่อการส่งเสริ มการลงทุนและการส่ งออก ดังนั้นธุ รกิจจะต้องคอยติดตามความเคลื่ อนไหวหรื อการเปลี่ ยนแปลงทาง
การเมืองและกฏหมายด้วย

2.2.4 สั งคมและวัฒนธรรม (Social and Culture) ได้แก่ ทัศนะคติทางสังคม ค่านิ ยม บรรทัดฐาน ความเชื่อ พฤติกรรม การเปลี่ยนแปลงทางด้านประชากร เช่น การศึกษา และอัตราการเกิด นับได้วา การเปลี่ยนแปลงของปัจจัยดังกล่าวมีอิทธิ พลต่อการขายสิ นค้าและการหากาไรของกิจการ ดังนั้นผูบริ หารจึงควรตรวจสอบและให้
ความสนใจแนวโน้ม ของการเปลี่ ย นแปลงซึ่ งอาจจะได้โอกาสใหม่

Unknown กล่าวว่า...

นางสาวสุนทรี ยิ่งประเสริฐ 5210125401045 การจัดการทั่วไป

การวิเคราะห์ SWOT (SWOT Analysis)

การประเมิน ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมภายนอกองค์กร เพื่อทำให้ทราบถึง โอกาส และ อุปสรรค และ
การประเมิน ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมภายในองค์กร เพื่อทำให้ทราบถึง จุดแข็ง และ จุดอ่อน ภายในองค์กร
S = Strength ( จุดแข็ง)

หมายถึง การดำเนินงานภายในองค์กรที่สามารถกระทำได้ดี องค์กรจะต้องวิเคราะห์ การดำเนินงานภายใน เช่น การบริหาร การเงิน การตลาด การผลิต และ การวิจัยพัฒนา เพื่อพิจาณาเป็นระยะ องค์กรที่บรรลุความสำเร็จจะกำหนดกลยุทธ์ขององค์กร โดยใช้ประโยชน์จาก จุดแข็ง ของการดำเนินงานภายในเสมอ

W= Weakness (จุดอ่อน)

หมายถึง การดำเนินงานภายในองค์กรที่ทำได้ไม่ดี อาจเป็นเพราะการขาดแคลนทรัพยากรในองค์กรที่จะส่งเสริมให้การดำเนินงานลุล่วงด้วยดี ได้แก่ การบริหาร การเงิน การตลาด การผลิต การวิจัยพัฒนา ซึ่งเป็นข้อด้อยขององค์กร ที่ทำให้ไม่ประสบความสำเร็จ องค์กรจะต้องกำหนดกลยุทธ์ที่สามารถลบล้าง หรือ ปรับปรุง จุดอ่อน การดำเนินงานภายในเหล่านี้ให้ดีขึ้น

O = Opportunity (โอกาส)

หมายถึง สภาพแวดล้อมภายนอก ที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินงานขององค์กร องค์กรต้องคาดคะเนการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม เช่น เศรษฐกิจ การเมือง สังคม เทคโนโลยี และ การแข่งขัน อยู่เป็นระยะ เพื่อการแสวงหาประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมภายนอก ซึ่งความเปลี่ยนแปลงอาจส่งผลถึงความต้องการของผู้บริโภค ทัศนคติของพนักงาน ทำให้ต้องมีการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ไปตามความเปลี่ยนแปลงด้วย

T = Threats (อุปสรรค)

หมายถึง สภาพแวดล้อมภายนอกที่คุกคามต่อการดำเนินงานขององค์กร สภาพแวดล้อมภายนอกเหล่านี้ได้แก่ เศรษฐกิจ การเมือง สังคม เทคโนโลยี และ การแข่งขัน เป็นต้น ซึ่งส่งผลลบต่อการดำเนินงานขององค์กร เช่น ทำให้ความต้องการของผู้บริโภคลดลง ทัศนคติของพนักงานแย่ลง ทำให้ต้องมีการปรับกลยุทธ์เพื่อขจัด หลีกเลี่ยง สภาพแวดล้อมที่ส่งผลลบต่อองค์กร

Unknown กล่าวว่า...

นางสาว อริญญา คำตัน รหัส 047 สาขา การจัดการทั่วไป

การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน

การวิเคราะห์สภาพภายในองค์กรเป็นการตรวจสอบสมรรถนะขององค์กรที่จะช่วยบ่งชี้ถึงจุดแข็งที่จะใช้
ให้เป็นประโยชน์ กับจุดอ่อนที่จะต้องแก้ไข ถึงแม้ปัจจัยสภาพแวดล้อมภายนอกอาจมีโอกาส
แต่ถ้าหากภายในองค์กรขาดความพร้อม การดำเนินงานก็ยากที่จะประสบความสำเร็จได้
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในของสำนักงานสหกรณ์จังหวัดจันทบุรีด้วิเคราะห์องค์ประกอบในลักษณะรูปธรรมและนามธรรมที่สามารถนำมาใช้เป็นประโยชน์ในการปฏิบัติงาน
ซึ่งปัจจัยที่เป็นเชิงบวกจะเรียกว่า “จุดแข็ง” (Strength) และปัจจัยที่เป็นเชิงลบจะเรียกว่า "จุดอ่อน"
(Weakness) สำหรับแนวทาง
การวิเคราะห์ มีดังนี้
1) การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในโดยทั่วไป
โดยทั่วไปขอบเขตของการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในองค์กร จะพิจารณาจากตัวแบบ 7 ปัจจัย
(7SModel) ของ R. Waterman คือ ระบบ (System) โครงสร้าง (Structure) กลยุทธ์ (Strategy) บุคลากร (Staff)
ทักษะ (Skill) สไตล์ (Style) และค่านิยมร่วม (Shared valued)
(1) ระบบการปฏิบัติงาน (System)
สำนักงานสหกรณ์จังหวัดจันทบุรี เป็นหน่วยงานสังกัดกรมส่งเสริมสหกรณ์
(1.1) เอกสารและร่างเอกสารในการขอจัดตั้งสหกรณ์โดยเฉพาะร่างข้อบังคับสหกรณ์มักจะเกิดปัญหาเพราะเจ้าหน้าที่จะให้ความสำคัญในการใช้ร่างข้อบังคับสหกรณ์เพื่อขอจดทะเบียนทั้งฉบับ
ซึ่งเกิด ผลดี คือ ง่ายในการถือใช้ทั้งฉบับ
แต่เกิดปัญหาสำหรับสหกรณ์ในส่วนที่จะให้ขอถือใช้ทั้งฉบับและเจ้าหน้าที่ไม่สามารถแยกแยะแต่ละข้อได้หรือแต่ละวาระว่าส่วนใดที่จะต้องปฏิบัติตามกฎหมายและส่วนใดผู้ขอจัดตั้งสหกรณ์สามารถแก้ไขได้
(1.2) การประกาศและหารือคำสั่งของนายทะเบียนที่ออกมา
ควรกำหนดให้ชัดเจนว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับสหกรณ์ประเภทใด
หรือเกี่ยวข้องกับทุกประเภทเพื่อให้เกิดความชัดเจนในการถือปฏิบัติบังคับใช้สหกรณ์แต่ละประเภท
(1.3) สาระในหนังสือหรือประกาศของนายทะเบียนมักเกิดปัญหาในการตีความ
และมักถูกตีความในทิศทางที่ไม่เป็นคุณกับสหกรณ์ ส่งผลทำให้สหกรณ์ได้รับความเสียหาย และเป็นการใช้
ดุลยพินิจของจ้าหน้าที่อาจถูกเพิกถอนจากศาลปกครอง
แนวทางการดำเนินงานของสำนักงานสหกรณ์จังหวัดจันทบุรีจึงควรที่จะต้องมีการจัดระบบกระบวนงานหรือกระบวนการควบคุมกลยุทธ์
ที่เหมาะสมมีการควบคุมและการประสานงานที่ดี
ตลอดจนมีกระบวนการจัดเก็บข้อมูลและการใช้ข้อมูลอย่างมีคุณภาพและประสิทธิภาพ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้สนับสนุนในการปฏิบัติงานให้มากยิ่งขึ้น
(2) โครงสร้าง (Structure)
(3) กลยุทธ์ขององค์กร (Strategies)
สำนักงานสหกรณ์จังหวัดจันทบุรี ได้มีการกำหนด วิสัยทัศน์ พันธกิจ และวัตถุประสงค์ไว้ใน
(4) บุคลากร (Staff)
ภายใต้นโยบายของรัฐบาล ในการประกาศยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการ ส่งผลทำให้มีการปรับบทบาท ภารกิจ และขนาดขององค์กรภาครัฐให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งการลดจำนวนข้าราชการและลูกจ้างประจำและการถ่ายโอนภารกิจให้กับองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นหรือจ้างเอกชนเข้ามารับผิดชอบดำเนินการแทนในหน้าที่บางอย่าง
เพื่อให้เกิดความคุ้มค่าและมีประสิทธิภาพสูงสุดในระยะยาว
(5) ทักษะ ความรู้ ความสามารถ (Skills)
บุคลากรของสำนักงานสหกรณ์จังหวัดจันทบุรีส่วนใหญ่
เป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถในการส่งเสริมงานด้านสหกรณ์แต่ยังต้องเพิ่มพูนความรู้ความสามารถในด้านการส่งเสริมสหกรณ์ในรูปแบบธุรกิจ
นขณะที่บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับขบวนการสหกรณ์ ควรต้องเพิ่มพูนความรู้ในเรื่องอุดมการณ์ หลักการ
และวิธีการสหกรณ์ดังนั้นการเพิ่มทักษะแก่บุคลากร ในด้านการส่งเสริมพัฒนาธุรกิจสหกรณ์จึงมีความจำเป็น
อย่างเร่งด่วนต่อการส่งเสริมสหกรณ์ในปัจจุบัน ตลอดจนการส่งเสริมการเผยแพร่ความรู้ทางวิชาการด้านต่างๆ
ให้แก่สหกรณ์และสมาชิกสหกรณ์ในด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้องผ่านระบบการเรียนรู้ทางอิเล็กทรอนิกส์ (E-learning)
(6) รูปแบบการบริหารจัดการ (Style)
สำนักงานสหกรณ์จังหวัดจันทบุรี ในปัจจุบันได้มีการให้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจซึ่งเป็นรูปแบบของผู้บริหารยุคใหม่ ในขณะเดียวกันสำนักงานสหกรณ์จังหวัด ซึ่งเป็นหน่วยงานราชการ
รูปแบบและวัฒนธรรมการทำงานยังมีการทำงานโดยยึดกฎ ระเบียบของทางราชการเป็นหลักการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาจึงต้องใช้เวลาพอสมควร
(7) ค่านิยมร่วม (Shared values)
การสร้างค่านิยมร่วมภายในองค์กรให้แก่บุคลากรภายในหรือบุคลากรของสหกรณ์ให้ยึดถือ สิ่งที่มีคุณค่าควรยึดถือเป็นแนวทางเดียวกัน

Unknown กล่าวว่า...

นางสาวณัชนิตา ผาผาย เอกการจัดการทั่วไป ปี4 หมู่1
สภาพแวดล้อมภายใน
เป็นแรงผลักดันภายในธุรกิจที่มีอิทธิพลต่อการจัดการและดาเนินงานของธุรกิจ ซึ่ง ธุรกิจสามารถควบคุมและจัดการสภาพแวดล้อมลักษณะนี้ให้เป็นไปตามแนวทางที่ต้องการได้ ซึ่งในการจัดการผู้บริหารต้องทาการศึกษาปัจจัยเหล่านี้เพื่อประเมินจุดแข็ง (strengths) และจุดอ่อน (weakness) ขององค์การ
1 โครงสร้างองค์กร (Organization) โครงสร้างของกิจการเป็นตัวกาหนดทิศทางแก่องค์กรในการดาเนินกลยุทธ์ในการเข้าสู่ตลาดโลก รวมถึงเป็นการพิจารณาระดับความพร้อมขององค์กรทางด้านบุคคลากรทั้งในประเทศและต่างประเทศ
2 กลยุทธ์ของกิจการ (Business Strategy) ในกระบวนการเปลี่ยนแปลงภายในยังประกอบไปด้วยการเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์ขององค์การ ซึ่งกลยุทธ์จะเป็นตัวกาหนดทิศทางการทางาน เพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์และพันธกิจขององค์การ ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงในเรื่องของกลยุทธ์จะเป็นส่วนที่สาคัญที่ทาให้ทิศทางการดาเนินงานขององค์การเปลี่ยนแปลงต่อกระแสโลก ไม่ว่าจะเป็นการขยายสาขาสู่ต่างประเทศ การทาการค้ากับคู่ค้าในโซนใหม่ การพัฒนาและออกผลิตภัณฑ์ใหม่ เพิ่มความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า ให้ความสาคัญกับการบริการลูกค้า และผลิตสินค้าที่มีราคาถูกและมีคุณภาพ
3 บุคลากรและความสามารถของบุคลากร (Human Resource and Ability) กิจการสามารถปรับตัวต่อสภาพแวดล้อมได้ดี เมื่อพนักงานได้รับการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาทักษะ ความรู้และความสามารถ และสามารถพัฒนาความสามารถในการปฏิบัติงานของบุคลากรในองค์การ และทาให้ผลการปฏิบัติงานมีคุณภาพดีขึ้น เพื่อให้สามารถทาการผลิตได้มีประสิทธิผลมากที่สุด
4 วัฒนธรรมองค์กร (Organization Culture) รวมไปถึง การเปลี่ยนแปลงค่านิยมในการทางาน การเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมในด้านต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดภายนอก
5 องค์ประกอบอื่นๆ ในองค์การ ได้แก่พันธกิจของบริษัท ระบบการบริหารงาน กระบวนการผลิตและการทางานในธุรกิจทรัพยากรต่าง ๆ ในธุรกิจ กฎระเบียบภายในองค์การ

Ditthita กล่าวว่า...

สภาพแวดล้อมทางธุรกิจ แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ สภาพแวดล้อมภายนอกและสภาพแวดล้อมภายใน

สภาพแวดล้อมภายนอก เป็นปัจจัยภายนอกที่มีอิทธิพลต่อองค์การธุรกิจ หรือกิจการซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่สามารถควบคุมได้ อันได้แก่ สภาพแวดล้อมทั่วไปและสภาพแวดล้อมการดำเนินงาน สภาพแวดล้อมทั่วไป ถือเป็นปัจจัยสภาพแวดล้อมที่ไม่ได้มีผลกระทบโดยตรงแต่ก็มีผลกระทบทางอ้อมต่อการดำเนินงานของกิจการ ไม่ว่าจะเป็น ปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม การเมือง กฎหมาย เทคโนโลยี และปัจจัยระหว่างประเทศ

ปัจจัยทางเศรษฐกิจ มีความสำคัญต่อการประกอบธุรกิจเป็นอย่างยิ่ง หากสภาพเศรษฐกิจดีก็จะเอื้ออำนวยต่อการประกอบธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ ในทางตรงกันข้าม ถ้าสภาพเศรษฐกิจมีแนวโน้มถดถอยหรือตกต่ำ เงื่อนไขทางเศรษฐกิจมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา และยากที่จะพยากรณ์ซึ่งมีผลทำให้การประกอบธุรกิจหยุดชะงัก ล้มเหลวหรืออาจจะต้องเลิกกิจการได้

ส่วนปัจจัยทางสังคมและวัฒนธรรม นั้นได้แก่ ทัศนะคติทางสังคม ค่านิยม บรรทัดฐาน ความเชื่อ พฤติกรรม การเปลี่ยนแปลงทางด้านประชากร เช่น การศึกษา และอัตราการเกิด นับได้ว่า การเปลี่ยนแปลงของปัจจัยดังกล่าวมีอิทธิพลต่อการขายสินค้าและการหากำไรของกิจการ ดังนั้นผู้บริหารจึงควรตรวจสอบและให้ความสนใจแนวโน้มของการเปลี่ยนแปลงซึ่งอาจจะได้โอกาสใหม่ หรืออาจจะพบอุปสรรคที่สำคัญก็ได้ ตัวอย่างเช่น ธุรกิจมีโอกาสออกสินค้าตัวใหม่ หรือเลิกผลิตสินค้าบางรายการ เนื่องจากผู้บริโภคไม่ต้องการอีกต่อไป เป็นต้น

นอกจากนี้ ปัจจัยทางการเมืองและกฎหมาย นับว่าเป็นอีก ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการประกอบธุรกิจ ได้แก่ การเมือง กฎข้อบังคับ นโยบายของรัฐบาล แนวโน้มการออกกฎหมายและพระราชบัญญัติต่างๆ ได้แก่ กฎหมายภาษีอากร พระราชบัญญัติค่าแรงขั้นต่ำ พระราชบัญญัติการโฆษณา พระราชบัญญัติโรงงาน และพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค เป็นต้น ซึ่งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว จะส่งผลกระทบโดยตรงต่อการดำเนินงาน ตัวอย่างเช่น การเปลี่ยนแปลงกฎหมายภาษีอากร อาจทำให้ต้นทุนสินค้าสูงขึ้นหรือ การเปลี่ยนแปลงนโยบายของรัฐบาลอาจเป็นผลดีต่อการส่งเสริมการลงทุนและการส่งออก เป็นต้น ดังนั้นธุรกิจจะต้องคอยติดตามความเคลื่อนไหวหรือการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองและกฏหมายด้วย

ส่วนปัจจัยทางเทคโนโลยี ในปัจจุบัน นับได้ว่าการเปลี่ยนแปลงและความก้าวหน้าของเทคโนโลยีมีผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เนต มีความสำคัญต่อองค์การธุรกิจมาก โดยมีการนำเอาปัจจัยทางเทคโนโลยีมาพิจารณาเพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน เพื่อช่วยให้ธุรกิจมีเทคนิคและระบบการผลิตที่ทันสมัยขึ้น สามารถลดต้นทุนการผลิตลงและเพิ่มกำลังผลิต ช่วยให้สามารถจัดการ และมีการติดต่อสื่อสารที่รวดเร็วยิ่งขึ้นช่วยให้ธุรกิจสามารถผลิตสินค้าใหม่ๆ ทำให้สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ปัจจัยระหว่างประเทศก็ส่งผลกระทบโดยตรงต่อหลายธุรกิจและเริ่มมีความสำคัญมากขึ้นในปัจจุบัน
อ้างอิงจาก http://www.learners.in.th/blogs/posts/38740
นางสาวฑิตฐิตา มีชูแสง รหัส 5210125401059 เอก การจัดการทั่วไป ปี4

Unknown กล่าวว่า...

นางสาวอัญชลี คำประชม รหัส 5210125401058
โปรแกรมการจัดการทั่วไป

การวิเคราะห์ (Analysis)
จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส อุปสรรค
ปัจจัยภายใน :จุดแข็ง (Strength) + จุดอ่อน (Weakness)
ปัจจัยภายนอก :โอกาส (Opportunities) + ภัยคุกคาม (Threat)
การวิเคราะห์สถานการณ์
มีประเด็นที่ประกอบด้วย จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และภัยคุกคาม (SWOT = Strength, Weakness, Opportunity และ Threat) คือ การสำรวจตรวจสอบสภาพภายในองค์การและสภาพแวดล้อมภายนอก เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการวางแผน เพื่อให้แผนนั้นได้ใช้ประโยชน์จากสิ่งที่มีอยู่และแก้ปัญหาที่ไม่พึงประสงค์ โดยอาศัยทั้งปัจจัยจากภายในและภายนอกมาเป็นฐานคิดสำหรับกำหนดแผนงานโครงการ
ปัจจัยภายใน ประกอบด้วย จุดแข็ง (Strength) และจุดอ่อน (Weakness)
จุดแข็ง หมายถึง สิ่งที่มีอยู่เองแล้วโดยพิจารณาจากความสำเร็จในมิติต่าง ๆ เช่น ทำเลที่ตั้ง ฐานะทางการเงิน ความสามารถของบุคลากร ความเป็นทีม คุณภาพบริการ ประเพณีวัฒนธรรม แหล่งท่องเที่ยว เป็นต้น
จุดอ่อน หมายถึง สิ่งที่มีอยู่เองแล้วโดยพิจารณาจากปัญหาหรืออุปสรรคในมิติต่าง ๆ เช่น ระเบียบกฎเกณฑ์ ขั้นตอนที่ซับซ้อน การเริ่มต้นใหม่ ความหลากหลายของคน เป็นต้น
ปัจจัยภายนอก ประกอบด้วย โอกาส (Opportunity) และภัยคุกคาม (Threat)
โอกาส หมายถึง สิ่งที่อยู่ภายนอกโดยพิจารณาถึงความเป็นประโยชน์หรือสนับสนุนเป้าหมายของชุมชน เช่น การเมือง การรวมการปกครอง กฎหมาย ราคาน้ำมัน ค่าเงินบาท คู่แข่ง เป็นต้น
ภัยคุกคาม หมายถึง สิ่งที่อยู่ภายนอกโดยพิจารณาว่าเป็นอุปสรรคต่อเป้าหมายของชุมชน เช่น การเมือง การรวมการปกครอง กฎหมาย ราคาน้ำมัน ค่าเงินบาท คู่แข่ง เป็นต้น
ที่มา http://www.thaiall.com/swot/ ปรับปรุง : 2555-05-02 (เพิ่ม strategy map)

Unknown กล่าวว่า...

นางสาวอัญชลี คำประชม รหัส 5210125401058
โปรแกรมการจัดการทั่วไป

การวิเคราะห์ (Analysis)
จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส อุปสรรค
ปัจจัยภายใน :จุดแข็ง (Strength) + จุดอ่อน (Weakness)
ปัจจัยภายนอก :โอกาส (Opportunities) + ภัยคุกคาม (Threat)
การวิเคราะห์สถานการณ์
มีประเด็นที่ประกอบด้วย จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และภัยคุกคาม (SWOT = Strength, Weakness, Opportunity และ Threat) คือ การสำรวจตรวจสอบสภาพภายในองค์การและสภาพแวดล้อมภายนอก เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการวางแผน เพื่อให้แผนนั้นได้ใช้ประโยชน์จากสิ่งที่มีอยู่และแก้ปัญหาที่ไม่พึงประสงค์ โดยอาศัยทั้งปัจจัยจากภายในและภายนอกมาเป็นฐานคิดสำหรับกำหนดแผนงานโครงการ
ปัจจัยภายใน ประกอบด้วย จุดแข็ง (Strength) และจุดอ่อน (Weakness)
จุดแข็ง หมายถึง สิ่งที่มีอยู่เองแล้วโดยพิจารณาจากความสำเร็จในมิติต่าง ๆ เช่น ทำเลที่ตั้ง ฐานะทางการเงิน ความสามารถของบุคลากร ความเป็นทีม คุณภาพบริการ ประเพณีวัฒนธรรม แหล่งท่องเที่ยว เป็นต้น
จุดอ่อน หมายถึง สิ่งที่มีอยู่เองแล้วโดยพิจารณาจากปัญหาหรืออุปสรรคในมิติต่าง ๆ เช่น ระเบียบกฎเกณฑ์ ขั้นตอนที่ซับซ้อน การเริ่มต้นใหม่ ความหลากหลายของคน เป็นต้น
ปัจจัยภายนอก ประกอบด้วย โอกาส (Opportunity) และภัยคุกคาม (Threat)
โอกาส หมายถึง สิ่งที่อยู่ภายนอกโดยพิจารณาถึงความเป็นประโยชน์หรือสนับสนุนเป้าหมายของชุมชน เช่น การเมือง การรวมการปกครอง กฎหมาย ราคาน้ำมัน ค่าเงินบาท คู่แข่ง เป็นต้น
ภัยคุกคาม หมายถึง สิ่งที่อยู่ภายนอกโดยพิจารณาว่าเป็นอุปสรรคต่อเป้าหมายของชุมชน เช่น การเมือง การรวมการปกครอง กฎหมาย ราคาน้ำมัน ค่าเงินบาท คู่แข่ง เป็นต้น
ที่มา http://www.thaiall.com/swot/ ปรับปรุง : 2555-05-02 (เพิ่ม strategy map)

Unknown กล่าวว่า...

นางสาวอัญชลี คำประชม รหัส 5210125401058
โปรแกรมการจัดการทั่วไป

การวิเคราะห์ (Analysis)
จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส อุปสรรค
ปัจจัยภายใน :จุดแข็ง (Strength) + จุดอ่อน (Weakness)
ปัจจัยภายนอก :โอกาส (Opportunities) + ภัยคุกคาม (Threat)
การวิเคราะห์สถานการณ์
มีประเด็นที่ประกอบด้วย จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และภัยคุกคาม (SWOT = Strength, Weakness, Opportunity และ Threat) คือ การสำรวจตรวจสอบสภาพภายในองค์การและสภาพแวดล้อมภายนอก เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการวางแผน เพื่อให้แผนนั้นได้ใช้ประโยชน์จากสิ่งที่มีอยู่และแก้ปัญหาที่ไม่พึงประสงค์ โดยอาศัยทั้งปัจจัยจากภายในและภายนอกมาเป็นฐานคิดสำหรับกำหนดแผนงานโครงการ
ปัจจัยภายใน ประกอบด้วย จุดแข็ง (Strength) และจุดอ่อน (Weakness)
จุดแข็ง หมายถึง สิ่งที่มีอยู่เองแล้วโดยพิจารณาจากความสำเร็จในมิติต่าง ๆ เช่น ทำเลที่ตั้ง ฐานะทางการเงิน ความสามารถของบุคลากร ความเป็นทีม คุณภาพบริการ ประเพณีวัฒนธรรม แหล่งท่องเที่ยว เป็นต้น
จุดอ่อน หมายถึง สิ่งที่มีอยู่เองแล้วโดยพิจารณาจากปัญหาหรืออุปสรรคในมิติต่าง ๆ เช่น ระเบียบกฎเกณฑ์ ขั้นตอนที่ซับซ้อน การเริ่มต้นใหม่ ความหลากหลายของคน เป็นต้น
ปัจจัยภายนอก ประกอบด้วย โอกาส (Opportunity) และภัยคุกคาม (Threat)
โอกาส หมายถึง สิ่งที่อยู่ภายนอกโดยพิจารณาถึงความเป็นประโยชน์หรือสนับสนุนเป้าหมายของชุมชน เช่น การเมือง การรวมการปกครอง กฎหมาย ราคาน้ำมัน ค่าเงินบาท คู่แข่ง เป็นต้น
ภัยคุกคาม หมายถึง สิ่งที่อยู่ภายนอกโดยพิจารณาว่าเป็นอุปสรรคต่อเป้าหมายของชุมชน เช่น การเมือง การรวมการปกครอง กฎหมาย ราคาน้ำมัน ค่าเงินบาท คู่แข่ง เป็นต้น
ที่มา http://www.thaiall.com/swot/ ปรับปรุง : 2555-05-02 (เพิ่ม strategy map)

Unknown กล่าวว่า...

นางสาวอัญชลี คำประชม รหัส 5210125401058
โปรแกรมการจัดการทั่วไป

การวิเคราะห์ (Analysis)
จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส อุปสรรค
ปัจจัยภายใน :จุดแข็ง (Strength) + จุดอ่อน (Weakness)
ปัจจัยภายนอก :โอกาส (Opportunities) + ภัยคุกคาม (Threat)
การวิเคราะห์สถานการณ์
มีประเด็นที่ประกอบด้วย จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และภัยคุกคาม (SWOT = Strength, Weakness, Opportunity และ Threat) คือ การสำรวจตรวจสอบสภาพภายในองค์การและสภาพแวดล้อมภายนอก เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการวางแผน เพื่อให้แผนนั้นได้ใช้ประโยชน์จากสิ่งที่มีอยู่และแก้ปัญหาที่ไม่พึงประสงค์ โดยอาศัยทั้งปัจจัยจากภายในและภายนอกมาเป็นฐานคิดสำหรับกำหนดแผนงานโครงการ
ปัจจัยภายใน ประกอบด้วย จุดแข็ง (Strength) และจุดอ่อน (Weakness)
จุดแข็ง หมายถึง สิ่งที่มีอยู่เองแล้วโดยพิจารณาจากความสำเร็จในมิติต่าง ๆ เช่น ทำเลที่ตั้ง ฐานะทางการเงิน ความสามารถของบุคลากร ความเป็นทีม คุณภาพบริการ ประเพณีวัฒนธรรม แหล่งท่องเที่ยว เป็นต้น
จุดอ่อน หมายถึง สิ่งที่มีอยู่เองแล้วโดยพิจารณาจากปัญหาหรืออุปสรรคในมิติต่าง ๆ เช่น ระเบียบกฎเกณฑ์ ขั้นตอนที่ซับซ้อน การเริ่มต้นใหม่ ความหลากหลายของคน เป็นต้น
ปัจจัยภายนอก ประกอบด้วย โอกาส (Opportunity) และภัยคุกคาม (Threat)
โอกาส หมายถึง สิ่งที่อยู่ภายนอกโดยพิจารณาถึงความเป็นประโยชน์หรือสนับสนุนเป้าหมายของชุมชน เช่น การเมือง การรวมการปกครอง กฎหมาย ราคาน้ำมัน ค่าเงินบาท คู่แข่ง เป็นต้น
ภัยคุกคาม หมายถึง สิ่งที่อยู่ภายนอกโดยพิจารณาว่าเป็นอุปสรรคต่อเป้าหมายของชุมชน เช่น การเมือง การรวมการปกครอง กฎหมาย ราคาน้ำมัน ค่าเงินบาท คู่แข่ง เป็นต้น
ที่มา http://www.thaiall.com/swot/ ปรับปรุง : 2555-05-02 (เพิ่ม strategy map)

Be^Knicknac^ กล่าวว่า...

การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม : ภายใน
สภาพแวดล้อมแวดล้อมภายในประกอบไปด้วย ปัจจัย (จุดแข็งและจุดอ่อน) ที่อยู่ภายในบริษัทและไม่ได้อยู่ภายใต้การควบคุมระยะสั้นของผู้บริหารระดับสูง ปัจจัยเหล่านี้ได้แก่ โครงสร้าง วัฒนธรรม และทรัพยากรของบริษัท
- โครงสร้างของบริษัท (Corporate Structure) จะแสดงให้เห็นถึงการรวมกลุ่มงาน ความสัมพันธ์ทางอำนาจหน้าที่ การไหลเวียนของงาน และการติดต่อสื่อสารภายในบริษัท เรามักจะเรียกโครงสร้างบริษัทนี้ว่า “สายการบังคับบัญชา” โดยทั่วไปโครงสร้างบริษัทจะแสดงให้เห็นสภาพภายในแผนภูมิองค์การ
- วัฒนธรรมขององค์การ (Corporate Culture) จะหมายถึงความเชื่อ ความคาดหวัง และค่ายนิยมร่วมกันของบรรดาบุคคลภายในบริษัท โดยทั่วไปจะปรากฏขึ้นมาเป็นบรรทัดฐานที่ระบุพฤติกรรมที่ยอมรับกันของบุคคล ตั้งแต่ผู้บริหารระดับสูงลงมาจนถึงพนักงานระดับล่างสุด
- ทรัพยากรของบริษัท (Corporate Resources) จะหมายถึงทรัพย์สินทุกอย่างภายในการผลิตและการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของบริษัท ทรัพย์สินเหล่านี้ ได้แก่ คน เงินทุน วัตถุดิบ โรงงาน เทคโนโลยี และทักษะ เป็นต้น
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม : ภายนอก
สภาพแวดล้อมภายนอกประกอบด้วยปัจจัย (โอกาสและอุปสรรค) ที่อยู่ภายนอกบริษัทและไม่ได้อยู่ภายใต้กรควบคุมของผู้บริหารระดับสูง โดยทั่วไปสภาพแวดล้อมภายนอกจะมีอยู่สองส่วนคือ : สภาพแวดล้อมการดำเนินงานและสภาพแวดล้อมโดยทั่วไป
- สภาพแวดล้อมการดำเนินงาน (Task Environment) จะประกอบด้วยปัจจัยที่กระทบและถูกกระทบโดยตรงต่อการดำเนินงานของบริษัทปัจจัยเหล่านี้ ได้แก่ ผู้มีส่วนได้เสีย รัฐบาล ผู้จำหน่ายวัตถุดิบ ชุมชน คู่แข่งขัน ลูกค้า เจ้าหนี้ สหภาพแรงงาน สมาคมการค้า และกลุ่มผลประโยชน์ เรามักจะเรียกสภาพแวดล้อมการดำเนินงานของบริษัทว่าอุตสาหกรรม
- สภาพแวดล้อมโดยทั่วไป (General Environment) จะประกอบด้วยปัจจัยที่ไม่กระทบโดยตรงต่อการดำเนินงานระยะสั้นของบริษัท ปัจจัยเหล่านี้จะมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจในระยะยาวของบริษัท ปัจจัยเหล่านี้ ได้แก่ เศรษฐกิจ สังคมวัฒนธรรม เทคโนโลยี และการเมือง กฎหมาย

อ้างอิงจาก สมยศ นาวีการ. (2535). การบริหารเชิงกลยุทธ์และนโยบายทางธุรกิจ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์.บรรณกิจเทรดดิ้ง
*น.ส.วณิดา สามทอง รหัส 5210125401065 เอกการจัดการทั่วไป ปี 4 *

Be^Knicknac^ กล่าวว่า...

การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม : ภายใน
สภาพแวดล้อมแวดล้อมภายในประกอบไปด้วย ปัจจัย (จุดแข็งและจุดอ่อน) ที่อยู่ภายในบริษัทและไม่ได้อยู่ภายใต้การควบคุมระยะสั้นของผู้บริหารระดับสูง ปัจจัยเหล่านี้ได้แก่ โครงสร้าง วัฒนธรรม และทรัพยากรของบริษัท
- โครงสร้างของบริษัท (Corporate Structure) จะแสดงให้เห็นถึงการรวมกลุ่มงาน ความสัมพันธ์ทางอำนาจหน้าที่ การไหลเวียนของงาน และการติดต่อสื่อสารภายในบริษัท เรามักจะเรียกโครงสร้างบริษัทนี้ว่า “สายการบังคับบัญชา” โดยทั่วไปโครงสร้างบริษัทจะแสดงให้เห็นสภาพภายในแผนภูมิองค์การ
- วัฒนธรรมขององค์การ (Corporate Culture) จะหมายถึงความเชื่อ ความคาดหวัง และค่ายนิยมร่วมกันของบรรดาบุคคลภายในบริษัท โดยทั่วไปจะปรากฏขึ้นมาเป็นบรรทัดฐานที่ระบุพฤติกรรมที่ยอมรับกันของบุคคล ตั้งแต่ผู้บริหารระดับสูงลงมาจนถึงพนักงานระดับล่างสุด
- ทรัพยากรของบริษัท (Corporate Resources) จะหมายถึงทรัพย์สินทุกอย่างภายในการผลิตและการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของบริษัท ทรัพย์สินเหล่านี้ ได้แก่ คน เงินทุน วัตถุดิบ โรงงาน เทคโนโลยี และทักษะ เป็นต้น
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม : ภายนอก
สภาพแวดล้อมภายนอกประกอบด้วยปัจจัย (โอกาสและอุปสรรค) ที่อยู่ภายนอกบริษัทและไม่ได้อยู่ภายใต้กรควบคุมของผู้บริหารระดับสูง โดยทั่วไปสภาพแวดล้อมภายนอกจะมีอยู่สองส่วนคือ : สภาพแวดล้อมการดำเนินงานและสภาพแวดล้อมโดยทั่วไป
- สภาพแวดล้อมการดำเนินงาน (Task Environment) จะประกอบด้วยปัจจัยที่กระทบและถูกกระทบโดยตรงต่อการดำเนินงานของบริษัทปัจจัยเหล่านี้ ได้แก่ ผู้มีส่วนได้เสีย รัฐบาล ผู้จำหน่ายวัตถุดิบ ชุมชน คู่แข่งขัน ลูกค้า เจ้าหนี้ สหภาพแรงงาน สมาคมการค้า และกลุ่มผลประโยชน์ เรามักจะเรียกสภาพแวดล้อมการดำเนินงานของบริษัทว่าอุตสาหกรรม
- สภาพแวดล้อมโดยทั่วไป (General Environment) จะประกอบด้วยปัจจัยที่ไม่กระทบโดยตรงต่อการดำเนินงานระยะสั้นของบริษัท ปัจจัยเหล่านี้จะมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจในระยะยาวของบริษัท ปัจจัยเหล่านี้ ได้แก่ เศรษฐกิจ สังคมวัฒนธรรม เทคโนโลยี และการเมือง กฎหมาย

อ้างอิงจาก สมยศ นาวีการ. (2535). การบริหารเชิงกลยุทธ์และนโยบายทางธุรกิจ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์.บรรณกิจเทรดดิ้ง
*น.ส.วณิดา สามทอง รหัส 5210125401065 เอกการจัดการทั่วไป ปี 4 *

Be^Knicknac^ กล่าวว่า...

การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม : ภายใน
สภาพแวดล้อมแวดล้อมภายในประกอบไปด้วย ปัจจัย (จุดแข็งและจุดอ่อน) ที่อยู่ภายในบริษัทและไม่ได้อยู่ภายใต้การควบคุมระยะสั้นของผู้บริหารระดับสูง ปัจจัยเหล่านี้ได้แก่ โครงสร้าง วัฒนธรรม และทรัพยากรของบริษัท
- โครงสร้างของบริษัท (Corporate Structure) จะแสดงให้เห็นถึงการรวมกลุ่มงาน ความสัมพันธ์ทางอำนาจหน้าที่ การไหลเวียนของงาน และการติดต่อสื่อสารภายในบริษัท เรามักจะเรียกโครงสร้างบริษัทนี้ว่า “สายการบังคับบัญชา” โดยทั่วไปโครงสร้างบริษัทจะแสดงให้เห็นสภาพภายในแผนภูมิองค์การ
- วัฒนธรรมขององค์การ (Corporate Culture) จะหมายถึงความเชื่อ ความคาดหวัง และค่ายนิยมร่วมกันของบรรดาบุคคลภายในบริษัท โดยทั่วไปจะปรากฏขึ้นมาเป็นบรรทัดฐานที่ระบุพฤติกรรมที่ยอมรับกันของบุคคล ตั้งแต่ผู้บริหารระดับสูงลงมาจนถึงพนักงานระดับล่างสุด
- ทรัพยากรของบริษัท (Corporate Resources) จะหมายถึงทรัพย์สินทุกอย่างภายในการผลิตและการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของบริษัท ทรัพย์สินเหล่านี้ ได้แก่ คน เงินทุน วัตถุดิบ โรงงาน เทคโนโลยี และทักษะ เป็นต้น
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม : ภายนอก
สภาพแวดล้อมภายนอกประกอบด้วยปัจจัย (โอกาสและอุปสรรค) ที่อยู่ภายนอกบริษัทและไม่ได้อยู่ภายใต้กรควบคุมของผู้บริหารระดับสูง โดยทั่วไปสภาพแวดล้อมภายนอกจะมีอยู่สองส่วนคือ : สภาพแวดล้อมการดำเนินงานและสภาพแวดล้อมโดยทั่วไป
- สภาพแวดล้อมการดำเนินงาน (Task Environment) จะประกอบด้วยปัจจัยที่กระทบและถูกกระทบโดยตรงต่อการดำเนินงานของบริษัทปัจจัยเหล่านี้ ได้แก่ ผู้มีส่วนได้เสีย รัฐบาล ผู้จำหน่ายวัตถุดิบ ชุมชน คู่แข่งขัน ลูกค้า เจ้าหนี้ สหภาพแรงงาน สมาคมการค้า และกลุ่มผลประโยชน์ เรามักจะเรียกสภาพแวดล้อมการดำเนินงานของบริษัทว่าอุตสาหกรรม
- สภาพแวดล้อมโดยทั่วไป (General Environment) จะประกอบด้วยปัจจัยที่ไม่กระทบโดยตรงต่อการดำเนินงานระยะสั้นของบริษัท ปัจจัยเหล่านี้จะมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจในระยะยาวของบริษัท ปัจจัยเหล่านี้ ได้แก่ เศรษฐกิจ สังคมวัฒนธรรม เทคโนโลยี และการเมือง กฎหมาย

อ้างอิงจาก สมยศ นาวีการ. (2535). การบริหารเชิงกลยุทธ์และนโยบายทางธุรกิจ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์.บรรณกิจเทรดดิ้ง
*น.ส.วณิดา สามทอง รหัส 5210125401065 เอกการจัดการทั่วไป ปี 4 *

Be^Knicknac^ กล่าวว่า...

การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม : ภายใน
สภาพแวดล้อมแวดล้อมภายในประกอบไปด้วย ปัจจัย (จุดแข็งและจุดอ่อน) ที่อยู่ภายในบริษัทและไม่ได้อยู่ภายใต้การควบคุมระยะสั้นของผู้บริหารระดับสูง ปัจจัยเหล่านี้ได้แก่ โครงสร้าง วัฒนธรรม และทรัพยากรของบริษัท
- โครงสร้างของบริษัท (Corporate Structure) จะแสดงให้เห็นถึงการรวมกลุ่มงาน ความสัมพันธ์ทางอำนาจหน้าที่ การไหลเวียนของงาน และการติดต่อสื่อสารภายในบริษัท เรามักจะเรียกโครงสร้างบริษัทนี้ว่า “สายการบังคับบัญชา” โดยทั่วไปโครงสร้างบริษัทจะแสดงให้เห็นสภาพภายในแผนภูมิองค์การ
- วัฒนธรรมขององค์การ (Corporate Culture) จะหมายถึงความเชื่อ ความคาดหวัง และค่ายนิยมร่วมกันของบรรดาบุคคลภายในบริษัท โดยทั่วไปจะปรากฏขึ้นมาเป็นบรรทัดฐานที่ระบุพฤติกรรมที่ยอมรับกันของบุคคล ตั้งแต่ผู้บริหารระดับสูงลงมาจนถึงพนักงานระดับล่างสุด
- ทรัพยากรของบริษัท (Corporate Resources) จะหมายถึงทรัพย์สินทุกอย่างภายในการผลิตและการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของบริษัท ทรัพย์สินเหล่านี้ ได้แก่ คน เงินทุน วัตถุดิบ โรงงาน เทคโนโลยี และทักษะ เป็นต้น
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม : ภายนอก
สภาพแวดล้อมภายนอกประกอบด้วยปัจจัย (โอกาสและอุปสรรค) ที่อยู่ภายนอกบริษัทและไม่ได้อยู่ภายใต้กรควบคุมของผู้บริหารระดับสูง โดยทั่วไปสภาพแวดล้อมภายนอกจะมีอยู่สองส่วนคือ : สภาพแวดล้อมการดำเนินงานและสภาพแวดล้อมโดยทั่วไป
- สภาพแวดล้อมการดำเนินงาน (Task Environment) จะประกอบด้วยปัจจัยที่กระทบและถูกกระทบโดยตรงต่อการดำเนินงานของบริษัทปัจจัยเหล่านี้ ได้แก่ ผู้มีส่วนได้เสีย รัฐบาล ผู้จำหน่ายวัตถุดิบ ชุมชน คู่แข่งขัน ลูกค้า เจ้าหนี้ สหภาพแรงงาน สมาคมการค้า และกลุ่มผลประโยชน์ เรามักจะเรียกสภาพแวดล้อมการดำเนินงานของบริษัทว่าอุตสาหกรรม
- สภาพแวดล้อมโดยทั่วไป (General Environment) จะประกอบด้วยปัจจัยที่ไม่กระทบโดยตรงต่อการดำเนินงานระยะสั้นของบริษัท ปัจจัยเหล่านี้จะมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจในระยะยาวของบริษัท ปัจจัยเหล่านี้ ได้แก่ เศรษฐกิจ สังคมวัฒนธรรม เทคโนโลยี และการเมือง กฎหมาย

อ้างอิงจาก สมยศ นาวีการ. (2535). การบริหารเชิงกลยุทธ์และนโยบายทางธุรกิจ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์.บรรณกิจเทรดดิ้ง
*น.ส.วณิดา สามทอง รหัส 5210125401065 เอกการจัดการทั่วไป ปี 4 *

tikjung กล่าวว่า...

สภาพแวดล้อมภายนอก (External Environment)
สภาพแวดล้อมภายนอกเป็นกิจการอยู่นอกขอบเขตขององค์การ ซึ่งผู้บริหารไม่สามารถควบคุมโดยตรงได้ แต่พลังสภาพแวดล้อมภายนอกนี้จะส่งผลกระทบถึงศักยภาพของการบริหารองค์การและความสามารถ ในการบรรลุเป้าหมายขององค์การได้ผู้บริหารจะต้องประเมินโอกาสและอุปสรรคจากสิ่งแวดล้อมภายนอก ทั้งปัจจุบันและอนาคตเพื่อวางแผนในการพัฒนาองค์การต่อไป
เมื่อพิจารณาผลกระทบต่อองค์การ สภาพแวดล้อมภายนอกจะประกอบด้วยสภาพแวดล้อมโดยทั่วไป(General Environment) และสภาพแวดล้อมในการดำเนินงาน โดยมีรายละเอียด ดังนี้
1. สภาพแวดล้อมโดยทั่วไป (General Environment) จะประกอบด้วยปัจจัยที่มีขอบเขตกว้างและองค์กรไม่สามารถควบคุมได้ ดังนั้นสภาพแวดล้อมโดยทั่วไปประกอบด้วยส่วนที่เกี่ยวข้องระหว่างกันซึ่งอาจแบ่งออกเป็น 6 ส่วน ดังนี้
1.1 สภาพแวดล้อมด้านประชากรศาสตร์ (Demographic Environment)
1.2 สภาพแวดล้อมด้านสังคมและวัฒนธรรม (Sociocultural Environment)
1.3 สภาพแวดล้อมด้านการเมืองและกฎหมาย ( Political / Legal Environment )
1.4 สภาพแวดล้อมทางเทคโนโลยี ( Technological Environment )
1.5 สภาพแวดล้อมด้านเศรษฐกิจมหภาค ( Macroeconomic Environment )
1.6 สภาพแวดล้อมระดับโลก ( Global Environment)
2. สภาพแวดล้อมในการดำเนินงาน (Operating Environment) เป็นสิ่งแวดล้อมภายนอกองค์การ ประกอบไปด้วยปัจจัยทั่วไปที่มีความสัมพันธ์อย่างเฉพาะเจาะจง มี 6 ประการ ดังนี้
1. ลูกค้า
2. คู่แข่งขัน
3. ผู้ขายวัตถุดิบ
4. แรงงาน
5. กฎระเบียบ
6. หุ้นส่วน
อ้างอิง: ชื่อหนังสือ การจัดการองค์การอุตสาหกรรมและการผลิต
ชื่อผู้แต่ง รองศาสตราจารย์ ดร. เปรื่อง กิจรัตน์ภร
สำนักพิมพ์ ศูนย์หนังสือราชภัฏพระนคร
ปีที่พิมพ์ 2544
นางสาวยุพาวรรณ ช่อมะลิ 5210125401078 การจัดการทั่วไป

Be^Knicknac^ กล่าวว่า...

การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม : ภายใน
สภาพแวดล้อมแวดล้อมภายในประกอบไปด้วย ปัจจัย (จุดแข็งและจุดอ่อน) ที่อยู่ภายในบริษัทและไม่ได้อยู่ภายใต้การควบคุมระยะสั้นของผู้บริหารระดับสูง ปัจจัยเหล่านี้ได้แก่ โครงสร้าง วัฒนธรรม และทรัพยากรของบริษัท
- โครงสร้างของบริษัท (Corporate Structure) จะแสดงให้เห็นถึงการรวมกลุ่มงาน ความสัมพันธ์ทางอำนาจหน้าที่ การไหลเวียนของงาน และการติดต่อสื่อสารภายในบริษัท เรามักจะเรียกโครงสร้างบริษัทนี้ว่า “สายการบังคับบัญชา” โดยทั่วไปโครงสร้างบริษัทจะแสดงให้เห็นสภาพภายในแผนภูมิองค์การ
- วัฒนธรรมขององค์การ (Corporate Culture) จะหมายถึงความเชื่อ ความคาดหวัง และค่ายนิยมร่วมกันของบรรดาบุคคลภายในบริษัท โดยทั่วไปจะปรากฏขึ้นมาเป็นบรรทัดฐานที่ระบุพฤติกรรมที่ยอมรับกันของบุคคล ตั้งแต่ผู้บริหารระดับสูงลงมาจนถึงพนักงานระดับล่างสุด
- ทรัพยากรของบริษัท (Corporate Resources) จะหมายถึงทรัพย์สินทุกอย่างภายในการผลิตและการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของบริษัท ทรัพย์สินเหล่านี้ ได้แก่ คน เงินทุน วัตถุดิบ โรงงาน เทคโนโลยี และทักษะ เป็นต้น
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม : ภายนอก
สภาพแวดล้อมภายนอกประกอบด้วยปัจจัย (โอกาสและอุปสรรค) ที่อยู่ภายนอกบริษัทและไม่ได้อยู่ภายใต้กรควบคุมของผู้บริหารระดับสูง โดยทั่วไปสภาพแวดล้อมภายนอกจะมีอยู่สองส่วนคือ : สภาพแวดล้อมการดำเนินงานและสภาพแวดล้อมโดยทั่วไป
- สภาพแวดล้อมการดำเนินงาน (Task Environment) จะประกอบด้วยปัจจัยที่กระทบและถูกกระทบโดยตรงต่อการดำเนินงานของบริษัทปัจจัยเหล่านี้ ได้แก่ ผู้มีส่วนได้เสีย รัฐบาล ผู้จำหน่ายวัตถุดิบ ชุมชน คู่แข่งขัน ลูกค้า เจ้าหนี้ สหภาพแรงงาน สมาคมการค้า และกลุ่มผลประโยชน์ เรามักจะเรียกสภาพแวดล้อมการดำเนินงานของบริษัทว่าอุตสาหกรรม
- สภาพแวดล้อมโดยทั่วไป (General Environment) จะประกอบด้วยปัจจัยที่ไม่กระทบโดยตรงต่อการดำเนินงานระยะสั้นของบริษัท ปัจจัยเหล่านี้จะมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจในระยะยาวของบริษัท ปัจจัยเหล่านี้ ได้แก่ เศรษฐกิจ สังคมวัฒนธรรม เทคโนโลยี และการเมือง กฎหมาย

อ้างอิงจาก สมยศ นาวีการ. (2535). การบริหารเชิงกลยุทธ์และนโยบายทางธุรกิจ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์.บรรณกิจเทรดดิ้ง
*น.ส.วณิดา สามทอง รหัส 5210125401065 เอกการจัดการทั่วไป ปี 4 *

Be^Knicknac^ กล่าวว่า...

การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม : ภายใน
สภาพแวดล้อมแวดล้อมภายในประกอบไปด้วย ปัจจัย (จุดแข็งและจุดอ่อน) ที่อยู่ภายในบริษัทและไม่ได้อยู่ภายใต้การควบคุมระยะสั้นของผู้บริหารระดับสูง ปัจจัยเหล่านี้ได้แก่ โครงสร้าง วัฒนธรรม และทรัพยากรของบริษัท
- โครงสร้างของบริษัท (Corporate Structure) จะแสดงให้เห็นถึงการรวมกลุ่มงาน ความสัมพันธ์ทางอำนาจหน้าที่ การไหลเวียนของงาน และการติดต่อสื่อสารภายในบริษัท เรามักจะเรียกโครงสร้างบริษัทนี้ว่า “สายการบังคับบัญชา” โดยทั่วไปโครงสร้างบริษัทจะแสดงให้เห็นสภาพภายในแผนภูมิองค์การ
- วัฒนธรรมขององค์การ (Corporate Culture) จะหมายถึงความเชื่อ ความคาดหวัง และค่ายนิยมร่วมกันของบรรดาบุคคลภายในบริษัท โดยทั่วไปจะปรากฏขึ้นมาเป็นบรรทัดฐานที่ระบุพฤติกรรมที่ยอมรับกันของบุคคล ตั้งแต่ผู้บริหารระดับสูงลงมาจนถึงพนักงานระดับล่างสุด
- ทรัพยากรของบริษัท (Corporate Resources) จะหมายถึงทรัพย์สินทุกอย่างภายในการผลิตและการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของบริษัท ทรัพย์สินเหล่านี้ ได้แก่ คน เงินทุน วัตถุดิบ โรงงาน เทคโนโลยี และทักษะ เป็นต้น
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม : ภายนอก
สภาพแวดล้อมภายนอกประกอบด้วยปัจจัย (โอกาสและอุปสรรค) ที่อยู่ภายนอกบริษัทและไม่ได้อยู่ภายใต้กรควบคุมของผู้บริหารระดับสูง โดยทั่วไปสภาพแวดล้อมภายนอกจะมีอยู่สองส่วนคือ : สภาพแวดล้อมการดำเนินงานและสภาพแวดล้อมโดยทั่วไป
- สภาพแวดล้อมการดำเนินงาน (Task Environment) จะประกอบด้วยปัจจัยที่กระทบและถูกกระทบโดยตรงต่อการดำเนินงานของบริษัทปัจจัยเหล่านี้ ได้แก่ ผู้มีส่วนได้เสีย รัฐบาล ผู้จำหน่ายวัตถุดิบ ชุมชน คู่แข่งขัน ลูกค้า เจ้าหนี้ สหภาพแรงงาน สมาคมการค้า และกลุ่มผลประโยชน์ เรามักจะเรียกสภาพแวดล้อมการดำเนินงานของบริษัทว่าอุตสาหกรรม
- สภาพแวดล้อมโดยทั่วไป (General Environment) จะประกอบด้วยปัจจัยที่ไม่กระทบโดยตรงต่อการดำเนินงานระยะสั้นของบริษัท ปัจจัยเหล่านี้จะมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจในระยะยาวของบริษัท ปัจจัยเหล่านี้ ได้แก่ เศรษฐกิจ สังคมวัฒนธรรม เทคโนโลยี และการเมือง กฎหมาย

อ้างอิงจาก สมยศ นาวีการ. (2535). การบริหารเชิงกลยุทธ์และนโยบายทางธุรกิจ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์.บรรณกิจเทรดดิ้ง
*น.ส.วณิดา สามทอง รหัส 5210125401065 เอกการจัดการทั่วไป ปี 4 *

Be^Knicknac^ กล่าวว่า...

การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม : ภายใน
สภาพแวดล้อมแวดล้อมภายในประกอบไปด้วย ปัจจัย (จุดแข็งและจุดอ่อน) ที่อยู่ภายในบริษัทและไม่ได้อยู่ภายใต้การควบคุมระยะสั้นของผู้บริหารระดับสูง ปัจจัยเหล่านี้ได้แก่ โครงสร้าง วัฒนธรรม และทรัพยากรของบริษัท
- โครงสร้างของบริษัท (Corporate Structure) จะแสดงให้เห็นถึงการรวมกลุ่มงาน ความสัมพันธ์ทางอำนาจหน้าที่ การไหลเวียนของงาน และการติดต่อสื่อสารภายในบริษัท เรามักจะเรียกโครงสร้างบริษัทนี้ว่า “สายการบังคับบัญชา” โดยทั่วไปโครงสร้างบริษัทจะแสดงให้เห็นสภาพภายในแผนภูมิองค์การ
- วัฒนธรรมขององค์การ (Corporate Culture) จะหมายถึงความเชื่อ ความคาดหวัง และค่ายนิยมร่วมกันของบรรดาบุคคลภายในบริษัท โดยทั่วไปจะปรากฏขึ้นมาเป็นบรรทัดฐานที่ระบุพฤติกรรมที่ยอมรับกันของบุคคล ตั้งแต่ผู้บริหารระดับสูงลงมาจนถึงพนักงานระดับล่างสุด
- ทรัพยากรของบริษัท (Corporate Resources) จะหมายถึงทรัพย์สินทุกอย่างภายในการผลิตและการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของบริษัท ทรัพย์สินเหล่านี้ ได้แก่ คน เงินทุน วัตถุดิบ โรงงาน เทคโนโลยี และทักษะ เป็นต้น
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม : ภายนอก
สภาพแวดล้อมภายนอกประกอบด้วยปัจจัย (โอกาสและอุปสรรค) ที่อยู่ภายนอกบริษัทและไม่ได้อยู่ภายใต้กรควบคุมของผู้บริหารระดับสูง โดยทั่วไปสภาพแวดล้อมภายนอกจะมีอยู่สองส่วนคือ : สภาพแวดล้อมการดำเนินงานและสภาพแวดล้อมโดยทั่วไป
- สภาพแวดล้อมการดำเนินงาน (Task Environment) จะประกอบด้วยปัจจัยที่กระทบและถูกกระทบโดยตรงต่อการดำเนินงานของบริษัทปัจจัยเหล่านี้ ได้แก่ ผู้มีส่วนได้เสีย รัฐบาล ผู้จำหน่ายวัตถุดิบ ชุมชน คู่แข่งขัน ลูกค้า เจ้าหนี้ สหภาพแรงงาน สมาคมการค้า และกลุ่มผลประโยชน์ เรามักจะเรียกสภาพแวดล้อมการดำเนินงานของบริษัทว่าอุตสาหกรรม
- สภาพแวดล้อมโดยทั่วไป (General Environment) จะประกอบด้วยปัจจัยที่ไม่กระทบโดยตรงต่อการดำเนินงานระยะสั้นของบริษัท ปัจจัยเหล่านี้จะมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจในระยะยาวของบริษัท ปัจจัยเหล่านี้ ได้แก่ เศรษฐกิจ สังคมวัฒนธรรม เทคโนโลยี และการเมือง กฎหมาย

อ้างอิงจาก สมยศ นาวีการ. (2535). การบริหารเชิงกลยุทธ์และนโยบายทางธุรกิจ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์.บรรณกิจเทรดดิ้ง
*น.ส.วณิดา สามทอง รหัส 5210125401065 เอกการจัดการทั่วไป ปี 4 *

Be^Knicknac^ กล่าวว่า...

การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม : ภายใน
สภาพแวดล้อมแวดล้อมภายในประกอบไปด้วย ปัจจัย (จุดแข็งและจุดอ่อน) ที่อยู่ภายในบริษัทและไม่ได้อยู่ภายใต้การควบคุมระยะสั้นของผู้บริหารระดับสูง ปัจจัยเหล่านี้ได้แก่ โครงสร้าง วัฒนธรรม และทรัพยากรของบริษัท
- โครงสร้างของบริษัท (Corporate Structure) จะแสดงให้เห็นถึงการรวมกลุ่มงาน ความสัมพันธ์ทางอำนาจหน้าที่ การไหลเวียนของงาน และการติดต่อสื่อสารภายในบริษัท เรามักจะเรียกโครงสร้างบริษัทนี้ว่า “สายการบังคับบัญชา” โดยทั่วไปโครงสร้างบริษัทจะแสดงให้เห็นสภาพภายในแผนภูมิองค์การ
- วัฒนธรรมขององค์การ (Corporate Culture) จะหมายถึงความเชื่อ ความคาดหวัง และค่ายนิยมร่วมกันของบรรดาบุคคลภายในบริษัท โดยทั่วไปจะปรากฏขึ้นมาเป็นบรรทัดฐานที่ระบุพฤติกรรมที่ยอมรับกันของบุคคล ตั้งแต่ผู้บริหารระดับสูงลงมาจนถึงพนักงานระดับล่างสุด
- ทรัพยากรของบริษัท (Corporate Resources) จะหมายถึงทรัพย์สินทุกอย่างภายในการผลิตและการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของบริษัท ทรัพย์สินเหล่านี้ ได้แก่ คน เงินทุน วัตถุดิบ โรงงาน เทคโนโลยี และทักษะ เป็นต้น
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม : ภายนอก
สภาพแวดล้อมภายนอกประกอบด้วยปัจจัย (โอกาสและอุปสรรค) ที่อยู่ภายนอกบริษัทและไม่ได้อยู่ภายใต้กรควบคุมของผู้บริหารระดับสูง โดยทั่วไปสภาพแวดล้อมภายนอกจะมีอยู่สองส่วนคือ : สภาพแวดล้อมการดำเนินงานและสภาพแวดล้อมโดยทั่วไป
- สภาพแวดล้อมการดำเนินงาน (Task Environment) จะประกอบด้วยปัจจัยที่กระทบและถูกกระทบโดยตรงต่อการดำเนินงานของบริษัทปัจจัยเหล่านี้ ได้แก่ ผู้มีส่วนได้เสีย รัฐบาล ผู้จำหน่ายวัตถุดิบ ชุมชน คู่แข่งขัน ลูกค้า เจ้าหนี้ สหภาพแรงงาน สมาคมการค้า และกลุ่มผลประโยชน์ เรามักจะเรียกสภาพแวดล้อมการดำเนินงานของบริษัทว่าอุตสาหกรรม
- สภาพแวดล้อมโดยทั่วไป (General Environment) จะประกอบด้วยปัจจัยที่ไม่กระทบโดยตรงต่อการดำเนินงานระยะสั้นของบริษัท ปัจจัยเหล่านี้จะมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจในระยะยาวของบริษัท ปัจจัยเหล่านี้ ได้แก่ เศรษฐกิจ สังคมวัฒนธรรม เทคโนโลยี และการเมือง กฎหมาย

อ้างอิงจาก สมยศ นาวีการ. (2535). การบริหารเชิงกลยุทธ์และนโยบายทางธุรกิจ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์.บรรณกิจเทรดดิ้ง
*น.ส.วณิดา สามทอง รหัส 5210125401065 เอกการจัดการทั่วไป ปี 4 *

tikjung กล่าวว่า...

สภาพแวดล้อมภายนอก (External Environment)
สภาพแวดล้อมภายนอกเป็นกิจการอยู่นอกขอบเขตขององค์การ ซึ่งผู้บริหารไม่สามารถควบคุมโดยตรงได้ แต่พลังสภาพแวดล้อมภายนอกนี้จะส่งผลกระทบถึงศักยภาพของการบริหารองค์การและความสามารถ ในการบรรลุเป้าหมายขององค์การได้ผู้บริหารจะต้องประเมินโอกาสและอุปสรรคจากสิ่งแวดล้อมภายนอก ทั้งปัจจุบันและอนาคตเพื่อวางแผนในการพัฒนาองค์การต่อไป
เมื่อพิจารณาผลกระทบต่อองค์การ สภาพแวดล้อมภายนอกจะประกอบด้วยสภาพแวดล้อมโดยทั่วไป(General Environment) และสภาพแวดล้อมในการดำเนินงาน โดยมีรายละเอียด ดังนี้
1. สภาพแวดล้อมโดยทั่วไป (General Environment) จะประกอบด้วยปัจจัยที่มีขอบเขตกว้างและองค์กรไม่สามารถควบคุมได้ ดังนั้นสภาพแวดล้อมโดยทั่วไปประกอบด้วยส่วนที่เกี่ยวข้องระหว่างกันซึ่งอาจแบ่งออกเป็น 6 ส่วน ดังนี้
1.1 สภาพแวดล้อมด้านประชากรศาสตร์ (Demographic Environment)
1.2 สภาพแวดล้อมด้านสังคมและวัฒนธรรม (Sociocultural Environment)
1.3 สภาพแวดล้อมด้านการเมืองและกฎหมาย ( Political / Legal Environment )
1.4 สภาพแวดล้อมทางเทคโนโลยี ( Technological Environment )
1.5 สภาพแวดล้อมด้านเศรษฐกิจมหภาค ( Macroeconomic Environment )
1.6 สภาพแวดล้อมระดับโลก ( Global Environment)
2. สภาพแวดล้อมในการดำเนินงาน (Operating Environment) เป็นสิ่งแวดล้อมภายนอกองค์การ ประกอบไปด้วยปัจจัยทั่วไปที่มีความสัมพันธ์อย่างเฉพาะเจาะจง มี 6 ประการ ดังนี้
1. ลูกค้า
2. คู่แข่งขัน
3. ผู้ขายวัตถุดิบ
4. แรงงาน
5. กฎระเบียบ
6. หุ้นส่วน
อ้างอิง: ชื่อหนังสือ การจัดการองค์การอุตสาหกรรมและการผลิต
ชื่อผู้แต่ง รองศาสตราจารย์ ดร. เปรื่อง กิจรัตน์ภร
สำนักพิมพ์ ศูนย์หนังสือราชภัฏพระนคร
ปีที่พิมพ์ 2544
นางสาวยุพาวรรณ ช่อมะลิ 5210125401078 การจัดการทั่วไป

tikjung กล่าวว่า...

สภาพแวดล้อมภายนอก (External Environment)
สภาพแวดล้อมภายนอกเป็นกิจการอยู่นอกขอบเขตขององค์การ ซึ่งผู้บริหารไม่สามารถควบคุมโดยตรงได้ แต่พลังสภาพแวดล้อมภายนอกนี้จะส่งผลกระทบถึงศักยภาพของการบริหารองค์การและความสามารถ ในการบรรลุเป้าหมายขององค์การได้ผู้บริหารจะต้องประเมินโอกาสและอุปสรรคจากสิ่งแวดล้อมภายนอก ทั้งปัจจุบันและอนาคตเพื่อวางแผนในการพัฒนาองค์การต่อไป
เมื่อพิจารณาผลกระทบต่อองค์การ สภาพแวดล้อมภายนอกจะประกอบด้วยสภาพแวดล้อมโดยทั่วไป(General Environment) และสภาพแวดล้อมในการดำเนินงาน โดยมีรายละเอียด ดังนี้
1. สภาพแวดล้อมโดยทั่วไป (General Environment) จะประกอบด้วยปัจจัยที่มีขอบเขตกว้างและองค์กรไม่สามารถควบคุมได้ ดังนั้นสภาพแวดล้อมโดยทั่วไปประกอบด้วยส่วนที่เกี่ยวข้องระหว่างกันซึ่งอาจแบ่งออกเป็น 6 ส่วน ดังนี้
1.1 สภาพแวดล้อมด้านประชากรศาสตร์ (Demographic Environment)
1.2 สภาพแวดล้อมด้านสังคมและวัฒนธรรม (Sociocultural Environment)
1.3 สภาพแวดล้อมด้านการเมืองและกฎหมาย ( Political / Legal Environment )
1.4 สภาพแวดล้อมทางเทคโนโลยี ( Technological Environment )
1.5 สภาพแวดล้อมด้านเศรษฐกิจมหภาค ( Macroeconomic Environment )
1.6 สภาพแวดล้อมระดับโลก ( Global Environment)
2. สภาพแวดล้อมในการดำเนินงาน (Operating Environment) เป็นสิ่งแวดล้อมภายนอกองค์การ ประกอบไปด้วยปัจจัยทั่วไปที่มีความสัมพันธ์อย่างเฉพาะเจาะจง มี 6 ประการ ดังนี้
1. ลูกค้า
2. คู่แข่งขัน
3. ผู้ขายวัตถุดิบ
4. แรงงาน
5. กฎระเบียบ
6. หุ้นส่วน
อ้างอิง: ชื่อหนังสือ การจัดการองค์การอุตสาหกรรมและการผลิต
ชื่อผู้แต่ง รองศาสตราจารย์ ดร. เปรื่อง กิจรัตน์ภร
สำนักพิมพ์ ศูนย์หนังสือราชภัฏพระนคร
ปีที่พิมพ์ 2544
นางสาวยุพาวรรณ ช่อมะลิ 5210125401078 การจัดการทั่วไป

tikjung กล่าวว่า...

สภาพแวดล้อมภายนอก (External Environment)
สภาพแวดล้อมภายนอกเป็นกิจการอยู่นอกขอบเขตขององค์การ ซึ่งผู้บริหารไม่สามารถควบคุมโดยตรงได้ แต่พลังสภาพแวดล้อมภายนอกนี้จะส่งผลกระทบถึงศักยภาพของการบริหารองค์การและความสามารถ ในการบรรลุเป้าหมายขององค์การได้ผู้บริหารจะต้องประเมินโอกาสและอุปสรรคจากสิ่งแวดล้อมภายนอก ทั้งปัจจุบันและอนาคตเพื่อวางแผนในการพัฒนาองค์การต่อไป
เมื่อพิจารณาผลกระทบต่อองค์การ สภาพแวดล้อมภายนอกจะประกอบด้วยสภาพแวดล้อมโดยทั่วไป(General Environment) และสภาพแวดล้อมในการดำเนินงาน โดยมีรายละเอียด ดังนี้
1. สภาพแวดล้อมโดยทั่วไป (General Environment) จะประกอบด้วยปัจจัยที่มีขอบเขตกว้างและองค์กรไม่สามารถควบคุมได้ ดังนั้นสภาพแวดล้อมโดยทั่วไปประกอบด้วยส่วนที่เกี่ยวข้องระหว่างกันซึ่งอาจแบ่งออกเป็น 6 ส่วน ดังนี้
1.1 สภาพแวดล้อมด้านประชากรศาสตร์ (Demographic Environment)
1.2 สภาพแวดล้อมด้านสังคมและวัฒนธรรม (Sociocultural Environment)
1.3 สภาพแวดล้อมด้านการเมืองและกฎหมาย ( Political / Legal Environment )
1.4 สภาพแวดล้อมทางเทคโนโลยี ( Technological Environment )
1.5 สภาพแวดล้อมด้านเศรษฐกิจมหภาค ( Macroeconomic Environment )
1.6 สภาพแวดล้อมระดับโลก ( Global Environment)
2. สภาพแวดล้อมในการดำเนินงาน (Operating Environment) เป็นสิ่งแวดล้อมภายนอกองค์การ ประกอบไปด้วยปัจจัยทั่วไปที่มีความสัมพันธ์อย่างเฉพาะเจาะจง มี 6 ประการ ดังนี้
1. ลูกค้า
2. คู่แข่งขัน
3. ผู้ขายวัตถุดิบ
4. แรงงาน
5. กฎระเบียบ
6. หุ้นส่วน
อ้างอิง: ชื่อหนังสือ การจัดการองค์การอุตสาหกรรมและการผลิต
ชื่อผู้แต่ง รองศาสตราจารย์ ดร. เปรื่อง กิจรัตน์ภร
สำนักพิมพ์ ศูนย์หนังสือราชภัฏพระนคร
ปีที่พิมพ์ 2544
นางสาวยุพาวรรณ ช่อมะลิ 5210125401078 การจัดการทั่วไป

tikjung กล่าวว่า...

สภาพแวดล้อมภายนอก (External Environment)
สภาพแวดล้อมภายนอกเป็นกิจการอยู่นอกขอบเขตขององค์การ ซึ่งผู้บริหารไม่สามารถควบคุมโดยตรงได้ แต่พลังสภาพแวดล้อมภายนอกนี้จะส่งผลกระทบถึงศักยภาพของการบริหารองค์การและความสามารถ ในการบรรลุเป้าหมายขององค์การได้ผู้บริหารจะต้องประเมินโอกาสและอุปสรรคจากสิ่งแวดล้อมภายนอก ทั้งปัจจุบันและอนาคตเพื่อวางแผนในการพัฒนาองค์การต่อไป
เมื่อพิจารณาผลกระทบต่อองค์การ สภาพแวดล้อมภายนอกจะประกอบด้วยสภาพแวดล้อมโดยทั่วไป(General Environment) และสภาพแวดล้อมในการดำเนินงาน โดยมีรายละเอียด ดังนี้
1. สภาพแวดล้อมโดยทั่วไป (General Environment) จะประกอบด้วยปัจจัยที่มีขอบเขตกว้างและองค์กรไม่สามารถควบคุมได้ ดังนั้นสภาพแวดล้อมโดยทั่วไปประกอบด้วยส่วนที่เกี่ยวข้องระหว่างกันซึ่งอาจแบ่งออกเป็น 6 ส่วน ดังนี้
1.1 สภาพแวดล้อมด้านประชากรศาสตร์ (Demographic Environment)
1.2 สภาพแวดล้อมด้านสังคมและวัฒนธรรม (Sociocultural Environment)
1.3 สภาพแวดล้อมด้านการเมืองและกฎหมาย ( Political / Legal Environment )
1.4 สภาพแวดล้อมทางเทคโนโลยี ( Technological Environment )
1.5 สภาพแวดล้อมด้านเศรษฐกิจมหภาค ( Macroeconomic Environment )
1.6 สภาพแวดล้อมระดับโลก ( Global Environment)
2. สภาพแวดล้อมในการดำเนินงาน (Operating Environment) เป็นสิ่งแวดล้อมภายนอกองค์การ ประกอบไปด้วยปัจจัยทั่วไปที่มีความสัมพันธ์อย่างเฉพาะเจาะจง มี 6 ประการ ดังนี้
1. ลูกค้า
2. คู่แข่งขัน
3. ผู้ขายวัตถุดิบ
4. แรงงาน
5. กฎระเบียบ
6. หุ้นส่วน
อ้างอิง: ชื่อหนังสือ การจัดการองค์การอุตสาหกรรมและการผลิต
ชื่อผู้แต่ง รองศาสตราจารย์ ดร. เปรื่อง กิจรัตน์ภร
สำนักพิมพ์ ศูนย์หนังสือราชภัฏพระนคร
ปีที่พิมพ์ 2544
นางสาวยุพาวรรณ ช่อมะลิ 5210125401078 การจัดการทั่วไป

tikjung กล่าวว่า...

สภาพแวดล้อมภายนอก (External Environment)
สภาพแวดล้อมภายนอกเป็นกิจการอยู่นอกขอบเขตขององค์การ ซึ่งผู้บริหารไม่สามารถควบคุมโดยตรงได้ แต่พลังสภาพแวดล้อมภายนอกนี้จะส่งผลกระทบถึงศักยภาพของการบริหารองค์การและความสามารถ ในการบรรลุเป้าหมายขององค์การได้ผู้บริหารจะต้องประเมินโอกาสและอุปสรรคจากสิ่งแวดล้อมภายนอก ทั้งปัจจุบันและอนาคตเพื่อวางแผนในการพัฒนาองค์การต่อไป
เมื่อพิจารณาผลกระทบต่อองค์การ สภาพแวดล้อมภายนอกจะประกอบด้วยสภาพแวดล้อมโดยทั่วไป(General Environment) และสภาพแวดล้อมในการดำเนินงาน โดยมีรายละเอียด ดังนี้
1. สภาพแวดล้อมโดยทั่วไป (General Environment) จะประกอบด้วยปัจจัยที่มีขอบเขตกว้างและองค์กรไม่สามารถควบคุมได้ ดังนั้นสภาพแวดล้อมโดยทั่วไปประกอบด้วยส่วนที่เกี่ยวข้องระหว่างกันซึ่งอาจแบ่งออกเป็น 6 ส่วน ดังนี้
1.1 สภาพแวดล้อมด้านประชากรศาสตร์ (Demographic Environment)
1.2 สภาพแวดล้อมด้านสังคมและวัฒนธรรม (Sociocultural Environment)
1.3 สภาพแวดล้อมด้านการเมืองและกฎหมาย ( Political / Legal Environment )
1.4 สภาพแวดล้อมทางเทคโนโลยี ( Technological Environment )
1.5 สภาพแวดล้อมด้านเศรษฐกิจมหภาค ( Macroeconomic Environment )
1.6 สภาพแวดล้อมระดับโลก ( Global Environment)
2. สภาพแวดล้อมในการดำเนินงาน (Operating Environment) เป็นสิ่งแวดล้อมภายนอกองค์การ ประกอบไปด้วยปัจจัยทั่วไปที่มีความสัมพันธ์อย่างเฉพาะเจาะจง มี 6 ประการ ดังนี้
1. ลูกค้า
2. คู่แข่งขัน
3. ผู้ขายวัตถุดิบ
4. แรงงาน
5. กฎระเบียบ
6. หุ้นส่วน
อ้างอิง: ชื่อหนังสือ การจัดการองค์การอุตสาหกรรมและการผลิต
ชื่อผู้แต่ง รองศาสตราจารย์ ดร. เปรื่อง กิจรัตน์ภร
สำนักพิมพ์ ศูนย์หนังสือราชภัฏพระนคร
ปีที่พิมพ์ 2544
นางสาวยุพาวรรณ ช่อมะลิ 5210125401078 การจัดการทั่วไป

tikjung กล่าวว่า...

สภาพแวดล้อมภายนอก (External Environment)
สภาพแวดล้อมภายนอกเป็นกิจการอยู่นอกขอบเขตขององค์การ ซึ่งผู้บริหารไม่สามารถควบคุมโดยตรงได้ แต่พลังสภาพแวดล้อมภายนอกนี้จะส่งผลกระทบถึงศักยภาพของการบริหารองค์การและความสามารถ ในการบรรลุเป้าหมายขององค์การได้ผู้บริหารจะต้องประเมินโอกาสและอุปสรรคจากสิ่งแวดล้อมภายนอก ทั้งปัจจุบันและอนาคตเพื่อวางแผนในการพัฒนาองค์การต่อไป
เมื่อพิจารณาผลกระทบต่อองค์การ สภาพแวดล้อมภายนอกจะประกอบด้วยสภาพแวดล้อมโดยทั่วไป(General Environment) และสภาพแวดล้อมในการดำเนินงาน โดยมีรายละเอียด ดังนี้
1. สภาพแวดล้อมโดยทั่วไป (General Environment) จะประกอบด้วยปัจจัยที่มีขอบเขตกว้างและองค์กรไม่สามารถควบคุมได้ ดังนั้นสภาพแวดล้อมโดยทั่วไปประกอบด้วยส่วนที่เกี่ยวข้องระหว่างกันซึ่งอาจแบ่งออกเป็น 6 ส่วน ดังนี้
1.1 สภาพแวดล้อมด้านประชากรศาสตร์ (Demographic Environment)
1.2 สภาพแวดล้อมด้านสังคมและวัฒนธรรม (Sociocultural Environment)
1.3 สภาพแวดล้อมด้านการเมืองและกฎหมาย ( Political / Legal Environment )
1.4 สภาพแวดล้อมทางเทคโนโลยี ( Technological Environment )
1.5 สภาพแวดล้อมด้านเศรษฐกิจมหภาค ( Macroeconomic Environment )
1.6 สภาพแวดล้อมระดับโลก ( Global Environment)
2. สภาพแวดล้อมในการดำเนินงาน (Operating Environment) เป็นสิ่งแวดล้อมภายนอกองค์การ ประกอบไปด้วยปัจจัยทั่วไปที่มีความสัมพันธ์อย่างเฉพาะเจาะจง มี 6 ประการ ดังนี้
1. ลูกค้า
2. คู่แข่งขัน
3. ผู้ขายวัตถุดิบ
4. แรงงาน
5. กฎระเบียบ
6. หุ้นส่วน
อ้างอิง: ชื่อหนังสือ การจัดการองค์การอุตสาหกรรมและการผลิต
ชื่อผู้แต่ง รองศาสตราจารย์ ดร. เปรื่อง กิจรัตน์ภร
สำนักพิมพ์ ศูนย์หนังสือราชภัฏพระนคร
ปีที่พิมพ์ 2544
นางสาวยุพาวรรณ ช่อมะลิ 5210125401078 การจัดการทั่วไป

Unknown กล่าวว่า...

สภาพแวดล้อมอุตสาหกรรม
การคุกคามจากคู่แข่งขันที่จะเข้ามาใหม่
ก่อนที่คู่แข่งขันรายใหม่จะเข้ามาในตลาด อย่างน้อยกิจการนั้นๆ ต้องมีความมุ่งมั่นที่จะช่วงชิงส่วนแบ่งตลาดและต้องมั่นในว่ากิจการของตนมีความแตกต่างจากกิจการที่มีอยู่เดิม ซึ่งความแตกต่างนี้อาจเกิดจากเทคโนดลยีที่เหนือกว่า ชื่อเสียงผลิตภัณฑ์ดีกว่า ราคาต่ำกว่า เงินทุนที่มากกว่าหรือแม้กระทั้งอาศัยช่องว่างของตลาดและอื่นๆ ดังนั้นคู่แข่งขันรายใหม่จึงถือเป็นภัยคุกคามที่น่ากลัว ซึ่งในอุตสาหกรรมที่มีช่องว่างให้คู่แข่งขันรายใหม่เข้ามามีมากเพียงใดสภาพแวดล้อมการแข่งขันจะยิ่งเข้มข้นมากขึ้นตามละดับและในที่สุดจะส่งผลต่อระดับกำไรของกิจการที่มีอยู่เดิม
การคุกคามจากคู่แข่งขันที่จะเข้ามาใหม่ในธุรกิจแต่ละประเภทจะมีความแตกต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยที่สำคัญ 2 ประการคือ
1. อุปสรรคที่สกัดกั้นผู้ที่จะเข้ามาใหม่ ซึ่งมีทั้งในด้านต้นทุน ภาพลักษณ์ ความภักดีและต้นทุนการเปลี่ยนแปลงผลิตภัณฑ์ของลูกค้า เงินทุน ช่องทางการจัดจำหน่าย นโยบาย กฎหมาย ระเบียบและกฎเกณฑ์ของรัฐ
2. การคาดคะเนปฏิกิริยาการตอบโต้ของกิจการที่มีอยู่เดิม นอกจากกิจการรายใหม่จะต้องประเมินอุปสรรคกีดกั้นในการเข้าตลาดของตนแล้ว ผู้ที่จะเข้ามาใหม่จะต้องประเมินปฏิกิริยาการตอบโต้ของกิจการที่มีอยู่เดิมว่าจะมีมากน้อยเพียงใด เพราะถ้าแรงตอบโต้สูงย่อมก่อให้เกิดสงครามการแข่งขันและอาจลุกลามไปถึง “สงครามราคา” ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อผู้เข้ามาใหม่และอุตสาหกรรมโดยส่วนรวม
อ้างอิง อำนาจ ธีระวนิช. (2549). ผู้ประกอบการ. กรุงเทพฯ

นางสาววัชรี ทองห่อ รหัส5210125401052 เอกการจัดการทั่วไป ปี 4

tikjung กล่าวว่า...

สภาพแวดล้อมภายนอก (External Environment)
สภาพแวดล้อมภายนอกเป็นกิจการอยู่นอกขอบเขตขององค์การ ซึ่งผู้บริหารไม่สามารถควบคุมโดยตรงได้ แต่พลังสภาพแวดล้อมภายนอกนี้จะส่งผลกระทบถึงศักยภาพของการบริหารองค์การและความสามารถ ในการบรรลุเป้าหมายขององค์การได้ผู้บริหารจะต้องประเมินโอกาสและอุปสรรคจากสิ่งแวดล้อมภายนอก ทั้งปัจจุบันและอนาคตเพื่อวางแผนในการพัฒนาองค์การต่อไป
เมื่อพิจารณาผลกระทบต่อองค์การ สภาพแวดล้อมภายนอกจะประกอบด้วยสภาพแวดล้อมโดยทั่วไป(General Environment) และสภาพแวดล้อมในการดำเนินงาน โดยมีรายละเอียด ดังนี้
1. สภาพแวดล้อมโดยทั่วไป (General Environment) จะประกอบด้วยปัจจัยที่มีขอบเขตกว้างและองค์กรไม่สามารถควบคุมได้ ดังนั้นสภาพแวดล้อมโดยทั่วไปประกอบด้วยส่วนที่เกี่ยวข้องระหว่างกันซึ่งอาจแบ่งออกเป็น 6 ส่วน ดังนี้
1.1 สภาพแวดล้อมด้านประชากรศาสตร์ (Demographic Environment)
1.2 สภาพแวดล้อมด้านสังคมและวัฒนธรรม (Sociocultural Environment)
1.3 สภาพแวดล้อมด้านการเมืองและกฎหมาย ( Political / Legal Environment )
1.4 สภาพแวดล้อมทางเทคโนโลยี ( Technological Environment )
1.5 สภาพแวดล้อมด้านเศรษฐกิจมหภาค ( Macroeconomic Environment )
1.6 สภาพแวดล้อมระดับโลก ( Global Environment)
2. สภาพแวดล้อมในการดำเนินงาน (Operating Environment) เป็นสิ่งแวดล้อมภายนอกองค์การ ประกอบไปด้วยปัจจัยทั่วไปที่มีความสัมพันธ์อย่างเฉพาะเจาะจง มี 6 ประการ ดังนี้
1. ลูกค้า
2. คู่แข่งขัน
3. ผู้ขายวัตถุดิบ
4. แรงงาน
5. กฎระเบียบ
6. หุ้นส่วน
อ้างอิง: ชื่อหนังสือ การจัดการองค์การอุตสาหกรรมและการผลิต
ชื่อผู้แต่ง รองศาสตราจารย์ ดร. เปรื่อง กิจรัตน์ภร
สำนักพิมพ์ ศูนย์หนังสือราชภัฏพระนคร
ปีที่พิมพ์ 2544
นางสาวยุพาวรรณ ช่อมะลิ 5210125401078 การจัดการทั่วไป

tikjung กล่าวว่า...

สภาพแวดล้อมภายนอก (External Environment)
สภาพแวดล้อมภายนอกเป็นกิจการอยู่นอกขอบเขตขององค์การ ซึ่งผู้บริหารไม่สามารถควบคุมโดยตรงได้ แต่พลังสภาพแวดล้อมภายนอกนี้จะส่งผลกระทบถึงศักยภาพของการบริหารองค์การและความสามารถ ในการบรรลุเป้าหมายขององค์การได้ผู้บริหารจะต้องประเมินโอกาสและอุปสรรคจากสิ่งแวดล้อมภายนอก ทั้งปัจจุบันและอนาคตเพื่อวางแผนในการพัฒนาองค์การต่อไป
เมื่อพิจารณาผลกระทบต่อองค์การ สภาพแวดล้อมภายนอกจะประกอบด้วยสภาพแวดล้อมโดยทั่วไป(General Environment) และสภาพแวดล้อมในการดำเนินงาน โดยมีรายละเอียด ดังนี้
1. สภาพแวดล้อมโดยทั่วไป (General Environment) จะประกอบด้วยปัจจัยที่มีขอบเขตกว้างและองค์กรไม่สามารถควบคุมได้ ดังนั้นสภาพแวดล้อมโดยทั่วไปประกอบด้วยส่วนที่เกี่ยวข้องระหว่างกันซึ่งอาจแบ่งออกเป็น 6 ส่วน ดังนี้
1.1 สภาพแวดล้อมด้านประชากรศาสตร์ (Demographic Environment)
1.2 สภาพแวดล้อมด้านสังคมและวัฒนธรรม (Sociocultural Environment)
1.3 สภาพแวดล้อมด้านการเมืองและกฎหมาย ( Political / Legal Environment )
1.4 สภาพแวดล้อมทางเทคโนโลยี ( Technological Environment )
1.5 สภาพแวดล้อมด้านเศรษฐกิจมหภาค ( Macroeconomic Environment )
1.6 สภาพแวดล้อมระดับโลก ( Global Environment)
2. สภาพแวดล้อมในการดำเนินงาน (Operating Environment) เป็นสิ่งแวดล้อมภายนอกองค์การ ประกอบไปด้วยปัจจัยทั่วไปที่มีความสัมพันธ์อย่างเฉพาะเจาะจง มี 6 ประการ ดังนี้
1. ลูกค้า
2. คู่แข่งขัน
3. ผู้ขายวัตถุดิบ
4. แรงงาน
5. กฎระเบียบ
6. หุ้นส่วน
อ้างอิง: ชื่อหนังสือ การจัดการองค์การอุตสาหกรรมและการผลิต
ชื่อผู้แต่ง รองศาสตราจารย์ ดร. เปรื่อง กิจรัตน์ภร
สำนักพิมพ์ ศูนย์หนังสือราชภัฏพระนคร
ปีที่พิมพ์ 2544
นางสาวยุพาวรรณ ช่อมะลิ 5210125401078 การจัดการทั่วไป

blueheart กล่าวว่า...

สภาพแวดล้อมภายนอก (External Environment)
สภาพแวดล้อมภายนอกเป็นกิจการอยู่นอกขอบเขตขององค์การ ซึ่งผู้บริหารไม่สามารถควบคุมโดยตรงได้ แต่พลังสภาพแวดล้อมภายนอกนี้จะส่งผลกระทบถึงศักยภาพของการบริหารองค์การและความสามารถ ในการบรรลุเป้าหมายขององค์การได้ผู้บริหารจะต้องประเมินโอกาสและอุปสรรคจากสิ่งแวดล้อมภายนอก ทั้งปัจจุบันและอนาคตเพื่อวางแผนในการพัฒนาองค์การต่อไป
เมื่อพิจารณาผลกระทบต่อองค์การ สภาพแวดล้อมภายนอกจะประกอบด้วยสภาพแวดล้อมโดยทั่วไป(General Environment) และสภาพแวดล้อมในการดำเนินงาน โดยมีรายละเอียด ดังนี้
1. สภาพแวดล้อมโดยทั่วไป (General Environment) จะประกอบด้วยปัจจัยที่มีขอบเขตกว้างและองค์กรไม่สามารถควบคุมได้ ดังนั้นสภาพแวดล้อมโดยทั่วไปประกอบด้วยส่วนที่เกี่ยวข้องระหว่างกันซึ่งอาจแบ่งออกเป็น 6 ส่วน ดังนี้
1.1 สภาพแวดล้อมด้านประชากรศาสตร์ (Demographic Environment)
1.2 สภาพแวดล้อมด้านสังคมและวัฒนธรรม (Sociocultural Environment)
1.3 สภาพแวดล้อมด้านการเมืองและกฎหมาย ( Political / Legal Environment )
1.4 สภาพแวดล้อมทางเทคโนโลยี ( Technological Environment )
1.5 สภาพแวดล้อมด้านเศรษฐกิจมหภาค ( Macroeconomic Environment )
1.6 สภาพแวดล้อมระดับโลก ( Global Environment)
2. สภาพแวดล้อมในการดำเนินงาน (Operating Environment) เป็นสิ่งแวดล้อมภายนอกองค์การ ประกอบไปด้วยปัจจัยทั่วไปที่มีความสัมพันธ์อย่างเฉพาะเจาะจง มี 6 ประการ ดังนี้
1. ลูกค้า
2. คู่แข่งขัน
3. ผู้ขายวัตถุดิบ
4. แรงงาน
5. กฎระเบียบ
6. หุ้นส่วน
อ้างอิง: ชื่อหนังสือ การจัดการองค์การอุตสาหกรรมและการผลิต
ชื่อผู้แต่ง รองศาสตราจารย์ ดร. เปรื่อง กิจรัตน์ภร
สำนักพิมพ์ ศูนย์หนังสือราชภัฏพระนคร
ปีที่พิมพ์ 2544
นางสาวยุพาวรรณ ช่อมะลิ 5210125401078 การจัดการทั่วไป

blueheart กล่าวว่า...

สภาพแวดล้อมภายนอก (External Environment)
สภาพแวดล้อมภายนอกเป็นกิจการอยู่นอกขอบเขตขององค์การ ซึ่งผู้บริหารไม่สามารถควบคุมโดยตรงได้ แต่พลังสภาพแวดล้อมภายนอกนี้จะส่งผลกระทบถึงศักยภาพของการบริหารองค์การและความสามารถ ในการบรรลุเป้าหมายขององค์การได้ผู้บริหารจะต้องประเมินโอกาสและอุปสรรคจากสิ่งแวดล้อมภายนอก ทั้งปัจจุบันและอนาคตเพื่อวางแผนในการพัฒนาองค์การต่อไป
เมื่อพิจารณาผลกระทบต่อองค์การ สภาพแวดล้อมภายนอกจะประกอบด้วยสภาพแวดล้อมโดยทั่วไป(General Environment) และสภาพแวดล้อมในการดำเนินงาน โดยมีรายละเอียด ดังนี้
1. สภาพแวดล้อมโดยทั่วไป (General Environment) จะประกอบด้วยปัจจัยที่มีขอบเขตกว้างและองค์กรไม่สามารถควบคุมได้ ดังนั้นสภาพแวดล้อมโดยทั่วไปประกอบด้วยส่วนที่เกี่ยวข้องระหว่างกันซึ่งอาจแบ่งออกเป็น 6 ส่วน ดังนี้
1.1 สภาพแวดล้อมด้านประชากรศาสตร์ (Demographic Environment)
1.2 สภาพแวดล้อมด้านสังคมและวัฒนธรรม (Sociocultural Environment)
1.3 สภาพแวดล้อมด้านการเมืองและกฎหมาย ( Political / Legal Environment )
1.4 สภาพแวดล้อมทางเทคโนโลยี ( Technological Environment )
1.5 สภาพแวดล้อมด้านเศรษฐกิจมหภาค ( Macroeconomic Environment )
1.6 สภาพแวดล้อมระดับโลก ( Global Environment)
2. สภาพแวดล้อมในการดำเนินงาน (Operating Environment) เป็นสิ่งแวดล้อมภายนอกองค์การ ประกอบไปด้วยปัจจัยทั่วไปที่มีความสัมพันธ์อย่างเฉพาะเจาะจง มี 6 ประการ ดังนี้
1. ลูกค้า
2. คู่แข่งขัน
3. ผู้ขายวัตถุดิบ
4. แรงงาน
5. กฎระเบียบ
6. หุ้นส่วน
อ้างอิง: ชื่อหนังสือ การจัดการองค์การอุตสาหกรรมและการผลิต
ชื่อผู้แต่ง รองศาสตราจารย์ ดร. เปรื่อง กิจรัตน์ภร
สำนักพิมพ์ ศูนย์หนังสือราชภัฏพระนคร
ปีที่พิมพ์ 2544
นางสาวยุพาวรรณ ช่อมะลิ 5210125401078 การจัดการทั่วไป

Unknown กล่าวว่า...

สภาพแวดล้อมอุตสาหกรรม
การคุกคามจากคู่แข่งขันที่จะเข้ามาใหม่
ก่อนที่คู่แข่งขันรายใหม่จะเข้ามาในตลาด อย่างน้อยกิจการนั้นๆ ต้องมีความมุ่งมั่นที่จะช่วงชิงส่วนแบ่งตลาดและต้องมั่นในว่ากิจการของตนมีความแตกต่างจากกิจการที่มีอยู่เดิม ซึ่งความแตกต่างนี้อาจเกิดจากเทคโนดลยีที่เหนือกว่า ชื่อเสียงผลิตภัณฑ์ดีกว่า ราคาต่ำกว่า เงินทุนที่มากกว่าหรือแม้กระทั้งอาศัยช่องว่างของตลาดและอื่นๆ ดังนั้นคู่แข่งขันรายใหม่จึงถือเป็นภัยคุกคามที่น่ากลัว ซึ่งในอุตสาหกรรมที่มีช่องว่างให้คู่แข่งขันรายใหม่เข้ามามีมากเพียงใดสภาพแวดล้อมการแข่งขันจะยิ่งเข้มข้นมากขึ้นตามละดับและในที่สุดจะส่งผลต่อระดับกำไรของกิจการที่มีอยู่เดิม
การคุกคามจากคู่แข่งขันที่จะเข้ามาใหม่ในธุรกิจแต่ละประเภทจะมีความแตกต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยที่สำคัญ 2 ประการคือ
1. อุปสรรคที่สกัดกั้นผู้ที่จะเข้ามาใหม่ ซึ่งมีทั้งในด้านต้นทุน ภาพลักษณ์ ความภักดีและต้นทุนการเปลี่ยนแปลงผลิตภัณฑ์ของลูกค้า เงินทุน ช่องทางการจัดจำหน่าย นโยบาย กฎหมาย ระเบียบและกฎเกณฑ์ของรัฐ
2. การคาดคะเนปฏิกิริยาการตอบโต้ของกิจการที่มีอยู่เดิม นอกจากกิจการรายใหม่จะต้องประเมินอุปสรรคกีดกั้นในการเข้าตลาดของตนแล้ว ผู้ที่จะเข้ามาใหม่จะต้องประเมินปฏิกิริยาการตอบโต้ของกิจการที่มีอยู่เดิมว่าจะมีมากน้อยเพียงใด เพราะถ้าแรงตอบโต้สูงย่อมก่อให้เกิดสงครามการแข่งขันและอาจลุกลามไปถึง “สงครามราคา” ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อผู้เข้ามาใหม่และอุตสาหกรรมโดยส่วนรวม
อ้างอิง อำนาจ ธีระวนิช. (2549). ผู้ประกอบการ. กรุงเทพฯ

นางสาววัชรี ทองห่อ รหัส5210125401052 เอกการจัดการทั่วไป ปี 4

blueheart กล่าวว่า...

สภาพแวดล้อมภายนอก (External Environment)
สภาพแวดล้อมภายนอกเป็นกิจการอยู่นอกขอบเขตขององค์การ ซึ่งผู้บริหารไม่สามารถควบคุมโดยตรงได้ แต่พลังสภาพแวดล้อมภายนอกนี้จะส่งผลกระทบถึงศักยภาพของการบริหารองค์การและความสามารถ ในการบรรลุเป้าหมายขององค์การได้ผู้บริหารจะต้องประเมินโอกาสและอุปสรรคจากสิ่งแวดล้อมภายนอก ทั้งปัจจุบันและอนาคตเพื่อวางแผนในการพัฒนาองค์การต่อไป
เมื่อพิจารณาผลกระทบต่อองค์การ สภาพแวดล้อมภายนอกจะประกอบด้วยสภาพแวดล้อมโดยทั่วไป(General Environment) และสภาพแวดล้อมในการดำเนินงาน โดยมีรายละเอียด ดังนี้
1. สภาพแวดล้อมโดยทั่วไป (General Environment) จะประกอบด้วยปัจจัยที่มีขอบเขตกว้างและองค์กรไม่สามารถควบคุมได้ ดังนั้นสภาพแวดล้อมโดยทั่วไปประกอบด้วยส่วนที่เกี่ยวข้องระหว่างกันซึ่งอาจแบ่งออกเป็น 6 ส่วน ดังนี้
1.1 สภาพแวดล้อมด้านประชากรศาสตร์ (Demographic Environment)
1.2 สภาพแวดล้อมด้านสังคมและวัฒนธรรม (Sociocultural Environment)
1.3 สภาพแวดล้อมด้านการเมืองและกฎหมาย ( Political / Legal Environment )
1.4 สภาพแวดล้อมทางเทคโนโลยี ( Technological Environment )
1.5 สภาพแวดล้อมด้านเศรษฐกิจมหภาค ( Macroeconomic Environment )
1.6 สภาพแวดล้อมระดับโลก ( Global Environment)
2. สภาพแวดล้อมในการดำเนินงาน (Operating Environment) เป็นสิ่งแวดล้อมภายนอกองค์การ ประกอบไปด้วยปัจจัยทั่วไปที่มีความสัมพันธ์อย่างเฉพาะเจาะจง มี 6 ประการ ดังนี้
1. ลูกค้า
2. คู่แข่งขัน
3. ผู้ขายวัตถุดิบ
4. แรงงาน
5. กฎระเบียบ
6. หุ้นส่วน
อ้างอิง: ชื่อหนังสือ การจัดการองค์การอุตสาหกรรมและการผลิต
ชื่อผู้แต่ง รองศาสตราจารย์ ดร. เปรื่อง กิจรัตน์ภร
สำนักพิมพ์ ศูนย์หนังสือราชภัฏพระนคร
ปีที่พิมพ์ 2544
นางสาวยุพาวรรณ ช่อมะลิ 5210125401078 การจัดการทั่วไป

tikjung กล่าวว่า...

สภาพแวดล้อมภายนอก (External Environment)
สภาพแวดล้อมภายนอกเป็นกิจการอยู่นอกขอบเขตขององค์การ ซึ่งผู้บริหารไม่สามารถควบคุมโดยตรงได้ แต่พลังสภาพแวดล้อมภายนอกนี้จะส่งผลกระทบถึงศักยภาพของการบริหารองค์การและความสามารถ ในการบรรลุเป้าหมายขององค์การได้ผู้บริหารจะต้องประเมินโอกาสและอุปสรรคจากสิ่งแวดล้อมภายนอก ทั้งปัจจุบันและอนาคตเพื่อวางแผนในการพัฒนาองค์การต่อไป
เมื่อพิจารณาผลกระทบต่อองค์การ สภาพแวดล้อมภายนอกจะประกอบด้วยสภาพแวดล้อมโดยทั่วไป(General Environment) และสภาพแวดล้อมในการดำเนินงาน โดยมีรายละเอียด ดังนี้
1. สภาพแวดล้อมโดยทั่วไป (General Environment) จะประกอบด้วยปัจจัยที่มีขอบเขตกว้างและองค์กรไม่สามารถควบคุมได้ ดังนั้นสภาพแวดล้อมโดยทั่วไปประกอบด้วยส่วนที่เกี่ยวข้องระหว่างกันซึ่งอาจแบ่งออกเป็น 6 ส่วน ดังนี้
1.1 สภาพแวดล้อมด้านประชากรศาสตร์ (Demographic Environment)
1.2 สภาพแวดล้อมด้านสังคมและวัฒนธรรม (Sociocultural Environment)
1.3 สภาพแวดล้อมด้านการเมืองและกฎหมาย ( Political / Legal Environment )
1.4 สภาพแวดล้อมทางเทคโนโลยี ( Technological Environment )
1.5 สภาพแวดล้อมด้านเศรษฐกิจมหภาค ( Macroeconomic Environment )
1.6 สภาพแวดล้อมระดับโลก ( Global Environment)
2. สภาพแวดล้อมในการดำเนินงาน (Operating Environment) เป็นสิ่งแวดล้อมภายนอกองค์การ ประกอบไปด้วยปัจจัยทั่วไปที่มีความสัมพันธ์อย่างเฉพาะเจาะจง มี 6 ประการ ดังนี้
1. ลูกค้า
2. คู่แข่งขัน
3. ผู้ขายวัตถุดิบ
4. แรงงาน
5. กฎระเบียบ
6. หุ้นส่วน
อ้างอิง: ชื่อหนังสือ การจัดการองค์การอุตสาหกรรมและการผลิต
ชื่อผู้แต่ง รองศาสตราจารย์ ดร. เปรื่อง กิจรัตน์ภร
สำนักพิมพ์ ศูนย์หนังสือราชภัฏพระนคร
ปีที่พิมพ์ 2544
นางสาวยุพาวรรณ ช่อมะลิ 5210125401078 การจัดการทั่วไป

tikjung กล่าวว่า...

สภาพแวดล้อมภายนอก (External Environment)
สภาพแวดล้อมภายนอกเป็นกิจการอยู่นอกขอบเขตขององค์การ ซึ่งผู้บริหารไม่สามารถควบคุมโดยตรงได้ แต่พลังสภาพแวดล้อมภายนอกนี้จะส่งผลกระทบถึงศักยภาพของการบริหารองค์การและความสามารถ ในการบรรลุเป้าหมายขององค์การได้ผู้บริหารจะต้องประเมินโอกาสและอุปสรรคจากสิ่งแวดล้อมภายนอก ทั้งปัจจุบันและอนาคตเพื่อวางแผนในการพัฒนาองค์การต่อไป
เมื่อพิจารณาผลกระทบต่อองค์การ สภาพแวดล้อมภายนอกจะประกอบด้วยสภาพแวดล้อมโดยทั่วไป(General Environment) และสภาพแวดล้อมในการดำเนินงาน โดยมีรายละเอียด ดังนี้
1. สภาพแวดล้อมโดยทั่วไป (General Environment) จะประกอบด้วยปัจจัยที่มีขอบเขตกว้างและองค์กรไม่สามารถควบคุมได้ ดังนั้นสภาพแวดล้อมโดยทั่วไปประกอบด้วยส่วนที่เกี่ยวข้องระหว่างกันซึ่งอาจแบ่งออกเป็น 6 ส่วน ดังนี้
1.1 สภาพแวดล้อมด้านประชากรศาสตร์ (Demographic Environment)
1.2 สภาพแวดล้อมด้านสังคมและวัฒนธรรม (Sociocultural Environment)
1.3 สภาพแวดล้อมด้านการเมืองและกฎหมาย ( Political / Legal Environment )
1.4 สภาพแวดล้อมทางเทคโนโลยี ( Technological Environment )
1.5 สภาพแวดล้อมด้านเศรษฐกิจมหภาค ( Macroeconomic Environment )
1.6 สภาพแวดล้อมระดับโลก ( Global Environment)
2. สภาพแวดล้อมในการดำเนินงาน (Operating Environment) เป็นสิ่งแวดล้อมภายนอกองค์การ ประกอบไปด้วยปัจจัยทั่วไปที่มีความสัมพันธ์อย่างเฉพาะเจาะจง มี 6 ประการ ดังนี้
1. ลูกค้า
2. คู่แข่งขัน
3. ผู้ขายวัตถุดิบ
4. แรงงาน
5. กฎระเบียบ
6. หุ้นส่วน
อ้างอิง: ชื่อหนังสือ การจัดการองค์การอุตสาหกรรมและการผลิต
ชื่อผู้แต่ง รองศาสตราจารย์ ดร. เปรื่อง กิจรัตน์ภร
สำนักพิมพ์ ศูนย์หนังสือราชภัฏพระนคร
ปีที่พิมพ์ 2544
นางสาวยุพาวรรณ ช่อมะลิ 5210125401078 การจัดการทั่วไป

tikjung กล่าวว่า...

สภาพแวดล้อมภายนอก (External Environment)
สภาพแวดล้อมภายนอกเป็นกิจการอยู่นอกขอบเขตขององค์การ ซึ่งผู้บริหารไม่สามารถควบคุมโดยตรงได้ แต่พลังสภาพแวดล้อมภายนอกนี้จะส่งผลกระทบถึงศักยภาพของการบริหารองค์การและความสามารถ ในการบรรลุเป้าหมายขององค์การได้ผู้บริหารจะต้องประเมินโอกาสและอุปสรรคจากสิ่งแวดล้อมภายนอก ทั้งปัจจุบันและอนาคตเพื่อวางแผนในการพัฒนาองค์การต่อไป
เมื่อพิจารณาผลกระทบต่อองค์การ สภาพแวดล้อมภายนอกจะประกอบด้วยสภาพแวดล้อมโดยทั่วไป(General Environment) และสภาพแวดล้อมในการดำเนินงาน โดยมีรายละเอียด ดังนี้
1. สภาพแวดล้อมโดยทั่วไป (General Environment) จะประกอบด้วยปัจจัยที่มีขอบเขตกว้างและองค์กรไม่สามารถควบคุมได้ ดังนั้นสภาพแวดล้อมโดยทั่วไปประกอบด้วยส่วนที่เกี่ยวข้องระหว่างกันซึ่งอาจแบ่งออกเป็น 6 ส่วน ดังนี้
1.1 สภาพแวดล้อมด้านประชากรศาสตร์ (Demographic Environment)
1.2 สภาพแวดล้อมด้านสังคมและวัฒนธรรม (Sociocultural Environment)
1.3 สภาพแวดล้อมด้านการเมืองและกฎหมาย ( Political / Legal Environment )
1.4 สภาพแวดล้อมทางเทคโนโลยี ( Technological Environment )
1.5 สภาพแวดล้อมด้านเศรษฐกิจมหภาค ( Macroeconomic Environment )
1.6 สภาพแวดล้อมระดับโลก ( Global Environment)
2. สภาพแวดล้อมในการดำเนินงาน (Operating Environment) เป็นสิ่งแวดล้อมภายนอกองค์การ ประกอบไปด้วยปัจจัยทั่วไปที่มีความสัมพันธ์อย่างเฉพาะเจาะจง มี 6 ประการ ดังนี้
1. ลูกค้า
2. คู่แข่งขัน
3. ผู้ขายวัตถุดิบ
4. แรงงาน
5. กฎระเบียบ
6. หุ้นส่วน
อ้างอิง: ชื่อหนังสือ การจัดการองค์การอุตสาหกรรมและการผลิต
ชื่อผู้แต่ง รองศาสตราจารย์ ดร. เปรื่อง กิจรัตน์ภร
สำนักพิมพ์ ศูนย์หนังสือราชภัฏพระนคร
ปีที่พิมพ์ 2544
นางสาวยุพาวรรณ ช่อมะลิ 5210125401078 การจัดการทั่วไป

tikjung กล่าวว่า...

สภาพแวดล้อมภายนอก (External Environment)
สภาพแวดล้อมภายนอกเป็นกิจการอยู่นอกขอบเขตขององค์การ ซึ่งผู้บริหารไม่สามารถควบคุมโดยตรงได้ แต่พลังสภาพแวดล้อมภายนอกนี้จะส่งผลกระทบถึงศักยภาพของการบริหารองค์การและความสามารถ ในการบรรลุเป้าหมายขององค์การได้ผู้บริหารจะต้องประเมินโอกาสและอุปสรรคจากสิ่งแวดล้อมภายนอก ทั้งปัจจุบันและอนาคตเพื่อวางแผนในการพัฒนาองค์การต่อไป
เมื่อพิจารณาผลกระทบต่อองค์การ สภาพแวดล้อมภายนอกจะประกอบด้วยสภาพแวดล้อมโดยทั่วไป(General Environment) และสภาพแวดล้อมในการดำเนินงาน โดยมีรายละเอียด ดังนี้
1. สภาพแวดล้อมโดยทั่วไป (General Environment) จะประกอบด้วยปัจจัยที่มีขอบเขตกว้างและองค์กรไม่สามารถควบคุมได้ ดังนั้นสภาพแวดล้อมโดยทั่วไปประกอบด้วยส่วนที่เกี่ยวข้องระหว่างกันซึ่งอาจแบ่งออกเป็น 6 ส่วน ดังนี้
1.1 สภาพแวดล้อมด้านประชากรศาสตร์ (Demographic Environment)
1.2 สภาพแวดล้อมด้านสังคมและวัฒนธรรม (Sociocultural Environment)
1.3 สภาพแวดล้อมด้านการเมืองและกฎหมาย ( Political / Legal Environment )
1.4 สภาพแวดล้อมทางเทคโนโลยี ( Technological Environment )
1.5 สภาพแวดล้อมด้านเศรษฐกิจมหภาค ( Macroeconomic Environment )
1.6 สภาพแวดล้อมระดับโลก ( Global Environment)
2. สภาพแวดล้อมในการดำเนินงาน (Operating Environment) เป็นสิ่งแวดล้อมภายนอกองค์การ ประกอบไปด้วยปัจจัยทั่วไปที่มีความสัมพันธ์อย่างเฉพาะเจาะจง มี 6 ประการ ดังนี้
1. ลูกค้า
2. คู่แข่งขัน
3. ผู้ขายวัตถุดิบ
4. แรงงาน
5. กฎระเบียบ
6. หุ้นส่วน
อ้างอิง: ชื่อหนังสือ การจัดการองค์การอุตสาหกรรมและการผลิต
ชื่อผู้แต่ง รองศาสตราจารย์ ดร. เปรื่อง กิจรัตน์ภร
สำนักพิมพ์ ศูนย์หนังสือราชภัฏพระนคร
ปีที่พิมพ์ 2544
นางสาวยุพาวรรณ ช่อมะลิ 5210125401078 การจัดการทั่วไป

tikjung กล่าวว่า...

สภาพแวดล้อมภายนอก (External Environment)
สภาพแวดล้อมภายนอกเป็นกิจการอยู่นอกขอบเขตขององค์การ ซึ่งผู้บริหารไม่สามารถควบคุมโดยตรงได้ แต่พลังสภาพแวดล้อมภายนอกนี้จะส่งผลกระทบถึงศักยภาพของการบริหารองค์การและความสามารถ ในการบรรลุเป้าหมายขององค์การได้ผู้บริหารจะต้องประเมินโอกาสและอุปสรรคจากสิ่งแวดล้อมภายนอก ทั้งปัจจุบันและอนาคตเพื่อวางแผนในการพัฒนาองค์การต่อไป
เมื่อพิจารณาผลกระทบต่อองค์การ สภาพแวดล้อมภายนอกจะประกอบด้วยสภาพแวดล้อมโดยทั่วไป(General Environment) และสภาพแวดล้อมในการดำเนินงาน โดยมีรายละเอียด ดังนี้
1. สภาพแวดล้อมโดยทั่วไป (General Environment) จะประกอบด้วยปัจจัยที่มีขอบเขตกว้างและองค์กรไม่สามารถควบคุมได้ ดังนั้นสภาพแวดล้อมโดยทั่วไปประกอบด้วยส่วนที่เกี่ยวข้องระหว่างกันซึ่งอาจแบ่งออกเป็น 6 ส่วน ดังนี้
1.1 สภาพแวดล้อมด้านประชากรศาสตร์ (Demographic Environment)
1.2 สภาพแวดล้อมด้านสังคมและวัฒนธรรม (Sociocultural Environment)
1.3 สภาพแวดล้อมด้านการเมืองและกฎหมาย ( Political / Legal Environment )
1.4 สภาพแวดล้อมทางเทคโนโลยี ( Technological Environment )
1.5 สภาพแวดล้อมด้านเศรษฐกิจมหภาค ( Macroeconomic Environment )
1.6 สภาพแวดล้อมระดับโลก ( Global Environment)
2. สภาพแวดล้อมในการดำเนินงาน (Operating Environment) เป็นสิ่งแวดล้อมภายนอกองค์การ ประกอบไปด้วยปัจจัยทั่วไปที่มีความสัมพันธ์อย่างเฉพาะเจาะจง มี 6 ประการ ดังนี้
1. ลูกค้า
2. คู่แข่งขัน
3. ผู้ขายวัตถุดิบ
4. แรงงาน
5. กฎระเบียบ
6. หุ้นส่วน
อ้างอิง: ชื่อหนังสือ การจัดการองค์การอุตสาหกรรมและการผลิต
ชื่อผู้แต่ง รองศาสตราจารย์ ดร. เปรื่อง กิจรัตน์ภร
สำนักพิมพ์ ศูนย์หนังสือราชภัฏพระนคร
ปีที่พิมพ์ 2544
นางสาวยุพาวรรณ ช่อมะลิ 5210125401078 การจัดการทั่วไป

tikjung กล่าวว่า...

สภาพแวดล้อมภายนอก (External Environment)
สภาพแวดล้อมภายนอกเป็นกิจการอยู่นอกขอบเขตขององค์การ ซึ่งผู้บริหารไม่สามารถควบคุมโดยตรงได้ แต่พลังสภาพแวดล้อมภายนอกนี้จะส่งผลกระทบถึงศักยภาพของการบริหารองค์การและความสามารถ ในการบรรลุเป้าหมายขององค์การได้ผู้บริหารจะต้องประเมินโอกาสและอุปสรรคจากสิ่งแวดล้อมภายนอก ทั้งปัจจุบันและอนาคตเพื่อวางแผนในการพัฒนาองค์การต่อไป
เมื่อพิจารณาผลกระทบต่อองค์การ สภาพแวดล้อมภายนอกจะประกอบด้วยสภาพแวดล้อมโดยทั่วไป(General Environment) และสภาพแวดล้อมในการดำเนินงาน โดยมีรายละเอียด ดังนี้
1. สภาพแวดล้อมโดยทั่วไป (General Environment) จะประกอบด้วยปัจจัยที่มีขอบเขตกว้างและองค์กรไม่สามารถควบคุมได้ ดังนั้นสภาพแวดล้อมโดยทั่วไปประกอบด้วยส่วนที่เกี่ยวข้องระหว่างกันซึ่งอาจแบ่งออกเป็น 6 ส่วน ดังนี้
1.1 สภาพแวดล้อมด้านประชากรศาสตร์ (Demographic Environment)
1.2 สภาพแวดล้อมด้านสังคมและวัฒนธรรม (Sociocultural Environment)
1.3 สภาพแวดล้อมด้านการเมืองและกฎหมาย ( Political / Legal Environment )
1.4 สภาพแวดล้อมทางเทคโนโลยี ( Technological Environment )
1.5 สภาพแวดล้อมด้านเศรษฐกิจมหภาค ( Macroeconomic Environment )
1.6 สภาพแวดล้อมระดับโลก ( Global Environment)
2. สภาพแวดล้อมในการดำเนินงาน (Operating Environment) เป็นสิ่งแวดล้อมภายนอกองค์การ ประกอบไปด้วยปัจจัยทั่วไปที่มีความสัมพันธ์อย่างเฉพาะเจาะจง มี 6 ประการ ดังนี้
1. ลูกค้า
2. คู่แข่งขัน
3. ผู้ขายวัตถุดิบ
4. แรงงาน
5. กฎระเบียบ
6. หุ้นส่วน
อ้างอิง: ชื่อหนังสือ การจัดการองค์การอุตสาหกรรมและการผลิต
ชื่อผู้แต่ง รองศาสตราจารย์ ดร. เปรื่อง กิจรัตน์ภร
สำนักพิมพ์ ศูนย์หนังสือราชภัฏพระนคร
ปีที่พิมพ์ 2544
นางสาวยุพาวรรณ ช่อมะลิ 5210125401078 การจัดการทั่วไป

tikjung กล่าวว่า...

สภาพแวดล้อมภายนอก (External Environment)
สภาพแวดล้อมภายนอกเป็นกิจการอยู่นอกขอบเขตขององค์การ ซึ่งผู้บริหารไม่สามารถควบคุมโดยตรงได้ แต่พลังสภาพแวดล้อมภายนอกนี้จะส่งผลกระทบถึงศักยภาพของการบริหารองค์การและความสามารถ ในการบรรลุเป้าหมายขององค์การได้ผู้บริหารจะต้องประเมินโอกาสและอุปสรรคจากสิ่งแวดล้อมภายนอก ทั้งปัจจุบันและอนาคตเพื่อวางแผนในการพัฒนาองค์การต่อไป
เมื่อพิจารณาผลกระทบต่อองค์การ สภาพแวดล้อมภายนอกจะประกอบด้วยสภาพแวดล้อมโดยทั่วไป(General Environment) และสภาพแวดล้อมในการดำเนินงาน โดยมีรายละเอียด ดังนี้
1. สภาพแวดล้อมโดยทั่วไป (General Environment) จะประกอบด้วยปัจจัยที่มีขอบเขตกว้างและองค์กรไม่สามารถควบคุมได้ ดังนั้นสภาพแวดล้อมโดยทั่วไปประกอบด้วยส่วนที่เกี่ยวข้องระหว่างกันซึ่งอาจแบ่งออกเป็น 6 ส่วน ดังนี้
1.1 สภาพแวดล้อมด้านประชากรศาสตร์ (Demographic Environment)
1.2 สภาพแวดล้อมด้านสังคมและวัฒนธรรม (Sociocultural Environment)
1.3 สภาพแวดล้อมด้านการเมืองและกฎหมาย ( Political / Legal Environment )
1.4 สภาพแวดล้อมทางเทคโนโลยี ( Technological Environment )
1.5 สภาพแวดล้อมด้านเศรษฐกิจมหภาค ( Macroeconomic Environment )
1.6 สภาพแวดล้อมระดับโลก ( Global Environment)
2. สภาพแวดล้อมในการดำเนินงาน (Operating Environment) เป็นสิ่งแวดล้อมภายนอกองค์การ ประกอบไปด้วยปัจจัยทั่วไปที่มีความสัมพันธ์อย่างเฉพาะเจาะจง มี 6 ประการ ดังนี้
1. ลูกค้า
2. คู่แข่งขัน
3. ผู้ขายวัตถุดิบ
4. แรงงาน
5. กฎระเบียบ
6. หุ้นส่วน
อ้างอิง: ชื่อหนังสือ การจัดการองค์การอุตสาหกรรมและการผลิต
ชื่อผู้แต่ง รองศาสตราจารย์ ดร. เปรื่อง กิจรัตน์ภร
สำนักพิมพ์ ศูนย์หนังสือราชภัฏพระนคร
ปีที่พิมพ์ 2544
นางสาวยุพาวรรณ ช่อมะลิ 5210125401078 การจัดการทั่วไป

tikjung กล่าวว่า...

สภาพแวดล้อมภายนอก (External Environment)
สภาพแวดล้อมภายนอกเป็นกิจการอยู่นอกขอบเขตขององค์การ ซึ่งผู้บริหารไม่สามารถควบคุมโดยตรงได้ แต่พลังสภาพแวดล้อมภายนอกนี้จะส่งผลกระทบถึงศักยภาพของการบริหารองค์การและความสามารถ ในการบรรลุเป้าหมายขององค์การได้ผู้บริหารจะต้องประเมินโอกาสและอุปสรรคจากสิ่งแวดล้อมภายนอก ทั้งปัจจุบันและอนาคตเพื่อวางแผนในการพัฒนาองค์การต่อไป
เมื่อพิจารณาผลกระทบต่อองค์การ สภาพแวดล้อมภายนอกจะประกอบด้วยสภาพแวดล้อมโดยทั่วไป(General Environment) และสภาพแวดล้อมในการดำเนินงาน โดยมีรายละเอียด ดังนี้
1. สภาพแวดล้อมโดยทั่วไป (General Environment) จะประกอบด้วยปัจจัยที่มีขอบเขตกว้างและองค์กรไม่สามารถควบคุมได้ ดังนั้นสภาพแวดล้อมโดยทั่วไปประกอบด้วยส่วนที่เกี่ยวข้องระหว่างกันซึ่งอาจแบ่งออกเป็น 6 ส่วน ดังนี้
1.1 สภาพแวดล้อมด้านประชากรศาสตร์ (Demographic Environment)
1.2 สภาพแวดล้อมด้านสังคมและวัฒนธรรม (Sociocultural Environment)
1.3 สภาพแวดล้อมด้านการเมืองและกฎหมาย ( Political / Legal Environment )
1.4 สภาพแวดล้อมทางเทคโนโลยี ( Technological Environment )
1.5 สภาพแวดล้อมด้านเศรษฐกิจมหภาค ( Macroeconomic Environment )
1.6 สภาพแวดล้อมระดับโลก ( Global Environment)
2. สภาพแวดล้อมในการดำเนินงาน (Operating Environment) เป็นสิ่งแวดล้อมภายนอกองค์การ ประกอบไปด้วยปัจจัยทั่วไปที่มีความสัมพันธ์อย่างเฉพาะเจาะจง มี 6 ประการ ดังนี้
1. ลูกค้า
2. คู่แข่งขัน
3. ผู้ขายวัตถุดิบ
4. แรงงาน
5. กฎระเบียบ
6. หุ้นส่วน
อ้างอิง: ชื่อหนังสือ การจัดการองค์การอุตสาหกรรมและการผลิต
ชื่อผู้แต่ง รองศาสตราจารย์ ดร. เปรื่อง กิจรัตน์ภร
สำนักพิมพ์ ศูนย์หนังสือราชภัฏพระนคร
ปีที่พิมพ์ 2544
นางสาวยุพาวรรณ ช่อมะลิ 5210125401078 การจัดการทั่วไป

tikjung กล่าวว่า...

สภาพแวดล้อมภายนอก (External Environment)
สภาพแวดล้อมภายนอกเป็นกิจการอยู่นอกขอบเขตขององค์การ ซึ่งผู้บริหารไม่สามารถควบคุมโดยตรงได้ แต่พลังสภาพแวดล้อมภายนอกนี้จะส่งผลกระทบถึงศักยภาพของการบริหารองค์การและความสามารถ ในการบรรลุเป้าหมายขององค์การได้ผู้บริหารจะต้องประเมินโอกาสและอุปสรรคจากสิ่งแวดล้อมภายนอก ทั้งปัจจุบันและอนาคตเพื่อวางแผนในการพัฒนาองค์การต่อไป
เมื่อพิจารณาผลกระทบต่อองค์การ สภาพแวดล้อมภายนอกจะประกอบด้วยสภาพแวดล้อมโดยทั่วไป(General Environment) และสภาพแวดล้อมในการดำเนินงาน โดยมีรายละเอียด ดังนี้
1. สภาพแวดล้อมโดยทั่วไป (General Environment) จะประกอบด้วยปัจจัยที่มีขอบเขตกว้างและองค์กรไม่สามารถควบคุมได้ ดังนั้นสภาพแวดล้อมโดยทั่วไปประกอบด้วยส่วนที่เกี่ยวข้องระหว่างกันซึ่งอาจแบ่งออกเป็น 6 ส่วน ดังนี้
1.1 สภาพแวดล้อมด้านประชากรศาสตร์ (Demographic Environment)
1.2 สภาพแวดล้อมด้านสังคมและวัฒนธรรม (Sociocultural Environment)
1.3 สภาพแวดล้อมด้านการเมืองและกฎหมาย ( Political / Legal Environment )
1.4 สภาพแวดล้อมทางเทคโนโลยี ( Technological Environment )
1.5 สภาพแวดล้อมด้านเศรษฐกิจมหภาค ( Macroeconomic Environment )
1.6 สภาพแวดล้อมระดับโลก ( Global Environment)
2. สภาพแวดล้อมในการดำเนินงาน (Operating Environment) เป็นสิ่งแวดล้อมภายนอกองค์การ ประกอบไปด้วยปัจจัยทั่วไปที่มีความสัมพันธ์อย่างเฉพาะเจาะจง มี 6 ประการ ดังนี้
1. ลูกค้า
2. คู่แข่งขัน
3. ผู้ขายวัตถุดิบ
4. แรงงาน
5. กฎระเบียบ
6. หุ้นส่วน
อ้างอิง: ชื่อหนังสือ การจัดการองค์การอุตสาหกรรมและการผลิต
ชื่อผู้แต่ง รองศาสตราจารย์ ดร. เปรื่อง กิจรัตน์ภร
สำนักพิมพ์ ศูนย์หนังสือราชภัฏพระนคร
ปีที่พิมพ์ 2544
นางสาวยุพาวรรณ ช่อมะลิ 5210125401078 การจัดการทั่วไป

tikjung กล่าวว่า...

สภาพแวดล้อมภายนอก (External Environment)
สภาพแวดล้อมภายนอกเป็นกิจการอยู่นอกขอบเขตขององค์การ ซึ่งผู้บริหารไม่สามารถควบคุมโดยตรงได้ แต่พลังสภาพแวดล้อมภายนอกนี้จะส่งผลกระทบถึงศักยภาพของการบริหารองค์การและความสามารถ ในการบรรลุเป้าหมายขององค์การได้ผู้บริหารจะต้องประเมินโอกาสและอุปสรรคจากสิ่งแวดล้อมภายนอก ทั้งปัจจุบันและอนาคตเพื่อวางแผนในการพัฒนาองค์การต่อไป
เมื่อพิจารณาผลกระทบต่อองค์การ สภาพแวดล้อมภายนอกจะประกอบด้วยสภาพแวดล้อมโดยทั่วไป(General Environment) และสภาพแวดล้อมในการดำเนินงาน โดยมีรายละเอียด ดังนี้
1. สภาพแวดล้อมโดยทั่วไป (General Environment) จะประกอบด้วยปัจจัยที่มีขอบเขตกว้างและองค์กรไม่สามารถควบคุมได้ ดังนั้นสภาพแวดล้อมโดยทั่วไปประกอบด้วยส่วนที่เกี่ยวข้องระหว่างกันซึ่งอาจแบ่งออกเป็น 6 ส่วน ดังนี้
1.1 สภาพแวดล้อมด้านประชากรศาสตร์ (Demographic Environment)
1.2 สภาพแวดล้อมด้านสังคมและวัฒนธรรม (Sociocultural Environment)
1.3 สภาพแวดล้อมด้านการเมืองและกฎหมาย ( Political / Legal Environment )
1.4 สภาพแวดล้อมทางเทคโนโลยี ( Technological Environment )
1.5 สภาพแวดล้อมด้านเศรษฐกิจมหภาค ( Macroeconomic Environment )
1.6 สภาพแวดล้อมระดับโลก ( Global Environment)
2. สภาพแวดล้อมในการดำเนินงาน (Operating Environment) เป็นสิ่งแวดล้อมภายนอกองค์การ ประกอบไปด้วยปัจจัยทั่วไปที่มีความสัมพันธ์อย่างเฉพาะเจาะจง มี 6 ประการ ดังนี้
1. ลูกค้า
2. คู่แข่งขัน
3. ผู้ขายวัตถุดิบ
4. แรงงาน
5. กฎระเบียบ
6. หุ้นส่วน
อ้างอิง: ชื่อหนังสือ การจัดการองค์การอุตสาหกรรมและการผลิต
ชื่อผู้แต่ง รองศาสตราจารย์ ดร. เปรื่อง กิจรัตน์ภร
สำนักพิมพ์ ศูนย์หนังสือราชภัฏพระนคร
ปีที่พิมพ์ 2544
นางสาวยุพาวรรณ ช่อมะลิ 5210125401078 การจัดการทั่วไป

tikjung กล่าวว่า...

สภาพแวดล้อมภายนอก (External Environment)
สภาพแวดล้อมภายนอกเป็นกิจการอยู่นอกขอบเขตขององค์การ ซึ่งผู้บริหารไม่สามารถควบคุมโดยตรงได้ แต่พลังสภาพแวดล้อมภายนอกนี้จะส่งผลกระทบถึงศักยภาพของการบริหารองค์การและความสามารถ ในการบรรลุเป้าหมายขององค์การได้ผู้บริหารจะต้องประเมินโอกาสและอุปสรรคจากสิ่งแวดล้อมภายนอก ทั้งปัจจุบันและอนาคตเพื่อวางแผนในการพัฒนาองค์การต่อไป
เมื่อพิจารณาผลกระทบต่อองค์การ สภาพแวดล้อมภายนอกจะประกอบด้วยสภาพแวดล้อมโดยทั่วไป(General Environment) และสภาพแวดล้อมในการดำเนินงาน โดยมีรายละเอียด ดังนี้
1. สภาพแวดล้อมโดยทั่วไป (General Environment) จะประกอบด้วยปัจจัยที่มีขอบเขตกว้างและองค์กรไม่สามารถควบคุมได้ ดังนั้นสภาพแวดล้อมโดยทั่วไปประกอบด้วยส่วนที่เกี่ยวข้องระหว่างกันซึ่งอาจแบ่งออกเป็น 6 ส่วน ดังนี้
1.1 สภาพแวดล้อมด้านประชากรศาสตร์ (Demographic Environment)
1.2 สภาพแวดล้อมด้านสังคมและวัฒนธรรม (Sociocultural Environment)
1.3 สภาพแวดล้อมด้านการเมืองและกฎหมาย ( Political / Legal Environment )
1.4 สภาพแวดล้อมทางเทคโนโลยี ( Technological Environment )
1.5 สภาพแวดล้อมด้านเศรษฐกิจมหภาค ( Macroeconomic Environment )
1.6 สภาพแวดล้อมระดับโลก ( Global Environment)
2. สภาพแวดล้อมในการดำเนินงาน (Operating Environment) เป็นสิ่งแวดล้อมภายนอกองค์การ ประกอบไปด้วยปัจจัยทั่วไปที่มีความสัมพันธ์อย่างเฉพาะเจาะจง มี 6 ประการ ดังนี้
1. ลูกค้า
2. คู่แข่งขัน
3. ผู้ขายวัตถุดิบ
4. แรงงาน
5. กฎระเบียบ
6. หุ้นส่วน
อ้างอิง: ชื่อหนังสือ การจัดการองค์การอุตสาหกรรมและการผลิต
ชื่อผู้แต่ง รองศาสตราจารย์ ดร. เปรื่อง กิจรัตน์ภร
สำนักพิมพ์ ศูนย์หนังสือราชภัฏพระนคร
ปีที่พิมพ์ 2544
นางสาวยุพาวรรณ ช่อมะลิ 5210125401078 การจัดการทั่วไป

«เก่าที่สุด ‹เก่ากว่า   1 – 200 จาก 214   ใหม่กว่า› ใหม่ที่สุด»